-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ปัญหามะพร้าว - มะพร้าวกะทิ - มะพร้าวพวงร้อย...
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปัญหามะพร้าว - มะพร้าวกะทิ - มะพร้าวพวงร้อย...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปัญหามะพร้าว - มะพร้าวกะทิ - มะพร้าวพวงร้อย...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 14/01/2011 6:34 pm    ชื่อกระทู้: ปัญหามะพร้าว - มะพร้าวกะทิ - มะพร้าวพวงร้อย... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะพร้าว ณ สมุย


ในช่วงเวลานี้ หากกล่าวถึงเกาะสมุย ใครๆ ต้องนึกถึงกรณีที่ดินเขาแพง และบรรยากาศของการเป็นเมืองท่องเที่ยว
มากกว่าจะนึกไปว่าเกาะสมุยเป็นเกาะที่อยู่รอดและพัฒนาได้เพราะมะพร้าว ภาพความทรงจำระหว่างหาดทรายขาว น้ำ
ทะเลใส และสวนมะพร้าวในมุมของการเป็นพืชเศรษฐกิจได้ค่อยๆ เลือนหายไปจากเกาะแห่งนี้ เกาะที่มีขนาดประมาณ
252 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากเกาะภูเก็ต และเกาะช้าง เกาะที่ในอดีต สามารถผลิตมะพร้าวเลี้ยงคน
ไทยได้ทั้งประเทศมากว่า 100 ปี ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปแล้วพร้อมๆ กับวัฒนธรรมในการบริโภคมะพร้าวของคนไทย
อย่างมิอาจปฏิเสธได้

“ฉีกซอง” ฉบับนี้ ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับมะพร้าว ณ สมุย ผ่านทางการประชุมวิชาการมะพร้าวนานาชาติ
ครั้งที่ 44 และงานวันมะพร้าวชาวสมุย ซึ่งจัดไปเมื่อวันที่ 5-9 กรกฎาคม 2553 ณ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
มะพร้าว ณ สมุย เวลานี้เป็นเช่นไร โปรดติดตาม

เรื่องมะพร้าว
มะพร้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera Linn. นับว่าเป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม ใบเป็นใบประกอบ
แบบขนนกผลของมะพร้าวประกอบด้วยเอพิคาร์ป (epicarp) คือ เปลือกนอก ถัดจากนั้นเป็นมีโซคาร์ป (mesocarp)
หรือใยมะพร้าว เอนโดคาร์ป (endocarp) หรือกะลามะพร้าว ซึ่งจะมีรูสีคล้ำ 3 รู สำหรับงอก จากนั้นจะเป็นเอนโดสเปิร์ม
(endosperm) หรือ เนื้อมะพร้าว และมีน้ำมะพร้าวอยู่ภายในเมื่อมะพร้าวแก่เอนโดสเปิร์มจะดูดน้ำมะพร้าวออกไปหมด

สำหรับประเทศที่มีผลิตมะพร้าวได้มากที่สุดในโลก คือ อินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ และอินเดีย ตามลำดับ โดยไทยผลิตได้เป็น
อันดับ 6 ของโลกปลูกมากในภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร และนครศรีธรรมราช คนไทยรู้จักกับมะพร้าวมาอย่าง
ช้านาน เนื่องจากมะพร้าวเป็นส่วนประกอบของอาหารคาวหวานที่สำคัญของไทย ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงาน
ว่า คนไทยบริโภคเนื้อมะพร้าวปีละประมาณ 8 กิโลกรัม ต่อคน ซึ่งมะพร้าวที่ผลิตได้ในประเทศไทยร้อยละ 65 จะใช้บริโภค
ภายในประเทศ ส่วนที่เหลือใช้ในอุตสาหรรมที่เกี่ยวข้อง โดยอุตสาหกรรมหลักๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อการบริโภค เช่น
มะพร้าวแห้ง น้ำมันมะพร้าว กะทิเข้มข้น มะพร้าวขูดแห้ง น้ำตาลมะพร้าว เป็นต้น และผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมและอุปโภค
เช่น เส้นใยมะพร้าว แท่งเพาะชำ ถ่านจากกะลามะพร้าว เครื่องใช้และเฟอร์นิเจอร์จากมะพร้าว เป็นต้น




มะพร้าวเป็นพืชที่ผสมข้ามพันธุ์ แต่ละต้นจึงไม่เป็นพันธุ์แท้ อย่างไรก็ตาม สามารถแบ่งมะพร้าวออกเป็น 2 ประเภท คือ มะพร้าว
ต้นเตี้ย และมะพร้าวต้นสูง สำหรับมะพร้าวต้นเตี้ย มีการผสมตัวเองสูง จึงติดผลดกและไม่ค่อยกลายพันธุ์ ลักษณะส่วนใหญ่จะมี
ลำต้นเล็ก โคนต้นไม่มีสะโพก ต้นเตี้ย โตเต็มที่สูงประมาณ 12 เมตร จะเริ่มให้ผลเมื่ออายุประมาณ 3-4 ปีและให้ผลผลิตต่อเนื่อง
จนกระทั่งอายุ 35-40 ปี ส่วนใหญ่มะพร้าวต้นเตี้ยมักปลูกไว้รับประทานผลอ่อน เพราะในขณะที่ผลอายุประมาณ 4 เดือน เนื้อ
จะมีลักษณะอ่อนนุ่ม และน้ำมีรสหวาน บางพันธุ์อาจมีกลิ่นหอมอีกด้วยสำหรับมะพร้าวต้นสูง เป็นมะพร้าวที่ผสมข้ามพันธุ์
ในแต่ละช่อดอกหนึ่งๆ หรือเรียนว่า จั่น ดอกตัวผู้จะทยอยบาน และร่วงไปก่อนที่ดอกตัวเมียในจั่นนั้นจะเริ่มบาน จึงไม่มีโอกาส
ผสมตัวเอง มะพร้าวในกลุ่มนี้จะมีลำต้นใหญ่ โคนต้นมีสะโพกใหญ่ ต้นสูงโตเต็มที่สูงประมาณ 18 เมตร ทางใบใหญ่และยาว จะเริ่ม
ให้ผลเมื่ออายุประมาณ 5-6 ปี ต่อเนื่องจนอายุประมาณ 80 ปี ลักษณะผลโตกว่ามะพร้าวต้นเตี้ย มีเนื้อมาก และมักใช้ผลแก่ใน
การประกอบอาหารและใช้ในอุตสาหกรรม

เนื่องจาก มะพร้าวเป็นพืชผสมข้ามดังที่กล่าวมา จึงมีลักษณะดีเด่นที่แตกต่างกัน กรมวิชาการเกษตร โดย ศูนย์วิจัยพืชสวน
ชุมพร สถาบันวิจัยพืชสวน จึงได้ปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวลูกผสมออกมา และผ่านการรับรองพันธุ์ระหว่างปี 2519-2551 ไปแล้ว
3 พันธุ์ คือ พันธุ์สวีลูกผสม 1 พันธุ์ชุมพรลูกผสม 60 และ พันธุ์ชุมพรลูกผสม 2

มะพร้าวพันธุ์สวีลูกผสม 1 เป็นมะพร้าวลูกผสมที่เกิดจากการผสมระหว่าง มะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ยกับเวสท์อัฟริกันต้นสูง
มีลักษณะเด่นคือ อายุการตกผลเร็ว สามารถเก็บผลผลิตได้ในปีที่ 5 ผลผลิตเฉลี่ย 2,781 ผล ต่อไร่ คิดเป็นน้ำหนักแห้ง
566 กิโลกรัมต่อ ไร่ จากจำนวนมะพร้าว22 ต้นต่อ ไร่ เนื้อมะพร้าวมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงถึง 64 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นมะพร้าวที่
เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว ได้รับการรับรองพันธุ์ในปี 2525มะพร้าวพันธุ์ชุมพรลูกผสม 60 เป็นมะพร้าวลูกผสมที่
เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูงกับมะพร้าวไทยต้นสูง สามารถเก็บผลผลิตได้ในปีที่ 5 ขนาดผลมีทั้งขนาดกลาง
และขนาดใหญ่ ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 2,257 ผลต่อไร่ เป็นน้ำหนักมะพร้าวแห้งสูงถึง 628 กิโลกรัม ต่อไร่เนื้อมะพร้าวมีเปอร์เซ็นต์
น้ำมัน 63 เปอร์เซ็นต์ ขนาดผลใหญ่กว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 จึงสามารถจำหน่ายได้ทั้งผลสด และในรูปมะพร้าวแห้งส่งโรงงานสกัด
น้ำมัน ได้รับการรับรองพันธุ์ในปี 2530

มะพร้าวพันธุ์ชุมพรลูกผสม 2 เป็นมะพร้าวลูกผสมระหว่างพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย กับมะพร้าวใหญ่ อายุการให้ผลเร็วเท่ากับพันธุ์สวี
ลูกผสม 1 ให้ผลผลิตเนื้อมะพร้าวรวมสะสม 740.2 กิโลกรัมใกล้เคียงกับพันธุ์สวีลูกผสม 1ในช่วงอายุ 5-10 ปี มีน้ำหนักเนื้อมะพร้าว
แห้งต่อผลเฉลี่ย 261 กรัม เป็นมะพร้าวขนาดกลาง เปอร์เซ็นต์น้ำมันค่อนข้างสูงประมาณ 66 เปอร์เซ็นต์ เหมาะที่จะปลูกในเขต
ภาคกลางและภาคใต้ โดยได้รับการรับรองพันธุ์ในปี 2538

