kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11689
|
ตอบ: 28/02/2023 5:39 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 1 มี.ค. * นาข้าวใส่ปุ๋ย ผิดสูตรผ |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 1 มี.ค.
***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย คุณล่า (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัด
วัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....
*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 4 มี.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี, ....
*** งานนี้ แจก ! แจก ! แจก ! หนังสือไม้ผลแนวหน้า กับดักแมลงวัุนทอง แจก ! แจก ! แจก ! ....
***********************************************************************
***********************************************************************
จาก : 09 261x 847x
ข้อความ : ต้นทุนนาข้าวมีอะไรบ้าง
จาก : 08 926x 739x
ข้อความ : ยอมรับยอมรับ นาข้าววันนี้หมดไปกับต้นทุนที่สูญเปล่า มากมายมหาศาล
จาก : 09 267x 417x
ข้อความ : ปัญหามีให้แก้ ไม่ใช่มีให้กลุ้ม นาข้าวใส่ปุ๋ย ผิดสูตร ผิดอัตรา ไปแล้วเอาออกไม่ได้ ปัญหานี้แก้ยังไงคะ
จาก : 06 871x 241x
ข้อความ : ชาวนากระดูกสันหลังของโลก แต่วันนี้ชาวนาจนที่สุดในโลก
MOTIVATION แรงบันดาลใจ :
ต้นทุนการปลูกข้าวของ ผู้จัดการนา
เป็นระยะเวลาหลายปีแล้วที่วิถีการปลูกข้าวของชาวนาไทยเปลี่ยนไป จากที่เมื่อก่อนชาวนาหนึ่งคนต้องทำทุกอย่างตั้งแต่ไถนาย่ำเทือกไปถึงเกี่ยวข้าว กลายมาเป็นทำเองบางส่วนและจ้างคนอื่นอีกบางส่วน กระทั่งปัจจุบันแทบจะเป็นการจ้างคนอื่นทำทุกขั้นตอน ซึ่งการจ้างคนอื่นให้ทำนาทุกขั้นตอนด้วยการโทรศัพท์สั่งนั้น หลายคนเรียกอาชีพนี้ว่า ผู้จัดการนา
ในระยะหลายปีมานี้ วิถีการปลูกข้าวเริ่มเปลี่ยนไปเป็นการจ้างมากขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่มีโครงการประกันราคาข้าวและโครงการรับจำนำข้าวจากรัฐบาลที่ทำให้ชาวนาส่วนใหญ่ต้องกลายมาเป็น ผู้จัดการนา เนื่องจากต้องทำผลผลิตให้เร็วขึ้นและมากขึ้น เพื่อที่จะได้ไปขายข้าวในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งชาวนาคนหนึ่งใน อ.โพทะเล จ.พิจิตร อ้างว่าชาวนาในละแวกที่อยู่ประมาณ 90% แทบจะทำนาด้วยการจ้างทั้งหมด
การเป็น ผู้จัดการนา มีข้อดีที่สามารถประหยัดเวลาและประหยัดแรงไปได้มากเมื่อเทียบกับการทำนาเองทุกขั้นตอน แต่มันก็แลกมาด้วยต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น
