ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
Nini หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 25/08/2010 ตอบ: 17
|
ตอบ: 17/09/2010 2:38 pm ชื่อกระทู้: ธาตุรอง ธาตุเสริม คืออะไร ..... สงสัยจริงๆ |
|
|
คำว่า ธาตุรอง ธาตุเสริม คืออะไรค่ะ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 17/09/2010 7:55 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ธาตุรอง/ธาตุเสริม คือ ปุ๋ยครับ...
แล้ว วิตามิน เกลือแร่ ล่ะ คืออะไร ? |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
jo1987 หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 14/09/2010 ตอบ: 5
|
ตอบ: 17/09/2010 8:06 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ธาตุอาหารรอง
ธาตุแคลเซียม - CALCIUM
หน้าที่สำคัญของธาตุแคลเซียมในพืช
มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับโครงสร้างของผลไม้
ช่วยเสริมสร้างเซลล์และการแบ่งเซลล์ของพืช ซึ่งพืชต้องการอย่างต่อเนื่อง
ช่วยในการสร้างเซลล์และโครงสร้างของเซลล์ของพืช
ช่วยให้เซลล์ติดต่อกัน และจะช่วยเชื่อมผนังเซลล์ให้เป็นรูปร่าง และขนาดให้เป็นไปตามลักษณะของพืช
ช่วยเพิ่มการติดผล
ช่วยให้สีเนื้อและสีผิวของผลสดใส
ช่วยลดการเกิดเนื้อของผลแข็งกระด้าง และเนื้อแฉะ
ช่วยป้องกัน ผลร่วง ผลแตก
มีบาทบาทที่สำคัญในระยะการเจริญเติบโตและการออกดอกของพืช
มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการย่อยธาตุไนโตรเจน
เป็นตัวช่วยลดการหายในของพืช
เป็นตัวช่วยเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแคลเซียม
ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่จะหดสั้นและเหี่ยว แม้ว่าใบเก่าจะมีธาตุแคลเซียมอยู่ เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายจากใบเก่าสู่ใบใหม่
ใบอ่อนที่ขาดธาตุแคลเซียมจะมีสีเขียวแต่ปลายใบจะเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและจะตายในที่สุด
ถ้าขาดธาตุแคลเซียมที่บริเวณขั้วหรือข้อต่อของผลจะทำให้เกิดแก๊สเอธีลีน(Ethylene) ทำให้ผลร่วง
พืชหลายชนิดที่ขาดธาตุแคลเซียม เช่น มะเขือเทศ แตงโม พริก แตงกวา จะเกิดการเน่าที่ส่วนล่างผล,
ในผักขึ้นฉ่ายจะแสดงอาการไส้ดำ, ในแครอดจะแสดงอาการฟ่ามที่หัว, ในแอปเปิลจะมีรสขม,
ในมันฝรั่งจะแสดงอาการเป็นสีน้ำตาลบริเวณกลางหัว,
ในพืชลงหัวต่าง ๆ เช่น ผักกาดหัว(หัวไชเท้า) หอม กระเทียม จะแสดงอาการไม่ลงหัว หรือลงหัวแต่หัวจะไม่
สมบูรณ์
ในพืชไร่ ต้นจะแตกเป็นพุ่มแคระเหมือนพัด แสดงอาการที่ราก คือ รากจะสั้น โตหนามีสีน้ำตาล ดูดอาหาร
ไม่ปกติ
ในระยะพืชออกดอก ติดผล ถ้าพืชขาดธาตุแคลเซียม ตาดอกและกลีบดอกจะไม่พัฒนา ดอกและผลจะร่วง
สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแคลเซียม
ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป
เมื่อให้ธาตุไนโตรเจนมาก
เมื่อให้ธาตุโพแทสเซียมมาก
เมื่อพืชแตกใบอ่อน แม้ว่าใบแก่จะมีธาตุแคลเซียม ทั้งนี้เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายในพืช
เมื่อพืชแตกใบอ่อนต้องให้ธาตุแคลเซียมอยู่เสมอ
ธาตุแคลเซียมจะมีความสมดุลกับธาตุโบรอนและธาตุแมกนีเซียมในพืช ถ้าไม่มีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง
