ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
nokkhuntong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010 ตอบ: 256
|
ตอบ: 21/05/2010 6:53 pm ชื่อกระทู้: ขี้วัวแห้งใหม่ |
|
|
ขอคำแนะนำ....การจัดการ/เตรียมพร้อมให้ใช้งานได้ของขี้วัวแห้ง(ใหม่ไม่ข้ามปี) กับกล้าไม้ที่จะปลูกเช่น มะม่วง เงาะ ลองกอง มะนาว ฯลฯ
ทราบจากลุงว่า ต้องเป็นขี้วัวเก่าข้ามปี ถึงจะนำมาใช้ลองก้นหลุม ก่อนปลูกได้ แล้ว
- ขี้วัวแห้งใหม่ที่เราได้มานี้ เราควรเตรียมอย่างไรให้พร้อมใช้งาน
- เราหมักขี้วัวใหม่(ผึ่งตากกลางแจ้ง) ราดผสมด้วยปุ๋ยน้ำหม้กชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงสูตรใดได้ไหมค่ะ ก่อนนำมาใช้
...หาข้ามปีไม่ได้ ไม่ต่อรองกับต้นไม้นะค่ะ ไม่ได้ก็ไม่ใช้...
ขอบคุณค่ะ
นกขุนทอง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
ott_club หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009 ตอบ: 718
|
ตอบ: 21/05/2010 9:42 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การหมักปุ๋ยอินทรีย์ ทำได้โดยใช้มูลโคหรือกระบือตากแห้งจำนวน 1,000 กก. นำมาผสมกับปุ๋ยยูเรีย 2 กก. และปุ๋ยหินฟอสเฟต 25 กก. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ขณะที่ทำการผสมให้เติมน้ำให้มีความชื้นประมาณ 50% (หรืออาจผสมน้ำสกัดชีวภาพในอัตรา 1:500 ใช้เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์เร่งกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์ให้เร็วขึ้น และช่วยลดกลิ่นเหม็นที่เกิดจากกระบวนการหมัก) ปริมาณความชื้นดังกล่าวสามารถวัดได้โดยการนำมูลสัตว์ที่ผสมกันเรียบร้อยแล้ว นำมากำด้วยมือถ้าปล่อยมือออกมูลสัตว์ยังคงรูปได้ แสดงว่าปุ๋ยมีความชื้นพอเหมาะ แต่ถ้ากำแล้วปล่อยก้อนมูลสัตว์แตกเป็นก้อนเล็กๆ แสดงว่าปริมาณน้ำยังไม่พอ ต้องเพิ่มน้ำอีก
หลังจากที่ผสมคลุกเคล้าแล้ว นำผ้าพลาสติกหรือผ้าใบมาคลุมเพื่อป้องกันฝน และไม่ให้ความชื้นระเหยออกจากกองปุ๋ย
หลังจากนั้น 3 วันแรกให้ทำการกลับกองปุ๋ยครั้งที่ 1 และถัดจากวันที่ 3 นับไปอีก 7 วัน กลับกองปุ๋ยครั้งที่ 2 และกลับครั้งต่อไปทุกๆ 7 วัน จนกว่ากองปุ๋ยไม่มีความร้อน มีสีดำ และร่วนซุย
คัดลอกจากคู่มือเทคโนโลยีการผลิต และโรงงานต้นแบบผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่แห่งประเทศไทย (วว.)
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11625
|
ตอบ: 22/05/2010 4:24 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
....ใช้ "น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง" จะช่วยให้ได้สารอาหารพืชที่มาจาก ปลาทะเล. ไขกระดูก. เลือด. นม. น้ำมะพร้าว. ทั้งนี้คุณภาพของน้ำหมักขึ้นอยู่กับ "วัสดุส่วนผสม" ที่นำมาหมักและกรรมวิธีในการหมัก.....ในขณะที่น้ำหมักทั่วๆ ไปทำมาจาก พืชผักผลไม้ หรือหอยเชอรี่เพียงอย่างเดียว.... ในซากสัตว์ให้สารอาหารพืช ปริมาณและชนิด มากกว่าเศษซากพืช
....ใช้ยูเรีย (46-0-0) อยู่ได้นานเพียง 3-5 วัน จากนั้นปุ๋ยตัวนี้ระเหิดหายไปในอากาศ แต่ถ้าใช้ 21-0-0 หรือ 35-0-0 จะอยู่ทนนาน เพราะปุ๋ย 2 ตัวนี้ไม่ระเหิดหายไปในอากาศ
.... อุณหภูมิในกองหมักที่ 40 องศาเซลเซียส จะช่วยให้จุลินทรีย์ (ดี) เจริญพัฒนาดีมาก อุณหภูมิที่ 60 องศาเซลเซียส จุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัสส์เริ่มเกิดแล้วเจริญพัฒนาดีมาก บาซิลลัสส์เป็นจุลินทรีย์ที่มีพลังในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุได้ดีที่สุด