ต้นทุนในการปลูกข้าวของผู้จัดการนามีอะไรบ้าง (โทรศัพท์สั่งอย่างเดียวไม่ต้องลงแรงอะไรเลย)
1.ไถนา หรือการย่ำเทือก เป็นขั้นตอนการเตรียมดินสำหรับการหว่านข้าว ราคาค่าจ้างอยู่ที่ไร่ละ 250-300 บาท แต่หากใช้รถแทร็กเตอร์ขนาดใหญ่ทำซึ่งใช้เวลารวดเร็วกว่า ราคาต่อไร่ก็จะอยู่ที่ 400 บาท
2. การลูบ คือการลูบหน้าดินให้เรียบเสมอกันหรือการลูบเทือกก่อนการหว่าน ราคาค่าจ้างอยู่ที่ไร่ละ 250-300 บาท
3. เมล็ดพันธุ์ข้าว เมล็ดพันธุ์ข้าวมีราคาแตกต่างกันตามสายพันธุ์ต่างๆ ในที่นี้จะขอใช้พันธุ์ปทุมธานี 1 ซึ่งมีราคาประมาณ 26 บาทต่อกิโลกรัม โดยพื้นที่ขนาด 1 ไร่จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 25-30 กิโลกรัม คิดเป็นราคา 650-780 บาทต่อไร่
4. ค่าจ้างหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว คือการจ้างคนมาหว่านเมล็ดพันธุ์ โดยราคาจะมีตั้งแต่ 50-100 บาทต่อไร่
5. ปุ๋ยเคมี การปลูกข้าวต่อ 1 ฤดูกาลจะให้ปุ๋ยเคมี 2-3 รอบ ให้อย่างต่ำครั้งละประมาณ 25 กิโลกรัม (ครึ่งกระสอบ) ต่อไร่ โดยราคาปุ๋ยยูเรียปัจจุบันอยู่ที่ 650-700 บาทต่อกระสอบ เมื่อคิดเป็นต้นทุนต่อฤดูกาลจะอยู่ประมาณ 700-1,000 บาทต่อไร่
6. ค่าจ้างหว่านปุ๋ยเคมี ราคาค่าจ้างหว่านปุ๋ยในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน ระดับราคาจะอยู่ที่ 50-100 บาทต่อไร่ ซึ่งในหนึ่งฤดูกาลจะหว่าน 2-3 รอบ คิดเป็นต้นทุนประมาณ 100-300 บาท
7. สารเคมี สารเคมีในที่นี้จะรวมทั้งยาคุมหญ้า ยาฆ่าหญ้า ยาป้องกันแมลง ยาฆ่าแมลง รวมถึงฮอร์โมนบำรุงพืชด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วจะนำยาเหล่านี้ 1 ขวดมาผสมน้ำในถังขนาด 200 ลิตร 1 ถัง ฉีดได้ 15 ไร่ ซึ่งสารเคมีเหล่านี้มีราคาแตกต่างกันมากตั้งแต่ 150 บาท ไปจนถึงหลายร้อยบาทหรือเป็นพันบาทก็มี โดยในการปลูกข้าว 1 ฤดูกาลจะต้องฉีดสารเคมีเหล่านี้อย่างน้อย 2-3 ครั้ง และจะมากขึ้นไปอีกหากมีโรคพืชแมลงเข้ามารบกวน ในที่นี้จะขอให้ราคากลางสารเคมีทุกชนิดถัวเฉลี่ยต่อขวดอยู่ที่ 400 บาท ตามคำบอกเล่าของชาวนาในจังหวัดพิจิตร และใช้สารเคมีอย่างต่ำ 3 ชนิด คือ ยาคุมหญ้าฉีด 1 รอบ ยาป้องกันแมลง 2-3 รอบ ฮอร์โมนบำรุงต้นข้าวอีก 2-3 รอบ เมื่อคำนวณเป็นต้นทุนต่อไร่จะได้ 180-200 บาท
8. ค่าจ้างฉีดสารเคมี ราคาค่าจ้างฉีดสารเคมีจะอยู่ที่ประมาณ 50 บาทต่อไร่ต่อรอบ ซึ่งปกติจะฉีดประมาณ 4 ครั้งต่อฤดูกาล จึงคิดเป็นราคา 200 บาทต่อไร่
