-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 18 เม.ย. * ข้าวพันธุ์อะไรราคาดีที่สุด
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 18 เม.ย. * ข้าวพันธุ์อะไรราคาดีที่สุด
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 18 เม.ย. * ข้าวพันธุ์อะไรราคาดีที่สุด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 17/04/2022 4:53 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 18 เม.ย. * ข้าวพันธุ์อะไรราคาดีท ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 18 เม.ย.
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
***********************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน 30 เม.ย. ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- วันนี้วันจันทร์ที่ 18 เม.ย. เฉพาะวันจันทร์ ทุกวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย.. .แจก ! กับดักแมลงวันทอง เลือกเอา 2-3-4 อัน ..... ด้วยประสบการณ์เกือบ 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง

- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 23 เม.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนภิเษก

- เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน 30 เม.ย. สัญจรรอบพิเศษไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา


ทุกงานสัญจร ....
ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....
แจก ! .... กับดักแมลงวันทอง


****************************************************************
****************************************************************


เก็บตกงานสัญจร 16 เม.ย. วัดท่าตำหนัก นครชัยศรี นครปฐม :

สมช. :
ลุงครับนาข้าว ข้าวพันธุ์อะไรราคาดีที่สุดครับ
ลุงคิม : อืมมม อันนี้ต้องถามคนรับซื้อนะ โรงสี ร้านขายข้าวปลูก ร้านขายข้าวพร้อมหุง นี่แหละการตลาดนำการผลิต .... อยากรู้รายละเอียดอะไรในการซื้อขายก็ให้ไปสอบถามที่นั่น แล้วถามด้วยว่า ลูกค้าของที่นั่นเป็นใคร อยู่ที่ไหน มีเบอร์โทรไหม รู้แล้วก็ให้ไปคุยกับคนๆนั้น พัฒนาสัมพันธุ์เขาดีๆ เขาคงไม่ปิดบังเราหรอกนะ

สมช. : ครับ
ลุงคิม : ไม่ใช่พันธุ์ข้าวอย่างเดียวนะ คุณภาพข้าว ข้าวลีบ ข้าวป่น ข้าวปน ข้าวท้องไข่ กับอีกหลายอย่างหลายรายการที่แต่ละแหล่งซื้อกำหนด....

นาข้าวโครงการ "แปลงเล็กในแปลงใหญ่" โครงการเขาประสานกับโรงสีคนรับซื้อแล้วว่าต้องใช้ข้าวสายพันธุ์นี้เท่านั้น นาบางแปลงหาสายพันธุ์ตามที่โครงการกำหนดไม่ได้ ใช้สายพันธุ์ของตัวเอง ผลผลิตข้าวที่ออกมาเลยขายในโครงการไม่ได้ ต้องขายเอง ไม่ได้ราคา....

โรงสีรับซื้อข้าวสายพันธุ์ที่กำหนดเพราะเขามีลูกค้าอยู่แล้ว ส่วนข้าวสายพันธุ์ที่โรงสีไม่ได้สั่งหรือไม่ได้กำหนด โรงสีรับซื้อแล้วเอาไปกองรวมกัน เรียกว่าข้าว "พันธุ์รวมกอง" ราคาถูก ข้าวประเภทนี้โรงสี สีแล้วเอาไปทำแป้ง ....

ก็มีที่ข้าวเปลือกจากนาบางแปลง คุณภาพดี ดีมาก สายพันธุ์ชาวนานิยม โรงสีให้ราคาแพงเพราะเอาไปขายเป็นข้าวปลูกได้....

