kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11625
|
ตอบ: 12/03/2023 5:18 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 13 มี.ค. * ฯ ฟันธง นาข้าวมีกี่แบ |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 13 มี.ค.
***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
*** วันนี้วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย คุณล่า (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัด
วัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** แจกหนังสือไม้ผลแนวหน้า *** แจกกับดักแมลงวันทอง....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....
*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 18 มี.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดท่าตำหนัก ถ.เพชรเกษม (ขาล่อง) ก่อนถึงแยกนครชัยศรี 200 ม. นครปฐม....
*** งานนี้ แจก ! แจก ! แจก ! หนังสือไม้ผลแนวหน้า กับดักแมลงวันทอง แจก ! แจก ! แจก ! ....
***********************************************************************
***********************************************************************
สำปะหลังแบบก้าวหน้า :
จาก : 08 512x 794x
ข้อความ :
1. ประสบการณ์ตรงนาข้าวที่ล้มเหลว สำเร็จ
2. บำรุงเต็มที่แต่ผิด เท่ากับไม่ได้
3. บำรุงเต็มที่แต่ถูก เท่ากับได้บวกได้
4. ไม่ได้คือเสีย เสียคือขาดทุน ขาดทุนกำไร ขาดทุนต้นทุน
จาก : 09 28x 410x
ข้อความ :
1. คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ฟันธง นาข้าวมีกี่แบบ
2. ไม่รู้ไม่เชื่อต้องลอง ลองแปลงเล็ก เอาผลงานมาขยายผลรุ่นหน้า
3. ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ตัวเดียวกัน ใช้แทนกัน ร่วมกัน ได้แน่นอน
4. ลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี ค่ายาฆ่าแมลง เท่ากับ ลดต้นทุนเงินที่จ่ายกว่าครึ่ง แต่ข้าวที่ได้ดีกว่า มากกว่า
จาก : 09 127x 498x
ข้อความ : ลุงผ่านโลกเกษตรมามาก อยากฟังเรื่องนาข้าวที่เป็นประสบการณ์จริงของลุงค่ะ
MOTIVATION แรงบันดาลใจ :
52. แนวทางลดต้นทุน (นาข้าว) :
** ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี ......แกัไขโดย... เลิก/เปลี่ยน วิธีเดิมมาเป็นแบบสีสันชีวิตไทยแนะนำ
** ต้นทุนค่าสารเคมี .....แกัไขโดย.... ใช้สารสมุนไพร+ปุ๋ยทางใบ
** ต้นทุนค่ายาฆ่าหญ้า...แกัไขโดย... ใช้เครื่อง ตัด/พรวน, ไถพรวนด้วยโรตารี่, ย่ำเทือกประณีต
** ต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์
แกัไขโดย... ทำนาหยอด, ทำนาดำเครื่อง, ทำนาแบบล้มตอซัง
** ต้นทุนค่าเช่าที่ ........แกัไขโดย... แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม ขายแบบพันธะสัญญา
** ต้นทุนค่าแรง ..........แกัไขโดย... ใช้เครื่องทุ่นแรง, จ้างประจำ
** ต้นทุนสูง กำไรน้อย ...แกัไขโดย... ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ/ปริมาณ
** ข้าวคุณภาพต่ำ ........แกัไขโดย... เลิก/เปลี่ยน วิธีเดิมมาเป็นแบบสีสันชีวิตไทยแนะนำ
** ข้าวราคาต่ำ ...........แกัไขโดย... แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม, ขายแบบพันธะสัญญา
- ต้นทุนค่ายาฆ่าแมลง ใช้วิธี ลด/ละ/เลิก สารเคมี, ป้องกัน/กำจัด, ใช้ร่วมกับปุ๋ยทางใบ, IPM
