-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 31 ส.ค. * ข้าวพันธุ์ใหม่ ออกใหม่ล่าสุด
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 31 ส.ค. * ข้าวพันธุ์ใหม่ ออกใหม่ล่าสุด
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 31 ส.ค. * ข้าวพันธุ์ใหม่ ออกใหม่ล่าสุด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 30/08/2022 4:43 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 31 ส.ค. * ข้าวพันธุ์ใหม่ ออกใหม่ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 31 ส.ค.

***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 3 ก.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี .... งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....


****************************************************************
****************************************************************

จาก : (094) 184-26xx
ข้อความ :
1. ข้าวพันธุ์ใหม่ ออกใหม่ล่าสุด ลุงคิมมีความคิดเห็นอย่างไร กข 93, กข 95. กข 97, กข 101, สนใจอยากเอามาทำพันธุ์

2. ข่าว ทีวี. เรื่องข้าวสายพันธุ์ใหม่ ลุงคิมมีความคิดเห็น ดีหรือไม่ดีอย่างไร
3. ข้าวพันธุ์ใหม่ ข้าวคือข้าว พืชตระกูลเดียวกัน บำรุงเหมือนกัน ทำแล้วขาดทุนกำไร หนี้สินทรัพย์สิน ตัวเดียวกัน เพราะคนทำคนเดียวกัน

4. นักส่งเสริมสร้างข้าวพันธุ์ใหม่ ขายได้เงิน แต่ไม่ส่งเสริมเทคนิคลดต้นทุน ผลผลิตเพิ่ม อนิจจาประเทศไทย


ตอบ :
เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในการประกวดพันธุ์ข้าวใหม่เพื่อการพาณิชย์ ภายในยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563-2567 ที่มุ่งแก้ปัญหา 2 ข้อ .... 1.ปัญหาการแข่งขันราคา ..... 2.ความหลากหลายของพันธุ์ข้าว มีน้อยเริ่มสู้ไม่ได้ รวมทั้งต้องลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น เพื่อให้ต้นทุนต่ำลง สามารถแข่งราคากับคู่แข่งในตลาดโลกได้

ปัจจุบันต้นทุนการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6,000 บาทต่อไร่ จะต้องทำให้ลดลงเหลือ 3,000 บาทต่อไร่ และผลผลิตต่อไร่ ปัจจุบันเฉลี่ยไร่ละ 465 กิโลกรัม ต้องเพิ่มเป็น 600 กิโลกรัมต่อไร่ ภายใน 5 ปี นอกจากนี้จะต้องเพิ่มความหลากหลายของข้าวไทย โดยตั้งป้าพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่อย่างน้อย 12 พันธุ์ โดยเป็นข้าวพื้นแข็ง 4 พันธุ์ ข้าวพื้นนุ่ม 4 พันธุ์ ข้าวหอมไทย 2 พันธุ์ ข้าวโภชนาการสูง 2 พันธุ์ ภายใน 5 ปีเพื่อตอบโจทย์การเพิ่มข้าวไทยสู่ตลาดโลก

การประกวดครั้งนี้ประสบความสำเร็จและได้ผลชัดเจน ได้ข้าวพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้น 6 พันธุ์ ซึ่งเป็นผลสัมฤทธิ์ของการเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ข้าวไทย ที่กำหนดไว้ว่าภายใน 5 ปีต้องได้ 12 พันธุ์ แต่เพียงปี 2564-2565 ได้มาแล้ว 6 พันธุ์ และจากนี้ตั้งเป้าว่าจะเดินหน้าเพื่อนำไปสู่การปลูกในแปลงเกษตรกรเพื่อการพาณิชย์ได้จริง ซึ่งขั้นตอนจากนนี้เจ้าของพันธุ์ข้าวต้องรีบไปจดทะเบียนพันธุ์ ขึ้นทะเบียนพันธุ์ ที่กรมวิชาการเกษตร จากนั้นภายใน 1ปี ต้องให้ข้าวพันธุ์ใหม่ลงสู่แปลงนาเกษตรเพื่อการพาณิชย์ได้ โดยสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยจะเป็นผู้ดำเนินการส่งออกข้าวพันธุ์ใหม่ไปแข่งในตลาดโลกได้โดยเร็วที่สุด

