-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 6 OCT.... *ทำจุลินทรีย์
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 6 OCT.... *ทำจุลินทรีย์
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 6 OCT.... *ทำจุลินทรีย์

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11658

ตอบตอบ: 06/10/2020 5:47 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 6 OCT.... *ทำจุลินทรีย์ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 6 OCT..
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

*****************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ...

ผลิตรายการโดย....
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สนับสนุนรายการ ....
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ

*** ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ คุณภาพผลผลิต (ยอด-ใบ-ดอก-ผล-เมล็ด-เนื้อ-ต้น-ราก) จะดกดี สีสวยสด รสจัดจ้านได้ ด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม ....

*** แม็กเนเซียม. สังกะสี. สาหร่ายทะเล. แคลเซียม โบรอน. ส่วนผสมเอาไปทำเอง ....
*** กลิ่นล่อดักแมลงวันทอง, กาวเหนียวดักแมลงศัตรูพืช.... คิดง่ายๆ ถ้าแมลงศัตรูพืชไม่มาที่กับดัก เขาก็จะไปที่ต้นพืช ว่ามั้ย ..... (089) 144-1112

เช่นเคย รายการเรา
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

........................................................................................................
........................................................................................................


งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) ก่อนถึงแยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลงที่นั่น ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด


- งานสัญจรปกติวันเสาร์ ตรงกับวันที่ 10 ต.ค.ไปวัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี

- งานสัญจรพิเศษ เสาร์สัปดาห์ที่ 5 ของเดือน ตรงกับวันที่ 31 ต.ค. ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา....

*** ทุกครั้งที่สัญจร แน่นอน ระเบิดเถิดเทิง. ฟาจีก้า. ไบโออิ. หัวโต. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. ซื้อปุ๋ย 3,000 แถมหนังสือ 1 เล่ม เลือกเอาระหว่าง ไม้ผลแนวหน้า กับหัวใจเกษตรไท หรือ ซื้อปุ๋ย 1,000 แถม แคลเซียม โบรอน. 1 ล.

*** สนใจอยากยลโฉม หม้อปุ๋ยหน้าโซน ส่งข่าวล่วงหน้าหน่อยก็ดี จะได้เตรียมไป ส่วนกับดักแมลงวันทองเอาไปแจก กับดักแมลงวันทองที่ขายๆในท้องตลาดอันละ 60 บาท ลุงคิมทำอันละ 60 ตังค์ อันนี้เอาไปดู ดูแล้วทำ ออกแบบใหม่ ....


************************************************************
************************************************************

จาก : (096) 167-36xx
ข้อความ : สอนทำปุ๋ยทำยาแล้ว อยากให้สอนทำจุลินทรีย์....ขอบคุณครับ

จาก : (084) 174-28xx
ข้อความ : เรียนคุณตาผู้พัน พ่อให้ถามสูตรขยายเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่นค่ะ....ขอบคุณคุณตาค่ะ

ตอบ :

อ้างอิง : หนังสือ "หัวใจเกษตรไท มินิ" (500 หน้า)

เกร็ดความรู้เรื่องจุลินทรีย์ :

จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ แบคทีเรีย. ไวรัส. ยีสต์. และรา. ซึ่งกลุ่มใหญ่ๆ เหล่านี้แยกออกเป็นประเภทต่างๆ อีกหลายประเภท เช่น

- ประเภทที่มีประโยชน์ (ฝ่ายธรรมะ) มีประสิทธิภาพในการสร้างและส่งเสริมปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-อุณหภูมิ-สายพันธุ์-โรค) ให้พืชเจริญเติบโต

- ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเชื้อโรค (ฝ่ายอธรรม) มีประสิทธิภาพในการทำลายปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร ทำให้พืชไม่เจริญเติบโตหรือตาย

- ประเภทไม่ต้องการอากาศ ชอบและอยู่ในดินลึกที่อากาศลงไปถึงได้น้อยหรือไม่มีอากาศเลย แต่ยังเป็นจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืช มีพลังในการย่อยสลายเหนือกว่าจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ

- ประเภทต้องการอากาศ ชอบและอยู่บริเวณผิวหน้าดินที่อากาศผ่านหรือถ่ายเทสะดวก
- ประเภทต้องการความชื้นน้อย เจริญเติบโต ขยายพันธุ์ได้ดีภายใต้สภาพความชื้นน้อยๆ หรือแห้งแล้ง
- ประเภทต้องการความชื้นมาก เจริญเติบโตได้ภายใต้สภาพความชื้นที่เหมาะสม เช่น ชื้นพอดี ชื้นแฉะ น้ำขังค้าง