ทำไมต้องสมุย
เกาะสมุยในอดีตเป็นแหล่งผลิตมะพร้าวที่สำคัญของไทย มะพร้าวจากเกาะสมุยจะขนส่งออกไปสู่แผ่นดินใหญ่ทางเรือ โดยมีเรือ
ภาณุรังสี และเรือหริณที่เดินทางมาจากสงขลาเพื่อส่งสินค้า และรับผู้โดยสารไปส่งในกรุงเทพฯ ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ปลูก
มะพร้าวในแผ่นดินใหญ่ ทำให้มะพร้าวมีปริมาณมากขึ้น และการคมนาคมทางรถยนต์มีความสะดวกสบายมากกว่าเดิม การขนส่ง
ทางเรือจึงลดความสำคัญลง พร้อมๆ กับนโยบายสนับสนุนการบริโภคน้ำมันพืชชนิดอื่นทดแทน ความต้องการมะพร้าวจึงลดน้อยลง
ธุรกิจมะพร้าวจึงค่อยๆ หายไปส่งผลให้มะพร้าวในเกาะสมุยได้รับผลกระทบไปด้วย รายได้ที่ได้รับไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ชาวสวน
มะพร้าวจึงได้เปลี่ยนมาปลูกไม้ผลอื่นๆ ทดแทน เช่น ทุเรียน มังคุด เป็นต้น

นอกจากนี้ นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย ยิ่งทำให้สวนมะพร้าวในเกาะสมุยได้กลายเป็นโรงแรมหรู รีสอร์ทต่างๆ มากก
มายคนต่างถิ่นเข้ามาเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมากขึ้น ยิ่งทำให้ความสำคัญของสวนมะพร้าวลดน้อย
ลงไป อย่างไรก็ตามมโนภาพของนักท่องเที่ยวยังคงอยากเห็นสวนมะพร้าวที่คงอยู่กับเกาะสมุยตลอดไป และมะพร้าวในยุคปัจจุบัน
เริ่มได้รับความสนใจและความนิยมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีรายงานวิจัยหลายแหล่งระบุว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมาก
กว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น รวมทั้งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีกรดลอริก ซึ่งเป็นกรดไขมันอิ่มตัวอยู่สูง กรดไขมันดังกล่าวมีฤทธิ์ในการ
ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ สารต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งเป็นสารให้ความชุ่มชื้น เหมาะต่อการพัฒนาเป็นเครื่องสำอาง มะพร้าว
และผลิตภัณฑ์จึงได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง

การประชุมวิชาการมะพร้าวนานาชาติ เป็นการประชุมของสมาคมมะพร้าวแห่งเอเชียแปซิฟิก หรือ The Asian and Pacific
Coconut -Community มีชื่อย่อว่า APCC ซึ่งเป็นสมาคมที่อยู่ภายใต้ UN-ESCAP (The United Nations Economic
and Social Commission Asia and -the Pacific) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1969 ปัจจุบันมีสมาชิกรวม 17 ประเทศ เป็นกลุ่ม
ประเทศผู้ผลิตมะพร้าวที่สำคัญของโลก ครอบครองส่วนแบ่งการตลาดถึง 90% ของปริมาณความต้องการมะพร้าวในตลาดโลก
ประเทศสมาชิก ประกอบด้วย ไมโครนีเชีย ฟิจิ อินเดีย อินโดนีเชีย จาไมก้า คีรีบาติ มาเลเชีย หมู่เกาะมาร์แชลล์ ปาปัวนิวกีนี ฟิลิปปินส์
ซามัวร์ หมู่เกาะโซโลมอน ศรีลังกา ตองกา วานัวตู เวียดนาม และไทย มีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงจาร์กาต้า ประเทศอินโดนีเชีย ปัจจุบันมี
คุณสมชาย วัฒนโยธิน นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านมะพร้าวของกรมวิชาการเกษตร ทำหน้าที่ประธานกรรมการบริหารสมาคม




สมาคมมะพร้าวแห่งเอเชียและแปซิฟิค ก่อตั้งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเหล่าสมาชิกในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต
พัฒนาระบบการจัดการฟาร์มที่มีมะพร้าวเป็นพืชในระบบการปลูก รวมทั้งระบบการผลิตมะพร้าวอินทรีย์ พัฒนาและส่งเสริมผลิต
ภัณฑ์จากมะพร้าวเพื่อเพิ่มมูลค่ามาตรฐานของผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว ตลอดจนการสนับสนุนงานวิจัยและการตลาดของมะพร้าว
และผลิตภัณฑ์ ความเท่าเทียมทางด้านการค้าที่เกี่ยวข้องกบมะพร้าวและผลิตภัณฑ์ และพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายทอดเทคโนโลยี การประชุมดังกล่าว กำหนดจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคมทุกๆ 2 ปี โดยหมุนเวียนกันเป็น
เจ้าภาพ ซึ่งจากการประชุมของคณะกรรมการบริหารสมาคมมะพร้าวแห่งเอเชียและแปซิฟิค เมื่อปี 2551 ณ เมืองมานาโด ประเทศ
อินโดนีเชีย และการประชุมเมื่อปี 2552 ณ เมืองอาปิอา ประเทศซามัว ที่ประชุมมีมติเลือกประเทศไทย และเกะสมุย เป็นเจ้าภาพ
ในการประชุมมะพร้าวนานาชาติ ครั้งที่ 44 โดยเห็นว่าเกาะสมุยเป็นเกาะแห่งมะพร้าวที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และมีประวัติที่
เกี่ยวข้องกับมะพร้าวมายาวนาน

ประชุมมะพร้าว
การประชุมในครั้งนี้ กำหนดหัวข้อการประชุมในเรื่อง “นวัตกรรมมะพร้าวสำหรับการแข่งขันของอุตสาหกรรมมะพร้าวอย่างยั่งยืน” (New
Technology Development for Sustainable and Competitive Coconut Industry) มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การพัฒนาอุตสาหกรรมมะพร้าว และการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์มะพร้าวให้สามารถแข่งขันได้ใน
ตลาดโลก และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ซึ่งกันและกันระหว่างนักบริหารและนักวิชาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมมะพร้าวจากต่างประเทศและภายในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเพื่อพัฒนา
ความร่วมมือที่จะพัฒนาและแก้ไขปัญหาขององค์กรทั้งในและต่างประเทศ

กิจกรรมในการประชุมครั้งนี้ กำหนดจัดขึ้น 5 วัน ระหว่างวันที่ 5 - 9 กรกฎาคม 2553 โดย 4 วันแรกเป็นการประชุม ซึ่งนอกจาก
จะมีการนำเสนอรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าว และผลิตภัณฑ์จากนักวิชาการของประเทศสมาชิก นโยบายทางการค้า
และสถานการณ์ด้านการตลาดของมะพร้าวและผลิตภัณฑ์ การจัดการระบบการปลูกพืชที่มีมะพร้าวเป็นพืชหลัก การจัดการศัตรูพืช
รายงานของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า/ ส่งออก โรงงานแปรรูป และเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว ในวันสุด
ท้ายของการประชุมเป็นการทัศนศึกษาดูงานในพื้นที่สวนมะพร้าวของเกาะสมุย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการป้องกัน และกำจัดศัตรูมะพร้าว
โดยชีววิธี โรงงานผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์อินทรีย์ และการผลิตสุราพื้นบ้านจากมะพร้าว การประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม รวม 107

นอกจากนี้ เทศบาลเมืองเกาะสมุยในฐานะเจ้าของพื้นที่ยังได้จัดงาน “ วันมะพร้าว ชาวสมุย” ในช่วงเวลาดังกล่าว ณ บริเวณพรุเฉวง
ตำบลบ่อผุด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมวิชาการมะพร้าวนานาชาติ ซึ่งมีการจัดนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าวและผลิตภัณฑ์
การจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าวทั้งหมด โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มะพร้าวที่ใช้ในกิจการสปาของเกาะสมุย รวมทั้งการแข่งขัน
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตมะพร้าวของชาวสมุย ทั้งการแข่งขันการผูกมะพร้าวการปลอก การขูดมะพร้าวด้วยกระต่าย และการ
แสดงศิลปวัฒนธรรมของเหล่านักเรียนในพื้นที่ ซึ่งสร้างความสนุกสนานให้กับผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างยิ่ง และเทศบาลเมืองเกาะสมุยก็
คาดหวังว่าการจัดงานดังกล่าวจะสร้างจิตสำนึกให้กับชาวเกาะสมุยในการรักษาสวนมะพร้าว และต้นมะพร้าวให้คงอยู่กับเกาะสมุย
ตลอดไป และพัฒนาเป็นหนึ่งในงานประจำปีของจังหวัดและประเทศในที่สุด ซึ่งผู้เขียนเองหวังว่าชาวสมุยคงรักและผูกพันกับต้น
มะพร้าวเช่นเดียวกัน

ศัตรูสวนมะพร้าว
กิจกรรมหนึ่งในการทัศนศึกษาของการประชุมวิชาการมะพร้าวนานาชาติในครั้งนี้ที่น่าสนใจ คือ การป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวโดยชีววิธี
ซึ่งสวนมะพร้าวบนเกาะสมุยเผชิญแมลงศัตรูที่สำคัญ 4 ชนิด คือ ด้วงแรดมะพร้าว ด้วงงวงมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว และหนอน
หัวดำมะพร้าว

