kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11625
|
ตอบ: 03/02/2022 5:03 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหาประจำวัน4ก.พ. * ทำจุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง |
|
|
.
.
'
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
ผู้สนับสนุนรายการ :
***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์สัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
** พิเศษ เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือนไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 5 ก.พ. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี....
* ส.ค.ส. ต้อนรับปีใหม่ ....
ขาย ! ..... ซื้อปุ๋ยไซส์ใหญ่ขนาด 5 ล. แถม ไซส์เล็ก 1 ลิตร ...
ขาย ! ....ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....เทศกาลปีใหม่ ของขวัญที่คนรับภูมิใจ ได้ไปแล้วเก็บไว้นาน นานจนชั่วชีวิตก็ว่าได้ นั่นคือ หนังสือ ที่หน้าปกหนังสือเขียนลายเซ็นคนให้ไว้ คนที่ได้รับ ทุกครั้งที่หยิบหนังสือขึ้นมาเห็นลายเซ็นต์ จะยิ้ม ภูมิใจ แน่นอน
โชว์ ! .... หม้อปุ๋ยหน้าโซน
แจก ! .... กับดักแมลงวันทอง
แจก ! .... ปฏิทินรูปพระ ขนาดใหญ่ติดผนัง 6 แผ่น 12 เดือน
*****************************************************
*****************************************************
จาก : (098) 167-35 xx
ข้อความ : ขอสูตรทำจุลินทรีย์ย่อยสลายฟางข้าวโดยเฉพาะ
จาก : (088) 417-52 xx
ข้อความ : จุลินทรีย์ซื้อ จุลินทรีย์ทำเอง จุลินทรีย์แจก ใช่รวมกันได้ไหม
ตอบ :
บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร :
จุลินทรีย์มีหลายชนิด ได้แก่ แบคทีเรีย. รา. แอคติโนมัยซิท. สาหร่าย. โปรโตซัว. ไมโครพลาสมา. โรติเฟอร์. และไวร้ส. เป็นต้น บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์มีอยู่มากมายดังนี้
1. จุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญทั้งในแง่การเป็นประโยชน์และการเกิดโรค จุลินทรีย์หลายชนิดอาจเป็น สาเหตุของโรคพืชและสัตว์ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร แต่ในสภาพธรรมชาติจุลินทรีย์ที่มีอยู่อย่างหลากหลายจะมีการควบคุมกันเองในวัฏจักรของสิ่งมีชีวิต มีจุลินทรีย์หลายชนิดที่ทำหน้าที่ป้องกัน กำจัด และยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดอื่นรวมทั้งจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช
2. จุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญในการหมุนเวียนทรัพยากรให้ใช้ประโยชน์ได้ใหม่ในวัฏจักรของธาตุอาหาร โดยจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายวัสดุสารอินทรีย์ต่างๆ (Organic Decomposition) ให้เป็นธาตุอาหาร เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารกลับมาใช้ใหม่ของสารอินทรีย์ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมทางการเกษตร ให้กลับอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช โดยกระบวนการย่อยสลายหรือสังเคราะห์สารชนิดอื่นๆ ขึ้นมาใหม่ในธรรมชาติ เช่น การย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์ในดินให้อยู่ในรูปฮิวมัส เปลี่ยนจากรูปสารอินทรีย์ไปเป็นสารอนินทรีย์ (Mineralization) เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชได้แก่ กระบวนการตรึงไนโตเจน (N2 Fixation) โดยจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถสร้างอาหารเองได้โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เช่น แหนแดง และจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถดึงไนโตรเจนจากอากาศและสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินได้ เช่น เชื้อไรโซเบียม
