-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-บำรุงทุเรียน ผลผลิตสูงทำอย่างไร ?
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - บำรุงทุเรียน ผลผลิตสูงทำอย่างไร ?
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

บำรุงทุเรียน ผลผลิตสูงทำอย่างไร ?

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Quanjai
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2016
ตอบ: 18

ตอบตอบ: 03/08/2016 1:42 pm    ชื่อกระทู้: บำรุงทุเรียน ผลผลิตสูงทำอย่างไร ? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะลุงคิม ...พอดีเล่าเรื่องที่ลุงคิมแนะนำเรื่องพริกไทยให้รปภ.ที่คอนโดที่อยู่ฟัง แกมีสวนทุเรียนอยู่5ไร่ ทุเรียนกำลังสาวอายุประมาณ11-12 ปี แกอยากทำแบบลุงคิมบ้าง กรุณาอธิบายขั้นตอนการใช้ให้ด้วยค่ะ ทั้งทางรากทางใบมีรบ.เทิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า เริ่มต้นจากเดือนนี้ไปเลยค่ะ ว่าใช้อะไร อย่างไร ขอบคุณค่ะ ตอนนี้แกเพิ่งใส่ปุ๋ยอินทรีย์ไปครั้งหนึ่งแล้ว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 03/08/2016 2:51 pm    ชื่อกระทู้: Re: บำรุงทุเรียน ผลผลิตสู งทำอย่างไร ? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Quanjai บันทึก:



สวัสดีค่ะลุงคิม ...
พอดีเล่าเรื่องที่ลุงคิมแนะนำเรื่องพริกไทยให้ รปภ. ที่คอนโดที่อยู่ฟัง แกมีสวนทุเรียนอยู่ 5 ไร่ ทุเรียนกำลังสาวอายุประมาณ 11-12 ปี แกอยากทำแบบลุงคิมบ้าง

กรุณาอธิบายขั้นตอนการใช้ให้ด้วยค่ะ ทั้งทางรากทางใบมี รบ.เทิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า เริ่มต้นจากเดือนนี้ไปเลยค่ะ ว่าใช้อะไร อย่างไร

ขอบคุณค่ะ ตอนนี้แกเพิ่งใส่ปุ๋ยอินทรีย์ไปครั้งหนึ่งแล้ว








.

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/08/2016 3:36 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 04/08/2016 5:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

.............. ฯลฯ ..............



ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อทุเรียน

1. เรียกใบอ่อน
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 1 ของรุ่นหรือปีการผลิต
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง
- ให้น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือทันทีหลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้น และหลังหลังจากตัดแต่งกิ่ง โดยตัดทิ้งกิ่งกระโดง กิ่งคด กิ่งงอ กิ่งไต้ท้องกิ่งประธาน กิ่งที่ลำต้น

- เทคนิคการ ตัดแต่ง-เรียกใบอ่อน แบบ “บำรุงก่อนตัด” กล่าวคือ ระหว่างที่ต้นเลี้ยงลูกนั้น ต้นต้องใช้พลังงานอย่างมาก จนทำให้ต้นโทรม หลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้นแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเรียกใบอ่อน ทั้งทางใบและทางราก หรือเฉพาะทางใบอย่างเดียวก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เพื่อให้ต้นได้ใช้ใบเดิมที่มีสังเคราะห์อาหาร เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการสมบูรณ์ดี ทำท่าจะแตกยอดใหม่ ก็ให้ปฏิบัติการเรียกใบอ่อนทันที การที่ต้นมีความสมบูรณ์อยู่ ต้นก็จะแตกใบอ่อนใหม่ เร็ว ดี มาก และพร้อมกันทั่วทั้งต้น

- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่. การสะสมอาหารเพื่อการออก. การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก. ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็จะกลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- เทคนิคหรือวิธีการเรียกใบอ่อน ให้ใบอ่อนออกพร้อมกันทั้งต้น อย่างหนึ่งคือ บำรุงก่อนตัดแต่งกิ่ง เพราะต้นได้รับสารอาหาร (ทางใบ-ทางราก) สร้างความสมบูรณ์ไว้ก่อน แม้ไม่ให้ปุ๋ยเรียกใบอ่อนต้นก็จะแตกใบอ่อนเองอยู่แล้ว ครั้นได้รับการ “กระตุ้น-กระแทก” ด้วยปุ๋ยกลุ่มเรียกใบอ่อน ต้นจึงแตกใบอ่อนได้ทั่วทั้งต้นดี นั่นแล

- สิ่งบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ของต้นคือการแตกใบอ่อน ถ้าต้นสมบูรณ์ดีจะแตกใบอ่อนออกมาพร้อมกันทั่วทั้งต้น ระยะการแตกใบอ่อนไม่เกิน 5-7 วัน แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์จริง การแตกใบอ่อนจะออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น แม้ระยะเวลาจะผ่านไปนานนับสัปดาห์แล้วก็ตาม

- ความสมบูรณ์ของต้นอันเกิดจากการบำรุงของรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมา มีผลอย่างมากต่อการบำรุงเรียกใบอ่อนรุ่นปีการผลิตปัจจุบัน รุ่นปีการผลิตที่ผ่านมา ถ้าต้นได้รับการรบำรุงถูกต้องสม่ำ เสมอ หรือต้นไม่โทรม การเรียกใบอ่อนก็จะแตกออกมาเร็วพร้อมกันทั่วทั้งต้นดี แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์หรือโทรม ใบอ่อนชุดใหม่ก็จะแตกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น

