-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 1 ก.พ. *นาข้าว ทำครั้งเดียว ขายได้หลายครั้ง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 1 ก.พ. *นาข้าว ทำครั้งเดียว ขายได้หลายครั้ง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 1 ก.พ. *นาข้าว ทำครั้งเดียว ขายได้หลายครั้ง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11625

ตอบตอบ: 31/01/2023 5:00 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 1 ก.พ. *นาข้าว ทำครั้งเดียว ขาย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 1 ก.พ.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัด
วัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....

*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 4 ก.พ. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี ....
*** งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม หนังสือไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม........ใครไม่ซื้อ ไม่ซื้อแต่แจก แจกหนังสือไม้ผลแนวหน้า คนละ 1 เล่ม


***********************************************************************

***********************************************************************

จาก : 09 720x 164x
ข้อความ : นาข้าวเงินแสนครับ

จาก : 08 294x 771x
ข้อความ : ชาวนา ทำแบบเดิม ขายเท่าเดิม คือ จนเหมือนเดิม จนถึงหลานเหลนโหลนภายหน้า

จาก : 09 291x 375x
ข้อความ : นาข้าว ทำครั้งเดียว ขายได้ขายหลายครั้ง นาล้มตอซัง เชียร์ครับ


MOTIVATION แรงบันดาลใจ :

"ทำนาข้าวให้รวย"
คุณสุรพร ศรีพลอย

ในอดีตเมื่อนานมาแล้วถ้าใครมีที่นาและทำนามากนั้นถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีอันจะกินมีชีวิตที่มั่นคง แต่เมื่อเวลาผ่านมาในปัจจุบัน ชาวนาหรืออาชีพทำนามักจะถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ต่ำต้อยและยากจน มันก็อาจจะจริงอย่างที่คิด เพราะในปัจจุบันทั้งเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกับค่าครองชีพนั้นต่างจากอดีต ชาวนาในสมัยก่อนก็ปรับตัวตามไม่ทัน แต่คุณสุรพร ศรีพลอย เกษตรกรหนุ่มรุ่นใหม่จะมาพิสูจน์ให้เป็นว่าการเลือกอาชีพทำนาในปัจจุบันนั้นถ้ามีวิธีการจัดการที่ดีก็สามารถทำให้เป็นชาวนาที่ร่ำรวยได้เหมือนกัน

คุณสุรพร ศรีพลอย จบปริญญาตรีบริหารธุรกิจ จากราชภัฎพระนคร ก่อนหน้าที่จะได้มาทำนาข้าวนั้น คุณสุรพรได้ทำงานให้กับโรงงานมาตลอด ราวๆ 5-6 ปี ซึ่งตอนที่ทำงานให้กับโรงงานนั้นก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร ก็ทำงานปกติและมีช่วยที่บ้านทำนาบ้างตามเวลาที่ว่างจากงานหลัก

“เงินเดือนจากโรงงานที่ทำอยู่ตอนนั้นล่าสุดก็ 12,000 บาท ถ้าพูดว่าพอกินพอใช้มันก็พอนะ แต่มันไม่พอเก็บ ก็รู้สึกว่าเหมือนชีวิตมันไปเรื่อยๆ ตอนที่ทำงานโรงงาน เมื่อมีเวลาก็มาช่วยที่บ้านทำนาด้วย ก็ได้เรียนรู้การทำนามาตลอด แล้วสาเหตุหลักที่ออกจากงานมาทำนาจริงๆก็คือ แม่เริ่มแก่แล้ว แล้วแม่ก็อยู่คนเดียว เราเลยตัดสินใจว่าจะออกมาทำนาเอง อยากดูแลแม่ด้วย”

ถือได้ว่าจุดเริ่มต้นในการหันมาทำนาข้าวอย่างจริงจังของคุณสุรพรมาจากความเป็นห่วงและความกตัญญู ซึ่งสิ่งนี้แหละที่เป็นหลักยึดให้คนเรามีจุดยืนและเป้าหมายในชีวิตมากขึ้น

“ก็อยู่กับการทำนามาตั้งแต่สมัยเรียน ช่วงหยุดเสาร์อาทิตก็ช่วยแม่ทำนามาตลอดเลยเกิดความผูกพัน ตอนนี้นาที่บ้านเท่าที่เห็นนี่ก็มี 70 ไร่ แล้วก็ยังมีอีก 40 ไร่ อยู่อีกฟากนึงครับ”

คุณสุรพรบอกถึงความแตกต่างจากงานที่เคยทำประจำ มาสู่การทำนาข้าว ว่าจริงๆแล้วตอนที่ออกมาทำนาใหม่ๆนั้นคุณสุรพรก็ไม่ได้ปรับตัวอะไรมาก เพราะเดิมก็ช่วยแม่ทำมาตลอดอยู่แล้ว แต่จะต่างกันหรือต้องปรับตัวก็ในเรื่องของค่าใช้จ่าย รายได้และรายรับ

