kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 31/03/2022 4:54 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ประจำวัน 1 เม.ย. * เกษตรที่มีอนาคต |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 1 เม.ย.
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน 30 เม.ย. ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 2 เม.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี ....งานนี้
- เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน 30 เม.ย. ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
ทุกงานสัญจร .... ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....
แจก ! .... กับดักแมลงวันทอง
****************************************************************
****************************************************************
จาก : (089) 174-82xx
ข้อความ : ที่อ่างทอง 23 ไร่ น้ำดีตลอดปี อยากทำเกษตรที่มีอนาคต เลือกอะไรดีครับ ศิษย์เก่าโควิด
จาก : (063) 429-36xx
ข้อความ : ขอความรู้ที่มาจากการประสบการณ์ปฏิบัติจริงเรื่องสปริงเกอร์ เทคนิคเทคโนไร่กล้อมแกล้ม ขอบคุณครับ เกษตรกรมือใหม่
ตอบ :
เกษตร เหตุ & ผล :
ทำอาชีพเกษตรวันนี้ต้องคิดใหม่ทำใหม่ ทุกอย่างทำอย่างเดิม แถวนี้ทำยังงี้ พ่อแม่นำทำมายังงี้ แบบนี้คงไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม .... ผลงานวันนี้มีปัญหา ปัญหาที่เกิด คืออะไร ? อยู่ตรงไหน ? เกิดได้อย่างไร ? แก้ไขได้ไหม ? ต้องคิดหนักๆๆ .... ที่สำคัญเหนืออื่นใด ความไม่สำเร็จทั้งปวงวันนี้ตกไปถึงลูก ต่อทอดไปถึงหลาน จะเอาเหรอ ?
จากสโลแกนประจำรายการที่ว่า ผลผลิตเพิ่ม (ปริมาณ คุณภาพ), ต้นทุนลด (ปุ๋ย ยา ค่าแรง), อนาคตดี (คนซื้อจองล่วงหน้า)" ขอขยายความที่ว่า การตลาดนำการผลิต วันนี้คนกินต้องการแบบไหนเราต้องทำแบบนั้นให้ได้
ว่ามั้ย กรณี ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี ไม่ใช่คนกินได้ทางเดียว เราคนทำก็ได้ด้วย
ผลผลิต-ผลผลิต เป็นเรื่องของธรรมชาติ ระหว่างระยะเวลา 1 ปีได้ผลผลิตเพียง 1 รอบ 1 รุ่น กับ 1 ปี กับได้ผลผลิตมากกว่า 1 รอบหรือ 1 รุ่น น่าจะเป็นเกษตรทางเลือกใหม่ เช่น....
**** เนื้อที่ 1 ไร่....
- หน่อไม้รวก หน่อไม้ไผ่ ให้ผลผลิต 300 ครั้ง /ปี
- มะพร้าว ให้ผลผลิต 16 ครั้ง /ปี
- ปาล์มน้ำมัน ให้ผลผลิต 24 ครั้ง /ปี
- สละ ระกำ ชมพู่ ฝรั่ง มะกอกน้ำ ขนุน มะละกอ มะนาว ส้มฯ ให้ผลผลิตหลายๆ ๆๆ ครั้ง /ปี
- ไม้ผลทะวายให้ผลผลิต 2-3 ครั้ง /ปี
