kimzagass หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11785
|
ตอบ: 26/06/2022 4:57 pm ชื่อกระทู้: * สปริงเกอร์สไตล์ไร่กล้อมแกล้ม |
|
|
.
.
จาก : (093) 729-14xx
ข้อความ : ขอความรู้เรื่องสปริงเกอร์สไตล์ไร่กล้อมแกล้มครับ
จาก : (084) 117-93xx
ข้อความ : สปริงเกอร์ไร่กล้อมแกล้มมีกี่แบบครับ
บ่น :
คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ....ฟันธง !
68. เทคโนฯ เครื่องทุ่นแรง-1 :
- งานอุตสาหกรรมพยายามเสาะแสวงลงทุน เปิดรับ เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงใหม่ๆ เสมอ
- งานเกษตรกรรมปิดรับ เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงทุกชนิด อย่างสิ้นเชิง
- งานอุตสาหกรรม พยายามสร้างผลผลิตให้ ล้ำหน้า คู่แข่ง 1 ก้าวเสมอ
- งานเกษตรกรรม ทำตามคนอื่นๆ ถึงขนาดบอก แถวนี้ไม่มีใครทำ
- งานอุตสาหกรรมเอาความรู้วิชาการมาบริหาร-จัดการ เสมอ ตั้งเริ่มต้นจนจบ
- งานเกษตรกรรม บริหาร-จัดการ แบบเดิมๆ ตามประเพณี ตามข้างบ้าน ตามโฆษณา
- สวนยกรองน้ำหล่อ รดน้ำด้วยเรือปากเป็ด ใช้เวลาเช้ายันเที่ยงบ่าย ให้น้ำได้อย่างเดียว ให้ ปุ๋ย/ยา ต้องสะพายเป้ลากสายยางต่างหาก งานนี้ ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/คาเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ เท่าไหร่ ?
- คิดใหม่-ทำใหม่ ปรับร่องเป็นน้ำเลี้ยงปลา ปลาละร่องๆ เลี้ยงผักบุ้งทอดยอดเย็นตาโฟ เลี้ยงผักกะเฉด ทำค้างคร่อมร่องปลูกมะระฟักเขียวบวบ ได้พื้นที่ คืน/เพิ่ม อีกไม่น้อย
- สปริงเกอร์ หัวสปริงเกอร์อยู่เหนือยอด (ไม้พุ่ม) หรืออยู่เหนือค้าง (ไม้ขึ้นค้าง) น้ำสัมผัสใบแล้วหล่นลงพื้น เท่ากับได้ 2 เด้ง .... ที่สันแปลงติด สปริงกอร์-หม้อปุ๋ย ช่วยประหยัด ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์
- ไม่คิด ไม่ยอมรับ ทั้งๆที่รู้ ใช้หม้อปุ๋ยฉีดพ่นสารสมุนไพรอย่างเดียว รุ่นเดียว ก็คุ้มต้นทุน
69. เทคโนฯ เครื่องทุ่นแรง-2 :
- สปริงเกอร์ หัวแรกออกแรง หัวกลางออกกลาง หัวท้ายออกค่อย ใช้รดน้ำอย่างเดียวยังไม่ 100% ปล่อย ปุ๋ย/ยา ไปกับสปริงเกอร์ไม่ได้ แบบนี้ถือว่าไม่คุ้มค่า
- ลูกจบปริญญา มีสวนไม้ผลขนาดใหญ่ ปล่อยพ่อแม่ทำ ติดสปริงเกอร์เฉพาะโคนต้นให้น้ำ แต่ลากสายยางฉีดพ่นทางใบต่างหาก ต้นทุน ค่ากตัญญู/ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ หมดไปอย่างไม่สมเหตุสมผล
- แอร์บลาสส์คันละล้าน (ตัวแอร์บลาสส์ 5 แสน ตัวแทร็คเตอร์ลาก 6 แสน) ต้องเว้นพื้นสวนให้เป็นถนน (เสียพื้นที่) ทำงานได้เฉพาะเวลาเท่านั้น ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ มากกว่าสปริงเกอร์
