ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
Pitipol เว็บมาสเตอร์
เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009 ตอบ: 332 ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง
|
ตอบ: 24/02/2010 12:51 am ชื่อกระทู้: "IPM" การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน |
|
|
IPM คืออะไร?
นิยามของ IPM
IPM ย่อมาจากคำว่า "Integrated Pest Management" แปลเป็นไทยได้คือ "การจัดการ
ศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน" แม้ว่า IPM อาจมีคำจำกัดความที่ดูชัดเจนในตัวอยู่แล้ว แต่ก็มักจะมี
ความหมายแตกต่างกันออกไปโดยขึ้นอยู่กับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ ของผู้ใช้ IPM ไม่ได้มีแนว
คิดที่ตายตัว แต่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงมาตลอด
คำจำกัดความของ IPM ตามที่ประกาศไว้โดย คณะมนตรีขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสห
ประชาชาติ (FAO) เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2545 ในหลักสากลตามจรรยาบรรณการผลิต การ
จำหน่าย และการใช้สารป้องกันศัตรูพืชเป็นดังนี้:
การจัดการศัตรูพืชโดยวิธี ผสมผสาน (IPM) หมายถึง การเลือกวิธีควบคุมศัตรูพืชที่
มีอยู่อย่างรอบคอบ แล้วนำมาผสมผสานกัน อย่างเหมาะสม ในการลดปริมาณศัตรูพืช และคงไว้
ซึ่งระดับการใช้สารกำจัดศัตรูพืชหรือการใช้สิ่งแปลกปลอมอื่นๆ อย่างคุ้มค่า และลดหรือหลีกเลี่ยง
อันตรายที่อาจเกิดกับมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม IPM เน้นการปลูกพืชให้แข็งแรง ให้มีการกระทำที่
อาจ รบกวนระบบนิเวศเกษตรน้อยที่สุด และสนับสนุนกลไกการใช้ศัตรูธรรมชาติควบคุมศัตรูพืช
คำจำกัดความของ IPM อีก 3 ประการ นอกเหนือจากที่กล่าวแล้ว คือ :
การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน คือ การใช้วิธีการแบบยั่งยืนเพื่อจัดการกับศัตรูพืช
โดยการรวมวิธีทางชีววิทยา ทางเขตกรรม ทางกายภาพ และการใช้สารเคมีอย่างเหมาะสม เพื่อให้
เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุดทั้งในด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน คือ ระบบการจัดการศัตรูพืช พิจารณาในแง่เศรษฐกิจ
และสังคมของระบบเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง และการเปลี่ยนแปลงประชากรศัตรูพืช
โดยการใช้เทคนิคที่เหมาะสมและเข้ากันได้มากที่สุด ในการควบคุมประชาการศัตรูพืชให้อยู่ต่ำ
กว่าปริมาณระดับเศรษฐกิจ
การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน คือ การใช้เหตุผลอันควรทางด้านเศรษฐกิจและวิธี
การแบบยั่งยืนของระบบการจัดการ พืช ซึ่งประกอบไปด้วยวิธีการทางเขตกรรม ทางชีวภาพ ทาง
พันธุศาสตร์ ทางกลวิธี และทางใช้สารเคมี โดยมุ่งที่จะเพิ่มผลผลิตให้สูงสุดและในขณะเดียวกันก็
คงไว้ซึ่งความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
ประวัตโดยย่อเกี่ยวกับแนวคิดของ IPM
แนวคิดเกี่ยว กับ IPM เริ่มมาจากการควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน คำว่า "การควบคุม" หมาย
ถึงการแก้ปัญหาศัตรูพืชภายหลังที่ปัญหาได้เกิดขึ้นแล้ว
ในภายหลัง ได้มีการใช้คำว่า "การจัดการ" แทนคำว่า "การควบคุม" ซึ่งการจัดการศัตรูพืชได้รวม
ไปถึงการ หลีกเลี่ยง ปัญหาที่เกิดจากศัตรูพืช โดยการจัดการศัตรูพืชมิได้มุ่งที่จะกำจัดศัตรูพืช แต่
ต้องการที่จะรักษาระดับประชาการศัตรูพืชให้อยู่ระดับที่ยอมรับได้
ปัจจุบัน IPM มีความคล้ายคลึงกับคำว่า "Integrated Crop Management" หรือ "การ
จัดการพืชโดยวิธีผสมผสาน" โดยไม่ได้จุดมุ่งหมายเพียงเพื่อลดประชาการศัตรูพืชเท่านั้น แต่ยัง
รวมไปถึงกิจกรรมที่มีผลต่อการเพาะปลูกพืชให้แข็งแรง เช่น การเตรียมดิน การให้น้ำ การให้ปุ๋ย
ฯลฯ
นิยามของคำว่า ศัตรูพืช
คำว่า ศัตรูพืช มักใช้กับสัตว์ที่ทำความเสียหาย หรือรบกวนมนุษย์ สัตว์เลี้ยง พืชปลูก เช่น แมลง
ไร ไส้เดือน หนู นก
เมื่อกล่าวถึง การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน และ การควบคุมศัตรูพืช คำว่า ศัตรูพืชในที่
นี้หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่รวมไปถึง เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัสและสิ่งมีชีวิตที่คล้ายไวรัส และวัชพืช
นิยามอื่นที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน สามารถค้นหาได้ใน อภิธานศัพท์.
