ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11625
|
ตอบ: 08/02/2024 4:08 pm ชื่อกระทู้: * ระเบิดเถิดเทิง ซุปเปอร์ |
|
|
.
.
ระเบิดเถิดเทิง ซุปเปอร์ :
***************************************************************
ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สูตรระเบิดเถิดเทิง :
https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7353&sid=78a6673ff9b8357811ddaff435d1302a
https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7353&sid=860f9d5be5addb24ed7e8573b1dd288b
3. น้ำหมักชีวภาพ :
ประวัติ
*** เรื่องราวของปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ กลางปี พ.ศ 2540 เกิดขึ้นในขณะที่ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจทำให้ประชาชนคนไทยต้อง เดือดร้อนไปทั่วทุกหย่อมหญ้า จนต้องไปพึ่งพาเจ้าพ่อ ไอเอ็มเอ็ฟ จนทุกวันนี้ แต่ประเทศไทยก็ไม่ได้โชคร้ายเสียทีเดียว ท่ามกลางความโชคร้ายก็ได้เกิดความโชคดีขึ้นมา โชคดีที่ว่านั้นคือ คนไทยได้รู้จักวิธีการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพใช้เอง เรื่องราวความเป็นมาของปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือน กรกฏาคม 2540 โดยอาจารย์ภรณ์ ภูมิพันนา ได้เชิญ มร.ฮาน คิว โช ซึ่งต่อไปนี้ผมขอเรียกชื่อท่านง่ายๆว่า มร.โช นายกสมาคมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศเกาหลี มาบรรยายเกี่ยวกับเทคนิควิธีการทำเกษตรธรรมชาติให้ปลอดภัยจากสารพิษ โดยใช้เชื้อจุลินทรีย์
ตอนที่เชิญเข้ามาตอนนั้นเจ้าภาพที่เชิญจัดหาสถานที่จัดอบรมไม่ได้ก็เลยไปขอใช้ห้องประชุมกรมวิชาการเกษตรจาก ท่านรองชนวน รัตนวราหะ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรในสมัยนั้น เป็นสถานที่จัดอบรม โดยท่านรองฯได้ช่วยเป็นธุระในการติดต่อผู้คนให้เข้ามารับฟัง มีเกษตรกรผู้สนใจแนวทางในการทำการเกษตรธรรมชาติ ข้าราชการ องค์กรพัฒนาเอกชนต่าง ๆ และผู้ที่สนใจจำนวนหนึ่งเข้ารับการอบรม
หลังจากอบรมในวันนั้นแล้ว มร.โช ก็ได้ตระเวณไปบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตพืชแบบเกษตรธรรมชาติโดยใช้จุลินทรีย์ให้แก่ชาวชุมชนราชธานีอโศกตามสถานที่ต่างๆเช่น ที่ศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีไร้สารพิษและสิ่งแวดล้อม หมู่บ้านราชธานีอโศก ตำบล บุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 2-4 สิงหาคม พ.ศ.2540 เป็นต้น
*** น้ำหมักชีวภาพ ศาสตร์ใหม่ เพิ่งเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี 2540 นี้เอง ลุงคิมเป็นคนแรกคนหนึ่งในจำนวนไม่กี่คนที่ สนใจ/ค้นคว้า/คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ของประเทศไทย เริ่มต้นจาก (ครูคนแรก)
ดร.อรรถ บุญนิธี สอนวิธีทำน้ำหมักชีวภาพ .............. จากพืชสด
