kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 04/08/2022 10:31 am ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน3ส.ค. * วิธีดูจุลินทรีย์ |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 3 ส.ค.
***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
[i]
- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 6 ส.ค. จะไปวัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี.... งานนี้ขอบอกว่า งด เพราะมีงานด่วน ด่วนมากในวันนี้ ที่ไร่กล้อมแกล้ม .... สำหรับ สมช.ที่ต้องการปุ๋ยแบบเร่งด่วนก็ติดต่อมาได้ จะไปส่งให้เป็นกรณีพิเศษ
****************************************************************
****************************************************************
จาก : (093) 772-61xx
ข้อความ : รู้ได้ไง จุลินทรีย์ ซื้อหรือทำเอง ดีหรือไม่ดี
จาก : (089) 276-01xx
ข้อความ : ขอวิธีดูจุลินทรีย์ ยังใช้การได้
บ่น :
เกษตรกรอิสราเอลปลูกพืชอายุสั้นในถุง ใช้วัสดุปลูกเป็นทรายล้วน เป็นทรายฆ่าเชื้อด้วยความร้อนกำจัดสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งจุลินทรีย์มีประโยชน์และจุลินทรีย์เชื้อโรค เกษตรกรไม่พึ่งพาจุลินทรีย์สร้างสารอาหารให้พืชแต่เป็นคนให้สารอาหารทุกอย่างแก่พืชเอง เพราะเกรงว่าจะมีจุลินทรีย์เชื้อโรคแฝงเข้ามาอยู่ด้วย....
เหมือนไฮโดรโปรนิกส์ ที่มีแต่สารอาหารจากฝีมือคน ไม่มีสารอาหารจากฝีมือจุลินทรีย์เลย [/color
ตอบ
อ้างอิง : หัวใจเกษตรไท MINI ห้อง 1 ปุ๋ย-ยา-จุลินทรีย์
จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร :
บทบาทของจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร :
1. ย่อยสลาย (กิน) อินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุแล้วถ่ายมูลออกมาเรียกว่า "กรดอินทรีย์" ส่วนที่เป็นธาตุอาหารพืชซึ่งอยู่ใน "รูป" ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ได้แก่ โพลิตินอล. ควินนอยด์. อโรเมติค. ซิลิลิค. ออแกนิค. ส่วนที่เป็นฮอร์โมนพืช ได้แก่ ออกซิน (ไซโตคินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. เอทธิลิน. อีเทฟอน. อีเทรล. แอบซิสสิค. เอบีเอ. ไอเอเอ. เอ็นเอเอ. ฯลฯ) และส่วนที่เป็นท็อกซิก. ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อโรคพืชได้
2. ปรับค่าความเป็น กรด-ด่าง ของดิน ทำให้ดินเป็นกลาง
3. จับยึดธาตุอาหารพืชจากอากาศไปไว้ในตัวเองแล้วปลดปล่อยให้แก่ต้นพืช
4. ปลดปล่อยปุ๋ยเคมีที่ถูกดิน (กรดจัด) ตรึงไว้ให้ออกมาเป็นประโยชน์แก่ต้นพืช
5. ตรึงปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ลงไปไว้แล้วปลดปล่อยให้ออกมาช้าๆ เพื่อให้พืชได้มีเวลาดูดซับไปใช้งานได้ทันทีและสม่ำเสมอ
6. สลายฤทธิ์สารที่เป็นพิษต่อพืชให้เจือจางลงๆ จนกระทั่งหมดไปในที่สุด
7. กำจัดจุลินทรีย์ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเป็นโทษ (เชื้อโรค) ต่อต้นพืช
8. เกิดได้เองตามธรรมชาติภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
[color=red] เกร็ดความรู้เรื่อง "จุลินทรีย์" เพื่อการเกษตร :
1. จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตแต่ไม่ใช่สัตว์หรือพืช เรียกว่า "สัตว์เซลล์เดียว" อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีความชื้นตั้งแต่ระดับความชื้น 1-100 % .... องค์การนาซาได้รายงานว่าพบจุลินทรีย์ในก้อนเมฆ และรายการ ทีวี.ดิสคัฟเวอรี่ แชลแนล ได้ให้ข้อมูลว่า ดิน 1 ลบ.ซม.มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ถึง 78 ล้านตัว
2. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร หมายถึง จุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืชและสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมโดยเฉพาะ
3. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรเกี่ยวกับพืชโดยมีหน้าที่อนุรักษ์ดิน น้ำ สภาพแวดล้อม ผลิตและจัดการธาตุอาหาร กำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคและอื่นๆ ที่เป็นการส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตดี และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ดีภายใต้ความชื้น 25-50%
4. จุลินทรีย์ขยายพันธุ์โดยการแบ่งตัวเองแบบทวีคูณ เช่น 1 ตัวเมื่อโตเต็มที่จะแบ่งตัวเองออกเป็น 2 ตัว และ 2 ตัวเมื่อโตเต็มที่ก็จะแบ่งตัวเองออกเป็น 4 ตัว หรือจุลินทรีย์ 1 แสนตัวเมื่อโตเต็มที่ต่างก็แบ่งตัวเองกลายเป็น 2 แสนตัวเป็นต้น
5. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ แบคทีเรีย. ไวรัส. ยีสต์. และรา. ซึ่งกลุ่มใหญ่ๆ เหล่านี้แยกออกเป็นประเภทต่างๆ อีกหลายประเภท เช่น
- ประเภทที่มีประโยชน์ (ฝ่ายธรรมะ) มีประสิทธิภาพในการสร้างและส่งเสริมปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-อุณหภูมิ-สายพันธุ์-โรค) ให้พืชเจริญเติบโต
- ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเชื้อโรค (ฝ่ายอธรรม) มีประสิทธิภาพในการทำลายปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร ทำให้พืชไม่เจริญเติบโตหรือตาย
- ประเภทไม่ต้องการอากาศ ชอบและอยู่ในดินลึกที่อากาศลงไปถึงได้น้อยหรือไม่มีอากาศเลย แต่ยังเป็นจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืช มีพลังในการย่อยสลายเหนือกว่าจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ
- ประเภทต้องการอากาศ ชอบและอยู่บริเวณผิวหน้าดินที่อากาศผ่านหรือถ่ายเทสะดวก
- ประเภทต้องการความชื้นน้อย เจริญเติบโต ขยายพันธุ์ได้ดีภายใต้สภาพความชื้นน้อยๆ หรือแห้งแล้ง
- ประเภทต้องการความชื้นมาก เจริญเติบโตได้ภายใต้สภาพความชื้นที่เหมาะสม เช่น ชื้นพอดี ชื้นแฉะ น้ำขังค้าง
- ประเภทเกิดได้เร็ว เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมภายใน 3-10 วัน
- ประเภทเกิดได้ช้า เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต้องใช้ระยะเวลานานนับเดือนหรือหลายๆ เดือนทั้งจุลิน
ทรีย์ประเภทเกิดได้เร็วและเกิดได้ช้า ถ้าเป็นจุลินทรีย์ฝ่ายธรรมะย่อมมีประโยชน์ต่อพืชเหมือนๆ กันดังนั้นการใช้จุลินทรีย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงควรใช้ทั้งจุลินทรีย์ประเภทหมักใหม่และหมักนานแล้วร่วมกัน
6. จุลินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์แห้งที่ได้จากการหมักอินทรีย์วัตถุ (ซากพืชและสัตว์) จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์ และมีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงที่อินทรีย์วัตถุเริ่มสลายตัวและอุณหภูมิในกองเริ่มเย็นลง
7. จุลินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้จากการหมักอินทรีย์วัตถุ (ซากพืชและสัตว์) จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์ และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อกระบวนการหมักหมดฟองใหม่ๆ
8. การใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่เกี่ยวกับพืชให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรใช้ "ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง" หรือ "ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ" ที่หมักนานข้ามปีแล้วกับที่หมักใช้การได้ใหม่ๆ ผสมกัน 1:1 จะได้ทั้งจุลินทรีย์ประเภทเกิดเร็วและประเภทเกิดช้า
9. อาหารที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ คือ "รำละเอียด" และ "สารรสหวาน" เช่น กากน้ำตาล น้ำตาลในครัว น้ำหวานในเครื่องดื่มต่างๆในอัตราที่เหมาะสม ปริมาณของสารรสหวานมีผลต่อการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ทั้งสองชนิด กล่าวคือ
- สารรสหวานปริมาณมากเกินจะยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ทั้งจุลินทรีย์ดีและจุลินทรีย์โทษ
