ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass |
ตอบ: 05/08/2022 2:29 pm ชื่อกระทู้: |
|
.... |
|
|
Pum_NWF_Rayong |
ตอบ: 05/10/2009 8:20 pm ชื่อกระทู้: |
|
.
.
คำพูด: | ......การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพแห้ง น้ำชีวภาพและสารสกัดจากพืชป้องกันกำจัดแมลงขึ้นใช้เอง เพื่อลดต้นทุนการผลิต..........
โดยเฉพาะการทำการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิต และรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น |
ลุงคิมย้ำนักย้ำหนา ว่าเราต้องทำการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิต ทำปุ๋ยใช้เอง ใครที่ยังคิดไม่ได้ น่าจะอายลุงฉลวยนะ ขนาดลุงแกอายุตั้ง 55 ปี แล้ว แต่ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่มีแนวคิดใหม่ เป็นแนวทางที่เหมือนกับของลุงคิมตรงที่ลุงคิมพยายามสอนพวกเราอยู่ตลอดเวลาว่า "อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม" อย่าอินทรีย์ตกขอบ หรือเคมีบ้าเลือด ให้ "ทำการเกษตรเพื่อลดต้นทุน" และ "ต้องเข้าใจ Line หรือ ธรรมชาติของพืช" ตาสว่างกันบ้างหรือยังนะ.... หันกลับมามองแนวคิดแบบนี้แล้วเริ่มต้นที่ตัวคุณเอง ค่อยทำค่อยไป เกษตรกรทั้งหลายจะได้พอลืมตาอ้าปากกับเขาได้บ้างไง
ปุ้มระยอง
. |
|
|
Pum_NWF_Rayong |
ตอบ: 05/10/2009 8:04 pm ชื่อกระทู้: |
|
คำพูด: | จากความขยันหมั่นเพียร มีความมานะอดทน และพยายามเอาใจใส่ดูแลต้นไม้ที่ปลูกไว้อย่างตั้งอกตั้งใจ ประกอบกับการได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อีกมากมาย ทำให้นายฉลวย มีความเข้าใจในอาชีพ ลักษณะนิสัยของพืชแต่ละชนิดที่ปลูก เข้าใจธรรมจิตและเข้าใจการดำเนินชีวิตของตนเองมากขึ้น และยังได้เสียสละเวลาส่วนตัวมาแนะนำเพื่อนบ้านให้ปฏิบัติตาม
|
นี่ไงอย่างที่ลุงคิมสอน เข้าใจ line ของพืช
ปุ้มระยอง |
|
|
Pum_NWF_Rayong |
ตอบ: 05/10/2009 8:02 pm ชื่อกระทู้: |
|
.
.
ที่มา : http://www.2tik.com
มีรายได้ 500,000 กว่าบาทต่อปี ไม่มีหนี้สิน
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) จัดโครงการสื่อมวลชนสัญจร โครงการเฉลิมพระเกียรติ วิถีแห่งพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ขึ้นโดยนำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่จังหวัดระยอง และจันทบุรี หลายโครงการด้วยกันหนึ่งในนั้นก็มี เกษตรกรตัวอย่างศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี ของนายฉลวย จันทแสง เกษตรกรตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
นายฉลวย จันทแสง ปัจจุบันอายุ 55 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เดิมประกอบอาชีพทำนาบนพื้นที่ 15 ไร่ ทำสวนผลไม้ 15 ไร่ แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2530 ได้ปรับพื้นที่นามาปลูกไม้ผลจนเต็มพื้นที่ 30 ไร่ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2545 งาน วิชาการเกษตรร่วมกับสถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรีและงานส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ได้เข้ามาแนะนำและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
เกิดความสนใจจึงสมัครเข้าเป็นสมาชิกและร่วมโครงการ ซึ่งทางศูนย์ฯ ได้ให้เข้ารับการฝึกอบรมในสาขาวิชาชีพด้านต่าง ๆ เช่น การ ทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน ตลอดจนแนวทางการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และในปี พ.ศ. 2547 งานวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้สนับสนุนโครงการการผลิตพืชผักและผลไม้ให้มีคุณภาพและปลอดภัยจากสารพิษ รวมถึงการใช้ปุ๋ยพืชสด การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพแห้ง น้ำชีวภาพและสารสกัดจากพืชป้องกันกำจัดแมลงขึ้นใช้เอง เพื่อลดต้นทุนการผลิต
ปัจจุบันสภาพสวนของนายฉลวย นับว่าจัดสัดส่วนได้อย่างลงตัว บรรยากาศร่มรื่นเย็นสบาย มีไม้ผลหลากหลายชนิด เช่น ทุเรียน มังคุด ลองกอง เงาะ รวมถึงพริกไทย เมื่อมีคณะเข้ามาเยี่ยมชมก็มีความยินดีต้อนรับและร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พาเยี่ยมชมกิจกรรมต่าง ๆ ในสวนอย่างมีความสุขและเป็นกันเอง
จากความขยันหมั่นเพียร มีความมานะอดทน และพยายามเอาใจใส่ดูแลต้นไม้ที่ปลูกไว้อย่างตั้งอกตั้งใจ ประกอบกับการได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อีกมากมาย ทำให้นายฉลวย มีความเข้าใจในอาชีพ ลักษณะนิสัยของพืชแต่ละชนิดที่ปลูก เข้าใจธรรมจิตและเข้าใจการดำเนินชีวิตของตนเองมากขึ้น และยังได้เสียสละเวลาส่วนตัวมาแนะนำเพื่อนบ้านให้ปฏิบัติตาม
เมื่อปี พ.ศ. 2547 กรมพัฒนาที่ดิน ได้พิจารณาคัดเลือกให้เป็นวิทยากรและหมอดินอาสา บรรยายให้แก่เกษตรกร นักเรียน นัก ศึกษา ตลอดจนนักวิชาการในสถานที่ต่าง ๆ มากมาย สำนักงานเกษตรอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ได้พิจารณาคัดเลือกนายฉลวย ให้เป็นเกษตรกรดีเด่นระดับอำเภอ ประจำปี 2549 สาขาเศรษฐกิจพอเพียง
ความมุ่งหวังในชีวิตมีแนวความคิดที่จะถ่ายทอดความรู้ ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงให้เกษตรกรเพื่อนบ้านใกล้เคียงนำไปปฏิบัติตาม โดยเฉพาะการทำการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิต และรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น ตลอดจนสุขอนามัย และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
ปัจจุบันนายฉลวย มีรายได้สุทธิ 35,400 บาทต่อไร่ เนื้อที่ปลูกพืชสวน 15 ไร่ ซึ่งให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่ ปีหนึ่ง ๆ จึงมีรายได้ที่ไม่น้อยกว่า 500,000 บาท โดยไม่มีหนี้สิน นับเป็นแบบอย่างแก่เกษตรกรโดยทั่วไปได้ดีทีเดียว.
. |
|
|
Pum_NWF_Rayong |
ตอบ: 23/09/2009 10:53 am ชื่อกระทู้: |
|
NO GAIN.. NO PAIN ! "ไม่เจ็บ ไม่ได้เรียนรู้"
มีชายคนหนึ่งนั่งมองผีเสื้อที่กำลังดิ้นรนจะออกจากรังไหม
เจ้าผีเสื้อดิ้นรนไปซักพัก จนกระทั่งใยรังไหมเริ่มขาดเป็นรูเล็กๆ
ชายคนนั้นมองด้วยความสนใจ เจ้าผีเสื้อดูเหมือนจะหยุดไป ที่จริงผีเสื้อมันพักเพื่อที่จะดิ้นรนต่อไป
แต่ว่าชายคนนั้นคิดไปเองว่าผีเสื้อคงติดใยรังไหม ไม่สามารถจะออกมาได้ด้วยตนเอง
ด้วยความหวังดี เขาจึงนำกรรไกรขนาดเล็กมาตัดใยรังไหมนั้น
ทำให้รูมันขยายใหญ่ขึ้น เจ้าผีเสื้อเห็นรูขยายใหญ่ขึ้นมันก็คลานต้วมเตี้ยมออกมา
แต่เขาสังเกตว่าตัวมันมีขนาดเล็กกว่าปกติ ปีกเหี่ยวย่น แถมลำตัวของเจ้าผีเสื้อก็มีลักษณะบวมผิดปกติ
กลายเป็นว่าในขณะที่ผีเสื้อต้องดิ้นรนออกแรงตะเกียกตะกาย
เพื่อพยายามจะดันตัวมันออกจากรังไหมนั้น
เป็นกระบวนการธรรมชาติที่จะกระตุ้นให้ของเหลวชนิดหนึ่ง
ที่อยู่ในลำตัวผีเสื้อเคลื่อนที่มาสู่ปีก เพื่อทำให้ปีกแข็งแรงเพียงพอจะบินได้
ด้วยความปรารถนาดีของชายคนนั้น
ผีเสื้อตัวนี้ปีกจึงเหี่ยวย่นไม่แข็งแรงเพียงพอจะบินได้
แถมยังมีรูปร่างพิกลพิการ เพราะของเหลวที่ควรจะอยู่ที่ปีก ดันไปติดคั่งค้างอยู่ที่ลำตัว
เจ้าผีเสื้อตัวนี้ออกจากใยมาได้ด้วยความสบาย
แต่ต้องพิกลพิการ และบินไม่ได้ไปชั่วชีวิตของมัน
...... .........
