-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 15 AUG
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เทคโนฯเกษตร เครื่องทุ่นแรง สู่ความสำเร็จ...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เทคโนฯเกษตร เครื่องทุ่นแรง สู่ความสำเร็จ...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11567

ตอบตอบ: 02/08/2012 1:28 pm    ชื่อกระทู้: เทคโนฯเกษตร เครื่องทุ่นแรง สู่ความสำเร็จ... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เครื่องใส่ปุ๋ยติดท้ายรถไถเดินตาม






ปัญหาการใส่ปุ๋ยของเกษตรกรไร่อ้อยรายย่อยคือ การใส่ปุ๋ยไม่สม่ำเสมอ ไม่ทั่วถึง และไม่มีการกลบปุ๋ยทันที เพราะว่าอาศัยแรงงาน
คนหว่านปุ๋ย โดยค่าจ้างใส่ปุ๋ยกระสอบละ 20-30 บาท ดังนั้น แรงงานใส่ปุ๋ยจึงเร่งใส่ปุ๋ยให้ได้หลายกระสอบจึงหว่านปุ๋ยอย่างรวดเร็ว
ทำให้การกระจายปุ๋ยไม่สม่ำเสมอคนงานใส่ปุ๋ยจะหว่านปุ๋ยไปที่โคนกอของอ้อยทำให้ปุ๋ยค้างอยู่ที่ใบอ้อยที่คลุมดิน ปุ๋ยส่วนใหญ่จึง
ตกไม่ถึงพื้นดิน ต้องรอจนกว่าฝนตกทำให้เกิดการสูญเสียปุ๋ยเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังต้องมีจ้างไถกลบปุ๋ยด้วยรถไถเดินตามอีกไร่
ละ 100-120 บาทต่อไร่ เครื่องใส่ปุ๋ย ติดท้าย รถไถเดินตามสามารถใส่ปุ๋ยได้สม่ำเสมอ และทำการกลบปุ๋ยที่ใส่ทันที ทั้งในไร่อ้อย
ที่มี ใบคลุมและ ไม่มีใบคลุมดิน

เครื่องใส่ปุ๋ยติดท้ายรถไถเดินตามประกอบด้วยโครงไถ (main frame) เป็นที่ยึดเกาะของผาล สับใบ อ้อย ผาลกลบใบอ้อยและ
ล้อคัดท้าย มีที่ถ่วงน้ำหนักด้วยกระสอบทรายเพื่อที่สามารถสับอ้อยที่ หนาหรือไร่อ้อยที่มีดินแข็งได้ มีการวางผาลจักรสับใบอ้อย
อยู่ด้านหน้าเพื่อสับใบ อ้อยและเปิดดิน ลึก 3-6 นิ้ว มีผาลกลบปุ๋ยอยู่ด้านหลังเพื่อกลบปุ๋ยลงดิน และจานคัดท้ายอยู่คู่กับผาลกลบ
ปุ๋ย โดยมี ช่องปล่อยปุ๋ยอยู่ด้านด้านหลังผาลสับใบอ้อย ส่วนถังบรรจุปุ๋ยจะอยู่ด้าน บนของรถไถเดินตาม มีเกลียวลำเลี้ยงปุ๋ยเป็น
แบบ 2 ทาง (เกลียวซ้าย-ขวา) ปากเกลียว วางตำแหน่งตรงกันข้าม เพื่อให้ปุ๋ย ไหลลงอย่างสม่ำเสมอ แต่ช่องปล่อยปุ๋ยลงดินอยู่
ในตำแหน่ง เดียวกัน คือ หลังผาลสับใบอ้อย มู่เล่เพลาเกลียวลำเลียงปุ๋ยมีขนาดตั้งแต่ 6-10 นิ้ว ขึ้นอยู่กับอัตรา ปุ๋ยที่จะใส่






1. มู่เล่ตัวขับที่ล้อรถไถเดินตาม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12"
2. มู่เล่เพลาเกลียวลำเลียงปุ๋ย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6", 7", 8" และ 10"
3. เกลียวลำเลียงปุ๋ยเป็นแบบสองทาง (เกลียวซ้าย-ขวา) ปากเกลียววางตำแหน่งตรงกันข้ามแต่ช่องปุ๋ยลงดินในตำแหน่ง
เดียวกัน
4. จานจักรสับใบอ้อย ทำหน้าที่สับใบอ้อยและเปิดร่องใส่ปุ๋ย ขนาดความลึก 3" - 6" แล้วแต่สภาพใบอ้อยและดิน
5. จานคัดท้าย ทำหน้าที่คัดท้าย ป้องกันการปัดตัวของชุดเปิดร่องและปรับมุมของจานสับใบอ้อย เขี่ยใบอ้อยให้ออกจากด้าน
หลังของจานตัดหลัก
6. จานกลบปุ๋ย ทำหน้าที่พรวนดินจากจานสับใบอ้อยกลับไปกลบปุ๋ย โดยมีลูกกลิ้งกันจม ช่วยในการบังคับรถไถให้ง่ายขึ้นใน
สภาพดินที่เปียกชื้น ช่วยให้ชุดไถไม่กินดินลึกเกินไป


ลักษณะเด่น
เป็นเครื่องใส่ปุ๋ยที่ใช้กับรถไถเดินตามที่ชาวไร่อ้อยรายย่อยโดยทั่วไปมีใช้ ราคาถูก ปุ๋ยที่ใส่มีการกลบฝัง การเปลี่ยนอัตราปุ๋ยทำ
ได้ง่าย โดยการเปลี่ยนขนาดมู่เล่เพลาขับปุ๋ย สามารถใส่ปุ๋ยอ้อยได้ทั้งอ้อยปลูกและอ้อยตอที่มีใบคลุมดิน ไม่มีข้อจำกัดในการ
ใช้งาน ใส่ปุ๋ยอ้อยได้ทั้งที่อ้อยต้นเตี้ยหรือสูง ใส่ปุ๋ยอ้อยได้ทั้งดินอ่อนหรือดินแข็ง ดินชื้นหรือดินแห้ง ใส่ปุ๋ยได้วันละไม่ต่ำกว่า
10 ไร่











