kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/04/2019 11:56 am ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 5 APR.. * สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ย |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 5 APR
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
สนับสนุนรายการโดย ....
* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช .... (02) 322-9175-6
http://www.nimut.com/
* ยิบซั่มธรรมชาติ ---- เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์แมกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็มแคล, แคลซี, แคลสตาร์, .... ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ .... (089) 144-1112
http://www.bkgmax.com/kaset/product.html
* บ.มายซัคเซส อะโกร --- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กลิ่นล่อ+กาวเหนียว ดักแมลงวันทอง ฟลายแอต สเปร์ย, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพรไบโอเจ๊ต, ใบมีด ตัดหญ้า+พรวนดิน ในตัวเดียวกัน, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ .... (081) 910-5034
http://www.mysuccessagro.com
* และ ชมรมสีสันชีวิตไทย เกษตรลดต้นทุน อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด แต่ละปัจจัยพื้นฐาน แต่ละวัตถุประสงค์ แต่ละใจเจ้าของ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ที่ (081) 913-4986 โทรศัพท์เข้ารายการคุยกันสดๆ ออกอากาศ สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน (02) 888-0881 และอินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
----------------------------------------------------------------------------------
จาก : (062) 829-54xx
ข้อความ : ขอวิธีให้ปุ๋ยผ่านหม้อปุ๋ย สูตรตามพืช ทุก 7 วัน ให้ทางใบและทางดิน แบบไร่กล้อมแกล้ม .... สวนบางคล้า
ตอบ :
วิธีให้ คือ วิธีใช้ LEARNNING BY DOING เรียนโดยการปฏิบัติ ใช้กับมือ ทำกับมือ เปิดวาวล์ตัวนั้น ปิดวาวล์ตัวนี้ เปิดพร้อมกัน ทำซ้ำ ซ้ำหลายๆรอบ หลายๆเที่ยว ทำไปคิดไป ทำอะไรๆมากกว่านี้ได้ไหม ?.... สูตรตามพืช พืชสวนครัวอายุสั้นฤดูกาลเดียว พุ่มเตี้ย, เถาเลื้อย, (กินใบ/กินผล/กินยอด/กินต้น/กินหัว/กินหน่อ), พืชไร่, พืชน้ำ, ไม้ผลยืนต้น ทะวาย/รุ่นเดียว, ฯลฯ แต่ละพืช แต่ละปัจจัยฯ แต่ละวัตถุประสงค์ แต่ละใจเจ้าของ
จาก : (084) 256-98xx
ข้อความ : อยากไปเรียนวิธีทำสปริงเกอร์สูตรไร่กล้อมแกล้มต้องเตรียมอะไรบ้าง .... ขอบคุณครับ
ตอบ : เตรียม ใจ อย่างเดียว ....
จาก :(092) 762-04xx
ข้อความ : รู้ได้อย่างไรว่า ปุ๋ยยาปล่อยไปทางสปริงเกอร์ ไปลงที่พืชทุกต้น ขอวิธีพิสูจน์ด้วย ....ขอบคุณครับ
ตอบ :
บางจุด หลายๆจุด ในโซนเดียวกัน ที่ท่อ พีวีซี. มีกระบอกแก้ว (ขวดตัดหัวท้าย เหมือนขวดตัดหัวท้ายที่หม้อปุ๋ย) เป็นตัวต่อเชื่อม เมื่อปล่อยปุ๋ยไปแล้วจะเป็นสีของน้ำปุ๋ยที่กระบอกแก้วนั่นชัดเจน ทุกจุดกระบอกแก้ว .... หรือ
ถอดหัวสปริงเกอร์ บางจุดบางหัว เปิดสปริงเกอร์แล้วรองน้ำปุ๋ยยาที่ออกมาจากหัวสปริงเกอร์ให้เป็นเอง .... หรือ
ปล่อยยิบซั่ม (เข้มข้น) แล้วปล่อยให้แห้ง จะเห็นผงยิบซั่มแห้ง ขาวโพรนติดตามต้นพืช บนพื้น ทั่วทั้งโซน ....