อุปสรรคและความล้มเหลวในชีวิตของคน ก็คล้ายๆกันกับสิ่งที่เจ้าผีเสื้อเผชิญ
ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ ความก้าวหน้าในชีวิต การพัฒนาทักษะ ความกล้าหาญ
ความมุ่งมั่น ล้วนแล้วแต่น่าสงสารและน่าเห็นใจ
แต่จะได้คุณค่ามาก็ด้วยการล้มเหลวอย่างถูกวิธี
เราจะคาดหวังว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิต
โดยไม่มีความล้มเหลวนั้นเป็นไปไม่ได้
เมื่อเราเผชิญอุปสรรค แล้วเราหลีกเลี่ยงที่จะแก้ไขหรือต่อสู้กับมัน
เท่ากับว่าเรากำลังเสียโอกาสสำคัญในการเรียนรู้บทเรียนที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในชีวิตของคน
ที่มา จาก หนังสือ The Power of Failure โดย Charles C. Manz
แปลเป็นไทยในชื่อ วิกฤติคือโอกาส โดยพสุมดี กุลมา เรียบเรียงโดย นราธิป นัยนา
ปุ้มระยอง |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 23/09/2009 6:16 am ชื่อกระทู้: |
|
ก๊อ...หน่าน....นะซี......
ประมาณนั้นแหละนะ |
|
|
Pum_NWF_Rayong |
ตอบ: 22/09/2009 11:16 pm ชื่อกระทู้: |
|
จากนิยายเรื่องนี้ เท่าที่จับใจความได้ น้องเขาสู้อุตส่าห์มาขอเรียนรู้วิชาจากลุง เป็นคนงานก็ยอม เวลาผ่านไป
ไม่ถึงเดือน ความตั้งใจเดิมกลับถูกลบลืมไปด้วยเพราะหน้าที่ของความเป็นลูกและวิถีชีวิตแบบเดิมๆ แต่ไหนแต่
ไรมา พ่อแม่ปู่ย่าตายาย ครอบครัวชาวนาก็มักจะได้ยินกันจนชินหูเรื่องการลงแขก เป็นวิถีชีวิตที่ไม่สามารถ
เปลี่ยนได้เพียงชั่วข้ามเดือน แม้กระทั่งลุงพยายามชี้แนะวิธีการและแนวทางที่เหมาะสม ณ สถานการณ์ที่เป็น
อยู่ในตอนนี้แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถจะช่วยให้เขาพบเห็นคำตอบ ว่านี่แหละ ใช่เลย ใช่จริงๆ ได้เลย เสียดาย
เวลาที่น้องเขาสู้ทุ่มเทมาเรียนรู้เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหาหนี้สินที่ตนมี ไม่รู้จะเรียกว่า "บุญมี แต่กรรมบัง"
ได้หรือปล่าวคะ ก็หวังแต่ว่าน้องเขาจะลองคิดทบทวนอีกครั้งอย่างที่ลุงว่า อยู่ที่ไร่กล้อมแกล้มต่ออีกสักนิด ที่
นาเพียงแค่นั้นทำเท่าที่ทำกันไปก่อน ถ้างวดนี้สามารถลดต้นทุนการเอาแรงจากคนอื่นมาช่วยทำเฉพาะนาของ
ตนเองได้ อย่างน้อยก็น่าจะมีเงินเหลือมากกว่าแค่ส่งดอกเบี้ยมังค่ะ ไหนๆก็ต้องเหนื่อยอยู่แล้ว เพราะถ้าต้อง
ไปช่วยเอาแรงในนาคนอื่นด้วย กับการที่เอาแรงเฉพาะนาของตน ทำรวดเดียวไปเลย น่าจะดีกว่าหรือปล่าวคะ
ปุ้มระยอง |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 22/09/2009 4:08 pm ชื่อกระทู้: |
|
.
.
คลื่นลูกใหม่ รุ่นปี 51 เป็นชายชื่อน้ำ (นามสมมุติ) อายุราว 30 ปี (-)
ความรู้ประมาณ ปวช.-ปวส. ภูมิลำเนาเดิมอยู่บุรีรัมย์ ในบ้านมี พ่อ-แม่-พี่
กับตัวเอง วัยทำงานเก่งทั้ง 4 คน อาชีพทำนาข้าว (กิจกรรมเดียว ปีละ
ครั้ง 1 ครั้ง) มีที่ดินของตัวเอง 10 ไร่ ณ วันนั้นเป็นหนี้ 60,000.- เป็นหนี้
มาแล้ว 3-4 ปี
อยากเป็น "คนงาน-ฝึกงาน" ที่ไร่กล้อมแกล้ม ด้วยความตั้งใจอยากได้
ความรู้และประสบการณ์ในการทำ "ปุ๋ย-ฮอร์โมน และอื่นๆ" กับได้ "เงินเดือน"
จากค่าแรงงานตามสั่ง ได้เงินเดือนๆ ละ 5,000 บาท กินอยู่ฟรี
งาน "ฝึกงาน" เริ่มด้วยเป็น "ลูกมือ" ทำ "ปุ่ย-ฮอร์โมน-อื่นๆ" ตามคำสั่ง
ลุงคิม....ทำไป สอนไปงาน "คนงาน" เป็นงานเกี่ยวกับ "ไม้ผล" สารพัดมะฯ
ตามคำสั่งลุงคิม.....ทำไป สอนไป
ตลอดเวลาลุงคิมจะพูดคุย-สอบถาม เหมือน "วัดผล" ประสบการณ์และความ
รู้ทางวิชาการที่ได้รับไปแล้วอยู่เสมอ....ไม่ใช่เพียงลุงคิมคนเดียว สมาชิกทั่วๆไป
สามาชิกลุ่มสีสันชีวิตไทย ที่ต่างก็มีประสบการณ์ตรงในการทำการเกษตรตาม
แนวทางนี้แวะเวียนเข้ามาพบปะพูดคุยมิได้ขาด
หัวข้อหลักที่ลุงสอน......อยู่ที่นี่ 1 ปี เก็บเงินทุกบาททุกสตางค์จะได้ 60,000 เอา
ไปไถ่ถอนหนี้สินให้พ่อแม่ ถ้าอยู่ต่อ 2 ปี จะได้เงินเพิ่มอีก 60,000 เอาไปทำทุน ....
เปรียบเทียบกับทำงานโรงงาน ได้เงินเดือน 8,000 หักค่าใช้จ่ายสารพัด น่าจะ
เหลือไม่ถึงเดือนละ 2,000 ...... 1 ปี เหลือเงินเท่าไร ? .....2 ปี เหลือเงินเท่าไร ?
อยู่ไร่กล้อมแกล้ม ได้ความรู้-ประสบการณ์ในการทำ "ปุ๋ย-ฮอร์โมน-อื่นๆ" ติดตัว
ไปตลอดชีวิต กลับบ้านแล้ว ทำใช้-ทำขาย.....ใช้ในแปลง ขายในหมู่บ้าน.......
ก็น่าจะทำได้นะ
เปรียบเทียบจากของจริง.......
มีทีนา 10 ไร่ ปลูกข้าวหอมมะลิ 1 รุ่นได้ 5 เกวียน ขายได้เกวียนละ
10,000 รวมเป็นเงิน 50,000 หักต้นทุน 20,00 0 คงเหลือ 30,000
นี่คือ 1 ปีทำนา 1 ครั้ง เท่ากับมีรายได้ 30,000 ต่อปี
เงินได้ 30,000 จากแรงงาน 4 คน เท่ากับมีรายได้ 7,500 บาท/
คน/ปี...... หรือ 625 บาท/คน/เดือน แบบนี้แล้ว อีกสักกี่ปีทำนา 10
ไร่ จึงจะเหลือเงินไปใช้หนี้ไถ่ถอนที่ดินคืนมา
เวลาผ่านไปยังไม่ครบเดือน ใกล้ถึงฤดูกาลทำนา "น้ำ" ขอกลับบ้านเกิดเพื่อไปเอา
แรง "ลงแขก" ทำนาร่วมกับเพื่อนบ้าน ลุงคิมตอบ O.K. ทันทีโดยไม่มีคำอธิบายใดๆ
ทั้งสิ้น เพราะถือว่าสอนหมดแล้ว บทสอนสมบูรณ์แบบที่สุดแล้ว โตเป็นผู้ใหญ่ และมี
ความรู้ น่าจะเข้าใจ
ที่นาตัวเอง 10 ไร่ ทำไมต้องไปช่วยแรงนาอื่นเพื่อเอาแรงงานนาอื่นมาช่วยงานในนาตัว
เอง เรียกว่า "ลงแขก-เอาแรง" ด้วย เพราะวันที่แรงงานนาอื่นมาช่วยนั้นเจ้าของนา
ต้องออกค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ตั้งแต่อาหาร-เครื่องดื่ม หรืออาจจะมี เหล้ายาปลาปิ้ง
แถมพ่วงอีก
นาตัวเองเพียง 10 ไร่ เพีงแค่ พ่อ-แม่-พี่ 3 คนก็น่าจะทำเองได้แล้ว ไม่ต้องไปช่วย
แรงงานนาคนอื่น แล้วแรงงานนาคนอื่นก็ไม่ต้องนาช่วยเรา ให้สิ้นเปลืองค่าเลี้ยงดูด้วย
ลูกโตเป็นผู้หญ่ อายุใกล้ 30 ความรู้ ปวช.-ปวส. น่าจะคิดเป็น วางแผนเป็น มองการณ์
ไกลเป็น.......รวมทั้งคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ ก็น่าจะคิดเป็นด้วย ปล่อยให้ลูกชายอยู่ที่ไร่
กล้อมแกล้มต่อไป อยู่จนกว่าจะได้เงินก้อน อยู่จนกว่าจะทำ "ปุ๋ย-ฮอร์โมน" เป็น
ฤดูกาลทำนารุ่นนั้นผ่านไป ขายข้าวแล้วครอบครัว "น้ำ" มีเงินส่งเพียง "ดอกเบี้ย" เท่านั้น
นิยายเรื่องนี้ ใครคิดอย่างไร ออกความเห็นหน่อยก็ดีนะ
เฮ่อออออ.....เศร้า......
