-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-คำถามที่รอคำตอบ "นาข้าว นาข้าว และนาข้าว ?"
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - คำถามที่รอคำตอบ "นาข้าว นาข้าว และนาข้าว ?"
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

คำถามที่รอคำตอบ "นาข้าว นาข้าว และนาข้าว ?"

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 03/07/2013 3:55 pm    ชื่อกระทู้: คำถามที่รอคำตอบ "นาข้าว นาข้าว และนาข้าว ?" ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

(1)
จาก : (080) 912-83xx
ข้อความ : อยากให้ผู้พันอธิบายวิธีลดต้นทุนนาข้าว ในการบำรุงแต่ละระยะใช้ต้นทุนน้อยสุดแต่ได้ผลตอบแทนสูงสุด .... ขอบคุณครับ
ตอบ :

-------------------------------------------------------------------------------------------------



(2)
จาก : (081) 382-46xx
ข้อความ : ผู้พันครับ ผมอยู่สระบุรี ที่บ้านทำนา 40 ไร่ ทำมาตั้งแต่ผมยังไม่เกิด วันนี้ที่บ้านมีหนี้ 2 แสนกว่า ทั้งๆที่ทำนา 2 ครั้ง บางปีทำ 2 ปี 5 ครั้ง นาติดแม่น้ำป่าสัก สูบน้ำขึ้นมาใช้ได้ตลอดปี ทำนาเคมี ทั้งปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ได้ฟังเรื่องทำนาอินทรีย์ครั้งแรกแล้วได้ข้าวน้อยลง เพราะไม่เข้าใจวงจรธธรมชาติของต้นข้าว ผมเองตั้งใจว่ารุ่นหน้า สิ้นเดือนนี้ จะทำนาอินทรีย์ตามแนวผู้พัน แต่เป็นการทำรุ่นแรก กลัวว่าจะไม่ได้ผลเหมือนคนในวิทยุ อยากให้ผู้พันแนะนำวิธีทำนาอินทรีย์รุ่นแรกให้ประสบความสำเร็จว่า มีขั้นตอน
อย่างไรบ้าง....ขอบคุณครับ
ตอบ :

---------------------------------------------------------------------------------------------



(3)
จาก : (089) 823-72xx
ข้อความ : เรียนผู้พันคิม ขอแนะนำตัวเอง ผมเป็นครู อยู่กลางป่ากลางเขามาตลอดตั้งแต่เริ่มชีวิตครู อยู่ในป่าจนเกษียณ ผมเกษียณหลังผู้พันหลายปี เมื่อก่อนไม่สนใจเรื่องเกษตรมากนัก เกษียณแล้วคิดจะทำเกษตร เพราะมีที่นาอยู่ 25 ไร่ ได้ยินเรื่องส่งเสริมนาอินทรีย์จึงอยากทำบ้าง เคยคุยกับชาวนาเพื่อนบ้านแล้ว เขาบอกว่า นาอินทรีย์ไปไม่รอด ได้ผลผลิตข้าวน้อย แต่เขาก็หาคำตอบไม่ได้ว่าเป็นเพราะอะไร พอมาได้ยินผู้พันพูดถึงทำนาอินทรีย์ครั้งแรกแล้วล้มเหลวว่า ชาวนาไม่เข้าใจเรื่องอินทรีย์อย่างถูกต้อง ผมตัดสินใจจะทำนาอินทรีย์ตามแนวผู้พัน ถ้ารุ่นแรกไม่สำเร็จสุดยอดก็เอาแค่สำเร็จธรรมดา ผู้พันช่วยแนะนำวิธีการด้วย ขอคำตอบเช้าพรุงนี้ ขอบคุณครับ .... จาก ครูเก่า
ตอบ :

-----------------------------------------------------------------------------------------------



คำถามนี้กำลังรอคำตอบในรายการวิทยุ...

เชิญ สมช. ร่วมให้คำตอบ ทั้งคำตอบที่เป็นประสบการณ์ตรง ของตัวเอง-ของคนอื่น
และแนวคิดแบบ "คิดใหม่ทำใหม่ หรือ แผลงๆแต่สร้างสรร"

ไม่มีผิด ใม่มีถูก .... ทุกคำตอบขึ้นกับ เหตุและผล...


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/07/2013 7:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
cherm
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2011
ตอบ: 237

ตอบตอบ: 04/07/2013 4:20 pm    ชื่อกระทู้: เชื่อคนในกระจก เชื่อไม่ได้ให้ชก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะ ลุงคิม
สวัสดีค่ะทิดแดง และ สมช.ทุกท่าน


ยัยเฉิ่ม อ่านกระทู่นี้ของลุงคิม ก็คิดอยู่นานว่าจะเขียนหรือไม่เขียนดี เพราะกระทู้ของยัยเฉิ่ม ก็คุยเรื่องการทำนาของยัยเฉิ่มเอง ซึ่งทำมา 3 รุ่น ก้ยังไม่ได้เรื่องไม่ได้ราว ลุงเคยพูดว่า ให้เชื่อคนในกระจก ไม่ให้เชื่อใครทั้งสิ้น ถ้าคนในกระจกเชื่อไม่ได้ให้ชก (ถ้าทำตามแบบที่ลุงว่า ยัยเฉิ่มคงต้องไปให้หมอเย็บแผลที่มือ และป่านนี้คงจะไม่มีที่ว่างให้หมอเย็บแล้วละ)

ยัยเฉิ่ม ก็มาคิดได้ว่า เผื่อคนที่อ่านกระทู่นี้ แล้วไม่ได้อ่านของยัยเฉิ่ม ก็เลยจะขอแจม การแจมของยัยเฉิ่ม ไม่ได้แจมเรื่องความสำเร็จ แต่เป็นการแจมความล้มเหลว (ลุงอีกนั้นแหละบอกว่าความล้มเหลว คือ ความสำเร็จ ยัยเฉิ่มก็สำเร็จมา 3 รุ่นแล้ว อยากสำเร็จจริงๆบ้างเหมือน)

ลุงคิมบอกว่า การทำอะไรก็แล้วแต่อยู่ที่ใจ ถ้าใจไม่เอาแล้ว ทุกอย่างก็จบ
(เดี่ยวพรุ่งนี้มาต่อนะค่ะ เค้าปิดระบบแล้ว


ยัยเฉิ่ม เจ้าค่ะ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
cherm
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2011
ตอบ: 237

ตอบตอบ: 05/07/2013 4:08 pm    ชื่อกระทู้: ต่อค่ะ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะลุงคิม
สวัสดีค่ะทิดแดง และ สมช.ทุ๊กกกกกกกกท่าน


มักมีคนพูดเสมอว่า "นาอินทรีย์ เค้าทำกันมาเยอะแล้ว ไม่ไหว ไม่ได้เรื่อง ได้ข้าวน้อย ทำแล้วขาดทุน เค้าเลิกทำกันหมดแล้ว" ซึ่งยัยเฉิ่มก็เจอปัญหานี้มาแล้วเหมือนกัน

การทำนาอินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม ตามแนวทางลุงคิม ต้องรู้ประวัติดินของนาตัวเอง ว่ามีอินทรีย์วัตถุมากน้อยแค่ไหน ต้องเสริมเคมีเท่าไหร่ ถึงจะพอ ต้องดูความเหมาะสมดูต้นข้าวเป็นหลัก ถึงจะได้ผลผลิตที่ดี และสามารถลดต้นทุนได้

3 รุ่นถึงจะเห็นทาง อย่างที่ลุงว่าจริงๆ และสามรุ่นคืออะไร
1. รู้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
2. ให้เวลากับอินทรีย์วัตถุ
3. รู้แนวทางแก้ไขปัญหา


ยัยเฉิ่ม เจ้าค่ะ

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ampolk
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 14/01/2013
ตอบ: 53

ตอบตอบ: 05/07/2013 4:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับ ลุงคิม, ยายเฉิ่ม, พี่ทิดแดง และ สมช. ทุกท่านครับ


มาขอร่วมแจมด้วยคนครับ อย่างที่ลุงคิมเคยบอก ปัญหาเรื่องไม่เป็นเรื่องด้วยนะครับ พอทำไปสัก 2-3 รุ่น ก็จะมีมาเรื่อยๆ ให้ต้องแก้กันอยู่เรื่อยๆ

ชาวนาไทยใจร้อน (ไม่รู้จะร้อนไปไหน ลำพังอากาศก็ร้อนพออยู่แล้ว) ประเภทใส่วันนี้ พรุ่งนี้งามทันตาเห็น ชอบกันจังเคมีนี่

ขอเป็นกำลังใจให้ชาวนาไทย ทำนาโดยคิดถึงต้นทุนกันเยอะๆ นะครับ


อำพล เกษตรกรฝึกหัดครับผม


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 06/07/2013 2:28 am    ชื่อกระทู้: Re: คำถามที่รอคำตอบจาก สมช. "นาข้าว นาข้าว และนาข้าว... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
.

(1)
จาก : (080) 912-83xx
ข้อความ : อยากให้ผู้พันอธิบายวิธีลดต้นทุนนาข้าว ในการบำรุงแต่ละระยะใช้ต้นทุนน้อยสุดแต่ได้ผลตอบแทนสูงสุด .... ขอบคุณครับ
ตอบ :


ลุงคิมครับ

สมาชิกลุงคิมหลายคนแปลกครับ เวลาถามคำถาม ไม่ยอมบอกว่า บ้านซ่องอยูี่ที่ไหน จะได้วินิจฉัยได้ใกล้่เคียงขึ้น กลัวคนจะไปทวงหนี้หรือยังไงก็ไม่ทราบ เวลาตอบไปแล้วก็เหมือนเอาน้ำอมฤตสาดลงคลองน้ำเน่า อย่างสมมุติ ผมจะถามลุงคิมว่า

ผมอยากปลูกข้าวสังข์หยดครับ ขอคำอธิบายด้วย

ลุงก็ตอบไปตามเรื่องของข้าวสังข์หยด

แต่ผมเอาไปปลูกบนยอดดอยสูงเสียดฟ้า ...มันจะได้กินก็แค่ข้าวสังข์หดเท่านั้นแหละ

หรือเกิดมีท่านผู้รู้จะช่วย Comments คนถามคำถามก็จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงประเด็น

อย่างผมบอกว่า ผมอยู่ศาลายา นครปฐม ใครรู้บ้างว่า ผมอยู่ตรงไหน..ต่อให้เดินสวนกันยังไม่รู้เลยว่าผมเป็นใคร..เห็นใจลุงคิมเถอะครับ

ลุงคิมตอบเหวี่ยงแหไปก็โดนว่า ฮ๊าย ลุงคิมตอบไม่รู้เรื่อง ทำไม่ได้ผล ก็เอ็งไม่บอกข้อมูลให้ละเอียด คนตอบเค้าก็ตอบไปกลาง ๆ คำตอบที่ได้ก็ครึ่ง ๆ กลาง ๆ แล้วจะมาบ่นหาพระแสงด้ามยาวเอาอะไร

บอกมาเลย ..ผมอยู่ทุ่งกุลาร้องไห้ อยากปลูกแอปเปิ้ลครับ ....รับรองว่า ได้คำตอบที่ชัดเจน ชัวร์...



ทีนี้
กระทู้ # 2777 พอจะอนุโลมใช้กับคำตอบในคำถามที่ถามนี่ได้บ้างไหมครับ

ถ้าไม่ตรงประเด็น เดี๋ยวจัดให้

ต้นทุน 2,500 บาท (น่าจะลดได้สุดๆ ถึง ไม่เกิน 2,000 บาท) ขายข้าวกล้องได้เกวียนละ 120,000 บาท....