“ตอนที่ทำงานมีเงินเดือน เราก็จะมีรายได้ที่จำกัดตายตัว ส่วนการทำนารายได้ก็จะขึ้นอยู่กับตัวเรา อยู่กับวิธีการที่เราจะจัดการกับนาข้าวของเรา เรื่องค่าใช้จ่ายก็จะมีการแบ่งแยกเงินไว้อย่างเป็นสัดส่วนชัดเจน ว่าส่วนไหนไว้ใช้ในครอบครัว ส่วนไหนเก็บไว้เป็นทุนทำนา”

เรียกได้ว่าคุณสุรพรมีการวางแผนใช้จ่ายในชีวิตมากขึ้น เพราะการจัดการบริหารที่นาที่มีอยู่ร้อยกว่าไร่นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายกับการลงทุนทำนาทั้งหมดร้อยกว่าไร่ก็จะใช้เงินประมาณ 4 แสนบาท รวมค่าบริหารจัดการทั้งหมดเลยครับ

แม้จะฟังดูตัวเงินการลงทุนนั้นมากเป็นหลักแสน แต่รายรับที่ได้กลับมาจากการลงทุนทำนานั้นก็ไม่ใช่น้อยเช่นกันถ้าเทียบกับเวลาที่เสียไป กำไรหักค้าใช้จ่าย (ต้นทุน 4 แสน) ทั้งหมดแล้ว ต่อ 1ฤดูการก็จะได้กำไรอยู่ที่ 4 แสนบาทครับ หนึ่งฤดูการทำนา 4 เดือน กำไรก็ตกถึงเดือนละแสนครับ เวลาหลังจากสี่เดือนก็ทำอย่างอื่นหารายได้ต่อ

คุณสุรพรยังเสริมอีกว่า ถ้าฟังจาสกข่าวหรือที่พูดกันมักจะบอกว่าทำนาแล้วจนนั้นไม่จริง เคล็ดลับทำนาแล้วให้รวยอยู่ที่การบริหารจัดการที่ดีต่างหาก

“ใช่ครับ การบริหาร การวางแผน การหาความรู้เพิ่มคือสิ่งสำคัญ เสียดายที่ชาวนาที่เป็นคนเก่าแก่เค้าก็จะใช้วิถีตามที่เคยทำมาแต่เก่าก่อน จนลืมไปว่าสมัยนี้ต้องรู้จักประยุคควบคู่ไปกับการจัดการที่ดี”

สิ่งที่คุณสุรพรกำลังสื่อก็คือ การทำเกษตรแบบสมัยใหม่ ซึ่งมีวิธีการเรียนรู้และการจัดการที่ควบคู่กันไปด้วย โดยจะช่วยให้ชาวนาลดต้นทุนได้และช่วยเพิ่มกำไรไปอีกทาง

“ถามถึงความสุขในการทำนา คือเราได้เป็นนายตัวเอง จะมีช่วงเหนื่อยหน่อยก็แค่ตอนเริ่มกับตอนเก็บเกี่ยว ซึ่งหลังจากช่วงแรกก็แค่ดูแลเรื่องน้ำเรื่องปุ๋ยอย่างเดียว ส่วนช่วงว่างจากการทำนาเราก็ได้ทำอาชีพเสริม ซึ่งยึดหลักตามแนวทางพอเพียง เลี้ยงกบ เลี้ยงปลาไปพอมีรายได้ และที่สำคัญที่สุดสำหรับผมความสุขจริงๆคือการได้อยู่ใกล้และได้ดูแลแม่ ครับ”

ช่องทางการตลาด : ในเรื่องของการตลาดการขายข้าวนั้นคุณสุรพรยึดหลักง่ายๆทั่วไป ไม่ได้ยุ่งยากต้องขายผ่านเว็บผ่านเน็ตอย่างเกษตรกรคนอื่นๆ

“ก็ยึดหลักแบบไม่คิดมาก ไม่ยุ่งยากไม่ปวดหัวครับ คือก็ขายตามปกติ ของผมนี่ก็อย่างที่เห็นปลูกร้อยกว่าไร่ ก็ไปขายที่โรงสี แล้วก็จะมีลูกค้าที่มาผูกติดขอซื้อถึงที่นาเลยก็มีครับ แล้วก็เหลือไว้ขายเอง ส่งขายตามร้านค้าบ้าง แค่นี้ก็พอเพียงแล้วครับ”