- จับหลัก "หัวใจเกษตรไท" *ปุ๋ย *ยา *เทคนิค *เทคโนฯ *โอกาส *ตลาด *ต้นทุน แล้วปรับ ทัศนคติ/ค่านิยม/วัฒนธรรม/ประเพณี จากที่เคยทำแบบเดิมๆ มาสู่การทำแบบใหม่ ปลูกพืชตามใจพืช ไม่ใช่ตามใจคน
- อาชีพเกษตรกรรมหรืออาชีพอื่นใดก็สุดแท้ วันนี้ถึงยุคที่ต้อง คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ แล้วว่า ทำแบบเดิมคงไม่มีอะไรดีกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ เพราะทุกอย่างเปลี่ยนไปในทาง ลบ เช่น ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี ค่ายาฆ่าแมลง ปัจจัยพื้นฐานฯ
- เขียนรายการต้นทุนที่เป็นเงินขึ้นมาก่อน ทุกรายการ เพื่อเตือนสติ
- เขียนรายการต้นทุนที่ไม่ได้ซื้อขึ้นมาก่อน ทุกรายการ
- ประมาณการตลาดล่วงหน้าราคาขายว่า ขายแล้วจะได้เท่าไหร่
- คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ต้นทุนระหว่างทำเอง 100% กับ ทำเองครึ่งนึ่งซื้อครึ่งนึง
- ลงทุนแก้ปัญหาครั้งเดียว เพื่อป้องกันปัญหาระยะยาว
- ใช้ เทคโนโลยีวิชาการ ผสมผสาน เทคโนโลยีชาวบ้าน
- ฉลาดเลือก ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้ ฉลาดวางแผน ฉลาดทำ เพื่อต้นทุนที่ต่ำกว่าแต่ประสิทธิภาพเหนือกว่า
- ใช้เครื่องทุ่นแรง เพื่อประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน
- ฯลฯ
ตอบ
ข้าวล้มตอซัง คือ การทำนาข้าวด้วยตอซังข้าวเดิมแทนการหว่านด้วย เมล็ดพันธุ์ข้าว โดยย่ำตอข้าวเดิม
อัปเดท (13 มกราคม 2554)
ข้าวล้มตอ คือ การทำนาข้าวด้วยตอซังข้าวเดิมแทนการหว่านด้วย เมล็ดพันธุ์ข้าว โดยย่ำตอข้าวเดิมให้ล้มหลังการเกี่ยวข้าว ตามฤดูกาลเสร็จเรียบร้อย ภายในเวลา 10-15 วัน ต้นข้าวรุ่นที่ 2 จะแตกหน่อขึ้นมาจากกอข้าวเดิม
ต้นข้าวที่งอกขึ้นมาใหม่จะเติบโตและให้ผลผลิตเช่นเดียวกับข้าวนาหว่านน้ำตมในครั้งแรก หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วโดยไม่ต้องไถพรวนดินและหว่านกล้า เหมือนการทำนาหว่านน้ำตม ตามปกติ เพียงแต่เกลี่ยฟางข้าวให้สม่ำเสมอ ย่ำให้ตอข้าวล้ม หลังจากนั้น 10-15 วัน ก็วิดน้ำเข้านาและคอยดูแลน้ำไม่ให้ขาดหลังย่ำตอข้าวแล้ว อย่าให้น้ำขังจนกว่าข้าวจะงอก หลังจากข้าวงอก วิดน้ำเข้านาอย่าให้ดินแห้งเกิน 10 วัน ไม่เช่นนั้นข้าวเปลือกที่ตกอยู่บนพื้นดินในนาจะงอกขึ้นมาแทรกกับต้นข้าวที่งอกจากตอ ทำให้มีข้าวสองรุ่นอยู่ในแปลงเดียวกัน ข้าวสองรุ่นอายุไม่เท่ากันก็จะแก่ไม่เท่ากันทำให้เก็บเกี่ยวลำบาก
การปลูกข้าวโดยใช้ตอซังเดิมเกิดผลดีต่อดินคือ ฟางข้าวที่นวดแล้ว จะเน่าเปื่อยผุพัง เป็นปุ๋ยธรรมชาติ ทำให้ดินร่วนซุยดีขึ้น และช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ครึ่งต่อครึ่ง ข้อดีอีกประการของการทำนาข้าวล้มตอ คือได้ต้นข้าวที่แข็งแรง และทนทานต่อการรบกวนของศัตรูพืช อย่าง หอยเชอรี่และเพลี้ยไฟมากกว่าข้าวหว่านนาน้ำตม ข้อควรคำนึงในการปลูกข้าวล้มตอซัง คือแปลงนาต้องสม่ำเสมอ พื้นที่ที่เป็นท้องกระทะ แบบตรงกลางลึก ข้าง ๆ เป็นที่ดอน ไม่ควรทำการปลูกข้าวล้มตอซังเพราะจะทำให้มีน้ำขังและจะทำให้ตอซังเน่า ต้นข้าวที่ปลูกครั้งแรกด้วยเมล็ดต้องแข็งแรงปราศจากโรคแมลง
