-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-นาข้าว ก...ทำกับมือ
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - นาข้าว ก...ทำกับมือ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

นาข้าว ก...ทำกับมือ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11625

ตอบตอบ: 11/12/2012 4:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นาข้าวแปลงนี้เป็นนาข้าวแบบ “อินทรีย์นำ – เคมีเสริม – ตามความเหมาะสมของต้นข้าว
พันธุ์ปทุม1 นาปี น้ำบริบูรณ์ นายืม ฯลฯ”... ใช้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงที่ผ่าน การตรวจ
“ปริมาณ/ชนิด” ของสารอาหาร (อินทรีย์สาร) จากกรมวิชาการเกษตร .... ให้ปุ๋ยเคมี “ทาง
ใบ/ทางราก” สูตรและอัตราใช้ ตรงกับระยะพัฒนาการของต้นข้าว




นาข้าว สูตร ก.....ทำกับมือ


แรงบันดาลใจ :
พูด-พูด-พูด ในรายการวิทยุ ก็ว่า .................................. ทำเกษตรหลังไมค์
เขียน-เขียน-เขียน หนังสือ ก็ว่า ................................... ทำเกษตรบนแผ่นกระดาษ
ทีวี-ทีวี-ทีวี ครั้งสองครั้ง ก็ว่า ...................................... ทำเกษตรบนจอ
อ้าง-อ้าง-อ้าง คนทำสำเร็จ ก็ว่า ................................... ทำนาบนหลังคนอื่น

ตัดสินใจขอยืมแปลงนาท้ายไร่กล้อมแกล้มของคนรู้จักกัน เนื้อที่ 5 ไร่ ทำนาซะเลย สิ้นเรื่องสิ้นราว....

เงื่อนไข :
@ เจ้าของนา : ออกทุนค่ารถดำ, เลือกพันธุ์ข้าว, คุมน้ำ เข้า-ออก (ตามสั่ง), ให้ยืมเครื่องมือ. ออกทุนค่าเกี่ยว.
@ คนขอยืม : ออกค่าน้ำมันย่ำเทือก, ออกค่าปุ๋ยทางใบ-ทางราก, ค่าสารสมุนไพร, ค่ากำจัดวัชพืช, ค่าแรงงาน.
@@ ผลผลิตที่ได้ : เป็นของเจ้าของนา

ประวัติดิน :
- ทำนาข้าวมาตั้งแต่เจ้าของนาเกิด
- นาข้าว 3 รุ่นสุดท้ายที่ผ่านมา ไถกลบฟาง
- ใช้ยาฆ่า ยาคุมหญ้า
- ใช้ 46-0-0 สลับ 16-20-0 อย่างละ 1 กระสอบต่อไร่
- ใช้สารเคมีกำจัดแมลง
- ได้ข้าว 70-80 ถัง/ไร่
- ควบคุมน้ำ เข้า-ออก ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพราะชลประทานดี
– หน้าดินเรียบเสมอกันทั้ง 5 ไร่
- แต่ละกระทง (หมายถึง พื้นที่ในกรอบสี่เหลี่ยมคันนา) ไล่ระดับจากสูงไปต่ำเล็กน้อย พอให้ระบายน้ำจากกระทง
สูงไหลสู่กระทงต่ำได้ดี



ขั้นตอนดำเนินการ :
เตรียมแปลง......
(เริ่มหลังจากเกี่ยวข้าวเรียบร้อย)
- เกลี่ยฟางที่กองทับบนตอซังออกให้กระจายเสมอกันเพื่อฟางจะได้แห้งเท่าๆกัน.
– ทิ้งฟางตากแดด 15 วันแดดจัด ฟางแห้งสนิท
- เอาน้ำเข้าลึกเสมอตาตุ่มหรือต่ำกว่า เพื่อล่อให้วัชพืชและพืชที่ไม่ต้องการทุกชนิดงอกขึ้นมา
- ทิ้งไว้ 10 วัน สำรวจแปลง เห็นชัดว่าฟางเริ่มเปื่อย ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าจากฟาง ตอซังเริ่มเขียวเพราะได้น้ำ วัชพืช/
หญ้า/เมล็ดข้าวร่วง เริ่มงอก
- ระดับน้ำ ณ วันนี้ลดลงเหลือเพียงติดผิวดิน (เจ๊าะแจ๊ะ)

