-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 14 NOV * ไคติน ไคโตซาน (1)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 14 NOV * ไคติน ไคโตซาน (1)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 14 NOV * ไคติน ไคโตซาน (1)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 14/11/2017 7:04 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 14 NOV * ไคติน ไคโตซาน (1) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 14 NOV

AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
http://www.nimut.com/
* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://www.bkgmax.com/kaset/product.html
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

* และ ชมรมสีสะนชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ที่ (081) 913-4986 โทรศัพท์เข้ารายการคุยกันสดๆ
ออกอากาศ สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน (02) 888-0881 และอินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม ถาม 1 บันทัด ตอบ 1 หน้า....

--------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด, ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......


**********************************************************



จาก : (096) 468-10xx
ข้อความ : ไคโตซานคืออะไร มีประโยชน์ต่อพืชอย่างไร ?

จาก :
(096) 468-10xx
ข้อความ : ขอสูตรวิธีทำไคโตซานแบบภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยครับ.....ขอบคุณครับ

จาก :
(063) 468-10xx
ข้อความ : ขอความรู้เรื่องไคโตซานต่อนาข้าวด้วยครับ....ขอบคุณครับ

จาก :
(090) 739-29xx
ข้อความ : ไส้เดือน สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีไคโตซาน เอาไส้เดือนมาทำน้ำหมักชีวภาพ จะได้ไคโตซานไหมครับ ....จากคนฟังใหม่

ตอบ :

ไคตินและไคโตซานเป็นอนุพันธ์ของคาร์โบไฮเดรต เป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติ ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมหลายประการ เช่น สามารถแตกสลายได้ทางชีวภาพ การตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่ก่อให้เกิดการอักเสบ ไม่เป็นพิษ และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

โครงสร้างของไคตินและไคโตซานประกอบด้วยไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้พืชดึงดูดแร่ธาตุอื่นไปใช้และยังช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของพืช นอกจากนี้ ไคตินและไคโตซานยังสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศและดิน จึงสามารถนำไปใช้ทำเป็นปุ๋ยชีวภาพได้ ปัจจุบัน มีการนำไคตินและไคโตซานมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์ และพบว่าสารดังกล่าวนี้ สามารถเพิ่มผลผลิตและทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดีขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง เนื่องจากลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง

1. การเคลือบเมล็ดพันธุ์พืช (Seed Coating)
3. สารยับยั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และเชื้อไวรัสบางชนิด
4. อาหารสัตว์ (Animal Feeds)
5. ปุ๋ยธรรมชาติ (Fertilizers / Soil Stabilizers)
6. การเก็บรักษาผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว
6.1 การยืดอายุผลผลิต
6.2 การควบคุมการเกิด enzymatic browning

สรุป

สารไคตินและไคโตซานเป็นโพลิเมอร์ธรรมชาติ เป็นวัสดุทางชีวภาพ (biomaterials) ที่มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ (biocompatibility) ดังนั้นจึงปลอดภัยในการนำมาใช้กับมนุษย์ และไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ตกค้างในดิน ไคโตซานจะมีหมู่อะมิโน (-NH2) และหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ซึ่งสามารถทำปฏิกิริยาทางเคมีเพื่อเปลี่ยนเป็นอนุพันธ์ (derivatives) ได้มากมาย สารไคตินและไคโตซานมีการประยุกต์ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรอย่างแพร่หลาย ได้แก่ การเคลือบเมล็ดพันธุ์พืช (Seed Coating) เป็นสารเร่งการเจริญเติบโต สารยับยั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และเชื้อไวรัสบางชนิด เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ (Animal Feeds) ใช้เป็นปุ๋ยธรรมชาติ (Fertilizers / Soil Stabilizers) อีกทั้งยังช่วยในการเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวได้อีกด้วย ซึ่งสารไคตินและไคโตซานสามารถผลิตได้จากเปลือกกุ้ง กระดองปลาหมึก ซึ่งเป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ได้อีกด้วย

arts.ksu.ac.th/manage/sub_file/nZjyKyFrstt20120605174609.doc
--------------------------------------------------------------------------------

ผลของไคโตซานต่อผลผลิตข้าวเจ้าหอมนิล :

กนกวรรณ วัฒนากร1 และ พรไพรินทร์ รุ่งเจริญทอง1

บทคัดย่อ :
การประยุกต์ใช้ไคโตซานต่อผลผลิตข้าวเจ้าหอมนิล โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จัดสิ่งทดลองแบบ 2x6 Factorial จำนวน 5 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ

ปัจจัยที่ 1 ฤดูกาลปลูก แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ ฤดูปลูกที่หนึ่งช่วง เดือนพฤศจิกายน 2557 - กุมภาพันธ์ 2558 ฤดูปลูกที่สองช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2558 - พฤษภาคม 2558

