-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 10 JAN *เกษตรท่องเที่ยว, สับปะรด 40 ไร่
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 11 JAN สายพันธุ์มะละกอ, พิสูจน์จุลินทรีย์
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 11 JAN สายพันธุ์มะละกอ, พิสูจน์จุลินทรีย์

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11571

ตอบตอบ: 11/01/2014 8:40 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 11 JAN สายพันธุ์มะละกอ, พิสูจน์จุลินทรี ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 11 JAN
AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์,
กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต,
ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

---------------------------------------------------------------------------------------------------------


ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2 )“คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : (098) 723-03xx
ข้อความ : ซื้อมะละกอสุกมาจากตลาด บางลูกมีเมล็ด บางลูกไม่มีเมล็ด พันธุ์เดียวกันเพราะรูปทรงเหมือนกัน ถามว่าเป็นเพราะอะไร หรือบำรุงอย่างไรจึงไม่มีเมล็ด ....มะละกอ ลพบุรี
ตอบ :
- อาการมีเมล็ดหรือไม่มีเมล็ด เป็นเรื่องของ “สรีระวิทยาพืช” ตอนที่เกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมีย ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สมบูรณ์หรือสภาพอากาศ (อุณหภูมิ) ไม่เหมาะสมมาผสมกันแล้วเกิดเป็นผลขึ้นมา เรื่องแบบนี้เกินปัญญามนุษย์อย่างเราจะพึงทำได้ สรุปก็คือ เป็นเรื่องทางธรรมชาติของพืช

- การมีเมล็ดหรือไม่มีเมล็ด ไม่สำคัญเท่า “คุณภาพ” ที่ออกมา อาการมีมล็ดหรือไม่มีเมล็ดส่วนหนึ่งอาจเกิดจากความสมบูรณ์ก็ได้ .... กรณีศึกษา เช่น :

** การช่วยผสมเกสรฝรั่งด้วยมือ มีให้เห็นในฝรั่งบางสายพันธุ์ จากเมล็ดมากเป็นเมล็ดน้อย
** บำรุงด้วยสูตร “ขยายขนาด หยุดเมล็ด สร้างเนื้อ” ในไม้ผลหลายอย่างมีให้เห็นบ่อยๆ จากเมล็ดใหญ่กลายเป็นเมล็ดเล็ก จากเมล็ดเล็กกลายเป็นเมล็ดลีบ
** บำรุงด้วยแคลเซียม โบรอน บ่อยๆ สม่ำเสมอ ทำให้เนื้อมากขึ้น ในขณะที่ขนาดเมล็ดยังเท่าเดิม นั่นคือเมล็ดเล็ก

@@ บำรุงมะละกอ :
** ทางใบ : ให้สูตรสหประชาติ “น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 30 ซีซี. + ไทเป 30 ซีซี. + ยูเรก้า 412 (30 ซีซี.) + สารสมุนไพร 1-2 ล.” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

** ทางราก : ใส่ยิบซั่ม ธันดอร์พลัสส์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ 6 เดือน/ครั้ง, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) +8-24-24 (2 กก.) สลับเดือนกับ น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) +21-7-14 (2 กก.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว เพราะรากมะละกอแผ่กระจายไปทั่วแปลง

หมายเหตุ :
- ปลูกมะละกอหลุมเดียว 3 ต้น เลี้ยงจนโตให้ผลรู้ว่าต้นไหน ตัวผู้ ตัวเมีย กระเทย แล้วตัดทิ้งต้นตัวผู้ ส่วนต้นตัวเมียไว้ก็ได้ทิ้งก็ได้ ถ้าเป็นต้นกระเทยทั้ง 3 ต้น เอาไว้ทั้ง 3 ต้น โตขึ้นทั้ง 3 ต้นจะกางออกจากันเอง .... หรือตัดตอต้นตัวผู้ทุกต้น ตัดต้นตัวเมียทุกต้น แล้วเรียกยอด พร้อมกับตัดต้นกระเทย 1 ต้นเรียกยอดเหมือนกัน ยอดโตแล้วเอายอดกระเทยไปเสียบให้กับยอดตัวผู้ ยอดตัวเมีย ต้นละ 1 ยอด โตขึ้นก็จะได้ต้นกระเทยตามยอดที่เอามาเสียบ