- รักษาใบอ่อนที่แตกใหม่ละชุดให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้ ถ้าใบอ่อนชุดหนึ่งชุดใดถูกทำลายไปจะต้องเริ่มเรียกใบชุดที่หนึ่งใหม่

- ทุเรียนต้องการใบอ่อน 3 ชุด .... ถ้าได้ใบอ่อน 1 ชุดจะได้ดอก 10-20% .... ถ้าได้ใบอ่อน 2 ชุดจะได้ดอก 30-40% .... ถ้าได้ใบอ่อน 3 ชุดจะได้ดอก 70-80%

- เพื่อความสมบูรณ์เต็ม 100% ต้องเรียกใบอ่อนให้ได้ 3 ชุด (3 ชั้น) แต่ละรุ่นให้เป็นใบแก่ภายใน 45 วัน


2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 0-21-74 หรือ 0-39-39 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อใบอ่อนเริ่มแผ่กางหรือเพสลาด
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย

วิธีเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่ :
วิธีที่ 1
.... ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อ ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรก แต่ก็ไม่ควรห่างกันเกิน 7-10 วัน หลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เรียกใบอ่อนชุด 3 ต่อได้เลยอีกเช่นกัน การที่ใบอ่อนชุด 2 ออกไม่พร้อมกันนั้นจะส่งผลให้ใบอ่อนชุด 3 ออกไม่พร้อมกันทั้งอีกด้วย และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

วิธีที่ 2 .... หลังจากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่ ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบ ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 2 เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เร่งเป็นใบแก่ เมื่อใบชุด 2 เป็นใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบ ก็ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 3 และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตาม ปกติ

(วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า..)

- ใบอ่อนที่ออกมาแล้วปล่อยให้เป็นใบแก่เองตามธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลา 30-45 วัน


3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม คิดต่อกันนาน 1-2 เดือน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง8-24-24 (2 ล.)/ต้น /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุด ควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง ในห้วงนี้ให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- ปริมาณ 8-24-24 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าว คือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง

- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15 วัน/ครั้ง ก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง


4. ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช :

ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่า ระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้ม เหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย .... ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้กระท้อนออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิ อากาศจะอำนวยก็ได้


5. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น โดยนำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออก ให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด
หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และ “ลด” ปริมาณ เอ็น. อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก

- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมา มาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว

- ต้นที่อั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) เพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วนทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช. สมบูรณ์หรือไม่ ในทุเรียนไม่อาจสังเกตจากอาการใบสลดได้ แต่ให้สังเกตจากลักษณะใบใหญ่ หนา เขียวเข้ม ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน

- เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย


6. สำรวจความพร้อมของต้น ก่อนเปิดตาดอก :

- เนื้อใบหนาเขียวเข้มส่องแดดไม่ทะลุ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน ข้อใบสั้น ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายกลมเปราะหักง่าย มองจากภายนอกระยะไกลๆ เห็นความสมบูรณ์ทางทรงพุ่มชัดเจน

- ผิวเปลือกตามลำต้นสดใสมีอาการแตกปริ
- รากใหญ่จำนวนมาก ปลายราก (หมวกราก) ยาวอวบอ้วนสดใส


7. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนเปิดตาดอก :

ก่อนลงมือเปิดตาดอกให้ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศให้แน่ใจว่าในอีก 15-20 วัน ข้างหน้าหรือวันที่ช่อดอกเริ่มแทงออกมานั้น จะต้องไม่มีฝนตกหรือมีสภาพอากาศปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝน) เพราะสภาพอากาศปิดหรือมีฝน ต้นทุเรียนจะเปิดตาดอกไม่ออก แม้จะอั้นตาดอกดีเพียงใดก็ตาม แต่กลับแทงใบอ่อนออกมาแทน กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงต้นด้วยสูตร “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” ต่อไปจนกว่าจะมั่นใจว่าในวันที่ช่อดอกออกมานั้นไม่มีฝนหรืออากาศเปิดแน่จึงลงมือเปิดตาดอก


8. เปิดตาดอก
ทางใบ :
สูตร 1
...น้ำ 100 ล.+ 13-0-46 (500 กรัม) + ไธโอยูเรีย 250 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สาหร่ายทะเล 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. .... ข้อควรระวัง อัตราการใช้ 13-0-46 + ไธโอยูเรีย. เข้มข้นกว่านี้อาจทำให้ใบเหลือง ใบไหม้ แล้วร่วงได้ โดยทุเรียนจะไม่ออกดอกชุดนี้แต่จะออกดอกช้ากว่ากำหนด หรือเป็นชุดต่อไป

สูตร 2
.... น้ำ 100 ล. + ไทเป 200 ซีซี. + 0-52-34 (500 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สาหร่ายทะเล 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
(เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง หรือสลับกันทั้งสองสูตร)
ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ต้น /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้นและสภาพอากาศพร้อม
- เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียว
- ธรรมชาตินิสัยของทุเรียน เป็นไม้ผลยืนต้นประเภทออกดอกง่ายอยู่แล้ว เทคนิคการใช้ไทเปที่มี 0-52-34 จำนวนหนึ่งเป็นส่วนผสมหลักอยู่ก่อนแล้วนั้น อาจเพิ่ม 0-52-34 เพิ่มขึ้น 500 กรัม เป็นการเฉพาะ เช่น "น้ำ 100 ล.+ ไทเป 100 ซีซี.+ 0-52-34 (400-500 กรัม)" ก็จะช่วยให้การเปิดตาดอกได้ผลแน่นอนยิ่งขึ้น

