kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11635
|
ตอบ: 11/04/2022 4:49 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 12 เม.ย. * นาข้าว วัดใจ |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 12 เม.ย.
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน 30 เม.ย. ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 16 เม.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดท่าตำหนัก ถ.เพชรเกษม (ขาล่อง) ก่อนถึงแยกนครชัยศรี 200 ม. นครปฐม
- เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน 30 เม.ย. สัญจรรอบพิเศษไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
ทุกงานสัะญจร ....
ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....
แจก ! .... กับดักแมลงวันทอง
****************************************************************
****************************************************************
เก็บตกงานสัญจร 9 เม.ย. วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี :
สมช. : ลุงครับ ขอปรึกษาเรื่องนาข้าวหน่อยครับ
ลุงคิม : อืมมม ถามหน่อย รู้เรื่องลุงคิมมาจากไหน
สมช. : ฟังวิทยุครับ ฟังมานานแล้ว
ลุงคิม : ฟัง ฟังอย่างเดียว ได้อ่านหนังสือในเน็ต ในหนังสือ ได้อ่านไหม
สมช. : ไม่ได้อ่านเลยครับ
ลุงคิม : เอ้า งั้นเข้าเรื่องเลย มีเรื่องอะไรเหรอ ?
สมช. : คืองี้ครับ ข้าวเปลือกราคาถูกแบบนี้ เมื่อไหร่ชาวนาถึงจะรวยครับ
ลุงคิม : แล้วตอนที่ราคาแพงล่ะ ชาวนารวยไหม
สมช. : ถึงไม่รวยก็พออยู่ได้ครับ
ลุงคิม : พออยู่ได้พออยู่ได้ ก็อยู่แบบจนๆอีกนั่นแหละ บอกแล้วไง ตลาด.ราคา. คนผลิตควบคุมไม่ได้ อยู่ที่คนกลางคนรับซื้อเท่านั้น เท่าไหร่ก็ต้องเท่านั่น
สมช. : ครับ
ลุงคิม : ต้นทุนต่างหากที่คนผลิตคุมได้
สมช. : ครับ
ลุงคิม : ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรง ค่าที่ ค่าเวลา ค่าโอกาส ค่าเทคนิค ค่าเทคโน นี่คือต้นทุนทั้งนั้น ทำไมเกษตรกรผู้ผลิตเราไม่พูดถึงเลย พูดแต่ราคาอย่างเดียว
สมช. : ครับ
ลุงคิม : เชื่อมั้ย ว่ามั้ย ขายได้เท่าเดิมแต่ต้นทุนต่ำลงนั่นคือกำไร
สมช. : ครับ
ลุงคิม : ต้นทุนที่ต้องคิดหนัก นั่นคือ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าเทคนิควิธีการ ค่าเทคโนเครื่องทุ่นแรง
สมช. : ครับ
ลุงคิม : โดยเฉพาะต้นทุนที่ต้องจ่ายเป็นเงิน เงินสดว่าร้ายแล้ว เงินเครดิตร้ายยิ่งกว่าอีก เพราะมีดอกเบี้ย ดอกเบี้ยทบต้นด้วย
สมช. : ครับ
ลุงคิม : ถามหน่อย คนทำเกษตร ทำขาย ธรรมชาติของคนขายของน่ะ เขาต้องคิดถึงต้นทุนก่อนราคาที่ขายได้ไม่ใช่เหรอ ถ้าขายแล้วขาดทุน ต้องคิดใหม่ทำใหม่ หรือไม่ก็เปลี่ยนสินค้าขายไปเลย แล้วทำไมคนทำเกษตร ทำออกมาขายแต่ไม่คิดเรื่องต้นทุนกันเลย
สมช. : ก็คิดเหมือนกันครับ แต่หาทางออกไม่ได้ก็เลยทำแบบเดิม ทำตามข้างบ้าน
ลุงคิม : เอาเถอะ ปัญหามีให้แก้ วันนี้เปิดใจ เปลี่ยนเทคนิควิธีแบบเดิมเป็นแบบใหม่ แบบที่ใช้เงินทุนน้อยๆ งานนี้ปักใจเลยว่า ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น
สมช. : ดีครับ ทำแบบเดิมไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม
ลุงคิม : ของเดิม วิธีเดิม ลงไปแล้วปล่อย ไม่ต้องใส่ไม่ต้องเติมเพิ่มอะไรอีก แต่เอาวิธีใหม่ ทุกอย่างทุกตัวลงไปแทน มุ่งมั้นตั้งใจเอาแน่ๆ
สมช. : ครับ
ลุงคิม : เทคนิคนาข้าวที่ว่าคือ นาข้าวแบบเหมาจ่าย กับ นาข้าวแบบประณีต
สมช. : เอา 2 แบบเลยครับ แบ่งครึ่งแปลง แปลงละแบบ
ลุงคิม : ก็ดี ไว้เป็นตัวเปรียบเทียบ
สมช. : ดีครับ นาข้าววัดใจครับ
ลุงคิม :
บำรุงต้นข้าวสูตรเหมาจ่าย :
- ให้ไบโออิ อย่างเดียวตั้งแต่ระยะกล้าถึงเกี่ยว ห่างกัน 7-10 วัน ....ทุกครั้งที่ให้ทางใบ + ยาน็อค สารสมุนไพรร่วมด้วยทุกครั้ง
- ป้องกันศัตรูพืช :
มาตรการ กันก่อนแก้ : คือ แม็กเนเซียม. สังกะสี. ช่วยสร้างภูมิตานทานให้แก่ต้นข้าวเป็นพื้นฐาน แถมฉีดพ่นสารสมุนไพรทับเข้าไปอีก นี่คือ 2 เด้ง
มาตรการ ป้องกัน + กำจัด : ถ้าแปลงข้างๆกำลังเกิดระบาด ช่วงว่างระหว่าง 7-10 วัน ให้ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ 2-3 รอบ ห่างกันวันเว้นวัน
บำรุงต้นข้าวสูตรประณีต :
นาข้าวที่กำจัดวัชพืชไม่หมด ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้วมีต้นข้าวกับต้นวัชพืช "ครึ่ง : ครึ่ง" จนเต็มนา แนะนำให้ใช้สูตร "เลยตามเลย หรือ ไหนไหนก็ไหนไหน" เพราะกำจัดวัชพืชไม่ได้แล้ว โดยเน้นบำรุงทางใบเป็นหลัก.....ดังนี้
ระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น "ไทเป + ยาน็อค" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ 100 ซีซี. + ยูเรก้า + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย
- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง
- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน
- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืชก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10
-------------------------------------------------------------------------------
.
|
|