หมายเหตุ : กรณีมีน้ำบริบูรณ์ สามารถสูบน้ำเข้านาได้ทันที และต้องการทำนาต่อโดยไม่เว้นช่วง ทำตามวิธีนี้ได้
เลย.....หากไม่มีน้ำหรือต้องเว้นช่วงการทำนา เว้นช่วงกี่เดือนก็สุดแท้ หลังเกี่ยวข้าวเสร็จ เริ่มด้วยเกลี่ยฟางพอ
สมควรก่อน, ไถดินด้วยผานสามให้ได้ขี้ไถใหญ่ๆ, ไถพลิกให้ฟางลงไปอยู่ไต้ดินขี้ไถ, ทิ้งขี้ไถตากแดดไว้อย่าง
นั้น, เมื่อถึงช่วงหรือฤดูกาลทำนาใหม่ก็ให้สูบน้ำเข้าระดับเหนือตาตุ่มหรือครึ่งหน้าแข้ง แล้วเริ่มทำตามขั้นตอนต่อ
ไปได้ ..... การไถกลบฟางแล้วทิ้งไว้ไต้ขี้ไถ ปล่อยตากแดดจนดินแห้ง จะช่วยให้ดินร่วนดี ตีเทือกจะได้ขี้เทือกดี
กับฟางไต้ขี้ไถก็จะถูกจุลินทรีย์ประจำถิ่นเข้าย่อยสลายด้วย.....การไถพลิกกลับดินเช่นนี้ไม่สามารถกำจัดวัชพืชได้
ตรงกันข้าม วัชพืชจะเจริญเติบโตดีกว่าเก่า เพราะได้รับการพรวนดินให้และได้ระยะพักตัว แต่งานนี้จะได้ฟางหรือเศษ
ซากต้นวัชพืชที่ถูกย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยบำรุงดิน....



ทำเทือก + กำจัดวัชพืช + ใส่ปุ๋ยรองพื้น :
ย่ำเทือกครั้งที่ 1 :

- ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (3 ล) +16-8- 8 (10 กก.)/ไร่.....ผสมทั้งสองอย่างในน้ำ 100 ล.
ให้ละลายเข้ากันดี แล้วเดินสาดให้ทั่วแปลง
- สูบน้ำเข้าลึกเหนือตาตุ่ม แต่ต่ำกว่าครึ่งหน้าแข้ง
- ใช้อีขลุบหรือลูกทุบลงย่ำ .... ย่ำแบบประณีต 3 รอบต่อกระทง
- ย่ำแล้วทิ้งไว้ 7 วัน

หมายเหตุ : วิธีสาดปุ๋ยน้ำหมักฯ + ปุ๋ยเคมี สาดแรงๆ ให้กระจายตกลงพื้นทั่วแปลงสม่ำเสมอกันดีๆ ระหว่างที่ลูก
ทุบหรืออีขลุบวิ่งไปจะช่วยกวาดปุ๋ยน้ำหมักฯ + ปุ๋ยเคมี ให้กระจายตัวอีกครั้ง.....วัชพืชประเภทเกิดจากเมล็ด
เมื่อถูกย่ำจนเสียหายแล้วจะงอกอีกไม่ได้ (งอกได้ครั้งเดียว) แต่วัชพืชที่เกิดจากหัวหรือไหลงอกใหม่ได้ วัชพืช
ประเภทนี้ เมื่อใบถูกทำลายจะสร้างใบใหม่ขึ้นมา ระหว่างรอการสร้างใบใหม่จะกินอาหารจากหัวหรือไหลที่
สะสมไว้ ครั้นใบถูกทำลายหลายๆรอบ ก็ต้องกินอาหารที่สะสมหลายๆรอบเช่นกัน จนสารอาหารที่สะสมหมด ก็
จะแตกใบใหม่ไม่ได้ หัวหรือไหลจะเน่า เมื่อนั้นวัชพืชประเภทนี้จะหมดสิ้นไปเอง



ย่ำเทือกครั้งที่ 2 :
- สำรวจแปลงพบว่ามีหญ้าวัชพืชราว 1 ใน 4 ของจำนวนทั้งหมดเมื่อเทียบกับก่อนย่ำครั้ง 1 กับระดับน้ำลดลงเล็กน้อย
- สำรวจขี้เทือกด้วยการเดินย่ำให้ทั่วแปลง เพื่อดูว่า ขี้เทือกลึกเท่ากันทั่วแปลงหรือไม่ ถ้าบริเวณใดขี้เทือกลึกน้อย
กว่าบริเวณอื่นจนผิดสังเกตุ ให้สาดปุ๋ยน้ำหมักฯ (ไม่ + 16-8- 8 ) 1 ล. ผสมน้ำพอสาดสบายๆ เน้นสาดทับลง
เฉพาะบริเวณขี้เทือกตื้น เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์
- สำรวจการเน่าเปื่อยของฟาง ด้วยการหยิบขึ้นมาดม ถ้ามีกลิ่นเหม็นเน่า นั่นคือ ก๊าซไฮโดรเจน ซัลไฟด์ หรือก๊าซ
ไข่เน่า สาเหตุของอาการต้นข้าวเน่าตอซัง ปัญหานี้แก้ไขโดยการให้เวลาแก่จุลินทรีย์ นั่นคือ หมักดินนานขึ้น
ถ้าไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าแสดงว่า ไม่มีก๊าซไฮโดรเจน ซัลไฟด์.
- ลงมือย่ำครั้งที่ 2 ด้วยอีขลุบหรือลูกทุบเดิม ย่ำแบบประณีต 3 รอบต่อกระทง
- ย่ำแล้วทิ้งไว้ 7 วัน