ด้วงแรดมะพร้าว ป็นแมลงปีกแข็งขนาดค่อนข้างใหญ่ ลำตัวยาวประมาณ 3 - 5 เซนติเมตร วงจรชีวิตประมาณ 4-9 เดือน เฉลี่ยประมาณ
6 เดือน ดังนั้นปีหนึ่งด้วงแรดจึงมีได้ 2 รุ่น โดยตัวเต็มวัยจะเป็นวัยที่ทำลายมะพร้าว ด้วยการบินไปกัดเจาะโคนทางมะพร้าว ทำให้
ทางใบหักง่าย และกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบเกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าถูกทำลายมาก
ใบเกิดใหม่จะแคระแกรน รอยแผลที่ด้วงแรดกัดจะเป็นช่องทางที่ให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือทำให้เกิดโรคยอดเน่าได้ ซึ่งปัจจุบัน
พบด้วงแรดมะพร้าวกระจายไปทั่วทั้งเกาะ โดยเฉพาะบริเวณที่เลี้ยงช้าง

ด้วงงวงมะพร้าว เป็นแมลงปีกแข็งเช่นเดียวกับด้วงแรดมะพร้าวแต่มีขนาดเล็กกว่า ลำตัวสีน้ำตาลแดง ส่วนหัวมีอวัยวะคล้ายงวงยื่นออกมา
โดยจะขยายพันธุ์อยู่ภายในคอมะพร้าว บางครั้งอาจพบบริเวณโคนลำต้น เมื่อเข้าทำลายจะทำให้ยอดมะพร้าวหักพับ ยืนต้นตาย และ
หากมีการเข้าทำลาย ของด้วงแรดมะพร้าว ด้วงงวงมะพร้าวจะเข้าไปวางไข่ได้ มีวงจรชีวิตประมาณ 171-229 วัน ดังนั้น หากมีการทำลาย
ของด้วงแรดมะพร้าวก็จะพบกับด้วงงวงมะพร้าวตามมา

แมลงดำหนามมะพร้าว เป็นแมลงต่างถิ่น มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเชียและปาปัวนิวกีนี แพร่ระบาดเข้าไปในหลายประเทศแถบ
มหาสมุทรแปซิฟิก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยและเกาะสมุยด้วยเช่นกัน การเข้าทำลายจะแทะใบยอดอ่อน
ของมะพร้าวที่ยังไม่คลี่และเมื่อใบคลี่ออกมา ใบจะเป็นสีน้ำตาล มองไกลๆ จะเห็นเป็นสีขาวโพลน ชาวสวนจะเรียกมะพร้าวที่โดยแมลง
ดำหนามเข้าทำลายว่า “โรคหัวหงอก”ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้เข้าไปสนับสนุนให้ใช้แตนเบียนหนอนและแตนเบียนดักแด้แมลงดำหนาม
มะพร้าวในการควบคุม




ส่วนแมลงศัตรูที่สำคัญตัวสุดท้าย คือ หนอนหัวดำมะพร้าว นับว่าเป็นแมลงศัตรูชนิดใหม่ ที่ยังไม่เคยมีรายงานการระบากและยังไม่มีงาน
วิจัยที่เกี่ยวกับแมลงชนิดนี้ และกรมวิชาการเกษตรกำลังเร่งดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับแมลงชนิดนี้อย่างเต็มที่ เพื่อสามารถแก้ปัญหาให้กับ
ชาวสวนมะพร้าวลักษณะตัวเต็มวัยจะเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดลำตัววัดจากหัวถึงปลายท้อง ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มักเกาะนิ่งหลบ
ใต้ใบมะพร้าวหรือในที่ร่มและ เริ่มวางไข่ 3 วันหลังออกจากดักแด้ โดยจะวางไข่ทุกวันติดต่อกัน 4-6 วัน ตัวหนึ่งๆ วางไข่ได้ประมาณ
157-490 ฟอง อยู่เป็นไข่ประมาณ 5-6 วัน ก่อนที่จะฟักออกมาเป็นตัวหนอน และเป็นระยะตัวหนอนประมาณ 32-48 วัน จากนั้นเข้า
ดักแด้ 9-11 วัน และเป็นผีเสื้อ 5-14 วัน

การทำลายของหนอนหัวดำมะพร้าว เมื่อฟักออกมาเป็นตัวหนอนจะรวมกันอยู่เป็นกลุ่ม 1-2 วัน ก่อนจะย้ายไปกัดกินใบมะพร้าวตัว
หนอนจะสร้างใยผสมกับมูลทำเป็นอุโมงค์ยาวคล้ายทางเดินของปลวก คลุมเส้นทางที่หนอนแทะกินผิวใบยาวตามทางใบ และอาศัยอยู่
ในอุโมงค์นั้น ใบที่เข้าทำลายมักเป็นใบแก่ และมีลักษณะแห้งเป็นสีน้ำตาล ตัวหนอนจะสร้างใยดึงใบย่อยติดกันเป็นแพ สำหรับแนว
ทางในการป้องกันกำจัดแมลงเหล่านี้ พบว่า ด้วงงวงมะพร้าวเป็นศัตรูมะพร้าวที่สำคัญที่สุด กรมวิชาการเกษตร ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีใน
การป้องกันกำจัด เนื่องจากมะพร้าวที่เกาะสมุยเป็นมะพร้าวพันธุ์ต้นสูง การใช้สารเคมีอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และแมลงศัตรู
ตามธรรมชาติได้

วิธีการที่ดีที่สุดคือ การกำจัดด้วงแรดมะพร้าว หากกำจัดได้จะควบคุมด้วงงวงมะพร้าวได้โดยอัตโนมัติ การกำจัดด้วงแรดมะพร้าว
ทำได้โดยการดูแลรักษาความสะอาดในสวนมะพร้าว และพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ให้เป็นแหล่งขยายพันธุ์ของแมลงศัตรูพืช โดยการตัด โค่น
ต้นมะพร้าวหรือปาล์มที่ยืนต้นตาย ห้ามทิ้งไว้เกิน 2-3 เดือนเผาหรือฝังซากทางใบ ลำต้น หรือตอ รวมทั้งเกลี่ยกองซากพืช มูลสัตว์ให้
กระจายออกมีความสูงไม่เกิน 15 เซนติเมตร และหากมีความจำเป็นต้องกองซากพืชหรือมูลสัตว์มากกว่า 2-3 เดือน ควรหมั่นพลิก
กลับกองเพื่อเก็บไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยไปทำลาย โดยเฉพาะที่เกาะสมุย สาเหตุที่ด้วงแรดมะพร้าวระบาดเกิดจากการทิ้งซาก
ใบมะพร้าวที่เป็นอาหารเลี้ยงช้างและการสะสมของมูลช้างจำนวนมาก ทำให้เป็นแหล่งสะสมและขยายพันธุ์ของด้วงแรดมะพร้าว

นอกจากนี้ต้องหมั่นทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าวตามโคนทางใบ หากพบรอยแผลเป็นรูให้ใช้เหล็กแหลมแทงหาตัวด้วงแรดเพื่อเก็บ
ไปทำลาย และใช้ราเชียวเมตตาไรเซียมผสมอินทรีวัตถุ ทำกองขนาด 2 x 2 x 0.5 เมตร เป็นกับดักให้ด้วงมาวางไข่ เมื่อหนอนฝัก
ออกมาจะถูกเชื้อราเข้าทำลายไม่สามารถเจริญเป็นตัวเต็มวัยได้ รวมทั้งใช้ฮอร์โมนเพศเป็นกับดักล่อตัวเต็มวัยมาทำลายส่วนการควบคุม
แมลงดำหนามมะพร้าว สามารถควบคุมโดยการใช้แตนเบียนแมลงดำหนามและนำมาปล่อยเป็นระยะๆ

ในขณะที่การป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวซึ่งเป็นแมลงชนิดใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยของกรมวิชาการเกษตร โดย
สำรวจพบว่ามีแตนเบียนจำนวน 6 ชนิดที่มีแนวโน้มว่าจะสามารถควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวได้ อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นได้แนะนำวิธี
การกำจัดของอินเดียเป็นแนวทางในการควบคุม คือ การตัด เผาทำลายใบแก่ที่ถูกหนอนหัวดำลงทำลาย แนวโน้มความต้องการมะพร้าว
และผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวที่เพิ่มสูงขึ้น และการเข้าทำลายของแมลงศัตรูมะพร้าวชนิดใหม่ ๆ แสดงให้เห็นถึงโอกาส และอุปสรรคที่
ต้องรีบดำเนินการ มะพร้าว ณ สมุย ไม่ได้จบลงที่เกาะสมุยเท่านั้น



(ขอบคุณ : สถาบันวิจัยพืชสวน กองแผนงานและวิชาการ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร/ข้อมูล)



http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n13/v_6-july/ceaksong.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/01/2011 7:24 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 14/01/2011 6:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตร.อรัญฯ จับมะพร้าวเวียดนามนับ 5,000 ลูกผ่านเขมรทะลักเข้าไทย


สระแก้ว - เจ้าหน้าที่ตำรวจอรัญประเทศจับมะพร้าวเวียดนามนับ 5,000 ลูก ผ่านเขมรทะลักเข้าไทย