9. เก็บเกี่ยวข้าว เมื่อข้าวโตพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวก็ต้องจ้างรถมาเกี่ยว โดยราคาอยู่ที่ไร่ละ 500 บาท นอกจากนี้ยังมีค่าขนข้าวราคาเกวียนละ 100 บาท หากผลผลิตต่อไร่คือ 80 ถัง หรือ 0.8 เกวียน ราคาค่าขนข้าวจะอยู่ที่ 80 บาทต่อไร่ เมื่อรวมต้นทุนในกระบวนการเก็บเกี่ยวจะมีราคาอยู่ที่ 580 บาท (ถ้าผลผลิตต่อไร่สูงราคาก็จะมากขึ้น)
10. น้ำมันเชื้อเพลิง การทำนามีความจำเป็นที่จะต้องสูบน้ำเข้านา ซึ่งมีค่าน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ไม่น้อย โดยปกติแล้วจะสูบน้ำกันโดยเฉลี่ย 1 ครั้งต่อ 10 วัน เป็นอย่างน้อย ให้การปลูกข้าวต่อ 1 ฤดูกาลอยู่ที่ 120 วัน ฉะนั้น ในหนึ่งฤดูกาลจึงสูบน้ำเฉลี่ย 10 ครั้ง (ตัดช่วงใกล้เก็บเกี่ยวที่ต้องปล่อยให้น้ำแห้ง) โดยเครื่องสูบน้ำจะกินน้ำมันในอัตรา 2.5 ลิตรต่อ 1 ไร่ ราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 30 บาท จะได้ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นต้นทุนที่ประมาณ 750 บาทต่อไร่
อย่างไรก็ดี หากเป็นการทำข้าวนาปี ปริมาณการสูบน้ำก็จะลดน้อยลงตามลำดับเนื่องจากมีฝนคอยให้น้ำ
11. ค่าเช่านา ในกรณีที่ไม่มีที่นาทำกินเป็นของตัวเอง ชาวนาหลายคนก็ต้องเช่านามาทำซึ่งวิธีคิดราคามีหลายรูปแบบ เช่น ขอเป็นส่วนแบ่งจากผลผลิตที่ได้ หรือเก็บเป็นรายปี หรือเก็บเป็นรายครั้ง ครั้งละ 1,000-1,200 บาทต่อไร่ต่อการปลูก 1 ครั้ง ซึ่งจากการลงพื้นที่พบเห็นวิธีเก็บค่าเช่าเป็นรายครั้งเสียส่วนมาก
ทั้งนี้ ต้นทุนการทำนาที่เขียนไว้ข้างต้นไม่ได้หมายถึงต้นทุนทำนาของชาวนาทุกคนในประเทศ เป็นเพียงการสัมภาษณ์และเอาข้อมูลจากชาวนา 10 คนในจังหวัดพิจิตร และนครสวรรค์เท่านั้น โดยทุกคนที่ถูกสัมภาษณ์ล้วนเป็น ผู้จัดการนา ที่จ้างปลูกข้าวทั้งหมดเกือบทุกกระบวนการ แม้ข้อมูลที่ได้มาจะมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ แต่ก็มีระดับราคาที่ใกล้เคียงกันซึ่งแสดงไว้ในรายละเอียดข้างต้นแล้ว
เมื่อนำต้นทุนทั้ง 11 รายการมารวมกันจะได้ต้นทุนต่อไร่อยู่ที่ประมาณ 4,710 บาท ถึง 5,710 บาท โดยถ้าตัดค่าเช่านาออกไป (ในกรณีมีที่นาเป็นของตัวเอง) ก็จะมีต้นทุนอยู่ในช่วง 3,710-4,510 บาทต่อไร่ต่อรอบการปลูก
อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์พบว่าชาวนาส่วนใหญ่ไม่ได้ทำบัญชีบันทึกต้นทุนที่ละเอียดครบทุกรายการ บางรายการมีการจด แต่บางรายการก็ไม่จด และมักจะพบว่าส่วนใหญ่มีต้นทุนบานปลายกว่าที่ได้จากการคำนวณข้างต้น คือมากกว่าระดับ 3,710-4,510 บาท (กรณีไม่เช่าที่ทำนา) ขึ้นไปอีก โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 5,000 บาทต่อไร่ ซึ่งชาวนากล่าวว่ามีสาเหตุมาจากการเสียดอกเบี้ยเงินกู้ที่นำมาลงทุนและซื้ออุปกรณ์ในการทำนาหรือเสียเล็กเสียน้อยรายทางแต่ไม่ได้จดบันทึกไว้