- ประเภทเกิดได้เร็ว เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมภายใน 3-10 วัน
- ประเภทเกิดได้ช้า เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต้องใช้ระยะเวลานานนับเดือนหรือหลายๆ เดือนทั้งจุลินทรีย์ประเภทเกิดได้เร็วและเกิดได้ช้า ถ้าเป็นจุลินทรีย์ฝ่ายธรรมะย่อมมีประโยชน์ต่อพืชเหมือนๆ กันดังนั้นการใช้จุลินทรีย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงควรใช้ทั้งจุลินทรีย์ประเภทหมักใหม่และหมักนานแล้วร่วมกัน

การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์จากป่าธรรมชาติ :
การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์จากป่าธรรมชาติ ที่มาของจุลินทรีย์ มาจากป่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และมีระบบนิเวศ สภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ใกล้กับแปลงเกษตรของเรา (พื้นที่เดียวกัน) วิธีการเก็บจุลินทรีย์จากป่า โดยเก็บจากหน้าดินที่มีอินทรีย์วัตถุทับถม (บริเวณหน้าดินที่เรียกว่า ดินดี) หรือเก็บดินมาจากหลาย ๆ จุด เช่น จากยอดเขา กลางเขา ตีนเขา ลำธาร โค่นต้นไม้ กอไผ่ โดยเก็บดิน จำนวนรวมกันแล้วประมาณ 1- 2 กก.

วิธีการสังเกตุดินดี มือจับดูนุ่มมือ กลิ่นหอม สีดำ วัสดุเพาะจุลินทรีย์ :
1. ดินดีจากป่า 1 ส่วน
2. รำอ่อน 1 ส่วน
3. กากน้ำตาล 0.5 ล.
4. ใบไผ่หรือใบจามจุรีหรือฟางข้าว (อินทรีย์วัตถุที่หาง่ายในท้องถิ่นอะไรก็ได้)
5. น้ำพอประมาณ

วิธีการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ :
ขั้นที่ 1 :
นำรำอ่อนผสมคลุกเคล้าดินป่าที่เก็บมา แล้วน้าไปคลุกกับใบไผ่ หรือ จามจุรีที่เตรียมไว้(ใบไผ่) จากนั้นน้ากากน้ำตาลที่ละลายน้ำรดที่วัสดุเพาะพอหมาดความชื้นประมาณ 40% (ใช้มือกำแล้วบีบ น้ำไจะไม่ไหลออกมา) คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำไปบ่มไว้ในกอง หรือ กระสอบป่านทิ้งไว้ประมาณ 5 - 7 วัน แล้วน้าไปเพาะเลี้ยงขั้นที่ 2
2. ขั้นที่ 2 (ขยายปริมาณ)
วัสดุอุปกรณ์
- ถังขนาด 200 ล.
- น้ำ 20 ส่วน (ประมาณ 160 ล.)
- กากน้ำตาล 1 ส่วน (ประมาณ 8 กก.)
- รำอ่อน 1 ส่วน (ประมาณ 8 กก.)
- จุลินทรีย์จากขั้นที่ 1 จำนวนทั้งหมด

วิธีการเพาะเลี้ยงขั้นที่ 2
- นำน้ำใส่ถัง จ้านวนประมาณ 160 ล.
- เทกากน้ำตาลลงในน้ำ ผสมละลายให้เข้ากันจนกากน้ำตาลละลายหมด
- นำจุลินทรีย์จากขั้นที่ 1 ที่ห่อด้วยมุ้งเขียวใส่ลงไปในถัง (ห่อเพื่อป้องกันการกระจัดกระจายของวัสดุในถัง)
- หลังจากนั้นโรยรำละเอียด (แกลบมุก) ลงไปในถัง (รำละเอียดจะใช้ หรือไม่ใช้ก็ได้ ถ้าเราใช้จะช่วยให้เชื้อจุลินทรีย์ขยายได้เร็วขึ้นแต่จะเปลืองค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นด้วย)
- ปิดฝาถัง ไม่ต้องปิดสนิท
- ทิ้งไว้ประมาณ 15-20 วัน สังเกตจะมีกลิ่นเปรี้ยว สามารถน้าไปใช้ได้
วิธีการใช้ประโยชน์ นำไปทำปุ๋ยหมัก ใส่ในแปลงพืชผัก นา และใช้แทน อีเอ็ม (EM), พด. และจุลินทรีย์ท้องถิ่น ศูนย์เรียนรู้สถาบันพัฒนาทรัพยากรและเกษตรกรรมยั่งยืนแม่ทา 61 หมู่ที่ 5 บ.ป่านอต ต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่

วิธีการเก็บตัวอย่างหัวเชื้อจากป่าธรรมชาติ
1) เก็บตัวอย่างจากโคนไม้ที่ผุพังที่มีเชื้อราสีขาว หรือเชื้อเห็ดหอมดมกลิ่นตัวอย่างเชื้อ จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นของเห็ดโคน

2) เก็บตัวอย่างจากบริเวณใบไผ่จากป่าดิบชื้นจากธรรมชาติ จะสังเกตเห็นการผุพัง และการเกิดเชื้อราฝ้าขาวจับผิวไม้ไผ่ จะมีกลิ่นหอม