อ.สำรวล ดอกไม้หอม สอนวิธีทำน้ำหมักชีวภาพ .......... จากหอยเชอรี่
ดร.สุริยา ศาสนรักกิจ สอนวิธีทำน้ำหมักชีวภาพ .......... จากปลาทะเล
เริ่มจากคำถาม ปุ๋ยคือจุลินทรีย์-จุลินทรีย์คือปุ๋ย มันไปได้ยังไง ในเมื่อชื่อคนละชื่อ เช่น จุลินทรีย์ได้แก่ คีโตเมียม ไรโซเบียม ไมโครไรซ่า แอ็คติโนมัยซิส บาซิลลัส ฯลฯ ส่วนปุ๋ยได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม แคลเซียม ฯลฯ แล้วมันเป็นอันเดียวกันได้ไง
น้ำหมักชีวภาพกำเนิดขึ้นมาโลกตั้งแต่สมัยเมโสโปเตเมียร์ แม่น้ำยูเฟติส แผ่นดินที่เป็นประเทศอิรัคปัจจุบัน มีหลักฐานเป็นรูปแกะสลักในปิรามิค .... กำเนิดในแผ่นดินจีนตั้งแต่สมัยสร้างกำแพงเมืองจีน จิ๋น ซี เฮ่งเต้ .... กำเนิดในอเมริกากว่า 70 ปีมาแล้ว อันนี้เพื่อนทหารอเมริกาไปรบเกาหลีด้วยกันบอกมาว่า ประเทศไทยเพิ่งตื่นเหรอ ?" อเมริกาใช้นานเขาพัฒนาไปไกลแล้วด้วย
ส่วนผสมอินทรีย์ ได้แก่ กุ้งหอยปูปลาทะเล เลือด ไขกระดูก นม น้ำมะพร้าว ขี้ค้างดาว หมักนานข้ามปี ระหว่างการหมักไม่มีหนอน ไม่ปิดฝาแต่ไม่เหม็น
น้ำหมักชีวภาพของไทย ทางราชการด้านการเกษตรบอก "ห้าม" ใส่คำว่าปุ๋ยลงไปด้วย เพราะอัตราเปอร์เซ็นต์ปุ๋ยน้อยมาก อันนี้ทำให้เราทั้งสงสัยและไม่เชื่อ คิดดู....
เราหว่าน "ปุ๋ย" ลงไปที่ดินก่อนแล้วรดด้วย "น้ำหมักเจือจาง" เพื่อละลายปุ๋ย แบบนี้ น้ำหมักกับปุ๋ยก็ไปอยู่ด้วยกันในดิน กับ เราเอาปุ๋ยใส่ลงไปในน้ำหมัก สูตรไหนก็ได้ ปริมาณเท่าไหร่ก็ตามใจ คนให้ละลายเข้ากันดี ถามว่า มันอยู่ด้วยกันไหม ? มันเข้ากันได้ไหม ? ฉะนี้แล้วเรียกน้ำหมักชีวภาพนี้ว่า "ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ" ได้ไหม ?
ถึงวันนี้ัแล้ว ฟันธงได้เลยว่า ปุ๋ยน้ำชีวภาพ 30-10-10 สูตรของที่นี่ ถูกกับนาข้าวได้ดีที่สุด อัตราใช้แค่ 2 ลิตรต่อไร่ +เพิ่ม/ไม่+เพิ่มปุ๋ยเคมี ก็ได้ ใส่ตอนทำเทือก
ปุ๋ยเคมีที่ใส่เพิ่มในน้ำหมักชีวภาพ RKK คือ แม็กเนเซียม สังกะสี ธาตุรอง ธาตุเสริม ฮิวมิก เป็นตัวยืน แล้วใส่ ธาตุหลัก เป็นตัวเพิ่มตามชนิดพืช
น้ำหมักชีวภาพ (ยังไม่ +ปุ๋ยเคมี) ที่นี่เคยส่งไปตรวจที่กรมวิชาการเกษตรแล้ว 3 ครั้ง ผลการตรวจผ่านทุกครั้ง
*** อเมริกา แคนาดา ยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ทำเกษตรแบบ อินทรีย์เคมีผสมผสาน
*** พี่ไทย ทำเกษตรแบบเคมีบ้าเลือด ทำเกษตรเพราะเชื่อ "ไอ้" คนขายปุ๋ยเคมี ที่มันบอกว่า ใส่ปุ๋ยเคมีมากจะได้ผลผลิตมากก็เลยใส่ตามมัน ผลรับคือ "หนี้" ไงล่ะ
1. ปุ๋ย หมายถึง สารเหลวที่พืชนำไปใช้สร้างและบำรุงส่วนต่างๆ ของต้นให้เจริญพัฒนา เรียกว่า ธาตุอาหาร ประกอบด้วย
ธาตุหลัก (ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. โปแตสเซียม)
ธาตุรอง (แคลเซียม. แม็กเนเซียม. กำมะถัน)
