kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 13/11/2013 8:38 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 13 NOV *บำรุงมะม่วง,ความรู้กล้วยน้ำว้า |
|
|
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 13 NOV
AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)
********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์,
กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต,
ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ เคมี)
1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2 )คุณชาตรี (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)
3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) คุณล่า (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี
5) คุณประเสริฐ (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) คุณอรุณ (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.
7) คุณพรพรรณ (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) คุณน้ำส้ม (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
จาก : (098) 362-27xx
ข้อความ : ลุงคิมคะ มะม่วงน้ำดอกไม้ เขียวเสวย วันนี้ใบกลางอ่อนกลางแก่ เต็มต้น บำรุงอย่างไรต่อไปให้ออกดอกคะ .... บ้านจัดสรร
ตอบ :
- ถ้าต้นมี ความสมบูรณ์สะสม เพียงพอ ทั้งนี้ตรวจสอบจากประวัติการบำรุง ตั้งช่วงระหว่างมีผลบนต้นรุ่นที่แล้ว ต่อเนื่องช่วงระหว่างที่ไม่มีผลบนต้น (พักต้น) ว่าได้บำรุงอย่างไร มากน้อย สม่ำเสมอ หรือไม่เพียงใด โดยเฉพาะการสะสม สังกะสี. กับ โบรอน ทั้งทางรากและทางใบ ถ้ามั่นใจว่า ความสมบูรณ์สะสม พร้อมให้บำรุงต่อเพื่อเอาดอกได้เลย
** น้ำดอกไม้ (เบา) ใช้ น้ำ 20 ล. + ไทเป 20 ซีซี. + 13-0-46 (2-3 ช้อน) ....
** เขียวเสวย (หนัก) ใช้ น้ำ 20 ล. + 13-0-46 (250 กรัม) + ไธโอยูเรีย (0.5 กรัม) ....
- ทั้งสองสายพันธุ์ (รวมสายพันธุ์อื่นด้วย) ให้ 2-3 รอบ ทุก 5 วัน จังหวะนี้ยังไม่ต้องให้น้ำ
ดอกออกมาแล้ว บำรุงดอกตามสภาพอากาศ .... มีฝนให้ น้ำ 20 ล. + 0-52-34 (200 ซีซี.) .... ไม่มีฝนให้ น้ำ 20 ล. + 15-30-15 (2-3 ช้อนโต๊ะ) สลับด้วย เอ็นเอเอ กับ แคลเซียม โบรอน อย่างละ 1-2 รอบ จังหวะนี้ให้น้ำพอต้นรู้สึก
- ดอกออกมาแล้ว ป้องกันเพลี้ยจั๊กจั้นเข้าทำลายดอก ฉีดพ่นสมุนไพร ขมจัด-เบื่อเมา-เผ็ด ให้เปียกโชกไต้ใบบนใบทั่วทรงพุ่ม ฉีดพ่นตอนเย็นบ่อยๆ
ในมะม่วงต้นเดียวกัน ออกดอกห่างกัน 1 อาทิตย์ พออนุโลมเป็นรุ่นเดียวกันได้ บำรุงควบกันไปเลย แต่ถ้าออกดอกห่างกันเกิน 15-20 วันขึ้นไป อายุดอกที่ต่างกันแม้จะบำรุงควบกันไปเลย แต่เมื่อดอกติดเป็นผลแล้ว อายุผลจะต่างกันจนแก่ไม่พร้อมกัน กรณีนี้
** ผลมะม่วงต่างรุ่นในต้นเดียวกัน เป็นมะม่วงกินดิบให้บำรุงด้วยสูตร ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ ทั้งทางใบและทางรากตามปกติ เมื่อผลโตต้องการแล้วเก็บได้เลย โดยไม่ต้องเร่งหวาน ส่วนจะเป็นลูกเล็กหรือลูกใหญ่ก็ว่ากันไป
- ทางใบ : ไบโออิ + ยูเรก้า 412 สลับกับ แคลเซียม โบรอน สม่ำเสมอ
- ทางราก : 21-7-14 เดือนละครั้ง ทั้งลูกเล็กลูกใหญ่จะโตได้เหมือนๆกัน นอกจากลูกโตแล้ว ยังได้คุณภาพที่เรียกว่า รสจัดจ้าน อีกด้วย
** ผลมะม่วงต่างรุ่นในต้นเดียวกัน เป็นมะม่วงกินสุกก็ต้องบำรุงเร่งผลแก่ก่อนเก็บ เมื่อผลรุ่นแรกเริ่มแก่ให้เก็บได้แล้ว โดย ....