(ข้าวกล้องหอมนิล จาก อ.กุดชุม ยโสธร (เครือข่ายคนกินข้าว) ราคากิโลกรัมละ 120 บาท เวลานี้ขาดตลาด ส่งให้ลูกค้าไม่ทัน (ผมรอมาสองเดือนแล้วครับ) แล้ว 1 เกวียน ไม่ใช่ 1,000 กิโลกรัมหรือครับ คูณด้วย 120 มันไม่ได้เกวียนละ 120,000 บาทหรือครับ



ลองขยายรูปนี้ดูครับ ว่าเค้ามีข้าวอินทรีย์อะไรขายบ้าง อันนี้เป็นราคาเก่า ราคาใหม่ + เพิ่มไปอีก 10 บาท ทุกรายการ

แพงที่สุดคือ ข้าวกล้องพื้นเมือง 150 สายพันธุ์ กิโลกรัมละ 140 บาท เกวียนละ 140,000 คนที่เป็นแกนนำข้าวอินทรีย์ คือ ตุ๊หล่าง (แก่นคำหล้า พิลาน้อย) จากพื้นที่นาน้อยๆ เวลานี้ขยายพื้นที่เป็น 70 ไร่ มีโรงสีข้าวของตัวเอง ใครอยากเข้าร่วม (รวมกลุ่ม) ในเครือข่าย ติดต่อ "ตุ๊หล่าง" ผมหาเบอร์แกไม่เจอ เก็บไว้ไหนไม่รู้



-------------------------------------------------------------------------------------------------



(2)
จาก : (081) 382-46xx
ข้อความ : ผู้พันครับ ผมอยู่สระบุรี ที่บ้านทำนา 40 ไร่ ทำมาตั้งแต่ผมยังไม่เกิด วันนี้ที่บ้านมีหนี้ 2 แสนกว่า ทั้งๆที่ทำนา 2 ครั้ง บางปีทำ 2 ปี 5 ครั้ง นาติดแม่น้ำป่าสัก สูบน้ำขึ้นมาใช้ได้ตลอดปี ทำนาเคมี ทั้งปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ได้ฟังเรื่องทำนาอินทรีย์ครั้งแรกแล้วได้ข้าวน้อยลง เพราะไม่เข้าใจวงจรธธรมชาติของต้นข้าว ผมเองตั้งใจว่ารุ่นหน้า สิ้นเดือนนี้ จะทำนาอินทรีย์ตามแนวผู้พัน แต่เป็นการทำรุ่นแรก กลัวว่าจะไม่ได้ผลเหมือนคนในวิทยุ อยากให้ผู้พันแนะนำวิธีทำนาอินทรีย์รุ่นแรกให้ประสบความสำเร็จว่า มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง....ขอบคุณครับ
ตอบ :

---------------------------------------------------------------------------------------------



(3)
จาก : (089) 823-72xx
ข้อความ : เรียนผู้พันคิม ขอแนะนำตัวเอง ผมเป็นครู อยู่กลางป่ากลางเขามาตลอดตั้งแต่เริ่มชีวิตครู อยู่ในป่าจนเกษียณ ผมเกษียณหลังผู้พันหลายปี เมื่อก่อนไม่สนใจเรื่องเกษตรมากนัก เกษียณแล้วคิดจะทำเกษตร เพราะมีที่นาอยู่ 25 ไร่ ได้ยินเรื่องส่งเสริมนาอินทรีย์จึงอยากทำบ้าง เคยคุยกับชาวนาเพื่อนบ้านแล้ว เขาบอกว่า นาอินทรีย์ไปไม่รอด ได้ผลผลิตข้าวน้อย แต่เขาก็หาคำตอบไม่ได้ว่าเป็นเพราะอะไร พอมาได้ยินผู้พันพูดถึงทำนาอินทรีย์ครั้งแรกแล้วล้มเหลวว่า ชาวนาไม่เข้าใจเรื่องอินทรีย์อย่างถูกต้อง ผมตัดสินใจจะทำนาอินทรีย์ตามแนวผู้พัน ถ้ารุ่นแรกไม่สำเร็จสุดยอดก็เอาแค่สำเร็จธรรมดา ผู้พันช่วยแนะนำวิธีการด้วย ขอคำตอบเช้าพรุงนี้ ขอบคุณครับ .... จาก ครูเก่า
ตอบ :

-----------------------------------------------------------------------------------------------



คำถามนี้กำลังรอคำตอบในรายการวิทยุ...

เชิญ สมช. ร่วมให้คำตอบ ทั้งคำตอบที่เป็นประสบการณ์ตรง ของตัวเอง-
ของคนอื่น และแนวคิดแบบ "คิดใหม่ทำใหม่ หรือ แผลงๆแต่สร้างสรร"

ไม่มีผิด ใม่มีถูก .... ทุกคำตอบขึ้นกับ เหตุและผล...


.



เค้าถามมาทางวิทยุ แล้วลุงมาตอบทางเน๊ต คนใช้เน๊ต ก็รู้เรื่องสบายไป ส่วนคนทางวิทยุก็แห้วซีครับลุง ....แล้วบางคนมีคอมที่ทำงาน ที่บ้านยังไม่มี ก็หมดสนุกอีกเหมือนกัน แถมบางคนใช้ AIR CARD โคตรแพง แต่แรงไม่มี.... ทู่ซี้ยอมใช้ดีกว่าอยู่เปล่า ๆ เรียกว่า คนฟังรายการหรือเข้ามาอ่านในเน๊ตของลุงคิมแต่ละคนนี่ ทรหดอดทน ไม่มีใจจริง ๆ ใครจะเข้ามาดูมาฟัง


เพื่อนผมอยู่ออสเตรเลีย มันฟังรายการลุงคิมได้สบาย ก็จากกระทู้ 3267 นั่นแหละครับ

ชอบใจตรงคำว่า "แผลงๆ แต่สร้างสรร" ซะจริงๆ ... ชอบอยู่แล้ว ด้วยใจจริงเลยครับ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 07/07/2013 3:58 pm    ชื่อกระทู้: Re: คำถามที่รอคำตอบจาก สมช. "นาข้าว นาข้าว และนาข้าว... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:


เค้าถามมาทางวิทยุ แล้วลุงมาตอบทางเน๊ต คนใช้เน๊ต ก็รู้เรื่องสบายไป
COMMENT :
1. ต้องการ IDAE เท่านั้น ยังไงๆก็ดีกว่า ตาคิมหัวเดียวกระเทียมลีบน่ะ
2. ได้คำตอบมาแล้ว ออกวิทยุ ลงเน็ต 2 เด้งไปเลย


ส่วนคนทางวิทยุก็แห้วซีครับลุง ....
COMMENT :
- สมช.วิทยุ ไม่มีเน็ตที่บ้าน แนะนำทางวิทยุไปแล้วว่า ให้ลูกหลานโทรมาหาลุงคิม แล้วจะแนะนำให้ไปที่ร้านเน็ต ค่าเช่า ชม.ละ 15 บาท (เด็กมันรู้ดีกว่านเรา) แล้วปรินท์เรื่องนั้นๆ มา ว่าแต่ว่า ผู้ใหญ่สนใจใคร่รู้จริงหรือเปล่า ....
- สมช.วงิทยุ มีเน็ตในบ้าน ก็ให้ลูกหลานมันเปิดให้ แล้วก็อ่าน อ่าน และอ่าน ว่าแต่ว่า สนใจใคร่อ่านรึเปล่า ....


แล้วบางคนมีคอมที่ทำงาน ที่บ้านยังไม่มี ก็หมดสนุกอีกเหมือนกัน
COMMENT :
ระดับคนเล่นเน็ตเป็น ปัญหาแค่นี้แก้ไม่ได้.....ไม่เชื่อ (ว่ะ....)


แถมบางคนใช้ AIR CARD โคตรแพง แต่แรงไม่มี....
COMMENT :
เคยใช้แล้ว ที่ไร่กล้อมแกล้ม ก็ไม่เห็นจะจนลงนี่ (หว่า....)


ชอบใจตรงคำว่า "แผลงๆ แต่สร้างสรร" ซะจริงๆ ...
COMMENT :
มีมากกว่านี้ แค่นี้ COMMON COMMON (ว่ะ...)


เหล่านี้ไม่ใช่ปัญหา ปัญหาที่แท้จริง เว้บนี้ก็มีคนเข้ามาอ่านพอๆกับเว้บอื่น ที่เป็นเว้บ ความรู้วิชาการเหมือนกัน เว้บอื่นคนถามเยอะ แต่เว้บนี้คนถามมีแค่ 3-4-5 คนเท่านั้น ตั้งเป้าไว้ว่าน่าจะได้ IDAE ใหม่ๆมากกว่านี้ เพราะชาวนารอด ประเทศไทยรอด .... ว่ามั้ย


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 22/07/2013 2:55 pm    ชื่อกระทู้: Re: คำถามที่รอคำตอบจาก สมช."นาข้าว นาข้าว และนาข้าว ?&a ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
.


เกษตรานุุสติ :

อุตสาหกรรม V.S. เกษตรกรรม

* อุตสาหกรรม : วางแผนปรับปรุง "ต้นทุน-ผลผลิต (คุณภาพ ปริมาณ)-การตลาด-ประเมินผล-อนาคต" ตลอดเวลา

* เกษตรกรรม : ปฏิเสธต้นทุนที่สูญเปล่า ทำตามปะเพณี ทำตามข้างบ้านที่ขาดทุน ไม่ปรับปรุงคุณภาพ ไม่ตามตลาด ไม่แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม



(1)
จาก : (080) 912-83xx
ข้อความ : อยากให้ผู้พันอธิบายวิธีลดต้นทุนนาข้าว ในการบำรุงแต่ละระยะใช้ต้นทุนน้อยสุดแต่ได้ผลตอบแทนสูงสุด .... ขอบคุณครับ

ตอบ :
* "วิธีลดต้นทุนนาข้าว" ตีโจทย์ : คงไม่สามารถตอบแบบ "ฟังธง" ได้ เพราะพื้นฐานของปัญหาแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ... วิชาการ + ประสบการณ์ ของตัวเองเท่านั้นที่จะเป็นคำตอบได้

* "บำรุงแต่ละระยะต้นทุนน้อยสุด ผลตอบแทนสูงสุด" ตีโจทย์ : เรียนรู้เรื่องนาข้าวแต่ละระยะให้กระจ่าง แล้วบำรุงตามระยะนั้นๆอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยยึดหลักปัจจัยพื้นฐาน ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค อย่างเหมาะสมตรงตามความต้องการทางธรรมชาติของต้นข้าวอย่างแท้จริง

* นาข้าว คือ การเกษตร .... การเกษตร คือ ธรรมชาติ .... ธรรมชาติไม่มีตัวเลข และไม่มีสูตรสำเร็จ .... มนุษย์เอาชนะธรรมชาติไม่ได้ แต่แสวงประโยชน์จากธรรมชาติได้ .... วิธีแสวงประโยชน์จากธรรมชาติ COPY ไม่ได้ แต่ APPLY ได้

* ต้นข้าวไม่รู้จักต้นทุน หากต้องการผลผลิตตอบแทนเต็มที่ ต้องให้เขาได้รับเต็มที่ .... เขาต้องการอะไรให้อันนั้น ต้องการเท่าไรให้เท่านั้น ต้องการเมื่อไรให้เมื่อนั้น เรียกว่า บำรุงเต็มที่ย่อมได้เต็มที่ .... พอดี = ดีที่สุด, มากเกิน = ไม่ดี, น้อยเกิน = ไม่ดี .... นั่นคือ ปลูกข้าว เลี้ยงข้าว ตามใจข้าว ไม่ใช่ตามใจคน

* ต้นทุน มีหลายอย่าง เช่น เงิน. เวลา. เวลา. แรงงาน. เครื่องทุ่นแรง. เกรด. โอกาส. เนื้อที่. ผลตอบแทน. ฯลฯ .... สมการลงทุน คือ ราคาขาย - ต้นทุน = กำไร ความสำเร็จวัดที่ตัวเลขกำไร

* เมื่อเป้าหมาย คือ "ขาย" จำเป็นอย่างยิ่งยวดหรือแผนการอันดับแรก คือ "ต้นุทน" .... แนวทางพิจารณาเลือกต้นทุน ได้แก่ ต้นทุนระยะสั้น ต้นทุนระยะปานกลาง และต้นทุนระยะยาว

