ขยะหอม
ขยะหอม เป็นการนำขยะจำพวกเศษอาหาร พืชผักและผลไม้ที่เหลือจากการบริโภคมาใช้ประโยชน์ โดยการนำมาหมักกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ ตามสูตรและส่วนผสมและระยะเวลาที่กำหนด จากการหมักจะเกิดการแปรสภาพขึ้น ทำให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้เช่น น้ำที่ใช้ในการหมัก สามารถนำไปรดต้นไม้เพื่อบำรุงและเพื่อป้องกันศัตรูพืชหรือนำไปใช้ในการบำบัดกลิ่นเหม็นและแก้ไขการอุดตันในห้องน้ำห้องส้วม ส่วนเศษอาหารพืชผัก และผลไม้ หลังการหมักแล้ว สามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยใส่ให้แก่ต้นไม้ได้อีกต่อไป
ได้มีการคันพบว่ามีจุลินทรีย์จำนวน 5 กลุ่มซึ่งสามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีผลเสียหายในการร่วมกันย่อยสลายอินทรียวัตถุ ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูงสุดทีเรียกว่า ปุ๋ย อี เอ็ม ( EM หรือEffective microorganisms) จุลินทรีย์ ทั้ง 5 กลุ่มประกอบด้วย
- กลุ่มจุลินทรีย์ Lactobacillus bacteria
- กลุ่มจุลินทรีย์ Photosynthetic bacteria
- กลุ่มจุลินทรีย์ Yeasts
- กลุ่มจุลินทรีย์ Actinomycetes
- กลุ่มจุลินทรีย์ Nitrogen fixing bacteria
และเก็บเชื่อจุลินทรีย์ทั้ง 5 กลุ่มนี้นำมาคัดเลือกให้บริสุทธิ์แล้วนำมาผสมต่อกัน ให้ย่อยสลาย อินทรียวัตถุ ในลักษณะที่ไม่มีอากาศช่วยหายใจ อย่างไรก็ตามจุลินทรีย์จำนวน 5 กลุ่มนี้ยังมีบางกลุ่มที่ต้องการอากาศในการหายใจเพื่อเป็นพลังงานในการย่อยสลายอยู่ ได้แก่ Yeasts และ Actinomycetes พลังงานหรืออาหารของจุลินทรีย์ สำหรับกลุ่ม Anaerobic ก็คือ น้ำตาลอาจเป็นน้ำตาลอะไรก็ได้ เช่น น้ำตาลปีบ น้ำตาลทรายแดง กากน้ำตาล โมแลสซีส (Molasses) เป็นต้น
นอกจากประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้น ผลผลิตที่ได้จากการทำขยะหอมนั้นยังมีอีกหลายด้าน ซึ่งจะได้กล่าวให้ทราบถึงรายละเอียดต่อไป
|
|
การหมักขยะหอม หรือการหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ (สาร EM) |
สารสกัดชีวภาพ หรือ EM หรือ Effective Microorganisms นี้คือน้ำหมักที่ได้จากการหมักเศษพืช เศษอาหาร หรือแม้แต่โปรตีนจากสัตว์เช่นน้ำนม Whey หอยเชอรี่ และเศษอาหารเข้าด้วยกัน ในตัวสารหมักจะประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งประกอบด้วยสารอินทรีย์ซึ่งเป็นปุ๋ย จุลินทรีย์ช่วยย่อยโปรตีน ขจัดกลิ่นและ สารปฏิชีวนะซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้ทั้งพวกแอโรบิค และแอนแอโรบิคขับออกมามีฤทธิ์ทำลายเชื้อราในดินที่ก่อให้เกิดโรคโคนเน่าในพืชที่เกิดจากเชื้อ Phytopthora sp. และโรคเน่าของพืชผักที่เกิดจากแบคทีเรีย Erwinia sp. และ Rhizoctonia sp. รวมทั้งมีฮฮร์โมนพืชหลายชนิด มีผลต่อการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืช การเร่งการติดดอกและผล
อุปกรณ์ และวัตถุดิบ
- ถังมีฝาปิด (ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะเพราะอาจเป็นสนิมได้)
- ถุงปุ๋ย
- กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง
- หัวเชื้อจุลินทรีย์
- น้ำ (ปราศจากคลอรีน)
- เศษอาหาร พืชผัก ผลไม้ ที่ยังไม่เน่าเสีย
|
|
ขั้นตอนการหมัก |
- การหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งมีส่วนประกอบคือ น้ำ กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดงและหัวเชื้อจุลินทรีย์โดยมีอัตราส่วนการใช้ดังนี้
