-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ข้อเสนอแนะเรื่องการอบรม
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้อเสนอแนะเรื่องการอบรม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้อเสนอแนะเรื่องการอบรม

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11656

ตอบตอบ: 08/08/2009 8:59 pm    ชื่อกระทู้: ข้อเสนอแนะเรื่องการอบรม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

อยากทราบความคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะ เรื่องการอบรมการเกษตร ที่ไร่กล้อมแกล้มว่าควร ปรับปรุง - เปลี่ยนแปลง - เพิ่มเติม - ยกเลิก - ฯลฯ อะไร - อย่างไร บ้าง


ขอบคุณมากๆ ข้อเสนอแนะที่ให้มาแล้ว
และขอขอบคุณล่วงหน้า สำหรับข้อเสนอแนะใหม่



ลุงคิมครับผม


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/08/2019 6:09 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Tonypong
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 11

ตอบตอบ: 09/08/2009 7:30 am    ชื่อกระทู้: Re: ข้อเสนอแนะเรื่องการอบรม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:

อยากทราบความคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะ เรื่องการอบรมการเกษตร ที่ไร่กล้อมแกล้มว่าควร ปรับปรุง - เปลี่ยนแปลง - เพิ่มเติม - ยกเลิก - ฯลฯ อะไร - อย่างไร บ้าง


ขอบคุณมากๆ ข้อเสนอแนะที่ให้มาแล้ว
และขอขอบคุณล่วงหน้า สำหรับข้อเสนอแนะใหม่



ลุงคิมครับผม


ผมยังไม่มีโอกาสเข้ารัีบการอบรม แต่โชคดีที่ได้มีโอกาสไปที่ไร่กล้อมแกล้มในวันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม 2552 ที่ลุงคิมทำการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกรคลื่นลูกใหม่ที่เป็นเยาวชนที่มีการศึกษาซึ่งผมคาดว่าคงมีหลายๆคนที่อยู่ในระดับอุดมศึกษา และกำลังมีส่วนช่วยครอบครัวของตนเองทำการเกษตรอยู่ แนวทางที่ลุงคิมถ่ายทอดความรู้เท่าที่ผมได้เห็น ผมคิดว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว เพราะถ่ายทอดความรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติที่เจาะลึกและให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง และเป็นการถ่ายทอดความรู้ชนิดที่ไม่มีการปิดบัง ประกอบกับเยาวชนกลุ่มนี้มีระดับการศึกษาสูงพอสมควรและมีฐานะทางการเงินดี จึงกระตือรือล้นต่อการรับถ่ายทอดความรู้และเก็บเกี่ยวความรู้ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งผมเชื่อมั่นว่าเยาวชนกลุมนี้มีความพร้อมที่จะนำเอาความรู้ที่ได้รับ ไปทำการต่อยอดให้เกิดประสิทธิผลในการเกษตรได้อย่างจริงจัง

ในกรณีที่ทำการฝึกอบรมให้แก่เกษตรกรที่อยู่ในวัยเกินกว่า 35 ปี และเป็นเกษตรกรที่ไม่ได้มีฐานะทางการเงินดี จากที่ผมได้มีโอกาสพบเห็นการฝึกอบรมให้แก่เกษตรกรกลุ่มนี้ ผมคิดว่าวิธีการถ่ายทอดความรู้อย่างที่ลุงคิมทำอยู่ อาจไม่ให้ผลตอบสนองที่ดีตามเป้าประสงค์ของลุงคิม ด้วยเหตุหลายประการ เช่น

1. มีระดับการศึกษาไม่มากพอที่จะเข้าใจข้อมูลทางวิชาการในการทำการเกษตรระดับหวังผลสูงมากแบบลุงคิม

2. มีฐานะทางการเงินไม่ดีพอที่จะแสวงหาสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยที่ตนเองจะสามารถเก็บเอาความรู้กลับไป เพื่อที่จะไปทำความเข้าใจให้ท่องแท้กับความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดในภายหลัง

3. ไม่กล้าซักถามเพื่อให้เกิดความกระจ่างในการรับถ่ายทอดความรู้ มักจะปล่อยโอกาสให้เสียไปโดนรอและหวังว่าจะมีคนซักถามในประเด็นที่ตัวเองสงสัยแต่ไม่กล้าซักถาม

4. ไม่มีการเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเข้ารับการอบรม เช่นจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องเขียนและสมุดเพื่อจดบันทึก เท่าที่ผมเคยพบ เกษตรกรในกลุ่มนี้หลายคนมาแบบตัวเปล่าสำหรับการฝึกอบรมระยะวันเดียว

5. ไม่ได้รับการฝึกหรือได้รับคำแนะนำในการเข้ารับการอบรมมาก่อน ส่วนใหญ่จึงไม่รู้วิธีการที่จะทำใจหรือบังคับตัวเองให้เป็นคนประเภทแก้วว่าง ทำให้ไม่สามารถรับการถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ตนเองจะมีความตั้งใจจริงในการเข้ารับการฝึกอบรม เนื่องจากตนเองเคยชินกับวิธีปฏิบัติทางการเกษตรแบบเดิมๆ เกิดความลังเลและไม่แน่ใจทำให้ไม่สามารถจะรับความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง เสมือนเป็นคนประเภทน้ำเกือบเต็มแก้ว รับได้เพียงเล็กน้อยก็ไม่สามารถรับเพิ่มเติมอีกได้

เหตุดังที่ผมได้แสดงไว้ทำให้เกษตรกรกลุ่มนี้ ไม่สามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาการผลิตทางการเกษตรของตนเองได้เต็มที่ตามที่วิทยากรได้ถ่ายทอดความรู้ให้ บางครั้งก็มีการพูดกันว่าเป็นการเสียเปล่าทั้งเวลาและทรัพยากรที่ได้ใช้ไปในการฝึกอบรม เพราะเกษตรกรบางคนเมื่อกลับไปยังบ้านตนเองก็ไม่ได้นำความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดไปพัฒนาวิธีการทำการเกษตรของตนเอง มีเกษตรกรอีกจำนวนไม่น้อยที่เมื่อกลับไปก็มีความรู้ครึ่งๆกลางๆ
ไม่อาจปฏิบัติให้ถูกต้องอย่างที่วิทยากรได้ถ่ายทอดให้ ผลผลิตที่ได้รับก็ไม่ดีพอ เลยเกิดความไม่เชื่อถือ เกิดความท้อแท้และสิ้นหวัง สุดท้ายก็เลิกนำเอาวิทยาการที่ได้รับการถ่ายทอดไปปฏิบัติต่อไป มีเกษตรกรในกลุ่มนี้น้อยคน ผมคิดว่าอาจไม่ถึงร้อยละ 5 ที่สามารถ
นำเอาความรู้ไปพัฒนาการเกษตรของตนเองให้มีความก้าวหน้าและมีผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อันเป็นเหตุให้วิทยากรหลายคนไม่อยากจะทำการฝึกอบรมให้แก่เกษตรกรกลุ่มนี้