ถ้าอุณหภูมิในกองหมักสูงเกิน 70 องศาเซลเซียส (ควันขึ้น) จุลินทรีย์ทุกกลุ่มตายหมด.....ถ้าอุณหภูมิในกองต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียสจะช่วยให้จุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรีย (เลว) เจริญพัฒาดี แบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์กลุ่มเชื้อโรค และแบคทีเรียตัวนี้นี่แหละที่เป็นต้นสาเหตุของการเหม็นเน่า
.... ใช้มูลวัวอย่างเดียว ย่อมได้แต่สารอาหารที่มีอยู่ในมูลวัวเท่านั้น แต่ถ้าใช้ "มูลวัว +มูลไก่/นกกระทา/ค้างคาว+มูลหมู+มูลเป็ด (สัตว์กินเนื้อ)+ขี้เห็ด+ฯลฯ" ย่อมได้สารอาหารมากชนิด หรือมากกว่ามูลวัวเดี่ยวๆ.....อยากรู้ในมูลสัตว์อะไรมีสารอาหารพืชตัวไหน มาก/น้อยเท่าใด ให้พิจารณาจากอาหารที่สัตว์นั้นกินและระบบย่อยอาหาร
วัสดุส่วนผสมที่ช่วยให้จุลินทรีย์ในกองหมักเจริญพัฒนาได้เร็ว คือ รำละเอียด หรือลำพวนข้าว หรืออาจจะพิจารณาใช้แกลบใหม่เป็นส่วนผสมก็ได้.....การใช้ แกลบดำ. ขี้เค้กโรงงานน้ำตาล. เศษพืชตระกูลถั่วหรือทะลายปาล์มบดย่อย. ปลาป่น (อาหารสัตว์). ยิบซั่ม. กระดูกป่น. จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพสูงกว่าการใช้ปูนมาร์ล. หรือโดโลไมท์.เป็นส่วนผสม
.... มูลวัวเนื้อ/นม. มูลหมู จากฟาร์มใหญ่ๆ ให้ระวังโซดาไฟปนเปื้อนมาด้วย
.... มูลวัวเนื้อ/วัวนม ที่เลี้ยงด้วยเปลือกสับปะรด มีความเป็นกรดสูงมาก ต้องระวัง
งานอย่างนี้ต้องกล้าลงทุนเพราะ "ลงทุน คือ ลดต้นทุน"
ลุงคิมครับผม
ปล. (ตอบข้อสงสัยคุณนกขุนทอง)
กรณีมูลวัวระหว่าง "แห้งใหม่-สดใหม่....แห้งเก่า-สดเก่า" ความแห้งกับความสดอาจไม่ต่างกันนักหากจะนำไปใช้กับพืช เพราะยังใหม่เหมือนกัน ...... แต่เก่ากับใหม่ มีผลต่อพืชแน่นอน
มูลสัตว์ทุกชนิดที่สภาพสดใหม่ เมื่อนำไปใช้กับต้นพืช แอมโมเนีย.ในมูลสัตว์จะออกมาเป็นพิษต่อต้นพืช แบบที่ชาวสวนเรียกว่า "ร้อน" นั่นและ
ถ้าจำเป็นต้องใช้มูลสัตว์สภาพใหม่ ป้องกันแอมโมเนีย.โดยให้มีหญ้าแห้งรองพื้นหนาๆ แล้วหว่านมูลสัตว์ใหม่บางๆ แผ่เป็นบริเวณกว้างทั่วพื้นที่ทรงพุ่ม เศษหญ้าแห้งจะช่วยให้อากาศจากภายนอกผ่านเข้าไปได้แล้วช่วยลดความรุนแรงจากพิษของแอมโมเนีย.ในมูลสัตว์ได้ จากนั้นก็รดด้วยน้ำสารอาหารจุลินทรีย์ หรือน้ำจุลินทรีย์หน่อกล้วย หรือน้ำหมักชีวภาพ ตามปกติ ไม่ช้าไม่นานทั้งมูลสัตว์และเศษหญ้าจะย่อยสลายกลายเป็นเนื้อดินด้วยกัน....ก็แค่นี้แหละ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
meninblack สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010 ตอบ: 81
|
ตอบ: 24/05/2010 12:50 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เราหมักแบบไม่กลับกองได้หรือเปล่าครับ (ไม่มีแรงงานทำก็เองไม่ไหว)โดยใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วยช่วยในการหมัก วางท่อพลาสติกไว้ในกองปุ๋ยเอาไว้อัดออากาศเข้าหรือ ระบายความร้อนออก หรือเอาไว้อัดพวกน้ำหมักชีวภาพ กากน้ำตาลเข้าไปในกองปุ๋ย
วิธีนี้ผมคิดเองนะครับ ว่าจะลองทำในเวลาอันใกล้นี้กำลังหาส่วนประกอบ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11625
|
ตอบ: 24/05/2010 8:58 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
หมักแบบไม่กลับกองก็ได้ ถ้า.....
1....อากาศเข้าไปหล่อเลี้ยงจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศได้อย่างสม่ำเสมอและพอเพียง
2....อุณหภูมิในกองไม่เกิดจุลินทรีย์บางประเภทก็ไม่เกิด .... หรือร้อนเกินจุลินทรีย์บางประเภทก็ตาย
3....เจรจาต่อรองกับจุลินทรีย์ในกองดีๆ ถ้าจุลินทรีย์ตอบว่า O.K. ทุกอย่างก็ O.K.
ไม่มีเวลา ไม่มีแรงงาน ก็ใช้เครื่องทุ่นแรงซี่
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|