สัจจะธรรม : เทคโลยีเครื่องทุ่นแรง .... จ่ายค่าแรงเท่าเดิม แต่เนื้องานได้มากขึ้น
https://ar-ar.facebook.com/chokwari/posts/1694739444124902/
ประสบการณ์ตรง สีสันชีวิตไทย :
ชาวนามือใหม่ สิงห์บุรี :
หญ้าขี่ข้าว : แก้ไขโดยการให้ปุ๋ยทางใบเป็นหลัก บำรุงทั้งสองอย่างไปเลย โตทั้งสองอย่างก็ช่างมัน เพราะถ้ามัวแต่กลัวหญ้าโตเลยไม่ให้ ต้นข้าวก็เลยอดด้วย เอาเถอะ ให้ปุ๋ยทางใบแล้ว ใบหญ้าไม่โน้มใบมาแย่งอาหารต้นข้าวที่ใบข้าวหรอก แต่ถ้าให้ปุ๋ยทางราก อันนี้ต้องยอมรับก่อนว่า ต้นหญ้าหาอาหารเก่งกว่าต้นข้าว ใส่ปุ๋ยลงไป 10 ส่วน หญ้าเอาไปกิน 8 ส่วน ต้นข้าวได้แค่ 2 ส่วนเท่านั้น
* ทำไงได้ นาข้าวรุ่นนี้ ต้องเลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน รุ่นหน้าเอาใหม่ เกี่ยวข้าวแล้วเอาปุ๋ยที่หญ้าเอาไปนั้นกลับคืนมาโดยการไถกลบ
* ประสบการณ์ตรง นาข้าวริมถนนสายบายพาส สิงห์บุรี ข้าวครึ่งหญ้าครึ่ง บำรุงทางใบทุก 7 วัน ไม่ให้ปุ๋ยทางดิน ยังได้ข้าวตั้ง 120 ถัง
- การที่จะทำได้ประสบความสำเร็จอยู่ที่ ใจ ใจเอาใจสู้ ใจมาก่อนฝีมือมาทีหลัง คนเราความเก่งเท่าๆกัน แต่แพ้ชนะกันที่โอกาส โอกาสลอยอยู่ในอากาศ ใครคว้าไว้ได้ก็ได้ ไม่คว้าก็ลอยหายไปหาคนอื่น....ระหว่าง ทำกับไม่ได้ทำ....ทำถูก = ได้ คือ กำไร, ทำผิด = ไม่ได้ คือ ขาดทุนเป็นหนี้ ....ไม่ได้ทำ = ไม่ได้ คือ เท่าทุน หรือ ขาดทุน ลงท้ายเป็นหนี้
- เกษตรที่ทำอยู่ ณ วันนี้ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ/ฟันธง ซิ ...
* ให้ได้ปริมาณมากกว่านี้ ทำยังไง ? .... ได้น้อย ได้เท่าเดิม ได้เท่าข้างบ้าน สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ได้คุณภาพเหนือกว่านี้ ทำยังไง ? .... คุณภาพต่ำ คุณภาพเท่าเดิม คุณภาพเท่าข้างบ้าน สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ต้นทุน ทุนซื้อ/ทำเอง ต่ำกว่านี้ ทำยังไง ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ได้เครดิตความน่าเถือมากกว่านี้ ถึงขนาดจองล่วงหน้า ซื้อเหมายกสวน ทำยังไง ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* วิธีทำ รูปแบบการทำ ของตัวเองคือทำแบบเดิม ผลรับทุกอย่างเหมือนเดิม เพราะอะไร ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* วิธีทำ รูปแบบการทำ ของคนอื่น ผลรับทุกอย่างเหนือกว่าของเรา เพราะอะไร ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ฯลฯ
