-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ฮอร์โมนพืช
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ฮอร์โมนพืช
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ฮอร์โมนพืช

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11625

ตอบตอบ: 27/02/2010 8:43 pm    ชื่อกระทู้: ฮอร์โมนพืช ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


หมู่นี้เห็นเน็ตเงียบๆ ไม่มีคำถาม เลยถือโอกาส "ท่องโลกเน็ต" พบเจออะไรที่
เหมือน/คล้าย/ต่าง กับของเรา เลยก็อปมาให้อ่านกันเล่นๆน่ะ......ลุงคิมครับผม
**********************************************



ออกซิน (auxin)


เป็นสารเคมีชื่อกรด "อินโดลแอซีติก" (indoleacetic acid : IAA) เป็นฮอร์โมนที่พืชสร้าง
จากกลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อเจริญ ที่บริเวณยอดอ่อน แล้วแพร่จากยอดอ่อนไปยังเซลล์อื่น ๆ ที่อยู่ด้าน
ล่าง โดยจะไปกระตุ้นเซลล์บริเวณเนื้อเยื่อที่มีการยืดตัวให้เจริญ ขยายขนาดขึ้น ทำให้พืชเติบโตสูง
ขึ้น การทำงานของออกซินขึ้นอยู่กับสิ่งเร้า เช่น แสง อุณหภูมิ แรงโน้มถ่วงของโลก สิ่งสัมผัสและ
อื่น ๆ

แสงมีผลต่อการแพร่กระจายของออกซินที่ยอดอ่อน โดยออกซินจะแพร่กระจายจากด้านที่มีแสง
มากไปยังด้านที่มีแสงน้อย ทำให้ด้านที่มีแสงน้อยมีออกซินมากกว่า เซลล์เจริญขยายตัวมากกว่า
ด้านที่มีแสงมาก ปลายยอดจึงโค้งเข้าหาแสง ซึ่งให้ผลตรงข้าม กับที่ ปลายราก โดยออกซินยังคง
เคลื่อนที่หนีแสง แต่เซลล์ที่ปลายรากตอบสนองต่อออกซินต่างจากเซลล์ที่ปลายยอด บริเวณใด
ของราก ที่มีแสงน้อย จะมีออกซินสะสมมากจึงยับยั้งการเจริญของเซลล์ราก บริเวณที่มีแสงมากมี
ออกซินน้อยกว่า เซลล์รากขยายตัวมากกว่า จึงเกิดการโค้งตัวของปลายรากหนีแสง

ออกซินมีผลในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของลำต้น ตา ใบ และราก ในระดับความเข้มข้นที่ต่าง
กัน ออกซินในระดับเข้มข้นสูงมาก ๆ จะยับยั้งการเจริญเติบโตทุกส่วนของพืช ออกซินในระดับ
ความเข้มข้นที่พอเหมาะจะกระตุ้นการเจริญของลำต้น แต่จะมีผลในการยับยั้ง การเจริญเติบโตของ
ตาและใบ ซึ่งต้องการความเข้มข้นต่ำกว่า ในขณะที่รากต้องการออกซินในปริมาณที่น้อยมาก ลำ
ต้นจึงต้องการออกซิน สูงกว่าตาและใบ ในขณะที่ตาและใบต้องการออกซินสูงกว่าในราก ดังนั้น
ความเข้มข้นของออกซิน ที่พอเหมาะต่อการเจริญเติบโต ของอวัยวะหนึ่งแต่จะยับยั้งการเจริญเติบ
โตของอวัยวะหนึ่งได้

ผลของออกซินต่อพืช


1. กระตุ้นการแบ่งเซลล์ให้ขยายขนาดแทบทุกส่วน พืชจึงเจริญเติบโต เซลล์ขยายตัวออกทั้ง
ความยาวและความกว้าง

2. ควบคุมการเจริญของตาด้านข้าง โดยตายอดสร้างออกซินในปริมาณสูง แล้วลำเลียงลงสู่ด้าน
ล่าง ออกซินจะยับยั้ง การเจริญเติบโตของตาและใบด้านข้าง พืชจึงสูงขึ้นแต่ไม่เป็นพุ่ม แต่เมื่อตัด
ยอดออกความเข้มข้นของออกซินจะลดลง ทำให้ไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของตาด้านข้าง
และใบได้ พืชจึงแตกตาด้านข้างได้ทำให้ต้นพืชมีลักษณะเป็นพุ่มขึ้น

