หน้า: 1/9
สำปะหลัง
ลำดับเรื่อง...
1. แนะวิธีปลูกมันสำปะหลังช่วงต้นฤดูฝน
2. ปลูกมันสำปะหลัง แบบมีการให้น้ำ ช่วยเพิ่มผลผลิตและป้องกันเพลี้ยแป้ง
3. การปลูกมันสำปะหลัง....แบบมีการให้น้ำ ต้องทำอย่างไร
4. การคำนวนต้นทุน
5. การปลูกมันสำปะหลัง
6. ต้นมันสำปะหลัง แหล่งอาหาร โค-กระบือ
7. ปลูกมันสำปะหลังอย่างไร จึงจะได้ผลผลิตสูงสุด
8. เกษตรศาสตร์ 50 พันธุ์มันสำปะหลังที่นิยมปลูกมากที่สุดในประเทศไทย
9. ทำอย่างไรให้มันสำปะหลังปลอดเพลี้ยแป้ง
10. การทำให้มันสำปะหลังปลอดเพลี้ยแป้งให้ได้ผล ต้องใช้วิธีการผสมผสาน
11. เกษตรยุคใหม่ใช้ปุ๋ยไร้พิษผลิตมันสำปะหลัง
12. สำปะหลังใบด่าง ปลูกประดับน่ารักดี
13. เกษตรกรโอด ถูกโขกราคากิ่งพันธุ์สำปะหลัง ไร่ละ 5,000 บาท
14. เชื้อรา Phytophthora สาเหตุโรคต้นเน่าและใบไหม้มันสำปะหลัง
15. ผลิตแตนเบียนสู้เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
16. เพลี้ยแป้งระบาดไร่มันบุรีรัมย์หนัก 1.3 แสนไร่ สูญแล้ว 80 ล้าน - ร้องรัฐช่วยเหลือด่วน
17. ปลูก-มันสำปะหลัง
18. เร่งปล่อยแตนเบียนสกัดเพลี้ย เกษตรฯ ผวาระบาดลามไม่หยุด กระทบอุตฯ มันสำปะหลัง
19. เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่
20. ปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตสูง...ควรทำอย่างไร
21. โรคมันสำปะหลัง
22. มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ ปลูกได้ทั้งต้นและปลายฤดูฝน
23. ทำน้ำหยดในไร่มัน ที่โนนสุวรรณ เพิ่มผลผลิต หยุดเพลี้ยแป้ง
24. เร่งสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ ตั้งเป้ารุ่นแรก 2,000 คน
25. แนวทางการปลูกมันสำปะหลังแบบมีการให้น้ำเพื่อป้องกันเพลี้ยแป้ง
26. การปลูกมันสำปะหลังแบบมีการให้น้ำ ต้องทำอย่างไร
27. สมัย ลิ้มวัชราภรณ์ ทำน้ำหยดในไร่มัน ที่โนนสุวรรณ เพิ่มผลผลิต หยุดเพลี้ยแป้ง
28. การปรับเปลี่ยนระบบการปลูกมันสำปะหลังแบบอาศัยน้ำฝน มาเป็นการปลูกแบบให้น้ำ
29. ชุบท่อนพันธุ์มันสำปะหลังปราบเพลี้ยแป้ง
30. การใช้เชื้อรา บิวเวอร์เรีย ปราบเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังอย่างถูกต้อง
31. กระทู้ ถาม-ตอบ เรื่องมันสำปะหลัง
32. ปัญหาผลผลิตมันสำปะหลังต่ำ เนื่องจากขาดจุลธาตุสังกะสี
33. ดินของฉัน ปลูกมันพันธุ์อะไรดี
http://web.sut.ac.th/cassava/?name=11cas_research&file=readknowledge&id=60
.......................................................................................
1. แนะวิธีปลูกมันสำปะหลังช่วงต้นฤดูฝน
เกษตรกรต้องเตรียมท่อนพันธุ์ให้ดีก่อนที่จะลงมือปลูก ที่สำคัญควรเลือกท่อนพันธุ์ที่ สมบูรณ์ แข็งแรง มีความเหมาะสมทั้งอายุและขนาด คัดเลือกจากแหล่งที่ปราศจากเพลี้ยแป้ง...