นาข้าว ทุกชนิด-ทุกสายพันธุ์-ทุกพื้นที่ ปลูกไปแล้ว :
* ทำแบบเดิมๆ เดิมทุกอย่าง ปล่อยให้ข้าวเกิดเองแล้วโตเองตามธรรมชาติของต้นข้าว คงได้ข้าวไม่เกิน 80 ถัง ค่าโรงสีตัดราคาข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ ลงท้ายได้ราคา 8,000 หักต้นทุนจ่ายแล้ว 4,800 กับที่ยังไม่ได้จ่ายอีก 2,000 รวมเป็น 6,800 งานนี้เหลือคงกำไรแค่ 1,200 ....นา 40 ไร่ x ไร่ละ 1,200 = 48,000
* ทำแบบเดิมๆ เดิมทุกอย่าง ทำแล้วทำเลย ใส่แล้วใส่เลย แก้ไม่ได้ เอาออกไม่ได้ ให้บำรุง เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ด้วยสูตรเลยตามเลย ไหนๆก็ไหนๆ แบบสูตรเหมาจ่าย จะแก้ปัญหา ค่าโรงสีตัดราคาข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ อันนี้โรงสีไม่ตัดราคา กับข้าวรัฐบาลเกวียนละหมื่น ได้หมื่นเต็มๆ แถมปริมาณข้าวที่ได้ต่อไร่เพิ่มขึ้น จากไร่ละ 80 ถัง 100 ถัง
* ทำแบบเดิมๆ เดิมทุกอย่าง ทำแล้วทำเลย ใส่แล้วใส่เลย แก้ไม่ได้ เอาออกไม่ได้ ให้บำรุง เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ด้วยสูตรเลยตามเลย ไหนๆก็ไหนๆ แบบประณีต ปัญหา ค่าโรงสีตัดราคาข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ อันนี้โรงสีไม่ตัดราคา กับข้าวรัฐบาลเกวียนละหมื่น ได้หมื่นเต็มๆ แถมปริมาณผลข้าวเปลือกต่อไร่เพิ่มขึ้น จากไร่ละ 80 ถัง เป็น 120 ถัง
* ทำนารอบหน้า นาข้าวสูตรเลยตามเลย แบบประณีต ....
- ลดปุ๋ยเคมีจาก 2 กส. 100 กก. /ไร่ ลงเหลือ 10 กก./ไร่ เปลี่ยนสูตรยูเรีย 16-20-0 เป็น 16-8-8 กับใช้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงเตรียมดินทำเทือก
- ทำเทือกแบบประณีต ย่ำ 4 รอบ ใส่ปุ๋ยตอนย่ำเทือก (ไม่ต้องจ้างหว่าน), ไม่ต้องยาฆ่ายาคุมหญ้า (ย่ำเทือกกำจัดหญ้าให้), ขี้เทือกดี (จุลินทรีย์ในระเบิดเถิดเทิงช่วย), เนื้อปุ๋ยกระจายทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว ข้าวทุกต้นได้กินปุ๋ย (เครื่องใส่ปุ๋ย เคมี+อินทรีย์ ลงหน้ารถย่ำเทือก แล้วลูกทุบท้ายรถกวาดเนื้อปุ๋ยกระจายทั่วแปลง)
- ทำนาดำ (ดำด้วยเครื่อง), นาหยอด (หยอดด้วยเครื่องหยอด แรงคนลาก หรืออีต๊อกลาก), ได้ต้นข้าวดี เมล็ดดี ทำพันธุ์ได้.... ลดต้นทุน ค่าแรง ค่าเมล็ดพันธุ์ ลดโรค....
- นา 200 ไร่ นาข้าวแบบประณีต ซื้อทุกอย่าง จ้างทุกอย่าง ตั้งแต่ก้าวแรกลงนา ถึงก้าวสุดท้ายขายข้าวกลับเข้าบ้าน ได้ข้าว 100 ถึงขึ้น ได้กำไรเป็นล้าน
- ที่นา 40 ไร่แค่นี้ เตรียมใจทำนารอบหน้า นาข้าวแบบประณีต นะ....รึว่าไง ?
