-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 20 JUN *วางแผนนาข้าว,ใบอ่อนมะม่วงถูกทำลาย
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 20 JUN *วางแผนนาข้าว,ใบอ่อนมะม่วงถูกทำลาย
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 20 JUN *วางแผนนาข้าว,ใบอ่อนมะม่วงถูกทำลาย

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 20/06/2013 3:20 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 20 JUN *วางแผนนาข้าว,ใบอ่อนมะม่วงถูกทำลาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 20 JUN....

วิทยุ ปตอ. AM 594 เวลา 08.15 & 20.05 ทุกวัน


********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

... สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

---------------------------------------------------------------------------------------------------------


ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี (089) 814-3204
2 )“คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (สั่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : (088) 274-19xx
ข้อความ : คุณลุงครับ ผมทำนาปี 13 ไร่ น้ำดีตลอดปี ปี 54 ที่น้ำท่วมใหญ่แต่นาผมไม่ท่วม จำได้ว่าทำนาปีละ 2 ครั้งติดต่อกันมาตั้งแต่ผมเป็นหนุ่ม นารุ่นนี้ ต้นทุนค่า ยูเรีย + 16-20-0 รวม 26 กส. ซื้อเครดิตเป็นเงิน 25,000 ค่ายาฆ่ายาคุมหญ้า ค่าสารเคมีเพลี้ยไฟ หนอนกอ หนอนม้วนใบ เป็นเงินอีก 3,000 ยังไม่รวมค่าน้ำมันทำเทือก น้ำมันสูบน้ำ ไม่มีค่าจ้างแรงงานเพราะทำกันเองในบ้าน ได้ข้าวเปลือก 60-80 ถังต่อไร่ ระดับนี้มาทุกรุ่น รุ่นที่กำลังทำอยู่จะเกี่ยวกลางเดือนหน้า คงได้น้อยกว่าเดิม เพราะข้าวลีบเยอะมาก ผมคำนวนต้นทุนทั้งหมดแล้ว ถ้ายังได้เท่านี้อยู่ คงไม่มีโอกาสล้างหนี้ได้แน่ๆ (ต่อ) .....

(ต่อ).... ผมฟังเรื่องนาข้าวที่น้อยๆ 5-10 ไร่ ถึงจะได้ข้าว 120 ถัง ก็ไม่คุ้มทุน อยากถามคุณลุงว่า ถ้ายังอยากทำนาต่อไปปีละ 2 รุ่นอย่างเดิม ต้องให้ได้ข้าวมากกว่านี้ กับต้นทุนต้องต่ำกว่านี้ ต้องทำอย่างไร คุยกับเพื่อนบ้าน ทุกคนส่ายหน้าแล้วหัวเราะเยาะผมว่า ขี้ตืด ใส่ปุ๋ยน้อยแต่อยากได้ข้าวมาก มันเป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างต้องลงทุน ทั้งๆที่คนใส่ปุ๋ยมากๆ ก็ได้ผลผลิตไม่มากกว่าผม ผมคุยกับคนในบ้านแล้วตัดสินใจแน่นอนว่า จะเปลี่ยนมาทำตามแบบลุงคิม ผมฟังรายการทุกวัน ทั้งเช้าและค่ำ ผมจดสูตรปุ๋ยไว้ทุกสูตร จดวิธีทำนาทุกขั้นตอน .... ขอบคุณลุงคิมอย่างมาก ชาวนาบ้านโป่ง

จาก : (080) 162-38xx
ข้อความ : ผมทำนา 40 ไร่ เป็นนาเช่า ทำมานาน 20 ปี มีหนี้ 4-5 แสน สะสมมานาน 8 ปี ที่ผ่านมาไม่เห็นทางล้างหนี้ได้เลย บางปีมีกำไรได้ส่งดอก บางปีขาดทุนก็พักหนี้ ต้นทุนอยู่ที่ 5,500-6,500 ต่อไร่ หนักค่าปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ได้ข้าว 80-90 ถังต่อไร่ รุ่นที่แล้วทำนาไถกลบฟาง ใช้น้ำหมักทำเอง ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ใช้ยาฆ่าแมลงบางครั้ง ได้ข้าว 60-70 ถัง แต่ต้นทุน 3,500-4,500 คิดแล้วได้เท่าเดิม สิ้นเดือนนี้จะเริ่มนารุ่นใหม่ อยากให้ผู้พันวิเคาะห์สาเหตุที่ได้ข้าวน้อยว่าเป็นเพราะอะไร แก้ไขได้อย่างไร .... ชาวนา อยุธยา