เก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง โดยระบายน้ำออกจากแปลงนา ให้ดินมีความชื้นเหมาะสมประมาณ 50% ทดสอบได้ด้วยการหยิบดินในแปลงนาปั้นเป็นลูกกระสุนได้แสดงว่าความชื่นเหมาะสม
การปลูกข้าวตอซัง จะเริ่มตั้งแต่หลังการเก็บเกี่ยว ให้กระจายฟางคลุม ตอซังทั่วแปลงนา ใช้ลูกยางย่ำตอซัง ประมาณ 4 เที่ยว ย่ำให้ราบติดกับพื้นดิน ฟางที่คลุมให้ราบเรียบ อย่าให้ตอซังกระดกขึ้น จากนั้นประมาณ 3-4 วัน ข้าวจะเริ่มแทงหน่อเล็กจากข้อที่ 2-3 หรือปลายตอซังออกมา
หลังย่ำตอซังเกษตรกรต้องตรวจสอบว่าฟางที่คลุมจุดใดหนาให้เอาออก คลุมบาง ๆ ปล่อยทิ้งไว้รอจนกว่าหน่อข้าวงอกขึ้นมามี 2-3 ใบ ซึ่งอายุข้าวจะประมาณ 10 วัน นับจากวันย่ำฟาง สังเกตว่าการเจริญเติบโตจะแตกต่างกันกับข้าวหว่านน้ำตม โดยต้นจะใหญ่กว่า รากจะหนาแน่นกว่า หาอาหารได้ดีกว่า ข้าวล้มตอซังที่สมบูรณ์ จะแตกหน่อ 3-4 หน่อ ต่อ 1 ต้นซัง
สูบน้ำเข้าแปลงนาและใส่น้ำหมักชีวภาพ ในอัตรา 200 ลิตร ต่อพื้นที่ 15 ไร่ พอแฉะ แต่อย่าให้น้ำมากจะทำให้ฟางที่คลุมลอย หลังระบายน้ำเข้า 1 วัน ใส่ปุ๋ยสูตรเร่งการเจริญเติบโต และเร่งขบวนการย่อยสลายของตอซังและฟาง จากนั้นรักษาน้ำในนาไม่ให้รั่ว เพื่อไม่ให้ปุ๋ยที่ใส่สูญหายจากนั้นก็คอยดูแลการเจริญเติบโตของต้นข้าวและรอวันเก็บเกี่ยว
การปลูกข้าวแบบล้มตอซังจะช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนในการเพาะปลูกได้มาก ขณะที่ผลผลิตที่ออกมาไม่ต่างจากการปลูกในครั้งแรก.
อ้างอิง :
http://www.dailynews.co.th/
tidtangkaset@dailynews.co.th
http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00405
นาดำ
นาหยอด ดีกว่านาหว่าน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
21 ม.ค. 2562 07:15 น.
ฐานข้อมูลบริษัทสยามคูโบต้า...การทำนาในพื้นที่ 58.6 ล้านไร่ บ้านเรา เกษตรกรนิยมทำนาหว่านมากถึง 92% ทำนาดำ 6.6% มีเพียง 1.4% เท่านั้นที่ทำนาหยอด...ทั้งที่มีการวิจัยมาแล้วว่า การทำนาดำและนาหยอดช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตได้มากกว่าการทำนาหว่าน
เหตุผลหลักที่ทำให้เป็นเช่นนั้น น่าจะมาจากความเคยชิน และชาวนามองว่า การทำนาดำและนาหยอดต้องใช้เครื่องจักรกลการเกษตร เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถเอื้อมถึง
เมื่อปี 2559 คูโบต้า ร้านค้าผู้แทนจำหน่าย หน่วยงานราชการท้องถิ่นเข้ามาให้ความรู้เรื่องทำนาดำและนาหยอด แรกๆยังไม่ค่อยเชื่อเท่าไร แต่ตัดสินใจลองดู ทำนาแบบคูโบต้า อกรีโซลูชั่น ใช้เครื่องจักรกลเข้ามาช่วยทำนา พอดีมีโครงการนาแปลงใหญ่เข้ามา กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้ประมูลจัดซื้อรถหยอดข้าว รถดำนาให้กลุ่มใช้ร่วมกัน จึงมีการทำนาเปรียบเทียบให้เห็นกันไปเลยว่า นาหว่าน นาดำ นาหยอด ให้ผลลัพธ์ต่างกันแค่ไหน
บุญฤทธิ์ หอมจันทร์ รองประธานกลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านพระแก้ว อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท บอกถึงข้อดีของการทำนาแบบคูโบต้า อกรีโซลูชั่น...