3. จุลินทรีย์หลายชนิดมีบทบาทในการสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อน เช่น จุลินทรีย์บางชนิดสามารถสร้างกรดอนินทรีย์ที่สามารถละลายแร่ธาตุอาหารพืชในดินให้เป็นประโยชน์ต่อพืช บางชนิดสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชหรือฮอร์โมน ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และยังสามารถผลิตสารต่างๆ รวมถึงสารปฏิชีวนะ เอนไซม์ และกรดแลคติค เช่นแบคทีเรียบางชนิดสามารถสร้างสารพวก Gramicidine และ Tyrocidine เชื้อราบางชนิดสามารถสร้างสารพวก Pennicilin และ Gliotoxin เชื้อแอคติโนมัยซิทบางชนิดสามารถสร้างสาร Actinomycin และ Aureomycin ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถใช้ในการยับยั้งเชื้อโรคต่างๆ และยังช่วยสนับสนุนปฏิกิริยาทางเคมีในดินให้เกิดขึ้นเป็นปกติได้ ถ้าปราศจากเอนไซม์ปฏิกิริยาทางเคมีที่ซับซ้อนในดินก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ โดย ดร.อานัฐ ตันโช
ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
www.maejonaturalfarming.org
- เกษตรกรอิสราเอลปลูกพืชอายุสั้นในถุง ใช้วัสดุปลูกเป็นทรายล้วน เป็นทรายฆ่าเชื้อด้วยความร้อนกำจัดสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งจุลินทรีย์มีประโยชน์และจุลินทรีย์เชื้อโรค เกษตรกรไม่พึ่งจุลินทรีย์สร้างสารอาหารแต่เป็นคนให้สารอาหารทุกอย่างแก่พืชเอง เพราะเกรงว่า จะมีจุลินทรีย์เชื้อโรคแฝงเข้ามาอยู่ด้วย.... เหมือนไฮโดรโปรนิกส์ ที่มีแต่สารอาหารจากฝีมือคน ไม่มีสารอาหารจากฝีมือจุลินทรีย์เลย
เก็บตกงานสัญจร 19 ธ.ค. วัดท่าตำหนัก นครชัยศรี นครปฐม :
จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง :
สมช. : ลุง ขอสูตรทำจุลินทรีย์หน่อยซี่....
ลุงคิม : จุลินทรีย์ จุลินทรีย์ .... แบบแห้ง หรือแบบน้ำล่ะ
สมช. : เอาทั้งสองอย่างเลยค่ะ
ลุงคิม : ไม่ค่อยโลภเลยนะ เอาวะ ไม่โลภก็ไม่รวยซิเนาะ .... เอาน่า อันนี้ไม่ถือว่าโลภ แต่ถือว่า รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม .... อืมมม จุลินทรีย์นี่ เนื้อหาสาระวิชาการไม่ยาก สั้นๆ วันเดียวเดี๋ยวเดียวรู้เรื่อง ทำได้ แต่รายละเอียดมันมาก ว่าแต่ว่า จุลินทรีย์ที่จะทำวันนี้ ทำใช้หรือทำขาย
สมช. : ใช้ค่ะ
ลุงคิม : ใช้กับพืชอะไร ? ประเภทไหน ?
สมช. : นาข้าวค่ะ ย่อยฟาง
ลุงคิม : O.K. จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง ว่ากันจริงๆนะ จุลินทรีย์กลุ่มย่อยสลายฟางก็อยู่ในฟาง ฟางในนาดีกว่าฟางในกองหน้าบ้าน
สมช. : ค่ะ
ลุงคิม : จุลินทรีย์แท้ๆมีอยู่ในธรรมชาติ ที่เรียกว่าจุลินทรีย์ประจำถิ่น ถิ่นไหนก็ถิ่นนั้น นั่นแหละ ไอ้ที่ซื้อๆมาน่ะ จุลินทรีย์จริงเหมือนกันแต่เป็นจุลินทรีย์กลุ่มไหน ทำมาจากอะไร วิธีทำๆยังไง คนซื้อไม่รู้ วิธีการก็คือ ต้องทำเองทำกับมือ เท่านั้น
สมช. : ค่ะ
ลุงคิม : ที่สำคัญ ที่หลายคนมองข้าม คือ ความหลากหลาย จุลินทรีย์มีเป็นแสนเป็นล้านชนิด ทำไมยึดติดแต่บางอย่างบางกลุ่มเท่านั้น
สมช. : ค่ะ
ลุงคิม : จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง เริ่มต้นจากฟาง แล้ว เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก จุลินทรีย์กลุ่มอื่น จากที่อื่นลงไป เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก มากๆชนิด จากมากๆแหล่ง ยิ่งมากแหล่งยิ่งดี อย่างละไม่ต้องมาก อาจจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ซัก 1 เปอร์เซ็นต์ก็ได้ เดี๋ยวมันก็ขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนมากเอง
สมช. : ลุงบอกได้ไหมว่า จุลินทรีย์จากแหล่งไหนบ้าง ?