การใช้ ปุ๋ย/ยา อย่างเดียว หรือทั้งสองอย่างพร้อมกัน ไปกับระบบสปริงเกอร์ หรือไปทางท่อ เกษตรกรอเมริกาทำให้ใช้มานานกว่า 70 ปีแล้ว แล้วก็เคยตั้งของสงสัยมานานแล้วด้วยว่า
คนเคยไปเรียนที่อเมริกา เขาไปเรียนอะไรกัน เอาเถอะ ถึงไม่ได้เรียนวิชาการเกษตรโดยตรง แต่ก็มีเพื่อนอยู่ที่อเมริกา .... ไม่ใช่เหรอ ?
คนที่ไม่ได้ไปเรียนที่อเมริกา แต่ประเทศไทยก็มีอินเตอร์เน็ต .... ไม่ใช่เหรอ ?
ทั้งคนที่เคยเรียนที่อเมริกา ทั้งคนไม่มีอินเตอร์เน็ต คุณไปที่ RKK ไปเรียนรู้ด้วยตัวเอง....ไม่ได้เหรอ ?
เรื่องของเรื่องก็คือ คุณเชื่อ สปริงเกอร์ หรือไม่เท่านั้นแหละ
ประโยชน์ของสปริงเกอร์ :
1. ให้ น้ำเปล่า +ปุ๋ยทางใบ +ปุ๋ยทางดิน +ฮอร์โมน +สารสกัดสมุนไพร +สารเคมี อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเดียว หรือหลายอย่าง (น้อยอย่าง/มากอย่าง) ได้ตามต้องการ
2. ทำงานได้ทุกเวลาที่ต้องการ เช่น...
เช้ามืด ............ ชะล้างเชื้อราน้ำค้าง. ราแป้ง. ราสนิม
สาย ............... ปากใบเปิด ให้ปุ๋ยทางใบ
เที่ยง .............. กำจัดเพลี้ยไฟ. ไรแดง.
บ่าย .........
.... สร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ
ค่ำ ................ ขับไล่แม่ผีเสื้อ ไม่ให้เข้าวางไข่
กลางวันฝนตก : .. ฝนหยุดแดดออก (ฝนต่อแดด) ล้างน้ำฝน ป้องกัน/กำจัด แอ็นแทร็คโนส
กลางวันฝนตก : .. ไม้ผลระยะสะสมตาดอก หรือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช ก่อนฝนตกหรือหลังฝนหยุด ให้ปุ๋ยทางใบป้องกันการแตกใบอ่อน
3. ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเนื้องานต่อไม้ผล ทุกต้นเต็มที่ เพราะทำงานทันเวลา เช่น ให้ปุ๋ยทางใบช่วงที่ปากใบของทุกต้นเปิดพอดี .... ล้างน้ำค้างหรือล้างน้ำฝนได้ ทันก่อนที่น้ำค้างจะแห้ง เมื่อนำค้างแห้ง เชื้อราน้ำค้าง. ราแป้ง. ราสนิม. จะซึมแทรกเข้าสู่ต้น หรือเมื่อน้ำฝนแห้ง เชื้อ แอนแทร็คโนส. ก็จะซึมแทรกเข้าสู่ต้น ... คราวนี้แหละ เดือดร้อนต้องใช้สารเคมีประเภทดูดซึม)
4. สปริงเกอร์ไม่อู้งาน แม้คนงานจะขี้เกียจหรือเกี่ยงงาน สักเพียงใด ตรงกันข้าม แรงงานชอบเพราะไม่เหนื่อย
5. อายุใช้งานนานนับ 10-20 ปี หรือนานกว่า