3) เก็บตัวอย่างจากโคนผิวเนื้อไม้ที่มีไลเคนที่เขียวขึ้น ขูดเอาเฉพาะผิวหน้า จะมีความชื้นสูง และกลิ่นหอมคล้ายเชื้อเห็ด

4) เก็บตัวอย่างจากโคนไม้ใหญ่ที่มีรากฝอย บริเวณพูดอน ขูดเอาผิวดินบริเวณพูดอน จะมีความอุดมสมบูรณ์สูง และมีกลิ่นหอมคล้ายเชื้อเห็ด อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างจุลินทรีย์ กล่องพลาสติก ถุงพลาสติก หรืออื่น ๆ

วัสดุการเพาะเลี้ยง (สูตรการทำ) :
1) หัวเชื้อราจากป่าชนิดต่างๆ ประมาณ 1 กก.
2) ร้าละเอียด 0.5 กก.
3) ใบไผ่ที่มีอยู่ในท้องถิ่น 3 กก.
4) กากน้ำตาล 0.5 กก.

วิธีทำจุลินทรีย์แบบแห้ง :
1) น้าหัวเชื้อราจากป่าชนิดต่าง ๆ ประมาณ 1 กก.
2) น้าหัวเชื้อคลุกเคล้ากับใบไม้ไผ่ในท้องถิ่น โรยด้วยรำละเอียด
3) น้ากากน้ำตาลที่ผสมรวมกับน้ำประมาณ 10 ล. ตีกากน้ำตาลร่วมกับน้ำให้เข้า กัน รดลงน้ำบนกองไม้ไผ่
4) ให้กองจุลินทรีย์ชุ่มน้ำพอประมาณอย่าให้เปียกมาก
5) คลุมด้วยกระสอบป่านไว้ประมาณ 3-7 วัน เมื่อเปิดดูจะพบว่าเกิดเชื้อราสีขาว สี เขียว ฯลฯ

การจัดเก็บจุลินทรีย์แบบแห้งสามารถเก็บบรรจุกระสอบป่านไว้ หรือจะเก็บแบบผึ่งลม จะอยู่ได้นานประมาณ 6-8 เดือน การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์จากป่าธรรมชาติ

วิธีทำจุลินทรีย์แบบน้ำ :
1) เอาหัวเชื้อจุลินทรีย์แบบแห้งที่เพาะเลี้ยงไว้ประมาณ 1 กก. มาห่อหุ้มด้วยถุง มุ้งเขียว
2) หากมีถังพลาสติกประมาณ 200 ล. ใส่น้ำไปประมาณ 180 ล.
3) น้ากากน้ำตาล 10 ล. เทลงไปในถังใบ้ไม้คนให้กากน้ำตาลกับน้ำให้เข้ากัน
4) ใส่ถุงหัวเชื้อราในข้อ 1 ลงไปในถังกากน้ำตาล
5) ปิดฝาถังด้วยพลาสติกมัดปากหรือฝาพลาสติกก็ได้
6) ประมาณ 3-7 วัน จะเกิดปฏิกิริยาความพุดของการเดินหัวเชื้อ หลังจากนั้นจะค่อยๆ เป็นเชื้อราสีขาว ปกคลุมทั่วทั้งถัง เมื่อเชื้อผ่านไปได้ 7 วัน สามารถนำไปใช้ได้ในการย่อยสลายฟาง

การขยายเชื้อลงปุ๋ยชีวภาพ และใส่พืชผัก ไม้ผลได้โดยตรง ศูนย์เรียนรู้สานสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งอยู่ เลขที่ 28 หมู่ 4 บ.ดอนแก้ว ต.ดอนแก้ว อ.สารภี จ.เชียงใหม่

http://www3.oae.go.th/rdpcc/images/filesdownload/km/Knowledge/productions/1.pdf


1. จุลินทรีย์ธรรมชาติ :
หลักการและเหตุผล :

- การที่จะรู้ว่าพื้นดินหรือแหล่งปลูกพืชบริเวณใดมีจุลินทรีย์ประเภทใดได้นั้น สังเกตจากการเจริญเติบโตของต้นพืชที่ขึ้นในบริเวณนั้นหรือใกล้เคียงเป็นหลัก ถ้าต้นพืชเจริญเติบโตดีแสดงว่ามีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ แต่ถ้าต้นพืชไม่เจริญเติบโตแสดงว่ามีจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์

- ประเภทของจุลินทรีย์ธรรมชาติในแหล่งธรรมชาติ
*** รากหญ้าแฝก หญ้าขน หญ้าประเภทหน้าแล้งตายหน้าฝนฟื้น มีจุลินทรีย์อะโซโตแบ็คเตอร์
*** ปมรากถั่วลิสง มีจุลินทรีย์คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า.
*** รากมะกอกน้ำ มีจุลินทรีย์บาซิลลัส
*** รากกล้วย มีจุลินทรีย์แอ็คติโนมัยซิส
*** รากพืชตระกูลถั่วยืนต้น เช่น สะดา เหลียง มะขามเทศ
*** เศษใบไม้ เศษกิ่งไม้ ผุเปื่อย
*** ดินผิวดินที่ประวัติเคมีมีเห็ดธรรมชาติเกิดประจำ

วิธีขยายเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ :
น้ำ (พีเอช 6.7-7.0) 10 ล.
กากน้ำตาล 1 ล.
น้ำมะพร้าว 1 ล.
วัสดุจุลินทรีย์เริ่มต้นหลายๆอย่าง 1-2 กก.
คนเคล้าให้เข้ากันดี
เติมอ๊อกซิเจนตลอด 24 ชม. 7-10 วัน
ได้ "หัวเชื้อ" พร้อมใช้งาน
ใช้ "หัวเชื้อ 1 ล./น้ำ 500 ล." (1:500) ราดรดลงดิน หรือบนกองปุ๋ยอินทรีย์

หมายเหตุ :
การนำวัสดุที่เป็นแหล่งจุลินทรีย์ธรรมชาติ หลายๆอย่าง สับเล็ก ใส่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์หมักในกอง ก็จะทำให้จุลินทรีย์จากแหล่งธรรมชาติที่ใส่ร่วมลงไปนั้นขยายเชื้อเพิ่มปริมาณได้

2. จุลินทรีย์ อีแอบ. :
เตรียมเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น :

1. ใช้ “ปลาทะเลสดยังมีชีวิตทั้งตัวบดละเอียด 1 กก. + กากน้ำตาล 50 ซีซี. + หัวกระเทียมบดละเอียด 200-300 กรัม.” ผสมนวดให้เข้ากันดี

2. นำเนื้อปลาที่นวดดีแล้วห่อด้วยใบตองหลายๆ ชั้น รัดห่อด้วยเชือกเป็นเปราะๆ เหมือนห่อหมูยอ แล้วเก็บไว้ในตู้กับข้าว ทิ้งไว้ 7-10 วัน ช่วงอุณหภูมิอากาศปกติ หรือ 15-20 วันช่วงอุณหภูมิอากาศเย็น ได้ “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ." เข้มข้น พร้อมนำไปขยายเชื้อ

ขยายเชื้อจุลินทรีย์ :
1. เตรียมน้ำต้มเดือดจัดเพื่อฆ่าเชื้อโรค ปล่อยทิ้งให้เย็น 10 ล.ในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ สะอาด ใส่กากน้ำตาลลงไป 1 ล. หรืออัตราส่วน 10 : 1 คนให้เข้ากันดี

2. นำก้อนเชื้อจุลินทรีย์ออกมาจากห่อ ใส่ลงไปในน้ำ ขยายเชื้อ คนเคล้าให้เข้ากันดี
3. ใส่ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ลงไปแล้วช่วงการหมัก 24-48 ชม.แรกให้ปิดฝาสนิท อย่าให้อากาศเข้าได้ ผ่าน 24-48 ชม.ไปแล้วคลายฝาออกปิดพอหลวม ระวังอย่าให้สิ่งแปลกปลอมตกลงไป ติดปั๊มออกซิเจนเพื่อเติมอากาศให้แก่จุลินทรีย์

4. ตรวจสอบประจำวันด้วยการสังเกตฟองที่เกิดขึ้นในถังขยายเชื้อ ถ้ามีฟองผุดขึ้นมามากแสดงว่ามีจุลินทรีย์จำนวนมาก สมบูรณ์ และแข็งแรง แต่ถ้ามีฟองผุดขึ้นมาน้อยแสดงว่ามีจุลินทรีย์น้อยให้ใส่เพิ่ม “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์” พร้อมกับเติมกากน้ำตาลอีก อัตรา ¼ ของที่ใส่ครั้งแรกกับน้ำมะพร้าวอ่อนเล็กน้อยลงไป คนเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้งแล้วหมักขยายเชื้อต่อไป

- หลังจากหมดฟองแล้วได้ “หัวเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ.เข้มข้น” ให้นำออกใช้ทันทีในวันรุ่งขึ้น
- ขั้นตอนการหมัก การตรวจสอบ และการนำออกไปใช้ ให้ปฏิบัติเหมือนขยายเชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่น

หมายเหตุ :
- ไม่ควรเก็บจุลินทรีย์ที่ขยายเชื้อจนเจริญดีแล้วไว้ในน้ำขยายเชื้อนานเกินไป เพราะจะทำให้จุลินทรีย์กลุ่มแรก (จุลินทรีย์ที่ต้องการ) ซึ่งเกิดก่อนต้องตายแล้วเกิดจุลินทรีย์กลุ่มใหม่ (ไม่รู้จัก) ขึ้นมาแทน ทั้งนี้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ต้องการความชื้นเพียง 30-70 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