- แตงโม แคนตาลูป เมล่อน ลงมือปลูกทุกวันที่ 1 ของเดือน ครบทุกเดือนในรอบปี จะมีผลผลิตให้เก็บได้เดือนละครั้ง
- เกษตรแจ๊คพ็อต เช่น มะลิหน้าหนาว มะนาวหน้าแล้ง แก้วมังกรตรุษจีน กล้วยหอมเทศกาล ผักชีหน้าฝน
- ผลผลิตเพิ่ม เช่น สำปะหลังได้ 30(+) ตัน/ไร่ อ้อยได้ 50(+) ตัน/ไร่ ข้าวได้ 2(+) ตัน/ไร่
- ผลผลิตที่ได้ เกรด เอ.จัมโบ้
- แปรรูปสร้างมูลค่า ข้าวปลูก ข้าวพร้อมหุง
- ฯลฯ
ปรัชญาเกษตร :
- ผลผลิตเกษตรด้านพืชทุกชนิดมีตลาด (คนกิน) รองรับอยู่แล้ว ต่างกันที่ราคา ระหว่างเกรด เอ. กับเกรดบ๊วย
- เกษตรกรไม่สามารถ กำหนดหรือควบคุม ราคาในตลาดได้ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับคนกลางหรือคนรับซื้อ แต่สามารถ กำหนดหรือควบคุม การผลิตว่าด้วย ต้นทุน คุณภาพ ปริมาณ ฤดูกาล ฯลฯ ได้
- ขายผลผลิตได้ เท่าเดิม เท่าข้างบ้าน แต่ต้นทุนต่ำกว่า นั่นคือกำไรที่มากกว่าเป็นธรรมดา
แก้ปัญหาที่ต้นทุน : (ยากหรือง่าย อยู่ที่ ใจ)
ที่ดิน : พื้นที่ 20 ไร่ ปาล์มกับมะพร้าวตระกูลเดียวกัน ต้องการ ปัจจัยพื้นฐาน ? ตัวเดียวกัน ลงปาล์มน้ำมัน 10 ไร่ มะพร้าว 10 ไร่ .... ในร่องน้ำเลี้ยงปลา/กบ, ผิวน้ำปลูกผักกินยอด, เหนือร่องน้ำทำค้างปลูกผักเลื้อย .... พื้นดินรอบต้นปาล์มลงพืชแซมใช้แสงแดดน้อย
ปุ๋ย : ยึดหลักสมการปุ๋ย อินทรีย์/เคมี .... ลดปุ๋ยเคมี เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับปรุงบำรุงดิน....ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ .... ลดธาตุหลัก เพิ่มธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน วิตามิน .... รู้จัก ตัว/หน้าตา ปุ๋ย ชื่ออะไร ? สูตรอะไร ? ประเภทอะไร ? ใช้เท่าไหร่ ? ใช้อย่างไร ? ผลเป็นอย่างไร ?
รู้อย่างเป็นวิชาการ ไม่ใช่รู้แค่โฆษณา .... ทำเป็น/ทำใช้/ทำขาย/ทำแจก/ทำเททิ้ง
ยา : ยึดหลักสมการ สารสมุนไพร/สารเคมี .... ลด/ละ/เลิก สารเคมียาฆ่าแมลง .... เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก สารสมุนไพร .... วางแผนบริหารจัดการอนาคตใช้สารสมุนไพรอย่างเดียวเดี่ยวๆ
แรงงาน : ยึดหลักเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง บำรุงเต็มที่ได้เพราะเครื่องทุ่นแรง ผลรับ บำรุงเต็มที่ได้ผลเต็มที่ .... สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย แก้ปัญหานี้ได้ ติดตั้งครั้งเดียวใช้งานได้ 10-20-30 ปี แรงงานคนเดียว ทำงานเดี๋ยวเดียวเสร็จ .... ให้ น้ำ/ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยาสมุนไพร/ยาเคมี ผ่านใบ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง ต้นได้รับทางใบแล้วตกลงพื้น ต้นได้รับอีก นั่นคือ ต้นไม้ได้รับทั้งสองทาง สองเด้ง ชัดเจน
