-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 118 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่




หน้า: 1/3


................ อ้อยโรงงาน ..................

ลำดับเรื่อง....

1. แปลงสาธิตอ้อย 31 ตัน/ไร่  บ.น้ำตาลมิตรผล
2. ปลูกอ้อย 1 ไร่ ได้ผลผลิต 100 ตัน นวัตกรรมใหม่ล่าสุดกลุ่มวังขนาย 
3. ชาวไร่อ้อยอ่วม หนอนรุมกินยอดอ้อย ซ้ำเติมภัยแล้ง
4. แมลงนูนหลวง ศัตรูอ้อย
5. อ้อย พันธุ์ขอนแก่น 3

6. การคำนวนต้นทุน
7. การวิจัยและพัฒนาอ้อยพันธุ์ดี
8. ประสบการณ์ตรง :
9.  "วังขนาย" รุกยุทธศาสตร์ผลิตอ้อยอินทรีย์เต็มที่....ปลูกอย่างเป็นระบบ
10. โรงงานน้ำตาลเพิ่มความเข้มข้นรณรงค์ลดการเผาอ้อย

11. ทัศนคติเกษตรกรต่อการป้องกันกำจัดวัชพืชในไร่อ้อยแบบผสมผสาน
12. อ้อยอาหารสัตว์'...แก้อาหารหยาบขาดแคลน
13. กลุ่มมิตรผลสร้างโมเดลใหม่ ประกันวัตถุดิบเหลือเฟือ






******************************************************************



1. แปลงสาธิตอ้อย 31 ตัน/ไร่  บ.น้ำตาลมิตรผล

สำหรับผู้ที่มีความสนใจเข้าชมงานอ้อยครั้งนี้ สามารถติดต่อได้ตามที่อยู่ด้านล่างเลยนะครับ ถ้า
บังเอิญได้ไปในช่วงเวลาตรงกัน อาจจะได้เจอกันในงานอ้อยครั้งนี้ด้วย ปีที่แล้วผมพาลูกค้า
สมาคมชาวไร่อ้อยอิสานเหนือหนองหาร, สมาคมชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กุมภวาปี, สมาคมชาวไร่อ้อยมุกดาหารและโรงงานน้ำตาลสหเรือง, สมาคมชาวไร่
อ้อยมหาสารคาม และโรงงานน้ำตาลมหาวัง บริษัทเบทาโกร เข้าร่วมชมแปลงสาธิตในงานนี้
ในส่วนของปีที่แล้ว สูงสุดบางแปลงได้ 30 ตันต่อไร่ เฉลี่ยทั้งหมด 20 ตันต่อไร่ มาปีนี้ แปลง
สูงสุดทำลายสถิติคือได้ 31.5 ตันต่อไร่ ส่วนเฉลี่ยก็เพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับท่านที่ทำไร่อ้อยอยู่
งานนี้น่าสนใจ ไม่ควรพลาดครับ สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่
www.FarmKaset.org
ลองเข้าไปดูนะครับ

ในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ทางบริษัทไอออนิคจำกัดจัดกิจกรรมพิเศษ งานชมแปลงสาธิตอ้อยซึ่ง
เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทไอออนิคจำกัด กับบริษัทน้ำตาลมิตรผลจำกัด โดย

– การชมแปลงสาธิตอ้อย 31 ตัน/ไร่
- การเข้าชมเครื่องจักรกลการเกษตรที่ชนะรางวัล
- พันธุ์อ้อยและการทดลองพันธุ์อ้อย
- แนะนำการใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ
– รายการพิเศษเฉพาะพี่น้องเกษตรกรที่มาร่วมในงานนี้เท่านั้น

การจัดงานครั้งนี้ทางบริษัทหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยให้พี่น้องเกษตรกรชาวไร่อ้อยทุกท่าน มีผล
ผลิตที่ดีขึ้นและลดต้นทุนการผลิตลง



2. ปลูกอ้อย 1 ไร่  ได้ผลผลิต 100 ตัน
นวัตกรรมใหม่ล่าสุดกลุ่มวังขนาย 

ที่ผ่านมาการทำไร่อ้อยของเกษตรกรจะได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 10-12 ตันต่อ 1 ฤดูกาล ล่า
สุดกลุ่มวังขนายผู้ผลิตน้ำตาล “วังขนาย” ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ในการปลูกอ้อยที่ได้ผลผลิต
สูงถึง 10 เท่า ชนิดที่ไม่มีประเทศไหนทำได้มาก่อน ที่สำคัญคุณสมบัติพิเศษสามารถปลูกได้ใน
พื้นที่ทุกจังหวัด จากความสำเร็จดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
กระทรวงอุตสาหกรรม จึงร่วมกับกลุ่มดำเนิน “โครงการปลูกอ้อย 100 ตันต่อไร่” และเร่งผลัก
ดันให้เกษตรกรได้เพาะปลูก เนื่องจากทำรายได้ที่คุ้มค่า


"นวัตกรรมใหม่ของเราแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เป็นนวัตกรรมที่วังขนายคิดค้นขึ้นจาก
จิตสำนึกที่เคารพความเป็นธรรมชาติอย่างรอบคอบและรอบด้าน ทุกกระบวนการทางความคิด
ทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กรรมวิธีเพาะปลูก และดูแลทุกขั้นตอน ถูกคิดค้นและควบคุมให้อยู่ในวงจร
บริสุทธิ์ของธรรมชาติ นับเป็นนวัตกรรมใหม่ในการปลูกอ้อยธรรมชาติ ส่งผลให้ทุกวันนี้วังขนาย
สามารถปลูกอ้อยอินทรีย์สูตร 100 ตันต่อไร่ ได้ผลสมบูรณ์แบบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน" ธิป
กล่าว


สำหรับหัวใจหลักของการปลูกอ้อยอินทรีย์สูตร 100 ตันต่อไร่ ขึ้นอยู่กับดิน พันธุ์อ้อย น้ำ และ
ปุ๋ย แปลงอ้อยควรอยู่ห่างไกลจากแหล่งก่อให้เกิดมลพิษ เพื่อหลีกเลี่ยงจากสารเคมี กล่าวคือ
ดินต้องดี มีคุณสมบัติครบ 4 ประการ คือ  น้ำ อากาศ อินทรียวัตถุ และแร่ธาตุ ส่วนพันธุ์อ้อยก็มี
ความสำคัญ ต้องมีคุณภาพดี ได้มาตรฐาน มีความเหมาะสมกับสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ และ
ความต้านทานต่อศัตรูอ้อย 