- การหมักในถังขนาดเล็กความจุ 10 ลิตร
- เติมน้ำ 8 ลิตรใส่ถัง
- ใส่กากน้ำตาล 250 cc (หรือน้ำตาลทรายแดงประมาณ 3 ขีด)
- เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ 250 cc
- การหมักในถังขนาดใหญ่ ความจุ 120 ลิตร
- เติมน้ำ 80 ลิตรใส่ถัง
- ใส่กากน้ำตาล 2,500 cc (2.5ลิตร)
- เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ 2,500 cc (2.5ลิตร)
- ปิดฝาถังให้แน่น ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน อย่าให้ถูกแสงแดดจัด เมื่อเปิดฝาถังดูจะเห็นจุลินทรีย์จับตัวเต็มผิวน้ำ จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
- นำเศษอาหาร ผัก หรือผลไม้หรือพวกสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ดี มัดปากถุงให้แน่น แล้วหย่อนลงในถังน้ำหรือหัวเชื้อที่เตรียมไว้ให้ระดับของเศษอาหารจมอยู่ใต้น้ำจุลินทรีย์ ปิดฝาถังให้แน่น
- ถ้ามีเศษอาหารที่จะกำจัดเพิ่มเติม ก็ให้นำไปใส่ในถุงปุ๋ยที่แช่น้ำจุลินทรีย์ดังกล่าวหากน้ำจุลินทรีย์ไม่มากพอที่จะท่วมเศษอาหารในถุงปุ๋ยให้เติมน้ำเปล่า และกากน้ำตาล (หรือน้ำตาลทรายแดง) ในสัดส่วนน้ำ 8 ลิตร กากน้ำตาล 250 cc (หรือน้ำตาลทรายแดง 3 ขีด)
- ขยะที่หมักในน้ำจุลินทรีย์จะไม่เน่าเหม็น (แต่ถ้ามีกลิ่นเหม็นหรือมีหนอนให้เติมกากน้ำตาลลงไป) เมื่อทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน ก็สามารถนำเอาขยะหอมาใช้ได้
ในกรณีที่ต้องการหมักขยะหอม แต่ไม่มีหัวเชื้อจุลินทรีย์จะสามารถเตรียมหัวเชื้อจุลินทรีย์ได้ดังนี้
- 1. นำผัก ผลไม้ ทุกส่วนสับให้เป็นชิ้นเล็ก ใส่ในภาชนะมีฝาปิด
- 2. ใส่กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาวลงไป 1 ใน 3 ของน้ำหนักเศษผัก ผลไม้ คลุกเคล้าให้น้ำตาลและเศษผักผลไม้เข้ากัน
- 3. ใช้ของหนักวางทับเศษผัก ผลไม้ไว้ แล้วปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน
- 4. เมื่อทิ้งไว้ 5-7 วัน จะมีน้ำไหลออกมา คือ น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ ให้รินใส่ขวดปิดฝาให้สนิท พร้อมที่จะนำไปหมักขยะหอมได้
หมายเหตุ
ถ้าจำนวนเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ มีปริมาณมาก เช่น ในโรงครัว โรงพยาบาล หรือสถานศึกษา สถาบันต่างๆ ก็สามารถหมักขยะหอมได้ โดยใช้น้ำ กากน้ำตาลและน้ำหัวเชื้อในอัตราส่วนเพิ่มขึ้น ตามขั้นตอนการหมักขั้นต้น
การเก็บรักษาหัวเชื้อจุลินทรีย์
- เก็บไว้ในที่ร่มอุณหภูมิไม่เกิน 45-50 องศาเซลเซียส อย่าให้อากาศเข้า
- ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท
- การนำหัวเชื้อไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด
- การเก็บไว้หลายๆวันโดยไม่มีการเคลื่อนไหวภาชนะจะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ นั่นคือการทำงานของจุลินทรีย์ที่พักตัว เมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะฝ้าขาวจะสลายตัวกลับไปอยู่ในจุลินทรีย์เหมือนเดิม
- เมื่อนำไปขยายเชื้อในกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาวๆ ภายใจ 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟองดังกล่าวแสดงว่าการขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
