-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-หัวใจเกษตรไทมินิ vs ไม้ผลแนวหน้า
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - หัวใจเกษตรไทมินิ vs ไม้ผลแนวหน้า
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

หัวใจเกษตรไทมินิ vs ไม้ผลแนวหน้า

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11657

ตอบตอบ: 19/12/2018 6:38 am    ชื่อกระทู้: หัวใจเกษตรไทมินิ vs ไม้ผลแนวหน้า ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

".... หัวใจเกษตรไท มินิ ...."





สารบัญ

หัวใจเกษตรไท ห้อง 1 “ปุ๋ย-ยา-จุลินทรีย์”
* ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี 30%
** ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีคันเร่ง ไม่มีบล็อก
** ปัจจัยพื้นฐาน “ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค” ผิดพลาดปัจจัยเดียว หมายถึง ล้มเหลวทั้งหมด
** จุลินทรีย์-ปุ๋ย คนละตัวกัน แต่อยู่ด้วยกัน
** ปุ๋ยถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
** ปุ๋ยผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
** ยุโรปทำเกษตร อินทรีย์-เคมี-ผสมผสาน
** อเมริกาทำนาข้าว ไม่เผาฟาง แต่ทำฟางเปล่าๆ ให้เป็นฟางซุปเปอร์

"ปุ๋ยน้ำทางใบ-สารสมุนไพร" ที่วางขายในท้องตลาด....
** มหาลัยไหน สอนวิธีทำ ........................... คำตอบ ไม่มี
** คณะภาควิชาอะไร สอนวิธีทำ .................... คำตอบ ไม่มี
** ระดับปริญญาตรี หรือโท หรือเอก สอนวิธีทำ ..... คำตอบ ไม่มี


2. เกร็ดความรู้เรื่องปุ๋ย ............................... 8
3. ธาตุอาหารพืชในธรรมชาติ ....................... 11
4. ปุ๋ย หลักการและเหตุผล ..........….............. 17
5. สมการปุ๋ยอินทรีย์ (แห้ง) ......................... 21

6. ปุ๋ยอินทรีย์ ไบโอ ซัมมิต .......................... 23
7. ปุ๋ยอินทรีย์ ซุปเปอร์ .............................. 24
8. ปุ๋ยอินทรีย์ พด. .................................. 26
9. ปุ๋ยอินทรีย์แบบเติมอากาศ ........................ 27
10. ปุ๋ยคอก ซุปเปอร์ ............................... 28

11. ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ .................................. 29
12. น้ำหมักชีวภาพ สูตรกล้อมแกล้ม ……….…..... 30
13. สมการปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ............................ 37
14. ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ระเบิดเถิดเทิง .................... 38
15. น้ำหมักชีวภาพก้นครัว สูตร 1 ................. 50

16. น้ำหมักชีวภาพก้นครัว สูตร 2 ................. 52
17. น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สูตรโอไฮโอ ....... 52
18. น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สูตรฟาจีก้า ...... 53
19. น้ำหมักชีวภาพ BMW ........................ 53
20. น้ำหมักชีวภาพสูตรไฮโดรโปรนิกส์ .............. 54

21. น้ำหมักชีวภาพสูตร มั่วซั่วซุปเปอร์ ............. 55
22. น้ำหมักชีวภาพกำจัดวัชพืช สูตร 1 ............ 56
23. น้ำหมักชีวภาพกำจัดวัชพืช สูตร 2 ............ 56
24. น้ำหมักชีวภาพกำจัดวัชพืช สูตร 3 ............ 57
25. ฮอร์โมนสมส่วน ................................ 58

26. ฮอร์โมนเขียว .................................. 59
27. ฮอร์โมนบำรุงราก .............................. 60
28. ฮอร์โมนเร่งรากกิ่งตอน ......................... 61
29. ฮอร์โมนนมหมักชีวภาพ ........................ 62
30. ฮอร์โมนหอย ................................... 63

31. ฮอร์โมน ไส้เดือนปลาหอย ...................... 64
32. ฮอร์โมนนมสด .................................. 64
33. ฮอร์โมนน้ำนึ่งปลา .............................. 65
34. ฮอร์โมนแบลนด์ ................................ 66
35. ฮอร์โมนลิโพกระทิงแดง ......................... 66

36. บทบาทของจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร ............. 67
37. สมการจุลินทรีย์ ................................. 75
38. จุลินทรีย์ธรรมชาติ .............................. 76
39. จุลินทรีย์ อีแอบ ................................. 77
40. จุลินทรีย์ อีแอบ ซุปเปอร์ ........................ 78

41. จุลินทรีย์จาวปลวก ............................... 79
42. จุลินทรีย์หน่อกล้วย .............................. 80
43. จุลินทรีย์ก้นครัว ................................. 82
44. จุลินทรีย์ฟังก์จัย ................................. 83
45. จุลินทรีย์นมสด .................................. 84

46. จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง .......................... 84
47. ขยายเชื้อไตรโคเดอร์ม่า .......................... 85
48. ขยายเชื้อเห็ดธรรมชาติ .......................... 86
49. ทำจุลินทรีย์ผง ................................... 86
50. วิธีเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ ......................... 87

51. ทดสอบจุลินทรีย์ ................................. 89
50. จุลินทรีย์ ไอเอ็มโอ. (ประจำถิ่น) ................. 90
52. ปุ๋ยเคมีทางใบ .................................... 88
53. ปุ๋ยผักใบ (สูตรใหญ่) …………………………..... 92
54. ปุ๋ยผักใบ (สูตรเล็ก) …………………………….…. 93
55. ปุ๋ยผักกินดอกและผล (สูตรใหญ่) ……………..... 93

56. ปุ๋ยผักกินดอกและผล (สูตรเล็ก) …………….….. 94
57. ปุ๋ยกล้วยไม้ (สูตรใหญ่) ………………………….… 95
58. ปุ๋ยกล้วยไม้ (สูตรเล็ก) …………………………….. 96
59. ไบโออิ (สูตรใหญ่) ……………………….………… 97
60. ไบโออิ (สูตรเล็ก) …………….……………………. 98

61. ไบโอเฮิร์บ (ปุ๋ย/ยา - สูตรใหญ่) ………………... 99
62. ไบโอเฮิร์บ (ปุ๋ย/ยา - สูตรเล็ก) ……………....… 99
63. ไทเปเปิดตาดอก (สูตรใหญ่) …………….……... 100
64. บำรุงดอกหน้าฝน (สูตรใหญ่) ……………..…… 102
65. บำรุงดอกหน้าฝน (สูตรเล็ก) ……………….…… 103

66. ยูเรก้าบำรุงผล (สูตรใหญ่) ………………….…… 105
67. ยูเรก้าบำรุงผล (สูตรเล็ก) ……………….……... 105
68. อเมริกาโนบำรุงผล (สูตรใหญ่) ………….……… 106
69. อเมริกาโนบำรุงผล (สูตรเล็ก) ……………….... 106
70. บำรุงต้น สร้างความสมบูรณ์สะสม (สูตรใหญ่) .. 107

71. บำรุงต้น สร้างความสมบูรณ์สะสม (สูตรเล็ก) .… 108
72. สารลมเบ่งนาข้าว (สูตรใหญ่) …………………… 109
73. สารลมเบ่งนาข้าว (สูตรเล็ก) …………………..… 109
74. แคลเซียม โบรอน (สูตรใหญ่) …………………... 110
75. แคลเซียม โบรอน (สูตรเล็ก) ………………….… 110

76. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก (สูตรใหญ่) ...…. 111
77. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก (สูตรเล็ก) ..……. 112
78. ไฮโดรโปรนิกส์ ……………………………….….… 112
79. น้ำตาลทางด่วน (สูตรใหญ่) ………………..….. 114
80. น้ำตาลทางด่วน (สูตรเล็ก) ………………….…… 114

81. สังกะสี เอ็ดต้า (สูตรใหญ่) ………………….…… 115
82. สังกะสี เอ็ดต้า (สูตรเล็ก) ……………………….. 115

-----------------------------------------------------------------------------------


หัวใจเกษตรไท ห้อง 2 “ยา”
** ต้นทุนค่าสาร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช 30%

** ทั่วโลกมีพืช 2,400 ชนิด เป็นสารสมุนไพรกำจัดโรคพืชได้
** สารออกฤทธิ์ในสมุนไพร คือ กลิ่น - รส - ฤทธิ์

** อเมริกา ซื้อลิขสิทธิ์ราติโนน ในหนอนตายหยาก
** เยอรมัน ซื้อลิขสิทธิ์อะแซดิแร็คติน ในสะเดา
** ฝรั่งเศส ซื้อลิขสิทธิ์แค็ปไซซิน ในพริก

** ศัตรูพืช ในพืชอ่อนแอ แพร่ระบาดรุนแรงกว่าในพืชสมบูรณ์แข็งแรง
** ไม่มีพืชใดในโลก ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำเผ่าพันธุ์
** ไม่มีสารเคมีในโลก ไม่มีสารสมุนไพรใดในโลก ทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายไปแล้ว ฟื้นคืนดีอย่างเดิมได้ เสียแล้วเสียเลย มาตรการที่ดีที่สุด คือ “กันก่อนแก้”
** สารเคมี .... คนใช้รับ 10 เท่า - คนกินรับ 1 เท่า


83. สารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช ....................... 119
84. นวัตกรรม ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช .......................... 120
85. สมการสารสมุนไพร ......................................... 121
86. สูตรการทำ-หลักการใช้ สารสมุนไพร ........................ 122
87. แมลงศัตรูพืช v.s. สมุนไพร ................................ 127
88. นานาสูตรสารสมุนไพร ...................................... 133
89. ยาฆ่าหญ้าทำเอง ............................................ 159

------------------------------------------------------------------------------------


หัวใจเกษตรไท ห้อง 3 “เทคโนโลยี”
** ขาดทุนเพราะเทคโนโลยีผิด หรือปฏิเสธเทคโนโลยี 20%
** ซูเรียม พรีเมียม เกรด เอ. จัมโบ้ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง ออกนอกฤดู ปลอดสาร เคมี คนนิยม ไม่พอขาย จองล่วงหน้าข้ามปี
** เครื่องทุ่นแรง ประหยัด เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน กว่า 100 เท่า

** นาข้าว 2รุ่น ล้างหนี้ 1ล้านแล้ว ยังเหลือ 2ล้าน
** ขายข้าว 1 แสน เหลือเงิน 40 บาท

** ชาวนาญี่ปุ่น ต้นทุน 23,000 ขายได้ 100,000
** ชาวนาไทย ต้นทุน 3,000 ขายได้ 100,000


89. ผักสวนครัว (ใบ ยอด ดอก ต้น หัว) แบบเกษตรอินทรีย์-เคมี) ...... 164
90. พืชไร่ (อ้อย สำปะหลัง ปาล์ม ยาง สับปะรด ถั่ว งา ข้าวโพด) …...... 166
91. นาข้าว ..................................... 172

92. กระท้อน .................................... 177
93. แก้วมังกร ................................... 190
94. กล้วย ..................…................... 203
95. ขนุน ........................................ 213

96. แคนตาลูป .................................. 236
97. เงาะ ......................................... 248
98. ชมพู่ ........................................ 248
99. แตงโม ............................…......... 262
100. ทุเรียน ...................................... 268

101. น้อยหน่า .................................... 299
102. ฝรั่ง ......................................... 307
103. พุทรา ....................................... 315
104. มะขามเทศ-มะขามเปรี้ยว-มะขามหวาน ...... 322
105. มะนาว ....................................... 335

106. มะปราง-มะยง ............….................. 348
107. มะม่วง ...............…...................... 360
108. มะละกอ ...................................... 378
110. มะพร้าว ...................................... 382

111. มังคุด ........................................ 389
112. ละมุด ..................…..…................ 403
113. ลางสาด - ลองกอง .........…............... 411
114. ลำไย ......................................... 422
115. ลิ้นจี่ .......................................... 436

116. สละ ........................................... 447
117. ส้ม ............................................ 450
118. องุ่น ........................................... 470
119. สปริงเกอร์ ..................................... 478

------------------------------------------------------------------------------------


หัวใจเกษตรไท ห้อง 4 “โอกาส” .... เกษตรแจ๊คพ็อต”
** ขาดทุนเพราะเสียโอกาส 20%
** คนเรา แพ้-ชนะ กันที่โอกาส
** เกษตรแจ๊คพ็อต มะลิ ลิตรละ 3,500 กุหลาบ ดอกละ 1,500 ผักชี กก.ละ 200
** เกษตรแจ๊คพ็อต ไม่ใช่ดวง แต่เป็นผลจากการวางแผนล่วงหน้า
** ทำอย่างเดิม แย่ยิ่งกว่าเดิม
** รวมกลุ่มไม่ได้ ทำคนเดียว แต่ต้อง คิดเป็น-ทำเป็น-ขายเป็น
** ที่น้อย ทำน้อยแต่ได้มาก เพราะ การตลาดนำการผลิต
** ทำขาย ขายแล้วขาดทุน รุ่นแล้วรุ่นเล่าก็ยังทำ ไม่รู้จักโตซะที (นายกฯ)
.... คน แพ้-ชนะ กันที่โอกาส ....


110. มะลิหน้าหนาว .........…....….............. 483
111. กุหลาบ วาเลนไทน์ .......................... 485
112. มะนาวหน้าแล้ง .............................. 490
113. กล้วยหอมแจ๊คพ็อต .......................... 495
114. แก้วมังกรตรุษจีน ............................. 497
115. ส้มฯ ......................................... 498

116. กระท้อน ........................…….......... 501
117. ผักชีหน้าฝน .................................. 504
118. บัวเข้าพรรษา ................................. 506
119. ชะอมหน้าแล้ง ................................. 506
120. ทุเรียนนอกฤดู ................................. 508

121. มะม่วงนอกฤดู ................................. 511
122. เงาะนอกฤดู .....................…….......... 513
123. ลำไยนอกฤดู ................................... 515
124. ขนุนนอกฤดู ........................…......... 521
125. แตงโมหน้าฝน .................................. 523

126. เกษตรบนคันนา ................................ 525
127. เกษตร ทำน้อย-ได้มาก ......................... 527

128. ส่วนลึกของใจ ........................…........ 535

-----------------------------------------------------------------------------------




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/06/2020 1:45 pm, แก้ไขทั้งหมด 11 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11657

ตอบตอบ: 21/12/2018 12:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
เรียนสูง แต่ไม่ได้เรียนวิชาเกษตร จึงไม่รู้เรื่องเกษตร เป็นธรรมดา
เรียนน้อย เรื่องเกษตรก็ไม่ได้เรียนจึงไม่รู้เรื่องเกษตร เป็นธรรมดา เช่นกัน

เรียนในสถานศึกษา มีครูสอนหน้าห้อง จึงมีความรู้เป็นธรรมดา
เรียนนอกสถานศึกษา เรียนด้วยตัวเอง โดยการอ่าน อ่าน อ่าน ก็มีความรู้ได้เป็นธรรมดา

ความรู้คือทรัพย์สินอันมีค่า ติดตัวไปตลอดชีวิต เป็นมรดกถ่ายทอดให้ลูกหลาน


คนเรา ไม่มีใครเก่งกว่ากัน แต่ แพ้/ชนะ กันที่โอกาส



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/01/2019 7:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11657

ตอบตอบ: 21/12/2018 12:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
.