3 ชนิด พืชจะแสดงอาการผิดปกติ
ธาตุแคลเซียมจะสูญเสียไปในดิน กลายเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งพืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้
ในดินที่เป็นกรด จะตรึงธาตุแคลเซียมไว้ ทำให้พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้
--------------------------------------------------------------------------------
ธาตุแมกนีเซียม MAGNESIUM
ธาตุแมกนีเซียม มีความสำคัญต่อพืช คน และสัตว์ ร่างกายของคนต้องการธาตุแมกนีเซียมประมาณ 0.3-0.4 มิลิกรัมต่อวัน สัตว์เช่น วัว ควาย ต้องการสูงถึง 10 เท่า คือ ประมาณ 3-6 กรัมต่อวัน ถ้าคนขาดธาตุแมกนีเซียม จะทำให้ความจำเสื่อม กล้ามเนื้อเป็นตะคริวเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ในวัวถ้าขาดธาตุแมกนีเซียมจะเป็นโรคกระแตเวียน
หน้าที่สำคัญของธาตุแมกนีเซียมในพืช
เป็นตัวจักรสำคัญในการช่วยเสริมสร้างสารคลอโรฟีลล์ หรือความเขียวในพืช ช่วยให้พืชปรุงอาหารได้ดีขึ้
ช่วยในการเคลื่อนย้ายธาตุฟอสฟอรัสได้ดีขึ้น
มีส่วนสำคัญในการสังเคราะห์แสง
มีส่วนสำคัญเกี่ยวกับการสุกการแก่ของผลผลิต
ช่วยให้พืชเพิ่มการใช้ธาตุเหล็กมากยิ่งขึ้น
เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยต่าง ๆ ของพืช เคลื่อนย้ายภายในพืชได้ดี
ช่วยเสริมสร้างให้พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโตในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น
ช่วยเสริมสร้างให้พืช มีความต้านทานต่อโรคพืชต่าง ๆ
พืชอาหารสัตว์ ถ้าขาดธาตุแมกนีเซียม จะเป็นสาเหตุของพืชอาหารสัตว์เป็นพิษ
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแมกนีเซียม
จะทำให้ต้นเล็กแคระแกรน ใบเหลือง
ในใบแก่จะมีสีซีดจาง ไม่เขียวสดใส และเมื่อแตกใบอ่อนก็จะมีสีซีดจางเช่นเดียวกัน และธาตุแมกนีเซียม
สามารถเคลื่อนย้ายในพืชได้
เมื่อใบแก่ขาดธาตุแมกนีเซียม ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ก็จะขาดด้วย ใบจะเป็นสีเหลืองและเปลี่ยนเป็นสี
น้ำตาลและตายไปในที่สุด
ผลจะสุกแก่ช้ากว่าปกติ
ในพืชตระกูลถั่วจะทำให้พืชไม่ค่อยจะลงฝัก และจะทำให้แบคทีเรียที่รากถั่ว ไม่จับธาตุไนโตรเจนไว้ได้ดีเท่า
ที่ควร
ในพืชอาหารสัตว์จะให้ผลผลิตต่ำ และทำให้พืชอาหารสัตว์เป็นพิษ
สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแมกนีเซียม
ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป
ในดินที่มีปริมาณของธาตุแมกนีเซียมต่ำ
ในดินที่มีธาตุแคลเซียม โพแทสเซียม และโซเดียมมาก
ในดินที่มีปริมาณของเกลือมาก เช่น พวกเกลือโซเดียม
ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ดินเย็น หรือมีอุณหภูมิต่ำ
ในระยะที่พืชแตกใบอ่อน
ในระยะที่พืชดูดใช้ธาตุไนโตรเจนมาก
การให้ปุ๋ยโพแทสเซียม ต้องให้ธาตุแมกนีเซียมควบคู่กันไป ถ้าให้ปุ๋ยโพแทสเซียมมากจะเป็นปัญหาการขาดธาตุแมกนีเซียม
การให้ธาตุแคลเซียม ต้องให้ธาตุแมกนีเซียมควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดความสมดุลกัน ถ้าธาตุแคลเซียมมาก อาจทำให้ขาดธาตุแมกนีเซียม