- จุลินทรีย์ที่นำไปขยายเชื้อแล้วควรใช้ภายใน 7 วัน หลังจากหมักได้ที่แล้ว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพที่อาจเกิดจากความไม่สะอาดของภาชนะ และสิ่งแปลกปลอมจากอากาศ เพราะจุลินทรีย์พวกนี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องการอากาศ
- ก่อนใช้ทุกครั้งควรตรวจดูก่อนว่ามีกลิ่นหอมเปรี้ยวอมหวานหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่ายังใช้ได้
|
|
ประโยชน์และการนำไปใช้ |
- ใช้บำบัดกลิ่นเหม็นต่างๆ โดยผสมน้ำในสัดส่วน 1: 10 แล้วราดบริเวณที่มีกลิ่นเช่น ห้องส้วม กองขยะ ท่อระบายน้ำ ฯลฯ จุลินทรีย์จะไปเร่งการย่อยสลายอินทรีย์สารที่เป็นต้นเหตุให้เกิดกลิ่นเหม็น แล้วคลายออกซิเจนออกมา
- เทลงในโถส้วม หรือท่อระบายน้ำทิ้งหลังใช้งานจุลินทรีย์จะไปช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ตกค้างทำให้ส้วมไม่เต็มเร็ว และท่อระบายน้ำทิ้งไม่อุดตัน
- เทลงในท่อระบายน้ำหรือบ่อที่มีน้ำเน่าเสียจุลินทรีย์จะไปย่อยสลายอินทรีย์สารที่เป็นต้นเหตุให้น้ำเน่าแล้วเพิ่มก๊าซออกซิเจนในน้ำทำให้น้ำหายเน่าเสีย
- ผสมน้ำจุลินทรีย์ 1 ส่วน น้ำ 500 ใช้ฉีดหรือรดที่ใบหรือโคนต้นไม้สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช ลดการก่อกวนของแมลงโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง น้ำจุลินทรีย์จะช่วยให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
หมักโดยใช้เศษอาหาร |
ประโยชน์หลัก ช่วยเพิ่มโปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก และยังมีแร่ธาตุบางชนิดที่พืชต้องการ |
หมักโดยใช้พืชผัก |
ประโยชน์หลัก เร่งการเจริญเติบโตของพืชช่วยให้ใบลำต้น รากแห้งแข็งแรง |
หมักโดยใช้ผลไม้ |
ประโยชน์หลัก เร่งการเจริญเติบโตของดอก ช่วยให้ดอกติดผลง่าย |
คุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมถ้าหมักด้วยพืชผักผลไม้บางอย่าง
- สะเดาและขี้เหล็ก เป็นตัวหมัก สรรพคุณพิเศษคือ ขับไล่แมลงศัตรูพืช
- บอระเพ็ด เป็นตัวหมัก สรรพคุณพิเศษคือ ป้องกันหนอนชอนใบ
- ผลไม้ 3 อย่างรวมกันคือ กล้วยน้ำว้า (สุก) ฟักทอง (แก่) และมะละกอ (สุก) เป็นตัวหมัก สรรพคุณพิเศษ คือ เร่งดอกติดผลง่าย
- ขยะอินทรีย์ที่ไม่อยู่ในถุงปุ๋ย หลังจากแช่น้ำจุลินทรีย์ได้ประมาณ 7 วัน ก็สามารถนำมาผสมดินในอัตราส่วนขยะอินทรีย์สาร 1ส่วนต่อ ดิน 1 ส่วนจะได้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ไว้ใช้ในการปลูกต้นไม้
|
arts.kmutt.ac.th/ssc210/Group%20Project/.../part2_5.html -
จุลินทรีย์จากขยะ….ยับยั้งเชื่อราในโรคพืช
ต้นทุนถูกกว่าสารเคมีไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
จากปัญหาเชื้อราก่อให้เกิดโรคในพืช และทำให้เกษตรกรต้องไปซื้อสารเคมีหรือยาปราบศัตรูพืชมาใช้ในการทำลายเชื้อราดังกล่าว ทำให้ต้นทุนของเกษตรกรสูงขึ้น ทั้งสารเคมียังมีการตกค้างทำลายสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่เกษตรกรรม ทำให้นักวิจัยมีแนวความคิดที่จะหาสารชีวภาพ ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ไม่ให้เชื้อราอันก่อให้เกิดโรคพืชเจริญเติบโตได้และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาใช้ทดแทนกัน…
ผศ.ประสาท โพธิ์นิ่มแดง อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.ขอนแก่น กล่าวถึงความเป็นมาในการค้นพบ จุลินทรีย์จากขยะ ซึ่งมีศักยภาพยับยั้งการเจริญ เติบโตของเชื้อราในโรคพืช