- โดรนคันละแสน บรรทุกน้ำผสม ปุ๋ย/สารเคมี/สารสมุนไพร ได้ครั้งละ 10 ล. ปริมาณน้ำเท่านี้ ทำงานฉีดพ่นได้ครั้งละไม่กี่ ตร.ว. หรือเนื้อที่ 10 ไร่ (สมมุติ) ต้องสั่งโดรน ขึ้น-ลง กี่ครั้ง ค่าไฟฟ้า/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ ไม่ใช่น้อย
ตอบ :
สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ย :
วันนี้ เทคโนโลยี สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย ไม่ใช่เครื่องมือรดน้ำธรรมดาๆ เท่านั้น แต่ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน เทคนิคการให้ปุ๋ย/ฮอร์โมน (ทางใบ/ทางราก) ไปพร้อมกับน้ำ ให้ยา (สมุนไพร/เคมี) ไปพร้อมกับน้ำ ทั้งหมดนี้มิใช่แค่ให้อย่างใดอย่างหนึ่งทีละอย่างเดียว แต่ให้ไปพร้อมกันทั้ง 2อย่าง 3อย่าง 5อย่างเลยก็ได้ .... วางแผนจัดแปลงเป็นโซนๆ แปลงผักโซนละ 1 ไร่ ไม้ผลยืนต้นโซนละ 20-50 ต้น แต่ละโซนใช้เวลา 5-10 นาที แรงงานคนเดียว
ประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน :
ให้ทางใบ ฉีดพ่น ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยาสมุนไพร/น้ำเปล่า ได้ตามวัน เวลา และระยะเวลาที่ต้องการ การให้ปุ๋ยทางใบที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้องให้ตอนปากใบเปิด (10 โมงเช้า ถึงบ่าย) .... การฉีดพ่นสารสมุนไพร เช่น ฉีดพ่นตอนเช้ามืดก่อนสว่างเพื่อล้างน้ำค้าง, ฉีดพ่นตอนเที่ยงเพื่อกำจัดเพลี้ยไฟ ไรแดง, ฉีดพ่นตอนหลังค่ำเพื่อไล่แมลงแม่ผีเสื้อที่จะเข้ามาวางไข่ หรือป้องกันกำจัดแมลงปากกัดปากดูดที่มาตอนกลางคืน,
ให้ทางราก น้ำเปล่า/น้ำหมักชีวภาพ/ปุ๋ยเคมี ตามวัน เวลา และระยะเวลาที่ต้องการ
ติดตั้งระบบสปริงเกอร์ครั้งหนึ่ง อยู่นานใช้งานได้ 10-20-30 ปี
การให้ปุ๋ยไปกับระบบสปริงเกอร์แบบนี้ อเมริกาทำมานานกว่า 50 ปีแล้ว เรียกว่า การให้ปุ๋ยทางท่อ หรือ การให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำ
หม้อปุ๋ยหน้าโซน V.S. ถังปุ๋ยที่ปั๊ม :
หม้อปุ๋ยหน้าโซน : ความจุเนื้อ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา สำหรับจำนวนต้นเฉพาะในโซน, สูตรเฉพาะไม้โซนนั้น, ไม่มีเนื้อปุ๋ยตกค้างในท่อ, ใช้แรง งานคนเดียว, ราคาแพง,
ถังปุ๋ยที่ปั๊ม : ความจุเนื้อ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา สำหรับจำนวนต้นไม้ทั้งแปลงที่สปริงเกอร์ไปถึง, สูตรเดียวกันทั้งสวน, มีเนื้อปุ๋ยตกค้างในท่อ, แปลงใหญ่มากตกค้างในท่อมาก, ใช้แรงงาน 2 คน, เนื้อปุ๋ยกัดลูกยางซีลปั๊ม, ราคาถูก,
ให้น้ำเปล่า, น้ำ+ปุ๋ย, น้ำ+ยา, น้ำ+ปุ๋ย+ยา, ยาสมุนไพร-ยาเคมี ใช้ได้ทั้งนั้น ทำงานครั้งละ 3-5-10 นาที แรงงานคนเดียว ติดตั้งครั้งเดียวใช้งานได้ 10-20-30 ปี คุ้มเกินคุ้มนะ