นายเฉลิมศักดิ์ ประสิทธิ์สุวรรณ เกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวถึงการปลูกมันสำปะหลังต้นฤดูฝนนี้ว่า เกษตรกรต้องเตรียมท่อนพันธุ์ให้ดีก่อนที่จะลงมือปลูก ที่สำคัญควรเลือกท่อนพันธุ์ที่ สมบูรณ์ แข็งแรง มีความเหมาะสมทั้งอายุและขนาด คัดเลือกจากแหล่งที่ปราศจากเพลี้ยแป้ง และที่สำคัญยิ่งกว่าอื่นใดเกษตรกรต้องแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก ทั้งนี้เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งไม่ให้ระบาดในไร่มันสำปะหลังได้ สำหรับการแช่ท่อนมันพันธุ์นั้นแนะนำให้ใช้สารเคมีสำหรับแช่ท่อนพันธุ์ ได้แก่ ไทอะมิโทแซม25% ดับเบิ้ลยูจี 4กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาคลอพริก 70 % ดับเบิ้ลยูจี 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไดโนทีฟูแรม 10 % ดับเบิ้ลยู พี 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่มา : ไทยรัฐ
2. ปลูกมันสำปะหลัง แบบมีการให้น้ำ
ช่วยเพิ่มผลผลิตและป้องกันเพลี้ยแป้ง
ดร.โอภาษ บุญเส็ง ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร Opasboonseng @ yahoo.com
สถานการณ์เพลี้ยแป้งที่ได้คุกคามในมันสำปะหลังและแพร่ระบาดมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี 2551 จนมาถึงปัจจุบันนี้ และได้กลายเป็นมหันตภัยต่อมันสำปะหลังอย่างชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในอดีต ผู้เขียนเคยได้ฟังคำปรารภจากท่านจเร จุฑารัตนกุล อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยว่า
"การระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง หากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไม่สามารถหามาตรการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมาเร่งแก้ไขวิกฤตการณ์นี้อย่างได้ผลสำเร็จ เกษตรกรมีแนวโน้มที่จะหันไปปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน ส่งผลให้หัวมันสำปะหลังที่จะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมลดน้อยลง ผู้ใช้จากต่างประเทศเกิดความไม่มั่นใจว่าประเทศไทยจะยังคงสามารถเป็นฐานวัตถุดิบที่ยั่งยืนได้เช่นเดิมหรือไม่ อาจหันไปใช้วัตถุดิบจากพืชชนิดอื่นทดแทน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศได้"
ดังนั้น การหามาตรการป้องกำจัดเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง จึงเป็นปัญหาเร่งด่วนของนักวิจัยทุกสาขาของมันสำปะหลัง ต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำเพื่อต่อสู้กับวิกฤตการณ์ภัยพิบัติจากแมลงศัตรูพืชชนิดนี้ให้ได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรไทยอยู่อย่างมีอนาคตและดำรงไว้ซึ่งวิถีชีวิตการปลูกมันสำปะหลังที่ผ่านมาราวครึ่งศตวรรษได้
ผลกระทบต่อผลผลิตมันสำปะหลังในอนาคต
จากการระดมสมองเรื่องมาตรการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง จัดโดยมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 โดย คุณบุญชัย ศรีชัยยงพานิช ประธานคณะสำรวจภาวการณ์ผลิตและการค้ามันสำปะหลังของสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย ได้รายงานไว้ว่าในฤดูการผลิต ปี 2552-2553 ผลผลิตรวมลดลงเหลือ 22 ล้านตัน จากประมาณการไว้ 28 ล้านตัน สาเหตุผลผลิตลดลงมาจากความเสียหายจากการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้ง และ คุณบุญมี วัฒนเรืองรอง เลขานุการสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทยได้ให้ความเห็นว่า ถ้าในฤดูกาลการผลิต ปี 2553-2554 หากไม่มีมาตรการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลังอย่างได้ผลชัดเจน จะมีการระบาดของเพลี้ยแป้งอย่างรุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมา คาดว่าผลผลิตรวมจะลดลงเหลือ 10 ล้านตัน อาจเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบมีความเป็นไปได้สูง โดยที่ผู้ใช้อาจจะเปลี่ยนไปซื้อวัตถุดิบจากแหล่งอื่นแทน หรืออาจเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบตัวอื่นแทนมันสำปะหลังในระยะยาว เพราะเกิดความไม่มั่นใจว่าประเทศไทยจะเป็นฐานผลิตวัตถุดิบมันสำปะหลังที่มั่นคงได้เหมือนเดิม
ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมมันสำปะหลัง
คุณเสรี เด่นวรลักษณ์ นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย กล่าวว่า จากการระบาดของเพลี้ยแป้งจะทำให้ผลผลิตลดลง ในด้านอุตสาหกรรมมันเส้นซึ่งมีลานตากมันสำปะหลังอยู่ 1,000 แห่ง ใช้ผลผลิตประมาณ 5 ล้านตัน ต่อปี หันไปตากข้าวโพดแทนมันสำปะหลัง อุตสาหกรรมแป้งใช้ผลผลิตประมาณ 3.5 ล้านตัน ต่อปี กำลังการผลิตลดลงไม่คุ้มค่าต่อการดำเนินการต่อ อาจต้องปิดตัวไป อุตสาหกรรมแป้งดัดรูปมีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 9 แสนตัน ต่อปี แต่ใช้กำลังการผลิตเพียง 5 แสนตัน ต่อปี อาจต้องปิดตัวลง ส่วนอุตสาหกรรมเอทานอลอาจปรับเปลี่ยนมาใช้โมลาสจากอ้อยแทน ตามข้อเท็จจริงโรงงานเอทานอลอยู่ในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังห่างไกลจากโรงงานน้ำตาล สำหรับในด้านต่างประเทศ ซึ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้นำเข้ามันเส้นรายใหญ่จากไทย อาจเปลี่ยนนโยบายหันไปนำเข้าข้าวโพดแทน หากมันสำปะหลังมีไม่เพียงพอ ถ้าทิศทางการใช้วัตถุดิบจากข้าวโพดแทนมันสำปะหลังแล้ว คงเป็นไปได้ยากที่สาธารณรัฐประชาชนจีนจะหันกลับมาใช้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเหมือนเดิมอีก
ชนิดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง
เพลี้ยแป้ง ที่พบว่าระบาดทั่วไปในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของประเทศไทย มีด้วยกัน 4 ชนิด คือ เพลี้ยแป้งตัวลาย (striped mealybug) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Ferrisia virgata *****erell เพลี้ยแป้งสีเขียว (madeira mealybug) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Phenacoccus madeiresis Green เพลี้ยแป้งสีชมพู (pink mealybug) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Phenacoccus manihoti Matile-Ferrero และเพลี้ยแป้งแจ๊คเบียดเลย์ (Jack-Beardsley mealybug) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudococcus jackbeardsleyi Gimpel & Miller เพลี้ยแป้งทั้ง 4 ชนิด พบว่า เพลี้ยแป้งสีชมพูมีการระบาดอย่างรุนแรงที่สุด มีผลเสียหายทางเศรษฐกิจในทุกภาคของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ในขณะนี้ยังไม่มีมาตรการในการควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้งชนิดนี้อย่างได้ผลดี ทำให้เกษตรกรเริ่มวิตกกังวลต่อการระบาดของเพลี้ยแป้งชนิดนี้ในมันสำปะหลัง โดยเกษตรกรบางรายได้หันกลับไปปลูกพืชไร่ชนิดอื่นแทน เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้ง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลง ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
มาตรการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง ในมันสำปะหลัง
แนวทางในการจัดการเพื่อป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้ง ซึ่งไม่ง่ายเหมือนกับการจัดการเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยทั่วไป เนื่องจากเพลี้ยแป้งมีข้อจำกัดที่ลำตัวปกคลุมด้วยไขแป้ง ไข่อยู่ภายในถุงไข่ ส่วนลำต้นของมันสำปะหลังที่ถูกทำลายด้วยเพลี้ยแป้ง จะมีข้อถี่มากและมีการแตกใบเป็นพุ่มหนาเป็นกระจุก เป็นเกราะกำบังอย่างดีให้กับเพลี้ยแป้ง ทำให้การพ่นสารเคมีค่อนข้างยากที่จะถึงตัวและไข่ของเพลี้ยแป้ง
นอกจากนี้ การจัดการเพื่อป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งด้วยสารเคมี เป็นวิธีที่อันตรายและก่อให้เกิดการทำลายล้างต่อแมลงศัตรูตามธรรมชาติ อย่างแมลงตัวห้ำและตัวเบียน สุขภาพของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การใช้สารเคมีควรจะเป็นวิธีสุดท้ายในการป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้ง สำหรับแนวทางและหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งมีด้วยกัน 5 แนวทาง โดยเริ่มต้นตั้งแต่การจัดการด้านวิธีเขตกรรม การจัดการด้านที่อยู่อาศัย การควบคุมโดยชีววิธี การควบคุมโดยสารสกัดชีวภาพและวิธีกล และการควบคุมโดยสารเคมี มีรายละเอียด ดังนี้
1. การจัดการด้านเขตกรรม
เป็นแนวทางวิธีปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งให้กับตัวพืช เพื่อให้พืชสามารถพัฒนาตัวเองให้ต้านทานต่อแมลงศัตรูได้ดีขึ้น ได้แก่ การเลือกพื้นที่ปลูก การเลือกฤดูปลูก การเตรียมดิน การเตรียมท่อนพันธุ์ เทคนิคการปลูก การกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การให้น้ำ และการจัดการหลังเก็บเกี่ยว
2. การจัดการที่อยู่อาศัย
เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของแมลงตัวห้ำและตัวเบียนที่มีอยู่เดิมในท้องถิ่นตามธรรมชาติ ได้แก่ การให้น้ำ การปลูกพืชหมุนเวียน และการสร้างแนวพืชป้องกัน
3. การควบคุมด้วยชีววิธี
เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตในการควบคุมแมลงศัตรูพืชให้อยู่ภายใต้ระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่กำหนด ได้แก่ การใช้แมลงช้างปีกใส แตนเบียน และด้วงเต่า
4. การควบคุมด้วยสารสกัดชีวภาพและวิธีกล
เป็นการนำสารธรรมชาติจากพืชโดยได้มาด้วยการนำพืชมาสกัดเพื่อหาสารออกฤทธิ์ที่มีศักยภาพในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช นอกจากนี้ การใช้วิธีควบคุมเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์และระบาดในไร่มันสำปะหลังด้วยวิธีกลอย่างมีประสิทธิภาพ
5. การควบคุมด้วยสารเคมี
เป็นวิธีสุดท้ายในการแนะนำให้ใช้เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ เพลี้ยแป้งที่อาศัยตามซากมันสำปะหลังและวัชพืชที่ไถกลบลงดิน และเพลี้ยแป้งที่มาจากไร่มันสำปะหลังที่อยู่ใกล้เคียง เนื่องจากการใช้สารเคมีจะทำให้ระบบนิเวศเกษตรสูญเสียความสมดุลไป โดยทำลายทั้งเพลี้ยแป้งและศัตรูตามธรรมชาติของเพลี้ยแป้งด้วย ถ้าจำเป็นต้องใช้สารเคมี ควรใช้เมื่อมีการระบาดของเพลี้ยแป้งอย่างรุนแรง โดยที่แมลงศัตรูธรรมชาติไม่อาจควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้งได้ ควรพ่นสารเคมีเฉพาะบริเวณที่ระบาดอย่างรุนแรง เพื่อป้องกันมิให้เพลี้ยแป้งแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นอีก หรือใช้สารเคมีเพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์
แนวทางการปลูกมันสำปะหลัง....แบบมีการให้น้ำเพื่อป้องกันเพลี้ยแป้ง
การระบาดของเพลี้ยแป้งอย่างรุนแรงในมันสำปะหลัง อาจนำไปสู่การลดลงของผลผลิตอย่างมหาศาลตามที่กล่าวข้างต้น จนทำให้ผู้ใช้วัตถุดิบในต่างประเทศปรับเปลี่ยนไปใช้ข้าวโพดแทนมันสำปะหลังก็ได้ ดังนั้น แนวทางระยะสั้นในการหามาตรการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลังที่น่าสนใจ ก็คือ การปรับเปลี่ยนจากการปลูกมันสำปะหลังแบบอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว มาเป็นการปลูกมันสำปะหลังแบบมีการให้น้ำ ซึ่งสามารถใช้ได้กับพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ โดยเฉพาะการนำน้ำใต้ดินมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปลูกมันสำปะหลัง จากรายงานผลการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า การปลูกมันสำปะหลังแบบมีการให้น้ำสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากกว่า 10 ตัน ต่อไร่ ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่ามีความเป็นไปได้อย่างสูงที่จะพัฒนาแหล่งน้ำใต้ดินมาใช้ปลูกมันสำปะหลังแบบมีการให้น้ำ เพื่อชดเชยผลผลิตที่ขาดหายไปจากการระบาดของเพลี้ยแป้ง และเพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง โดยการให้น้ำเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับแมลงตัวห้ำและตัวเบียนที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่ไม่เหมาะสมกับแมลงศัตรูพืชอย่างเพลี้ยแป้ง โดยพบว่าแมลงตัวห้ำและตัวเบียนมีปริมาณลดลงในช่วงแล้ง
การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำใต้ดิน
เป็นที่ทราบกันว่า แหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีอยู่ด้วยกัน 3 แหล่ง คือ
1. น้ำที่ได้จากผิวดิน ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง และทะเล
2. น้ำที่ได้จากใต้ดิน ได้แก่ น้ำที่ได้จากผิวดินซึมผ่านลงไปสะสมอยู่ในช่องว่างของดิน ทราย กรวด และโพรงของหินที่อยู่ใต้ดิน โดยน้ำใต้ดินจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและสภาพภูมิประเทศในบริเวณนั้น และ
3. น้ำที่ได้จากบรรยากาศ ได้แก่ น้ำที่ได้จากฝนตกเท่านั้น
ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะในส่วนของแหล่งน้ำใต้ดิน
สำหรับแหล่งน้ำใต้ดินสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบ 2 ประเภท คือ
1. ขุดเป็นบ่อน้ำซับ เป็นน้ำใต้ดินที่อยู่ลึก ไม่ควรเกิน 5 เมตร จากผิวดิน สามารถขุดเป็นสระขนาดเล็ก เพื่อนำน้ำมาใช้ได้ โดยน้ำในบ่อจะซึมออกมาตลอดเวลา
2. ขุดเป็นบ่อน้ำบาดาล เป็นน้ำใต้ดินที่อยู่ลึกมากกว่า 20 เมตร จากผิวดิน สามารถเจาะเป็นบ่อโพรงแล้วนำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยน้ำในบ่อจะซึมออกมาตลอดเวลา