ธาตุเสริม (เหล็ก. ทองแดง. สังกะสี. แมงกานิส. โบรอน. โมลิบดินั่ม. ซิลิก้า. คลอรีน. โซเดียม. นิเกิล. โคบอลท์ ฯลฯ)
ฮอร์โมน (ไซโตคินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. ไอเอเอ. เอบีเอ. ไอบีเอ. อะมิโน. โปรตีน ฯลฯ)
อื่นๆ (ดินหรือวัสดุปลูก. น้ำ. อากาศ. แสงแดด. อุณหภูมิ. สายพันธุ์ ฯลฯ)ปุ๋ยหรือธาตุอาหารพืชมีหลายสถานะ เช่น น้ำ เม็ด ผง เกร็ด ครีม
จากสถานะเดิมจะเป็นเช่นไรก็ตามก่อนที่พืชจะนำไปใช้งานได้ต้องเปลี่ยนสถานะให้เป็นของเหลวก่อนเสมอ ดังนั้น สิ่งใดที่มีธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน และอื่นๆ ที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จึงเรียกว่า ปุ๋ย หรือ ธาตุอาหาร ทั้งสิ้น
2. ธาตุอาหารพืช มีอยู่ในอินทรียวัตถุ และอนินทรีย์วัตถุ......
- อินทรีย์วัตถุ หมายถึง วัสดุที่ได้จากสัตว์และพืช เรียกว่า ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น เศษซากสัตว์ มูลสัตว์ เศษซากพืช น้ำคั้นจากพืช และ
- อนินทรีย์วัตถุ หมายถึง วัสดุที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมีวิทยาศาสตร์ เรียกว่า ปุ๋ยสังเคราะห์ หรือ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เช่น ปุ๋ยเคมี ฮอร์โมนวิทยาศาสตร์
3. ธาตุอาหาร พืช-สัตว์-คน คือตัวเดียวกัน สังเกตได้จากการเขียนสัญลักษณ์ทางเคมีของชื่อธาตุอาหารเป็นตัวอักษรตัวเดียวกัน แต่ธาตุอาหารที่พืช สัตว์ คน นำไปใช้ต่างกันที่ รูป เท่านั้น
4. ในเมือกและเลือดปลาสดมีธาตุไนโตรเจนมากกว่ายูเรีย (46-0-0) 1 เท่าตัว ซึ่งสามารถใช้แทนกันได้ โดยจุลินทรีย์จะทำหน้าที่เปลี่ยน รูปไนโตรเจน ในเมือกและเลือดปลาให้เป็น รูปไนโตรเจน ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้
5. ในปลาทะเลมีกรดอะมิโน โอเมก้า แม็กเนเซียม และโซเดียม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชจำนวนมาก
6. ในหนอนมีกรดอะมิโน ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและสัตว์มากถึง 18 ชนิด
7. พืชกินธาตุอาหารที่มีสถานะเป็นของเหลวด้วยการดูดซึมเข้าทางปลายราก (หมวกราก) และทางปากใบ ในขณะที่ปุ๋ยอินทรีย์ยังคงมีสภาพเป็นชิ้นหรือเป็นก้อนอยู่นั้น พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้จะต้องทำให้อินทรียวัตถุนั้นเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวหรือน้ำเสียก่อนพืชจึงจะนำไปใช้ได้....การเปลี่ยนสถานะอินทรีย์วัตถุให้เป็นของเหลวสามารถทำได้ด้วยกระบวนการทางธรรมชาติ โดยเริ่มจากหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วบดให้ละเอียด จากนั้นนำไปผสมกับสารรสหวานจัด (กากน้ำตาล กลูโคส น้ำผลไม้หวาน) ด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสม ใส่จุลินทรีย์เล็กน้อย ติดปั๊มออกซิเจนเพื่อให้อากาศแก่จุลินทรีย์ หมักทิ้งไว้นานๆ ในสถานที่ ภาชนะ และระยะเวลาที่กำหนด จุลินทรีย์จะเป็นตัวย่อยสลายอินทรียวัตถุเหล่านั้นให้มีขนาดเล็กลงถึงระดับโมเลกุล ซึ่งเล็กจนสามารถผ่านปลายรากและปากใบเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของต้นพืชได้