สมช. : ครับ
ลุงคิม :
ที่จริง ภารกิจส่งเสริมการเกษตรที่รายการสีสันชีวิตไทยดำเนินการ นาข้าวคือเรื่องพืชที่มีการกล่าวถึงมากที่สุด เน้นย้ำ....มากที่สุด ที่พูดทั้งเขียน

- รู้เรื่องข้าวรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล....
- รายการข้าวเปลือกด้อยคุณภาพที่โรงสีตัดราคา ได้แก่ ข้าวหัก ข้าวป่น ข้าวเมล็ดแดง ข้าวเมล็ดเหลือง ข้าวเมล็ดท้องไข่ ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่น

- น้ำมากทำให้ข้าวสูง แตกกอน้อย สุดท้ายก็ล้ม....น้ำน้อย เจ๊าะแจ๊ะหน้าดิน ถึงแห้ง ระดับแตกระแหง ต้นข้าวไม่สูง แตกกอมาก ต้นไม่ล้ม

- พูดอยู่เสมอๆ ทำแบบเดิมคงไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม ทำตามคนที่ล้มเหลวก็ล้มเหลวด้วย เผลอๆล้มเหลวยิ่งกว่า ทำตามคนที่สำเร็จย่อมสำเร็จด้วย แต่ถ้าเอาแนวของคนที่สำเสร็จมาต่อยอด นั่นคือ จะสำเร็จเหนือกว่า

**** ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ใช่มีไว้ให้กลุ้ม
- ยูเรีย. ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี

- แม็กเนเซียม. สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดีสมบูรณ์แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย

- สังกะสี. สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี

- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 14 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น ..... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น

- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- 8 ) อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน

- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10/ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว

สรุป :
ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ - ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0

เรื่องสายพันธุ์ ปลูกไปแล้วปลูกเลย แก้ไม่ได้ แต่คุณภาพ ข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ ข้าวป่น ข้าวที่โรงสีตัดราคา แก้ได้....

บำรุงต้นข้าวแบบประณีต :
นาข้าวที่กำจัดวัชพืชไม่หมด ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้วมีต้นข้าวกับต้นวัชพืช "ครึ่ง : ครึ่ง" จนเต็มนา แนะนำให้ใช้สูตร "เลยตามเลย หรือ ไหนไหนก็ไหนไหน" เพราะกำจัดวัชพืชไม่ได้แล้ว โดยเน้นบำรุงทางใบเป็นหลัก.....ดังนี้

ระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น "ไทเป + ยาน็อค" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ 100 ซีซี. + ยูเรก้า + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย

- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง

- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน
- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10


การกำจัดข้าวปน
เป็นการรักษาพันธุ์ข้าวให้บริสุทธิ์ มีลักษณะถูกต้องตรงตามลักษณะพันธุ์ จึงมีความจำเป็นมากที่ต้องหมั่นตรวจแปลง เพื่อกำจัดข้าวเรื้อ ข้าวปน หรือข้าวกลายพันธุ์ เพราะการเกิดการปะปนของเมล็ดพันธุ์ข้าวเพียงเมล็ดเดียว หรือข้าวเรื้อเพียงกอเดียว จะทำให้เมล็ดข้าวที่ผลิตได้ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งไม่สามารถใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ได้ ฉะนั้น การตรวจและกำจัดข้าวปนควรทำในระยะต่าง ๆ ดังนี้

1. ระยะต้นอ่อน ดูสีของต้นว่าจะมีสีตรงตามลักษณะพันธุ์หรือไม่ และผิดแปลกไปจากต้นอื่น ๆ หรือไม่
2. ระยะเจริญเติบโตหรือระยะแตกกอ ดูลักษณะทรงกอ การแตกกอ ความสูง สี ต้น กาบใบ และใบ
3. ระยะออกดอก กำจัดต้นที่ออกดอกไม่พร้อมกับต้นข้าวส่วนใหญ่
4. ระยะข้าวแก่ ดูลักษณะเมล็ด สีของเปลือกให้ตรงตามพันธุ์ ลักษณะต่าง ๆของต้นในการพิจารณา

ข้าวปนหรือข้าวกลายพันธุ์
สิ่งที่สังเกตง่ายๆ คือ ลักษณะการเจริญเติบโตของต้น ได้แก่ ทรงกอ ความสูงใบ ขนาดของใบลักษณะการชูใบ บางพันธุ์ใบตั้ง บางพันธุ์ใบแผ่บางพันธุ์ใบตก

วันออกดอก
ข้าวพันธุ์เดียวกันควรมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอกันออกดอกพร้อมกัน ไม่ควรแตกต่างกันมากเกินกว่า 7 วัน เมล็ดมีหาง เมล็ดที่มีหางมักจะปรากฎเสมอในต้นข้าวกลายพันธุ์