ผมคิดว่าเกษตรกรกลุ่มนี้ยังคงต้องการที่จะได้รับการฝึกอบรม และถ้าลุงคิมประสงค์จะช่วยเกษตรกลุ่มนี้ อาจต้องมีการปรับวิธีการถ่ายทอดความรู้ เช่น

1. ต้องอธิบายทฤษฎีให้น้อย โดยอาจต้องหาวิธีอธิบายด้านเคมีอย่างง่ายๆ

2. เน้นการปฏิบัติ โดยให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมทุกคนจะต้องปฏิบัติในขั้นตอนที่ไม่ได้มีการใช้เครื่องจักรเข้ามาทดแทนแรงงาน ยกตัวอย่างเช่น จะต้องหยิบสารเคมีได้ถูกต้องด้วยตนเอง ต้องชั่ง ตวง วัด ได้ด้วยตนเอง ฯลฯ

3. ไม่ต้องอธิบายว่าสารเคมีตัวนี้มีผู้ผลิตหลายราย แต่เน้นให้เกษตรกรผู้เข้ารับการอบรมจดจำให้ได้ว่าสารเคมีตัวนีคืออะไร ใช้อย่างไร ถึงขั้นที่จะต้องช่วยพวกเขาด้วยการบอกถึงแหล่งที่จะไปหาซื้อได้โดยสะดวก และถ้าหาซื้อไม่ได้จะใช้อะไรทดแทนได้บ้าง และต้องไม่คิดว่าจะถูกบุคคลบางคนที่มีจิตอกุศลจะให้ร้ายว่ามุ่งหาผลประโยชน์ในการโฆษณา เพราะอาจต้องเลือกวัตถุดิบยี่ห้อที่เชื่อมั่นแล้วว่าดี ไม่ปลอมปนหรือเอาเปรียบเกษตรกร และมีราคาที่ประหยัดที่สุด โดยระบุให้เกษตรกรเลือกยี่ห้อนี้สำหรับวัตถุดิที่ต้องใช้ เพราะเกษตรกรจะสามารถจดจำและไปหาซื้อเอามาใช้ได้

4. หลักสูตรอบรมต้องอบรมเพียงครั้งละ 1 ถึง 2 ชนิดเท่านั้นเพื่อให้มีเวลาในการปฏิบัติให้มากที่สุด

5. ต้องมีการจัดทำเอกสารคำสอนหรือคำบรรยายให้แก่เกษตรกรกลุ่มนี้ เพื่อที่จะสามารถนำเอาไปใช้ปฏิบัติได้เองอย่างถูกต้อง

6. ต้องเหน็ดเหนื่อยต่อการซักถามผู้เข้ารับการอบรมเป็นรายคนในทุกหัวข้อ เพื่อที่จะทำให้พวกเขาได้รับความรู้อย่างที่ลุงคิมต้องการ เพราะหากหวังให้พวกเขาเป็นผู้ถามเอง พวกเขาส่วนใหญ่จะไม่กล้าถาม


วิธีการเหล่านี้จะทำให้ลุงคิมต้องเหน็ดเหนื่อยอย่างยิ่ง และต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าหากต้องการช่วยพวกเขาอย่างจริงจัง ก็จำเป็นต้องยอมเหน็ดเหนื่อยและเสียค่าใชจ่ายเพิ่มมากขึ้น ลุงคิมอาจจะต้องจัดตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในการให้การฝึกอบรมแก่เกษตรกรกลุ่มนี้ ซึ่งผมเข้าใจว่ายังคงมีอยู่เป็นจำนวนมาก และตัวพวกเขาเองก็อยากจะได้รับการฝึกอบรม แต่ไม่รู้วิธีการว่าจะต้องทำอย่างไร ประการสำคัญ เกษตรกรกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีความรู่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์น้อยจนถึงไม่รู้เลย จึงไม่มีประสบการณ์ในการสืบค้นและเข้าถึงข้อมูลความรู้ต่างๆ ผมเชื่อว่ามีผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมจากลุงคิมไปแล้วที่มีฐานะการเงินที่ดีและมีจิตกุศลเต็มใจที่จะให้การสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนเป็นจำนวนไม่น้อย หากลุงคิมจะเอ่ยปากบอกต่อพวกเขา ดังเช่นผู้เข้ารับการฝึกอบรบทางธรรมในการปฏิบัติวิปัสสนาที่เต็มใจบริจาคเพื่อการฝึกอบรมของคนในรุ่นต่อๆมา

ลุงคิมอาจเปิดการฝึกอบรมให้กับเกษตรกรกลุ่มนี้เพียงปีละครั้งหรือสองครั้ง ก็นับว่าเป้ฯบุญของพวกเขาที่จะได้รับการถ่ายทอดความรู้จากลุงคิม และลุงคิมอาจขอร้องให้กลุ่มเกษตรกรคลื่นลูกไหม่เป็นอาสาสมัครในการเป็นพี่เลี้ยงให้แก่เกษตรกรพวกนี้ในแต่ละจังหวัดที่เกษตรกรคลื่นลูกใหม่มีถิ่นฐานอยู่ ก็จะยิ่งเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรที่ยังไม่ทันสมัยสามารถปรับตัวและความคิดมาทำการเกษตรแบบหวังผลสูงของลุงคิมได้ ในขณะเดียวกันก็จะเป็นการฝึกฝนให้กลุ่มเกษตรกรคลื่นลูกใหม่มีทักษะและประสบการณ์ในการถ่ายทอดความรู้ใก้แก่บุคคลอื่น ซึ่งในที่สุดอาจเป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของลุงคิมต่อไป

ผมเรียนเสนอความคิดเห็นเพียงนี้ ความคิดเห็นของผมคงจะไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะผมไม่เคยเป็นผู้ให้การฝึกอบรม เพียงแต่เคยเข้าสังเกตุการฝึกอบรมเกษตรกรในบางครั้ง หวังว่าลุงคิมคงจะไม่ถือสาตัวผมที่เสนอความคิดเห็นครั้งนี้


ด้วยความเคารพ
สันติสุข
หากลุงคิมจะเอ่ยปากขอรับการสนับสนุนจากพวกเขาเหล่านั้น


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 09/08/2009 1:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
เรียน คุณTonypong

อ้อ.เป็นคนหนึ่งในกลุ่มเกษตรกรคลื่นลูกใหม่ ที่ไปฝึกอบรมที่ไร่กล้อมแกล้มและได้มีโอกาสพบกับคุณTonypongและมีเวลาพูดคุยด้วยเล็กน้อย อ้อ.ไม่เข้าใจความหมายของคำว่า "การทำการเกษตรแบบหวังผลสูงของลุงคิม" ในความหมายของคุณ Tonypong รบกวนช่วยอธิบายด้วยนะคะ

พวกเราไม่ใช่ผู้ที่มีฐานะทางการเงินร่ำรวยเหมือนที่คุณ Tonypong เข้าใจ ที่เราไปที่ไร่กล้อมแกล้มเพราะเกิดวิกฤตกับการทำการเกษตรแบบเดิมๆของพ่อแม่ แต่พวกเราพยายามแสวงหาโอกาสทุกๆหนทางที่พวกเราจะหยิบจับได้ เพียงแต่เราเปิดใจให้กว้าง ลุงคิมเคยบอกว่า