* หัวข้อการวางแผนในการทำนา :
1. LIST รายการงานที่ต้องทำ "ทุกงาน" ตั้งแต่ก้าวแรกเหยียบลงนาจนถึงก้าวสุดท้ายขายข้าวแล้วกลับเข้าบ้าน ภายใต้เหตุผลว่างานใด จำเป็น/ไม่จำเป็น, ตามขั้นตอน/ลัดขั้นตอน, จ้าง/ทำเอง, ซื้อ/ทำเอง, เครื่องจักร์/คนทำ, คุ้มค้า/ไม่คุ้มค่า, ถูกต้อง/ไม่ถูกต้อง, ฯลฯ

2. ต้นทุนกับผลตอบแทน จากรูปแบบของการทำนาข้าว เช่น หว่าน/ดำด้วยมือ/ดำด้วยเครื่อง/หยอด โดยพิจารณา "ต้นทุน" เป็นตัวตั้ง แล้วเปรียบเทียบกับปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่จะได้รับ ปัญหาที่จะตามมาในอนาคต ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับ "ต้นทุน" อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

3. ขาดทุนเพราะขาด "วิชาการ V.S. ประสบการณ์" ที่ต้องมี ทั้งนี้สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดว่า เรื่องไหนนำ เรื่องไหนตาม ... ทำตามคนที่ล้มเหลว ย่อมล้มเหลวยิ่งกว่า ทำตามคนที่ประสบความสำเร็จ จะสำเร็จยิ่งกว่า

4. ต้นทุนที่เกิดจาก "สภาวะจำยอม" แก้ปัญหาแบบป้องกัน ได้ผลดีกว่าแก้ไข .... ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ดีกว่าแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะบางปัญหาแม้จะแก้ไขได้แต่ความสูญเสียมิอาจกลับคืนมา

5. ต้นทุนค่าปุ๋ย ยึดหลักสมการเกษตร
ปุ๋ยถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
ปุ๋ยถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง
หมายเหตุ : ทำเอง 100/ซื้อ 100, ทำเอง 50/ซื้อ 50

6. ต้นทุนค่าสารกำจัดศัตรูพืช (สารสมุนไพร สารเคมี) ยึดหลักสมการเกษตร
ยาถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ยาผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ยาผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
ยาผิด + ใช้ผิด = ได้ผล ยกกำลังสอง
หมายเหตุ : ทำเอง 100/ซื้อ 100, ทำเอง 50/ซื้อ 50

7. เปรียบเทียบเพื่อค้นหาตัวเลข ต้นทุน ผลตอบแทน ตลาด และอนาคต
แบบ อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของนาข้าว (นาปี นาปรัง ฯลฯ)
แบบ อินทรีย์เพียวๆ
แบบ เคมีเพียวๆ

--------------------------------------------------------------------------


(2)
จาก : (081) 382-46xx
ข้อความ : ผู้พันครับ ผมอยู่สระบุรี ที่บ้านทำนา 40 ไร่ ทำมาตั้งแต่ผมยังไม่เกิด วันนี้ที่บ้านมีหนี้ 2 แสนกว่า ทั้งๆที่ทำนา 2 ครั้ง บางปีทำ 2 ปี 5 ครั้ง นาติดแม่น้ำป่าสัก สูบน้ำขึ้นมาใช้ได้ตลอดปี ทำนาเคมี ทั้งปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ได้ฟังเรื่องทำนาอินทรีย์ครั้งแรกแล้วได้ข้าวน้อยลง เพราะไม่เข้าใจวงจรธธรมชาติของต้นข้าว ผมเองตั้งใจว่ารุ่นหน้า สิ้นเดือนนี้ จะทำนาอินทรีย์ตามแนวผู้พัน แต่เป็นการทำรุ่นแรก กลัวว่าจะไม่ได้ผลเหมือนคนในวิทยุ อยากให้ผู้พันแนะนำวิธีทำนาอินทรีย์รุ่นแรกให้ประสบความสำเร็จว่า มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง....ขอบคุณครับ

ตอบ :
"หนี้ 2 แสนกว่า" .... ตีโจทย์ : ผลมาจากเหตุ หนี้นี้และหนี้นั้นเกิดมาจากอะไร ทีละรายการๆ แล้วพิจารณา ตัด/ลด ขอยืนยันคำตอบเดิม คือ LIST รายการที่ทำให้เกิดหนี้ "ทุกงาน" ตั้งแต่ก้าวแรกเหยียบลงนาจนถึงก้าวสุดท้ายขายข้าวแล้วกลับเข้าบ้าน ภายใต้เหตุผลว่างานใด จำเป็น/ไม่จำเป็น, ตามขั้นตอน/ลัดขั้นตอน, จ้าง/ทำเอง, ซื้อ/ทำเอง, เครื่องจักร์/คนทำ, คุ้มค้า/ไม่คุ้มค่า, ถูกต้อง/ไม่ถูกต้อง, ฯลฯ. แล้วพิจารณาบริหารจัดการใหม่ ....

จ้างทุกอย่างตั้งแต่ก้าวแรกถึงก้าวสุดท้าย.......... จะไม่ได้อะไรเลย
ซื้อทุกอย่างตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ............. จะเป็นหนี้ยันลูกหลาน
ใช้ทุกอย่างที่ทำลาย ปฏิเสธทุกอย่างที่บำรุง....... จะไม่เหลืออะไรเลย แม้แต่ดิน

--------------------------------------------------------------------------


"ทำนาเคมี ทั้งปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง" .... ตีโจทย์ : ยึดหลักสมการเกษตร ทั้งปุ๋ยและยา แล้วพิจารณา "ปรับใช้" ตามความเหมาะสม และจำเป็น

--------------------------------------------------------------------------


"นาอินทรีย์ครั้งแรกแล้วได้ข้าวน้อยลง" .... ตีโจทย์ : ได้ข้าวน้อยเพราะปัจจัยพื้นฐาน "ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค" โดยเฉพาะหัวข้อ "สารอาหาร" ไม่เหมาะสมกับต้นข้าว ต้นข้าวจึงให้ผลผลิตน้อย

อินทรีย์-อินทรีย์ อินทรีย์แบบไหน ? ทำมาจากอะไร ? ทำอย่างไร ? ใช้อย่างไร ? ที่สำคัญคือ มีสารอาหารอะไร ? มีเท่าไหร่ ? เพียงพอต่อความต้องการของต้นข้าวหรือไม่ ?

เปลี่ยนแนวคิดใหม่ จากแบบอินทรีย์เพียวๆ เดี่ยวๆ มาเป็น อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของนาข้าว....

---------------------------------------------------------------------------


"นาอินทรีย์ตามแนวผู้พัน" .... ตีโจทย์ : ไม่ใช่แนวของผู้พัน ไม่ใช่แนวของลุงคิม ไม่ใช่แนวของใครทั้งสิ้น แต่เป็นแนวของธรรมชาติกับต้นข้าว

ปลูกข้าวตามใจข้าว ไม่ใช่ตามใจคน

เลิกเชื่อคนขายปุ๋ยขายยา เลิกเชื่อข้างบ้านที่ยังเป็นหนี้ เลิกเชื่อตาคิม แต่ให้เชื่อ "คนในกระจก" เท่านั้น

---------------------------------------------------------------------------


"มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง" .... ตีโจทย์ : 1) เตรียมเทือก 2) เตรียมเมล็ดพันธุ์ 3) บำรุงระยะกล้า 4) บำรุงระยะตั้งท้อง 5) บำรุงระยะออกรวง 6) บำรุงระยะน้ำนม

รายละเอียดทุกระยะแจ้งแล้ว ในเว้บเยอะมาก

---------------------------------------------------------------------------




(3)
จาก : (089) 823-72xx
ข้อความ : เรียนผู้พันคิม ขอแนะนำตัวเอง ผมเป็นครู อยู่กลางป่ากลางเขามาตลอดตั้งแต่เริ่มชีวิตครู อยู่ในป่าจนเกษียณ ผมเกษียณหลังผู้พันหลายปี เมื่อก่อนไม่สนใจเรื่องเกษตรมากนัก เกษียณแล้วคิดจะทำเกษตร เพราะมีที่นาอยู่ 25 ไร่ ได้ยินเรื่องส่งเสริมนาอินทรีย์จึงอยากทำบ้าง เคยคุยกับชาวนาเพื่อนบ้านแล้ว เขาบอกว่า นาอินทรีย์ไปไม่รอด ได้ผลผลิตข้าวน้อย แต่เขาก็หาคำตอบไม่ได้ว่าเป็นเพราะอะไร พอมาได้ยินผู้พันพูดถึงทำนาอินทรีย์ครั้งแรกแล้วล้มเหลวว่า ชาวนาไม่เข้าใจเรื่องอินทรีย์อย่างถูกต้อง ผมตัดสินใจจะทำนาอินทรีย์ตามแนวผู้พัน ถ้ารุ่นแรกไม่สำเร็จสุดยอดก็เอาแค่สำเร็จธรรมดา ผู้พันช่วยแนะนำวิธีการด้วย ขอคำตอบเช้าพรุงนี้ ขอบคุณครับ .... จาก ครูเก่า

ตอบ :
คำว่า "ครู" คำนี้ศักดิ์สิทธิ์ จะติดอยู่ในความทรงจำของคนเป็น "ศิษย์" จนวันตาย แม้พ่อแม่ของคนที่เป็นศิษย์ก็ยังเรียกคนที่เป็นครูว่า "ครู" ตามไปด้วย .... คนเป็นครู ย่อมเป็นครูไปตลอดชีวิต

ไม่แปลกที่ครูเรียนมาด้าน "การศึกษา" ทำงานด้านการศึกษามาตลอดชีวิต ครั้นเมื่อวิถีชีวิตเปลี่ยนมาเป็น "เกษตร" ด้วยจิตรวิญญานแห่งความเป็นครู แม้วางมือจากงานด้านการศึกษามาเป็นเกษตร เรียกว่า "วางชอล์คมาจับจอบจับเสียม ลากระดานดำมาเป็นทุ่งนา" แล้ว ความเป็นครูก็ยังอยู่ครับ

ไม่ยากครับครู "มั่นใจในสิ่งที่ทำ และทำในสิ่งที่มั่นใจ" (อ้าง : เกษตรอำเภอด่านช้าง สุพรรณบุรี)

ผมวางปืนมาจับมีด ทำสวนไม้ผล ทั้งๆที่แรกเริ่มไม่รู้จักชื่อต้นไม้ซักต้น ยังได้

แม่นสูตร แม่นหลักการ ยึดหลักหัวใจนักปราชญ์ "สุ จิ ปุ ลิ" วันนี้ให้ "+อ่าน ดู ทำ วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ฟังธง" ... ยากหรือง่ายอยู่ที่ "ใจ" ครับ

หลักของผม จาก "วิชาการ + ประสบการณ์ + แรงบันดาลใจ + บ้าบ้า" กลับทางใหม่เป็น "บ้าบ้า + แรงบันดาลใจ + ประสบการณ์ + วิชาการ" จะได้ทั้ง "ทำ-พูด-เขียน" ด้วยตัวเองครบวงจร

ครูครับ "เรียนเป็นศาสตร์ สอนเป็นศิลป์ ผลเป็นปรัชญา" นะครับ

---------------------------------------------------------------------------






.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/07/2013 7:15 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 30/07/2013 5:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง


จากสภาพปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และสภาพดินที่เสื่อมลงเป็นข้อจำกัดที่ทำให้เกษตรกรต้องคิดหาวิธีการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ลดการใช้สารเคมีและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น กรมส่งเสริมการเกษตรขอแนะนำวิธีการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง นำไปปฏิบัติใช้ในไร่นา ดังนี้

การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง คือ การปลูกข้าวโดยอาศัยตอซังเดิม ให้แตกหน่อขึ้นมาเอง จึงไม่ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ ไม่ต้องไถพรวน ไม่ต้องเผาฟาง หลักการสำคัญ คือให้ต้นข้าวแตกหน่อขึ้นมาจากตอซังข้าวข้อแรกที่อยู่ติดดิน แล้วเจริญขึ้นมาเป็นต้นข้าวที่ต้องการ


ความเป็นมา
ปี 2539 เกษตรกรจังหวัดปทุมธานีประเภท “หัวไวใจสู้” ชื่อ นายละเมียด ครุฑเงิน อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 46 หมู่ 9 ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เป็นคนช่างสังเกต และสะสมประสบการณ์ในการทำนามานานได้สังเกตเห็นว่าตอซังข้าวที่ถูกล้อรถเก็บเกี่ยว (combine) เหยียบย่ำล้มลงราบกับพื้นนาในขณะที่ดินมีความชื้นหมาด ๆ คือ ไม่แห้งและเปียกเกินไป หลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว 7–10 วันนั้น จะมีหน่อข้าวแทงขึ้นมาจากโคนตอซังส่วนที่ติดอยู่กับดินเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องเท่าที่ดินยังมีความชื้นเพียงพอ แต่ตอซังข้าวที่ไม่ถูกล้อรถเก็บเกี่ยวทับจะมีหน่อแตกงอกออกจากข้อของต้นตอซังข้าวสังเกตเห็นว่าหน่อจะงอกช้ากว่าและขนาดเล็กกว่าหน่อที่งอกออกจากตอซังที่ล้มลงด้วยล้อรถเก็บเกี่ยวทับ จากการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความอยากรู้ของเกษตรกรเอง และคิดว่าสามารถลดต้นทุนลงหลายอย่าง เช่น ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าเตรียมดิน นายละเมียด ครุฑเงิน ได้ทำการทดสอบ 4 ฤดูโดยปลูกข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 พบว่า ได้ผลผลิตสูงไม่แตกต่างจากการใช้เมล็ดหว่าน อีกทั้งยังประหยัดเรื่องของเมล็ดพันธุ์ การเตรียมดิน และอายุสั้นเพียง 90 วันเท่านั้น ซึ่งวิธีการปลูกข้าวเช่นนี้เกษตรกรเรียกว่า “การปลูกข้าวด้วยตอซัง” ปี 2543 มีเกษตรกรอำเภอลาดหลุมแก้วทำตามกรรมวิธีของ นายละเมียด ครุฑเงิน รวมพื้นที่ 45,000 ไร่/ฤดู และยังได้ขยายผลไปสู่เกษตรกรจังหวัดใกล้เคียง


การปลูกข้าวแบบล้มตอซังมีเทคนิคและวิธีการปฏิบัติ ดังนี้ :
1. แปลงที่ปลูกข้าวรุ่นแรกต้องมีการเตรียมดินและทำเทือกให้ได้ระดับสม่ำเสมอและปลูกข้าวโดยวิธีหว่านน้ำตม แปลงนาสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้หรือควรอยู่ในเขตชลประทาน ใช้พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง


อัตราเมล็ดพันธุ์ 15–20 กก./ไร่ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน
1. ก่อนเก็บเกี่ยวข้าวรุ่นแรกประมาณ 10 วัน ถ้ามีน้ำขังให้ระบายออกจากแปลง ถ้าไม่มีน้ำให้ระบายน้ำเข้าแปลงเมื่อดินในแปลงเปียกทั่วกันแล้ว ให้ระบายน้ำออกเพื่อให้ดินมีความชื้นหมาด ๆ คือ ไม่แห้งหรือเปียกเกินไปหลังเก็บเกี่ยวข้าว

2. เก็บเกี่ยวข้าวในระยะ “พลับพลึง” เพราะต้นข้าวยังสดอยู่ไม่แห้งเกินไป

3. ตอซังที่ใช้ปลูกข้าวแบบล้มตอซังต้องไม่มีโรคและแมลงรบกวน

4. หลังเก็บเกี่ยวต้องเกลี่ยฟางข้าวให้กระจายทั่วทั้งแปลงอย่างสม่ำเสมอ ทำการย่ำตอซังให้ล้มนอนราบ อย่าให้ตอซังกระดกขึ้น (ย่ำตอนเช้ามืด ดินมีความชื้นตอซังและฟางนิ่ม โดยใช้อีขลุบ หรือล้อรถมัดติดกัน 5 ล้อลากย่ำ)

5. หลังจากย่ำตอซังแล้ว ต้องคอยดูแลไม่ให้น้ำเข้าแปลง โดยทำร่องระบายน้ำเมื่อมีฝนตกลงมา ต้องรีบระบายออกให้ทัน ถ้าปล่อยไว้หน่อข้าวจะเสียหาย

6. เมื่อหน่อข้าวมีใบ 3–4 ใบ หรือ 10–15 วัน หลังล้มตอซัง ให้ระบายน้ำเข้าแปลงให้ดินแฉะ แต่ไม่ท่วมขัง ใส่ปุ๋ยครั้งแรก สูตร 46-0-0 อัตรา 15–20 กก./ไร่ เพื่อเป็นปุ๋ยแก่ต้นข้าว และช่วยการย่อยสลายฟางได้ดีขึ้น

7. เมื่อข้าวอายุได้ 35–40 วัน หลังล้มตอซังใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง สูตร 16-20-0 อัตรา 20–25 กก./ไร่


1. เมื่อข้าวอายุได้ 50–55 วัน หลังล้มตอซัง ถ้าข้าวเจริญเติบโตไม่ดีให้ใส่ปุ๋ยครั้งที่สาม สูตร 46-0-0 อัตรา 15–20 ก.ก./ไร่

2. เมื่อข้าวอายุใกล้เก็บเกี่ยว (ประมาณ 80 วันหลังล้มตอซัง) ให้ระบายน้ำออกจากแปลงเพื่อให้ดินมีความชื้นหมาด ๆ


สิ่งที่ควรคำนึงในการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง มีเงื่อนไขและข้อจำกัด ดังนี้
1. อยู่ในเขตหรือพื้นที่ที่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้

2. เก็บเกี่ยวข้าวในระยะ “พลับพลึง” ซึ่งต้นข้าวจะยังสดไม่แห้งเกินไปเวลาใช้ทำเป็น “ต้นพันธุ์” หน่อข้าวจะแตกเป็นต้นข้าวใหม่ที่แข็งแรงและเจริญเติบโตดี

3. เกลี่ยฟางข้าวคลุมตอซังให้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง

4. ตอซังที่ใช้ปลูกข้าวแบบล้มตอซังต้องไม่มีโรคและแมลงรบกวน ถ้ามีโรคและแมลงรบกวนต้องไถ่ทิ้ง เตรียมดินและปลูกแบบหว่านน้ำตมใหม่

5. การปลูกข้าวแบบล้มตอซังไม่ต้องหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวเสริม


ข้อดีของการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง
1. ลดต้นทุนการผลิต ค่าเตรียมดิน ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าสารเคมีควบคุมและกำจัดวัชพืช ฯลฯ ไร่ละประมาณ 900 บาท

2. ย่นระยะเวลาการปลูกข้าวให้เร็วขึ้น 10–15 วัน (ไม่เสียเวลาเตรียมดินและหว่านข้าว)

3. เป็นการรักษาสภาวะแวดล้อม เพราะลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและหอยเชอรี่

4. ลดปัญหาการเผาฟางข้าว โดยนำมาใช้ประโยชน์ในการคลุมแปลงนาเพื่อรักษาความชื้นในดิน



รายการ..................การทำนาหว่านน้ำตม (บาท/ไร่)..............การปลูกข้าวตอซัง (บาท/ไร่)

1. ค่าเตรียมดิน...................... 250 .................................... -
2. ค่าล้มตอ กระจายฟาง............ - ...................................... 80
3. ค่าเมล็ดพันธุ์..................... 120..................................... -
4. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง............... 300.................................... 150
5. ค่าปุ๋ยเคมี........................ 480..................................... 282
6. ค่าสารกำจัดวัชพืช.............. 165...................................... -
7. ค่าสารกำจัดหอย................. - ........................................ -
8. ค่าสารกำจัดศัตรูพืช.............. 141..................................... 91

9. ค่าจ้างหว่านข้าว................... 40...................................... -
10. ค่าจ้างหว่านปุ๋ย................. 120..................................... 80
11. ค่าจ้างพ่นสารกำจัดวัชพืช....... 80...................................... -
12. ค่าจ้างพ่นสารกำจัดศัตรูพืช..... 120..................................... 80
13. ค่าจ้างเก็บเกี่ยว................. 250..................................... 250
14. ค่าจ้างขนส่ง.................... 100..................................... 100

ต้นทุนการผลิตรวม (บาท/ไร่)....... 2,166................................. 1,113
ผลผลิตข้าวเปลือก (กิโลกรัม/ไร่)... 958.................................... 975

ราคาขาย (บาท/กิโลกรัม............. 5.90 ................................. 5.90
รายได้รวม (บาท/ไร่)................. 5,652................................ 5,752

รายได้สุทธิ (บาท/ไร่)................ 3,486................................ 4,639


ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี (2549)
ตาราง เปรียบเทียบต้นทุนการผลิต ผลผลิต รายได้รวม และรายได้สุทธิจากการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง กับการทำนาหว่านน้ำตม ปีการผลิต 2549 ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

ข้าวล้มตอ : การทำนาสูตรประหยัด
เรื่อง/ภาพ เสมอชน ธนพัธ


ปกติหลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ชาวนาจำนวนมากจะเผาไร่เพื่อกำจัดซังข้าวเดิม จากนั้นก็จะทำเทือกด้วยการวิดน้ำเข้านา ไถให้ดินเละจนเป็นเลน แล้วจึงหว่านเมล็ดพันธุ์

แต่นายละเมียด ครุฑเงิน ชาวนาแห่งอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ไม่ได้ปลูกข้าวด้วยวิธีการตามขนบเช่นนั้น เพราะหลังจากที่เกี่ยวข้าวแล้ว แทนที่จะเผา เขากลับขับรถเกี่ยวข้าวย่ำลงไปที่ตอซัง หลังจากนั้นไม่กี่วัน ต้นอ่อนของข้าวก็จะงอกขึ้นมา โดยที่ไม่ต้องหว่านเมล็ดพันธุ์ใหม่เลย

นายละเมียด ครุฑเงิน ทำได้อย่างไร ?!
“ไม่น่าเชื่อว่ามันจะงอกขึ้นมาใหม่ทั้งแปลง เหมือนกับเราทำนาหว่านน้ำตมเลย” แม้แต่เจ้าตัวก็ยังกล่าวด้วยความอัศจรรย์ใจ

วิธีการปลูกข้าวในลักษณะนี้ ถูกคิดค้นขึ้นโดยนายละเมียด ครุฑเงิน ซึ่งทำให้ชาวนาที่เรียนจบเพียงชั้น ป. 4 ผู้นี้ ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเกษตรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และภายหลังนักวิชาการเกษตรเรียกวิธีการปลูกข้าวลักษณะนี้อย่างเป็นทางการว่า “การปลูกข้าวล้มตอ” ซึ่งเป็นการทำนาข้าวด้วยตอซังเดิม แทนการหว่านเมล็ดพันธุ์ใหม่ โดยต้นข้าวที่งอกนี้ จะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีเช่นเดียวกับการทำข้าวนาหว่านน้ำตมโดยทั่วไป