ลุงคิม : อย่างแรกตัวแรก ชัวร์ๆ น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงนี่ไง.... พูดถึงระเบิดเถิดเทิง ในนี้นอกจากมีตัวจุลินทรีย์แล้ว ยังมีสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่นอีกด้วย กับสารพัดจุลิทรีย์ในหนังสือเล่มนี้ ... จุลินทรีย์จากแหล่งอื่นก็มีอย่าง พด.ของเกษตร อีเอ็ม.ของยูเร. ใช้ได้ทั้งนั้น มาก่อนใส่ก่อน มาหลังใส่หลัง อย่างละไม่มากนัก ใส่น้อยกว่าฟางก็แล้วกัน
สมช. : ค่ะ
ลุงคิม : อยากแนะนำ หัวหญ้าแห้วหมู เหง้าหญ้าคา เหง้ากล้วย
สมช. : ค่ะ
ลุงคิม : เรื่องจุลินทรีย์ย่อยสลายฟางนี่ รายละเอียดมีในหนังสือนี่แล้ว ขืนบอกไปพูดให้ฟัง ถึงบ้านก็ลืม เรื่องของเรื่องก็คือ รู้เรื่องจุลินทรีย์ต้องรู้ให้กระจ่าง อะไรที่เกี่ยวข้องเกี่ยวเนื่องกับจุลินทรีย์ควรรู้ไว้ด้วย เพราะธรรมชาติเป็นเรื่องของความเกี่ยวพันกัน พวกเขา รวมกันอยู่-แยกกันตาย ....มาด้วยกัน ไปด้วยกัน เลือดสุพรรณเอ๋ยยยย
สมช. : ค่ะ
ลุงคิม : ที่สำคัญเหนือสุดๆ คือ ดินคือที่ เกิด/กิน/แก่/เจ็บ/ตาย/ขยายพันธุ์ ของจุลินทรีย์ .... จุลินทรีย์คือผู้อารักขาพืช จุลินทรีย์คือแม่ครัวผู้สร้างอาหารให้พืช การใส่อะไรลงไปในดินขอให้ระวังจะไปรบกวนจุลินทรีย์
สมช. : ค่ะ
ลุงคิม : อ่านเรื่องจุลินทรีย์ดีๆ แล้วคิดซิว่า เราควรอนุรักษ์เขาไว้ไหม ? เอาจุลินทรีย์ในบ้านนี่แหละ จุลินทรีย์ธรรมดาๆทำเป็นจุลินทรีย์ซุปเปอร์
(อ้างอิง) หนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ :
- จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรมีหลายชนิดหรือหลายประเภท ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติ
ที่เกิดโดยฝีมือสัตว์ เกิดโดยฝีมือมนุษย์ แต่ละชนิดหรือแต่ละประเภทที่ผ่านกรรมวิธีในการหมักหรือขยายเชื้อดีแล้วสามารถนำมาใช้รวมกันหรือใส่ลงไปดินพร้อมๆกันแล้วให้อยู่ร่วมกันได้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์มากกว่าการใช้จุลินทรีย์เพียงอย่างเดียวหรือตัวเดียว
- จุลินทรีย์ไม่ใช่ธาตุอาหารหรือฮอร์โมนพืช แต่เป็นผู้สร้างหรือผลิตอาหารหรือฮอร์โมนให้แก่พืช ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าจุลินทรีย์ คือ "ผู้อารักขาพืช" ก็ได้ เพราะนอกจากผลิต (เน้นย้ำ...ผลิต) อาหารหรือฮอร์โมนให้แก่พืชแล้วยังปรับปรุงดูแลสภาพแวดล้อม ที่อยู่ที่กินของพืชอีกด้วย