ย่ำเทือกครั้งที่ 3

- สำรวจแปลงพบว่ามีหญ้าวัชพืชราว 1 ใน 10-20 ของจำนวนทั้งหมดเมื่อเทียบกับก่อนการย่ำครั้งที่ 1 ระดับน้ำ
ลดลงเล็กน้อย
- สำรวจขี้เทือกด้วยการเดินย่ำให้ทั่วแปลงอีกครั้ง เพื่อดูว่าขี้เทือกลึกเท่ากันทั่วแปลงหรือไม่ ถ้ายังมีบริเวณใดขี้
เทือกลึกน้อยกว่าบริเวณอื่นอยู่อีก คราวนี้ไม่ต้องใส่เพิ่มปุ๋ยน้ำหมักฯ แต่เตรียมแผนการหมักต่อให้นานขึ้น เพื่อให้
เวลาแก่จุลินทรีย์ทำการย่อยสลายดินให้
- สำรวจการเน่าเปื่อยของฟาง เพื่อพิสูจน์ทราบก๊าซไฮโดรเจน ซัลไฟด์.
- ลงมือย่ำครั้งที่ 3 ด้วยอีขลุบหรือลูกทุบเดิม ย่ำแบบประณีต 3 รอบต่อกระทง
- ย่ำแล้วทิ้งไว้ 7 วัน

หมายเหตุ :
- ก่อนลงมือย่ำเทือกรอบที่ 3 ให้วิเคราะห์จำนวนต้นวัชพืชตั้งแต่ก่อนลงมือย่ำครั้งแรกกับก่อนลงมือย่ำครั้งที่ 3 ว่า
จำนวนวัชพืชลดลงมากน้อยเพียงใด ถ้ายังพอมีและต้องการให้เทคนิคการย่ำเทือกเป็นการทำลายวัชพืชได้ผลอย่าง
แท้จริง ก็ให้เน้นการย่ำครั้งที่ 3 ให้ประณีตยิ่งๆขึ้น หาไม่แล้วจะต้องย่ำครั้งที่ 4 ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน
- ชาวนาทั่วไป ทั้งทำนาแบบไถกลบฟาง และทำนาแบบเผาฟาง หลังจากปล่อยน้ำเข้าแล้วจะไถดินด้วยรถไถ
โรตารี่ก่อน 1-2 รอบ ทิ้งไว้ 7 วัน แล้วจึงย่ำเทือกด้วยอีขลุบหรือลูกทุบ
- การย่ำเทือกด้วยอีขลุบหรือลูกทุบ ก็ย่ำรอบเดียวในแต่ละกระทง ย่ำไม่ทั่ว (ไม่ประณีต) เหตุนี้ นอกจากดิน
จะไม่แหลกละเอียดเป็นขี้เทือก (เลน) แล้ว บรรดาหญ้าวัชพืชที่ยังอยู่ในดิน ก็จะงอกขึ้นมาใหม่ เลยต้องใช้ยาฆ่า
ยาคุม




สิ่งที่ได้จากงานนี้ :
- คนงานที่ทำเทือกเล่าให้ฟังว่า “ไม่ไถก่อน แต่ให้ย่ำเทือกดิบๆเลยจะได้ผลรึ .... ให้ย่ำซ้ำครั้งละ 3 รอบต่อกระทง
น่าจะสิ้นเปลืองน้ำมัน สิ้นเปลืองแรงงาน และเสียเวลา” แต่ไม่กล้าแย้งเพราะนั่นเป็นคำสั่ง กระทั่งย่ำครบ 3 ครั้ง
แล้ว จึงมาบอกแล้วยอมรับว่า “ได้ขี้เทือกดีกว่าไถก่อนแล้วจึงย่ำ ชนิดเทียบกันไม่ได้เลย.....”
- ย่ำเทือก 3 รอบ ห่างกันรอบละ 1 อาทิตย์ เท่ากับใช้เวลา 2 อาทิตย์