-สารรสหวานปริมาณที่น้อยเกินไปจะยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ดีและส่งเสริมการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์โทษ
- สารรสหวานปริมาณที่พอดีจะส่งเสริมการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ดี และยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์โทษ
10. จุลินทรีย์ในถังหมักจะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง และขยายพันธุ์ได้ดีมากภายใต้อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส มีอากาศหมุนเวียน มีสารอาหาร และค่ากรด-ด่างที่เหมาะสมสำหรับชนิดของจุลินทรีย์
11. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่ดีที่สุด คือ "จุลินทรีย์ธรรมชาติ" หรือ "จุลินทรีย์ประจำถิ่น" ซึ่งมีอยู่ในแปลงเกษตรนั้นๆ เป็นจุลินทรีย์ที่อยู่มานานแล้วและจะคงอยู่ที่นั่นต่อไปตราบเท่าที่สภาพแวดล้อมต่างๆ เหมาะสม
12. การบำรุงจุลินทรีย์ประจำถิ่นสามารถทำได้โดยการโรยรำละเอียดบางๆ รดด้วยน้ำเจือจางสารรสหวานพอหน้าดินชื้น ใส่หรือคลุมทับด้วยอินทรียวัตถุ แสงแดดส่องถึงได้เล็กน้อย อากาศถ่ายเทสะดวก มีระดับความชื้นพอดี เมื่อจุลินทรีย์ได้รับสารอาหารและสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์และทำหน้าที่ได้ดีเอง
13. จุลินทรีย์ประเภทที่มีประโยชน์ (ฝ่ายธรรมะ) สามารถดำรงชีวิต (เกิด กิน ขับถ่าย ขยายพันธุ์ และตาย) ได้ดีภายใต้สภาพโครงสร้างดินเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อนๆ......ถ้าเป็นกรดจัดหรือด่างจัดจะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้
14. จุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (ฝ่ายอธรรม) หรือเชื้อโรค สามารถดำรงชีวิต (เกิด กิน ขับถ่าย ขยายพันธุ์ และตาย) ได้ดีภายใต้สภาพโครงสร้างดินที่เป็นกรดจัดหรือด่างจัด....ถ้าดินเป็นกรดอ่อนๆ หรือเป็นกลางจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (เชื้อโรคพืช) นี้จะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้หรือตายไปเอง
15. เนื่องจากพืชกินธาตุอาหารที่เป็นของเหลวด้วยการดูดซึม ไม่สามารถกินอาหารที่เป็นชิ้น แม้ว่าอาหารชิ้นนั้นจะมีขนาดเท่าปลายเข็มก็กินไม่ได้ แต่หากอาหารชิ้นเท่าปลายเข็มนั้นเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวแล้วนั่นแหละพืชจึงจะดูดซึมไปใช้ได้....จุลินทรีย์ คือ ตัวทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารพืชที่สภาพยังเป็นชิ้นๆ (อินทรีย์วัตถุ) ให้กลายเป็นของเหลวจนพืชสามารถดูดซึมผ่านปลายรากไปใช้ได้ จุลินทรีย์จึงเปรียบเสมือน "แม่ครัว" หรือผู้สร้างอาหารของต้นพืชนั่นเอง
16. การดูด้วยสายตาให้รู้ว่าบริเวณใดมีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืช หรือมีจุลินทรีย์ประเภทมีโทษต่อพืช ดูได้จากการเจริญเติบโตของพืชที่ขึ้นในบริเวณนั้น ถ้าระบบรากสมบูรณ์ อวบอ้วน มีจำนวนมาก แสดงว่าดินดี หรือสังเกตุการณ์ตอบสนองของพืชต่อปุ๋ยทางราก ทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยเพียงน้อยนิดแต่ต้นพืชยังเจริญเติบโตได้ดี ก็แสดงว่าดินดีอีกเช่นกัน และการที่ดินดีได้ก็เพราะมีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ (ธรรมะ) ทำหน้าที่อนุรักษ์ให้ในทางตรงกันข้าม ถ้าระบบรากไม่ดีหรือต้นพืชไม่เจริญงอกงามทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยลงไปแล้วก็แสดงว่าดินไม่ดี และดินไม่ดีก็คือดินที่เป็นแหล่งอาศัยของจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (เชื้อโรค/อธรรม) นั่นเอง
17. แหล่งจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ :
- บาซิลลัส ซับติลิส. ............................ มีอยู่ในตาติดเปลือกสับปะรดสด
- ฟังก์จัย. จินเจียงลินซิส. ...................... มีอยู่ในฟางเพาะเห็ด
- คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซา. ......... มีอยู่ในเปลือกถั่วลิสง