ไม่ว่าจะเป็นการทำนาหว่าน นาดำ นาหยอด ทำกันแบบประณีต ตามมาตรฐาน GAP และใช้ปุ๋ยสั่งตัดตามค่าวิเคราะห์ดิน แต่การทำนาดำจะเหมาะกับการทำเพื่อเอาเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ต่อไปมากกว่านาหยอดและนาหว่าน เพราะทำให้ข้าวแตกกอดี ได้เมล็ดที่มีคุณภาพและปริมาณมาก
การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาทำนาหยอด และนาดำ ต่างช่วยให้ต้นกล้ามีระยะห่างระหว่างต้นเหมาะสม ลดการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับการทำนาหว่าน ต้นข้าวเรียงกันเป็นแถวสวยงาม ง่ายต่อการบำรุงรักษา ต้นข้าวไม่แย่งปุ๋ยกันเอง ในขณะที่นาหว่านไม่ใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วย ต้นกล้าไม่เป็นระเบียบ ขึ้นหนาแน่น แย่งอาหารกัน ดูแลรักษาบริหารจัดการยาก ทำให้สิ้นเปลืองทั้งค่าเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยา แถมรถหยอดข้าวยังใช้ประโยชน์ได้ในเรื่อง ฉีดพ่นยาคุมวัชพืชไปพร้อมกันได้ระหว่างที่หยอด ส่งผลให้ต้นข้าวเจริญเติบโตดี แตกกอสมบูรณ์สม่ำเสมอ ได้จำนวนเมล็ดข้าวต่อรวงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพ
บุญฤทธิ์ แจงถึงรายละเอียดการลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต...ทำนาหยอดและนาดำใช้เมล็ดแค่ไร่ละ 8 กก. ต่างจากทำนาหว่านใช้เมล็ดพันธุ์มากถึงไร่ละ 20 กก.คิดง่ายๆ เมื่อเมล็ดพันธุ์น้อยลง ต้นข้าวมีระยะห่างเหมาะสม ตัวข้าวได้อาหารเท่ากัน โตเสมอกัน การให้ปุ๋ยก็ลดลง จากเดิมทำนาหว่านใช้ปุ๋ยไร่ละ 50 กก. ลดลงมาเหลือแค่ 25 กก. การใช้ยากำจัดศัตรูพืชก็ลดจากไร่ละ 300-400 บาท เหลือแค่ไร่ละ 100 บาท
สรุป : การทำนาหว่าน ได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 670 กก. ต้นทุนไร่ละ 4,009 บาท...ส่วนการทำนาดำและนาหยอดให้ผลผลิตใกล้เคียงกันไร่ละ 932 กก. ต้นทุนไร่ละ 3,734 บาท
เลือกเองนะ...จะทำนากันแบบไหน.