หนังสือ “หัวใจเกษตรไท มินิ” ว่าด้วย ปุ๋ย-ยา-เทคนิค-เทคโน-โอกาส....เกี่ยวกับไม้ผล บอก “ขั้นตอน วิธีการ” ปฏิบัติทุกขั้นตอนตั้งแต่ ตัดแต่งกิ่งเรียกใบอ่อน จนถึง บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวแต่ไม่ได้บอก “ลักษณะธรรมชาติ” ของไม้ผล เพระตัดออก เนื่องจากหน้ากระดาษจำกัด .... เล่มนี้ราคา 500

หนังสือ “ไม้ผลแนวหน้า” เป็นเรื่องไม้ผลล้วนๆ ตั้งแต่ มะ ก.ไก่ ถึงมะ อ.อ่าง (ไม่มี ฮ.นกฮูก)บอก “ขั้นตอน/วิธีการ” ปฏิบัติทุกขั้นตอนตั้งแต่ ตัดแต่งกิ่งเรียกใบอ่อน จนถึง บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว แถมบอก “ลักษณะธรรมชาติ” ของไม้ผลแต่ละ มะ. กับทั้งรายละเอียดลักษณะพัฒนาการของต้นต่อการบำรุงแต่ละระยะอย่างละเอียด หนังสือไม้ผลแนวหน้าไม่มีเรื่อง “ปุ๋ย-ยา-โอกาส”.... ความหนา 500 หน้า แต่ราคา 300

นั่นคือหนังสือ “หัวใจเกษตรไท มินิ + ไม้ผลแนวหน้า” ราคาแค่ 800 บาทถูกกว่า “หัวใจเกษตรไท” 1,000 บาท




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/10/2021 12:18 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11657

ตอบตอบ: 21/12/2018 12:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
".... ไม้ผลแนวหน้า ...."




ตัวอย่างเรื่องทุเรียน....

ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นผลไม้ที่ได้รับสมญานามว่า “ราชาแห่งผลไม้” มิใช่เฉพาะในประเทศเท่านั้น แม้ต่างประเทศก็ยอมรับ อันเนื่องมาจากรสชาติและคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ต่างจากำผลไม้อื่นๆนั่นเอง จากสมญานามนี้ได้กลายมาเป็นเสน่ห์ที่ไม่เคยจืดจางลงเลย

- แผงขายผลไม้ของฝากเยี่ยมคนป่วยหน้าวชิรพยาบาล กทม. วันดีคืนดีจะมีทุเรียนใส่สาแหรกแขวนโชว์หน้าร้านพร้อมกับป้ายบอกราคา 1,500-2,000 บาท กำกับ ที่น่าสงสัยมากก็คือ สนนราคาแพงระดับนี้ถ้าไม่มีคนซื้อ ร้านค้าคงไม่นำมาขายแน่และต้องมั่นใจว่าขายได้จึงตั้งราคาจนแพงลิบลิ่ว กับสงสัยอยู่นิดๆว่า ช่วงเวลานั้นไม่ใช่ฤดูกาลทุเรียน แล้วเขาเอามาจากไหน คงไม่ใช่นำเข้าจากต่างประเทศแน่ และ ทุเรียนก้านยาว. หมอนทอง. ลวง. กบ. ชะนี. จากหลายสวนย่านนนทบุรี ราคาหน้าสวนผลละ 1,500-2,500 บาท ผลผลิตทุกปีจะมีขาประจำจองล่วงหน้า ทั้งนี้เพราะผู้ซื้อมั่นใจในคุณภาพนั่นเอง

- เป็นไม้ผลยืนต้นทรงพุ่มกว้างสูงใหญ่อายุยืนนับร้อยปี ปลูกได้ทุกภาคของประเทศ ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดี ในเขตภาคกลาง กทม. นนทบุรี นครนายก .... เขตภาคตะวันออก ปราจีน บุรี ระยอง ตราด จันทบุรี .... เขตภาคใต้ ชุมพร พังงา นครศรีธรรมราช สงขลา .... ภาคเหนือ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก .... แม้แต่ศรีสระเกษ. กาญจนบุรี. ก็ปลูกทุเรียนได้ดี

- ชอบเนื้อดินหนา ลึก 1.5-2 ม. ระดับน้ำไต้ดินลึก ถ้าระดับน้ำใต้ดินตื้น เมื่อรากเจริญยาวลงไปถึงน้ำจะเกิดอาการใบไหม้แห้ง ต้องใช้ระยะเวลานานจึงจะแตกใบชุดใหม่ ไม่นานใบชุดใหม่ก็จะไหม้แห้งอีก เป็นอย่างนี้จนกระทั่งยืนต้นตาย .... แนวทางแก้ไข ให้ปลูกต้นตอด้วยการเพาะเมล็ด เสริมราก เมื่อต้นตอและต้นรากเสริมเจริญเติบโตดีแล้วจึงเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดี กรณีนี้รากแก้วจากต้นตอและรากแก้วจากต้นเสริมรากจะช่วยแก้ปัญหาระดับน้ำไต้ดินตื้นได้

- ชอบน้ำสะอาด เมื่อคิดจะปลูกทุเรียนต้องแน่ใจว่ามีน้ำสะอาดสำหรับทุเรียนตลอดไป ทุเรียนนนทบุรีส่วนใหญ่ยืนต้นตายเพราะสาเหตุน้ำเสียจากโรงงานหรือชุมชน

- ชอบแสงแดด 100% การตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดส่องได้ทั่วภายในทรงพุ่มสามารถช่วยกำจัดเชื้อราที่เกาะกินเปลือกลำต้นทำให้เปลือกสะอาด .... ออกดอกที่ใต้ผิวเปลือกสะอาด ไม่มีเชื้อราจับ จะทำให้ได้ดอกสมบูรณ์ แต่หากมีเชื้อราเกาะจับตามผิวเปลือก เชื้อราก็จะแย่งอาหารจากตาดอกทำให้ดอกไม่ออกหรือออกมาก็ไม่สมบูรณ์

- เป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารตื้นโดยอยู่ลึกจากผิวดินประมาณ 20-30 ซม. จึงต้องการช่วงแล้วเพื่อให้เกิดสภาพเครียดก่อนออกดอกไม่นานนัก ต้นทุเรียนที่สมบูรณ์มีใบยอดแก่ ผ่านช่วงแล้งเพียง 10-14 วัน และมีอากาศหนาวเย็นลงเล็กน้อย ทุเรียนจะออกดอก

ระยะพัฒนาของดอก (ระยะไข่ปลา-ดอกบาน) ใช้เวลาประมาณ 55-60 วัน

ระยะพัฒนาของผล (จากดอกบาน-เก็บเกี่ยว) แตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ เช่น กระดุม 12-13 สัปดาห์ หรือประมาณ 90 วัน ชะนี 15-16 สัปดาห์ หรือประมาณ 110 วัน หมอนทอง 18-19 สัปดาห์ หรือประมาณ 130 วัน

อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาผลผลิต 14-16 องศา ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % เก็บรักษาทุเรียนได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 14 องศา จะเกิดอาการ chilling injury

* ฤดูกาลของผลผลิตทุเรียนภาคตะวันออก คือ เมษายน – มิถุนายน
* ฤดูกาลของผลผลิตทุเรียนภาคใต้ คือ มิถุนายน - สิงหาคม

- ทุเรียนอยู่คู่กับทองหลาง (พืชตระกูลถั่ว)ได้ดีมาก ให้ปลูกทองหลางแซมแทรกระหว่างต้น ช่วงแรกเพื่อใช้ทองหลางเป็นพี่เลี้ยง เมื่อทุเรียนโตขึ้นก็ให้พิจารณาตัดกิ่งใบทองหลางออกบ้างเพื่อไม่ให้บังแสงแดดทุเรียน .... รากทองหลางสามารถตรึงไนโตรเจนไปไว้ในตัวเองได้ เมื่อรากทองหลางอยู่กับรากทุเรียน ทำให้ทุเรียนได้ไนโตรเจนจากรากทองหลางไปด้วย

- ต้นที่อายุมาก เปลือกแก่ผุเปื่อยเป็นแหล่งแหล่งอาศัยของเชื้อรา ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์หน่อกล้วยฉีดพ่นบ่อยๆ จะช่วยให้เปลือกเก่าหลุดร่อน แล้วเกิดเปลือกใหม่สมบูรณ์และดีขึ้นกว่าเดิม

- เป็นผลไม้ที่มีจำนวนสายพันธุ์มากที่สุดชนิดหนึ่ง ปัจจุบันเท่าที่มีผู้รวบรวมไว้ได้หลายร้อยสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมจริงๆ ได้แก่ หมอนทอง. ก้านยาว. ชะนี. รวง. กบ. กระดุม. ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีรสชาติดีถูกรสนิยมคนกิน ในขณะที่อีกหลายร้อยสายพันธุ์ก็ไม่ใช่ว่าจะรสชาติไม่ดี เพียงแต่ขาดหรืออ่อนประชาสัมพันธ์ไปบ้างเท่านั้น ใครอยากรู้ว่าทุเรียนพันธุ์อื่นๆอร่อยหรือไม่อร่อย อย่างไรก็น่าจะลองเลียบๆ เคียงๆ ถามคนปลูกเอาเอง

- สายพันธุ์ยอดนิยมที่ออกดอกพร้อมกันแล้วกลายเป็นผลแก่ให้เก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกัน ได้แก่ กระดุม-ชะนี-หมอนทอง ตามลำดับ ... .สายพันธุ์เดียวกันแต่ต่างพื้นที่กันก็ออกดอกติดผลแล้วแก่เก็บเกี่ยวออกสู่ตลาดไม่พร้อมกัน โดยทุเรียนภาคตะวันออกแก่ก่อนแล้วตามด้วยทุเรียนภาคกลาง (กทม. นนทบุรี) ปิดท้ายด้วยทุเรียนภาคใต้ ....

- สายพันธุ์ทุเรียนของไทยมีมากถึง 227 พันธุ์ สามารถจำแนกเป็นกลุ่มได้ 6 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มกบ : ประกอบด้วย 46 พันธุ์ เช่น กบชายน้ำ กบตาขำ กบแม่เฒ่า กบตาสาย
2. กลุ่มลวง : ประกอบด้วย 12 พันธุ์ เช่น อีลวง ชะนี แดงรัศมี
3. กลุ่มก้านยาว : ประกอบด้วย 8 พันธุ์ เช่น ก้านยาววัดสัก ก้านยาวพวง
4. กลุ่มกำปั่น : ประกอบด้วย 14 พันธุ์ เช่น กำปั่นตาแพ กำปั่นเนื้อขาว กำปั่นพวง หมอนทอง
5. กลุ่มทองย้อย : ประกอบด้วย 14 พันธุ์ เช่น ทองย้อยเดิม ทองย้อยฉัตร
6. กลุ่มเบ็ดเตล็ด : เป็นกลุ่มทุเรียนที่ยังไม่สามารถจำแนกกลุ่มไม่แน่ชัด ประกอบด้วย 81พันธุ์

* ทุเรียนพันธุ์เบา (ชะนี. กระดุม. ลวง.) ออกดอกต้น ธ.ค. เก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 163-165 วัน
* ทุเรียนพันธุ์กลาง (ก้านยาว. กบ.) ออกดอกพร้อมพันธุ์เบา เก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 122-130 วัน
* ทุเรียนพันธุ์หนัก (ทองย้อย. อีหนัก. กำปั่น. หมอนทอง.) ออกดอกพร้อมกันพันธุ์เบา เก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 140-150 วัน

- ให้ “น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ.30-50 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น ช่วงเดือน พ.ค.- มิ.ย. ทุก 15-20 วัน จะช่วยทุเรียนออกดอกก่อนกำหนด 1-1 เดือนครึ่งได้ ทั้งนี้ต้นต้องผ่านการเตรียมต้นมาอย่างดีและมีความสมบูรณ์สูง

- ต้นอายุมากๆ ผลที่ติดต่ำๆ กับผลที่ติดชิดโคนกิ่งจะมีคุณภาพดีกว่าผลที่ติดสูงๆ หรือค่อนไปทางปลายกิ่ง (ลูกยอด) โดยผลที่อยู่ต่ำกับชิดโคนกิ่งจะได้รับอาหารที่ต้นลำเลียงส่งไปให้ก่อนที่เหลือจึงจะผ่านไปให้ผลที่อยู่ถัดไป ทำให้ผลที่อยู่สูงมากๆ หรือสูงสุดได้รับธาตุอาหารน้อย แนวทางแก้ไขสามารถทำได้ ดังนี้......

* ต้นสูงมาก 8-10 ม. ขึ้นไป เพิ่มปริมาณธาตุอาหารโดยให้ทางใบด้วยการติดตั้งสปริงเกอร์ในทรงพุ่มและเหนือยอดสูงสุดของต้น เมื่อให้ “น้ำ + ปุ๋ยทางใบ + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + ฮอร์โมน” ผ่านสปริงเกอร์พอเปียกใบหรือให้จนโชกแล้วตกลงพื้นที่โคนต้นก็ถือเป็นการให้น้ำตามปกติได้ด้วย

* ตัดต้น (ยอดประธาน) เพื่อควบคุมความสูง และตัดกิ่งประธานเพื่อควบคุมความกว้างของขนาดทรงพุ่มแล้วสร้างใบใหม่ก็จะได้ต้นที่มีขนาดและรูปทรงตามต้องการ การตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมขนาดทรงพุ่มตั้งแต่ทุเรียนมีอายุต้นยังน้อยจะส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของต้นและคุณภาพของผลผลิตระยะยาว

- เคยมีผู้เปรียบเทียบระหว่างต้นสูงมากๆ ตามธรรมชาติกับต้นควบคุมความสูงไว้ที่ 5 ม. ด้วยการตัดแต่งตั้งแต่แรก ทราบว่า .... ต้นมีความสูงมากๆตามธรรมชาติ ผลที่ติด ณ ความสูง 1 ใน 3 ของความสูงต้นจากพื้นทุกผลจะเป็นผลที่มีคุณภาพดี ส่วนผลที่ติดในบริเวณความสูง 2 ใน 3 ของต้นที่เหลือจะไม่ดี หรือในต้นทุเรียนที่มีความสูงมากๆตามธรรมชาติจะให้ผลดีมีคุณภาพเพียง 1 ใน 3 ของผลทั้งต้นเท่านั้น .... ต้นที่มีการควบคุมความสูง 3-4 ม. ทรงพุ่มกว้าง 5-6 ม. ให้ปริมาณผลดกกว่าและคุณภาพเหนือกว่าต้นสูงตามธรรมชาติ

- ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรครากเน่าโคนเน่า (ไฟธอปเทอร่า) สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ น้ำขังค้างโคนต้น ดินเหนียวจัดระบายน้ำไม่ดี อุ้มน้ำมากเนื่องจากฝนตกชุก สะสมยาฆ่าหญ้าและสารเคมีจำกัดโรคและแมลง

- รากฝอยหาอาหารอยู่ที่หน้าดินตื้นๆ (รากลอย) จึงควรพูนโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุหนาๆ กระจายเต็มพื้นที่ทรงพุ่มปีละ 1 ครั้ง หลังจากคลุมโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุหนาๆจะพบว่ามีรากทุเรียนจำนวนมากเจริญแทรกอยู่ในอินทรีย์วัตถุนั้น เป็นรากที่สมบูรณ์ ใหญ่ อวบ ดีมาก

- การบำรุงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาด้วย “แคลเซียม โบรอน + เอ็นเอเอ. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ด้วยการฉีดพ่นทางใบ 2-3 รอบจนกระทั่งดอกบาน วิธีนี้จะได้ประสิทธิภาพสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อก่อนเปิดตาดอกมีการบำรุงด้วยปุ๋ยทางดินสูตร 8-24-24 และ “ธาตุอาหารกลุ่มสร้างดอกบำรุงผล” อย่างเพียงพอจนปรากฏอาการอั้นตาดอกเต็มที่จริงๆ นอกจากนี้อุณหภูมิช่วงแทงช่อดอกก็เป็นปัจจัยประกอบที่สำคัญด้วย

- การตัดแต่งช่อดอกมีส่วนสำคัญ เนื่องจากต้นสมบูรณ์เต็มที่มักออกดอกรุ่นละจำนวนมาก แต่ดอกกลายเป็นผลจริงๆได้ไม่ถึง 10% ดังนั้นจึงควรมีแผนการตัดแต่งช่อดอกออกทิ้งบ้าง 1-2 รอบ โดยตัดแต่งรอบแรกให้เหลือไว้เพียง 50% และตัดแต่งรอบสองก่อนการผสมเกสรอีก 25% หลังจากตัดแต่งรอบสองไปแล้วจะเหลือเพียง 10% หรือน้อยกว่าของดอกที่เหลือจากการตัดแต่งรอบสอง ทั้งนี้การมีดอกน้อยๆจะทำให้ดอกที่เหลือได้รับธาตุอาหารเต็มที่ ส่งผลให้ได้ดอกที่สมบูรณ์

- ดอกที่ออกมาจำนวนมากให้พิจารณาตัดทิ้งดอกอยู่ชิดกับลำต้น หรือดอกบนกิ่งมุมแคบกับลำต้นหรือดอกอยู่กับกิ่งเล็ก ทั้งนี้ควรตัดตั้งแต่ก่อนดอกบาน 2-3 สัปดาห์

- ดอกบานและพร้อมผสมเกสรได้ในช่วงกลางคืน การช่วยผสมเกสรด้วยแมลงจึงเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะแมลงประเภทช่วยผสมเกสรมักออกหากินเฉพาะตอนกลางวัน เช่น ผึ้ง. ผีเสื้อสวยงาม. ดังนั้นตอนค่ำหรือกลางคืนจะมีก็แต่ชันโรงเท่านั้นที่อาจจะเข้ามาช่วยผสมเกสรได้ ส่งผลให้การผสมติดตามธรรมชาติจึงมีเพียงสายลมพัดเป็นหลักเท่านั้น นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทุเรียนติดเป็นผลน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนดอกที่ออกมาในแต่ละรุ่น

- วิธีช่วยผสมเกสรทุเรียนด้วยมือทำได้โดยใช้พู่กันขนอ่อนป้ายเกสรตัวผู้จากดอกตัวผู้ แล้วป้ายใส่เกสรตัวเมียของต้นพันธุ์ที่ต้องการให้ติดผล ก่อนป้ายเกสรตัวผู้ใส่เกสรตัวเมียควรตัดเกสรตัวผู้ของดอกที่จะรับการป้ายเกสรออกก่อนเพื่อป้องกันการได้รับเกสรตัวผู้ซ้ำซ้อน การเก็บเกสรตัวผู้และการป้ายเกสรต้องทำในช่วงเวลา 19.30-20.30 น. (20.00 น. ดีที่สุด) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกสรทั้งสองพร้อมผสม .... ช่วงดอกระยะหัวกำไล (15 วันก่อนดอกบาน) ควรบำรุงดอกด้วย “เอ็นเอเอ.+ สาหร่ายทะเล + แคลเซียม โบรอน” 1 ครั้ง จะช่วยให้เกสรทั้งสองสมบูรณ์แข็งแรงผสมติดดีขึ้น

- ดอกชะนีมีเปอร์เซ็นต์ติดเป็นผลค่อนข้างต่ำ และช่วงเป็นผลอ่อนก็เจริญเติบโตช้า แก้ไขโดยตัดแต่งช่อดอกให้เหลือเฉพาะกลุ่มกลางกิ่ง และควรให้เหลือไว้มากกว่าหมอนทอง

- ผลที่เกิดจากการเกสรในดอกเดียวกันผสมกันเองมักมีลักษณะบิดเบี้ยว คดงอ เป็นพูหลอก และแคระแกร็น ส่วนผลที่เกิดจากการช่วยผสมด้วยมือมักเป็นผลที่สมบูรณ์และคุณภาพดี

- เกสรตัวผู้มีก้านเกสรสั้นกว่าก้านเกสรตัวเมีย .... เกสรตัวผู้มีสีขาวแต่เกสรตัวเมียมีสีเหลือง เกสรทั้งสองมักพร้อมผสมในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน โดยเกสรตัวเมียจะมีความพร้อมก่อนเกสรตัวผู้พร้อมทีหลัง ซึ่งช่วงเวลาพร้อม ก่อน-หลัง นี้ห่างกันไม่เกินครึ่งชั่วโมง ....การใช้เกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียต่างสายพันธุ์ผสมกันจะได้ผลดีกว่าใช้เกสรตัวผู้ตัวเมียสายพันธุ์เดียวกันผสมกัน ยกเว้นหมอนทองที่ใช้เกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียพันธุ์เดียวกันแต่ต่างต้น หรือในต้นเดียวกันแต่ต่างดอกกัน หรือในดอกเดียวกันผสมกันได้

- ดอกทุเรียนบานพร้อมรับการผสมช่วงกลางคืน (หัวค่ำ) สัตว์ธรรมชาติที่สามารถช่วยสมเกสรให้แก่ทุเรียนได้จึงมีเพียงค้างคาวกินน้ำหวานในดอกไม้เท่านั้น

ขั้นตอนพัฒนาการของดอกทุเรียน 9 ระยะ :
1. ระยะไข่ปลา.
2. ระยะตาปู.
3. ระยะเหยียดตีนหนู.
4. ระยะกระดุม.
5. ระยะมะเขือพวง.
6. ระยะหัวกำไล.
7. ระยะดอกขาว.
8. ระยะดอกบาน. และ
9. ระยะปิ่น (ไม้กลัดหรือหางแย้).

- ช่วงดอกระยะมะเขือพวง ถึง หัวกำไล ฉีดพ่น “เอ็นเอเอ. อัตรา 10-20 ซีซี./น้ำ 100 ล.” ให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น สามารถช่วยลดการร่วงของดอกได้ดี

วิธีผสมเกสรทุเรียน :
ถ้าเกสรทุเรียนผสมกันเองตามธรรมชาติ ถามว่า จะเกิดอะไรขึ้น ?
1. ทุเรียนจะติดผลน้อย โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์ชะนีติดผลไม่เกิน 3% และพันธุ์ก้านยาวติดผลไม่เกิน 7%
2. ทุเรียนมักจะติดผลปลายกิ่งหรือกิ่งเล็ก ทำให้การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวลำบากต้องมีการโยกกิ่ง มักทำให้กิ่งฉีกหักได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อมีลมพายุ หรือฝนตกหนัก จากสาเหตุ 2 ประการนี้ หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้การปลูกทุเรียนได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

การแก้ไข :
การนำเทคนิคการผสมเกสรทุเรียนมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการติดผลของทุเรียนจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้การติดผลของทุเรียนเกิดขึ้นได้ช้า เร็ว หรือมีขนาดของผลเท่า ๆ กัน และมีคุณภาพดีได้ด้วยนั้น เพียงใช้ขั้นตอนการปฏิบัติง่าย ๆ ดังนี้

ขั้นตอนการผสมเกสรทุเรียน :
1. เวลา 09.00-12.00 น. ใช้กรรไกรเล็กตัดแต่งดอกพันธุ์แม่ให้เหลือเฉพาะดอกขาว และตัดเกสรตัวผู้ออกทิ้ง หลังจากนั้นใช้ถุงผ้าขาวบางคลุมดอกขาวพันธุ์แม่ไว้

2. เวลา 19.00-19.30 น. เก็บละอองเกสรตัวผู้ของพันธุ์พ่อ โดยใช้กรรไกรเล็กตัดเฉพาะอับละอองเกสรตัวผู้ที่แตกใส่ไว้ในขวดหรือกระบอกพลาสติก ละอองเกสรนี้มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งจะมีลักษณะเป็นละอองสีขาวเกาะติดอยู่กับอับละอองเกสร

3. เวลา 19.30 น. เริ่มทำการผสมเกสร ใช้ปลายพู่กันแตะละอองเกสรตัวผู้ แล้วนำไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่ ซึ่งดอกเกสรพันธุ์แม่นี้จะมีลักษณะดอกกลม สีเหลือง แล้วคลุมด้วยผ้าขาวบางไว้ตามเดิม ผูกป้ายบันทึก เขียนชื่อพันธุ์ วัน เดือน และ ปีที่ทำการผสมเกสร

กิ่งทุเรียน ในแต่ละต้นมักมีระดับความสูงต่ำต่างกัน จึงแนะนำให้ปฏิบัติด้วยวิธีการดังนี้

วิธีผสมเกสรกิ่งระดับต่ำ :
1. ตัดดอกทุเรียนที่กำลังบาน และพร้อมที่จะผสมเกสรของพันธุ์พ่อ เวลา 19.00-19.30 น. ไปทำการผสมเกสร โดยให้ส่วนของอับเกสรตัวผู้ที่มีละอองเกสรตัวผู้สีขาวไปแตะกับยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่

2. ตัดเฉพาะชุดของเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อ โดยใช้มือจับก้านเกสรตัวผู้ ซึงที่ปลายก้านจะมีอับละอองเกสรตัวผู้เกาะอยู่ แล้วนำไปแตะกับยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่

3. ตัดเฉพาะอับละอองเกสรตัวผู้ ที่มีละอองเกสรสีขาวเกาะอยู่ภายในดอกพันธุ์พ่อ ใส่ขวด แล้วใช้ปลายพู่กันแตะละอองเกสรตัวผู้ นำไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่

วิธีผสมเกสรกิ่งระดับสูง :
1. เก็บละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อ ใส่ขวดผูกเชือกแล้วคล้องคอ ซึ่งเกษตรกรจะต้องทำการปีนขึ้นต้นทุเรียน แล้วใช้ปลายพู่กันแตะละอองเกสรตัวผู้ในขวด ไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่

2. เก็บละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อใส่ในกระป๋องพลาสติก แล้วใช้แปรงขนอ่อนต่อด้ามไม้ยาว ใช้ปลายแปลงแตะละอองเกสรตัวผู้ในกระป๋อง นำไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่ วิธีนี้ไม่ต้องปีนขึ้นไปผสมเกสรบนต้นทุเรียน ในกรณีต้นพันธุ์พ่ออยู่ใกล้กับต้นพันธุ์แม่ ไม่ว่าจะเป็นกิ่งต่ำหรือกิ่งสูง สามารถใช้แปรงขนอ่อนแตะละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อ แล้วนำไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่ได้เลย

คู่พันธุ์ที่เหมาะสมในการผสมเกสร :
การเลือกคู่พันธุ์ทุเรียนที่เหมาะสมสำหรับการผสมเกสรเพื่อให้ทุเรียนติดได้ผลดี สามารถเลือกจากคู่พันธุ์ที่เหมาะสมได้ดังนี้
- เกสรตัวผู้พันธุ์ หมอนทอง และ/หรือ ก้านยาว ผสมกับ พันธุ์แม่ชะนี
- เกสรตัวผู้พันธ์ หมอนทอง และ/หรือ ชะนี ผสมกับ พันธุ์แม่ก้านยาว
- เกสรตัวผู้พันธุ์ หมอนทอง และ/หรือ ชะนี ผสมกับ พันธุ์แม่อีหนัก
- เกสรตัวผู้พันธุ์ หมอนทองต่างต้น และ/หรือ ชมพูศรี ผสมกับ พันธุ์แม่หมอนทอง
- เกสรตัวผู้พันธุ์ ชะนี และ/หรือ ชมพูศรี ผสมกับ พันธุ์แม่กระดุม

คำว่า และ/หรือ หมายถึง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง ผลทุเรียนที่เกิดจากการผสมเกสรตัวเมียเป็นพันธุ์อะไร เมื่อโตขึ้นผลจะเป็นพันธุ์นั้น โดยไม่มีอาการกลายพันธุ์หรือเพี้ยนพันธุ์ นอกจากนี้การช่วยผสมเกสรยังทำให้ผลมีรูปทรงดีไม่บิดเบี้ยวเพราะเกิดจากเกสรที่แข็งแรงผสมกัน

ผลทุเรียนที่เกิดจากการผสมเกสร :
ผลทุเรียนที่ได้จากการใช้เทคนิคผสมเกสรนั้นจะสังเกตได้ 2 ลักษณะดังนี้
ลักษณะภายนอก :
- การเจริญเติบโตของผลทุเรียนจะเร็วกว่าการผสมเกสรกันเองตามธรรมขาติ
- รูปทรงของผลสวยงามไม่บิดเบี้ยว พูเต็มเกือบทุกพู

ลักษณะภายใน :
- ลักษณะเนื้อทุเรียน สีเนื้อทุเรียน รสชาติไม่แตกต่างจากทุเรียนที่ผสมเกสรกันเองตามธรรมชาติ
- ในแม่พันธุ์ชะนี จะได้พูเต็ม และจำนวนพูต่อผลมากขึ้น
- ในแม่พันธุ์กระดุมทอง จะได้เมล็ดลีบตั้งแต่ 29-55%
- ในแม่พันธุ์หมอนทอง จะได้ความหนาของเนื้อมากตั้งแต่ 1.9-2.78 ซม. และมีเมล็ดลีบตั้งแต่ 40-59%

ประโยชน์ที่ได้รับ :
1. กำหนดตำแหน่งติดผล ตามกิ่งขนาดใหญ่ หรือกิ่งในระดับต่ำได้
2. ช่วยให้ทุเรียนติดผลดีขึ้น
3. ช่วยในการปฏิบัติและดูแลรักษาสวนทำได้สะดวก
4. กำหนดวันเก็บเกี่ยวได้ และเก็บเกี่ยวได้ง่าย
5. ทำให้ผลทุเรียนแก่ใกล้เคียงกัน หรือพร้อมกัน
6. รูปทรงผลสวยงาม พูเต็มเกือบทุกพู น้ำหนักและขนาดผลดี
7. ลักษณะคุณภาพของเนื้อทุเรียน และรสชาติไม่เปลี่ยนแปลง
8. ได้รับผลผลิตทุเรียนมากขึ้น
9. ผลผลิตทุเรียนจะเป็นที่ต้องการของตลาด

- ธรรมชาติของทุเรียนทั้งต้นที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ เมื่อถึงฤดูออกดอกจะออดอกจำนวนมาก แต่ดอกที่จะพัฒนาเป็นผลได้น้อยมากขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น ถ้าต้นไม่สมบูรณ์จริงต้นจะสลัดดอกทิ้ง แม้แต่ต้นที่สมบูรณ์ก็ยังสลัดดอกทิ้ง ดังนั้นเพื่อป้องกันต้นสลัดดอกทิ้งเอง จึงจำเป็นต้องชิงตัดเสียก่อน เพื่อให้เหลือแต่ดอกที่สมบูรณ์และอยู่ ณ ตำแหน่งที่เหมาะสม

การเลือกดอกตัดทิ้งหรือดอกเก็บไว้ให้พิจารณา :
- ดอกรุ่นเดียวกันอยู่ในกิ่งเดียวกัน บริเวณกลางกิ่งให้เก็บไว้ แต่ดอกต่างรุ่น และอยู่ค่อนไปทางปลายกิ่งให้ตัดทิ้ง