ประโยชน์ที่ได้รับ
1. การใส่ปุ๋ยอ้อยมีประสิทธิภาพทั่วถึง
2. อ้อยได้รับปุ๋ยอย่างเพียงพอ
3. ผลผลิตต่อไร่ของอ้อยตอสูงขึ้น
4. อ้อยมีการไว้ตอได้ดี
5. ลดต้นทุนการใส่ปุ๋ยลง 20-50 บาท


เขียนโดย modernfarmers



http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://1.bp.blogspot.com/-ju1Sg77qqUA/Tf9vtQjv9zI/AAAAAAAAAMo/dBvLgDD1x9E/s1600/004_01.jpg&imgrefurl=http://modrenfarmers.blogspot.com/2011/06/blog-post_4772.html&usg=__npBVtog-WhGxtwL8620VhCOWeqU=&h=375&w=500&sz=50&hl=th&start=9&zoom=1&tbnid=Fp0oJ9T4D_jkuM:&tbnh=98&tbnw=130&ei=wBkaUMKXHoiviQeKlICQDA&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25B8%25E0%25B9%258B%25E0%25B8%25A2%26hl%3Dth%26sa%3DX%26tbm%3Disch%26prmd%3Divnsfd&itbs=1


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/08/2012 8:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11567

ตอบตอบ: 03/08/2012 6:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทำนาแบบญี่ปุ่น......สบายกว่าบ้านเราเยอะเลย



อยู่ไทยไม่เคยทำนา....อุตส่าห์มาถึงญี่ปุ่น ได้ทำนาตั้งแต่เตรียมดินถึงเกี่ยวข้าวเชียว

เนื่องจากบ้านอยู่ชนบท ดังนั้นเลยมีที่ดินในการปลูกผักและปลูกข้าวพอกินในครอบครัวบ้าง การทำนาที่ญี่ปุ่นเป็นเรื่องที่พอทำได้
ไม่ใช่เรื่องหนักหนาสาหัสอะไร เจ้าของบ้านจะทำงานอะไรก็ตาม งานบริษัท งานราชการ แต่ทุกคนก็สามารถมาขึ้นรถไถนา
ปลูกข้าวเกี่ยวข้าวได้เหมือนกัน

(ที่ญี่ปุ่นมีข้าวหลายพันธุ์ เราสามารถเลือกได้ว่าจะเอาแบบไหน ราคาไม่เท่ากัน สามารถซื้อต้นกล้ามาจากสำนักงาน JA หรือ
JA - Japan Agricultural ที่ขายและรับซื้อผลิตผลทางการเกษตรทุกรูปแบบ) โดยที่เราจะซื้อมาก่อนเพาะปลูก 1 วัน เอามา
ไว้ในช่วงเย็น วางไว้ตามขอบคันนาเป็นจุดๆ



ขั้นตอนการเตรียมปลูกข้าว
ก่อนวันปลูกข้าว ต้องเอาปุ๋ยโรยและไถพรวนดินก่อน แล้วค่อยปล่อยน้ำลงนา เพื่อให้ดินอุ้มน้ำเป็นเวลาล่วงหน้า 1 วันก่อนวันปลูกจริง

ญี่ปุ่นทันสมัยมาก น้ำที่เปิดเข้าที่นา ก็เปิดวาล์วน้ำ หมุนก๊อกตามปกติ แล้วน้ำจะเข้านาเลย แต่เราต้องตามคิว เราช่วงปลูกข้าว คนใช้
น้ำเยอะ ปั๊มน้ำจะทำงานส่งน้ำตามลำดับ ตู้เปิดสวิตช์น้ำ จะอยู่บริเวณนึงของหมู่บ้าน เราจะใช้กันตามลำดับคิว

ส่วนใหญ่เราจะปลูกข้าวช่วงสายๆ ที่นาสองไร่จะใช้เวลาปลูกประมาณ ไม่เกินสองชั่วโมง เพราะใช้รถปักข้าวเลย จ้างกันเอา ส่วน
คนที่มีที่ดินนิดหน่อย อาจซื้อที่ปักข้าวแบบเดินเองก็ได้ ผู้ชายจะเป็นหลักในการช่วยยกแผงต้นกล้าข้าวใส่เครื่องจักร

ถ้าการปลูกข้าวใช้เวลานาน เราก็จะเรียกคนที่เราจ้างมาปักข้าว มาดื่มน้ำชาและขนมว่างก่อน ค่อยลุยงานกันต่อ คนที่เราจ้างประจำ
นี้ เป็นญาติของเราเอง ก็เลยคุยสบายๆ พอเสร็จงานแล้ว .... เราจะไปซื้อซูชิ 1 ถาดใหญ่ ไปส่งที่บ้านเขาเป็นอาหารมื้อเที่ยง
เป็นการขอบคุณ (นอกเหนือจากค่าจ้างที่จ่ายปกติ)

เคยถามว่า ทำไมเราต้องซื้อซูชิ ให้แบบนี้ทุกปีด้วย .... คนที่บ้านบอกว่า สมัยก่อนเราทำนา เราจะช่วยกันทั้งตระกูล เรียกกันมา
หมด ยืนเรียงหน้ากระดานแล้วดำนากัน ตอนเที่ยงเจ้าของบ้าน(ปู่ทวด)จะต้องเลี้ยงข้าว แต่สมัยนี้เปลี่ยนไปบ้าง แต่เราก็แค่ทำ
เหมือนเคย แล้วซูชิก็เป็นอาหารชั้นดี ที่แทบจะทุกบ้านชอบทานกัน เลยเป็นอันรู้กันว่า วันไหนทำนา วันนั้นเราจะได้กินซูชิ



เมื่อปักกล้าเสร็จแล้ว ระหว่างรอข้าวอุ้มท้อง(ออกรวง) เราก็ต้องมีหว่านปุ๋ยเพื่อบำรุงและฉีดยาเพื่อฆ่าแมลงด้วยนะ (ปลูกกินเอง
ก็เลือกปุ๋ยชีวภาพได้) จากนั้นก็รอๆๆ ปกติปลูกข้าววันหยุด golden week คือต้นเดือนพ.ค แล้วเกี่ยวข้าวเมื่อช่วงกันยายน
แล้วค่อยส่งไปโรงสีข้าวต่อไป