วันนี้ถึงยุคถึงสมัยที่เราจะต้อง กล้าคิด-กล้าทำ แล้ว เพราะทำแบบเดิมๆยังไงๆมันคงไม่ดีไปกว่าเดิมแน่ เผลอๆจะแย่กว่าเดิมด้วย เพราะทุกอย่างเปลี่ยนไป เปลี่ยนไปในทางลบด้วย ดินแย่ลงๆ ปุ๋ยแพงขึ้นๆ ค่าแรงแพงหนักๆ แถมหายากอีกต่างหาก....ขอบอกว่าทุกอย่างอยู่ที่ ใจ เท่านั้น
บำรุงต้นข้าวสูตรเลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แบบเหมาจ่าย :
- ให้ไบโออิ อย่างเดียวตั้งแต่ระยะกล้าถึงเกี่ยว ห่างกัน 7-10 วัน ....ทุกครั้งที่ให้ทางใบ + ยาน็อค สารสมุนไพรร่วมด้วยทุกครั้ง
- ป้องกันศัตรูพืช :
มาตรการ กันก่อนแก้ : คือ แม็กเนเซียม. สังกะสี. ช่วยสร้างภูมิตานทานให้แก่ต้นข้าวเป็นพื้นฐาน แถมฉีดพ่นสารสมุนไพรทับเข้าไปอีก นี่คือ 2 เด้ง
มาตรการ ป้องกัน + กำจัด : ถ้าแปลงข้างๆกำลังเกิดระบาด ช่วงว่างระหว่าง 7-10 วัน ให้ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ 2-3 รอบ ห่างกันวันเว้นวัน
บำรุงต้นข้าวสูตรเลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แบบประณีต :
นาข้าวที่กำจัดวัชพืชไม่หมด ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้วมีต้นข้าวกับต้นวัชพืช "ครึ่ง : ครึ่ง" จนเต็มนา แนะนำให้ใช้สูตร "เลยตามเลย หรือ ไหนไหนก็ไหนไหน" เพราะกำจัดวัชพืชไม่ได้แล้ว โดยเน้นบำรุงทางใบเป็นหลัก.....ดังนี้
ระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น "ไทเป + ยาน็อค" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ 100 ซีซี. + ยูเรก้า + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย
- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง
- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน
- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10
--------------------------------------------------------------------------------------------
.... เกษตรานุสติ ....
เกษตรแจ๊คพ็อต...เกษตรแจ๊คพ็อต...เกษตรแจ๊คพ็อต... สั้นๆคำนี้ น่าจะเป็นแรงบันดาลใจ เป็นแสงสว่างปากถ้ำ เป็นเป้าหมายชีวิตที่ตัวเองอยากให้เป็น เป็นๆ ๆๆ ๆๆ เป็นอะไรก็ได้ที่ตัวเองอยากให้เป็น
เกษตรแจ๊คพ็อต หมายถึง ผลผลิตที่ได้ราคาแพงตามสภาวะการตลาด เรียกว่า DEMAND SUPPLY (อุปสงค์-อุปทาน) หรือ สินค้ามีน้อยแต่ผู้ซื้อมีมาก หรือ สินค้ามีน้อย น้อยกว่าปกติ แต่ผู้บริโภคมีเท่าเดิม ประมาณนี้...สภาวะการ
ตลาดแบบนี้ไม่มีมาตรฐานรองรับ ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ บางครั้ง อยากจะเรียกว่า ฟลุก หรือ ดวง ด้วยซ้ำ ผู้ที่จะให้คำตอบได้ดีที่สุดคือ แม่ค้า ในย่านนั้นว่า อะไรราคาแพงเดือนไหน เพราะอะไร หรือรู้แม้แต่คนที่เคยทำได้ มีตัวตน มีเบอร์โทร ....