- ดอกที่ออกมาเป็นกระจุก ให้ตัดทิ้งดอกเล็ก เก็บดอกใหญ่ไว้
- ดอกในกระจุกเดียวกันให้ตัดทิ้ง ดอกไม่สมบูรณ์ ดอกต่างรุ่น รวมประมาณ 1 ใน 4 ของกระจุก
- หลังจากตัดแล้วพิจารณาตำแหน่งของดอกที่เก็บไว้แต่ละจุด ให้อยู่ห่างกระจายทั่วบริเวณ
- ถ้าดอกออกมากแต่หลายรุ่นให้พิจารณารุ่นที่จะเป็นผลมีราคาเก็บไว้ แล้วตัดทิ้งดอกรุ่นที่จะไม่มีราคา
- ถ้ามีดอกน้อยแต่หลายรุ่น ให้พิจารณารุ่นเดียวกันกับตำแหน่งที่ออกดอก อาจจะเก็บไว้ ดอกต่างรุ่นแต่อยู่ในตำแหน่ง (ระยะห่าง) ที่เหมาะสมแล้วบำรุงไปตามปกติก็ได้

- การตัดแต่งช่อผลก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ผลที่จะมีคุณภาพดีเพราะได้รับน้ำเลี้ยงอย่างสมบูรณ์นั้น ลักษณะขั้วผลต้องอวบอ้วน เหยียดตรงเดี่ยวออกมาจากกิ่ง บางจุดอาจจะมีมาก กว่า 1 ผล แต่ถ้าทุกผลมีขั้วดีก็สามารถเก็บไว้ได้ ส่วนผลขั้วคดงอเล็กเรียวหรือเป็นขั้วแยกจากขั้วใหญ่ไม่ควรเก็บไว้ให้ตัดทิ้งไป

ตำแหน่งไว้ผลในแต่ละกิ่งควรห่างเท่าๆกัน โดยคำนวณจากจำนวนผลทั้งหมดแล้วเฉลี่ยระยะห่างซึ่งกันและกัน ก็จะช่วยให้แต่ละผลได้รับน้ำเลี้ยงจากลำต้นและจากใบกระจายได้อย่างทั่วถึงทุกผล

- สร้างความสมบูรณ์ต้นด้วยปุ๋ยทางด่วน (สูตร : ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี) เพื่อให้ต้นมีความพร้อมสำหรับการออกดอกติดผล ให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ และสร้างภูมิต้านทานต่อโรคแมลงศัตรูพืช ใช้อาหารเสริมทางด่วน ซึ่งมีคาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบหลัก โดยฉีดพ่นทางใบให้โชก ทั้งใต้ใบบนใบ “ทางด่วน 20-30 ซีซี.+ 15-30-15 หรือ 20-20-20 หรือ 10-20-30 (40-60 กรัม) + ฮิวมิค แอซิด (20 ซีซี.) /น้ำ 20 ลิตร” ทุก 5-7 วัน ติดต่อกัน 3-4 สัปดาห์

หมายเหตุ :
- อาหารเสริมทางด่วนการค้า ได้แก่ ดร็อปไจแอนท์. โพลีแซค. มอลตานิค. ฟลอริเจน.
- อาหารเสริมทางด่วนทำเอง ได้แก่ กลูโคส. เด็กซ์โตรส. ฟลุกโตส. กลูโคลิน. ยาคูลท์. นมสัตว์สดรีดใหม่. น้ำมะพร้าวอ่อน. ไข่สด. น้ำตาลสดจากงวงมะพร้าวหรือตาล. อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ 2-3-4 อย่างๆละเท่าๆ กัน คนเคล้าให้เข้ากันดี ผสมเสร็จแล้วใช้ใหม่ๆจะได้ผลดี

- สถานีวิจัยพืชสวนพลิ้ว จ.จันทบุรี ส่งเสริมให้ชาวสวนทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกองและไม้ผลอื่นๆ บำรุงต้นด้วย “ฮอร์โมนน้ำดำ” อย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี โดยช่วงมีดอกผลอยู่บนต้นให้บำรุงเดือนละ 1 ครั้ง ส่วนช่วงที่ไม่มีดอกผลอยู่บนต้นให้บำรุง 2 เดือน/ครั้ง ปรากฏว่าต้นมีความสมบูรณ์สูงมาก สังเกตได้จากใบใหญ่ หนาเขียวเข้ม เป็นมันวาว

- ช่วงไว้ผลบนต้นแล้วต้นมีอาการโทรม เริ่มจากใบอ่อนเหลืองซีด แต่ใบแก่ยังเขียวสดใสอยู่ แสดงว่า ต้นขาดธาตุอาหารรอง/เสริม อย่างรุนแรง ซึ่งช่วงนี้ต้นต้องการใช้ธาตุอาหารจำนวนมากส่งไปเลี้ยงผล หากปล่อยไว้จะทำให้ผลผลิตไม่มีคุณภาพและต้นไม่พร้อมสำหรับการให้ผลผลิตรุ่นต่อไป บางทีอาจถึงต้นตายได้ แก้ไขโดย ให้ธาตุอาหารรอง/เสริม (เน้น แคลเซียม โบรอน. แมกนีเซียม.สังกะสี.) ควบคู่กับธาตุอาหารหลัก (เอ็น. พี. เค.) ด้วยระยะการให้ถี่ขึ้น

- บำรุงผลขนาดเล็กหรือผลลักษณะไม่สมบูรณ์ด้วยการฉีดพ่น “แคลเซียม โบรอน + ธาตุรอง/เสริม + ไคตินไคโตซาน + ทางด่วน” ที่ผลโดยตรง และที่ใบให้โชก ตั้งแต่ผลยังเล็ก ทุก 7-10 วัน จะช่วยพัฒนาผลให้ดีขึ้นได้ระดับหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสมบูรณ์ของต้นเป็นปัจจัยหลัก

- กลูโคส. ยาคูลท์. นมสัตว์สดรีดใหม่. กระทิงแดง. มีส่วนประกอบของน้ำตาล เมื่อให้แก่ต้นไม้ผลโดยฉีดพ่นทางใบช่วงที่กำลังมีผลอยู่บนต้น จะช่วยให้ผลได้รับธาตุอาหารทันที เหมาะสำหรับต้นที่ติดผลดกจำนวนมากจนธาตุอาหารไม่พอเลี้ยง ช่วยให้ผลโตเร็วมีขนาดใหญ่ขึ้น และแก้อาการผลร่วงผลแตก หากมีการใช้ร่วมกับปุ๋ยเกร็ดทางใบด้วยจะเสริมประสิทธิภาพให้สูงยิ่งขึ้น

- ธาตุ ฟอสฟอรัส. กับ โปแตสเซียม. จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อมี สังกะสี.รวมด้วย และแคลเซียม. จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อมี โบรอน. รวมอยู่ด้วยเช่นกัน

- ทุเรียนฉีดสาร หมายถึง การใช้สารพาโคลบิวทาโซลบังคับทุเรียนให้ออกนอกฤดู เริ่มด้วยการเรียกใบอ่อน 3 รุ่น โดยรุ่น 1 กับรุ่น 2 ออกมาแล้วต้องเร่งให้เป็นใบแก่โดยเร็ว ส่วนใบอ่อนรุ่น 3 ไม่ต้องเร่งให้เป็นใบแก่ แต่พอเริ่มเพสลาดก็ให้ใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 8-24-24 จากนั้นสังเกตใบชุด 3 ที่แตกออกมานี้ ถ้าใบปลายยอด 2 ใบยังอ่อน (ใบหางปลา) ในขณะที่ใบล่างเริ่มแก่ก็ให้ฉีดพ่นสารพาโคลบิวทาโซล อัตรา 200 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ที่ปลายทรงพุ่มบริเวณใบ ให้เปียกทั่วทุกใบทั้งใต้ใบบนใบ แต่อย่าให้เปียกถึงในทรงพุ่ม เทคนิคก็คือ ต้องปรับหัว ฉีดให้น้ำออกเป็นฝอยเล็กๆ ยิ่งเล็กมากยิ่งดี ควรฉีดพ่นช่วง 09.00-10.30 น. ซึ่งเป็นช่วงปากใบเปิด ในทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องทั่วถึง อากาศถ่ายเทดี ไม่มีฝนตกก่อนฉีด 2 วัน และหลังฉีดไม่มีฝนตก 2 วันเช่นกัน เมื่อฉีดพ่นแล้วให้งดน้ำ ถ้างดน้ำแล้วไม่มีฝนตกหรือแล้งจัดประ มาณ 40-45 วัน ดอกชุดแรกจะออกมาให้เห็น

- ช่วงเดือน ก.ค. ถ้างดน้ำอย่างเด็ดขาดได้ แล้วฉีดพ่นสารพาโคลบิวทาโซล อัตรา 100 กรัม/น้ำ 100 ล. (1,000 พีพีเอ็ม.) ให้แก่ทุเรียนที่ผ่านการเตรียมต้นมาดีแล้ว สามารถทำให้ทุเรียนออกดอกหลังการให้พาโคลบิวทาโซล 2-3 เดือนได้ แต่มีข้อแม้ว่า ช่วงก่อนออกดอกและกำลังออกดอกนั้นสภาพอากาศจะต้องแห้งแล้ง หรือควบคุมน้ำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

- ชะนีฉีดสารฯ ไม่ควรช่วยผสมเกสรด้วยมือ แต่ปล่อยให้ผสมติดเองตามธรรมชาติ เพราะถ้าช่วยผสมแล้วเมื่อแก่จะสุกช้า สุกแล้วเนื้อขาวซีด

- ช่วงกำลังมีผลอยู่บนต้นแล้วแตกใบอ่อน จะทำให้ให้เกิดการแย่งอาหารระหว่างใบกับผล ส่งผลเสียต่อผลดังนี้

* แตกใบอ่อนช่วงหลังดอกบาน (สัปดาห์ที่ 3-5) ทำให้ผลเล็กร่วง
* แตกใบอ่อนช่วงหลังดอกบาน (สัปดาห์ที่ 5- 8 ) ทำให้รูปทรงผลบิดเบี้ยว
* แตกใบอ่อนช่วงหลังดอกบาน (สัปดาห์ที่ 10-12) ทำให้เนื้อด้อยคุณภาพ เป็นเต่าเผา เนื้อแกร็น เนื้อสามสี ไม่น่ารับประทาน

- ลักษณะทุเรียนที่กำลังจะแตกใบอ่อนระหว่างมีผล ให้สังเกตเยื่อหุ้มตาเริ่มเจริญ หรือระยะหางปลา ให้ยับยั้งการแตกใบอ่อนด้วย 13-0-46 (150-300 กรัม) /น้ำ 20 ล. 1 ครั้งก่อน ถ้าพบว่ายังจะแตกใบอ่อนอีกหรือกดไม่อยู่ ก็ให้ฉีดซ้ำอีกครั้งด้วยอัตราเดิม นอกจากนี้การให้"ธาตุรอง/ธาตุเสริม" สม่ำเสมอระหว่างมีผล นอกจากจะช่วยบำรุงผลให้ได้คุณภาพดีแล้วยังช่วยกดใบอ่อนได้อีกด้วย

แนวทางแก้ไข :
1. ระยะที่ยอดมีการพัฒนาโดยเยื่อหุ้มตาเริ่มเจริญ หรือที่ชาวสวนเรียกว่า “ระยะหางปลา” ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยทางใบสูตร “13-0-46 (150-300 กรัม) /น้ำ 20 ล.” ให้ทั่วทรงพุ่ม 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

2. ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร “0-52-34 (100 กรัม) /น้ำ 20 ล.” เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อนและเร่งการแก่ของใบ

3. ใช้สารเคมี “ไดเมทโธเอท (40-50 ซีซี.) /น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่น สามารถควบคุมใบอ่อนได้ดีมากโดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์หมอนทอง

4. ใส่ปุ๋ยทางรากสูตร “8-24-24” หรือ “9-26-26” เพื่อเพิ่มปริมาณแป้ง-น้ำตาล ลดปริมาณไนโตรเจน ทั้งในดินและในต้น

5. ควบคุมการแตกใบอ่อนโดยให้ “ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ในรูปอาหาร “ทางด่วน” ทุก 5-7 วัน เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารทั้งต่อใบอ่อนและผลอ่อน

6. ควบคุมการให้น้ำหรือลดปริมาณน้ำอย่าให้มากเกินไป และอย่าให้ขาดน้ำ เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อนเร็วเกินไป

7. การไว้ผลบนต้นมากๆ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ป้องกันการแตกใบอ่อนระหว่างมีผลอยู่บนต้นได้
8. ใช้สาร “พาโคลบิวทาโซล ชนิด 10% (100-150 ซีซี.) /น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นที่ใบสามารถควบคุมการแตกใบอ่อนได้ แต่หลังจากฉีดพ่นพาโคลบิวทาโซลไปแล้ว ต้องให้น้ำและธาตุอาหารเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากอัตราเคยให้ตามปกติ

9. ใช้สาร “เมพิควอทคลอไรด์ ชนิด 50% (20 ซีซี.) /น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นทางใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน ช่วงที่มีฝนตกชุกเพื่อลดปริมาณออกซินในต้นไม่ให้ขึ้นไปสู่ยอดซึ่งจะทำให้ต้นแตกใบอ่อนได้ ก็สามารถควบคุมใบอ่อนได้เช่นกัน .... หรือใช้ “พาโคลบิวทาโซล ชนิด 10% (50 ซีซี.) /น้ำ 100 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น 1 ครั้งหลังฝนตกใบแห้ง หลังจากฉีดพ่นแล้ว 10 วัน ให้น้ำจนดินชุ่ม 3 วันติดต่อกัน ก็สามารถยับยั้งการแตกใบอ่อนได้เช่นกัน

- อายุผลตั้งแต่เริ่มติดหรือกลีบดอกร่วงถึงเก็บเกี่ยว .... กระดุม 90-100 วัน ... ก้านยาว 120-135 วัน .... ชะนี 110-120 วัน .... หมอนทอง 140-150 วัน .... ทั้งนี้ช่วง 20-30 วันสุดท้ายของอายุผลนั้น สภาพอากาศจะต้องแห้งแล้งหรือไม่มีฝน หากมีฝนหรือต้นได้รับน้ำมากอายุผลจะยืดยาวออกไปอย่างไม่มีกำหนด หรือจนกว่าจะกระทบแล้ง

- ฝนชุกช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวทำให้ผลทุเรียน แก่ช้า เปลือกหนา เนื้อเป็นเต่าเผา ไส้ล้ม สีไม่ออก กลิ่นไม่ออก ผลแตก และผลร่วง สาเหตุเป็นเพราะต้นได้รับไนโตรเจนจากน้ำฝนมากเกินไป

แนวทางแก้ไข :
- ตามปกติช่วงผลแก่ใกล้เก็บมักใส่ปุ๋ยทางรากสูตร “8-24-24” หรือ “9-26-26” ควบคู่กับการให้ปุ๋ยทางใบสูตร “0-0-50 หรือ 0-21-74 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ถ้ารู้ล่วงหน้าว่าจะมีฝนแล้วก็ควรให้ล่วงหน้าเป็นการเตรียมตัวไว้ก่อนจะได้ประสิทธิภาพดีกว่าฝนตกแล้วจึงให้

