การเปรียบเทียบความแตกต่างของสีที่ใช้เป็นกับดักแมลง
ในการผลิตผักปลอดสารพิษ
Comparisons of Different Colors Sticky Traps on Pesticide-free Vegetable Production
จตุรงค์ พวงมณี 1/ ระพีพงศ์ เกษตรสุนทร 2/ กุหลาบ อุตสุข 1/ พิมพรรณ นันต๊ะภูมิ 1/ และกรรณิการ์ มณีหาญ 1/J. puangmanee 1/ R. kasetsoontorn 2/ K. Utasuk 1/ P. Nantaphum 1/ and K. maneeharn 1/
บทคัดย่อ
การศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของสีกับดักกาวเหนียวที่ใช้เป็นกับดักแมลงศัตรูพืช ได้ทำการทดลองในแปลงผลิตผักปลอดสารพิษ ณ. สถานีวิจัยเกษตรเขตชลประทาน ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 3 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ประกอบด้วยกับดักกาวเหนียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีชมพู สีม่วง สีดำ และพลาสติกใส ใช้แผ่นกับดักขนาด 30X22 ซ.ม.ใช้ถุงพลาสติกสวมทับแล้วทากาวเหนียวสำหรับดักแมลงศัตรูพืช วางกับดัก 4 ครั้ง ระยะเวลา 7 วัน ต่อ 1 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่ากับดักกาวเหนียวสีเหลืองมีจำนวนแมลงศัตรูพืชติดสูงสุดเฉลี่ย 447 ตัว ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับ สีม่วง สีขาว สีชมพู สีดำ พลาสติกใส และ สีแดง ซึ่งมีจำนวนแมลงศัตรูพืชติดเฉลี่ย 116, 115, 114, 98, 86, และ 84 ตัวตามลำดับ และยังพบว่ากับดักกาวเหนียวสีขาวมีผลต่อการล่อผีเสื้อปีกขาวมากกว่ากับดักสีอื่นๆ
คำสำคัญ:
กับดักกาวเหนียว ผีเสื้อปีกขาว แมลงศัตรูพืช แมลงศัตรูธรรมชาติ
บทนำ
การบริหารศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated Pest Management-IPM) ในการผลิตผักปลอดสารพิษ ประกอบด้วย วิธีกล (Mechanical control) วิธีเขตกรรม (Cultural control) และวิธีการปรับสภาพแวดล้อม (Ecological control) ให้เหมาะสมกับการเป็นที่อยู่อาศัย และขยายพันธุ์ของศัตรูธรรมชาติ การใช้กับดักกาวเหนียวกำจัดแมลงศัตรูพืช เป็นวิธีการหนึ่งของการกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยวิธีกล (Mechanical control) ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถกำจัดแมลงศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ฟิวเจอร์บอร์ดตัดเป็นแผ่นขนาด 30x22 เซนติเมตร สวมทับด้วยถุงพลาสติกใส และทากาวเหนียวสำหรับดักแมลงศัตรูพืชให้ทั่วแล้วนำกับดักปักลงบนแปลงปลูกผัก สิ่งที่สำคัญในการล่อแมลง คือสีของกับดักมีผลทำให้เกิดความแตกต่างของจำนวน และชนิดแมลงที่ติดกับดัก ดังนั้นการใช้สีกับดักที่มีผลต่อการล่อแมลงก็สามารถที่จะกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ผลมากยิ่งขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของสีกับดัก ชนิด และจำนวนแมลงที่ติดกับดัก โดยใช้วิธีการตรวจนับจำนวนแมลงที่ติดกับดักโดยแยกเป็น แมลงศัตรูพืช แมลงศัตรูธรรมชาติ และ แมลงทั่วไป ผลที่ได้จากการทดลองในครั้งนี้สามารถที่จะนำไปพัฒนาวิธีการทำกับดักแมลงศัตรูพืชให้มีประสิทธิภาพสูง เป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อใช้ทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของสีที่มีผลต่อชนิดและจำนวนแมลงที่ติดกับดักกาวเหนียว การดำเนินงาน
การศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของสีที่ใช้เป็นกับดักแมลงในการผลิตผักปลอดสารพิษได้ดำเนินการทดลอง ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ 2550 ณ. แปลงปลูกพืชผักปลอดสารพิษ สถานีวิจัยเกษตรเขตชลประทาน ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการทดลองโดยใช้ฟิวเจอร์บอร์ดตัดเป็นแผ่นขนาด 30x22 เซนติเมตร (660 cm 2) ที่มีสีต่างกัน จำนวนสีละ 9 แผ่น ชั้นนอกสวมด้วยถุงพลาสติกและทากาวเหนียวให้ทั่ว แล้วนำไปวางบนแปลงปลูกพืชผัก ทำการวางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block design (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ มี 7 กรรมวิธีได้แก่T1 = สีเหลืองT2 = สีแดงT3 = สีขาวT4 = สีชมพูT5 = ถุงพลาสติกใส (Control)T6 = สีม่วง T7 = สีดำ ทำการนับแมลงทุก Treatments สัปดาห์ละ 1 ครั้ง Treatments ละ 9 ตัวอย่าง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ รวมตัวอย่างทั้งหมด 252 ตัวอย่าง และได้ทำการจดบันทึกข้อมูลดังนี้1.ชนิดและจำนวนแมลงศัตรูพืช2.ชนิดและจำนวนแมลงศัตรูธรรมชาติ3.จำนวนแมลงทั่วไป (ชนิดของแมลงที่นอกเหนือจากแมลงศัตรูพืชที่ทำการศึกษา)
ผลการศึกษา
ผลการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของสี(กับดักกาวเหนียว)ที่ใช้เป็นกับดักแมลงในการผลิตผักปลอดสารพิษ พบว่ากับดักกาวเหนียวสีเหลืองมีจำนวนแมลงศัตรูพืชติดมากที่สุดเฉลี่ย 447 ตัว โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนและด้วงหมัดผัก ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับสีม่วง สีขาว สีชมพู สีดำ พลาสติกใส และสีแดง ซึ่งมีจำนวนแมลงศัตรูพืชติด 116, 115, 114, 98, 86, และ 84 ตัว ตามลำดับ (ตารางที่ 1) และพบว่าสีของกับดักกาวเหนียวแต่ละสี มีผลต่อแมลงแต่ละชนิด ต่างกัน คือ กับดักกาวเหนียวสีขาวจะพบผีเสื้อปีกขาวติดมากกว่าสีอื่นๆ และพบว่ามีแมลงศัตรูธรรมชาติตัวห้ำ และตัวเบียนติดกับดักกาวเหนียวทุกสีแต่มีจำนวนน้อย (ตารางที่ 2)
แสดงจำนวนเฉลี่ยของชนิดแมลงศัตรูพืช และชนิดแมลงศัตรูธรรมชาติที่ติดกับดักกาวเหนียวแต่ละสี (ตัว/660 cm 2)
ชนิดสีกับดักกาวเหนียว |
แมลงศัตรูพืช |
แมลงศัตรูธรรมชาติ |
เพลี้ยอ่อน |
ด้วงหมัดผัก |
ผีเสื้อหนอนใยผัก |
ผีเสื้อปีกขาว |
แตนเบียน |
ด้วงเต่า |
แมลงวันหัวบุบ |
แมลงวันก้นขน |
แมลงวันขายาว |
สีเหลือง |
373* |
72* |
2 |
0 |
3* |
3* |
2 |
3* |
5* |
สีม่วง |
74 |
40 |
1 |
1 |
1 |
1 |
1 |
1 |
2 |
สีขาว |
53 |
59 |
1 |
2* |
1 |
1 |
2 |
2 |
1 |
สีชมพู |
62 |
51 |
1 |
0 |
1 |
1 |
1 |
1 |
1 |
สีดำ |
61 |
35 |
1 |
1 |
1 |
1 |
1 |
0 |
1 |
พลาสติกใส |
57 |
27 |
2* |
0 |
1 |
1 |
1 |
1 |
1 |
สีแดง |
54 |
28 |
1 |
1 |
2 |
1 |
1 |
1 |
1 |
แมลงศัตรูพืชที่ตรวจพบบนกับดักกาวเหนียว
1.เพลี้ยอ่อน (Turnip aphid)
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะคล้ายกัน ตัวเต็มวัย 1 ตัว ออกลูกได้ 6-11 ตัว เข้าทำลายพืช ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยการดูดน้ำเลี้ยงจากพืช ทั้ง ยอด ดอก ใบอ่อน ใบแก่ ช่อดอก พืชอาหารของเพลี้ยอ่อน เช่น ผักกาดหัว ผักคะน้า ผักกาดเขียวปลี ผักกาดกวางตุ้ง กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี พบว่าระบาดในช่วงเดือน มิถุนายน - กุมภาพันธ์
2.ด้วงหมัดผัก (Leaf eating beetle)