ลุงคิมครับผม
. |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 17/09/2009 5:42 pm ชื่อกระทู้: |
|
ปุ้มครับ...... ที่เริ่มมาจาก 1 - 2 - 3 กระทู้นี้ดีที่สุด.....
มีอีกไหม.....เอาอีก.....เอาอีก.....
ลุงคิมครับผม |
|
|
Pum_NWF_Rayong |
ตอบ: 17/09/2009 11:34 am ชื่อกระทู้: |
|
นิยามความรวยกับความจน วิธีคิดไม่ธรรมดาของมาร์ติน วีลเลอร์
"คนไทยมีพระเจ้าอยู่หัว มีแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ มีศาสนาพุทธที่ดีมาก ทั้ง ๓ อย่างนี้ พยายามรักษาเอาไว้ให้ได้"
มันเป็นเรื่องแปลกนะที่ประเทศไทยคนยากจนมีหนี้สินเยอะ ที่อังกฤษมีแต่คนรวยที่มีหนี้สิน
คนจนไม่มีหนี้ เพราะเขาไม่ให้คนจนยืมเงิน เนื่องจากกลัวจะไม่มีปัญญาใช้คืน จึงไม่มีสิทธิ์มีหนี้สิน
แต่คนรวยยืมเงินได้ คำว่ารวยกับคำว่าจน มันคืออะไรกันแน่
ที่ขอนแก่นเขาว่าผมบ้าบ้าง ฝรั่งยากจนบ้าง ฝรั่งตกอับบ้าง ฝรั่งขี้นก ฝรั่งไม่มีเงิน แต่ผมบอกว่าไม่ใช่ ผมรวยนะ เขาถามว่ารวยได้ยังไง ผมบอกว่า
๑.ผมมีบ้าน ผมทำบ้านเล็กๆ เป็นกระท่อมน้อยๆ เอาหญ้ามามุงหลังคา ชาวบ้านเรียกว่าเถียงนา ไม่ใช่บ้านหรอก ผมบอกว่าใช่ มันบ้านของผม ไม่ใช่บ้านเจ้านาย ราคาหนึ่งหมื่นสองพันบาท อยู่ได้ครับ มันกันแดด-กันฝนได้ แค่นั้นผมก็รวยแล้ว
๒.มีที่ดินแค่ ๖ ไร่เท่านั้นเอง ที่นั่นเขาบอกว่ากระจอก มีนิดเดียว แต่สำหรับฝรั่งมันเยอะมากจริงๆ ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องสำคัญ เป็นพื้นฐานของชีวิต เราต้องมีที่อยู่อาศัยเป็นของเรา ไม่ใช่ของเจ้านาย เพราะว่าถ้ามันเป็นของเจ้านาย เราต้องไปหาเงินให้เขา ถ้าเราไม่มีเงินเขาก็ไล่เราออก เราไม่มีที่อยู่นะ เพราะฉะนั้น ต้องมีบ้านเป็นของตัวเองไว้ก่อน ซึ่งผมก็มีบ้าน คิดว่าลูกของผมจะต้องมีบ้านแน่ๆ ด้วย
เรื่องเกษตรผมทำไม่เก่ง แต่ที่ทำได้ง่าย คือปลูกต้นไม้ ไม้ประดู่ ไม้สะเดา ไม้ยาง ปลูกไว้ให้ลูกสร้างบ้าน ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้โตเร็วมาก แค่ ๒๕-๓๐ ปี ตัดได้แล้ว ไม่เหมือนอังกฤษ ๒๐๐ ปีได้เท่านี้เอง เพราะอากาศเย็น เป็นเรื่องแปลกที่คนไทยจะบ่น โอ๊ย...มันร้อนๆ ผมว่ากลับเป็นเรื่องดี แสงแดดเยอะจะทำการเกษตรได้ตลอดเวลา ๑ ปี ทำได้ทุกวัน แต่คนไทยจะบ่นว่าร้อนๆ ไม่เอา..ไม่เอา..อยากเป็นคนผิวขาวดีกว่า แต่คนอังกฤษเขาถือคนผิวขาวเป็นคนจน เพราะว่าไม่มีปัญญาจะไปเมืองนอก ซึ่งกลับกันเลย แม้แต่พ่อของผมเขาก็ยังมีเครื่องอาบแดดเพื่อให้ผิวเป็นสีแทน ให้ดูเป็นแบบคนมีสตางค์ แต่คนไทยกลับอยากมีผิวขาว
วิธีคิดไม่ธรรมดาของมาร์ติน วีลเลอร์
ผมมีลูก ๓ คน ชาย ๒ หญิง ๑ สิ่งสำคัญที่สุด ๒ เรื่องในชีวิตของเรา คือ
๑.ต้องมีบ้านเป็นของตัวเองให้ได้ จึงจะถือว่าชีวิตประสบความสำเร็จ
๒.ต้องมีงานทำทุกวัน ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นงานอะไร แต่ขอให้มีงานทำทุกวัน ชีวิตจึงจะไม่สูญเปล่า
วิธีเดียวที่รับประกันได้ว่าลูกมีงานทำ คือการมีที่ทำกินให้เขา และเราต้องช่วยให้เขาทำเป็น ผมคิดว่าคนชนบทจริงๆ
ใครมีที่ดินทำกินแล้วจะไม่ตกงาน เว้นแต่คนขี้เกียจ ซึ่งบางคนมีที่ดินเยอะ แต่ไม่ยอมทำ ถ้าเราสั่งสอนให้ลูกรู้จักทำมาหากิน เขาก็ไม่ตกงาน
ผมถือว่างานที่อิสระและมีประโยชน์มากที่สุดคืองานเกษตร ซึ่งช่วยให้เรากินอิ่มทุกวัน คนอังกฤษกินไม่อิ่มเยอะมากนะ
ผมไม่อยากให้ลูกของผมอดอาหาร อยากให้ลูกกินอิ่มในลักษณะที่ส่งเสริมสุขภาพด้วย กินอาหารที่ไม่มีสารพิษ กินอาหารแบบเรียบง่ายก็ได้ แต่อิ่มทุกวัน เมื่อมีบ้าน มีงาน มีอาหาร ลูกของผมก็จะรวยที่สุด...ฯลฯ
จุดอ่อน-จุดแข็งของคนไทย
ผมคิดว่าคนไทยส่วนมากยังไม่เข้าใจระบบทุนนิยม เห็นฝรั่งที่ไหนก็คิดว่ารวยหมด คิดว่าการพัฒนาในระบบทุนนิยมจะทำให้ทุกคนมีเงิน ไม่เข้าใจว่าประเทศที่พัฒนาระบบทุนนิยมนานแล้ว เช่น อังกฤษ สหรัฐ มีปัญหาเยอะมาก แต่คนไทยก็คิดว่าเมืองนอกดีกว่า อันนี้จุดอ่อนครับ คือคนไทยสนใจเมืองนอก ไม่ได้สนใจประเทศไทย ผมเป็นฝรั่ง คุณเลยนั่งฟังผม ถ้าผมเป็นชาวบ้าน คุณจะไม่สนใจผม อันนี้เป็นจุดอ่อนนะ
แต่จุดแข็งคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แผ่นดินประเทศไทยอุดมสมบูรณ์มากๆ มีดินเยอะมาก น้ำเยอะมาก
แสงแดดเยอะมาก ทำเกษตรอยู่รอดแน่ เป็นพลังแผ่นดินใครๆ ก็อยากได้ประเทศไทย ผมก็ได้ถึง ๖ ไร่
คนไทยโชคดีมากๆ ที่ได้ในหลวงเป็นผู้นำ พระองค์ท่านเป็นคนที่ทำงานหนักมากเพื่อช่วยให้คนคิดได้ ช่วยให้คนอยู่ได้ จะหากษัตริย์ในประเทศอื่นไม่ค่อยมีแบบนี้ ปัญหาคือคนไทยส่วนมากนับถือในหลวง แต่ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสอนของในหลวง พระองค์ท่านบอกมา ๒๗ ปีถึงเศรษฐกิจพอเพียง แต่คนไทยก็ไม่รู้จักพอเพียง
เอาอย่างเดียว ถึงยกมือไหว้ในหลวง แต่เวลาดำรงชีวิตไม่ได้ทำตามในหลวง ก็ในหลวงบอกไว้แล้วว่าไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเสือ ขอให้มีอยู่มีกินไว้ก่อน
ถ้าทุกคนเริ่มคิดจริงๆ ถึงสิ่งที่ในหลวงพูด เราน่าจะช่วยให้ประเทศไทยอยู่ได้ เพราะความคิดของในหลวงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงต้องอาศัยพลังแผ่นดิน ทำได้เฉพาะประเทศไทยนะ เศรษฐกิจพอเพียง ที่อื่นทำไม่ได้หรอก เพราะเขาไม่มีที่ดิน ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเยอะเหมือนประเทศไทย
พวกคุณโชคดีที่ได้แผ่นดินดีๆ ได้ผู้นำ (ในหลวง) ที่ดีด้วย และเรื่องที่ ๓ เรื่องศาสนา ผมคิดว่า ศาสนาพุทธมีความสำคัญมากๆ สำหรับคนไทย ไม่ใช่แค่นับถือไหว้พระ แค่นั้นไม่พอ แต่อยู่ที่การปฏิบัติด้วยนะ มักน้อย สันโดษ พอเพียง ธรรมะคือธรรมชาติ เป็นเรื่องง่ายๆ พึ่งตนเองก็ได้ ปรัชญาของศาสนาพุทธทำได้นะแต่คนไทยจำนวนน้อยที่เข้าใจ จริงๆ แล้วศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ออกแบบให้เหมาะสมสำหรับคนบ้านนอก ให้ใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติโดยไม่ทำลาย ไม่เอาเปรียบ แต่ให้เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมขาติ
อยากบอกอะไรคนไทย
คุณโชคดีมากๆ ที่เกิดในประเทศไทยที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องไปรบกับใคร ไม่ต้องไปเอาน้ำมันจากใคร ไม่ต้องไปเบียดเบียนคนอื่น ประเทศไทยอยู่ได้ กินอิ่ม มีเหลือแจกด้วย อย่าไปคิดเรื่องเงินอะไรมาก อย่าลดคุณค่าความเป็นไทยของตัวเองลง คนไทยส่วนมากนิสัยดีจริงๆ คนไทยมีน้ำใจ หายากนะ
คนไทยมีพระเจ้าอยู่หัว มีแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ มีศาสนาพุทธที่ดีมาก ทั้ง ๓ อย่างนี้ พยายามรักษาเอาไว้ให้ได้
ชีวิตที่ไม่ทะเยอทะยานเกินไป คือชีวิตที่มีคุณภาพ ชาวบ้านทุกคนทำได้ ผมเองถึงยังทำไม่สำเร็จ แต่มั่นใจว่าจะทำได้แน่ในอนาคต ถ้าผมทำได้ คนอื่นก็คงทำได้ง่ายกว่าผมเยอะ ทุกอย่างอยู่ที่เรา ถ้าเราไม่อยากได้อะไรมากเกินไปในชีวิต ชีวิตมันก็ง่าย พยายามทำให้ชีวิตมันง่ายขึ้นอย่าให้มันสับสน อย่าให้มันลำบาก พยายามรักษาสิ่งแบบนี้ให้ดี และ อย่าเชื่อฝรั่งมากเกินไป.