- ทางใบด้วย 0-21-74 ให้ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บ 5-7 วัน
- ทางรากด้วย 13-13-21 ใส่ครั้งเดียวพร้อมให้น้ำ เพื่อละลายปุ๋ย แล้วงดน้ำเด็ดขาด จนเก็บ
@@ ต้นสะสมความสมบูรณ์ไม่เพียงพอ :
- ทางใบ : ไบโออิ + 0-42-46 สลับ แคลเซียม โบรอน
ทางราก : ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูดป่น, ขี้วัวขี้ไกแกลบดิบ, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24, 8-24-24 (ครึ่ง กก.ต้นแล็ก, 1 กก.ต้น กลาง, 2 กก. ต้นใหญ่) ให้น้ำสม่ำเสมอ เตรียมปรับ ซี/เอ็น เรโช
หมายเหตุ :
- เกษตรกรบ้านจัดสรร คิดจะเล่นมะม่วงก็น่าจะเลือกมะม่วงพันธุ์เบา ที่ออกดอกง่ายๆ เช่น น้ำดอกไม้ โชคอนันต์ ทะวายใหญ่ หนองแซง ทะวายเดือนเก้า สามฤดู กับมะม่วงพันธุ์ทะวายอื่นๆอีกหลากหลายสายพันธุ์
- ทำมะม่วงแฟนซี ในต้นเดียวกันใส่มะม่วงพันธุ์เบาลงไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
---------------------------------------------------------------------------------------------------
จาก : (081) 823-92xx
ข้อความ : ลุงคิมคะ อยากได้ความรู้เรื่องกล้วยน้ำว้า จะเพิ่มพื้นที่ปลูกเป็น 4 ไร่ ตอนนี้ปลูกไว้รอบบ่อ 200 ต้น ต้นเดิมปลูกมานานแล้ว 4-5 ปี กับต้นแยกหน่อไปปลูกใหม่ มีเมล็ด ทานแล้วน่ารำคาญ แก้ไขยังไงคะ .... ฟังทุกวันค่ะ
ตอบ :
- ไม่เกี่ยวกับ แยกหน่อหรือไม่แยกหน่อ ไปปลูกใหม่หรอกนะ ยิ่งแยกหน่อยิ่งปลูกใหม่ยิ่งมากขึ้น จากกอสองกอ ต้นสองต้นคราวนี้เต็มบ้านเลย นั่นเป็นที่สายพันธุ์ต่างหาก แสดงว่ากล้วยต้นนั้นมีสายเลือด (เหมือนคน) ของกล้วยป่าปนอยู่ แก้ไขไม่ได้ ถอนทิ้ง เลิกปลูกต่อ หาต้นพันธุ์ใหม่ .... กล้วยน้ำว่าแนะนำสายพันธุ์ มะลิอ่อง. ไส้แดง. นวลจันทร์.
- กล้วยน้ำว้าปลูก ได้ทุกพื้นที่ ทุฤดูกาล ชอบดินเหนียว มีอินทรีย์วัตถุมากๆ เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินที่มีความชื้นสูงจนถึงแฉะ มีลักษณะทางสายพันธุ์ใกล้เคียงกับกล้วยป่า ถ้าได้รับการผสมเกสรกับกล้วยป่า ผลของกล้วยน้ำว้าต้นนั้นจะมีเมล็ด
- ปลูกลึกให้เหง้าต่ำกว่าผิวดิน 20-30 ซม. จะช่วยให้โตเร็ว ได้เหง้า โคนต้นขนาดใหญ่ .... เหง้าใหญ่ ต้นใหญ่ จะให้เครือใหญ่ หวีใหญ่ แต่ละหวีลูกมาก แต่ละลูกขนาดใหญ่
- ก่อนนำลงปลูกให้ตัดรากที่ติดมากับเหง้าทิ้งทั้งหมด เพราะรากเดิมไม่งอกต่อแต่จะเน่าแล้วแทงรากใหม่ออกมาแทน
- แช่เหง้าที่ตัดราก ทำความสะอาดแล้ว ในสารไคตินไคโตซานนาน 6-12 ชม. ก่อนนำลงปลูก นอกจากช่วยให้ต้นได้สะสมสารอาหารไว้ในเหง้าก่อนแล้ว ยังส่งผลให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรง โตเร็ว ให้ผลผลิตดีอีกด้วย
- นำหน่อลงปลูกแล้วกดดินให้แน่น พูนโคนต้นด้วยดินข้างหลุม คลุมหลุมปลูกหนาๆ กว้างเต็มพื้นที่ทรงพุ่มด้วยเศษหญ้าแห้ง
- กล้วยน้ำว้าต้องการน้ำมาก สม่ำเสมอ จึงไม่ควรให้หน้าดินถูกแดดจนแห้ง ถ้าต้นขาดน้ำ หรือมีความชุ่มชื้นน้อยจะชะงักการเจริญเติบโต
- คุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่ง คือ ทนทานต่อน้ำขังแฉะได้นาน