กรวัฒน์ วีนิล
นาข้าวปีละ 4 รุ่น
เริ่มลงมือรุ่นแรกเมื่อใดก็ได้ที่โอกาสอำนวย เมื่อข้าวได้อายุครบ 90 วัน หรือถึงระยะพลับพลึงก็ให้ลงเมื่อเกี่ยวได้ หลังจากรถเกี่ยวข้าวเสร็จสิ้นภารกิจ ก็ให้ปล่อยน้ำเข้าแล้วทำเทือก (ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพสารอาหาร และสารปรับปรุงบำรุงดิน) ต่อทันทีแบบไล่หลังรถเกี่ยวข้าว แล้วลงมือหว่านเมล็ดพันธุ์สำหรับรุ่นใหม่ทันทีเช่นกันในวันรุ่งขึ้น เรียกว่าทำเทือกแล้วหว่านไล่หลังรถเกี่ยวกันเลยนั่นแหละ
หมายเหตุ :
- มีน้ำบริบูรณ์ที่สามารถสูบ เข้า-ออก ได้ตลอด 24 ชม. หรือ ณ เวลาที่ต้องการได้ทันที
- เลือกใช้พันธุ์ข้าวเบา ซึ่งข้าวประเภทนี้เหมาะสำหรับส่งโรงสีทำข้าวนึ่ง แล้วส่งออกต่างประเทศเพื่อทำแป้ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ข้าวพันธุ์ดีนัก
- การบำรุงแบบ นาข้าวแบบประณีต จะช่วยให้ทั้งปริมาณผลผลิตและคุณภาพดีขึ้น ถึงเทียบชั้นข้าวพันธุ์ดีได้
- ปกติข้าวเบามีอายุจากหว่านถึงเกี่ยวรวม 90 วัน แต่ในความเป็นจริงนั้น เมื่อต้นข้าวอายุได้ 80 วันก็สามารถเกี่ยวได้แล้ว นอกจากนี้ข้าวเบายังเป็นข้าวต้นเตี้ย ฟางน้อย ผุเปื่อยง่ายอีกด้วย
- กรณีทำนาปีละ 4 รุ่นไม่ได้เพราะติดปัญหาใดก็ตาม อาจจะพิจารณาทำนานปีละ 3 รุ่นครึ่งก็ได้
- ผลผลิตบางรุ่นอาจจะแก่เก็บเกี่ยวได้ตรงกับช่วงฝนตกชุก ซึ่งอาจจะเกิดความเสียหายบ้างจะต้องเตรียมการป้องกันล่วงหน้าให้ดี
- เตรียมเมล็ดพันธุ์ (แช่-ห่ม) ล่วงหน้าให้พร้อมสำหรับหว่าน ณ วันที่ต้องการ
- มาตรการย่อยสลายฟางปรับปรุงบำรุงดินในแต่ละรุ่นจะอาศัยฟางของรุ่นก่อนๆ ซึ่งถูกย่อยสลายดีแล้วเป็นหลัก ส่วนฟางรุ่นล่าสุดก็จะถูกย่อยสลายแล้วเป็นสารอาหารสำหรับรุ่นหน้าหรือรุ่นต่อๆไป
- มาตรการปรับปรุงบำรุงดินแบบ สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง รุ่นต่อรุ่น หลายๆรุ่น และหลายๆปี จะทำให้ดินมีความสมบูรณ์พร้อมอยู่เสมอ
- การมีรถไถโรตารี่ส่วนตัวจะช่วยให้ทำงาน ณ เวลาที่ต้องการได้
- เตรียมแก้ปัญหานัดหมายรถเกี่ยว เช่น แปลงขนาดเล็ก แปลงเดียวเดี่ยวๆ
- รูปแบบการทำนา จากดีที่สุด ไปหาดีน้อยที่สุด ดังนี้...
นาหยอดเมล็ด - นาดำด้วยมือ - นาดำด้วยเครื่อง - นาโยน - นาหว่านด้วยเครื่องพ่น เมล็ด - นาหว่านด้วยมือ
- น้ำมากทำให้ข้าวสูง แตกกอน้อย สุดท้ายก็ล้ม....น้ำน้อย เจ๊าะแจ๊ะหน้าดิน ถึงแห้ง ระดับแตกระแหง ต้นข้าวไม่สูง แตกกอมาก ต้นไม่ล้ม
- ยูเรีย ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี
- แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดีสมบูรณ์แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย
- สังกะสี สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี
ช่วงเวลา 79 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 14 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น ..... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น - ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- 8 อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน
- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10/ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว
สรุป : ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0
ประสบการณ์ตรง (1) วันดูข้าว :
ก่อนวันเกี่ยวราว 15 วัน ออกอากาศขอเชิญคนมาดูแปลงข้าว "นาข้าวแบบไบโอ ไดนามิก" ด้วยปุ๋ยทำเองทุกสูตร ทุกขั้นตอน เนื้อที่ 5 ไร่ ท้ายไร่กล้อมแกล้ม....จากการสุ่มหาค่าเฉลี่ยทราบว่า ผลผลิตได้กว่า 120 ถัง
งานนี้มี สมช.ผู้ฟังให้ความสนใจจากทั่วสารทิศมาดูราว 200 คน ยืนเรียงกันเต็มคันนาตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ในจำนวนนี้มี จนท.เกษตร ปลอมตัวมาด้วย ราว 4-5 คน สมช.บางคนรู้จักแล้วมากระซิบบอกว่า คนนั้นเป็นเกษตรอำเภอนั้น คนนี้เป็นเกษตรจังหวัดนี้ ..... ก็ว่าไป
ลุงคิมพูดผ่านโทรโข่ง เลียบๆเคียงๆโฉบเข้ามาใกล้ๆ จนท.เกษตร เพื่อดูหน้าเท่านั้นในเมื่อเขาไม่ประสงค์แสดงตัวก็ไม่ต้องไปวอแวกับเขาให้มะเร็งกินอารมณ์....แต่ละคนเห็นข้าวแล้วร้อง อื้อฮือ ! แสดงว่ายอมรับ แต่ไม่ (แม้แต่คิด) ยอมรับแล้วเอาแนวทางไปเผยแพร่
ประสบการณ์ตรง (2) วันเกี่ยวข้าว :
วันที่แปลงนาท้ายไร่กล้อมแกล้มพร้อมเกี่ยว รถเกี่ยวมีเด็กหนุ่มเป็นคนขับ ดูมาดแล้วบอกว่า "ทำเป็น" แน่นอน จากนาแปลงข้างเคียงมาถึงแปลงเรา
คนขับ : (มองต้นข้าว) ลุงครับ ข้าวยังเกี่ยวไม่ได้นะครับ
ลุงคิม : เพราะอะไรเหรอ ?