ห้ามใช้พันธุ์อ้อยที่ได้จากการตัดต่อสายพันธุกรรมเด็ดขาด และสุดท้ายคือน้ำและปุ๋ย ต้องมี
แหล่งน้ำที่เป็นธรรมชาติ สะอาด ปลอดสารพิษเจือปน ควรปล่อยปลาอาศัยชุกชุม เพื่อรักษา
วงจรชีวภาพในแหล่งน้ำให้คงอยู่ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตามก่อนเริ่มกระบวนการเพาะปลูก
ปัจจัยแรกสุดที่ต้องให้ความสำคัญและคัดเลือกอย่างพิถีพิถัน คือพื้นที่เพาะปลูก จะต้องมีสภาพ
แวดล้อมทางธรรมชาติที่ดี ห่างจากมลพิษทั้งหลายด้วย 


ด้าน สุรพล ถ้ำกระแสร์ ผอ.ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 1 จ.
กาญจนบุรี บอกว่า ปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกอ้อยที่ให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
ส่งผลทำให้มีรายได้น้อย และมีฐานะยากจน ทางสำนักงานจึงมีนโยบายที่จะหาทางเพิ่มผลผลิต
ต่อไร่ให้สูงขึ้น และมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ จึงขอความร่วมมือกับทางกลุ่มวังขนายในการคิด
ค้นหาวิธีการ จนมาประสบความสำเร็จในโครงการปลูกอ้อย 100 ตันต่อไร่ ซึ่งถือเป็นนวัตกรรม
ใหม่ล่าสุดของการเพิ่มผลผลิตอ้อยในประเทศไทย ที่จะแก้ปัญหาในเรื่องการเพิ่มผลผลิตได้เป็น
อย่างดี พร้อมขยายความรู้แก่เกษตรกรปลูกอ้อยตามโครงการดังกล่าว


นับเป็นอีกทางเลือกสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในอนาคต แต่ทั้งนี้ต้องศึกษาความรอบคอบด้วย 



ที่มา  :  คม ชัด ลึก

http://www.komchadluek.net/detail/20100406/54867/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A21%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95100%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html


3. ชาวไร่อ้อยอ่วม หนอนรุมกินยอดอ้อย ซ้ำเติมภัยแล้ง

ชาวไร่อ้อยประสบปัญหาภัยแล้ง ซึ่งไร่อ้อยที่อยู่ในพื้นที่แห้งแล้งจะเกิดปัญหาหนอนกินยอดอ้อย
ส่งผลให้มีผลผลิตน้อยมากเมื่อเทียบกับที่มีการขยายพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น...

นายกำธร กิตติโชติทรัพย์ ประธานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ชาวไร่
อ้อยกำลังประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้ไร่อ้อยที่อยู่ในพื้นที่แห้งแล้งเกิดปัญหาหนอนกินยอดอ้อย
ถ้าไม่มีฝนตกลงมาในช่วงนี้ก็จะสร้างความเสียหายให้กับชาวไร่อ้อยมาก และอาจเห็นปริมาณผล
ผลิตอ้อยปี 2553/2554 อยู่ที่ระดับ 50 ล้านตัน ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับที่มีการขยาย
พื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เห็นด้วยกับแนวทางแก้ไขระเบียบกองทุนฯเพื่อดำเนินโครงการ
พัฒนาแหล่งน้ำให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งเร่งด่วน โดยขณะ
นี้อยู่ระหว่างร่างรายละเอียดของโครงการ และสามารถดำเนินการได้ภายในเดือน พ.ค.นี้.


ที่มา  :  ไทยรัฐ




4. แมลงนูนหลวง ศัตรูอ้อย

ขณะนี้พื้นที่เพาะปลูก "อ้อย" ในจังหวัดกาญจนบุรีและราชบุรี กำลังเดือดร้อน เนื่องจากมี"แมลง
นูนหลวง" ระบาดอย่างรุนแรง...

นายสุเทพ สหายา นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการ
อารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร บอกกับ "หลายชีวิต" ว่า...การระบาดของแมลงดังกล่าวเป็น
ปัญหาที่เกิดขึ้นมานานนับสิบปี โดยอยู่ในช่วง ปลายฝนถึงช่วงแล้ง ของทุกปี ซึ่งทางสำนักวิจัย
พัฒนาฯได้ส่งทีมนักวิชาการออกไปตรวจสอบแล้ว พบว่า การระบาดไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในไร่
อ้อย แต่ยังลุกลามสร้างความเสียหายแก่พืชชนิดอื่น อาทิ ยางพารา มันสำปะหลัง สับปะรด
มันแกว ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน ไม้ผล รวมทั้ง ต้นยูคาลิปตัส

สำหรับ "แมลงนูนหลวง" เป็นด้วงปีกแข็ง มักพบการระบาดในสภาพดินทรายที่มี pH 6-6.5
และสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุ 0.56-0.84% การเข้าทำลายอ้อย มักปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่
กระจาย พื้นที่ใดค่อนข้างลุ่มเมื่อมีฝนตกน้ำขัง ตัวหนอนของแมลงนูนหลวงจะเข้าทำลายได้
น้อย แต่ถ้าอ้อยปลูกในที่ดอนมักถูกหนอนเข้าทำลายที่ บางครั้ง "ตายทั้งกอ"

...โดยสังเกตได้จาก ไข่ ที่มันปล่อยทิ้งไว้ตามพื้นดิน ซึ่งมีลักษณะสีขาวค่อนข้างกลม คล้ายไข่
จิ้งจก เปลือกแข็ง ขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร กว้าง 4 มิลลิเมตร หรืออาจพบ
ตัวหนอน ซึ่งลำตัวมีสีขาวนวลโดยตลอดและมีรูปโค้ง หัวกะโหลกเป็นสีน้ำตาลมีขนาดใหญ่และ
แข็ง ปากมีเขี้ยวใหญ่แข็งแรง

ขา เจริญเติบโตดีมองเห็นได้ชัดเจน แต่มักไม่ ค่อยใช้เดิน โตเต็มที่มีขนาด 65-70 มิลลิเมตร
กว้าง 20-25 มิลลิเมตร หัวกะโหลกกว้าง 10 มิลลิเมตร พวกมันจะมุดลงดินลึกประมาณ 30-
60 เซนติเมตร ก่อนเข้าสู่ดักแด้ ซึ่งมีลักษณะสีขาวนวลหรือสีครีม แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
แดง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 เดือน จึงออกเป็น ตัวแก่ ลักษณะสีน้ำตาลเข้ม หนวด ขา ปีกติดอยู่
ข้างลำตัว เห็นได้ชัดเจน

...ในช่วงตัวเต็มวัยปีกจะแข็งค่อนข้างใหญ่ ขนาดยาวประมาณ 32-40 มิลลิเมตร กว้าง 15-20
 มิลลิเมตร ส่วนท้ายของปีกมีจุดสีขาวด้านละจุด ตัวผู้ มีสีน้ำตาลดำตลอดลำตัว ส่วน ตัวเมีย มี
สีน้ำตาลปนเทา สีอ่อนกว่าตัวผู้ทั้งด้านบนและด้านล่างของลำตัว หลังออกจาก ดักแด้พอเข้าสู่
ช่วงเวลาพลบค่ำ พวกมันจะบินว่อนเพื่อจับคู่ ใช้เวลาผสมพันธุ์ประมาณ 15-30 นาที จากนั้น
อีก 14-25 วัน ตัวเมียจะบินลงสู่พื้นเพื่อวางไข่ลงดินลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ต่อเนื่อง 3
วัน จำนวน 15-28 ฟอง