- อายุตั้งแต่เริ่มปลูกถึงตัดเครือ 14 เดือนครึ่ง (เริ่มปลูกถึงแทงปลี 250-260 วัน แทงปลีถึงตัดเครือ 110-120 วัน) สภาพอากาศหนาวจะแทงปลีและตัดเครือช้ากว่าสภาพอากาศร้อน
- อายุต้นหลังปลูก 3-4 เดือนจะเริ่มแทงหน่อ เมื่อหน่อสูง 50-80 ซม. ให้ตัดหน่อเหลือตอสูงจากพื้น 15-20 ซม. และตัดซ้ำทุกครั้งที่หน่อสูง 50-80 ซม. โดยให้รอยตัดครั้งหลังสูงกว่ารอยตัดครั้งก่อน 5-10 ซม. เสมอ จนกระทั่งต้นแม่อายุ 7-8 เดือน ให้เลือกหน่อชิด 1-2 หน่อ เพื่อแทนต้นแม่หลังจากตัดเครือและล้มต้นแม่แล้ว หน่อที่เลือกไว้นี้ไม่ต้องตัดต้น ส่วนหน่อตามหรือหน่ออื่นๆ ให้ตัดตามปกติ
- การไว้หน่อเพื่อแทนต้นแม่สำหรับเป็นกล้วยรุ่นปีต่อไป หน่อแต่ละรุ่นควรมีอายุห่างกัน 4-5 เดือน เสมอ
- ช่วงที่ยังไม่แทงปลีให้เลี้ยงใบไว้ทั้งหมด เมื่อถึงช่วงแทงปลี ออกเครือแล้วให้มีใบ 10-12 ใบ
- ก่อนแทงปลีจะมีใบธงชูตรงขึ้นมาให้เห็น จังหวะนี้ควรให้ปุ๋ยทางรากด้วย 8-24-24 ควบคู่กับให้ ทางใบด้วย 0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน จะช่วยให้ดอก (ปลี) สมบูรณ์ส่งผลให้ได้จำนวนหวีและจำนวนผล / หวีมากขึ้น
- ระหว่างที่ต้นแม่กำลังแทงปลี ตกเครือ จนถึงตัดเครือ ห้ามขุดแยกหน่อเด็ดขาดเพราะจะทำให้ต้นแม่กระทบกระเทือน แต่ถ้าหน่อสูงใหญ่มากใช้วิธีตัดต้นหน่อให้สั้นลงแทน หลังจากตัดเครือแล้วจึงขุดแยกหน่อได้
- กล้วยน้ำว้าปลูกลึก มีรากมาก อยู่ลึก โคนลำต้นจะค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบขนาดกับกล้วยสายพันธุ์อื่น ช่วงที่ต้นมีเครือขนาดใหญ่ ถ้าต้นตั้งตรงปกติก็ไม่จำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำต้น แต่ถ้าต้นเอียงก็อาจจะต้องมีไม้ค้ำต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม
- กล้วยน้ำว้าแจ็คพอต หมายถึง กล้วยน้ำว้าที่แก่จัดใกล้สุก (ห่าม) หรือสุกพอดีตรงหรือก่อนเล็กน้อยกับช่วงวันเข้าพรรษา ออกพรรษา หรือในพรรษาพอดี การปลูกกล้วยน้ำว้าให้ได้ผลผลิตตรงกับช่วงเทศกาลดังกล่าวทำได้โดย นับระยะอายุจากวันตัดเครือย้อน หลังมาถึงวันที่หน่อเริ่มยืนต้นได้ 14 เดือนครึ่ง ให้ลงมือปลูกหน่อกล้วยที่เตรียมไว้พร้อมแล้วก่อนวันที่หน่อเริ่มยืนต้นได้ 10-15 วัน จากนั้นปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนปกติ กล้วยน้ำว้าต้นนั้นก็จะมีเครือให้ตัดได้ในอีก 14 เดือนครึ่งต่อมาพอดี
** เทคนิคเฉพาะกล้วยน้ำว้า :
- ถูกกันมากๆ กับน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ให้เดือนละครั้ง
- คลุมโคนต้นด้วยผักปอด สด/แห้ง โรยทับด้วยยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์. ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, แล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง
- ผลในเครือแก่จากโคนไปหาปลาย เมื่อจำนวนหวีแก่ได้ 3 ใน 4 ของเครือ ใบธงเริ่มเหลือง บอกสัญญานหมดอายุขัย เลิกสังเคราะห์อาหาร ในขณะที่หวี 1 ใน 4 ที่ปลายเครือยังไม่แก่ ป้องกันไม่ให้ใบธงหมดอายุขัย บำรุงด้วย แม็กเนเซียม (ไบโออิ) สม่ำเสมอ ใบธงจะเขียวถึงวันตัดเครือ
------------------------------------------------------------------------------------------------------
. |
|