วิธีการให้น้ำกับมันสำปะหลัง
วิธีการให้น้ำพืชมี 4 วิธี ด้วยกัน คือ
1. การให้น้ำทางผิวดิน เป็นการให้น้ำแบบปล่อยให้ท่วมเป็นผืน กับการให้น้ำแบบท่วมร่อง
2. การให้น้ำแบบสปริงเกลอร์ เป็นการให้น้ำด้วยการพ่นน้ำออกจากหัวสปริงเกลอร์ขึ้นไปบนอากาศ แล้วให้เม็ดน้ำตกลงมาบนแปลงปลูกพืช โดยมีรูปทรงการแผ่กระจายของเม็ดน้ำที่สม่ำเสมอ เช่นเดียวกับฝนตก
3. การให้น้ำแบบหยด เป็นการให้น้ำแก่พืชที่จุดใดจุดหนึ่งบนผิวดินในเขตบริเวณรากพืช โดยผ่านท่อน้ำหยด และ
4. การให้น้ำทางใต้ดิน เป็นการให้น้ำแก่พืชโดยการยกระดับน้ำใต้ดินขึ้นมาให้สูงพอที่น้ำจะไหลซึมขึ้นมาสู่ระดับเขตรากพืช ได้แก่ การให้น้ำในคูและการให้น้ำไหลเข้าท่อที่ฝังไว้ใต้ดิน
สำหรับการให้น้ำกับมันสำปะหลัง ผู้เขียนมีความเห็นว่า การให้น้ำแบบสปริงเกลอร์และแบบน้ำหยด น่าจะเป็นวิธีการให้น้ำที่เหมาะสมกับมันสำปะหลัง โดยการให้น้ำทั้ง 2 วิธีการ สามารถเสริมสร้างความเข็มแข็งให้กับตัวพืช เพื่อให้พืชสามารถพัฒนาตัวเองให้ต้านทานต่อแมลงศัตรูได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับแมลงตัวห้ำและตัวเบียนที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่ไม่เหมาะสมกับแมลงศัตรูพืชอย่าง เพลี้ยแป้ง ข้อดีของการให้น้ำแบบสปริงเกลอร์อีกประการหนึ่งคือ สามารถชะล้างและทำลายตัวเพลี้ยแป้งพร้อมถุงไข่ออกจากต้นมันสำปะหลังได้ด้วย การให้น้ำทั้ง 2 วิธี ดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้
การให้น้ำแบบสปริงเกลอร์
การให้น้ำแบบสปริงเกลอร์ น้ำที่พ่นขึ้นไปบนอากาศ แล้วให้เม็ดน้ำตกลงมา สามารถชะล้างและทำลายตัวเพลี้ยแป้งพร้อมถุงไข่ออกจากต้นมันสำปะหลังได้ การให้น้ำแบบสปริงเกลอร์มีหลายแบบ ได้แก่ แบบหลายตัว แบบหัวเดียว แบบคานยื่น และแบบขนาดเล็ก การให้น้ำแบบสปริงเกลอร์ต้องมีส่วนประกอบดังนี้
1. เครื่องสูบน้ำ ทำหน้าที่สูบน้ำจากแหล่งน้ำแล้วดันออกไปตามท่อผ่านหัวพ่นออกสู่อากาศ โดยอาศัยกำลังจากมอเตอร์หรือเครื่องยนต์
2. ท่อประธาน ทำหน้าที่นำน้ำออกจากเครื่องสูบน้ำไปยังท่อแขนง อาจเป็นท่ออ่อนเคลื่อนย้ายได้ หรือท่อแข็งเคลื่อนย้ายได้ หรือท่อที่ติดตั้งถาวร
3. ท่อแขนง ทำหน้าที่นำน้ำออกจากท่อประธานไปยังหัวพ่น อาจเป็นท่ออ่อนเคลื่อนย้ายได้ หรือท่อแข็งเคลื่อนย้ายได้ หรือท่อที่ติดตั้งถาวร
4. หัวพ่น ทำหน้าที่พ่นน้ำออกเป็นฝอยคล้ายกับฝน หัวพ่นจะมี 2 รู โดยรูแรกพ่นน้ำออกไปไกล อีกรูหนึ่งพ่นน้ำในระยะใกล้
การปลูกมันสำปะหลังแบบมีการให้น้ำ ควรส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีแหล่งน้ำใต้ดินอยู่ตามธรรมชาติในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ขุดบ่อน้ำซับหรือเจาะน้ำบาดาล 1 บ่อ เพื่อใช้ปลูกมันสำปะหลัง ขนาด 10-15 ไร่ โดยติดตั้งระบบการให้น้ำแบบสปริงเกลอร์แบบใดก็ได้ ตามความสะดวกของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง
การให้น้ำแบบน้ำหยด
การให้น้ำแบบน้ำหยด เป็นการให้น้ำแก่พืชที่จุดใดจุดหนึ่งบนผิวดินในเขตบริเวณรากพืช โดยผ่านท่อน้ำหยด เป็นวิธีที่ไม่สามารถชะล้างและทำลายตัวเพลี้ยแป้งพร้อมถุงไข่ออกจากต้นมันสำปะหลังได้ แต่จะเสริมสร้างความเข็มแข็งให้กับตัวพืช เพื่อให้พืชสามารถพัฒนาตัวเองให้ต้านทานต่อแมลงศัตรูได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับแมลงตัวห้ำและตัวเบียนที่มีอยู่ตามธรรมชาติ การให้น้ำแบบน้ำหยดต้องมีส่วนประกอบ ดังนี้
1. เครื่องสูบน้ำ เพื่อสูบน้ำจากแหล่งน้ำส่งเข้าสู่ระบบน้ำหยด ต้องส่งน้ำให้มีแรงดัน อย่างน้อย 0.6 บาร์
2. ระบบส่งน้ำ ประกอบไปด้วย
1. ท่อประธาน เป็นท่อที่ต่อจากแหล่งน้ำ โดยวางไว้บนดินหรือฝังในดิน
2. ท่อรองประธาน เป็นท่อที่แตกจากท่อประธาน อาจใช้ท่อ พีวีซี หรือ พีอี ขนาด 30-50 มิลลิเมตร
3. ท่อน้ำหยด เป็นท่อที่แตกจากท่อรอง วางขนานกับแถวของพืช อาจใช้ท่อ พีวีซี หรือ พีอี ขนาด 12-20 มิลลิเมตร ยาวไม่เกิน 300 เมตร
4. หัวน้ำหยด เป็นหัวปล่อยน้ำอยู่ติดกับท่อน้ำหยด เป็นตัวควบคุมปริมาณการไหลของน้ำจากท่อน้ำหยดสู่ดิน ขนาดของรู 0.5-1.5 มิลลิเมตร
3. เครื่องกรอง จะทำหน้าที่กรองเอาเศษวัชพืช ใบไม้ ทราย ออกจากน้ำ ถ้าปล่อยให้สิ่งเหล่านี้ผ่านไป จะทำให้หัวน้ำหยดเกิดการอุดตัน เป็นสาเหตุให้ต้นพืชขาดน้ำแล้วชะงักการเจริญเติบโต
4. เครื่องควบคุมการจ่ายน้ำต้นทาง ทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายน้ำทั้งระบบจากแหล่งน้ำไปสู่ระบบของการให้น้ำแบบหยด ประกอบด้วยประตูน้ำใหญ่ เครื่องวัดปริมาตรน้ำ เครื่องวัดแรงดันน้ำ เครื่องควบคุมแรงดัน ประตูป้องกันน้ำไหลกลับ และเครื่องใส่ปุ๋ยหรือสารเคมี