ลักษณะตัวเต็มวัยเป็นด้วงขนาดเล็กประมาณ 2-2.5 ม.ม. มี 2 ชนิด ชนิดลายแถบน้ำตาล และสีน้ำเงิน วางไข่บริเวณโคนต้นพืช เส้นกลางใบพืชผัก ผิวดิน ไข่มีสีขาวอมเขียวมีผิวเรียบมันตัวอ่อนเป็นตัวหนอนกัดกินรากพืช การเข้าทำลาย ตัวเต็มวัยกัดกินใบ ผิวลำต้น และกลีบดอก พบระบาดใน ผักกาดหัว ผักกาดขาวปลีพันธุ์เบา ผักกาดกวางตุ้ง ผักคะน้า พบว่ามีการระบาดในช่วงเดือน มิถุนายน กรกฎาคม และช่วงเดือน ธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์ พบการระบาดมากที่สุด
3.ผีเสื้อหนอนใยผัก (Diamond back moth)
ตัวโตเต็มวัยจะเข้าดักแด้ใต้ใบผักมีใยถักหุ้มตัวคล้ายรังหุ้มดักแด้ไว้ ผีเสื้อหนอนใยผักมีขนาดเล็กไม่เกิน 8 ม.ม.วางไข่ครั้งละ 2-5 ฟอง ไข่มีขนาดเล็กสีเหลืองอ่อนเป็นมัน การเข้าทำลายของหนอนใยผักจะกัดกินผิวใบของผักเป็นรู หรือกัดกินผิวใบด้านล้างจนมองเห็นเยื่อบางๆทางด้านบนของใบ พบการระบาดใน ผักคะน้า ผักกาดกวางตุ้ง กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ ระบาดมากที่สุด ในเดือนมิถุนายน และในช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม
4.ผีเสื้อปีกขาว (White butterfly)
ระยะหนอนกัดกินทำลายพืชผักตระกูลกะหล่ำ หนอนลำตัวสีเขียวขนาดโตประมาณ 3 เซนติเมตร มีแถบเส้นสีเหลืองข้างลำตัวชัดเจน หนอนโตเต็มที่จะเข้าดักแด้ใต้ใบพืชระบาดปลายฤดูหนาว แมลงศัตรูธรรมชาติที่ตรวจพบบนกับดักกาวเหนียว
1.ด้วงเต่าตัวห้ำ
มีลักษณะรูปร่างตัวกลมรีมีสีค่อนไปทางสีแดง พบอยู่ส่วนบนของใบผัก กินเพลี้ยกระโดด หนอนตัวเล็กๆ หรือไข่แมลงที่ไม่มีสิ่งห่อหุ้ม เป็นอาหาร ตัวเต็มวัยมีสีเหลืองมีจำนวนจุดไม่แน่นอน อาศัยอยู่บริเวณใต้ใบผักบริเวณที่มีเพลี้ยอ่อนระบาด เมื่อถูกรบกวนจะทิ้งตัวลงพื้นหรือบินหนี ด้วงเต่าใช้เวลาในการเจริญเติบโตจากระยะไข่ถึงตัวเต็มวัย 1-2 สัปดาห์ ออกไข่ครั้งละ 150-200 ฟอง ภายในระยะเวลา 6-10 สัปดาห์ ตัวอ่อนกินเหยื่อได้ 5-10 ตัวต่อวัน พบด้วงเต่าในช่วงเดือนมิถุนายน - กุมภาพันธ์ และพบมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์
2.แมลงวันหัวบุบ
มีลักษณะรูปร่างคล้ายแมลงวัน แต่มีหางและขายาวกว่า มีสีเทาปนดำ เป็นตัวห้ำที่เคลื่อนที่ได้ไว กินจุ ทำลายตัวเต็มวัย เช่น ผีเสื้อ
3.แมลงวันก้นขน
มีลักษณะคล้ายกับแมลงวันบ้าน แต่มีขนาดตัวโตกว่า บริเวณก้นมีขนยาว จะบินหาเหยื่อบริเวณต้นผัก ตัวหนอนแมลงวันก้นขนเป็นตัวเบียนของหนอนกระทู้ 4.แมลงวันขายาว มีลักษณะคล้ายกับแมลงวันบ้านแต่ตัวเล็กกว่าลำตัวมีสีเขียว กินไร และแมลงตัวเล็กๆเป็นอาหาร5.ตัวเบียน (Parasites) คือแมลงที่อาศัยแมลงอื่น (Hosts) เป็นอาหารโดยตัวเมียเต็มวัยใช้อวัยวะวางไข่ลงบนตัว หรือแทงเข้าไปในเหยื่อแล้ววางไข่หลังจากไข่ฝักออกเป็นตัวจะกัดกินเหยื่อจนตาย
ตารางที่ 3. แสดงจำนวนและสัดส่วนระหว่างแมลงศัตรูพืช และแมลงศัตรูธรรมชาติที่ติดกับดักกาวเหนียวแต่ละสี
ชนิดสีกับดักกาวเหนียว |
แมลงศัตรูพืช / 1 |
แมลงศัตรูธรรมชาติ / 2 |
แมลงทั่วไป / 3 |
รวมจำนวนแมลงทั้งหมด |
แมลงศัตรูพืช:แมลงศัตรูธรรมชาติ:แมลงทั่วไป |
สีเหลือง |
447* |
16* |
1075* |
1,538 |
28:1:67* |
สีแดง |
84 |
6 |
739 |
829 |
14:1:123 |
สีขาว |
115 |
7 |
550 |
794 |
17:1:79 |
สีชมพู |
114 |
5 |
500 |
619 |
23:1:100 |
สีใส |
86 |
5 |
600 |
691 |
18:1:120 |
สีม่วง |
116 |
6 |
579 |
701 |
20:1:97 |
สีดำ |
98 |
4 |
554 |
665 |
25:1:139 |
หมายเหตุ :
1 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญ
2 แมลงศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ แมลงตัวห้ำ และ ตัวเบียน
3 แมลงที่นอกเหนือจากแมลงศัตรูพืชที่ทำการศึกษา