รวง
ลักษณะของรวงข้าวแต่ละพันธุ์แตกต่างกัน ความสั้นยาวของรวง ความถี่ ห่างของระแง้

ข้าวกล้องข้าวเจ้า
จะมีข้าวกล้องใส ข้าวเหนียวจะมีข้าวกล้องขุ่น นอกจากนี้ ข้าวเจ้าบางพันธุ์ จะมีท้องไข่

การคัดข้าวไว้ทำพันธุ์
เมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นปัจจัยประการแรกที่สำคัญต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการ
ผลิตข้าว ปัจจุบันการผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดีจากทางราชการ ไม่สามารถสนับสนุนเกษตรกรได้เพียงพอ เกษตรกรควรจะหันมาจัดระบบการทำแปลงพันธุ์ไว้ใช้เอง การจัดทำแปลงพันธุ์ข้าวจะเป็นการลดต้นทุนในการซื้อเมล็ดพันธุ์ ทำให้มีเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ คุณภาพดี โดยมีข้อแนะนำดังนี้

1. เมื่อเกษตรกรได้รับเมล็ดพันธุ์ดีจากทางราชการมาแล้ว ควรเลือกแปลงนาที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โดยขนาดพื้นที่ขึ้นอยู่กับพื้นที่นาทั้งหมด เช่น มีที่นา 50 ไร่ ปลูกโดยวิธีหว่าน ซึ่งใช้เมล็ดพันธุ์ 15 กิโลกรัม/ไร่ จะเป็นปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ คือ 50 คูณ 15 เท่ากับ 750 กิโลกรัม หากเกษตรกรเคยทำนาได้ผลผลิต 750 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้น จะคำนวณพื้นที่แปลงพันธุ์ได้ 1 ไร่พอดี

2. การเตรียมแปลง ควรกำจัดข้าวเรื้อออกให้หมด ไม่มีเมล็ดลีบหรือเมล็ดไม่สมบูรณ์อื่น ๆ การทำแปลง ควรใช้วิธีปักดำ แต่ถ้าจำเป็นจะใช้วิธีหว่านก็ได้

3. เมื่อข้าวในแปลงพันธุ์งอกแล้ว ควรทำการกำจัดข้าวปนที่ทำให้พันธุ์ข้าวไม่บริสุทธิ์ หรือข้าวผิดปกติอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุให้ได้ข้าวพันธุ์ไม่ดี ควรทำทั้งหมด 3 ครั้ง

- ครั้งแรก ในระยะแตกกอ ให้ดูลักษณะการแตกกอ การชูใบ ความสูงของลำต้น สีของใบและลำต้น ถ้าพบลักษณะผิดปกติให้ถอนทิ้ง

- ครั้งที่สอง ในระยะออกดอก กำจัดต้นข้าวที่ออกดอกผิดเวลากับต้นข้างเคียง อย่าเสียดายเหลือไว้แต่ข้าวที่ออกดอกพร้อมกัน

- ครั้งที่สาม ระยะที่เมล็ดข้าวส่วนใหญ่สุกเหลือง ต้องตัดข้าวที่มีเมล็ดผิดปกติทิ้ง โดยเฉพาะเมล็ดข้าวที่มีหาง ต้องกำจัดทิ้งโดยเร็ว เพราะเป็นเมล็ดกลายพันธุ์

4. ก่อนทำการเก็บเกี่ยว ควรตรวจดูในแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเห็นว่าต้นข้าวบางต้นยังมีลักษณะผิดไปจากต้นข้าวส่วนใหญ่ เช่น ลำต้นสูงหรือต่ำผิดปกติไปจากต้นอื่นให้เกี่ยวออกต่างหากเมื่อต้นข้าวในแปลงสุกแก่เสมอกันดีให้ทำการเก็บเกี่ยวแล้วนวดทันที ไม่ควรตากข้าวไว้ในนา