6. สปริงเกอร์ทำงานได้ทุกอย่าง ยกเว้น ตัดแต่งกิ่ง/ห่อผล/กันขโมย
ด้วยแรงงานเพียง 1 คน
ประสบการณ์ตรง :
- ทั่วๆไป ไม้ผล 100 ต้น ฉีดพ่นด้วยสายยางลากทีละต้น ใช้ เวลาต้นละ 5 นาที จะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 500 นาที. ด้วย แรงงาน 2 คน หรือถังสะพายหลังโยกฉีดพ่นทีละต้น ใช้เวลาต้นละ 10 นาที จะต้องใช้เวลา 1,000 นาที ด้วยแรงงาน 1 คน ที่ไร่กล้อมแกล้มใช้สปริงเกอร์ ปั๊มไฟฟ้า 220 โวล์ท 3 แรงม้า ไม้ผล 100 ต้น แบ่งเป็น 2 โซนๆละ 5 นาที เมื่อรวม 100 ต้น จะใช้เวลา 10 นาที ด้วยแรงงาน 1 คน
- แปลงหน่อไม้ฝรั่ง 30 ไร่ สวนยกร่องน้ำหล่อ รดน้ำด้วยเรือปากเป็ด 2 ลำ คนงาน 2 คน ๆละลำ ทั้งสองคนทำงานรอบแรก 8 โมงเช้าถึงเที่ยง ต่อรอบสอง บ่ายโมงถึงบ่าย 4 โมงเย็น ทุกวันไม่ขาดไม่อู้ สามารถให้น้ำหน่อไม้ฝรั่งได้วันเว้นวัน (คนทำงานทุกวัน แต่หน่อไม้ฝรั่งได้น้ำวันเว้นวัน) วันที่ไม่ได้ให้น้ำก็ต้องให้สารเคมีฆ่าแมลง นั่นคือ คนงาน 2 คนต้องทำงานทุกวันไม่มีวันเว้น ....
ภายหลังเจ้าของตัดสินใจติดสปริงเกอร์ เนื้อที่ 30 ไร่ แบ่งเป็น 6 โซนๆละ 5 ไร่ ใช้เครื่องรถยนต์ 4 สูบ เป็นเครื่องต้นกำลัง ใช้เวลาโซนละ 5 นาที เบ็ดเสร็จใช้เวลา 30 นาที ด้วยแรงงานเพียง 1 คน นอกจากให้น้ำเปล่าแล้ว ยังสามารถให้สารเคมีฆ่าแมลงได้อีกด้วยเวลาและแรงงานเท่า กัน ของแถมคือ ให้คนงานทั้ง 2 คนไปทำงานอื่น ทำให้ได้ เนื้องานเพิ่มขึ้น
- สวนส้มเขียวหวาน 100 ไร่ สวนยกร่องน้ำหล่อ รดน้ำด้วยเรือปากเป็ด 2 ลำ คนงาน 2 คนๆลำ ทั้งสองคนทำงานรอบแรก 8 โมงเช้าถึงเที่ยง ต่อรอบสอง บ่ายโมงถึงบ่าย 4 โมงเย็น ทุกวันไม่ขาดไม่อู้ กว่าจะครบรอบต้องใช้เวลา 7 วัน จึงเท่ากับใน 1 อาทิตย์ คนทำงานทุกวัน แต่ต้นส้มได้น้ำเพียงวันเดียว
- รถฉีดพ่นแบบแอร์บลาสส์ (เครื่องแอร์บลาสส์ + แทร็คเตอร์) คันละ 1 ล้าน ทำงานได้เฉพาะกลางวัน ดินแห้ง ทำงานกลางคืนไม่ได้ หรือหลังฝนหยุดใหม่ๆก็วิ่งเข้าไปทำงานในสวนไม่ได้เพราะดินอ่อน
หมายเหตุ :
- อ.วิชัยฯ แห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บอกว่า ระบบสปริงเกอร์ระบบสปริงเกอร์ที่เปรียบเทียบ ราคา กับ ประสิทธิภาพ ในการทำงานแล้ว ที่ไร่กล้อมแกล้ม ถือว่าสมบูรณ์แบบที่สุด