" ยากที่ใจ ถ้าใจไม่เอา สอนให้ตาย ก็ไม่เอา "

อ้อ.เห็นด้วยกับแนวคิดการทำการเกษตรของลุงคิม ที่สอนให้เกษตรกรรู้จักลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและเพิ่มคุณภาพของผลผลิต เพราะนี่คือ"ทางรอดของเกษตรกรไทย"

เป้าหมายหลักในการทำงานของพวกเราคือนำสิ่งที่ลุงคิมสอน มาปฏิบัติให้สัมฤทธิผลให้ได้ จากนั้นเราจะถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรในชุมชุนและอาจขยายผลถึงทั่วประเทศ พร้อมๆกับการเรียนรู้เพิ่มเติมจากลุงคิม

" ไม่ต้องให้ลุงคิมเอ่ยปากหรอกค่ะ มันอยู่ในแผนของเราแล้ว"


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
pomphet
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 29
ที่อยู่: อ.ฝาง

ตอบตอบ: 09/08/2009 8:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ผมยังไม่มีโอกาสไปฝึกอบรมที่ไร่กล้อมแกล้มครับ แต่ผมเห็นด้วยกับคุณอ้อครับ กับคำพูดของลุงคิม
" ยากที่ใจ ถ้าใจไม่เอา สอนให้ตาย ก็ไม่เอา "


อ้อ.เห็นด้วยกับแนวคิดการทำการเกษตรของลุงคิม ที่สอนให้เกษตรกรรู้จักลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและเพิ่มคุณภาพของผลผลิต เพราะนี่คือ"ทางรอดของเกษตรกรไทย"

ฉะนั้นผู้ที่ต้องการจะมาอบรมที่สวนของลุงคิม ต้องเตรียมตัวและเตรียมใจให้พร้อม ที่จะมาเอาความรู้และประสบการณ์จากที่นี่ ถ้าเกษตรกรคนไหนไม่พร้อมที่จะยอมเปลี่ยนแปลงตัวเอง ทำตัวเป็นน้ำล้นแก้วก็อย่ามาเลยครับ เสียเวลาและแรงของลุงคิมเปล่า ๆ สงสารคุณครูผู้อาวุโส ที่มีความตั้งใจจริงที่จะทำให้การเกษตรบ้านเราดีขึ้นถ้าเกษตรกรไม่รู้จักวิธีการลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มคุณภาพของผลผลิตแล้วล่ะก็ ตายแน่ ๆ เพราะทุกวันนี้ เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ มีตลาดเป็นของตัวเองนั้นเพราะคุณภาพของผลผลิตเขาไม่เหมือนของคนอื่น

ยกตัวอย่าง ลิ้นจี่สวนโกตาพันธุ์กิมเจง ขายออกจากสวนได้ในราคา กก.ละ 50 บาท กล่องละ 500 บาท แต่ในขณะเดียวกันกับลิ้นจี่ที่บ้านผมและบ้านอื่น ๆ ขายได้ในราคา กก.ละ 18 บาท กล่องละ 180 บาท ทั้งที่หน้าตาก็เหมือนกัน ขนาดลูกของผมใหญ่กว่าด้วยซ้ำ แต่ยังขายได้แค่นี้และแทบจะขายไม่ได้ด้วยซ้ำ เพราะแม่ค้าบอกว่าตลาดตาย แต่ในขณะที่สวนโกตา ต้องโทรฯ มาสั่งของล่วงหน้า2วันถึงจะได้ของ นี่เป็นเพราะอะไร ฉะนั้นถ้าเราไม่ปรับตัวไม่เปลี่ยนแปลงทำสิ่งที่ดีขึ้นแล้วล่ะก็ เราจะอยู่รอดได้อย่างไร

หมายเหตุ :
ขนาดผมลดต้นทุนด้วยฮอร์โมนน้ำดำของลุงคิมแล้วนะครับ ยังขาดทุนเลย ขาดทุนค่าแรงครับ เพราะลิ้นจี่คนงานทำงานครึ่งวันแต่ต้องจ่ายค่าแรงเต็มวัน (เริ่ม 05.00 น. - 12.00 น.)

ส่วนเนื้อหาที่ลุงคิมจะสอนนั้นผมคิดว่าให้กลุ่มที่จะไปนั้นเขาตกลงกับลุงดีกว่านะครับ ว่าอยากเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง เพราะความต้องการและระยะเวลาของแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกันครับ อย่างผมอยู่ไกลมากแต่ผมมีเวลา 3 วัน ผมก็อยากรู้ทุกสิ่งที่ลุงคิมจะสอน เพราะผมคิดว่าประสบการณ์ของลุงคิมทุกเรื่องสามารถนำมาใช้ในสวนผมได้ทุกเรื่อง แม้แต่มุมมองความคิดที่ผมมองข้ามไปและมองไม่เห็น ลุงคิมยังมองเห็นและให้คำแนะนำดี ๆ ได้ ทำให้ผมได้ฉุกคิดขึ้นมาว่าการทำเกษตรนั้น อย่าไปทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากเหมือนนักวิชาการเขา พวกนั้นเขามีเงินเดือน แต่เกษตรกรอย่างเราไม่มีเงินเดือนแถมทำงานเหนื่อยด้วย อะไรที่เป็นการลดรายจ่ายได้ก็ต้องทำไว้ก่อน ให้คุ้มค่าเหนื่อย เพราะเหงื่อของเราทุกหยดมีค่าครับ อย่าให้เสียเปล่า


เคารพทุกความคิดครับ
ป้อมเพชร




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mangotree
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009
ตอบ: 95

ตอบตอบ: 09/08/2009 8:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

สวัสดีครับคุณลุง Tonypong

ผมอายุ 37 ปีเริ่มต้นทำการเกษตร ในราวปี 2547 สำเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยบริหารธุรกิจ แห่งหนึ่ง ถือว่าประสบการณ์บนโลกยังน้อย ได้ฝึกหัดทำการเกษตร มีแรงงาน คน เพียง 2 คน บนเนื้อที่ 15 ไร่เศษโดยใช้พื้นฐานของปรัชญา ศก.พอเพียงในการดำเนินชีวิต

หัวข้อหนึ่งในเรื่องปรัชญา ศก.พอเพียงคือ การพึ่งพาตนเอง อย่างมีความรู้คู่คุณธรรม สร้างเป็นภูมิคุ้มกัน และอื่นๆอีกมากมาย

ดังนั้น หลายประการที่คุณลุง Tonypong กล่าวมานั้นไม่ได้ใช้ปรัชญา ศก.พอเพียงในการดำเนินชีวิต

....ถ้าไม่หมั่นฝึกฝนอย่างมีระเบียบขั้นตอนถูกวิธี ให้เข้าใจแล้ว จะนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองอย่างไรครับ





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pitipol
เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 332
ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง

ตอบตอบ: 10/08/2009 4:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตามความเห็นของผมแล้ว ลุงคิมไม่ต้องเปลี่ยนอะไรเลยครับ อาจจะ
เป็นเพราะถูกจริตตัวผมก็ได้กระมัง

สอนคนให้เป็นคน ยากครับ สอนคนให้เหนือคน ยิ่งยากใหญ่และผม
รู้ว่าลุงคิม ไม่ชอบอะไรง่ายๆ อยู่แล้ว

เพิ่มความรู้ มันง่ายครับ แต่เปลี่ยนทัศนคติ เปลี่ยนความคิด และเปลี่ยน
ใจ มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย เพราะฉะนั้น สิ่งที่ลุงคิมทำ มันเลยดูยาก
หนัก น่าต้อแต้ แต่ผมว่า สิ่งที่ลุงคิมได้รับกลับมา มันยิ่งใหญ่ น่าชื่นใจ

และสิ่งที่ลุงคิมทำลงไป ทำด้วยใจของลุงคิม ลุงคิมก็ได้ใจพวกเรา
ด้วยครับ

สิ่งที่ผมเห็นพี่ๆ กลุ่มผมหลังจากที่ไปไร่กล้อมแกล้ม มันมากกว่าความ
รู้ครับ ผมเห็นพี่ๆ เขากระตือรือร้น ใจจดใจจ่อ มีความต้องการที่จะพัฒนา
ตนเอง มีความต้องการที่จะพัฒนาสวน มีความต้องการที่จะคนรอบข้าง
มีความต้องการที่จะพัฒนาท้องถิ่น และใจที่รักการเกษตรมากขึ้นกว่า
ตอนที่ผมเพิ่งรู้จักพี่ๆ เขาครับผม

ลุงคิมครับ อยากจะบอกลุงคิมว่า ลุงคิมไม่ได้ทำการอบรมการเกษตร
ครับ ลุงคิมทำมากกว่านั้นเยอะ

อย่างนี้แหละคับ
"ใช่เลย...ตรงใจฉันเลย...ไม่มีมากไป...ไม่มีน้อย....ถูกใจทุกอย่าง"
_________________
เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ MSN
seree0216
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009
ตอบ: 2

ตอบตอบ: 10/08/2009 5:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับ

- ผมคิดว่าพอจะเข้าใจ ความปรารถนาดีของลุงคิม ที่พยายามถ่ายทอด
ความรู้ประสพการณ์ ให้แก่คนทั่วไป ให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ตลอด
เวลาเป็น 10 ปี (เข้าใจว่ามากกว่านี้ด้วย)

- ส่วนคุณTonypong ผมคิดว่าพอจะเข้าใจ และพยายามแสดงมุมมอง
ต่างๆ ซึ่งก็คิดว่ามีประเด็นที่น่าสนใจอยู่เหมือนกัน เพียงแต่เราต้องเปิด
ใจรับฟังกัน

- ประเด็นของผม ผมกำลังจะมองสถานบันแห่งนี้ ให้เหมือนพุทธศานา
(ไม่รู้ไปไกลใหมเนี่ย)

- บัว4เหล่า เราไม่สามารถช่วยใครได้ทุกคน ทำให้ใครกระจ่างในเรื่อง
ได้ถ่องแท้ในระดับเดียวได้ทุกคน สำคัญต้องแบ่งกลุ่มคนให้ออกว่า
ใครจะรับได้แค่ไหน

- ความรู้ประสพการณ์ ของลุงคิมที่มุ่งหวังจะถ่ายทอด ทำอย่างไรจะ
คงอยู่ให้คนที่ต้องการรู้ ได้เข้ามาค้นหา Web นี้ก็เป็นการริเริ่มที่ดี
แต่ทำอย่างไรจะไม่ล่มอีก ผมกำลังคิดว่าจะทำอย่างไรจะดูด Web
เก็บไว้ดูภายหลังได้

- เวลานี้ผมคิดว่า ศิษเอก ของลุงคิม น่าจะรับช่วงต่ออย่างจริงจังได้
แล้ว ลุงไม่ควรต้องมาสอนความรู้พื้นฐานแล้ว เวลาของลุงมีค่ากับทุก
คนนะครับ ลุงน่าลงได้ลึกกว่านี้ แล้วก็เขียนคัมภีร์ ไว้ และถ่ายทอด
เคล็ดวิชาไว้ให้เจ้าสำนักรุ่นต่อไป

-เพื่อนๆ ในนี้อย่างคิดมากนะครับ ผมรักและหวังดีกับลุงอยากลุงอยู่
กับเรานานๆ นะครับ


ขอบคุณครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 10/08/2009 8:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.newwavefarmer.com/forum/index.php?topic=1155.0

สวัสดีครับลุงคิม และ ทุกคน

เนื่องจาก com ที่ทำงานเข้าสู่ระบบของ web. kasetloongkim.com
ไม่ได้ ผมจึงยกมาร่วมแสดงความคิดเห็นใน web นี้แทน ผมได้อ่าน
ข้อเสนอแนะของหลายๆท่าน ทุกคนก็มีความเห็น มีมุมมองที่หลาก
หลาย ที่เป็นประโยชน์นำไปสู่การปรับปรุงและ การพัฒนาให้สัมฤทธิ์ผล

จากการที่ผมได้ไปฟังลุงคิมสอนทำปุ๋ยเมื่อเมื่อปีที่แล้ว ( พ.ย 51 ตาม
ภรรยาไป ) ผมได้เห็นสมาชิกที่เข้าอบรม มีตั้งแต่หนุ่มยันแก่ การศึกษา
ก็มีตั้งแต่ ป 4 - ปริญญา การรับข้อมูลจากการเรียนก็ได้รับไม่เท่ากันอยู่
แล้ว บางคนก็จดบันทึกทุกขั้นตอน บางคนก็จดบ้างไม่จดบ้าง บางคนก็
ดูอย่างเดียวแล้วอาศัยจำเอา ได้รับข้อมูลไม่ครบ นำไปปฏิบัติแล้วไม่สำเร็จ
ไม่ได้ผล บางสิ่งง่ายสำหรับเรา แต่อาจจะยากสำหรับเขา

ในความเห็นของผมนะครับ การที่จะทำให้ผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน
แต่พอเรียนเสร็จแล้วได้รับข้อมูลเท่าๆกัน ลุงคิมลองทำคู่มือ ( work
standard ) ฉบับของลุงคิม ในแต่ละเรื่องที่สอน ซึ่งมีทั้งภาษาเขียน และ
รูปภาพประกอบแต่ละขั้นตอนในการทำ พูดง่ายๆเหมือนการจับมือทำ บาง
คนอ่านภาษาเขียนแล้วเข้าใจ บางคนก็ไม่เข้าใจ แต่ถ้ามีรูปประกอบด้วย
จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้นอีก ได้ผลผลิตที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ( ประสบ
การณ์ตรงจาการเป็น trainer สอนช่างเทคนิคเข้างานใหม่ครับ ก็มีอย่าง
ทีกล่าวมา เมื่อถึงเวลา test ที่กำหนด ก็ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง จึงทำ work
standard ตั้งแต่การทำขั้นตอนแรก จนถึงขั้นตอนสุดท้าย ทั้งการถอด
การล๊อคสกรู ค่าแรงที่ใช้ ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง การทำความสะอาด การวัด
ค่า spec อื่นๆ )