8. ปุ๋ยอินทรีย์ชิ้นขนาดเท่าปลายเข็มหรือเล็กกว่า รากพืชก็ไม่สามารถดูดซึมเข้าสู่ลำต้นได้ ต้องเปลี่ยนสภาพปุ๋ยอินทรีย์ชิ้นเท่าปลายเข็มนั้นให้เป็นของเหลวเสียก่อน พืชจึงจะดูดซึมเข้าสู่ลำต้นไปใช้ได้
9. การหมัก หมายถึง กระบวนการย่อยสลาย (เอ็นไซม์) โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวกระทำต่ออินทรีย์วัตถุ และอนินทรีย์วัตถุเพื่อเปลี่ยนสภาพจากเดิมที่เป็นชิ้นให้เป็นของเหลว
10. การหมักสามารถทำได้ทั้ง หมักในภาชนะ หมักในกอง และหมักในดิน ระยะเวลาในการหมักจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ความแข็งแรง/จำนวน/ประเภทของจุลินทรีย์. ชนิด/ประเภทของอินทรีย์วัตถุ. สภาพแวดล้อม (อุณหภูมิ/น้ำ/อากาศ). ระยะเวลา. อัตราส่วนของวัสดุส่วนผสม. อาหารสำหรับจุลินทรีย์. และปัจจัยอื่นๆที่จำเป็น
11. ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง. ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ. ปุ๋ยน้ำชีวภาพ. น้ำสกัดชีวภาพ. ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ. ปุ๋ยชีวภาพ. ปุ๋ยพืชสด. ปุ๋ยซากสัตว์ และอื่นๆ ล้วนแต่เป็นตัวเดียวกันเพราะทำมาจากวัสดุส่วน ผสม และด้วยกรรมวิธีในการทำแบบเดียวกัน จึงต่างกันแต่เพียงชื่อเท่านั้น
12. การฝังซากสัตว์หรือซากพืชที่โคนต้นไม้ผลบริเวณชายพุ่ม ช่วงแรกๆ จะยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงใดๆในทางที่ดีขึ้นจากไม้ต้นนั้น แต่ครั้นนานไปเมื่อซากสัตว์หรือซากพืชเน่าเปื่อย ไม้ผลต้นนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การที่ซากสัตว์หรือซากพืชเน่าเปื่อยได้ก็คือการ หมักในดิน โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวดำเนินการให้นั่นเอง
13. ซากสัตว์ที่หมักลงไปในดินใหม่ๆ หรือระยะแรกๆ หรือระหว่างที่ซากสัตว์กำลังเน่าเปื่อยนั้นมีความเป็นกรดจัดมาก เป็นอันตรายต่อระบบรากหรือทำให้รากเน่าได้ ดังนั้นจึงไม่ควรฝังซากสัตว์ในช่วงที่ต้นพืชกำลังอยู่ในระยะสำคัญ เช่น ระยะกล้า. สะสมอาหาร. เปิดตาดอก. บำรุงดอก. บำรุงผล ฯลฯ ทั้งนี้ การฝังซากสัตว์จะต้องกระทำก่อนหน้านั้นนานๆ เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ทำการย่อยสลายหรือแปรสภาพซากสัตว์จนหมดความเป็นกรดแล้วเปลี่ยน รูป มาเป็นรูปของธาตุอาหารพืชที่พืชพร้อมนำไปใช้ได้ .... การหมักซากสัตว์แบบปุ๋ยน้ำชีวภาพนานข้ามปีแล้วจึงนำมาใช้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้ได้แต่ต้องไม่ลืมตรวจวัดค่ากรดด่างแล้วปรับให้เป็นกลางก่อนใช้เสมอ
14. ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีกากน้ำตาลเป็นส่วนผสม หมักใหม่หรืออายุการหมักสั้น มีความเป็น กรด สูงมาก (2.5-3.0) โดยปุ๋ยน้ำชีวภาพซากสัตว์เป็นกรดจัดมากกว่าเศษพืช เมื่อฉีดพ่นทางใบจะทำให้เกิดอาการ ใบไหม้ ใบจุด ดอกร่วง ผลด่างลาย/ร่วง เมื่อไม่แน่ใจว่าปุ๋ยน้ำชีวภาพเป็นกรดจัดหรือไม่ ขอให้งดการให้ทางใบแล้วให้ทางรากแทน แม้แต่การให้ทางดินบ่อยๆ หรือประจำๆ ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จนเกิดการสะสมก็อาจทำให้ดินเป็นกรดได้เช่นกัน
15. ปุ๋ยน้ำชีวภาพกล้อมแกล้มสูตรมาตรฐาน ผ่านกรรมวิธีการหมักถูกต้อง อายุการหมักนานข้ามปี เมื่อวัดค่ากรดด่างจะได้ประมาณ 6.0-7.0 จึงถือว่าดี ถูกต้อง และใช้ได้
16. วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ทราบว่าในปุ๋ยน้ำชีวภาพแต่ละสูตรหรือแต่ละยี่ห้อมีปริมาณธาตุพืชมากหรือน้อยกว่ากัน สามารถพิสูจน์ได้โดยการบรรจุปุ๋ยน้ำชีวภาพใส่ขวดขนาดเดียวกันหรือปริมาตรเท่าๆ กัน แล้วนำขึ้นชั่งด้วยตาชั่งที่มีมาตรวัดละเอียดมากๆ ตรวจค่าความถ่วงจำเพาะ (ถพ.) ขวดที่หนักกว่าแสดงว่ามีธาตุอาหารพืชมากกว่าหรือนำลงจุ่มน้ำ ขวดที่จมน้ำได้ลึกกว่าแสดงว่ามีปริมาณธาตุอาหารมากกว่า
17. อาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์ที่ปรุงโดยการต้มเคี่ยว หรือตุ๋นจนเหลวเปื่อยยุ่ย เช่น แกงจืดจับฉ่าย น้ำต้มกระดูก ซุปไก่แบลนด์ น้ำหวานจากน้ำตาลหรือผลไม้คั้น วิตามินบำรุงร่างกายคน/สัตว์ ฯลฯ ยังมีธาตุอาหารครบถ้วนตามวัสดุที่นำมาปรุง หากนำน้ำอาหารที่เหลวเปื่อยยุ่ยแล้วนี้ให้แก่พืชบ้าง พืชก็จะได้รับธาตุอาหารตัวเดียวกันนี้เช่นกัน
18. พืชสามารถนำธาตุอาหารเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของต้นได้ทั้งทางปลายราก และปากใบ เมื่อให้ธาตุอาหารทางใบด้วยการฉีดพ่น ธาตุอาหารส่วนที่มีโมเลกุลขนาดเล็กสามารถผ่านปากใบได้จะผ่านเข้าไปทันที ส่วนธาตุอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่านปากใบเข้าไปได้ยังติดค้างอยู่บนใบ เมื่อถูกน้ำชะล้างก็จะตกลงดินแล้วถูกจุลินทรีย์ในดินทำการย่อยสลายต่อให้โมเลกุลมีขนาดเล็กลงอีกจนสามารถผ่านปากรากได้ พืชก็จะได้รับธาตุอาหารนั้นต่อไป
19. การหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพโดยใช้ถังหมักที่แข็งแรง มีฝาปิดเรียบร้อย มีระบบให้ออกซิเจนแล้วฝังลงดินจนมิดถัง มีระบบป้องกันน้ำเข้าไปในถังได้แน่นอนนั้น อุณหภูมิใต้ดินที่เย็นกว่าบนดินนอกจากจะช่วยให้กระบวนการหมักดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพใช้การได้เร็วขึ้นอีกด้วย
20. เสริมประสิทธิภาพจุลินทรีย์ในถังหมักให้แข็งแรงยิ่งขึ้นด้วยการใส่ปุ๋ยสูตร 18-46-0 (100 กรัม) หรือ 21-53-0 (100 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง หรือน้ำมะพร้าวอ่อน 1-2 ล. ต่อวัสดุส่วน ผสมในถัง 100 ล.