ก็ถือว่าแนวทางของคุณสุรพรนั้นเป็นหลักการขายที่เป็นพื้นฐานเบสิค แต่มีความแข็งแรงในเรื่องของการตลาดที่ไม่ซับซ้อนซ่อนอยู่ ซึ่งหลักการง่ายอย่างนี้ทำให้คุณสุรพรไม่เครียดและมีความสุขในการทำนาข้าวเป็นอาชีพหลัก

ข้อเสนอแนะจากเกษตรกร : คุณสรพรมีข้อเสนอแนะต่อเกษตรกรรุ่นใหม่ที่สนใจอยากจะลองหันมาทำนาเป็นอาชีพหลัก “สำหรับผมแล้ว การทำเกษตรไม่ว่าจะทำหรือปลูกพืชอะไร อันดับแรกเลยต้องศึกษาให้ดีก่อน มีผลดีมันก็มีเสียอยู่ ถ้าศึกษาดูไม่ดีก็อาจจะแย่ได้ อยากให้เริ่มจากทำเล็กๆน้อยๆก่อน เมื่อมีความชำนาญและมั่นใจแล้วค่อยลงมือทำให้สุด”

ช่องทางการติดต่อ : หากใครสนใจอยากที่จะเรียนรู้หลักและวิธีในการทำนาข้าวอย่างจริงจังสามารติดต่อปรึกษาคุณสุรพรได้ที่ เลขที่ 30/2 ม.16 ต.คลองสี่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี หรือโทร. 086 132 1292

ทำนาข้าวให้รวยและยั่งยืน
เรื่อง/ภาพโดย : ทีมงานรักบ้านเกิด.คอม
https://www.rakbankerd.com/agriculture/millionaire-view.php?id=112[color=blue]


ตอบ :
คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
นาข้าวปีละ 4 รุ่น

เริ่มลงมือรุ่นแรกเมื่อใดก็ได้ที่โอกาสอำนวย เมื่อข้าวได้อายุครบ 90 วัน หรือถึงระยะพลับพลึงก็ให้ลงเมื่อเกี่ยวได้ หลังจากรถเกี่ยวข้าวเสร็จสิ้นภารกิจ ก็ให้ปล่อยน้ำเข้าแล้วทำเทือก (ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพสารอาหาร และสารปรับปรุงบำรุงดิน) ต่อทันทีแบบไล่หลังรถเกี่ยวข้าว แล้วลงมือหว่านเมล็ดพันธุ์สำหรับรุ่นใหม่ทันทีเช่นกันในวันรุ่งขึ้น เรียกว่าทำเทือกแล้วหว่านไล่หลังรถเกี่ยวกันเลยนั่นแหละ

หมายเหตุ :
- มีน้ำบริบูรณ์ที่สามารถสูบเข้า-ออกได้ตลอด 24 ชม. หรือ ณ เวลาที่ต้องการได้ทันที
- เลือกใช้พันธุ์ข้าวเบา ซึ่งข้าวประเภทนี้เหมาะสำหรับส่งโรงสีทำข้าวนึ่ง แล้วส่งออกต่างประเทศเพื่อทำแป้ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ข้าวพันธุ์ดีนัก

- การบำรุงแบบ “นาข้าวแบบประณีต” จะช่วยให้ทั้งปริมาณผลผลิตและคุณภาพดีขึ้น ถึงเทียบชั้นข้าวพันธุ์ดีได้
- ปกติข้าวเบามีอายุจากหว่านถึงเกี่ยวรวม 90 วัน แต่ในความเป็นจริงนั้น เมื่อต้นข้าวอายุได้ 80 วันก็สามารถเกี่ยวได้แล้ว นอกจากนี้ข้าวเบายังเป็นข้าวต้นเตี้ย ฟางน้อย ผุเปื่อยง่ายอีกด้วย

- กรณีทำนาปีละ 4 รุ่นไม่ได้เพราะติดปัญหาใดก็ตาม อาจจะพิจารณาทำนานปีละ 3 รุ่นครึ่งก็ได้
- ผลผลิตบางรุ่นอาจจะแก่เก็บเกี่ยวได้ตรงกับช่วงฝนตกชุก ซึ่งอาจจะเกิดความเสียหายบ้างจะต้องเตรียมการป้องกันล่วงหน้าให้ดี

- เตรียมเมล็ดพันธุ์ (แช่-ห่ม) ล่วงหน้าให้พร้อมสำหรับหว่าน ณ วันที่ต้องการ
- มาตรการย่อยสลายฟางปรับปรุงบำรุงดินในแต่ละรุ่นจะอาศัยฟางของรุ่นก่อนๆ ซึ่งถูกย่อยสลายดีแล้วเป็นหลัก ส่วนฟางรุ่นล่าสุดก็จะถูกย่อยสลายแล้วเป็นสารอาหารสำหรับรุ่นหน้าหรือรุ่นต่อๆไป