- จุลินทรีย์กลุ่มหนึ่งจะมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เปลี่ยนสภาพเป็นธาตุอาหารพืชตัวหนึ่ง กล่าวคือ อินทรีย์วัตถุชิ้นหนึ่ง (ชิ้นเดียวกัน) เมื่อถูกจุลินทรีย์กลุ่มใดเข้าย่อยสลายก็จะได้สารอาหารพืชตัวนั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยจุลินทรีย์หลากหลายกลุ่มเข้าย่อยสลายอินทรีย์วัตถุชิ้นนั้น จึงจะได้สารอาหารพืชกลากหลายชนิด
- นาข้าวที่ได้ 100 ถัง จะมีฟางประมาณ 1,200 กก. ... ปริมาณฟาง 1 ตัน จะให้สารอาหารพืชประกอบด้วย ไนโตรเจน 6.0 กก. ฟอสฟอรัส 1.4 กก. โปแตสเซียม 17.0 กก. แคลเซียม 1.2 กก. แม็กเนเซียม 1.3 กก. ซิลิก้า 50.0 กก. (ข้อมูล : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ถ้าได้ไถกลบเศษซากต้นถั่วเหลือง (เมล็ดพันธุ์ 12 กก./ไร่)ลงไปอีกก็จะได้ ไนโตรเจน 45 กก.เมื่อรวมฟางกับต้นถั่วเหลืองแล้วจะทำให้ได้ปุ๋ยสำหรับต้นข้าวมากมาย
ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้ง ต้นพืชได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้อย่างเพียงพอ
มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดิน และจุลินทรีย์ อย่างสม่ำเสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี จะทำให้เกิดการ สะสมอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น ดีขึ้นและดีขึ้น ตามลำดับ
จุลินทรีย์ :
1. จุลินทรีย์ธรรมชาติ (ทำเอง)
2. จุลินทรีย์ อีแอบ.
3. จุลินทรีย์ อีแอบ. ซุปเปอร์
4. จุลินทรีย์หน่อกล้วย
5. จุลินทรีย์เปลือกถั่วลิสง
6. จุลินทรีย์ก้นครัว
7. จุลินทรีย์ฟังก์จัย
8. จุลินทรีย์ ไอเอ็มโอ.
9. จุลินทรีย์นมสด
10. จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง
จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง :
วัสดุส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :
น้ำ (พีเอช 6.5-7.0) ......................... 10 ล.
เศษฟางเปื่อยยุ่ยเองตามธรรมชาติ ............ 1-2 กก.
กากน้ำตาล ..................................... 1 ล.
น้ำมะพร้าว ...................................... 1 ล.
ยูเรีย ............................................ 100 กรัม
ตัวเสริม ......................................... 1 ล. (กก.)
- คนเคล้าส่วนผมทุกอย่างให้เข้ากันดี เติมอ๊อกซิเจนตลอด 24 ชม. นาน 7-10 วันได้ "หัวเชื้อ" เข้มข้น
- ใช้ "หัวเชื้อ 1-2 ล." ผสมน้ำตามความเหมาะสม สาดให้ทั่วแปลงนา 1 ไร่ ช่วงหมักฟางหรือใส่กองปุ๋ยอินทรีย์หมัก 1 ตัน
-------------------------------------------------------------------------------
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/02/2022 7:20 am, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง |
|