ปัจจัยที่ 2 ความเข้มข้นของไคโตซาน ได้แก่ 0, 2, 4, 8, 10 และ 16 มล./ล. พบว่า ฤดูกาลปลูกไม่มีผลต่อความยาวรวง น้ำหนัก เมล็ดรวม เปอร์เซ็นต์เมล็ดดี และเมล็ดลีบ แต่มีผลต่อน้ำหนัก 1,000 เมล็ดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ส่วนความเข้มข้น ของไคโตซานมีผลต่อความยาวรวง น้ำหนัก 1,000 เมล็ด น้ำหนักเมล็ดรวม และเปอร์เซ็นต์เมล็ดดีเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งช่วย ลดเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบได้ถึง 24.94% เมื่อเทียบกับชุดควบคุม โดยการให้ไคโตซานที่ความเข้มข้น 8, 10 และ 16 มล./ล. ทำให้ผลผลิตข้าวเจ้าหอมนิลเพิ่มขึ้น

https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=O047%20Agr11.pdf&id=2261&keeptrack=2

--------------------------------------------------------------------------------


ผลิตไคติน-ไคโตซาน จาก หอยเชอรี่

คุณณิชมน ธรรมรักษ์ นักวิทยาศาสตร์ สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

กล่าวถึงขั้นตอนการผลิตไคติน ไคโตซานจากหอยเชอรี่ว่า....

ขั้นที่ 1 : นำหอยเชอรี่ 1 กก. มาตากให้แห้งแล้วต้มในน้ำเดือด เพื่อแยกเนื้อออก ล้างเปลือกหอยที่นำเอาเนื้อออกให้สะอาดและตากให้แห้ง

ขั้นตอนที่ 2 : นำเปลือกหอยมาต้มในน้ำโซดาไฟ 4% (สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์) เข้มข้น ร้อยละ 4 นาน 4 ชม. หรือ แช่ไว้ 1-2 วัน เพื่อกำจัดโปรตีนที่ติดมากับเปลือกหอย

ขั้นตอนที่ 3 : ล้างด้วยน้ำสะอาดทิ้งไว้ให้แห้ง บดเปลือกหอยเชอรี่ให้มีขนาดเล็กลง

ขั้นตอนที่ 4 : ต้มในน้ำกรดเกลือเข้มข้น 4% (สารละลายกรดไฮโดรคลอริก) เข้มข้น ร้อยละ 4 นาน 24 ชม. หรือแช่ไว้ 2-3 วัน เพื่อกำจัดแร่ธาตุที่บริเวณเปลือกหอย

ขั้นตอนที่ 5 : ล้างเปลือกหอยด้วยน้ำสะอาด ตากให้แห้ง และนำเปลือกหอยที่แห้งแล้วมาบดพอละเอียด จะได้ไคติน

ขั้นตอนที่ 6 : นำไคติน มาละลายกับน้ำโซดาไฟ เข้มข้น 40% (สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น ร้อยละ 40)

ขั้นตอนที่ 7 : นำมาต้มในอ่างน้ำเดือด นาน 4 ชม. จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วนำไปละลายในน้ำโซดาไฟ ต้มในอ่างน้ำเดือดอีก 4 ชม. อีกครั้งหนึ่ง

ขั้นตอนที่ 8 : หลังจากนั้นให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาดนำไปตากให้แห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียดจะได้ไคโซซานที่นำไปใช้ประโยชน์ได้

สำหรับการนำไคโตซานไปใช้ประโยชน์ นำไคโตซาน 10 กรัม ในน้ำส้มสายชู 1 ล. จะได้สารละลายไคโตซาน เมื่อต้องการนำไปใช้กับพืชหรือข้าวให้นำสารละลายไคโตซานที่ได้ จำนวน 20 ซีซี. หรือ 1 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 20 ล. หรือ ไคโตซาน 1 ส่วน ต่อน้ำ 100 ส่วน แล้วทำการฉีดพ่น ใต้ใบพืช หรือ ราดบริเวณโคนต้น เพื่อช่วยให้พืชสร้างภูมิคุ้มกันโรค ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน เป็นตัวกระตุ้นเซลล์ของพืชให้ดูดซึมธาตุอาหารได้ดี ทำให้ ราก ลำต้น ใบ แข็งแรง โตเร็ว ผลดก ขั้วเหนียว ทนต่อโรค และแมลง

ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณณิชมน ธรรมรักษ์ นักวิทยาศาสตร์ สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร.08-9700-5237 หรือ ว่าที่ร้อยตรีหญิงพิมพ์ผกา คำอ่อน นักวิชาการเกษตร เทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โทร.08-7177-9843

http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05056010456&srcday=&search=no


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=220
ไคโตซาน กับนาข้าว

--------------------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©