จากการสืบทราบของ พ.ต.อ.ศักดิ์รพี เพียวพนิช ผกก.สภ.อรัญประเทศ จากแหล่งข่าวว่าจะมีการขนของผิดกฎหมาย
ผ่านถนนสุวรรณศร บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านด่าน หมู่ 5 ต.บ้านด่าน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว จากนั้นได้มอบหมายให้
พ.ต.ท.เอกราช สมศรี รอง ผกก.ฝ่ายปราบปราม สภ.อรัญประเทศ จึงได้สั่งการให้ พ.ต.ต.วิชาญ จิตตยานันท์ สวป.สภ.
อรัญประเทศ นำกำลังตำรวจ สภ.อรัญประเทศ ได้สกัดจับมะพร้าวเวียดนามที่ลำเลียงผ่านมาทางประเทศกัมพูชา
นำเข้ามาประเทศไทย

จากนั้นได้นำกำลังตำรวจตั้งจุดสกัดบริเวณดังกล่าว พบรถต้องสงสัยตรงกับสายรายงานมา จึงเข้าขอเข้าตรวจค้นพบ
มะพร้าวลูกซึ่งปอกเปลือกแล้วกว่า 5,000 ลูก น้ำหนัก 5,480 กก. พร้อมทั้งยึดรถบรรทุก 6 ล้อ ยี่ห้ออีซูซุ สีฟ้า หมาย
เลขทะเบียน 80-6168 สระแก้ว ซึ่งใช้บรรทุกมะพร้าวเพื่อนำส่งขายยังตลาดโรงเกลือ และควบคุมตัวคนขับรถชื่อนายเทียน
คำแหง อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 101 หมู่ 9 ต.โคกปีฆ้อง อ.เมือง จ. สระแก้ว โดยนายเทียนรับสารภาพว่ามะพร้าวของ
ตนเองเพื่อจะนำไปคั้นน้ำกะทิ ไม่ทราบว่าเป็นของผิดกฎหมาย

ด้าน พ.ต.ต. วิชาญ จิตตยานันท์ สว.ป.สภ.อรัญประเทศ กล่าวว่า ได้รับคำสั่งจาก พ.ต.อ.ศักดิ์รพี เพียวพนิช ผกก.
แจ้งว่าในวันนี้จะมีการลักลอบนำเข้ามะพร้าวผิดกฎหมาย ขอให้ทางตำรวจช่วยสกัดจับ และสามารถจับได้ที่บริเวณด้านหน้า
โรงเรียนบ้านด่าน หมู่ 5 ต.บ้านด่าน อ.อรัญประเทศ จ. สระแก้ว ถนนสุวรรณศร อรัญประเทศ-บ้านคลองลึก

ส่วนสาเหตุที่มีการลักลอบนำเข้ามะพร้าวจากเวียดนาม เนื่องจากมะพร้าวภายในประเทศไทยมีราคาแพงและขาดตลาด
โดยมะพร้าวจากทางเวียดนามนั้นมีราคาถูกกว่าจึงมีคนลักลอบนำเข้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งลักลอบนำเข้าโดยผิดกฎหมายที่ไม่ได้
ผ่านวิธีการด้านศุลกากร


http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9530000181911


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/01/2011 7:26 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 14/01/2011 6:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะพร้าวเวียดนามบุกสวนทับสะแกเจ๊ง

นายโชติ เงินแท่ง นายก อบต.ทับสะแก อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในฐานะประธานกลุ่มเกษตรกรทำสวนมะพร้าว จ.ประจวบคีรีขันธ์
เปิดเผยว่า ขณะนี้เกษตรกรผู้เพาะปลูกมะพร้าว

ซึ่งนำผลผลิตที่เพาะปลูกได้ไปแปรรูปเป็นมะพร้าวกะทิ ได้รับความเดือดร้อนจากราคาตกต่ำ เนื่องจากมะพร้าวที่กลุ่มเกษตรกรนำออก
ขายให้กับพ่อค้าคนกลาง จากเดิมขายได้ในราคาลูกละ 8-10 บาท หลัง 3 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มพ่อค้าคนกลางได้นำเอามะพร้าวจากเวียดนาม
ซึ่งมีเกรดต่ำกว่ามะพร้าวที่ปลูกได้ใน อ.ทับสะแก ส่งให้โรงงานอุตสาหกรรมผลิตกะทิกึ่งสำเร็จรูป ทำให้ราคามะพร้าวที่เพาะปลูกได้ใน
อ.ทับสะแก ตกต่ำเหลือเพียงลูกละ 4.30 บาทเท่านั้น

นายโชติกล่าวว่า การลักลอบนำเข้ามะพร้าวจากประเทศเวียดนาม กลุ่มทุนผู้ประกอบการจะนำเข้าบริเวณท่าเทียบเรือที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัด
ตราด ส่วนทางภาคใต้จะนำเข้าบริเวณท่าเทียบเรือจังหวัดสตูล แล้วนำออกจำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางต่ำกว่าที่รับซื้อจากเกษตรกร เพื่อดึงราคา
มะพร้าวของเกษตรกรผู้เพาะปลูกมะพร้าวใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ให้ตกต่ำลง ทำให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกมะพร้าวบนเนื้อที่กว่า 7 แสนไร่ ขณะนี้
ได้โค่นล้มมะพร้าวหันมาเพาะปลูกต้นยางพาราและต้นปาล์มน้ำมันแทน ขณะนี้จึงเหลือพื้นที่เพาะปลูกมะพร้าวเพียง 5 แสนไร่

นายโชติกล่าวว่า การลักลอบนำเข้ามะพร้าวดังกล่าวมีการทำเอกสารสวมทับให้เป็นมะพร้าวที่เพาะปลูกในประเทศ และแสดงตัวเลขนำเข้ามะพร้าว
น้อยกว่าความเป็นจริงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ซึ่งผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ประจำด่านศุลกากรทั้ง 3 ด่าน ที่มีการนำเข้ามะพร้าวจากต่าง
ประเทศผ่านและกระทรวงพาณิชย์ควรหาทางตรวจสอบถึงเส้นทางเดินของการนำเข้ามะพร้าวเสียภาษีให้รัฐถูกต้องหรือไม่.



http://www.sathai.org/news_general/0031-40.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/01/2011 7:27 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 14/01/2011 6:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


พ่อค้าชายแดนคลองใหญ่ รับซื้อมะพร้าวเขมรขาดทุนอื้อ
เพราะติดปัญหาเรื่องโรคพืช



ตราด - พ่อค้าชายแดนคลองใหญ่รับซื้อมะพร้าวจากกัมพูชาแก้ปัญหามะพร้าวขาดแคลน แต่ขาดทุนอื้อ นายด่าน ศุลฯคลองใหญ่
บอกมะพร้าวเวียดนาม-เขมรติดปัญหาเรื่องโรคพืช

จากการที่มะพร้าวในประเทศไทยขาดแคลนและมีราคาสูงในปัจจุบันนั้น ทำให้มีการสั่งซื้อมะพร้าวจากต่างประเทศทั้งอินโดนีเซีย
ฟิลิปปินส์ เป็นหลักเพื่อทดแทนจำนวนที่ขาดแคลน

นายประวัติ เอนกพูนสินสุข นายด่านศุลกากร อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีกลุ่มพ่อค้าไทยใน จ.ตราด จำนวน 3-4
ราย ทำสัญญาซึ่งขายมะพร้าวจากประเทศฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียเป็นหลัก เนื่องจากมะพร้าวจาก 2 ประเทศ มีคุณภาพและไม่ได้รับ
ผลกระทบจากปัญหาแอลนินโญ่ ทำให้มีพ่อค้าของ จ.ตราด สั่งซื้อมะพร้าวเพื่อนำมาจำหน่ายใน จ.ตราดและจังหวัดในภาคตะวันออกเดือน
หนึ่งหลายแสนลูก ซึ่งทั้งหมดจะต้องเสียภาษีขาเข้าตามปกติในอัตราลูกละ 1 บาท ทั้งนี้ พ่อค้าคลองใหญ่ใน จ.ตราดจะทำสัญญาไว้เป็น
เวลา 5-10 ปี เป็นอย่างต่ำ แล้วส่งมาขายทางเรือขนส่งสินค้าใน อ.คลองใหญ่ ก่อนส่งไปยังจังหวัดต่าง ๆ

“ปัญหาสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงไม่ได้ส่งผลกระทบกับอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์เพราะสภาพเป็นเกาะ ส่วนกัมพูชาหรือเวียด
นามมีการนำมะพร้าวมาน้อยแค่เป็นระดับท้องถิ่น อีกทั้ง 2 ประเทศยังมีปัญหาในเรื่องโรคพืชที่ยังถูก พรบ.กักกันพืชของไทยห้ามนำ
เข้ามา ทำให้มะพร้าวจาก 2 ประเทศนำเข้าไม่ได้ อาจจะมีแค่การค้าในระดับท้องถิ่นเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น”