- แอ็คติโนมัยซิส. มีอยู่ในเหง้า/รากกล้วย ..... มูลสัตว์กินหญ้า
- แล็คโตบาซิลลัส. .............................. มีอยู่ในยาคูลท์ โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว
- แฟลงเกีย. ...................................... มีอยู่ในสนทะเล สนประดิพัทธ์
- ไบโอโพลิเมอร์. คลาไมโดโมแนส. ........... มีอยู่ในสาหร่ายน้ำจืด
- นอสท็อก ....................................... มีอยู่ในรากต้นปรง
- แอ็คติโนมัยเกรต. ซีอะโนแบคทีเรีย. อัลเกีย. ฟังก์จัยลิเซ่. เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นได้เองจากดินที่มีสภาพโครงสร้างเป็นกลางดีอย่างต่อเนื่อง และมีอินทรีย์วัตถุสะสมมานาน
๗๕. ตรวจสอบจุลินทรีย์น้ำ :
สี ...... น้ำตาลอ่อน ถึง น้ำตาลไหม้ แต่ไม่ถึงกับดำ ขึ้นอยู่กับปริมาณกากน้ำตาล
กลิ่น.... หวานอมเปรี้ยว ออกฉุดนิดๆ ดมแล้วไม่เวียนหัว ไม่น่ารำคาญ
กาก ... ส่วนที่อ่อนนิ่ม ถึง เละ จะนอนก้น ส่วนที่แข็งหยาบจะลอยหน้า
ฝ้า ..... สีขาวอมเทา พวกนี้เป็นจุลินทรีย์กลุ่ม รา ที่ตายแล้ว เมื่อคนลงไปจะกลายเป็นสารอาหารของพวกที่ยังไม่ตาย
ฟอง
ปล่อยวางนิ่งๆ จะมีฟองเล็กๆ ละเอียดๆ ผุดขึ้นมาจากด้านล่าง เกิดจากกระบวนการจุลินทรีย์ ฟองผุดบ่อยๆ ฟองขนาดใหญ่ แสดงว่าจุลินทรีย์มากและแข็งแรง ถ้าไม่มีฟองก็แสดงว่าไม่มีจุลินทรีย์
รูปลักษณ์ ..... ขุ่น ใส มีตะกอนละเอียดแขวนลอย
กรด-ด่าง ......ค่า พีเอช 4.0- 6.0
ทดสอบ :
กรอกใส่ขวดแล้วปิดปากขวดด้วยลูกโป่ง ทิ้งไว้ในร่ม อุณหภูมิห้อง ไม่คนไม่เขย่า นาน 24-48-72 ชม. สังเกต.....
1. ลูกโป่งพอโต โตมากแสดงว่ามีจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศจำนวนมาก แข็งแรง พองน้อยจุลินทรีย์น้อย ไม่พองเลยก็แสดงว่าไม่มีจุลินทรีย์
2. ช่วงแรกที่ลูกโป่งพอโต ต่อมาลูกโป่งยุบแล้วถูกดูดเข้าไปในขวด กรณีนี้เกิดจากจุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศ ก็แสงดงว่าจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศตายหมดแล้ว จุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นมาแทน
3. บรรจุขวดพลาสติกเปล่า ปิดฝาสนิท แน่น วางทิ้งไว้ ถ้าขวดบวมพอง แสดงว่าเป็นจุลินทรีย์ดีเป็นจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศ ถ้าขวดไม่พองหรือพองน้อย หมายถึงจุลินทรีย์เหมือนกัน แต่น้อยกว่า
4. บรรจุขวดช่วงแรกขวดพอง ต่อมาขวดยุบบุบบู้บี้ แสดงว่า จุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศตายหมดแล้ว จุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นมาแทน
หมายเหตุ :
- จุลินทรีย์แบบ แห้ง/ผง ให้นำมาแช่น้ำก่อน ทิ้งไว้ให้จุลินทรีย์ ตื่น/ฟื้น แล้วจึงตรวจสอบ
- ประเภทต้องการอากาศ ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีอากาศ ถ้าไม่มีอากาศจะตาย
- ประเภทไม่ต้องการอากาศ ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่มีอากาศ ถ้ามีอากาศจะตาย
- การบรรจุในขวดปิดสนิทแน่น อากาศเข้าไม่ได้ จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศจะใช้อากาศที่พอมีอยู่ในขวดนั้นเพื่อการดำรงชีวิต ช่วงนี้จุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศจะยังไม่เกิด ครั้นเมื่ออากาศในขวดหมด จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศขาดอากาศจึงตาย พร้อมกันนั้นจุลินทรีย์ กลุ่มไม่ต้องการอากาศก็เริ่มเกิดแล้วเจริญเติบโต
- จุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศ อาศัยอยู่บริเวณผิวดินที่อากาศผ่านได้ ส่วนจุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศอาศัยอยู่ใต้ดินลึกบริเวณที่อากาศลงไปไม่ถึง
- จุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศมีพลังในการย่อยสลายสูงกว่าจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศ
----------------------------------------------------------------------------------
.
|
|