คนขับ : มันยังไม่แก่ครับ
ลุงคิม : รู้ได้ไง ?
คนขับ : (ตอบทันที) ใบยังเขียวอยู่เลยครับ
ลุงคิม : (กวักมือเรียก) มึงลงมานิ
ลุงคิม : (เด็ดรวงข้าวข้างคันนา แล้วเด็ดเมล็ดสุดท้ายโคนรวงส่งให้) พิสูจน์ซิ
คนขับ : (เด็กหนุ่มรับไปแล้วใส่ปากใช้ฟันหน้าขบ ตีหน้าเหรอหรา) แก่แล้วนี่
ลุงคิม : ไหนมึงว่ายังไม่แก่ไงล่ะ ?
คนขับ : ก็ใบยังเขียวอยู่เลย ลุงทำไงน่ะ
ลุงคิม : ไป ขึ้นรถ ทำงาน ไม่ต้องพูดมาก
เด็กหนุ่มท่าทางทำงานแบบสบายๆ เพราะไม่มีข้าวล้มให้ไม่ต้องเลี้ยวรถเกี่ยวเข้าหาต้นข้าวบ่อย เดินหน้าตรงอย่างเดียว มุมคันนาชนมุมคันนา ต้นข้าวที่เกี่ยวแล้วเหลือตอซังต่ำกว่าหัวเข่า....
งานนี้ได้ 127 ถัง/ไร่ เทออกจากกระบะรถลงกองกับแล้วขายเป็นข้าวปลูกได้ 90 บาท/ถัง (เกวียนละ 9,000 ราคามิตรภาพ) ทันที หากส่งโรงสีจะได้ราคาเพียง 60 บาท/ถัง (เกวียนละ 6,000) เท่านั้น....รุ่งเช้าคนที่รับซื้อไป (อ่างทอง) คุยกลับมาว่า ขายต่อได้ถังละ 120 บาท ไม่พอขาย
ประสบการณ์ตรง (3) 2 รุ่น ล้างหนี้ 1 ล้าน เหลือ 2 ล้าน :
นาข้าว 200 ไร่ ของชาวนาย่านบ้านแพรก อยุธยา วันนั้นในปี 51 มีหนี้ในธนาคาร อยู่ 1 ล้าน ด้วยคำพูดในรายวิทยุเพียงคำเดียว ต้นทุนท่วมราคาขาย ทำให้ต้องคิดหนักค้นหาแนวทางใหม่ เพราะที่ทำมา ทั้งของตัวเองและของเพื่อนบ้านข้างเคียงว่า มันไม่ใช่-มันไม่ใช่ ตัดสินใจสั่งซื้อปุ๋ยจากบริษัทร่มทอง ที่โฆษณาใน รายการวิทยุ ซื้อทุกตัวแบบครบวงจร ตั้งแต่เตรียมดินจนถึงวันเกี่ยว .....