- การใช้ "ไทเป" ประจำ ควบคู่กับบำรุงต้นตามขั้นตอยอย่างสม่ำเสมอทำให้สมบูรณ์อยู่เสมอจนกลายเป็น "ประวัติความสมบูรณ์ต้น" จะทำให้ทุเรียนออกดอกติดผลแบบทะวายไม่มีรุ่นได้ตลอดปี ... .ผลผลิตทุเรียนแบบไม่มีรุ่นนี้เหมาะสำหรับทำทุเรียนทอดกรอบ

- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ


9. บำรุงดอก :
ทางใบ :

-ให้ไบโออิ 15-45-15 (หน้าฝน) หรือ 0-52-34 (หน้าแล้ง) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ต้น /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูมบำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอก และถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ ผสมติดดี
- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน
- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบ เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้

- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอสามารถช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์จะได้ผลแน่นอนกว่าการใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ทำเอง

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุด ตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆ ของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆ ก็ได้

- การไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะทำให้มีผึ้งหรือมีแมลงธรรมชาติอื่นๆ จำนวนมาก เข้ามาช่วยผสมเกสรซึ่งจะส่งผลให้ติดผลดกขึ้น

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

- การตัดแต่งช่อดอกมีส่วนสำคัญ เนื่องจากต้นสมบูรณ์เต็มที่มักออกดอกรุ่นละจำนวนมาก แต่ดอกกลายเป็นผลจริงๆได้ไม่ถึง 10% ดังนั้นจึงควรมีแผนการตัดแต่งช่อดอกออกทิ้งบ้าง 1-2 รอบ โดยตัดแต่งรอบแรกให้เหลือไว้เพียง 50% และตัดแต่งรอบสองก่อนการผสมเกสรอีก 25% หลังจากตัดแต่งรอบสองไปแล้วจะเหลือเพียง 10% หรือน้อยกว่าของดอกที่เหลือจากการตัดแต่งรอบสอง ทั้งนี้การมีดอกน้อยๆจะทำให้ดอกที่เหลือได้รับธาตุอาหารเต็มที่ ส่งผลให้ได้ดอกที่สมบูรณ์

- ดอกที่ออกมาจำนวนมากให้พิจารณาตัดทิ้งดอกอยู่ชิดกับลำต้น หรือดอกบนกิ่งมุมแคบกับลำต้นหรือดอกอยู่กับกิ่งเล็ก ทั้งนี้ควรตัดตั้งแต่ก่อนดอกบาน 2-3 สัปดาห์

- ช่วงกำลังมีผลอยู่บนต้นแล้วแตกใบอ่อน จะทำให้ให้เกิดการแย่งอาหารระหว่างใบกับผล ส่งผลเสียต่อผลดังนี้
* แตกใบอ่อนช่วงหลังดอกบาน (สัปดาห์ที่ 3-5)ทำให้ผลเล็กร่วง
* แตกใบอ่อนช่วงหลังดอกบาน (สัปดาห์ที่ 5- 8 )ทำให้รูปทรงผลบิดเบี้ยว
* แตกใบอ่อนช่วงหลังดอกบาน (สัปดาห์ที่ 10-12)ทำให้เนื้อด้อยคุณภาพ เป็นเต่าเผา เนื้อแกร็น เนื้อสามสีไม่น่ารับประทาน

- ลักษณะทุเรียนที่กำลังจะแตกใบอ่อนระหว่างมีผล ให้สังเกตเยื่อหุ้มตาเริ่มเจริญ หรือระยะหางปลา ให้ยับยั้งการแตกใบอ่อนด้วย 13-0-46 (150-300 กรัม)/น้ำ 20 ล.1 ครั้งก่อน ถ้าพบว่ายังจะแตกใบอ่อนอีกหรือกดไม่อยู่ก็ให้ฉีดซ้ำอีกครั้งด้วยอัตราเดิม นอกจากนี้การให้ "ธาตุรอง/ธาตุเสริม" สม่ำเสมอระหว่างมีผล นอกจากจะช่วยบำรุงผลให้ได้คุณภาพดีแล้วยังช่วยกดใบอ่อนได้อีกด้วย



10. บำรุงผลเล็ก - กลาง :
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่ไข่ แกลบดิบ แห้งเก่าข้ามปี) ครั้งที่ 2 ของรุ่นหรือปีการผลิต
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ 21-7-14 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว 1-2 เดือน/ครั้ง
- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังผสมติด หรือกลีบดอกร่วง
- ช่วงผลเล็กตั้งแต่เริ่มติดเป็นผลเห็นรูปร่าง ถ้าสภาพอากาศวิปริต (ร้อนจัด หนาวจัด ฝนชุก) ให้ “เอ็นเอเอ. + สาหร่ายทะเล + แคลเซียม โบรอน” 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน นอกช่วยป้องกันผลเล็กร่วงได้แล้ว ยังช่วยบำรุงผลให้พร้อมต่อการเป็นผลขนาดใหญ่คุณภาพดีในอนาคตได้อีกด้วย

- ให้ทางใบไคโตซาน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2-3 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่และเนื้อแน่นขึ้น แต่เมล็ดมีขนาดเท่าเดิม

- หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง เมื่ออายุผลแก่ได้ 50% นอกเป็นการบำรุงสร้างความสมบูรณ์แก่ต้น ส่งผลให้ผลผลิตรุ่นนี้ดี แล้วต่อไปอนาคตผลผลิตรุ่นหน้าหรือรอบหน้าอีกด้วยถึง


11. ระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
ช่วงฝนชุก :
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 16-8-24 หรือ 0-21-74 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร 250 ซีซี. 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
- ให้เฉพาะช่วงฝนตกชุก หลังหมดฝนแล้วให้อีก 1 ครั้ง จากนั้นกลับเข้าสู่ขั้นตอนบำรุงปกติ
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น ทำร่องระบายน้ำป้องน้ำขังค้างโคนต้น
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม ให้แล้วงดน้ำเด็ดขาด
หมายเหตุ :
- ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวแล้วมีฝนตก จะทำให้ผลทุเรียน แก่ช้า เปลือกหนา เนื้อเป็นเต่าเผา ไส้ล้ม สีไม่ออก กลิ่นไม่ออก ผลแตกและผลร่วง สาเหตุเป็นเพราะต้นได้รับไนโตรเจนจากน้ำฝนมากเกินไป

- วิธีเก็บเกี่ยวทุเรียนของชาวสวนทุเรียนเมืองนนทบุรีไม่ใช้วิธีนับอายุผล เพราะรู้ว่าเอาแน่นอนไม่ได้เนื่องจากน้ำใต้ดินโคนต้นหรืออาจจะมีฝนตก แต่ใช้วิธีปล่อยให้ผลใดผลหนึ่งร่วงจากต้นลงมาเองก่อน 1 ผล แล้วเก็บผลร่วงนั้นมาผ่าดูภายในก็จะเห็นชัดว่าทุเรียนแก่สมควรเก็บเกี่ยวได้หรือยัง เมื่อเห็นว่าแก่จัดเก็บเกี่ยวได้แล้วจะลงมือเก็บผลที่เป็นรุ่นเดียวกันนั้นก่อน จากนั้นอีก 7 วันจะลงมือเก็บรุ่นสอง และรุ่นสามไปเรื่อยๆ แต่ละรุ่นห่างกัน 5-7 วัน จนกระทั่งหมดทั้งต้น

- นำผลทุเรียนแก่ที่เก็บเกี่ยวลงมาแล้วแช่ใน "อีเทฟอน 50 ซีซี.+ น้ำ 100 ล." จนมิดทั้งผล นาน 2 นาที นำขึ้นผึ่งลมให้แห้งจากนั้นนำไปบ่มตามปกติ ผลทุเรียนจะสุกภายใน 3 วัน.... วิธีนี้ใช้กับผลที่แก่ไม่จัดก็ได้ หลังจากผลได้รับอีเทฟอนไปแล้วเนื้อจะอ่อนนุ่มเหมือนทุเรียนสุกทุกประการ แต่รสและกลิ่นไม่ดี

- ทุเรียนออกดอกติดผลที่กิ่งประธาน ผลเกิดจากกิ่งประธานคนละกิ่ง (ในต้นเดียวกัน) มักแก่ไม่พร้อมกัน แก้ไขโดยแบ่งกิ่งประธานในต้นเดียวกันนั้นเป็นกิ่งละรุ่น จากนั้นพิจารณาผลที่อยู่ในกิ่งประธานกิ่งเดียวกันแล้วเลือกผลอายุใกล้เคียงกันที่สุด (ไม่ควรห่างกันเกิน 3-5 วัน)ไว้ ซึ่งผลที่คงไว้นี้จะแก่เก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน ส่วนผลอายุต่างจากผลอื่นมากๆให้ตัดทิ้งและการตัดทิ้งให้ทำตั้งแต่เป็นผลขนาดเล็ก เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยวก็ให้เก็บผลในกิ่งประธานเดียวกันพร้อมๆกัน ซึ่งทุกผลจะแก่เท่ากัน จากนั้นจึงเลือกเก็บจากกิ่งประธานอื่นๆต่อไปตามลำดับอายุ

- เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยวตามปกติ 10-20 วันและให้ปฏิบัติต่อไปจนกว่าจะหมดฝน
- การให้ทางใบด้วย 16-8-24 นอกจากช่วยปรับปรุงคุณภาพผลแล้วยังช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้อีกด้วย ส่วนการให้ทางใบด้วย 0-21-74 ช่วยปรับปรุงคุณภาพผลอย่างเดียวโดยไม่ช่วยขยายขนาดผล หรือหยุดขยายขนาดผล

- ช่วงที่มีฝนตกชุก ให้ฉีดพ่นทันทีเมื่อฝนหยุดตกใบแห้งโดยไม่จำกัดเวลา หรือฉีดพ่นก่อนฝนตก 30 นาที โดยไม่จำกัดเวลาอีกเช่นกัน

- หลังจากหมดฝนแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเดิมและวิธีเดิมต่อไปอีก 2-3 รอบ จากนั้นให้สุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก็จะรู้ว่าสมควรลงมือเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุงต่อไปอีก

