-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-เก็บตกงานสัญจรศรีประจันต์สุพรรณบุรี (๔) * พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกหยวก
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เก็บตกงานสัญจรศรีประจันต์สุพรรณบุรี (๓) * สารสมุนไพร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เก็บตกงานสัญจรศรีประจันต์สุพรรณบุรี (๓) * สารสมุนไพร

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 06/09/2022 4:29 pm    ชื่อกระทู้: เก็บตกงานสัญจรศรีประจันต์สุพรรณบุรี (๓) * สารสมุนไพร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 7 ก.ย.

***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 10 ก.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี .... งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....


****************************************************************
***************************************************************

เก็บตกงานสัญจร วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี ๓

สมช. :
ลุงครับ มาปรึกษาหน่อยครับ
ลุงคิม. : ปรึกษา....เรื่องอะไรเหรอ ?

สมช. : สารยาน็อคครับ ที่ใช้อยู่แรงไม่จัด วิธีใช้ ใช้ยังไง ให้มันแรงจัดๆครับ
ลุงคิม. : อืมมม ศัตรูพืชคืออะไรเหรอ ?

สมช. : หนอน แมลง รา ครบชุดเลยครับ
ลุงคิม. : ครบชุด ปลูกอะไรบ้างเนี่ย

สมช. : พริก มะเขือ ฟักทอง ฟักเขียว ครับ
ลุงคิม. : ศัตรูพืชตัวเดียวกัน แล้วลงระบาดในพืชทั้งสามอย่างพร้อมกันเหมือนกันเลยเหรอ

สมช. : ไม่ครับ กระจายๆกันไปครับ
ลุงคิม. : อืมมมม แต่ละอย่างมีชื่อเฉพาะเขาไหมว่า หนอนชื่ออะไร ? แมลงชื่ออะไร ? ราแบคทีเรียชื่ออะไร ? แต่ละอย่างมีชื่อเฉพาะทางวิชาการว่าอะไร ?

สมช. : ไม่รู้เลยครับ
ลุงคิม. : อืมมมม เมื่อไม่รู้ชื่อ ไม่รู้ธรรมชาติ อันนี้น่าจะจับตัวเป็นๆไปให้เกษตรดูให้นะ ว่าแต่ละอย่างชื่ออะไร มีนิสัยธรรมชาติยังไง โดยเฉพาะเทคนิควิธีการเฉพาะที่จะเอาชนะมัน

สมช. : ครับ ไม่ได้ไปครับ
ลุงคิม. : เมื่อกี้นี้เห็นพูดว่า ใช้สารยาน็อคแล้วไม่ดี ไม่ได้ผล

สมช. : ครับ อยากถามลุงว่า เรามีวิธีทำให้ตัวยาแรงขึ้นอีก ทำได้ไหมครับ
ลุงคิม. : ด้ายยยย ในยาน็อคเนี่ยเราเรียกว่าสูตร “สหะประชาชาติ” สรรพคุณครอบคลุมศัตรูพืชทั้งสามกลุ่ม หนอน แมลง โรค ถ้าจะให้แรงขึ้นสำหรับศัตรูพืชเฉพาะอย่าง เช่น กำจัดหนอนอย่างเดียวโดยเฉพาะ กำจัดแมลงอย่างเดียวโดยเฉพาะ กำจัดรา หรือแบคทีเรีย หรือไวรัส นี่ต้องแยกกันด้วยนะ กำจัดอย่างเดียวโดยเฉพาะ อันนี้ต้องทำ “สูตรเฉพาะ” คือเลือกสมุนไพรที่มีตัวยาสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดของศัตรูพืชตัวนั้นๆ

สมช. : ครับ....สูตรเฉพาะ
ลุงคิม. : อืมมม ที่พูดถึงยาน็อคยาน็อคน่ะ อันนี้ซื้อหรือทำเอง

สมช. : ซื้อครับ
ลุงคิม. : โอ.เค. ทำเรื่องยากให้มันง่ายแต่ใจต้องมาก่อนนะ เอายาน็อคที่จะใช้มา แล้วใส่สมุนไพรที่มีตัวยาหรือสารออกฤทธิ์ตรงตามที่เราต้องการ ใส่ลงไปตามสูตรแล้วหมักต่อตามสูตรการหมัก หมักเสร็จแค่นี้เราก็ได้ยาน็อคสูตรเฉพาะแล้ว