ใช้ระยะฟักไข่ 15-28 วัน จึงฟักออกมาเป็น ตัวหนอน ซึ่งอาหารของมันในวัยนี้ก็คือรากอ้อยใต้
ผืนดิน เมื่ออ้อยไม่มีรากหาอาหาร จึงส่งผลให้ยืนต้นตายยกกอ ส่วนหนอนจะลอกคราบ 3 ครั้ง
ในวัยสุดท้ายประมาณต้นเดือนสิงหาคม ซึ่งระยะนี้หนอนจะเจริญเติบโตรวดเร็ว กินจุมาก เป็น
ระยะที่สร้างความเสียหายให้แก่รากอ้อยได้มากที่สุด

และเพื่อเป็นการลดปัญหาดังกล่าวเกษตรกรควรใช้แนวทางการผสมผสาน ทั้งไถพรวนดิน
หลายๆครั้ง รวมทั้งจับตัวเต็มวัย ที่เด็กรุ่นใหม่จะไม่ค่อยรู้กันว่า สามารถนำมาประกอบอาหาร
"เปิบ" ได้อร่อยแท้...


เพ็ญพิชญา เตียว

ที่มา  :  ไทยรัฐ




5. อ้อย พันธุ์ขอนแก่น 3

แหล่งที่มาและประวัติ


ปี 2537 ผสมข้ามพันธุ์ระหว่างโคลน 85-2-352 กับ เค 84-200
ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่
สุพรรณบุรี

ปี 2538 เพาะลูกอ้อย และปลูกคัดเลือกครั้งที่ 1 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี

ปี 2540 คัดเลือกครั้งที่ 2
ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น

ปี 2541-42 คัดเลือกครั้งที่ 3
ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ศึกษาผลผลิตของอ้อย
ปลูกและอ้อยตอ 1

ปี 2544-45 เปรียบเทียบเบื้องต้นจำนวน 1
แปลงทดลอง ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่
ขอนแก่น ศึกษาผลผลิตของอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1

ปี 2545-46 เปรียบเทียบมาตรฐาน จำนวน 3 แปลงทดลอง ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่
ขอนแก่น 2 แปลงทดลอง และศูนย์วิจัยพืชไร่กาฬสินธุ์ 1
แปลงทดลอง ศึกษา
ผลผลิตของอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1

ปี 2547-48 เปรียบเทียบในไร่เกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 8
แปลงทดลอง ที่อำเภอเมือง ภูเวียง มัญจาคีรี และน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
อำเภอคอนสาน และภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร และ
อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ศึกษาผลผลิตทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1

ปี 2547-48 ทดสอบพันธุ์ในไร่เกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 23

แปลงทดสอบ ในเขตปลูกอ้อยของจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี กาฬสินธุ์
นครราชสีมา และชัยภูมิ

ปี 2549 ทดสอบแปลงใหญ่ ในไร่เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 30
แปลง ในเขตปลูกอ้อยของจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี มหาสารคาม กาฬสินธุ์
นครราชสีมา และชัยภูมิ นอกจากนี้ ยังทำการศึกษาข้อมูลจำเพาะของอ้อยโคลน
94-2-200


ในระหว่างปี 2544-2547
ดังนี้
ปี 2544-47 ศึกษาปฏิกิริยาของอ้อยโคลน 94-2-200 ต่อโรคแส้ดำในสภาพปลูก
เชื้อ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ปี 2546-49
ศึกษาลักษณะทางการเกษตร การ
เจริญเติบโตและการสะสมน้ำตาล ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น

ปี 2547-48 ศึกษาปฏิกิริยาต่อหนอนกอ ที่ไร่ทดลอง โรงงานน้ำตาลมิตรภูเวียง
อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ปี 2547-50 ศึกษาการตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี ที่
ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นปี

2547-50
ศึกษาการให้ผลผลิตที่ระยะปลูกต่าง ๆ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชนิด อ้อยโรงงาน (Saccharum officinarum L.)

ประเภทพืชในวงศ์หญ้าที่ขึ้นเป็นกอ
1.
ลักษณะทรงกอ...................................... ตั้งตรง
2.
ลักษณะการติดของกาบใบลำต้น ...........หลวมปานกลาง
3. จำนวนหน่อต่อกอ.................................. ปานกลาง (6-12 หน่อ
)
4.
สียอดอ้อย................................................ เขียว
5. ความยาวปล้อง .......................................สั้น (น้อยกว่า 10 เซนติเมตร
)
6. เส้นผ่าศูนย์กลางปล้อง ............................ปานกลาง (2.5-3.0 เซนติเมตร
)
7.
ลักษณะปล้อง .........................................โค้งกลาง
8.
ลักษณะปล้องตัดขวาง............................. กลม
9.
การต่อเรียงของปล้อง ..............................ค่อนข้างตรง
10. ไขที่ปล้อง .............................................ปานกลาง (สามารถมองเห็น
สีปล้องอ้อย
)
11.
สีปล้องเมื่อต้องแสง ..............................น้ำตาล
12.
สีปล้องเมื่อไม่ต้องแสดง .......................เหลืองเหลือบเขียว
13. ร่องเหนือตา ..........................................ลึกยาว 1/3
ของปล้อง
14.
รอยแตกของปล้อง ...............................ไม่มี
15.
สีวงเจริญเมื่อต้องแสง ...........................เขียวเหลือง
16.
ลักษณะของวงเจริญ ............................นูนเล็กน้อย
17. การเรียงตัวของจุดกำเนิดราก 3
แถว.... เป็นระเบียบ
18.
สีจุดกำเนิดรากเมื่อไม่ต้องแสง .............ม่วง
19. ความกว้างของวงราก ..........................ปานกลาง (0.8-1.3 เซนติเมตร
)
20.
วงไข ....................................................พบวงไขใต้รอยกาบใบ
21.
ความนูนของตา ...................................ปานกลาง
22.
ลักษณะตา ...........................................รูปรี
23.
ตำแหน่งยอดตา ...................................อยู่ระดับเดียวกับวงเจริญ
24.
ขนที่ตา ...............................................ไม่มี
25.
ลักษณะทรงใบ ...................................ปลายโค้ง
26. ความกว้างใบ ......................................ขนาดกลาง (4-6 เซนติเมตร
)
27.
ขนขอบใบ ...........................................มีกลุ่มขนที่ขอบใบส่วนโคน
28.
ลักษณะลิ้นใบ เป็นแถบ ......................ตรงกลางพองออก ปลายเรียวทั้ง
สองข้าง
29.
ลักษณะหูใบด้านนอก .........................สามเหลี่ยม
30.
ลักษณะหูใบด้านใน ............................ใบหอกสั้น
31.
ลักษณะคอใบ ......................................สามเหลี่ยมชายธงปลายคด
32.
สีคอใบ .................................................เขียวอมน้ำตาล
33.
ขนที่กาบใบ .........................................มีกลางกาบใบ
34. จำนวนที่กาบใบ ...................................มีน้อย