ปีนั้นแม้จะเป็นปีแรก ที่เปลี่ยนวิธีการทำนาข้าวจากแบบเคมีเพียวๆ ทั้งหว่าน ทั้งฉีด มาเป็นอินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหาะสมของต้นข้าว ลดการหว่านปุ๋ยทางดิน มาเป็นฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ผลที่ออกมาเห็นชัดว่า ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 100 (-) ถัง/ไร่ เหนืออื่นใด ผลผลิตที่ได้ เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ กับต้นทุนที่ลดต่ำกว่าเดิม 50-70% ไม่น่าเชื่อว่า นาข้าว 2 รุ่น สามารถล้างหนี้ธนาคาร 1 ล้านได้ .....
จากรุ่นแรกเมื่อเริ่มอ่าน LINE ของนาข้าวออก นาข้าวปี 53 ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 100(+)/ไร่ กับต้นทุนต่ำจากเดิมมาอีก ด้วยนาข้าว 2 รุ่น/ปี ตัวเลขเงินฝากในธนาคารเปลี่ยนจากตัวแดงเป็นตัวดำด้วยเงินกว่า 1 ล้าน....
ปี 54 เกิดภาวะน้ำท่วมใหญ่ นา ข้าวแปลงนี้หยุดสนิท ไม่ทำอะไรทั้งสิ้น นอนกินมาม่าด้วยความสบายใจ ....
ปี 55 เริ่มใหม่อีกครั้งด้วยความมั่นใจสูงขึ้น ผลผลิตเพิ่ม-ต้นทุนลด-อนาคตดี วันนี้ครอบครัวนี้มีเงินสดในธนาคารกว่า 2 ล้าน .....
ล้านแล้วจ้า
ประสบการณ์ตรง (4) 100 ไร่ ใส่ N+P 3 แสน ได้ 70 ถัง :
เสียงผู้หญิงมาทางโทรศัพท์ ไม่รู้จักตัวกัน ไม่ได้ถามชื่อ เป็นเพียง สมช.ผู้ฟังรายการวิทยุเท่านั้น เธอเล่าให้ฟังด้วยเสียงปนสะอื้น ....
ทำนาข้าว 100 ไร่ ใส่ยูเรียไร่ละ 2 กส. ใส่ 16-20-0 อีกไร่ละ 1 กส. รวมเป็น 3 กส./ไร่ ทั้งแปลงรวมเป็น 300 กส. ราคา กส.ละ 1,000 บาท เป็นค่า เครดิต+ดอกเบี้ย+ส่ง รวมทั้งรุ่นตก 300,000 บาท เฉพาะค่าปุ๋ยอย่างเดียว ยังไม่รวม ค่าไถ ทำเทือก หว่านเมล็ดพันธุ์ สารเคมีฆ่าหญ้า-ฆ่าแมลง-ฆ่าหอย ค่าจ้างฉีดพ่น ค่าน้ำมันสูบน้ำ ค่าเกี่ยว กับค่าจ้างอย่างอื่นอีกเท่าที่จำเป็น ได้ข้าว 70 ถัง หักค่าเมล็ดลีบ เมล็ดป่น เมล็ดท้องปลาซิว แทบไม่เหลืออะไรเลย เป็นอย่างนี้มา 4-5 ปี ติดต่อกันแล้ว วันนี้มีหนี้ ในระบบ-นอกระบบ เกือบ 2 ล้าน .....
ปล่อยโอกาสให้เธอได้ระบายความอัดอั้นจนเป็นที่พอใจ
ในฐานะที่คุณ สมช.รายการวิทยุ ทั้งภาคเช้าภาคค่ำมาตลอด ก็พูดมาตลอดว่า....
- ต้นข้าวกินปุ๋ย 14 ตัว ทั้งทางใบทางราก ทำไม่ให้แค่ 2 ตัว ..... ต้นข้าวกินปุ๋ย 10 กก.ธาตุหลัก ครบทั้ง 3 ตัว ถึงคุณจะใส่มากถึง 150 กก. ก็ยังได้ปุ๋ยแค่ 2 ตัว คือ ตัวหน้ากับตัวกลางเท่านั้น
ถ้าดินไม่ดี ใส่ปุ๋ยเคมีมากเท่าไหร่ต้นข้าวก็เอาไปกินไม่ได้ ไม่ใช่สิ้นเปลืองเปล่าๆ แต่ยังทำให้ดินเสียหนักขึ้นไปอีก แถมคุณไม่ปรับปรุงบำรุงดินเลย
- ฯลฯ
แม้จะพยายามอธิบาย ยกเหตุและผล อ้างทั้งหลักวิชาการและประสบการณ์ตรง ยกแม่น้ำทั้งห้า มหาสมุทรทั้งหกมาบอกแล้ว ดูเหมือนคุณเธอจะยืนยันคำเดียว ต้องการซื้อปุ๋ยลุงคิม ขอเครดิตก่อน อ้างว่าไม่มีเงินสด แล้วก็ไม่มีแหล่งเงินกู้ที่ไหนเขาให้กู้ยืมด้วย รับรองว่าเกี่ยวข้าวแล้วจะส่งมาให้.....