- มาตรการปรับปรุงบำรุงดินแบบ “สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง รุ่นต่อรุ่น หลายๆรุ่น และหลายๆปี” จะทำให้ดินมีความสมบูรณ์พร้อมอยู่เสมอ

- การมีรถไถโรตารี่ส่วนตัวจะช่วยให้ทำงาน ณ เวลาที่ต้องการได้
- เตรียมแก้ปัญหานัดหมายรถเกี่ยว เช่น แปลงขนาดเล็ก แปลงเดียวเดี่ยวๆ
https://puimongkut.com

นาข้าวล้มตอซัง
หลักการและเหตุผล :

ข้าว คือ พืชตระกูลหญ้า ลักษณะการขยายพันธุ์อย่างหนึ่งระหว่างต้นข้าวกับต้นต้นหญ้าที่เหมือนกันคือ หลังจากลำต้นถูกตัดไปจนเหลือแต่ตอแล้ว ยังสามารถแตกหน่อใหม่จากข้อที่ตอแล้วเจริญเติบโตจนออกดอกติดผลได้ โดยผลผลิตที่ได้ยังมีคุณภาพและปริมาณไม่ต่างจากต้นข้าวหรือต้นหญ้าปลูกใหม่แต่อย่างใด

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำนาข้าวแบบล้มตอซังที่เห็นได้ชัด คือ ลดต้นทุนค่าไถ ทำเทือก หมักฟาง หว่าน/ดำ เมล็ดพันธุ์ และอื่นๆ ที่ต้องเตรียมการก่อนลงมือหว่านดำ

แนวทางปฏิบัติ :
1. หลังจากเกี่ยวข้าวด้วยมือหรือรถเกี่ยวเสร็จ ให้สำรวจหน้าดินว่ายังมีความชื้นเพียงพอต่อการที่จะทำนาแบบล้มตอซังต่อไปหรือไม่ กล่าวคือ ดินต้องมีความชื้นระดับนำขึ้นมาปั้นเป็นลูกยางหนังสติ๊กได้พอดีๆ ไม่อ่อนเละหรือแข็งเกินไปจนปั้นเป็นลูกกลมๆไม่ได้

วัตถุประสงค์ของการสำรวจความชื้นหน้าดิน ก็เพื่อจะได้อาศัยความชื้นนี้ส่งเสริมให้เกิดการแตกยอดใหม่จากตอซังนั่นเอง

2. ผลสำรวจความชื้นน้าดิน ถ้ายังมีระดับความชื้นตามต้องการแล้ว ให้ลงมือเกลี่ยเศษฟางที่รถเกี่ยวพ่นออกมา ทั้งส่วนที่กองทับอยู่บนตอซังและบริเวณอื่นๆ หรือกรณีเกี่ยวด้วยมือก็ให้เกลี่ยตอซังที่ล้มทับกันให้แผ่กระจายออกเสมอกันทั่วทั้งแปลง

วัตถุประสงค์ของการเกลี่ยฟาง ก็เพื่อให้มีฟางปกคลุมหน้าดินหนาเสมอกันเท่ากันทั้งแปลงนั่นเอง

3. ดัดแปลงยางนอกรถบรรทุก 10 ล้อ จำนวน 6-8 วง นำมาต่อกันทางข้างเกิดเป็นหน้ากว้าง แล้วเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยมีเพลาเป็นแกนกลาง เรียกว่า ล้อย่ำตอซัง เมื่อจะใช้งานก็ให้ใช้รถไถเดินตามลากล้อย่ำตอซังนี้วิ่งทับไปบนฟาง วิ่งทับทั้งส่วนที่ยังเป็นตอซังตั้งอยู่ และเศษฟางที่เกลี่ยแผ่กระจายออกไป...กรณีรถที่ลากล้อย่ำตอซังควรเป็นรถไถเดินตามหรือรถไถนั่งขับขนาดเล็กเท่านั้นเพราะจะได้น้ำหนักที่พอดีต่อการย่ำตอ ไม่ควรใช้รถไถใหญ่เพราะจะทำให้ตอซังช้ำเสียหายมากเกินไป

วัตถุประสงค์ของการใช้รถย่ำน้ำหนักเบา ก็เพื่อรักษาข้อของลำต้นส่วนที่เป็นตอที่อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดินไม่ให้แตกช้ำมาก เพราะต้องการให้เกิดการแตกยอดใหม่ออกมาจากข้อใต้ผิวดินมากกว่า แต่ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือผิวดินต้องให้แตกช้ำจนไม่สามารถแตกยอดใหม่ได้