สำหรับขั้นตอนการปลูกข้าวล้มตอ ประกอบด้วย
• ก่อนการเก็บเกี่ยวข้าวประมาณ 10 วัน ให้ระบายน้ำออกจากนา เพื่อให้ดินหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตมีความชื้นหมาดๆ
• หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เอาฟางข้าวคลุมดิน ใช้รถไถหรือรถเกี่ยวข้าวย่ำตอข้าวเดิมให้ล้มราบติดผืนนา ปล่อยไว้ประมาณ 10–15 วัน ลูกข้าวก็จะแตกหน่อขึ้นมาจากตาต้นแขนงโคนตอซัง และที่ข้อตอซังเดิม
• วิดน้ำเข้านา อย่าให้น้ำขาด เนื่องจากถ้าดินแห้งเกิน 10 วัน ข้าวเปลือกที่ตกค้างอยู่จะงอกขึ้นมาแทรกกับต้นข้าวที่งอกจากตอ แล้วจะทำให้ข้าวมีสองรุ่นในแปลงเดียวกัน เมื่ออายุไม่เท่ากัน ก็จะแก่ไม่เท่ากัน สุดท้ายก็จะทำให้เก็บเกี่ยวลำบาก

ข้อดีของการปลูกข้าวล้มตอ คือ ช่วยลดต้นทุนการผลิต เพราะไม่ต้องหว่านเมล็ดพันธุ์ใหม่ แถมลดการใช้ปุ๋ยเคมี เพราะการกระจายฟางข้าวเป็นเสมือนวัสดุคลุมดิน ทำให้ปุ๋ยไม่ระเหยง่าย และเมื่อฟางข้าวย่อยสลาย ก็จะเน่าเปื่อยผุพังเป็นปุ๋ยธรรมชาติ

ที่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องใช้สารกำจัดวัชพืช เนื่องจากข้าวต้นอ่อนโตเร็วกว่าหญ้า เมื่อผันน้ำเข้านา ฟางที่เริ่มเน่าเปื่อยก็จะใช้ออกซิเจน กลายเป็นน้ำฟางแดงๆ หญ้าต้นเล็กๆ ที่เพิ่งงอกก็จะจมน้ำฟางตาย เพราะขาดออกซิเจน

การปลูกข้าวล้มตอตามตำรับนายละเมียดนี้ได้แพร่หลายไปในหมู่เกษตรกรหลาย จังหวัด โดยเฉพาะในที่ราบลุ่มภาคกลาง อย่างไรก็ตาม การปลูกข้าวล้มตอยังคงต้องพึ่งสารเคมีเกษตรบางส่วน เช่น ปุ๋ยเคมี และสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง อีกทั้งการปลูกข้าวล้มตอ สามารถปลูกได้เพียง 2–3 รุ่น แล้วก็ต้องกลับไปเผาตอซัง ทำเทือก และหว่านเมล็ดพันธุ์ใหม่อีกครั้ง ซึ่งหากในอนาคต เทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวนาที่ว่านี้ สามารถพัฒนาไปสู่การใช้สารอินทรีย์เกษตร และลดจำนวนการเผาลงอีก ก็เยี่ยมไปเลย


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/07/2013 6:57 am, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 30/07/2013 5:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวล้มตอซังผลผลิตดี


ข้าวล้มตอ คือ การทำนาข้าวด้วย "ตอซังข้าว" เดิมแทนการหว่านด้วย "เมล็ดพันธุ์" ข้าว โดยย่ำตอข้าวเดิมให้ล้มหลังการเกี่ยวข้าวตามฤดูกาลเสร็จเรียบร้อย ภายในเวลา 10-15 วัน ต้นข้าวรุ่นที่ 2 จะแตกหน่อขึ้นมาจากกอข้าวเดิม

ต้นข้าวที่งอกขึ้นมาใหม่จะเติบโตและให้ผลผลิตเช่นเดียวกับข้าวนาหว่านน้ำตม ในครั้งแรก หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วโดยไม่ต้องไถพรวนดินและหว่านกล้า เหมือนการทำนาหว่านน้ำตมตามปกติ เพียงแต่เกลี่ยฟางข้าวให้สม่ำเสมอ ย่ำให้ตอข้าวล้ม หลังจากนั้น 10-15 วัน ก็วิดน้ำเข้านาและคอยดูแลน้ำไม่ให้ขาด หลังย่ำตอข้าวแล้วอย่าให้น้ำขังจนกว่าข้าวจะงอก หลังจากข้าวงอก วิดน้ำเข้านาอย่าให้ดินแห้งเกิน 10 วัน ไม่เช่นนั้นข้าวเปลือกที่ตกอยู่บนพื้นดินในนาจะงอกขึ้นมาแทรกกับต้นข้าวที่งอกจากตอ ทำให้มีข้าวสองรุ่นอยู่ในแปลงเดียวกัน ข้าวสองรุ่นอายุไม่เท่ากันก็จะแก่ไม่เท่ากันทำให้เก็บเกี่ยวลำบาก

การปลูกข้าวโดยใช้ตอซังเดิมเกิดผลดีต่อดิน คือ ฟางข้าวที่นวดแล้วจะเน่าเปื่อยผุพังเป็นปุ๋ยธรรมชาติ ทำให้ดินร่วนซุยดีขึ้น และช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ครึ่งต่อครึ่ง ข้อดีอีกประการของการทำนาข้าวล้มตอ คือ ได้ต้นข้าวที่แข็งแรง และทนทานต่อการรบกวนของศัตรูพืช อย่างหอยเชอรี่และเพลี้ยไฟมากกว่าข้าวหว่านนาน้ำตม ข้อควรคำนึงในการปลูกข้าวล้มตอซัง คือ แปลงนาต้องสม่ำเสมอ พื้นที่ที่เป็นท้องกระทะ แบบตรงกลางลึก ข้าง ๆ เป็นที่ดอน ไม่ควรทำการปลูกข้าวล้มตอซังเพราะจะทำให้มีน้ำขังและจะทำให้ตอซังเน่า ต้นข้าวที่ปลูกครั้งแรกด้วยเมล็ดต้องแข็งแรงปราศจากโรคแมลง

เก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง โดยระบายน้ำออกจากแปลงนา ให้ดินมีความชื้นเหมาะสมประมาณ 50% ทดสอบได้ด้วยการหยิบดินในแปลงนาปั้นเป็นลูกกระสุนได้แสดงว่าความชื้นเหมาะสม

การปลูกข้าวตอซังจะเริ่มตั้งแต่หลังการเก็บเกี่ยว ให้กระจายฟางคลุมตอซังทั่วแปลงนา ใช้ลูกยางย่ำตอซังประมาณ 4 เที่ยว ย่ำให้ราบติดกับพื้นดิน ฟางที่คลุมให้ราบเรียบ อย่าให้ตอซังกระดกขึ้น จากนั้นประมาณ 3-4 วัน ข้าวจะเริ่มแทงหน่อเล็กจากข้อที่ 2-3 หรือปลายตอซังออกมา

หลังย่ำตอซังเกษตรกรต้องตรวจสอบว่า ฟางที่คลุมจุดใดหนาให้เอาออก คลุมบาง ๆ ปล่อยทิ้งไว้รอจนกว่าหน่อข้าวงอกขึ้นมามี 2-3 ใบ ซึ่งอายุข้าวจะประมาณ 10 วัน นับจากวันย่ำฟาง สังเกตว่าการเจริญเติบโตจะแตกต่างกันกับข้าวหว่านน้ำตม โดยต้นจะใหญ่กว่า รากจะหนาแน่นกว่า หาอาหารได้ดีกว่า ข้าวล้มตอซังที่สมบูรณ์ จะแตกหน่อ 3-4 หน่อ ต่อ 1 ต้นซัง

สูบน้ำเข้าแปลงนาและใส่น้ำหมักชีวภาพ ในอัตรา 200 ลิตร ต่อพื้นที่ 15 ไร่ พอแฉะ แต่อย่าให้น้ำมากจะทำให้ฟางที่คลุมลอย หลังระบายน้ำเข้า 1 วัน ใส่ปุ๋ยสูตรเร่งการเจริญเติบโต และเร่งขบวนการย่อยสลายของตอซังและฟาง จากนั้นรักษาน้ำในนาไม่ให้รั่ว เพื่อไม่ให้ปุ๋ยที่ใส่สูญหาย จากนั้นก็คอยดูแลการเจริญเติบโตของต้นข้าวและรอวันเก็บเกี่ยว

การปลูกข้าวแบบล้มตอซังจะช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนในการเพาะปลูกได้มาก ขณะที่ผลผลิตที่ออกมาไม่ต่างจากการปลูกในครั้งแรก.

tidtangkaset@dailynews.co.th


http://www.fisheries.go.th/cf-pak_panang/webbord/index.php?topic=656.0


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/07/2013 6:45 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 30/07/2013 5:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกข้าวล้มตอซัง

เรียบเรียง : ไพบูลย์ พงษ์สกุล กลุ่มข้าว

1. ข้อควรระวังในการปลูกข้าวตอซัง
2. ขั้นตอนและวิธีการปลูกข้าวตอซัง
3. ข้อดีของการปลูกข้าวตอซัง


จากสภาพปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และสภาพดิน ที่เสื่อมลง เป็นข้อจำกัดที่ทำให้เกษตรกรต้องคิดหาวิธีการ ลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ลดการใช้สารเคมี และปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น เกษตรกรที่ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว ได้พัฒนาวิธีการปลูกข้าว โดยอาศัยตอซังเดิม ซึ่งลดค่าใช้จ่ายด้านเมล็ดพันธุ์ การเตรียมดิน และลดการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช แต่เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน การปลูกข้าวตอซัง มีแนวทาง ดังนี้


ข้อควรระวังในการปลูกข้าวตอซัง :
1. จากพื้นที่ตอซังสม่ำเสมอ สามารถควบคุมระดับน้ำได้ ดังนั้น พื้นที่เขตชลประทาน หรือมีแหล่งน้ำจึงเหมาะสมใช้ปลูกข้าวตอซัง

2. เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ครั้งแรกต้องเป็นพันธุ์ไม่ไวแสง อายุ 115-120 วัน เช่นปทุมธานี 1, สุพรรณบุรี 1 เป็นต้น (ก่อนทำข้าวตอซัง) ต้องมีความบริสุทธิ์ (ไม่มีพันธุ์ข้าวอื่นปน) และในแปลงนาต้องกำจัดข้าวเรื้อออกให้หมด

3. ต้องเก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง (เมล็ดข้าวสีเหลือง 80% ของรวง ตอซังสด) โดยระบายน้ำออก ให้มีความชื้นพอเหมาะในวันเก็บเกี่ยว (ความชื้นดินในวันเก็บเกี่ยวหยิบขึ้นมาปั้นลูกกระสุนได้) โดยเกี่ยวตอซังให้ยาวที่สุด (เวลาย่ำตอซังราบเรียบกว่าไว้ต่อสั้น)

4. การย่ำตอซัง และฟางที่ใช้คลุมต้องให้ราบเรียบ ไม่มีตอซังกระดก


ขั้นตอนและวิธีการปลูกข้าวตอซัง :
1. แปลงนาต้องสม่ำเสมอ
2. ต้นข้าวที่ปลูกครั้งแรกด้วยเมล็ดต้องแข็งแรงปราศจากโรคแมลง

3. เก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง โดยระบายน้ำออกจากแปลงนา ให้ดินมีความชื้นเหมาะสม (หยิบดินในแปลงนาปั้นเป็นลูกกระสุนได้)

4. หลังเก็บเกี่ยว กระจายฟางคลุมตอซังทั่วแปลงนา ทำการย่ำต่อซัง และฟางที่คลุมให้ราบเรียบ อย่าให้ตอซังกระดกขึ้น (เพื่อป้องกันตอซังกระดกขึ้นมา หน่อข้าวจะงอกข้อที่ 2-3 หรือปลายตอซัง) จึงควรย่ำในช่วงเช้ามืด ดินมีความชื้น ตอซังและฟางนิ่ม ย่ำง่าย โดยใช้ลูกทุบ (อีขลุบ) ใช้ล้อเหล็กของรถไถเดินตาม หรือล้อขนาดเท่ากัน มัดติดกัน 5 ล้อ ลากย่ำ