โห ใครจะให้
ประสบการณ์ตรง (5) ขายข้าว 1 แสน เหลือเงิน 40 บาท :
ทิดมั่น คทาชายนายหนุ่มใหญ่ อายุ 50 ขึ้น นิวาสสถานไม่ห่างจากไร่กล้อมแกล้มมากนัก ยึดอาชีพทำนาข้าว 15 ไร่ บนที่เช่ามาตั้งแต่กำเนิด ทำนาอย่างเดียว ปีละ 2 รุ่น มีหนี้ในบ้านเท่าไร ไม่รู้ ....
รู้แต่ว่า ตะวันโพล้เพล้วันนั้น ทิดมั่นส่งเสียงดังโขมงโฉงเฉงตั้งแต่หน้าวัดได้ยินกันทั่ว แต่ไม่มีใครสนใจ กระทั่งทิดมั่นเข้าบ้าน เสียงทิดมั่นเงียบไป แต่เสียง ยัยแม้น ผู้เป็นเมียดังขึ้นมาแทน ถึงไม่ถามก็รู้ว่า ยัยแม้นโกรธจัด แล้วที่ต้องออกมาด่าผัวนอกบ้านก็เพราะโนผัวเตะนั่นเอง .....
เสียงยัยแม้นร้องด่าง ใครๆ ก็ได้ยิน
.....อั้ยชิบหาย ขายข้าวได้ตั้งแสน เหลือเงินมาให้กูแค่ 40 บาท แล้วทีนี้จะเอาอะไรแดกกัน....
เหตุผลก็คือ ทิดแม้นต้องเอาเงินที่ขายข้าวได้ไปจ่ายค่าเครดิต ปุ๋ย-ยา ให้เถ้าแก่เส็ง ร้านหน้าวด ไม่งั้นรุ่นหน้าจะไปเครดิตอีกไม่ได้นั่นเอง.....งานนี้ ยัยแม้น กลับเข้าบ้านตอนไหม แหล่งข่าวไม่ได้แจ้ง
ประสบการณ์ตรง (6) มรดกชาวนา กระดาษ 1 แผ่น :
ค่ำวันหนึ่งนานมาแล้วนานมากจนจำไม่ได้ ทีวี.ช่องนนทรี รายการ คนค้นคน พูดคุยกับชาวนาสูงอายุ 60-70 แห่งบ้านภาชี อยุธยา
ชาวนา : โฮ้ยยย ทำนาน่ะ มันไม่ได้อะไร อย่างดีก็แค่พอกินไปวันๆ เท่านั้นแหละคุณเอ๊ย
ทีวี. : อ้าว แล้วลุงทำ ทำไม่ล่ะครับ ?
ชาวนา : ก็ไม่รู้จะทำอะไร ไม่มีใครมาสอนมาส่งเสริม
ทีวี. : วันนี้มีหนี้ซักเท่าไหร่ครับ ?
ชาวนา : ก็มากโขอยู่นะ บางปีก็ได้ส่งดอก บางปีก็ไม่ได้ส่ง แต่ต้นยังอยู่
ทีวี. : ลุง...ขอโทษนะ อย่าหาว่าแช่งเลย...ถ้าลุงตายปุบตายปับไปเลย หนี้สินนี่ จะจัดการให้ลูกหลานยังไง
ชาวนา : (หัวเราะ...) ก็มีกระดาษให้มันแผ่นนึง เป็นมรดกไงล่ะ
ทีวี. : กระดาษอะไรครับ ?
ชาวนา : สัญญาเงินกู้ไงล่ะ
ทีวี : หมายความว่าไงลุง ?
ชาวนา : ก็หมายความว่า ปล่อยให้ลูกหลานมันจัดการของมันเอง
ทีวี : เอางั้นนะลุง.....
---------------------------------------------------------------------------------
. |
|