- ผลแก่ใกล้เก็บแล้วได้รับน้ำจากฝนทำให้ผลแก่ช้า อายุผลที่ควรแก่จัดตามกำหนดจึงต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด การปฏิบัติสำหรับขั้นตอนนี้ คือ ให้ปุ๋ยทั้งทางรากและทางใบสูตรดังกล่าวไปเรื่อยๆ พร้อมกับเปิดหน้าดินโคนต้น ให้แสงแดดส่องถึงพื้นดินมากๆ เมื่อมีแสงแดดหรือฟ้าเปิด ทำร่องระบายน้ำป้องกันน้ำขังค้างโคนต้น

หลังจากฝนหมดแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเดิมทั้งทางใบและทางรากต่อไปอีกพร้อมกับงดน้ำ 15-20 วัน ระหว่างนี้ให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของผล แล้วสุ่มเก็บมาผ่าดูภายในก็จะเห็นและรู้ว่าสมควรต้องยืดอายุผลออกไปอีกนานเท่าไรผลจึงจะแก่จัดและเก็บเกี่ยวได้

แนวทางแก้ปัญหาเรื่องผลแก่ตรงกับฝนชุก คือ วางแผนกะเวลาบำรุงต้นล่วงหน้าให้ได้ผลแก่ตรงกับช่วงแล้ง

- วิธีเก็บเกี่ยวทุเรียนของชาวสวนทุเรียนเมืองนนทบุรีไม่ใช้วิธีนับอายุผล เพราะรู้ว่าเอาแน่นอนไม่ได้ เนื่องจากน้ำใต้ดินโคนต้นหรืออาจจะมีฝนตก แต่ใช้วิธีปล่อยให้ผลใดผลหนึ่งร่วงจากต้นลงมาเองก่อน 1 ผล แล้วเก็บผลร่วงนั้นมาผ่าดูภายในก็จะเห็นชัดว่าทุเรียนแก่สมควรเก็บเกี่ยวได้หรือยัง เมื่อเห็นว่าแก่จัดเก็บเกี่ยวได้แล้วจะลงมือเก็บผลที่เป็นรุ่นเดียวกันนั้นก่อน จากนั้นอีก 7 วันจะลงมือเก็บรุ่นสอง และรุ่นสามไปเรื่อยๆ แต่ละรุ่นห่างกัน 5-7 วัน จนกระทั่งหมดทั้งต้น

ทำทุเรียนอ่อนให้เนื้อนุ่มเหมือนทุเรียนแก่และสุก :
วิธีที่ 1 :
นำผลทุเรียนแก่ที่เก็บเกี่ยวลงมาแล้วแช่ใน "อีเทฟอน 50 ซีซี. + น้ำ 100 ล." จนมิดทั้งผล นาน 2 นาที นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง จากนั้นนำไปบ่มตามปกติ ผลทุเรียนจะสุกภายใน 3 วันวิธีนี้ใช้กับผลที่แก่ไม่จัดก็ได้ หลังจากผลได้รับอีเทฟอนไปแล้วเนื้อจะอ่อนนุ่มเหมือนทุเรียนสุกทุกประการ แต่รสและกลิ่นไม่ดี วิธีนี้ ชาวสวนไม่นิยมทำ

วิธีที่ 2 : ใช้สารละลายเอทีฟอน เร่งสุกทุเรียนหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ด้วยการปาดขั้วทุเรียนให้ชิดปริงมากที่สุด แล้วใช้สารละลายเอทีฟอน ทาที่ขั้วทุเรียนที่ปาดเสร็จใหม่ๆ สารละลายเอทีฟอน จะซึมลงไปที่ไส้ทุเรียน จะทำให้เนื้อทุเรียนนิ่ม เหมือนทุเรียนสุกทั้งๆ ที่เป็นทุเรียนอ่อน วิธีการนี้ได้รับความนิยมในวงการ ทั้งเกษตรกรและแม่ค้า โดยเฉพาะแม่ค้า ที่ต้องการให้ทุเรียนสุกพร้อมๆกัน เพื่อหลีกเลี่ยงน้ำหนักของทุเรียนที่จะสูญเสียไป ถ้าปล่อยให้ทุเรียนสุกตามธรรมชาติ ส่วนเกษตรกรก็ขาดจิตสำนึก ตัดทุเรียนอ่อนขายเพราะต้องการขายให้ได้ราคาสูงๆ

- ทุเรียนออกดอกติดผลที่กิ่งประธาน ผลเกิดจากกิ่งประธานคนละกิ่ง (ในต้นเดียวกัน) มักแก่ไม่พร้อมกัน แก้ไขโดย แบ่งกิ่งประธานในต้นเดียวกันนั้นเป็นกิ่งละรุ่น จากนั้นพิจารณาผลที่อยู่ในกิ่งประธานกิ่งเดียวกัน แล้วเลือกผลอายุใกล้เคียงกันที่สุด (ไม่ควรห่างกันเกิน 3-5 วัน) ไว้ ซึ่งผลที่คงไว้นี้จะแก่เก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน ส่วนผลอายุต่างจากผลอื่นมากๆให้ตัดทิ้ง และการตัดทิ้งให้ทำตั้งแต่เป็นผลขนาดเล็ก เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยวก็ให้เก็บผลในกิ่งประธานเดียวกันพร้อมๆกัน ซึ่งทุกผลจะแก่เท่ากัน จากนั้นจึงเลือกเก็บจากกิ่งประธานอื่นๆต่อไปตามลำดับอายุ

- ต้นที่ติดผลจำนวนมาก ปริมาณสารอาหารอาจจะส่งไปเลี้ยงผลทุกผลได้ไม่ทั่วถึงหรือไม่เพียงพอต่อความต้องการของแต่ละผล จึงจำเป็นต้องตัดผลบางส่วนทิ้ง เพื่อให้ผลที่คงไว้ได้รับสารอาหารเต็มที่ การตัดผลทิ้งจะต้องทำตามขั้นตอน ดังนี้.

ครั้งที่ 1 .... เมื่ออายุผลได้ 3-4 สัปดาห์ (ขนาดเท่ามะเขือพวง-ไข่นกกระทา) เลือกตัด ทิ้งผลไม่สมบูรณ์ รูปทรงบิดเบี้ยว ผลขนาดเล็กผิดปกติ หางแย้ที่ก้นผลบิดเบี้ยวเรียวเล็กคดงอ ซึ่งเมื่อโตขึ้นมักเป็นผลแป้ว ไม่มีพู คุณภาพไม่ดี และผลที่ต่างอายุกับผลส่วนใหญ่

ครั้งที่ 2 .... เมื่ออายุผลได้ 5-6 สัปดาห์ (ขนาดไข่ไก่) เลือกตัดทิ้งผลที่มีหนามแดงหนามบิดเบี้ยวผิดรูปร่าง หางแย้ที่ก้นผลบิดเบี้ยวเรียวเล็ก ผลที่หางแย้ใหญ่อวบอ้วนตรงจะเป็นผลดีมีคุณภาพ

ครั้งที่ 3 .... เมื่ออายุผลได้ 7-8 สัปดาห์ (ขนาดกระป๋องนม) เลือกตัดทิ้งผลก้นจีบ ผลขนาดเล็กผิดปกติ

- ด้วยมาตรการบำรุงแบบทำให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายปี ปรากฏว่าทุเรียนกลายเป็นไม้ผลประเภททะวาย ออกดอกติดผลแบบไม่เป็นรุ่น หรือมีผลตลอดปีได้นั่นเอง

- แนวทางในการใส่ปุ๋ยไม้ผลที่ให้ผลดีที่สุด ควรใช้ค่าวิเคราะห์พืชและค่าวิเคราะห์ดินมาเป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจในการใส่ปุ๋ย เนื่องจากค่าวิเคราะห์พืชบอกให้ทราบถึงความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบพืช ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสามารถในการดูดธาตุอาหารของพืช ส่วนค่าวิเคราะห์ดิน บอกให้ทราบว่า ดินมีธาตุอาหารพืชอยู่แล้วมากน้อยเพียงใดและมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะทำให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์หรือไม่ ถ้าไม่เหมาะสมจะปรับปรุงดินอย่างไร เพื่อให้ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่แล้วในดินรวมทั้งปุ๋ยที่จะใส่เพิ่มให้กับดินอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมากที่สุด

- มีการวิจัยพบว่าดินในสวนไม้ผลภาคตะวันออกส่วนใหญ่มักขาด ไนโตรเจน. โพแทสเซียม. แคลเซียม. แมกนีเซียม. เหล็ก. แมงกานีส. และสังกะสี. โดยพบอาการขาดสังกะสี. มากที่สุด ส่วนธาตุฟอสฟอรัส.นั้น สวนไม้ผลส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยชนิดนี้มากเกินกว่าความต้องการของพืช แต่มิได้หมายความว่าสวนไม้ผลทั้งหมดจะขาดธาตุดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้น เพราะดินแต่ละแห่งมีธาตุอาหารที่พืชจะดูดไปใช้ได้ไม่เท่ากัน สวนแต่ละสวนมีประวัติการใส่ปุ๋ยและการจัดการดินที่แตกต่างกัน

เกรดทุเรียน :
1. “ไอ้เข้” หมายถึง ทุเรียนผลใหญ่สุดประมาณ 5 กก.ขึ้น ทรงดีพูเต็ม แก่จัด (ราคาดี รับซื้อไม่อั้น)
2. “เบอร์กล่อง” หมายถึง ทุเรียนเบอร์สวยที่สุด ทรงสวย มี 4 พูเต็ม หนามสวย (หนามบริเวณขั้วไม่ติดกัน)ไม่มีตำหนิ น้ำหนักประมาณ 2.7-4.5 กก. เปอร์เซ็นต์แก่ 80 ขึ้น ใช้ไม้เคาะต้องไม่มีเสียงปุ (ทุเรียนกำลังจะสุก) เรียกเบอร์กล่อง เพราะพ่อค้าจะซื้อใส่กล่อง (ลังกระดาษ) ส่งนอก

3. “เบอร์กลาง” หมายถึง ทุเรียนเบอร์รองจากเบอร์กล่อง ทรงสวย มี 3 พูครึ่ง - 4 พู หนามสวย น้ำหนักประมาณ 2-4 กก. แก่ 80% ขึ้น เคาะไม่ปุ หากเป็นช่วงที่ทุเรียนขาด (น้อย) อาจขยับตำแหน่งเป็นเบอร์กล่องได้

4. “เบอร์หาง” หมายถึง ทุเรียนผลเล็กกลม ขนาด 1-2 กก. หรือทุเรียนผลใหญ่ แต่รูปทรงแป้ว (มีแค่ 2 พูครึ่ง) หนามที่ขั้วอาจติดกันได้บ้าง เคาะไม่ปุ

5. “ป๊อกแป๊ก” หมายถึง ทุเรียนตกไซด์ที่กล่าวมาทั้งหมด เคาะไม่ปุ หรือผลใหญ่แต่มีแค่พูเดียว
6. “สุก/แตก/หล่น” หมายถึง ทุเรียนส่งเขมร หรือเอาไปกวน

หลักการสังเกตทุเรียนแก่ :
1. ก้านผล :
ก้านผลจะแข็งและมีสีเข้มขึ้น เมื่อลูบจะรู้สึกสากมือ เมื่อจับก้านผลแล้วแกว่งผลทุเรียน จะรู้สึกว่าก้านผลทุเรียนยืดหยุ่นมากขึ้น ก้านผลบริเวณปากปลิงจะบวมโต เห็นรอยต่อชัดเจน

2. หนาม : ปลายหนามแห้ง มีสีน้ำตาลเข้ม เปราะและหักง่าย ดังนั้น เมื่อมองจากด้านบนของผลจะเห็นหนามเป็นสีเข้ม หนามมีลักษณะกว้างออก ร่องหนามห่าง เวลาบีบปลายหนามเข้าหากันจะรู้สึกว่ายืดหยุ่น

3. รอยแยกระหว่างพู : ผลทุเรียนที่แก่จัดจะสังเกตเห็นรอยแยกบนพูได้อย่างชัด เจน ยกเว้นบางพันธุ์ที่ปรากฏไม่เด่นชัด เช่น พันธุ์ก้านยาว

4. ชิมปลิง : ผลทุเรียนที่แก่จัด เมื่อตัดขั้วผลหรือปลิงออก จะพบน้ำใสซึ่งไม่ข้นเหนียวเหมือนในทุเรียนอ่อน และเมื่อใช้ลิ้นแตะชิมดูจะมีรสหวาน

5. เคาะเปลือกหรือกรีดหนาม : เมื่อเคาะเปลือก ผลทุเรียนที่แก่จัดจะมีเสียงดังหลวมๆ เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างเปลือกกับเนื้อภายในผล เสียงหนักหรือเบาแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพันธุ์และอายุของต้นทุเรียน

6. ปล่อยให้ร่วง : ปกติดอกทุเรียนแต่ละรุ่นในแต่ละต้นจะบานไม่พร้อมกัน และมีช่วงต่างกันไม่เกิน 10 วัน ดังนั้น เมื่อมีผลทุเรียนในต้นเริ่มแก่ สุกและร่วง ก็เป็นสัญญาณเตือนว่า ผลทุเรียนที่เหลือในรุ่นนั้นแก่แล้วสามารถเก็บเกี่ยวได้

7. นับอายุ : โดยนับอายุผลเป็นจำนวนวันหลังดอกบาน เช่น พันธุ์ชะนี ใช้เวลา 100-105 วัน เป็นต้น การนับวันหรืออายุของผลจะแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละปี และในแต่ละท้อง ถิ่น ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ เช่น ถ้าปีใดมีอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างสูง ผลทุเรียนจะแก่เร็วกว่าปีที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า

(ข้อมูลงานวิจัย : สุพิทย์ มะระยงค์, ดร.หิรัญ หิรัญประดิษฐ์, ศิวพร จินตนาวงศ์, ศิริพร วรกุลดำรงชัย ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี)

เครื่องตรวจวัดความ อ่อน-แก่ ทุเรียน :
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=44412

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=45400&Key=news11

http://thainews.prd.go.th/website_th/news/print_news/WNICT6107050010001

- ทุเรียนที่ตัดมาจากสวนใหม่ๆ นำไปเป่าพัดลมไล่น้ำ 3-5 ชั่วโมง เนื้อทุเรียนจะไม่อมน้ำ ทำให้ทานอร่อยยิ่งขึ้น

- ซื้อทุเรียนที่ตัดตอนแก่ พันธุ์ชะนีให้ทิ้งข้ามคืน 3 คืน ส่วนหมอนทองให้ทิ้งข้ามคืน 5 คืน จะได้รสชาติอร่อยยิ่งขึ้น

- การใช้มีดผ่าทุเรียน ควรใช้มีดขนาดกระชับมือ มีความคมเป็นพิเศษผ่าตามร่องพู แล้วค่อยๆ บิดเปลือกออกจะทำให้แกะง่ายขึ้น

- ถ้าทานทุเรียนไม่หมดให้นำไปแช่ช่องฟิต จะได้ไอศกรีมทุเรียนที่อร่อยไม่แพ้ทานทุเรียนสดๆ