- ระบบสปริงเกอร์ที่ไร่กล้อมแกล้ม เรียกว่าแบบ กะเหรี่ยง มีทั้ง กะเหรี่ยงคอยาว. กะเหรี่ยงหน้าง้ำ. กะเหรียงหน้าบาน กะเหรี่ยงหน้ามืด กะเหรี่ยงเจ้าพระยา และขอมดำดิน. ทุกอย่างเกิดจาก จินตนาการ ของตัวเองทั้งสิ้น คิดเอง-ทำเอง ประมาณนั้น เป็นผลงานของสถาปนึก ไม่ใช่สถาปนิกเพราะฉะนั้น จึงไม่มีหลักวิศวกรรมระบบน้ำใดๆ มาเป็นหลักเพื่ออ้างอิงได้
- อย่าเพิ่งด่วนลงมือทำทันที แนะนำให้ไปดูหลายๆสวน หรือ ไปที่ไร่กล้อมแกล้มแล้วซ้อมทวนอีกรอบ หรือเอาคนงานไป ด้วยก็ดี
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=47
หม้อปุ๋ยเวนจูรี่ (VENTURI) :
หม้อปุ๋ยตัวนี้ สมช.เราทำงานที่แท่นขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยตั้งชื่อว่า "เวนจูรี่" เพราะเครื่องเวนจูรี่ทำงานแบบสุญญากาศ .... หม้อปุ๋ยที่นี่ก็อีหร็อบเดียวกัน ถ้าในหม้อปุ๋ยไม่เป็นสุญญากาศ น้ำปุ๋ยในหม้อปุ๋ยก็จะไม่ไปเหมือนกัน
ระบบการทำงานระหว่างปล่อย ปุ๋ย-ยา แรงดันพ่นน้ำที่หัวสปริงเกอร์ไม่ลด .... แต่หม้อปุ๋ยประทับตรา MADE IN USA ทำในไทย ระบบการทำงานเวลาปล่อย ปุ๋ย-ยา ต้องลดเมนวาวล์เพื่อแบ่งแรงดันน้ำมาดันน้ำที่หม้อปุ๋ย ผลจากการลดเมนวาวล์ทำให้แรงดันพ่นน้ำที่หัวสปริงเกอร์ลดลง
หม้อปุ๋ย RKK ขณะปล่อย ปุ๋ย/ยา รัศมีพ่นน้ำที่หัวสปริงเกอร์ 3 ม. (เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 ม.) เท่าเดิม หม้อปุ๋ย USA ขณะปล่อย ปุ๋ย/ยา รัศมีพ่นน้ำที่หัวสปริงเกอร์ลดลงจากเดิมเหลือแค่ครึ่งเดียว
ตัวนี้ลุงคิมคิดขึ้นมาเอง จดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้เลยแต่ไม่จด ขี้เกียจ ใครอยากจดก็ไปจดซี
อเมริกาทำเกษตรใช้วิธี "ให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำ หรือ ให้ปุ๋ยทางท่อ" มานานกว่า 50-70 ปี ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คนไปเรียนที่อเมริกา เขาไปเรียนอะไรกัน ถึงไม่ได้เรียนเกษตรแต่ก็มีเพื่อนเป็นอเมริกาไม่ใช่เหรอ
เอาเถอะ ถึงไม่ได้ไปเรียนที่อเมริกา แต่อินเตอร์เน็ตอเมริกาในเมืองไทยก็รับได้ไม่ใช่เหรอ ....