ข่าว ทีวี. .... รมต.ไทย ไปซาอุฯ บอกว่า ซาอุเคยซื้อข้าวไทยปีละ 22 ล้าน

2 ทศวรรษกับงานเกษตรได้พบสัจจธรรมหลายอย่าง เกษตรกรไทยทำการเกษตร แบบ “กลับหัว กลับหาง” .... ลุงคิมพูดบ่อยๆว่า สมมุติว่าวิชาเกษตรมี 100 บท เรียน บทที่ 1 สำคัญที่สุด ถ้าสอบผ่านบทที่ 1 ได้แล้ว เหลืออีก 99 บทเรียน ใช้ เวลาเรียนเพียงครึ่งชั่วโมงก็บรรลุ บทเรียนที่ 1 ที่ว่าสำคัญที่สุดนั้นคือ “ทัศนคติ” หรือ “ใจ” นั่นเอง .... สังเกตุไหม สำนักเรียนไหนๆ มักสอนแต่ความสำเร็จ สอน แต่สูตรสำเร็จ ราวกับว่าทุกอย่างไม่มีปัญหาเลย ทั้งๆที่ในโลกแห่งความเป็นจริงมีแต่ ปัญหา ปัญหา และปัญหา จึงไม่สอนให้รู้จักกับปัญหา .... แต่สำนักนี้ สำนักไร่ กล้อมแกล้มกลับสอนว่า หากจะกระทำการสิ่งใด จงศึกษาส่วนที่เป็นปัญหาก่อน แล้วจึงศึกษาส่วนที่เป็นความสำเร็จภายหลัง ทั้งนี้เมื่อรู้ว่า อะไรจะเป็นปัญหาก็ให้ป้องกันปัญหานั้นล่วงหน้าในลักษณะ “กันก่อนแก้” แล้วจึงลงมือทำ เมื่อลงมือทำแล้วไม่เกิดปัญหา การกระทำนั้นๆ ย่อมประสบความสำเร็จ ในทางกลับกัน หากลงมือกระทำการใดๆแล้วมีแต่ปัญหา ปัญหา และปัญหา ปัญหาเรื่องไม่เป็นรื่อง ปัญหาโลกแตก ปัญหาสภาวะจำยอม ปัญหาไม่คาดคิด การกระทำนั้นย่อมประสบแต่ความล้มเหลว

วันนี้คุณมาที่นี่ คุณได้แค่รู้ว่า "ที่นี่มีอะไร" เท่านั้น เขาเรียนกัน 4 ปี จบปริญญาได้แค่นกแก้วนกขุนทอง คุณเรียนแค่ 4 ชม.แล้วรู้เรื่องทั้งหมดได้เหรอ วิชาเกษตรมีแต่ภาษาอังกฤษแล้วจะทำยังไง เอาเถอะ ลุงคิมจะแปลงภาษาวิชาการเป็นภาษาชาวบ้าน แปลงทฤษฎีเป็นการปฏิบัติ LEARNING BY DOING ไปเลย....วันนี้ ที่นี่คุณได้ยินอะไร ได้ฟังอะไร ได้รู้อะไร ช่วยกันฟัง ช่วยกันจำ กลับไปแล้วคุยกัน วันนี้เรื่องนี้ลุงคิมพูดว่าไง เรื่องนั้นลุงชาตรีพูดว่าไง ใครจำได้บ้าง นั่นคือ เราต้องรวมกลุ่มกัน เอาความคิดของแต่ละคนมากองรวมกัน เลิกคิดรวยคนเดียว เลือกคิดรวยกว่าคนข้างบ้าน เพราะมันจะไม่ได้อะไร สุดท้าย เป็นหนี้กันทั้งหมู่บ้าน

4. เจอมุก คิม ดอกสะเดา ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ :
ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป เมื่อก่อนถือตะกร้าเข้าป่ากลับมาก็มีผักเต็มตระก้า เดินลงไปในน้ำจับปลามือเปล่าได้ อาชีพค้าขายว่ากันเป็นเฟื้องเป็นสลึง แต่ยุคนี้ จะเด็ดกระถินซักยอด ก็มีเสียงตะโกน ออกมา เฮ้ย..กระถินน่ะมีเจ้าของนะ แม้แต่การค้าการขายก็เปลี่ยน เป็นบาท เป็นดอลลาร์ ถึงเวลาที่ชาวนาต้อง ปรับตัว-ปรับใจ ใหม่ ขืนทำแบบเดิมๆ คงไม่ได้