ยอดที่แตกออกมาจากข้อของลำต้นส่วนที่อยู่เหนือผิวดิน จะเป็นยอดที่ไม่มีคุณภาพ แต่ยอดที่แตกออกมาจากข้อของลำต้นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดินจะเป็นยอดที่มีคุณภาพดี จำนวนรอบในการย่ำกำหนดตายตัวไม่ได้ ทั้งนี้ให้สังเกตลักษณะตอหลังจากย่ำไปแล้วว่าแตกช้ำเฉพาะส่วนที่อยู่เหนือผิวดินแต่ส่วนที่อยู่ใต้ผิวดินยังดีอยู่ นอกจากนี้ระดับความชื้นหน้าดิน (อ่อน/แข็ง) กับน้ำหนักของล้อย่ำตอซังและน้ำหนักรถลากก็มีส่วนทำให้ตอเหนือผิวดินกับตอใต้ผิวดินแตกช้ำมากหรือน้อยอีกด้วย

4. หลังจากย่ำฟางและตอซังแล้ว ถ้าหน้าดินมีความชื้นพอดีก็ให้ปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้นแต่ถ้าหน้าดินมีความชื้นน้อยถึงน้อยมากจำเป็นต้องฉีดพ่นน้ำเปล่าบ้างเพื่อเพิ่มความชื้น ซึ่งขั้นตอนฉีดพ่นน้ำนี้ จะต้องพิจารณาความเหมาะสมว่าคุ้มค่าต้นทุนหรือทำได้หรือไม่และเพียงใด

หมายเหตุ :
- แปลงนาที่เนื้อดินมีอินทรีย์วัตถุและสารปรับปรุงบำรุงดินสะสมมานาน แม้หน้าดินจะแห้งถึงระดับรถเกี่ยวเข้าทำงานได้สะดวกดีนั้น เนื้อดินด้านล่างลึกจะยังคงมีความชุ่มชื้นอยู่ถึงระดับช่วยให้ตอซังแตกยอดใหม่ได้

- ฟางที่เกลี่ยดี นอกจากจะช่วยป้องกันแสงแดดจัดเผาหน้าดินจนแห้งแล้ว ยังช่วยรักษาความชื้นให้แก่หน้าดินและจุลินทรีย์อีกด้วย

5. หลังจาก ย่ำตอ-ปล่อยทิ้งไว้ หรือ ย่ำตอ-ฉีดพ่นน้ำเพิ่มความชื้น แล้ว จะมียอดใหม่แตกออกมาจากข้อของตอใต้ผิวดินแล้วแทงทะลุเศษฟางขึ้นมาให้เห็น ให้รอจนระทั่งยอดแตกใหม่เจริญเติบโตเป็นต้นกล้าข้าวได้ใบใหม่ 2-3 ใบ ก็ให้ปล่อยน้ำเข้า พร้อมกับควบคุมระดับน้ำให้พอเปียกหน้าดินหรือท่วมคอต้นกล้าใหม่

หมายเหตุ :
- แปลงนาที่ผ่านการ “เตรียมแปลง” โดยปรับหน้าดินราบเสมอกันดี น้ำที่ปล่อยเข้าไปจะเสมอกันทั้งแปลง ส่งผลให้ต้นข้าวทั้งที่แตกใหม่และเป็นต้นโตแล้วได้รับน้ำเท่ากันทั่วทั้งแปลง ซึ่งต่างจากแปลงที่บางส่วนดอน (สูง) บางส่วนลุ่ม (ต่ำ) จึงทำให้ระดับน้ำลึกไม่เท่ากัน สุดท้ายก็ส่งผลให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่เท่ากันอีกด้วย

- ต้นข้าวที่งอกขึ้นมาใหม่จะมีทั้งต้นที่งอกขึ้นมาจากข้อของตอ ต้นที่งอกขึ้นมาจากเมล็ดข้าวร่วง และเมล็ดที่หลุดออกมาจากรถเกี่ยว ซึ่งแหล่งกำเนิดของต้นข้าวเหล่านี้ไม่มีผลต่อคุณภาพและปริมาณในอนาคตแต่อย่างใด

บางบริเวณอาจจะไม่มีหน่อหรือยอดต้นข้าวแตกใหม่จากข้อของตอใต้ดิน เนื่องจากส่วนตอใต้ผิวดินบริเวณนั้น ถูกย่ำทำลายโดยล้อสายพานรถเกี่ยวช้ำเสียหายจนไม่อาจงอกใหม่นั่นเอง
วิธีแก้ไขคือ ให้ขุดแซะต้นกล้าที่งอกจากตอบริเวณที่หนาแน่นกว่าบริเวณอื่น ขุดแซะพอให้มีดินหุ้มรากติดมาบ้างเล็กน้อยแล้วนำมาปลูกซ่อมลงในบริเวณที่ตอถูกทำลายจนไม่มีหน่อหรือยอดใหม่