ไม้ผลแบ่งเป็นโซน ๆละ 50 ต้น ให้ น้ำ, น้ำ+ปุ๋ย, น้ำ+ยาสมุนไพร, น้ำ+ปุ๋ย+ยาสมุนไพร มีหม้อปุ๋ยประจำหน้าโซน ทำงานให้ทางใบครั้งละ 3-5 นาที ให้ทางรากครั้งละ 5-10 นาที ต่อการทำงาน 1 รอบ
เปรียบเทียบ : ลากสายยาง 50 ต้น ๆละ 5 นาที = 250 นาที/ครั้ง VS สปริงเกอร์ 50 ต้น ใช้เวลา 5 นาที = 5 นาทีไฟฟ้า/ครั้ง
สรุป : ลงทุนครั้งเดียว ทำงาน 5ปี 10ปี 20ปี ต้นทุนค่าไฟฟ้า ค่างแรง ประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน ความเครียดในการทำงาน เครดิตความน่าเชื่อถือ .... ต่างกันเท่าไหร่ ?
สปริงเกอร์สั่งได้ :
ตี. 5 ....................ป้องกัน/กำจัด ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
สาย : ................... ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน
เที่ยง: .................. ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง
ค่ำ : .................... ป้องกันแม่เสื้อเข้าวางไข่ ไข่แมลงฝ่อ ฆ่าหนอนที่ออกหากินกลางคืน
กลางวัน-กลางคืน : .... ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ ทุกวัน วันต่อวัน วันเว้นวัน ทำได้ตามต้องการ
กลางวันฝนตก :
..... ก่อนฝนตกหรือหลังฝนหยุด ให้ปุ๋ยทางใบป้องกันการแตกใบอ่อน
กลางวันฝนตก : ..
... ฝนหยุดแดดออก (ฝนต่อแดด) ล้างน้ำฝน ป้องกัน/กำจัด แอ็นแทร็คโนส, ไม้ผล ระยะสะสมตาดอก หรือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช
เปรียบเทียบสปริงเกอร์ :
- ราคา
- อายุใช้งาน
- ต้นทุนแรงงาน (ทำเอง/จ้าง)
- ต้นทุนพลังงาน (ไฟฟ้า/น้ำมัน)
- ต้นทุนเวลาที่ทำงาน
- ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของเนื้องาน
- สุขภาพร่างกาย (คนใช้/คนกิน)
- เครดิตความน่าเชื่อถือ (สังคม/ทั่วโลก)
- สปริงเกอร์ คือ เครื่องฉีดพ่นที่ไม่ธรรมดา เพราะนอกจากฉีดพ่นน้ำ น้ำเปล่าๆ ปรับ/ปรุง/เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก เป็น น้ำ+ปุ๋ย+ยา+ฮอร์โมน อย่างเดียว หรือหลายอย่างรวมกันไปพร้อมกันได้ ด้วยสโลแกนที่ว่า ประหยัด เวลา/แรงงงาน/พลังงาน/อารมณ์ เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน สร้างเครดิตความน่าเชื่อถือ
- ต้นสูง สูงมากสูงน้อย สปริงเกอร์ให้ปุ๋ยทางใบก็ต่อท่อจากพื้นให้สูงขึ้น สูงขึ้นไปให้ถึงยอด สูงกว่ายอดประมาณ 50 ซม. ถ้ามีหลายหัวในต้นเดียวกันหรือในโซนเดียวกัน ก็ให้ทุกหัวสูงเท่าๆกัน หรือ สูง/ต่ำ กว่ากันไม่เกิน +/- 10% ของความสูง .... แค่นี้ไม่พอ ต้องมีระบบวางท่อให้เป็นแบบมี แรงดัน-แรงอัด สายน้ำหมุนวนแบบไฟฟ้าที่เรียกว่า อนุกรม อีกด้วย ไม่ทำแบบนี้ น้ำพ่นออกที่หัวสปริงเกอร์เหนือยอดจะไม่แรง แต่ละหัวแรงไม่เท่ากัน ปล่อย ปุ๋ย/ยา ไปกับสปริงเกอร์ไม่ได้