- ถ้าฝนตกนานเป็นเดือนหรือหลายเดือนจนไม่อาจงดน้ำได้ ระหว่างนี้ผลทุเรียนจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ด้วยสูตรบำรุงผล บางครั้งขนาดผลใหญ่เกินเป็นทุเรียนรับประทานผลสุก กรณีนี้แก้ไขด้วยการจำหน่ายทุเรียนดิบ สำหรับทำทุเรียนทอดกรอบหรือทำแป้งทุเรียน หรือปล่อยให้แก่จัดจำหน่ายทุเรียนสุกสำหรับทำทุเรียนกวนก็ได้ .... ทุเรียนผลยักษ์เมื่อสุกให้แกะเนื้อใส่กล่องโฟมจำหน่ายก็ได้

- ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวแล้วมีฝนมักเกิดอาการไส้ซึม แก้ไขด้วยการให้ทางใบด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริมสม่ำเสมอ ทั้งนี้ควรให้ตั้งแต่ยังไม่มีฝนซึ่งจะได้ผลดีกว่าให้หลังจากมีฝนแล้ว

- ต้องการผลขนาดเล็ก (พวงมณี หลงลับแล หลินลับแล) เมื่อผลโตได้ขนาดตามต้อง การแล้วให้บำรุงด้วยสูตรบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวทันที จากนั้นสุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก็จะรู้ว่าเก็บเกี่ยวได้แล้ว หรือต้องบำรุงต่อ


ช่วงฝนแล้ง :
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 16-8-24 หรือ สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้นและนำอินทรีย์วัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
- ให้ 13-13-21 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำรดโคนต้น เขตทรงพุ่ม ให้แล้วงดน้ำเด็ดขาด
หมายเหตุ :
- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 13-13-21 จะทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายไปจากต้นแล้วต้องเร่งบำรุงเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที

- บำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอด้วยการทำให้มีสารอาหารกิตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆ ปี ส่งผลให้ทุเรียนออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีฤดูกาลได้ ดังนั้นการบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 จะไม่ทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายจากต้นไปแล้วเข้าสู่ขั้นตอนบำรุงต้น “สะสมอาหาร” และ “ปรับ ซี/เอ็น เรโช” จากนั้นให้สำรวจความพร้อมของต้นถ้าต้นสมบูรณ์ดีพร้อมก็ลงมือ “เปิดตาดอก” ต่อได้เลย กิ่งที่ยังไม่ออกดอกในรุ่นปีที่ผ่านมาสามารถออกดอกได้ถ้าสภาพอากาศไม่เลวร้ายจนเกินไปนักและดอกที่ออก มาก็สามารถพัฒนาให้เป็นผลได้เช่นกัน การบำรุงแบบต่อเนื่องนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์แข็งแรงอย่างแท้จริง โดยเฉพาะต้นสาวที่ให้ผลผลิตน้อยทั้งๆที่บำรุงอย่างดีจะสามารถทำได้ง่าย


ทุเรียนกับระบบสปริงเกอร์ :

สปริงเกอร์ทุเรียนอายุ 20 ปี ต้น ใหญ่/สูง/กว้าง ตามปกติธรรมชาติ :
- ทางใบต้นละ 2 หัว (โซนละ 20 ต้น = 40 หัว)
- ทางรากต้นละ 3 หัว (โซนละ 20 ต้น = 60 หัว

เปรียบเทียบ ทุเรียน 20 ต้น ให้ทางใบ :
- สปริงเกอร์นาน 5 นาที = ไฟฟ้า 5 นาที
- ลากสายยางฉีดพ่นที่ละต้น ต้นละ 5 นาที +เดิน = ไฟฟ้า 100 (+) นาที
..... ต่อการทำงาน 1 ครั้ง

เปรียบเทียบ ทุเรียน 20 ต้น ให้ทางราก :
- สปริงเกอร์ให้พร้อมกันทั้ง 20 ต้น นาน 10 นาที = ไฟฟ้า 10 นาที
- ลากสายยางฉีดพ่นที่ละต้น ต้นละ 10 นาที +เดิน นาน 200 นาที = ไฟฟ้า 200 (+) นาที
..... ต่อการทำงาน 1 ครั้ง


............. ฯลฯ ............


สวนทุเรียนหมอนทองที่ อ.เขาคิฌกูฏ จ.จันทบุรี อายุต้น 5-10 ปี ให้ผลผลิตแล้ว เตรียมดินโดยการใส่ยิบซั่ม กระดูกป่น มูลวัว+มูลไก่ ทุก 6 เดือน คลุมหน้าดินบริเวณโคนต้นด้วยเศษใบไม้แห้ง ใบหญ้า หนาประมาณประมาณ 50 ซม. เต็มพื้นที่ทรงพุ่ม ปีละครั้ง .... บำรุงต้นตามขั้นตอนทุกประการ ปรากฏว่าต้นสมบูรณ์มากเมื่อแหวกเศษพืชคลุมโคนต้นออกดู พบว่ามีรากจำนวนมากชอนไชขึ้นจากพื้นดินมาอยู่ในเศษพืชแห้งนั้น รากอวบใหญ่ยาวสวยมาก .... หลังจากให้ผลผลิตรุ่นนั้นแล้ว