ทางด้านนายอดิสรณ์ สิทธิชอบธรรม ผู้ช่วยนายด่านศุลกากรคลองใหย่ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการค้าขายอยู่ในพื้นที่ อ.คลองใหญ่ กับ
จ.เกาะกงบ้าง แต่เป็นเฉพาะในพื้นที่ เพราะกัมพูชามะพร้าวก็มีราคาแพงลูกละ 30-40 บาท และมีชาวกัมพูชาที่มาทำงานใน อ.คลองใหญ่
จ.ตราด มีการนำมาบ้างแต่ไม่มากนัก ในชายแดนทางบกก็นำมาบ้างเช่นกัน ขณะที่เวียดนามไม่นำเข้ามาเลย ที่ผ่านมาผู้ค้ามะพร้าวนำมา
จากอินโดนีเซีย ราคาลูกละ 20-25 บาท และมักจะขาดทุน โดยที่ต้องทำสัญญาขายกันเป็นเวลา 5-10 ปี ปีที่ผ่านมาก็ทราบว่า 3-4 ราย
ที่ค้ามะพร้าวแล้วขาดทุน 4-5 ล้านบาท/ปี

“ราคามะพร้าวใน จ.เกาะกงสูงกว่าที่ จ.ตราด เกาะกงราคา 40-50 บาท/ลูก ลูกสดซื้อจาก จ.ตราดไปทั้งหมด ที่มีการนำเข้ามาที่
ตราดก็แค่นำมาขายให้คนกัมพูชาทีมาทำงานใน จ.ตราดเท่านั้น”

ขณะที่นายประเสริฐ ศิริ ประธานหอการค้า จ.ตราด และเจ้าของท่าเทียบเรือกัลปังหา ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด กล่าวว่า
มะพร้าวที่มีการนำมาขึ้นที่ท่าเรือในปัจจุบันนี้ เป็นมะพร้าวที่สั่งซื้อมาจากประเทศอินโดนีเซีย เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีราคาลูกละ 14-15
บาท (ราคาส่ง) แต่เป็นการสั่งซื้อแบบไม่ต่อเนื่องนั่นคือ มีการซื้อขายกันเพียงเดือนละ 1-2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 10,000 ลูก ซึ่งขึ้น
อยู่กับความต้องการของตลาด บางครั้งก็ต่ำกว่านี้ และยิ่งตอนนี้มะพร้าวมีราคาแพง แต่หากมีความจำเป็นก็ยังมีการสั่งซื้อเข้ามา แต่ไม่
มากนัก ส่วนมะพร้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเช่น กัมพูชา และเวียดนามนั้นไม่มี ยิ่งมะพร้าวจากกัมพูชา จะไม่มีเลยเพราะมะพร้าวที่กัมพูชา
ราคาแพงมากเนื่องจากมีการปลูกน้อย จะมีบริโภคกันเฉพาะในท้องถิ่นเท่านั้น ส่วนจากเวียดนามส่วนใหญ่ส่งขายให้กับประเทศจีน



http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9530000168121


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/01/2011 7:28 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 14/01/2011 7:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


วิกฤตมะพร้าวไทยราคาพุ่งเท่าตัว ชาวสวนแห่โค่นปลูกยาง
ขายที่ดินทำธุรกิจท่องเที่ยว






ตลาดมะพร้าวป่วน ราคาขยับขึ้นเท่าตัว เหตุผลผลิตน้อย ชาวสวนแห่โค่น ปลูกยาง-ปาล์ม ขายที่ดินทำโรงแรม รีสอร์ต พื้นที่ปลูกมะพร้าว
เกาะสมุย-ชุมพรลดลงต่อเนื่องในช่วง 5 ปี หวั่นมะพร้าวไทยสูญพันธุ์ หากไม่รีบเพิ่มพื้นที่ปลูก อนาคตอาจต้องนำเข้าจากเพื่อนบ้าน ขณะ
ที่น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเริ่มบูมแชร์ตลาดอาหาร


นายวิรัตน์ สมตน เกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานีเปิดเผยว่า ขณะนี้ราคามะพร้าวขยับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย
ส่วนพื้นที่ปลูกมะพร้าวก็ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากราคาที่ไม่จูงใจให้เกษตรกรปลูกเพิ่ม โดยก่อนหน้า
นี้ราคามะพร้าวตกต่ำมาอย่างต่อเนื่องจากการโจมตีด้านการตลาดของผู้ผลิตน้ำมัน ถั่วเหลือง โดยอ้างงานวิจัยว่าน้ำมันมะพร้าวมีคอเลส
เตอรอลสูง ส่งผลให้ความนิยม น้ำมันมะพร้าวลดลง จนชาวสวนแทบอยู่ ไม่ได้ แต่ปัจจุบันน้ำมันมะพร้าวได้รับความนิยมอีกครั้ง ทำให้
ราคามะพร้าวดีขึ้น

นายไพชนย์ แย้มบาน เกษตรอำเภอเกาะสมุย กล่าวว่า มะพร้าวเกาะสมุยราคาเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 2 บาท/ผล ซึ่งเป็นราคาที่ยังไม่ร่วมค่าเก็บ
ค่าขนส่ง แต่ในช่วงนี้ราคาขยับขึ้นมาเนื่องจากผลผลิตออกมาน้อย เนื่องจากเป็นช่วงแล้ง ประกอบกับพื้นที่ปลูกมะพร้าวของเกาะสมุยลด
ลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งเกษตรกรรายย่อยจะขายที่ดินสวนมะพร้าวให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยว

ปัจจุบันเกาะสมุยมีพื้นที่ปลูกมะพร้าว 84,310 ไร่ หรือประมาณ 1,700,000 ต้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ปลูกและจำนวนต้นมะพร้าว
ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ย ปีละ 1,000 ไร่ และไม่มีการปลูกเพิ่ม ขณะเดียวกันมีการตัดต้นมะพร้าวทุกวัน วันละประมาณ 60-70 ต้น

ด้านนายณัฐพล ศรลัมพ์ เจ้าของกิจการน้ำมันมะพร้าวยี่ห้อสปาโก้ เปิดเผยว่า ราคามะพร้าวที่รับซื้อจากชาวสวนในปัจจุบันอยู่ที่ 7 บาท/ผล
ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ดี โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 2-7 บาท และนาน ๆ ครั้งที่มะพร้าวจะขยับราคาขึ้นไปถึง 12 บาท/ผล

ด้านนางสมพร แสนจิว ผู้รับซื้อมะพร้าวรายใหญ่ของเกาะสมุย เปิดเผยว่า ราคามะพร้าวที่รับซื้อในช่วงนี้อยู่ที่ 10 บาท/ผล มะพร้าวที่
ปอกเปลือกแล้วรับซื้อ 10-11 บาท/ผล ขึ้นอยู่กับขนาดของมะพร้าวด้วย ซึ่งถือว่าราคาดีมาก ๆ ก่อนหน้านี้จะซื้อเพียง 4 บาท/ผล เกษตร
กรจะได้แค่ 2 บาทเท่านั้น ที่เหลือจะเป็นค่าเก็บ ค่าบรรทุก แต่ช่วงนี้ถ้าไปซื้อที่สวน เกษตรกรจะได้ราคา 8 บาท

ทุกปีราคามะพร้าวจะขยับตัวสูงขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ แต่ปีนี้ราคาขยับขึ้นเร็วกว่าทุกปีตั้งแต่เดือนสิงหาคม เนื่อง
จากปริมาณผลผลิตน้อยมาก และเป็นมะพร้าวที่ใช้ไม่ได้ ต้องนำมาเผาทำมะพร้าวแห้ง เนื่องจากสมุยเจอภาวะฝน ทิ้งช่วงนานถึง 6 เดือน
โดยคาดว่าราคามะพร้าวในสวนจะขยับขึ้นไปถึง 10 บาท

"รับซื้อมะพร้าวมา 5 ปียังไม่เคยเจอสถานการณ์มะพร้าวขาดตลาดเช่นปีนี้ ที่ผ่านมามีมะพร้าวเต็มพื้นที่ตลอดทั้งปี คาดว่าจะต้องหยุดรับซื้อ
ชั่วคราวในช่วงเดือนพฤศจิกายน หรือธันวาคมนี้ และจะเปิดรับซื้ออีกครั้งในเดือนเมษายนปีหน้า เนื่องจากไม่มีมะพร้าวให้ซื้อ ในภาวะ
ปกติรับซื้อมะพร้าวประมาณ 2-3 แสนลูก/เดือน หรือวันละ 10,000 ลูก/วัน แต่ขณะนี้มีมะพร้าวเข้ามาไม่ถึง 2,000 ลูก" นางสมพรกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พื้นที่ปลูกมะพร้าวของ จ.สุราษฎร์ธานี ได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งมีพื้นที่ปลูก 224,835 ไร่ ปี 2550
จำนวน 223,696 ไร่ ปี 2551 จำนวน 204,058ไร่ และปี 2552 เหลือพื้นที่ปลูกเพียง 196,292 ไร่ เท่านั้น

ส่วนราคามะพร้าวที่ประกาศโดยสำนักงานการค้าภายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ราคาล่าสุดประจำวันที่ 30 ก.ย. 2553 มะพร้าวผลใหญ่ทั้งเปลือก
11-12 บาท/ผล ผลกลางทั้งเปลือก 9-10 บาท/ผล ผลเล็กทั้งเปลือก 5.50-6 บาท/ผล เนื้อมะพร้าวแห้ง 90% ราคา 13-14 บาท/ก.ก.
เนื้อมะพร้าวแห้งต่ำกว่า 90% ราคา 13 บาท/ก.ก. ซึ่งราคาได้ขยับขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในสองสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้มะพร้าวผล
ใหญ่ ราคาเพียง 5 บาท/ผล ส่วนมะพร้าวผลใหญ่อ้างอิงราคาขายส่งในพื้นที่ กทม. ราคาพุ่งสูงถึง 17-17.50 บาท/ผล