สุดท้าย ก็เห็นนะ เคยเจอสื่อสิ่งพิมพ์ (ราชการ) สาขาเกษตร พูดถึงเรื่องหม้อปุ๋ยหน้าโซน ก็งั้นๆ แหละ COPPY (รูป ภาษา ไม่มีคำอธิบาย) เรื่องของต่างประเทศมาลง ลงแล้วก็จบ ไม่มีการขยายผล เรื่องของเรื่องก็คือ ชี้ชัดว่า ปฏิเสธ/ไม่สนับสนุน เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงตัวนี้อย่างหัวเด็ดตีนขาด
ก็เคยเจอนะ รู้จักด้วย เรียนจบ ป.เอก สาขาเกษตร พ่อแม่ทำสวนไม้ผล ติดสปริงเกอร์แค่โคนต้น ส่วนทางใบใช้วิธีลากสายยางฉีดเอา
ออกแบบเอง สร้างเอง จดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้ :
- หม้อปุ๋ยเวนจูรี่ RKK ขณะทำงานไม่ต้องลดแรงดันที่เมนวาวล์ ส่งผลให้รัศมีหรือระยะพ่นน้ำของหัวสปริงเกอร์แรงปกติทุกประการ
- ถ้าต้องการให้เนื้อปุ๋ยในหม้อปุ๋ยไปเร็วๆ ทำได้โดยลดแรงดันที่เมนวาวล์ (ลดเล็กน้อย) แรงดันที่เมนวาวล์เมื่อถูกลดจะเปลี่ยนมาดันออกที่หม้อปุ๋ยแทน ... เนื้อปุ๋ยในหม้อปุ๋ยไปช้าๆ สม่ำเสมอๆ เนื้อปุ๋ยจะกระจายทั่วทุกต้น ทั่วทั้งโซนดี แต่ถ้าเนื้อปุ๋ยในหม้อปุ๋ยไปเร็ว เร็วมากๆ ต้นไม้ในโซนต้นแรกๆ จะได้รับเนื้อปุ๋ยมากกว่าต้นท้ายโซน
เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงฯ :
- ภาคเกษตรกรรม ปฏิเสธเทคโนโลยีสมัยใหม่เครื่องทุ่นแรงเด็ดขาด ทนและยินดีกับเทคโนโลยีสมัยโบราณ (ทำงานด้วยมือ แรงงานสัตว์) อย่างเหนียวแน่น
- ภาคอุตสาหกรรม เปิดรับเทคโนโลยีสมัยใหม่เครื่องทุ่นแรงเต็มที่ แล้วลดแรงงานคน ทั้งนี้เพราะประสิทธิภาพประสิทธิผลของเครื่องทุ่นแรงเหนือกว่าแรงงานคนนั่นเอง
- ติดสปริงเกอร์ ใน แถว/ร่อง เดียวกัน หัวแรกออกแรง หัวกลางออกกลาง หัวท้ายออกค่อย ใช้รดน้ำอย่างเดียวยังไม่ 100% ปล่อย ปุ๋ย/ยา ไปกับสปริงเกอร์ไม่ได้ นั่นติดผิด แบบนี้คุ้มค่าเหรอ ?
- สปริงเกอร์-หม้อปุ๋ย "ลงทุนครั้งเดียว" ใช้งานได้ 10-20-30-ปี
ประหยัด ต้นทุน-เวลา-แรงงาน-อารมณ์
เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของเนื้องาน
ได้เครดิต ความน่าเชื่อถือ
ลูกหลานทำต่อ ขยายผล
จะเอาผลผลิตเต็มที่ ต้องบำรุงเต็มที่
บำรุงเต็มที่ได้เพราะ เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง
ที่ RKK แปลงไม้ผลแบ่งเป็นโซน ๆละ 50 ต้น ให้ น้ำ, น้ำ+ปุ๋ย, น้ำ+ยาสมุนไพร, น้ำ+ปุ๋ย+ยาสมุนไพร มีหม้อปุ๋ยประจำหน้าโซน ทำงานให้ทางใบครั้งละ 3-5 นาที ให้ทางรากครั้งละ 5-10 นาที ต่อการทำงาน 1 รอบ
ลากสายยาง 50 ต้น ๆละ 5 นาที = 250 นาทีไฟฟ้า/ครั้ง
สปริงเกอร์ 50 ต้น ใช้เวลา 5 นาที = 5 นาทีไฟฟ้า/ครั้ง
สรุป : ทำงาน 5ปี 10ปี 20ปี ค่าไฟฟ้าต่างกันเท่าไหร่ ?
