-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นศ.สจล.ฝึกงานไร่กล้อมแกล้ม
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นศ.สจล.ฝึกงานไร่กล้อมแกล้ม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นศ.สจล.ฝึกงานไร่กล้อมแกล้ม
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 22/05/2011 10:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



ซ้อมๆไว้ก่อนค่ะ....ถึงคราวจริง ขอ 2 คนนะคะ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/07/2011 6:16 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 28/05/2011 7:20 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวโพดหวาน ATS 27 พ.ค. 54 .....



ใบใหญ่ หนา เขียวเข้ม ไม่ทิ้งใบล่างไม้แต่ใบเดียว ทั้งๆที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย "รองพื้น - แต่งหน้า - กระตุ้น" ใดๆทั้งสิ้น
ได้แต่ปุ๋ยที่ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ในน้ำหมักระเบิดเถิงเท่านั้น แสดงว่าข้าวโพดต้องการปุ๋ยเคมีเพียงเท่านี้ แล้วก็
ต้องตัวนี้ สูตรนี้ด้วย เท่านั้น






เปรียบเทียบความสมบูรณ์ต้นระหว่าง 1 เมล็ดงอกเป็นต้นได้ 1 ต้น กับ 1 เมล็ดงอกเป็นต้นได้ 2 ต้น
ทั้ง 1 ต้น และ 2 ต้น สมบูรณ์โตพอๆกัน คาดว่าผลผลิตที่ได้ก็คงไม่ต่างกันนัก






แปลงนี้เป็นของ "คนงาน" ที่ไร่กล้อมแกล้ม
แก้ปัญหาดินเหนียวแน่นโดย พรวนดิน-ถอนหญ้า ทุก 3 วัน
ให้ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10+ยูเรีย ทางราก ทุก 3 วัน
ช่วงออกดอกยอด ถึง ออกไหม ให้ไทเป ทางราก ทุก 3 วัน
ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทางใบช่วงค่ำ ทุก 3 วัน


เหตุผลที่ให้ ฮม.ไข่ไทเป.ทางราก :
- ธรรมชาติของข้าวโพดทุกนิด จะออกดอกยอด (เกสรตัวผู้) ก่อน จากนั้น 5-7 วัน ฝักแรกจะออกตามมาพร้อม
กับไหมปลายฝัก (เกสรตัวเมีย) ในต้นที่สมบูรณ์ ข้าวโพดจะมีฝักที่ 2-3 ตามมาอีก

- ระหว่างเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียในต้นเดียวกันจะพร้อมรับการผสมไม่พร้อมกัน เป็นลักษณะของธรรมชาติที่จะ
หลีกเลี่ยงการผสมกันเองในต้นเดียวกัน เพื่อป้องกันอาการ "ด้อยทางพันธุกรรม" เหมือนลักษณะเลือดชิดในสัตว์
หรือเหมือนไม้ผลที่ได้รับการผสมพันธุ์ข้ามต้นหรือข้ามสายพันธุ์ มักให้ผลผลิตดีกว่าผสมกันเองในต้นเดียวกัน ในข้าว
โพดก็เช่นกันที่เกสรตัวผู้ต้นนี้จะต้องไปผสมกับเกสรตัวเมียของต้นอื่น

- ขณะที่เกสรดอกยอดพร้อมผสมแล้วนั้น ถ้าเกสรสัมผัสกับปุ๋ยทางใบหรือน้ำ เกสรจะเปียกทำให้ผสมไม่ได้

- ต้นพืชรับสารอาหารได้ 2 ทาง คือ ทางใบกับทางราก ช่วงกลางคืนรากจะดูดสารอาหารจากดินขึ้นสู่ลำต้น (ล่างขึ้น
บน) แต่ช่วงกลางวัน ใบจะส่งสารอาหารที่สังเคราะห์แล้วลงสู่ลำต้น (บนลงล่าง) ในขณะเดียวกัน สารอาหารทางใบ
เมื่อตกลงดินแล้วรากสามารถดูดซับไปใช้ได้ (สารอาหารทางใบ เข้าสู่ต้นได้ทั้งทางใบและทางราก แต่สารอาหาร
ทางราก เข้าสู่ต้นได้โดยทางรากทางเดียวเท่านั้น จะเข้าสู่ต้นทางใบไม่ได้) ดังนั้น เมื่อนำสารอาหารทางใบมาให้
ทางรากแทน นอกต้นสามารถนำไปใช้ได้ตามปกติแล้ว ยังไม่เป็นการรบกวนเกสรตัวผู้ที่กำลังพร้อมผสมอีกด้วย



-------------------------------------------------------------------------------------------------------



http://www.coop-mcr.com/ans.php?op=ans&id=141


---------------------------------------------------------------------------------------------------------




http://www.weloveshopping.com/shop/show_article.php?shopid=142053&qid=43989


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/06/2011 11:19 pm, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 31/05/2011 7:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แปลงของ ลูกๆ นศ. .....




1. ผลของ 1 เมล็ดได้ 2 ต้น ต้นเล็กกับต้นใหญ่ ธรรมชาติของข้าวโพด (พืชอายุ
สั้นฤดูกาลเดียว) เมื่อครบอายุก็จะออกดอกเอง เพียงแต่ต้นสมบูรณ์ (ต้นโต) จะให้
ดอกและผสมสมบูรณ์กว่าต้นไม่สมบูรณ์ (ต้นเล็ก) เท่านั้น




2. ดอกยอดของต้นเล็ก สามารถไปช่วยผสมให้ไหม (ดอกตัวเมีย) ของฝัก 2-3
ของต้นโตได้ กรณี่นี้ ถ้าคนช่วยผสมด้วยมือ ก็จะช่วยให้ผสมเกสรดียิ่งขึ้น


เสริม :
เกสรตัวผู้หรือดอกยอดมีลักษณะเป็นผงละเอียดมากเหมือนแป้งฝุ่นทาตัวด็ก สี
เหลืองอ่อนๆ เมื่อเคาะจะร่วงแล้วปลิวไปตามสายลม หรือเกาะไป ขา/ปีก/ตัว แมลง
ได้ดีมาก เกสรตัวผู้ที่ปลิวตามลมได้เช่นนี้ คือ เกสรที่พร้อมผสมแล้ว

เกสรตัวเมียที่ปลายฝักหรือไหม ลักษณะพร้อมผสม เส้นไหมจะเขียวอมเหลืองสด
ใส สัมผัสด้วยมือจะรู้สึกถึงความเหนียวชัดเจน นั่นคือเกสรตัวเมียที่พร้อมรับการ
ผสม...............(ลุงคิม)




3. ข้าวโพดฝักใดที่ไหม (เกสรตัวยเมีย) ไม่ได้รับการผสมจากดอกยอด (เกสรตัว
ผู้) ข้าวโพดฝักนั้นมักเป็น "ฟันหลอ" ฝักเล็กและคุณภาพไม่ดี




4. ข้าวโพดใคร (วะ...) แบบนี้ถ้าไม่ ถอนหญ้า-พรวนดิน ละก็ ไม่ได้กินแน่ๆ คนปลูกไม่ได้กินยังพอทำเนา
ถ้าเอาไปเป็นของฝากละก็ รับรองเขาสรรเสริญตามหลังแน่.....แค่นี้เหรอ (วะ....)

ไม่ได้กินเสียแล้วเด้งแรก ไม่ได้คะแนเสียเด้งที่สอง อ.วิชัยฯ สรรเสริญอีกเป็นเด้งที่สาม....งานนี้ 3 เด้งแน่




5. เฝ้าสังเกตุ เมื่อไหม (เกสรตัวเมีย) เริ่มเหี่ยวหรือแห้ง แสดงว่ากระบวนการผสม
เกสรเสร็จสมบูรณ์แบบแล้ว จากนั้นเริ่มบำรุงด้วยสูตร "ขยายขนาด" ทั้งทางรากและ
ทางใบ ควบไปกับให้สารสมุนไพร ทุก 3 วัน ได้เลย




6. ซอกกาบใบเดียว ออกมา 3 ฝัก แบบนี้เขาเรียกว่า "ทะลัก" บ่งบอกถึงความ
สมบูรณ์ตั้งแต่ยังเป็นเมล็ด ตุ่มต่านี้มีความสมบูรณ์สูงมาก เอาเถอะ อั้ยเจ้าฝักแทรก
ที่แถมมาเนี่ย ไม่เป็นฝักหรอก






9. ใบล่างสุด มีอาการเหลืองแล้วร่วงน้อยที่สุด หรือไม่มีเลยละก็ ประกันได้เลยว่า
ผลผลิตที่ได้ดีแน่ ทั้งนี้เพราะความสบูรณ์ของต้นเป็นพื้นฐานที่ดีนั่นเอง





ลุงคิม (บรรยาย) ครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/07/2011 7:02 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 06/06/2011 5:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

4 พ.ค. 54 ....



1. เมล็ดข้าวโพดออกที่เกสรตัวผู้ อันนี้คงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เรายังไม่เคยรู้มาก่อน
เท่านั้นเอง อาจเกิดจากความผิดพลาดทางพันธุกรรม อันนี้ก็ไม่ทราบได้ คงต้องรอ
หาข้อมูลและสอบถามจากผู้รู้ก่อน แล้วจะมาอธิบายเพิ่มเติมค่ะ

ข้าวโพดที่ออกเมล็ดที่บริเวณเกสรตัวผู้มีสาเหตุหลัก 2 กรณี คือ

1. เกิดจากความผิดปกติของยีนที่เป็นตัวกำหนดลักษณะดังกล่าว แต่ข้าวโพดที่เราปลูก
เป็นเมล็ดข้าวโพดอย่างดีรุ่น F1 ซึ่งหากเกิดจากสาเหตุนี้ข้าวโพดของเราก็คงจะเเสด
งลักษณะนี้เกือบทุกต้น แต่ในกรณีนี้แสดงออกมาเพียงบางต้นเท่านั้น หากคิดเป็นร้อย
ละก็คงไม่ถึงร้อยละ 5 ซึ่งลักษณะที่ว่านี้จัดเป็นลักษณะด้อย

2. เกิดจากปัจจัยแวดล้อมรอบข้างหรือแมลงศัตรูพืชเป็นพาหะ เช่น ดิน น้ำ อากาศ
แสงแดด อุณหภูม ความวิปริตของภูมิอากาศ รวมไปถึงแมลงศัตรูพืชที่อาจเป็นตัวพาก็
ได้ จึงอาจเกิดความผิดปกติที่ว่าขึ้นได้





2. ดู ๆ ไป ตอนแรกนึกว่าเป็นไข่ของแมลงนะคะเนี่ย ที่ไหนได้เมล็ดข้าวโพดดี ๆ นี่
เอง ลองชิมแล้วรสชาดใช้ได้เชียวล่ะค่ะ แม้จะไม่มีเปลือกห่อหุ้มก็ตาม เมล็ดที่เห็น
จึงไม่สมบูรณ์เนื่องจากการทำลายของสัตว์และแมลงศัตรูพืช เพราะอย่างนี้นี่เอง
ธรรมชาติจึงสร้างให้ข้าวโพดมีเปลือกห่อหุ้มเมล็ด





3. นี่แหละตัวร้ายทำลายผลผลิตของเรา เจ้านอนผีเสื้อตัวน้อยน่ารัก แต่แฝงไว้ด้วย
ความร้ายกาจ เกิดจากการวางไข่ของแม่ผีเสื้อไว้ก่อนหน้านี้ จะว่าไปแล้วแม่ผีเสื้อก็
ฉลาดนะเนี่ย รู้ด้วยว่าข้าวโพดจะออกฝักมีเมล็ด พร้อมให้ลูก ๆ แทะได้เมื่อไหร่ ถึง
เราจะเป็นเพื่อนร่วมโลกกัน แต่เราก็ต้องแข็งใจกำจัดเธอออกไป เพราะเธอคือตัว
สร้างความเสียหายให้ผลผลิตของเรา อโหกรรมด้วยเทอญ.....





4. เมล็ดข้าวโพดหวานคุณภาพแน่นฝัก ขนาดยังไม่แก่เต็มที่ยังขนาดนี้ ใครได้ลิ้ม
ลองเป็นต้องหลงไหลไปกับรสชาดชั้นยอดระดับเเพลตทินัม ข้าวโพดรุ่นนี้พร้อมเก็บ
ได้ วันที่ 12 มิถุนายน 2554 โอกาสดีมีเพียงครั้งเดียว อย่าพลาดหากคุณต้อง
การเป็นผู้โชคดีกับการเป็นนักชิมกิติมศักดิ์ ขอเชิญที่ไร่กล้อมแกล้มนะค๊าาา




งานเข้า :
ตั้งแต่ภาพที่ 5 ถึง 11 ขอให้พวกเธอไปค้นคว้าที่ห้องสมุด ในหนังสือ "โรคและศัตรู
ข้าวโพด" ดูรูปในหนังสือแล้วเปรียบกับรูปของจริงที่ถ่ายภาพมา ว่าเป็นโรคอะไร
หรือเกิดจากสาเหตุใด เมื่อรู้แล้วให้มาเขียนบรรยายใต้ภาพ O.K. ?...... (ลุงคิม)


5.


6.


7.


8.


9.


10.


11.







12. ในส่วนของแปลงในดงชมพู่และกระท้อน จะสังเกตเห็นว่าแทบไม่มีใบเหลือง
เนื่องจากการขาดสารอาหาร หรือ ร่วงโรยให้เห็น จะเป็นไปได้ไหมว่าเกิดจากระบบ
นิเวศน์ที่เกื้อกูลกันของพืชหลายชนิดภายในเเปลงเดียว อันสอดคล้องกับข้อมูลที่
เคยได้ยินได้ฟังมา ว่าการจะทำการเกษตรแบบยั่งยืน ต้องมีการปลูกพืชแบบหมุน
เวียนและผสมผสานกัน





13. ถึงแม้จะได้เปรียบในเรื่องของการมีลำต้นสูง ใบเขียว เป็นมัน ไม่เหลืองก็
ตาม ลำต้นของข้าวโพดกลับเล็กกว่าแปลงฝั่งโน้น อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอาจเป็น
เพราะว่าแปลงนี้มีไม้ประธานคอยบังแดดต้นข้าวโพด ทำให้ต้นข้าวโพดพยายามยืด
ตัวให้สูงข้นหาแสง เกิดการพัฒนาขื้นข้างบน มากกว่าทางด้านข้าง ทำให้ลำต้นข้าว
โพดไม่ใหญ่นั่นเอง





14. นอกจากลำต้นจะไม่ใหญ่แล้ว จำนวนฝักต่อต้นก็ยังน้อยกว่าอีกด้วย เฉลี่ย
เพียงต้นละฝักเท่านั้น อันนี้มันก็น่าคิด ความสมบูรณ์ของต้นพืชนอกจากจะสังเกต
จากใบแล้ว ยังมีจุดไหนที่จะสังเกตได้ถึงความอุดมสมบูรณ์บ้างน้าาาา





15. แปลงนี้ใบล่างเริ่มเหลือง เกิดจากการร่วงโรยตามอายุขัย และขาด N และ
P บ้างเล็กน้อย แต่ผลผลิตที่ได้กลับมากกว่า จำนวนฝักต่อต้นเฉลี่ยต้นละ 3 ฝัก
เลยทีเดียว หรือเป็นเพราะว่าลูกเยอะนี่เอง จึงทำให้ต้นโทรมเพราะดึงสารอาหารไป
เลี้ยงลูกจนหมด




16. ภาพถ่ายจากมุมล่างเห็นข้อแตกต่างได้อย่างชัดเจน




17. อินู๋อ๋อมแอ๋มสู้ตายค่า ต่อให้มีเพิ่มเป็นสองเเปลงก็บ่ยั่น เอามาโลดค่า




18. ฝั่งทางด้านอัลกอร์อิดะก็ไม่น้อยหน้า ส่งสมาชิกผีปากดี เอ้ย.. ฝีมือดีมาร่วม
ปฏิบัติการในครั้งนี้ด้วย อยากบอกว่าทำงานได้ สุโค่ยมั่กมาก ถ้าไม่ติดที่ชอบงีบ
หลับนะ สุดยอดกว่านี้อีกค่ะ





19. อ๋อมแอ๋มขาวขึ้นหรือเปล่าเนี่ย หน้าเล็กลงด้วยสิใช่มั้ย

อ๋อมแอ๋ม : อ๋อ... ก็นิดหน่อยน่ะค่ะ แต่ไม่ต้องห่วงนะคะ ตาคราวหน้าอ๋อมแอ๋ม
สวยได้กว่านี้อีกแน่นอนค่า





20. เฮ้ย ๆๆๆๆ ทิวตื่น ๆ ทำงานให้เสร็จก่อนค่อยหลับดิ อายกล้อง





21. บ๋อมแบ๋มเจ้าเก่า ขนาดทำงานเธอยังมีความสามารถพิเศษแอ๊บสวยได้ตลอด
ตลอด

บ๋อมแบ๋ม : เปล่านะ เค้าไม่ได้แอ๊บ เค้าสวยแบบธรรมชาติ จะให้อยู่เฉย ๆ หรือ
ทำงาน เค้าก็สวยอย่างนี้แหละ อิอิ

?????





22. คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย คำคลาสสิคคำนี้ยังใช้ได้ทุกกาลเวลา ว่า
แล้วสมาชิกหนุ่มจากอัลกอร์อิดะ ก็แท็กทีมกับสาวน้อย (หรือเปล่า) จากปลายดอย
แห่งดินแดนที่ราบสูง เอ้า....สู้โว้ย




23. ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ เนื่องจากความสวยของบ๋อมแบ๋มมีมากเกิน
ไป จึงทำให้ต้นข้าวโพดดูซอล์ฟลงไปเยอะเลย




24. ต้นข้าวโพดล้ม เนื่องมาจากพายุเข้า ฝนตก ลมกรรโชกแรงในบางพื้นที่ แต่
มันก็ยังสามารถพยุงตัวเองขึ้นหาแสงได้โดยสัญชาตญาณ นี่ก็คงใช้เข้าไปเปรียบกับ
ทำพังเพยที่ว่า "ไม้ล้มข้ามได้ คนล้มอย่าข้าม"





25. ลักษณะต้นเล็ก เหลืองเช่นนี้ สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ดินเหนียว มีน้ำขัง
มากเกินไป ทำให้รากต้นข้าวโพดไม่สามารถหาอาหารภายในดินได้ จึงทำให้ขาด
สารอาหารบางตัว แก้ไขโดยการให้ปุ๋ยทางใบแทน เพราะต้นพืชกินอาหารได้สอง
ทาง คือ ทางรากและทางปากใบ




26. บ๋อมแบ๋มโชว์ยอดเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งธรรมชาติเกสรตัวผู้จะบานก่อน
เกสรตัวเมีย เพื่อเตรียมพร้อมในการผสมพันธุ์





27. หลุมนี้สมบูรณ์ประมาณ 80% มีแมลงรบกวนเล็กน้อย ความสมบูรณ์ของต้น
อยู่ในระดับดี การออกฝักสม่ำเสมอ





28. ผลงานหลังจากการถอนหญ้า พรวนดินแล้ว ที่ต้องมีการพรวนดินบ่อย ๆ
เพราะดินที่นี่มีความเหนียวมาก รากพืชไม่สามารถหาอาหารได้ จึงต้องมีการช่วย
เหลือ

นอกจากนี้แล้วยังสะท้อนให้เห็นถึงความเอาใจใส่ของเรา ที่ไม่ใช่ปลูกทิ้งปลูก
ขว้าง เรียนทิ้งเรียนขว้าง ทุกสิ่งที่ลุงคิมสอนเราทุกคนยังจำได้เสมอ รอเพียง
โอกาสและความพร้อมเท่านั้นค่ะ





29. ยิ่งต้นข้าวโพดสมบูรณ์มากเท่าไหร่ ก็สามารถให้ฝักมากขึ้น อย่างหลุมนี้ต้น
หนึ่งให้ 2 ฝัก อีกต้นหนึ่งให้ 3 ฝัก แต่ละฝักคุณภาพคับแก้ว





30. ข้าวโพดที่ผสมเกสรแล้ว ไหมจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม


เสริม :
ไหมปลายฝักเริ่มแห้ง แสดงว่ากระบวนการผสมเกสรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนการ
บำรุงต่อไป คือ ขยายขนาด หยุดเมล็ด สร้างเนื้อ เหมือนยไม้ผลทั่วๆไป โดย...

ทางใบ : ยูเรก้า + ไบโออิ + แคลเซียม โบยรอน ทุก 3 วัน ช่วงสายๆ
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง + 13-13-21 ให้ 1 ครั้ง ช่วงค่ำ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพรสูตรรวมมิตร (ตัวต่อตัวมีรุม) โชกๆ ที่ไหมโดยตรง ป้องกัน
หนอนเจาะฝัก 1-2-3 ครั้ง ติดต่อกัน วันต่อวัน
- ฉีดพ่นสารสมุนไพรสูตรรวมมิตร (รา-แมลง) ทุก 3 วัน

(ลุงคิม)




31. ฝักใหญ่บิ๊กเบิ้มที่ลุงคิมมีจุดประสงค์ว่า ฝักเดียวอิ่มทั้งครอบครัว





32. ไหมข้าวโพด กับหน้าคน อันไหนดำกว่ากันน้าาาา





33. แดดจะร้อน ฝักข้าวโพดจะใหญ่ หรือจะดก ก็ไม่อาจต้านทานความสวยแบบ
ไร้สังกัดของอ๋อมแอ๋มได้หรอกค่ะ (ที่ไร้สังกัดเพราะไม่มีใครยอมให้เข้าสังกัดอ่ะเปล่า)





34. ถึงฝักจะใหญ่ขนาดไหน อ๋อมแอ๋มก็บ่ยั่น ของสองฝักเลยนะค๊าาา






35. ปลูกกล้วยแซมข้าวโพด เพิ่มจุลินทรีย์และความชุมชื่นภายในดิน นอกจากนี้
ยังช่วยเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศด้วย และคงไม่นานเกินรอ กล้วยต้นนี้คงให้
ผลผลิตออกมาแน่นอน ประโยชน์แบบคูณสองไปเลย


36. ใบกล้วยระวังอย่าให้บังแสงข้าวโพดนะคะ ถ้าใบเริ่มเกะกะก็ตัดทิ้งได้เลย
เหลือไว้ซัก 2-3 ใบ สำหรับปรุงอาหารก็พอค่ะ

เสริม :

ปลูกกล้วยเอาราก เป็นพี่เลี้ยงไม้ประธาน


- พื้นที่แปลงข้าวโพดแปลงนี้ เนื้อที่ 15 X 30 ม. (112 ตร.ว.) เดิมเป็นแปลง
มะม่วงระยะชิดพิเศษ (1.75 X 1.75 ม.) ต่อมาล้มมะม่วงทิ้ง ทั้งๆที่มะม่วงอายุต้น
3 ปี ให้ผลผลิตมาแล้วตั้งแต่ปลูกปีแรก เพื่อจะปลูกทุเรียนแบบ "หลุมคู่" คือ หลุม
ละ 2 ต้น แทน

- หลังจากล้มมะม่วงออกหมดแล้ว ปรับปรุงบำรุงดินโดยใส่ "ยิบซั่ม 2 กส. + ขี้วัว
นม 40 กส.ปุ๋ย" รดด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5 ล. 2 รอบ ห่างกันรอบละ
1 อาทิตย์

- หมายจุดปลูกทุเรียนแล้ว ปลูกกล้วยระหว่างหลุมปลูกทุเรียน เป็นแถวเดียวกันกับ
ทุเรียน วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รากกล้วยชอนไชอยู่ในเนื้อดิน และเป็นอินทรีย์วัตถุ
บำรุงดินไปในตัว

หมายเหตุ :
กล้วยที่ปลูก คือ กล้วยเล็บมือนาง (เจ้าของชอบ) หากต้องการปลูกกล้วยเพื่อเอา
รากอย่างจริงจังควรเลือกกล้วยน้ำว้า เพราะนอกจากระบบรากจะมากกว่ากล้วยเล็บ
มือนางแล้ว ยังเหมาะสมกับสภาพดินเหนียวในแปลงนี้และให้ผลผลิตได้อีกด้วย หาก
ต้องการรากกล้วยมากกว่ากล้วยน้ำว้าก็ต้องกล้วยตานี แต่กล้วยตานีได้ใบเป็นผล
ผลิตอย่างเดียว

- หลังจากลงกล้วยไปแล้ว จึงลงข้าวโพดหวานดังที่เห็น และหลังจากล้มต้นข้าวโพด
แล้วก็จะได้เศษซากบำรุงดิน

- ระหว่างบำรุงข้าวโพดนั้น สารอาหารต่างๆ จะส่งผลให้หน่อกล้วยเจริญเติบโต บำรุง
ดิน และจุลินทรีย์ในดินด้วย

- หลังจากล้มข้าวโพดรุ่นนี้แล้ว ยังสามารถปลูกข้าวโพดรุ่นต่อไป และต่อไปเรื่อยๆ
ได้ ส่วนต้นกล้วยที่สูงใหญ่จนใบบังแดดต่อข้าวโพดหรือไม้อื่นก็ให้ตัดใบออกหรือตัด
ต้นจนเหลือแต่ตอก็ได้ ...... ระหว่างที่ต้นข้าวโพดกับกล้วยกำลังเจริญเติบโตนั้น
เริ่มลงต้นกล้าทุเรียนได้ ซึ่งระยะแรกต้นกล้าทุเรียนจะได้ข้าวโพดและกล้วยช่วยบัง
แดด ช่วยลดอุณหภูมิที่อาจจะร้อนเกินจนเป็นอันตรายต่อยอดแตกใหม่ได้ .....เมื่อ
ต้นกล้าทุเรียนยืนต้นได้ มีการแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2-3 ชุดแล้ว ให้เอาต้นข้าว
โพดรอบๆ ต้นกล้าทุเรียนอย่างน้อย 1-2 ตร.ม.ออก เพื่อให้แสงแดดส่องตรงถึงต้น
กล้าทุเรียนได้ การมีต้นข้าวโพดขนาบข้างแบบนี้จะช่วยให้ต้นกล้าทุเรียนเจริญทาง
สูงเร็วขึ้น เพราะต้องแข่งแย่งแสงแดดกับต้นข้าวโพด.....สุดท้าย เมื่อต้นกล้าทุเรียน
ยืนต้นได้ 100% แล้ว จึงยกเลิกการปลูกข้าวโพด แต่ยังคงให้มีต้นกล้วยอยู่ จาก
นั้นจึงควบคุมแต่ต้นกล้วยในอันที่จะรบกวนต้นทุเรียนเท่านั้น......(ลุงคิม)






37. หนอนผีเสื้อและหนอนเส้นใยตัวร้าย ทำลายผลผลิต เราจำเป็นต้องกำจัด





38. ขนาดตัวเมื่อเทียบกับไม้จิ้มฟัน ไม่น่าเชื่อว่าตัวจิ๋วอย่างนี้ จะสามารถทำลาย
ผลผลิตอย่่างมหาศาลเพียงชั่วข้ามคืน





39. สังเกตเห็นก้อนเล็ก ๆ นั่นไหมคะ เจ้าหนอนผีเสื้อ กลัวซะจนขี้เเตกเลยล่ะค่ะ


เสริม :

สัจจธรรม ไม่มีพืชใดในโลกที่ไม่มีศัตรูพืช :

หนอนคือหนอน หนอนเจาะฝักข้าวโพดคือหนอนเจาะฝักข้าวโพด เพราะมันเจาะฝัก
ข้าวโพด ถ้าหนอนตัวนี้ไปเจาะมะเขือก็คือ หนอนเจาะมะเขือ ถ้าไปเจาะกุหลาบก็
คือ หนอนเจาะกุหลาบ สรุปก็คือ เจาะอะไรก็เรียกหนอนเจาะตัวนั้น นั่นแล...

แล้วมันคือ หนอนอะไรกันแน่ละ ? มีชื่อเฉพาะไหม ?
คำตอบคือ...... หนอนคืบ. หนอนใย. หนอนหนังเนียว. นั่นเอง

ในฝักข้าวโพด หนอนพวกนี้จะเข้าไปแฝงอยู่ตามซอกไหม คงเนื่องมาจากแม่ผีเสื้อ
วางไข่ไว้ตรงนั้น เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัวหนอนแล้ว ตัวหนอนจึงอยู่ตรงนั้น นี่คือ
สัญชาติญานปกติของสัตว์โลกที่มนุษย์มักมองข้าม

ตอนกลางวันหนอนพวกนี้จะซุกตัวหลบแดดอยู่ในไหม ครั้นตกกลางคืนจึงจะออกมา
แล้วชอนไชเข้าไปในฝักข้าวโพดเพื่อกินเมล็ดข้าวโพด นี่คือที่มาของชื่อ "หนอนเจาะ
ฝักข้าวโพด" อย่างแท้จริง

การกำจัดหนอนเจาะฝักข้าวโพดที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติ คือ ใช้ "ฟูราดาน" ละลาย
น้ำรดที่ปลายฝัก (ไหม) จนโชก บางรายใช้ไซลิงค์ฉีดยา ดูดฟูราดานใส่ไซลิงค์
แล้ว ฉีดอัดเข้าที่ปลายฝักเข้าไปถึงภายในฝักข้าวโพดโดยตรงเลย เมื่อใดที่
หนอนพวกนี้สัมผัสกับฟูราดานก็ต้องตาย......ฟูราดาน.เป็นสารเคมีที่มีอายุตกค้าง
นาน 6 เดือน - 1 ปี ในเมื่อฝักข้าวโพดตั้งแต่ผสมติด (ไหมแห้ง) ถึงเก็บเกี่ยว ใช้
เวลาเพียง 1 เดือน แล้วคนก็เอาไปกิน

แนวทางปฏิบัติของไร่กล้อมแกล้ม คือ ใช้สารสกัดสมุนไพรสูตรรวมมิตรกำจัดหนอน
โดยเฉพาะ หรือสูตรตัวต่อตัวมีรุม อัตราเข้มข้น 20-30 ซีซี./น้ำ 1 ล. ใส่กระบอก
ฉีดแบบมือถือ ฉีดอัดเข้าที่ไหมโดยตรง ฉีดโชกๆจนเปียทั่วทั้งฝัก ตั้งแต่เริ่มเกิดไหม
จนถึงไหมแห้ง ฉีดทุกวันเว้นวัน ช่วงหลังค่ำ

มาตรการนี้น่าจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะข้าวโพดทั้งแปลง แรงงาน 6 คน ช่วย
กันออกค้นหา แหวกไหมข้าวโพดขึ้นดูทุกฝัก ปรากฏว่า พบหนอนเจาะฝักอย่างละ
1 ตัว รวม 4 ตัวเท่านั้น................(ลุงคิม)





40. วิธีการทำสมุนไพรกำจัดศัตรูพืช สูตรรวมมิตรฆ่าหนอน (ตัวต่อตัว มีรุม)

ส่วนผสม :
1. เปลือกซาก
2. เมล็ดน้อยหน่า
3. เมล็ดมันเเกว
4. กลอย (# 1-4 รวมกันสารออกฤทธิ์แรงเทียบเท่า ยาน็อก)

