kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 18/10/2021 4:52 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 19 OCT *สปริงเกอร์ แบบ/ราคา/ให้ปุ๋ย |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 19 OCT
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
ผู้สนับสนุนรายการ :
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลงที่นั่น ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 23 ต.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนาภิเษก ....
- เดือนนี้ ตุลาคมมีวันสาร์ 5 วัน นั่นคือ เสาร์วันที่ 30 ต.ค. งานสัญจรไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา .....
- งานสัญจรระยะนี้ต้องร่วมกันป้องกัน COVID หลีกเลี่ยงจับกลุ่ม คนมากๆ แนะนำ สมช. สั่งปุ๋ยลุงคิม สั่งยา อ.ณัฐ โทรติดต่อโดยตรงแล้วได้นัดหมายรับส่งของกัน รับของแล้วแยกกันเลย มีปัญหาอะไรโทรศัพท์คุยกันก็ได้....
*******************************************************
*******************************************************
จาก : (089) 710-43xx
ข้อความ : สปริงเกอร์แต่ละร้านราคาไม่เท่ากัน บางร้านแพงมาก บางร้านราคาถูกมาก
ตอบ : ราคา ถูก/แพง อยู่ที่คนขาย ตั้งราคาเอง เพราะไม่มี อย.
จาก : (084) 929-47xx
ข้อความ : หัวสปริงเกอร์หลายแบบ แต่ละแบบพ่นน้ำออกมาไม่เหมือนกัน ลุงมีวิธีเลือกแบบหัวอย่างไร ?
ตอบ : เลือกแบบตามวัตถุประสงค์ ให้ทางใบ ให้ทางราก ตามประเภท/ชนิด พืช พ่นน้ำเป็นฝอย 100 % เหมือนละอองหมอก, พ่นละอองหมอก 50% เม็ดน้ำ 50%, พ่นน้ำเป็นเม็ด 100 %
จาก : (090) 187-48xx
ข้อความ : ให้ปุ๋ยผ่านสปริงเกอร์ ต้องใส่ครั้งละเท่าไหร่ ?
ตอบ : คำนวณจากปุ๋ยที่ใช้ใส่ปกติ ต้นละหรือโซนละ เอาปุ๋ยน้ำมาละลายน้ำแล้วใส่ลงในหม้อปุ๋ย แล้วส่งผ่านไปกับสปริงเกอร์ ....
ไม้ผลยืนต้นที่ไร่กล้อมแกล้ม 1 โซน 50 ต้น ให้ปุ๋ยทางใบด้วยเป้สะพาย 20 ล. ใส่ปุ๋ยเป้ละ 20 ซีซี. ใช้ 5 เป้ นั่นคือใช้ปุ๋ยทางใบ 100 ซีซี. /1 โซน ....
ว่าแล้ว ใส่ปุ๋ยหม้อปุ๋ยหน้าโซน หม้อละหรือโซนละ 100 ซีซี. ....
ที่สำคัญ ระบบการวางท่อ (เน้นย้ำ...ระบบ) น้ำกระจายตัวทั่วกันตลอดทั้งโซน ทุกหัวพ่นน้ำ หัวแรกต้นทาง หัวท้ายปลายแถว ออกเท่ากัน ถ้าน้ำที่พ่นออกมา ในแถวหรือร่องเดียวกัน หัวแรกออกแรง หัวกลางออกกลาง หัวท้ายออกค่อย แบบนี้ปล่อยปุ๋ยไป หัวที่ออกแรงจะได้มาก หัวที่ออกค่อยก็จะได้น้อย ....
ที่ไร่กล้อมแกล้ม 1 โซน ไม้ 50 ต้น เวลา 5 นามที แรงงานคนเดียว ทั้งสวน 20 โซน 1,000 ต้น ใช้เวลา 2 ชม. ....
สบายกว่ากันเยอะเลย ลงทุนครั้งเดียว ใช้มาแล้ว 20 ปี ไม่ต้องเครียด ....
บ่น :
เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ
เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง :
ประหยัด เวลา/แรงงาน/ต้นทุน/พลังงาน/อารมย์ .....
เพิ่ม ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล ของเนื้องาน .............
เพิ่ม ปริมาณ/คุณภาพ ของผลผลิต .......................
ลงทุนเพื่อลดต้นทุน ...........................................
สร้างเครดิต ความน่าเชื่อถือ .................................
เป็นมรดกถ่ายทอดให้ลูกหลานเหลนโหลน ภายหน้า .....
คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
ประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน :
ให้ทางใบ ฉีดพ่น ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยาสมุนไพร/น้ำเปล่า ได้ตามวัน เวลา และระยะเวลาที่ต้องการ การให้ปุ๋ยทางใบที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้องให้ตอนปากใบเปิด (10 โมงเช้า ถึงบ่าย) .... การฉีดพ่นสารสมุนไพร เช่น ฉีดพ่นตอนเช้ามืดก่อนสว่างเพื่อล้างน้ำค้าง, ฉีดพ่นตอนเที่ยงเพื่อกำจัดเพลี้ยไฟ ไรแดง, ฉีดพ่นตอนหลังค่ำเพื่อไล่แมลงแม่ผีเสื้อที่จะเข้ามาวางไข่ หรือป้องกันกำจัดแมลงปากกัดปากดูดที่มาตอนกลางคืน,
ให้ทางราก น้ำเปล่า/น้ำหมักชีวภาพ/ปุ๋ยเคมี ตามวัน เวลา และระยะเวลาที่ต้องการ
ติดตั้งระบบสปริงเกอร์ครั้งหนึ่ง อยู่นานใช้งานได้ 10-20-30 ปี
การให้ปุ๋ยไปกับระบบสปริงเกอร์แบบนี้ อเมริกาทำมานานกว่า 50 ปีแล้ว เรียกว่า การให้ปุ๋ยทางท่อ หรือ การให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำ
หม้อปุ๋ยหน้าโซน V.S. ถังปุ๋ยที่ปั๊ม :
หม้อปุ๋ยหน้าโซน : ความจุเนื้อ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา สำหรับจำนวนต้นเฉพาะในโซน, สูตรเฉพาะไม้โซนนั้น, ไม่มีเนื้อปุ๋ยตกค้างในท่อ, ใช้แรง งานคนเดียว, ราคาแพง,
ถังปุ๋ยที่ปั๊ม : ความจุเนื้อ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา สำหรับจำนวนต้นไม้ทั้งแปลงที่สปริงเกอร์ไปถึง, สูตรเดียวกันทั้งสวน, มีเนื้อปุ๋ยตกค้างในท่อ, แปลงใหญ่มากตกค้างในท่อมาก, ใช้แรงงาน 2 คน, เนื้อปุ๋ยกัดลูกยางซีลปั๊ม, ราคาถูก,
สปริงเกอร์ผู้ซื่อสัตย์ :
ตี 5 ...................... ล้างน้ำค้าง ป้องกัน/กำจัด ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
10 โมง .................. ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยาสมุนไพร ตามชนิดพืช ระยะพืช
เที่ยงแดดจัด
...... ให้น้ำเปล่า ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง
บ่ายฝนตก ฝนต่อแดด....ให้น้ำเปล่า ป้องกัน/กำจัด แอนแทร็คโนส....กดใบอ่อนสู้ฝน
ค่ำ ........................ สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด แมลงวางไข่ หนอน
** ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ ทุกวัน วันต่อวัน วันเว้นวัน ทำได้ทุกเมื่อตามต้องการ
** ระบบสปริงเกอร์มีหลากหลายแบบ แต่ละแบบ ดี/ไม่ดี อยู่ที่ความพอใจของเจ้าของแต่ละสวนอะไรๆ ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึง COPPY ไม่ได้ แต่ APPLY ได้ เอา หลักการ-วิธีการ ไปใช้ แต่ "รูปแบบ" ต้องว่าตามความเหมาะสมของแปลงของตัวเอง
อานิสงสปริงเกอร์ :
ข้อดีของการใช้ปุ๋ยทางใบ :
1. ช่วยให้พืชรับเข้าสู่ต้น ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
2. เพื่อชดเชยธาตุอาหารที่ขาด หรือเพิ่มเติมเพื่อเร่งการเจริญเติบโตแก่พืชได้
3. ใช้ผสมร่วมไปกับสารเคมี หรือสารสกัดสมุนไพร อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง ได้ เพื่อประหยัดเวลาและแรงงาน
4. ใช้กับพืชที่มีปัญหาเกี่ยวกับดิน เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินเหนียวจัด หรือดินที่มีปัจจัยแวดล้อมต่อต้านการดูดใช้ธาตุอาหารทางระบบราก