- การควบคุมอุณหภูมิในถังขยายเชื้อหรือถังหมักให้อยู่ที่ 40 องศา ซี. อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้จุลินทรีย์เจริญและขยายพันธุ์ได้เร็วขึ้น

* ดร.สุริยา ศาสนรักกิจ. ตรวจสอบจุลินทรีย์ อีเอ็ม. ว่ามีจุลินทรีย์กลุ่มไหนบ้าง จากนั้นพยายามคัดสรรสารพัดวัสดุเพื่อนำมา เพาะ/ขยายเชื้อ จนกระทั่งพบว่าปลาทะเล. ทำให้ได้จุลินทรีย์กลุ่มเดียวกันกับ อีเอ็ม. ทันทีที่พบถึงกับอุทานว่า "แอบ" อยู่นี่เอง และนี่คือที่มาของชื่อว่า "อีแอบ" ที่ลุงคิมตั้งให้เอง

3. จุลินทรีย์ อีแอบ. ซุปเปอร์ :
เตรียมเชื้อเริ่มต้น :

ใช้ “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ.เข้มข้น” หมักนานจนพร้อมใช้งานแล้ว

การขยายเชื้อและวิธีใช้ :
- เตรียมน้ำขยายเชื้อเหมือนเดิม
- ใส่ “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ.เข้มข้น + จุลินทรีย์ท้องตลาดหรือจุลินทรีย์อื่นๆ” ลงในถังขยายเชื้อ คนเคล้าให้เข้ากันดี

- กรรมวิธีการหมักขยายเชื้อเหมือนการทำจุลินทรีย์ อีแอบ.ทุกประการ

หมายเหตุ :
- จุลินทรีย์ท้องตลาดได้แก่ ยาคูลท์ โยเกิร์ต และร้านขายสินค้าเกษตรทั่วไป
- จุลินทรีย์อื่นๆ หมายถึง พด. จุลินทรีย์หน่อกล้วย. จุลินทรีย์ประจำถิ่น. ฯลฯ ที่พร้อมใช้งานดีแล้ว ซึ่งจะทำให้ใน อีแอบ. มีจุลินทรีย์กลุ่มอื่นเพิ่มขึ้น

4. จุลินทรีย์หน่อกล้วย :
เตรียมเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น :

1. เลือกหน่อกล้วยความสูง 1 ม.จากพื้นถึงยอด เป็นหน่อชนิดที่สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรค เกิดจากต้นแม่ที่สมบูรณ์แข็งแรงให้ผลผลิตดี ทั้งต้นแม่และหน่ออยู่ในบริเวณที่ดินมีค่ากรด-ด่างเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อนๆ

2. ขุดหน่อขึ้นมาให้มีเหง้าติดรากมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ สลัดดินทิ้งไปให้เหลือติดรากไว้เล็กน้อย ไม่ต้องล้างน้ำ

3. สับเล็กหรือบดละเอียดทั้งต้น (ราก เหง้า ต้น ใบ) อัตราส่วน หน่อกล้วย 3 ส่วน : กากน้ำตาล 1 ส่วน (3:1) เติมน้ำมะพร้าวอ่อนพอเหลว บรรจุในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ คลุกเคล้าให้เข้ากันดี เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง คนบ่อยๆ เพื่อเร่งอากาศให้แก่จุลินทรีย์ หมักนาน 7-10 วัน กรองเอากากออก น้ำที่ได้คือ “น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วยเข้มข้น” พร้อมใช้งานขั้นตอนการหมัก การตรวจสอบ และการนำไปใช้เหมือนจุลินทรีย์ประจำถิ่น อายุการเก็บนาน 6 เดือนหลังจากหมดอายุแล้วนำมาขยายเชื้อด้วยจุลินทรีย์เริ่มต้นชุดใหม่ได้

ประโยชน์ :
- ใช้ในการหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ ฮอร์โมนพืช บ่มดิน ปรับปรุงดิน ฯลฯ
- ราดลงดินช่วยปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ดินโปร่งร่วนซุยและกำจัดเชื้อโรคในดิน
- ผสมกับปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก ให้ได้ความชื้น 50% ช่วยเร่งให้ปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอกใช้งานได้เร็วและดีขึ้น
- ช่วยย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุที่ใส่ลงไปในดินให้เกิด “ฮิวมิค แอซิด” ได้เร็วและจำนวนมาก
- ช่วยย่อยสลายฟางในนาข้าวที่ไถกลบช่วงทำเทือกให้เปื่อยยุ่ยเร็วขึ้น
- ฉีดพ่นทางใบช่วยกำจัดเชื้อรา ทำให้หนอนไม่ลอกคราบไม่กินอาหาร (ทำลายพืช) ทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนฟักออกมาเป็นตัวหนอนไม่ได้ และขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่