ด้านนายเศรณี อนิลบล หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า ปัจจุบันพื้นที่ปลูกมะพร้าวลดลง
ผลผลิตมะพร้าวจึงมีราคาสูงขึ้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ปลูกมะพร้าวของจังหวัดชุมพร ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาพบว่า เมื่อปี 2551 มีเกษตร
กรปลูกมะพร้าว 20,878 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกมะพร้าวทั้งหมด 153,632 ไร่ และมีพื้นที่ให้ผลผลิต 153,575 ไร่ ส่วนในปี 2552 เกษตรกร
ผู้ปลูกมะพร้าวลดลงเหลือ 20,550 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกมะพร้าวลดลงเหลือ 150,469 ไร่ และเป็นพื้นที่ที่ให้ผลผลิต 149,432 ไร่

ล่าสุดในปี 2553 นี้ ผู้ปลูกมะพร้าวในจังหวัดชุมพรลดลงเหลือเพียง 19,500 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกมะพร้าวลดลงเหลือ 129,551 ไร่ และ
เป็นพื้นที่ให้ผลผลิต 127,994 ไร่ ในอนาคตประเทศไทยอาจต้องนำเข้ามะพร้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน

สาเหตุที่ทำให้พื้นที่ปลูกมะพร้าวลดลง เนื่องจากเกษตรกรขาดการดูแลสวนมะพร้าวอย่างจริงจัง บริหารจัดการน้ำไม่ดี ผลผลิตไม่มีคุณภาพ
และทำให้ราคาตก เกษตรกรจึงขาดแรงจูงใจ และพากันโค่นต้นมะพร้าวทิ้ง เพื่อหันไปปลูกพืชชนิดอื่น เช่น ยางพาราหรือปาล์มน้ำมัน เพราะ
มีราคาดีกว่า ให้ผลตอบแทนเร็ว และเกษตรกรยังเจอปัญหาแมลงดำหนามแพร่ระบาดอีกด้วย

ด้าน น.ส.วัลลี อ่อนมุข เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กล่าวว่า ขณะนี้มีการทำน้ำมัน
มะพร้าวแบบสกัดเย็นมากขึ้นเพื่อใช้ในการบริโภค และแปรรูปเป็นสบู่ ครีม โลชั่น ซึ่งน้ำมันมะพร้าวราคาลิตรละประมาณ 350 บาท



http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02phu01041053&sectionid=0211&day=2010-10-04


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/01/2011 7:31 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 14/01/2011 8:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะพร้าวแฝด


ผลมะพร้าวแฝดที่โตเต็มที่ (ปอกเปลือกแล้ว)






http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%9D%E0%B8%94
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 14/01/2011 8:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะพร้าวหลายยอด....





http://www.taklong.com/south/s-zs.php?No=274389






มะพร้าว 3 ยอด



http://hilight.kapook.com/view/24097




มะพร้าว3ยอด-เพชรบุรี เล็งเป็นจุดท่องเที่ยว

เสียดาย....ไม่มีภาพให้ COPY

http://board.palungjit.com/f76/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A73%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7-53314.html



มะพร้าว 9 ยอด
โผล่ให้ชาวบ้านแตกตื่นบริเวณวัดบ้านโละป่าหาญ เลขที่ 192 หมู่ที่ 4 ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

เสียดาย.....ไม่มีภาพให้ COPY

http://www.rakheng.com/forum/index.php?action=printpage;topic=69.0


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/01/2011 9:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 14/01/2011 8:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เกาะมะพร้าวกระทิ หนึ่งเดียวแห่งทองผาภูมิ กาญจนบุรี


















เกาะมะพร้าวกระทิ นี้เกิดขึ้นจากบริษัท บางกอกฟลาวเวอร์เซ็นเตอร์ จำกัด ได้เริ่มทำการเพาะเลี้ยง
มะพร้าวกะทิที่ซื้อมาจากสวนเกษตรกร ได้ต้นมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ และนำลงปลูกบนเกาะในเขื่อน
วชิราลงกรณ์ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ในปี 2531 และ 2533 รวมจำนวน 2,150 ต้น
เกาะมะพร้าวกะทิแห่งแรกของโลกจึงได้ เกิดขึ้นที่ประเทศไทย

หลังจากวิ่งเรือมาเกือบสามสิบนาที ก็มาถึงเกาะมะพร้าวกระทิ เกาะที่อยู่กลางผื้นน้ำของทะเล
สาบเขื่อนวิชราลงกรณ์ มีเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ และที่สำคัญมะพร้าวทุกต้นบนเกาะนี้เป็นมะพร้าวกระทิ

นอกจากบนเกาะนี้จะมีมะพร้าวกระทิแล้ว ยังมีผลไม้อีกหลายชนิดที่มีปลูกไว้บนเกาะ ไม่ว่า
จะเป็นขนุน หรือผลไม้เมืองร้อนจากอินโดนีเซีย กับฟิลิปิน ที่มีการนำมาทดลองปลูก

เดินมาพอที่เหงื่อซึมๆ เราก็เห็นหมู่บ้านพักคนงานอยู่ไกลๆ คนงานหลายคยกำลังยุ่งอยู่กับ
การคัดแยกมะพร้าว บ้างก็กำลังปลอกมะพร้าว เพื่อเตรียมนำไปส่งตลาด ซึ่งที่เกาะมะพร้าว
กระทินี้ ผลผลิตมะพร้าวกระทิ จะถูกขนส่งออกไปจำหน่ายในทุกๆวันจันทร์โดยทางเรือ



http://www.horoworld.com/data/19226_%C2%AA%C3%87%C2%B9%C3%A4%C2%BB%C3%A0%C2%A1%C3%92%C3%90%C3%81%C3%90%C2%BE%C3%83%C3%A9%C3%92%C3%87%C2%A1%C3%83%C3%90%C2%B7%C3%94_%C3%8B%C2%B9%C3%96%C3%A8%C2%A7%C3%A0%C2%B4%C3%95%C3%82%C3%87%C3%A1%C3%8B%C3%A8%C2%A7%C2%B7%C3%8D%C2%A7%C2%BC%C3%92%C3%80%C3%99%C3%81%C3%94_%C2%A1%C3%92%C2%AD%C2%A8%C2%B9%C2%BA%C3%98%C3%83%C3%95.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/01/2011 7:50 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 15/01/2011 5:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะพร้าวกะทิ (makapuno)


ลักษณะโดยทั่วไปของมะพร้าวกะทิ ไม่ว่าจะเป็นลำต้นทางใบใบย่อย และรูปทรงภายนอกของผลเหมือน กับมะพร้าวปกติทุกประการ
ส่วนลักษณะที่แตกต่างออกไปจะ เป็นเพียงภายในของผล คือมี เนื้ออ่อน นิ่ม ฟูคล้ายผิวมะกรูด ความหนา 2-3 เซนติเมตร รสชาติ
หวานมัน น้ำภายในผล มีน้อยและมีลักษณะข้นเหนียว

สาเหตุการเกิดมะพร้าวกะทิ เป็นเรื่องของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เนื่องจากลักษณะของ มะพร้าวกะทิถูกควบคุมโดยยีนส์
เพียง 1 คู่ ซึ่งเป็นลักษณะด้อย(recessive) ส่วนลักษณะของมะพร้าวปกติ เป็นลักษณะเด่น (dominance)

ถ้าให้ A เป็นลักษณะปกติ
a เป็นลักษณะด้อย

การถ่ายทอดยีนส์ตามกฎพันธุกรรมของเมนเดล เป็นดังนี้
ชั่วพ่อ-แม่ AA x aa
ชั่วลูก Aa x Aa
ชั่วหลาน AA, Aa, Aa, : aa

3 ส่วนมะพร้าวปกติ : 1 ส่วนมะพร้าวกะทิ
จากลักษณะการถ่ายทอดพันธุกรรมของเมนเดลดังกล่าว จะพบว่า โอกาสเกิดมะพร้าวกะทิตามธรรม ชาตินั้นมีน้อยมาก ในสวนขนาด
ใหญ่ ที่มีต้นมะพร้าวนับร้อยต้นอาจพบต้นที่เป็นกะทิเพียงต้นเดียวหรือไม่พบ เลย และถึงแม้ว่าจะเป็นต้นกะทิอยู่ก็ตามก็มีโอกาสเกิดผล
ที่เป็นกะทิเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น และเนื่องจากมะพร้าวกะทิถูกควบคุมโดยยีนส์ที่มีลักษณะด้อย จึงเป็นผลให้เอ็มบริโอ (embryo) ภาย
ในผลไม่สามารถเจริญเติบโตหรือไม่ สามารถงอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนได้


การขยายพันธุ์มะพร้าวกะทิ อาจทำได้โดย
1. เลือกผลที่ไม่เป็นกะทิจากต้นที่เป็นกะทิ (ต้นเพาะ) ในผลดังกล่าว อาจจะมียีนส์ที่เป็น AA หรือ Aa ก็ได้ เมื่อเพาะขึ้นมาจึงมีโอกาสได้
ต้น ที่เป็นกะทิอยู่ร้อยละ 50 และเมื่อต้นที่เป็นกะทินั้นออกผลจะมีโอกาส ได้ผล ที่เป็นกะทิอยู่ร้อยละ 25 การขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ตั้งแต่
เริ่มเพาะจนถึงตกผล ใช้เวลาประมาณ 5 ปี

2. การใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเอ็มบริโอ (embryo culture) โดยนำ เอ็มบริโอของผลมะพร้าวกะทิม าเลี้ยงในวุ้นในสภาพปลอดเชื้อ
เอ็มบริโอ ของมะพร้าวกะทิก็จะพัฒนาขึ้นโดยสร้างราก ยอด ใบ และเมื่อเจริญ เติบโต ถึงระยะหนึ่งก็สามารถนำออกไปปลูกได้ การขยาย
พันธุ์โดยวิธีนี้จะใช้เวลา เพาะเลี้ยงอยู่ในวุ้นประมาณ 2-3 ปี แล้วจึงนำออกไปปลูกในแปลง ซึ่งจะ ใช้เวลาอีกประมาณ 5 ปี จึงจะออกผล

ถึงแม้ว่าการขยายพันธุ์มะพร้าวกะทิทั้งสองวิธีจะใช้เวลาค่อนข้าง นาน แต่ถ้าได้ทำการขยายพันธุ์โดย ต่อเนื่องแล้ว นับวันจำนวนต้นและ
จำนวน ผลมะพร้าวกะทิที่ผลิตได้ภายในประเทศก็จะเพิ่มขึ้นในแต่ละปี เพื่อให้ ตอบสนองได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
ซึ่งมีทั้งการบริโภค สดโดยตรง และนำไปเป็นส่วนประกอบในอาหาร เช่น ไอศกรีม ขนมหวาน ต่างๆ หรือแม้กระทั่งการนำไปแปรรูปและ
บรรจุกระป๋องก็ตาม



http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=65&i2=25


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/01/2011 7:52 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 18/01/2011 6:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะพร้าวพวงร้อย..... 1 พวง (ทะลาย) 100 ผล



























http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%20%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E&imgurl=http://www.thaimtb.com/webboard/97/48540-39.jpg&imgrefurl=http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl%3Fid%3D48540&usg=__OOKefbX37JdqDSvGlsAYSvcnjTg=&h=640&w=480&sz=61&hl=th&zoom=1&um=1&itbs=1&tbnid=adXzbgXQtcYrrM:&tbnh=137&tbnw=103&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A2%2B%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%26um%3D1%26hl%3Dth%26sa%3DX%26tbs%3Disch:1&ei=BXM1TejxDoayvgP1xpidCw&um=1&sa=X&tbs=isch:1&start=0#tbnid=1VOLu_z64fVC5M&start=216


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/01/2011 7:13 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 18/01/2011 7:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต่อยอด มะพร้าวพวงร้อย....

.... ฉายา "พวงร้อย" มาจากผลดกมากถึง 100 ผล/ทะลาย
.... ขนาดผลไม่ใหญ่นัก ขนาดได้น้ำมะพร้าว 1 แก้ว พอดีกับ 1 คนกิน
.... ขนาดผลไม่ใหญ่นัก ขนาดทำสังขยาในมะพร้าว 1 ลูก พอดีกับ 1 คนกิน
.... ใน 1 ทะลาย ตัดแต่งผลออกบ้าง เหลือ 30 ผล จะได้ขนาดใหญ่ขึ้น

.... มะพร้าวชอบสวนยกร่องน้ำหล่อตลอดปี จะออกดอกติดผลตลอดปี
.... ถ้าไม่ใช่สวนยกร่องน้ำหล่อ ก็ต้องถึงน้ำ แนะนำระบบน้ำหยด
.... ถ้าเดือนใดในปีนี้มะพร้าวขาดน้ำ ถึงเดือนเดียวกันนี้ของปีรุ่งขึ้น ผลมะพร้าวจะขาดคอ


.... สวนยกร่องน้ำหล่อ ใส่ขี้ไก่ + เศษใบไม้ + น้ำหมักชีวภาพ ลงไปก้นร่อง หมักทิ้งข้ามปี
.... ลอกเลนก้นร่องขึ้นถมสันร่อง ปีละ 1-2 ครั้ง จะดีมากโดยไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี
.... มะพร้าวชอบ "ขี้แดดนาเกลือ" หรือ "เกลือแกง" ควรให้ปีละ 1 ครั้ง
.... มะพร้าวชอบ "ไบโออิ" (Mg-Zn-Ca.Br) ควรให้เดือนละ 1 ครั้ง
.... มะพร้าวชอบ ฮม.ไข่ (ไทเป) + เอ็นเอเอ. ควรให้ 1-2 เดือน/ครั้ง


ลุงคิมครับผม

ปล.
- สนใจต้นพันธุ์มะพร้าวพวงร้อย ติดต่อ "ป้าวรรณา" สมุทรสงคราม (089)048-8862
- สนใจวิธีทำน้ำมันมะพร้าว ติดต่อ "ณัฐ" ชมรมสีสันชีวิตไทย สิงห์บุรี (086)983-1966

อ้างชื่อลุงคิม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 18/01/2011 9:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะพร้าว แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม.....









































http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B2%20%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E&imgurl=http://kaset24.tarad.com/shop/k/kaset24/img-lib/spd_2008052512344_b.JPG&imgrefurl=http://kaset24.tarad.com/product.detail.php%3Fid%3D1608368%26Lang%3Den&usg=__yUVRDEuBo2eKzRZ-AEgNVSgc2O0=&h=394&w=300&sz=25&hl=th&zoom=1&um=1&itbs=1&tbnid=B6GZehivRrfBwM:&tbnh=124&tbnw=94&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25B2%2B%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%26um%3D1%26hl%3Dth%26sa%3DX%26tbs%3Disch:1&ei=bZ01TZyDJ4KuuQPSjOG4Cw&um=1&sa=X&tbs=isch:1&start=8#tbnid=B6GZehivRrfBwM&start=12


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/01/2011 9:12 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 18/01/2011 9:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะพร้าวเผา


เมื่อตรุษจีนที่ผ่านมา ผมลาพักร้อนไป 2 วัน เลยได้อยู่บ้านหลายวันหน่อย มีโอกาส
ลองอุปกรณ์สอยมะพร้าวที่ซื้อจากงานเกษตรแฟร์ ปรากฏว่าหักไปเรียบร้อย (ที่ว่า
เรียบร้อย คือ ผมได้ให้ช่างใช้เหล็กฉากดามบริเวณด้าม จนเรียบร้อย กลับมาใช้งาน
ได้อีกครั้ง) ได้มะพร้าวมา 6-7 ลูก ก็เลยเอามาเผาสักหน่อย ซึ่งปกติแล้วผมไม่
ค่อยได้เผาหรอก ไม่ได้กลัวโลกร้อนหรอก แต่มันขี้เกียจ สูตรที่เผาก็ใช้สูตรคุณตา
แอบจำได้ว่าตอนเด็กๆ ตาเผาแบบนี้ คือ เผาไฟให้กาบมะพร้าวไหม้โดยรอบ ให้รอย
ไหม้ลึกประมาณ 2-3 มม. เรื่องไฟอ่อนไฟแรงผมอธิบายไม่ถูก แต่ถ้าไฟแรงเกิน
ไปก็จะทราบเองโดยอัตโนมัติ เพราะลูกมะพร้าวจะระเบิดออกมา





เผาเรียบร้อยแล้วก็จะดำเป็นตอตะโก ไม่ใช่หรอกครับ ดำเป็นมะพร้าวเผานี่แหละ ไม่
จำเป็นต้องไปเหมือนคนอื่น พร้อมปอกเอากาบออก การปอกมี 2 อย่างให้เลือก คือ
ปอกตอนร้อนๆ หรือรอปอกตอนที่เย็นแล้ว ถ้าจะเอาไปขายก็ต้องปอกตอนร้อนๆ
เพราะว่าสีของของกระโหลกจะขาว หากจะรอปอกเมื่อเย็นแล้ว สีของกระโหลกจะ
แดงๆ ตลาดไม่ค่อยชอบ




เรียบร้อย ล้างฝุ่นสักหน่อย เอาไปแช่เย็นรอเครื่องเขินและมัดหมี่เลิกเรียน เรื่อง
มะพร้าวนั้นก็คล้ายๆ เรื่องมะละกอสุก คือ หาที่อร่อยๆ มากินยาก ต้องทำเอง เพราะ
ที่ตลาดมักจะเป็นมะพร้าวต้ม ซึ่งขณะต้มน้ำต้มกับน้ำ มะพร้าวมันคงออสโมซิสไปหา
กันและกันบ้าง ความหวานจึงเหมือนจะน้อยลง และที่หายไปแน่ๆ ก็คือ ความหอม
มะพร้าวต้มไม่มีความหอมเหมือนมะพร้าวเผา แต่ผมก็ยังงงๆ ว่าเขาต้มกันยังไงมันถึง
มีรอยไหม้ดำๆ เพราะผมเผายังไงพอปอกออกมามันก็ขาวจั๊วะ กาบมะพร้าวนะครับไม่
ใช่เปลือกส้มเขียวหวาน (ขำๆ นะครับ ก็รู้ๆ กันอยู่ ทั้งคนซื้อและคนขายนั่นแหละ ทำ
ไงได้กลไกตลาดมันบังคับ)



http://burirom.ketakawee.com/2010/02/15/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B2/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 18/01/2011 9:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต่อยอด มะพร้าวเผา.....

