-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-แมลงหล่า-แมลงบั่ว ระบาดในนาข้าว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - แมลงหล่า-แมลงบั่ว ระบาดในนาข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

แมลงหล่า-แมลงบั่ว ระบาดในนาข้าว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
BBEAM
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 28/05/2011
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 09/01/2013 8:23 am    ชื่อกระทู้: แมลงหล่า-แมลงบั่ว ระบาดในนาข้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

อยากทราบการกำจัด แมลงหล่า-แมลงบั่ว ตอนนี้ระบาดในนาแทบจังหวัดกำแพงเพชรมากเลยครับ
ใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่เป็นสมุนไพรเหมือนกันไหมครับ




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11680

ตอบตอบ: 09/01/2013 2:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แมลงหล่า (rice black bug หรือ Malayan black bug)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Scotinophara coarctata (Fabricius)
วงค์ Pentatomidae
อันดับ Hemiptera
ชื่อสามัญอื่น : เพลี้ยหล่า กือซืงฆูรอ กูฆอ อีบู

วงจรชีวิตและระยะทำลายพืช
ไข่ ตัวอ่อน ตัวเต็มวัย







แมลงหล่าเป็นแมลงอยู่อันดับ Hemiptera วงค์ Pantatomidae เป็นมวนชนิดหนึ่ง มีลักษณะค่อนข้างกลมคล้ายโล่ห์ ด้านหัว
และอกเป็นรูปสามเหลี่ยม ลำตัวมีสีน้ำตาลหรือดำเป็นมันวาว ยาว 7-8 มิลลิเมตร กว้าง 4-5 มิลลิเมตร เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศ
เมีย ชอบอาศัยรวมกลุ่มที่โคนต้นข้าวเหนือระดับน้ำในตอนกลางวัน ส่วนกลางคืนจะเคลื่อนย้ายขึ้นบนต้นข้าว เพศเมียวางไข่
ประมาณ 200 ฟอง โดยวางไข่เป็นกลุ่ม จำนวน 20-26 ฟองต่อกลุ่ม เรียงเป็นแถวขนานกัน วางไข่ที่ใบข้าวบริเวณโคนต้น
ข้าวใกล้ระดับผิวน้ำ หรือบางครั้งอาจจะวางบนพื้นดิน ไข่มีสีชมพูแกมเขียว ระยะไข่ 4-6 วัน ตัวอ่อนมี 6 ระยะ ตัวอ่อนมีสีน้ำตาล
และสีเหลืองกับจุดสีดำ ระยะตัวอ่อน 20-30 วัน ตัวอ่อนมีพฤติกรรมเหมือนตัวเต็มวัย คือหลบซ่อนอยู่ที่โคนต้นข้าวหรือตามรอย
แตกของพื้นดินในตอนกลางวันและหากินในตอนกลางคืน ตัวเต็มวัยมีอายุนานถึง 214 วัน อยู่ข้ามฤดูหนาวหรือฤดูแล้ง โดยฟัก
ตัวอยู่ในร่องระแหงดินในที่มีหญ้าขึ้น เมื่อสภาพภูมิอากาศเหมาะสมจะบินเข้าแปลงนา และขยายพันธุ์หลายรุ่น มีการพักตัวหลัง
จากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ตัวเต็มวัยสามารถอพยพได้ระยะทางไกลๆ


ลักษณะการทำลายและความรุนแรงของการระบาด
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นข้าว ทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเหลือง ขอบ
ใบข้าวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำคล้ายข้าวเป็นโรคไหม้ ตามข้อของลำต้นข้าวเป็นบริเวณที่แมลงหล่าชอบเพราะเป็นแหล่งที่มีน้ำเลี้ยง
มาก การทำลายในระยะข้าวแตกกอทำให้ต้นข้าวที่อยู่กลางๆ กอข้าวมีอาการแคระแกร็น มีสีเหลืองหรือเหลืองแกมน้ำตาล และการ
แตกกอลดลง ถ้าทำลายหลังระยะข้าวตั้งท้องทำให้รวงข้าวแกร็น ออกรวงไม่สม่ำเสมอและรวงข้าวมีเมล็ดลีบ ต้นข้าวอาจเหี่ยว
ตายได้ ถ้ามีแมลงจำนวนมากทำให้ต้นข้าวแห้งไหม้คล้ายกับถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลาย แมลงหล่าทำลายได้ทุกระยะการ
เจริญเติบโต