การให้ปุ๋ยไนโตรเจน ต้องให้ธาตุแมกนีเซียม และธาตุแคลเซียมควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้เกิดความสมดุลกัน โดยเฉพาะพืชอาหารสัตว์ เช่น หญ้าเลี้ยงสัตว์ จะเกิดอาการเป็นพิษจากสารไนเตรท(Nitrate Poisoning) ดังนั้นเมื่อให้ปุ๋ยไนโตรเจนต้องให้ธาตุแมกนีเซียมและธาตุแคลเซียมควบคู่ไปด้วย
--------------------------------------------------------------------------------
ธาตุกำมะถัน SULPHUR
ธาตุกำมะถัน เป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญในเชิงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในการผลิตปุ๋ยเคมี จะต้องมี กำมะถันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ นอกจากนี้ธาตุกำมะถัน ยังมีความสำคัญ ต่อการเจริญเติบโตของพืช หลายชนิด และมีพืชหลายชนิดที่ต้องการธาตุกำมะถันมากเป็นพิเศษ เช่น กาแฟ ปาล์มน้ำมัน อ้อย พืช ตระกูลถั่วที่เป็นอาหารสัตว์ และพืชผักต่าง ๆ
หน้าที่สำคัญของธาตุกำมะถัน
ธาตุกำมะถันเป็นส่วนประกอบของกรดอะมิโน(Amino acids) พืชต้องการธาตุกำมะถันเพื่อสังเคราะห์กรดอะ
มิโนที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ซีสตีน(Cystine) ซีสเตอีน(Cysteine) และเมทธิโอนีน(Methionine) ดังนั้นจึงมี
ส่วนสำคัญในการสร้างโปรตีน, กรดอะมิโนเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งคน
และสัตว์ด้วย
ธาตุกำมะถันจะช่วยในการควบคุม ชนิดและโครงสร้างของเม็ดสีคลอโรพลาสต์ ซึ่งภายในประกอบด้วย
คลอโรฟีลล์เป็นแหล่งที่พบกำมะถันสะสมอยู่มาก เมื่อพืชขาดธาตุกำมะถันปริมาณของคลอโรฟีลล์จะลดลง
ทำให้พืชมีสีเหลืองซีด
ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้พืชทนทานต่ออุณหภูมิที่เย็น และต้านทานต่อ
โรคพืชหลายชนิด
ช่วยสนับสนุนการเกิดปมที่รากของพืชตระกูลถั่วและกระตุ้นการสร้างเมล็ด
มีส่วนสำคัญในการเกิดน้ำมันพืชและสารระเหยให้หัวหอมและกระเทียม
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุกำมะถัน
พืชจะแคระแกรนหยุดการเจริญเติบโต
ใบอ่อนมีสีเขียวจางลง รวมทั้งเส้นใบจะมีสีจางลงด้วย แต่ในใบแก่จะยังคงมีสีเขียวเข้ม
ถ้าพืชขาดธาตุกำมะถันมาก พืชจะพัฒนาการเจริญเติบโตได้ช้า
ลำต้นพืชจะสั้นและแคบเข้า ใบยอดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
ในพืชตระกูลถั่ว การตรึงธาตุไนโตรเจนที่ปมรากจะลดลงทั้งขนาดและจำนวนปม
สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุกำมะถัน
ในดินที่มีของความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 4.0-6.0
ในดินที่มีค่าอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1%อินทรีย์วัตถุเป็นแหล่งสำรองของธาตุกำมะถัน ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์
ผลจากการหักล้างถางพงป่ามาเป็นพื้นที่เพาะปลูกการเกษตรจะทำให้ดินสูญเสียอินทรีย์วัตถุเร็วขึ้น
การใช้ปุ๋ยสูตรที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูง จะทำให้เกิดการขาดธาตุกำมะถัน เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียม
ฟอสเฟต (MAP) ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต(DAP) หรือ ทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต(TSP)
ธาตุอาหารเสริม
ธาตุสังกะสี (Zinc)