6. การคำนวนต้นทุน
 
     
1. ค่าใช้จ่าย        
    1.1 ค่าแรงงาน        
       ค่าเตรียมดิน บาท    
       ค่าปลูก บาท    
       ค่าดูแลรักษา บาท    
       ค่าเก็บเกี่ยวและขนส่ง บาท    
    1.2 ค่าวัสดุ        
       ค่าพันธุ์ บาท    
       ค่าปุ๋ย บาท    
       ค่ายาปราบศัตรูพืชและวัชพืช บาท    
       ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น บาท    
       ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์การเกษตร บาท    
    1.3 ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ (ถ้ามี) บาท    
    1.4 ค่าเช่าที่ดิน บาท    
       
ผลผลิตที่คาดว่าจะได้
ตัน    
ราคาที่คาดว่าจะขายได้ บาท/ตัน    
 
ผลการคำนวณตามต้นทุนของท่าน
ต้นทุนรวม 0.00 บาท คิดเป็น 0.00 บาท/ไร่
รายได้ 0.00 บาท คิดเป็น 0.00 บาท/ไร่
กำไร 0.00 บาท คิดเป็น 0.00 บาท/ไร่
ผลการคำนวณตามต้นทุนมาตรฐาน
ต้นทุนรวม 0.00 บาท คิดเป็น 0.00 บาท/ไร่
รายได้ 0.00 บาท คิดเป็น 0.00 บาท/ไร่
กำไร 0.00 บาท คิดเป็น 0.00 บาท/ไร่




7. การวิจัยและพัฒนาอ้อยพันธุ์ดี

อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เป็นตลาดรองรับแรงงานขนาดใหญ่ ปัจจุบัน
ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูก อ้อยรวมทั้งประเทศ 6.5 ล้านไร่ มีโรงงานน้ำตาล
46 โรงงาน ในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก น้ำตาลทราย 21,800 ล้านบาท อย่าง
ไรก็ดี ผลผลิตอ้อยโดยเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่ 7-10 ตัน ต่อ ไร่ ในขณะที่
ประเทศคู่แข่งที่ส่งออกเป็นอันดับต้น ๆ คือ บราซิล และออสเตรเลีย อยู่ที่ 13-
15 ตันต่อไร่ การขาดแคลนอ้อยพันธุ์ดีที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ จึงเป็นปัญหา
สำคัญใน อุตสาหกรรม อ้อยและน้ำตาล เพราะเกี่ยวพันกับปัญหาด้านความหวาน
 ปัญหาผลผลิตต่อไร่ต่ำ ปัญหาด้านแมลง และโรค เช่น หนอนกออ้อย และโรค
ใบขาว

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอ
เทค) จึงสนับ สนุนการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ที่มีการ
ปลูกอ้อย

ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อย ความหลากหลายของฐานพันธุกรรม มีความจำเป็นอย่าง
มากในการนำ ลักษณะที่ดี ที่อยู่ในสายพันธุ์ที่หลากหลายเหล่านี้ มาใช้ในการ
ปรับปรุงพันธุ์ ให้มีลักษณะที่ต้อง การ ไบโอเทคสนับสนุน ร.ศ. ประเสริฐ ฉัตร
วชิระวงษ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เก็บรวบรวมสายพันธุกรรม

อ้อยที่มีอยู่ในประเทศ ทั้งสายพันธุ์อ้อยที่ใช้ในเชิงการค้า รวมทั้งสายพันธุ์อ้อยป่า

หรือพืชในตระกูล ใกล้เคียงและเนื่องจากการเก็บรวบรวมเพื่อประโยชน์ในการปรับ
ปรุงพันธุ์ ต้องอาศัยการผสมพันธุ์ที่ ต้องใช้ดอก จึงได้เลือก บ้านทิพุเย ต.ชะแล
อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เป็นสถานีเก็บรวบรวมสาย พันธุ์อ้อย และผสมพันธุ์

เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว เป็นสถานที่ที่อ้อยเกือบทุกสายพันธุ์ออกดอกได้ปัจจุบัน
สถานี ฯ เก็บรวบรวมอ้อยสายพันธุ์ต่าง ๆ จำนวน 1,280 สายพันธุ์ สำหรับใช้ผสม
พันธุ์เพื่อปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้ได้ผลผลิตและน้ำตาลสูงขึ้น ในจำนวนนี้ มีพันธุ์
อ้อยที่ใช้ในการผลิตเชิงการค้า ที่มีฐานพันธุกรรมจากต่างประเทศ ประมาณ 21
สายพันธุ์ และพันธุ์การค้าที่ปรับปรุงขึ้นในประเทศไทย เช่น ชัยนาท 1 อู่ทอง 1
และ K-84-200

พันธุ์อ้อยที่เก็บรวบรวมไว้ จะมีประวัติที่สามารถสืบค้นกลับไปถึงที่มาของสาย
พันธุ์พ่อแม่ได้ถึง 3-5 รุ่น ความสัมพันธ์ทางเครือญาติของอ้อยไทย มีข้อมูล
ลักษณะพันธุ์ ลักษณะของดินปลูกที่เหมาะสมกับพันธุ์ มีฐานข้อมูล การผสมพันธุ์
ระยะเวลาการออกดอก ความยากง่ายในการผสมติดและลักษณะเด่นของลูกผสม
ที่ได้


ผลงานเด่น่นไบโอเทค :
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่ง
ชาติ 113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง
ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5




8. ประสบการณ์ตรง :

..... อ้อย เป็นพืชอวบน้ำ ย่อมต้องการน้ำถึงน้ำมาก เอี้ยวเคี้ยวปลูกในสวนยกร่อง
มีน้ำหล่อตลอดเวลา ในต้นอ้อยจึงมีน้ำอ้อยมาก แล้วใย อ้อยโรงงานซึ่งเป็นอ้อย
เหมือนกันจึงไม่ต้องการน้ำเล่า เมื่อไม่ได้น้ำ ย่อมไม่มีน้ำไปสร้างน้ำอ้อย ผลรับก็
คือ คุณภาพและปริมาณผลผลิตไม่ดี