สมช. : พูดง่ายแต่ทำยากครับ เพราะไม่รู้ว่าจะไปหาสมุนไพรตัวนั้นได้ที่ไหน
ลุงคิม. : อืมมม ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ใช่มีให้กลุ้ม....ปัญหานี้คุณจะแก้ยังไง

สมช. : ซื้อครับ ซื้อที่ลุงนี่แหละครับ
ลุงคิม. : อืมมม ผมไม่ได้ทำนะ ผมทำแต่สูตรสหะประชาชาติที่ใช้ๆกันนี่แหละ

สมช. : ถ้าผมจะสั่งล่ะครับ ?
ลุงคิม. : สั่ง....สั่งทำเหรอ แค่ลูกค้าคนเดียวคงไม่เอามั้ง

สมช. : งั้นลุงมีช่องทางเทคนิคเทคโนอะไรแนะนำผมไหมครับ ?
ลุงคิม. : ในเมื่อหาสมุนไพรสูตรเฉพาะไม่ได้ เราก็เอาเคมี สารเคมียาฆ่าแมลง มาใช้ร่วมกับยาน็อคซี่ ในสูตร “ลด ละ เลิก สารเคมี” ไงล่ะ

สมช. : ครับ เห็นสูตรในหนังสือแล้วครับ
ลุงคิม. : นั่นแหละ ที่สำคัญคือ ใช้สารเคมีตัวไหนตรงกับตัวหรือชนิดของศัตรูพืช อันนี้คุณต้องไปถามเกษตรนะ กับระบบ ไอพีเอ็ม. การป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน ต้องเอามาใช้ด้วย

สมช. : ครับ เข้าใจครับ รวมไปถึงเครื่องมืออย่าง สปริงเกอร์-หม้อปุ๋ย ด้วยครับ
ลุงคิม. : ช่ายยยย ตัวนี้ช่วยได้เยอะเลย สมุนไพรไม่ค่อยแรง ต้องฉีดพ่นบ่อยๆ เอาแบบวันละ 3 ครั้งเลยเป็นไร

สมช. : ครับ เห็นด้วยครับ สปริงเกอร์หม้อปุ๋ยผมเอาแน่


คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :

สารพัดสูตร :
สูตรเฉพาะ :
หมายถึง สมุนไพรตัวหนึ่ง ที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับศัตรูพืชชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ ตอนเอามาก็แยกกันมา ตอนทำก็ทำแยกถังหรือภาชนะ ตอนใช้ก็ใช้ทีละอย่างตามต้องการ เช่น สะเดา หนอนตายหยาก หางไหล กลอย น้อยหน่า ซาก มันแกว มะลินรก ขอบชะนาง ฯลฯ ต่างก็มีสารออกฤทธิ์ต่อ “หนอน” โดยเฉพาะ เลือกใช้สมุนไพรเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวในการ ป้องกัน/กำจัด หนอน

สูตรรวมมิตร : หมายถึง สมุนไพรหลายตัว แต่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับศัตรูพืชชนิดเดียวกัน ตอนเอามาแยกกัน ตอนทำก็ทำแยกถังหรือภาชนะ แต่ตอนใช้ เอาหลายๆอย่าง อย่างละตามต้องการมารวมกันแล้วใช้ เช่น

- สะเดา หนอนตายหยาก หางไหล กลอย น้อยหน่า ซาก ขอบชะนาง มะลินรก ฯลฯ ต่างก็มีสารออกฤทธิ์ ป้องกัน/กำจัด “หนอน” โดยเฉพาะ

- สาบเสือ ดาวเรือง บอระเพ็ด พริก ยาสูบ ฟ้าทะลายโจร ฯลฯ ต่างก็มีสารออกฤทธิ์ ป้องกัน/กำจัด “แมลง” โดยเฉพาะ

- ว่านน้ำ. กานพลู. ตะไคร้. กระเทียม. ข่า. ขิง. ขมิ้น. กระชาย ต่างก็มีสารออกฤทธิ์ ป้องกัน/กำจัด “โรค” โดยเฉพาะ