หลักการที่สำคัญของ IPM มี 4 ประการ คือ
ปลูกพืชให้แข็งแรง
เข้าใจและรักษาไว้ซึ่งศัตรูธรรมชาติ
ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ
เกษตรกรมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในระบบการจัดการพืช
ปลูกพืชให้แข็งแรง
การปลูกพืชให้แข็งแรงเป็นหัวใจสำคัญในการทำฟาร์ม พืชที่แข็งแรงจะสามารถต้านทานศัตรูพืช
และโรคได้ วิธีการจัดการพืชหลายวิธีมีผลต่อความแข็งแรงของพืช และสามารถใช้ในการจัดการ
ปัญหาของพืชได้ ยกตัวอย่างเช่น :
พันธุ์ดี
เมล็ดและต้นกล้าที่แข็งแรง
การเตรียมดิน
การกำหนดระยะห่างที่เหมาะสม
การให้ปุ๋ย
การให้น้ำอย่างเป็นระบบ
การปลูกพืชหมุนเวียน
การเข้าใจและรักษาไว้ซึ่งศัตรูธรรมชาติ
สิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่ควบคุมทางด้านชีวิทยา (เช่น ตัวเบียน ตัวห้ำ จุลินทรีย์ปรปักษ์) ทำหน้าที่เป็นผู้
ปกป้องพืช เกษตรกรในโครงการ IPM รู้จักผู้ปกป้อง และบทบาทของมัน โดยการสังเกตระบบ
นิเวศน์เกษตรอย่างสม่ำเสมอ และร่วมกันอนุรักษ์ผู้ปกป้องพืช โดยหลีกเลี่ยงการใช้สารกำจัดศัตรู
พืช และสร้างสภาพที่เหมาะสมต่อการแพร่พันธุ์ของพวกมัน
การตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ[/color]
ตรวจ แปลงอย่างสม่ำเสมอ โดยเกษตรกรต้องคอยติดตามสภาพของพืช โดยต้องทราบถึงความ
เป็นไปของแปลง เกษตรกรสามารถตัดสินใจที่จะแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง และลงมือได้ทันที
เกษตรกรมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในระบบการจัดการพืช
เกษตรกรเป็นผู้เชียวชาญในแปลงของตนเอง เข้าใจระบบนิเวศน์เกษตร และสามารถวิเคราะห์
สถานการณ์ของแปลง สามารถดำเนินการปรับปรุงการจัดการพืชโดยอาศัยประสบการณ์ในฟาร์ม
ของตน และมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนเกษตรกรด้วยกัน
ที่มา : http://www.satanswer.com/webboard/index.php?topic=6235.0 _________________ เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Pitipol เว็บมาสเตอร์
เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009 ตอบ: 332 ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง
|
ตอบ: 24/02/2010 1:39 am ชื่อกระทู้: |
|
|
คำพูด: | นักวิจัยบีอาร์ทีศึกษาปัจจัยการแพร่พันธุ์ แตนเบียน เพศเมีย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการควบคุมแมลงวันผลไม้ เผยเคล็ดลับการเพิ่มจำนวนตัวอ่อนแตนเบียนเพศเมีย ต้องให้ตัวผู้มี
การสื่อสารทางเสียงและกลิ่นมากขึ้น เพื่อให้ไข่ของแตนเบียนได้รับการผสม
ปัจจุบันผลไม้ของไทย เช่น มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ และยังเป็นผลไม้ที่คน