5. พืชสามารถรับธาตุอาหารโดยทางใบได้มากกว่า และเร็วกว่าการดูดทางราก
6. ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็วหลังจากชะงัก เนื่องจากกระทบแล้ง น้ำท่วม หรือถูกโรคแมลงทำลาย
7. ปุ๋ยชนิดน้ำมีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่าปุ๋ยชนิดแข็งและปุ๋ยชนิดเกล็ด มีปริมาณเนื้อปุ๋ยรวม (N+P2O5+K2O) สูงกว่าปุ๋ยเม็ด ทำให้ได้ประสิทธิภาพเหนือกว่า
8. ปุ๋ยชนิดน้ำผลิตง่าย และเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสูตรได้ง่าย จึงผลิตได้มากสูตรกว่าปุ๋ยชนิดแข็งหรือชนิดเกล็ด
วัตถุประสงค์หลักในการให้ปุ๋ยทางใบ :
1. เพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหาร
2. เพิ่มคุณภาพและผลผลิต
3. เพื่อช่วยให้พืชฟื้นตัวจากปัญหาความขาดแคลนในบั้นปลาย
* สวนยกร่องน้ำหล่อ รดน้ำด้วยเรือปากเป็ด ใช้เวลาเช้ายันเที่ยงบ่าย ให้น้ำได้อย่างเดียว ให้ ปุ๋ย/ยา ต้องสะพายเป้ลากสายยางต่างหาก งานนี้ ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/คาเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส /ค่าอารมณ์/ค่าอย่างอื่น เท่าไหร่ ?....
คิดใหม่-ทำใหม่ ปรับร่องเป็นน้ำเลี้ยงปลา ปลาละร่องๆ เลี้ยงผักบุ้งทอดยอดเย็นตาโฟ เลี้ยงผักกะเฉด ทำค้างคร่อมร่องปลูกมะระฟักเขียวบวบ ได้พื้นที่ คืน/เพิ่ม อีกไม่น้อย....
บนสันแปลงติด สปริงกอร์-หม้อปุ๋ย ช่วยประหยัด ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ เท่าไหร่ ?
* ผักสวนครัวติด สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย ใช้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา ทำเอง ให้น้อยแต่บ่อยครั้ง นอกจากช่วยประหยัดต้นทุนค่า ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา แล้วยังทำให้คุณภาพของผลผลิตดี สร้างเครดิตความน่าเชื่อถือแก่ลูกค้าคนกินอีกด้วย
* สวนไม้ผลขนาดใหญ่ ติดสปริงเกอร์ 2 ระบบ ให้โคนกับขึ้นยอด ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน แถมต้นทุน ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่า แรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ ต่ำและดีกว่าที่คาด คิดหาศาล
จาก : (098) 415-83xx
ข้อความ : ขอวิธีให้ปุ๋ยทางรากไปกับ สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ย
เก็บตกงานสัญจร 17 ก.ค. วัดท่าตำหนัก นครชัยศรี นครปฐม (๑) ....อัตราให้ปุ๋ยผ่าน สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย .....
สมช. ลุงครับ มาขอความรู้เรื่องสปริงเกอร์หน่อยครับ
ลุงคิม. หน่อยเดียวเหรอ ? มากๆก็ได้นะ
สมช. ขอบคุณครับ ผมทำสวนอยู่กำแพงแสนนี่แหละ เป็นสวนยกร่องน้ำหล่อ ลงมะม่วง 10 ไร่ มะนาว 10 ไร่ วันนี้รดน้ำใช้เรือปากเป็ด ฉีดยาใช้เป้สะพาย แรงงานคนเดียว ทำเองครับ
ลุงคิม. แล้วคิดยังไงถึงจะติดสปริงเกอร์ล่ะ ?
สมช. ได้ยินลุงกับคุณมงคลที่พูดว่า ลงทุนเพื่อลดต้นทุน ผมปรึกษากับพวกบ้านแล้ว เขาเห็นด้วย โดยเฉพาะต้นทุนทุกอย่างที่ลดได้ เนื้องานที่ได้ อายุใช้งาน ที่สำคัญคือ อารมณ์ ของคนทำงานครับ
ลุงคิม. นี่สปริงเกอร์อย่างเดียวนะ อย่างอื่นอีกหลายรายการ (ว่ะ) สวนยกร่องน้ำหล่อ....