5. เมล็ดสะเดา
6. หนอนตายหยาก
7. ฟ้าทลายโจร
8. ยาสูบ
9. หางไหลขาว
10. หางไหลแดง
11. บอระเพ็ด (ทั้งหมดนี้ใช้ชนิดผง ซึ่งมีขายทั่วไปตามท้องตลาด)

วิธีการทำ :
1. เติมส่วนผสมทุกอย่างลงในโหลแก้ว อย่างละ 100 กรัม
2. แช่แอลกอฮอล์พอท่วม 6-12 ชั่วโมง
3. เติมน้ำ
4. เติมน้ำส้มสายชู 99.9 %

หมายเหตุ :
- เติมเเอลกอฮอล์ 10% ของน้ำ
- เติมน้ำส้มสายชู 10% ของเเอลกอฮอล์

อัตราการใช้ และวิธีใช้ :
- ใช้ 20-50 cc./น้ำ 20 L ทุก 3-5 วัน
- ฉีดพ่นช่วงหัวค่ำ หรือไม่มีแสง
- ใช้ร่วม (ผสม) กับปุ๋ย/ฮอร์โมนทางใบได้ทุกชนิด
- ใช้เพื่อ "ป้องกัน" จะได้ผลดีกว่าเพื่อ "กำจัด"




41. ขั้นตอนขณะเติมสารสมุนไพรผง อาศัยการทำงานกันเป็นทีม งานจึงคล่องตัว




42. เติมแอลกอฮอล์ลงไปแล้วคนให้เข้ากัน แล้วพักไว้




43. ขณะทำงานก็ยังแอ๊บได้อีก อันนี้ไม่ใช่แอ๊บสวยซะแล้วสิ แต่เป็นแอ๊บขี้เหร่เร๊ะ





44. สำเร็จแล้วสำหรับสมุนไพรสูตรรวมมิตรฆ่าหนอนของเรา พร้อมใช้งาน ระวังตัว
ให้ดี ๆ นะจ๊ะหนอนน้อย




45. คน ๆๆๆๆ แล้วก็คน ๆๆๆๆ ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว




46. พิสูจน์กลิ่น ดูจากหน้าตาคนสูดดมแล้วก็คงจะพอเดาออกนะคะ




47. สมบูรณ์แบบ จะสังเกตเห็นว่ามีตะกอนตกอยู่ก้นโหลจำนวนมาก นั่นก็เกิดจาก
ผงสมุนไพรของเรานั่นเอง แต่ไม่เป็นปัญหาหรอกค่ะ ยิ่งเข้มข้นยิ่งดี ไม่เข้มข้นเรา
ไม่นอน




48.

เปลือกมังคุดสด 1 กก. กินเนื้อหมดแล้ว ได้เปลือกประมาณนี้ แช่ในแอลกอฮอร์
เดี่ยวๆ 1 ล. ก่อน ทิ้งไว้ 6-12 ชม. เพื่อให้แอลกอฮอร์สกัดเอาสารออกฤทธิ์ใน
เปลือกมังคุดออกมาก่อน จากนั้นเติมน้ำเปล่าลงไป 10 ล. พร้อมกับเติมน้ำส้ม
สายชู 99.9% อีก 10 ซีซี. คนให้เข้ากันดี แช่ทิ้งไว้ 12-24 ชม. ได้ "หัวเชื้อ"
พร้อมใช้งาน เก็บในอุณหภูมิห้องได้นานนับปี

อัตราใช้ : หัวเชื้อ 20-50 ซีซี./น้ำ 20 ล.

ศัตรูพืชเป้าหมาย : เชื้อรา แบคทีเรีย

(ลุงคิม)



49.





50. กิ่งมะละกอที่เราเคยตอนไว้เมื่อประมาณ 1 เดือนที่แล้ว เริ่มออกรากแล้วล่ะค่ะ
รออีกสักระยะหนึ่งให้รากออกอย่างเต็มที่ก่อน ก็ได้เวลาย้ายลงปลูกได้แล้วล่ะค่ะ




51. เห็นไหมล่ะคะว่า การตอนมะละกอเห็นผลแล้ว นอกจากนี้การตอนยังไม่
ทำลายความสมบูรณ์ของกิ่ง สามารถเลี้ยงลูกได้ตามปกติเลย




52. ภาพมุมต่ำเน้นให้เห็นองค์ประกอบอย่างชัดเจน




53. กิ่งนี้รากยังออกไม่มากนัก รออีกสักพักมาเต็มแน่นอน




54. เจ้าของผลงานโชว์กันหน่อยเร็ว เอ๊ะ... หน้าคนกับถุง อันไหนดำกว่ากันเนี่ย




55. ของอ๋อมแอ๋มถึงกิ่งจะเล็ก แต่คุณภาพคับแก้วนะนะ




56. นึกว่าลิงจะชอบปีนแต่ต้นมะพร้าว ไม่ยักกะรู้ว่าชอบปีต้นมะละกอด้วย อิอิ




57. ของบ๋อมแบ๋มรากออกเยอะสุดเลยค่ะ นี่แหละที่เขาเรียกว่า ฝีมือมันคนละชั้น
กัน ฮ่าๆๆๆๆ ฮ่าๆๆๆๆๆ เอิ๊กกก (หัวเราะแบบนางร้าย)




58. ภาพก่อนไม่สะใจ อ๋อมแอ๋มขออีกทีค่าาา




59. เอ้า คราวนี้ของสอง จะอะไรกันนักกันหนาเนี่ย พอแล้วแม่คุ๊ณ......




60. ผลงานการเสียลยอด เสียบข้าง ที่เคยเรียนไว้ ผลปรากฏว่าเสียบไปสิบกว่า
ยอด ติด 3 ยอด คำนวณออกมาแล้วถึง 20% มั้ยเนี่ย




61. พริ้ตตี้เสียบยอดค่า บ๋อมแบ๋มเจ้าเก่า เฮ้อ... แม้แต่เสียบยอดก็ต้องมีพริ้ตตี้
ด้วยน้อ




62. ชิชะ นางวันทอง เอ้ย..นางแมลงวันทอง เสร็จฉันละ




63. ของอ๋อมแอ๋มก็ใช่ย่อยนะเนี่ย สุดยอด สูญพันธุ์แน่




64. มาอีกแล้ว คิงคองเจ้าเก่า ว่าแต่...ตื่นยังอ่ะ




65. เอ้า ๆๆๆ เช้าฉีด เย็นฉีด แม้แต่เดินผ่านก็ฉีด ให้มันรู้ไป ต้นองุ่นลุงข้า ใคร
อย่าแตะ เจอยาสมุนไพรเข้าละก็รอดยาก




66. มุมตะกี้ไม่สวย บ๋อมแบ๋มขอย้ายมุม อวดอณูผิวขาว กระจ่างใสอย่างเต็มที่ค่ะ




67. ข้างล่างบ๋อมแบ๋มฉีดหมดแล้ว งั้นอ๋อมแอ๋มขอข้างบนแล้วกันนะจ๊ะ




68. คนนี้เน้นเท่ เนี้ยบไว้ก่อนเจ้าค่ะ




69. ถ้าไม่ติดที่ดำ เตี้ยด้วย คงหล่อไปแล้วนะเนี่ย




70. โผล่มาแต่ละที ขวัญผวาเลยนะตัวเอง อัลกอร์อิดะขอแจมด้วยคนครับ แมลง
ร้าย ตายเรียบ บรื๋ออออ



เสริม :

องุ่นในกระถางใหญ่ ขนาดจุดินปลูก 5 ปี๊บ ต้นนี้อายุ 3 เดือน ตั้งใจจะบำรุงแล้วตัด
แต่งทรงพุ่มสไตล์องุ่นในไร่ออสเตรเลีย ต้นสูงแค่ 1.50 ม. เส้นผ่าศูนย์กลางทรง
พุ่มกว้าง 2 ม. พรุ่นนิ่งแล้วก็บำรุงตามปกติ ก็น่าจะออกดอกติดผลได้ รอให้ขนาดลำ
ต้นโตกว่านี้ แล้วก็ขนาดกิ่งใหญ่กว่านี้อีกหน่อยแล้วค่อยว่ากัน

ตอนนี้ส่วนลำต้นประธานสูงได้ 1 ม.จากดินปากกระถางแล้ว เลยจัดการตัดยอด
ประธานซะเลยเพื่อควบคุมความสูง แล้วเลี้ยงกิ่งข้างเพื่อสร้างขนาดทรงพุ่มต่อไป

ที่แน่ๆ องุ่นเป็นอาหารอันโอชะของแมลงประเเภทปากกัด มาตอนกลางคืน แมลง

นิรนาม ชื่ออะไรไม่รู้เพราะไม่เคยอยู่พิสูจน์ ถ้าอยากรู้หรืออยากเห็นตัวมันจริงๆ ใช้
กับดักแสงไฟ + กาวเหนียว ดักก็ได้ เช้าวันรุ่งขึ้นเท่านั้นแหละได้ยลโฉมแน่

ก่อนหน้านี้ ประมาณ 2 อาทิตย์ ใบทุกใบ ทั้งใบอ่อนใบแก่ จะถูกแมลงนิรนามกัดจน
พรุน ดูเผินๆยังกะใบโปร่งฟ้าก็ไม่ปาน ตัดสินใจตัดใบทิ้งจนเกลี้ยง แล้วเตรียมการ
เรียกใบใหม่ดีกว่า

สั่งการผสมสารสกัดสมุนไพรสูตรรวมมิตร โรค-แมลง-หนอน ใส่กระบอกฉีดวาง
ประจำไว้ที่กระถางนั้นเลย เช้า 1 รอบ กับค่ำอีก 1 รอบ ทุกวัน เอาแบบไม่เลี้ยงกัน
ละงานนี้

งานนี้ได้ผล ไม่มีร่องรอยกัดกินจากแมลงนิรนามนั้นอีกเลย ก็ยังไม่รู้ว่าจะต้อง เช้า
รอบค่ำรอบ-ค่ำรอบเช้ารอบ แบบนี้ไปอีกนานซักเท่าไหร่ เอาเถอะ นานแค่ไหน
ทรมาณเพียงใด ก็จะลอง ต้องการเพียงคำตอบสุดท้าย เท่านั้นแหละ......(ลุงคิม)





71. กับดักอันบน....ของต้นของใหม่ครับ แต่ไม่เกิน 2 วัน รับรองแมลงวันทองเต็มแผ่นแน่นอน

กับดักอันล่าง....หลังทำเสร็จ เวลาผ่านไปเพียง 2-3 ชม. แมลงวันทองมาแย้วววว
ยั่วเยี้ย เยยยย....ไวจริงนะตัวแค่เนี้ยยยย

72.


เสริม :

แมลงวันทอง กามิกาเช่ ! !....


จากการสังเกตุนิสัยของแมลงวันทองขณะบินเข้ากลิ่นล่อแล้วพบว่า แมลงวันทองไม่
ได้บินตรงเข้าไปที่สำลีชุบกลิ่นล่อก่อน จากนั้นจึงจะเดินหรือไต่ไปไหนต่อไหนต่อ
ไป แต่ในความเป็นจริง แมลงวันทองจะบินตรงดิ่งเข้าหาแผ่นกับดัก แบบบินเข้าชน
เหมือนฝูงบินกามิกาเช่ ประมาณนั้นเลย เมื่อบินไปชนแผ่นกับดักตรงไหนก็จะติด
กาวเหนียวอยู่ตรงนั้น ดังนั้น จึงพบเห็นซากแมลงวันทองติดตามแผ่นกับดักจนเต็มไป
ทั่วทั้งแผ่น

แนวทางแก้ไข คือ สร้างแผ่นกับดักขนาดใหญ่ขึ้น กับดักที่เห็นในภาพขนาด 40 x
50 ซม. (เทียบขนาดตัวคน) แผนการข้างหน้า จะสร้างแผ่นกับดักให้ใหญ่ขึ้นกว่านี้
อีก เพื่อพิสูจน์นิสัยที่แท้จริงของแมลงวันทองต่อไป

อีกสังเกตุการณ์หนึ่งที่พบเห็น คือ ช่วงเวลา 07.00-09.00 และ 16.00-18.00
วันละ 2 เวลา ไม่เว้นวันหยุดนขตฤกษ์ แมลงวันทองจะชุกชุมมากกว่าช่วงเวลาอื่นๆ
ทั้งนี้สังเกตุจากจำนวนแมลงวันทองที่มาติดกับดักนั่นเอง

กับดักอันนี้ ทำเสร็จแล้วติดตั้ง เวลา 07.00-09.00 เพียง 2 ชม.เท่านั้น แมลงวัน
ทองเข้ามาเกาะกระจายทั่วทั้งแผ่นกับดัก ไม่ได้เข้ามาเกาะเฉพาะบริเวณที่มีสำลี
ชุบกลิ่นล่อหรือข้างเคียงเท่านั้น ชัดเจนว่า กับดักขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า
กับดักขนาดเล็ก..................(ลุงคิม)





73. ค้างถั่งฝักยาวที่เราทำไว้ ตอนนี้ถั่วฝักยาวเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วนะ สวยงามมาก




74. ความภูมิใจที่เกิดจากการได้ลงมือทำ แล้วเห็นผลจริง ถึงแม้จะเป็นแค่สิ่งเล็ก
ๆ น้อย ๆ แต่มันจะเป็นบันไดเพื่อให้เราก้าวไปสู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่.......สู้ต่อไปพวกเรา



เสริม :

ถั่วฝักยาวพันธุ์ "ถั่วเนื้อ" เป็นพันธุ์ที่มีเมล็ดน้อย เนื้อมาก ฝักยาวประมาณ 30-45
ซม. ต่างจากฝักยาวพันธุ์ "ถั่วหลา" ที่ฝักยาว 80-100 ซม. .... พันธุ์เนื้อรสชาติ
อร่อยกว่าถั่วหลา....ข้อเสียของถั่วเนื้อ คือ มักเป็นหางหนู หรือปลายฝักเรียวยาว
เล็กเหมือนหางหนู แต่เมื่อบำรุงทางรากด้วย "ระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 ทุก 15 วัน
และบำรุงทางใบด้วย "BIOI + TAIPE + UREGA" ทุก 5-7 วัน เป็นประจำ
อาการหางหนูจะหายไป ทุกฝักสมบูรณ์ดี

บำรุงด้วย bioi + taipe ทุก 5 วัน ช่วยให้ ดอกดก ฝักใหญ่ยาวเหยียดตรง ไม่
เป็นหางหนู ใบใหญ่ แตกยอดใหม่ตลอดเวลา

คนงานเล่นเอา "TAIPE + ไธโอยูเรีย" ผลรับคือ ใบล่างเหลืองร่วง จากนั้นไม่นาน
ก็แตกยอดใหม้ออกดอกติดฝักดกกว่าเดิม

Mg + Zn ใน BIOI จะบำรุงต้นไม่ให้โทรมเร็ว ส่งผลให้จำนวนรอบในการเก็บมากขึ้น.............(ลุงคิม)






75. ดอกแก้วมังกร จำได้ว่าตอนที่เรากลับลาดกระบังไป ดอกเท่าไข่ไก่เอง นี่ผ่าน
ไปแค่ 2 สัปดาห์ โตได้ขนาดนี้เชียว คราวหน้ามาอีกคงได้กินแน่ ๆ (หนูจองไว้
แล้วนะคะคุณลุง)




76. ดอกแก้วมังกรที่สมบูรณ์เกิดจากการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง ไม่ใช่ปลูกทิ้ง
ปลูกขว้างนะคะ



เสริม :

แก้วมังกรในฤดูจะออกดอกติดผลเมื่อเริ่มเข้าสู่หน้าฝน อายุผลตั้งแต่ผสมติดถึงเก็บ
เกี่ยวราว 5 อาทิตย์ นั่นคือ นอกจากต้องบำรุงด้วยสูตรขยายขนาดผล หยุดเมล็ด
สร้างเนื้อแล้ว ยังต้องบำรุงด้วยสูตรป้องกันผลแตกเนื่องน้ำมากและบำรุงให้ได้
คุณภาพดีอีกด้วย

ผลแก้วมังกรช่วงหน้าฝนมักมีรสเปรี้ยว หรือไม่ก็รสจืดชืด กินไม่อร่อย ไม่ประทับใจ
ในขณะที่คนกินบางคนชอบรสออกเปรี้ยว แต่บางคนต้องการรสออกหวาน เทคนิค
บำรุงให้รสชาติดี รสออกหวาน เนื้อแน่น กรอบ แกะออกมาแล้วลักษณะเนื้อเหมือน
วุ้นจะต้องบำรุงให้ถึง (เน้นย้ำ....ถึง) ธาตุรอง ธาตุเสริม และแคลเซียม โบรอน.
อย่างแท้จริง ..... นอกจากนี้ ธรรมชาติของแก้วมังกรจะออกดอกติดผลปีละหลาย
ชุด ว่ากันตั้งแต่เดือน พ.ค. ถึง ต.ค. เรื่อยไป บ่อยครั้งที่ในต้นเดียวกันมีทั้งดอก ผล
เล็ก ผลกลาง และผลแก่ใกล้เก็บ กรณีนี้ต้องบำรุงทางใบด้วยสูตร "สหประชา
ชาติ" (ยูเรก้า + ไบโออิ + ไทเป) เพื่ออาศัยยูเรก้าขยายขนาดผล, ไบโออิบำรุง
ต้นไม่ให้โทรม และไทเปเปิดตาดอก ทุก 5 วัน แล้วสลับด้วยแคลเซียม โบรอน
บ่อยๆ เพื่อป้องกันผลแตก ส่วนทางรากบำรุงด้วย "ระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24"
เดือนละ 1 ครั้ง เพียงเท่านี้จะได้ผลเพียงระดับหนึ่ง (ไม่ใช่สูงสุด) เท่านั้น ต้องบำรุง
ต่อ.....