หมายเหตุ : หากจะเพิ่มรอบในการย่ำอีกเป็น 4-5 รอบ ก็จะช่วยกำจัดหญ้าวัชพืชได้เด็ดขาดแน่นอนยิ่งขึ้น และเมื่อมี
การควบคุมหญ้าวัชพืชจากแหล่งอื่นไม่ให้เข้ามาในแปลงได้ นาข้าวรุ่นต่อๆไปก็จะกำจัดพืชได้ง่ายขึ้น หรืออาจทำ
เทือกเพียงรอบเดียวแล้วดำเลยก็ได้ ...... นาข้าวที่ผ่านการไถกลบฟางมาแล้ว 2-3 ครั้ง ก่อนลงมือทำต่อด้วยวิธีไถ
กลบฟางอีก ให้นึกถึงภาพขี้เทือกรุ่นที่แล้วว่า มีความลึกมากน้อยเพียงใด ถ้านารุ่นที่แล้วได้ขี้เทือกลึกครึ่งหน้าแข้งแล้ว
ให้หยุดการไถกลบฟาง เพราะหากไถกลบฟางลงไปอีก จะทำให้ขี้เทือกลึกถึงหัวเข่า ส่งผลให้การดำ การเข้าไปทำงาน
ในแปลง ทำได้ยาก กับตอนเกี่ยวข้าวดินไม่แห้งทำให้รถเกี่ยวลงไม่ได้ ดังนั้น ขี้เทือกรุ่นใหม่นี้ควรใช้เพียงเศษซาก
รากเหง้ากอข้าวก็พอ ส่วนฟางก็เอาไปทำประโยชน์อย่างอื่น รุ่นหน้าค่อยว่ากันใหม่......


- ย่ำเทือกครั้งที่ 3 แล้วสำรวจแปลงพบว่า หญ้า/วัชพืช/ข้าวงอก มีน้อยมาก เมื่อเทียบกับก่อนย่ำครั้งแรก
– พิสูจน์กลิ่นฟาง เพื่อดูก๊าซไฮโดรเจน ซัลไฟด์. เป็นครั้งสุดท้ายก่อนลงมือดำ
- ขี้เทือกลึกประมาณครึ่งหน้าแข้งตามต้องการ (.....ขี้เทือกสำคัญที่สุด ขี้เทือกลึกครึ่งหน้าแข้ง ข้าวจะโตดีกว่าขี้เทือก
ลึกแค่ตาตุ่ม .....ถ้าขี้เทือกยังลึกไม่ถึงครึ่งหน้าแข้ง ให้ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 เปล่าๆ 2 ลิตร/
ไร่ ใม่ต้อง +ปุ๋ยเพิ่ม แล้วหมักดินต่ออีก 7-10 วัน ก็จะดีขึ้นด้วยจุลินทรีย์ที่ใส่เพิ่ม.....)
- ดินมีกลิ่นหอม
- เนื้อดินมีเศษฟางปนมาก
- ไม่ต้องไถ
- ไม่ต้องยาฆ่าหญ้า
– ได้เทือกชั้นดีสำหรับนาข้าว



การกำจัดวัชพืชขณะต้นข้าวอยู่ในแปลง :
- กำจัดวัชพืชในแปลงนาใช้วิธีถอนด้วยมือ เมื่อต้นข้าวโตถึงระยะแตกกอ พร้อมถอนแยกข้าวปนส่วนหนึ่งด้วย ซึ่งจะมอง
เห็นต้นวัชพืช และลักษณะต้นข้าวปนชัดเจน
– วัชพืชบนคันนาขึ้นหนาแน่น......ใช้วิธีตัดด้วยเครื่องตัดหญ้า ทิ้งหญ้าลงในแปลงให้เน่าเปือย หรือเอาไปเลี้ยงสัตว์
- วัชพืชบนคันนาขึ้นไม่หนาแน่น..... เมื่อวัชพืชเริ่มออกดอก ใช้ไม้เรียวฟาดก้านดอกให้หัก ป้องกันดอกแก่กลายเป็นผล
แล้วปลิวเข้าไปอยู่ในเนื้อนา

หมายเหตุ : ไม่มียาฆ่าหญ้าใดในโลกที่ใช้ตามอัตากำหนดข้างขวดแล้วฆ่าหญ้าได้ตายสนิท 100% อย่างก็แค่ใบไหม้
เท่านั้น ไม่ช้าไม่นานก็งอกใหม่ โตและงามกว่าเก่า.....ไม่มีจุลินทรีย์ใดในโลกที่ฆ่าหญ้าข้าวนกในขณะที่ต้นหญ้าข้าวนก
ยังเขียวอยู่ได้ แต่ถ้าหญ้าข้าวนกนั้นตายแล้ว นั่นแหละจุลินทรีย์จึงจะย่อยสลายได้ เป็นการย่อยสลายเศษซากพืชตาม
ปกตินั่นเอง.....หญ้ากับต้นข้าวเป็นพืชตระกูลเดียวกัน เมื่อต้นข้าวสัมผัสกับยาฆ่าหญ้าแล้ว แม้ว่าใบจะไม่ไหม้เหมือน
หญ้า แต่ต้นข้าวก็ชงักการเจริญเติบโตไปด้วยอย่างน้อย 7-10 วัน ซึ่งจะส่งผลเสียแต่พัฒนาการของต้นข้าวด้วย....การ
ถอนควบคู่กับการระวังเมล็ดหญ้าจากภายนอกไม่ให้เข้าสู่แปลงนา จึงเป็นมาตรการกำจัดหญ้าวัชพืชที่ได้ผลที่สุด