ที่มา http://www.chaiyo.com/education/konaowtan.php?mcid=3300 |
|
|
Pum_NWF_Rayong |
ตอบ: 17/09/2009 10:52 am ชื่อกระทู้: |
|
ประตูมีหลายแบบ
บางครั้งเราใช้ชีวิตแบบดึง
ทั้งที่ประตูบอกว่าผลัก
และใช้ชีวิตแบบผลัก
ทั้งที่ประตูบอกให้เลื่อน
ประตูเปิดไม่ออก ปัญหาผลักไม่ออก
ไม่ใช่เป็นเพราะปัญหาแก้ไม่ได้ หรือประตูเปิดไม่ได้
หากแต่เป็นที่ตัวเราไม่เคยใช้ "ความคิด" เพื่อค้นหาวิธีการเปิดประตูอย่างถูกต้องเลย
ในเมื่อหลายๆ คนได้พบเจอบุคคลที่ให้ทางสว่างในการดำเนินการเกษตรแล้ว แต่ยัง
ไม่เลือกที่จะเดินตาม คนเหล่านั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการเลือกเปิดประตูผิดวิธีนั่นแหละค่ะ
แนวทางความคิดเพื่อการแก้ปัญหา ดูเพิ่มเติมในกระทู้ Idea การคิดนอกกรอบ หรือจาก http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=139&start=15 |
|
|
Jirapat |
ตอบ: 16/09/2009 10:00 pm ชื่อกระทู้: |
|
กำลังทำอยู่ครับผม (ทำตัวให้ปลอดหนี้) อยากให้ทุกๆคนอย่าทิ้ง
แนวทางการทำมาหากินของบรรพบุรุษ ที่ค่อยเป็นค่อยไปอย่าง
มั่นคง ไม่ประมาทแล้วก็นำเทคโนโลยีใหม่ๆมาประยุกต์เข้าด้วย
กัน เปิดกระโหลกให้มากๆ ผมว่าน่าจะทำให้พวกเรา ''อยู่รอดปลอดหนี้''
ได้ในไม่ช้านี้นะครับ ..... ลุงคิมและเพื่อนๆเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ
ดำ ระยอง |
|
|
pomphet |
ตอบ: 16/09/2009 9:23 pm ชื่อกระทู้: |
|
อยากเห็นด้วยคนครับ |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 16/09/2009 6:44 pm ชื่อกระทู้: |
|
ถูกต้อง PUM..... ดีมาก.....ขอบคุณมาก........ขอบคุณแทนทุกๆคน
ลุงคิมครับผม |
|
|
Pum_NWF_Rayong |
ตอบ: 16/09/2009 11:16 am ชื่อกระทู้: |
|
พวกเราชาว NW-TU-KK-RY ได้เริ่มจากการลดต้นทุนการผลิต ง่ายที่สุดก็คือการลดการใช้สารเคมีและทำปุ๋ย ฮอร์โมนใช้เอง นี่อาจจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ แต่ถ้าเกษตรกรทุกคนเล็งเห็นว่ามันคือจุดเปลี่ยนไปสู่การปลดเปลื้องพันธนาการจากหนี้สินที่เป็น/มีอยู่ เริ่มจากกลุ่มเล็กๆ ในชุมชน ขยายไปเรื่อยๆ เป็นหมู่บ้าน เป็นตำบล เป็นจังหวัด เป็นทั่วประเทศ อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรหลักของประเทศ "ไม่มีหนี้สิน" ทุกคนลืมตาอ้าปากได้ อยากเห็นวันนั้นจังค่ะ
ปุ้มระยอง |
|
|
Pum_NWF_Rayong |
ตอบ: 16/09/2009 11:01 am ชื่อกระทู้: |
|
.
.
การเมืองของการแก้ไขปัญหาเกษตรกร
ในช่วงท้ายนี้ผู้เขียนขอตั้งข้อสังเกตต่อ การพัฒนาและการแก้ปัญหาภาคเกษตรของรัฐที่ผ่านมา ดังนี้
1. ปัญหาหนี้สินเกษตรกรที่ผ่านมา เป็นปัญหาของอำนาจในการกำหนดทิศทางการพัฒนา ประเทศและการแบ่งสรรผลประโยชน์จากการพัฒนา การพัฒนาภาคเกษตร เป็นการพัฒนาสู่ระบบทุนนิยมการเกษตร ที่เกษตรกรถูกกำหนดให้เป็นฐานทรัพยากร ฐานสร้างมูลค่าส่วนเกิน และฐานแบกรับภาระการผลิตซ้ำกำลังแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยในกระบวนการดังกล่าวรัฐและกลุ่มทุนการเกษตร เป็นฝ่ายที่คอยสูบรีดผลประโยชน์จากเกษตรกรในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการผลิต
2. การแก้ปัญหาของรัฐทุกยุคสมัยที่ผ่านมา ไม่เคยแตะต้องทิศทางการพัฒนาการเกษตร ในทางตรงกันข้ามกลับทำให้การพัฒนาทุนนิยมการเกษตรอย่างไม่เป็นธรรม เป็นไปโดยสะดวกที่สุด เช่นความพยายามแปรรูปการจัดการทรัพยากรจากการควบคุมของชุมชนให้เข้าสู่ระบบตลาด ดังกรณี แปลงสินทรัพย์เป็นทุน และการจัดการน้ำ หรือกรณีของการเร่งเปิดเสรีการเกษตร ซึ่งทั้งหมดจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มทุนในที่สุด
3. เสรีการเกษตร, พืชตัดแต่งพันธุกรรม และ สิทธิบัตร ได้กลายเป็นวาทกรรมสำคัญที่รัฐและทุนต่างเข้ามาช่วงชิงหยิบฉวยใช้เพื่อประโยชน์ของตน การช่วงชิงวาทกรรมดังกล่าวกลายเป็นสนามการต่อสู้สำคัญของปัญหาการเกษตรในปัจจุบัน ที่ผ่านมาเราได้เห็นบทบาทของปัญญาชนที่รับใช้รัฐและทุน, เทตโนแครต และนักการเมือง แสดงบทบาทอย่างกระตือรือล้นในการสร้างความชอบธรรมให้กับข้อเสนอและการเจรจาในระดับต่างๆ ซึ่งกระแสสังคมส่วนใหญ่ก็คล้อยตาม หรือเฉยๆ มากกว่าตระหนักถึงผลกระทบ
4. เมื่อพิจารณาการแก้ไขปัญหาเกษตรกรของรัฐบาลประชานิยม ไม่ว่าจะเป็นโครงการพักหนี้ เกษตรกร โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล ก็จะพบว่าเป็นเพียงการหวังผลทางการเมือง เพราะเป็นการแก้ไขในจุดปลีกย่อย ที่ไม่มีพลังพอจะพลิกสถานการณ์ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกษตรเผชิญอยู่ สำหรับการแก้ไขปัญหาที่มีเจตนาดีเช่น การประกันราคาพืชผลต่างๆ ก็เป็นเพียงการสร้างภาพ ที่ประโยชน์แทบไม่ถึงมือเกษตรกร ปัญหาสำคัญอยู่ที่ ในกลไกเศรษฐกิจการเกษตรถูกควบคุมด้วยกลุ่มทุนน้อยใหญ่ ที่เป็นเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ในท้องถิ่น ที่คอยสูบรีดเกษตรกรมาโดยตลอด ซึ่งประเด็นนี้คือสิ่งที่ต้องแก้ไขที่แท้จริง แต่รัฐก็ไม่เคยแตะต้อง
5. ข้อถกเถียงเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ในยุคประชานิยม รัฐพยายามเบี่ยงเบน การแก้ไขปัญหาที่แท้จริง โดยสร้างภาพและข้อถกเถียงที่สำคัญสามประการ หนึ่ง ปัญหาหนี้สินเกิดจากตัวเกษตรกร ที่ใช้เงินทุนไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ ไม่รู้จักบริหารเงินทุน ลุ่มหลงอบายมุข หรือบริโภคนิยม และพยายามทุ่มทุนกับการนำเสนอตัวอย่าง เกษตรกรทั้งในกรณีตัวอย่างที่ดีและไม่ดี สอง การปลุกกระแสสังคมมาแย้งกรณีปลดหนี้ หรือพักหนี้เกษตรกรระยะยาวว่า จะทำให้เสียวินัยทางการเงิน บรรทัดฐานของธุรกิจจะเสียหาย สาม การโปรโมตว่าโครงการต่างๆ เช่นโครงการพักหนี้ กองทุนหมู่บ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล ประสบความสำเร็จอย่างดี
6. รัฐถนัดจะลดแรงกดดันของเกษตรกร หรือซื้อเวลาแก้ปัญหาด้วยการ ยกร่างกฎหมาย การตั้งกรรมการระดับต่างๆ ตลอดจนการดึงเกษตรกรเข้าสู่ข้อถกเถียงปลีกย่อย เช่น การแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบการแก้ไขปัญหานี้สิน การโยนภาระต่างๆ เช่นมอบหมายให้เกษตรกรไปสำรวจข้อเท็จจริงการเป็นหนี้สิน แต่ในระหว่างนั้นก็จะใช้กระบวนการทางการเมืองเข้าแทรกแซง และในตอนท้ายก็มักจะยกเลิกมติไปด้วยเทคนิคต่างๆ ทำให้องค์กรเกษตรปั่นป่วนและเสียเวลา
ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า เราไม่อาจฝากความหวังไว้กับรัฐในการแก้ไขปัญหาเกษตรกร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราควรจะละเลยอำนาจรัฐ ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจะทำให้รัฐต้องตอบสนอง เชิงนโยบายในทิศทางที่เกษตรกรและภาคประชาชนต้องการได้
ที่มา http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content2/show.pl?0326
. |
|
|
Pum_NWF_Rayong |
ตอบ: 16/09/2009 11:01 am ชื่อกระทู้: |
|
.