ตอบ :
@@ ชื่อโครงการ “นาข้าว นวตกรรมใหม่” หรือ “นาข้าว อีเอซี.”
– ไม่ไถ ........ ประหยัดต้นทุน, การไถ คือ เร่งวัชพืชให้โตเร็ว
– ย่ำประณีต.... กำจัดวัช 100%, ใด้วัชพืชเป็นปุ๋ย, ได้จุลินทรีย์บ่มดิน

- นาหยอด .............................................. ประหยัดเมล็ดพันธุ์, ข้าวขึ้นห่าง, ใช้ประโยชน์เนื้อที่ 100% อย่างแท้จริง
- ลดปุ๋ยเคมี เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับปรุงบำรุงดิน.... ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี เอามาซื้อปุ๋ยอินทรีย์ สารปรับปรุงบำรุงดิน จุลินทรีย์

- ลดธาตุหลัก เพิ่มธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน .... ถูกสูตร ถูกระยะข้าว
- ใช้เทคโนชาวบ้าน ผสมผสาน เทคโนวิชาการ .... สูตรเลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน

- ใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน ......................... ประหยัดเวลา แรงงาน เพื่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผลเนื้องาน
- เลิกขายโรงสี จำนอง ธ.ก.ส. ขายเป็นข้าวปลูก ...... สีเป็นข้าวกล้อง ขายส่ง ขายปลีก
- เลิก กะรวยคนเดียว ................................... แต่ รวมกลุ่มกะรวยทั้งกลุ่ม
- ปุ๋ย/ยา/ฮอร์โมน...................................... ทำเอง 100% ทำเองครึ่งนึง/ซื้อครึ่งนึง หรือ ทำใช้/ทาขาย/ทำแจก

@@ ปํญหาและการแก้ปัญหา :
- เกิดจากทัศนคติ .... แก้ไขโดย เลิกยึดติด เลิกทำแบบเดิมๆ เลิกทำตามคนที่ล้มเหลว
- ไม่เปิดใจ .... แก้ไขโดย เฉลียวใจ ช่างสังเกตุ ช่างวิเคราะห์ มีเหตุผล ยอมรับความผิดพลาด แน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด

- ขาดพื้นฐาน .... แก้ไขโดย “วิชาการ + ประสบการณ์ + เป้าหมาย + แรงบันดาลใจ + บ้าบ้า” หรือกลับทิศทาง “บ้าบ้า + แรงบันดาลใจ + เป้าหมาย + ประสบการณ์ + วิชาการ”

@@ เปรียบเทียบรายได้อย่างมีเหตุมีผล เหมือนกันแต่ต่างกัน :
*** นาข้าว 13 ไร่ ได้ไร่ละ 1 เกวียน ขายได้เกวียนละ 10,000 ลงทุนไร่ละ 6,000 เท่ากับได้กำไรไร่ละ 4,000 ....
นา 13 ไร่กำไร = 13 x 4,000 = 52,000 ต่อรุ่น....หรือได้กำไร 52,000 x 2 = 140,000 ต่อปี
*** คนในบ้าน 4 คน จากรายได้ 140,000 หาร 4 = 35,000 บาท/คน/ปี, หรือ 35,000 หาร 12 = 2,916 บาท/คน/เดือน, หรือ 2,916 หาร 30 = 97 บาท/คน/วัน

*** นาข้าว 13 ไร่ ได้ไร่ละ 1 เกวียน ขายได้เกวียนละ 10,000 ลงทุนไร่ละ 3,000 เท่ากับได้กำไรไร่ละ 7,000 ....
นา 13 ไร่ได้กำไร = 13 x 7,000 = 91,000 ต่อรุ่น .... หรือได้กำไร 91,000 x 2 = 182,000 ต่อปี
*** คนในบ้าน 4 คน มีรายได้ 182,000 หาร 4 = 45,500 บาท/คน/ปี, หรือ 45,500 หาร 12 = 3,791 บาท/คน/เดือน, หรือ 3,791 หาร 30 = 126 บาท/คน/วัน

หมายเหตุ :
- ไม่ได้ห้ามทำนา แต่อยากให้แง่คิดว่า เนื้อที่เท่ากัน ทำอย่างอื่นที่รายได้มากกว่านี้ ....... ได้ไหม ?
– ใช้เทคโนชาวบ้าน + เทคโนวิชาการ ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนลดลง .............. ได้ไหม ?
– หากยืนยันทำนาต่อไป อยากให้แง่คิดว่า สร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้มากกว่านี้ ................. ได้ไหม ?