คิดใหม่-ทำใหม่ :
- ไร่มันสำปะหลัง ติดสปริงเกอร์ โอเวอร์เฮด/หม้อปุ๋ย ให้ "น้ำ+ปุ๋ย" 2 ครั้ง/เดือน ป้องกันศัตรูพืชสำปะหลังชะงัดนัก เผลอๆได้ 60 ตัน/ไร่ อีกด้วย
- สวนยกร่องน้ำหล่อ รดน้ำด้วยเรือปากเป็ด ใช้เวลาเช้ายันเที่ยงบ่าย ให้น้ำได้อย่างเดียว ให้ ปุ๋ย/ยา ต้องสะพายเป้ลากสายยางต่างหาก งานนี้ ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ เทาไหร่ ?....
ปรับร่องเป็นน้ำเลี้ยงปลา ปลาละร่องๆ เลี้ยงผักบุ้งทอดยอดเย็นตาโฟ เลี้ยงผักกะเฉด ทำค้างคร่อมร่องปลูกมะระฟักเขียวบวบ ได้พื้นที่ คืน/เพิ่ม อีกไม่น้อย....
บนสันแปลงติด สปริงกอร์-หม้อปุ๋ย ช่วยประหยัด ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ เท่าไหร่ ?
- ผักสวนครัวติด สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย ใช้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา ทำเอง ให้น้อยแต่บ่อยครั้ง นอกจากช่วยประหยัดต้นทุนค่า ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา แล้วยังทำให้คุณภาพของผลผลิตดี สร้างเครดิตความน่าเชื่อถือแก่ลูกค้าคนกินอีกด้วย
- ลูกจบปริญญา มีสวนไม้ผลขนาดใหญ่ ปล่อยพ่อแม่ทำ ติดสปริงเกอร์โคนต้นให้น้ำ แต่ลากสายยางฉีดพ่นทางใบต่างหาก ต้นทุน ค่ากตัญญู/ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ เท่าไหร่ ?
- แอร์บลาสส์ คันละล้าน (ตัวแอร์บลาสส์ 5 แสน ตัวแทร็คเตอร์ลาก 6 แสน) ต้องเว้นพื้นสวนให้เป็นถนน (เสียพื้นที่) ทำงานได้เฉพาะเวลาเท่านั้น ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ เท่าไหร่ ?