เครดิต : ยึดหลัก การตลาดนำการผลิต ทำตามออร์เดอร์ ออกนอกฤดู เกรด เอ. จัมโบ้. ปลอดสารเคมียาฆ่าแมลง
เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง :
หม้อปุ๋ยหน้าโซน "กะเหรี่ยง เวนจูรี่" NEW MODLE
มูลเหตุจูงใจ :
"การให้ปุ๋ยทางท่อ" หรือ "การให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำ" เป็นเทคโนโลยีการเกษตรอย่างหนึ่งที่ทั่วโลกใช้กันมานาน และมีงานวิจัยใหม่ๆ ออกมาเป็นระยะๆให้ปรากฏ
ส่วนใหญ่ใช้กับระบบน้ำหยดสำหรับพืชในกระถาง หรือในภาชนะปลูก โดยมีเป้าหมาย ให้สารอาหารพืชแบบตลอด 24 ชม. ซึ่งจะช่วยให้พืชเจริญเติบโตเร็วกว่าการให้ตามระยะเวลา
จากระบบการให้น้ำแบบน้ำหยด นักเทคโนโลยีการเกษตรได้พัฒนามาสู่ระบบการให้ปุ๋ยไปกับน้ำด้วยหัวสปริงเกอร์ สำหรับพืชในแปลงที่ขนาดใหญ่กว่าพืชในกระถาง เช่น แปลงไม้ผลยืนต้น แปลงผักสวนครัว แปลงพืชไร่ ก็สามารถให้ปุ๋ยทางท่อ หรือให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำได้เช่นกัน ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือที่ชื่อว่า "เวนจูรี่" อุปกรณ์ตัวนี้ เมด อิน ยูเอสเอ. แต่โรงงานอยู่ที่บางปู สมุทรปราการ สนนราคา 1 ชุด 5,000 (+/-) นิดหน่อย
ว่าจ้างบริษัทจำหน่ายระบบสปริงเกอร์มาติดตั้งให้ ระบบอิสราเอล ค่าใช้จ่ายตกไร่ละ 100,000 แต่ถ้าติดตั้งเอง ระบบกะเหรี่ยง ค่าใช้จ่ายตกไร่ละ 5,000 ทั้ง 2 ระบบไม่รวมค่าปั๊ม
เกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริ มิได้สอนให้ปฏิเสธเทคโนโลยี แต่ทรงสอนให้ใช้ให้เป็น ใช้คุ้มค่า ใช้อย่างสมเหตุสมผล การปฏิบัติบำรุงต่อพืช บำรุงเต็มที่ย่อมได้ผลเต็มที่ บำรุงเต็มทีแต่จะเอาผลเต็มที่ย่อมไม่ได้ การบำรุงเต็มที่ทำไม่ได้ สาเหตุหนึ่งมาจากทำไม่ทัน ทำไม่ทันเนื่องจากไม่มีเวลา และเนื่องจากทำงานด้วยมือ นั่นเอง ..... สังคมโลกเกษตรปัจจุบัน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีการตลาด และเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำสุด
สปริงเกอร์ติดตั้งครั้งเดียวใช้งานได้นาน 10-20 ปี ด้วยระยะเวลาใช้งานนานขนาดนี้ เมื่อเปรียบเทียบ "ต้นทุน-เวลา-แรงงาน-ประสิทธิผลเนื้องาน" แล้ว ถือว่าคุ้มค่ากว่าการใช้สายยาง หรือเครื่องมือฉีดพ่นอื่นๆ ที่ต้องฉีดพ่นทีต้นๆ
ปิดท้าย :
อ.วิชัยฯ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง บอกว่า ระบบสปริงเกอร์ที่เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำงานและราคาต้นทุนแล้ว ระบบสปริงเกอร์ที่ไร่กล้อมแกล้มถือว่าดีที่สุดในประเทศไทย