5. หลังย่ำตอซังเกษตรกรต้องตรวจสอบว่าฟางที่คลุมจุดใดหนาให้เอาออก คลุมบางๆ ปล่อยทิ้งไว้รอจนกว่าหน่อข้าว (ที่เกิดจากกกข้าว) งอกเจริญ มี 2-3 ใบ (อายุประมาณ 15 วัน นับจากวันย่ำฟาง) จึงสูบน้ำเข้าแปลงนาพอแฉะ (อย่าให้น้ำมากจะทำให้ฟางที่คลุมลอย)

6. หลังระบายน้ำเข้า 1 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ปุ๋ยยูเรีย) อัตรา 15-20 กก./ไร่ เพื่อเร่งการเจริญเติบโต และเร่งขบวนการย่อยสลายของตอซังและฟาง รักษาน้ำในนาไม่ให้รั่ว เพื่อไม่ให้ปุ๋ยที่ใส่สูญหาย

7. หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรกประมาณ 10-12 วัน ระบายน้ำออก (เพื่อลดปัญหาการเกิดก๊าซซึ่งจะทำให้ใบเป็นสีส้ม ในระยะที่ฟางย่อยสลาย) ปล่อยให้ดินแห้ง 3-4 วัน ต้นข้าวจะมีรากงอกออกมา จึงสูบน้ำเข้าแปลงนาในระดับปูคลาน (5 ซม.) ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 30 กก./ไร่ หรือใช้ปุ๋ยสูตร 18-12-6 หรือ 16-12-8 อัตรา 35 กก./ไร่ ในกรณีปลูกข้าวติดต่อกันไม่มีเวลาหยุดพักเป็นเวลานานเพื่อชดเชยธาตุ P ที่ต้นข้าวใช้ไป

8 . ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า สูตร 46-0-0 อัตรา 7-10 กก./ไร่ หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรก 10-12 วัน (ตามข้อ 7)

9. หลังใส่ปุ๋ยแต่งหน้า (ตามข้อ 8 ) เพิ่มระดับน้ำในนาสูง 10-12 ซม. ควบคุมระดับน้ำไว้จนกว่ารวงข้าวเริ่มก้ม เมล็ดปลายรวงเริ่มเหลือง จึงระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อเตรียมการเก็บเกี่ยว


ข้อดีของการปลูกข้าวตอซัง
1. ลดต้นทุนการปลูกข้าวได้ไร่ละ 470-911 บาท ดังนี้ :
- ค่าเตรียมดิน ไร่ละ 150 บาท
- ค่าเมล็ดพันธุ์ ไร่ละ 120 บาท (อัตราปลูกไร่ละ 30 กก.)
- สารเคมีคุมกำเนิดวัชพืช ไร่ละ 100 บาท

2. ลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช/เพลี้ยไฟ/หอยเชอรี่ (ต้นข้าวที่เกิดจาก หน่อเติบโตเร็ว แข็งแรง หอยเชอรี่ทำลายได้น้อยมาก และหอยจะช่วยกินฟางในแปลงนา เพราะอ่อนนุ่มเน่า)

3. ลดขั้นตอน การเตรียมดิน/การหว่านหรือดำ
4. ลดอายุต้นข้าวได้น้อยลง (ปลูกข้าวตอซังแก่เร็วกว่าปลูกด้วยเมล็ด 10-15 วัน)
5. เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน โครงสร้างดินโปร่งร่วนซุยขึ้น
6. สามารถปลูกข้าวตอซัง โดยใช้ตอเดิมติดต่อกันได้ ถึง 2 ฤดู โดยให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน



http://www.doae.go.th/library/html/detail/rice_p1/koawtorsung.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/07/2013 6:53 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 30/07/2013 5:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



https://www.google.co.th





https://www.google.co.th/




แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/08/2013 7:26 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 30/07/2013 7:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



http://farmfriend.blogspot.com/2011/06/blog-post_12.html

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 31/07/2013 9:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:

ปลูกข้าวล้มตอซัง



ต้นข้าวจะมีรากงอกออกมา จึงสูบน้ำเข้าแปลงนาในระดับปูคลาน (5 ซม.) ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 30 กก./ไร่

หรือใช้ปุ๋ยสูตร 18-12-6 หรือ 16-12-8 อัตรา 35 กก./ไร่
ในกรณีปลูกข้าวติดต่อกันไม่มีเวลา "หยุดพัก" เป็นเวลานาน
เพื่อชดเชยธาตุ P ที่ต้นข้าวใช้ไป






.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 31/07/2013 7:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:




ไหน ๆ ก็ไหน ๆ ครับลุง ขออนุญาต เสนอรูปข้าวล้มตอหลังจากที่ต้นข้าวในรูปที่ลุงนำเสนอ ข้าวมันขึ้นมาหล๋อมแหล๋ม ให้สมาชิกที่ไม่เคยทำได้ดูว่า ผลผลิตจากข้าวล้มตอมันเป็นฉันใด ตามรูปข้างล่างนี้แหละครับ



รูปนี้คือผลผลิตหรือผลได้จากข้าวล้มตอครับ


http://farmfriend.blogspot.com/2011/06/blog-post_12.html

.




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 31/07/2013 8:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
ปลูกข้าวล้มตอซัง

เรียบเรียง : ไพบูลย์ พงษ์สกุล กลุ่มข้าว

-------------..................--------------
ขออนุญาต รวบรัดตัดตอนครับ

ขั้นตอนและวิธีการปลูกข้าวตอซัง :

1. แปลงนาต้องสม่ำเสมอ

2. ต้นข้าวที่ปลูกครั้งแรกด้วยเมล็ดต้องแข็งแรงปราศจากโรคแมลง

3. เก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง โดยระบายน้ำออกจากแปลงนา ให้ดินมีความชื้นเหมาะสม (หยิบดินในแปลงนาปั้นเป็นลูกกระสุนได้)

4. หลังเก็บเกี่ยว กระจายฟางคลุมตอซังทั่วแปลงนา ทำการย่ำต่อซัง และฟางที่คลุมให้ราบเรียบ อย่าให้ตอซังกระดกขึ้น (เพื่อป้องกันตอซังกระดกขึ้นมา หน่อข้าวจะงอกข้อที่ 2-3 หรือปลายตอซัง) จึงควรย่ำในช่วงเช้ามืด ดินมีความชื้น ตอซังและฟางนิ่ม ย่ำง่าย โดยใช้ลูกทุบ (อีขลุบ) ใช้ล้อเหล็กของรถไถเดินตาม หรือล้อขนาดเท่ากัน มัดติดกัน 5 ล้อ ลากย่ำ

5. หลังย่ำตอซังเกษตรกรต้องตรวจสอบว่าฟางที่คลุมจุดใดหนาให้เอาออก คลุมบางๆ ปล่อยทิ้งไว้รอจนกว่าหน่อข้าว (ที่เกิดจากกกข้าว) งอกเจริญ มี 2-3 ใบ (อายุประมาณ 15 วัน นับจากวันย่ำฟาง) จึงสูบน้ำเข้าแปลงนาพอแฉะ (อย่าให้น้ำมากจะทำให้ฟางที่คลุมลอย)

6. หลังระบายน้ำเข้า 1 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ปุ๋ยยูเรีย) อัตรา 15-20 กก./ไร่ เพื่อเร่งการเจริญเติบโต และเร่งขบวนการย่อยสลายของตอซังและฟาง รักษาน้ำในนาไม่ให้รั่ว เพื่อไม่ให้ปุ๋ยที่ใส่สูญหาย

7. หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรกประมาณ 10-12 วัน ระบายน้ำออก (เพื่อลดปัญหาการเกิดก๊าซซึ่งจะทำให้ใบเป็นสีส้ม ในระยะที่ฟางย่อยสลาย) ปล่อยให้ดินแห้ง 3-4 วัน ต้นข้าวจะมีรากงอกออกมา จึงสูบน้ำเข้าแปลงนาในระดับปูคลาน (5 ซม.) ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 30 กก./ไร่ หรือใช้ปุ๋ยสูตร 18-12-6 หรือ 16-12-8 อัตรา 35 กก./ไร่ ในกรณีปลูกข้าวติดต่อกันไม่มีเวลาหยุดพักเป็นเวลานานเพื่อชดเชยธาตุ P ที่ต้นข้าวใช้ไป

8 . ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า สูตร 46-0-0 อัตรา 7-10 กก./ไร่ หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรก 10-12 วัน (ตามข้อ 7)

9. หลังใส่ปุ๋ยแต่งหน้า (ตามข้อ 8 ) เพิ่มระดับน้ำในนาสูง 10-12 ซม. ควบคุมระดับน้ำไว้จนกว่ารวงข้าวเริ่มก้ม เมล็ดปลายรวงเริ่มเหลือง จึงระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อเตรียมการเก็บเกี่ยว


ข้อดีของการปลูกข้าวตอซัง

1. ลดต้นทุนการปลูกข้าวได้ไร่ละ 470-911 บาท ดังนี้ :
- ค่าเตรียมดิน ไร่ละ 150 บาท
- ค่าเมล็ดพันธุ์ ไร่ละ 120 บาท (อัตราปลูกไร่ละ 30 กก.)
- สารเคมีคุมกำเนิดวัชพืช ไร่ละ 100 บาท

2. ลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช/เพลี้ยไฟ/หอยเชอรี่ (ต้นข้าวที่เกิดจาก หน่อเติบโตเร็ว แข็งแรง หอยเชอรี่ทำลายได้น้อยมาก และหอยจะช่วยกินฟางในแปลงนา เพราะอ่อนนุ่มเน่า)

3. ลดขั้นตอน การเตรียมดิน/การหว่านหรือดำ

4. ลดอายุต้นข้าวได้น้อยลง (ปลูกข้าวตอซังแก่เร็วกว่าปลูกด้วยเมล็ด 10-15 วัน)

5. เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน โครงสร้างดินโปร่งร่วนซุยขึ้น

6. สามารถปลูกข้าวตอซัง โดยใช้ตอเดิมติดต่อกันได้ ถึง 2 ฤดู โดยให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน

http://www.doae.go.th/library/html/detail/rice_p1/koawtorsung.htm


--------------..............

kimzagass บันทึก:

ปลูกข้าวล้มตอซัง


ต้นข้าวจะมีรากงอกออกมา จึงสูบน้ำเข้าแปลงนาในระดับปูคลาน (5 ซม.) ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 30 กก./ไร่

หรือใช้ปุ๋ยสูตร 18-12-6 หรือ 16-12-8 อัตรา 35 กก./ไร่
ในกรณีปลูกข้าวติดต่อกันไม่มีเวลา "หยุดพัก" เป็นเวลานาน
เพื่อชดเชยธาตุ P ที่ต้นข้าวใช้ไป


-------------...............------------

สวัสดีครับลุงคิม และเพื่อนสมาชิกที่อยากลองทำข้าวล้มตอทุกท่าน

มีรูปมาให้ดูกันครับ....ขั้นตอนอาจจะไม่ตรงกับของนักวิชาการ ที่ลุงคิมนำเสนอนะครับ ...แต่ว่าเป็นรูปจากคนที่ทำข้าวล้มตอ ของจริงครับ


ทำนาด้วยวิธี ทำข้าวล้มตอซัง



1-ปล่อยน้ำเข้าหลังเกี่ยว





2- ใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังข้าวและลดปัญหาข้าวดีด วัชพืชและปรับโครงสร้างดิน ถ้าจะเรียกให้ทันสมัยก็เรียกว่าการทำ ดีท็อกซ์ดิน เพื่อไล่ความร้อนใต้ดิน ฯลฯ




3- ทำ 4 ขั้นตอน... หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต (1)ไม่เผาตอซัง (2)ไขน้ำเข้าแปลงนาเล็กน้อย (3)ผสมจุลินทรีย์ฉีดพ่นด้วยวิธีเดินฉีด จะทำให้รู้สภาพแปลงนาทั้งผืน และ....




