-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 21 ต.ค. * ข้าวโรงสีตัดราคา แก้ไขด้วยปุ๋ยลุง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 21 ต.ค. * ข้าวโรงสีตัดราคา แก้ไขด้วยปุ๋ยลุง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 21 ต.ค. * ข้าวโรงสีตัดราคา แก้ไขด้วยปุ๋ยลุง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 20/10/2022 5:01 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 21 ต.ค. * ข้าวโรงสีตัดราคา แก้ไข ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 21 ต.ค.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย.... ด้วยประสบการณ์เกือบ 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง

- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 22 ต.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน
ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนาภิเษก....
งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....


***********************************************************************
***********************************************************************

จาก : 08 383x 481x
ข้อความ : ข้าวโรงสีตัดราคา แก้ไขด้วยปุ๋ยลุงสูตรไหนครับ

จาก : 09 294x 723x
ข้อความ : ชาวนากระดูกผุ ยิ่งทำนายิ่งจน แต่คนขายข้าวรวยเอารวยเอา

จาก : 09 629x 129x
ข้อความ : ลุงทำนา 5 ไร่ ได้ไร่ละ 127 ถัง สนใจค่ะ

บ่น :

61. ปุ๋ยนาข้าว :
รายการข้าวเปลือกด้อยคุณภาพที่โรงสีตัดราคา ได้แก่ ข้าวหัก ข้าวป่น ข้าวเมล็ดแดง ข้าวเมล็ดเหลือง ข้าวเมล็ดท้องไข่ ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่นปน....

สาเหตุ และแก้ไข :
ยูเรีย :
ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี

แม็กเนเซียม : สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดีสมบูรณ์ แข็งแรง ต้นแข็ง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย

สังกะสี : สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี

ปล. ช่วงเวลา 9 โมงเช้า ใบธงอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง

คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ .... เทคนิค/เทคโน ปริมาณผลผลิต นาดำ VS นาหว่าน :
* พื้นที่ 1 ตร.ศอกแขน .... นาดำ :
ข้าว 1 เมล็ด = 1 กอ แตกกอได้ 50 ลำ ลำใหญ่เท่าหลอดดูดเฉาก๊วย .... 1 ลำ = 1 รวง, 1 รวง = 100 เมล็ด, .... 1 กอ 50 ลำ/รวง = 5,000 เมล็ด.

* พื้นที่ 1 ตร.ศอกแขน .... นาหว่าน : ข้าว 10 เมล็ด = 10 กอ ไม่แตกกอได้ 10 ลำเท่าเดิม ลำใหญ่เท่าหลอดดูดยาคูลท์ .... 1 ลำ = 1 รวง, 1 รวง = 100 เมล็ด, .... 10 เมล็ด 10 ลำ/รวง = 1,000 เมล็ด

ต้นทุน.... นาดำ ดำด้วยรถดำนา (เมล็ดพันธุ์, กล้า, ค่าจ้าง).... นาหยอด หยอดด้วยเครื่องหยอด (เมล็ดพันธุ์, กล้า, ค่าจ้าง) ต้นทุนต่ำกว่านาหว่าน .... นาหว่าน (มือ เครื่อง) เมล็ดพันธุ์, ค่าจ้างสูงกว่านำดำ นาหยอด

- ใช้วิธีธรรมชาติร่วมด้วย เช่น ....
.... ปล่อยน้ำท่วม หรือปล่อยหน้าดินแห้ง กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล,
.... เลี้ยงหญ้าบนคันนา ให้แมลงธรรมชาติอาศัยแล้วไปทำลายแมลงศัตรูพืช
.... ใช้แสงไฟล่อแมลงให้ตกลงไปในน้ำ หรือเข้ามาติดกับดักกาวเหนียว
.... บำรุงต้นข้าวให้สมบูรณ์แข็งแรง เกิดเป็นภูมิต้านทานสู้กับศัตรูพืชในตัวเองได้
.... งดใช้ “ยูเรีย” เด็ดขาด เพราะยูเรียทำให้ต้นข้าวอวบ ล่อเพลี้ยกระโดดเข้ามาหา
.... งดใช้สารเคมี เพราะเป็นอันตรายต่อแมลงธรรมชาติ ประเภท “ตัวห้ำ-ตัวเบียน”
.... ไถกลบฟาง ได้ซิลิก้า (หินภูเขาไฟ) ช่วยใช้ผนังเซลล์ต้นข้าวแข็ง แมลง เพลี้ยกัดไม่เข้า