@@ นาข้าวแบบ อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของต้นข้าว :
1. ย่ำเทือก .... น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ครั้งที่ 1 อัตรา 2-3 ล./ไร่ + 16-8-8 (10 กก.) หรือ 16-16-16 (1 กส.) + 46-0-0 (ครึ่ง กส.) 10 กก. ละลายปุ๋ยในน้ำหมัก .... ผสมน้ำเท่าไหร่ก็ได้ตามความเหมาะสม สาดให้ทั่วแปลงแล้วย่ำเทือกประณีต .... ไถกลบฟาง ใส่ยิบซั่ม 1 กส. ปุ๋ยอินทรีย์ 1 กส. กระดูกป่น 10 กก.

2. เตรียมเมล็ดพันธุ์ ..... แช่ “น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 100 ซีซี. + ไคโตซาน 100 ซีซี.” นาน 12 ชม. ครบกำหนดแล้ว ห่มต่อ 24-36 ชม. เมล็ดเริ่มโชว์ตุ่มรากจึงนำไปหว่าน

3. บำรุงระยะกล้า (เร่งแตกกอ).... ช่วงอายุ 20-30-40 วัน ด้วย “น้ำ 200 ล. + น้ำส้มสายชู 200 ซีซี. + ไบโออิ 200 ซีซี. + 18-38-12 (1 กก. ) + ยูเรีย จี 500 กรัม.” .... ให้ 3 รอบ .... ฉีดทางใบได้ครั้งละ 4-5 ไร่

4. บำรุงระยะแตกกอต้นกลม .... น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ครั้งที่ 2 อัตรา 2-3 ล./ไร่ + 16-8-8 (10 กก.) หรือ 16-16-16 (1 กส.) + 46-0-0 (ครึ่ง กส.) 10 กก. สูตรใดสูตรหนึ่ง .... ปรับหัวฉีดเม็ดใหญ่ๆ ฉีดแหวกต้นข้าวลงถึงพื้น ผสมน้ำเท่าไหร่ก็ได้ตามความเหมาะสม

5. บำรุงระยะออกรวง (เพิ่มลมเบ่ง) .... “น้ำ 200 ล. + น้ำส้มสายชู 200 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ไทเป 200 ซีซี. + ยูเรีย จี 500 กรัม + 0-52-34 (500 กรัม)” .... ให้ 2 รอบ ฉีดทางใบได้ครั้งละ 4-5 ไร่

6. บำรุงระยะน้ำนม .... “น้ำ 200 ล. + น้ำส้มสายชู 200 ซีซี. + ไบโออิ 100 ซีซี. + ยูเรก้า 100 ซีซี.” .... ให้ 3-4 รอบ ฉีดทางใบได้ครั้งละ 4-5 ไร่


หมายเหตุ : เปรียบเทียบต้นทุนค่าปุ๋ยระหว่าง "แนวอินทรีย์นำ เคมีเสริมฯ" กับ "ยูเรีย" ต่างกันเท่าไร ?
- แนวอินทรีย์นำ เคมีเสริมฯ 13 ไร่ ประมาณ 10,000 (+) /รุ่น .... ได้ธาตุอาหารครบ 14 ตัว จุลินทรีย์ ตรงตามระยะข้าว ผลผลิตดี โรคน้อย
- แนวเคมีเพียวๆ 13 ไร่ ยูเรีย 13 กส. = 13,000 / รุ่น .... หรือยูเรีย 26 กส. = 26,000 / รุ่น .... หรือ ยูเรีย 26 กส.+16-20-0 (13 กส.) = 39,000 (-) / รุ่น .... ได้ธาตุอาหาร 1-2 ตัวใน 14 ตัว ไม่มีจุลินทรีย์ ไม่ตรงตามระยะข้าว ผลผลิตไม่ดี โรคมาก


@@ ปุจฉา วิสัชนา กับเพื่อนบ้านเพื่อหาคำตอบ "ใช่ หรือ ไม่ใช่ - รู้จริง หรือ ขี้โม้" :
- ต้นข้าว (พืชทุกชนิด) ต้องอยู่บนปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก “ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธฺ-โรค” ทุกปัจจัยต้อง O.K. หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเพียงปัจจัยเดียว NO.K. ไปไม่รอด .... ใช่หรือไม่ ?