อาการต้นข้าวที่ถูกแมลงหล่าทำลาย

แมลงหล่ามักพบระบาดในข้าวนาสวน นาชลประทานพบมากกว่านาน้ำฝน พบในนาหว่านมากกว่านาดำ เนื่องจากความหนาแน่นของ
ต้นข้าวนาหว่านมีมากกว่านาดำ ซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะแก่การอยู่อาศัย โดยทั่วไปแมลงหล่าชอบสภาพที่ร่มและเย็น ในฤดูนาปีการ
ระบาดมีมากกว่านาปรัง พบระบาดเป็นครั้งคราวในบางท้องที่ แต่การระบาดแต่ละครั้งมักทำความเสียหายรุนแรง ดังเช่น ปี พ.ศ.
2538-2539 มีรายงานการระบาดของแมลงหล่าที่อำเภอเมือง อำเภอตากใบ อำเภอระแงะ และ กิ่งอำเภอบาเจาะ เป็นพื้นที่ 36,
335 ไร่ โดยเฉพาะที่อำเภอตากใบระบาดถึง 23,151 ไร่ ในปี พ.ศ. 2542 แมลงหล่าระบาดทำความเสียหายแก่ข้าวในหลาย
ท้องที่ของภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนราธิวาส พบระบาดถึง 22,000 ไร่ สาเหตุการระบาดของแมลงหล่าในจังหวัดนราธิวาส
ไม่สามารถชี้ชัดว่ามาจากสาเหตุใด แต่มีข้อสังเกตว่าพบระบาดในพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วม และโดยทั่วไปเกษตรกรไม่มีการใช้สารฆ่า
แมลงในการปลูกข้าว พันธุ์ข้าวที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมือง ในปี พ.ศ. 2545 พบระบาดที่อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
แต่ไม่รุนแรงนัก และ ปี พ.ศ. 2546 พบระบาดที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ในข้าวอายุประมาณ 45 วัน
ปี 2547 พบระบาดในนาข้าวของเกษตรกรที่คลองแปด และ คลองสิบสี่ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ในข้าวระยะแตกกอเต็ม
ที่จนถึงระยะออกรวง ทำให้ตันข้าวแห้งตาย ผลผลิตเสียหาย คาดว่าแมลงชนิดนี้จะเริ่มมีความสำคัญในนาข้าวบริเวณนี้เนื่องจาก
พบระบาดทำความเสียหายมาจนถึงปี 2548

พืชอาหาร :
ข้าวป่า หญ้าชันกาด ข้าวโพด

การป้องกันกำจัด :
1) ใช้แสงไฟฟ้าล่อแมลงและทำลายในช่วงที่มีการระบาด เนื่องจากแมลงหล่าชอบบินมาเล่นแสงไฟเวลากลางคืน
2) ปลูกข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นเพื่อลดการเพิ่มประชากรในนาข้าว
3) กำจัดวัชพืชที่ขึ้นหนาแน่นในนาข้าว เพื่อให้นาข้าวโปร่ง แสงแดดส่องถึงโคนต้นข้าว ทำให้สภาพนาข้าวไม่เหมาะแก่การอยู่
อาศัยของแมลงหล่า
4) หมั่นตรวจนาข้าวสม่ำเสมอหรือทุกสัปดาห์ ถ้าพบแมลงหล่ามากกว่า 5 ตัวต่อกอหรือกลุ่มข้าว ควรใช้สารฆ่าแมลง คาร์โบซัลแฟน
(พอสซ์ 20% อีซี) อัตรา 80 มิลลิเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะจุดที่มีการระบาด โดยพ่นบริเวณโคนต้นข้าว





แมลงบั่ว (rice gall midge, RGM)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Orseolia oryzae (Wood-Mason)
วงศ์ Cecidomyiidae
อันดับ Diptera
ชื่อสามัญอื่น -

วงจรชีวิตและระยะทำลายพืช
ไข่ หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัย






ตัวเต็มวัยของแมลงบั่ว มีลักษณะคล้ายยุงแต่ลำตัวมีสีส้มยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตรหนวด และขามีสีดำ เวลากลางวันตัวเต็ม
วัยจะเกาะซ่อนตัวอยู่ใต้ใบข้าว บริเวณกอข้าวและจะบินไปหาที่มีแสงไฟเพื่อผสมพันธุ์ ตัวเมียวางไข่ใต้ใบข้าวเป็นส่วนใหญ่ใน
ตอนกลางคืนโดยวางเป็นฟองเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม ไข่มีลักษณะคล้ายกล้วยหอม สีชมพูอ่อน ยาวประมาณ 0.45 มิลลิเมตร กว้าง
0.09มิลลิเมตร ระยะไข่ประมาณ 3-4 วัน ตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะคลานตามบริเวณกาบใบเพื่อแทรกตัวเข้าไปในกาบใบ เข้าไป
อาศัยกัดกินที่จุดกำเนิดของหน่ออ่อน (growing point) หนอนมี 3 ระยะ ระยะหนอนนาน 11 วัน ขณะที่หนอนอาศัยกัดกิน
หน่ออ่อนนั้น ต้นข้าวจะสร้างหลอดหุ้มตัวหนอนไว้ ทำให้ข้าวแสดงอาการ ที่เรียกว่า “หลอดบั่ว หรือ หลอดธูป” หนอนก็
เจริญและเข้าดักแด้ภายในหลอดข้าวนั้น โดยระหว่างที่หนอนโตขึ้นหลอดก็จะมีขนาดใหญ่และยืดออก และเมื่อหนอนเข้าดักแด้
หลอดนั้นก็จะยืดโผล่พ้นกาบใบข้าวจนมองเห็นจากภายนอกได้ ระยะดักแด้นาน 6 วัน เมื่อดักแด้ใกล้จะฟักออกเป็นตัวเต็มวัย
จะเคลื่อนย้ายมาอยู่ส่วนปลายของหลอดข้าวนั้น และเจาะออกเป็นตัวเต็มวัยที่ปลายหลอดนั่นเอง พร้อมทั้งทิ้งคราบดักแด้ไว้ที่รอย
เปิดนั้น ระยะตัวเต็มวัยนาน 2-3 วันฤดูหนึ่งบั่ว สามารถขยายพันธุ์ได้ 6-7 ชั่วอายุๆที่ 2, 3 และ 4 จะเป็นชั่วอายุที่สามารถ
ทำความเสียหายให้ข้าวได้มากที่สุด





ระยะการเจริญเติบโตของแมลงบั่ว


ลักษณะการทำลายและการระบาด
แมลงบั่วเป็นแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญในภาคเหนือตอนบน เช่นที่ จังหวัดตาก แพร่ ลำปาง น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงราย และ
เชียงใหม่ ซึ่งพบระบาดรุนแรงในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย
นครพนม และสกลนครเนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการเพิ่มปริมาณของแมลงบั่ว กล่าวคือ มีความชื้นสูง มีพื้นที่เป็น
เขาหรือเชิงเขาล้อมรอบ ทั้งนี้เพราะความชื้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการวางไข่ จำนวนไข่ การฟักไข่ การอยู่รอดหลังจากฟัก
จากไข่ของหนอนและการเข้าทำลายยอดข้าวอ่อนเหตุที่สภาพภูมิอากาศเป็นตัวกำหนดการเพิ่มปริมาณของแมลงบั่ว จึงทำให้
ในภาคกลางแมลงบั่วเป็นแมลงศัตรูข้าวที่มีความสำคัญน้อย โดยพบบางปี ในจังหวัดฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี และปทุมธานี
ภาคตะวันออกที่จังหวัดตราดและจันทบุรี ภาคใต้ที่จังหวัด ชุมพร และสุราษฎร์ธานี