ผศ.ประสาท สาธยายให้ฟังว่า Bacillus Subtilis เป็นเชื้อจุลินทรีย์ชนิดแรกที่ค้นพบจากขยะโดยมีมากในขยะอินทรีย์ สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Fusarium oxysporum ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต้นเหี่ยวในมะเขือเทศ โดยกระบวน การทดลองในการศึกษาวิจัยใน ครั้งนี้ ได้นำขยะมาคัดเลือกเพื่อแยกเศษพลาสติกออก เอาเฉพาะขยะสีเขียว โดยนำตัวอย่างขยะมาประมาณ 10 กรัม ทำการแขวนลอยในสารละลายบัพเฟอร์ปริมาตร 90 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากัน และนำมาทำการเพิ่มจำนวนในอาหารเลี้ยงเชื้อ จากนั้นนำเชื้อไปทาบนผิวหน้าอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดแข็งด้วยแท่งแก้วงอ เพื่อให้ได้กลุ่มของเชื้อแบคทีเรีย และนำไปทดสอบการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา โดยเฉพาะเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคต้นเหี่ยวในมะเขือเทศ ที่มีชื่อว่า Fusarium oxysporum ที่มักระบาดในต้นมะเขือเทศที่ปลูกใหม่ ผลการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการได้ผลประมาณ 80% ในการป้องกันโรคต้นเหี่ยวในมะเขือเทศ
ภายหลังศึกษาเพิ่มเติม ผศ.ประสาท พบจุลินทรีย์อีกหนึ่งชนิดที่มีประสิทธิภาพมาก กว่าและต้นทุนในการเลี้ยงเชื้อถูกกว่า Bacillus Subtilis โดยสามารถออกฤทธิ์ในการยับยั้งไม่ ให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดีกว่า รวมทั้งป้องกัน การเกิดโรคในพืชได้มากกว่าเดิม ทั้งนี้ นอก จากยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคเหี่ยวในมะเขือเทศได้แล้วยังสามารถยับยั้งเชื้อรา Collectoticum ที่ก่อให้เกิดโรคกุ้งแห้งในพริกได้ 100% อีกด้วย โดยโรคกุ้งแห้งในพริกนี้จะส่งผลให้พริกเหี่ยวงอเหมือนตัวกุ้ง สีดำ ต้องเด็ดทิ้งไม่สามารถนำออกขายได้
“สำหรับจุลินทรีย์ตัวใหม่ที่ค้นพบนั้น จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการคาดว่าน่าจะเป็น Actinomyces ซึ่งจะได้ทำการศึกษาในห้อง ปฏิบัติการ เพื่อยืนยันชนิดของจุลินทรีย์ที่ค้นพบ ต่อไป พร้อมทั้งนำไปขยายผลการทดลองในแปลงทดสอบด้วย และจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ จุลินทรีย์ตัวใหม่นี้ใช้น้ำแป้งข้าวเจ้าและแป้งมันสำปะหลังเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อ ดังนั้น น้ำทิ้งจาก โรงงานผลิตเส้นขนมจีน หรือน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง ก็สามารถนำมาเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ตัวนี้ได้ ซึ่งจะเป็นการใช้ประโยชน์จากของเสียได้อีกทางหนึ่ง” ผศ.ประสาท กล่าว
สำหรับการพัฒนางานวิจัยในขั้นต่อไป นักวิจัยจะผลิตสารสกัดจากเชื้อจุลินทรีย์ ที่คัดแยกจากขยะหรือของเสีย ในรูปแบบผงแห้งและชนิดน้ำ เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำ ไปใช้ได้โดยสะดวก ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนลงได้
เกษตรกรรายใดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ประสาท โพธิ์นิ่มแดง ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.ขอนแก่น โทร. 0-4336-2006 หรือ 08-9422-2207.
http://agriculturethai.wordpress.com/tag/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/
ยับยั้งเชื้อราในพืช ด้วย จุลินทรีย์จากขยะ ผลงานวิจัยจาก มข.