ชาวนาทำนาปลูกข้าวมาตั้งแต่ครั้งสมัยพระเจ้าฟีล่อโก๊ะ โก๊ะล่อฝง ปัญหาทุกปัญหา ล้วนแต่เป็นปัญหาเดิมๆ เกิดขึ้นมาครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งที่เคยเกิดกับตัวเอง เกิดกับ คนข้างเคียง แต่ชาวนาไม่ใส่ใจ เหมือนไม่จำ เหมือนไม่เข็ดหราบ เจ็บจี๊ดๆ เจ็บไม่นานเดี๋ยวก็ลืม....

ถึงยุคสมัยแล้วที่ชาวนาต้องสร้างแนวคิดใหม่ :
- เลิก .... มุ่งแต่เอาปริมาณผลผลิตให้ได้มากๆ แต่ให้ระวังต้นทน ลดต้นทุนให้ได้ทุกรูปแบบ
- เลิก .... ทุ่มทุนซื้อทุกอย่าง แต่ให้ทำเองทั้งหมด หรือทำเองครึ่งหนึ่ง ซื้อครึ่งหนึ่ง
- เลิก .... กะรวยคนเดียว แต่ให้กะรวยด้วยกันทั้งกลุ่ม ทั้งหมู่บ้าน
- เลิก .... คิดคนเดียว ทำคนเดียว แต่จงระดมแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
- เลิก .... ทำแบบเดิมๆ แต่จงเปลี่ยนมาทำตามแบบคนที่สำเร็จ แล้วต่อยอด
- เลิก .... ทำตามคนที่ล้มเหลว แต่จงเป็นตัวของตัวเอง ด้วยความมั่นใจ มีหลักวิชาการ
- เลิก .... กลัวเสียเหลี่ยม เลิกมิจฉาทิฐิ แต่จงยอมรับความจริง แล้วแก้ไข ปรับเปลี่ยน ประยุกต์
- เลิก .... ปิดกั้นตัวเอง แต่จงเปิดโลก รับรู้ข้อมูลใหม่ๆ เสมอ
- เลิก .... ตามใจคน แต่จงตามใจข้าว ข้าวต้องการอะไรให้อันนั้น ต้องการเท่าไหร่ให้เท่านั้น
- เลิก .... ปล่อยวิถีชีวิตไปวันๆ แต่จงมุ่งรุ่นหน้าต้องดีกว่า ยิ่งทำยิ่งดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้น
- เลิก .... ทำตามประเพณี ทำตามกระแส แต่จง แม่นสูตร-แม่นหลักการ
- เลิก .... เชื่อคนขายปุ๋ย-ขายยา แต่จงเชื่อซึ่งกันและกัน

5. ความล้มเหลวที่ไม่น่าเชื่อว่า “คุณไม่รู้” แต่ไม่ยอมแก้ไข ไม่ปรับเปลี่ยน :
- ขี้เทือกลึกครึ่งหน้าแข้ง ต้นข้าวโตดีกว่าขี้เทือกลึกแค่ตาตุ่ม
- ไถกลบฟาง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ทำให้ได้ดินดีกว่า นาเผาฟาง ไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
- ข้าวนาดำ ต้นข้าวสมบูรณ์ แข็งแรง โรคแมลงน้อย ให้ผลผลิตดีกว่าข้าวนาหว่าน
- นาดำจ้างรถดำนา ประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์มากกว่านาหว่าน

- ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี อินเดีย บังคลาเทศ อินโดเนเซีย อเมริกา ซึ่งพร้อมด้วยเครื่องทุ่นแรง (รถดำนา) ยกเว้นเขมร ลาว พม่า ที่ไม่มีเครื่องทุ่นแรง ต่างปลูกข้าวจ้าวด้วยวิธีดำด้วยเครื่องดำนา หรือดำด้วยมือแบบประณีต ..... ไทยทำนาหว่านสำรวย นาหว่าน้ำตม แม้แต่นาโยน นัยว่าง่าย สดวก ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน แต่ประโยชน์และผลิตที่พึงได้รับต้องสูญเสียอย่างมาก ชาวนาไทยกลับไม่คิด