ตอบ :

คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :

ต้นทุนนาข้าว
จาก :
(080) 512-83xx
ข้อความ : นา 20 ไร่ ลดต้นทุนอย่างไรครับ
ตอบ :
- แปลงนี้โชคดีที่ ธรรมชาติให้โอกาสแก้ตัว แม่โพสพให้โอกาสทำใหม่ ผีบ้านผีเรือนดลใจให้ คิด-วิเคราะห์-เปรียบเทียบ ที่เคยทำๆมามันไม่ได้อะไร ทำอีกก็จะไม่ได้อะไรอีก เพราะทำแบบเดิมๆ มันจึงเหมือนเดิม สู้มาเสี่ยง เสี่ยงอย่างมีเหตุมีผล เสี่ยงอย่างมีหลักวิชาการ ทำแบบใหม่ อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของนาข้าว .... แบบเดิมมีแต่เจ๊ากับเจ๊ง แบบใหม่มีแต่เจ๊ากับได้ .... บอกได้เลยงานนี้ ยากหรือง่าย อยู่ที่ “ใจ” เท่านั้น

- นา 20 ไร่ คิดต้นทุนเฉพาะค่าปุ๋ย ยูเรีย + 16-20-0 รวม 60 กส. ๆละ 1,500 เป็นเงิน 3,500/ไร่ นั่นคือ 20 x 3,500 = 60,000

** สารอาหารที่ได้จากปุ๋ยเคมีเพียง 2 ตัว คือ ไนโตรเจน. กับฟอสฟอรัส. .... สิ่งที่เกิดกับข้าว คือ ....
1) ข้าวลีบ .... 2) เมล็ดไม่ใส .... 3) เมล็ดไม่แกร่ง .... 4) เป็นท้องไข่ .... 5) ไม่มีน้ำหนัก .... 6) โรคมาก .... 7) ต้นสูง ล้ม .... 8 ) ใช้ทำพันธุ์ไม่ได้ .... 9) ดินเสีย ….10) จุลินทรีย์ ตาย .... 11) สิ้นเปลือง

อัตราใช้ปุ๋ยลุงคิม :
- ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 2 ล. /ไร่
- ไบโออิ 1/2 ล., ไทเป 1/2 ล., ยูเรก้า 1 ล. หรือน้อยกว่า /ไร่
- สมุนไพรยาน็อค 1 ล. หรือน้อยกว่า /ไร่
ต้นทุนค่าปุ๋ยลุงคิม :
- น้ำหมักฯ ลิตรละ ...... 100.-
- ไบโออิ ลิตรละ ....... 200.-
- ให้ไทเป ลิตรละ ....... 200.-
- ยูเรก้า ลิตรละ ......... 400.-
- ยาน็อค ลิตรละ ........ 100.-

- สารอาหารที่ได้จากปุ๋ยลุงคิม .... สารอาหารอินทรีย์ : ธาตุหลัก / ธาตุรอง / ธาตุเสริม / ฮอร์โมน /จุลินทรีย์ / สารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น .... สารอาหารเคมี : ธาตุหลัก/ธาตุรอง/ธาตุเสริม รวม 14 ตัว

ต้นทุนที่ลดได้ :
ไม่ไถแต่ย่ำประณีต :
ย่ำ 3 รอบ / กระทง .... ย่ำ 4 เที่ยว ห่างกันเที่ยวละ 7-10 วัน .... สิ่งที่ได้ เปรียบเทียบระหว่าง “ปกติไถ 2 รอบ ย่ำด้วยอีขลุบ 2 รอบ รวมเป็น 4 รอบ ได้ขี้เทือกไม่ลึกนัก ไม่ได้กำจัดวัชพืช” กับ “ไม่ไถแต่ย่ำด้วยอีขลุบ 4 รอบ จำนวนรอบเท่ากันแต่ ได้เทือกลึกกว่า กำจัดวัชพืชได้มากกว่า”.... รถไถติดผานไถดินใช้น้ำมันมากกว่ารถไถเดินตามลากอีขลุบ

ทำนาด้วยด้วยเครื่อง : ต้นทุนรวม “ค่าเมล็ดพันธุ์ + ค่าตกกล้า + ค่าดำ” สิ่งที่ได้ ต้นข้าวขึ้นห่าง ต้นโต แตกกอดี โรคแมลงน้อย แยกข้าวปนได้ คุณภาพดี ขายหรือใช้เป็นข้าวปลูกต่อได้ ไม่มีแรงงาน ..... นาหว่าน เมล็ดพันธุ์มาก ต้นข้าวขึ้นถี่ ต้นเล็ก โรคแมลงมาก แยกข้าวปนไม่ได้ คุณภาพไม่ดี ขายหรือใช้เป็นข้าวปลูกไม่ได้