ตัวเต็มวัยแมลงบั่วจะเข้าแปลงนาตั้งแต่ระยะกล้า หรือช่วงระยะเวลา 25-30 วัน เพื่อวางไข่หลังจากฟักออกตัวหนอนจะคลานลง
สู่ซอกของใบยอดและกาบใบเพื่อเข้าทำลายยอดที่กำลังเจริญทำให้เกิดเป็นหลอดลักษณะคล้ายหลอดหอม ต้นข้าวและกอ
ข้าวที่ถูกทำลายจะมีอาการแคระแกร็น เตี้ย ลำต้นกลม มีสีเขียวเข้ม ยอดที่ถูกทำลายไม่สามารถออกรวงได้ ทำให้ผลผลิตข้าวลด
ลงมาก ระยะข้าวแตกกอจะเป็นระยะที่บั่วเข้าทำลายมาก เมื่อข้าวเกิดช่อดอก (primodia) แล้วจะไม่ถูกหนอนบั่วทำลาย

ตัวหนอนเข้าทำลายจุดกำเนิดของหน่อข้าว หน่อข้าวจะสร้างหลอดหุ้มตัวหนอนมีลักษณะคล้ายหลอดหอม ต้นที่ถูกทำลายจะไม่
ออกรวง





ลักษณะการทำลายของแมลงบั่ว


พืชอาหาร :
ข้าว ข้าวป่า หญ้าไซ หญ้าปล้องเขียว หญ้าปล้องหิน หญ้าชันกาดและหญ้าตีนติด




การป้องกันกำจัด :
1) ขจัดวัชพืชรอบแปลงนา เช่น ข้าวป่า หญ้าข้าวนก หญ้าไซ หญ้าแดง หญ้าชันกาด และหญ้านกสีชมพู ก่อนตกกล้าหรือหว่าน
ข้าวเพื่อทำลายพืชอาศัยของแมลงบั่ว
2) ภาคเหนือ ควรปลูกข้าวหรือปักดำช่วงวันที่ 15 กรกฎาคม - สิงหาคม หรือปรับวิธีปลูกโดยการปักดำ 2 ครั้ง เพื่อลดความ
รุนแรงที่เกิดจากการทำลายของแมลงบั่ว หลังปักดำจนถึงข้าวอายุ 45 วัน ส่วน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรปลูกหรือปักดำระหว่าง
เดือนมิถุนายน – 15 กรกฎาคม
3) ไม่ควรปลูกข้าวโดยวิธีหว่านหรือปักดำถี่ (ระยะปักดำ 10x15 และ 15x15 เซนติเมตร) ในพื้นที่ภาคเหนือ และภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีการระบาดของแมลงบั่วเป็นประจำ
4) ทำลายตัวเต็มวัยที่บินมาเล่นแสงไฟตามบ้านช่วงเวลาตั้งแต่ 19:00-21:00 น. โดยใช้ไม้ตีแมลงวัน
5) ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงใดๆ ในการป้องกันกำจัดแมลงบั่วเนื่องจากไม่ได้ผลและยังทำลายศัตรูธรรมชาติ



http://cbr-rsc.ricethailand.go.th/insect2.htm#5


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/02/2013 6:54 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11680

ตอบตอบ: 09/01/2013 5:16 pm    ชื่อกระทู้: Re: แมลงหล่า-แมลงบั่ว ระบาดในนาข้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

BBEAM บันทึก:
.

อยากทราบการกำจัด แมลงหล่า-แมลงบั่ว ตอนนี้ระบาดในนาแทบจังหวัดกำแพงเพชรมากเลยครับ
ใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่เป็นสมุนไพรเหมือนกันไหมครับ

.





คนรุ่นใหม่ เสรีอาเซียน คิดใหม่ทำใหม่....
คนรุ่นใหม่ เสรีอาเซียน คิดใหม่ทำใหม่....
คนรุ่นใหม่ เสรีอาเซียน คิดใหม่ทำใหม่....

เพื่ออนาคตที่สดใส ของตัวเอง ครอบครัว วงค์ตระกูล ประเทศ ทวีป และโลก



จังหวัดไหน ประเทศไหน มันก็ระบาดได้ทั้งนั้นแหละ บอกแล้วไง....

- ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำเผ่าพันธุ์ วันนี้ไม่มีเพราะยังไม่มา พอมาเถอะเอาไม่ทัน.....มาตรการที่ดีที่สุด คือ
"กันก่อนแก้ แย่แล้วแก้ไม่ทัน" ..... แก้ปัญหาน่ะ ให้แก้ที่ต้นเหตุ ไม่ใช่แก้ที่ปลายเหตุ ทำไมรอให้มันเกิดแล้วจึงแก้ล่ะ
งานนี้ฆ่าแมลงได้ก็ไม่ได้ข้าว เหมือน "เผาบ้านฆ่าหนู" ว่ามั้ย

- ข้าว คือ พืชที่มีศัตรูพืชมากที่สุด จำนวนกว่า 200 ชื่อศัตรูพืช เขียนตำราได้เป็นเล่มๆ เรียน 4 ปี ได้ปริญญายังไม่จบ ฉนี้
แล้วจะรอดพ้นไปได้ไง ศัตรูพืชตัวนี้ไม่มาเดี๋ยวตัวนั้นก็มา วันนี้ไม่มาเดี๋ยวพรุ่งนี้ก็มา.......จะรอดมั้ยเนี่ยยยย

- เกษตรกรที่ปลูกพืชเพื่อขายผลผลิต กลุ่มที่ยากจนที่สุด มีหนี้สินมากที่สุด คือ ชาวนา....ไม่เชื่อสำรวจดูซี่ ในหมู่บ้าน
ตัวเอง ชาวนาหลังคาเรือนไหนไม่มีหนี้....ทำนาข้าวแต่ละรุ่น ต้นทุนค่าปุ๋ย ค่าสารเคมี ค่าแรงงาน ค่าน้ำมัน ค่าเมล็ดพันธุ์
ค่าดำ/หวาน ค่าเกี่ยว ค่าเช่าที่ ฯลฯ แล้วไม่ได้ข้าวเพราะศัตรูพืชเอาไปกินหมด.....ชาวนาได้อะไร

- ไม่มีสารเคมี หรือสารสมุนไพรใดในโลกนี้ ที่สามารถทำให้ส่วนของพืช (ทุกพืช) ที่ถูกทำลายไปแล้ว เขียวฟื้นดีคืนอย่าง
เดิมได้ เสียแล้วเสียเลย....ตัวอย่าง ของเขา-ของเรา ซ้ำแล้วซ้ำเล่ามีเกิดให้เห็น แต่ไม่คิด ไม่เฉลียวใจ ก็ยังทนทำอย่างเดิม....
ตัวเองทำแล้วไม่สำเร็จก็ยังทำแบบเดิม...คนอื่นทำแล้วล้มเหลวก็ยังทำตาม

- แมลง/หนอนตัวเล็กแค่ปลายไม้จิ้มฟัน โรค (รา แบคทีเรีย ไวรัส) สัตว์เซลล์เดียว ตัวเล็กต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทัศน์ถึงจะ
เห็น มันจะมีร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านอะไรนักหนา สู้กับสารออกฤทธิ์ได้.....ยาฆ่าแมลง ยี่ห้อไหน คนกินเข้าไปตายทุก
ยี่ห้อ แล้วทำไมเแมลงตัวกระจิ๊ดริด เชื้อโรคตัวเล็กกะจ๋อยหร็อยจนมองไม่เห็น โดนยาฆ่าแมลงไม่ตาย....เคยคิดบ้างไหม
เพราะเหตุใด ?

- ศัตรูพืช แมลง-หนอน-โรค ทั้ง ไต้ดิน-บนต้น เป็นสิ่งมีชีวิต ล้วนแต่มีจุดอ่อนประจำตัว อย่างแรก สิ่งมีชีวิตต้องอาศัยสภาพ
แวดล้อมในการดำรงชีวิต สืบเผ่าพันธุ์ ถ้าสภาพแวดล้อมหมาะสมมันอยู่ได้ สืบเผ่าพันธุ์ได้ แต่ถ้าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม
มันก็ตาย ไม่ทันได้สืบเผ่าพันธุ์.....

อย่ามัวรอหาสมุนไพรชื่อนั้นชื่อนี้ สำหรับศัตรูพืชตัวนั้นตัวนี้ แบบเฉพาะเจาะจงอยู่เลย จับจุดอ่อนของมัน ทำสภาพแวดล้อมให้
ไม่เหมาะสมซะ เช่น


แมลงปากกัดปากดูด ชอบเจาะกินน้ำเลี้ยง เพราะมันชอบรสชาดน้ำเลี้ยง ถ้าเราทำรสชาดน้ำเลี้ยงให้
"ขม หรือ เผ็ด" ซะ มันจะดูดกินน้ำเลี้ยงในต้นข้าวอีกไหม....