3. การปลูกมันสำปะหลัง....แบบมีการให้น้ำ ต้องทำอย่างไร
เมื่อศึกษาโมเดลการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังในประเทศไทย พบว่า มันสำปะหลังจะหยุดชะงักการเจริญเติบโตในช่วงฤดูแล้ง 6 เดือน คือตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน ดังนั้น การให้น้ำในช่วงฤดูแล้งก็เพื่อต้องการให้มันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตและมีการสะสมอาหารในหัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การให้น้ำจะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับมันสำปะหลัง ตลอดจนช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับแมลงตัวห้ำและตัวเบียนของเพลี้ยแป้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติด้วย การปลูกมันสำปะหลังแบบมีการให้น้ำ ควรปฏิบัติตามขั้นตอนรายละเอียด ดังนี้
1. การปรับปรุงดิน ควรทำ 3-5 ปี ต่อครั้ง
1. การไถระเบิดชั้นดินดานด้วยไถสิ่ว ลึกอย่างน้อย 60 เซนติเมตร โดยดินดานขัดขวางการแพร่กระจายของรากพืชและการแทรกซึมของน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังหรือไหลบ่ามากขึ้นในช่วงฝนตกหนัก ขณะเดียวกันก็ทำให้พืชขาดแคลนน้ำในช่วงแล้ง
2. วัดความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) เป็นที่ยอมรับว่า ดินที่มี pH สูงหรือต่ำเกินไป มีผลให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง ควรปรับสภาพดินให้ pH อยู่ระหว่าง 6.5-7.5 ถ้าดินเป็นกรด ควรใส่ปูนจากหินปูนบด หรือหินฝุ่นจากโรงโม่หินปูน หรือปูนมาร์ล หรือโดโลไมท์ อัตรา 200 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยหว่านแล้วไถกลบก่อนปลูก ประมาณ 1 เดือน ข้อควรระวัง ห้ามใส่ปูนติดต่อกันหลายปี อาจมีผลให้ดินอยู่ในสภาพเกินปูนหรือเป็นด่าง แก้ไขยาก
3. ปลูกพืชบำรุงดิน ได้แก่ ถั่วพร้า โสนอินเดีย หรือปอเทือง ไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดขณะออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน โดยให้น้ำหนักสด 3-4 ตัน ต่อไร่ คิดเป็นธาตุไนโตรเจน 15-20 กิโลกรัม ต่อไร่
4. การป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โดยการปลูกพืชบางชนิดเป็นแถวขวางความลาดเทของพื้นที่ เช่น ปลูกแฝกเป็นแถวกำแพงเพื่อลดแรงไหลบ่าของน้ำและช่วยกักตะกอนดิน ป้องกันการสูญเสียดินและน้ำ
5. เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินด้วยการเติมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก วัสดุอินทรีย์ และการไถกลบซากมันสำปะหลังลงสู่ดิน
2. การเลือกฤดูปลูก
เมื่อศึกษาโมเดลการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง พบว่า มันสำปะหลังจะหยุดชะงักการเจริญเติบโตในช่วงฤดูแล้ง 6 เดือน คือตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน ดังนั้น การปลูกมันสำปะหลังแบบมีการให้น้ำเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ต้องปลูกในช่วงต้นฤดูร้อน คือตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ซึ่งในช่วงนี้ความเข็มของแสงจะสูงและท้องฟ้าไม่มีเมฆบังแสง ทำให้พืชสามารถสังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย มีการให้น้ำในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโต ตั้งแต่อายุ 1-3 เดือน และให้น้ำเต็มที่ในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยให้มันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตและสะสมอาหารในหัวอย่างต่อเนื่อง ตามที่กล่าวข้างต้น
3. การเลือกพันธุ์
ปัจจุบัน ยังไม่มีพันธุ์ที่ทนทานต่อเพลี้ยแป้ง แต่ควรเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมตามชนิดของดิน โดย
1. ดินทรายร่วน ใช้พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และห้วยบง 60
2. ดินร่วนปนทราย ใช้พันธุ์ระยอง 7 ระยอง 9 ระยอง 90 เกษตรศาสตร์ 50 และห้วยบง 60
3. ดินร่วนปนเหนียว ใช้พันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 ระยอง 72 และห้วยบง 60
4. ดินเหนียวสีน้ำตาลหรือแดง ใช้พันธุ์ระยอง 5 และระยอง 72 และ
5. ดินเหนียวสีดำ ใช้พันธุ์ระยอง 5 และระยอง 72
4. การเตรียมดิน