ค่าใช้จ่ายเรื่องเอกสารก็ให้ผู้เข้าเรียนเป็นคนออก เอกสารของแต่ละเรื่อง
ที่สอนมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ลุงคิมแจ้งไว้เป็นมาตรฐานไว้เลย เพื่อให้ผู้เข้า
อบรมเตรียมไว้ ถ้าให้ลุงคิมออกให้หมดก็แย่หล่ะสิครับ สอนก็สอนฟรี ยัง
ไม่คิดตังค์เลย ร่วมเสนอแนะแค่นี้ก่อนนะครับ

Kaset apply ครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Tonypong
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 11

ตอบตอบ: 12/08/2009 12:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมขอชี้แจงความคิดของผมในประเด็นที่ผมเขียนไว้.........

" การทำการเกษตรแบบหวังผลสูงของลุงคิม "

ผมหมายถึงการทำการเกษตรที่มุ่งให้ได้รับผลผลิตจากการทำงาน
ให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยพยายามใส่ปัจจัยต่างๆที่พืชต้องการ
ตลอดจนปรับสภาพแวดล้อมและปรับปัจจัยต่างๆที่ให้ต่อพืชให้สอด
คล้องกับความชอบของพืชแต่ละชนิดให้มากที่สุด เพื่อมุ่งให้พืช
ตอบสนองต่อปัจจัยที่ให้ไปในรูปของผลผลิตที่จะได้รับกลับมาเต็ม
ศักยภาพของพืชชนิดนั้น โดยไม่ยึดติดกับแนวคิดใดเพียงแนวคิด
เดียว แต่นำเอาประโยชน์จากแนวคิดหลายๆแนวมาประยุกต์รวมกัน
เช่นการรวมเอาคุณประโยชน์จากแนวคิดของเกษตรชีวภาพมาใช้โดย
ไม่ทิ้งประโยชน์จากแนวคิดในการใช้สารเคมี ในขณะเดียวกันก็มุ่ง
ลดต้นทุนการผลิตโดยไม่หลงประเ็ด็นไปกับการตลาดของเทคโนโลยี
สมัยใหม่เพราะยังคงใช้ประโบชน์จากภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยเช่นกัน

ผมเห็นด้วยกับแนวความคิดหลากหลายที่มีผู้แสดงไว้ เพราะการ
เกษตรพอเพียงต้องทำด้วยใจรักและต้องมีความเพียรพยายามในการ
แสวงหาความรู้ประกอบกันไป ในขณะเดียวกันก็ต้องแสวงหาความ
ร่วมมือจากบุคคลอื่นด้วย เพราะหากทำการเกษตรด้วยตนเองเพียง
ฝ่ายเดียวไม่ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากบุคคลอื่นที่มีแนวคิด
แบบเดียวกัน ย่อมไม่สามารถฝ่ากระแสของการทำการเกษตรแบบทุน
นิยมได้

ในขณะที่ตัวเราที่มีความพร้อมและโอกาสดีกว่าในการเข้าถึงองค์ความ
รู้และปัจจัยต่างๆในการทำการเกษตร และสามารถทำการเกษตรด้วย
ความวิริยะอุตสาหของตัวเราเองได้อย่างมีผลดี ผมก็หวังว่าจะได้เห็น
เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จแล้วยังคงมีใจเมตตาปราณีต่อเกษตรกร
ผู้ที่ยังคงลำบากและพยายามดิ้นรนที่จะหาทางให้หลุดพ้นจากความ
ลำบากเหล่านั้น แต่ยังไม่พบกับทางสว่าง เพียงเพราะิเขาเหล่านั้นด้อย
ในความรู้และขาดโอกาสที่จะนำเอาความรู้มาปรับปรุงการทำการเกษตร
ของเขา และบางคนก็อาจหลงผิดไปตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาชวน
เชื่อของระบอบทุนนิยมซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในโลกปัจจุบัน ถ้าบรรดา
เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จดุจดังกับผู้ที่เป็นบัวพ้นน้ำจะมีใจเมตตาช่วย
กันฉุดและสนับสนุนให้เกษตรกรที่ยังเป็นบัวปริ่มน้ำหรือยังเป็นบัวใต้น้ำ
ได้มีโอกาสเป็นเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จกลายเป็นบัวพ้นน้ำได้เช่น
เดียวกัน ก็จะเป็นกุศลอย่างใหญ่หลวง ดังเช่นองคุลีมานที่ได้มีโอกาส
พบพระพุทธเจ้าและกลายเป็นพระอรหันต์ไป

ผมชื่นชมในความเมตตาของลุงคิมที่เสียสละให้ความรู้แก่บรรดาเกษตรกร
เสมอมาเป็นเวลายาวนาน ต้องลำบากและอุทิศตนโดยไม่มุ่งหวังจะเรียก
ร้องเอาผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ และยังคงหวังว่าจะมีเกษตรกรรุ่นหลัง
จะมีจิตเมตตาเช่นเดียวกับลุงคิม และช่วยเหลือบรรดาเกษตรกรด้วยกันเอง
ต่อไปในอนาคต


สันติสุข
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 12/08/2009 1:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรียน Tonypong

ขอบคุณค่ะสำหรับคำชื้แจงเรื่อง

"การทำการเกษตรแบบหวังผลสูงของลุงคิม"

พอจะเข้าใจในความหมายของคุณTonypong ดูแล้วครบถ้วน
ตามหลักการของลุงคิมคือ"ลดต้นทุน,เพิ่มผลผลิตและเพิ่ม
คุณภาพของผลผลิต" โดยที่ทุกอย่างไม่มีสูตรสำเร็จ เกษตรกร
ต้องคิดเป็นทำเป็น พึ่งพาตนเองให้มากที่สุด

พวกเราเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกร เรา
ถูกหล่อหลอมให้ตอบแทนคุณแผ่นดินไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม เรา
ยินดีที่จะช่วยเหลือเกษตรกรที่ยังไม่หลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ การ
ปรับเปลี่ยนทัศนคติเดิมๆของเกษตรเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่พวกเรา
ก็จะพยายามทำต่อไป ตอนนี้ที่เราทำคือพยายามรวมกลุ่มกันเหนียว
แน่นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อแสดงศักยภาพของการสร้างมิติ
ใหม่ในการทำการเกษตรโดยคนรุ่นใหม่อย่างพวกเรา


คุณTonypong...มีอะไรให้พวกเราช่วย...พวกเรายินดีค่ะ


ด้วยความเคารพอย่างสูง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Tonypong
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009
ตอบ: 11

ตอบตอบ: 12/08/2009 1:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรียน คุร Aorrayong