กะเหรี่ยง เวนจูรี่ : ใช้วัสดุ พีวีซี. ทั้งชุด ถ้าเป็นวัสดุใหม่แกะกล่อง ราคาราว 150-200 บาท แต่ถ้าใช้วัสดุอุปกรณ์เก่ามา REUSE ราคาต้นทุนก็จะต่ำลงมาอีก (ไม่รวมวาวล์....เพราะวาวล์ต้องใช้อยู่แล้ว....วาวล์ซันวาอันละ 750 บาท) ทุกอย่างคิดขึ้นมาเอง สามารถจดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้ ถือเป็น "สิ่งประดิษฐ์" ที่รอการพัฒนาต่อยอด เฉกรถยนต์ที่อเมริกาคิดและสร้างขึ้นมาก่อน แล้วญี่ปุ่นทำบ้าง ไม่ได้ลอกเลียนแบบแต่เป็นการอาศัยหลักการของรถยนต์แล้วสร้างขึ้นมาเอง
เมื่อเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ จึงไม่มีคำว่า "สิ้นเปลือง" มิเช่นนั้นโลกจะมีสิ่งของเครื่องใช้ใหม่ๆออกมารึ
การทำงานของ "กะเหรียง เวนจูรี่" เป็นระบบสุญญากาศ เหมือนเวนจูรี่ เมด อิน ยูเอสเอ. เปี๊ยบ อันนี้ไม่ถือเป็นการลอกเลียนแบบ หรือละเมิดลิขสิทธิ์
ทำงานตามสั่ง : ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารสมุนไพร/สารเคมียาฆ่าแมลง/ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน โดยที่ทุกอย่างเป็นน้ำแก่ต้นพืชได้ทั้งนั้น นอกจากนั้นยังสามารถให้ ณ วัน/เวลา ที่ต้องการได้อีกด้วย.....เช้า-สาย-บ่าย-ค่ำ-ดึก ทำงานได้ทั้งนั้น ด้วยแรงงานเพียงคนเดียว
เช้ามืด ตี.5 ....เปิดสปริงเกอร์ล้างน้ำค้างก่อนน้ำค้างแห้ง ช่วยป้องกันโรคราน้ำค้าง-ราแป้ง-ราสนิม
สาย 9 โมงเช้า....... เปิดสปริงเกอร์ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สมุนไพร ทางใบ
เที่ยง.................. เปิดสปริงเกอร์ให้สมุนไพร ป้องกันเพลี้ยไฟ-ไรแดง
ค่ำ..................... เปิดสปริงเกอร์ให้สมุนไพร ไล่แมลงวางไข่-กำจัดหนอน
กลางวันหลังฝนหยุดใบแห้ง.......... เปิดสปริงเกอร์ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน กดใบอ่อนสู้ฝน
กลางวันหลังฝนหยุดก่อนใบแห้ง..... เปิดสปริงเกอร์ให้สมุนไพรป้องกันแอ็นแทร็คโนส
แปลงไม้ผล :
สมมุติ....ไม้ผล 1 โซน 50 ต้น ลากสายยางเดินฉีดพ่นทางใบทีละต้นๆ ต้นละ 10 นาที ต้องใช้เวลา 500 นาที สายยางก็ต้องใช้ปั๊มไฟฟ้า นั่นเท่ากับ 500 นาทีไฟฟ้า ต่อการทำงาน 1 ครั้ง.... ไม้ผล 1 โซน 50 ต้น (แปลงเดียวกัน) ใช้สปริงเกอร์-หม้อปุ๋ย กะเหรี่ยง เปิดสปริงเกอร์ฉีดพ่นทางใบพร้อมกันทั้ง 50 ต้น ใช้เวลาประมาณ 10 นาที สปริงเกอร์ก็ต้องใช้ปั๊มไฟฟ้าเช่นกัน นั่นเท่ากับ 10 นาทีไฟฟ้า ต่อการทำงาน 1 ครั้ง อย่างไหนประหยัดเวลา