หน้าที่สำคัญของธาตุสังกะสีในพืช
ช่วยให้พืชแตกใบอ่อนได้ดีขึ้น
เสริมสร้างเมล็ด
เสริมสร้างฮอร์โมนต่าง ๆ ในพืช
เสริมสร้างการสุกการแก่ของผลไม้
เสริมสร้างความสูงและการยืดของต้น
ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน
ช่วยเสริมสร้างให้พืชมีความต้านทานต่อโรคพืชต่าง ๆ
มีส่วนสำคัญในระบบของเอนไซม์ที่จะไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างสารคลอโรฟีลล์(สีเขียว) ของพืช
มีส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายพวกคาร์โบไฮเดรตและกระตุ้นการใช้น้ำตาลในพืช
ทำหน้าที่เสมือนตัวต่อต้านความหนาวเย็น หรือทำหน้าที่เสมือนเป็นผ้าห่มให้แก่ต้นพืชเมื่อมีอากาศหนาวเย็น
ช่วยให้พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโตเมื่อมีอากาศหนาวเย็น
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุสังกะสี
แสดงอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ
เส้นกลางของใบอ่อนจะแตกเป็นเส้นย่อย ๆ
เกิดจุดสีน้ำตาลที่ใบแก่ ต่อมาจุดสีน้ำตาลจะขยายตัวติดต่อกัน ทำให้ใบเป็นสีน้ำตาล
พืชจะมีการเจริญเติบโตช้า หรือเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร
ในพืชต้นเล็ก ถ้าขาดอย่างรุนแรงจะทำให้พืชตายได้
ทำให้การสุกแก่ของผลไม้ช้ากว่าปกติ
ทำให้ผลผลิตต่ำ
สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุสังกะสี
ในดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) 4.0-5.0 และ 7.0 ขึ้นไป
ในดินที่มีธาตุสังกะสีที่เป็นประโยชน์ต่ำหรือมีปริมาณน้อย
ในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสมาก
ในดินที่มีธาตุไนโตรเจนมาก
ในดินที่ถูกน้ำกัดเซาะมาก รวมทั้งดินที่มีการซึมลึกของน้ำมาก
ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ดินเย็น หรือมีอุณหภูมิต่ำ
ในดินที่มีการไถลึก 6 นิ้ว
ในดินที่ใส่ปูนมากเกินไป
ในดินที่สูญเสียธาตุสังกะสีมากหลังจากเก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว
--------------------------------------------------------------------------------
ธาตุเหล็ก - IRON
ธาตุเหล็ก จะพบในดินมากโดยทั่วไป แต่จะเป็นธาตุเหล็กที่ไม่ได้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเป็นส่วนมาก ปัญหาการขาดธาตุเหล็กของพืชไม่ใช่เกี่ยวกับปริมาณของธาตุเหล็กในดิน ปัญหาเกิดจากการไม่ละลายและความเป็นประโยชน์ต่อพืชของธาตุเหล็ก ดินที่มีความเป็นกรดมากจะทำให้ธาตุเหล็กไม่เกิดประโยชน์ต่อพืช และดินที่มีความเป็นด่างมากก็จะทำให้ธาตุเหล็กไม่เกิดประโยชน์ต่อพืชเช่นกัน ส่วนในดินที่มีน้ำขังจะทำให้ธาตุเหล็กมีประโยชน์ต่อพืชสูงขึ้น
หน้าที่สำคัญของธาตุเหล็กในพืช
ช่วยเสริมสร้างความเขียวหรือสารคลอโรฟีลล์ในใบพืชแต่ไม่ได้เป็นส่วนของคลอโรฟีลล์
ช่วยในการสังเคราะห์แสงในใบพืชได้ดี เพื่อสร้างแป้งและน้ำตาล
ช่วยเสริมสร้างเอนไซม์ในพืชเพื่อช่วยในระบบการหายใจของพืชทำให้พืชเจริญเติบโต
ทำหน้าที่ช่วยเหลือในการแบ่งเซลล์ของพืชเพื่อการเจริญเติบโต
พืชต้องการเหล็กในปริมาณน้อยประมาณหนึ่งในร้อยส่วนเมื่อเทียบกับธาตุไนโตรเจน
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุเหล็ก
ใบพืชจะมีสีซีดจางไม่เขียว แสดงอาการของสารคลอโรฟีลล์