21. การใช้ถังหมักแบบมีใบพัดปั่นหมุนภายในตลอด 24 ชม. นอกจากจะเป็นการช่วยบดย่อยวัสดุส่วนผสมให้ละเอียดยิ่งขึ้นแล้วยังส่งผลให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพนั้นใช้การได้เร็วขึ้น
22. ไม่ควรใช้พืชผักจากตลาดเพราะเป็นพืชผักที่เก่าแล้วและอาจปนเปื้อนเชื้อโรคต่างๆ จากตลาดมาด้วย
23. ไม่ควรใช้ซากสัตว์ที่ตายนานแล้วหรือเน่าแล้วแต่ให้ใช้ซากสัตว์สดและใหม่ โดยเลือกใช้สัตว์ขณะที่ยังมีชีวิตหรือตายใหม่ๆ จะได้ธาตุอาหารพืชที่ดีกว่า
24. ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรมาตรฐานที่ดีจะต้องไม่มีกลิ่นของวัสดุส่วนผสมตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียวชัดเจน ซึ่งเป็นการแสดงให้รู้ว่าใช้วัสดุส่วนผสมไม่หลากหลาย ยกเว้นสูตรเฉพาะซึ่งจะต้องมีกลิ่นเฉพาะตัว และปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ดีต้องมีกลิ่นหอม-หวาน-ฉุน
25. ระยะเวลาในการหมัก หมักนาน 3 เดือนจะได้ธาตุหลัก หมักนาน 6 เดือนจะได้ธตุรอง หมักนาน 9 เดือนจะได้ธาตุเสริมและฮอร์โมน....เมื่อหมักนานข้ามปีจะได้สารอาหาร ฮอร์โมน และจุลินทรีย์ต่างๆ หลายชนิด เช่น
- ธาตุอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. โปรแตสเซียม. แคลเซียม. แม็กเนเซียม.กำมะถัน. เหล็ก. ทองแดง. สังกะสี. แมงกานิส. โซเดียม. อะมิโนโปรตีน. ..... สารอาหารเหล่านี้เป็นสารอินทรีย์บริสุทธิ์
- ฮอร์โมน ได้แก่ ไซโตคินนิน. เอสโตรเจน. ออร์แกนิค แอซิด. ฟลาโวอยด์. ควินนอยด์. อโรเมติก แอซิด. ฮิวมัส. โพลิตินอล. ไอบีเอ. เอ็นบีเอ. ....ฮอรโมนเหล่านี้เป็นฮอร์โมนอินทรีย์บริสุทธิ์ และสารท็อกซิก.ที่เป็นสารพิษต่อโรคและแมลงศัตรูพืช
- จุลินทรีย์ ได้แก่ คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า. แอ็คติโนมัยซิส . บาซิลลัสส์. ไรซ็อคโธเนีย. แบคทีเรีย. และฟังก์จัย.
วัตถุประสงค์ :
วัสดุส่วนผสม :
วิธีทำ :
ผลการตรวจ
**************************************************************
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/06/2024 7:11 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11625
|
ตอบ: 04/06/2024 8:10 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.... |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|