- ที่ RKK เคยมีต้นมะม่วงติดมากับสวน สูงเท่าสันจั่วบ้าน 2 ชั้น (9-10 ม.) ขนาดทรงพุ่มเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-7 ม. (2 คนโอบ) จำนวน 3 ต้น ติดสปริงเกอร์เหนือยอดต้นละ 2 หัว เปิดน้ำแล้วคนไปยืนโคนต้นเปียกเหมือนฝนตก
- สปริงเกอร์ RKK แบบ กะเหรี่ยงหน้ามืด วางท่อเดี่ยววิ่งผ่านโคนต้นทุกแถว ติดวาวล์คู่ทางใบทางรากประจำต้นที่โคนต้นทุกต้น จะให้ทางใบเปิดวาวล์ทางใบปิดวาวล์ทางราก จะให้ทางรากเปิดวาล์วทางรากปิดวาวล์ทางใบ 1 โซน 50 ต้น เดินเปลี่ยนวาวล์ทีละต้นๆ ๆๆ 3 ก้าวก้มๆ แค่ 20 ต้นหน้ามืด....หน้าโซนมีหม้อปุ๋ย....ในโซนมีวาวล์ล้างท่อรวม
- สปริงเกอร์ RKK แบบ กะเหรี่ยงเจ้าพระยา วางท่อคู่วิ่งผ่านโคนต้น ท่อสำหรับทางใบ 1 ท่อ ท่อสำหรับทางราก 1 ท่อ ติดวาวล์คู่ ทางใบ-ทางราก ที่หน้าโซน จะให้ทางใบเปิดวาวล์ทางใบปิดวาวล์ทางราก จะให้ทางรากเปิดวาล์วทางรากปิดวาวล์ทางใบ 1 โซน 50 ต้น เปลี่ยนวาวล์ที่เดียวครั้งเดียวหน้าโซน....หน้าโซนมีหม้อปุ๋ย....ในโซนมีวาวล์ล้างท่อ แยกทางใบทางราก
- สปริงเกอร์ RKK แบบ กะเหรี่ยงคอยาว หัวสปริงเกอร์สูงกว่าต้น พ่นน้ำ 90 องศา พื้นราบ กระจายทั่วทรงพุ่ม
- สปริงเกอร์ RKK แบบ กะเหรี่ยงหน้าง้ำ หัวสปริงเกอร์สูงกว่าต้น พ่นน้ำคว่ำลง ครอบขนาดทรงพุ่มพอดีต้นเดียว
- สปริงเกอร์ RKK แบบ กะเหรี่ยงลอยฟ้า หัวสปริงเกอร์อยู่เหนือต้น พ่นน้ำลงมาตรงๆ หรือพ่นรอบตัว
- สปริงเกอร์ RKK แบบ กะเหรี่ยงปากเป็ด หัวสปริงเกอร์แบบพ่นน้ำด้านเดียว
- สปริงเกอร์ RKK แบบ ไม่มีกรอง ล้างตัวเองได้ ระบบกรองประจำโซนแต่ละโซนทุกโซน กับระบบกรองที่หัวกะโหลก (ในสระน้ำ) สนนราคาอันละ 3 บาท (มั้ง...) .... หม้อกรองอิสราเอล อันละเป็นหมื่น (+) หม้อกรองไต้หวันทำเทียม อันละพัน (+)
- สปริงเกอร์ RKK วางท่อแบบ แรงดัน-แรงอัด 3ครึ่ง-3-2-1-ครึ่ง โซนห่างจากปั๊ม 200 ม. (ตลับเมตรวัด) ขนาดโซน 50 ต้นเหมือนโซนติดปั๊ม แรงพ่นน้ำแต่ละต้นยังรัศมี 3 ม. (ผ่าศูนย์กลาง 6 ม.) เท่ากับโซนแรกติดปั๊ม
- สปริงเกอร์ RKK วันนี้ แบ่งเป็นโซนๆ ทั้งสวนรวม 20 โซน ประมาณการแล้วว่าสามารถเพิ่มพื้นที่ออกไปได้อีก 20 โซนสบายๆ เพราะระบบ แรงดัน-แรงอัด 3-2-1-ครึ่ง นี่เอง
- สปริงเกอร์ RKK วางท่อแบบ อนุกรม (ไฟฟ้า) ใน 1โซน 50หัว หรือ 1โซน 7แถว ๆละ 7หัว = 49หัว หรือ 49ต้น เปิดวาวล์รวมตัวเดียวคลุมได้ทั้งโซน พ่นน้ำออกที่หัวสปริงเกอร์รัศมี 3 ม. (ผ่าศูนย์กลาง 6 ม.) เท่ากันทุกหัว หัวไหนพ่นน้ำค่อยแสดงว่าหัวนั้นเสียให้เปลี่ยนหัว ....