จากตาราง พบว่ากับดักกาวเหนียวทุกสีมีค่าเฉลี่ยของจำนวนแมลงศัตรูพืช และแมลงทั่วไปจำนวนสูง ส่วนจำนวนแมลงศัตรูธรรมชาติมีปริมาณน้อยมาก และเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างแมลงศัตรูพืช แมลงศัตรูธรรมชาติ และแมลงทั่วไป จะพบว่าจำนวนแมลงศัตรูธรรมชาติติดกับดักกาวเหนียวมีสัดส่วนต่ำที่สุด และจากการสำรวจแมลงในแปลงปลูกผักหลังจากการใช้กับดักกาวเหนียวกำจัดแมลง พบว่ามีแมลงศัตรูพืช และแมลงศัตรูธรรมชาติอาศัยอยู่รวมกันในแปลงผัก และสามารถที่จะควบคุมการระบาดของแมลงศัตรูพืชได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้
สรุปผลการทดลอง
การใช้วิธีบริหารศัตรูพืชแบบผสมผสานควบคุมศัตรูพืชผัก เช่น การใช้วิธีกล (Mechanical control) กำจัดแมลงศัตรูพืช ได้แก่ การใช้กับดักกาวเหนียวเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถกำจัดแมลงศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลจากการศึกษาเปรียบเทียบการใช้กับดักกาวเหนียวที่มีสีแตกต่างกัน จำนวน 7 สีในแปลงผลิตผักปลอดสารพิษ พบว่ากับดักกาวเหนียวสีขาว มีผลในการล่อผีเสื้อปีกขาวให้มาติดกับดักมากที่สุด และพบว่ากับดักกาวเหนียวสีเหลืองมีจำนวนแมลงสัตรูพืชติดมากที่สุด เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก หนอนผีเสื้อใยผัก
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการใช้ สีเหลืองเป็นกับดักแมลงสามารถกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ดีที่สุด
เอกสารอ้างอิง
จตุรงค์ พวงมณี. 2549. การผลิตผักไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เตือนจิต สัตยาวิรุทธ์ และสาทร สิริสิงห์. 2535. หลักการบริหารแมลงศัตรูพืช. กองกีฎ และสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ปรีชา วังศิลาบัตร และคณะ. 2538. มิตรและศัตรูของชาวนา. กองกีฎ และสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ. 2526.แมลงศัตรูพืชทางการเกษตรของประเทศไทย. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.สุอาภา ดิสถาพร. 2533. ศัตรูธรรมชาติของศัตรูไม้ผล.
สุอาภา ดิสถาพร. 2537. เอกสารวิชาการส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี กลุ่มงานชีววิธี กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.ส่วนบริหารศัตรูพืช สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร. กรมส่งเสริมการเกษตร. 2527.หลักและวิธีการผลิตผักอนามัย. โครงการนำร่องการผลิตผักผลไม้สดอนามัย. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2539.
องุ่น สีววานิช และนวลศรี วงษ์ศิริ. 2532. แมลงที่เป็นประโยชน์ แมงมุมและเชื้อโรค. แปลจากต้นฉบับของ IRRI โครงการจัดพิมพ์ร่วมระหว่างสำนักพิมพ์ดวงกมลและ IRRI.
อรพิน ถิระวัฒน์, ประพนธ์ ไทยวานิช และชาติ นรังสิทธิ์. 2535. ผักปลอดสารพิษ การป้องกำจัดศัตรูพืช.กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
1 สถานีวิจัยเกษตรเขตชลประทาน ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 502001 Irrigated Agricultural Research Station Multiple Cropping Center, Faculty of Agricultural, Chiang Mai University 502002 ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50200 2 Entomology Department Faculty of Agricultural, Chiang Mai University 50200
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.