สูตรสหประชาชาติ : หมายถึง สมุนไพรหลายตัว แต่ละตัวต่างก็มีสารออกฤทธิ์ตรงกับศัตรูพืชชนิดนั้น แล้วเอามารวมกัน ทำพร้อมกันในถังหรือภาชนะเดียวกัน เช่น สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด หนอน +สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด แมลง +สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด โรค แล้วใช้รวมกันหรือพร้อมกัน

สูตรหนามยอกหนามบ่ง : หมายถึง สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ในพืชสมุนไพร เช่น
- สะเดา โดนหนอนทำลาย ใช้น้อยหน่า ป้องกัน/กำจัด
- น้อยหน้าโดนหนอนทำลาย ใช้สะเดา ป้องกัน/กำจัด
- สาบเสือโดนเชื้อรา ใช้พริก

สูตรผีบอก : มิได้หมายถึงสมุนไพรโดยตรง แต่หมายถึงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือวงจรชีวิตของศัตรูพืช กระทั่งทำให้ศัตรูพืชนั้นตายได้

สูตรข้างทาง : เช่น สาบเสือ ผกากรอง สะเดา กระเพาผี
สูตรในสวน : เช่น สบู่ต้น โด่ไม่รู้ล้ม ว่านน้ำ หญ้าหนวดขาว ตะบองเพชร ส้มเช้า
สูตรในครัว : เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย กระเพา โหระพา แมงลัก พริกเครื่องแกง
สูตรในบ้าน : เช่น ยาฉุน ลูกเหม็น น้ำยาล้างจาน สบู่เหลว ขี้เถ้า น้ำมันก๊าด น้ำมันขี้โล้

วิธีสกัดพืชสมุนไพรแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน
1. หมักน้ำเปล่า :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้งใส่ลงในถังพลาสติก เติมน้ำเปล่า 10-20 ล. คนให้เข้ากันดี

ทิ้งไว้ 24-48 ชม. ระหว่างนี้ให้คน 2-3 รอบ ครบกำหนด 24-48 ชม. ก็จะได้สารสกัดสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน

หมักต่อไป 15-20 วัน หรือเมื่อเห็นว่าพืชสมุนไพรเปื่อยยุ่ย นอนก้นถังดี ให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งานจะดีมาก กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูก หรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วนผสมหลักจะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง แต่หากต้องการเก็บนานให้เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ อัตรา 1 ล.ต่อน้ำสกัด 10 ล. แอลกอฮอร์จะช่วยแก้อาการบูดเน่าได้

2. สูตรหมักเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังพลาสติก เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง)1-2 ล. เติมน้ำส้มชายชู 1 ล. อัตราเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์กับน้ำส้มสายชูให้ได้พอท่วมสมุนไพร ถ้าไม่ท่วมให้เติมน้ำเปล่าเพิ่มจนกระทั่งพอท่วม คนเคล้าให้เข้ากันดี ทิ้งไว้ 24-48 ชม.ระหว่างนี้ให้คน 2-3 รอบ เพื่อให้แอลกอฮอร์กับน้ำส้มสายชูจะสกัดเอาสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรออกมา ครบกำหนด 24-48 ชม.แล้วให้เติมน้ำเปล่า 10-20 ล.ก็จะได้สารสกัดสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน

หมักต่อไป 15-20 วัน หรือเมื่อเห็นว่าพืชสมุนไพรเปื่อยยุ่ย นอนก้นถังดี ให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งานจะดีมาก กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูกหรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

3. สูตรแช่น้ำร้อน :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังพลาสติกที่มีน้ำต้มเดือดแล้ว 10-20 ล. คนให้เข้ากันดี ทิ้งไว้ 24-48 ชม. ระหว่างนี้ให้คน 2-3 รอบ ครบกำหนด 24-48 ชม. ก็จะได้สารสกัดสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน

หมักต่อไป 15-20 วัน หรือเมื่อเห็นว่าพืชสมุนไพรเปื่อยยุ่ย นอนก้นถังดี ให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งานจะดีมาก กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูกหรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วนผสมหลักจะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง แต่หากต้องการเก็บนานให้เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ อัตรา 1 ล.ต่อน้ำสกัด 10 ล. แอลกอฮอร์จะช่วยแก้อาการบูดเน่าได้

4. สูตรต้มพอร้อน :
วัสดุส่วนผสม :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก.น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังโลหะ (ปี๊บ)ที่มีน้ำ 10-20 ล. คนให้เข้ากันดี ยกขึ้นตั้งไฟ ต้มพอเดือด เสร็จแล้วยกลงปล่อยให้เย็น ก็จะได้สารสกัดสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน

เมื่อน้ำต้มเย็นลงแล้วให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งาน กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูก หรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วนผสมหลักจะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง แต่หากต้องการเก็บนานให้เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ อัตรา 1 ล.ต่อน้ำสกัด 10 ล. แอลกอฮอร์จะช่วยแก้อาการบูดเน่าได้

5. สูตรต้มเคี่ยว :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังโลหะ (ปี๊บ)ที่มีน้ำ 10-20 ล. ยกขึ้นตั้งไฟ

ต้มครั้งที่ 1 .... ให้เดือดจัด เสร็จแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุนไพรตัวเดิม ปริมาณเท่าเดิมลงไปแทน เตรียมต้มรอบ 2

ต้มครั้งที่ 2 .... เดือดจัดแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุนไพรตัวเดิม ปริมาณเท่าเดิมลงไป เตรียมต้มรอบ 3

ต้มครั้งที่ 3 .... เดือดจัดแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุนไพรตัวเดิม ปริมาณเท่าเดิมลงไปแทน แล้วต้มจนเดือดจัดเป็นครั้งสุดท้าย เสร็จแล้วยกลง ปล่อยให้เย็น แล้วให้กรองเอากากออกก็จะได้หัวเชื้อน้ำต้มสมุนไพรเข้มข้นพร้อมใช้งาน

กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูก หรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วนผสมหลัก จะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง แต่หากต้องการเก็บนานให้เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ อัตรา 1 ล.ต่อน้ำสกัด 10 ล. แอลกอฮอร์จะช่วยแก้อาการบูดเน่าได้

หมายเหตุ :
สูตรต้มเคี่ยวทำได้ 2 แบบ คือ
แบบที่ 1. .... ต้มเคี่ยวครบ 3 รอบแล้วกรองเอากากออกได้น้ำใสเท่าไรก็ได้เท่านั้น ใช้งานได้เลย ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์มีเท่าไรก็มีเท่านั้น

แบบที่ 2. .... ต้มเคี่ยวครบ 3 รอบ กรองเอากากออกจนได้น้ำใสแล้ว ให้ต้มเคี่ยวต่อโดยไม่ต้องเติมพืชสมุนไพรอีก ต้มเคี่ยวจนกระทั่งน้ำระเหยไปไอหายไป เหลือ 1 ใน 4 ของครั้งแรก เสร็จแล้วปล่อยทิ้งให้เย็น ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์จะแรงขึ้น

6. สูตรกลั่น :
ถังกลั่น :

- เป็นถังโลหะทรงสูง
- ใส่น้ำเปล่าก้นถัง ปริมาณตามความเหมาะเมื่อเทียบกับปริมาณของพืชสมุนไพรที่จะกลั่น ไม่ควรเกิน 1 ใน 4 ของความสูงถัง

- มีตะแกงติดในถัง ณ ระดับความสูง 3 ใน 4 จากก้นถังของความสูงถัง
- มีฝาปิดสนิทป้องกันไอระเหยออกได้
- ที่ฝาปิดมีท่อให้ไอระเหยผ่านไปสูงระบบควบเย็นได้สะดวก
- ท่อนี้จะผ่านระบบควบเย็น ส่วนปลายดัดแปลงให้แทงเข้าไปในถังกลั่น เพื่อให้ไอระเหยที่ถูกควบเย็นจนกลายเป็นน้ำแล้วกลับเข้าไปกลั่นซ้ำในถังอีกครั้ง

ส่วนผสมและวิธีทำ :
เลือกพืชสมุนไพรประเภทสกัดด้วยวิธีกลั่นโดยเฉพาะ มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดศัตรูพืช สดหรือแห้ง สับเล็กหรือบดละเอียด การกลั่นทำได้ 2 แบบ