การดำนาด้วยเครื่องดำนา :
- ข้าวสายพันธุ์แตกกอดี ดำห่าง 30 x 30 ซม. .... ข้าสายพันธุ์แตกกอไม่ดี ดำห่าง 20 x 20 ซม.
– เตรียมดำซ่อมบริเวณที่ น้ำลึก + ขี้เทือกลึก เพราะตัวจับต้นกล้าของเครื่องดำนาปักกล้าลงไม่ถึงพื้น
– การดำซ่อมควรทำให้เสร็จสิ้นภายใน 3-5 วัน เพื่อให้ต้นข้าวโตทันกัน เป็นรุ่นเดียวกัน

หมายเหตุ : ต้นข้าวสายพันธุ์แตกกอดี แม้จะปลูกห่างแต่เมื่อแตกกอออกมาแล้ว ต้นข้าวแต่ละกอจะชิดกันเอง ใน
ขณะเดียวกัน หากต้นข้าวสายพันธุ์แตกกอดีแล้วดำชิด เมื่อต้นข้าวแตกกอออกมาจะเบียดชิดกัน.....ต้นข้าวที่ขึ้น
ห่างจะได้รับแสงแดดเต็มที่ ส่งผลให้การสังเคราะห์อาหารดี ต้นจะสมบูรณ์แข็งแรง ให้ผลผลิตดี และโรคแมลง
น้อย ในขณะเดียวกัน ต้นข้าวที่ขึ้นชิดจนเบียดกัน จะได้รับแสงแดดไม่เต็มที่ ส่งผลให้การสังเคราะห์อาหารไม่ดี
ต้นจะไม่สมบูรณ์แข็งแรงเท่าที่ควร ให้ผลผลิตไม่ดี และโรคแมลงมาก




การบำรุง :
ระยะกล้า + เตรียมความพร้อมต้น :

- ให้น้ำ 200 ลิตร + น้ำส้มสายชู 200 ซีซี. + ไบโออิ 100 ซีซี. + 18-38-12 (1 กก.) + ยูเรีย จี. 500 กรัม +
สารสมุนไพร 1 ลิตร......ให้ครั้งที่ 1 เมื่อกล้าอายุ 20 วัน ให้ครั้งที่ 2 เมื่อกล้าอายุ 30 วัน และให้ครั้งที่ 3
เมื่ออายุกล้า 40 วัน
- สำหรับเนื้อที่ 5 ไร่
– ฉีดพ่นให้เปียกใบมากๆ

หมายเหตุ : ปกติการใช้ “น้ำ 100 ล. + ปุ๋ยทางใบ 100 ซีซี. + อื่นๆ” ด้วยการปรับหัวฉีดให้เป็นละอองละเอียด
มากๆ ฉีดตามลมแบบโฉบผ่าน พอให้สัมผัสใบนั้น จะได้เนื้อที่ประมาณ 5 ไร่..... หากปรับเปลี่ยนมาเป็นใช้ “น้ำ
200 ล. +ปุ๋ยทางใบ และอื่นๆอัตราเดิม” ปรับหัวฉีดให้เป็นละอองไม่ต้องละเอียดมาก ฉีดตามลมแบบให้สัมผัส
ใบจนเปียกโชก แล้วให้ได้เนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ เท่ากัน แม้น้ำที่ใช้ผสมมากขึ้นแต่เนื้อปุ๋ยเท่าเดิม จึงช่วยให้ต้นข้าวได้
รับปุ๋ยเต็มที่หรือได้รับมากกว่าฉีดแบบโฉบผ่าน.....ทั้งนี้ ปุ๋ยทางใบจะผ่านปากใบได้ดี ในสภาพที่ใบเปียก นั่นเอง