ควรหว่านปุ๋ยอินทรีย์ก่อนเตรียมดิน อัตรา 1-2 ตัน ต่อไร่ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน แล้วไถดะครั้งแรกให้ลึกในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะด้วยผาล 3 หรือผาล 4 แล้วตากดินนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อทำลายหรือลดปริมาณไข่และตัวอ่อนของเพลี้ยแป้งที่หลงเหลือในดิน จากนั้นก็ไถแปรเพื่อย่อยดินด้วยผาล 7 แล้วยกร่องพร้อมปลูกโดยยึดหลักการที่ว่าต้องทำให้ฐานร่องปลูกใหญ่เพียงพอ เพื่อรองรับขนาดของหัวที่โตขึ้นได้ ถ้าฐานร่องปลูกเล็กจะไปจำกัดการโตของหัว แต่ถ้าหัวโผล่พ้นดินจะมีผลทำให้หัวหยุดการเจริญเติบโตทันที โดยทั่วไป ระยะร่องปลูกควรห่างกันอย่างน้อย 1.20 เมตร ระยะต้นตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตั้งแต่ 0.80-1.20 เมตร
5. การเตรียมท่อนพันธุ์
เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แข็งแรงปราศจากโรคและแมลง อายุ 10-14 เดือน ใช้ต้นสดหรือตัดต้นกองทิ้งไว้ไม่เกิน 10 วัน ก่อนปลูก ความยาวของท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกประมาณ 20-30 เซนติเมตร ไม่ควรตัดท่อนพันธุ์ยาวกว่านี้ เพราะไม่ช่วยให้มันสำปะหลังโตและคลุมวัชพืชได้เร็วขึ้น การตัดท่อนพันธุ์ควรใช้เลื่อยที่คมตัดเป็นมัด หรือใช้มีดที่คมตัดทีละต้น โดยตัดแบบตรงหรือตัดแบบเฉียงก็ได้ หลังจากนั้น ควรแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารเคมีไทอะมีโทแซม (25%WG) หรือ อิมิดาโคลพริด (70% WG) อัตรา 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน (10% WG) อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร นานประมาณ 5-10 นาที นำไปผึ่งลมในที่ร่มให้แห้งก่อนนำไปปลูก สามารถฆ่าเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ได้ และยังป้องกันการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งหลังปลูกได้อีกประมาณ 1 เดือน
6. เทคนิคการปลูก
หลังจากปลูกมันสำปะหลังแล้วไม่ควรรบกวนดิน หรือรบกวนให้น้อยครั้งที่สุด การรบกวนดินมีผลทำให้ดินแน่น ซึ่งจะไปจำกัดการแพร่กระจายของราก และการลงหัวของมันสำปะหลัง นอกจากนี้ ยังไปรบกวนการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตในดินด้วย ดังนั้น การกระตุ้นให้มันสำปะหลังแตกทรงพุ่มใบเพื่อคลุมวัชพืชได้เร็ว ด้วยการรองพื้นก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ พด. 12 ร่วมกับการพ่นสารเคมีคุมวัชพืชก่อนงอกและการให้น้ำในช่วงแรกของการเจริญเติบโต
7. การกำจัดวัชพืช
หลังจากปลูกมันสำปะหลังเสร็จแล้ว พ่นสารเคมีคุมวัชพืชก่อนงอก โดยไม่ควรเกิน 3 วันหลังจากปลูก หรือพ่นสารเคมีคุมวัชพืชก่อนที่ตาของท่อนปลูกจะงอก สารเคมีประเภทคุมใช้ได้ผลเฉพาะการปลูกต้นฤดูฝนเท่านั้น เพราะต้องมีความชื้นของดินเป็นตัวนำพาสารเคมีไปสู่เมล็ดวัชพืช และไม่มีเศษวัชพืชขัดขวางการแพร่กระจายของสารเคมี หลังจากการพ่นสารเคมีประเภทคุมวัชพืชก่อนงอกแล้ว ถ้ามีวัชพืชขึ้นอีกต้องใช้สารเคมีประเภทฆ่าหลังวัชพืชงอก สารเคมีประเภทฆ่าโดยเฉพาะห้ามใช้ไกลโฟเสทในขณะที่มันสำปะหลังต้นเล็กอยู่ เพราะมีผลทำให้ชะงักการเจริญเติบโต
8. การใส่ปุ๋ย
ต้องใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับมันสำปะหลัง โดยปุ๋ยเคมีต้องใช้ในขณะที่ดินมีความชื้นและต้องกลบปุ๋ยด้วย การใส่ปุ๋ยเคมีควรเลือกใช้ อัตราส่วน 2:1:2 ปุ๋ยเคมีที่แนะนำ คือ 15-7-18 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือใส่ตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยใส่ปุ๋ย 2 ข้างลำต้นรัศมีพุ่มใบแล้วกลบ ใส่ปุ๋ยครั้งเดียวเมื่ออายุ 1 เดือน หลังจากปลูก หรือแบ่งใส่ด้วยการรองก้นหลุมก่อนปลูก และใส่อีกครั้งเมื่ออายุ 1-2 เดือน หลังปลูก ส่วนปุ๋ยอินทรีย์แนะนำให้ใช้รองพื้นหรือรองก้นหลุมปลูก โดยในดินทรายร่วนและดินร่วนปนทราย ใช้อัตรา 2 ตัน ต่อไร่ ดินร่วนปนเหนียว ดินเหนียวสีน้ำตาลหรือแดง และดินเหนียวสีดำ ใช้อัตรา 1 ตัน ต่อไร่ สำหรับปุ๋ยชีวภาพแนะนำให้ใช้ พด.12 อัตรา การใช้ปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อ 300 กิโลกรัม ต่อไร่ สามารถทำปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อได้ โดยใช้ปุ๋ยหมัก 300 กิโลกรัม รำข้าว 3 กิโลกรัม ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 จำนวน 1 ซอง หนัก 100 กรัม คลุกเคล้ารวมกันโดยมีความชื้นพอเหมาะ ใช้เวลาในการขยายเชื้อปุ๋ยชีวภาพ 4 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้ โดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ได้ถึง 30-50 เปอร์เซ็นต์