5. ในการนวด ถ้าใช้เครื่อง ต้องกำจัดเมล็ดข้าวที่ติดมากับเครื่องออกให้หมดเสร็จแล้วนำข้าวที่นวดตากแดดให้แห้ง ฝัดให้สะอาด เก็บในกระสอบหรือวัสดุอื่นเก็บรักษาไว้ในที่แห้งร่มเย็นสูงจากพื้นอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อรอการนำไปทำพันธุ์ต่อไป

การเก็บรักษาข้าวไว้ทำพันธุ์ มีวิธีเก็บรักษาไม่แตกต่างจากการเก็บรักษาข้าวเพื่อรอการจำหน่าย แต่เนื่องจากการเก็บรักษาข้าวไว้ทำพันธุ์มีจุดประสงค์เพื่อนำเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในรายการต่อ ๆ ไปดังนั้น จึงต้องการความประณีตในการเก็บรักษามากกว่า เพื่อเสริมให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่ดีตามคุณลักษณะที่กำหนด โดยการเก็บไว้ในกระสอบขณะที่ความชื้นไม่ควรเกิน 14 % แล้วบรรจุไว้ในยุ้งฉางที่ระบายอากาศได้ดี และสามารถป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ เกษตรกรควรมีป้ายบอกชื่อพันธุ์ วันเดือนปีที่เก็บเกี่ยว และข้อความอื่น ๆ ที่จำเป็นผูกติดไว้ทุกกระสอบ ตั้งกระสอบเรียงไว้ให้เป็นระเบียบ

อีกวิธีที่สามารถกระทำได้ในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ คือเก็บไว้ในกระพ้อม ที่ป้องกันสัตว์ แมลงศัตรูข้าวได้ โดยเก็บไว้ใต้ถุนบ้าน มีฝาปิดเรียบร้อย หรือในกรณีที่เมล็ดพันธุ์มีน้อย เกษตรกรสามารถเก็บรักษาไว้ในปี๊บ หรือภาชนะที่ป้องกันความชื้นได้ ปิดฝาให้แน่น ที่สำคัญคือข้าวเปลือกที่นำมาเก็บรักษาจะต้องลดความชื้นให้เหลือ 12-14% จะช่วยให้รักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ได้อย่างดี

อนึ่ง ข้าวเปลือกที่เกษตรกรจะนำมาเก็บรักษาไว้ทำพันธุ์นี้ ควรที่จะต้องผ่านการคัดเลือกตามหลักการคัดพันธุ์มาแล้วอย่างดี คือ เป็นพันธุ์แท้ มีความสมบูรณ์ทุกเมล็ด ปราศจากการทำลายของแมลงศัตรูพืช หากเกษตรกรปฏิบัติได้ดังนี้ก็จะมีเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีไว้ปลูกได้ทุกๆปี แน่นอน

(ข้อมูลจากกองส่งเสริมพืชไร่นากรมส่งเสริมการเกษตร)
โทร. 0-2940-6079, 0-2579-3787
โทรสาร. 0-2579-1981


มิติใหม่แห่งนาข้าว :
หลักการและเหตุผล :

ปุ๋ย คือ ธาตุอาหารสำหรับพืช ในการเพาะปลูกเมื่อคิดจะปฏิเสธสารอาหารที่เรียกว่า “ปุ๋ยเคมี” ก็ต้องหาสารอาหารที่เป็นปุ๋ยอย่างอื่นมาแทน เพราะพืชมีความจำเป็นต้องได้สารอาหารเพื่อการพัฒนาตัวเอง ในปุ๋ยเคมีมีสารอาหารอะไร ในปุ๋ยที่จะมาแทนก็จะต้องมีสารอาหารตัวนั้น ครบถ้วนทุกตัวและในปริมาณที่พอเพียงด้วย ตามหลักวิชาการหรือทฤษฎี เราสามารถรู้ได้ว่าต้นข้าวตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยในปริมาณเท่าใดเพื่อการเจริญเติบโต ด้วยวิธีตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (LAB) ทางเคมีเท่านั้น แต่เนื่องจากในทางปฏิบัติจริง การตรวจวิเคราะห์เป็นสิ่งยุ่งยากมากเกินกว่าที่ชาวนาจะเข้าถึงได้ เพราะทุกขั้นตอนต้องพึ่งพาระบบราชการเป็นหลัก