- ต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดโดยการหว่านหรือดำ อัตราการแตกกอจะต่างกัน เช่น ข้าวพันธุ์สุพรรณ-1 มีอัตราการแตกหน่อดีมาก ส่วนข้าวพันธุ์ชัยนาท-1 และปทุมธานี-1 มีอัตราการแตกหน่อพอใช้ได้หรือดีน้อยกว่าสุพรรณ-1 ในขณะที่การทำนาข้าวแบบล้มตอซังซึ่งจะมีต้นใหม่งอกออกมาจากข้อของตอซังนั้นการแตกกอก็ต่างกันอีก กล่าวคือ ข้าวพันธุ์สุพรรณ-1 อัตราการแตกกอไม่ค่อยดี ข้าวพันธุ์ชัยนาท-1 แตกกอดีพอประมาณ และข้าวพันธุ์ปทุมธานี-1 อัตราการแตกกอไม่ดี

- ขั้นตอนปล่อยน้ำเข้าแปลงเพื่อหล่อเลี้ยงต้นข้าวเกิดใหม่ หลังจากปล่อยน้ำเข้าจนได้ระดับที่เหมาะสมแล้วใส่ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 2 ล.+ 16-8-8 (5 กก.)/1 ไร่ โดยการฉีดพ่นให้ทั่วแปลง

6. หลังจากต้นกล้าที่แตกออกมาจากข้อของตอใต้ผิวดิน ต้นกล้าปลูกซ่อม และต้นกล้าจากเมล็ดข้าวร่วง เจริญเติบโตขึ้นมาได้แล้วก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อต้นข้าวด้วยวิธี ทำนาข้าวแบบประณีตต่อไปจนกระทั่งถึงเก็บเกี่ยว
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1705

ข้าว 9 เมล็ด ปลูกได้ 30 ไร่ :
"คุณบังอร" อยู่สุพรรณบุรี ได้ข้าวเปลือกไรซ์เบอร์รี่มาจากอาจารย์ที่ ม.เกษตรกำแพงแสน เจ้าของลิขสิทธิ์เมล็ดพันธุ์ จำนวนเพียง 9 เมล็ดเท่านั้น ด้วยความอยากได้ข้าวสายพันธุ์เป็นที่้สุด นำมาเพาะลงในแปลงที่เตรียมไว้ ประคบประหงมอย่างประณีตที่สุด ด้วยแนวทาง อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของต้นข้าวในแปลงนี้

ข้าวเปลือก 1 เมล็ดปลูกแล้วได้ 1 กอ .... 1 กอ แตกกอได้ 50 ลำ .... 1 ลำได้ 100 เมล็ด.... นั่นคือจาก 1 เมล็ดปลูกแล้วได้ 50 ลำ x 100 เมล็ด = 5,000 เมล็ด

สรุป : ข้าวเปลือก 9 เมล็ด ปลูกแล้วได้ 9 เมล็ด x 50 ลำ x 100 เมล็ด = 4,500 เมล็ด ขยายผลรุ่นแรก 4,500 ปลูกได้ 1 ไร่ .... ขยายผลรุ่น 2 จาก 1 ไร่ปลูกได้ 30 ไร่

นอกจากนี้ ในเนื้อที่ 30 ไร่ ยังได้จัดแปลงส่วนหนึ่งสำหรับทำเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะด้วยเทคนิคการบำรุง การแยกข้าวปน ทุกขั้นตอนต้องอดทนอย่างที่สุด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากหากต้องการทำ .....

วันนี้ คุณบังอรฯ ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณธรรม ใครๆขายข้าวปลูกไรซ์เบอร์รี่ ถังละ 1,500-1,700 แต่คุณบังอรฯ ขายถังละ 500 ก็ได้ข้าวเกวียนละ 50,000 แล้ว สบายๆๆ

ไรซ์เบอร์รี่ ล้มตอซัง ประหยัดต้นทุน :
- ทำนาแบบ อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของนาข้าว ยิ่งใช้ปุ๋ยลุงคิม ประจำหลายๆรุ่น จะยิ่งใช้น้อยลง จำนวนครั้งฉีดทางใบน้อยลง ให้ทางดินก็ใส่น้อยลงด้วย อันนี้น่ะจะเป็นเพรา “ดินดีแบบสะสม” กับต้นสมบูรณ์ที่ได้จากดิน ให้ปุ๋ยทางใบน้อยครั้งลงต้นก็ยังงามได้ ออกรวงดี น้ำหนักดี สำคัญที่สุด คือ โรคแมลงไม่วอแววี้ดว้ายกระตู้วูเลย