แมลงชอบกลิ่นต้นข้าว ถ้าเราเปลี่้ยนกลิ่นต้นข้าวเป็นกลิ่นอย่างอื่นซะ แมลงมันจะเข้าหาต้นข้าวไหม....

นอกบ้าน ในบ้าน ในครัว อะไรบ้างที่ "ขมจัด-เผ็ดจัด" เอามาทำสารสมุนไพร ทำให้ดี ทำให้เป็น แล้ว
ใช้ให้เป็น (อย่ามั่ว อย่าโมเม อย่าทึกทัก) ได้ผลกันนักต่อนัก....



เรื่องนี้ ไม่เป็นต้องหัด ไม่รู้ต้องเรียน ไม่เชื่อต้องลอง....ตำรวจไม่จับ อ.บ.ต.ไม่ว่า ระวังข้างบ้านจะหาว่า "บ้า" เท่านั้นแหละ

- ในธรรมชาติไม่มีตัวเลขและไม่มีสูตรสำเร็จ จับหลัก จับประเด็น.....อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของต้นข้าว
นาดำ/นาหว่าน นาปี/นาปรัง น้ำน้อย/น้ำมาก ข้าวเล็ก/ข้าวโต อากาศร้อน/อากาศหนาว อีกหลายๆอย่างที่เกี่ยวข้อง
กับต้นข้าว เอามาวิเคราะห์ให้ครบ

- เชื่อไหม....สารสมุนไพร กับสารเคมี 2 ตัวนี้ +กัน ใช้ด้วยกัน-ฉีดพร้อมกัน ได้....ลองหรือยัง

- เชื่อไหม....ฉีดสารสมุนไพรอย่างเดียวเดี่ยวๆ ตั้งแต่ต้นข้าวอายุได้ 3 วัน โรคแมลงยังไม่มา ต้นข้าวโตขึ้นโตขึ้นไม่มีแมลง
ศัตรูพืชอะไรมาวอแว กระทั่งเกี่ยวได้ ทั้งๆที่แปลงข้างเคียงระบาดพรึ่บพรั่บ แดงเถือกด้วยเพลี้ยไฟ เหลืองถลอกด้วยรา
หนอน แมลง สารพัดครบชุด

- เชื่อไหม.....นาข้าวบางแปลง รอบนี้ฉีดสารสมุนไพรเดี่ยวๆ รอบหน้าฉีด "สารสมุน ไพร + ปุ๋ยทางใบ" ก็ของมันใช้
ร่วมกันได้ ต้นข้าวได้ทั้งยา ได้ทั้งปุ๋ย โตเอาโตเอา ไม่มีโรคไม่มีแมลง

- นาข้าวตามแบบของนายกสมาคมชาวนาแห่งประเทศไทย (ออก ทีวี.บ่อยๆ) ต้นทุนไร่ละ 6,500-7,500 (ข้าวบ้าน
นายก) ได้ข้าว 1 เกวียน ขายได้ 10,000

- นาข้าวตามแบบของต้นข้าว (ลุงคิมบอก) ต้นทุน 3,000-3,500 ซื้อ+ทำเอง+จ้าง ได้ข้าว 1 เกวียน ขายได้ 10,000 ....

- ปุ๋ยทำเอง ฮอร์โมนทำเอง ยาสมุนไพรทำเอง....ใช้เทคโนวิชาการ+เทคโนชาวบ้าน....ปลูกข้าวตามใจข้าว ไม่ใช่
ตามใจคนขายปุ๋ยขายยา


- นาข้าว.....ยากหรือง่าย .......................... อยู่ที่ใจ
- นาข้าว.....กำไรน้อยกำไรมาก ................... อยู่ที่ขยัน ขี้เกียจ
- นาข้าว.....ล้มเหลวสำเร็จ ........................ อยู่ที่ฉลาดแล้วเฉลียว

- นาข้าว....ทำแบบเดิม ............................ ได้น้อยกว่าเดิม
- นาข้าว....ทำตามข้างบ้านที่ล้มเหลว ............ จะล้มเหลวยิ่งกว่า