ทุเรียนลูกยอดไม่มีเนื้อ :
คำตอบ :
ทุเรียนลูกนั้นไม่ได้รับสารอาหาร ทั้งจากทางใบและทางราก .... หลักการและเหตุผล คือ ธรรมชาตินิสัยของทุเรียน สารอาหารจากดินผ่านราก ผ่านต้น ผ่านกิ่ง สู่ลูกบนต้น ลูกแรกของกิ่งแรกของต้นจะกินอาหารก่อน กินอิ่มแล้วจึงจะปล่อยไปให้ลูกถัดไปของกิ่งเดียวกัน ลูกถัดไปกินอิ่มก็จะปล่อยให้ลูกถัดไป ทีละลูกๆ ตามลำดับจนถึงลูกสุดท้ายปลายสุดของกิ่งแรก ขณะที่แต่ละลูกของกิ่งแรกกำลังรับสารอาหารตามลำดับนั้น สารอาหารส่วนหนึ่งจะถูกแบ่งให้กิ่งที่สูงถัดขึ้นไป ซึ่งกิ่งนี้ก็จะส่งไปยังลูก ลูกแรกรับแล้วส่งต่อให้ลูกถัดไปตามลำดับเหมือนวิธีของกิ่งแรก.... การส่งสารอาหารจากกิ่งแรกไปกิ่งสูงถัดขึ้นไป ถัดขึ้นไป และถัดขึ้นตามลำดับจากล่างไปบน แต่ละกิ่งได้รับแล้วจะให้ลูกแรกของกิ่งก่อน แล้วจึงให้ต่อไปจนถึงลูกสุดท้ายของกิ่งของตัวเอง

นี่คือสาเหตุที่ทุเรียนลูกสุดท้ายปลายกิ่งของแต่ละกิ่ง และลูกสุดท้ายของปลายกิ่งที่สูงสุดของต้น ไม่ได้รับสารอาหารที่ส่งจากรากผ่านลำต้นขึ้นมา ทำให้ผลไม่มีคุณภาพ คือ ไม่มีเนื้อ หรือเป็นพูหลอก นั่นเอง

แนวทางแก้ปัญหา : ให้สารอาหารทางใบ เมื่อใบสังเคราะห์แล้วจะส่งย้อนกลับมาทางลำต้น ระหว่างที่ส่งย้อนกลับนี้ ลูกแรกปลายสุดก็จะกลายเป็นลูกแรกได้รับโดยอัตโนมัติ เมื่อลูกปลายสุดๆได้รับสารอหารแล้ว ลูกกลางกิ่งก็ยังมีปัญหาอีกจนได้ แนวทาง แก้ไข คือ ให้มีใบบริเวณกลางกิ่งเป็นตัวสังเคราะห์สารอาหารให้ ทั้งนี้ เมื่อช่วงที่ทุเรียนออกดอก หรือ ติดผลเล็ก ซึ่งจะต้องตัดแต่งกิ่งที่แตกซ้อนออกใหม่นี้ทิ้ง ก็ให้คงเหลือใบบางส่วนไว้สำหรับสังเคราะห์อาหารให้ลูกกลางกิ่ง

สรุป : ด้วยการเตรียมใบให้พร้อม แล้วให้สารอาหารทางใบ ใบก็จะสังเคราะห์อา หารให้แก่ทุกลูก ทุกตำแหน่งที่ติดลูก ทั่วทั้งต้น ส่งผลให้ทุเรียนทุกลูกไม่เป็น “พูหลอก”

ทุเรียนพูหลอก .... สาเหตุ และการแก้ไข :
- ชาวสวนทุเรียนเรียกว่า “ลูกยอด” คือ ลูกที่อยู่ส่วนปลายของกิ่ง ทั้งกิ่งล่างกับกิ่งปลายยอดสูงสุด เป็นผลที่ไม่มีเนื้อ ชาวสวนไม่ใช่น้อยไม่รู้สาเหตุ ก็ว่าเป็นธรรมชาติของทุเรียนเอง แก้ไขไม่ได้

- สาเหตุ เพราะให้ปุ๋ยทางแต่ราก ต้นดูดขึ้นไปแล้ว ลูกแรกรับก่อน กินก่อน กินอิ่มแล้วจึงปล่อยให้ลูกถัดไป ลูกถัดไปกินอิ่มแล้วจึงจะปล่อยให้ลูกถัดไปอีก ตามลำดับ จากลูกแรกถึงลูกสุดท้ายที่ปลายกิ่งจะได้อะไร

แก้ไขด้วยการให้ปุ๋ยทางใบ เมื่อให้ปุ๋ยทางใบผลที่อยู่ปลายสุดของกิ่ง จะได้รับเป็นผลแรก ในขณะเดียวกัน ลูกกลางกิ่งก็จะได้รับปุ๋ยจากใบกลางกิ่ง .... นิสัยธรรมชาติของทุเรียน ช่วงมีดอก ถึงผลเล็ก มักมีใบอ่อนแตกออกมา การปฏิบัติคือ ให้เลือกตัดแต่งกิ่งที่แตกใหม่ที่ท้องกิ่งใหญ่ทิ้งทั้งหมด ส่วนกิ่งด้านบนของกิ่งใหญ่ให้เหลือไว้เท่าที่จำเป็น 1 กิ่งเลี้ยง 1 ลูก แบบนี้จะทำให้ทุกลูกในกิ่ง ทั้งโคนกิ่ง กลางกิ่ง ปลายกิ่ง กิ่งล่าง กิ่งกลาง กิ่งสูง ของต้นได้รับสารอา หารเท่าเทียมกัน เมื่อได้รับสารอาหารก็จะไม่เป็นพูหลอก หรือมีพูเต็มนั่นเอง

- ทั้งนี้ ต้นอายุมากๆ ผลที่ติดต่ำๆ กับผลที่ติดชิดโคนกิ่ง จะมีคุณภาพดีกว่าผลที่ติดสูงๆหรือค่อนไปทางปลายกิ่ง (ลูกยอด) โดยผลที่อยู่ต่ำกับชิดโคนกิ่งจะได้รับอาหารที่ต้นลำเลียงส่งไปให้ก่อน ที่เหลือจึงจะผ่านไปให้ผลที่อยู่ถัดไป ทำให้ผลที่อยู่สูงมากๆ หรือสูงสุดได้รับธาตุอาหารน้อย

- ต้นสูงมาก 8-10 ม. ขึ้นไป เพิ่มปริมาณธาตุอาหารโดยให้ทางใบด้วยการติดตั้งสปริงเกอร์ในทรงพุ่มและเหนือยอดสูงสุดของต้น เมื่อให้ “น้ำ + ปุ๋ยทางใบ + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + ฮอร์โมน” ผ่านสปริงเกอร์พอเปียกใบ หรือให้จนโชกแล้วตกลงพื้นที่โคนต้นก็ถือเป็นการให้น้ำตามปกติได้ด้วย

- ตัดต้น (ยอดประธาน) เพื่อควบคุมความสูง และตัดกิ่งประธานเพื่อควบคุมความกว้างของขนาดทรงพุ่มแล้วสร้างใบใหม่ก็จะได้ต้นที่มีขนาดและรูปทรงตามต้องการ การตัดแต่งกิ่งเพื่อควบ คุมขนาดทรงพุ่มตั้งแต่ทุเรียนมีอายุต้นยังน้อยจะส่งผลดีต่อการเจริญ เติบโตของต้น และคุณภาพของผลผลิตระยะยาว

- เคยมีผู้เปรียบเทียบระหว่างต้นสูงมากๆ ตามธรรมชาติ กับต้นควบคุมความสูงไว้ที่ 5 ม. ด้วยการตัดแต่งตั้งแต่แรก พบว่า ต้นมีความสูงมากๆตามธรรมชาติ ผลที่ติด ณ ความสูง 1 ใน 3 ของความสูงต้นจากพื้น ทุกผลจะเป็นผลที่มีคุณภาพดี ส่วนผลที่ติดในบริเวณความสูง 2 ใน 3 ของต้นที่เหลือจะไม่ดี หรือในต้นทุเรียนที่มีความสูงมากๆ ตามธรรมชาติจะให้ ผลดีมีคุณภาพเพียง 1 ใน 3 ของผลทั้งต้นเท่านั้น .... ต้นที่มีการควบคุมความสูง 3-4 ม. ทรงพุ่มกว้าง 5-6 ม. ให้ปริมาณผลดกกว่า และคุณภาพเหนือกว่าต้นสูงตามธรรมชาติ

ข้อเปรียบเทียบนี้ได้จาก การบำรุงทุเรียนโดยให้ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว ไม่มีการให้ปุ๋ยทางใบ หรือให้ปุ๋ยทางใบน้อยมากเนื่องจากเครื่องมือให้ปุ๋ยทางใบไม่พร้อม (ลากสายยาง หรือสะพายเป้) แต่หากได้ให้ปุ๋ยทางใบ ถูกสูตร/ถูกระยะ/สม่ำเสมอ/ต่อเนื่อง ทั้งช่วงมีผลต้นและไม่มีผลบนต้น ด้วยเครื่องมือให้ปุ๋ยทางใบอย่างสปริงเกอร์หม้อปุ๋ย เมื่อปุ๋ยผ่านใบเข้าสู่ต้น ก็จะช่วยให้ลูกยอดที่ปลายกิ่งได้รับสารอาหาร ไม่เป็นพูหลอก กับทั้งคุณภาพดีเหมือนลูกโคนกิ่งโคนต้น

สารอาหารพร้อม อุปกรณ์พร้อม คนพร้อม ต้นทุเรียนพร้อม :
ทางใบ :
ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ในรอบ 1-2 เดือน หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน 1 ครั้ง

ทางราก : ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ ทั่วพื้นที่ทรงพุ่ม .... น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 2 ล./ไร่ รดทั่วพื้นที่เพราะรากทุเรียนแผ่กระจายทั่วแปลง เป็นการบำรุงดินสำหรับรากทุเรียนจะเจริญยาวไปหา .... ให้ 21-7-14 (1 กก. ต้นเล็ก, 2 กก. ต้นใหญ่) /เดือน โดยละลายน้ำรดทั่วทรงพุ่ม เพราะรากทุเรียนแผ่กระจายทั่วพื้นที่ทรงพุ่ม

- เนื่องจากทุเรียนที่ให้ผลผลิตแล้ว มีความต้องการสารอาหารในปริมาณที่มากกว่าไม้ผลชนิดอื่นๆ ดังนั้น ต้องให้สารอาหารทั้งทางรากและทางใบ อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ โดย เฉพาะช่วงพักต้นหรือช่วงเตรียมต้น หรือช่วงที่ยังไม่ออกดอกติดผล จะต้องให้ทั้งสารอาหารตัวหลัก (Mg. Zn. CaB.) และสารอาหารตัวเสริม (น้ำตาลทางด่วน)

- ช่วงมีผลอยู่บนต้น ถ้าสารอาหารไม่เพียงพอจะทำให้ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะเกิดอาการต้นโทรมอย่างเห็นได้ชัด เพราะฉะนั้นการให้สารอาหารทางราก (อินทรีย์ + เคมี) จะต้องต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อย่างแท้จริง

ทุเรียนกับระบบสปริงเกอร์ :
สปริงเกอร์ทุเรียนอายุ 20 ปี ต้น ใหญ่/สูง/กว้าง ตามปกติธรรมชาติ :
- ทางใบต้นละ 2 หัว (โซนละ 20 ต้น = 40 หัว)
- ทางรากต้นละ 3 หัว (โซนละ 20 ต้น = 60 หัว

เปรียบเทียบ ทุเรียน 20 ต้น ให้ทางใบ :
- สปริงเกอร์นาน 5 นาที = ไฟฟ้า 5 นาที
- ลากสายยางฉีดพ่นที่ละต้น ต้นละ 5 นาที +เดิน = ไฟฟ้า 100 (+) นาที ....ต่อการทำงาน 1 ครั้ง

เปรียบเทียบ ทุเรียน 20 ต้น ให้ทางราก :
- สปริงเกอร์ให้พร้อมกันทั้ง 20 ต้น นาน 10 นาที = ไฟฟ้า 10 นาที
- ลากสายยางฉีดพ่นที่ละต้น ต้นละ 10 นาที +เดิน นาน 200 นาที = ไฟฟ้า 200 (+) นาที .... ต่อการทำงาน 1 ครั้ง

ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ RKK :
- คน (กิน อยู่), โรงปุ๋ย (โมลิเน็กซ์ยักษ์), ต้นไม้ (สปริงเกอร์) เดือนละ 900
- เฉพาะปั๊มบาดาล (ซัมเมิร์ซ) อย่างเดียว เดือนละ 1,000 .... ใช้งานปีละ 2 เดือน ช่วงที่ชลประทานไม่ปล่อยน้ำ เพื่อให้ชาวนาเกี่ยวข้าว

ทำงานได้เต็มที่ส่งผลให้ บำรุงเต็มที่ = ได้ผลเต็มที่ :
- ประสิทธิภาพประสิทธิผล ทุเรียนต้น ใหญ่/สูง/กว้าง ไม่คิดไม้ เสริม/แซม/แทรก ด้วยแรงงานคนเดียว

- ใช้สารสมุนไพรได้เต็มที่ ณ เวลาที่ต้องการ (ผลผลิต ใช้สารสมุนไพรจะได้รสชาดจัดจ้านดีกว่า ผลผลิตที่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง .... อ้างอิง : RKK)

- ไอพีเอ็ม กับดักกาวเหนียว แมลงปากกัดปากดูด แมลงวันทอง
- บำรุงต้นสมบูรณ์เป็นภูมิต้านทานโรค

ประสบการณ์ตรง :
สวนทุเรียนหมอนทองที่ อ.เขาคิฌกูฏ จ.จันทบุรี อายุต้น 5-10 ปี ให้ผลผลิตแล้ว เตรียมดินโดยการใส่ยิบซั่ม กระดูกป่น มูลวัว+มูลไก่ ทุก 6 เดือน คลุมหน้าดินบริเวณโคนต้นด้วยเศษใบไม้แห้ง ใบหญ้า หนาประมาณประมาณ 50 ซม. เต็มพื้นที่ทรงพุ่ม ปีละครั้ง .... บำรุงต้นตามขั้นตอนทุกประ การ ปรากฏว่าต้นสมบูรณ์มากเมื่อแหวกเศษพืชคลุมโคนต้นออกดู พบว่ามีรากจำนวนมากชอนไชขึ้นจากพื้นดินมาอยู่ในเศษพืชแห้งนั้น รากอวบใหญ่ยาวสวยมาก .... หลังจากให้ผลผลิตรุ่นนั้นแล้ว

หมอนทองต้นนั้นออกดอกต่อ แล้วก็ออกต่อเรื่อยๆ จนกลายเป็นทุเรียนทะวายออกดอกติดผลไม่มีรุ่น ทำให้การบำรุงยุ่งยากมาก จึงตัดสินใจ “ลุย” บำรุงด้วยสูตร “สะสมตาดอก-บำรุงผล-ฮอร์โมนน้ำดำ-สาหร่าย + ไคติน ไคโตซาน + แคลเซียม โบรอน” ทั้ง 4 สูตร สลับกันสูตรละอาทิตย์ (ตอนนั้นยังไม่มีฮอร์โมนไข่) .... ผลจากการบำรุงด้วยสูตร “ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ” ทำให้ได้ผลขนาดใหญ่กว่า 8-10 กก. และไม่สามารถบำรุงด้วยสูตร “ปรับปรุงคุณภาพก่อนเก็บเกี่ยว หรือ เร่งหวาน” ได้ ทุเรียนทำท่าจะไม่มีคุณภาพ

แนวทางแก้ไข คือ ขายทุเรียนดิบ สำหรับทำทุเรียนทอดกรอบ คนซื้อนอกจากเหมารุ่นนี้หมดสวนแล้วยังจองรุ่นหน้าและรุ่นต่อๆ ไปอีกด้วย

- การทำให้ทุเรียนพันธุ์หมอนทองดอกดอกติดลูกได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้นั้น ขึ้นอยู่กับการบำรุง ทั้งทางใบทางราก สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ตลอดทั้งปี

- ทุเรียนก้านยาว บางกรวย นนทบุรี ของ ร.ต.ท.สุชินฯ สน.พระราชวัง ให้ผลผลิตสูงสุดถึง 102 ผลต่อต้น ไซส์ลูกละ 2 กก. ราคาหน้าสวน กก.ละ 500 ไม่พอขาย ....