- ไถกลบฟาง ย่ำเทือกประณีตกำจัดวัชพืชไปในตัว เลิกยาฆ่าหญ้าแต่ใช้วิธีถอนเพราะมีไม่มาก เลิกสารเคมีฆ่าแมลงแต่ใช้สารสมุนไพรแบบเดี่ยวๆ หรือแบบผสมปุ๋ยทางใบ ฉีดบ่อยๆ ฉีดล่วงหน้าก่อนศัตรูพืชมา ถือหลัก กันก่อนแก้ แย่แล้วแก้ไม่ทัน

- หลายๆรุ่นมานี้ เฉพาะต้นทุนค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ลดสุดๆ ลดกว่าเดิมหลายเท่าตัวเห็นได้ชัด .... ไม่จ้างแรงงาน ทำเองสองคนผัวเมียเท่านั้น ลงแปลงเดินย่ำลงไปในนาทุกวัน .... ขยันจนน่ากลัว ขยันแล้วรวยใครจะไม่เอา ผิดกับบางคนที่ "ขี้เกียจ" อ้างโน่นอ้างนี่ ไม่มีเวลา ยุ่งยากเสียเวลา ทำไม่เป็น ไม่มีความรู้ ไม่มีใครมาส่งเสริม แบบนี้ก็จง "จน+หนี้" ต่อไปเถอะ

- รู้ดีว่า สายพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ยังไม่นิ่ง เพราะฉะนั้น ทุกรุ่นทุกรอบที่ปลูก จะแยกข้าวปนโดยการเดินลุยลงไปแล้ว “ถอนทิ้งทั้งกอ” ถอนทุกอย่าง วัชพืช ข้าวสีขาวที่ติดมากับรถเกี่ยว ไรซ์เบอร์รี่เมล็ดสีขาวอมเทา อย่าเสียดาย อย่างก

- รุ่นนี้ทำนาไรซ์เบอร์รี่แบบ “ย่ำตอซัง” ได้ผลชัดเจนมากๆ ประหยัด “ค่าไถ ค่ำย่ำเทือก ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าดำ ค่าแรง ฯลฯ” ....

วิธีการ :
เกี่ยวข้าวเสร็จ เกลี่ยฟางให้เสมอกัน แล้วใช้ล้อย่ำตอทันที
บริเวณกลางแปลงล้อย่ำทำงานเรียบร้อยดี แต่ตอข้าวริมคันนาล้อย่ำทำงานไม่สะดวก ต้องใช้เครื่องตัดหญ้าช่วยตัดตอแทน ดูแล้วเรียบร้อยดีกว่าย่ำ

(..... คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ .... ใช้เครื่องตัดหญ้าแบบเส้นเอ็นดีกว่าวิธีใช้ใบมีดเหล็กหรือวิธีใช้ล้อย่ำ ทั้งนี้ ต้นข้าวจะขาดตอเสมอกันทั่วทั้งแปลง ส่งผลให้การแทงหน่อใหม่ดี....)

หลังย่ำตอ 5-7 วัน หน่อข้าวเริ่มแทงขึ้นมาจากพื้นดิน สำรวจได้ประมาณ 75-80% ทิ้งไว้อีก 3-5 วัน ส่วนที่เหลือเริ่มงอก รวมข้าวงอกมากกว่า 95 % ที่เหลือช่วยเขาโดยแซะข้าวกอข้างเคียงมาดำเสริ

(.... ก่อนย่ำตอไม่ใส่น้ำ ปล่อยให้หน้าดินแห้งเพื่อให้ตอแหลกสลายดี แม้ผิวดินจะแห้งแต่มีน้ำอยู่ไต้ผิวดิน อันเป็นผลพวงมาจากการไถกลบฟางซ้ำหลายๆรุ่น ฟางไต้ดินจึงทำหน้าที่เสมือนฟองน้ำเก็บน้ำไว้ให้ หล่อเลี้ยงตอข้าวยามรอแตกหน่อใหม่ได้....)

- เมื่อมั่นใจ ทั้งหน่อข้าวแตกใหม่ หน่อใหม่ที่ปลูกซ่อม ยืนต้นได้แล้ว สิริรวมระยะเวลาทั้งสิ้นกว่า 10-12 วัน ใครเห็นก็คิดว่า ตอข้าวขาดน้ำนานปานนี้น่าจะตายหมดแล้ว แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ นอกจากในดินมีฟองน้ำคอยอุ้มน้ำไว้ให้แล้ว ระบบรากที่สมบูรณ์แข็งแรง จากการบำรุงต้นข้าวส่งผลให้ตอข้าวยืนรอแตกหน่อใหม่ได้อย่างไม่สะทกสะท้าน จึงสูบน้ำเข้านา จากนั้นทุกอย่างทุกขั้นตอน ปฏิบัติเหมือนการทำนาปกติ