เราจะเก็บข้าวเป็นข้าวกล้องแบบหยาบ โดยเก็บในห้องเฉพาะที่แห้งไม่อับชื้น เพราะเราจะเก็บเป็นปี กินจนกว่าจะหมด ถ้าไม่หมด
ก่อนที่เรามีล็อตใหม่มา เราจะเอาไปขายเหมือนกัน แต่ข้าวตกรุ่น ราคาก็ตกตามด้วย

ปกติเราจะไม่สีข้าวเป็นสีขาวทิ้งไว้นานเป็นปี เพราะมันจะไม่อร่อย แต่เมื่อเราจะเปิดกระสอบใหม่กิน เราถึงจะแบกไปกระสอบข้าว
ไปสีข้าวที่เครื่องหยอดเหรียญ โดยข้าว 30กก/ถุง จะใช้เงิน 200 เยน

การใส่ปุ๋ย ... แม้แต่ถังใส่ปุ๋ยเม็ด และกระบอกใช้หว่าน ยังออกแบบมาได้น่ารักจริงๆ




















http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=taiki&month=04-03-2012&group=1&gblog=17
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11567

ตอบตอบ: 03/08/2012 7:19 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่ญี่ปุ่น..ฉันทำนา..ปลูกข้าวไว้กินเองค่ะ..






ที่บ้านเราปลูกข้าวไว้กินเองค่ะ มีที่นาไม่ใหญ่แต่เก็บเกี่ยวแล้ว เรามีข้าวพอกินได้ทั้งปีค่ะ

ถ้าต้องซื้อข้าวกินปีหนึ่งตก ประมาณสองแสนเยนหรือเท่ากับ 68,965 บาท

เม็ดพันธ์ก็ไม่ต้องซื้อ ก่อนเก็บเกี่ยวก็เลือกเก็บเม็ดพันธ์ไว้สำหรับเพาะปลูกในปีต่อไป

ปลูกแบบธรรมชาติ แน่นการดูแลไม่ใช้ยาค่ะ ตามไปดูว่าบ้านเราปลูกข้าวกันยังไงนะค่ะ

เดือนสาม เตรียมเม็ดพันธ์ แช่น้ำแล้วเอาไปเพาะเป็นต้นกล้า ระหว่างนี้ก็เตรียมไถ
พรวนดินที่นารอไว้ พร้อมกับดูแลกำจัดวัชพืช




เดือนห้า ไถพร่วนดินเตรียมที่นาอีกครั้ง ปล่อยน้ำเข้านา เอาต้นกล้าลงปลูกด้วยรถ
สำหรับปลูกข้าวคันนี้ล่ะค่ะ






COMMENT :
เปรียบภาพบนกับภาพล่าง และภาพล่างๆถัดลงมา.....ภาพบน นาดำต้นข้าวขึ้นห่าง
กันมาก ภาษาไทยเรียกว่า "หล็อมแหล็ม" ไม่ชอบ ไม่ยอมรับ นัยว่า จำนวนต้นน้อย
จะได้ข้าวน้อย.....ภาพล่าง เมื่อต้นข้าวโตขึ้น มีพื้นที่ให้แต่ละต้นแตกกอได้เต็มที่
ส่งผลให้ต้นข้าวแต่ละต้นโต โตมากๆ แบบนี้ นอกจากประหยัดเมล็ดพันธุ์แล้ว ยังส่ง
ผลให้ผลผลิตดีและ ปัญหา "โรค-แมลง" ก็น้อยด้วย............ลุงคิม



เดือนเจ็ด ต้นกล้าโตเป็นต้นข้าวแล้ว ต้องคอยดูแลกำจัดวัชพืช และดูเรื่องปล่อยน้ำ
เข้านาให้พอดี




เดือนแปด มีใต้ฝุ่นเข้า ตื่นเช้าต้องรีบไปดูต้นข้าวเป็นยังไงบ้าง โชคดีน้ำระบายได้ทัน
และต้นข้าวไม่ล้ม เห็นของคนอื่นล้มกันเยอะอยู่ที่โล่งง่ะค่ะ





เดือนเก้า ถึงฤดูเก็บเกี่ยว ข้าวสุกเหลืองพร้อมให้เก็บเกี่ยวแล้วค่ะ





ก็ใช้รถคันนี้ค่ะ แต่ต้องใช้แรงมือเก็บตรงมุมๆนิดหน่อยค่ะเนื่องจากรถเข้าไปไม่ถึงค่ะ




รถเก็บข้าวนี่เก็บแล้วได้มาเป็นข้าวเปลือกเลยค่ะ ต่อไปก็เอาไปอบให้แห้งที่โรงอบ
ข้าว ซึ่งไม่ต้องใช้ตังค์ค่ะ แต่ให้เบียร์หรือเหล้าเป็นของกำนัล

หลังเก็บเกี่ยวแล้วก็ไปเก็บฟางข้าวมัดเป็นมัดๆ เอามาเก็บไว้ใช้ในการปลูกผักค่ะ




ส่วนข้าวเปลือกอบแห้งแล้วทางโรงอบก็จะบรรจุลงถุงให้ค่ะ เวลาต้องการข้าวสารก็
เอาข้าวเปลือกไปที่ตู้นี้ล่ะค่ะ ใส่ตังค์ไป 300เยน/1 ถุง(20กิโลกรัม)มันก็จะสีข้าว
เปลือกออกมาเป็นข้าวสารให้เราเอากลับไปหุงกินได้เลยค่ะ

การปลูกข้าวทำนาที่ญี่ปุ่นนี่ไม่ทรหด อดทนค่ะ มีเครื่องอำนวยความสะดวกช่วยผ่อน
แรงและเวลาค่ะ

samelaa เองคิดตลอดค่ะ ถ้าได้กลับไปอยู่เมืองไทยอยากซื้อที่ดิน ปลูกบ้านเล็กๆ
ปลูกข้าว ปลูกผัก ไว้กินเองงะค่ะ เหลือก็แจกจ่าย คงมีความสุขดีเหนาะ ว่าแล้วก็
อยากมีเพื่อนๆไปอยู่หมู่บ้าน "ชีวิตที่พอเพียง" ไปอยู่ด้วยกันไหมค่ะ







http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=okazakistation&month=22-09-2007&group=8&gblog=2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11567