ความเป็นจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ คือ ในระบบราชการนั้น “นโยบาย” กับ “การปฏิบัติ” มักจะสวนทางกันอยู่เสมอ ปุ๋ยเคมีในกระสอบที่เป็นสารอาหารของต้นข้าวมีเพียง “ธาตุหลัก” เท่านั้น ในขณะที่ต้นข้าวยังต้องการ ธาตุรอง. ธาตุเสริม. และฮอร์โมน. ซึ่งปุ๋ยเคมีในกระสอบไม่มีธาตุอาหารเหล่านี้ หรือมีแต่ไม่มากเนื่องจากบริษัทผู้ผลิตใส่เติมให้แต่ก็ต้องจ่ายเงินซื้อแพงขึ้น ในต้นพืชในแปลงนา ได้แก่ ฟาง. หญ้า. วัชพืช. ซึ่งพืชเหล่านี้เคยได้อาศัยปุ๋ยของต้นข้าวไปพัฒนาตัวเอง เมื่อไถกลบแล้วเน่าสลายก็จะกลายเป็นปุ๋ย เรียกว่า “ปุ๋ยอินทรีย์ หรือ ปุ๋ยพืชสด” ปุ๋ยเหล่านี้ถือเป็นสารอาหารพืชชนิดหนึ่ง เรียกว่า “อินทรีย์สาร หรือ สารอินทรีย์” ซึ่งนอกจากใช้เป็นปุ๋ยสำหรับต้นข้าวโดยตรงได้แล้ว ยังช่วยปรับปรุงสภาพโครงสร้างดิน และจุลินทรีย์ อีกด้วย

นาข้าวเนื้อที่ 1 ไร่ ได้ผลผลิต 100 ถัง ฟางที่เหลือเมื่อนำมาตรวจวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารแล้วพบว่ามี ไนโตรเจน 32 กก. ฟอสฟอรัส 22 กก. โปแตสเซียม 8 กก. แคลเซียม 14 กก. แม็กเนเซียม 6 กก. กำมะถัน 2 กก. ซิลิก้า 13 กก. ธาตุอาหารต่างๆที่กล่าวรวมกันติดไปกับเมล็ดเพียง 2 กก.เท่านั้น
(ที่มา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ในปุ๋ยน้ำชีวภาพสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน มีส่วนผสม 2 ประเภท ได้แก่ ส่วนผสมที่เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากกระบวรการย่อยสลาย “ปลาทะเล. ไขกระดูก. เลือด. มูลค้างคาว. นม. น้ำมะพร้าว. ฮิวมิค แอซิด. จุลินทรีย์. อะมิโนโปรตีน. ฮอร์โมนธรรมชาติ. สารท็อกซิค.” กับส่วนผสมที่เป็นสารอาหารจากปุ๋ยเคมีประกอบด้วย “ธาตุหลัก. ธาตุรอง. ธาตุเสริม. ฮอร์โมนวิทยาศาสตร์” ซึ่งได้ใส่เติมเพิ่มลงไปก่อนใช้งาน เพื่อชดเชยปริมาณสารอาหารในสารอินทรีย์ซึ่งอาจจะมีน้อยให้พอเพียงต่อความต้องการที่แท้จริงของต้นข้าว ต้นข้าวก็เหมือนกับพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียวอื่นๆ

จากประสบการณ์ตรงที่เคยพบว่าพืชประเภทนี้ต้องการสารอาหารกลุ่มปุ๋ยเคมีเพียง 1 ใน 10 ของอัตราที่เกษตรกรนิยมใช้ ต้นข้าวก็เหมือนกับพืชทั่วๆไปที่รับสารอาหารได้ 2 ทาง คือ ปากใบและปลายราก การได้รับสารอาหารแบบ “ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง สม่ำเสมอ” น่าจะชดเชยปริมาณปุ๋ยเคมีที่ลดลงได้ กอร์ปกับช่วงที่ต้นข้าวกำลังเจริญเติบโตในแต่ละระยะนั้น ลักษณะทางสรีระวิทยาพืช (ต้นข้าว) จะบ่งบอกว่าปริมาณสารอาหารหรือปุ๋ยทางดินเพียงพอหรือไม่ หากไม่พอก็สามารถเติมเพิ่มภายหลังได้ นาข้าวแบบนาดำด้วยรถดำนานอกจากจะให้ผลผลิตทั้งคุณภาพและปริมาณสูงกว่านาหว่าน (หว่านด้วยมือ หรือหว่านด้วยเครื่องพ่นเมล็ด) แล้ว การปฏิบัติบำรุงและการป้องกันโรคและแมลงยังง่าย ประหยัดเวลา และแรงงานอีกด้วย