หมอนทองต้นนั้นออกดอกต่อ แล้วก็ออกต่อเรื่อยๆ จนกลายเป็นทุเรียนทะวายออกดอกติดผลไม่มีรุ่น ทำให้การบำรุงยุ่งยากมาก จึงตัดสินใจ “ลุย” บำรุงด้วยสูตร “สะสมตาดอก-บำรุงผล-ฮอร์โมนน้ำดำ-สาหร่าย + ไคติน ไคโตซาน + แคลเซียม โบรอน” ทั้ง 4 สูตร สลับกันสูตรละอาทิตย์ (ตอนนั้นยังไม่มีฮอร์โมนไข่) .... ผลจากการบำรุงด้วยสูตร “ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ” ทำให้ได้ผลขนาดใหญ่กว่า 8-10 กก. และไม่สามารถบำรุงด้วยสูตร “ปรับปรุงคุณภาพก่อนเก็บเกี่ยว หรือ เร่งหวาน” ได้ ทุเรียนทำท่าจะไม่มีคุณภาพ

แนวทางแก้ไข คือ ขายทุเรียนดิบ สำหรับทำทุเรียนทอดกรอบ คนซื้อนอกจากเหมารุ่นนี้หมดสวนแล้วยังจองรุ่นหน้าและรุ่นต่อๆ ไปอีกด้วย

- การทำให้ทุเรียนพันธุ์หมอนทองดอกดอกติดลูกได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้นั้น ขึ้นอยู่กับการบำรุง ทั้งทางใบทางราก สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ตลอดทั้งปี

- ทุเรียนก้านยาว บางกรวย นนทบุรี ของ ร.ต.ท.สุชินฯ สน.พระราชวัง ให้ผลผลิตสูงสุดถึง 102 ผลต่อต้น ไซส์ลูกละ 2 กก. ราคาหน้าสวน กก.ละ 500 ไม่พอขาย ....

- สองพ่อลูก ปากเกร็ด นนทบุรี ไปหาที่ไร่กล้อมแกล้ม ยืนยันทำตามแนวที่แนะนำ คือ ทำแบบของผู้หมวดสุชินฯ ก้านยาวต้นเดียวก็ได้กว่า 100 ลูกเหมือนกัน ....


................ ฯลฯ ...........


(ตัดบางส่วนมาจาก หนังสือ "หัวใจเกษตรไท....STYLE KIM ZA GASS")



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/08/2020 4:51 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Quanjai
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2016
ตอบ: 18

ตอบตอบ: 05/08/2016 8:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ขอบคุณค่ะ

ยาวมากอ่านแล้วรู้สึกว่ามันซับซ้อน แต่คนทำทุเรียนคงเข้าใจไม่ยาก

พอดีวันนี้ไปเอาพวก น้ำดำ. ไทเป. ยูเรก้า. จากไปรษณียที่สั่งคุณชาตรี และที่สั่งคุณน้ำส้ม รบ 30-10-10 ก็มาถึงพอดีวันนี้

หลายอย่างมันหนักมาก รปภ.เขาช่วยเอาขึ้นมาส่งให้ เขาบอกเขาเอาทีละชุดก่อนเพราะเงินจำกัด เลยแบ่ง 30-10-10 ไปให้เขาแกลลอนหนึ่งก่อน

อ่านตามที่ลุงเขียนตอนนี้กำลังบำรุงต้นใบทุเรียน และทางใบต้องใช้ ไบโออิ 25-5-5 สลับโบรอน ใช่ไม๊คะ ซึ่งจะต้องสั่งให้เขา

วันที่สั่ง รบ.จากคุณน้ำส้ม ถามว่าใช่ของลุงคิมผลิตหรือเปล่า (เพิ่งรู้ว่า เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน) อัตราการใช้ 1 cc/น้ำ 1 ลิตร หรือ รบ.30-10-10 ทุกอาทิตย์ น้อยไปไม๊คะลุงคิมสำหรับทุเรียน



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Quanjai
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2016
ตอบ: 18

ตอบตอบ: 05/08/2016 8:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถามหลายคำถามติดกันเลยนะคะ ลุงคิมจะได้ตอบทีเดียว

อ่านที่ลุงคิมตอบเรื่องทุเรียนแล้วทำให้เข้าใจว่า รบ.ก็มีหลายสูตร ไบโออิ.ก็มีหลายสูตร ทำให้ต้องกลับไปอ่านกระทู้พริกไทย ตายจริง..หลงเข้าใจไปว่า ไบโออิ+25-5-5 นั้นคือ ไบโออิเฉยๆ ที่ไม่มีสูตรและ +25-5-5 คือ ปุ๋ยเกล็ดทางใบ เลยสั่งมาสองอย่าง ใช้มันคู่กันในการฉีดทางใบพริกไทยต้นน้อยๆ แต่ว่าฉีดไปหนเดียวค่ะ ดีที่มันไม่ตายเอาด้วยความเข้มข้นยกกำลังสอง รู้สึกละอายใจที่ไม่ศึกษาให้พอรู้เรื่องรู้ราวกะเขาบ้าง

ช่วงนี้ก็ไล่อ่านกระทู้เก่าๆ ทำให้พอจะเข้าใจการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ตามระยะ (แค่พอจะนะคะ) เลยมีข้อสงสัยว่า ทำไมพริกไทยต้นยังเล็กไม่ใช้ ระเบิด 30-10-10 แทนที่จะเป็นระเบิด 8-24-24 ที่ใช้ตอนจะเริ่มออกดอก (จากความเข้าใจในการอ่านกระทู้เก่าๆ) ผิดถูกอย่างไรลุงคิมช่วยอธิบายด้วยค่ะ


thank you.