ตอบตอบ: 04/08/2012 6:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อาชีวะบุรีรัมย์..เจ๋ง ! แปลงเครื่องตัดหญ้าเป็น "กระเช้าเกี่ยวข้าว"






สามหนุ่ม ปวช. จากแผนกวิชาช่างยนต์ นำโดย "วิชา เพ่งพิศ" "อัครพล ผลพูน" และ "ชัยวัฒน์ ช่างเรือน" เจ้าของกระเช้าเกี่ยวข้าว
เล่าให้ฟังว่า กระเช้าเกี่ยวข้าวที่ดัดแปลงจากเครื่องตัดหญ้าจานโรตารี่ นี้เป็นการต่อยอดผลงานของรุ่นพี่ ที่คิดไว้เมื่อ 2-3 ปีก่อน
แต่ชิ้นงานยังมีข้อบกพร่อง คือ น้ำหนักมากถึง 3-4 กิโลกรัม ทำให้ใช้แรงมาก เกี่ยวข้าวได้น้อย แต่เมื่อตนและเพื่อนนำมาปรับปรุงให้
กระเช้าเกี่ยวข้าว มีน้ำหนักลดลงเหลือ 1-2 กิโลกรัม โดยเปลี่ยนวัสดุของฐานจากเหล็กมาเป็นพลาสติก และออกแบบให้คนที่เกี่ยว
ข้าวมือซ้าย สามารถใช้เครื่องเกี่ยวข้าวชนิดนี้ได้

"วิชา" ยังพูดถึงประสิทธิภาพของนวัตกรรมชิ้นนี้ สามารถเกี่ยวข้าว 1 ไร่ ได้ภายใน 1 ชั่วโมง หากเทียบกับแรงงานคน ต้องใช้คน
ถึง 6 คน จึงเกี่ยวข้าวได้ 1 ไร่ ใช้น้ำมัน 1 ลิตรต่อการเกี่ยวข้าว 1 ไร่ ถ้าเราใช้รถเกี่ยวจะตกอยู่ที่ไร่ละ 600-700 บาท และเกษตร
กรในภาคอีสาน ต้องการฟาง ถ้าใช้รถเกี่ยวข้าวคุณภาพฟางที่ได้จะไม่ดี และข้าวที่ได้เมล็ดจะหักและมีหญ้าเจือปน ทำให้ขายข้าวได้
ราคาต่ำ ขณะที่ใช้กระเช้าเกี่ยวข้าวจะได้เมล็ดข้าวคุณภาพดี แม้จะเหนื่อยกว่าการใช้รถเกี่ยวอยู่บ้างก็ตาม



...แนวคิดของสามหนุ่ม ไม่หยุดอยู่เพียงแค่นั้น แต่ถูกต่อยอดไปไกลในเชิงพาณิชย์ ถึงการผลิตและจำหน่าย "กระเช้าเกี่ยวข้าว"
ในตลาดเครื่องมือการเกษตร

"ตอนนี้พวกเราก่อตั้ง "บริษัทเกษตรพอเพียง" โดยเริ่มจากระดมทุนจากสมาชิก 7 คน และกู้เงินกองทุนหารายได้ระหว่างเรียนของ
วิทยาลัย มาลงทุนซื้ออุปกรณ์ผลิตเป็นสินค้าจำหน่าย โดยจำหน่ายสินค้าใน 2 รูปแบบ ได้แก่ ตัวกระเช้าอย่างเดียว ราคา 800 บาท
แต่ถ้ารวมเครื่องยนต์เบ็ดเสร็จนำไปใช้งานได้ ราคาอยู่ที่ 12,000 บาท โดยช่องทางจำหน่ายจะนำไปฝากขายในร้านขายอุปกรณ์
ทางการเกษตรในจังหวัดบุรีรัมย์ และสุรินทร์ รวมทั้งรับออเดอร์ผ่านทางเว็บไซต์ ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 30 เครื่องต่อเดือน"

...สำหรับกำไรที่ได้มาหลังจากแบ่งให้หุ้นส่วนแล้ว ส่วนหนึ่งจะถูกนำจัดการฝึกอบรมการทำกระเช้าเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องตัดหญ้า
ให้กับชาวนาในชุมชนที่สนใจอีกด้วย










คลิกดูภาพขณะใช้งาน....(COP มาไม่ได้...มืออ่อน...)
http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.siamrath.co.th/web/sites/default/files/ed17-30-05-2012-pp1.jpg%3F1338376296&imgrefurl=http://www.siamrath.co.th/web/%3Fq%3Dcategory/channel/scoopeducation&usg=__sP1BKmLBNbql3UzmGQJ-jctRLnQ=&h=350&w=500&sz=54&hl=th&start=2&zoom=1&tbnid=O45sHp3T1Lcf9M:&tbnh=91&tbnw=130&ei=NwcdUMOIO8itrAfD1IEQ&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1%2B%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%258A%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%26hl%3Dth%26sa%3DX%26tbm%3Disch%26prmd%3Divns&itbs=1

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11567

ตอบตอบ: 10/08/2012 10:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เครื่องตากเนื้อแดดเดียว พลังงานแสงอาทิตย์






ลักษณะเด่นของเทคโนโลยี :
ออกแบบและสร้างเครื่องตากเนื้อแดดเดียวพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ใช้หลักการตกกระทบของแสงอาทิตย์บนกระจกเงาแบบ
พาราโบลาครึ่งวงกลมแล้วสะท้อนมายังผลิตภัณฑ์ที่ตากแห้ง ด้วยจำนวนกระจกเงาที่ติดนั้นมีจำนวนมากจึงเกิดจุดรวมแสงซึ่งมี
อุณหภูมิสูง ทำให้แห้งเร็วกว่าการตากแห้งแบบธรรมดา นอกจากนั้นยังออกแบบให้ตะแกรงตากแห้งสามารถหมุนได้ด้วยระบบ
ไฟฟ้าจากเซลล์สุริยะ ที่ต่อเข้ากับมอเตอร์หมุนเพลาของตะแกรงตากทดแทนการพลิกด้วยแรงคน