3. ออกซินในปริมาณที่พอเหมาะสามารถใช้กระตุ้นกิ่งตอนและกิ่งปักชำให้งอกรากได้

4. ควบคุมการเคลื่อนไหวของพืชแบบที่มีแสงเป็นสิ่งเร้า หรือมีแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นสิ่งเร้า

5. ควบคุมการออกดอกของพืชบางชนิด เช่น สับปะรด มะม่วง ลิ้นจี่ ทำให้ออกดอกเร็วขึ้นและ
ออกดอกพร้อมกัน ชักนำให้ ดอกตัวผู้เป็นดอกตัวเมียเพิ่มขึ้น

6. ช่วยชะลอการหลุดร่วงของใบ ดอก และผล

7. ควบคุมการเจริญเติบโตของผล เช่น แตงโม องุ่น มะเขือเทศ บวบ เมื่อพ่นด้วยออกซินใน
ปริมาณที่พอเหมาะ จะทำให้รังไข่เจริญ เป็นผลได้ โดยไม่มีเมล็ด

8. ออกซินบางชนิดใช้เป็นยาปราบวัชพืชได้ จากการพบว่าออกซินนั้นหากมีปริมาณพอเหมาะจะมี
ผลในการกระตุ้นการเจริญเติบโต ของพืช แต่ถ้ามีปริมาณมากเกินไปกลับยับยั้งการเจริญเติบโต
ของพืช จึงนำไปเป็นยาปราบวัชพืช



จิบเบอเรลลิน (gibberellin)

เป็นฮอร์โมนพืชที่มีสมบัติในการกระตุ้นการเจริญของเซลล์บริเวณข้อทำให้ต้นไม้สูง ถ้าพืชขาด
ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน จะทำให้ลำต้นเตี้ยแคระ ในทางการค้าจึงมีผู้สังเคราะห์สารยับยั้งการสร้าง
จิบเบอเรลลินของพืช ทำให้พืชนั้นแคระแกร็น เพื่อใช้เป็นไม้ประดับ

ผลของจิบเบอเรลลินต่อพืช

1. กระตุ้นการเจริญของเซลล์ตรงข้อทำให้ต้นไม้สูง
2. กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด เช่น ผักกาดหอม กะหล่ำปลี
3. กระตุ้นการงอกของเมล็ดและตา
4. เปลี่ยนดอกตัวผู้ให้เป็นดอกตัวเมียของพืชตระกูลแตง
5. ช่วยยืดช่อผลขององุ่น ทำให้ช่อใหญ่ ลูกองุ่นไม่เบียดกันมาก



ไซโทไคนิน (cytokinin)


เป็นฮอร์โมนพืชที่พบมากบริเวณปลายราก เอ็มบริโอ ผลอ่อน น้ำมะพร้าว และยีสต์ มีคุณสมบัติใน
การกระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในระหว่างการเจริญเติบโต

ผลของไซโทไคนินต่อพืช

1. กระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์
2. กระตุ้นให้เกิดหน่อใหม่และตาใหม่ จึงใช้มากในการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
3. กระตุ้นการเจริญของกิ่งแขนง
4. ช่วยให้พืชรักษาความสดไว้ได้นาน
5. ช่วยให้ปากใบเปิดในที่มืดได้
6. ยืดอายุไม้ตัดดอกบางชนิดไม่ให้เหี่ยวเร็ว
7. ชะลอการแก่ของใบ และผลไม้ให้ช้าลง
8. ช่วยในการสร้างโปรตีน RNA และ DNA เพิ่มขึ้น



เอทิลีน (ethylene)


เป็นฮอร์โมนพืชมีสมบัติเป็นแก๊สที่ระเหยได้ เกิดขึ้นในกระบวนการเมแทบอลิซึมของพืช โดย
เฉพาะในช่วงที่ผลไม้สุก จะมีแก๊สนี้แพร่ออกมามาก และสามารถเหนี่ยวนำให้ผลไม้ที่อยู่ใกล้ ๆ สุก
ตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ในการบ่มผลไม้ จึงมักวางผลไม้ รวมกันไว้ในที่มิดชิด เมื่อเกิดแก๊สเอทิลีน
ออกมาแล้ว ทำให้ผลไม้ที่อยู่ข้าง ๆ สุกตามไปด้วย