ใช้สารสมุนไพร : ทำเอง ทำไว้ล่วงหน้าสำหรับ 1 รุ่น ฉีดพ่นพร้อมปุ๋ยทางใบไม่ต้องจ้างแรงงาน หรือจ้างแต่ไม่เสียเวลา

ขายข้าวปลูก : ปลูกข้าวพันธุ์ในพื้นที่นิยม ไม่มีข้าวปน ไม่มีข้าวนกข้าวดีด เมล็ดข้าวสมบูรณ์ดี ไม่มีเมล็ดลีบ ไม่มีท้องไข่

ข้าวข้าวพันธุ์นิยม : ไรซ์เบอร์รี่, หอมนิล, ลืมผัว, สังข์หยด, หอมมะลิ. ขายเป็นข้าวเปลือก หรือข้าวกล้อง แบบขายส่งหรือขายปลีก

อนาคต : ทำติดต่อกัน 3 รุ่น จะพบประวัติดินดีขึ้นๆ ๆๆ ๆๆ การใช้ปุ๋ยทางดิน 16-8-8 จะลดลง ใช้แต่น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ตอนทำเทือกก็พอ, การกำจัดวัชพืชลดลง, คุณภาพข้าวดีขึ้นๆ

- รวมกลุ่มทำเอง “น้ำหมักฯ. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า.” ข้าวทุกแปลงคุณภาพเกรดเดียวกัน คนรับซื้อพอใจ .... นั่นคือ รวมกลุ่มเทคโนโลยี-รวมกลุ่มทำ-รวมกลุ่มขาย รวยทุกบ้าน รวยทั้งหมู่บ้าน

บำรุงต้นข้าวเลยตามเลย แบบหมาจ่าย :
- นาข้าวที่กำจัดวัชพืชไม่หมด ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้วมีต้นข้าวกับต้นวัชพืช "ครึ่ง : ครึ่ง" จนเต็มนา แนะนำให้ใช้สูตร "เลยตามเลย หรือ ไหนไหนก็ไหนไหน" เพราะกำจัดวัชพืชไม่ได้แล้ว โดยเน้นบำรุงทางใบเป็นหลัก....ให้ไบโออิ อย่างเดียวตั้งแต่ระยะกล้าถึงเกี่ยว ห่างกัน 7-10 วัน ....ทุกครั้งที่ให้ทางใบ + ยาน็อค สารสมุนไพรร่วมด้วยทุกครั้ง
หมายเหตุ :
- เมื่อตอนทำเทือก ถ้าไม่ใด้ใส่น้ำหมักชีวภาพ ขณะที่วันนี้ต้นข้าวยังเล็กอยู่ สามารถใส่น้ำหมักฯ ตามหลังได้ ด้วยอัตราและวิธีการที่กำหนด
– ถ้าหว่านยูเรีย.ไปก่อนแล้ว ณ วันนี้ให้ +ปุ๋ยทางดินสูตรนาข้าวกับน้ำหมักชีวภาพฯ ทับลงไป ตามอัตราและวิธีการที่กำหนดได้เลย

บำรุงต้นข้าวสูตรเลยตามเลยแบบประณีต :
ระยะกล้า :

- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น "ไทเป + ยาน็อค" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยูเรก้า + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะก่อนเกี่ยว :
- ก่อนเกี่ยว 15 วัน ให้ "ไบโออิ + 14-7-21 + แคลเซียม โบรอน" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนลงมือเกี่ยว 5-7 วัน นอกจากช่วยปรับปรุงคุณภาพเมล็ดข้าวแล้วยังช่วยลดความชื้น ณ วันเกี่ยว
- "น้ำ + น้ำส้มสายชู + นมสด" 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5 วัน ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเกี่ยว 5 วัน ฉีดทางใบช่วยลดความชื้น ณ วันเกี่ยวได้อีกด้วย


ป้องกันศัตรูพืช :
มาตรการ กันก่อนแก้ :
คือ แม็กเนเซียม. สังกะสี. ช่วยสร้างภูมิตานทานให้แก่ต้นข้าวเป็นพื้นฐาน แถมฉีดพ่นสารสมุนไพรทับเข้าไปอีก นี่คือ 2 เด้ง