- สปริงเกอร์ RKK วางท่อแบบ ขึงหัว ขึงท้าย ในแต่ละโซนไม้ที่ปลูกเป็นแถวแล้ววางท่อตามแนวโคนต้นทุกต้น รวม 7 แถวของ 1 โซน ที่ปลายท่อด้านหัวแถวของทุกแถวเชื่อมต่อกันด้วยท่อขนาด 1 นิ้ว (เรียกว่า "ขึงหัว") กับปลายท่อด้านท้ายแถวของทุกแถวเชื่อมต่อกันด้วยท่อขนาด 1/2 นิ้ว (เรียกว่า "ขึงท้าย") ซึ่งการ "ขึงหัว ขึงท้าย" นี้ คือ หัวใจที่ทำให้น้ำถูกดันออกที่หัวสปริงเกอร์เท่ากันทุกหัวของทั้งโซน
สปริงเกอร์แบบเป็นแถว หัวแถวมีวาวล์แถวใครแถวมัน เปิดกี่แถวได้เท่านั้นแถว เปิดวาวล์แล้วหัวแรกแรง แรงมาก หัวกลางออกกลาง หัวท้ายออกค่อย ค่อยมาก ไม่ออกเลย แบบนี้ให้น้ำออกไม่เท่ากันทั้งๆที่อยู่ในแถวเดียวกันด้วยซ้ำ บางคนแก้ไขโดยการใส่วาวล์ซ้อนที่ท่อตั้งติดหัวสปริงเกอร์เวลาทำงานจะลดวาวล์ซ้อนที่หัวแถว เพื่อให้เหลือแรงดันน้ำไปให้หัวปลายแถวแบบนี้เรียกว่า เกือบใช่ ที่สำคัญ แบบนี้ปล่อย ปุ๋ย/ยา/ฮอร์โมน ไปพร้อมกับระบบน้ำ หรือไปทางท่อไม่ได้
- สปริงเกอร์ RKK เปิดน้ำโซนเดียวแรงพ่นน้ำได้ รัศมี 3 ม. หรือผ่าศูนย์กลาง 6 ม. แต่ถ้าเปิดน้ำพร้อมกัน 2 โซน (98หัว หรือ 98ต้น) แรงพ่นน้ำได้รัศมี 1.5 ม. หรือผ่าศูนย์กลาง 3 ม. ถ้าเป็นการให้ทางใบ ความกว้างรัศมีพ่นน้ำขนาดนี้อาจจะไม่พอ แต่ถ้าเป็นการให้ทางราก ความกว้างรัศมีพ่นน้ำขนาดนี้อาจจะ (เน้นย้ำ....อาจจะ) พอ
- สปริงเกอร์ RKK ถังปุ๋ยที่ปั๊ม 1 ถัง ใส่ปุ๋ย สูตรเดียว สำหรับทุกโซนตามระยะพัฒนาการของพืช
- สปริงเกอร์ RKK แบบ ยาวตัด-สั้นต่อ-ไม่พอซื้อ-ไม่ดีรื้อทำใหม่ (ซาเล้งร้องไห้ เพราะเอาไป REUSE ใช้ใหม่ไม่ได้....)