แบบที่ 1 .... กลั่นแบบต้มเหล้าป่า (ชาวบ้านแอบทำ /เหล้าเถื่อน)หรือเหล้าขาว (รัฐบาลทำ)การกลั่นแบบนี้ต้องอาศัยความร้อนสูง น้ำที่ต้มเพื่อเอาไอระเหยต้องเดือดจัด 100 องศาเซลเซียส ทำให้ได้ "น้ำ + สารออกฤทธิ์" ซึ่งจะมีน้ำ 70 เปอร์เซ็นต์ สารออกฤทธิ์ 30 เปอร์เซ็นต์ ถ้าน้ำที่ต้มเพื่อเอาไอระเหยร้อน 60-70 องศาเซลเซียส จะทำได้เปอร์เซ็นต์ของสารออกฤทธิ์สูงขึ้น อัตราส่วน น้ำ 30 เปอร์เซ็นต์ สารออกฤทธิ์ 70 เปอร์เซ็นต์ แต่เนื่องจากความร้อนเพียงเท่านี้ไอน้ำจะไม่พุ่งออกมาสู่ระบบควบเย็นได้ แก้ไขโดยการใช้ตัวดูดไอระเหย (แว็คกั้ม)....... สารออกที่ได้ใช้งานได้เลย หากต้องการเก็บนานให้เติมแอลกอฮอร์ 10-20 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำกลั่นสารออกฤทธิ์

แบบที่ 2 .... กลั่นซ้ำ เป็นการกลั่นแบบให้ความร้อนสูงเดือดจัด ไอระเหยที่ถูกควบเย็นแล้วผ่านท่อที่ดัดแปลงเป็นการเฉพาะไหลกลับเข้าไปในหม้อกลั่นอย่างเดิมรวมกับน้ำก้นถังกลั่นอีกครั้ง แล้วถูกต้มกลายเป็นไอระเหยสูงขึ้นสู่ระบบควบเย็นซ้ำโดยอัตโนมัติ น้ำจะถูกกลั่นเป็นไอน้ำ ถูกควบเย็นเป็นน้ำไหลกลับเข้าถังกลั่น หมุนเวียนซ้ำอย่างนี้จนเป็นที่พอใจ น้ำก้นถังกลั่น คือ น้ำกลั่นสารออกฤทธิ์ มีน้ำกับสารออกฤทธิ์ 1 : 1 ใช้งานได้เลย

แบบที่ 3 .... กลั่นด้วยเครื่องกลั่นเฉพาะแบบ "แยกน้ำ-แยกน้ำมัน" น้ำมันที่ได้เป็นสารออกฤทธิ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีน้ำปน สารออกฤทธิ์ที่ได้ใช้งานได้เลย และสามารถเก็บนานได้โดยไม่ต้องเติมแอลกอฮอร์

ประเภทสมุนไพร:
ประเภท เบื่อเมา :
สะเดา น้อยหน่า กลอย มันแกว เปลือกซาก หางไหล หนอนตายหยาก บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร เขียวไข่กา สบู่ดำ สบู่ต้น ส้มเช้า ขอบชะนาง มะลินรก ฯลฯ หมักรวมกันเป็น “สูตรเฉพาะกำจัดหนอน”

ประเภท เผ็ด/ร้อน/เย็น : พริก ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย หอม กระเทียม พริกไทย ดีปลี ตะไคร้ ยาสูบ ยาฉุน ว่านน้ำ ฯลฯ ต้มรวมกันเป็น “สูตรเฉพาะกำจัดเชื้อรา”

ประเภท กลิ่นจัด : ตะไคร้ ยูคาลิปตัส ดาวเรือง ผกากรอง สาบเสือ กระเพา แมงลัก มะกรูด ชะพลู กานพลู ฯลฯ กลั่นรวมกันเป็น

สปริงเกอร์ :
สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน/ถังปุ๋ยที่ปั๊ม/หม้อปุ๋ยที่ปั๊ม : คือ ตัวช่วยที่ดีที่สุด สปริงเกอร์ก็คือเครื่องมือฉีดพ่นธรรมดาๆ ตัวหนึ่ง แต่ที่ไม่ธรรมดาเพราะทำงานได้ทุกเวลา เช่น