....ยืนยัน มะพร้าวอ่อนเผา อร่อยกว่ามะพร้าวอ่อนต้ม ชนิดคนละเรื่องเทียบกันไม่
ได้เลย....มะพร้าวเผา กลิ่นหอม รสกลมกล่อม หวานตามสายพันธุ์....มะพร้าว
ต้ม รสจืดชืด พอมีกลิ่นมะพร้าวบ้าง

....มะพร้าวเผา ต้องควบคุมไฟดีๆ ถ้าไฟแรงเกินไปลูกจะระเบิด น้ำแตกซ่าเลย
ส่วนมะพร้าวต้ม ก็แค่ใส่กะทะใบบัว หรือใส่ถัง 200 ล.ตัดครึ่ง เติมน้ำท่วม แล้วก็ต้ม
ไป ต้มนานเท่าไหร่ลูกก็ไม่ระเบิด

.... มะพร้าวเผา เมื่อเผาเรียบร้อยแล้วจะแกะกาบมะพร้าวออกจนหมดเกลี้ยงเหลือ
แต่กะลา สีขาวสอาด กะลาแข็ง.....แต่มะพร้าวต้ม จะไม่แกะกาบมะพร้าวออกจน
หมด เหลือกาบติดผิวเปลือกนอกไว้ประมาณ 2 นิ้วมือ แล้วใช้ไฟแก๊สเชื่อมเหล็ก
เผากาบติดเปลือกนั้นให้ไหม้ เพื่ออำพรางว่านี่คือมะพร้าวเผาจริงๆ กะลามะพร้าวต้ม
ถ้าเป็นมะพร้าวอ่อนจริง กะลาจะนิ่ม


.... มะพร้าวเผา หรือ มะพร้าวต้ม ปอกเปลือกขัดสีฉวีวรรณดีแล้ว ใช้ "น้ำ +
กลิ่น" (คนกิน/อย.) เช่น กลิ่นใบเตย. กลิ่นสตรอเบอรี่. กลิ่นวนิลา. หรือกลิ่น
มะพร้าว. ผสมน้ำร้อน ให้กลิ่นเจือจางมากๆ ใส่ไซลิ้งค์ฉีดยา เลือกเข็มเบอร์เล็กที่
สุด แทงทะลุกะลาตรงที่เป็นตา (จุดที่เพาะแล้วงอกต้น) แทงเฉียงๆ ฉีดอัด น้ำ +
กลิ่น เข้าไป 1-2 ซีซี. ถอดเข็มออกแล้วกดรอยแทงเข็มให้สนิท เขย่าให้น้ำใน
ลูกมะพร้าวเข้ากันดี เก็บในที่เย็นอยู่ได้ 2-3 วัน แต่เก็บในอุณหภูมิห้อง อยู่ได้ 1
วัน หลังจากนั้นจะบูด....กลิ่นที่ใช้คนกินไม่อันตราย เพราะเป็นกลิ่นสำหรับแต่งกลิ่น
อาหาร และ อย.รับรองแล้ว มะพร้าวแบบนี้สำหรับคนชอบของแปลก แต่ถ้าคนขาย
โฆษณามากๆ เวอร์ๆเข้าไว้ก็จะยิ่งแปลกมากขึ้นไปอีก....เคยแนะนำให้กลุ่มแม่บ้าน
ทหารพลร่ม ทำขายข้างถนนพหลโยธิน พระพุทธบาท-ลพบุรี ช่วงประมาณสามแยก
พัฒนานิคม ลูกค้าเด็กชอบกินมาก แม้แต่ผู้ใหญ่หลายคนยังชอบเลย


ลุงคิม (เผาแล้วไม่แต่งกลิ่น) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
nokkhuntong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010
ตอบ: 256

ตอบตอบ: 19/01/2011 2:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รายการ กิน อยู่...คือ ตอน "หวาน มันจากกะทิ"
ท้ายรายการ พาไปชม..เกาะมะพร้าวกะทิ...

http://www.thaipbs.or.th/clip/index.asp?content_id=288895&content_category_id=1062

http://www.thaipbs.or.th/EatamAre/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 19/01/2011 4:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น่าจะมีรายการ "เอามะพร้าวมาขายสวน" หน่อยนะ...

หรือไม่ก็ "มะพร้าวห้าว ยิ่งแก่ยิ่งมัน" ประมาณเนี้ย มีไหม ?


ลุงคิม (ห้าว แต่ไม่มัน) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 22/01/2011 11:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะพร้าวกะทิ 2 พันธุ์ใหม่...ทั้งเตี้ย ทั้งหอม




นับเป็นข่าวดีที่ กรมวิชาการเกษตร ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์มะพร้าว
กะทิลูกผสมพันธุ์ใหม่ 2 พันธุ์ ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมเสนอให้คณะกรรมการวิจัยปรับ
ปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร พิจารณาประกาศเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการ
เกษตร เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เพื่อการค้า

นายสมชาย วัฒนโยธิน นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยพืชสวน
กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ทีมนักวิจัยเริ่มปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิที่สวน
ผลิตพันธุ์มะพร้าวลูกผสมคันธุลี ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี เมื่อปี 2538 โดยได้รับ
ความร่วมมือจากสวนมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ของบริษัท อูติเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
จำกัด อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ซึ่งสนับสนุนพ่อพันธุ์มะพร้าวกะทิสายพันธุ์แท้ 1
พันธุ์ จำนวน 44 ต้น นำมาผสมกับแม่พันธุ์มะพร้าว 5 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์น้ำ
หอม สายพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย สายพันธุ์มลายูสีแดงต้นเตี้ย สายพันธุ์ทุ่งเคล็ด
และสายพันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง พันธุ์ละ 100 ต้น

เบื้องต้นได้สายพันธุ์มะพร้าวลูกผสม กะทิ ชื่อย่อ NHK, YDK, RDK, TKK และ
WAK ซึ่งทีมนักวิจัยได้ทำการทดลองปลูกพร้อมคัดเลือกสายพันธุ์เรื่อยมากระทั่งปี
2549 พบว่า มะพร้าวลูกผสมกะทิ 2 พันธุ์มีความโดดเด่นและมีศักยภาพการให้ผล
ผลิตสูงและมีคุณภาพ คือ YDK และ NHK ซึ่งเหมาะสมที่จะส่งเสริมให้เกษตรกร
ปลูกเพื่อเพิ่มรายได้

สำหรับสายพันธุ์ YDK เป็นมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิระหว่างมลายูสีเหลืองต้นเตี้ย
(พันธุ์แม่) กับมะพร้าวกะทิสายพันธุ์แท้ (พันธุ์พ่อ) มีลักษณะ เด่น คือ ออกจั่นและ
ติดผลเร็วขณะที่ ต้นเตี้ย (สูงจากพื้นที่ดินประมาณ 50-60 เซนติเมตร) หลังปลูก
ประมาณ 4 ปี ก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 1,902 ผล/ไร่/ 3
ปีแรก (ช่วงอายุ 4-7 ปี) คิดเป็นรายได้ 28,008 บาท/ไร่ ถ้าแหล่งปลูกปลอด
จากมะพร้าวธรรมดา จะมีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้
เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 34,002 บาท/ไร่ ขึ้นอยู่กับระบบการจัด การสวน

ส่วนสายพันธุ์ NHK เป็นมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิระหว่างพันธุ์น้ำหอม (พันธุ์แม่) กับ
กะทิสายพันธุ์แท้ (พันธุ์พ่อ) มีลักษณะเด่น คือ ออกจั่นเร็ว ให้ผลผลิตเป็นมะพร้าว
กะทิที่มีกลิ่นหอมทั้งน้ำและเนื้อ จำนวน 55% ของจำนวนต้นที่ปลูก โดยให้ผลผลิต
เฉลี่ย 1,064 ผล/ไร่/3 ปีแรก (อายุ 4-7 ปี) ซึ่งต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิจำนวนดัง
กล่าว สามารถใช้พัฒนาพันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยได้โดยใช้เทคนิคการผสม
พันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ และใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงคัพภะ (Embryo culture)
เข้ามาช่วยในการเพาะเลี้ยงผลมะพร้าวกะทิน้ำหอม ก็จะได้ต้นพันธุ์มะพร้าว กะทิน้ำ
หอม 100%

กรมวิชาการเกษตรจะประกาศให้มะพร้าวลูกผสมกะทิพันธุ์ใหม่ทั้ง 2 สายพันธุ์ เป็น
พันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรภายในปี 2553 นี้ พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรนำ
ไปปลูกเพื่อการค้าเพื่อเพิ่มรายได้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างเร่งผลิต
ต้นพันธุ์มะพร้าวกะทิลูกผสมพันธุ์ใหม่ทั้ง 2 พันธุ์ โดยใช้พื้นที่กว่า 80 ไร่ เพื่อรองรับ
ความต้องการของเกษตรกรที่มียอดสั่งจองต้นพันธุ์เข้ามาแล้วกว่า 20,000 ต้น
ขณะเดียวกันยังมีแผนขยายผลการวิจัยพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ต่อ เพื่อให้ได้พันธุ์
มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยซึ่งเป็นพันธุ์แท้ต่อไป

หากสนใจเกี่ยวกับมะพร้าวกะทิลูกผสมพันธุ์ใหม่ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-0583 ต่อ 135 หรือ
สวนผลิตพันธุ์มะพร้าวลูกผสมคันธุลี ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี โทร. 0-7738-
1963.



http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=347&contentID=82624
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©