- ต้นข้าวขึ้นห่าง 20 x 20 ซม. ถึง 30 x 30 ซม. ต้นข้าว 1 กอ แตกกอใหม่ได้ถึง 40-50-60 ลำ ลำต้นใหญ่ขนาดหลอดดูดเฉาก๊วย ..... ต้นข้าวขึ้นถี่ชิดกันพื้นที่ 20 x 20 ซม. มีเมล็ด 20 เมล็ด ได้ต้นข้าวขึ้น 20 กอ แต่ละต้นแตกกอไม่ได้ ลำต้นใหญ่ขนาดหลอดดูดยาคูลท์.....ข้าวต้นใหญ่ให้ผลผลิตดีกว่าข้าวต้นเล็กชนิดเทียบกันไม่ได้เลย

- รูปแบบการทำนา จากดีที่สุด ไปหาดีน้อยที่สุด ดังนี้...
นาหยอดเมล็ด - นาดำด้วยมือ - นาดำด้วยเครื่อง - นาโยน - นาหว่านด้วยเครื่องพ่น เมล็ด - นาหว่านด้วยมือ

- น้ำมากทำให้ข้าวสูง แตกกอน้อย สุดท้ายก็ล้ม....น้ำน้อย เจ๊าะแจ๊ะหน้าดิน ถึงแห้ง ระดับแตกระแหง ต้นข้าวไม่สูง แตกกอมาก ต้นไม่ล้ม

- ยูเรีย ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี

- แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดีสมบูรณ์แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย

- สังกะสี สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี

- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง

- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 14 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น ..... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น - ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- 8 ) อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน

- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10/ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว

สรุป : ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ - ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0

ปลูกข้าวทำพันธุ์ :
จาก :
(089) 729-45xx
ข้อความ : คุณลุงผู้พันครับ ผมทำนา 50 ไร่ น้ำดีตลอดปี ทำนาปีละ 2 ครั้งทุกปี ปัญหาของผมคือข้าวปน ปนมาจากร้านแล้ว ผมอยากทำข้าวปลูกใช้เอง ข้าว กข47 จะทำ 2 ไร่ คุณลุงผู้พันว่าพอไหมครับ คุณลุงช่วยตอบตอนค่ำนะครับ .... ชาวนานครสวรรค์

ตอบ :
- ข้าวปลูกจากร้านขายข้าวปลูก เขาเอามาจากไหน ? เขาทำนาเอาข้าวปลูกเองเหรอ ? คำตอบก็คือ เอามาจากแปลงนาของชาวนา อาจจะแปลงนาข้างๆ คุณก็ได้

- ซื้อพันธุ์ข้าวปลูกจากร้าน หรือจากแหล่งไหนก็สุดแท้ เหมือนกับการซื้อของทั่วๆ ไป ก่อนจ่ายเงิน ไม่ดูของก่อนหรือว่า แท้หรือปลอม ดีหรือไม่ดี ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ครบหรือไม่ครบ ....

ซื้อข้าวปลูกก็เหมือนกัน คุณได้เปิดถุงเปิดกระสอบดูข้างในก่อนหรือเปล่า ? รูปร่างลักษณะพันธุ์ข้าวเป็นอย่างไร ? ....

ปัญหาก็คือ คุณรู้หรือไม่ว่าพันธุ์ข้าวที่คุณต้องการนั้นรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ? ถ้าไม่รู้อะไรเลยซักอย่างๆ ก็สมควรให้คนขายหลอก เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นมาคู่กับโลกตั้งแต่มนุษย์คู่แรกของ อีวา. กับ อาดาม. แล้ว

- กข 47 บำรุงแบบอินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของนาข้าว มีการแตกกอมากที่สุดในบรรดาข้าว กข ด้วยกัน ....

จาก 1 เมล็ดเป็น 1 กอ, แตกกอ 50-70 ลำ, 1 ลำได้ 1 รวง, 1 รวงได้ 100 เมล็ด นั่นคือ 100 (+) ถังค่อนข้างแน่นอน

- ทำดีๆ ได้มาขายเป็นข้าวปลูก ขายให้แปลงข้างเคียง ขายให้ร้านขายข้าวปลูก แน่นอนว่าได้ราคาเหนือขายให้โรงสี เรื่องของเรื่องก็คือ “กล้าขยัน” ไหม เท่านั้นแหละ

- ข่าว ทีวี.วันนี้ (26 JUN) โรงสีรับซื้อข้าวเปลือกชั้นดีทำพันธุ์ได้ ราคาเกวียนละ 8,000 (ยืนยัน แปดพัน) แล้วขายปลีกเป็นข้าวปลูกเกวียนละ 18,000 (ยืนยัน หมื่นแปด) .... ถามชาวหน่อย คุณคิดยังไง ? สบายดีบ่อ ?