การจัดการกับเทคโนโลยี
ออกแบบและสร้างเครื่องตากแห้งโดยทำให้มีลักษณะพาราโบลาแบบครึ่งวงกลม ยึดติดกับโครงเหล็กที่เอียงประมาณ 15 อาศา
ติดด้วยแผ่นกระจกขนาด 2x2 ซม. ทั่วทั้งแผ่น ติดตั้งเพลาที่ประกอบด้วยตะแกรงตากทำมุมขนานกันกับผิวโค้งพาราโบลา ยึด
ด้วยลูกปืนตุ๊กตาทั้งบนและล่าง ติดตั้งมอเตอร์พร้อมพลูเล่ย์เพื่อทดรอบของมอเตอร์ให้ช้าลง ติดตั้งแผงเซลล์สุริยะเข้ากับแบตเตอรี่
ขนาด 12 โวลต์ เมื่อใส่ผลิตภัณฑ์สำหรับตากแห้งก็เปิดเครื่องให้มอเตอร์ทำงาน ตะแกรงที่ตากก็จะหมุนพลิกขึ้นและลง ทำให้
สัมผัสกันแสงที่สะท้อนจากกระจก ก็จะทำให้แห้งเร็วขึ้นกว่าเดิมที่ตากแบบธรรมดา


ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ
1. เป็นเครื่องตากแห้งที่สามารถนำไปใช้ในธุรกิจครัวเรือนได้
2. ผลิตภัณฑ์ที่อบแห้งมีความสะอาด แมลงวันไม่ตอม
3. เป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้าจากการใช้พลังงานทดแทนจากเซลล์สุริยะ






เขียนโดย : นายเทพกร ลีลาแต้ม

ศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
680 หมู่ 11 ถนนนิตโย ตำบลธาตเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์ 042-970
021 ต่อ 358 ,042-743886 โทรสาร 042-970029


http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://atc.snru.ac.th/UserFiles/Image/DSC08829(1).JPG&imgrefurl=http://atc.snru.ac.th/components/contents/view.php%3Fid%3D68&usg=__gmhoR3xG5MFluEKd8qVXgTXTDIE=&h=640&w=480&sz=148&hl=th&start=139&zoom=1&tbnid=7NC_6O7oYuXeNM:&tbnh=137&tbnw=103&ei=loEkUMeGMYG0rAfwmYC4Ag&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%2587%26start%3D120%26hl%3Dth%26sa%3DN%26tbm%3Disch%26prmd%3Divns&itbs=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11567

ตอบตอบ: 10/08/2012 11:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตู้อบแห้งแสงอาทิตย์ แบบอุโมงค์ลม






ลักษณะเด่นของเทคโนโลยี
ออกแบบและสร้างตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ลมขนาดพื้นที่ตากผลิตภัณฑ์ 2 ตารางเมตรโดยใช้แผงเซลล์
สุริยะผลิตกระแสไฟฟ้าหมุนพัดลมกระแสตรงระบายความชื้นในตู้อบ ตู้อบจะมีอุณหภูมิที่สูงกว่าภายนอกทำให้ผลิตภัณฑ์
ที่อบแห้งเร็วกว่าการตากแบบธรรมดา และมีความสะอาดปราศจากฝุ่นละออง แมลงวันไม่ตอม ไม่ต้องเคลื่อนย้ายเมื่อเวลาฝนตก








การจัดการกับเทคโนโลยี
การอบแห้ง คือ การระเหยของน้ำออกจากวัสดุ ปัจจัยพื้นฐานที่ช่วยการระเหยคืออุณหภูมิสูงความชื้นต่ำตู้อบแห้งแสงอาทิตย์
ใช้หลักการตู้เรือนกระจก สร้างตู้หลังคากระจกให้แสงอาทิตย์ผ่านไปตกกระทกพื้นโลหะเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานความ
ร้อน ทำให้ภายในตู้มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น ทำให้วัสดุที่ตากไว้ในตู้ระเหยน้ำได้เร็วขึ้น การติดตั้งพัดลมที่ด้านล่างของพื้นตู้ปลายด้านหนึ่ง
และเจาะช่องอากาศออกด้านบนของตู้อีกปลายหนึ่ง จะทำให้อากาศชื้นไหลออกช่วยให้การระเหยน้ำได้เร็วขึ้นและโดยการออก
แบบขนาดของตู้อบแห้ง และขนาดของพัดลมที่พอเหมาะจะทำให้ประสิทธิภาพการอบแห้งสูงสุดได้








ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ
1. เป็นเครื่องอบแห้งที่สามารถนำไปใช้ในธุรกิจครัวเรือนได้
2. ผลิตภัณฑ์ที่อบแห้งมีความสะอาดปราศจากฝุ่นละออง แมลงวันไม่ตอม ไม่ต้องเคลื่อนย้ายเวลาฝนตก
3. เป็นการประหยัดพลังงานทดแทนการอบแห้งโดยใช้พลังงานไฟฟ้า











โดย : นายเทพกร ลีลาแต้ม

ศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
680 หมู่ 11 ถนนนิตโย ตำบลธาตเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000
โทรศัพท์ 042-970021 ต่อ 358 ,042-743886 โทรสาร 042-970029




http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://atc.snru.ac.th/UserFiles/Image/DSC08829(1).JPG&imgrefurl=http://atc.snru.ac.th/components/contents/view.php%3Fid%3D68&usg=__gmhoR3xG5MFluEKd8qVXgTXTDIE=&h=640&w=480&sz=148&hl=th&start=139&zoom=1&tbnid=7NC_6O7oYuXeNM:&tbnh=137&tbnw=103&ei=loEkUMeGMYG0rAfwmYC4Ag&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%2587%26start%3D120%26hl%3Dth%26sa%3DN%26tbm%3Disch%26prmd%3Divns&itbs=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11567