ระยะแตกกอ + ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า/กระทุ้งแตกกอ :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) + 16-8-8 (10 กก.) ผสมน้ำตามความสดวกในการทำงาน
- ฉีดลงดินผ่านต้นข้าวให้ทั่วทุกตารางนิ้ว มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ (ปุ๋ยน้ำชีวภาพฯ อัตราใช้ขนาดนี้ถูกใบข้าว ไม่เป็น
อันตรายต่อต้นข้าว)
– ควบคุมระดับน้ำเหนือตาตุ่มเล็กน้อย ถ้าน้ำมากต้นข้าวจะสูงแข่งกับน้ำ (....น้ำน้อยๆ อาจถึงระดับหน้าดินแห้ง
ต้นข้าวจะแตกกอได้ดีกว่าน้ำมากๆ .... นาดำแตกกอดีกว่านาหว่าน....ข้าวนาดำต้นใหญ่ รวงใหญ่ โรคน้อย .....
ข้าวนาหว่านต้นเล็ก รวงเล็ก โรคมาก....ข้าวนาดำ ต้นได้รับแสงแดดเต็มที่ เมล็ดลีบน้อย น้ำหนักดี เมล็ดแกร่งใส
ไม่เป็นท้องปลาซิว แต่ข้าวนาหว่าน ต้นได้รับแสงแดดไม่เต็มที่ เมล็ดลีบมาก น้ำหนักไม่ดี เมล็ดไม่แกร่งใส เป็น
ท้องปลาซิวมาก)


ระยะตั้งท้อง + สารลมเบ่ง :
- ให้น้ำ 200 ล. + น้ำส้มสายชู 200 ซีซี. + ไทเป 100 ซีซี. + 0-52-34 (1 กก.) + ยูเรีย จี. 500 กรัม +
สารสมุนไพร 2 ล.
- สำหรับเนื้อที่ 5 ไร่
– ฉีดพ่นให้เปียกใบโชกๆ
– เริ่มให้เมื่อลักษณะต้นข้ามกลม
– ควบคุมระดับน้ำเหนือตาตุ่มเล็กน้อย ถ้าน้ำมากต้นข้าวจะสูงทำให้ออกรวงน้อย

หมายเหตุ : การใช้ 0-52-34 +เพิ่มในฮอร์โมนไข่ไทเป จะช่วยให้ต้นหยุดการเจริญเติบโตทางสูง แต่จะเจริญ
เติบโตทางข้างแทน ทำให้ต้นข้าวไม่ล้ม......มีนกอีแอ่นถลาลม แมลงปอ บินโฉบฉวัดเฉวียนอยู่เหนือแปลงข้าว
แสดงว่ามีแลงแม่ผีเสือ จึงสุ่มสำรวจก็พบว่า “หนอนกอ” กำลังเกิดแต่ยังไม่ระบาดตัดสินใจใช้ “สารสกัดกลอย”
เดี่ยวๆ ฉีดพ่น 3 ครั้ง ห่างกันวันเว้นวัน คราวนี้ทั้งนกทั้งแมลงปอ ย้ายไปโฉบเฉี่ยวเหนือนาแปลงข้างๆ แสดงว่า
แม่ผีเสืออพยบหนีไปที่นั่น



ระยะออกรวง + สร้างเกสร :

- ให้น้ำ 200 ล. + น้ำส้มสายชู 200 ซีซี. + เอ็นเอเอ 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + สารสมุนไพร 2 ล.
- สำหรับเนื้อที่ 5 ไร่
– ฉีดพ่นให้เปียกใบมากๆ
- เริ่มให้เมื่อต้นข้าว 1 ใน 4 ของทั้งแปลง เริ่มแทงหางแย้หรือหางปลาทูขึ้นมาให้เห็นยาวประมาณ 2 ข้อนิ้วมือ หรือ 1 ซม.
- ให้ 1 ครั้ง
- เอ็นเอเอ.ช่วยให้เกสรสมบูรณ์ ผสมติดดี ทำให้ได้เมล็ดข้าวมากกว่าไม่ได้ให้
– ควบคุมระดับน้ำเหนือตาตุ่มเล็กน้อย ถ้าน้ำมากต้นข้าวจะสูง สารอาหารที่ได้รับจะไปเลี้ยงต้นมากกว่าเลี้ยงดอก

หมายเหตุ : ให้ เอ็นเอเอ 1 ครั้ง จะช่วยให้ได้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น 15-25% เมื่อเทียบกับไม่ได้ เนื่องมาจาก
จำนวนดอกโดยเกสรมีการผสมติดมากขึ้นนั่นเอง......ช่วงที่ต้นข้าวออกรวงเต็มที่ กำลังรอการผสมเกสร เรียกว่า
“ตากเกสร” ไม่ควรฉีดสารใดๆ เพราะจะทำให้เกสรเปียก ผสมไม่ติดได้



ระยะน้ำนม + สร้างแป้ง/เพิ่มน้ำหนัก :
- ให้น้ำ 200 ล. + น้ำส้มสายชู 200 ซีซี. + ไบโออิ 50 ซีซี. + ยูเรก้า 50 ซีซี. + สารสมุนไพร 2 ล.
- สำหรับเนื้อที่ 5 ไร่
– ฉีดพ่นให้เปียกใบมากๆ
- ให้ 3-4 ครั้ง แบ่งช่วงการให้ตามความเหมาะสม โดยให้ครั้งสุดท้ายก่อนเกี่ยว 10-15 วัน
- ควบคุมระดับน้ำเหนือตาตุ่มเล็กน้อย
- ก่อนเกี่ยว 10-15 วัน สูบน้ำออกเพื่อให้ดินแห้ง และลดความชื้น