อ้อยโรงงานในแปลง หากมีการให้น้ำโดยส่งปล่อยผ่านไปตามร่องแถวปลูก
ปล่อยน้ำให้เต็มร่อง ระยะเวลาให้เดือนละ 1 ครั้ง หรือ 2 เดือน 3 ครั้ง จะได้
ปริมาณผลผลิตมากกว่าแปลงที่ไม่ได้ให้น้ำเลย 4-5 เท่า (จาก 4 ตัน/ไร่ เป็น 15-
20 ตัน/ไร่)

..... ธรรมชาติของอ้อย มีระบบรากยาวเท่ากับความสูงของต้น ในแปลงที่ดินโปร่ง
ร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสดวก ระบบรากสามารถชอนไชไปได้ไกล หาอาหาร
ได้มาก ผลผลิตย่อมดีกว่าแปลงที่ไม่มีการปรับปรุงบำรงดิน..... แปลงอ้อยที่ จ.
กำแพงเพชร เตรียมดินด้วย "ยิบซั่ม + กระดูกป่น + ขี้ไก่" โดยการไถกลบลงดิน
ลึก 50 ซม. ครั้นถึงช่วงแล้ง (ม.ค.- ก.พ.- มี.ค.) อ้อยแปลงนี้ยังยืนต้นเขียวสดไม่
ต่างจากช่วงหน้าฝน ในขณะที่แปลงข้างเคียงที่ไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินใดๆ ต้น
มีอาการใบเหลืองโทรมตั้งแต่เริ่มเดือน ม.ค.

..... ชาตรี คงอยู่ (081) 841-9874 สมาชิกชมรมสีสันชีวิตไทย ปลูกอ้อยโรงงาน
ที่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี เนื้อที่ 20 ไร่ ปรับปรุงบำรุงดินด้วย "ยิบซั่ม กระดูกป่น" ให้
น้ำโดยฉีดพ่นสูงข้ามหัว ด้วยเครื่องสูบกำลังสูงเดือนละ 1 ครั้ง ผลรับ อ้อยตอ 8
ได้ผลผลิต 14 ตัน สิ้นเปลืองปุ๋ยเคมี 8-24-24 ไม่ถึง 1 กส./20 ไร่/รุ่น

.... อ้อยโรงงานออสเตรเลีย ให้ผลผลิต 40-45 ตัน/ไร่ ในขณะอ้อยไทย รุ่นตอ 1
ได้ 6-8 ตัน/ไร่ (ได้ทุน)... รุ่นตอ 2 ได้ 4-5 ตัน/ไร่ (กำไร).... รุ่นตอ 3 ได้ 3-4
ตัน/ไร่ (กำไรไม่มาก) จากนั้นล้มตอปลูกใหม่

..... อ้อยเป็นพืชเมืองร้อนเพียงชนิดเดียวที่ตอบสนองต่อ "หินภูเขาไฟ หรือ ธาตุ
ซิลิก้า" การไถกลบเศษใบอ้อยลงดิน เท่ากับเป็นการให้ซิลิก้า.แล้ว

..... อ้อยที่ได้รับ "กากน้ำตาล" ทางรากมากๆ (เท่าๆ กับพืชอื่น) จะหยุดยอด
ชงักการเจริญเติบโต

..... อ้อยเคี้ยวในสวน หากได้รับกากน้ำตาลโดยการฉีดพ่นสัมผัสกับต้นโดยตรง
จะแตก "ตะเกียง" ตามลำต้น ทำให้ความหวานลดลง

ปุจฉา - วิสัชนา :
อ้อยพันธุ์ดีล่าสุด ไม่ให้น้ำ V.S. อ้อยพันธุ์เดิม ให้น้ำ.....อย่างไหนจะให้ผลผลิตดี
กว่ากัน ?

..... ฯ ล ฯ

..... ฯ ล ฯ


ลุงคิมครับผม




9.  "วังขนาย" รุกยุทธศาสตร์ผลิตอ้อยอินทรีย์เต็มที่
ผสานรัฐตั้งวิสาหกิจชุมชนปลูกอย่างเป็นระบบ


กลุ่มน้ำตาลวังขนาย รุกยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์เต็มสูบ จับมือกรมส่งเสริมการ
เกษตร ดันเกษตรกรในโควตาตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนร่วมปลูกอ้อยอินทรีย์อย่าง
เป็นระบบ ทั้งเร่งกลไกส่งเสริมนำร่องในพื้นที่ 7 จังหวัด 42 กลุ่ม ก่อนขยายผลสู่
เกษตรกรในโควตาทั้งประเทศ มั่นใจผู้ผลิตน้ำตาลทุกกลุ่มร่วมขับเคลื่อนเกษตร
อินทรีย์ ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นกับอุตสาหกรรมน้ำตาลไทย ขยายลู่ทางตลาด
และราคาสูงขึ้น
 

ดร.ณรงค์ ชินบุตร ผู้อำนวยการประจำสำนักประธานกรรมการบริหาร ด้านการ
พัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กลุ่มวังขนาย ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของประเทศ
เปิดเผย "ผู้จัดการรายวัน" ถึงแผนการเพาะปลูกอ้อยอินทรีย์ว่า ในปี 2550 นี้
กลุ่มน้ำตาลวังขนาย ได้วางแผนการดำเนินงานในเชิงรุก หลังจากที่เริ่มมีการส่ง
เสริมนำรูปแบบเกษตรชีวภาพมาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม ไปแล้วเมื่อปี 2549
       
       ยุทธศาสตร์ของกลุ่มน้ำตาลวังขนาย สอดคล้องกับนโยบายกรมส่งเสริม
การเกษตร ที่ส่งเสริมภาคเกษตรไทย ผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
และเกษตรกร นำรูปแบบเกษตรอินทรีย์มาใช้จัดการเกษตร กลุ่มวังขนายจึงร่วม
มือกับกรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน
อ้อยโรงงาน เพื่อพัฒนาการผลิตอ้อยสู่การผลิตเป็นอ้อยอินทรีย์ ซึ่งทำให้
ยุทธศาสตร์การผลิตอ้อยอินทรีย์ของกลุ่มวังขนาย มีความชัดเจนและเกิดผลเชิง
รูปธรรมยิ่งขึ้น
       
       ตามโครงการดังกล่าว กลุ่มวังขนายและกรมส่งเสริมการเกษตร จะสนับ
สนุนให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย รวมตัวจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อปลูกอ้อย
อินทรีย์ป้อนโรงงานน้ำตาล โดยจะนำความรู้และเทคโนโลยีการผลิตอ้อยอินทรีย์
ถ่ายทอดให้กลุ่มวิสาหกิจ อีกทั้งกลุ่มวังขนายจะสนับสนุนปัจจัยการผลิตที่กลุ่ม
วังขนายได้วิจัยและพัฒนาขึ้น เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ พันธุ์อ้อย แตนเบียน แมลงหาง
หนีบ ใช้กำจัดศัตรูในไร่อ้อย
       