จะทำให้ระบบของรากพืชไม่พัฒนา
พืชเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
เส้นกลางใบพืชจะมีสีซีดจาง
ถ้าพืชขาดธาตุเหล็กในปริมาณมากจะทำให้ผลผลิตลดลง
สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุเหล็ก
ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ตั้งแต่ 6.0 ขึ้นไป
ในดินที่ขาดการให้ธาตุเหล็กที่เป็นประโยชน์ เช่น เหล็กคีเลท
ในดินที่มีการไถลึก และดินที่ถูกน้ำกัดเซาะ
ในดินที่มีความชื้นสูงและมีอุณหภูมิในดินต่ำก่อนและหลังปลูกพืช
ในดินที่แน่นมาก เช่น ดินเหนียว
ในดินที่ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตมาก
ธาตุเหล็กไม่เคลื่อนย้ายจากใบเก่าสู่ใบใหม่ ดังนั้นเมื่อมีใบใหม่ออกมาต้องให้ธาตุเหล็กเสมอ เพื่อไม่ให้พืช
ขาดธาตุเหล็ก
ในช่วงที่มีอากาศเย็น ดินเย็น พืชจะดูดธาตุเหล็กได้น้อยมาก
การฉีดพ่นธาตุเหล็กคีเลททางใบพืชจะให้ประโยชน์แก่พืชมากกว่าให้ทางดิน
--------------------------------------------------------------------------------
ธาตุทองแดง - COPPER
หน้าที่สำคัญของธาตุทองแดง
ทำหน้าที่ในการช่วยสร้างสารคลอโรฟีลล์(สีเขียว)
ทำหน้าที่เพิ่มความหวานในผลไม้
ทำหน้าที่เพิ่มกลิ่นในผลไม้และผัก
ทำหน้าที่เพิ่มความเข้มของสี
เป็นตัวจักรสำคัญในการสังเคราะห์แสง
เป็นตัวจักรสำคัญในระยะการผลิตดอกและผล
เร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ในพืช
ผลิตเอนไซม์ที่มีหน้าที่ในการหายใจของพืช
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุทองแดง
มีข้อใบสั้น
ยอดที่เกิดใหม่จะแสดงอาการตายจากปลายยอดลงมา
ใบจะมีสีซีดและจะไหม้ตายไปในที่สุด
ในพืชพวกมะเขือ ใบจะหนาและมีสีเขียวเข้ม ใบอ่อนจะม้วนขึ้นมีจุดสีจาง ๆ และในใบแก่จะเหี่ยวเฉาเหมือน อาการขาดน้ำ
ถ้าพืชขาดมากจะทำให้พืชเติบโตช้า
สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุทองแดง
ในดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) 4.5-5.0 และ 7.0 ขึ้นไป
ในดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง เพราะดินชนิดนี้จะไม่ยึดธาตุทองแดงไว้
ในดินทรายที่น้ำซึมลึกพาเอาธาตุทองแดงลงไปมาก
ในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูง ทำให้พืชดูดธาตุทองแดงได้น้อย
ในดินที่มีอนุมูลเป็นจำนวนมากของธาตุอะลูมินั่ม ธาตุสังกะสี ธาตุเหล็ก ธาตุแมงกานีส
เมื่อมีการขาดธาตุทองแดงในพืช จะทำให้พืชขาดธาตุอื่น ๆ ด้วย รวมทั้งธาตุไนโตรเจน
ธาตุทองแดงเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้ายจากใบแก่ไปสู่ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ ดังนั้นต้องฉีดพ่นให้อยู่เสมอ เมื่อมีใบอ่อนออกมา
พืชต้องการธาตุทองแดงในปริมาณน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้เพื่อการเจริญเติบโตเช่นเดียวกันกับธาตุโมลิบดีนัม
--------------------------------------------------------------------------------
ธาตุแมงกานีส - MANGANESE
ธาตุแมงกานีส ที่พบในดินอยู่ในรูปของแมงกานีสไดออกไซด์ และในรูปที่เป็นไฮเดรต หรือในรูปของไอออนประจุบวก(Mn2+)
หน้าที่สำคัญของธาตุแมงกานีส
เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ต่าง ๆ ในพืช