เหนือกว่าเกษตรแจ๊คพ็อต คือ เกษตรประณีต ที่ทุกอย่างมีมาตรฐานรองรับอย่างเป็นเหตุเป็นผล ไม่ใช่ฟลุก ไม่ใช่ดวง แต่เป็นฝีมือโดยแท้ ชนิดที่พูดได้เต็มปาก ก.ทำกับมือ ม.อย่าเถียง... ประมาณนั้น
การที่จะทำได้ประสบความสำเร็จอยู่ที่ ใจ ใจเอาใจสู้ ใจมาก่อนฝีมือมาทีหลัง คนเราความเก่งเท่าๆกัน แต่แพ้ชนะกันที่โอกาส โอกาสลอยอยู่ในอากาศ ใครคว้าไว้ได้ก็ได้ ไม่คว้าก็ลอยหายไปหาคนอื่น ....
ระหว่าง ทำ กับ ไม่ได้ทำ ....
ทำถูก = ได้ คือ กำไร
ทำผิด = ไม่ได้ คือ ขาดทุน เป็นหนี้
ไม่ได้ทำ = ไม่ได้ คือ เท่าทุน หรือ ขาดทุน ลงท้ายเป็นหนี้
เกษตรที่ทำอยู่ ณ วันนี้ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ/ฟันธง ซิ
* ให้ได้ปริมาณมากกว่านี้ ทำยังไง ? .... ได้น้อย ได้เท่าเดิม ได้เท่าข้างบ้าน สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ได้คุณภาพเหนือกว่านี้ ทำยังไง ? .... คุณภาพต่ำ คุณภาพเท่าเดิม คุณภาพเท่าข้างบ้าน สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ต้นทุน ทุนซื้อ/ทำเอง ต่ำกว่านี้ ทำยังไง ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ได้เครดิตความน่าเถือมากกว่านี้ ถึงขนาดจองล่วงหน้า ซื้อเหมายกสวน ทำยังไง ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* วิธีทำ รูปแบบการทำของตัวเองคือ ทำแบบเดิม ผลรับทุกอย่างเหมือเดิม เพราะอะไร ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* วิธีทำ รูปแบบการทำของคนอื่น ผลรับทุกอย่างเหนือกว่าของเรา เพราะอะไร ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ฯลฯ
*** คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ บนเหตุและผล :
เนื้อที่ 1 ไร่ ไม้ผลทั่วไป ทำงานทั้งปี ได้ขายรอบเดียว ราคาหน้าสวน กก.ละ 20 บาท.. ทุเรียนหมอนทองออกลูกทั้งปี พันธุ์ทั่วไปออกลูกปีละครั้ง หน้าสวน กก.ละ 100 บาท
เนื้อที่ 1 ไร่ ผลไม้ทั่วไป ทำงานทั้งปี ออกลูกปีละครั้ง ราคาหน้าสวน กก.ละ 20 บาท..... ส้มเขียวหวาน มะนาว มะพร้าวน้ำหอม ทำงานทั้งปี ได้ขาย 3-4-10 รอบ
เนื้อที่ 1 ไร่ นาข้าว ยูเรีย 16-20-0 ได้ 80 ถัง ราคาที่โรงสี 8,000 .... นาข้าวแนวสีสันฯ ได้ 100 ถัง ราคาที่โรงสี 10,000 .... ข้าวราคาดี : ข้าวปลูก, ข้าวหอมพร้อมหุง, ข้าว จีไอ.พร้อมหุง,
เนื้อที่ 1 ไร่ สำปะหลัง/เผือก แบบเทวดาเลี้ยง ทำงานทั้งปี ได้ 3 ตัน ..... สำปะหลัง/เผือก แนวสีสันฯ ทำงานทั้งปี ได้ 20+ ตัน
เนื้อที่ 1 ไร่ อ้อยโรงงาน แบบเทวดาเลี้ยง ทำงานทั้งปี ตอ 1 ได้ 12 ตัน, ตอ 2 ได้ 6 ตัน, ตอ 3 ล้มทิ้งปลูกใหม่ ..... อ้อยโรงงาน แนวสีสันฯ ตอ 1 ได้ 20 ตัน ตัดแล้วเลี้ยงตอต่อ 8 รอบ รอบละ 14 ตัน
---------------------------------------------------------------------------------------------
.
|
|