       ดร.ณรงค์กล่าวต่อว่า แผนการดำเนินงานในปี 2550 กลุ่มวังขนายและกรม
ส่งเสริมการเกษตร ได้จัดประชุมโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอ้อย
โรงงานใน 7 จังหวัด คือ นครราชสีมา มหาสารคาม ชัยภูมิ ขอนแก่น ลพบุรี
สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี จำนวนทั้งหมด 42 กลุ่ม ซึ่งเป็นเกษตรกรในโควตา
โรงงานน้ำตาลของกลุ่มวังขนาย และได้รับความสนใจจากเกษตรกรในแต่ละ
พื้นที่สูงมาก
       
       วิสาหกิจชุมชนอ้อยโรงงานทั้ง 42 กลุ่มดังกล่าว จะเป็นกลุ่มเกษตรกรนำ
ร่องต้นแบบที่สามารถพัฒนาสู่การผลิตอ้อยอินทรีย์เต็มรูปแบบ ก่อนที่จะขยาย
ผลไปสู่เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอ้อยโรงงานครอบคลุมทั้ง 572 เครือข่ายในพื้นที่
โรงงานน้ำตาลกลุ่มวังขนายทั้งประเทศ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตอ้อยอินทรีย์ของ
เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอ้อยโรงงาน มีความบริสุทธิ์จนถึงระดับอ้อยอินทรีย์เต็ม
รูปแบบ ทำให้การผลิตน้ำตาลธรรมชาติมีคุณภาพในระดับที่ปลอดจากเคมีภัณฑ์
       
       "คาดว่า จะต้องใช้เวลาในการพัฒนาการผลิตอ้อยอินทรีย์ เป็นระยะต่อ
เนื่อง 5 ปี โดยการผลิตอ้อยอินทรีย์ดังกล่าวครอบคลุม ตั้งแต่การปรับปรุงบำรุง
ดิน การจัดการเพาะปลูก การปราบศัตรูพืชด้วยชีววิธี งดใช้สารเคมีทุกกระบวน
การผลิต ส่วนรูปแบบดำเนินงานระยะต้นเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกร
ในโควตา พร้อมกับให้การส่งเสริมเชิงรุก ติดตามประเมินผลต่อเนื่อง จนบรรลุ
ผล" ดร.ณรงค์กล่าวและว่า
       
       กลุ่มวังขนาย เป็นผู้ผลิตน้ำตาลกลุ่มแรก ที่ให้ความสำคัญต่อการผลิตอ้อย
อินทรีย์เริ่มกำหนดทิศทางสู่เกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ปี 2548 และเริ่มแผนส่งเสริม
การเพาะปลูกอ้อยอินทรีย์ในปี 2549 และสามารถดำเนินการในกลุ่มเกษตรกรได้
ระดับ ซึ่งความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร ทำให้ยุทธศาสตร์การผลิตอ้อย
อินทรีย์มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ตามกลไกวิสาหกิจชุมชนอ้อยโรงงาน
เป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ
       
       ดร.ณรงค์กล่าวถึง ภาพรวมการผลิตอ้อยอินทรีย์ว่า การผลิตอ้อยอินทรีย์
นอกจากกลุ่มวังขนายที่มีแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนแล้ว กลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลกลุ่ม
อื่นทุกกลุ่ม มีนโยบายให้ความสำคัญต่อการผลิตอ้อยอินทรีย์ เพื่อมุ่งสู่การผลิต
น้ำตาลธรรมชาติเช่นเดียวกัน ซึ่งการผลิตอ้อยอินทรีย์ หากผู้ผลิตน้ำตาลทุกกลุ่ม
ให้ความร่วมมือในการกำหนดแผนงานและพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันจะเกิด
ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของประเทศสูงมาก
       
       ที่ผ่านมา การผลิตน้ำตาลธรรมชาติของกลุ่มน้ำตาลวังขนาย แม้ว่าจะอยู่ใน
ระยะเริ่มต้น ระดับคุณภาพยังมีการปนเปื้อนเคมีภัณฑ์เล็กน้อย แต่กระแสการตอบ
รับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์น้ำตาลธรรมชาติมีสูงมาก ยอดขายน้ำตาล
ธรรมชาติ มีสัดส่วนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดมีสัดส่วนการขายเทียบเท่ากับน้ำตาล
ทรายขาวแล้ว
       
       ทั้งนี้ หากทุกกลุ่มผลิตน้ำตาลธรรมชาติให้เหมือนกันหมดทั้งประเทศ จะ
เป็นการยกระดับอุตสาหกรรมน้ำตาลของไทยให้มีภาพลักษณ์ที่ดี สร้างความเชื่อ
มั่นแก่คู่ค้าในตลาดต่างประเทศ สามารถยกระดับการส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำตาล
ของไทยมีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้นจากปกติ ที่สามารถสร้างรายได้จากการส่งออกถึงปี
ละกว่า 30,000 ล้านบาท และท้ายที่สุดจะส่งผลดีต่อกลไกราคารับซื้ออ้อยระดับ
เกษตรกรในพื้นที่ สามารถขายผลผลิตอ้อยสูงขึ้นเช่นกัน



หนังสือพิมพ์ผูจัดการออนไลน์
 
www.manager.co.th







10. โรงงานน้ำตาลเพิ่มความเข้มข้นรณรงค์ลดการเผาอ้อย
ถ่างราคารับซื้อ  ตั้งเป้าลดอ้อยไฟไหม้ต่ำกว่า 30% ภายใน 5 ปี

ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลเพิ่มความเข้มข้นรณรงค์เกษตรกรชาวไร่อ้อยลดการ
เผาอ้อย ช่วยลดปัญหามลพิษและภาวะโลกร้อน สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูก
ต้อง พร้อมเพิ่มมาตรการจูงใจ ถ่างราคารับซื้อระหว่างอ้อยสดกับอ้อยไฟไหม้ให้
กว้างขึ้นอีก  ตั้งเป้าลดสัดส่วนอ้อยไฟไหม้ต่ำกว่า 30% ภายใน 5 ปี จากปัจจุบัน
อยู่ที่ 60%
         
นายชลัช  ชินธรรมมิตร์ ประธานคณะทำงานด้านอ้อยและประสิทธิภาพในการ
ผลิตน้ำตาล บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า ตลอดระยะ
เวลาหลายปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโรงงานน้ำตาลได้ตระหนักถึง
ปัญหาและหาวิธีการแก้ไขถึงผลกระทบอย่างมหาศาลที่จะเกิดขึ้นโดยตรงต่อสิ่ง
แวดล้อม ซึ่งนำไปสู่ปัญหาสภาวะโลกร้อนจากการที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยนิยมเผา
อ้อยก่อนตัด หรือที่เรียกว่า “อ้อยไฟไหม้”
          “
ปัญหาการเผาอ้อย หรืออ้อยไฟไหม้ก่อให้เกิดมลพิษในอากาศสูง ซึ่งปัญหานี้
เกิดขึ้นมากว่า 10 ปีแล้ว แต่ทวีความรุนแรงอย่างมากในช่วง 5 - 6 ปีที่ผ่านมา
และมีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เราในฐานะโรงงานน้ำตาลที่มีส่วนสำคัญใน
การพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ
ได้ช่วยกันรณรงค์ให้ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสด ไม่เผาอ้อยเพียงแค่หวังว่า ตัดอ้อยได้
ง่ายขึ้น แต่ก่อปัญหามากมายโดยเฉพาะผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็น
ความรับผิดชอบต่อสังคม” นายชลัช กล่าว
         