* ร่องน้ำ เอาตาข่ายปิดหัวท้ายแล้วเลี้ยงปลา ร่องนี้ปลานิล ร่องนี้ปลาสลิด
* ร่องนี้ ทำคอกตาข่ายเลี้ยงกบ มีทุ่นลอยให้กบขึ้นมาผึ่งลม
* ในร่องน้ำที่ เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ติดหลอดไฟล่อแมลงมาเล่นไฟแล้วเป็นอาหารปลาอาหารกบ
* ร่องนี้ผิวน้ำปลูกผักบุ้งทอดยอดเย็นตาโฟ ผักกะเฉด ในน้ำเลี้ยงปลากินอาหารเนื้อ ปลาดุก
* เหนือร่องน้ำ ทำค้างปลูกไม้เถา บวบ มะระ วันดีคืนดีพายเรือไปเก็บบวบ เก็บมะระ เหนือน้ำมีค้างผักแล้ว ในน้ำยังเลี้ยงปลาได้อีก
* ติด สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย บำรุง ไม้เดิม +ไม้ใหม่ ทั้งปุ๋ยทั้งยา แรงงานคนเดียว วันเดียว เดี๋ยวเดียวเสร็จ .... แม้แต่ไม้เก่า โคนต้นลง หน้าวัว ข่า พริกขี้หนู ไม้พวกนี้ใช้แสงแดดน้อย ปลูกไต้ต้นไม้ใหญ่ได้
สมช. โอ้โฮ....
ลุงคิม. ไม่ต้องโอ้ ไม่ต้องโฮ ว่าแต่ว่า เชื่อไหมว่าในความเป็นจริง ทำได้
สมช. ได้ครับ
ลุงคิม. แต่ไม่ทำเพราะ แถวนั้นไม่มีใครทำ พ่อแม่ไม่เคยนำทำ .... นั่นพ่อกับแม่เราไม่ว่า แต่ลูกเรา เราจะเป็นพ่อเป็นแม่อย่างที่แม่กับพ่อเรานำเราเหรอ
สมช. จริงครับ
ลุงคิม. วันนี้มันถึงยุคหรือว่าเลยยุคแล้ว การบริหารจัดการ พื้นที่ เทคนิค เทคโน เครื่องทุ่นแรง โดยเฉพาะต้นทุน ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรง ลดต้นทุนส่วนนี้ได้แต่ขายได้เท่าเดิม นั่นคือ กำไรที่บวกขึ้นอัตโนมัติ ....
อยากบอกว่า วันนี้ยุคนี้จะทำจะสร้างจะผลิตอะไรซักอย่างต้อง วางแผน ล่วงหน้า ในแผนที่วางให้ศึกษาส่วนที่ เคยเป็นปัญหาหรือจะเป็นปัญหา ก่อน เมื่อลงทำแล้วก็จะไม่เกิดปัญหาเพราะ กันก่อนแก้ ไว้แล้ว เมื่อไม่เกิดปัญหา ความสำเร็จย่อมเกิด จริงไหม
ในทางกลับกัน หากไม่ศึกษาปัญหาก่อน ไม่กันก่อนแก้ มองแต่ความสำเร็จ ทำ5 ไร่เอา 5 คูณ ทำ 10 ไร่เอา 10 คูณ ลงท้ายคือล้มเหลว เพราะทำไป ๆ ๆๆ มีแต่ปัญหา สารพัดสารพรรณปัญหา ปัญหาเรื่องไม่เป็นเรื่อง....
ทำงานตลอดทั้งปีได้ขายครั้งเดียวแต่ เกรด ฟุตบาธ เพราะอะไร ทำให้ได้เกรด เอ.จัมโบ้. ทำยังไง....
ทำงานตลอดทั้งปีได้หลายครั้งแต่ เกรด ฟุตบาธ เพราะอะไร ทำให้ได้เกรด เอ.จัมโบ้. ทำยังไง....
วันนี้สังคมเกษตรบ้านเรา ไม่ยอมคิด (เน้นย้ำ....คิด) ทำขาย ขายแล้วขาดทุน ตัวเองขาดทุนเองไม่เคยคิด แม้แต่เห็นคนอื่นขายแล้วได้กำไรก็ไม่เคยคิดเหมือนกัน....
สมช. ใช่ครับ นี่แหละ ลงทุนเพื่อลดต้นทุนจริงๆ บำรุงเต็มที่ได้เต็มที่ บำรุงเต็มทีได้เต็มที
ลุงคิม. ลงทุนติดสปริงเกอร์มีหม้อปุ๋ย บำรุงเต็มที่ได้ผลเต็มที่ มะม่วงเกรด เอ.จัมโบ้. มะนาวออกตลอดปี .... ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี นี่คือผลงาน....