- สปริงเกอร์ RKK ใช้งานมาแล้ว 10 ปี คาดว่าจะใช้ได้ต่ออีก 10-20-30 ปีได้
- สปริงเกอร์ RKK ตรวจว่า น้ำ + ปุ๋ย + ฯลฯ ส่งไปตามท่อกระจายทั่วแปลง (โซน) โดยตัดท่อที่พื้นราบแล้วต่อเชื่อมด้วยกระบอกแก้วใส 2-3-4 จุด เมื่อเปิดวาวล์ทำงานจะเห็นน้ำเป็นสีชัดเจน เท่ากันทุกจุด
- สปริงเกอร์ RKK ทดสอบอาการ กระจายเนื้อปุ๋ย โดยละลายน้ำผสมยิบซั่มใส่ลงหม้อปุ๋ย แล้วเปิดวาวล์ทำงานปกติ ใช้น้ำละลายยิบซั่ม มาก/น้อย ตามต้องการ เสร็จแล้วปล่อยให้พื้นในแปลงแห้ง จะเห็นผงยิบซั่มติดที่ยอดหน้าหน้าดินขาวโพลนทั่วทั้งแปลง
- หม้อปุ๋ยหน้าโซนแบบ เวนจูรี่ (สมช.ทำงานแท่นเจาะน้ำมันในอ่าวไทยบอก เพราะระบบทำงานเป็นสุญญากาศเหมือนกัน) เปิดวาวล์เปิดหม้อปุ๋ยทำงาน แรงดันรัศมีพ่นน้ำไม่ลด ( 1 โซน 3 ม., 2 โซน 1.5 ม.) .... แต่หม้อปุ๋ย MADE IN USA รง.บางปู สมุทรปราการ ราคาอันละ 20,000 ส่งออก ตปท. เปิดวาวล์เปิดหม้อปุ๋ยทำงาน เปิดโซนเดียว แรงดันรัศมีพ่นน้ำลดลงครึ่งหนึ่งทันที
- หม้อปุ๋ยหน้าโซน 1 หม้อ 1 โซน เพื่อแยก สูตรปุ๋ย สำหรับแต่ละโซนตามระยะพัฒนาการของพืช
- หม้อปุ๋ยหน้าโซน ปริมาณปุ๋ยชนิดน้ำสำหรับไม้ผล 1 โซนคำนวนจาก ทดสอบใช้ปุ๋ยทางใบอัตราปกติ 20 ซีซี.+ น้ำ 20 ล. ในเป้สะพาย ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่มทั้งใต้ใบบนใบได้กี่ต้น ฉีดพ่นให้ครบทุกต้นใน 1 โซนแล้วรวมว่าใช้ทั้งหมดกี่เป้ สมมุติว่าใช้ 6 เป้ นั่นคือ ไม้ผลโซนนี้ใช้ปุ๋ยทางใบ 120 ซีซี. (เป้ละ 20 ซีซี.) ว่าแล้ว ให้เติมปุ๋ยน้ำทางใบที่จะให้แก่ไม้ผลโซนนั้น 120 ซีซี. +/- นิดหน่อย ไม่มีปัญหา
- หม้อปุ๋ยหน้าโซน RKK ถึงวันนี้มีกว่า 10 VERSION แล้วกับที่ยังอยู่ในหัวอีกหลาย VERSION ทุก VERSION ลุงคิมคิดเอง จดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2687
ระบบน้ำไร่กล้อมแกล้ม
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5892&sid=33450de97c9bc3d1b736850ae860c096
สมช.เคยมาเรียนเรื่องหม้อปุ๋ยหน้าโซนที่ RKK
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6049&sid=52f4ce0e7e65ab76b75fa70746e7fa99
เรียนทำ ปุ๋ย/ยา-สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย
-----------------------------------------------------------------------------------------
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/02/2025 5:32 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|