- ปลูกข้าวตามใจข้าว ไม่ใช่ตามใจคน ....................................................... หมายความว่าอย่างไร ?
- ทำตามคนที่ล้มเหลวจะล้มเหลวยิ่งกว่า ทำตามคนที่ประสบความสำเร็จจะสำเร็จยิ่งกว่า .... เพราะอะไร ?

- เปรียบเทียบดินนาข้าว ขี้เทือกลึกแค่ตาตุ่ม กับขี้เทือกลึกครึ่งหน้าแข้ง .... อย่างไหนดีกว่ากัน ?
– ยาฆ่ายาคุมหญ้า ทำให้ต้นข้าวชงักการเจริญเติบโต 7-10-15 วัน ........ ดีหรือเสียต่อต้นข้าว ?

– สารเคมีทำให้ศัตรูพืชตาย .... สารสมุนไพรก็มีสารออกฤทธิ์ทำให้ศัตรูพืชตายได้เช่นกัน....หรือไม่ ?
– นาข้าว 1 ไร่ใส่ ยูเรีย + 16-20-0 รวม 2 กส. ............................................. เป็นเงินเท่าไร ? ได้ปุ๋ยกี่ตัว ?
- เปรียบเทียบ ปุ๋ยอินทรีย์/เคมี ที่ให้ทั้งทางใบและทางราก ระหว่างทำเองกับซื้อ .............. ราคาต่างกันเท่าไร ? ได้ปุ๋ยกี่ตัว ?

– ปุ๋ยทั้งทางใบและทางราก ไม่ใช่เพียงสิ่งเดียวที่ต้นข้าวต้องการ ไม่ใช่ของวิเศษ ต้นข้าวไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักโฆษณา ต้นข้าว (พืช) รู้จักแต่สารอาหารในเนื้อปุ๋ยเท่านั้น .... จริงมั้ย ?

- นาหว่าน ต้นข้าวลำต้นโตขนาดหลอดยาคูลท์ .... รวงใหญ่หรือรวงเล็ก ?
- นาดำ ต้นข้าวลำต้นโตขนาดหลอดดูดเฉาก๊วย .... รวงเล็กหรือรวงใหญ่ ?

- วัชพืชหากินเก่งกว่าข้าว เมื่อให้ปุ๋ยทางดิน วัชพืชเอาไปกิน 8 ส่วน ต้นข้าวได้ดิน 2 ส่วน .... ควรทำอย่างไร ?
- ฆ่าหญ้าไม่ตาย ข้าวครึ่งหนึ่ง หญ้าครึ่งหนึ่ง ใช้สูตรเลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน ......... ทำอย่างไร ?
- ปุ๋ยมี กี่สูตร กี่ประเภท กี่ชนิด มีประสิทธิภาพต่อพืชอย่างไร ................................... รู้หรือไม่ ?

- สมการเกษตร ....
ปุ๋ยถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกลังสอง
ปุ๋ยถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง
ถอดสมการอย่างไร ..... ?
- ฯลฯ

ปล. .... ทำนาข้าว เหมือนติดรังดุม หากติดเม็ดแรกผิด เม็ดต่อๆ ไปก็ผิดตามด้วย ลงท้ายผิดทั้งตัว .... ทำนาข้าวอย่างถูกต้อง ตามธรรมชาติของต้นข้าว 3 รุ่นจึงจะเห็นทาง เพราะปัญหาใหม่ๆ จะทะยอยกันเกิดขึ้นมาให้รู้



ถาม .... อยากให้ผู้พันวิเคาะห์สาเหตุที่ได้ข้าวน้อยว่าเป็นเพราะอะไร แก้ไขได้อย่างไร .... ชาวนา อยุธยา
ตอบ .... จังหวะที่เริ่มเข้าสู่ระบบอินทรีย์แรกๆ บรรดาอินทรีย์วัตถุโดยเฉพาะเศษซากฟางยังถูกย่อยสลายไม่เรียบร้อย สารอาหารพืชในฟาง และ/หรือ สารอาหารจากอินทรีย์วัตถุอื่นๆ ยังออกมาไม่หมด กอร์ปกับจุลินทรีย์ยังปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมไม่เรียบร้อย กระบวนการจุลินทรีย์จึงยังไม่สมบูรณ์แบบ ด้วยเหตุนี้ไงล่ะ แนวเกษตรอินทรีย์จึงต้องให้ "บ่มดิน" คือ การให้เวลาแก่จุลินทรีย์ก่อน .... ระยะเวลาในการบ่มดินก็ไม่อาจกำหนดตายตัวได้ จะช้าหรือเร็วทุกอย่างต้องอยู่ภายไต้กรอบ "ตามความเหมาะสม" ทั้งสิ้น