- ไม่คิด ไม่ยอมรับ ทั้งๆที่รู้ ใช้หม้อปุ๋ยฉีดพ่นสารสมุนไพรอย่างเดียว รุ่นเดียว ก็คุ้มต้นทุน
ใครก็ทำได้ ยกเว้น ..... ? ....... :
- แปลงผักสวนครัว ผักทุกประเภท ลุงทุนครั้งเดียวก็คุ้ม ออกแบบดีๆ ติดตั้งครั้งเดียวใช้ได้ตลอดไป... คิดดู
*** ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ วันต่อวัน วันเว้นวัน ลดสารเคมีได้รุ่นเดียวก็เหลือกำไร
*** ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ทำเอง/ซื้อ รุ่นเดียวก็เหลือกำไร
*** ลดค่าแรง ลากสายยาง-สะพายเป้-แล่นเรือปากเป็ด วันละเท่าไหร่ รุ่นเดียวก็เหลือกำไร
พร้อมทำเอง สอนวิธีทำ ! .... พร้อมซื้อ ขาย ! ...... :
- สวนยกร่องน้ำหล่อ ลุงทุนครั้งเดียวก็คุ้ม ออกแบบดีๆ ติดตั้งครั้งเดียวใช้ได้ตลอดไป... คิดดู
*** ปิดหัวท้ายร่อง ร่องแรกเลี้ยงปลานิล ร่องที่สองเลี้ยงปลาสลิด ร่องที่สามเลี้ยงกบ
*** ร่องที่สี่ เลี้ยงผักบุ้งทอดยอดเย็นตาโฟ
*** ร่องที่ห้า เลี้ยงกะเฉด
*** ร่องที่หก ทำค้างปลูกบวบ
*** ร่องที่เจ็ด ทำค้างปลูกฟักเขียว
*** ร่องที่แปด ทำค้างปลูกฟักทอง
*** ร่องที่สิบ สิบเอ็ด สิบสอง เอาน้ำออกแล้วปลูกเผือก
- ทั้งหมดใช้สปริงเกอร์หม้อปุ๋ย
- สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย คือ เครื่องมือฉีดพ่นธรรมดา ปรับปรุง/ดัดแปลง ใช้กับแปลงพืชอะไรก็ได้
ข้อดีของการใช้ปุ๋ยทางใบ :
1. ช่วยให้พืชรับเข้าสู่ต้น ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
2. เพื่อชดเชยธาตุอาหารที่ขาด หรือเพิ่มเติมเพื่อเร่งการเจริญเติบโตแก่พืชได้
3. ใช้ผสมร่วมไปกับสารเคมี หรือสารสกัดสมุนไพร อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง ได้ เพื่อประหยัดเวลาและแรงงาน
4. ใช้กับพืชที่มีปัญหาเกี่ยวกับดิน เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินเหนียวจัด หรือดินที่มีปัจจัยแวดล้อมต่อต้านการดูดใช้ธาตุอาหารทางระบบราก
5. พืชสามารถรับธาตุอาหารโดยทางใบได้มากกว่า และเร็วกว่าการดูดทางราก
6. ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็วหลังจากชะงัก เนื่องจากกระทบ แล้ง น้ำท่วม หรือถูกโรคแมลงทำลาย
7. ปุ๋ยชนิดน้ำมีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่าปุ๋ยชนิดแข็งและปุ๋ยชนิดเกล็ด มีปริมาณเนื้อปุ๋ยรวม (N+P2O5+K2O) สูงกว่าปุ๋ยเม็ด ทำให้ได้ประสิทธิภาพเหนือกว่า
8. ปุ๋ยชนิดน้ำผลิตง่าย และเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสูตรได้ง่าย จึงผลิตได้มากสูตรกว่าปุ๋ยชนิดแข็งหรือชนิดเกล็ด
วัตถุประสงค์หลักในการให้ปุ๋ยทางใบ :
1. เพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหาร
2. เพิ่มคุณภาพและผลผลิต
3. เพื่อช่วยให้พืชฟื้นตัวจากปัญหาความขาดแคลนในบั้นปลาย
อัตราใช้ปุ๋ยในหม้อปุ๋ยหน้าโซน :
ถาม : หม้อปุ๋ยหน้าโซนใส่ปุ๋ยครั้งละเท่าไร ?
ตอบ :
- เรื่องนี้ไม่มีมาตรฐานแต่มีหลักการ เพราะไม้แต่ละต้นแต่ละชนิดพันธุ์ต่างกัน
- ที่ RKK ไม้ผลยืนต้น 1 โซน 50 ต้น มีหม้อปุ๋ยประจำหน้าโซน 1 อัน
- ทดสอบอัตราการใช้ปุ๋ยสำหรับ 1 โซน โดยผสมปุ๋ยในเป้สะพาย 20 ล.ใส่ปุ๋ย 20 ซีซี. (อัตราใช้ปกติ) ฉีดพ่นเปียกโชก ไต้ใบบนใบ ปกติ ฉีดพ่นได้ 5 ต้น หรือ 1 โซน = 10 เป้ หรือ 1 โซน = 200 ซีซี. นั่นเอง .... ในขณะที่ขวดที่หม้อปุ๋ย 1 ขวดความจุประมาณ 1.5 ล. (1,500 ซีซี.)