ขอบคุณมากครับที่มีใจเมตตาให้ผม ผมขอน้อมรับไว้และหากมีเรื่องเกี่ยว
กับการเกษตรที่จะต้องขอความช่วยเหลือ นอกจากลุงคิมแล้วผมจะขอ
ความช่วยเหลือจากคุณด้วย


ขอบคุณอีกครั้งครับ
สันติสุข
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mangotree
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009
ตอบ: 95

ตอบตอบ: 12/08/2009 1:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุง Tonypong


มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน จะตกถิ่นฐานใดก็ไม่แคลน ถึงยากแค้น
ก็ยังประทังตน

ผมคิดว่า คำกลอนเก่าๆนี้ เหมาะสมกับเรื่อง ปรัชญา ศก.พอเพียง ดีนะครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 12/08/2009 2:01 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ยินดีค่ะ...ร่วมด้วยช่วยกัน...เป้าหมายหลักคือ"ฟื้นคืนศักดิ์ศรีเกษตรกรไทยให้ได้"
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mangotree
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009
ตอบ: 95

ตอบตอบ: 12/08/2009 2:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://www.carabao.net/MusicStation/musicPlay.asp?id=181


เพลงเดิมๆเพลงนี้อีกซักรอบ เถิดครับ


แผ่นดินของเรา มีสิทธิ์เสียดาย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Pum_NWF_Rayong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009
ตอบ: 177

ตอบตอบ: 12/08/2009 2:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอเสริม/แก้โจทย์ของคุณ Tonypong ในเรื่อง วิธีการถ่ายทอดความรู้อย่างที่ลุงคิมทำอยู่ อาจไม่ให้ผลตอบสนองที่ดี กรณีที่ทำการฝึกอบรมให้แก่เกษตรกรที่อยู่ในวัยเกินกว่า 35 ปี
และเป็นเกษตรกรที่ไม่ได้มีฐานะทางการเงินดี

ปุ้มก็เป็นคนหนึ่งที่เข้ารับการอบรมที่ไร่กล้อมแกล้ม วันเดียวกันกับที่คุณ Tonypong เข้าไป และก็เป็นผู้เข้าอบรมที่มีอายุเกิน 35 ปีแล้ว และก็ไม่ได้เป็นเกษตรกรที่มีฐานะทางการเงินดี ขอบอกว่า การถ่ายทอดของลุงคิมในวันนั้น ไม่ได้ไร้ผล เพราะตนเองมีพื้นความรู้ในเรื่อง การเกษตรน้อยมาก แต่ก็ยังพอเข้าใจในสิ่งที่ลุงคิมถ่ายทอด แม้บางอย่างจะไม่เข้าใจ ก็นำกลับไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น ดังนั้น ปัญหาเรื่องการถ่ายทอดของลุง ไม่ได้รับการตอบสนองที่ดี จากกลุ่มผู้เข้าอบรมประเภทดังกล่าว น่าจะเกิดจากการไม่ได้นำไปต่อยอด หลังการอบรมมากกว่า ที่จะเกิดจากปัญหาที่คุณ Tonypong ได้พยายามเรียบเรียงเป็นข้อๆ หรือปล่าว

ปุ้มขอแสดงทัศนคติ / ตอบปัญหาของคุณ Tonypong เป็นข้อๆนะคะ


1. มีระดับการศึกษาไม่มากพอที่จะเข้าใจข้อมูลทางวิชาการในการ ทำการเกษตรระดับหวังผลสูงมากแบบลุงคิม

ตอบ :
ข้อมูลทางวิชาการจำเป็นต้องมี เนื่องจากเป็นชื่อทางเคมีที่ไม่สามารถถอดออกมาเป็นภาษาชาวบ้านได้ ทางแก้ก็คือ ถ้าไม่เข้าใจ ก็จดไปก่อน แล้วนำกลับมาศึกษาเพิ่มเติม ว่าตัวนี้คืออะไร ทำหน้าที่อะไร หนังสือมีมากมายให้เราอ่านและทำความเข้าใจ ถ้าคิดว่าไม่มีเวลาไปหาอ่าน ก็ปากไง ถามคนที่รู้ก็ได้ ถ้ายังไม่มีเวลาอีก อันนี้ไม่ใช่ปัญหาการศึกษาแล้วล่ะค่ะ แต่เป็นความตั้งใจที่จะพัฒนาตนเองจริงๆต่างหาก ที่ขาดหายไป สิ่งนี้ เขาต้องพิจารณาตัวเอง


2. เน้นการปฏิบัติ โดยให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมทุกคนจะต้องปฏิบัติใน ขั้นตอนที่ไม่ได้มีการใช้เครื่องจักรเข้ามาทดแทนแรงงาน ยกตัวอย่างเช่น จะต้องหยิบสารเคมีได้ถูกต้องด้วยตนเอง
ต้องชั่ง ตวง วัด ได้ด้วยตนเอง ฯลฯ


ตอบ :
อันนี้ลุงคิมทำอยู่แล้ว ในขั้นตอนปฎิบัติ ลุงให้พวกเราหยิบของมาชั่งตวงเองตามที่ลุงสอนไปในวันแรก



3. ไม่ต้องอธิบายว่าสารเคมีตัวนี้มีผู้ผลิตหลายราย แต่เน้นให้ เกษตรกรผู้เข้ารับการอบรมจดจำให้ได้ว่าสารเคมีตัวนีคืออะไร ใช้อย่างไร ถึงขั้นที่จะต้องช่วยพวกเขาด้วยการบอกถึงแหล่ง
ที่จะไปหาซื้อได้โดยสะดวก และถ้าหาซื้อไม่ได้จะใช้อะไรทด แทนได้บ้าง และต้องไม่คิดว่าจะถูกบุคคลบางคนที่มีจิตอกุศล จะให้ร้ายว่ามุ่งหาผลประโยชน์ในการโฆษณา เพราะอาจต้อง
เลือกวัตถุดิบยี่ห้อที่เชื่อมั่นแล้วว่าดี ไม่ปลอมปนหรือเอาเปรียบ เกษตรกร และมีราคาที่ประหยัดที่สุด โดยระบุให้เกษตรกรเลือก ยี่ห้อนี้สำหรับวัตถุดิที่ต้องใช้ เพราะเกษตรกรจะสามารถจดจำ
และไปหาซื้อเอามาใช้ได้


ตอบ :
เห็นว่า ควรอธิบายเป็นอย่างยิ่งว่า สารเคมีตัวนั้นๆ มีผู้ผลิตหลายราย เพราะจะทำให้ผู้เข้าอบรมได้ใช้วิจารณญาณในการเลือกซื้อ ที่สำคัญ ชื่อที่หยิบยกมา อาจหาซื้อได้แถวบ้านตนเอง ดังนั้น
เรื่องแหล่งที่มาในการซื้อ ทำไมต้องให้ลุงบอกทั้งหมดด้วยล่ะค่ะ เพราะที่จริงลุงก็ไม่ใช่ yellow pages ที่จะรู้ทั้งหมดว่า สารตัวนี้มีขายที่ไหนบ้าง ในแต่ละจังหวัด ที่พอจะแนะนำได้ก็คงแถวบ้าน
ลุง ที่จริงน่าจะเป็นหน้าที่ของผู้อบรมที่ควรจะไปลองถามตามร้านที่ตัวเองเคยซื้อเป็นประจำก่อน ซึ่งถ้าเขาไม่รู้ เราก็ให้เขาแนะนำได้ ไม่ต้องกลัวว่าเขาจะไม่บอก ว่าไม่รู้ เพราะถ้าคุณไปถามบ่อยๆ ต่อไปเขาก็จะหาซื้อผลิตภัณฑ์ตัวนั้นมาขายให้คุณเองแหละค่ะ ดีซะอีก อันนี้ตัวเองทำบ่อย