หลักการนาข้าวแบบ "อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของสภาพโครงสร้างดิน จุลินทรีย์ สภาพแวดล้อม ฯลฯ" คือสิ่งที่ต้อง เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ให้สอดคล้องกับต้นข้าวให้ได้ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด .... เมื่อมั่นใจแน่นอนแล้วว่า สภาพโครงสร้างดิน ณ รุ่นนี้ มีสารอาหารอินทรีย์น้อยมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของต้นข้าว แก้ไขด้วยการ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก สารอาหารสังเคราะห์ (เคมี) ลงไปตามความจำเป็น

ธรรมชาติไม่มีตัวเลขและสูตรสำเร็จ ดินเขาดินเรา จุลินทรีย์เขาจุลินทรีย์เรา ปัจจัยอื่นๆของเราปัจจัยอื่นๆของเรา มีความต่างบนความเหมือนและมีความเหมือนบนความต่าง .... งานนี้ต้องใจเย็น ยืนหยัดมุ่งมั่นแนวทางของธรรมชาติต่อไป รุ่นหน้าจะดีขึ้น และรุ่นต่อๆไปก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ .... เพราะนี่คือ วัฎจักรหรือวงจรธรรมชาติ

ในคำถามบอกว่าใช้ "น้ำหมักทำเอง" ประเด็นก็คือว่า น้ำหมักทำเองนั้นทำมาจากวัสดุส่วนผสมอะไร ? กรรมวิธีในการหมักทำอย่างไร ? และอื่นๆที่เป็นตัวชี้บอกว่าในน้ำหมักที่ทำเองนั้นมีสารอาหารพืชหรือไม่ ? มีมากหรือน้อยเท่าไร ? จากประสบการณ์ตรง + หลักวิชาการ พอจะบอกได้ว่า น้ำหมักที่ชาวบ้านทำเองทั่วๆไปนั้น มีแต่จุลินทรีย์กับสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่นเท่านั้น แต่ไม่มีสารอาหาร (จุลินทรีย์ กับ สารอาหารหรือปุ๋ย คือคนละตัวกันแต่อยู่ด้วยกัน) เมื่อใช้แล้วจึงได้ผลแค่ "ดินดี" แต่ต้นพืชไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร เพราะต้นพืชขาดสารอาหารนั่นเอง .... นอกจากน้ำหมักทำเองแล้ว ได้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์และสารปรับปรุงบำรุงดินลงไปด้วยหรือไม่ หากได้ใส่ลงไปด้วยคงช่วยอะไรๆ ให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่นี้ เพราะทั้งปุ๋ยอินทรีย์และสารปรับปรุงบำรุงดิน เป็นทั้งตัวส่งเสริมกระบวนการจุลินทรีย์และตัวกำเนิดสารอาหารพืช

กับในคำถามไม่ได้แจ้งด้วยว่าได้ให้ "ปุ๋ยทางใบ" ร่วมด้วยหรือไม่ กรณีที่ดินยังไม่พร้อมอย่างแท้จริงเช่นนี้ เราสามารถชดเชยด้วยการให้ปุ๋ยทางใบได้ เรียกว่าสูตร "เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน" ทั้งนี้และทั้งนั้น ต้นพืชรับสารอาหารได้ 2 ทาง คือ ทางใบกับทางราก เมื่อสารอาหารในน้ำหมักให้ทางรากไม่ชัวร์แต่สารอาหารให้ทางใบชัวร์กว่า ก็ให้สารอาหารทางใบแทน ไงล่ะ