มาตรการ ป้องกัน + กำจัด : ถ้าแปลงข้างๆกำลังเกิดระบาด ช่วงว่างระหว่าง 7-10 วัน ให้ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ 2-3 รอบ ห่างกันวันเว้นวัน
หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย

- หญ้าครึ่งข้าวครึ่ง หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง

- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน
- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?
name=Content&pa=showpage&pid=10

ประสบการณ์ตรง (1) วันดูข้าว :
ก่อนวันเกี่ยวราว 15 วัน ออกอากาศขอเชิญคนมาดูแปลงข้าว "นาข้าวแบบไบโอ ไดนามิก" ด้วยปุ๋ยทำเองทุกสูตร ทุกขั้นตอน เนื้อที่ 5 ไร่ ท้ายไร่กล้อมแกล้ม.. ..จากการสุ่มหาค่าเฉลี่ยทราบว่า ผลผลิตได้กว่า 120 ถัง

งานนี้มี สมช.ผู้ฟังให้ความสนใจจากทั่วสารทิศมาดูราว 200 คน ยืนเรียงกันเต็มคันนาตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ในจำนวนนี้มี จนท.เกษตร ปลอมตัวมาด้วย ราว 4-5 คน สมช.บางคนรู้จักแล้วมากระซิบบอกว่า คนนั้นเป็นเกษตรอำเภอนั้น คนนี้เป็นเกษตรตำบลนี้ ..... ก็ว่าไป

ลุงคิมพูดผ่านโทรโข่ง เลียบๆเคียงๆโฉบเข้ามาใกล้ๆ จนท.เกษตร เพื่อดูหน้าเท่านั้นในเมื่อเขาไม่ประสงค์แสดงตัวก็ไม่ต้องไปวอแวกับเขาให้มะเร็งกินอารมย์....แต่ละคนเห็นข้าวแล้วร้อง อื้อฮือ ! แสดงว่ายอมรับ แต่ไม่ (แม้แต่คิด) ยอมรับแล้วเอาแนวทางไปเผยแพร่

ประสบการณ์ตรง (2) วันเกี่ยวข้าว :
วันที่แปลงนาท้ายไร่กล้อมแกล้มพร้อมเกี่ยว รถเกี่ยวมีเด็กหนุ่มเป็นคนขับ ดูมาดูแล้วบอกว่า "ทำเป็น" แน่นอน จากนาแปลงข้างเคียงมาถึงแปลงเรา

คนขับ : (มองต้นข้าว) ลุงครับ ข้าวยังเกี่ยวไม่ได้นะครับ
ลุงคิม : เพราะอะไรเหรอ ?

คนขับ : มันยังไม่แก่ครับ
ลุงคิม : รู้ได้ไง ?

คนขับ : (ตอบทันที) ใบยังเขียวอยู่เลยครับ
ลุงคิม : (กวักมือเรียก) มึงลงมานิ

ลุงคิม : (เด็ดรวงข้าวข้างคันนา แล้วเด็ดเมล็ดสุดท้ายโคนรวงส่งให้) พิสูจน์ซิ
คนขับ : (เด็กหนุ่มรับไปแล้วใส่ปากใช้ฟันหน้าขบ ตีหน้าเหรอหรา) แก่แล้วนี่

ลุงคิม : ไหนมึงว่า ยังไม่แก่ไงล่ะ ?
คนขับ : ก็ใบยังเขียวอยู่เลย ลุงทำไงน่ะ

ลุงคิม : ไป ขึ้นรถ ทำงาน ไม่ต้องพูดมาก

เด็กหนุ่มท่าทางทำงานแบบสบายๆ เพราะไม่มีข้าวล้ม ไม่ต้องเลี้ยวรถเกี่ยวเข้าหาต้นข้าวบ่อย เดินหน้าตรงอย่างเดียว มุมคันนาชนมุมคันนา ต้นข้าวที่เกี่ยวแล้วเหลือตอซังต่ำกว่าหัวเข่า....

งานนี้ได้ 127 ถัง/ไร่ เทออกจากกระบะรถลงกองกับพื้นแล้วขายเป็นข้าวปลูกได้ 90 บาท/ถัง (เกวียนละ 9,000 ราคามิตรภาพ) ทันที หากส่งโรงสีจะได้ราคาเพียง 60 บาท/ถัง (เกวียนละ 6,000) เท่านั้น....รุ่งเช้าคน (อ่างทอง) ที่รับซื้อไปคุยกลับมาว่า ขายต่อได้ถังละ 120 บาท ไม่พอขาย

------------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©