ช่วงผลแก่ใกล้เก็บ (สัปดาห์สุดท้าย) ปกติผลแก้วมังกรจะโชว์สีแดงชัดเจน เรียกว่า
แดง-1 หรือแดงครั้งที่ 1 ช่วงนี้ถ้าไม่มีฝนก็เก็บเกี่ยวได้ แต่ถ้ามีฝนชุกจงอย่ารีบเก็บ
เกี่ยว แต่ให้บำรุงด้วยสูตรเดิมต่อไป โดยระยะเวลาให้อาจจะถี่ขึ้นกว่าเดิมก็ได้ ช่วง
อาทิตย์นี้สีแดงที่ผลจะลดลงมีอาการอมเขียวเล็กน้อย หลังจากบำรุงด้วยสูตรเดิมต่อ
อีก 1 อาทิตย์ สีผลจะกลับมาแดงจัดอีกครั้งเรียกว่า แดง-2 หรือแดงครั้งที่ 2 คราว
นี้ให้ลงมือเก็บเกี่ยวได้ แล้วจะได้ผลที่มีคุณภาพดี

เทคนิคบำรุงทางใบด้วยสูตรเร่งหวาน (0-21-74) แม้จะช่วยให้ลผลแก่ใกล้เก็บมี
รสหวาน และคุณภาพดีขึ้น แต่มีข้อเสียที่ทำให้ผลรุ่นน้องหยุดขยายขนาด หรืออาจ
จะกลายเป็นยผลแก่ทั้งๆที่ขนาดยังเล็กได้ ดังนั้นการเร่งหวานผลแก่ต้องพิจารณาให้
เหมาะสม...................(ลุงคิม)








77. อาหารมื้อเที่ยงอันแสนสุข ประกอบไปด้วยอาหารโปรดของพวกเรา อัน
ได้แก่ ส้มตำปลาร้า ต้มตำปู แล้วก็ไก่ย่างวิเชียรบุรี 2 ตัว (สงสัยคุณลุงกลัวเราไม่
อิ่ม เลยสั่งมาเต็มที่) ต้องขอขอบคุณ คุณลุงมากนะคะที่ใส่ใจในรายละเอียดของ
เราเป็นอย่างดี พอรู้ว่าชอบ คุณลุงก็จัดให้เลย ไม่เคยเสียดายเงินทอง ซึ่งคุณลุง
คิมเคยบอกเสมอว่า "เงินทองของนอกกาย มันหาใหม่ได้ แต่ใจคน ซื้อด้วยเงิน
ทองไม่ได้ ต้องซื้อด้วยความรัก ลุงจึงรักพวกเธอแบบไม่มีเหตุผล"

เสริม :
จะว่ารักแบบไม่มีเหตุผลก็ใช่ ลึกๆ ลุงคิมเป็นคนใจง่าย รักคนทั้งๆที่ไม่ได้ถามชื่อ...
รักเดียว ใจเดียว เดี๋ยวเดียว โรเนียวหลายแผ่น..หัวใจมีห้องเดียว แต่ห้องประชุม...

ไม่ใช่รักอย่างเดียว แต่เป็นการรักษากติกาประจำไร่อกล้อมแกล้มด้วย...จำได้ไหม ?
1. น้ำหนักไม่ขึ้น ............................ ตัดคะแนน
2. อยากกินอะไรแล้วไม่บอก ............... ตัดคะแนน
3. อยากกินอะไร บอกแล้วไม่ได้กิน ........ ตัดคะแนน

(ลุงคิมครับผม)





78. บ๋อมแบ๋ม.... อย่า..... นั่นมันชิ้นสุดท้ายแล้วนะ เอาคืนมา......




79. ถ่ายรูปเป็นที่ระทึก เอ้ย..ที่ระลึกพร้อมหน้า พร้อมผลไม้คู่ใจ เหตุผลการ
เลือกพอเดาได้ ดังนี้

บ๋อมแบ๋ม : ทุกคนเชอบเรียกเค้าว่า...มะนาว...ใช่ซะที่ไหนล่ะที่จริงแล้วเค้า
มะพร้าวต่างหาก แต่ที่เห็น ๆ อย่างนั้น เพราะซ่อนรูปต่างหากล่ะ

อ๋อมแอ๋ม : ของอ๋อมแอ๋มชมพู่ ชมพู๊ ชมพู เหมาะกับสาวน้อย หว๊าน หวาน เป็น
ที่สุดเลยล่ะค่ะ

ต้นกล้า : ของต้นมะม่วงนี่แหละครับ สะดวก ใกล้มือ เหมาะสมที่สุดแล้วครับ
(ที่จริงไม่รู้จะถ่ายคู่กับอะไรต่างหากล่ะ ใช่ป่ะ)

ทิวลี่ : ของผมน้อยหน่า ไม่น้อยหน้าใครอยู่แล้วครับ ฮ่าๆๆๆๆ

นี่มาฝึกงานหรือมากินกันแน่เนี่ย มีครบทุกอย่างเลย มะพร้าว มะเฟือง กระท้อน
ตะขบป่า ฝรั่ง ทับทิม น้อยหน่า มะม่วง มะกอกฝรั่ง มะละกอ ส้มโอ ชมพู่ กล้วย

ผลไม้ที่ขาดไปก็มี มะไฟ ทุเรียน มังคุด เงาะ ส้มเขียวหวาน มะเหมี่ยว ละมุด
มะยงชิด พุทรา ขนุน ส้มเช้ง ท้อ ลำไย ลองกอง มะพูด แก้วมังกร เชอรี่ เพราะยัง
ไม่ให้ผลผลิตหรือไม่ก็หมดฤดูกาลไปแล้ว

ในอนาคตจะมี สะตอ กาแฟ โกโก้ มะกอกน้ำ องุ่น มะขามเปรี้ยว มะขามหวาน
มะขามป้อม

ส่วนผักสวนครัวอย่างพวก พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว ถั่วพู ขจร ตำลึง ชะอม ผักบุ้ง
กระถิน กะทกรก มะนาว มะกรูด มะรุม แคแดง สะเดาดำ ฟักทอง ฟักเขียว
น้ำเต้า หน่อไม้หวาน ยอ กระเพา โหระพา แมงลัก ข่า ตะไคร้ กวางตุ้งต้นอ่อน
อันนี้หม่ำประจำทุกวัน ทุกมื้อ อยู่แล้ว นี่ไม่รวมปลากับเต่าในบ่อ แล้วก็หนูพุก
ในสวนนะ ...... ภาพฟ้องหมดแล้ว



เสริม :
รุ่นหน้า จะเก็บกลีบดอกไม้ชุบแป้งโกกิทอดให้กิน ในสีของดอกไม้มีสารเบต้า แคโร
ทีน.สูง สารตัวนี้ช่วยบำรุงสมองดี คิดในใจเร็ว คิดนอกใจช้า ดีนะลูก .....

รู้มั้ย เปลือกผลแก้วมังกรสดๆ หั่นเป็นชิ้นให้ดูสวยๆ ยำสดๆแบบถั่วพู อร่อยเหาะเลย
เชียวแหละ ............. (ลุงคิม)





80. เอ้าซี๊ดดด ถ่ายภาพให้ออกมาซี๊ดกันหน่อยเร็ว




81. น่ากินมั้ยล่ะคะ ผลไม้สด ๆ จากสวน มีหลากหลายให้เลือกชิม อยู่ที่นี่รับรอง
ไม่เป็นโรคขาดวิตามินแน่นอนค่ะ



เสริม :

สายพันธุ์ไม้ผล (ให้ผลผลิตแล้ว/ยังไม่ให้ผลผิต/ยังไม่ได้ปลูก) ....
มะม่วง (ขาวนิยม, เขียวใหญ่, งามเมืองย่า, เขียวสุพรรณ, น้ำดอกไม้, น้ำดอกไม้
เบอร์ 4/19, แม่ลูกดก, เขียวเสวย, เขียวเสวยรจนา, แก้วลืมคอน, มันขุนศรี, มัน
ศาลายา, อกร่อง, อกร่องไทรโยค, อกร่องพิกุลทอง, หยาดพิรุณ, จอมพล,
โชคไพบูลย์, จินหวง, อาร์ทูอีทู ออสเตรเลีย, อาร์ทูอีทู แม็กซิโก, อาร์ทูอีทู
บราซิล, เออร์วิน, .....)

มะนาว (น้ำหอมทูนเกล้า-แม่ไก่ไข่ดก-แป้นรำไพ), แก้วมังกร (เวียดนาม), น้อย
หน่า (เพชรปากช่อง-หนัง-ครั่ง), ทับทิม (แดงมารวย), ลำไย (สีชมพู), ส้มโอ
(ขาวใหญ่), ส้มเช้ง (-), มะพร้าว (พวงร้อย-แกง-กะทิ), มะเฟือง (บี-1),
มะพูด (-), ท้อ (ปราจีน), ตะขบป่า (-), มะขามป้อม (อินเดีย)

ชมพู่ (เพชรบุรี), ฝรั่ง (แป้นสีทาอง-สาลี่ทอง) พุทรา (จัมโบ้), มะยงชิด (ไข่
ทอง), มะกอกฝรั่ง (-), เชอรี่ (-), กระท้อน (อีล่า-กำมะหยี่), มะละกอ (ปักไม้
ลาย), กล้วย (หอมทอง-น้ำว้า-เล็บมือนาง), มะไฟ (ข้าวเหนียวดำ-เหรียญทอง),
ลิ้นจี่ (ค่อม), เงาะ (โรงเรียน), มังคุด (-), ทุเรียน (ชะนี), มะกอกน้ำ (เกษตร),

ลองกอง (-), ส้มเขียวหวาน (บางมด), มะเหมี่ยว (-), ละมุด (มะกอก), องุ่น
(คาร์ดินัล), มะขามเปรี้ยว (ฝักยักษ์), มะขามหวาน (สีทอง), กาแฟ (อาราบิก้า),
โกโก้ (-), สะตอ (ข้าว) .................................. (ลุงคิม)






82. เอ้า...หนุ่ม ๆ อร่อยกันมั้ย... ซี๊ดดดด




83. ดื่มด่ำกับความอร่อยจนลืมนึกไปว่า กำลังถ่ายรูปอยู่นะเนี่ย




84. นั่นแปลว่าต้นอร่อย หรืออย่างไรกันนะ ทิ้งไว้ให้คิดเล่น ๆ ดีกว่า




85. สาวน้อยเทพีกล้อมแกล้ม ด้วยความที่รักการถ่ายรูปเป็นชีวิตจิตใจ เธอจึงไม่
พลาดที่จะเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึก ให้ลุงคิมคิดถึง เธอละ เจ้าของคำพูดที่ว่า "ถ้า
พวกหนูกลับ ลุงต้องคิดถึงพวกหนูแน่ๆ"

กลับไปแล้ว แค่ 3 วันเอง ความจริงก็ปรากฏ ลุงคิมบอก "เหงาว่ะ..."




86. UREGA......ออกซิเจนที่นี่สดชื่นที่ซู๊ดดดด ขอตุนกลับไปลาดกระบังหน่อย
นะคะ บ๊าย....บาย.....ไร่กล้อมแกล้ม แล้วจะกลับมาถ่ายรูปใหม่น้าาาาาาา


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/07/2021 2:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 24 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 09/06/2011 11:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จาก :: อ่อมแอ๋ม
ถึง :: ลุงคิม

วันที่ :: 9 มิ.ย.54 - 2300
ชื่อกระทู้ :: โครงการศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่แบบครบวงจร

----------------------------------------------------------------------------------------------------------


นี่คือตัวอย่างโครงการที่ร่างไว้สำหรับนำเสนอชมรมพืชสวนประดับ ซึ่งเป็นชมรมประจำภาควิชาผลิตพืชที่พวกเรา
เรียนอยู่ สาเหตุที่เสนอโครงการก็เพื่อต้องการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของชมรมให้มีผลงานเป็นรูปธรรม สามารถสร้าง
ประโยชน์แก่สาธาณะได้ และยังเป็นการได้ฝึกประสบการณ์การทำงาน การแก้ปัญหา และการได้มีโอกาสพบ
เจอกับอุปสรรคการทำงานจริง ซึ่งจะทำให้มีความชำนาญในการทำงานก่อนจะออกสู่สนามจริง จึงใคร่ขอความอนุ
เคราะห์จากคุณลุงคิม ช่วยตรวจทานและเสนอแนะเพิ่มเติมด้วยค่ะ และต้องขอขอบพระคุณคุณลุงมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ


โครงการ
ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่แบบครบวงจร


เสนอ
ชมรมพืชสวนประดับ
ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช

ดำเนินการโดย
สมาชิกชมรมพืชสวนประดับ
ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช 

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์ของชมรมพืชสวนประดับ ให้มีผลงานออกมาเป็นรูปธรรมมากขึ้น

2. เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่นักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช โดยมีชมรมเป็นสื่อกลาง

3. เพื่อเป็นการฝึกสมาชิกอันได้แก่ นักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช และผู้สนใจ ให้ได้สัมผัสกับการเกษตร
แบบจริงจัง ต่อเนื่อง ได้ฝึกปฏิบัติงานภาคปฏิบัติที่นอกเหนือจากบทเรียน เพื่อเป็นการส่งเสริมจินตนาการ กระบวน
การเรียนรู้ และความคิดสร้างสรรค์

4. เพื่อให้มีเวทีในการแสดงออกทางความคิด เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างไกลขึ้น