ประหยัดไฟฟ้า มากกว่ากัน กับทั้ง อย่างไหนให้ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องานมากกว่ากัน .... จ้างคนงานลากสายยางฉีดพ่น คนงานมีโอกาสอู้งานหรือทำงานไม่เรียบร้อยได้ แต่คนงานที่ใช้สปริงเกอร์ไม่มีโอกาสอู้งาน หรือทำงานบกพร่อง เว้นเสียแต่ไม่ได้เปิดสปริงเกอร์เท่นั้น .... ที่สำคัญ ทั้งเจ้าของสวนและลูกจ้าง ไม่เสียอารมย์ในการทำงาน
สวนไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ เนื้อที่ 50 ไร่ ใช้แรงงาน 1 คน เจ้าของทำเอง ลากสายยางฉีดพ่น ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยาสมุนไพร อย่างใดอย่างหนึ่ง ฉีดพ่นอย่างประณีต เช้าถึงค่ำ (06.00-18.00 น.) ทุกวัน ต้องใช้ระยะเวลาถึง 7 วัน จึงครบทุกต้น นั่นเท่ากับต้นไม้ได้รับเพียง 1 ครั้ง ทั้งๆที่คนต้องทำงานทุกวัน .... หากเป็นสปริงเกอร์ แบ่งพื้นที่เป็นโซน โซนละ 2 ไร่ (ปั๊ม 3 แรงม้า ไฟฟ้าบ้านธรรมดา 220 v) ใช้เวลาโซนละ 10 นาที นั่นคือ สวนขนาด 50 ไร่ จะใช้เวลาทำงานเพียง 250 นาที หรือ 6 ชม. หรือ 1 วัน (08.00-16.00 น.) เท่านั้น....ลากสายยางต้องใช้ไฟฟ้าทำงาน 7 วัน/อาทิตย์ กับสปริงเกอร์ใช้ไฟฟ้าเช่นกัน แต่ทำงาน 1 วัน/อาทิตย์....อย่างไหนประหยัดและได้ประสิทธภาพในการทำงานมากกว่ากัน
หม้อปุ๋ย :
หม้อปุ๋ย 2 ขนาด ใหญ่-เล็ก ใน 1 โซน ..... ใหญ่ ขนาดจุ 2 ล. (ขวดน้ำปลา) ..... เล็ก ขนาดจุ 1/2 ล. (ขวดโซดา)
หม้อปุ๋ยขนาดจุ 2 ล. สำหรับให้ปุ๋ยทางราก สมมุติ ต้องการให้ปุ๋ยทางรากแก่ต้นไม้ 50 ต้น ต้นละ 50 กรัม (2 อาทิตย์/ครั้ง แบบให้น้อยบ่อยครั้ง) เท่ากับใช้ปุ๋ยทางราก 2.5 กก. ...... ให้ละลายปุ๋ยในน้ำเปล่าก่อน น่าจะใช้นำเปล่าประมาณ 5-6 ล. ขึ้นอยู่กับชนิดและสูตรปุ๋ย จากนั้นจึงเติม "น้ำละลายปุ๋ย" ลงในหม้อแล้วปล่อยไปกับระบบสปริงเกอร์ งานให้ปุ๋ยครั้งนี้ต้องใช้ปุ๋ย 3 หม้อ หรือเติม 3 ครั้ง ครั้งหนึ่งใช้เวลาประมาณ 5 นาที เท่ากับใช้เวลาให้ปุ๋ยทางรากแก่ต้นไม้ 50 ต้น ด้วยเวลาเพียง 15 นาที กับแรงงานเพียง 1 คน เท่านั้น อีกด้วย
หม้อปุ๋ยขนาดจุ 1/2 ล. สำหรับให้ปุ๋ยทางใบ เพียง 1 หม้อก็พอแล้ว สำหรับต้นไม้ 50 ต้น ใน 1 โซน ใช้เวลาเพียง 5-10 นาที ด้วยแรงงานเพียงคนเดียวอีกด้วย
ให้ปุ๋ยทางราก...........เปิดวาวล์หม้อปุ๋ยทางราก ปิดวาวล์หม้อปุ๋ยทางใบ
ให้ปุ๋ยทางใบ............เปิดวาวล์หม้อปุ๋ยทางใบ ปิดวาวล์หม้อปุ๋ยทางราก
ให้ปุ๋ย ทางราก + ทางใบ...........เปิดวาวล์หม้อปุ๋ยทางราก + เปิดวาวล์หม้อปุ๋ยทางใบ
ขนาดหม้อปุ๋ย :