สองพ่อลูก ปากเกร็ด นนทบุรี ไปหาที่ไร่กล้อมแกล้ม ยืนยันทำตามแนวที่แนะนำ คือ ทำแบบของผู้หมวดสุชินฯ ก้านยาวต้นเดียวก็ได้กว่า 100 ลูกเหมือนกัน ....


ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อทุเรียน
1. เรียกใบอ่อน
ทางใบ :

-
-
ทางราก :
-
-
หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือทันทีหลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้น และหลังหลังจากตัดแต่งกิ่ง โดยตัดทิ้งกิ่งกระโดง กิ่งคด กิ่งงอ กิ่งไต้ท้องกิ่งประธาน กิ่งที่ลำต้น

- เทคนิคการ ตัดแต่ง-เรียกใบอ่อน แบบ “บำรุงก่อนตัด” กล่าวคือ ระหว่างที่ต้นเลี้ยงลูกนั้น ต้นต้องใช้พลังงานอย่างมาก จนทำให้ต้นโทรม หลังจากผลลูกสุดท้ายหลุดจากต้นแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเรียกใบอ่อน ทั้งทางใบและทางราก หรือเฉพาะทางใบอย่างเดียวก่อน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เพื่อให้ต้นได้ใช้ใบเดิมที่มีสังเคราะห์อาหาร เมื่อเห็นว่า ต้นมีอาการสมบูรณ์ดี ทำท่าจะแตกยอดใหม่ ก็ให้ปฏิบัติการเรียกใบอ่อนทันที การที่ต้นมีความสมบูรณ์อยู่ ต้นก็จะแตกใบอ่อนใหม่ เร็ว ดี มาก และพร้อมกันทั่วทั้งต้น

- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่. การสะสมอาหารเพื่อการออก. การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก. ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็จะกลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- เทคนิคหรือวิธีการเรียกใบอ่อน ให้ใบอ่อนออกพร้อมกันทั้งต้น อย่างหนึ่งคือ บำรุงก่อนตัดแต่งกิ่ง เพราะต้นได้รับสารอาหาร (ทางใบ-ทางราก) สร้างความสมบูรณ์ไว้ก่อน แม้ไม่ให้ปุ๋ยเรียกใบอ่อนต้นก็จะแตกใบอ่อนเองอยู่แล้ว ครั้นได้รับการ “กระตุ้น-กระแทก” ด้วยปุ๋ยกลุ่มเรียกใบอ่อน ต้นจึงแตกใบอ่อนได้ทั่วทั้งต้นดี นั่นแล

- สิ่งบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ของต้นคือการแตกใบอ่อน ถ้าต้นสมบูรณ์ดีจะแตกใบอ่อนออกมาพร้อมกันทั่วทั้งต้น ระยะการแตกใบอ่อนไม่เกิน 5-7 วัน แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์จริง การแตกใบอ่อนจะออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น แม้ระยะเวลาจะผ่านไปนานนับสัปดาห์แล้วก็ตาม

- ความสมบูรณ์ของต้นอันเกิดจากการบำรุงของรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมา มีผลอย่างมากต่อการบำรุงเรียกใบอ่อนรุ่นปีการผลิตปัจจุบัน รุ่นปีการผลิตที่ผ่านมา ถ้าต้นได้รับการบำรุงถูกต้องสม่ำเสมอ หรือต้นไม่โทรม การเรียกใบอ่อนก็จะแตกออกมาเร็วพร้อมกันทั่วทั้งต้นดี แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์หรือโทรม ใบอ่อนชุดใหม่ก็จะแตกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น

- รักษาใบอ่อนที่แตกใหม่ละชุดให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้ ถ้าใบอ่อนชุดหนึ่งชุดใดถูกทำลายไปจะต้องเริ่มเรียกใบชุดที่หนึ่งใหม่

- ทุเรียนต้องการใบอ่อน 3 ชุด .... ถ้าได้ใบอ่อน 1 ชุดจะได้ดอก 10-20% .... ถ้าได้ใบอ่อน 2 ชุดจะได้ดอก 30-40% .... ถ้าได้ใบอ่อน 3 ชุดจะได้ดอก 70-80%

- เพื่อความสมบูรณ์เต็ม 100% ต้องเรียกใบอ่อนให้ได้ 3 ชุด (3 ชั้น) แต่ละรุ่นให้เป็นใบแก่ภายใน 45 วัน

- ทุเรียนโตที่ให้ผลแล้ว การตัดแต่งกิ่งทุเรียนที่ให้ผลแล้วจะทำ 3 ระยะด้วยกัน .... ตัดแต่งกิ่งครั้งแรก หลังจากเก็บเกี่ยวผลเรียบร้อยแล้ว ครั้งที่ 2 ตัดแต่งกิ่งตะขาบ กิ่งน้ำค้าง กิ่งกระโดง กิ่งเป็นโรคอื่น ๆ ที่ไม่มีประโยชน์ ครั้งสุดท้ายหลังจากติดผลแล้ว ขนาดผลประมาณเท่าผลส้มเขียวหวาน ควรตัดแต่งพร้อมกับการตัดแต่งผล

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :
ทางใบ :

-
-
ทางราก :
-
-
หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อใบอ่อนเริ่มแผ่กางหรือเพสลาด
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย

วิธีเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่ :
วิธีที่ 1
.... ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อ ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรก แต่ก็ไม่ควรห่างกันเกิน 7-10 วัน หลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เรียกใบอ่อนชุด 3 ต่อได้เลยอีกเช่นกัน

การที่ใบอ่อนชุด 2 ออกไม่พร้อมกันนั้นจะส่งผลให้ใบอ่อนชุด 3 ออกไม่พร้อมกันทั้งอีกด้วย และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

วิธีที่ 2 .... หลังจากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่ ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบ ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 2 เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เร่งเป็นใบแก่ เมื่อใบชุด 2 เป็นใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบ ก็ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 3 และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตาม ปกติ

(วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า..)
- ใบอ่อนที่ออกมาแล้วปล่อยให้เป็นใบแก่เองตามธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลา 30-45 วัน

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :

-
-
ทางราก :
-
-
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุด ควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง ในห้วงนี้ให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- ปริมาณ 8-24-24 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าว คือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง

- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15 วัน/ครั้ง ก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนปรับ ซีเอ็น เรโช :
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่า ระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้ม เหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย .... ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้ออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิ อากาศจะอำนวยก็ได้

5. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ :

-
-
ทางราก :
-
-
หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และ “ลด” ปริมาณ เอ็น. อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก

- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมา มาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว

- ต้นที่อั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) เพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วนทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช. สมบูรณ์หรือไม่ ในทุเรียนไม่อาจสังเกตจากอาการใบสลดได้ แต่ให้สังเกตจากลักษณะใบใหญ่ หนา เขียวเข้ม ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน

- เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย

6. สำรวจความพร้อมของต้น ก่อนเปิดตาดอก :
- เนื้อใบหนาเขียวเข้มส่องแดดไม่ทะลุ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน ข้อใบสั้น ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายกลมเปราะหักง่าย มองจากภายนอกระยะไกลๆ เห็นความสมบูรณ์ทางทรงพุ่มชัดเจน

- ผิวเปลือกตามลำต้นสดใสมีอาการแตกปริ
- รากใหญ่จำนวนมาก ปลายราก (หมวกราก) ยาวอวบอ้วนสดใส

7. ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนเปิดตาดอก :
ก่อนลงมือเปิดตาดอกให้ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศให้แน่ใจว่าในอีก 15-20 วัน ข้างหน้าหรือวันที่ช่อดอกเริ่มแทงออกมานั้น จะต้องไม่มีฝนตกหรือมีสภาพอากาศปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝน) เพราะสภาพอากาศปิดหรือมีฝน ต้นทุเรียนจะเปิดตาดอกไม่ออก แม้จะอั้นตาดอกดีเพียงใดก็ตาม แต่กลับแทงใบอ่อนออกมาแทน กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงต้นด้วยสูตร “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” ต่อไปจนกว่าจะมั่นใจว่าในวันที่ช่อดอกออกมานั้นไม่มีฝนหรืออากาศเปิดแน่จึงลงมือเปิดตาดอก

8. เปิดตาดอก
ทางใบ :
สูตร 1
...
สูตร 2 ....
ทางราก :
-
-
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้นและสภาพอากาศพร้อม
- เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียว
- ธรรมชาตินิสัยของทุเรียน เป็นไม้ผลยืนต้นประเภทออกดอกง่ายอยู่แล้ว เทคนิคการใช้ไทเปที่มี 0-52-34 จำนวนหนึ่งเป็นส่วนผสมหลักอยู่ก่อนแล้วนั้น อาจเพิ่ม 0-52-34 เพิ่มขึ้น 500 กรัม เป็นการเฉพาะ เช่น "น้ำ 100 ล.+ ไทเป 100 ซีซี.+ 0-52-34 (400-500 กรัม)" ก็จะช่วยให้การเปิดตาดอกได้ผลแน่นอนยิ่งขึ้น

- การใช้ "ไทเป" ประจำ ควบคู่กับบำรุงต้นตามขั้นตอยอย่างสม่ำเสมอทำให้สมบูรณ์อยู่เสมอจนกลายเป็น "ประวัติความสมบูรณ์ต้น" จะทำให้ทุเรียนออกดอกติดผลแบบทะวายไม่มีรุ่นได้ตลอดปี ... .ผลผลิตทุเรียนแบบไม่มีรุ่นนี้เหมาะสำหรับทำทุเรียนทอดกรอบ

- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

9. บำรุงดอก :
ทางใบ :

-
-
ทางราก :
-
-
หมายเหตุ :
ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูมบำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอก และถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน
- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบ เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้
- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอสามารถช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์จะได้ผลแน่นอนกว่าการใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ทำเอง

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุด ตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆ ของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆ ก็ได้

- การไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะทำให้มีผึ้งหรือมีแมลงธรรมชาติอื่นๆ จำนวนมาก เข้ามาช่วยผสมเกสรซึ่งจะส่งผลให้ติดผลดกขึ้น

- ต้นที่ได้รับ แม็กเนเซียม (จากไบโออิ). โบรอน (จากแคลเซียม โบรอน). สม่ำเสมอแบบสะสม ถึงช่วงออกดอกแล้วเจอฝน ดอกจะแข็งแรงไม่ร่วงง่ายๆ หรือติดเป็นผลได้ดีเหมือนปกติ

10. บำรุงผลเล็ก - กลาง :
ทางใบ :

-
-
ทางราก :
-
-
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังผสมติด หรือกลีบดอกร่วง
- ช่วงผลเล็กตั้งแต่เริ่มติดเป็นผลเห็นรูปร่าง ถ้าสภาพอากาศวิปริต (ร้อนจัด หนาวจัด ฝนชุก) ให้ “เอ็นเอเอ. + สาหร่ายทะเล + แคลเซียม โบรอน” 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน นอกช่วยป้องกันผลเล็กร่วงได้แล้ว ยังช่วยบำรุงผลให้พร้อมต่อการเป็นผลขนาดใหญ่คุณภาพดีในอนาคตได้อีกด้วย

- ให้ทางใบไคโตซาน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2-3 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่และเนื้อแน่นขึ้น แต่เมล็ดมีขนาดเท่าเดิม

- หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง เมื่ออายุผลแก่ได้ 50% นอกเป็นการบำรุงสร้างความสมบูรณ์แก่ต้น ส่งผลให้ผลผลิตรุ่นนี้ดี แล้วต่อไปอนาคตผลผลิตรุ่นหน้าหรือรอบหน้าอีกด้วยถึง

11. ระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
ช่วงฝนชุก :
ทางใบ :

-
-
ทางราก :
-
-
หมายเหตุ :
- ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวแล้วมีฝนตก จะทำให้ผลทุเรียน แก่ช้า เปลือกหนา เนื้อเป็นเต่าเผา ไส้ล้ม สีไม่ออก กลิ่นไม่ออก ผลแตกและผลร่วง สาเหตุเป็นเพราะต้นได้รับไนโตรเจนจากน้ำฝนมากเกินไป

- วิธีเก็บเกี่ยวทุเรียนของชาวสวนทุเรียนเมืองนนทบุรีไม่ใช้วิธีนับอายุผล เพราะรู้ว่าเอาแน่นอนไม่ได้เนื่องจากน้ำใต้ดินโคนต้นหรืออาจจะมีฝนตก แต่ใช้วิธีปล่อยให้ผลใดผลหนึ่งร่วงจากต้นลงมาเองก่อน 1 ผล แล้วเก็บผลร่วงนั้นมาผ่าดูภายในก็จะเห็นชัดว่าทุเรียนแก่สมควรเก็บเกี่ยวได้หรือยัง เมื่อเห็นว่าแก่จัดเก็บเกี่ยวได้แล้วจะลงมือเก็บผลที่เป็นรุ่นเดียวกันนั้นก่อน จากนั้นอีก 7 วันจะลงมือเก็บรุ่นสอง และรุ่นสามไปเรื่อยๆ แต่ละรุ่นห่างกัน 5-7 วัน จนกระทั่งหมดทั้งต้น

- นำผลทุเรียนแก่ที่เก็บเกี่ยวลงมาแล้วแช่ใน "อีเทฟอน 50 ซีซี.+ น้ำ 100 ล." จนมิดทั้งผล นาน 2 นาที นำขึ้นผึ่งลมให้แห้งจากนั้นนำไปบ่มตามปกติ ผลทุเรียนจะสุกภายใน 3 วัน.... วิธีนี้ใช้กับผลที่แก่ไม่จัดก็ได้ หลังจากผลได้รับอีเทฟอนไปแล้วเนื้อจะอ่อนนุ่มเหมือนทุเรียนสุกทุกประการ แต่รสและกลิ่นไม่ดี

- ทุเรียนออกดอกติดผลที่กิ่งประธาน ผลเกิดจากกิ่งประธานคนละกิ่ง (ในต้นเดียวกัน) มักแก่ไม่พร้อมกัน แก้ไขโดยแบ่งกิ่งประธานในต้นเดียวกันนั้นเป็นกิ่งละรุ่น จากนั้นพิจารณาผลที่อยู่ในกิ่งประธานกิ่งเดียวกันแล้วเลือกผลอายุใกล้เคียงกันที่สุด (ไม่ควรห่างกันเกิน 3-5 วัน) ไว้ ซึ่งผลที่คงไว้นี้จะแก่เก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน ส่วนผลอายุต่างจากผลอื่นมากๆให้ตัดทิ้งและการตัดทิ้งให้ทำตั้งแต่เป็นผลขนาดเล็ก เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยวก็ให้เก็บผลในกิ่งประธานเดียวกันพร้อมๆกัน ซึ่งทุกผลจะแก่เท่ากัน จากนั้นจึงเลือกเก็บจากกิ่งประธานอื่นๆต่อไปตามลำดับอายุ

- เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยวตามปกติ 10-20 วันและให้ปฏิบัติต่อไปจนกว่าจะหมดฝน
- การให้ทางใบด้วย 16-8-24 นอกจากช่วยปรับปรุงคุณภาพผลแล้วยังช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้อีกด้วย ส่วนการให้ทางใบด้วย 0-21-74 ช่วยปรับปรุงคุณภาพผลอย่างเดียวโดยไม่ช่วยขยายขนาดผล หรือหยุดขยายขนาดผล

- ช่วงที่มีฝนตกชุก ให้ฉีดพ่นทันทีเมื่อฝนหยุดตกใบแห้งโดยไม่จำกัดเวลา หรือฉีดพ่นก่อนฝนตก 30 นาที โดยไม่จำกัดเวลาอีกเช่นกัน

- หลังจากหมดฝนแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเดิมและวิธีเดิมต่อไปอีก 2-3 รอบ จากนั้นให้สุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก็จะรู้ว่าสมควรลงมือเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุงต่อไปอีก

- ถ้าฝนตกนานเป็นเดือนหรือหลายเดือนจนไม่อาจงดน้ำได้ ระหว่างนี้ผลทุเรียนจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ด้วยสูตรบำรุงผล บางครั้งขนาดผลใหญ่เกินเป็นทุเรียนรับประทานผลสุก กรณีนี้แก้ไขด้วยการจำหน่ายทุเรียนดิบ สำหรับทำทุเรียนทอดกรอบหรือทำแป้งทุเรียน หรือปล่อยให้แก่จัดจำหน่ายทุเรียนสุกสำหรับทำทุเรียนกวนก็ได้ .... ทุเรียนผลยักษ์เมื่อสุกให้แกะเนื้อใส่กล่องโฟมจำหน่ายก็ได้

- ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวแล้วมีฝนมักเกิดอาการไส้ซึม แก้ไขด้วยการให้ทางใบด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริมสม่ำเสมอ ทั้งนี้ควรให้ตั้งแต่ยังไม่มีฝนซึ่งจะได้ผลดีกว่าให้หลังจากมีฝนแล้ว

- ต้องการผลขนาดเล็ก (พวงมณี หลงลับแล หลินลับแล) เมื่อผลโตได้ขนาดตามต้อง การแล้วให้บำรุงด้วยสูตรบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวทันที จากนั้นสุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก็จะรู้ว่าเก็บเกี่ยวได้แล้ว หรือต้องบำรุงต่อ

ช่วงฝนแล้ง :
ทางใบ :

-
-
ทางราก :
-
-
หมายเหตุ :
- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 13-13-21 จะทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายไปจากต้นแล้วต้องเร่งบำรุงเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที

- บำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอด้วยการทำให้มีสารอาหารกิตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆ ปี ส่งผลให้ทุเรียนออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีฤดูกาลได้ ดังนั้นการบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 จะไม่ทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายจากต้นไปแล้วเข้าสู่ขั้นตอนบำรุงต้น “สะสมอาหาร” และ “ปรับ ซี/เอ็น เรโช” จากนั้นให้สำรวจความพร้อมของต้นถ้าต้นสมบูรณ์ดีพร้อมก็ลงมือ “เปิดตาดอก” ต่อได้เลย กิ่งที่ยังไม่ออกดอกในรุ่นปีที่ผ่านมาสามารถออกดอกได้ถ้าสภาพอากาศไม่เลวร้ายจนเกินไปนักและดอกที่ออก มาก็สามารถพัฒนาให้เป็นผลได้เช่นกัน การบำรุงแบบต่อเนื่องนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์แข็งแรงอย่างแท้จริง โดยเฉพาะต้นสาวที่ให้ผลผลิตน้อยทั้งๆที่บำรุงอย่างดีจะสามารถทำได้ง่าย





--------------------------------------------------------------------------------






.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/10/2021 12:25 pm, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1281

ตอบตอบ: 07/01/2019 10:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
มีคนไทย ไปทำงานที่เกาหลี อยากได้หนังสือเกษตรไท มินิ ให้ผมส่งไปที่บ้านพี่สาวเขา 1 เล่ม



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
manow
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 23/04/2018
ตอบ: 16

ตอบตอบ: 07/01/2019 4:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

เรียน. K ลุงคิมเจ้าขา

สงสัยหนังสือหัวใจเกษตรไทโกอินเตอร์ไปไกลอย่างที่คิด จะมากจะน้อย ก้อบ่งบอกถึงจำนวนสถิติผู้เข้าชมเน็ต kasetloongkim ที่มีจำนวนเป็นล้านต่อเดือน และผู้เข้าชมดูมีถึงต่างประเทศด้วย

เป๊ะ ปัง อลังเวอร์มั้ยคะคุงลุง*****


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1281

ตอบตอบ: 09/01/2019 3:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

คนไทยไปทำงานที่เกาหลี...พี่สมชายครับ ลุงคิมยังอยู่มั้ย ผมฟังครั้งสุดท้ายนานแล้ว สมัยพี่ๆทั้งหมดไปกำแพงแสน ที่มานพการเกษตร...

ทุกๆคนอยู่ครับ มีบางคนเท่านั้นที่ไม่อยู่


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1281

ตอบตอบ: 29/01/2019 10:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.


ยังอยู่ที่ผมอีกเยอะครับ ผมส่งให้เรื่อยๆ






.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11657

ตอบตอบ: 01/02/2019 6:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
.
.
เรียนสูง แต่ไม่ได้เรียนวิชาเกษตร จึงไม่รู้เรื่องเกษตร เป็นธรรมดา
เรียนน้อย เรื่องเกษตรก็ไม่ได้เรียน จึงไม่รู้เรื่องเกษตร เป็นธรรมดา เช่นกัน

เรียนในสถานศึกษา มีครูสอนหน้าห้อง จึงมีความรู้ เป็นธรรมดา
เรียนนอกสถานศึกษา เรียนด้วยตัวเอง โดยการอ่าน อ่าน อ่าน ก็มีความรู้ได้ เป็นธรรมดา

ความรู้คือทรัพย์สินอันมีค่า ติดตัวไปตลอดชีวิต เป็นมรดกถ่ายทอดให้ลูกหลาน


คนเรา ไม่มีใครเก่งกว่ากัน แต่ แพ้/ชนะ กันที่โอกาส



.



คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ฟันธง :

@@ ต้นทุนการเกษตรด้านพืช .....
ปุ๋ย.......... 30%
ยา.......... 30%
เทคโน...... 20%
โอกาส..... 20%

@@ ทำขาย....
ต้นทุนลด + ขายเท่าเดิม = กำไร
รัฐบาลช่วย + ตัวเองช่วย = ได้ 2 เด้ง



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11657

ตอบตอบ: 04/02/2019 6:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
สถิติการอ่านของคนไทย :
จากที่มีคำกล่าวอย่างไม่มีข้อมูลอ้างอิงว่า “คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยแค่ปีละ 8 บรรทัด” หรือ “เฉลี่ย 45 วันต่อบรรทัด” ที่หลอกหลอนผู้คนในแวดวงการศึกษาและอุตสาหกรรมหนังสือมานับสิบปี วันนี้จึงอยากหยิบข้อมูลล่าสุดผลวิจัยเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2559 ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปรากฏว่า คนไทยใช้เวลาในการอ่าน “เฉลี่ย 66 นาที/วัน”

ด้านข้อมูลจาก NOP World Under Score Index ระบุว่า
ชาวอินเดียให้เวลากับการอ่านมากที่สุดในโลก 10.42 ชั่วโมงต่อคนต่อสัปดาห์
รองลงมาคือไทย 9.24 ชั่วโมง

ตามด้วยจีน 8 ชั่วโมง
ฟิลิปปินส์ 7.36 ชั่วโมง
อียิปต์ 7.30 ชั่วโมง
สาธารณรัฐเช็ก 7.24 ชั่วโมง
รัสเซีย 7.06 ชั่วโมง
ฝรั่งเศสและสวีเดนเท่ากันที่ 6.54 ชั่วโมง
และซาอุดีอาระเบีย 6.48 ชั่วโมง

เมื่อมองลงให้ลึกอิงข้อมูลตามสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในจำนวนคนไทยกว่า 60 ล้านคนที่อ่านหนังสือ เป็นการ

อ่านผ่านหนังสือพิมพ์ร้อยละ 67.3
อ่านผ่านโซเชียลมีเดีย ข้อความ เอสเอ็มเอส และอีเมล์ ร้อยละ 51.6
อ่านความรู้ทั่วไปร้อยละ 51.6
อ่านวารสารร้อยละ 42

สถิติการอ่านของคนไทยปี 2558 สำหรับสถิติการอ่านของประชากรไทย จัดทำขึ้นโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติทุกรอบ 2 ปี โดยปี 2558 ได้ขยายคำนิยามการอ่าน ให้รวมการอ่านข้อความในสื่อสังคม ออนไลน์/เอสเอ็มเอส/อีเมล ด้วย และ

ทำการสำรวจจากประชากรตัวอย่าง 55,920 ครัวเรือน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเดือน พ.ค.- มิ.ย. 2558 ซึ่งสรุปผลการสำรวจที่สำคัญได้ดังนี้ คือ

ในการอ่านของเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เด็กเล็กที่อ่านมีประมาณ 2.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 60.2 โดยเด็กผู้หญิงมีอัตราการอ่านสูงกว่าเด็กผู้ชายเล็กน้อย คือ ร้อยละ 60.9 และร้อยละ 59.5 และ

มีความแตกต่างกันระหว่างเขตการปกครองและภาค โดย ในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านสูงกว่านอกเขตเทศบาล คือ ร้อยละ 63.9 และ 57.4 ตามลำดับ

ส่วนเด็กเล็กในกรุงเทพมหานคร มีอัตราการอ่านสูงสุด คือ ร้อยละ 73.8 ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เด็กเล็กมีอัตราการอ่านต่ำสุด คือ ร้อยละ 55.9

ในส่วนการอ่านของประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป พบว่า มีอัตราการอ่านร้อยละ 77.7 ผู้ชายมีอัตราการอ่านสูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย คือ ร้อยละ 78.9 และ 76.5 ตามลำดับ โดย

วัยเด็กและวัยเยาวชนมีอัตราการอ่านสูงใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 90.7 และ 89.6 รอง
ลงมาคือ กลุ่มวัยทำงาน คือ ร้อยละ 79.1 และต่ำสุดคือ กลุ่มวัยสูงอายุ คือ ร้อยละ 52.8

ด้านประเภทของหนังสือที่อ่านหนังสือพิมพ์เป็นประเภทของหนังสือที่มีผู้อ่านสูงสุด คือ ร้อยละ 67.3 รองลงมาคือ ข้อความในสื่อสังคม ออนไลน์/เอสเอ็มเอส/อีเมล คือ ร้อยละ 51.6 ซึ่ง

ด้านประเภทของหนังสือที่อ่านหนังสือพิมพ์เป็นประเภทของหนังสือที่มีผู้อ่านสูงสุด คือ ร้อย
ละ 67.3 รองลงมาคือ

ข้อความในสื่อสังคม ออนไลน์/เอสเอ็มเอส/อีเมล คือ ร้อยละ 51.6 ซึ่ง เนื้อหาสาระที่ผู้อ่านชอบอ่านมากที่สุดคือ ข่าวสารคดี และความรู้ทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 48.5 เท่ากัน โดยเวลาเฉลี่ยที่ใช้อ่านเฉลี่ย 1 ชั่วโมง 6 นาที/วัน หรือ 66 นาที โดย

กลุ่มเยาวชนใช้เวลาอ่านมากที่สุด เฉลี่ย 1 ชั่วโมง 34 นาที/วัน หรือ 94 นาทีกลุ่มวัยเด็กและวัยทำงานใช้เวลาอ่านเฉลี่ยต่อวันมากกว่า 1 ชั่วโมงเล็กน้อย ส่วนวัยสูงอายุใช้เวลาอ่านน้อยที่สุดเฉลี่ย 44 นาที/วัน

เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2556 พบว่า ทุกวัยใช้เวลาอ่านเพิ่มขึ้น เนื่องจากปี 2558 ได้เพิ่มการอ่านข้อความในสื่อสังคม ออนไลน์/เอสเอ็มเอส/อีเมล ด้วย โดยกลุ่มวัยเยาวชนใช้เวลาอ่านเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 44 นาที/วัน


ที่มา : https://thaipublica.org/wp-content/uploads/2016/04/2559_การอ่าน_สำนักงานสถิติ_ย่อ.pdf, https://examinedexistence.com/which-country-reads-the-most/


https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/777959
คนไทยชอบอ่านหนังสืออันดับ 2 ของโลก!!


https://www.wegointer.com/2013/04/unesco-เผยคนไทยอ่านหนังสือเฉ/
UNESCO เผยคนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยน้อยลง เหลือปีละแค่ 4 บรรทัด !!!

*******************************************************



ประโยชน์จากการอ่าน :
* การอ่านหนังสือ ทำให้ฉลาด และมีความรู้
* การอ่านหนังสือ เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
* การอ่านหนังสือ ทำให้มีโลกทัศน์กว้างขึ้น
* การอ่านหนังสือ เป็นการเสริมสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสัน

https://www.tkpark.or.th/stocks/extra/00067e.pdf


• การอ่านหนังสือจะเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยพัฒนาเรื่องการจำ รวมถึงชะลอและป้องกันการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้

• ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียดต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญ และช่วยให้มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดีขึ้น
• มีทักษะในการสื่อสารที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป
• หนังสือบางประเภทช่วยให้สามารถฝึกฝนทักษะในการคิดเชิงวิเคราะห์ได้

https://www.jobthai.com/REACH/lifestyle/ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ.html

1. เพื่อ การเรียนรู้ ศึกษาด้วยตัวเอง
2. เพื่อ ช่วยการเพิ่มพูน
3. เพื่อ เปลี่ยนทัศนคติและมุมมอง
4. เพื่อ ความบันเทิง หนีไปจากโลกปัจจุบัน
5. เพื่อ ค้นหาความเป็นตัวของตัวเอง
6. เพื่อ ให้ทันโลก
http://oknation.nationtv.tv/blog/yamkrub/2009/09/05/entry-1

************************************************************




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/03/2021 7:54 am, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11657

ตอบตอบ: 04/02/2019 6:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
สงสัย ! .... สงสัย ! .... สงสัย ! ....

**** หนังสือ "คู่สร้าง-คู่สม" สถิติจำหน่ายสูงสุด .... ปิดต้วเอง
**** หนังสือ "สกุลไทย" สถิติจำหน่ายนานที่สุด .... ปิดตัวเอง
**** สารพัดหนังสือเก่า ........... ปิดตัวเอง
**** หลายหนังสือใหม่ ............ แจ้งเกิดไม่ได้



**** รายการสีสันชีวิตไทย วิทยุการเกษตร
- แพร่คลื่น 50 จว. ประชากร 50 ล้าน .... ขอแค่ 10 ล้าน
- ทำมานาน 24 ปี ......................... ขอคนฟัง วันเว้น 7 วัน

- เกษตรกร 30 ล้านคน ....
- หนังสือ "หัวใจเกษตรไท" 2 พันเล่ม ....... 1 ปี ขายไม่หมด

- แล้วบอกว่า คนไทยอ่านหนังสือ มาก/ไม่มาก ที่สุดในโลกได้ไง....



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11657

ตอบตอบ: 01/03/2021 6:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©