หลักการคัดเลือกพันธุ์ข้าว :
1. ชาวนาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้จักลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวที่จะคัดเลือก เช่น ลักษณะลำต้น สี อายุ รสชาติ ความต้องการน้ำ และแสง เป็นต้น เมื่อคัดพันธุ์ข้าวสามารถระบุได้เลยว่า ข้าวที่มีคุณภาพดีตรงตามพันธุ์เป็นอย่างไร นอกจากนี้การรู้จักลักษณะประจำพันธุ์ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ เพราะชาวนาจะรู้ว่าข้าวที่ปรับปรุงขึ้นมานั้น มีลักษณะตามพ่อแม่พันธุ์หรือไม่

2. เลือกเก็บรวงข้าวพันธุ์ที่ต้องการจากกอที่ไม่เป็นโรค หรือไม่มีแมลงรบกวน เลือกรวงที่สมบูรณ์ ติดเมล็ดดี รวงยาว เป็นต้น เลือกเก็บเมล็ดข้าวมาประมาณ ครึ่ง กก.

3. นำเมล็ดข้าวมาแกะเปลือกด้วยมือ
4. คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ดี รวมทั้งมีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการ ทั้งนี้ วิธีนี้จะทำครั้งแรกเท่านั้น ปีต่อไป เกษตรกรเพียงปลูกรักษาพันธุ์ไว้ และทำการสุ่มตรวจคุณภาพเป็นระยะๆ เท่านั้นก็เพียงพอ

ลักษณะเมล็ดข้าวที่ดี :
1. เมล็ดมีลักษณะตรงตามสายพันธุ์
2. เมล็ดไม่มีท้องไข่ หรือท้องปลาซิว (ลักษณะขาวขุ่นตรงกลางของเมล็ด) เมล็ดข้าวที่มีท้องไข่ไม่เป็นที่ต้องการของโรงสี เนื่องจากเวลาขัดเป็นข้าวขาวจะบางหักง่าย กลายเป็นข้าวปลายทำให้ได้ข้าวน้อย

3. เมล็ดไม่บิดเบี้ยว หักในหรือแตกร้าว (สาเหตุการแตกร้าวของเมล็ดข้าวส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการตากรวงข้าวจนแห้งเกินไป)

4. จมูกเล็ก เนื่องจากเวลาสีจมูกข้าวจะหลุดออก ข้าวที่จมูกเล็กจะสีได้เนื้อข้าวมาก
5. เมล็ดเต่ง เป็นมันวาว

การเพาะกล้าในแปลงนา :
1. เตรียมแปลงเหมือนกับการเตรียมแปลงตกกล้าทั่วไป ปรับเทือกให้เรียบสม่ำเสมอ
2. โรยทรายหยาบหนาประมาณ 1 ซม. ถ้าใช้แกลบดำให้โรยหนาประมาณ 1 นิ้วทั่วทั้งแปลง
3. โรยเมล็ดข้าวกล้องที่คัดเลือกไว้ ให้กระจายอย่างสม่ำเสมอ
4. โรยทับด้วยแกลบหนาประมาณ 1 ซม.
5. รดน้ำให้ชุ่มทั่วแป1ลง ทำร่องน้ำรอบๆ แปลงเพาะเพื่อป้องกันมดเข้าทำลาย
6. ดูแลประมาณ 25 วัน ก็สามารถถอนกล้าไปปักดำได้