นอกจากการเผาอ้อยจะทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมดังกล่าวแล้ว ยัง
ส่งผลกระทบต่อน้ำหนักและคุณภาพความหวานของอ้อยที่ส่งเข้าโรงงาน ซึ่งถือ
เป็นปัญหาอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เนื่องจากทำให้ผล
ผลิตอ้อยและน้ำตาลลดลงอย่างมาก ซึ่งผู้ที่สูญเสียประโยชน์โดยตรงก็คือ
เกษตรกรนั่นเอง
         
ดังนั้น แนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาในส่วนของความร่วมมือระหว่างโรงงาน
น้ำตาลด้วยกัน คือ การรณรงค์ให้เกษตรกรลดการเผาอ้อยอย่างเต็มรูปแบบ ทั้ง
การให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องถึงผลเสียจากการเผาอ้อย ทั้งในระดับปัญหา
สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงมีมาตรการจูงใจในเรื่องของ
ราคารับซื้อเพื่อเพิ่มช่องว่างราคาระหว่างอ้อยไฟไหม้และอ้อยสด
         
“นอกจากการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ชาวไร่ถึงโทษจากการเผาอ้อยแล้ว เรื่อง
ของมาตรการจูงใจก็เป็นส่วนสำคัญยิ่ง โดยปัจจุบันอ้อยที่ส่งเข้าโรงงานถ้าเป็น
อ้อยไฟไหม้ หรืออ้อยที่ชาวไร่เผาจะถูกตัดราคาตันละ 20 บาท แต่ถ้าอ้อยสดจะ
มีราคาเพิ่มขึ้นจากราคาที่รับซื้อปกติประมาณตันละ 50 บาท คาดว่า ปีหน้าจะ
เพิ่มเป็น 80 บาท ถือว่า ได้โบนัสจากการไม่เผาอ้อย เป็นการเพิ่มช่องว่างราคา
อ้อยไฟไหม้กับอ้อยสดให้สูงขึ้น”
         
ขณะที่ในส่วนของภาครัฐเองถือเป็นหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญและมีประสิทธิภาพ
ที่สุดในการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ทั้งมาตรการควบคุม คือ การใช้กฎหมาย
อย่างเข้มงวด และมาตรการให้การช่วยเหลือ คือ การปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้
แก่เกษตรกรในการซื้อเครื่องตัดอ้อย รวมถึงปัญหาแรงงานที่ยังขาดแคลน
         
นายชลัช กล่าวด้วยว่า หากทุกภาคส่วน ทั้งเกษตรกร โรงงานน้ำตาล และ
รัฐบาลร่วมมือกันอย่างเต็มรูปแบบแล้ว มั่นใจว่า สัดส่วนอ้อยไฟไหม้จะลดลง
โดยคาดหวังว่าภายใน 5 ปี สัดส่วนอ้อยไฟไหม้จะเหลือไม่ถึง 30% จากปัจจุบัน
มีสูงถึง 60% และถือเป็นการแสดงให้โลกได้เห็นว่า ประเทศไทยมีความตั้งใจ
จริงในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งถ้าทั้งโรงงานและชาวไร่ไม่ร่วมมือกันตั้งแต่
ตอนนี้ อนาคตผลผลิตน้ำตาลที่เกิดขึ้นอาจถูกกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ
เป็นการทำลายการส่งออกน้ำตาลของไทยนับเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทได้
          
อนึ่ง บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด เป็นองค์กรช่วยส่งเสริมการพัฒนา
อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศไทย ด้วยข้อมูลข่าวสาร การ
วิเคราะห์อย่างถูกต้อง และการสื่อสารความจริงให้สังคมและภาครัฐได้ร่วมกัน
พัฒนาอุตสาหกรรมฯ อย่างยั่งยืน
 
          เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดยบริษัท มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์
          ในนามบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด





11. ศึกษาทัศนคติของเกษตรกร ที่มีต่อการป้องกันกำจัดวัชพืช
ในไร่อ้อย โดยวิธีผสมผสาน


วัชพืช เป็นศัตรูอ้อยที่สำคัญ นอกจากเป็นศัตรูอ้อยโดยตรงในการแก่งแย่งธาตุ
อาหาร ความชื้นและบดบังแสงแดด แล้วยังเป็นศัตรูทางอ้อมด้วยการเป็นแหล่ง
อาศัยสำคัญของโรคแมลงหลายชนิดของต้นอ้อย ทำให้ผลผลิตอ้อยต่ำ

หลักการป้องกันกำจัดวัชพืชที่ได้ผลดีคุ้มทุน ต้องใช้วิธีการหลายวิธีผสมผสานกัน
อย่างเป็นระบบถึงจะสามารถแก้ปัญหาวัชพืชได้ ดังนั้น การชักจูงให้เกษตรกรเห็น
ความสำคัญของการควบคุมวัชพืชในไร่อ้อย โดยวิธีผสมผสานเพื่อยกระดับผล
ผลิตต่อไร่ และคุณภาพของอ้อยเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ แต่จำเป็นต้องทราบพื้นฐาน
ความรู้ ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อวัชพืชและวิธีการป้องกันกำจัด โดยเฉพาะใน
เขตจังหวัดชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเขตปลูกอ้อยที่มีการใช้สารเคมีใน
การป้องกันกำจัดค่อนข้างมาก

การศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการป้องกันกำจัดวัชพืชผสมผสาน เป็นการ
เก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกร โดยใช้แบบสอบถามก่อนเข้ารับการอบรมวิชาการ
ด้านวัชพืช และการป้องกันกำจัดโดยวิธีผสมผสาน และชมแปลงสาธิตเปรียบ
เทียบกับแปลงของเกษตรกร ด้านผลผลิตและรายได้/ไร่