ตอบตอบ: 10/08/2012 11:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




เรื่องโดย จอร์จ จอห์นสัน
ภาพถ่ายโดย ไมเคิล เมลฟอร์ด



ทุกๆชั่วโมง ดวงอาทิตย์จะส่งพลังงานความร้อนเทียบเท่าถ่านหิน 21,000 ล้านตันลงมาอาบโลก หรือเทียบเท่าไฟฟ้า ที่โลก
ใช้งาน 6,000 เท่า นั่นแสดงให้เห็นว่าพลังงานแสงอาทิตย์นั้นมีไม่จำกัดจริงๆ อีกทั้งยังเป็นของฟรีและถือเป็นพลังงานสะอาด
ด้วย แต่เพราะเหตุใดพลังงานแสงอาทิตย์จึงแทบไม่ติดอันดับแหล่งพลังงานทดแทนของโลก โดยมีกำลังการผลิตไม่ถึงร้อยละ
1 ในสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด นั่นเป็นเพราะการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานมีต้น
ทุนในปัจจุบันสูงกว่าการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลนั่นเอง

ณ ปัจจุบัน การใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์มีอยู่ด้วยกันสองวิธี วิธีแรกคือการผลิตไอน้ำโดยใช้กระจกโค้งพาราโบลา
อย่างที่โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เนวาดาโซลาร์วัน (Nevada Solar One) โรงไฟฟ้าขนาดหนึ่งตารางกิโลเมตร ที่เรียงราย
ไปด้วยกระจกโค้งกว่า 182,000 บาน กลางทะเลทรายโมฮาวี กระจกทรงโค้งพาราโบราเหล่านี้ทำหน้าที่รวมแสงอาทิตย์ไปยัง
ท่อเหล็กยาวบรรจุน้ำมันที่ไหลเวียนอยู่ให้ร้อนถึง 400 องศาเซลเซียส ถัดจากลาน กระจกออกไป น้ำมันที่ร้อนระอุนี้จะไหลไป
ยังหม้อน้ำขนาดยักษ์ที่จะแยกความร้อนออกมาเพื่อต้มน้ำจนเป็นไอ จากนั้นไอน้ำจะไปขับเคลื่อนการทำงานของกังหันและ
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 64 เมกะวัตต์ มากพอจะส่งไฟให้บ้านเรือน 14,000 หลัง หรือกาสิโน
ในลาสเวกัสสองสามแห่ง

การผลิตไอน้ำอีกวิธีหนึ่งคือการใช้กระจกบานเรียบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าฮีลิโอสแตต (heliostat) หรือกระจกสะท้อน
แสงซึ่งรวมแสงอาทิตย์ไปยังตัวรับบนยอด “หอพลังงาน” ขนาดใหญ่ จากนั้นก็จะให้ความร้อนแก่เครื่องกำเนิดไอน้ำเพื่อให้ขับดัน
กังหัน หอพลังงานก็คือการทำความร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นอีกวิธี ในการนำแสงอาทิตย์ไปผลิตไอน้ำ
ถึงแม้กระจกโค้งพาราโบลาจะให้ผลดีในพื้นที่กว้างและเรียบ แต่หอพลังงานอาจสร้างได้ในแถบเนินเขา กระจกแต่ละบานจะจัด
เรียงลดหลั่นกันไปเพื่อรวมแสงไปยังเครื่องกำเนิดไอน้ำ เนื่องจากหอพลังงาน ทeให้ไอน้ำมีอุณหภูมิสูงกว่าประสิทธิภาพจึงอาจสูง
กว่าตามไปด้วย ตัวอย่างที่โดดเด่นและถือเป็นอนาคตของพลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่ ปลาตาฟอร์มาโซลูการ์ (Plataforma Sol &
uacute;car) ศูนย์พลังงานแสงอาทิตย์ของสเปนบนที่ราบอันดาลูเซีย

ส่วนการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์วิธีที่สอง เป็นการเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้าโดยตรง โดยใช้แผงเซลล์
ไฟฟ้าแสงอาทิตย์หรือแผงพีวี (photovoltaic: PV) ทำจากสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน แต่แผงพีวีในปัจจุบันยังมีราคาแพง
และมีประสิทธิภาพเพียงร้อยละ 10 ถึง 20 เมื่อเทียบกับกระจกโค้งพาราโบลาที่มีประสิทธิภาพร้อยละ 24 ปัจจุบันนี้ เยอรมนี
เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากแผงพีวีรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีกำลังการผลิตมากกว่าห้ากิกะวัตต์

แต่ละวิธีต่างมีข้อดีของตัวเอง ณ ปัจจุบัน การผลิตไฟฟ้าด้วยไอน้ำหรือระบบรวมพลังแสงอาทิตย์ (concentrating solar) หรือ
ระบบความร้อนจากแสงอาทิตย์ (solar thermal) มีประสิทธิภาพสูงกว่าแผงพีวี กล่าวคือคือสามารถแปรแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้า
ได้ในสัดส่วนที่สูงกว่า แต่ต้องใช้พื้นที่และสายส่งไฟฟ้ามากกว่า ขณะที่แผงพีวีสามารถนำไปติดตั้งบนหลังคาสถานที่ที่ต้อง
การไฟฟ้าได้โดยตรง ทั้งสองวิธีมีข้อเสียร่วมกันข้อหนึ่ง นั่นคือจะผลิตพลังงานได้น้อยลงเมี่อฟ้าครึ้มและหยุดผลิตโดยสิ้นเชิง
ตอนกลางคืน แต่วิศวกรกำลังเร่งพัฒนาระบบเก็บพลังงานไว้ใช้ช่วงฟ้ามืด

คุณอาจคิดว่าแผงพีวีจำกัดอยู่แต่บ้านพักอาศัยหรือโกดังสินค้าเท่านั้น แต่ที่ชานเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของลาสเวกัส ฐานทัพ
อากาศเนลลิสใช้ไฟร้อยละ 25 จากแผงพีวี บางวันในช่วงฤดูหนาวที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศ ฐานทัพแห่งนี้ใช้ไฟฟ้า
จากพลังงานแสงอาทิตย์ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่นี่ไม่มีท่อน้ำมัน ไม่มีอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน หม้อไอน้ำ ไดนาโม และหอ
หล่อเย็น มีเพียงโฟตอนของแสงอาทิตย์ที่ถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอนในอะตอมของซิลิคอนจนเกิดเป็นกระแสไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่สร้างโดยบริษัทซันเพาเวอร์ คอร์เปอเรชั่นในปี 2007 แห่งนี้ ผลิตไฟฟ้าได้ 14.2 เมกะวัตต์ และ
ถือเป็นโรงไฟฟ้าพีวีขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ แม้จะเป็นอันดับ 25 ของโลกก็ตาม โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่กว่านี้เกือบทั้งหมดอยู่
ในสเปน ซึ่งลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์อย่างมหาศาลเช่นเดียวกับเยอรมนี