4- หลังจากฉีดพ่นจุลินทรีย์แล้ว ขั้นตอนที่ (4) ใช้รถไถติดอีขลุบย่ำฟางและตอซังให้จมน้ำ




5- ย่ำฟางและตอซังด้วย อีขลุบ



6


7


8

6 - 8 ฟางและตอซังหลังถูกย่ำ




9 - หมักดินและฟางหลังย่ำตอผ่านไป 3 วัน



10


11

10 – 11 ใช้รถตีดิน ตีหรือปั่นดิน โดยให้ปั่นตื้นๆ 1 รอบ ไม่ต้องลึก แต่ถ้าดินเป็นหล่มอยู่แล้ว ข้ามขั้นตอนในข้อ 9 ไปได้เลย



12


13


14


15

12 -15 ลูบเทือก ปาดหน้าดินให้เรียบเสมอกันหลังปั่นดินอีกรอบ เพื่อควบคุมระดับน้ำในนา..ให้สังเกตว่าฟางเริ่มเปื่อยและยุ่ยแล้ว




16 - ข้าวที่ขึ้นจากตอซัง ลักษณะดินจะฟู ร่วนซุยและจะมีขุยจากขี้ไส้เดือนให้เห็นทั่วแปลงนา




17


18


19


20


21

17 – 21 ผลของข้าวที่งอกจากตอซังหรือผลของการทำข้าวล้มตอ




22


23


24

22 – 24 ข้าวเริ่มสุกแต่ใบธงยังเขียวอยู่ ถ้ายังหารถเกี่ยวไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เมล็ดจะไม่ลีบ ใบยังมีการสังเคราะห์แสงอยู่ตลอด และเลี้ยงไปยังเมล็ดข้าว




25


26

25 – 26 ข้าวสุกเสมอกัน

นาแปลงนี้ต้นทุนต่อไร่ รวมค่าข้าวพันธุ์ + ค่าปุ๋ย + ค่ารถเกี่ยว ต้นทุนประมาณ 2,000 บาทต้นๆ

ได้ข้าวมาไร่ละ 100 กว่าถัง เนื้อที่นาจำนวน 28 ไร่ ได้ผลผลิตมา 32 ตัน(เกวียน) ได้เกวียนละ 15,000 บาท รวมแล้วก็ 480,000

หักต้นทุนไร่ละ 2,000 x 28 = 56,000 ก็เหลือกำไร 424,000 บาท

ลองคำนวณกันเล่นๆ ว่าถ้าสีเป็นข้าวกล้องขายเอง กก.ละ 60 บาท จะได้ซักเท่าไหร่ (ข้าวเปลือก 1 เกวียนหรือ 1,000 กก. สีเป็นข้าวกล้องได้ประมาณ 600 กก..ๆ ละ 60 บาทจะได้เป็นเงินเท่าไหร่ ลองคิดดูเองครับ)

แล้วถ้าเกิดว่านาแปลงนี้ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ล่ะจ๊ะ

มีแง่คิดสำหรับพี่น้องเกษตรกรไทยที่ทำนา คือ ไม่อยากให้มอง หรือมุ่งหวังที่ผลผลิต แต่อยากให้มองที่การลดต้นทุนก่อนและทำให้ดินดีขึ้น (ทำอย่างไรจึงจะลดต้นทุน และทำอย่างไรจะให้ดินดีขึ้น) ต่อจากนั้นผลผลิตจะเป็นของแถมที่จะตามมา

ขอบคุณครับ


....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 31/07/2013 8:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:




22


23


24

22 – 24 ข้าวเริ่มสุกแต่ใบธงยังเขียวอยู่ ถ้ายังหารถเกี่ยวไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เมล็ดจะไม่ลีบ ใบยังมีการสังเคราะห์แสงอยู่ตลอด และเลี้ยงไปยังเมล็ดข้าว

COMMENT :
หลักการและเหตุผล :
- เมล็ดข้าวแก่เรียงลำดับจากปลายรวงมาหาโคนรวง
- วันที่รวงเริ่มก้ม เมล็ดปลายรวงแก่แล้ว ใบธงเริ่มเหลือง นั่นคือหมดอายุขัย บ๊ายบาย
- ใบธงบ๊ายบายแล้ว เมล็ดโคนรวงไม่มีใครสังเคราะห์อาหารให้เลยเป็น "เมล็ดลีบ" ไง

- Mg สร้างคลอโรฟีลด์ ใบธงจะเขียวยันวันเกี่ยว เมล็ดโคนรวงได้สารอาหารจนเป็นเมล็ดเต็มแล้ว ใบยังไม่เลิกสังเคราะห์อาหารเลย

- Zn สร้างแป้ง ถามว่า เนื้อข้าวใช่แป้งมั้ย สาเหตุที่เมล็ดข้าวเป็นท้องไข่ เมล็ดไม่ใส เมล็ดไม่แกร่ง เมล็ดไม่มีน้ำหนัก ก็เพราะขาด Zn นี่แหละ






.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/07/2013 8:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 31/07/2013 8:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:



นาแปลงนี้ต้นทุนต่อไร่ รวมค่าข้าวพันธุ์ + ค่าปุ๋ย + ค่ารถเกี่ยว ต้นทุนประมาณ 2,000 บาทต้นๆ

ได้ข้าวมาไร่ละ 100 กว่าถัง เนื้อที่นาจำนวน 28 ไร่ ได้ผลผลิตมา 32 ตัน(เกวียน) ได้เกวียนละ 15,000 บาท รวมแล้วก็ 480,000

หักต้นทุนไร่ละ 2,000 x 28 = 56,000 ก็เหลือกำไร 424,000 บาท

ลองคำนวณกันเล่นๆ ว่าถ้าสีเป็นข้าวกล้องขายเอง กก.ละ 60 บาท จะได้ซักเท่าไหร่ (ข้าวเปลือก 1 เกวียนหรือ 1,000 กก. สีเป็นข้าวกล้องได้ประมาณ 600 กก..ๆ ละ 60 บาทจะได้เป็นเงินเท่าไหร่ ลองคิดดูเองครับ)

แล้วถ้าเกิดว่านาแปลงนี้ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ล่ะจ๊ะ

COMMENT :
สมการเกษตร (ใหม่) :
ตาคิม บ้า + ลุงแดง โม้ = ?
ถ้ามันได้จริง ชาวนาทำกันทั้งประเทศแล้ว ว่ามั้ย ?

ก็เพราะ คนบ้า + คนโม้ พูดไง เขาถึงไม่เชื่อ....




มีแง่คิดสำหรับพี่น้องเกษตรกรไทยที่ทำนา คือ ไม่อยากให้มอง หรือมุ่งหวังที่ผลผลิต แต่อยากให้มองที่การลดต้นทุนก่อนและทำให้ดินดีขึ้น (ทำอย่างไรจึงจะลดต้นทุน และทำอย่างไรจะให้ดินดีขึ้น) ต่อจากนั้นผลผลิตจะเป็นของแถมที่จะตามมา

COMMENT :
บ้านนี้ในยูเรีย 1 สอบ บ้านกูต้องใส่ 2 สอบ เพราะบ้านกูรวยกว่า
ชาวนา .... ขายข้าวได้ คุยแปดบ้าน แต่ถ้าใครถามต้นทุน หน้าเขียว ไอ้พูดแบบนี้ชกกันดีกว่า

ชาวนารู้ดีว่า "ขาดทุน"
ตาคิมกับลุงแดงต่างหากที่ "ไม่รู้" ว่าเขารู้



ปุจฉา วิสัชนา .... ชาวนาที่ลาดหลุมแก้ว ปุมธานี
พรทิพย์ : ปุ๋ยเคมีน่ะ อย่าใส่มากนักเลย ต้นข้าวไม่ได้กินมากขนาดนั้นหรอก
ชายขี้โม : เออ มึงไม่ใส่ มึงไม่ได้แดกหร็อก

พรทิพย์ : ใส่ แต่กูใส่ไม่มาก
ชายขี้โม้ : ใส่อีกหน่อยซิวะ แค่นี้มันไม่พอ

พรทิพย์ : (เงียบ ไม่เถียง เพราะมั่นใจตัวเองไม่เป็นหนี้ แต่คนบอกหนี้เต็มบ้าน)
ชายขี้โม้ : มึงเชื่อกูอีทิพย์ มึงเชื่อกู

พรทิพย์ : (ฉุน...) กูเชื่อมึง กูก็เป็นหนี้เหมือนมึงน่ะซี
ชายขี้โม้ : (เงียบ....เดินหนีไปเลย)





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 31/07/2013 10:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[quote="kimzagass"]
DangSalaya บันทึก:



นาแปลงนี้ต้นทุนต่อไร่ รวมค่าข้าวพันธุ์ + ค่าปุ๋ย + ค่ารถเกี่ยว ต้นทุนประมาณ 2,000 บาทต้นๆ

ได้ข้าวมาไร่ละ 100 กว่าถัง เนื้อที่นาจำนวน 28 ไร่ ได้ผลผลิตมา 32 ตัน(เกวียน) ได้เกวียนละ 15,000 บาท รวมแล้วก็ 480,000

หักต้นทุนไร่ละ 2,000 x 28 = 56,000 ก็เหลือกำไร 424,000 บาท

ลองคำนวณกันเล่นๆ ว่าถ้าสีเป็นข้าวกล้องขายเอง กก.ละ 60 บาท จะได้ซักเท่าไหร่ (ข้าวเปลือก 1 เกวียนหรือ 1,000 กก. สีเป็นข้าวกล้องได้ประมาณ 600 กก..ๆ ละ 60 บาทจะได้เป็นเงินเท่าไหร่ ลองคิดดูเองครับ)

แล้วถ้าเกิดว่านาแปลงนี้ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ล่ะจ๊ะ

COMMENT :
สมการเกษตร (ใหม่) :
ตาคิม บ้า + ลุงแดง โม้ = ?
ถ้ามันได้จริง ชาวนาทำกันทั้งประเทศแล้ว ว่ามั้ย ?

ก็เพราะ คนบ้า + คนโม้ พูดไง เขาถึงไม่เชื่อ....



ดูรูปต่อกันอีกซักนี๊ดนะครับลุง




(1) ก่อนเกี่ยว ฮ่ะ





(2) รวงยาวแค่เนี๊ยละฮ่ะ





(3) มันเป็นอย่างนี้ละฮ่ะ





(4) เมล็ดสวยมั๊ยสวยดูเอาเองนะฮ๊า





(5) ว่าจะไม่เผยโฉมเจ้าของนาตัวจริงแล้วเชียวนะฮ๊า นี่แหละฮ่า พี่สมพงศ์ เจ้าของนาแปลงนี้ตัวจริงฮ่า





(6) นาแปลงนี้อยู่ บางไทรฮ่า ....พี่สมพงศ์บอกว่า ..ทำนาเคมี เป็นหนี้มาตั้งแต่รุ่นปู่....นาแทบจะโดนยึด ....ทำนาอินทรีย์ ทั้งหนี้ก็ใช้หมด แถมเชิญโฉนดกกลับบ้านได้อีกด้วย

ไหนใครบอกว่าทำนาอินทรีย์ ไม่ได้กินข้าวยังไงล่ะ

เชื่อหรือไม่เชื่อตามใจ...แล้วเป็นหนี่ต่อไปเถิดพี่น้องเอ๋ยยยยยย......