- ว่าแล้วก็เติมปุ๋ยลงในหม้อปุ๋ย 200 ซีซี. สำหรับ 1 โซน (50 ต้น)
- กรณีปุ๋ยทางราก คำนวณจากการหว่านด้วยมือ 250 กรัม/ต้น (สมมุติ) เนื้อที่ 1 โซน 50 ต้น (250 กรัม x 50 ต้น) = 12.5 กก. .... ขั้นตอนต่อไปคือ ละลายปุ๋ย 12.5 กก.ในน้ำ ใส่ลงไปในหม้อปุ๋ย แล้วปล่อยไปตามปกติ เนื้อปุ๋ยทั้ง 12.5 กก. จะลงไปหาไม้เสมอเท่ากันทุกต้น
หมายเหตุ :
นี่คือ การใช้ ปุ๋ย/ยา ทางท่อ หรือไปกับระบบน้ำ
วิธีใช้หม้อปุ๋ยหน้าโซน :
ถาม : หม้อปุ๋ยหน้าโซนที่โชว์ แบบ 2 ขวดร่วมกัน กับแบบ 2 ขวดแยกกัน ใช้งานยังไง ?
ตอบ :
- แบบ 2 ขวด แม้จะทำโดยขวด 2 ใบ แต่ขวดทั้งสองเชื่อมต่อกันจึงเท่ากับ 1 ขวดนั่นเอง เนื้อปุ๋ยในขวดทั้งสองจึงไปมาหากันได้ แบบนี้สำหรับใช้งานใน 1 โซน ที่ใช้ปุ๋ยสูตรเดียวกัน
- แบบ 2 ขวดแยกกัน ระหว่างขวดทั้งสองมีวาวล์แยกของแต่ละขวด แบบนี้เหมาะสำหรับไม้ 2 โซน เมื่อจะให้ปุ๋ยโซนไหนก็เปิดวาวล์ปล่อยจากขวดหนึ่งไปก่อน กับเมื่อจะให้ปุ๋ยกับอีกโซนหนึ่งก็เปิดวาวล์ปล่อยปุ๋ยขวดที่เหลือ
- แบบ 4 ขวดแยกกัน ระหว่างขวดทั้ง 4 มีวาวล์แยกของแต่ละขวด แบบนี้เหมาะสำหรับไม้ 4 โซน เมื่อจะให้ปุ๋ยโซนแรกก็เปิดวาวล์ปล่อยจากขวดแรกไปก่อน กับเมื่อจะให้ปุ๋ยกับอีกโซนที่ 2 ก็เปิดวาวล์ขวดที่ 2 .... หรือจะให้ปุ๋ยกับอีกโซนที่ 3 ก็เปิดวาวล์ขวดที่ 3 .... จะให้ปุ๋ยกับอีกโซนที่ 4 ก็เปิดวาวล์ขวดที่ 4 นั่นเอง
- แบบ 4ขวด 6ขวด 8ขวด 10ขวด แยกกัน ก็ทำได้ด้วยหลักการนี้ จะทำแบบเชื่อมต่อทุกขวดให้ถึงกันแล้วใช้งานเป็นขวดเดียว ด้วยปุ๋ยสูตรเดียวกัน หรือมีวาวล์แยกแต่ละขวดแล้วใช้งานทีละขวดก็ได้ ด้วยปุ๋ยสูตรละขวดๆ
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5994
หม้อปุ๋ยหน้าโซน "กะเหรี่ยง เวนจูรี่" NEW MODLE
-------------------------------------------------------------------------------------
. |
|