เป้าหมายทำนาข้าว เพื่อ....
1. ขายพันธุ์ข้าวปลูกให้แก่ชาวนาแปลงใกล้เคียง
2. สีเป็นข้าวกล้องบรรจุถุง
3. สีเป็นข้าวกล้องแล้วแปรรูปเป็นน้ำกาบา
4. ขายให้โรงสีเป็นข้าวอินทรีย์
ภายใต้สภาพโครงสร้างดินดี ตามสเป็คกรมพัฒนาที่ดินกำหนด จำนวนปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปในดินให้แก่พืชแต่ละครั้งนั้น ต้นพืชสามารถนำไปใช้ได้จริงเพียง 4 ใน 10 ส่วนเท่านั้น ซึ่งเท่ากับเหลือตกค้างอยู่ในเนื้อดิน 6 ใน 10 ส่วน ของ
ทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ยลงไป

การใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในเนื้อดินทุกปี ต่อเนื่องหลายๆปี จึงเท่ากับได้มีปุ๋ยเคมีส่วนหนึ่งเหลืออยู่ในเนื้อดินแล้ว ปุ๋ยส่วนนี้พร้อมให้ต้นข้าวนำไปใช้งานได้อยู่แล้ว จัดทำปฏิทินการปฏิบัติบำรุงต่อต้นข้าวระยะต่างๆ แล้วปฏิบัติตามปฏิทิน
อย่างเคร่งครัด เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือในการควบคุมน้ำให้พร้อมใช้อยู่เสมอ จัดทำบัญชีฟาร์ม ส่วนที่ซื้อ. ส่วนที่ทำเอง (ต้นทุน). ค่าแรง (จ้าง). ค่าแรง (ทำเอง). ฯลฯ


ข้อสังเกต.... ผู้จำหน่ายปุ๋ยเคมีมักอ้างว่า “ปุ๋ยเคมีช่วยเพิ่มผลผลิต” แต่ในแปลงนาข้าวแห่งหนึ่ง ใส่ปุ๋ยเคมี 10 กก. /ไร่ /รุ่น ได้ผลผลิต 100 ถัง ในขณะที่แปลงข้างเคียงใส่ปุ๋ย 50 กก. /ไร่ /รุ่น ซึ่งใส่มากกว่า 5 เท่า กลับได้ผลผลิตเท่ากัน....ข้อสงสัยก็คือ ในเมื่อใส่ปุ๋ยเคมีมากกว่า 5 เท่า แล้วทำไมจึงไม่ได้ผลผลิต 500 ถัง....ในขณะเดียวกัน ผู้จำหน่ายปุ๋ยเคมีมักไม่กล่าวถึง “หลักธรรมชาติ” ว่าด้วยเรื่อง ปุ๋ยเดิมเหลือตกค้างในดิน. การปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้ดินตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี. การเพิ่มธาตุรอง. ธาตุเสริม. ฮอร์โมน. และอื่นๆ เพื่อให้ต้นข้าวได้รับธาตุอาหารครบถ้วนที่สุด.

สรุป :
1. ลดสารอาหารจากปุ๋ยเคมี (ธาตุหลัก) ทางดิน แล้วเพิ่มด้วยสารอาหารจากปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรเลือกสรรวัสดุส่วนผสมพิเศษ

2. เพิ่มปุ๋ย (ธาตุหลัก-ธาตุรอง-ธาตุเสริม-ฮอร์โมน) ทางใบ
3. ปรับช่วงการให้โดยให้ทางใบ ทุก 5-7 วัน


----------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©