@@@ ข้อมูล "ทำนาข้าวแล้วรวย" มีมากมายในเว้บนี้ แนะนำให้เลือกเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับนาข้าว ปริ๊นท์ออกมา
รวมเป็นเล่มแล้ว อ่านคิดวิเคราะห์-วิเคราะห์คิดอ่าน-อ่านวิเคราะห์คิด หลายๆรอบเพื่อค้นหาคำตอบ ใช่/ไม่ใช่ ให้กับตัวเอง ..
..เชื่อเถอะ เดี๋ยวดีเอง




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
thumsiri
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009
ตอบ: 71

ตอบตอบ: 31/01/2013 12:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หนังสือแมลงสัตว์ศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัด โหลดไปอ่านเพิ่มเติมได้ครับ


http://www.upload-thai.com/download.php?id=19a4ab9b557c128c2b5ad0c739801a42

http://www.upload-thai.com/download.php?id=19a4ab9b557c128c2b5ad0c739801a42

ชื่อไฟล์

แมลงสัตว์ศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัด.exe

ขนาดของไฟล์

29.15 MB

ถูกอัพโหลดเมื่อ

2013-01-09 17:11:36

จำนวนครั้งที่ถูกดาวน์โหลด

9 ครั้ง

ถูกดาวน์โหลดครั้งล่าสุดเมื่อ

2013-01-31 20:20:57

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย thumsiri เมื่อ 31/01/2013 8:19 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11680

ตอบตอบ: 31/01/2013 5:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลิงค์อ้างอิงผิด.....ตรวจสอบใหม่


ลุงคิมครับผม



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
thumsiri
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009
ตอบ: 71

ตอบตอบ: 31/01/2013 8:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แก้ไขเรียบร้อยแล้ว โหลดได้เลยครับ... Very Happy
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11680

ตอบตอบ: 31/01/2013 8:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

thumsiri บันทึก:
หนังสือแมลงสัตว์ศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัด โหลดไปอ่านเพิ่มเติมได้ครับ


http://www.upload-thai.com/download.php?id=19a4ab9b557c128c2b5ad0c739801a42

http://www.upload-thai.com/download.php?id=19a4ab9b557c128c2b5ad0c739801a42

ชื่อไฟล์

แมลงสัตว์ศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัด.exe

ขนาดของไฟล์

29.15 MB

ถูกอัพโหลดเมื่อ

2013-01-09 17:11:36

จำนวนครั้งที่ถูกดาวน์โหลด

9 ครั้ง

ถูกดาวน์โหลดครั้งล่าสุดเมื่อ

2013-01-31 20:20:57

.



ก็ยังคลิกเรื่อง "แมลง" ไม่ได้อยู้....เห็นมีแต่อั้ยที่ไม่เข้าท่า (เพราะไม่ใช่ของเรา...) ว่ะ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11680

ตอบตอบ: 31/01/2013 8:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลิงค์นี้ดีกว่ามั้ง......

คลิก....
http://www.brrd.in.th/library/index.php?option=com_content&view=article&id=21&Itemid=37&51da6d6593afde80316102594be834f1=zqzonzbz

เเมลง-สัตว์ศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัด




---------------------------------------------------------------------------------------------------------

คลิก....
http://www.brrd.in.th/library/index.php?option=com_content&view=category&id=30&Itemid=37










.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
thumsiri
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009
ตอบ: 71

ตอบตอบ: 01/02/2013 1:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



หนังสือดังกล่าวเป็นเล่มเดียวกันครับผม ตามลิงค์ที่ลุงวางไว้ให้โหลดก็ OK แต่ต้องเอามาประกอบกับ เพราะเค้าแยกเป็นไฟล์ ๆ
ส่วนที่ผม upload ขึ้นไว้จะเป็น E-BOOK ที่รวมเล่มแล้ว มี 204 หน้า แต่เมื่อโหลดมาแล้วต้องใช้โปรแกรม Adode Flash Player ในการอ่านครับ
ท่านใดสะดวกโหลดแบบไหนก็โหลดแบบนั้นนะครับ ได้หมด

ด้วยความเคารพครับ... Very Happy
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11680

ตอบตอบ: 01/02/2013 11:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

THANK YOU.....



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©