.
วิธีการที่จะใช้เงินจำนวนนี้ให้พอเลี้ยงครอบครัวก็คือ การลดระดับมาตรฐานการครองชีพในปัจจัย 4 ทุกประเภท โชคดีที่เธอได้รับเลือกเป็น อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน(อสม.) ของหมู่บ้าน ทำให้ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลฟรีสำหรับตัวเองและครอบครัว ในส่วนที่ลดระดับมาตรฐานอย่างเห็นได้ชัดก็คือ การบริโภคอาหารในครอบครัว เธอกล่าวว่าไม่ค่อยไปซื้อกับข้าวตลาดสด โดยปกติจะหาปูปลากบเขียดจากท้องไร่ท้องนาซึ่งปัจจุบันก็มีน้อยลง หรือไปหาของป่าประเภท หน่อไม้ เห็ด ไข่มดแดง จาก ป่าของหมู่บ้านซึ่งต้องเดินทางไปค่อนข้างไกล
มีคำถามต่อไปว่า เธอมีโอกาสที่จะ หาเงินใช้หนี้ ธ.ก.ส. 70,000 บาท ได้หรือไม่ โดยสมมุติว่า ได้รับการพักหนี้ และยังสามารถกู้เงินกองทุนหมู่บ้านได้ต่อไป รวมทั้งเธอสามารถทำงานหนักกว่าที่ทำอยู่ได้
สมมุติว่าเธอจะเพิ่มรายได้จากช่องทางการทำนาปลูกข้าวขาย เราจะพบว่ายิ่งเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวมากขึ้น อัตราการลงทุนจะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งจากสถิติอย่างไม่เป็นทางการของชาวบ้านคือ ต้นทุนในแต่ละหมวดจะเพิ่มปีละ 5-20 % เช่นเปรียบเทียบในปี 2547 กับ 2548 ค่าจ้างแรงงานในไร่นาในช่วงเวลาเดียวกัน เพิ่มจาก 120-130 บาท/วัน เป็น 130-140 บาท/วัน ค่าปุ๋ย กระสอบละ 500 550 บาท เป็น 550 600 บาท ค่าจ้างรถไถ 180 บาท/ไร่ เป็น 230 บาท/ไร่ (ตอนที่น้ำมันดีเซลลิตรละไม่ถึง 20 บาท) ส่วนราคาข้าวคิดเฉลี่ยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพิ่มปีละไม่ถึง 5% และในบางปีที่อัตราการเพิ่มติดลบ หรือราคาต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ดังนั้นจึงหมายความว่า หากเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวนอกจากจะได้รายได้เพิ่มไม่มากแล้ว กลับตกอยู่ในภาวะเสี่ยงสูง มีโอกาสมากกว่าที่จะติดหนี้มากขึ้นไปอีก
สมมุติจะเพิ่มรายได้จากการรับจ้าง ไม่ว่าจะทำงานหนักเท่าใด รายได้จากช่องทางนี้จะมีเพดานที่ค่าแรงขั้นต่ำ โดยทั่วไปนายจ้างจะให้ค่าแรงตามเกณฑ์ค่าแรงขั้นต่ำ หรือต่ำกว่า เช่นอัตราค่าจ้าง รปภ. (เป็นอาชีพที่ชาวบ้านอยากทำมากอาชีพหนึ่ง เพราะถือเป็นงานเบาและรายได้ค่อนข้างดีเมื่อเปรียบเทียบกับงานอื่นๆ) ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดการโดยบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ทำงานวันละ 12 ชั่วโมง ตลอดทั้งเดือนโดยไม่มีวันหยุด มีรายได้ 6,400 บาท คิดเป็นวันๆละ 213 บาท โดยรวมค่าทำงานนอกเวลา (ที่เกินจาก 8 ช.ม.) วันละ 4 ช.ม. เข้าไปแล้ว การทำงานโดยไม่มีวันหยุดเป็นเงื่อนไขที่ขัดกับธรรมชาติของมนุษย์ที่มีครอบครัวและสังคม
สมมุติจะเพิ่มรายได้จากการเป็นผู้ประกอบการ เช่นเปิดร้านขายขนม ร้านขายเสื้อผ้า ฯลฯ ข้อจำกัดก็อยู่ที่ทุนในการประกอบการ โดยเฉพาะในปัจจุบันการแข่งขันในกิจการแต่ละประเภทสูงมาก ทั้งแข่งขันกับสินค้าโรงงาน สินค้าข้ามชาติ ห้างซูเปอร์สโตร์ ฯลฯ
ดังนั้นจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่จึงอาจสรุปได้ว่า แม้ต้อยจะใช้กำลังกายและกำลังความคิดหนักมากกว่าเดิมอีกสักเท่าใด ก็ไม่สามารถที่จะปลดเปลื้องหนี้สินที่มีอยู่ และจะเห็นได้ว่าโครงการพักหนี้เกษตรกร และกองทุนหมู่บ้าน ก็มีบทบาทเพียงแค่ช่วยทำให้ปัญหายืดเยื้อและอาจยุ่งเหยิงมากขึ้นอีก
การศึกษาบ้านแฮ แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมเกษตรกรรมในอีกบริบทหนึ่ง ดูอย่างผิวเผินอาจจะเห็นว่าเกษตรกรชานเมืองมีชีวิตที่ค่อนข้างมีทางเลือก มีโอกาสหารายได้หลายรูปแบบ ได้อยู่ใกล้ความทันสมัย แต่ก็อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติและสังคมหมู่บ้าน แต่เมื่อพิจารณาโดยละเอียดกลับพบว่า คนเหล่านี้กลับต้องทำงานหนัก และอาจจะหนักมากกว่าคนจนกลุ่มอื่นๆ เช่นในกรณีของต้อย ซึ่งทำงานหนักตลอดทั้งปี แต่เมื่อตีมูลค่าเป็นเงินอาจต่ำกว่าค่าจ้างรายวัน เพราะชั่วโมงการทำงานสูงกว่า ไม่มีสวัสดิการ และต้องเผชิญความเสี่ยงด้วยตัวเอง หากยึดเอาจำนวนเงินค่าตอบแทนเป็นเกณฑ์ ก็หมายความว่าพวกเขาได้รับค่าตอบแทนน้อย หรือถูกขูดรีดมูลค่าส่วนเกินจากแรงงานมากกว่า กลุ่มผู้ใช้แรงงาน หรือเกษตรกรที่ทำการผลิตทางการเกษตรเพียงอย่างเดียวเสียอีก
โดยทั่วไปเราพบว่า คนกลุ่มนี้มีวิธีการเอาตัวรอดในภาวะที่ถูกขูดรีดอย่างหนัก โดยการทำงานหนักขึ้น ในลักษณะของการเพิ่มชั่วโมงทำงาน หรือหารายได้จากหลากหลายวิธีไปพร้อมๆกัน ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือ ปัญหาสุขภาพทรุดโทรม และความเครียดจากปัญหาต่างๆในการทำงานและใช้ชีวิต ในขณะเดียวกันก็ลดมาตรฐานการครองชีพ หรือ รัดเข็มขัดให้แน่นขึ้น คือการกินใช้อย่างประหยัด สิ่งที่ตามมาก็คือ ความไม่ปลอดภัยในชีวิต และการเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหารราคาถูก และที่พบโดยทั่วไปสำหรับคนกลุ่มนี้ ก็คือการหันไปพึ่งพิงธรรมชาติสูงสำหรับการเลี้ยงชีพ ในด้านนี้เป็นแรงผลักดันให้ธรรมชาติที่เป็นทรัพยากรส่วนรวมถูกนำมาใช้มากขึ้น หรือในทางกลับกันรัฐก็เข้ามาควบคุม ทำให้ไม่สามารถพึ่งพาธรรมชาติได้
เมื่อมองในภาพที่กว้างออกไปเราจะพบว่า การพัฒนาประเทศที่ผ่านมา เกิดขึ้นบนฐานของวิถีชีวิตของชาวบ้าน แบบหนึ่งครอบครัวสองขาหยั่ง หรือ หนึ่งครอบครัวสองวิถีการผลิต ดังกล่าวมา ดังจะเห็นได้จากลักษณะทั่วไปของคนงานในกรุงเทพฯ เมื่อถึงฤดูกาลก็กลับมาทำนา และก็หอบเอาข้าวสารกลับไปกิน หรือลักษณะทั่วไปที่คนต่างจังหวัดส่งข้าวสารไปให้ญาติพี่น้องในกรุงเทพฯ สวนกับเงินที่ส่งกลับมาบ้าน ลักษณะการดำรงชีวิตของชาวบ้านที่ถูกขูดรีดอย่างหนัก จนต้องขูดรีดเอากับตัวเอง (ทำงานหนักแต่กินน้อยใช้น้อย) และขูดรีดธรรมชาติ (พึ่งพาธรรมชาติ) สูงนี้เอง คือฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ด้วยภาระที่ชนบทแบกรับอยู่นี้ คือคำตอบที่ว่า ทำไมระดับค่าจ้างรายวันของไทยที่ต่ำกว่ามาตรฐานสากลจึงดำรงอยู่มาได้ ทำไมในเมืองจึงมีลูกจ้างราคาถูกให้เลือกใช้ ไม่ว่าระดับเงินเฟ้อหรือการปรับอัตราเงินเดือนของราชการหรือพนักงานจะขึ้นไปเท่าใด ทำไมจึงมีอาหารและเครื่องใช้ข้างถนนราคาถูก คอยรองรับคนชั้นกลางหรือคนยากจนกลุ่มอื่นๆ ให้มีชีวิตในเมืองต่อไปได้ แม้ค่าครองชีพจะขยับสูงขึ้นไปเพียงใด วิถีชีวิตแบบสองขาหยั่งของคนในชนบทนี้เอง คือฐานรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ทั้งง่อนแง่นและไร้ความเป็นธรรม.