หมายเหตุ : ระยะน้ำนมนี้หากใบข้าวไม่เขียวเข้มจริง หรือต้องการให้ใบข้าวเขียวเข้มขึ้นไปอีก ให้เพิ่ม “ยูเรีย จี” ลง
ไป 500 กรัม ต่อการให้ทางใบในบางครั้ง หรือให้ทุกครั้ง ตามอัทธยาศรัย.....การให้ “น้ำ 200 ล. + น้ำส้มสายชู
200 ซีซี. + นมสด 200 ซีซี. 1 ครั้ง ก่อนเกี่ยว 5-7 วัน สามารถช่วยลดความชื้นในข้าวเปลือกได้ 3-5% ....




เกี่ยวข้าว + รับเงิน (เข้าบ้าน หรือ ใช้หนี้) :
- มีผู้สนใจมาดูประมาณ 100 คน มีชาวบ้าน 2-3 คนที่มาเข้ามากระซิบ “ลุงครับ-ผู้พันครับ คนนั้นเป็นเกษตรจังหวัดฯ
คนโน้นเป็นเกษตรอำเภอฯ ข้างหลังนั่นเกษตรตำบลฯ ปลอมตัวเป็นชาวบ้านมาดู เห็นแล้วร้อง อื้อฮือ เลยครับ....” คิด
ในใจ ทำต้องปลอมตัวมาด้วย (วะ) น่าจะเข้ามาคุยกัน ขอเทคนิคนาข้าว หรือไม่ก็เอาเกษตรกรชาวนามาเรียนรู้ที่นี่ซะก็ได้
สงสัย กลัวเสียเหลี่ยม
- ได้ข้าว 127 ถัง
- วันนั้นถ้าส่งขายที่โรงสีจะได้เกวียนละ 6,000 แต่มีคนสนใจขอซื้อไปทำข้าวพันธุ์ ให้ราคาเกวียนละ 9,000 โดยไม่
ต้องตากแดด ลดความชื้นก่อน.....คนที่รับซื้อไป พอถึงบ้าน เช้าวันรุ่งขึ้นเท่านั้น มีคนมาขอซื้อต่อ (รู้ข่าวจากรายการ
วิทยุ) ทันที ให้ราคาเกวี่ยนละ 12,000 ขาดตัวไม่พอขาย

หมายเหตุ : ก่อนเกี่ยว ถ้าให้แคลเซียม โบรอน. จะทำระแง้คอรวงเหนียว เครื่องเกี่ยวจะสลัดเมล็ดไม่ค่อยหลุด.....ก่อน
เกี่ยวควรตรวจสอบ "อายุเก็บเกี่ยว" ประจำสายพันธุ์ให้แน่นอน แล้วลงมือเกี่ยวตามกำหนดนั้น หรือตรวจสอบด้วยการ
สุ่มตัวอย่างมาแกะดูแป้งในเมล็ดก่อน หาไม่แล้วข้าวจะแก่เกิน กรอบและร่วงง่าย......ผลจากการให้แม็กเนเซียม. ทั้งทาง
รากและทางใบ สม่ำเสมอ จะทำให้ข้าวใบเขียวถึงวันเกี่ยว ลักษณะเหมือนต้นข้าวยังแก่ไม่จัด แบบนี้ให้สุ่มตรวจสอบเมล็ด
ล่างสุดของรวง 5-10 รวง ในแต่ละกระทง ถ้าเป็นเมล็ดเต็ม แข็งแกร่ง ถือว่าแก่แล้ว ให้เกี่ยวได้ แต่หากยังเป็นน้ำนม
แสดงว่ายังแก่ไม่เต็มที่ ให้เลื่อนวันเกี่ยวออกไป.....สังกะสี. ที่ให้ทั้งทางรากและทางใบ คือผู้ช่วยสร้างแป้ง ทำให้คุณ
ภาพเมล็ดข้าวดี




หมายเหตุ : ข้อความในหมายเหตุทุกหมายเหตุ เป็นทั้งข้อมูลเดิมที่เคยมี กับข้อมูลใหม่ได้รับมา
จาก สมช.ที่ทำตามแนวทางนี้ แล้วแจ้งผลมาให้ทราบ จึงเป็นข้อมูล UP DATE ที่สุด ณ วันนี้