- กำจัดเชื้อโรคในน้ำในร่องสวน สระกักเก็บน้ำ และคอกปศุสัตว์

หมายเหตุ :
- ในหน่อกล้วยมีจุลินทรีย์กลุ่ม “แอ็คติโนมัยซิส” ซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสูง
- ฉีดพ่นจุลินทรีย์หน่อกล้วยทางใบให้ทั่วทรงพุ่มตอนกลาวันช่วงหลังฝนหยุด (ฝนต่อแดด) เพื่อล้างน้ำฝนออกจากต้นไม่ให้น้ำฝนแห้งคาต้นช่วยกำจัดเชื้อราแอนแทร็คโนส. ไม่ให้เข้าทำลายใบ ยอด ดอก ผล และส่วนต่างๆ ของพืชได้.....ฉีดพ่นตอนเช้ามืดเพื่อล้างน้ำค้างและหมอกออกจากต้นก่อนที่น้ำค้างและหมอกจะแห้งคาต้น ช่วยกำจัดเชื้อราน้ำค้าง. ราแป้ง. ราสนิม. ไม่ให้เข้าทำลายส่วนต่างๆ ของต้นพืชได้

- จุลินทรีย์กลุ่มแอ็คติโนมัยซิส. มีประสิทธิภาพในการกำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคพืชประเภทเชื้อราในดิน เช่น เชื้อไฟธอปเทอร่า. พิเทียม. ฟูซาเลียม. สเคลโรเทียม. และไรช็อคโธเนีย. ได้ผลดีมาก

- ถ้าไม่ใช้หน่อกล้วยทั้งหน่อ สามารถใช้เฉพาะส่วนลำต้นของต้นกล้วยแก่ตัดเครือใหม่ๆ แทนก็ได้ ด้วยอัตราส่วนและวิธีการเดียวกัน

5. จุลินทรีย์เปลือกถั่วลิสง :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

ใช้ “เปลือกถั่วลิสงสดใหม่ผึ่งลมให้แห้ง บดละเอียด 10 กก. + ข้าวฟ่างสดใหม่บดละเอียดผึ่งลมให้แห้ง 1 กก. + มูลม้าสดใหม่บดละเอียดผึ่งลมแห้ง 1 กก. + รำละเอียดใหม่ 1 กก.” คลุกเคล้าให้เข้ากันดีพร้อมกับพรมด้วย “น้ำ 10 ล. + จุลินทรีย์ อีแอบ.ซุปเปอร์ หรือ จุลินทรีย์หน่อกล้วย (อย่างใดอย่างหนึ่ง) 100 ซีซี.” ให้ได้ความชื้น 50% ทำกองอัดแน่น คลุมด้วยพลาสติก ระหว่างหมักช่วง 5-7 วันแรกถ้าเกิดควันให้กลับกอง และกลับกองทุกครั้งที่มีควันขึ้น หมักไปจนกระทั่งอุณหภูมิในกองเย็นลง หมักนาน 3-6 เดือน ได้ “หัวเชื้อจุลินทรีย์เปลือกถั่วลิสงแห้ง” พร้อมใช้งาน

อัตราส่วนผสมและวิธีทำ :
ใช้ “หัวเชื้อเข้มข้น 1 กก. ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์หมักใหม่ 100 กก.” จุลินทรีย์ในเปลือกถั่วลิสงจะแพร่ขยายพันธุ์ในกองปุ๋ยอินทรีย์ชุดใหม่ หรือใส่ลงดินแล้วไถกลบ/คลุมด้วยอินทรีย์วัตถุก็จะแพร่ขยายพันธุ์ในดินเอง

หมายเหตุ :
ในเปลือกถั่วลิสงมีจุลินทรีย์กลุ่ม คีโตเมียม. ไรโซเบียม. และไมโครไรซ่า

6. จุลินทรีย์ก้นครัว
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

ใช้อาหารหมักดองที่ สี กลิ่น และรสชาติ พร้อมบริโภค เช่น แหนม. ส้มฟัก. ปลาส้ม. ผักดอง.เต้าเจี้ยว. เต้าหู้ยี้. ยาคูลท์. โยเกิร์ต. นมเปรี้ยว. ถั่วเน่า. กะปิ. สภาพสดใหม่ สะอาด สภาพดีรับประทานได้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆละเท่าๆกัน ขยำพอแหลก เป็น “จุลินทรีย์เริ่มต้น” ใส่ใน “น้ำขยายเชื้อ” แล้วดำเนินการหมักเหมือนการขยายเชื้อจุลินทรีย์ตามปกติ

วิธีใช้และอัตราใช้ :
- ใช้เป็นจุลินทรีย์เริ่มต้นในกองปุ๋ยหมักหรือในดินหมายเหตุ :
- ในมูลไก่ค้างคอน มูลสัตว์กินเนื้อ ขี้เพี้ยวัว/ควายสภาพสดใหม่ก็มีจุลินทรีย์ เมื่อนำมาขยายเชื้อในน้ำขยายเชื้อหรือผสมปุ๋ยอินทรีย์ใส่ลงดินก็จะได้จุลินทรีย์ที่ดีเช่นกัน