ไทยหลายๆ คนชอบรับประทาน และด้วยกระแสความนิยมการรับประทานผักผลไม้ปลอดสารเคมี
การปลูกพืช ผัก ผลไม้จึงมีการใช้หลักการชีววิถีเพิ่มขึ้น โดยการใช้แมลงที่เป็นประโยชน์กำจัด
แมลงศัตรูพืชเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย หนึ่งในแมลงที่เป็น
ประโยชน์ที่คอยทำหน้ากำจัดแมลงที่สร้างความเสียหายให้กับ สวนผลไม้ คือ แตนเบียน
แตนเบียนเพศผู้ แตนเบียนเพศเมีย รศ.ดร.สังวรณ์ กิจทวี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นักวิจัยผู้ศึกษาพฤติกรรมของแตนเบียน กล่าวว่า แตนเบียนจัดเป็นแมลงในกลุ่มเดียวกับผึ้ง ต่อ
แตน ด้วยลักษณะการดำรงชีวิตของแตนเบียนชนิดนี้จะไม่ทำอันตรายต่อคน แต่กลับเป็นเพชรฆาต
ที่ร้ายกาจของแมลงศัตรูพืช ด้วยพฤติกรรมการวางไข่ไว้ในแมลงศัตรูพืช และใช้น้ำเลี้ยงภายในตัว
แมลงเป็นอาหารสำหรับการเจริญเติบโต และทำให้แมลงศัตรูพืชตายในที่สุด ทั้งนี้แตนเบียนใน
ประเทศไทยมีด้วยกันหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีความสามารถในการกำจัดแมลงศัตรูต่างชนิดกัน
แตนเบียนที่ทำหน้าที่กำจัดแมลงศัตรูพืช คือ แตนเบียนเพศเมีย โดยอาวุธที่ร้ายกาจ คืออวัยวะวาง
ไข่เรียวยาว ปลายแหลม คล้ายฉมวกขนาดจิ๋ว สำหรับแทงและวางไข่ในตัวหนอนแมลงวันผลไม้
ทั้งนี้แตนเบียนเพศเมียสามารถค้นหาเป้าหมายในการวางไข่ได้จากการรับกลิ่นสาร เคมีที่ผลิตจาก
ปฏิกิริยาการการสุกเน่าของผลไม้ และเสียงสั่นจากการเคลื่อนไหวของแมลงศัตรูพืช โดยแตน
เบียนแต่ละตัวสามารถวางไข่ได้ตลอดชีวิตประมาณ 100 ฟอง จึงสามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชได้
เป็นจำนวนมาก และเนื่องจาก ปลายอวัยวะวางไข่ แตนเบียนเป็นแมลงที่มีความพิเศษคือมีไข่ที่
สามารถฟักเป็นตัวอ่อนได้โดยไม่ต้องรับการผสมจากตัวผู้ ซึ่งไข่ที่ไม่ได้รับการผสมนี้จะให้ตัวอ่อน
แตนเบียนเพศผู้ ในขณะที่ไข่ที่ได้รับการผสมจะได้ตัวอ่อนแตนเบียนเพศเมีย ดังนั้นปัญหาที่พบ
คือ จำนวนตัวอ่อนที่เกิดขึ้นเป็นเพศผู้เสียส่วนใหญ่ เนื่องจากแตนเบียนเพศเมียจะมุ่งเน้นการวาง
ไข่มากกว่าการผสมพันธุ์กับเพศผู้ ด้วยเหตุนี้ รศ.ดร.สังวรณ์ จึงได้ทำการศึกษาการเพิ่มปริมาณ
แตนเบียนเพศเมีย โดยการสนับสนุนของโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการ
ทรัพยากร ชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย (สกว.) และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย
(BIOTEC) และได้เลือกศึกษาแตนเบียนสายพันธุ์ Diachasmimorpha longicaudata
(Ashmead) ซึ่งจะวางไข่เฉพาะในแมลงวันผลไม้ แมลงวันผลไม้