มา เข้าเป้าสปริงเกอร์ .... ไปดูสปริงเกอร์ที่เขาติดแล้วซิ แล้วถามเขา ....
* เปิดครั้งนึงได้กี่หัว เรียกว่าโซน ?
* ในโซนเดียวกัน ทุกหัวน้ำออกแรงเท่ากันไหม ?
* ให้ ปุ๋ย ทางใบ/ทางราก ให้ยา สมุนไพร/เคมี ไปพร้อมกับน้ำ หรือไปอย่างเดียวเดี่ยวๆ ได้ไหม ?
* ต้นทุนค่าสปริงเกอร์ที่จ่ายไป รวมแล้วเป็นเงินเท่าไหร่ ใช้งาน 10 ปี เฉลี่ยปีละเท่าไหร่ ใช้งาน 20 ปี เฉลี่ยปีละเท่าไหร่ เทียบกับที่ทำด้วยมือ ทุกรายการ ปีละเท่าไหร่ 10 ปีเท่าไหร่ 20ปีเท่าไหร่ โดยเฉพาะ อารมณ์/ความเครียด ลุงว่า มันต่างกันมากนะ
สมช. จริงครับ
ลุงคิม. สปริงเกอร์ไร่กล้อมแกล้ม ไม่เหมือนที่อื่น .....
ที่นี่....วางท่อแบบให้มี แรงดัน/แรงอัด/หมุนวน (อนุกรม) จัดเป็นโซนๆ ในโซนเดียวกันน้ำที่ส่ง (โดยปั๊ม) ไปจะกระจายหมุนวนด้วยแรงดันเท่ากันทั้งหมดทั่วทั้งโซน ส่งผลให้น้ำที่พ่นออกมาจากหัวสปริงเกอร์แรงเท่ากัน ทุกหัว/ทุกต้น ....
แรงดัน/แรงอัด มาจากขนาดท่อที่ใช้ 3-2-1-ครึ่ง ....
หมุนวน มาจากการต่อท่อขึงหัวขึงท้าย ทำให้น้ำไหลหมุนวนทั่วทั้งโซน ....
"ทั้งโซน" (20ต้น 50ต้น 100ต้น .... 1ไร่) มีวาวล์ตัวเดียว
ที่อื่น .... วางท่อแบบวิ่งผ่านโคนต้น สุดทางแล้วปิดเฉพาะแถวทุกแถว เวลาใช้งานก็เปิดวาวล์ที่หัวแถว ๆละวาวล์ เปิดแล้วน้ำออกที่หัวสปริงเกอร์ 2-3 หัวแรกออกแรง 2-3 หัวกลางออกกลาง 2-3 หัวท้ายออกค่อย วางท่อแบบนี้ปล่อยปุ๋ยไปกับระบบน้ำไม่ได้
เคยมี .... วิศวกรระบบน้ำ บอกว่าแบบของ RKK ถูกต้องที่สุด
คิดดู .... ติดสปริงเกอร์ใช้งานรดน้ำได้อย่างเดียว แถมแรงไม่เท่ากันทุกหัวซะอีก แต่เวลาฉีดพ่นปุ๋ย ฉีดพ่นยา ต้องมาสะพายเป้ ลากสายยาง แล่นเรือปากเป็ด ทำต่างหาก.... แบบนี้มันคุ้มค่าราคาสปริงเกอร์เหรอ ?
ระบบ หรือรูปแบบ หรือวิธีการติดตั้ง ไม่มีสูตรสำเร็จ เรียกว่าสูตรใครก็สูตรใคร ลุงอยากให้คุณไปดูของคนอื่นแล้วไปดูของไร่กล้อมแกล้ม ดูแล้ว คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ จะทำตามหรือดัดแปลงต่อยอดแล้วค่อย ฟันธง ก.ทำกับมือ ม.อย่างถียง
สมช. ครับ
ลุงคิม. ที่จริง รายละเอียดเรื่องนี้มีอยู่ในหนังสือหัวใจเกษตรไทแล้วนะ คุณเอาไปอ่านเองเถอะ อ่านช้าๆ อ่านหลายๆรอบ
สมช. ครับ
ลุงคิม. ก็เหลือแต่ ซื้อหรือทำเอง ทำใช้ ทำขาย ทำแจก ทำเททิ้ง.....
สมช. ครับ ขอบคุณมากครับ
ลุงคิม.
คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
- หม้อปุ๋ยหน้าโซนแบบเวนจูรี่ (สมช.ทำงานแท่นเจาะน้ำมันในอ่าวไทยบอก เพราะระบบทำงานเป็นสุญญากาศเหมือนกัน) เปิดวาวล์เปิดหม้อปุ๋ยทำงาน แรงดันรัศมีพ่นน้ำไม่ลด (1 โซน 3 ม., 2 โซน 1.5 ม.) .... แต่หม้อปุ๋ย MADE IN USA รง.บางปู สมุทรปราการ ราคาอันละ 20,000 ส่งออก ตปท. เปิดวาวล์เปิดหม้อปุ๋ยทำงาน เปิดโซนเดียว แรงดันรัศมีพ่นน้ำลดลงครึ่งหนึ่งทันที
- หม้อปุ๋ยหน้าโซน 1 หม้อ 1 โซน เพื่อแยก สูตรปุ๋ย สำหรับแต่ละโซนตามระยะพัฒนาการของพืช
- หม้อปุ๋ยหน้าโซน ปริมาณปุ๋ยชนิดน้ำสำหรับไม้ผล 1 โซนคำนวนจาก ทดสอบใช้ปุ๋ยทางใบอัตราปกติ 20 ซีซี.+ น้ำ 20 ล. ในเป้สะพาย ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่มทั้งใต้ใบบนใบได้กี่ต้น ฉีดพ่นให้ครบทุกต้นใน 1 โซนแล้วรวมว่าใช้ทั้งหมดกี่เป้ สมมุติว่าใช้ 6 เป้ นั่นคือ ไม้ผลโซนนี้ใช้ปุ๋ยทางใบ 120 ซีซี. (เป้ละ 20 ซีซี.) ว่าแล้ว ให้เติมปุ๋ยน้ำทางใบที่จะให้แก่ไม้ผลโซนนั้น 120 ซีซี. +/- นิดหน่อย ไม่มีปัญหา
- หม้อปุ๋ยหน้าโซน RKK ถึงวันนี้มีกว่า 10 VERSION แล้ว กับที่ยังอยู่ในหัวอีกหลาย VERSION ทุก VERSION ลุงคิมคิดเอง จดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้
ถาม : หม้อปุ๋ยหน้าโซนใส่ปุ๋ยครั้งละเท่าไร ?
ตอบ :
- เรื่องนี้ไม่มีมาตรฐานแต่มีหลักการ เพราะไม้แต่ละต้นแต่ละชนิดพันธุ์ต่างกัน
- ที่ RKK ไม้ผลยืนต้น 1 โซน 50 ต้น มีหม้อปุ๋ยประจำหน้าโซน 1 อัน
- ทดสอบอัตราการใช้ปุ๋ยสำหรับ 1 โซนก่อน โดยผสมปุ๋ยในเป้สะพาย 20 ล.ใส่ปุ๋ย 20 ซีซี. (อัตราใช้ปกติ) ฉีดพ่นเปียกโชก ไต้ใบบนใบ....
1 เป้ (น้ำ 20 ล. ปุ๋ย 20 ซีซี.) ฉีดพ่นได้ 5 ต้น .... หรือ
10 เป้ ฉีดพ่นได้ 1 โซน = 200 ซีซี. นั่นเอง
ในขณะที่ขวดที่หม้อปุ๋ย 1 ขวดความจุประมาณ 1.5 ล. (1,500 ซีซี.)
- ว่าแล้วก็เติมปุ๋ยลงในหม้อปุ๋ย 200 ซีซี. สำหรับ 1 โซน (50 ต้น)
- กรณีปุ๋ยทางราก คำนวณจากการหว่านด้วยมือ 250 กรัม/ต้น (สมมุติ) เนื้อที่ 1 โซน 50 ต้น (250 กรัม x 50 ต้น) = 12.5 กก. .... ขั้นตอนต่อไปคือ ละลายปุ๋ย 12.5 กก.ในน้ำ ใส่ลงไปในหม้อปุ๋ย แล้วปล่อยไปตามปกติ เนื้อปุ๋ยทั้ง 12.5 กก. จะลงไปหาไม้เสมอเท่ากันทุกต้น
หมายเหตุ :
- นี่คือ การใช้ ปุ๋ย/ยา ทางท่อ หรือไปกับระบบน้ำ
- ทั้งให้ทางใบ ให้ทางราก เนื้อปุ๋ยกระจายทั่วแปลง ถึงต้นไม้เสมอเท่ากันทุกต้น เพราะระบบวางท่อแบบ "ขึงหัว-ขึงท้าย
---------------------------------------------------------------------------------
.
|
|