- น้ำผักดองที่อยู่ในไห คือ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องนำไปขยายเชื้ออีก อัตราใช้ “น้ำผักดองในไห 1 ล./น้ำ 500 ล.” (1:500) ให้ทางดินหรือใส่ร่วมในปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก จุลินทรีย์ก็จะเจริญขยายพันธุ์ได้เอง

- ดร.อิงะ นักวิชาการเกษตรอินทรีย์ญี่ปุ่น ศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์จากแหล่งต่างๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะอาหารหมักดองแล้วพัฒนาจนกลายเป็นจุลินทรีย์ อีเอ็ม.นำมาใช้อย่างได้ผลจนกระทั่งปัจจุบัน

7. จุลินทรีย์ฟังก์จัย :
วัสดุส่วนผสม :

ฟางเห็ดฟางที่เชื้อเห็ดเริ่มเจริญ 10 กก.
มูลวัวไล่ทุ่งแห้งเก่าค้างปี 10 กก.
รำละเอียด 1 กก.
ข้าวฟ่างสดใหม่บดละเอียด 1 กก.
ยิบซั่มธรรมชาติ 1 กก.
คลุกเคล้าวัสดุส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี ทำกองบนแผ่นพลาสติกหรือพื้นคอนกรีตน้ำเข้าไม่ได้ อยู่ในร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก

น้ำขยายเชื้อ :
น้ำต้มปล่อยให้เย็น 10 ล.
น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ล.
กากน้ำตาล 1 ล.
นมสดสัตว์รีดใหม่ 1 ล.
ใส่ส่วนผสมตามลำดับ คนเคล้าให้เข้ากันดี

วิธีทำ :
คลุกเคล้าวัสดุส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดีพร้อมกับพรมด้วยน้ำขยายเชื้อให้ทั่วกองได้ความชื้น 50 เปอร์เซ็นต์เสร็จแล้วทำกองอัดแน่น ปิดทับด้วยพลาสติกให้อากาศเข้าได้น้อยที่สุด ช่วงการหมัก 5-7 วันแรกถ้ามีควันเกิดขึ้นให้กลับกองระบายอากาศ และให้กลับกองทุกครั้งเมื่อมีควันเกิดขึ้น หลังจากหมดควันแล้วให้กลับกองทุก 10-15 วัน จนกระทั่งเห็นว่าวัสดุส่วนผสมเย็น มีกลิ่นหอมรำข้าว เนื้อนุ่มเปื่อยยุ่ยสีน้ำตาลอมดำ ได้ "หัวเชื้อจุลินทรีย์ฟังก์จัยเข้มข้น" พร้อมใช้งาน

วิธีใช้และอัตราใช้ :
ใช้ "หัวเชื้อเข้มข้น 1 กระป๋องนม/พื้นที่ 1 ตร.ว." เป็นเชื้อเริ่มต้น หรือใช้ "หัวเชื้อเข้มข้น 10 กก.ผสมปุ๋ยหมัก 100 กก." เป็นเชื้อเริ่มต้น วิธีขยายเชื้อจุลินทรีย์

วัสดุผสมและวิธีทำ :
น้ำ 10 ล. ต้มเดือดจัดเพื่อฆ่าเชื้อโรคแล้วทิ้งให้เย็น ใส่กากน้ำตาลต้มความร้อน 70 องศา ซี. นาน 30 นาที อัตรา 1 ล. คนเคล้าให้เข้ากันดี ใส่จุลินทรีย์ที่ต้องการขยายเชื้อลงไป 1 ล.หรือ 100 กรัม คนเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้งช่วงการหมัก 24 ชม.แรก ปิดฝาให้สนิทให้อากาศเข้าได้น้อยที่สุด ครบ 24 ชม.แล้วคลายฝาพอหลวม ติดปั๊มออกซิเจนเพื่อให้อากาศแก่จุลินทรีย์แบบตลอด 24 ชม. นานติดต่อกัน 7 วัน เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง ระวังอย่าให้ถูกแสงสว่างหลังจากให้ออกซิเจนครบ 7 วัน ให้ตรวจสอบโดยหยุดให้ออกซิเจน 2-3 วัน จากนั้นให้สังเกตฟอง...ถ้ามีฟองเกิดขึ้น แสดงว่ามีจุลินทรีย์ดี จำนวนมาก ให้หมักต่อไปเรื่อยๆโดยไม่ต้องให้ออกซิเจน จนกว่าจะไม่มีฟองเกิดขึ้นหรือนิ่งหมดฟองก็จะได้ "หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น" พร้อมใช้งาน