- ปลูกมะละกอได้ต้นสูงท่วมหัวแล้ว ล้มต้นเอนลงกับพื้น มีไม้ง่ามช่วยรับน้ำหนัก ให้ส่วนยอดสูงกว่าพื้นซัก 1 ศอกแขน ยอดมะละกอต้นนั้นจะชี้ตั้งฉากขึ้นเอง แล้วออกดอกติดลูกตามปกติ ได้ต้มะละกอเตี้ยสูงแค่เอว เก็บง่าย

- ต้นมะละกอสูง 3-5-7 ม. ปีนขึ้นไปตอนที่คอ ต่ำกว่ายอด ครึ่ง ม. ออกรากแล้วตัดลงมาปลูกบนพื้น หรือปลูกในกระถาง รากเดินจะออกดอกออกลูกต่อ ได้มะละกอต้นเตี้ย 1 ม. ออกลูกให้เก็บได้

- มะละกอแฟนซี ตัดตอต้นตัวผู้ หรือต้นตัวเมีย กับตัดตอต้นกระเทยพันธุ์ที่ต้องการ เลี้ยงยอดโตดีแล้ว เอามาเปลี่ยนให้ยอดที่ต้นกระเทย หรือต้นตัวเมีย 1 ยอด 1 สายพันธุ์ 5 ยอด 5 สายพันธุ์ โตขึ้นมีหลายสายพันธุ์บนต้นเดียวตามยอดที่เอามาเสียบ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : (082) 756-82xx
ข้อความ : เราจะรู้อย่างไรว่า จุลินทรีย์ที่ซื้อมามีประสิทธิภาพตามคำโฆษณาหรือไม่ ถ้าบำรุงก่อนใช้งาน จุลินทรีย์ตัวนั้นจะไม่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นหรือไม่....ขอบคุณครับ
ตอบ :
- ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ “ตัวเอง” ว่า มีความรู้เรื่องจุลินทรีย์ แท้จริง มาก/น้อย แค่ไหน ? มีข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ตรงหรือไม่ มาก/น้อย แค่ไหน ?

- ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของ “คนขาย” ว่า มีความรู้ทางวิชาการ, ประสบการณ์ตรง, ผลการใช้ของลูกค้า,

- ตรวจสอบ “จุลินทรีย์” ว่า ชื่อ/ชนิด/กลุ่ม, อายุวันผลิต/วันหมดอายุ, การเก็บรักษา, ภาชนะบรรจุ, รูปลักษณ์ (สี/กลิ่น/กาก/ฝ้า/ฟอง/วุ้น), ราคา, ประเภทเมืองร้อน/เมืองหนาว. สภาพแวดล้อม, ย่อยสลาย, ลักษณะทางธรรมชาติ, วัฏจักรชีวิต,

- ตรวจสอบด้วยตัวเองแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน .... จุลินทรีย์น้ำ ใส่ลงขวดพลาสติก ปิดฝาขวดด้วยลูกโปร่ง เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง แล้วสังเกตุลูกโป่ง 1 – 2 - 3 – 5 – 6 วัน ถ้าลูกโป่งพองโต ช้า/เร็ว คือประสิทธิภาพ ความสมบูรณ์ แข็งแรง และจำนวนจุลินทรีย์ ถ้าลูกโป่งไม่โตไม่พองเลย แสดงว่าไม่มีจุลินทรีย์ .... จุลินทรีย์ผง เตรียมน้ำขยายเชื้อจุลินทรีย์ น้ำ 1 ล. + น้ำมะพร้าว 100-200 ซีซี. ใส่ผงจุลินทรีย์ลงไป เขย่าให้เข้ากันดี เติมอ๊อกซิเจน 24-48-72 ชม. เอาอ๊อกซิเจนออก ปิดปากขวดด้วยลูกโป่ง แล้วสังเกตุลูกโป่ง 1 – 2 - 3 – 5 – 6 วัน ถ้าลูกโปร่งพองโต ช้า/เร็ว คือประสิทธิ ภาพ ความสมบูรณ์ แข็งแรง และจำนวนจุลินทรีย์ ถ้าลูกโป่งไม่โตไม่พองเลย แสดงว่าไม่มีจุลินทรีย์

- จุลินทรีย์ชื่ออะไร เป็นจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ หรือไม่ต้องการอากาศ รู้ได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น
- ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ รู้จากข้อมูลงานวิจัย นักวิชาการอุดมการณ์ (ตรงข้ามกับนักวิชาการเชิงพานิช), รู้ได้ด้วยการใช้จริง