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Quanjai
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2016
ตอบ: 18

ตอบตอบ: 05/08/2016 8:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

และอีกคำถามหนึ่งค่ะ

เนื่องจากสวนยางคืองานหลัก ปีนี้โค่นต้นยางไปเลยต้องปลูกใหม่ มีพื้นที่ระหว่างร่องยางเยอะ มีคนงานที่สวน เลยเอาฟักทองไปหยอดไว้ 2 กระป๋อง แค่ 2 กระป๋องหยอดห่างๆ ได้ตั้งหลายไร่

อ่านที่ลุงคิมเขียนแนะนำเรื่งฟักทองไว้ ให้ฉีดสหประชาชาติตั้งแต่ฟักทองยังเล็กเลยใช่ไม๊คะ อย่างละ 7 cc/น้ำ 20 ลิตร ได้ไม๊คะ 3 อย่างรวมกันจะกลายเป็น 20 cc/น้ำ 20 ลิตร แล้วทางดินใช้ระเบิดสูตรอะไรคะ ตอนเล็ก ตอนจะออกดอก ตอนมีลูก




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 06/08/2016 6:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Quanjai บันทึก:
.
.
ขอบคุณค่ะ

ยาวมากอ่านแล้วรู้สึกว่ามันซับซ้อน แต่คนทำทุเรียนคงเข้าใจไม่ยาก
COMMENT :
เป็นธรรมดา ซับซ้อนสำหรับคนไม่เคยทำ แต่คนที่ทำเป็นอาชีพมานาน บอกเฉยๆ
เหมือนเราเรียนหนังสือ วิชาเลขคณิตวิชาเดียว เรียนตั้งแต่อนุบาล ถึง ป.เอก ซับซ้อนไหม ?

ข้อมูลนี้ไม่ถึงครึ่งของข้อมูลทั้งหมดที่มี พูดง่ายๆ เขียนหนังสือเรื่องทุเรียนได้เป็นเล่มเลยแหละ แต่ก็จำเป็นไม่ใช่เหรอ รู้ทุเรียนให้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล

คลิกไปอ่านเรื่องทุเรียนที่ "เมนูหลัก" จะรู้ว่า แค่นี้ยังน้อย ว่าแต่ อยากรู้เรื่องทุเรียนมากๆไหมล่ะ

ทำไปก่อน 1-2-3 รุ่นการผลิต (ปี) ก็หาย.ซับซ้อนเอง
ทำทุเรียน ต้องรู้เรื่องทุเรียนตามหลักวิชาการที่แท้จริง
แรกๆ เปิดโผทำไปก่อน เดี๋ยวก็เห็นทางเอง


พอดีวันนี้ไปเอาพวก น้ำดำ. ไทเป. ยูเรก้า. จากไปรษณียที่สั่งคุณชาตรี และที่สั่งคุณน้ำส้ม รบ.30-10-10 ก็มาถึงพอดีวันนี้
COMMENT :
สั่งซื้อมาแล้ว เปรียบเทียบกับที่ซื้อตามร้านขายปุ๋ยที่บ้านซิว่า อย่างไหนราคาถูกกว่ากัน


หลายอย่างมันหนักมาก รปภ.เขาช่วยเอาขึ้นมาส่งให้ เขาบอกเขาเอาทีละชุดก่อนเพราะเงินจำกัด เลยแบ่ง 30-10-10 ไปให้เขาแกลลอนหนึ่งก่อน
COMMENT :
ให้เขาแล้วคงต้องกำกับด้วย ระวัง "ปุ๋ยถูก+ใช้ผิด = ไม่ได้ผล" จะเสียเรานะ


อ่านตามที่ลุงเขียนตอนนี้กำลังบำรุงต้นใบทุเรียน และทางใบต้องใช้ ไบโออิ 25-5-5 สลับโบรอน ใช่ไม๊คะ ซึ่งจะต้องสั่งให้เขา
COMMENT :
ถูกต้อง เรียกใบอ่อน ไบโออิ 25-5-5 (2 รอบ) สลับแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน .... ในรอบ 1-2 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 รอบ


วันที่สั่ง รบ.จากคุณน้ำส้ม ถามว่าใช่ของลุงคิมผลิตหรือเปล่า (เพิ่งรู้ว่า เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน) อัตราการใช้ 1 cc/น้ำ 1 ลิตร หรือ รบ.30-10-10 ทุกอาทิตย์ น้อยไปไม๊คะลุงคิมสำหรับทุเรียน
COMMENT :
รบ.30-10-10 อัตราใช้ 2 ล. /1 ไร่ /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว สร้างดินไว้ก่อน แล้วรากทุเรียนจะตามไปที่ๆมีปุ๋ยเอง รากเยอะๆซี่ดี ว่ามั้ย

เรียกใบอ่อน ทางราก ให้ 25-7-7 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม ....