แต่โรงไฟฟ้าเหล่านั้นยังไม่มีระบบสำรองพลังงานเลย เนื่องจากระบบพีวีผลิตกระแสไฟฟ้าโดยตรง จึงไม่มีความร้อน
ให้กักเก็บ ต่างจากระบบรวมแสงอาทิตย์ที่สามารถผันความร้อนช่วงกลางวันไปสู่ถังเกลือหลอมเหลว (molten salt) พอตก
เย็น เกลือที่ค่อยๆเย็นตัวลงจะคายความร้อนออกมาทำให้เกิดไอน้ำมากขึ้น

ทุกวันนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าที่พึ่งพาแผงพีวีบนหลังคาจะใช้แบตเตอรี่ทั่วๆไปในการใช้งานช่วงกลางคืน แต่ในอนาคต พวกเขาอาจใช้เครื่อง
แยกไฟฟ้า (electrolyzer) พลังแสงอาทิตย์ในการแยกโมเลกุลน้ำออกเป็นก๊าซไฮโดรเจนและออกซิเจน การรวมก๊าซทั้งสอง
เข้าด้วยกันอีกครั้งในเซลล์เชื้อเพลิงจะทำให้เกิดไฟฟ้าอีกครั้ง

ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าอนาคตของพลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นอย่างไร แต่ทัศนคติโดยรวมก็คือเทคโนโลยีนี้เปิดกว้างมาก ขอเพียง
เรามุ่งมั่นที่จะทำให้มันพุ่งทะยานได้เท่านั้นเอง



อ่านเรื่องราวทั้งหมดอย่างจุใจได้จาก นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย




http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.ngthai.com/0909/images/feat_1.jpg&imgrefurl=http://www.ngthai.com/ngm/0909/feature.asp?featureno%3D1&h=370&w=493&sz=47&tbnid=gVu3y8gRaHmX-M:&tbnh=87&tbnw=116&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%2587%26tbm%3Disch%26tbo%3Du&zoom=1&q=%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87&usg=__NVJQr00oZVKai0ldqs54pNehvQE=&hl=th&sa=X&ei=SoskUMvvConrrQfuv4DYCg&ved=0CBwQ9QEwAg
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11567

ตอบตอบ: 10/08/2012 1:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การอบแห้งด้วยแสงอาทิตย์

ใช้ระบบเดียวกับการกลั่นน้ำด้วยแสงอาทิตย์ คือมีพื้นทาสีดำ อากาศที่ไหลเข้ามาจะร้อนและลอยตัวผ่านผลิตผลที่นำมาอบให้แห้ง
อากาศที่ร้อนจะพาความชื้น จากพืชผลออกไปที่ปล่องด้านบน เมื่ออากาศร้อนไหลออกไปจะเกิดช่องว่าง อากาศภายนอกจะไหล
เข้ามาแทนที่วนเวียนเช่นนี้

ประโยชน์
ใช้อบผลิตผลทางการเกษตร เช่น กล้วยตาก พริก ถั่ว ข้าวโพด และอบไม้ ฯลฯ เป็นต้น









เตาแสงอาทิตย ์
ใช้หลักการรวมแสงอาทิตย์ด้วยกระจกโค้งรับแสงอาทิตย์จากนั้นจึงปรุงอาหารบนกระจกโค้ง ตรงจุดรวมแสงอาทิตย์

ประโยชน์
ใช้แทนเตาหุงต้ม โซล่าเซลล์กระแสไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์แต่ละเซลล์มีค่า ไม่มากนัก จึงนิยมนำมาใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า
ไม่มากนัก เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกาข้อมือ เป็นต้น หากต้องการพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์จำนวนมากต้องนำเซลล์แสงอาทิตย์มาต่อกัน
เป็นจำนวนมากทีเดียว จึงสามารถนำมาใช้ได้ในไฟฟ้าในครัวเรือน ไฟฟ้าสื่อสาร ใช้สูบน้ำ ฯลฯ เป็นต้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ได้นำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้งานหลายแห่งคือ ที่คลองช่องกล่ำ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี นำมาใช้ผลิต กระแสไฟฟ้าในครัวเรือนโดย
ใช้ร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ที่ควนพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต นำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าร่วมกับกังหันลม ที่หมู่บ้านสหกรณ์อำเภอสันกำแพง
จังหวัดเชียงใหม่ ได้นำมาใช้ผลิตกระแส ไฟฟ้าร่วมกับเครื่องยนต์ดีเซลล์ ที่สถานีทวนสัญญาณจองคร่อง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
ที่สถานีทวนสัญญาณ เขาฟ้าผ่า อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ที่อ่างเก็บน้ำ โรงไฟฟ้า จังหวัดกระบี่ ที่สถานีทวนสัญญาณบ้านนาแก้ว
จังหวัดกระบี่ ได้นำเซลล์ไฟฟ้ามาใช้ในไฟฟ้าสื่อสาร ที่หน้าพระตำหนัก เขื่อนภูมิพล จังหวัดตากได้นำมาใช้ในโคมไฟฟ้า 5 ตัน และที่ เขื่อน
อุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ได้นำมาใช้สาธิตการผลิตไฟฟ้าสำหรับแสงสว่างและปั้มนำพุ




http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.sci.ubru.ac.th/homepage/user11/12.gif&imgrefurl=http://www.sci.ubru.ac.th/homepage/user11/palugkan.html&usg=__C3iRSdwNJ58mxlpR9TwGNpsEStU=&h=447&w=400&sz=15&hl=th&start=21&zoom=1&tbnid=777RqO1fhfVXvM:&tbnh=127&tbnw=114&ei=nqckUOD5KYTZrQfKuYHoAg&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%2587%26start%3D20%26hl%3Dth%26sa%3DN%26tbm%3Disch%26prmd%3Divns&itbs=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11567