รศ.ดร.สังวรณ์ กล่าวว่า การใช้แตนเบียนในการควบคุมแมลงศัตรูพืชให้มีประสิทธิภาพ ควรมีการ
เพาะเลี้ยงให้ได้แตนเบียนที่มีเพศเมียมากกว่าเพศผู้ เพื่อให้สามารถควบคุมแมลงได้อย่างกว้าง
ขวางมากขึ้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่า วิธีการควบคุมระบบสืบพันธุ์ให้ไข่ได้รับการผสม หรือได้รับ
การปฏิสนธิ (fertilized egg) ต้องอาศัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างเพศผู้และเพศ
เมีย การสื่อสารดังกล่าว ได้แก่ การสื่อสารด้วยเสียง (การขยับปีกของเพศผู้) และกลิ่น
(pheromone) ซึ่งมีผลให้เพศเมียยอมรับการผสมพันธุ์ เพิ่มโอกาสให้ตัวอสุจิผสมกับไข่ได้มาก
ยิ่งขึ้น แตนเบียนเพศเมียจะเลือกวางไข่ที่ได้รับการผสมลงในตัวอ่อนแมลงวันผลไม้ที่มี ขนาด
ใหญ่หรือสมบูรณ์ และมักจะเลือกวางไข่ที่ไม่ได้รับการผสมในแมลงวันผลไม้ขนาดเล็ก ดังนั้นไข่
ที่ได้รับการผสมนอกจากจะผลิตตัวอ่อนเพศเมียที่มีประสิทธิภาพในการ กำจัดแมลงวันผลไม้ในรุ่น
ต่อไปแล้ว ยังสามารถกำจัดแมลงวันผลไม้ที่มีความสมบูรณ์และมีความสามารถในการทำลายผล
ไม้ ได้มากได้ดีกว่าอีกด้วย |
ที่มา : http://www.dnp.go.th/FOREMIC/WEB%20SITE2/insect2/news12.php _________________ เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 24/02/2010 6:17 am ชื่อกระทู้: Re: "Integrated Pest Management" การจัดการศัตรูพืช |
|
|
Pitipol บันทึก: |
-ปลูกพืชให้แข็งแรง
-เข้าใจและรักษาไว้ซึ่งศัตรูธรรมชาติ
-ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ
-เกษตรกรมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในระบบการจัดการพืช
-ปลูกพืชให้แข็งแรง
|
-ปลูกพืชให้แข็งแรง
นับตั้งแต่วันแรกที่ได้ฟังลุงคิมสอนว่า"แมลงและโรคจะเข้าหาพืชต้นที่อ่อนแอ"
จนถึงวันนี้ ต้นไม้ที่ผ่านการดูแลในระยะเวลาจำกัด กลับแข็งแรงขึ้นมาก
ทุเรียนเวลาแตกใบอ่อน ถ้าป้องกันเพลี้ยไก้แจ้ไม่ทัน ใบอ่อนจะร่วงทั้งต้น
แต่วันนี้เพลี้ยไก่แจ้แค่มาเกาะให้ใบดูเลอะเทอะเท่านั้น แล้วเค้าก็ไป
หนอนเจาะลำต้นเช่นกัน ปีนี้ระบาดหนัก สวนข้างๆยืนต้นตายไปหลายต้น
มีบ้างเหมือนกันที่เริ่มมาวางไข่และเป็นตัวอ่อน แต่ใช้การดูแลสำรวจอย่างใกล้ชิด
ก่อนที่ตัวอ่อนจะทำลายลำต้นทุเรียน ควบคู่ไปกับใช้สารสกัดสมุนไพรราดรอบโคน
ประกอบกับต้นทุเรียนแข็งแรงขึ้น ทำให้ไม่พบหนอนเจาะลำต้นอีกเลย
ส่วนมังคุด ต้นที่แข็งแรงและใบสมบูรณ์มาก เมื่อติดผลเล็ก เพลี้ยไฟจะไม่เข้ามาทำลาย
การดูแลต้นไม้ให้แข็งแรง เป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดของต้นไม้และตัวเจ้าของเอง...ว่ามั้ย? |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|