ทุเรียนไม่ใช่มะเขือ/พริก กินผลเหมือนกัน ทุเรียนต้องกินปุ๋ยมากกว่าเป็นธรรมดา ....
มะเขือ/พริก อินทรีย์นำ-เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของพริก/มะเขือ
ทุเรียนต้องเคมีนำ- อินทรีย์เสริม ตามความเหมาะสมของทุเรียน



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 06/08/2016 6:08 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Quanjai บันทึก:
.
.
ถามหลายคำถามติดกันเลยนะคะ ลุงคิมจะได้ตอบทีเดียว

อ่านที่ลุงคิมตอบเรื่องทุเรียนแล้วทำให้เข้าใจว่า รบ.ก็มีหลายสูตร ไบโออิ.ก็มีหลายสูตร ทำให้ต้องกลับไปอ่านกระทู้พริกไทย ตายจริง..หลงเข้าใจไปว่า ไบโออิ+25-5-5 นั้นคือ ไบโออิเฉยๆ ที่ไม่มีสูตรและ +25-5-5 คือ ปุ๋ยเกล็ดทางใบ เลยสั่งมาสองอย่าง ใช้มันคู่กันในการฉีดทางใบพริกไทยต้นน้อยๆ แต่ว่าฉีดไปหนเดียวค่ะ ดีที่มันไม่ตายเอาด้วยความเข้มข้นยกกำลังสอง รู้สึกละอายใจที่ไม่ศึกษาให้พอรู้เรื่องรู้ราวกะเขาบ้าง
COMMENT :
รบ. ระเบิดเถิดเทิง .... ส่วนผสมอินทรีย์ : กุ้งหอยปูปลาทะเลเลือดไขกระดูกนมน้ำมะพร้าวขี้ค้างคาวน้ำมะพร้าว .... ส่วนผสมเคมี แม็กเนเซียม สังกะสี ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮิวมิกแอซิด.

น้ำดำ ไบโออิ .... ส่วนผสมอินทรีย์ : ไม่มี .... ส่วนผสมเคมี แม็กเนเซียม สังกะสี ไบยูเรต โบรอน ธาตุรอง/ธาตุเสริม กลูโคส.

สังเกตุ :
ทั้ง รบ. และ น้ำดำ ไม่มีธาตุหลัก (NPK) เพราะไม่ได้ใส่ล่วงหน้า แต่ใส่ตามสั่ง หรือใส่ตามพืชที่คนสั่งจะใช้ เช่น
เรียกใบอ่อน/บำรุงต้น ..... 25-7-7, 16-8-8, 30-10-10 (3:1:1)
สะสมตาดอก ............. 8-24-24, 9-26-26 (1:3:3)
ขยายขนาดผล ........... 21-7-14 (3:1:2)
ฯลฯ


ช่วงนี้ก็ไล่อ่านกระทู้เก่าๆ ทำให้พอจะเข้าใจการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ตามระยะ (แค่พอจะนะคะ) เลยมีข้อสงสัยว่า ทำไมพริกไทยต้นยังเล็กไม่ใช้ ระเบิด 30-10-10 แทนที่จะเป็นระเบิด 8-24-24 ที่ใช้ตอนจะเริ่มออกดอก (จากความเข้าใจในการอ่านกระทู้เก่าๆ) ผิดถูกอย่างไรลุงคิมช่วยอธิบายด้วยค่ะ
COMMENT :
พริกไทย :
ระยะต้นเล็ก บำรุงต้น ใช้ 30-10-10
ระยะต้นโต ให้ผลผลิตแล้ว ใช้ 8-24-24

ที่นี่ที่เดียว พูดวิทยุมา 20 ปี เขียนหนังสือเกษตร 50 เล่ม ไม่มีเคยแนะนำสูตรเสมอ 15-15-15, 16-16-16


thank you.




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 06/08/2016 6:09 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Quanjai บันทึก:
.
.

และอีกคำถามหนึ่งค่ะ

เนื่องจากสวนยางคืองานหลัก ปีนี้โค่นต้นยางไปเลยต้องปลูกใหม่ มีพื้นที่ระหว่างร่องยางเยอะ มีคนงานที่สวน เลยเอาฟักทองไปหยอดไว้ 2 กระป๋อง แค่ 2 กระป๋องหยอดห่างๆ ได้ตั้งหลายไร่
COMMENT :
ฟักทองต่างประเทศ ชนะเลิศ ลูกเดียว นน.350 กก. สูงกว่าหัวคน ให้กินเบียร์สดวันละ 1 กป.

อ่านที่ลุงคิมเขียนแนะนำเรื่งฟักทองไว้ ให้ฉีดสหประชาชาติตั้งแต่ฟักทองยังเล็กเลยใช่ไม๊คะ อย่างละ 7 cc/น้ำ 20 ลิตร ได้ไม๊คะ 3 อย่างรวมกันจะกลายเป็น 20 cc/น้ำ 20 ลิตร แล้วทางดินใช้ระเบิดสูตรอะไรคะ ตอนเล็ก ตอนจะออกดอก ตอนมีลูก
COMMENT :
ฟักทอง ต้นเดียวเอาผลหลายผล (ผลเล็ก ทำสังขยาฟักทอง) ใช้สูตรสหประชาชาติ ไม่ผิด

ฟักทอง ต้นเดียวเอาผลเดียว ผลใหญ่ ....
ทางใบ :
*ต้นเล็ก ให้ ไบโออิ 25-7-7 (1 รอบ) แคลเซียม โบรอน 1 รอบ .... ช่วงได้ใบ 10-12 ใบ ให้จิ๊บเบอเรลลิน 1 ครั้ง ช่วยให้เมื่อต้นโตแล้วจะให้ดอกตัวเมียมากกว่าดอกตัวผู้

*ก่อนออกดอก ให้ ไทเป 2 รอบ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ช่วยผสมเกสร ....
*ผลใหญ่ ให้ ไบโออิ+ยูเรก้า สลับ แคลเซียม โบรอน ....

ทางราก :
ให้ รบ.8-24-24 ครั้งเดียว ตอนเตรียมดินเตรียมแปลง ก็พอ




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©