ที่มา http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content2/show.pl?0326
. |
|
|
Pum_NWF_Rayong |
ตอบ: 16/09/2009 10:59 am ชื่อกระทู้: |
|
.
.
บ้านแฮ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เป็นหมู่บ้านเกษตรกรรมชานเมือง อยู่ห่างจากตัวอำเภอวารินฯ ประมาณ 13 ก.ม. และห่างจากตัวเมืองอุบลฯ ประมาณ 15 ก.ม. อาจกล่าวได้ว่าหมู่บ้านลักษณะนี้เป็นตัวแทนของชุมชนชนบทจำนวนมากในภาคอีสาน หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นตัวแทนชุมชนชนบทโดยทั่วไปในประเทศไทยก็ได้ เพราะการเติบโตของเมืองได้เกิดขึ้นทั่วไป และการคมนาคมที่สะดวกมากขึ้น ทำให้ชนบทแทบทุกแห่ง สัมพันธ์กับเมืองมากขึ้น โดยเมืองที่ชนบทสัมพันธ์ด้วย อาจมีระดับการพัฒนาที่แตกต่างไป เช่น เป็นเมืองระดับตำบล อำเภอ หรือจังหวัด
ในชุมชนเกษตรกรรมชานเมือง สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะพบโดยทั่วไปคือ การครองชีพแบบสองขาหยั่ง (ซึ่งนักวิชาการบางท่านอาจเรียกว่า หนึ่งครอบครัว สองวิถีการผลิต) โดยขาหยั่งหนึ่งพึ่งพาการเป็นผู้ผลิตทางการเกษตร ส่วนอีกข้างหนึ่ง พึ่งพารายได้นอกเหนือจากการเป็นผู้ผลิตทางการเกษตร โดยอาจออกไปเป็นแรงงานรับจ้างในเมือง แรงงานรับจ้างในไร่นาของคนอื่นๆ หรือไปเป็นผู้ประกอบการรายย่อยประเภทอื่นๆ ภาพชีวิตที่เราจะพบเห็นในหมู่บ้านลักษณะนี้คือ ในฤดูการเกษตร ชาวบ้านจะสวมเสื้อเกษตรกรกระโจนสู่ไร่นา แต่ในช่วงว่างเว้น หรือสิ้นสุดฤดูกาลผลิต ก็จะเปลี่ยนเสื้อออกไปทำมาหากินในที่อื่นๆ เป็นฤดูกาลชีวิตควบคู่ไปกับธรรมชาติ
อาจถกเถียงกันได้ทั้งในเชิงแนวคิด (concept) และในการศึกษาเชิงประจักษ์ว่า หมู่บ้านชานเมือง มีลักษณะเป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม หรือหมู่บ้านผู้ขายแรงงาน/ผู้ประกอบการกันแน่ เพราะสิ่งที่พบโดยทั่วไปคือแต่ละครัวเรือนพึ่งพารายได้จากนอกภาคเกษตรกรรมในสัดส่วนสูง เช่น ในแต่ละครอบครัวจะมีสมาชิกออกไปหารายได้จากนอกภาคเกษตร หรือวิ่งรอกระหว่างการเป็นเกษตรกรกับการรับจ้าง หรือกรณีที่เกิดขึ้นทั่วไปเช่น ลูกไปรับจ้างในเมือง แล้วส่งเงินมาให้พ่อแม่ทำนา โดยพ่อแม่ก็ไปจ้างแรงงานมาทำนา เมื่อได้ข้าวก็เอาไปขาย เก็บไว้กินเอง หรือส่งไปให้ลูกที่อยู่ในเมือง ฯลฯ การศึกษาในประเด็นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวิจารณ์โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรของรัฐ ซึ่งมักจะมองสังคมเกษตรกรรมแบบง่ายๆและเหมารวมไปหมด อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้จะละประเด็นดังกล่าวไปก่อน แต่จะมุ่งศึกษา ครอบครัวที่มีลักษณะที่ค่อนข้างเด่นชัดไปในการมีรายได้จากการเกษตร
การศึกษาได้เลือกครอบครัวของนางพรทิพย์ หรือ ต้อย ปัจจุบันอายุ 43 ปี สามีเสียชีวิตเมื่อปี 2546 ที่ผ่านมา ควรกล่าวด้วยว่า เธอเป็นตัวอย่างที่ดีของบทบาทผู้หญิงในสังคมหมู่บ้าน ในยุคเปลี่ยนผ่านของทุนนิยมภาคเกษตร ที่ต้องรับภาระอันหนักอึ้งในฐานะ ลูกสาว/ เมีย/แม่ ต้อยเริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงานเมื่ออายุ 16 ปี โดยไปเป็นคนงานโรงงานทอกระสอบที่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เธอทำงานอยู่ 15 ปี จากช่วงเริ่มแรกได้ค่าแรงวันละ 18 บาท จนปีที่ออกจากโรงงานปี 2534 ได้ค่าแรง 87 บาท เงินทองที่หาได้ส่งมาให้พ่อแม่และน้องๆที่ จ.อุบล ในปีที่แต่งงาน เธอย้ายจากบ้านของเธอในอีกอำเภอหนึ่งมาอยู่กับสามีที่บ้านแฮ เพราะสามีขาดคนดูแลพ่อผู้สูงอายุ
การศึกษาครอบครัวของต้อยได้พบลักษณะสำคัญ ก็คือ การพยายามบริหารจัดการทุนและแรงงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหาสมดุลระหว่างการเป็นผู้ผลิตการเกษตร กับการหารายได้นอกเหนือจากการเป็นผู้ผลิตการเกษตร ประวัติครอบครัวของต้อย อาจแบ่งออกเป็นสองช่วงคือ ช่วงก่อนเป็นหนี้ และช่วงเป็นหนี้
ช่วงก่อนเป็นหนี้
มีงานศึกษาสังคมชาวนาชิ้นสำคัญกล่าวว่า ชีวิตชาวนาเสมือนคนที่ยืนอยู่ในน้ำที่ท่วมขึ้นมาปริ่มจมูก ในสถานการณ์ปกติพวกเขาสามารถที่จะเอาตัวรอดได้อย่างหมิ่นเหม่ แต่หากเกิดแรงน้ำกระเพื่อมแม้เพียงน้อยนิด ก็เพียงพอจะทำให้พวกเขาสำลักน้ำตายได้
ในช่วงนี้ครอบครัวของต้อยยังไม่ประสบปัญหา เธอกล่าวว่าในปี 2534 ที่เข้ามาเป็นลูกสะใภ้ ได้เริ่มต้นปลูกข้าวขาย ในขณะนั้นในหมู่บ้านมีไม่กี่รายที่ปลูกข้าวขาย ส่วนใหญ่ที่ทำนาก็จะทำไว้กินเอง สถานการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องปกติสำหรับหมู่บ้านเกษตรกรรมชานเมือง ที่อยู่ในบริบทของราคาสินค้าเกษตรที่ไม่แน่นอน ในปีนั้นสาเหตุที่ครอบครัวต้อยตัดสินใจปลูกข้าวขาย เพราะ คิดว่าตนเองมีที่นาพอเพียง และมีแรงงานในครอบครัวที่พอจะช่วยเหลือกันได้
ในช่วงปี 2534- 2537 เธอใช้ที่นาที่มีอยู่ 12 ไร่ ทำการผลิต โดยแบ่งที่นาเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งปลูกข้าวเหนียวไว้กินเอง อีกส่วนหนึ่งปลูกข้าวเจ้าเพื่อขายโดยเฉพาะ ครอบครัวมีหลักคิดว่า จะต้องปลูกข้าวได้พอกินก่อน จึงจะใช้พื้นที่ที่เหลือปลูกข้าวขาย