มข.ค้นพบจุลินทรีย์จากขยะ ระบุออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อราในโรคพืช ต้นทุนถูกกว่าสารเคมี ซ้ำไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อนาคต |
อัปเดท ( 29 มีนาคม 2554 ) |
มข.ค้นพบจุลินทรีย์จากขยะ ระบุออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อราในโรคพืช ต้นทุนถูกกว่าสารเคมี ซ้ำไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อนาคตพัฒนาต่อในรูปแบบเกษตรกรนำไปใช้ง่าย
จากปัญหาเชื้อราก่อให้เกิดโรคในพืช และทำให้เกษตรกรต้องไปซื้อสารเคมีหรือยาปราบศัตรูพืชมาใช้ในการทำลายเชื้อรา ดังกล่าว ทำให้ต้นทุนของเกษตรกรสูงขึ้น ทั้งสารเคมียังมีสารตกค้างทำลายสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่เกษตรกรรมทำให้นัก วิจัยมีแนวความคิดที่จะหาสารชีวภาพซึ่งสามารถออกฤทธิ์ไม่ให้เชื้อราอันก่อ ให้เกิดโรคพืชเจริญเติบโตได้และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาใช้ทดแทนกัน
ผศ.ประสาท โพธิ์นิ่มแดง อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงความเป็นมาในการค้นพบจุลินทรีย์จากขยะซึ่งมีศักยภาพในยับยั้งการ เจริญเติบโตของเชื้อราในโรคพืช
"Bacillus Subtilis เป็นเชื้อจุลินทรีย์ตัวแรกที่ค้นพบจากขยะโดยมีมากในขยะอินทรีย์สามารถออก ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Fusarium oxysporum ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต้นเหี่ยวในมะเขือเทศ โดยกระบวนการทดลองในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้นำขยะมาคัดเลือกเพื่อแยกเศษพลาสติกออก เอาเฉพาะขยะสีเขียว โดยนำตัวอย่างขยะมาประมาณ 10 กรัม ทำการแขวนลอยในสารละลายบัพเฟอร์ปริมาตร 90 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากัน และนำมาทำการเพิ่มจำนวนในอาหารเลี้ยงเชื้อ จากนั้นนำเชื้อไปทาบนผิวหน้าอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดแข็งด้วยแท่งแก้วงอ เพื่อให้ได้กลุ่มของเชื้อแบคทีเรีย และนำไปทดสอบการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา โดยเฉพาะเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคต้นเหี่ยวในมะเขือเทศ ที่มีชื่อว่า Fusarium oxysporum ที่มักระบาดในต้นมะเขือเทศที่ปลูกใหม่"
ผศ.ประสาทกล่าวต่อว่า ผลการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการได้ผลประมาณ 80 % ในการป้องกันโรคต้นเหี่ยวในมะเขือเทศ "ภายหลังศึกษาเพิ่มเติม พบจุลินทรีย์อีกหนึ่งชนิดที่มีประสิทธิภาพมากกว่าและต้นทุนในการเลี้ยงเชื้อ ถูกกว่า Bacillus Subtilis โดยสามารถออกฤทธิ์ในการยับยั้งไม่ให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดีกว่า รวมทั้งป้องกันการเกิดโรคในพืชได้มากกว่าเดิม นอกจากยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคเหี่ยวในมะเขือเทศได้ แล้วยังสามารถยับยั้งเชื้อรา Collectoticum ที่ก่อให้เกิดโรคกุ้งแห้งในพริกได้ 100 % อีกด้วย โดยโรคกุ้งแห้งในพริกนี้จะส่งผลให้พริกเหี่ยวงอเหมือนตัวกุ้ง สีดำ ต้องเด็ดทิ้งไม่สามารถนำออกขายได้"
“สำหรับจุลินทรีย์ตัวใหม่ที่ค้นพบนั้น จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการคาดว่าน่าจะเป็น Actinomyces ซึ่งจะได้ทำการศึกษาในห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันชนิดของจุลินทรีย์ที่ค้นพบ ต่อไป พร้อมทั้งนำไปขยายผลการทดลองในแปลงทดสอบด้วย จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ จุลินทรีย์ตัวใหม่นี้ใช้น้ำแป้งข้าวเจ้าและแป้งมันสำปะหลังเป็นอาหารเลี้ยง เชื้อ ดังนั้น น้ำทิ้งจากโรงงงานผลิตเส้นขนมจีน หรือ น้ำทิ้งจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง ก็สามารถนำมาเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ตัวนี้ได้ ซึ่งจะเป็นการใช้ประโยชน์จากของเสียได้อีกทางหนึ่ง” ผศ.ประสาทกล่าว
สำหรับการพัฒนางานวิจัยในขั้นต่อไป นักวิจัยจะผลิตสารสกัดจากเชื้อจุลลินทรีย์ที่คัดแยกจากขยะหรือของเสีย ในรูปแบบผงแห้งและชนิดน้ำ เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้โดยสะดวก ซึ่งจะช่วยให้เกษตรประหยัดต้นทุนลงได้ เกษตรกรรายใดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ประสาท โพธิ์นิ่มแดง อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทร.043-362006 หรือ 089-4222207
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000020549
|
หากเนื้อหาเป็นประโยชน์ อย่าลืมกด +1 ให้กับเนื้อหานี้นะคะ... |
|
http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00424 |
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.