- ฟางในดินอุ้มน้ำไว้ในเนื้อดินได้นานนับเดือน เป็นน้ำระดับ "ชื้น" งานนี้นอกจากได้น้ำแล้วยังมีจุลินทรีย์ประจำถิ่น +จุลินทรีย์ที่ใส่ลงไปอีกด้วย

- แปลงข้างๆ เห็นนาแปลงนี้มาตลอด ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ข้าวปลูกมา 9 เมล็ด, การเปลี่ยนจากข้าวสีขาวมาเป็นข้าวสีดำ, การปฏิบัติบำรุง, ทุกอย่างทุกขั้นตอนประจักษ์แจ้งเห็นกับตา จับกับมือ แม้กระทั่งรายได้แต่ละรุ่นก็รู้อยู่แก่ใจ ....

งานนี้นอกจาก ไม่ใส่ใจ-ไม่คิด-ไม่วิเคราะห์-ไม่เปรียบเทียบ กับนาตัวเอง กับนาแปลงอื่นๆ แล้ว ยังค่อนขอดนาๆว่า นาอินทรีย์ไปไม่รอด ข้าวสีดำโรงสีไม่รับซื้อ มาถึงรุ่นนี้ ไรซ์เบอร์รี่ล้มตอซัง ก็ยังค่อนขอดอีกว่า ต้นข้าวไม่ใช่ต้นกล้วยถึงจะเอาหน่อได้ กระทั่งหน่อข้าวขึ้นมาเต็มแปลง เห็นเต็มตาว่านั้นคือต้นข้าว ก็ยังไม่วายสงสัยอีกว่า มันมาได้ยังไง ?

กรอบแห่งความคิด :
คุณภาพเพิ่ม :

- ไม่อยู่ในเกณฑ์ถูกตัดราคา (ปลอม ปน ป่น ไข่ เรื้อ ลีบ)
- ปริมาณเท่ากันแต่ขายได้ราคาสูงกว่า
- ผลิตตามความต้องการของตลาด หรือผู้รับซื้อ (การตลาด นำการผลิต)
- แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม (ขายส่ง ขายปลีก)
- ปรับ/เปลี่ยน วิธีการปฏิบัติเมื่อสภาพอากาศผิดปกติ เพื่อให้ได้ผลผลิต
- อินทรีย์นำ เคมีเสริม หรือ เคมีนำ อินทรีย์เสริม ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
- ฯลฯ

ต้นทุนลด :
- เขียนรายการต้นทุนที่เป็นเงิน (เช่า ไถ ย่ำ พันธุ์ หว่าน/ดำ/หยอด ฉีด ปุ๋ย ยา ฯลฯ) ขึ้นมาก่อน ทุกรายการ
- เขียนรายการต้นทุนที่ไม่ได้ซื้อ (ที่ดิน เวลา แรงงานตัวเอง โอกาส ฯลฯ) ขึ้นมาก่อน ทุกรายการ
- ประมาณการตลาดล่วงหน้าราคาขายว่า ขายแล้วจะได้เท่าไหร่
- คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ต้นทุนระหว่างทำเอง 100% กับ ทำเองครึ่งนึ่งซื้อครึ่งนึง
- ลงทุนแก้ปัญหาครั้งเดียว เพื่อป้องกันปัญหาระยะยาว
- ใช้ เทคโนโลยีวิชาการ ผสมผสาน เทคโนโลยีชาวบ้าน
- ฉลาดเลือก ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้ ฉลาดวางแผน ฉลาดทำ เพื่อต้นทุนที่ต่ำกว่าแต่ประสิทธิภาพเหนือกว่า
- ใช้เครื่องทุ่นแรง เพื่อประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน
- ฯลฯ

อนาคตดี :
- ดิน น้ำ ดีขึ้นเรื่อยๆ
- ชื่อเสียง เครดิต
- รวมกลุ่มสร้างผลผลิตเพื่อผู้รับซื้อมั่นใจ
- เปิดตัวเปิดใจรับรู้ข้อมูลทางวิชาการ แล้วต่อยอดขยายผล สำหรับรุ่นหน้า รุ่นต่อๆไป
- ฯลฯ

**** ทฤษฎีนี้ นำไปใช้กับนาข้าวได้ทุกชนิด ทุกสายพันธุ์ ทุกประเทศ ****



เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ
https://sites.google.com/site/technologystudentfive/thekhnoloyi-hmay-thung-xari

เทคนิค หมายถึง ศิลปะหรือกลวิธีเฉพาะวิชานั้นๆ....
https://dict.longdo.com/search/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84-


technician หมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน
https://dict.longdo.com/search/TECHNICIAN
-------------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©