-----

มีแง่คิดสำหรับพี่น้องเกษตรกรไทยที่ทำนา คือ ไม่อยากให้มอง หรือมุ่งหวังที่ผลผลิต แต่อยากให้มองที่การลดต้นทุนก่อนและทำให้ดินดีขึ้น (ทำอย่างไรจึงจะลดต้นทุน และทำอย่างไรจะให้ดินดีขึ้น) ต่อจากนั้นผลผลิตจะเป็นของแถมที่จะตามมา

COMMENT :
บ้านนี้ใส่ยูเรีย 1 สอบ บ้านกูต้องใส่ 2 สอบ เพราะบ้านกูรวยกว่า



จุ๊ ๆ ลุงอย่าอึงไป...ยัยถนอมข้างบ้านผมใส่ยูเรีย 2 สอบครึ่งแน่ะ ความแตกตอนที่ รัดถะบาน ลดราคารับจำนำจาก 15,000 เหลือ 12,000 ....ข้าวรุ่นที่ผ่านมายังคงรักษาระดับ แชมป์ เท่าเดิม 8 ไร่ 5.5 เกวียน

ชาวนา .... ขายข้าวได้ คุยแปดบ้าน แต่ถ้าใครถามต้นทุน หน้าเขียว ไอ้พูดแบบนี้ชกกันดีกว่า

ชาวนารู้ดีว่า "ขาดทุน"
ตาคิมกับลุงแดงต่างหากที่ "ไม่รู้" ว่าเขารู้

ลุงไม่รู้เหรอครับว่า ผมน่ะ ทั้งโง่ ทั้งเซ่อ แล้วก็บ้า ....เอาน่าครับ ขอทำแบบบ้า ๆ ต่อไป ตั้งความหวังไว้ว่า ได้ 150 ถัง/ไร่(ต้นทุนไม่เกิน 2,000)เมื่อไหร่ จะให้เจ๊ใหญ่แก้ผ้ารำถวายเจ้าที่ให้ดู....รับรองมีคลิปมาให้ดูด้วย..เหอ ๆๆๆ

ปุจฉา วิสัชนา .... ชาวนาที่ลาดหลุมแก้ว ปุมธานี
พรทิพย์ : ปุ๋ยเคมีน่ะ อย่าใส่มากนักเลย ต้นข้าวไม่ได้กินมากขนาดนั้นหรอก
ชายขี้โม้ : เออ มึงไม่ใส่ มึงไม่ได้แดกหร็อก

พรทิพย์ : ใส่ แต่กูใส่ไม่มาก
ชายขี้โม้ : ใส่อีกหน่อยซิวะ แค่นี้มันไม่พอ

พรทิพย์ : (เงียบ ไม่เถียง เพราะมั่นใจตัวเองไม่เป็นหนี้ แต่คนบอกหนี้เต็มบ้าน)
ชายขี้โม้ : มึงเชื่อกูอีทิพย์ มึงเชื่อกู

พรทิพย์ : (ฉุน...) กูเชื่อมึง กูก็เป็นหนี้เหมือนมึงน่ะซี
ชายขี้โม้ : (เงียบ....เดินหนีไปเลย)
[/color]





ขอบคุณคร๊าบบบบบ...

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 01/08/2013 9:50 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 01/08/2013 7:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:





(6) นาแปลงนี้อยู่ บางไทรฮ่า ....พี่สมพงศ์บอกว่า ..ทำนาเคมี เป็นหนี้มาตั้งแต่รุ่นปู่....นาแทบจะโดนยึด ....ทำนาอินทรีย์ ทั้งหนี้ก็ใช้หมด แถมเชิญโฉนดกกลับบ้านได้อีกด้วย

ไหนใครบอกว่าทำนาอินทรีย์ ไม่ได้กินข้าวยังไงล่ะ
COMMENT :
เกษตรานุสติ :

- เรื่องนี้จริง 99.99 เศษ 44/100% ..... แน่ยิ่งกว่าแช่แป้ง .... ชัวร์ป้าด ....
- อ่านแล้ว คิด/วิเคราะห์/เฉลียว จริงได้ไง ? แช่แป้งได้ไง ? ชั่วร์ได้ไง ?
- ค้นหาคำตอบให้ได้ว่า .... จริง/ไม่จริง เพราะอะไร ? แช่แป้ง/ไม่แช่แป้ง เพราะอะไร ? ชั่วร์/ไม่ชัวร์ เพราะอะไร ?

- ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ .... COPPY ไม่ได้ แต่ APPLY ได้
- ดินเขา/ดินเรา, น้ำเขา/น้ำเรา, จุลินทรีย์เขา/จุลินทรีย์เรา, ปัจจัยเสริม ปัจจัยต้าน ของเขา/ของเรา, ฯลฯ ของเรา/ของเรา

- คำว่า "อินทรีย์" หมายรวมถึง "อินทรีย์วัตถุ + จุลินทรีย์" .... อินทรีย์วัตถุ หมายถึง "เศษซากพืช เศษซากสัตว์" เป็นแหล่งกำเนิดสารอาหารพืช เป็นสิ่งไม่มีชีวิต .... จุลินทรีย์ เป็นผู้เปลี่ยนรูปทางฟิสิกส์ (กายภาพ) ให้อินทรีย์วัตถุเปลี่ยนรูปมาเป็น "สารอาหาร" .... อุปมา อุปมัย แม่ครัว กับ ข้าวสารในถัง ปลาในบ่อ ตัวแม่ครัวกินไม่ได้ ข้าวสารอยู่ในถังหรือปลาในบ่อ ก็ยังกินไม่ได้ ต่อเมื่อแม่ครัวนำ ข้าวสารในถังมาหุง นำปลาในบ่อมาปรุง นั่นแหละจึงกินได้ ฉันใดก็ฉันนั้น

- นักส่งเสริม (บางคน) บอกลอยๆ ว่าใส่จุลินทรีย์แล้วต้นไม้ต้นพืชเจริญเติบโตได้ โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ย ทำราวกับว่า จุลินทรีย์ คือ ตัวหลักที่ทำให้ต้นไม้ต้นพืชเจริญเติบโตได้ ทั้งๆ ที่ไม่ได้ให้สารอาหารใดๆ

- นาข้าวบางแปลงใช้อินทรีย์แบบ "ไม่มีหลักวิชาการ" รองรับแล้วได้ผล นั่นเพราะจุลินทรีย์ในอินทรีย์เป็นผู้ดึงสารอาหาร (ปุ๋ย) ที่เคยเหลือตกค้างในดิน (ใส่เกิน หรือ ดินตรึงไว้) ให้ออกมาเป็นประโยชน์แก่ต้นข้าว กรณีนี้จะได้ผลเพียง 1-2-3 รุ่น ครั้นเมื่อสารอาหารที่เคยตกค้างหมดไป ต้นพืชก็จะไม่เจริญเจริญเติบโตเพราะไม่มีสารอาหารนั่นเอง แนวทางแก้ไขคือใส่ เพิ่ม/เสริม/เติม/บวก สารอาหารลงไปตามความเหมาะสมและจำเป็นของต้นข้าว

- ประวัติดิน คือ สิ่งที่ผู้เลือกใช้อินทรีย์ต้องรู้ว่า ในเนื้อดินของตัวเองได้ "สะสม" อะไรที่จะเป็นประโยชน์ต่อต้นข้าวไว้บ้าง จากนั้นจึงพิจารณา เพิ่ม/ลด ตามความเหมาะสม

- ดินที่เคยสะสมสิ่งที่เรียกว่า "เป็นพิษ" ไว้มากหรือน้อย ระยะเวลาสั้นหรือยาว จุลินทรีย์สามารถแก้ไขได้ เพียงแต่ต้องใช้ระยะเวลาต่างกันหน่อยเท่านั้น .... เหมือนคนไม่สบาย ไป ร.พ. หมอวินิจฉัยโรคคนเดียวกัน เป็นโรคอย่างเดียวกัน กินยาตัวเดียวกัน นอน ร.พ.เตียงคู่กัน คนหนึ่งหายเร็ว คนหนึ่งหายช้า ก็เพราะความรุนแรงของเชื้อโรคกับภูมิต้านทานในร่างกายของทั้งสองคนไม่เท่ากัน นั่นเอง


สรป :
- จุลินทรีย์ ไม่ใช่สารอาหาร (ปุ๋ย) .... ชื่อ คีโตเมียม ไรโซเบียม ไมโครไรซ่า แอ็คติโนมัยซิส บาซิลลัสส์ ฯลฯ เป็นสิ่งมีชีวิต เกิด/กิน/แก่/เจ็บ/ตาย/ขยายพันธุ์ ได้
- สารอาหาร (ปุ๋ย) ไม่ใช่จุลินทรีย์ ชื่อ ไนโตรเจน ฟอสฟอร์รัส โปเแตสเซียม แคลเซียม แม็กเนเซียม ฯลฯ เป็นสิ่งไม่มีชีวิต เกิด/กิน/แก่/เจ็บ/ตาย/ขยายพันธุ์ ไม่ได้

คลิก :
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3647#24826
น้ำหมักฯ สูตรปราชญ์ชาวบ้าน...


เข้าสู่อินทรีย์อย่างมีสติ :
- ใส่อินทรีย์ (ชนิดน้ำเพียวๆ, ชนิดแห้งเพียวๆ, หรือ ชนิดน้ำ + ชนิดแห้ง) ลงไปในนาแล้ว ไถพรวนตีเทือกให้คลุกเคล้าเข้ากับเนื้อดินดีแล้ว ควรทิ้งไว้นาน 1-2-3 เดือน เหมือนการ "บ่มดิน" เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ดำเนินการตามแบบฉบับธรรมชาติของจุลินทรีย์จึงลงมือปลูกข้าว ... อินทรีย์ (น้ำ-แห้ง...มีจุลินทรีย์) แม้จะผ่านกระบวนการเอ็นไซม์มาอย่างถูกต้องแล้ว ผ่านการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทัศน์แล้ว เมื่อใส่ลงไปในดินก็ยังต้องให้เวลาแก่จุลินทรีย์ เพราะสภาพแวดล้อม (อินทรีย์วัตถุ ดิน น้ำ อากาศ อุณหภูมิ พีเอช) ในดินซึ่งเป็นที่อยู่ใหม่ แตกต่างจากสภาพแวดล้อมเดิมที่เป็นแหล่งกำเนิดอย่างสิ้นเชิง ถ้าสภาพแวดล้อมใหม่เหมาะสมอาจจะใช้ระยะเวลาไม่มากนัก แต่หากสภาพแวดล้อมใหม่ไม่เหมาะสมคงต้องใช้ระยะเวลานานขึ้น เรียกว่า การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม นั่นเอง

- เมื่อไม่มั่นใจว่า "ระบบ (เน้นย้ำคำว่า...ระบบ) อินทรีย์" ในแปลงนามีความพร้อม 100% หรือไม่ จึงไม่ควรยึดอินทรีย์อย่างเดียวเดี่ยวๆ แต่ให้พิจารณา "เคมี" เข้าร่วมด้วย แบบ "อินทรีย์ + เคมี" ตามความเหมาะสมของต้นข้าว

- ในอินทรีย์มีทั้ง เสริมและต้าน ต่อต้นข้าว ต้องพิจารณาวิธีบริหารจัดการต่อส่วนที่เป็นปัจจัยเสริม พร้อมกับขจัดส่วนที่เป็นปัจจัยต้าน

- วิเคราะห์ทุกอย่างด้วย เหตุและผล ว่า ใช่หรือไม่ใช่ ใช่เพราะอะไรจึงใช่ ไม่ใช่เพราะอะไรจึงไม่ใช่ แม่นสูตรและแม่นหลักการ นั่นเอง

- ระวัง ! .... อินทรีย์ตกขอบ เคมีบ้าเลือด




มีแง่คิดสำหรับพี่น้องเกษตรกรไทยที่ทำนา คือ ไม่อยากให้มอง หรือมุ่งหวังที่ผลผลิต แต่อยากให้มองที่การลดต้นทุนก่อนและทำให้ดินดีขึ้น (ทำอย่างไรจึงจะลดต้นทุน และทำอย่างไรจะให้ดินดีขึ้น) ต่อจากนั้นผลผลิตจะเป็นของแถมที่จะตามมา
COMMENT :
ต้นไม้ ต้นพืช ต้นข้าว ไม่รู้จักต้นทุน คนต่างหากที่ทุ่มทุนลงไปโดย ไม่รู้/ไม่คิด/ไม่เฉลียว ว่า ต้นข้าว ต้นพืช ต้นไม้ ต้องการหรือจำเป็นหรือไม่ สุดท้ายจึงกลายเป็น "ต้นทุนสูญเปล่า"





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©