หมายเหตุ :
- จุลินทรีย์ที่ดีที่สุด คือ จุลินทรียประจำถิ่น สวนไหนสวนนั้น แปลงไหนแปลงนั้น ไม้ต้นไหนต้นนั้น....จุลินทรีย์ดี = ต้นไม้งาม, จุลินทรีย์ไม่ดี = ต้นไม่งาม คือคำตอบที่ดีและถูกต้องที่สุด

@@ แหล่งจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ ได้แก่
- บาซิลลัส ซับติลิส. ............. มีอยู่ในตาติดเปลือกสับปะรดสด
- ฟังก์จัย. จินเจียงลินซิส. ........ มีอยู่ในฟางเพาะเห็ด

- คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซา. ..... มีอยู่ในเปลือกถั่วลิสง รากพืชตระกลูลถั่ว
- แอ็คติโนมัยซิส. ......................... มีอยู่ในเหง้า/รากกล้วย มูลสัตว์กินหญ้า

- แล็คโตบาซิลลัส. ...... มีอยู่ในยาคูลท์ โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว
- แฟลงเกีย. ............ มีอยู่ในสนทะเล สนประดิพัทธ์

- แอ็คติโนมัยเกรต. ซีอะโนแบคทีเรีย. อัลเกีย. ฟังก์จัยลิเซ่. ..... เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นได้เองจากดินที่มีสภาพโครงสร้างเป็นกลางดีอย่างต่อเนื่อง และมีอินทรียวัตถุสะสมมานาน

- ไบโอโพลิเมอร์. คลาไมโดโมแนส. ...... มีอยู่ในสาหร่ายน้ำจืด
- นอสท็อก. ............................. มีอยู่ในรากต้นปรง
- อะโซโตแบ็คเตอร์. ..................... มีอยู่ในเหง้าหญ้าขน และหญ้าประเภทหน้าแล้งตายหน้าฝนฟื้น

@@ บทบาทของจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร
1. ย่อยสลาย (กิน) อินทรียวัตถุและอนินทรีย์วัตถุแล้วถ่ายมูลออกมาเรียกว่า "กรดอินทรีย์" ส่วนที่เป็นธาตุอาหารพืชซึ่งอยู่ใน "รูป" ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ได้แก่ ฟลาโวนอยด์. โพลิตินอล. ควินนอยด์. อโรเมติค. ซิลิลิค. ออแกนิค. ส่วนที่เป็นฮอร์ โมนพืช ได้แก่ ออกซิน ได้แก่ ไซโตคินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. เอทธิลิน. อีเทฟอน. อีเทรล. แอบซิสสิค. เอบีเอ. ไอเอเอ. เอ็นเอเอ. ฯลฯ) และส่วนที่เป็นท็อกซิก (เป็นพิษ). ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อโรคพืชได้

2. ปรับค่าความเป็น กรด-ด่าง ของดิน ทำให้ดินเป็นกลาง
3. จับยึดธาตุอาหารพืชจากอากาศไปไว้ในตัวเองแล้วปลดปล่อยให้แก่ต้นพืช

4. ปลดปล่อยปุ๋ยเคมีที่ถูกดิน (กรดจัด) ตรึงไว้ให้ออกมาเป็นประโยชน์แก่ต้นพืช
5. ตรึงปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ลงไปไว้แล้วปลดปล่อยให้ออกมาช้าๆ เพื่อให้พืชได้มีเวลาดูดซับไปใช้งานได้ทันทีและสม่ำเสมอ

6. สลายฤทธิ์สารที่เป็นพิษต่อพืชให้เจือจางลงๆ จนกระทั่งหมดไปในที่สุด
7. กำจัดจุลินทรีย์ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเป็นโทษ (เชื้อโรค) ต่อต้นพืช

8. เกิดได้เองตามธรรมชาติภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

หมายเหตุ :
- จุลินทรีย์กินสารรสหวาน ใส่กากน้ำตาลลงไปให้จุลินทรีย์ประจำถิ่นได้กิน พร้อมกับกับปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เขาจะเจริญพัฒนาเอง

- อยากได้จุลินทรีย์มาใช้กับพืชอะไร ให้เก็บจุลินทรีย์จากพืชเดียวกันนั้น สภาพต้นสมบูรณ์ แข็งแรง มาใส่โคนต้นพืชที่ปลูก

- ต้องการจุลินทรีย์สำหรับย่อยสลายอะไร หาได้จาก “สิ่ง” ที่กำลังเปื่อยยุ่ย ลักษณะอาการเปื่อยยุ่ยนั้นคือผลงานของจุลินทรีย์ เอามาใช้ได้เลย หรือเอามาขยายเชื้อก่อน

-----------------------------------------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©