4. หลักสูตรอบรมต้องอบรมเพียงครั้งละ 1 ถึง 2 ชนิดเท่านั้นเพื่อ ให้มีเวลาในการปฏิบัติให้มากที่สุด


ตอบ :
เท่าที่รู้ ลุงคิมมีสูตรมากกว่า 100 สูตร ที่สามารถนำมาใช้ได้อยู่ตลอด อีกทั้งเกษตรกรแต่ละรายที่เข้ามาอบรมในคราวเดียวกัน ก็ไม่ได้ปลูกพืชชนิดเดียวกันทั้งหมด ถ้าจะให้เลือกสอนเพียง 1
หรือ 2 สูตร ก็ต้องมาคิดอีกว่า สูตรไหนที่สามารถใช้ได้กับทุกสวน/ไร่ แล้วช่วงเวลาในการให้อีกล่ะ ลุงอาจจะแนะนำชื่อสูตรสักจำนวนหนึ่ง การใช้สูตรนั้นๆ ในช่วงเวลาต่างๆ แล้วก็ให้ผู้เข้าอบรมปรึกษากัน เพื่อเลือกสัก 1 หรือ 2 สูตรที่คิดว่าเป็นประโยชน์กลุ่มของตน คืออย่างน้อยผู้เข้าอบรมน่าจะต้องทำการบ้านกันมาก่อนที่จะเข้าอบรมกับลุง เลือกให้ ลุงไปเลยค่ะ ว่าอยากให้สอนอะไร ที่จริงปัญหาไม่น่าอยู่ที่คนสอนนะคะ ปุ้มคิดว่าลุงเขาอยากถ่ายทอดให้หมดแหละ แต่ก็อยู่ที่ผู้รับ ว่าอยากได้แค่ไหน อันนี้ต้องบอกกันค่ะ คิดว่าลุงคงนั่งเทียน คิดเอาเองไม่ได้ว่า ผู้เข้าอบรม
อยากได้สูตรไหน ปัญหาเรื่องเลือกสูตรที่จะให้ลุงสอนก็มีสื่อมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจากรายการวิทยุที่ลุงจัด จากเวบนี้ หรือ เวบเกษตรกรคลื่นลูกใหม่ ส่วนเรื่องเวลาในการปฎิบัติ ถ้าผู้เข้าอบรมมีเวลาเพียงแค่ 1 วัน เช้าลุงสอนทฤษฎี 1 หรือ 2 บ่ายปฎิบัติ อันนี้แน่นอน คุณได้แค่ 1 สูตรแน่ๆ เพราะเวลาในการปฎิบัติจริง ไม่ใช่การปิ้งกล้วย ที่แค่พลิกไปพลิกมาก็เสร็จ แต่เวลาผสม
ส่วนผสมทั้งหลายมันต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป รีบก็ไม่สัมฤทธิ์ผล แล้วจะมาบ่นว่าลุงสอนยังไง ลองเอาไปทำแล้วไม่เห็นได้ผลเลย อันนี้ไม่ถูก ดังนั้น การเข้ามาเรียนรู้ คุณต้องสละเวลามาเรียนรู้แบบ learning by doing ไม่ต่ำกว่า 5 วัน เพราะขนาดพวกเราเรียนไป 3 วัน 3 คืน กลับมา ยังมีคำถามให้ต้องถามลุงอยู่บ่อยๆ หรือแม้แต่ต้องไปหาลุงคิมซ้ำอีก 1 วันเต็มๆ เพื่อขอความรู้เพิ่ม ขนาดนี้ ยังรู้สึกว่า ลุงยังมีอะไรให้เราเรียนรู้ได้อีกมากมาย ความรู้ที่สั่งสมมาตั้งกี่ปี จะให้ถ่ายทอดออกมาด้วยเวลาที่จำกัด ต่อให้เป็น superman ก็ทำไม่ได้ ต่อให้เป็นผู้ที่ถ่ายทอดเก่งที่สุดในโลก ก็คงทำไม่ได้เช่นกัน ถ้ามีตัวแปรหลักเป็นเรื่องของเวลาที่จำกัดแบบนี้ สิ่งที่ได้ มันย่อมไม่เต็มประสิทธิภาพอยู่แล้ว อันนี้เป็นเหตุเป็นผลในตัวเองอยู่แล้ว คงไม่ต้องอธิบายอีก


คิดว่าถ้ามีความตั้งใจจริงอยากมาเรียนจริงๆ ก็ต้องสละเวลาส่วนตัวมาเรียนรู้จริงๆ เรื่องอื่นเอาไว้ก่อน



5. ต้องมีการจัดทำเอกสารคำสอนหรือคำบรรยายให้แก่เกษตรกร กลุ่มนี้ เพื่อที่จะสามารถนำเอาไปใช้ปฏิบัติได้เองอย่างถูกต้อง


ตอบ :
จำได้ว่าเคยเห็นว่าลุงมีเอกสารแจก แต่ตอนผู้เข้าอบรมกลับบ้านไป แปลกใจ ทำไมไม่เอาเอกสารกลับไปด้วย

อีกอย่างคือ จากประสบการณ์ส่วนตัว ไม่ว่าการอบรมอะไรก็แล้วแต่ ทุกสาขาอาชีพ / แขนงวิชา เอกสารประกอบการบรรยาย เป็นเพียงแค่แนวทางในการสอน หรือเป็นการสรุปย่อเนื้อความเท่านั้น ไม่สามารถลงรายละเอียดได้มากมายถึงขนาดมองเห็นภาพอย่างชัดเจนว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ นอกจากจะถึงตอนลงมือทำจริงๆ และโดยส่วนใหญ่ ตามปกติที่เคยเห็นมา เมื่อผู้เข้าอบรมได้รับเอกสารแล้ว ก็มักจะสนใจเพียงแค่อ่านในเอกสาร โดยไม่ฟังผู้สอน ทั้งๆ ที่ ในการ
สอนแต่ละครั้ง มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย ที่ผู้สอน คิด / หรือนึกได้เพิ่มเติมขณะสอน อันนี้ถ้าเราไม่สนใจฟัง ก็จะทำให้พลาดโอกาสนั้นไป