ช่วยในการหายใจของพืช เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ช่วยสังเคราะห์แสงทำให้เกิดสารคลอโรฟีลล์(สีเขียวในพืช)
ช่วยเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานเคมี
ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีนในพืชให้เป็นแป้ง เป็นน้ำตาล โดยเฉพาะในผลไม้ที่รับประทานหวานจะมีความหวานเพิ่มขึ้น
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแมงกานีส
แสดงอาการใบเหลือง ต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโต
ใบอ่อนที่แตกออกมาจะซีดขาว
ใบแก่มีจุดสีน้ำตาล ปลายใบแห้ง
ใบห้อยลงและเหี่ยวเฉา
ยอดอ่อนจะแห้งตาย
ในผลไม้ที่รับประทานหวานจะมีความหวานน้อย
--------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มจำนวนช่อดอก จำนวนผล
เพิ่มคุณภาพของผลผลิต เช่น รสชาติ
ช่วยเสริมสร้าง แป้ง และน้ำตาล
ช่วยพัฒนาขนาดของผลและเมล็ด
ช่วยในการผสมเกสรของดอก ป้องกันผลร่วง
สังเคราะห์โปรตีน
สร้างฮอร์โมนพืช
ส่งเสริมการสุกการแก่ของผล
ควบคุมการคายน้ำของผล
มีบทบาทในการย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต
สร้างความต้านทานต่อความหนาวเย็นหรือเมื่อมีอุณหภูมิต่ำ
สร้างให้พืชมีความต้านทานต่อโรคและแมลง
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุโบรอน
อาการปลายใบพืชเหลืองแล้วขยายตัวลงมาตามขอบใบลงสู่โคนใบ และจะมีจุดน้ำตาลเกิดขึ้นที่ขอบใบ
ใบมีสีทองใบหนาหงิกงอ ในบางกรณีใบจะมีอาการโค้งงอขึ้นข้างบน
พืชแตกกิ่งก้านสาขามากผิดปกติและส่วนยอดของกิ่งก้านจะแห้งตาย
พืชไม่ค่อยออกดอกหรือออกดอกแต่ดอกจะไม่สมบูรณ์ ดอกผสมไม่ติดทำให้ดอกร่วง
ในพืชผักประเภทหัวจะมีอาการเน่า
ในพืชที่ให้ผลอยู่จะให้ผลไม่สมบูรณ์ เช่น ส้ม ความหนาของเปลือกจะไม่เท่ากัน และบูดเบี้ยวมีเมือกเหนียว
ธาตุโมลิบดีนัม MOLYBDENUM
พืชดูดโมลิบดีนัมในรูปโมลิบเดทที่เป็นอิออนประจุลบ(Mo O4 2-) การดูดใช้จะลดลงได้เมื่อมีอนุมูล ซัลเฟต(SO4 2-) มาแข่งขัน การใส่ปูนเพื่อปรับ พี-เอช ให้สูงถึง 7 จะช่วยส่งเสริมการดูดใช้โมลิบดีนัมในพืช
หน้าที่สำคัญธาตุโมลิบดีนัมในพืช
ตรึงธาตุไนโตรเจนในพืชตระกูลถั่ว
มีความสำคัญในการเปลี่ยนไนเตรทในพืชให้เป็นกรดอะมิโนเป็นโปรตีน
เสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืช
ช่วยให้ผลไม้สุกแก่เร็วขึ้น
ในผลไม้ที่มีสารไนเตรทสูง โมลิบดีนัมจะทำหน้าที่เปลี่ยนสารไนเตรท ให้เป็นกรด อะมิโน เป็นโปรตีน เป็นน้ำตาล
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุโมลิบดีนัม
แสดงอาการขอบใบแห้งและม้วนงอ
พื้นที่ระหว่างเส้นใบจะมีสีซีดจางและจะแห้งตายในที่สุด
ในกรณีที่พืชต้องการ(หิว) มาก ๆ ต้นจะแคระแกรน ติดดอกเล็ก ๆ ถ้าติดผล ๆ จะร่วงอย่างรวดเร็ว
ในผลไม้จะสุกแก่ช้ากว่าปกติ
ในผลไม้ที่รับประทานหวานจะไม่ค่อยมีรสหวาน
สภาพแวดล้อมที่ขาดธาตุโมลิบดีนัม
ในดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) 4.0-7.0 หรือ ดินเป็นกรด
ในการใส่ปูนในดินเพื่อปลูกพืชหมุนเวียน
เมื่อใส่ธาตุเหล็กลงไปในดินหรือฉีดพ่นธาตุเหล็ก ในดินทราย ในดินที่ใส่ปุ๋ยพวกซัลเฟต
--------------------------------------------------------------------------------