การปลูกเพื่อคัดเมล็ดพันธุ์ :
การปลูกข้าวเพื่อทำการคัดเมล็ดพันธุ์ให้ได้คุณภาพดี เกษตรกรจำเป็นต้องปลูกข้าวต้นเดียว ซึ่งเป็นการปลูกโดยนาดำ ระยะประมาณ 25 x 25 ซม. สำหรับข้าวพันธุ์เบา ส่วนข้าวพันธุ์หนักให้มีระยะประมาณ 30 x 30 ซม. ทั้งนี้ ควรขึงเชือกในแนวที่ดำข้าวเนื่องจากการขึงเชือกทำให้รู้ว่าข้าวที่ขึ้นมาเป็นข้าวที่เกษตรกรปักดำหรือไม่ ข้าวที่ขึ้นนอกแนวปักดำหรือข้าวที่มีลักษณะแตกต่างจากที่ต้องการให้เกษตรกรถอนทิ้งทั้งกออย่าเสียดาย เพราะข้าวที่ไม่ต้องการเหล่านี้จะมาปะปนกับข้าวที่ต้องการปลูกเป็นเมล็ดพันธุ์

การปลูกข้าวเพื่อคัดเลือกให้ได้พันธุ์หลัก (พันธุ์หลักคือมีเมล็ดพันธุ์อื่นปนไม่เกิน 1 เมล็ดใน 1 กก.) เกษตรกรต้องปลูกและคัดเลือกอย่างน้อย 3 รอบ ก็จะได้พันธุ์ที่มีคุณภาพตรงตามต้องการ

สรุปขั้นตอนการปลูกเพื่อคัดพันธุ์ :
ปีที่ 1 :

1. คัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ตรงตามความต้องการจากรวงที่สมบูรณ์
2. คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวกล้องที่สมบูรณ์จากการแกะเปลือกออก
3. นำเมล็ดไปเพาะกล้า
4. ถอนกล้าไปปักดำต้นเดียวในแปลง
5. เมื่อปลูกลงไปแล้วพบพันธุ์ปน ให้ถอนทิ้งก่อนข้าวออกรวงทันที

ปีที่ 2 :
1. คัดเลือกกอข้าวที่ดีที่สุดอย่างน้อย 3 กอจากการคัดเลือกข้าวกล้องอีกครั้ง
2. ปลูกข้าวที่คัดจากแต่ละกอโดยแยกแปลงปลูก
3. เลือกแปลงที่ดีที่สุดเก็บเมล็ดไว้เป็นพันธุ์หลักโดยสุ่มตรวจจากข้าวกล้อง

ปีที่ 3 (เก็บพันธุ์ใช้ต่อไปได้) :
1. แบ่งพันธุ์หลักส่วนหนึ่งสำหรับปลูกหรือขาย
2. แบ่งพันธุ์หลักส่วนหนึ่งไว้ปลูกเพื่อเก็บรักษาพันธุ์ไว้ใช้ในปีต่อๆไป

ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทย บริเวณชายแดนเชียงราย
โทรศัพท์ : 053-650995 - 6 โทรสาร : 053-650996

ข้าว 9 เมล็ด ปลูกได้ 30 ไร่ :
"คุณบังอร" อยู่สุพรรณบุรี ได้ข้าวเปลือกไรซ์เบอร์รี่มาจากอาจารย์ที่ ม.เกษตรกำแพงแสน เจ้าของลิขสิทธิ์เมล็ดพันธุ์ จำนวนเพียง 9 เมล็ดเท่านั้น ด้วยความอยากได้ข้าวสายพันธุ์เป็นที่้สุด นำมาเพาะลงในแปลงที่เตรียมอย่างประคบประหงมอย่างประณีตที่สุด ด้วยแนวทาง อินทรีน์นำ-เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของต้นข้าว รุ่นแรกได้เมล็ดพันธุ์มาแล้วขยายพันธุ์ต่อเป็นรุ่นที่ 2 จากรุ่นที่ 2 ขยายพันธุ์ต่อเป็นรุ่นที่ 3 คราวนี้ได้เนื้อที่ 30 ไร่ จนเต็มเนื้อที่ๆมี

นอกจากนี้ ในเนื้อที่ 30 ไร่ ยังได้จัดแปลงส่วนหนึ่งสำหรับทำเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะด้วยเฉพาะเทคนิคการบำรุง การแยกข้าวปน ทุกขั้นตอนที่ต้องอดทนอย่างที่สุด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากหากต้องการทำ .... วันนี้ คุณบังอรฯ ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณธรรม ใครๆขายข้าวปลูกไรซ์เบอร์รี่ ถังละ 1,500-1,700 แต่คุณบังอรฯ ขายถังละ 500 ก็ได้ข้าวเกวียนละ 50,000 แล้ว สบายๆๆ

--------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©