ตอบตอบ: 14/08/2012 1:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


เก็บภาพมาเพื่อศึกษา "โครงสร้าง" สำหรับพัฒนาไปสู่
"เครื่องมือเอนกประสงค์ นาข้าว-พืชไร่-ผักสวนครัว-ไม้ผล"





มูลเหตุจูงใจ :
- เพื่อทดแทนแรงงานที่หายากในปัจจุบัน
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเนื้องาน
- เพื่อลดต้นทุนด้านเวลา และอื่นๆ
- เพื่อผู้หญิงที่พลกำลังร่างกายน้อยกว่าผู้ชาย ก็ทำได้



เป้าประสงค์ :
จากรถไถเดินตามแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านที่เกษตรกรส่วนใหญ่ "มี/รู้จัก" อยู่แล้ว
นำมา "ปรับ/เปลี่ยน/เพิ่ม" อุปกรณ์บางอย่างให้เหมาะสมกับชนิดงานในแปลง
เกษตร ของตัวเอง-โดยตัวเอง-เพื่อตัวเอง .... ประมาณนี้

ซ่อม/สร้าง ด้วยตัวเองได้โดยไม่มีความรู้พื้นฐานด้านวิศวะ จากวัสดุอุปกรณ์ที่มีขายในท้องถิ่น



โจทย์ :

- เป็นเครื่องมือเอนกประสงค์ (ทำเทือก-หยอดเมล็ด-ใส่ปุ๋ย อินทรีย์/เคมี/จุลินทรีย์)
- ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารสมุนไพร ทางใบ
- ใช้กำลังจากเครื่องยนต์
- ใช้กำลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่
- ใช้กำลังไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์
- ใช้ รีโมท คอนโทรล
-
-

เป็นไปได้ไหม ? .... เพราะอะไร ? .... ทำอย่างไร ? .... ราคาเท่าไร ?




จะเล่าอะไรให้ฟัง :
นาแปลงนี้ เนื้อที่ 5 ไร่ อยู่ติดไร่กล้อมแกล้ม ตรงหลังห้องน้ำนั่นแหละ เจ้าของจริงๆเป็นผู้หญิง อาชีพพยาบาล
มีลูกสาว 1 คน สามีไม่มี (ไม่ทราบสาเหตุ) วันนี้ที่นาผืนนี้ให้ชาวบ้านเช่าทำนา.....

หะแรกลุงคิมเคยติดต่อขอซื้อที่ดินแปลงนี้ เพราะเห็นว่าอยู่ติดกับของเรา ท่าทางจะดี......งานนี้ไม่ได้ไปเอง
แต่ส่งทูตไปเจรจาต้าอ้วย....

ลุงคิม : ให้ไร่ละ 80,000 เท่าราคาที่ดินไร่กล้อมกล้ม จ่ายงวดเดียว จะเอาเงินสดหรือเชค บอกมา
เจ้าของที่ : ขอคิดดูก่อน อีก 2 อาทิตย์จะแจ้งขาว

(..... 2 อาทิตย์ผ่านไป เจ้าของที่มีข่าวแจ้งมาจริงๆ......)

เจ้าของที่ : ขอเพิ่มราคาเป็น ไร่ละ 100,000 จ่ายงวดเดียวเหมือนเดิม
ลุงคิม : ขอคิดดูก่อน อีก 2 อาทิตย์จะแจ้งข่าว

(..... 2 อาทิตย์ เจ้าของที่มาถามข่าว......)

ลุงคิม : ตกลง 100,000 นัดวันโอนมาเลย
เจ้าของที่ : ขอไปนัดคนที่มีชื่อในโฉนดก่อน อีก 2 อาทิตย์จะแจ้งข่าว

(..... 2 อาทิตย์ เจ้าของที่มีข่าวมาแจ้งอีก.....)

เจ้าของที่ : ขอเพิ่มราคาเป็น ไร่ละ 120,000
ลุงคิม : ขอคิดดูก่อน อีก 2 อาทิตย์จะแจ้งข่าว

(..... 2 อาทิตย์ เจ้าของที่มาถามข่าว......)


เจ้าของที่ : ตกลงไหม
ลุงคิม : ขอคิดดูก่อน อาจจะเปลี่ยนไปซื้อแปลงท้ายสวนแทน กำลังเจรจา อีก 2 อาทิตย์จะแจ้งข่าว

(..... 2 อาทิตย์ เจ้าของที่มาถามข่าว.....)

เจ้าของที่ : ตกลงไหม
ลุงคิม : ยังเจรจากับแปลงท้ายสวนไม่เรียบร้อย อีก 2 อาทิตย์จะแจ้งข่าว

(..... 2 อาทิตย์ เจ้าของที่มาถามข่าว.....)

เจ้าของที่ : ตกลงไหม
ลุงคิม : ตกลง ไม่ซื้อ ไม่เอา

เจ้าของที่ : นี่คุณ ไปไป-มามา ที่นี่ 5 เที่ยว เสียเวลา เสียค่าน้ำมันหลายพันนะ
ลุงคิม : ช่วยไม่ได้ คุณโก่งราคา คุณจะขายให้ใครก็ขายไปเถอะ


หมายเหตุ : งานนี้ ถ้าเป็นคุณ คุณจะคิดยังไง.....เรื่องของเรื่องก็คือ ไม่เคยมี
แนวคิดซื้อที่ดินแปลงท้ายไร่กล้อมแกล้ม แต่ยกมาอ้างเพื่อให้เรื่องซื้อที่ดินแปลง
ข้างไร่กล้อมแกล้มยืดเยื้อ เยิ่นยาว พูดง่ายๆ คือ "แกล้ง" ให้เสียเวลาเล่นเท่านั้น
แหละ






1.





2.





3.





4.





5.





6.





7.





8.





9.





10.





11.





12.





13.






14.





15.





16.





17.




18.




19.







20.





21.






.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©