วิธีใช้และอัตราใช้ :
ใช้เหมือนจุลินทรีย์ดั้งเดิมตั้งแต่ยังไม่ได้นำมาขยายเชื้อ

เป้าหมาย :
เหมือนจุลินทรีย์ดั้งเดิมตั้งแต่ยังไม่ได้ขยายเชื้อ
- ช่วงการหมักครบ 24 ชม.แรก ค่อยๆ เปิดฝาพร้อมกับสังเกตก๊าซที่พุ่งสวนออกมา ถ้าเสียงก๊าซพุ่งออกมาแรงแสดงว่ามีจุลินทรีย์มากและแข็งแรงดี ให้เปิดฝาแล้วเติมออกซิเจนได้เลย แต่ถ้าเสียงก๊าซพุ่งออกมาค่อยๆแสดงว่ามีจุลินทรีย์ไม่มากและไม่ค่อยแข็งแรง ให้ปิดฝาแน่นป้องกันอากาศเข้าต่อไปอีก 24 ชม. จากนั้นให้ตรวจสอบปริมาณก๊าซด้วยการเปิดฝาทุกๆ 24 ชม.เพื่อให้รู้ว่ามีจุลินทรีย์มากหรือน้อย

- ตรวจสอบจุลินทรีย์โดยการขยายเชื้อจุลินทรีย์ในขวดปากแคบ ใช้ลูกโป่งสวมปากขวดไว้ แล้วสังเกตลูกโป่ง ถ้าลูกโป่งพองดีแสดงว่ามีจุลินทรีย์จำนวนมาก ถ้าลูกโป่งไม่พองหรือพองช้าก็แสดงว่าไม่มีจุลินทรีย์หรือมีจำนวนน้อย

8. จุลินทรีย์ ไอเอ็มโอ. :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

1. หุงข้าว (ข้าวใหม่ดีกว่าข้าวเก่า) ให้สุกปกติพอดีๆ ปล่อยให้เย็นคาหม้อหุง ตักใส่กระบะพลาสติก ยีข้าวให้แตกเมล็ดดีพร้อมกับโรยน้ำตาลทรายแดงบดละเอียดบางๆ อัตราส่วน ข้าว 1,000 ส่วน น้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน (1,000 : 1) คนเคล้าให้เข้ากันดีปิดฝากระบะด้วยผ้า รัดขอบให้มิดชิด

2. นำกระบะข้าวไปวางไว้ในสวนบริเวณร่มเย็น ความชื้นสูง (กลางกอกล้วย) ปลอดสารเคมี-ยาฆ่าหญ้าและสารเคมีอื่นๆ ทุกชนิด แล้วคลุมด้วยเศษพืชแห้งบางๆ โปร่งอากาศผ่านสะดวก

3. ทิ้งกระบะไว้ 5-7 วัน เมล็ดข้าวสุกจะเริ่มเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อนๆ บริเวณผิวหน้าก่อน เมื่อปล่อยไว้ต่อไปอีกเมล็ดข้าวสุกจะเป็นสีเหลืองอมเขียวทั้งหมดและมีน้ำใสๆ อยู่ที่ก้นกระบะนำกระบะข้าวสุกกลับมา ได้ “หัวเชื้อจุลินทรีย์ ไอเอ็มโอ. เข้มข้น” พร้อมใช้งาน

อัตราใช้และวิธีใช้ :
ใช้ “น้ำ 1,000 ล. + กากน้ำตาล 1 ล. + หัวเชื้อเข้มข้น 1 กก.” คนให้เข้ากันดี กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นทางใบแก่พืชช่วงหลังค่ำ อากาศไม่ร้อน หรือผสมปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อขยายเชื้อจุลินทรีย์ให้มากและแข็งแรงขึ้น

9. จุลินทรีย์นมสด :
วัสดุส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :

นมโคสด รีดใหม่ จากฟาร์ม 10 ล.
น้ำส้มสายชู 5% 100 ซีซี.
น้ำมะพร้าว 1 ล.
กากน้ำตาล 1 ล.
ยิสต์ทำขนมปัง 100 กรัม
คนเคล้าทุกอย่างให้เข้ากันดี เติมอ๊อกซิเจน ตลอด 24 ชม. นาน 7-10 วันได้ "หัวเชื้อ" เข้มข้น

วิธีใช้ :
ใช้ "หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล. ราดรดลงดิน

10. จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง :
วัสดุส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :

น้ำ (พีเอช 6.5-7.0) 10 ล.
เศษฟางเปื่อยยุ่ยเองตามธรรมชาติ 1-2 กก.
กากน้ำตาล 1 ล.
น้ำมะพร้าว 1 ล.
ยูเรีย 100 กรัม

คนเคล้าส่วนผมทุกอย่างให้เข้ากันดี เติมออกซิเจน (ปั๊มออกซิเจนปลาตู้) ตลอด 24 ชม. นาน 7-10 วันได้ "หัวเชื้อ" เข้มข้น

ใช้ "หัวเชื้อ 1-2 ล." ผสมน้ำตามความเหมาะสม สาดให้ทั่วแปลงนา 1 ไร่ ช่วงหมักฟาง หรือใส่กองปุ๋ยอินทรีย์หมัก 1 ตัน

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1848
จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร....

------------------------------------------------------------------------------------



.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©