เกษตรานุสติ + ชาวนารอด ประเทศไทยรอด :
- ปุ๋ยน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. ไม่ใช่ของวิเศษ ที่ใช้แล้วต้องได้ผลเหมือนลุงคิมใช้ เพราะในธรรมชาติ
ของต้นข้าวต้องมี “ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก” อื่นๆประกอบด้วย....ดินคุณดินลุงคิม-น้ำคุณน้ำลุงคิม-อากาศอุณหภูมิ
บ้านคุณอากาศอุณหภูมิบ้านลุงคิม-อื่นๆของคุณของลุงคิม ไม่เหมือนกัน ผลการใช้ปุ๋ยจึงออกมาไม่เหมือนกัน เพราะฉนั้น
ต้อง “ทัมใจ” อย่าเล็งผลเลิศ อย่าเป็น “คิมมิสซึ่ม” ที่แน่ๆ คือ ให้ดีกว่าไม่ได้ให้หน่อยนึงก็แล้วกัน

- ต้นข้าวไม่รู้จัก “ยี่ห้อ” รู้จักแต่ส่วนผสมในเนื้อปุ๋ยเท่านั้น เพราะฉนั้น ใช้ปุ๋ยยี่ห้อไหนก็ได้ ที่มีส่วนผสมตรงกับความ
ต้องการที่แท้จริงของต้นข้าว

- ลุงคิมก็ “โกหก” คนเป็นเหมือนกัน (ชอบด้วย) เพระฉนั้น อย่าเชื่อลุงคิม แต่จงเชื่อตัวเอง เชื่อคนในกระจก....หรือทั้ง
ตัวเอง ทั้งคนในกระจก ก็เชื่อไม่ได้ ล่ะ

- นาข้าว “เทือก” คือตัวบ่งชี้ดิน เทือกดี = ดินดี -- เทือกไม่ดี = ดินไม่ดี......ดินดี ใส่ปุ๋ยเคมีน้อย = ข้าวดี -- ดิน
ไม่ดี ใส่ปุ๋ยเคมีมาก = ข้าวไม่ดี.....งานวิจัยของ IRRI ระบุ ข้าวต้องการปุ๋ยเคมีเพียง 20 กก.ธาตุหลัก เท่านั้น ที่เหลือ
ต้องการธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน และอื่นๆ ..... นาข้าวใส่ปุ๋ยเคมี 20 กก.ธาตุหลัก ได้ 100 ถัง ครั้นใส่ปุ๋ยเคมี 100 กก.
ซึ่งมากกว่า 5 เท่า แล้วทำไมไม่ได้ 500 ถัง

- ได้ผล/ไม่ได้ผล จงวิเคราะห์ที่ “6 ปัจจัยพื้นฐาน” โดยเอามาจับกับหลัก “สมการเกษตร” จากนั้น ปรับ/แก้ ให้ตรง
กับต้นข้าว แล้วจะพบคำตอบว่า ใช่/ไม่ใช่ อย่างแน่แท้

– จงอย่าปักธงหวังเอาผลผลิตมากๆ แล้วเพิ่มต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี-สารเคมี แต่จงรอเวลาให้ดินคืนสภาพดีเสียก่อน แล้วจะได้
ผลผลิตเพิ่มขึ้น ทั้งๆที่ ต้นทุนน้อยนิด.....ต้นพืชไม่รู้จักต้นทุน หากต้องการผลผลิตที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ จำเป็นต้อง
ให้เขาได้กินสารอาหารที่ “เพียงพอ-ถูกต้อง-เหมาะสม” เท่านั้น

– นาข้าวหรือเกษตรอินทรีย์ที่ล้มเหลว เป็นเพราะในอินทรีย์นั้นไม่มีสารอาหารพืชหรือมีน้อยจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ของพืช ..... พิจารณาซิ อินทรีย์ที่ว่านั้น ทำมาจากอะไร ? กรรมวิธีในการทำเป็นอย่างไร ? มีสารอาหารชนิดใด ?
มีปริมาณเท่าได ? ใช้เท่าใด ? ใช้อย่างไร ? หาไม่แล้วจะกลายเป็น อินทรีย์-อินทรีย์ อินทรีย์ตกขอบ

- เตรียมใจให้พร้อมสำหรับการพบกับสารพัดสารพันปัญหา พบปัญหาแล้วแก้ไขแบบ “เลยตามเลย-ไหนก็ไหน” ไปก่อน
แล้วเตรียมป้องกันสำหรับนารุ่นหน้า ...... ทำเถอะ ทำแล้ว 3 รุ่นนั่นแหละ จึงจะเห็นทาง

- สำคัญสุดเหนืออื่นใจ คือ “เปิดใจ” รับข้อมูลข่าวสาร อย่า SHUT IN ตัวเอง อย่าคิดว่า “รู้แล้ว-รู้แล้ว” อย่างเด็ด
ขาด.....มิตรที่ดีที่สุด คือ ตัวเอง และ ศัตรูที่ภัยที่สุด คือ ตัวเอง.....




...................................................เอวัง..............................................



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©