6. ต้องเหน็ดเหนื่อยต่อการซักถามผู้เข้ารับการอบรมเป็นรายคนใน ทุกหัวข้อ เพื่อที่จะทำให้พวกเขาได้รับความรู้อย่างที่ลุงคิมต้อง การ เพราะหากหวังให้พวกเขาเป็นผู้ถามเอง พวกเขาส่วนใหญ่ จะไม่กล้าถาม


ตอบ :
จากประสบการณ์ตรง พวกเราเป็นฝ่ายถามคำถามให้ลุงตอบมากกว่า ซึ่งลุงสามารถตอบได้ยาวเป็นหางว่าว ถ้าจะต้องให้ลุงต้องมาคอยซักถามผู้เข้าอบรมเป็นรายคนว่าเข้าใจมั้ย คุณเข้าใจว่าอย่างไร คิดว่าน่าจะเกิดการเข้าใจอะไรผิดไปหรือปล่าว ลองกลับไปทบทวนดูดีมั้ยว่า มาเพื่ออะไร ถ้าเพื่อต้องการมาเรียนรู้ แล้วนำไปต่อยอด ถ้าไม่เข้าใจจริงๆ คุณจะไม่กล้าถามเหรอ การอบรมไม่ใช่ระบบนักเรียน กับคุณครู สมัยก่อน หรือแม้แต่ปัจจุบัน อาจะยังมี ที่เด็กนักเรียนจะกลัว ไม่กล้าถามครูเวลาไม่เข้าใจ เพราะกลัวเพื่อนลัอ ว่า โง่ ไม่เข้าใจที่ครูสอน หรือกลัวครูดุ ว่าอะไร สอนขนาดนี้แล้วเธอยังไม่เข้าใจอีกเหรอ ผู้เข้าอบรมทุกคนที่เข้ามา เท่าที่ทราบ ไม่ใช่เด็กเล็กๆ แล้ว ฉะนั้น ความคิดแบบนี้ไม่น่ามี หรือถ้ามีจริงๆ ก็แสดงว่า เขาไม่คิดที่จะเปลี่ยน
ตัวเอง ถ้าอายหมอ คุณก็ไม่หาย เพราะฉะนั้น เขาสมควรถูกปล่อยให้ตายๆ ไปหรือไม่ อย่าเสียเวลาไปให้หมอรักษาเลยค่ะ แต่ถ้ากลัวตายมากกว่าอายหมอ ปุ้มคิดว่า เขาน่าจะมีความพยายาม หรือ อดทน ที่จะเข้าหาหมอ และบอกถึงอาการเจ็บป่วยที่ตนเป็น เพื่อหมอจะได้จ่าย
ยาถูก ในทางกลับกัน คิดว่าเกษตรกรรุ่นใหม่ (ไม่ได้หมายความเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ แต่หมายรวมถึง เกษตรกรรุ่นเดอะทั้งหลายที่มีความคิดที่จะพัฒนาตนเอง โดยหันมาใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ หรือพยายามเรียนรู้ สิ่งใหม่ๆ เพราะเห็นว่าของเก่า เริ่มไม่ทันสมัย นั่นแหละค่ะ ที่เรียกว่า
เกษตรกรรุ่นใหม่) ทุกคน ก็ต้องกล้าที่จะซักถามในสิ่งที่ตนเองไม่รู้ ให้เข้าใจถ่องแท้มากขึ้น เพื่อการปฎิบัติที่ผิดพลาดจะได้มีน้อยลง "กลัวครู จะรู้วิชาได้ไง" คำโบราณนี้ ยังไงๆ ก็ยังทันสมัยอยู่นั่นเองค่ะ


ทั้งหมดที่เขียนมา เพียงแต่แสดงทัศนคติในมุมมองของตัวเองเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาอื่นแอบแฝง ขอเพียงเปิดใจ หลายๆ ความคิดย่อมดีกว่าความคิดเดียวอยู่แล้ว ไม่มีใครสามารุถทำอะไรให้ทุกคนพอใจได้ทั้งหมด ไม่มีใคร perfect หรือสมบูรณ์แบบที่สุดในโลกหรอกค่ะ มีดีก็ต้องมีแย่ ทุกอย่างมี 2 ด้าน เหมือนเหรียญเงิน เพียงแต่ว่าเรามุ่งดูประโยชน์สูงสุดของคนส่วนใหญ่ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ปรับปรุงในส่วนที่จำเป็น แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ที่ดีอยู่แล้วก็ทำต่อไป และปรับปรุงบางอย่างที่คิดว่าปรับแล้ว มีประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ ส่วนคนส่วนน้อยที่ไม่พอใจหรือ ไม่ถูกเติมเต็ม ก็ต้องเปลี่ยนตัวเอง ถ้าต้องการจะได้ประโชน์จากการอบรมด้วย อาจจะต้องเปลี่ยนตัวเองสักนิด


ถ้าคิดว่าตัวเองเป็นน้ำที่เต็มแก้ว (รู้มากแล้ว รู้ดีกว่าคนสอนอีก) ไม่สามารถรับอะไรได้อีกแล้ว ก็ให้ทำตัวเป็นน้ำที่ไม่เต็มแก้ว ... แล้วทำไงล่ะ ก็เทน้ำออกครึ่งนึงซิ ทำเป็นไม่รู้ หรือแกล้งโง่สักชั่วขณะหนึ่งก็ได้ และเปิดใจ รับความรู้ใหม่ๆ ที่จะเข้ามา ลดทิฐิ ลดตัวตนลงสักนิด แล้วคุณจะได้อะไรดีๆ กลับไปใช้ให้เป็นประโยชน์ๆได้อีกเยอะ เราลดตัวตนลงมา และเปลี่ยนตัวเอง เปลี่ยนทัศนคติ แล้วมาช่วยกันพัฒนาให้เกษตรกรอย่างเราๆ เป็นที่เชิดหน้าชูตา ให้ประเทศมหาอำนาจ
หรือใครๆ ออกปากเป็นเสียงเดียวกันว่า "เกษตรกรไทยเหรอ ? โอ้ย พวกนี้...สุดยอด"
นะคะ ช่วยกัน คนละครึ่งทางดีมั๊ย คนที่มีใจแบ่งปัน ช่วยสอนแบบลุงคิม ยังมีอยู่อีกมาก เมื่อลุงปรับปรุงวิธีการสอน / ถ่ายทอดแล้ว ตัวเกษตรกรเอง ก็ต้องปรับปรุงตัวเองด้วยค่ะ เราจะมัวรบ
กวนให้คนอื่นช่วยหายใจแทนเราอยู่ได้อย่างไร จะรอจนกว่าคนๆ เหนื่อยมากจนหายใจแทนเราไม่ได้แล้ว ค่อยลองหายใจด้วยตัวเอง เมื่อนั้น มันจะสายไปหรือปล่าวค่ะ ลองเริ่มหัดหายใจด้วยตัวเองก่อน ในขณะที่ยังมีเครื่องหายใจสำรองนี้อยู่ อย่างน้อย ถ้าหายใจติดขัด ก็ยังไม่ถึงกับตาย ยังมีตัวช่วย คอยประคับประคองอยู่ จริงมั๊ยคะ Wink


ปุ้มระยอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©