ในกรณีที่พืชได้รับเอทิลีนมากเกินไปในบางช่วงในขณะที่เจริญเติบโตจะทำให้ใบร่วงมากกว่าปกติ
หรืออาจไปเร่ง ให้ผลสุก เร็วกว่าความต้องการ ทำให้เก็บรักษาไว้ได้ไม่นาน แทนที่จะเกิดผลดี
กลายเป็นผลเสีย ในกรณีที่ส่งออกไม้ผลไปขาย จึงต้องหาทาง กำจัดเอทิลีนในช่วงทำการขนส่ง
เพื่อเก็บรักษาผลไม้ให้อยู่ในสภาพเดิมได้นานไม่สุก เทคโนโลยีที่ใช้หลังการเก็บเกี่ยว ผลิตผล
ทางการเกษตร จึงมีความสำคัญมาก ทั้งในด้านการขนส่ง การบรรจุหีบห่อจากแหล่งผลิตไปสู่ผู้
บริโภค การใช้สารเคมีบางอย่าง เช่น ด่างทับทิม ช่วยชะลอการสุกของผลไม้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ผลไม้ที่สุกแล้วเละง่าย เช่น กล้วย มะม่วง เป็นต้น

ผลของเอทิลีนต่อพืช

เร่งการสุกของผลไม้ทำให้ผลเปลี่ยนสีได้รวดเร็วและสม่ำเสมอ
กระตุ้นการออกดอกของพืชพวกสับปะรด
กระตุ้นการหลุดร่วงของใบไม้ ดอก ผล และลดความเหนียวของขั้วผลทำให้ เก็บเกี่ยวง่ายขึ้น
กระตุ้นการงอกของเมล็ดพืชบางชนิด
ทำลายการพักตัวของเมล็ด
เร่งการไหลของน้ำยางพารา เพิ่มปริมาณน้ำยางมะละกอ
กระตุ้นการเกิดรากฝอยและรากแขนง



กรดแอบไซซิค (abscisic acid)


เป็นฮอร์โมนพืชที่พบมากในใบที่แก่จัด ตา เมล็ด ในผลทุกระยะ และบริเวณหมวกราก สภาวะขาด
น้ำกระตุ้นให้พืชสร้างกรดแอบไซซิคได้มากขึ้น กรดแอบไซซิคสามารถลำเลียงไปตามท่อลำเลียง
และเนื้อเยื่อที่มีชีวิตของพืช

ผลของกรดแอบไซซิคต่อพืช

กระตุ้นการหลุดร่วงของใบและผลที่แก่จัด
ยับยั้งการเจริญและการยืดตัวของเซลล์
ยับยั้งการเจริญของตาและยอดพืช
ยับยั้งการงอกของเมล็ด
กระตุ้นปากใบปิดเพื่อลดการคายน้ำ
ทำให้พืชปล้องสั้น ใบมีขนาดเล็ก เซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญหยุดแบ่งตัว
กระตุ้นการพักตัวของพืช


สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายฮอร์โมน

สารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติเหมือนออกซิน สังเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร สำหรับใช้
เร่งรากของกิ่งตอนหรือกิ่งปักชำ ช่วยในการเปลี่ยนเพศดอกบางชนิด ช่วยให้ผลติดมากขึ้น ป้องกัน
การร่วงของผล สารสังเคราะห์เหล่านี้ ได้แก่

- IBA (indolebutylic acid )

- NAA (naphtaleneacetic acid )

- 2, 4 - D (2-4 dichlorophenoxyacetic acid)

สารสังเคราะห์ 2, 4-D นำไปใช้ในวงการทหารในสงครามเวียดนาม ใช้โปรยใส่ต้นไม้ในป่าเพื่อให้
ใบร่วง จะได้เห็นภูมิประเทศ ในป่าได้ชัดขึ้น สารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติเหมือนไซโทไคนิน นิยม
นำมาใช้กระตุ้นการเจริญของตาพืช ช่วยรักษาความสด ของไม้ตัดดอกให้อยู่ได้นาน ได้แก่

- BA (6-benzylamino purine)

- PBA (tetrahydropyranyl benzyladenine)


สารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติเหมือนเอทิลีน
ได้แก่

- สารเอทิฟอน (ethephon, 2-chloroethyl phosphonic acid ) นำมาใช้เพิ่มผลผลิต
ของน้ำยางพารา