5. เพื่อให้มีโอกาสได้สัมผัสกับสังคมความเป็นจริง ความเป็นไปทางด้านการเกษตร ทิศทางการตลาด ที่เป็น
รูปธรรมมากขึ้น เน้นให้ได้สัมผัสกับของจริง เพื่อเป็นการเรียนรู้ ฝึกฝนก่อนเข้าสู่สถานการณ์จริงในอนาคตอันใกล้


เป้าหมายของโครงการ
- เป้าหมายเชิงปริมาณ
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 2


- เป้าหมายเชิงคุณภาพ
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 2 เห็นความสำคัญ และคุณค่าของเกษตรทฤษฎีใหม่ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
สามารถปฏิบัติงานได้จริงอย่างเชี่ยวชาญ และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด รุ่นพี่และรุ่นน้องทั้งศิษย์ปัจจุบันและ
ศิษย์เก่า มีความรักใคร่สามัคคีกันอย่างจริงใจ ส่วนผลผลิตที่ได้จากโครงการถือเป็นผลพลอยได้


หมายเหตุ : เป้าหมายหลักในการพัฒนาคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1–2 ในส่วนของรุ่นพี่ปี 3–4 และศิษย์เก่าคือ
ผู้ให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอแนะ และสอนวิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับงาน รวมไปถึงวิธีการอื่น ๆ ด้วย
ให้เสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน


ระยะเวลาดำเนินการ
1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2554-18 มิถุนายน 2555 


แผนการพัฒนา

ขั้นที่ 1 ปรับรูปลักษณ์ชมรมให้เข้ากับแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ ดังนี้
1. ปรับปรุงพื้นที่ทั้งหมดภายในชมรม (ในส่วนที่ถูกอนุญาต) เพื่อให้สามารถมองออกว่าควรจัดสรรพื้นที่
อย่างไร โดยการถางหญ้า รื้อสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดในส่วนที่ควรรื้อ และซ่อมแซมในส่วนที่ควรซ่อมแซม และ
กำจัดขยะสิ่งของที่ไม่ได้ใช้แล้วออกจากพื้นที่ใช้สอย

2. ปรับหน้าดินให้สม่ำเสมอ เพื่อความสะดวกในการทำกิจกรรมต่าง ๆ

3. สำรวจพื้นที่เพื่อให้รู้ถึงปัญหาที่เคยเกิดขึ้น หรืออาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เพื่อที่จะได้หาทางป้องกันและ
แก้ไขต่อไป


จำนวนคนที่ต้องการสำหรับแผนพัฒนา ขั้นที่ 1 อย่างน้อย 40 คน

ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 1 วัน หรือมากกว่า


ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในแผนพัฒนาขั้นที่ 1
1. แรงงานไม่เพียงพอ ขาดความร่วมมือ

2. ขาดแคลนอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน (ใคร่ขอความอนุเคราะห์จากทางชมรมพืชสวนประดับและอื่นๆ)

3. อุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา



ขั้นที่ 2 วางผังสิ่งปลูกสร้าง และแปลงปฏิบัติงาน โดยมีรายละเอียดคร่าว ๆ ดังนี้

1. บ่อน้ำด้านหน้าชมรมปรับปรุงให้กลายเป็นน้ำสะอาดที่สามารถนำมาใช้ในกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรได้
โดยการเติมออกซิเจนให้น้ำ โดยใช้กังหันน้ำเข้าช่วย เพื่อให้น้ำมีการถ่ายเทอากาศอยู่ตลอดเวลา ซึ่งน้ำในบ่อ
นี้จะถูกสูบมาเติมจากคลองประเวศ และถูกส่งไปสู่พืชโดยระบบน้ำสปริงเกอร์หรืออื่น ๆ ที่ได้ถูกออกแบบไว้

2. โรงเรือนเพาะกล้าไม้

3. โรงเรือนขายไม้ดอกไม้ประดับ

4. โรงเรือนสำหรับขายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกิจกรรมของโครงการ

5. โรงเรือนเพาะเห็ด

6. โรงเรือนสำหรับเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้แบบครบวงจร เป็นโรงเรือนที่มีความคงทนถาวรในระดับหนึ่ง
สามารถเก็บอุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมไปถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ไว้ได้อย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยง
ต่อการชำรุด

7. โรงเรือนเก็บอุปกรณ์ และทำปุ๋ยหมัก

8. ซุ้มใต้ร่มไม้หรือที่ที่มีความเหมาะสม เพื่อสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจตามอัธยาศัย อ่านหนังสือ
ติวหนังสือ รวมไปถึงการพบปะพูดคุยกันระหว่างสมาชิกในชมรม โดยแบ่งเป็นสัดส่วนที่ชัดเจนและเหมาะสม

9. จัดพื้นที่สำหรับแปลงปฏิบัติงานเกษตรกรรม (เนื่องจากพื้นที่ทางด้านหลังเป็นดินที่ขุดขึ้นมาจากก้นคลอง
ประเวศน์ จึงเป็นดินที่เหนียวจัด แร่ธาตุและอินทรีย์วัตถุน้อย การจะปลูกผัก ณ ที่ส่วนนั้นจึงควรทำเป็นกระ
บะปลูก เพื่อที่จะสามารถกำหนดวัสดุปลูกและเพิ่มเติมสารอาหารพืชได้สะดวกตามต้องการ)

10. พื้นที่สำหรับจัดสวนหย่อม

11. รอบรั้วด้านข้าง ด้านหลัง ทำเป็นรั้วกินได้ ปลูกพืชประเภทโตง่าย ตายช้า เช่น ชะอม กระถิน เป็นต้น

12. รอบรั้วด้านหน้าเป็นส่วนของไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อรูปลักษณ์ที่สวยงามของชมรม

13. ระบบการให้น้ำจะใช้แบบสปริงเกอร์ น้ำหยด หรืออื่นๆ ตามความเหมาะสม ถึงแม้จะเป็นการลงทุนที่
ใช้เงินทุนสูงก็ตาม แต่เป็นการลงทุนระยะยาวและเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องของแรงงาน และยังสามารถเป็น
ต้นแบบการจัดการระบบน้ำให้แก่ผู้ที่สนใจได้อีกด้วย

14. และอื่น ๆ


หมายเหตุ : รายการและขั้นตอนต่าง ๆ สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม และสมดุลกับ
งบประมาณ อาจเป็นการทยอยทำทีละส่วนเพื่อหารายได้มาลงทุนในส่วนต่อ ๆ ไป


ขั้นที่ 3 ลงมือปฏิบัติงานโดยตรงโดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ (รอประชุมเพื่อลงมติเมื่อขั้นตอนที่ 2 เรียบร้อย)


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/06/2011 10:13 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 10/06/2011 7:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
จาก :: อ่อมแอ๋ม
ถึง :: ลุงคิม

วันที่ :: 9 มิ.ย.54 - 2300
ชื่อกระทู้ :: โครงการศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่แบบครบวงจร

----------------------------------------------------------------------------------------------------------


นี่คือตัวอย่างโครงการที่ร่างไว้สำหรับนำเสนอชมรมพืชสวนประดับ ซึ่งเป็นชมรมประจำภาควิชาผลิตพืชที่พวกเรา
เรียนอยู่ สาเหตุที่เสนอโครงการก็เพื่อต้องการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของชมรมให้มีผลงานเป็นรูปธรรม สามารถสร้าง
ประโยชน์แก่สาธาณะได้ และยังเป็นการได้ฝึกประสบการณ์การทำงาน การแก้ปัญหา และการได้มีโอกาสพบ
เจอกับอุปสรรคการทำงานจริง ซึ่งจะทำให้มีความชำนาญในการทำงานก่อนจะออกสู่สนามจริง จึงใคร่ขอความอนุ
เคราะห์จากคุณลุงคิม ช่วยตรวจทานและเสนอแนะเพิ่มเติมด้วยค่ะ และต้องขอขอบพระคุณคุณลุงมา ณ ที่นี้ด้วย
นะคะ

ตอบ :
เก่งมากๆ เลยลูกอ๋อมแอ๋ม อยากให้ฉายาใหม่ "แอ๋มมี่ คนเก่ง" เอามั้ย....

เหตุผล : หนูเพิ่งเรียนเกษตรปีแรกที่ สจล. ..... เพิ่งสัมผัสอาชีพเกษตรแบบทำกับมือครั้งแรกที่ไร่กล้อมแกล้ม .....
เพิ่งรู้เรื่องราว วิถีชีวิต แนวคิดของเกษตรกรเพียงเริ่มต้น ..... กับอีกหลากหลายที่เพิ่งล้วนแต่เป็นครั้งแรก.....
ชีวิตจริงเพิ่งผ่านพ้นจากวัยรุ่นสู่ความเป็นนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย หนูเพิ่งเป็นผู้ใหญ่ที่ตัวยังเล็ก แต่แนวความ
คิดของหนูช่างใหญ่เกินตัว ..... ถูกต้องแล้วอั้ยลูกสาว ก้าวแรก ก้าวเล็กๆ ในรั้วมหาวิทยาลัยนี้ จะเป็นสิ่งที่ทั้ง
สร้างและสะสมประสบการณ์ชีวิต ให้เกิดแนวคิดใหม่ในอนาคตที่ยิ่งใหญ่และเปี่ยมไปด้วยอุปสรรคสิ่งท้าทาย





โครงการ
ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่แบบครบวงจร

ตอบ :
ขอบข่าย "ครบวงจร" ที่หนูคิดเอาไว้ ขอบข่ายครบอคลุมถึงไหนลูก....หลักนิยมที่นักส่งเสริมมักอ้างเสมอๆ ก็คือ
"ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ" ความหมายเป็นแบบนี้หรือทำนองนี้ไหมลูก หรือหนูจะสร้างทฤษฎีหลักนิยมขึ้นมา
ใหม่ ตามแนวคิดของตัวเอง.....ลุงคิมว่าดีนะ เอาปัญหาจริงๆมาเป็นโจทย์ แล้วตอบโจทย์นั้นจากแนวคิดใหม่ที่
มาจากประสบการณ์ตรงของเราเอง ...... แบบลุงคิมไง "แผลงๆแต่สร้างสรรค์ - คิดนอกกรอบ - คิดใหม่ทำใหม่
- ฯลฯ" ..... สังคมไทย สังคมโลก ทุกวันนั้ต้องการนวตกรรมใหม่ๆ สิ่งนี้อาจเป็น นวตกรรมใหม่ทางความคิดเพื่อ
เกษตรกรไทย ก็ได้....

มาซาโอะ ฟูกูโอกะ ใช้เวลาถึง 20 ปี ด้วยสื่อทุกรูปแบบ เปลี่ยนแนวคิดทางการเกษตรของเกษตรกรญี่ปุ่น
จากแบบเคมีล้วนๆมาเป็นแบบอินทรีย์ล้วนๆ ได้สำเร็จ และจากนวตกรรมทางความคิดของฟูกูโอกะนี้ ได้ก้าว
สำคัญก้าวหนึ่ง ที่นำมาสู่การพัฒนาหลักนิยมทำการเกษตรแบบผสมผสานระหว่าง เคมีกับอินทรีย์ จนถึงปัจจุบันได้




เสนอ
ชมรมพืชสวนประดับ
ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช


ดำเนินการโดย
สมาชิกชมรมพืชสวนประดับ
ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช & #8195 ;
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์ของชมรมพืชสวนประดับ ให้มีผลงานออกมาเป็นรูปธรรมมากขึ้น

2. เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่นักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช โดยมีชมรมเป็นสื่อกลาง

3. เพื่อเป็นการฝึกสมาชิกอันได้แก่ นักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช และผู้สนใจ ให้ได้สัมผัสกับการ
เกษตรแบบจริงจัง ต่อเนื่อง ได้ฝึกปฏิบัติงานภาคปฏิบัติที่นอกเหนือจากบทเรียน เพื่อเป็นการส่งเสริมจินตนาการ
กระบวนการเรียนรู้ และความคิดสร้างสรรค์

4. เพื่อให้มีเวทีในการแสดงออกทางความคิด เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างไกลขึ้น

5. เพื่อให้มีโอกาสได้สัมผัสกับสังคมความเป็นจริง ความเป็นไปทางด้านการเกษตร ทิศทางการตลาด
ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น เน้นให้ได้สัมผัสกับของจริง เพื่อเป็นการเรียนรู้ ฝึกฝนก่อนเข้าสู่สถานการณ์จริงใน
อนาคตอันใกล้

ตอบ :
ทุกข้อวัตถุประสงค์ ดีมาก
เพิ่มเติม :
- เพื่อเป็นประสบการณ์กิจกรรม ประกอบใบปริญญาบัตร ในการสมัตรงานหลังจบการศึกษาไปแล้ว (อ้างอิง : อ.วิชัยฯ)
- เพื่อเสริมสร้างเชื่อเสียงและเกียรติภูมิแก่สถาบันศึกษา






เป้าหมายของโครงการ
- เป้าหมายเชิงปริมาณ
นักศึกษาชั้นปีที่ 1-2

ตอบ :
ไม่เข้าใจโจทย์ แต่ขอให้ดำเนินการต่อไปภายใต้ "จงมั่นใจในสิ่งที่ทำ และจงทำในสิ่งที่มั่นใจ" ประมาณนี้





- เป้าหมายเชิงคุณภาพ
นักศึกษาชั้นปีที่ 1–2 เห็นความสำคัญ และคุณค่าของเกษตรทฤษฎีใหม่ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง สามารถ
ปฏิบัติงานได้จริงอย่างเชี่ยวชาญ และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด รุ่นพี่และรุ่นน้องทั้งศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่า มี
ความรักใคร่สามัคคีกันอย่างจริงใจ ส่วนผลผลิตที่ได้จากโครงการถือเป็นผลพลอยได้


หมายเหตุ :
เป้าหมายหลักในการพัฒนาคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1–2 ในส่วนของรุ่นพี่ปี 3–4 และศิษย์เก่าคือผู้ให้คำปรึกษา
แนะนำ เสนอแนะ และสอนวิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับงาน รวมไปถึงวิธีการอื่น ๆ ด้วย ให้เสมือนเป็นครอบ
ครัวเดียวกัน


ระยะเวลาดำเนินการ
1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2554 - 18 มิถุนายน 2555 



แผนการพัฒนา
ขั้นที่ 1
ปรับรูปลักษณ์ชมรมให้เข้ากับแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ ดังนี้
1. ปรับปรุงพื้นที่ทั้งหมดภาย
ในชมรม (ในส่วนที่ถูกอนุญาต) เพื่อให้สามารถมองออกว่าควรจัดสรรพื้นที่อย่างไร โดยการถางหญ้า รื้อสิ่ง
ปลูกสร้างที่ชำรุดในส่วนที่ควรรื้อ และซ่อมแซมในส่วนที่ควรซ่อมแซม และกำจัดขยะสิ่งของที่ไม่ได้ใช้แล้ว
ออกจากพื้นที่ใช้สอย

2. ปรับหน้าดินให้สม่ำเสมอ เพื่อความสะดวกในการทำกิจกรรมต่าง ๆ

3. สำรวจพื้นที่เพื่อให้รู้ถึงปัญหาที่เคยเกิดขึ้น หรืออาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เพื่อที่จะได้หาทางป้องกันและแก้
ไขต่อไป
- จำนวนคนที่ต้องการสำหรับแผนพัฒนา ขั้นที่ 1 อย่างน้อย 40 คน
- ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 1 วัน หรือมากกว่า



ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในแผนพัฒนาขั้นที่ 1
1. แรงงานไม่เพียงพอ ขาดความร่วมมือ
2. ขาดแคลนอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน (ใคร่ขอความอนุเคราะห์จากทางชมรมพืชสวนประดับและอื่นๆ)
3. อุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา



ขั้นที่ 2
วางผังสิ่งปลูกสร้าง และแปลงปฏิบัติงาน โดยมีรายละเอียดคร่าว ๆ ดังนี้
1. บ่อน้ำด้านหน้าชมรมปรับปรุงให้กลายเป็นน้ำสะอาดที่สามารถนำมาใช้ในกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรได้
โดยการเติมออกซิเจนให้น้ำ โดยใช้กังหันน้ำเข้าช่วย เพื่อให้น้ำมีการถ่ายเทอากาศอยู่ตลอดเวลา ซึ่งน้ำในบ่อ
นี้จะถูกสูบมาเติมจากคลองประเวศ และถูกส่งไปสู่พืชโดยระบบน้ำสปริงเกอร์หรืออื่น ๆ ที่ได้ถูกออกแบบไว้

2. โรงเรือนเพาะกล้าไม้

3. โรงเรือนขายไม้ดอกไม้ประดับ

4. โรงเรือนสำหรับขายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกิจกรรมของโครงการ

5. โรงเรือนเพาะเห็ด

6. โรงเรือนสำหรับเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้แบบครบวงจร เป็นโรงเรือนที่มีความคงทนถาวรในระดับหนึ่ง
สามารถเก็บอุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมไปถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ไว้ได้อย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการชำรุด

7. โรงเรือนเก็บอุปกรณ์ และทำปุ๋ยหมัก

8. ซุ้มใต้ร่มไม้หรือที่ที่มีความเหมาะสม เพื่อสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจตามอัธยาศัย อ่านหนังสือ
ติวหนังสือ รวมไปถึงการพบปะพูดคุยกันระหว่างสมาชิกในชมรม โดยแบ่งเป็นสัดส่วนที่ชัดเจนและเหมาะสม

9. จัดพื้นที่สำหรับแปลงปฏิบัติงานเกษตรกรรม (เนื่องจากพื้นที่ทางด้านหลังเป็นดินที่ขุดขึ้นมาจากก้นคลอง
ประเวศน์ จึงเป็นดินที่เหนียวจัด แร่ธาตุและอินทรีย์วัตถุน้อย การจะปลูกผัก ณ ที่ส่วนนั้นจึงควรทำเป็นกระบะ
ปลูก เพื่อที่จะสามารถกำหนดวัสดุปลูกและเพิ่มเติมสารอาหารพืชได้สะดวกตามต้องการ)

10. พื้นที่สำหรับจัดสวนหย่อม

11. รอบรั้วด้านข้าง ด้านหลัง ทำเป็นรั้วกินได้ ปลูกพืชประเภทโตง่าย ตายช้า เช่น ชะอม กระถิน เป็นต้น

12. รอบรั้วด้านหน้าเป็นส่วนของไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อรูปลักษณ์ที่สวยงามของชมรม

13. ระบบการให้น้ำจะใช้แบบสปริงเกอร์ น้ำหยด หรืออื่นๆ ตามความเหมาะสม ถึงแม้จะเป็นการลงทุนที่ใช้
เงินทุนสูงก็ตาม แต่เป็นการลงทุนระยะยาวและเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องของแรงงาน และยังสามารถเป็นต้น
แบบการจัดการระบบน้ำให้แก่ผู้ที่สนใจได้อีกด้วย

14. และอื่น ๆ


หมายเหตุ :
รายการและขั้นตอนต่าง ๆ สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม และสมดุลกับงบประมาณ อาจ
เป็นการทยอยทำทีละส่วนเพื่อหารายได้มาลงทุนในส่วนต่อ ๆ ไป


ขั้นที่ 3 ลงมือปฏิบัติงานโดยตรงโดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ (รอประชุมเพื่อลงมติเมื่อขั้นตอนที่ 2 เรียบร้อย)


ตอบ :
อ่านรายละเอียดโครงการแล้ว 4-5-6 รอบ ยอมรับว่าความคิดริเริ่มของหนูกว้างและครอบคลุมดีมาก ก็ให้
น่าเป็นห่วงว่า หนูจะบริหารโครงการได้อย่างไร

ประสบการณ์ตรงที่ลุงคิมมี ลุงคิมเป็นทหาร การทำงานแบบทหาร คือ ออกคำสั่งราชการมอบความรับผิด
ชอบในงานให้ไปปฏิบัติ ผู้ที่ได้รับคำสั่งจะต้องปฏิบัติ ถ้าไม่ปฏิบัติมีโทษ คือ ขังคุก หรือโทษอย่างอื่นก็ว่ากัน
ไปตามระเบียบ แต่ นศ.คงทำไม่ได้ ถ้าไม่ใช่วิชาในหลักสูตรที่มีคะแนนเป็นตัวตัดสินละก็ ลุงคิมเกรงว่าเขาจะ
ไม่สนใจเท่าที่ควรน่ะซี ที่สำคัญก็คือ คะแนนจากการเรียนในห้องเรียน กับคะแนนในแปลง อย่างไหนมีน้ำหนัก
มากกว่ากัน

กรณีของหนูอ๋อมแอ๋ม หนูลูก หนูอย่าลืมว่าหนูก็เป็นเพียง นศ.คนหนึ่งเหมือนกับคนอื่นๆ ที่มีทั้งรุ่นพี่ รุ่นน้อง
รุ่นเพื่อน หนูอาจสั่งรุ่นน้องได้ แต่หนูจะสั่งรุ่นพี่ได้เหรอ แล้วโครงการนี้มีรุ่นพี่เข้ามาร่วมด้วยมากน้อยแค่ไหน
พาดพิงไปถึงอาจารย์ท่านสนับสนุนมากน้อยเพียงใด ถ้าอาจารย์เล่นด้วยแล้วท่านช่วยแค่ไหน งานบางอย่าง
แรงงานคนทำไม่ได้ ต้องใช้เครื่องจักรหรือเครื่องทุ่นแรงเท่านั้น เริ่มจากตัวเครื่องทุ่นแรงที่ว่า ทางสถาบันมีสนับ
สนุนหรือไม่ ค่าใช้จ่าย เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าอื่นๆ

ลุงคิมก็ไม่รู้ว่าสังคมนักศึกษาในมหาวิทยาลัย เมื่อมีกิจกรรมแบบนี้เขาบริหารกันอย่างไร และที่สำคัญลุงคิม
ไม่เคยเห็นสภาพของสถานที่หรือแปลงเกษตรของหนูมาก่อน คงเสนอแนะเทคนิคหรือวิธีการอะไรได้ยาก แม้
จะรู้และมั่นใจเต็มร้อยว่า ใจหนูน่ะเอาแน่ แค่ใจอย่างเดียวมันไม่พอนะลูก ต้องมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
ด้วยนะ มันถึงจะเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จได้

ขั้นแรก ลองดูซิว่า ลุงคิมมีอะไรที่พอจะสนับสนุนโครงการของหนูได้ หนูคงรู้ อันนี้เอ่ยปากขอลุงคิมมาก็แล้ว
กัน ลุงคิมให้ กับรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์เคยไปฝึกงานที่นั่น ที่นี่มา ย่อมรู้จักกับสวนเกษตรหลายๆสวน ก็อาจจะ
ให้รุ่นพี่คนนั้นขอการสนับสนุนจากสวนที่เขามีเคยความคุ้นเคยก็ได้

ที่พูดถึงปัญหามากมาย นั่นก็ปัญหา นี่ก็ปัญหา ปัญหาปัญหาปัญหา ไม่ใช่ให้ยกเลิก หรือให้ต๊อแต๊นะลูก คำพูด
หนึ่งของคุณวิวัฒน์ ศัลยกำธร ว่า "เดินทีละก้าว กินข้าวที ละคำ ทำทีละอย่าง" เพราะฉนั้น ต้องทำ ต้องทำ
และต้องทำ นะลูก

ลุงคิมอยู่ตรงนี้ ต้องการให้ช่วยอะไร เอ่ยปากออกมาได้เลย บอกเพื่อนหนูอีก 5 คนนั้นด้วย.....ลุงคิม อยู่ที่นี่
อยู่ตรงนี้


ลุงคิมครับผม




แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/06/2011 10:17 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 13/06/2011 6:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



ข้าวโพดหวาน (ที่จริงข้าวโพดทุกชนิด) เมื่อไหมเริ่มเนียวหนึบ (สัมผัสด้วยมือ) นั่นคือ เกสรตัวเมีย
พร้อมรับการผสม

วิธีผสมด้วยมือ..... ตัดดอกยอด (เกสรตัวผู้) มาเคาะใส่ที่ไหม 1-2 ครั้ง เกสรตัวผุ้มีลักษณะเป็น
ผงละเอียดมาก เหมือนแป้งฝุ่นทาตัวเด็ก สีเหลืองอ่อน

วิธีผสมด้วยธรรมชาติ ....โดยแมลง คือ ต้องมีแมลงโดยเฉพาะผึ้งเข้ามาช่วยผสมให้ นั่นหมาย
ความว่า จะต้องไม่มีสารเคมีฆ่าหรือไล่แมลงในแปลงปลูกหรือแปลงใก้ลเคียง ซึ่งผึ้งมักออกหากิน
ช่วง 7-10 โมงเช้า และเกสรข้าวโพดก็พร้อมผสมช่วงเวลานี้เหมือนกัน....สายลมช่วยผสม โดย
จัดระยะปลูกให้มีช่องว่างระหว่างต้นเพื่อลมพัดผ่านสดวกได้

ข้อจำกัดทางธรรมชาติเกี่ยวกับเกสรของข้าวโพดอย่างหนึ่ง คือ ในต้นเดียวกันนั้น เกสรตัวผู้จะ
เกิดและพร้อมผสมก่อนเกสรตัวเมีย นั่นคือ เกสรตัวผู้ต้องไปผสมกับเกสรตัวเมียของต้นอื่น หรือ
เกสรตัวเมียต้นนี้ต้องได้รับเกสรตัวผู้จากต้นอื่น นั่นเอง ลักษณะทางธรรมชาติเช่นนี้ เพื่อป้องกัน
การผสมกันเองในต้นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการด้อยทางพันธุกรรม เปรียบเหมือนสัตว์ที่ผสม
กันเองในหมู่พี่น้องซึ่งเรียกว่า "เลือดชิด" ประมาณนั้น

ข้าวโพดฝักใดที่เกสรตัวเมียไม่ได้รับการผสม หรือระหว่างเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียที่ฝ่ายหนึ่งฝ่าย
ใดไม่แข็งแรงสมบูรณ์ เมื่อผสมกันแล้วข้าวโพดฝักนั้นจะเป็นข้าวโพดฟันหลอ

ข้าวโพดหวานในภาพที่เห็น ขนาดฝักใหญ่เกินไซส์มาตรฐานสายพันธุ์ 15-20% ฐานเมล็ดสูงทำให้
รับประทานสะดวก เปลือกหุ้มเมล็ดไม่เหนียวทำให้ไม่ติดฟันขณะรับประทาน เมล็ดเต็มตั้งแต่โคนฝักถึง
ปลายฝักถึงขนาดทะลักออกมานอกเปลือก ไม่มีอาการฟันหลอ รสชาดหวานมัน น้ำหนักดี ......คุณ
สมบัติทั้งหมดนี้เกิดจากการบำรุงทางดินด้วย "ระเบิดเถิดเทิง + 13-13-21" เพียง 1 ครั้งหลังเกสรผสม
ติดหรือเริ่มเป็นฝัก ให้ตอนค่ำ (ระเบิดเถิดเทิง 50 ซีซี.+ 13-13-21 ปริมาณ 4 ชต./100 หลุม ๆละ
1-3 ต้น) และบำรุงทางใบด้วย ยูเรก้า + ไบโออิ + แคลเซียม โบรอน ทุก 3 วัน ให้ตอนเช้า .... ฉีด
พ่นสารสมุนไพรทุกวัน ช่วงค่ำ ... ป้องกันหนอนเจาะฝัก (ศัตรูคู่อาฆาต) โดยฉีดสารสมุนไพรสูตรรวม
มิตรฆ่าหนอน (ตัวต่อตัวมีรุม) ที่ไหมโดยตรง โชกๆ เมื่อไหมเริ่มแห้ง





สรุป :
เปอร์เซ็นต์งอกเมล็ด "เกิน 100%" เพราะประมาณ 20% ของเมล็ดทั้งหมด มีอาการ 1 เมล็ดงอกเป็นต้นได้ 2 ต้น
บางเมล็ดงอกได้ 3 ต้น แม้ต้นที่งอกเกินจะไม่สมบูรณ์และไม่ให้ผลผลิต แต่ก็ถือว่างอก.....โดยทั่วๆไปแล้ว เกษตรกรนิยม
หยอดเมล็ดพันธุ์หลุมละ 3-5 เมล็ด แต่ก็งอกเพียง 1-2-3 เมล็ด ๆละ 1 ต้น เท่านั้น ก็มีไม่น้อยที่บางหลุมไม่งอกเลย
แม้แต่เมล็ดเดียว.....เหตุผลที่เปอร์เซ็นต์เมล็ดงอกสูง เนื่องมาจากการเตรียมเมล็ดก่อนหยอดลงหลุมปลูก โดย "ห่ม" เมล็ด
จนกระทั่งรากงอกออกมาแล้ว จากนั้นเลือกเฉพาะเมล็ดที่รากงอกแล้วลงปลูก......อนึ่ง จากการสังเกตุเมล็ดในถาดห่ม
พบว่า เมล็ด 90 (+) % งอกราก นั่นอาจเป็นผลมาจากการแช่เมล็ดใน "ไคโตซาน + โบรอน" นั่นเอง


ได้ปริมาณผลผลิต "เกิน 100%" ทั้งนี้ ธรรมชาติของข้าวโพดหวานจะได้ผลผลิตฝักแรกขนาดเกรด เอ. จัมโบ้. เพียงต้น
ละ 1 ฝัก กับฝักที่ 2 มีขนาดย่อมลงมาเสมอ แต่ข้าวโพดหวานแปลงนี้ได้ฝักแรกเกรดเ เอ. ขนาดจัมโบ้. ทุกต้น กับประมาณ
30% ของจำนวนต้นทั้งแปลงได้ฝักที่ 2 เกรด เอ. ขนาดจัมโบ้. และประมาณ 30% ได้ฝักที่ 3 แต่ตกเกรด


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/10/2011 1:11 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 13/06/2011 6:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ฝักล่าง : เป็นฝักแรกหรือฝักที่ 2 ของต้น

ฝักบน : เป็นฝักที่ 3 ของต้น แม้ขนาดจะตกเกรดแต่ก็ยังมีเมล็ดเต็ม บริโภคได้ รสชาดไม่ได้ต่างไปจากฝักเกรด เอ.
แม้แต่น้อย ข้าวโพดฝักแบบนี้ แนะนำให้เฉือนเมล็ดสดไปทำทอดมันจะดีมากๆ หรือเฉือนเมล็ดสด เข้าไมโครเวฟ
รอบแรกก่อน 2 นาที แล้วเติมเนย เกลือ น้ำตาล เข้าไมโครเวฟรอบ 2 อีก 45 วินาที แค่นี้ก็อร่อยแล้ว สุดท้าย
ถ้าไม่รู้จะทำอะไร ก็น่าจะพิจารณานมข้าวโพดสดนะ




6.


7.


8.



15.


16.


17. ผลผลิต คัดเฉพาะฝักใหญ่ รวมได้ 12 กส.ปุ๋ย




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2011 9:47 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 14/06/2011 6:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปิดฉากข้าวโพดหวานลาดกระบัง....






























งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา การทำงานทุกอย่างก็ต้องมีวันเสร็จสิ้น เมื่อเสร็จภารกิจที่ได้รับ
มอบหมายนี้แล้ว แปลงข้าวโพดหวานที่เราเฝ้าฟูมฟักมาเป็นเวลากว่าสองเดือนก็ถูกพัง
ทลายให้ราบเป็นหน้ากลอง เหลือไว้เป็นอนุสรณ์ก็แต่ต้นกล้วยเท่านั้น แต่ถึงแม้จะไม่ข้าว
โพดให้เราได้เฝ้าดูพัฒนาการของมันแล้วก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ยังเหลือและคงไม่มีวันลบ
เลือน นั่นก็คือ ความทรงจำที่่แสนสุข เศร้า เคล้าน้ำตา แถมด้วยความโหด มันส์ ฮา
ตลอดช่วงที่เราฝึกงานอยู๋ที่นี่ มันจะอยู่ในใจของเราตลอดไป ที่พอนึกถึงเมื่อไหร่ก็แอบ
ยิ้มได้ทุกที ช่วงนี้ลูก ๆ งานยุ่งกันทุกคนเลยไม่มีเวลาเข้าเว็บมากนัก งานที่ลุงคิมสั่งเลย
ขาดความต่อเนื่อง ต้องขออภัยคุณลุงมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/03/2013 2:38 pm, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 14/06/2011 7:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สารอาหารในข้าวโพด


ข้าวโพดเป็นธัญพืชที่สำคัญมากพืชหนึ่งของโลก ผลผลิตประมาณครึ่งหนึ่งใช้เป็นอาหารมนุษย์ นอกจากนั้น
ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์และอื่น ๆ ข้าวโพดมีถิ่นกำเนิดแถบบริเวณประเทศตะวันตก และเป็นที่นิยมบริโภค
กันแถบประเทศทวีปอเมริกากลาง และใต้ สำหรับประเทศไทย ข้าวโพดเป็นที่รู้จักและนิยมบริโภคในรูป
อาหารว่างระหว่างมื้ออาหารมาช้านานแล้ว และยังมีการปลูกข้าวโพดเพื่อการเลี้ยงสัตว์กันมาก จนถึง
ปัจจุบันข้าวโพดนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศอีกด้วย

การจำแนกชนิดข้าวโพด
ข้าวโพดไร่หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นชนิดที่ปลูกเพื่อการส่งออกเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์

ข้าวโพดรับประทานฝักสด
2.1 ข้าวโพดเทียน มีขนาดต้นเล็ก ฝักเล็กเรียว เมล็ดมนกลม สีเหลืองอ่อน มีรสชาตินุ่มนวล
หวานอร่อย

2.2 ข้าวโพดข้าวเหนียว (Glutinous Corn) จะมีฝักและเมล็ดใหญ่กว่าข้าวโพดเทียน เมล็ดสีขาว
ฝักสดเมื่อต้มรับประทานจะมีลักษณะเหนียวมัน คล้ายข้าวเหนียวเพราะมีอะไมโลเปคตินมาก (อยู่ในรูป
ของแป้ง) เมื่อเมล็ดข้าวโพดแก่และแห้งแล้วนิยมนำไปบริโภคในรูปข้าวโพดคั่ว

2.3 ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) ข้าวโพดชนิดนี้ เมื่อสดจะมีรสหวานอร่อยเนื่องจากมีน้ำตาลกลูโคสมาก
(อยู่ในรูปของแป้ง) เมื่อแก่ฝักจะแห้งและเมล็ดเหี่ยวย่น

2.4 ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby Corn) เป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น นับตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวฝักอ่อน
ใช้เวลาเพียง 60-75 วัน เท่านั้น สามารถปลูกได้ตลอดปี นิยมนำมาบรรจุกระป๋องหรือขายเป็นฝักสด


2.5 ปอปคอร์น (Pop Corn) ข้าวโพดชนิดนี้มีคุณสมบัติแตกฟูได้ดี เมื่อถูกความร้อนอาจเป็นเพราะ
เอนโดสเปอร์มหรือส่วนเนื้อในของเมล็ดไม่มีเยื่อหุ้มเมล็ด (seed coat) นิยมบริโภคในรูปข้าวโพดคั่ว
โดยนำเมล็ดที่แก่แห้งแล้วมาคั่วให้แตก ข้าวโพดชนิดนี้ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ


ส่วนประกอบและคุณค่าทางอาหาร
ข้าวโพดจัดเป็นอาหารจำพวกแป้งเช่นเดียวกับข้าว ประกอบด้วยสารอาหารคาร์โบไฮเดรทและไขมันที่เพียงพอ
แต่มีปริมาณสารอาหารโปรตีนต่ำ ข้าวโพดมีวิตามิน บีต่าง ๆ เช่น วิตามิน บี 1 วิตามิน บี 2 และไนอะซิน
ในปริมาณต่ำ รวมทั้งปริมาณแคลเซียม และเหล็กด้วย และพบว่าวิตามินเอมีเฉพาะในข้าวโพดสีเหลือง


สารอาหาร ประโยชน์
1. คาร์โบไฮเดรท ในส่วนเนื้อในของเมล็ดข้าวโพดที่แก่จัด มีสารอาหารคาร์โบไฮเดรท ประมาณร้อยละ 72 จึง
จัดเป็นอาหารจำพวกแป้งที่ให้พลังงาน คือ 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลอรี่

2. ไขมัน เมล็ดข้าวโพดที่แก่จัดมีไขมันอยู่ประมาณร้อยละ 4 สามารถสกัดเป็นน้ำมันใช้ประกอบอาหาร
น้ำมันข้าวโพดมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวโดยเฉพาะ กรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นในปริมาณสูงถึง
ร้อยละ 40 ซึ่งจะมีฤทธิ์ควบคุมโคเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยลดหรือแก้ไข โรคความดันโลหิตสูง
เนื่องจากมีโคเลสเตอรอลสูงได้

3. โปรตีน ข้าวโพดมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบประมาณร้อยละ 4 โปรตีนในข้าวโพดมีประโยชน์ต่อร่างกายน้อย
เพราะขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ ไลซีน และทริบโตแฟน ดังนั้น จึงควรรับประทานข้าวโพดร่วม
กับถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ เพื่อให้ข้าวโพดมีคุณค่าทางอาหารมากขึ้น

4. วิตามิน ข้าวโพดมีวิตามิน บี 1 และวิตามิน บี 2 ในปริมาณ 0.08-0.18 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
มีไนอะซีน ในปริมาณต่ำ 1.1-1.5 มิลลิกรัม ประเทศที่มีการ บริโภคข้าวโพดเป็นอาหารหลักจะเกิดเป็น
โรคเพลลากา Pellagra กันมาก เพราะขาดสารอาหารไนอะซีน สำหรับวิตามินเอ มีเฉพาะในข้าวโพดสีเหลือง

5. เกลือแร่ ข้าวโพดมีส่วนประกอบเกลือแร่ที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย เช่น แคลเซียม
และ เหล็กแต่ก็มีในปริมาณน้อยมาก



การใช้ประโยชน์ของข้าวโพดในรูปของอาหาร
ข้าวโพดรับประทานฝักสด คนไทยส่วนใหญ่บริโภคข้าวโพดในรูปอาหารหวาน หรืออาหารว่างระหว่างมื้อ
อาหาร โดยนำข้าวโพดที่เมล็ดยังไม่แก่เต็มที่มาต้ม นึ่ง หรือปิ้งให้สุก ใส่น้ำเกลือบ้าง ใส่เนยบ้าง เพื่อ
เพิ่มรสชาติ สำหรับความนิยมในชนิดหรือพันธุ์อาจมีแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม คุณภาพและรสชาติ
ความหวานของข้าวโพด รับประทานฝักสดจะขึ้นอยู่กับ

- อายุการเก็บเกี่ยว ควรเก็บในช่วงระยะเวลาที่พอเหมาะ เมล็ดโตเต็มที่หรือไหมเริ่มมีสีน้ำตาล เช่น ข้าว
โพดหวานควรเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุประมาณ 65-70 วัน หลังปลูก

- ระยะเวลาการบริโภค ภายหลังการเก็บเกี่ยวหรือเมื่อหักฝักจากต้นแล้วคุณภาพและรสชาติความหวานจะ
เริ่มลดลง ยิ่งเก็บไว้นานก็ยิ่งจืดและเหนียวขึ้นทุกทีเนื่องจากน้ำตาลในเมล็ดข้าวโพดเปลี่ยนเป็นแป้งหมด

- การเก็บรักษา อุณหภูมิหรือแสงแดดจะทำให้ความหวานของเมล็ดข้าวโพดลดลงอย่างรวดเร็ว จึงควร
เก็บในที่เย็น เพื่อช่วยรักษาคุณภาพและรสชาติไว้ได้บ้าง ข้าวโพดฝักอ่อน คน
ไทยนิยมนำมา
ประกอบอาหารบริโภคในรูปฝักสด เช่นเดียวกับหน่อไม้ฝรั่ง ต่างประเทศนิยมในรูปข้าวโพดฝักอ่อน
บรรจุกระป๋อง ซึ่งมีหลายประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และฮ่องกง ที่ซื้อข้าวโพดอ่อนบรรจุ
กระป๋องจากประเทศไทย เป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่นำมูลค่าส่งออกสูงให้ประเทศ


คุณภาพและรสชาติของข้าวโพดฝักอ่อนขึ้นอยู่กับ
- อายุการเก็บเกี่ยว ให้สังเกตจากไหมเริ่มโผล่พ้นจากปลายฝักประมาณ 1-2 ซม. ฝักบนสุดเป็นฝักแรก
จะเจริญเติบโตเร็วมากและฝักอื่น ๆ ถัดต่ำลงมา การหักฝักควรให้ติดลำต้นไปด้วย เพราะทำให้มองเห็น
ต้นที่เก็บเกี่ยวแล้วได้ ต้นหนึ่งสามารถเก็บฝักอ่อนได้ 2-3 ฝักเป็นอย่างน้อย อายุการเก็บเกี่ยว 48-50
วัน หลังปลูกและมีช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยว 7-10 วัน

- ระยะเวลาบริโภค เมื่อเก็บแล้วควรประกอบอาหารรับประทานทันทีจะทำให้ได้คุณภาพและรสชาติดี

- การเก็บรักษา ควรเก็บในที่เย็นจะช่วยรักษาคุณภาพและรสชาติได้บ้าง


ข้าวโพดเมล็ดแห้ง
ข้าวโพดจัดเป็นอาหารจำพวกแป้งเช่นเดียวกับข้าว คนในประเทศแถบทวีปแอฟริกา นิยมนำเมล็ดข้าวโพด
มาแช่น้ำ และบดทั้งเมล็ด ด้วยโม่หินหรือเครื่องบด บีบน้ำออกแล้วนำมานึ่งรับประทาน ส่วนประเทศ
แถบทวีปอเมริกากลางและใต้มีผลิตภัณฑ์ข้าวโพดที่นิยมบริโภคเป็นอาหารหลักคือ ทอร์ทิลลา (Tortilla)
โดยใช้เมล็ดข้าวโพดแก่ทั้งเมล็ดแช่ในน้ำด่าง นำมาบดบีบน้ำออก นำมารีดแล้วตัดเป็นแผ่นบาง ๆ ทิ้งให้
หมาด นำมาทอด รับประทานกับถั่วบดผสมเนื้อและใส่เครื่องเทศ


แป้งข้าวโพด
ได้จากการสกัดเอาแป้งจากเมล็ดข้าวโพดที่แก่และแห้งแล้วโดยการโม่แยกส่วนคัพพะและเปลือกออก
เหลือเอนโดสเปอร์ม ซึ่งเป็นส่วนของเนื้อแป้งไว้ แป้งข้าวโพดที่ได้มี 3 ลักษณะคือ ชนิดหยาบเรียกคอร์น
กริท (corn grit) ค่อนข้างละเอียดเรียกว่า คอร์นมิล (corn meal) และชนิดละเอียดเรียกแป้ง
ข้าวโพด (corn flour) นอกจากนั้นยังมีผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้งข้าวโพดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เป็น
อาหารเช้า (breakfast cereal) และขนมปังข้าวโพด ใช้เป็นแป้งชุบทอด ใช้เป็นน้ำซุปข้นราดบน
อาหารหลายชนิด

สำหรับประเทศไทย นิยมใช้แป้งข้าวโพดน้อยมาก เนื่องจากมีราคาค่อนข้างแพง สามารถใช้แป้งมัน
สำปะหลังที่มีราคาถูกกว่า ในการประกอบอาหารที่ต้องการความข้นหนืดและเหนียวแทน ถึงแม้ว่าความ
หนืดจะไม่คงตัวหรือคืนตัวง่ายกว่าที่ใช้แป้งข้าวโพดก็ตาม


น้ำมันข้าวโพด
เป็นน้ำมันที่สกัดจากเมล็ดข้าวโพดที่แก่และแห้งแล้วประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวและมีกรดไขมัน
ที่จำเป็น คือกรดไลโนเลอิกอยู่มาก น้ำมันข้าวโพดจัดเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพดีและมีประโยชน์เหมาะแก่
การบริโภคมากชนิดหนึ่งใช้ในการประกอบอาหารหลายชนิด เช่น ทำน้ำมันสลัด ทำขนม ใช้ทอดอาหารต่าง ๆ

น้ำเชื่อมข้าวโพด (corn syrup)
เป็นน้ำเชื่อมที่ได้จากการย่อยสลายแป้งข้าวโพดใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและขนมหวานต่าง ๆ เนื่อง
จากมีคุณสมบัติไม่ตกผลึกและคงรูป


การใช้ประโยชน์อื่น ๆ
นอกจากการใช้ประโยชน์ของข้าวโพดในรูปของอาหารแล้ว ยังใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเครื่อง
อุปโภคหลายชนิด เช่น ทำสบู่ น้ำมันใส่ผม น้ำหอม กระดาษ ยา ผ้า เป็นต้น นอกจากนี้ ฝัก ใบ ลำต้น
ยังอาจนำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์ได้อีกหลายอย่างเช่น ปุ๋ย วัตถุฉนวนไฟฟ้า ซังข้าวโพดแห้งใช้เป็นเชื้อเพลิง
ในการหุงต้มได้


http://web.ku.ac.th/agri/cornn/corn_b.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/06/2011 10:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 14/06/2011 8:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


อาการขาดธาตุไนโตรเจนของข้าวโพด





อาการขาดธาตุฟอสฟอรัสของข้าวโพด





อาการขาดธาตุแม็กนีเซียมในข้าวโพด
http://www.napstoller.com/sysptoms.php




คลิกไปดู สาระพัดรูปโรคพืช....
http://www.sskcat.ac.th/elearning/5.htm




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/06/2011 11:10 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 14/06/2011 8:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด














ที่มา: เอกสารวิชาการ โรคข้าวโพดและการป้องกันกำจัด
เรียบเรียงโดย ชุติมันต์ พานิชศักดิ์พัฒนา โกมินทร์ วิโรจน์วัฒนกุล และ อดิศักดิ์ คำนวณศิลป์ สถาบันวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร

http://210.246.186.28/fieldcrops/vcorn/index.htm
http://kasetinfo.arda.or.th/north/plant/corn_insect.html


-------------------------------------------------------------------------------------------------------





โรคใบไหม้แผลเล็ก (Southern or Maydis LeafBlight)











โรคใบจุดจากเชื้อเฮลมินโธสปอเรี่ยม (Northern Leaf Spot หรือ Helminthosporium Leaf Spot)





โรคราสนิม (Southern Rust)











โรคใบจุด (Leaf Spot)




โรคจุดสีน้ำตาล (Brown Spot)





โรคต้นเน่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial stalk rot)





โรคต้นเน่าเกิดจากเชื้อฟิวซาเรี่ยม (Fusarium Stalk Rot)




โรคต้นเน่าเกิดจากเชื้อมาโครโฟมิน่า (Charcoal Rot)