ธาตุโบรอน BORON
หน้าที่สำคัญของธาตุโบรอนในพืช
ปรากฏอยู่
ในผลจะมีเนื้อในน้อยหรือผลกลวง เช่น ในผลมะเขือเทศและส้มเขียวหวาน
ส่วนปลายของผลจะช้ำและต่อมาจะเน่า
สำหรับผลไม้ที่รับประทานหวานจะมีความหวานน้อยกว่าปกติ
ผลร่วงมาก
สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุโบรอน
ในดินที่ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน
ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 4.5-5.0 และ 7.0-8.7
ในดินที่มีการซึมลึกของน้ำมาก
ในดินที่ใส่ปูนมากเกินไป
ในดินที่มีธาตุโพแทสเซียมสูงมาก
ในดินที่มีธาตุไนโตรเจนสูงมาก
ในดินที่มีปุ๋ยฟอสฟอรัสต่ำมาก
ในดินที่เป็นดินทราย
ในระยะที่มีสภาพอากาศแห้งแล้ง
ในดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 17/09/2010 10:25 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ถามสั้นๆ ตอบซะยาวเหยียด.....
คนถามมีพื้นความรู้ระดับประถม ตอบซะระดับมหา-ลัย.....แล้วเขาจะรู้เรื่องไหมเนี่ย......
ทำไมไม่ตอบแค่...
ธาตุรอง คือ ปุ๋ย ประกอบด้วย แคลเซียม แม็กเนเซียม กำมะถัน.
ธาตุเสริม คือ ปุ๋ย ประกอบด้วย เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมงกานิส โมลิบดินั่ม โบรอน ซิลิก้า โซเดียม คลอรีน.....
เรื่องปุ๋ย เรื่องฮอร์โมน วันนี้เขาไปถึงระดับ "นาโน" กันแล้ว
คงต้องเรงสปีดหน่อยนะ
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
1545 หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009 ตอบ: 16
|
ตอบ: 18/09/2010 5:49 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
น่าสงสารคนถาม ลุงรู้ก็น่าจะตอบไปซะทีแรก ผมว่าต้องมี หน้า มหาลัย และหน้าประถม จะได้คุยกันรู้เรื่องหน่อย |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
mongkol สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010 ตอบ: 137
|
ตอบ: 18/09/2010 6:09 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ตอบได้ละเอียดมากสงสัยต้องส่ง มัลติแชมป์ ไปให้เป็นรางวัล |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11663
|
ตอบ: 18/09/2010 9:38 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
1545 บันทึก: | น่าสงสารคนถาม ลุงรู้ก็น่าจะตอบไปซะทีแรก ผมว่าต้องมี หน้า มหาลัย และหน้าประถม จะได้คุยกันรู้เรื่องหน่อย |
ที่จริง ทุกคำตอบ จากทุกคน ดีๆทั้งนั้น....แต่ลุงคิมสงสารคนถาม (ว่ะ) กลังจะตามไม่ทัน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
tapabnumm สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 26/07/2010 ตอบ: 46 ที่อยู่: ระยองครับ
|
ตอบ: 20/09/2010 9:27 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ดีเลยผมกำลังหาข้อมูลอยู่พอดี ขอบคุณมากๆ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Nini หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 25/08/2010 ตอบ: 17
|
ตอบ: 21/09/2010 10:14 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ต้องขอโทษ ที่มาขอบคุณผู้ให้ความรู้ช้าไปหน่อย ขอบคุณนะค่ะ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|