kimzagass หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11795
|
ตอบ: 19/04/2010 7:51 pm ชื่อกระทู้: "พด.12" จุลินทรีย์ผลิตปุ๋ยและฮอร์โมน |
|
|
เปิดตัวนวัตกรรมใหม่"พด.12" โรงผลิตปุ๋ยและฮอร์โมน
ที่ผ่านมา เกษตรกรมักจะใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไป หรือบางครั้งก็เกินความจำเป็นที่พืชและดินต้อง
การ เนื่องจากในดินมักจะมีธาตุอาหารสะสมอยู่ แต่ก็มีธาตุอาหารจำนวนมากที่ถูกตรึงไว้ในดินแต่
พืชไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้ ดังนั้น กรมพัฒนาที่ดินจึงหาวิธีที่จะช่วยละลายธาตุอาหาร
ต่างๆ ที่อยู่ในดินให้กลับมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้อีกครั้ง โดยล่าสุดกรมพัฒนาที่ดินได้คิดค้นนวัต
กรรมใหม่ เป็นผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ ที่ผ่านการทดลองจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และกรมฯ
เตรียมที่จะแจกจ่ายให้เกษตรกรได้นำไปทดลองใช้ในเร็วๆ นี้
นายฉลอง เทพวิทักษ์กิจ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดินเตรียมที่จะเปิดตัวโรง
ผลิตปุ๋ยและฮอร์โมนในดิน หรือ ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ในต้นปีงบประมาณ 2553 เพื่อเพิ่มผลผลิต
ทางการเกษตรให้กับเกษตรกร เนื่องจากเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้
ธาตุอาหาร เป็นประโยชน์กับพืช เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และสร้างฮอร์โมนส่งเสริมการ
เจริญเติบโตของพืช ซึ่งประกอบด้วยจุลินทรีย์ 4 ประเภท
ประกอบด้วย
1....... จุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศและเปลี่ยนให้เป็นรูปแอมโมเนีย มที่
เป็นประโยชน์ต่อพืช
2....... จุลินทรีย์ที่เพิ่มการละลายของหินฟอสเฟต และช่วยปลดปล่อยฟอสฟอรัสที่
ถูกตรึงไว้ในดินให้พืชสามารถดูดมาใช้ประโยชน์ได้
3....... จุลินทรีย์ที่ช่วยละลายและปลดปล่อยพแทสเซียมที่ถูกตรึงไว้ให้มาใช้ ประโยชน์ได้
4....... ฮอร์โมนพืช ที่ช่วยกระตุ้นการเจริญงอกของเมล็ด ส่งเสริมการเจริญของรากพืช ทำให้พืช
สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ กรมพัฒนาที่ดินได้ใช้เวลาทดสอบ ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 มาเป็นระยะเวลา 2 ปี ได้ผลเป็นที่น่า
พอใจ ซึ่งจากการทดลองใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ร่วมกับปุ๋ยเคมี ในข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดหวาน
และผักกะหล่ำปลี ปรากฏว่านอกจากจะลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ไม่ต่ำกว่า 50% แล้ว ที่สำคัญยัง
สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้ 5-15%
โดยข้าวหอมมะลิ ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีได้ 369 บาท/ไร่ ขณะที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น 3% ส่วนข้าว
กข. ลดปุ๋ยเคมีได้ 369 บาท/ไร่ ผลผลิตเพิ่มขึ้น 8% สำหรับมันสำปะหลัง สามารถลดต้นทุนค่า
ปุ๋ยเคมีลงได้ 222 บาท/ไร่ ผลผลิตเพิ่มขึ้น 15% รวมทั้งเปอร์เซ็นต์แป้งเพิ่มขึ้น 1.6% หรือเพิ่ม
จาก 30.6 เป็น 32.2% ส่วนข้าวโพดหวานนั้นลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีลงได้ระหว่าง 179-394 บาท/
ไร่ เพิ่มผลผลิตได้ประมาณ 4-7% ขณะที่ผักกะหล่ำปลี สามารถลดต้นทุนได้ 179-394 บาท/
ไร่ แต่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 15%
"การใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ร่วมกับปุ๋ยเคมี สามารถทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 19 กก./ไร่ ทำ
ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 560 บาท/ไร่ ส่วนผลผลิตข้าว กข.เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 53 กก./ไร่ รายได้
เพิ่มขึ้น 910 บาท/ไร่ ซึ่งในปีงบประมาณ 2553 กรมฯ จะผลิตปุ๋ยชีวภาพ พด.12 จำนวน 4 แสน
ซอง แจกจ่ายสู่เกษตรกร หมอดินอาสาและกลุ่มเครือข่ายลดการใช้ปุ๋ยเคมี/เกษตรอินทรีย์ เพื่อ
ช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกร ขณะที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น ที่สำคัญยังเป็นการช่วยฟื้นฟูทรัพยากรดินที่
ผ่านการใช้เคมีมายาวนานให้ สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน เพราะที่ผ่านมา การผลิตปุ๋ยเคมีจะ
ผลิตในโรงผลิตปุ๋ยบนดิน ใช้งบประมาณหลายล้านบาทต่อหนึ่งโรง โดยนำวัตถุดิบมาผลิตแล้วจึงใส่
กลับลงไปในดิน แต่วิธีนี้เป็นการสร้างโรงผลิตปุ๋ยในดิน คือ เราใช้จุลินทรีย์ใส่ลงไปในดินทำหน้าที่
ผลิตปุ๋ยและปลดปล่อยและละลายธาตุ อาหารที่ถูกตรึงไว้ในดิน แล้วพืชก็จะทำหน้าที่ดูดไปใช้งาน
เอง เป็นการประหยัดงบประมาณ และช่วยลดขั้นตอนให้กับเกษตรกรด้วย" นายฉลอง กล่าว
อย่างไรก็ตาม นอกจากการเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 แล้ว กรมพัฒนาที่ดินยังไม่
หยุดเพียงแค่นี้ เพราะกรมฯ ยังมีการวิจัยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์จุลินทรีย์โดยวิธีทางชีวโมเลกุล เพื่อ
พัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ทั้ง 4 กลุ่มข้างต้น ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ผลิต
ปุ๋ยไนโตรเจนและฮอร์โมน หากสำเร็จจะสามารถนำมาผลิตและแจกจ่ายให้เกษตรกรในปีต่อไป
เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ ตลอดจนเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดินให้แก่เกษตรกรได้
อย่างทั่วถึง
วันที่ 3/9/2009
ที่มา http://www.naewna.com/news.asp?ID=177067 |
|