การปลูกข้าวในช่วงนี้ แม้มีเป้าหมายว่าส่วนหนึ่งจะไว้กิน และอีกส่วนหนึ่งจะไว้ขาย แต่การผลิตบนพื้นที่ทั้งหมด ก็เป็นแบบเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ เพราะมีการลงทุนในขั้นตอนต่างๆ นับตั้งแต่ค่าจ้างไถนา ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าสารเคมีกำจัดหญ้า ปุ๋ย รวมทั้งการจ้างแรงงานในบางขั้นตอนที่นอกเหนือกำลังของสองคนผัวเมีย
เมื่อมองภาพออกมานอกไร่นา ก็จะพบการหารายได้ของครอบครัวจากด้านอื่นๆ ก็คือ ในช่วงเวลานอกเหนืองานในไร่นาสามีก็จะไปรับจ้างเป็นกรรมกรก่อสร้างในเขตเมืองวารินฯ หรืออุบลฯ ส่วนภรรยาก็จะทำขนมที่บ้าน และออกขี่จักรยานเร่ขายในหมู่บ้านและบริเวณใกล้เคียง ในช่วงที่สามีไม่มีงานรับจ้างก็จะมารับหน้าที่พ่อค้าขนมแทน
ในช่วงดังกล่าว พบว่าแม้จะทำงานอย่างหนักและต่อเนื่อง แต่ก็ไม่มีเงินเก็บ ซึ่งอาจวัดได้จาก ความตั้งใจของครอบครัวที่จะซื้อรถไถนา ราคาประมาณ 25,000 บาท แต่ในช่วงเวลา 3-4 ปีดังกล่าวก็ไม่มีเงินพอจะซื้อรถไถนาได้
ช่วงเป็นหนี้
กลางปี 2537 ครอบครัวของต้อยได้ตัดสินใจ ที่กลายเป็นความผิดพลาดซึ่งเป็นต้นเหตุของหนี้สินและความทุกข์ยากของครอบครัวมาจนทุกวันนี้ เนื่องจากเห็นว่าการผลิตที่ผ่านมาไม่สามารถสร้างสมฐานะได้ จึงตัดสินใจจะลงทุนเพาะเห็ดนางฟ้าขาย ในปีนั้นสามีของต้อยได้เข้ากลุ่มกับเพื่อน ขอกู้เงินจาก ธ.ก.ส. มา 50,000 บาท ใช้สร้างโรงเรือนและซื้อเชื้อเห็ด แต่ผลลัพธ์จากการลงทุนในปีนั้นก็คือ เชื้อเห็ดนางฟ้าที่เอามาเพาะไม่แตกช่อ กลายเป็นหนี้เต็มๆ เท่าจำนวนที่กู้มา
ในปี 2538- 2543 เป็นช่วงที่สองสามีภรรยาต้องทำงานหนักกว่าเดิมเพื่อหาเงินใช้หนี้ แต่ช่องทางก็มีจำกัด สิ่งที่ทำได้ก็คือเพิ่มเวลาทำงาน ในแต่ละวันให้มากขึ้น และประหยัดรายจ่ายในครอบครัวให้มากขึ้น ในช่วงนี้มีอยู่ปีหนึ่งที่สามีไปเป็น รปภ. ที่ห้างยงสงวนในเมืองอุบลฯ ทำงานวันละ 8 ช.ม. สัปดาห์ละ 6 วัน มีรายได้ 3,300 บาท ช่วงหนึ่งไปเป็น รปภ. ที่กรุงเทพฯ ได้เดือนละ 7,500 ส่งเงินมาให้ภรรยาทำนา
ปี 2544 เป็นปีที่ภรรยาเริ่มป่วยกระเสาะกระแสะ ไปตรวจพบว่าเป็นโรคปอด ที่มีเชื้อมาตั้งแต่ไปทำงานโรงงานทอกระสอบ เมื่อทำงานหนักอาการของโรคจึงกำเริบ จึงต้องกินยาตลอด และทำงานหนักไม่ได้ สามีจึงกลับจากทำงานกรุงเทพฯมาช่วยดูแล ในปีนี้ครอบครัวได้ตัดสินใจซื้อรถมอเตอร์ไซค์ เพราะงานแถวบ้านหายาก เมื่อมีรถสามีจะสามารถขี่ไปทำงานในที่อื่นๆได้ สำหรับการซื้อมอเตอร์ไซค์วางเงินดาวว์ 2,500 บาท และผ่อนงวดละ 1,650 เป็นเวลา 3 ปี ในปีเดียวกันนี้ครอบครัวได้เข้าโครงการพักหนี้เกษตรกรของรัฐบาลทักษิณ ได้พักหนี้เป็นเวลา 3 ปี
ปี 2545 ต้อยกู้เงินกองทุนหมู่บ้าน 10,000 บาท ซื้อจักรมารับจ้างเย็บผ้า เป็นการเย็บประกอบชิ้นส่วน เสื้อผ้าผ้าฝ้าย ให้กับร้านฝ้ายเข็น ซึ่งเป็นร้านขายของพื้นเมืองชื่อดังของจังหวัดอุบลฯ คิดค่าแรงเป็นจำนวนชิ้น ขึ้นกับความยากง่ายของแบบ ในช่วงนั้นทำงานต่อเนื่องตลอดวัน ได้รายได้ประมาณ 3,000 บาท/เดือน
ปี 2546 สามีของต้อยเสียชีวิตอย่างไม่คาดฝัน หลังจากที่ล้มเจ็บไม่กี่วัน ทั้งๆที่เป็นคนแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัว ซึ่งอาจเนื่องมาจากความเครียดและการทำงานหนัก จากนี้ต้อยต้องแบกรับภาระครอบครัวโดยลำพัง
ปี 2547 ที่ผ่านมาเป็นปีที่ต้อยรับภาระเลี้ยงดูครอบครัวคนเดียว กับหนี้สิน ธ.ก.ส. ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นรวมเป็น 70,000 กว่าบาท รวมทั้งหนี้กองทุนหมู่บ้านเงินต้นรวมดอกเบี้ย เป็นเงิน 10,600 บาท ในปีนี้ต้อยทำงานหนักกว่าเดิม เราจะลองพิจารณาผลตอบแทนที่ต้อยได้จากการทำงานทั้งปีซึ่งอาจแบ่งที่มาของรายได้เป็น 3 ช่องทางดังนี้
ช่องทางที่ 1 รายได้ที่มาในรูปค่าเช่าที่นา เนื่องจากทำนาคนเดียวไม่ไหวจึงแบ่งที่นา 7 ไร่ จาก 12 ไร่ ให้เพื่อนบ้านเช่า คิดค่าเช่าเป็นข้าวเปลือกไร่ละหนึ่งกระสอบ รวมได้ค่าเช่าเป็นข้าวเปลือก 7 กระสอบ อาจคิดมูลค่ารายได้ช่องทางนี้ โดย ข้าว 7 กระสอบ น้ำหนักประมาณ 700 ก.ก. ราคาข้าวเปลือกในปีนั้นตันละ 5,500 บาท (ค่าเฉลี่ยราคาข้าวเจ้า ที่เกษตรขายได้ที่ไร่นา ข้อมูลจากกรมเศรษฐกิจการเกษตร) = 0.7 x 5,500 = 3,850 บาท (ข้าวเปลือกที่ได้ในข้อนี้ใช้บริโภคในครัวเรือนทั้งหมด)
ช่องทางที่ 2 สำหรับที่นาที่เหลืออีก 5 ไร่ ใช้ปลูกข้าวเจ้าขาย ในปีดังกล่าวได้ลงทุนในขั้นตอนต่างๆดังนี้
- ค่าเมล็ดพันธุ์ 350 บาท
- ค่าจ้างรถไถนา ไถผลิกดินครั้งแรก 130 บาท/ไร่ เป็นเงิน 650 หลังจากทิ้งดินไว้ระยะหนึ่งไถซ้ำอีกครั้งพร้อมคราดหญ้า 200 บาท/ไร่ เป็นเงิน 1,000 บาท รวมค่าจ้างไถนา 2 ครั้ง 1,650 บาท
- ค่าจ้างดำนา 5 คนๆละ 130 บาท รวม 4 วัน เป็นเงิน 2,600 บาท รวมค่าเลี้ยงอาหารกลางวันคนมาดำนา 4 มื้อ ประมาณ 500 บาท รวมค่าจ้างและค่าอาหารดำนาเป็นเงิน 3,100 บาท
- ค่ายาฆ่าหญ้า 1 กระสอบราคา 300 บาท
- ค่าปุ๋ย 3 กระสอบต่อ 5 ไร่ กระสอบละ 500 บาท ใส่สองครั้งรวมเป็นเงินค่าปุ๋ย 3,000 บาท
- ค่าจ้างเกี่ยวข้าว จ้าง 2 คนๆละ 130 บาท จำนวน 3 วัน รวมเลี้ยงข้าวกลางวัน เป็น 1,000 บาท
- ค่าจ้างคนมัดข้าวที่เกี่ยวแล้วเป็นมัดๆ (เตรียมที่จะนวดข้าว) 400 บาท
- ค่าจ้างรถนวดข้าว 400 บาท
- รวมเงินทุนในการผลิตข้าวในพื้นที่นา 5 ไร่ เท่ากับ 10,200 บาท
(ควรกล่าวด้วยว่าไม่ได้คิดต้นทุนแรงงานของตัวเอง ที่เป็นกำลังหลักของการผลิตทุกขั้นตอน ไว้ในต้นทุนการผลิตของการทำนาด้วย)
ในปีดังกล่าวได้ผลผลิตข้าวจากเนื้อที่ 5 ไร่ คิดเป็นหนักประมาณ 2,500 ก.ก.