จากการศึกษาพบว่าเกษตรกรเห็นความสำคัญของวัชพืช แต่วิธีที่ใช้กำจัดวัชพืช
นิยมใช้สารเคมีในการกำจัด หรือใช้วิธีไถพรวนเพียงวิธีเดียว ไม่มีเกษตรกรรายใด
ใช้มากกว่า 1 วิธีร่วมกัน ภายหลังการอบรมได้เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามกับ
กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า เกษตรกรมีความรู้เพิ่มมากขึ้น สามารถ
วินิจฉัยชนิดของวัชพืชได้มากขึ้น รู้ว่าจำเป็นต้องมีการควบคุมวัชพืช เนื่องจาก
วัชพืชแย่งน้ำและอาหารทำให้ให้อ้อยมีการเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร และรู้ว่า
ช่วงเวลาการกำจัดวัชพืชต้องเริ่มปฏิบัติตั้งแต่เริ่มปลูก จนอ้อยมีอายุ 3-4 เดือน
เกษตรกรมีความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับวิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช โดย
วิธีผสมผสาน คือ มีแนวคิดที่จะใช้วิธีการมากกว่า 1 วิธี ร่วมกัน ในการควบคุม
วัชพืชในไร่อ้อย และมีแนวโน้มว่าจะนำไปปฏิบัติตามต่อไป

เพราะเกษตรกรมีความเห็นว่าวิธีดังกล่าวมีความจำเป็น เป็นวิธีที่ดีกว่าวิธีที่ปฏิบัติ
อยู่ และจะนำมาใช้ในแปลงอ้อยของตนรวมทั้งมีความต้องการให้เจ้าหน้าที่ส่ง
เสริมมาให้คำแนะนำ และจัดทำแปลงส่งเสริมสาธิตการป้องกันกำจัดวัชพืช โดย
วิธีผสมผสานในแปลงของตน





12. อ้อยอาหารสัตว์'... แก้อาหารหยาบขาดแคลน

"พันธุ์อ้อยอาหารสัตว์” พันธุ์แรก ให้ผลผลิตสูงกว่า 22 ตันต่อไร่ต่อปี ชี้เป็นทางเลือกใหม่
เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ-แพะ-แกะในพื้นที่ภาคใต้ พร้อมแก้ปัญหาขาดแคลนอาหารหยาบ

ปีนี้กรมวิชาการเกษตรได้ปรับปรุงมิติการวิจัยด้านพืชใหม่ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่
เน้นศึกษาวิจัยเฉพาะพืชที่เป็นอาหารมนุษย์เท่านั้น โดยได้เพิ่มการวิจัยและพัฒนาครอบ
คลุมพืชอาหารสัตว์ด้วย ซึ่งเบื้องต้นได้มีการพัฒนาพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับการใช้เป็นพืช
อาหารสัตว์  เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารหยาบในการเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ 5
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งอ้อยอาหารสัตว์ดังกล่าวมีคุณสมบัติต่างจากอ้อยโรงงาน คือ
สามารถสร้างต้นและใบได้มากในเวลาอันสั้น ทั้งยังทนแล้งได้ดีและสามารถงอกใหม่จาก ลำ
ต้นใต้ดินเมื่อได้รับน้ำ ทำให้ง่ายต่อการจัดการ ขณะเดียวกันยังมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการ
ปลูกพืชอาหารสัตว์ชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด และข้าวฟ่าง ที่ต้องปลูกใหม่ทุกครั้ง หรือตัดได้
เพียง 1-2 ครั้ง เท่านั้น
   
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา ร่วมกับ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8
จังหวัดสงขลา ได้นำพันธุ์อ้อย 6 สายพันธุ์ ที่มีลักษณะเหมาะจะใช้เป็นอาหารสัตว์
มาทดสอบการให้ผลผลิตในสภาพแวดล้อมของศูนย์วิจัยฯ พบว่า อ้อยโคลนพันธุ์เบอร์ 6
ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ Phi58-260 กับพันธุ์ K84-200 เป็นพันธุ์ที่ มีศักยภาพ
เหมาะสมกับการ ใช้เป็นอาหารสัตว์มากที่สุด คือ มีลำเล็ก แตกกอดี ใบมาก เติบโตเร็ว มี
ความทนแล้ง สามารถตัดได้หลายครั้ง และมีโปรตีนประมาณ 5% โดยน้ำหนักสด ซึ่งคาดว่า
จะสามารถประกาศรับรองเป็นพันธุ์พืชอาหารสัตว์พันธุ์แรกของกรมวิชาการเกษตรได้ภายใน
ปี 2554
   
อ้อยลูกผสมพันธุ์นี้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทุก 3-4 เดือน หรือยืดไปถึง 6 เดือน โดย
ให้ผลผลิตต้นสดในสภาพการปลูกแบบอาศัยน้ำฝน เฉลี่ย 2 ตันต่อไร่ต่อเดือน หรือมากกว่า
20 ตัน ต่อไร่ต่อปี ซึ่งเกษตรกรสามารถใช้เครื่องสับให้สัตว์กินสด หรือทำเป็นหญ้าหมักไว้
เลี้ยงสัตว์ในยามขาดแคลนได้ สัตว์จะชอบกินมากเพราะมีความหวานกว่าฟางข้าวและหญ้า
สดทั่วไป ถือเป็นพืชอาหารสัตว์ทางเลือกใหม่ของเกษตรกรผู้เลี้ยง  โค กระบือ แพะ และ
แกะ โดยเฉพาะ  ผู้เลี้ยงโคนมมีความเป็นไปได้สูง ซึ่งจะช่วยลดความสิ้นเปลืองค่ากาก
น้ำตาลได้ค่อนข้างมาก
   
นายไพโรจน์ สุวรรณจินดา ผู้ อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จังหวัด
สงขลา กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องในพื้นที่ภาคใต้มีปัญหาขาดแคลน
อาหารหยาบและวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาแพง เนื่องจากพื้นที่ทุ่งหญ้ามีค่อนข้างจำกัด และ
อยู่ห่างไกลจากแหล่งผลิตพืชไร่ที่ใช้เป็นวัตถุดิบหลัก ทำให้มีต้นทุนการขนส่งสูง ซึ่งอ้อย
อาหารสัตว์นี้จะเป็นทาง ออกที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรได้
   
“เกษตรกรที่มีพื้นที่น้อยก็ปลูกอ้อยอาหารสัตว์ได้โดยสามารถปลูกตามหัวไร่ปลายนา หรือ
อาจปลูกในพื้นที่ว่างระหว่างแถวยางหรือปาล์มน้ำมันปลูกใหม่ ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาวัตถุ
ดิบอาหารสัตว์ที่มีราคาแพง ทำให้ประหยัดต้นทุนและหนุนระบบการผลิตปศุสัตว์ให้มั่นคง
มากขึ้น โดยเฉพาะการเลี้ยงแพะ-แกะใน เชิงพาณิชย์ในพื้นที่ภาคใต้ที่กำลังขยายตัวมาก”
ผอ.สวพ.8 กล่าว
   
หากสนใจพันธุ์อ้อยอาหารสัตว์ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและ
พัฒนาการเกษตรสงขลา  อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โทร.0-7420-5980.



ที่มา  :  เดลินิวส์




หน้าถัดไป (2/3) หน้าถัดไป


Content ©