เวลาก็คือต้นทุนอย่างหนึ่ง จากการที่ต้องเติมปุ๋ยทางรากลงหม้อปุ๋ยถึง 3 ครั้ง ต่อการให้ปุ๋ย 1 ครั้ง/1 โซน เห็นควรต้องปรับปรุงหม้อปุ๋ยใหม่ โดยเพิ่มจำนวนหม้อปุ๋ยขนาด 2 ล. จากจำนวน 1 หม้อ เป็น 3 หม้อ เมื่อรวมกับหม้อปุ๋ยขนาด 1 ล. ก็จะเป็น 4 หม้อ ในโซนเดียวกัน ..... อันนี้ทำได้อยู่แล้ว
REUSE :
สังเกตุ "สี" ของวัสดุ พีวีซี. แม้จะต่างสี แต่ขนาดเดียวกันจึงใช้ร่วมกันได้ นี่คือ ผลจาก REUSE นำวัสดุ พีวีซี. ที่เคยใช้งานมาแล้วมาใช้งานซ้ำ ช่วยให้ต้นทุนการสร้างถูกลงมาอีก วัสดุ พีวีซี.บางชิ้นผ่านการใช้งานมาแล้ว 3-4 ครั้ง แต่ก็ยังนำกลับมาใหม่ได้ดีเหมือนเดิม
สปริงเกอร์ระบบกะเหรี่ยง ยาวตัด-สั้นต่อ-ไม่พอซื้อ-ไม่ดีรื้อทำใหม่ ของใช้แล้วพวกนี้ไม่มีการทิ้ง เพราะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพียง 1-2 อันเท่านั้น ที่ต้องจำใจทิ้ง เพราะ REUSE ไม่ขึ้นจริงๆ
บางคนไปที่ไร่กล้อมแกล้ม บอกว่า ได้สูตร REUSE นี้สูตรเดียวคุ้มเกินคุ้ม เพราะที่บ้านมีเป็นเข่ง
ชิ้นส่วนบางชิ้น REUSE กับซื้อใหม่ ราคาพอๆกัน แต่ก็ REUSE เพราะต้องการทำให้เห็นว่า มันยังใช้งานได้ เท่านั้น .... หน็อย หาว่าตาคิมขี้เหนียว
ประสบการณ์ตรง.....ซาเล้งร้องไห้ :
กาลครั้งนั้น ซาเล้งรับซื้อของเก่าโฉบผ่านมาที่ไร่กล้อมแกล้ม ถามหาซื้อของเก่า เศษท่อ พีวีซี.ก็เอา เราก็คิดว่า คงเอาไปขายเป็นเศษพลาสติกเหมือนขวดพลาสติก ประมาณนั้น จึงเอาเศษ พีวีซี.ที่ REUSE ไม่ได้แล้วขาย ได้มาประมาณ 50 บาท โดยคนซื้อให้ราคาเอง
วันรุ่งขึ้น ซาเล้งเจ้าเดิมย้อนกลับมาอีกครั้ง พร้อมกับเอาเศษ พีวีซี.ที่ซื้อไปเมื่อวานนี้มาคืน บอกว่า เอาไปทำใหม่ไม่ได้เลย มันเป็นเศษจริงๆ เราจึงคืนเงินให้ กับแถมให้อีก 20 บาท ให้เอาไปทิ้งที่กองขยะให้ด้วย
เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า.....
ซาเล้งรับซื้อเศษท่อ พีวีซี. เอาไปแกะชิ้นส่วนที่เป็นส่วนเกินออก แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก เป็นชิ้นส่วนมือสอง เช่น ท่อต่อตรงขนาด 2 นิ้ว 1 อัน ซื้อที่ตลาดท่ามะกา อันละ 35 บาท แต่ซาเล้งซื้อไปจากไร่กล้อมแกล้มตกราวอันละแค่ 2 บาท เมื่อแกะส่วนเกินออกสามารถขายอันละ 5-7 บาทได้ สบายๆ ..... สุดท้ายที่ซาเล้งเอาเศษท่อ พีวีซี.มาคืน เพราะเป็นเศษซากจริงๆ ไม่มีส่วนเกินใดที่แกะออกแล้วเอากลับมาใช้ใหม่ได้เลยแม้แต่ชิ้นเดียว นั่นเอง
--------------------------------------------------------------------------------
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/12/2024 6:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง |
|