--------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : (082) 77192xx
ข้อความ : ผู้พันครับ ผมมีสวนมะม่วงอยู่ที่หัวหิน 10 ไร่ อายุ 10 ปี มีเขียวเสวย กับน้ำดอกไม้เบอร์ 4 ตัวผมอยู่ กทม. ไปสวนเดือนละครั้ง หรือสองครั้ง ให้คนงานดูแล 1 คน ใช้สายยางรดน้ำ กับถังสพายฉีดยา อาทิตย์ก่อนไปดูสวน เห็นใบอ่อนมะม่วงเริ่มกาง เกิดอาการใบหงิก ขอบใบแห้ง ที่ใบมีจุดดำ เป็นทั้งสวน คนงานบอกว่า ยาเอาไม่อยู่ เป็นทุกสวน ผมเริ่มรู้แล้วว่า ยาถูก ใช้ผิด ยาผิด ใช้ถูก หมายความว่าอย่างไร เรียนถามผู้พันว่า ผมควรแก้ไขอย่างไร .... ขอบคุณครับ

ตอบ :
- คุณเป็นเจ้าของสวน ฟอร์มนี้คุณมีความรู้มากกว่าคนงาน ความรู้ในการบริหารจัดการสวนมะม่วง คุณต้องเป็นคนสั่งเขา แนะนำเขา บอกเขา ให้เขาทำ ถ้าคนงานมีความรู้ความสามารถ เขาคงไม่มาเป็นลูกจ้างหรอก ว่ามั้ย บางครั้งก็ให้สงสัย ใครเป็นหัวหน้า ใครเป็นลูกน้อง

- ใบหงิก เกิดจากเพลี้ยไฟ, ขอบใบแห้ง เกิดจากเชื้อรา เรียกว่า โรคขอบใบไหม้, จุดดำ เกิดจากเชื้อรา เรียกว่า ใบจุดหรือแอนแทร็คโนส

– เพลี้ยไฟ ฉีดพ่นด้วยน้ำเปล่า หรือ น้ำเปล่า + สมุนไพรรสเผ็ด แต่มีข้อแม้ ต้องฉีดตอนเที่ยงวัน เพราะเพลี้ยนไหมาตอนเที่ยง โดยเฉพาะตอนเที่ยงแดดจัด

- โรคขอบใบไหม้ ฉีดพ่นด้วยสมุนไพรรสเผ็ดจัด ฉีดตอนไหนก็ได้
- ใบจุด ฉีดพ่นด้วยสมุนไพรรสเผ็ดจัด ฉีดตอนไหนก็ได้

หมายเหตุ :
- สมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ในการกำจัดเชื้อรา เช่น พริก พริกไทย ขิง ข่า กระเทียม กระชาย ดีปลี ขมิ้น ว่านน้ำ

- ระวัง ยากถูก ใช้ผิด ยาผิด ใช้ถูก .... การใช้เครื่องมือไม่เหมาะสม เช่น เพลี้ยไปมาตอนเที่ยง แต่เราฉีดยาตอนเช้าหรือบ่าย ก็เข้าข่าย “ใช้ผิด” เหมือนกัน

– การติดสปริงเกอร์เหนือยอดทรงพุ่ม สปริงเกอร์ก็คือเครื่องมือฉีดพ่นธรรมดาๆ แต่สามารถทำงาน ณ เวลาที่ต้องการได้ เลือกฉีด เช้า/สาย/บ่าย/ค่ำ เนื้อที่แค่ 10 ไร่ แรงงานคนเดียว เวลาประเดี๋ยวเดียวไม่กี่นาทีเสร็จ ไม่ใช่แต่พ่นน้ำอย่างเดียว พ่น ปุ๋ย/ฮอร์โมน ได้ทั้งนั้น ก็เพราะมัวแต่คิดว่า สปริงเกอร์สิ้นเปลือง จึงทำงานไม่ทันเวลา ความสูญเสียผลผลิตแต่ละรุ่นแต่ละปี รวมแล้วเป็นเท่าไร ไม่เคยคิด ทั้งๆที่สปริงเกอร์ติดตั้งครั้งเดียวอยู่ได้นาน 10-20-30 ปี .... ถ้ามีเครื่องทุ่นแรงในการทำงาน คนงานก็จะขยันทำงานมากขึ้น ถ้าเถ้าแก่ขี้เหนียว เอาแต่สั่ง สั่ง สั่ง ก็เป็นอย่างนี้นี่แหละ อย่าคิดว่าเงินฟาดหัวคนได้ จ่ายค่าจ้างแล้วจะต้องทำ ทำ ทำ บางทีต่อหน้าเราเขาทำ แต่พอลับหลังเขาไม่ทำ ใครจะรู้

----------------------------------------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©