* เช้ามืด ... ฉีด น้ำเปล่าหรือสารสมุนไพร ล้างน้ำค้าง กำจัดราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
* สาย ..... 10 โมงเช้า ให้ปุ๋ย/ฮอร์โมน +ยาสมุนไพร
* เที่ยง .... ฉีด น้ำเปล่าหรือสารสมุนไพร กำจัดเพลี้ยไฟ (แดดจัด), ไรแดง (ครึ้มฝน)
* บ่าย ..... ฉีด น้ำเปล่าหรือสารสมุนไพร วันที่ฝนตกต่อแดด ให้ปุ๋ยกดใบอ่อนสู้ฝน/กำจัดแอนแทร็คโนส
* ค่ำ ....... ฉีด น้ำเปล่าหรือสารสมุนไพร ล้างช่อกำจัดราดำ
* มืด ....... ฉีด สารสมุนไพร กำจัด/ไล่ แม่ผีเสื้อเข้ามาวางไข่ กำจัดเพลี้ยจักจั่น กำจัดหนอน

กับดักแมลง :
* แผ่นกับดักสีเหลือง ทาทับด้วยกาวเหนียว ล่อแมลงกลางวัน
* แผ่นกับดักสีเหลือง (ไม่สีก็ได้) ทาทับด้วยกาวเหนียว ติดหลอดไฟ ล่อแมลงกลางคืน
* หลอดไฟเหนือน้ำ (สระ กะละมัง) ล่อแมลงกลางคืนมาเล่นแสงไฟแล้วตกลงน้ำ
* ขวดน้ำเปล่า ใส่ด้วยก้านสำลีชุบกลิ่นล่อแมลงวันทอง ดักจับแมลงวันทอง
* กาวเหนียว ทาโคนต้น ป้องกันมดแดงขึ้นต้นไม้ แล้วย้ายไปอยู่ที่อื่น
* ปล่อยนกแสก ให้อยู่ในแปลง ช่วยจับหนู

สมการสารสมุนไพร (ย่อ) :
ยาถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ยาผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ยาผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
ยาถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง

สมการสารสมุนไพร (พิสดาร) :
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชถูก + ระยะใช้ถูก + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชผิด +ระยะใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + ระยะใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชผิด + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + ระยะใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล

ตัวสมุนไพรผิด+ตัวศัตรูพืชผิด+วิธีทำผิด+ชนิดพืชผิด+ระยะใช้ผิด+วิธีใช้ผิด=ไม่ได้ผล ยกกำลัง 6
ตัวสมุนไพรถูก+ตัวศัตรูพืชถูก+วิธีทำถูก+ชนิดพืชถูก+ระยะใช้ถูก+วิธีใช้ถูก=ได้ผล ยกกำลัง 6

เปรียบเสมือนยาคน :
สมุนไพรผิด + ตัวโรคผิด + วิธีทำผิด + ระยะใช้ผิด + วิธีใช้ผิด =ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวโรคถูก + วิธีทำถูก + ระยะใช้ถูก + วิธีทำถูก = ได้ผล

ถอดสมการ :
ตัวสมุนไพร ........... ชื่อ (ภาษาพื้นบ้าน ภาษาวิชาการ), ราก หัว ต้น เปลือก ใบ ดอก
วิธีทำ .................. ต้ม = เผ็ดร้อนเย็น, หมัก = เบื่อเมา, กลั่น = กลิ่น

ตัวศัตรูพืช :
หนอน ................. ออกหากินกลางวัน/กลางคืน, อยู่ภายใน/ภายนอกพืช
แมลง .................. ปากกัด/ปากดูด/วางไข่/พาหะ
โรคมีเชื้อ .............. รา/แบคทีเรีย/ไวรัส
โรคไม่มีเชื้อ …......... ขาดสารอาหาร, ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก ไม่เหมาะสม
วงจรชีวิต .............. เกิด กิน แก่ เจ็บ ตาย ขยายพันธุ์, เกิดในดินโตในดิน/โตบนต้นพืช
พาหะ .................. เคลื่อนที่เอง ผู้อื่นนำพา
ฤดูกาล ................ ร้อน หนาว ฝน ชื้น แห้ง สภาพแวดล้อม
ช่วงเวลาระบาด ........ ช่วงเจริญเติบโตของพืช
ชนิดพืชเป้าหมาย .... (แหล่งอาหารของศัตรูพืช)
วิธีใช้ .................. ฉีดพ่น เวลา ถี่/ห่าง ป้องกัน/กำจัด
ผล .................... ตายทันที, ตายช้าๆหยุดกินอาหาร, ขยายพันธุ์ต่อไม่ได้ (ไม่ลอกคราบ ไข่ฝ่อ), ไล่ (ไม่เข้าหาพืช)

--------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©