ขายได้ราคา ก.ก. ละ 5.5 บาท (ตันละ 5,500 บาท)
ดังนั้นขายข้าวได้เงินสุทธิ 2,500 x 5.5 = 13,750 บาท
ดังนั้น รายได้ (กำไร) จากการทำนา = ราคาที่ขายได้ ต้นทุน = 13,750 10,200 = 3,550 บาท
การหารายได้ช่องทางที่ 3 ที่นอกเหนือจากการเป็นผู้ผลิตการเกษตร
- รับจ้างดำนาและเกี่ยวข้าวให้กับเพื่อนบ้าน 30 วันๆละ 130 บาท รวมเป็นเงิน 3,900 บาท
- ปั้นดอกไม้จากแป้งข้าวโพดตามออเดอร์ สลับกับทำขนมขายในหมู่บ้าน และเย็บผ้าส่ง เฉลี่ยเดือนละ 3,000 บาท รวม 11 เดือน (หักเดือนที่รับจ้างทำนาออก) เป็นเงิน 33,000 บาท
- เลี้ยงจิ้งหรีด และนำมาทอดขายในหมู่บ้าน เฉลี่ยเดือนละ 500 บาท ทั้งปีได้ 6,000 บาท
- รวมรายได้จากช่องทางที่ 3 = 3,900+33,000+6,000 = 42,900 บาท
ดั้งนั้นในปี 2547 ที่ผ่านมา ต้อยมีรวมรายได้จาก 3 ช่องทาง = 3,850+3,550+ 42,900 = 50,300 บาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 4,191 บาท หรือวันละ 140 บาท
กล่าวโดยสรุปทั้งหมดนี้คือรายได้ ที่เกิดจากการบริหารจัดการทุนและแรงงาน อย่างสุดความสามารถของต้อย ซึ่งมีรายได้ที่คิดออกมาเป็นรายวัน มีมูลค่าใกล้เคียงกับค่าแรงขั้นต่ำของจังหวัดอุบลราชธานีในปีนั้น ซึ่งอยู่ที่ 137 บาท
รายได้วันละ 140 บาท คือจำนวนเงินที่ต้อยใช้เลี้ยงสมาชิกในครอบครัว ซึ่งปัจจุบันมีลูก 2 คน คนโตเรียนชั้น ม.1 และ คนเล็กเรียนชั้น ป.5 พร้อมกับพ่อตาอายุ 80 ปี
ที่มา http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content2/show.pl?0326
. |
|
|
Pum_NWF_Rayong |
ตอบ: 16/09/2009 10:57 am ชื่อกระทู้: หนี้สินเกษตรกรในยุคประชานิยม |
|
.
.
หนี้สินเกษตรกรในยุคประชานิยม
พฤกษ์ เถาถวิล - [ 27 ส.ค. 48, 22:50 น. ]
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เอกสารประกอบการประชุมกรรมาธิการภาคประชาชนตรวจสอบนโยบายความยากจนและสังคมครั้งที่ 1 เรื่อง
นโยบายประชานิยมกับการแก้ไขปัญหาความยากจน
25-26 สิงหาคม 2548 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารประชาธิปก รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
มีงานศึกษาจำนวนมากยืนยันได้อย่างหนักแน่นว่า ปัญหาหนี้สินเกษตรกร เป็นผลลัพธ์ของปัญหาเชิงนโยบายของรัฐ ดังต่อไปนี้
ประการแรก การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยใช้ภาคเกษตรกรรมเป็นฐานของความเจริญ ดังจะพบว่าลักษณะสำคัญของแผนพัฒนาประเทศ นโยบาย กฎหมาย ฯลฯ ที่ผ่านมาก็คือ การเป็นเครื่องมือถ่ายโอนทรัพยากรและมูลค่าส่วนเกินจากภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคส่วนอื่นๆของสังคม เช่น ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ก็คือกระบวนการกีดกันแย่งชิงปัจจัยยังชีพไปจากชนบท ในนโยบายภาษีก็แสดงให้เห็นความลำเอียงปกป้องผลประโยชน์ของภาคหัตถอุตสากรรมและคนมั่งมี หรือการสร้างภาระให้แก่เกษตรกรอย่างตรงไปตรงมาเช่น การเก็บภาษีพิเศษที่เรียกว่า ค่าพรีเมี่ยมข้าว ในช่วงทศวรรษแรกของแผนพัฒนาประเทศ ฯลฯ
ประการที่สอง การสนับสนุนทุนนิยมการเกษตรกร ในลักษณะพิเศษที่เรียกว่า ทุนนิยมค่าเช่า (rent capitalism) ที่กลุ่มทุนการเกษตรขูดรีดมูลค่าส่วนเกินจากเกษตรกรผ่านค่าเช่าทางเศรษฐกิจ ในรูปแบบต่างๆ เช่น ค่าเช่าที่ดิน ดอกเบี้ยเงินกู้ กำไรจากการกดราคา และการได้ประโยชน์จากภาษีที่รัฐจัดเก็บ ในระบบนี้กลุ่มทุนจะไม่ลงทุนเป็นผู้ผลิตเอง แต่จะใช้สถานะที่ได้เปรียบหาประโยชน์จากผู้ผลิต ฝ่ายเกษตรกรก็ตกอยู่ในภาวะที่ต้องขึ้นต่อเงื่อนไขของกลุ่มทุน เราจึงพบว่า กลุ่มทุนการเกษตรในประเทศไทยได้เติบโตเป็นทุนระดับโลก แต่เกษตรกรไทยที่ตั้งหน้าตั้งตาผลิตกลับกลายเป็นหนี้สินมากขึ้นๆ
ประการที่สาม การใช้นโยบายการค้าเสรีอย่างเลือกปฏิบัติ การตกลงของรัฐบาลในเรื่องการเปิดเสรีการเกษตร ได้แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าผู้ได้ประโยชน์ก็คือบรรดากลุ่มทุนการเกษตร ส่วนเกษตรกรได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากความไม่พร้อมแข่งขัน ในขณะที่ใช้นโยบายการค้าเสรีกับเกษตรกรอย่างเคร่งครัด แต่ในระดับนโยบายและปฏิบัติติการ รัฐกลับยังให้ประโยชน์แก่กลุ่มทุน ทั้งในรูปของภาษี การส่งเสริมการลงทุน การส่งเริมส่งออก การเปิดโอกาสให้เข้าถึงอำนาจในการกำหนดนโยบายรูปแบบต่างๆ เสรีการเกษตรจึงเป็นเพียงข้ออ้างในการแสวงหาประโยชน์จากเกษตรกรมากขึ้น
ปัญหาใหญ่ๆ อย่างน้อย 3 ประการที่ยกมา ชี้ให้เห็น ปัญหาเชิงนโยบายของรัฐ ที่จงใจให้เกษตรกรแบบรับภาระของการพัฒนาประเทศ เพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มอื่นๆในสังคมอย่างไร้ความเป็นธรรม
ในปี พ.ศ. 2543 และ 2544 ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้วิจัยกระบวนการเป็นหนี้สินของเกษตรกร และประเมินผลโครงการพักหนี้เกษตรกรของรัฐบาล ตามลำดับ โดยศึกษาข้อมูลเชิงลึกในหมู่บ้านภาคเหนือหลายแห่ง ทำให้ได้รายงานการวิจัยที่สนับสนุนข้อสรุปข้างต้น โดยได้ช่วยเพิ่มเติมรายละเอียดของกระบวนการเป็นหนี้สิน ในบริบททางเศรษฐกิจสังคมของภาคเหนือ ซึ่งอาจสรุปเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
1) การแสดงให้เห็นผลลัพธ์จากการปิดกั้นการพึ่งพาทรัพยากร จากนโยบายอนุรักษ์ของรัฐ ที่ทำให้หลังอิงในการดำรงชีวิตของเกษตรกรถูกทำลาย
2) สภาวะที่เกษตรกรถูกดึงเข้าสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ โดยตกเป็นฝ่ายที่ถูกควบคุมและกำหนดการผลิตและผลตอบแทนโดยกลุ่มทุน
3) การที่สถาบันการเงินเพื่อการเกษตรของรัฐ (ธ.ก.ส.) กลายเป็นส่วนหนึ่งของสายพานการขูดรีด ที่ทำให้เกษตรกรถลำลึกสู่หนี้สินมากขึ้น
4) สภาวะที่ครอบครัวต้องผลิตซ้ำกำลังแรงงาน หรือพยายามเลี้ยงดูครอบครัวให้เป็นปกติสุข ในภาวะที่ขาดแคลนสวัสดิการสังคมจากภาครัฐในระดับที่ควร
5) และการพิสูจน์ให้เห็นว่า โครงการพักหนี้เกษตรกร เป็นโครงการที่ไร้ความเข้าใจกระบวนการเป็นหนี้สินของเกษตรกรโดยสิ้นเชิง และมีแนวโน้มว่าจะทำให้ผู้เข้าโครงการพักหนี้ประสบปัญหาซับซ้อนไปอีก
ในโอกาสนี้ผู้เขียนใคร่ขอเสนอข้อสรุปจากการศึกษาหมู่บ้านแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ที่ทำการวิจัยในเดือนกรกฎาคม 2548 ที่ผ่านมา เพื่อช่วยเพิ่มเติมความเข้าใจสาเหตุการเป็นหนี้สินของเกษตรกร และเป็นการประเมินอีกครั้งต่อ แนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐ ที่มุ่งหาเสียงมากกว่าการแก้ปัญหาที่แท้จริง
ที่มา http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content2/show.pl?0326
. |
|
|