โรคโคนเน่า (Basal Stem Rot Disease)





โรคต้น ฝักและเมล็ดเน่าเกิดจากเชื้อดิโพลเดีย (Diplodia Stalk Kernel and Ear Rot )





โรคสมัทหรือโรคราเขม่าสีดำ (Common Smut)










โรคข้าวโพดจากการขาดความสมดุลย์ของธาตุอาหาร



ที่มา: เอกสารวิชาการ โรคข้าวโพดและการป้องกันกำจัด
เรียบเรียงโดย ชุติมันต์ พานิชศักดิ์พัฒนา โกมินทร์ วิโรจน์วัฒนกุล และ อดิศักดิ์ คำนวณศิลป์ สถาบันวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร
http://210.246.186.28/fieldcrops/vcorn/index.htm

http://kasetinfo.arda.or.th/north/plant/corn_disease.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/06/2011 9:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 15/06/2011 7:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวโพดสายพันธุ์ใหม่เพื่อการค้า

ผลงาน มทร.ล้านนา

ข้าวโพด เป็นพืชไร่หนึ่งที่ตลาดมีความต้องการมาก แยกออกเป็นประเภทต่างๆ ได้มากมาย เช่น ข้าวโพดฝักสด
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดข้าวเหนียว หรือข้าวโพดลูกผสมต่างๆ ข้าวสองสี ข้าวโพดสามสี

พันธุ์ข้าวโพดบางพันธุ์ได้นำเข้าจากต่างประเทศ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวเข้ากับ
อากาศของบ้านเรา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) ได้ให้ความสำคัญของสายพันธุ์
ข้าวโพดที่ปลูกได้ในประเทศไทย จึงได้ศึกษาวิจัยจนประสบผลสำเร็จ มีข้าวโพดสายพันธุ์เชิงการค้า เพื่อ
ให้ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งเกษตรกรมีทางเลือกปลูกข้าวโพหลายชนิดตามแต่สภาพพื้นที่
และความต้องการของตลาด



รศ.ดร.คมสัน อำนวยสิทธิ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เล่าว่า ไดทำการ
ศึกษาวิจัยสายพันธุ์ข้าวโพดเพื่อผลิตพันธุ์ในเชิงการค้าหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดหวาน
ฝักเล็ก พันธุ์เทียนหวานพิษณุโลก และข้าวโพดไร่สีม่วง



ข้าวโพดคั่ว
ผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดคั่ว หลายคนต่างนิยมชื่นชอบรับประทานกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะ
ตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก มินิมาร์ท โรงภาพยนตร์ มีทั้งผลิตภัณฑ์ที่คั่วร้อนๆ ผลิตภัณฑ์ข้าว
โพดคั่วปรุงรสสำเร็จรูป แต่ผลิตภัณฑ์บางอย่างและเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดคั่วนั้นจะต้องสั่งนำเข้ามาจากต่าง
ประเทศ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
จึงเกิดแนวคิดศึกษาวิจัยพันธุ์ข้าวโพดคั่วสายพันธุ์แท้เพื่อใช้ผลิตเป็นข้าวโพดคั่วสายพันธุ์ลุกผสมเชิงการ
ค้า จนประสบความสำเร็จ การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดคั่วเพื่อใช้เองภายในประเทศ มีความจะเป็นอย่างยิ่ง
เพื่อให้ได้สายพันธุ์ข้าวโพดคั่วที่สามารถปรับตัวได้ดี มีผลผลิตสูง คุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด
ต้านทานต่อโรคและแมลงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรที่ปลูกข้าวโพไร่หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หันมาปลูกข้าว
โพดคั่วกันมากขึ้นอีกทั้งเป็นการลดการนำเข้าจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูง

จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดคั่วเพื่อการค้า ทำให้ได้ต้นข้าวโพดมีลักษณะเด่น คือ อายุการเก็บเกี่ยว
85 วัน ลำต้นตั้งตรงแข็งแรง สูงประมาณ 150-200 เซนติเมตร เกสรตัวผุ้มีช่อดอกขนาดใหญ่
เกสรตัวเมียสีชมพูขาว เมล็ดเป็นแบบหยดน้ำ สีของเมล็ดเหลืองเข้ม ความยาวของฝัก ประมาณ 18-20
เซนติเมตร มีจำนวน 14 แถวเมล็ดต่อฝัก มีจำนวน 30-38 เมล็ด ต่อแถว ให้ผลผลิตเฉลี่ย 450-650
กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อนำไปคั่วเป้นข้าวตอกมีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ มีการแตกตัวมากกว่า 95 %



ข้าวโพดหวานฝักเล็ก “เทียนหวานพิษณุโลก”
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก ได้รวบรวมเมล็ดข้าวโพดเทียนพื้นเมือง
ตั้งแต่ปี 2537 ปลุกคัดเลือกและศึกษาลักษณะทางการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี 2540 ได้
คัดเลือกข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมือง ได้จำนวน 7 พันธุ์ คือ พันธุ์สุโขทัย 1 สุโขทัย 2 พันธุ์
อยุธยา พันธุ์บางพระ พันธุ์พิษณุโลก พันธุ์ขาวนครศรีธรรมราช และพันธุ์ขาวสุโขทัย ข้าวโพด
เหล่านี้ตั้งชื่อตามแหล่งที่รวบรวมมาปลูก และปลูกเปรียบเทียบทั้ง 7 พันธุ์ ปรับปรุงและพัฒนา
พันธุ์ข้าวโพดเทียนด้วยการเพิ่มจำนวนข้าวโพดข้าวเหนียวหวานของแก่น พันธุ์นพวรรณ 1 และข้าว
โพดเทียนพันธุ์พื้นเมือง 7 พันธุ์ จนได้เป็นข้าวโพดหวานฝักเล็กพันธุ์เทียนหวานพิษณุโลก ที่มี
ลักษณะเด่นคือ อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ใช้เวลาปลูกเพียง 55 วัน ลำต้นสูง 176 เซนติเมตร
รสชาติหวาน กรอบมีสีสองสีสลับกันคล้ายกับพันธุ์ที่นิยมบริโภคในต่างประเทศ ฝักเล็กเหมาะแก่
การบริโภค ความยาวของฝัก 11 เซนติเมตร เส้นรอบวงฝัก 10 เซนติเมตร มีน้ำหนักสดทั้ง
เปลือก 165 กรัมต่อฝัก น้ำหนักฝักสดหลังปอกเปลือก 104 กรัม


ข้าวโพดไร่สีม่วง
ข้าวโพดไร่สีม่วงเป็นพืชไร่ที่ใช้ประโยชน์จากเมล็ดเป็นสำคัญ เป็นวัตถุสำหรับอาหาร
สัตว์ชนิดใหม่ แต่ยังไม่มีภาครัฐและเอกชนผสมพันธุ์ออกมาเป็นพันธุ์ลูกผสมสารสีม่วงแดงจะมีสาร
แอนโทไซยานินที่เป็นสารจากธรรมชาติ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค อีกทั้งสารสีม่วงนี้ยังนำไปใช้เป็นสี
ผสมอาหาร หรือใช้ในอุตสาหกรรมสีย้อมผ้าด้วยความสำคัญดังกล่าว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลล้านนา จึงได้เริ่มศึกษาและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดไร่สีม่วง จำนวน 9 ชั่ว พบว่าได้รับผลผลิต
ค่อนข้างสูง 20 อันดับแรกเฉลี่ยประมาณ 787-953 กิโลกรัม ต่อไร่ อายุการออกดอกเร็วกว่า
พันธุ์การค้า ขนาดของฝักสม่ำเสมอ


สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เลขที่ 59
หมู่ที่ 13 ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โทรศัพท์ (054) 710259, 710554, (081) 870-8902



http://www.cornthai.com/news-12.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/06/2011 10:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 15/06/2011 7:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวโพดข้าวเหนียวหวาน พันธุ์ Kswsx 2410

สุรณี ทองเหลือง สำราญ ศรีชมพร และธำรงศิลป โพธิสูง
สถานีวิจัยพืชไร่สุวรรณวาจกกสิกิจ และศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ
สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


ข้าวโพดข้าวเหนียวหวานพันธุ์ Kswsx 2410 เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวหวานลูกผสมเดี่ยวที่ได้จากการผสม
พันธุ์ระหว่างสายพันุ์อินเบรด Kswi #24-4-1 เป็นสายพันธุ์แม่ และ Kwi #10 เป็นสายพันธุ์พ่อ ซึ่ง
พัฒนาโดยโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเทียนและข้าวโพดข้าวเหนียว ของสถานีวิจัยพืชไร่สุวรรณวา
จกกสิกิจ สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์ เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร
ศาสตร์

จากแนวคิดที่จะพัฒนาข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีความหลากหลายในลักษณะฝัก และรส
ชาติ สู่ผู้บริโภค โดยการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวโพดข้าวเหนียว และ
ข้าวโพดหวาน คือการนำยีนแว๊กซี่ ที่เป็นยีนด้อยจากข้าวเหนียวพันธุ์ composite # 3 มาใช้ประโยยชน์
ร่วมกับยีนด้อยของข้าวโพดหวานคือ ยีน ซูการี่ 1 จากพันธุ์ Jubilee และ Heritage, ชรังเค่น
2 จากพันธุ์ Krispyking, Punchline และ Shaker และ ซูการี่เอนฮานเซอร์ จากพันธุ์ Servo ในสัด
ส่วนที่เหมาะสม

เริ่มพัฒนาพันธุ์โดยการสร้างพันธุ์ผสมรวมในปี พ.ศ. 2538 แล้วสกัดสายพันธุ์อินเบรดมาทดลองผลิต
ข้าวโพดข้าวเหนียวหวานลูกผสม คัดเลือกสายพันธุ์พ่อแม่ที่มีสมรรถนะการรวมตัวดีมาผลิตลูกผสม ทำ
การทดสอบลูกผสมในแปลงทดสอบมาตรฐานหลายแห่งและหลายฤดูปลูก คือ ที่ศูนย์วิจัยข้าวโพด
และข้าวฟ่างแห่งชาติ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และในสถานีวิจัย/ศูนย์วิจัยของกรมวิชาการเกษตร
โดยมีพันธุ์เปรียบเทียบทั้งจากภาครัฐและเอกชน

ในปี พ.ศ. 2545 พบว่าข้าวโพดข้าวเหนียวหวานพันธุ์ Kswsx 2410 เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพ
ในการรับประทานดี ลำต้นและรากแข็งแรง สม่ำเสมอ เจริญเติบโตเร็ว ต้านทานต่อโรคทางใบได้ดี
เมล็ดติดถึงปลายฝัก และมีเปลือกหุ้มฝักมิดชิด จึงได้เสนอมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เพื่อรับรองพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เป็นพันธุ์ปลูก เพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ต่อไป















http://www.rdi.ku.ac.th/kasetfair49/Plant/p_18/p_18.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/06/2011 10:19 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 15/06/2011 8:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เทคนิคการปลูกข้าวโพดฝักสดที่ให้คุณภาพดี


ปลูกต่างพันธุ์แยกห่างกันอย่างน้อย 500 เมตร หรือปลูกเหลื่อมเวลา โดยปลูกพันธุ์
เบาก่อน 7 ถึง 14 วัน

เก็บเกี่ยวให้ถูกเวลา เก็บฝักสดหลังจากออกไหม (เห็นเส้นไหมโผล่พ้นปลายฝัก)
แล้ว 18 วันในฤดูฝนและฤดูร้อน สำหรับฤดูหนาวจะเก็บช้าไปอีก 3-5 วัน แล้วแต่
ความหนาวเย็น ถ้าหนาวมากก็เก็บช้า

ลดการให้น้ำลงก่อนเก็บเกี่ยว 2-3 วัน จะช่วยเพิ่มความหวานให้ดีขึ้น

ข้าวโพดฝักสดจะมีรสชาติดีที่สุด ควรรับประทานทันทีหลังหักฝัก

เวลาเก็บเกี่ยวที่ดีที่สุด คือ เก็บตอนเช้าตรู่ก่อนแดดออกเก็บไว้ในที่ร่ม และเย็น
หากต้องขนส่งทางไกลจะต้องตัดลำต้นให้ติดกับฝักยาวประมาณ 10 เซนติเมตร จะ
ช่วยรักษาความหวานไว้ได้ประมาณ 2 วัน


ผลิตผลิตเฉลี่ย : ข้าวโพดหวาน และข้าวโพดข้าวเหนียว 1,400 กิโลกรัมต่อไร่,
ข้าวโพดเทียน 1,000 กิโลกรัมต่อไร่


เงื่อนไข : การปลูกเป็นพื้นที่ปริมาณมากต้องมีการวางแผนด้านการตลาด เพื่อรอง
รับผลผลิต



ที่มา กรมวิชาการเกษตร

28/04/2554 (update 05/05/2554)


http://agricultural-land.tarad.com/product.detail.php?id=3816471


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/06/2011 10:20 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 21/06/2011 7:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวโพดหวานต้านโรคมะเร็ง

นักวิจัยของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์แห่งสหรัฐฯ รายงานในวารสารสมาคมเคมีแห่งอเมริกา ข้าวโพดหวานที่ปรุง
สุกแล้วจะออกฤทธิ์ล้างพิษในร่างกายสูงขึ้นได้อย่างเด่นชัด เขาเผยว่าผิดกับที่เคยเชื่อกันมาก่อนว่าผักและผลไม้
หากต้มปรุงสุกแล้วจะเสียคุณค่าทางอาหารลงไปสู้กินดิบ ๆ ไม่ได้





แต่ข้าวโพดหวานยังคงสามารถเก็บพลังเป็นตัวล้างพิษคงไว้ได้ แม้ว่าจะสูญเสียวิตามิน ซี. ไปเขาได้พบในการ
ต้มข้าวโพดหวานด้วยอุณหภูมิสูง 115 องศาเซลเซียส ในเวลานานต่างกัน 10, 25 และ 50 นาที พบว่ายิ่งต้มนาน
จะทำให้มันมีสารอันเป็นตัวล้างพิษเพิ่มขึ้นเป็น 22, 44 และ 53 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นตามลำดับนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า
สารที่ออกฤทธิ์เป็นตัวล้างพิษช่วยดับพิษของพวกอนุมูลอิสระซึ่งเป็นอันตรายกับเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ทั้งยัง
มีส่วนเกี่ยวพันกับโรคอันเนื่องมาจากความแก่ชราต่างๆ อย่างเช่น ต้อกระจกและโรคสมองเสื่อมอีกด้วย

คณะนักวิจัยแจ้งว่าข้าวโพดหวานที่ต้มหรือปิ้งจะปล่อยสารประกอบที่เรียกว่า กรดเฟรุลิก อันเป็นคุณกับร่างกาย ยิ่ง
มากขึ้นเมื่อถูกความร้อนสูงขึ้นหรือเวลานานขึ้น กรดเฟรุลิกเป็นพวกพฤกษเคมี ซึ่งในผักและผลไม้มีอยู่ไม่มากนัก
แต่กลับพบมีอยู่อย่างอุดมในข้าวโพด ผสมปนเปรวมอยู่กับอย่างอื่น การทำให้มันสุกจึงช่วยทำ ให้มันปล่อยกรดเฟรุ
ลิกออกมาได้มากขึ้น


อ้างอิง : http://variety.teenee.com/foodforbrain/2456.html

Comments
Powered by Facebook Comments


http://iblog.farmkaset.net
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 28/05/2020 11:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=17&page=3
ใคร-ทำอะไร-ที่ไหน-เมื่อไร-อย่างไร-ทำไม................เริ่มบันทึก ม.ค.53




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 08/01/2024 7:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5
หน้า 5 จากทั้งหมด 5

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©