- สาร Tria ใช้เร่งการเจริญเติบโตของพืช ประเภทข้าว ส้ม ยาสูบ


ที่มา : กรมวิชาการเกษตร

*****************************************************

ประสบการณ์ตรง :

..... เกษตรกรอิสราเอล. ไต้หวัน. ญี่ปุ่น. ออสเตรเลีย. อเมริกา. เน้นการบำรุงพืชเพื่อขยาย
ขนาดด้วย "ฮอร์โมน" มากกว่า "ปุ๋ย" และเน้น "ปุ๋ยทางใบ" มากกว่า "ปุ๋ยทางดิน" ในขณะที่
พืชมีความต้องการทั้ง ธาตุหลัก. ธาตุรอง. ธาตุเสริม. ฮอร์โมน. และอื่นๆ อย่างสมดุลย์และ
ตามระยะพัฒนาการ

..... พืชที่มีสภาพต้นสมบูรณ์สูง แม้จะสามารถสร้างฮอร์โมนขึ้นมาเองได้ แต่หากมีการให้แบบ
เสริมบ้าง จะส่งผลให้พัฒนาการในแต่ละระยะดีกว่าการปล่อยให้พืชช่วยตัวเองตามลำพัง

..... ฮอร์โมนวิทยาศาสตร์ หรือ ฮอร์โมนสังเคราะห์ มีเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นที่แน่อน และมี
ความเสถียร เหนือกว่า ฮอร์โมนธรรมชาติ ดังนั้นช่วงวิกฤต เช่น ช่วงบำรุงดอก. บำรุงผลเล็ก.
จึงควรใช้ฮอร์โมนวิทยาศาสตร์ เพื่อประสิทธิภาพที่แน่นอน

..... ฮอร์โมนธรรมชาติเหมาะสำหรับพืชล้มลุกมากกว่าพืชยืนต้น ..... การใช้ฮอร์โมนธรรมชาติ
ในพืชยืนต้นควรให้แบบสะสมนานซึ่งจะได้ผลดีกว่าการให้แบบบำรุงเร่งด่วน

..... เทคนิคการให้ฮอร์โมน ควรให้ช่วงอุณหภูมิต่ำ หรือช่วงค่ำที่พระอาทิตย์ตกดินแล้ว จะได้ผล
กว่าการให้ช่วงที่แดดจัด.... ลักษณะอากาศตามฤดูกาลมีผลต่ออัตราการใช้ เช่น ฤดูหนาวต้อง
เพิ่มปริมาณอัตราใช้มากกวาอัตราปกติ 25 % หรือฤดูร้อนต้องลดปริมาณอัตราใช้น้อยกว่าอัตรา
ปกติ 25 % เสมอ

..... ฮอร์โมนท้องตลาดมีหลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อมีเปอร์เซ็นต์เนื้อเข้มข้นต่างกัน ดังนั้นก่อนใช้
งานต้องศึกษารายละเอียดอัตราใช้ให้แน่นอนเสียก่อน ทางออกที่ดีควรใช้ยี่ห้อเดิม

..... ทั้งฮอร์โมนธรรมชาติ และฮอร์โมนวิทยาศาสตร์ จะได้ประสิทธิภาพสูงสุดต่อต้นที่ความ
สมบูรณ์รองรับ

..... ภาพยนต์สารคดีดิสคัพเวอรี่ ระบุว่า พื้นดินโคนต้นไม้ที่มีแมลง (จั๊กจั่น) ตายทับถมกันมานาน
ต่อเนื่อหลายๆ ปี เมื่อนำดินมาวิเคราะห์สารอาหารพืชแล้ว พบว่ามี "ไคติน ไคโตซาน" และ "อะ
มิโนโปรตีน" ในปริมาณสูงมาก ส่งผลให้ไม้ต้นนั้นสมบูรณ์และให้ผลผลิตคุณภาพดีมาก


ลุงคิมครับผม

ป.ล.
ท่านใดมีข้อมูลประสบการณ์ตรงเรื่องสับปะรด เชิญชวนให้เขียนมา เขียนลงในกระทู้ปกติก่อน
แล้วลุงคิมจะก็อปมาลงต่อท้ายที่กระทู้นี้ให้ภายหลัง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©