9. การเก็บเกี่ยว
ควรเลือกเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงที่เหมาะสม ตั้งแต่อายุ 12-18 เดือน การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่อายุมากกว่า 12 เดือน หรือใกล้เคียงปีครึ่ง จะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับเก็บเกี่ยวที่อายุ 12 เดือน โดยไม่เสียต้นทุนในการปลูกใหม่อีกครั้ง หัวมันสำปะหลังที่อายุเกิน 18 เดือน ไปแล้ว จะให้ปริมาณแป้งในหัวสดต่ำ คุณภาพของแป้งไม่ได้มาตรฐาน มีปริมาณเส้นใยสูง และหัวบางส่วนเริ่มเน่าแล้ว
บทสรุป
สถานการณ์เพลี้ยแป้งที่ได้แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นมหันตภัยต่อมันสำปะหลัง หากทุกภาคส่วนไม่สามารถหามาตรการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งอย่างได้ผลสำเร็จ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศได้ ผู้เขียนมีความเห็นว่าแนวทางการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลังที่น่าสนใจก็คือ การปรับเปลี่ยนจากการปลูกมันสำปะหลังแบบอาศัยน้ำฝนอย่างเดียวมาเป็นการปลูกมันสำปะหลังแบบมีการให้น้ำ
การปลูกมันสำปะหลังแบบนี้สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากกว่า 10 ตัน ต่อไร่ เป็นการชดเชยผลผลิตที่ขาดหายไปจากการระบาดของเพลี้ยแป้ง นอกจากนี้ การให้น้ำยังเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับแมลงศัตรูเพลี้ยแป้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ แมลงช้างปีกใส ด้วงเต่า แมลงหางหนีบ และแมลงศัตรูเพลี้ยแป้งนำเข้า อย่างเช่น แตนเบียน Anagyrus lopezi จากประเทศเบนิน ในทวีปแอฟริกา ดังนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนควรส่งเสริมอย่างจริงจัง เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังนำน้ำใต้ดินที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้เพื่อผลิตมันสำปะหลังในภาวะวิกฤตการณ์การระบาดของเพลี้ยแป้ง
บรรณานุกรม
กรมพัฒนาที่ดิน. 2547. การใช้ประโยชน์แหล่งน้ำในไร่นา. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพมหานคร.
พงษ์ศักดิ์ ชลธนสวัสดิ์. 2548. ข้อควรรู้ในการให้น้ำพืช. ภาควิชาเกษตรกลวิธาน. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม.
โอภาษ บุญเส็ง. 2552. ต้นแบบของการผลิตมันสำปะหลังในดินชุดหลัก. หนังสือพิมพ์กสิกร 82 (1) : 15-28
โอภาษ บุญเส็ง. 2553. เพลี้ยแป้ง...มหันตภัยต่อมันสำปะหลัง. เทคโนโลยีชาวบ้าน 22 (471) : 36-42
Harren, H.R. and Neuenschwander, P. 1991. Bio-logical control of cassava pests in Africa Annual
Review of Entomology 36 : 257-283.
Lohr, B. and Varela, A.M. 1 990. Exploration for natural enemies of the cassava mealybugs
Phenococcs manihoti (Homopera: Pseudococcidea) in South America for the biological control of
this introduced pest in Africa. Bulletin of Entomological Research 80 : 417-425.
Williams, D.J. and Granara de Willink, M.C. 1992. Mealybugs of Central and South America. CAB International, Wallingford.
ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
4. การคำนวนต้นทุน |
|
|
|
|
1. ค่าใช้จ่าย |
|
|
|
|
1.1 ค่าแรงงาน |
|
|
|
|
|
ค่าเตรียมดิน |
บาท |
|
|
|
ค่าปลูก |
บาท |
|
|
|
ค่าดูแลรักษา |
บาท |
|
|
|
ค่าเก็บเกี่ยวและขนส่ง |
บาท |
|
|
1.2 ค่าวัสดุ |
|
|
|
|
|
ค่าพันธุ์ |
บาท |
|
|
|
ค่าปุ๋ย |
บาท |
|
|
|
ค่ายาปราบศัตรูพืชและวัชพืช |
บาท |
|
|
|
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น |
บาท |
|
|
|
ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์การเกษตร |
บาท |
|
|
1.3 ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ (ถ้ามี) |
บาท |
|
|
1.4 ค่าเช่าที่ดิน |
บาท |
|
|
ผลผลิตที่คาดว่าจะได้ |
ตัน |
|
|
ราคาที่คาดว่าจะขายได้ |
บาท/ตัน |
|
|
|
|
|
ผลการคำนวณตามต้นทุนของท่าน |
ต้นทุนรวม |
0.00 |
บาท คิดเป็น |
0.00 |
บาท/ไร่ |
รายได้ |
0.00 |
บาท คิดเป็น |
0.00 |
บาท/ไร่ |
กำไร |
0.00 |
บาท คิดเป็น |
0.00 |
บาท/ไร่ |
|
ผลการคำนวณตามต้นทุนมาตรฐาน |
ต้นทุนรวม |
0.00 |
บาท คิดเป็น |
0.00 |
บาท/ไร่ |
รายได้ |
0.00 |
บาท คิดเป็น |
0.00 |
บาท/ไร่ |
กำไร |
0.00 |
บาท คิดเป็น |
0.00 |
บาท/ไร่ |
|
|