ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 17/12/2019 2:02 pm ชื่อกระทู้: |
|
.
.
นาข้าวล้มตอซัง ....
26 AUG
จาก : (082) 177-23xx
ข้อความ : ลุงคิมมีข้อมูลเรื่องต้นทุนนาย่ำตอซังไหมคะ ....ขอบคุณค่ะ
จาก : (064) 893-15xx
ข้อความ : เห็นด้วย นาข้าวใส่ปุ๋ยไร่ละ 2 สอบ 100 โล ต้นข้าวได้ปุ๋ยแค่ 2 ตัว เม็ดลีบ ท้องไข่ ไม่ใส ไม่แกร่ง ความชื้นสูง ได้ข้าวน้อย ถูกตัดราคา ให้ลุงสู้ต่อไป .... หนุ่มโรงงาน ลูกชาวนา
จาก : (089) 053-10 xx
ข้อความ : ผมทำนาตามสูตรของลุงคิม ผลผลิตดีขึ้นกว่าเดิม อีก 3 วันจะเกี่ยวข้าวนาดำ ขอให้ลุงคิมแนะนำการล้มตอซัง เพื่อลดต้นทุนหน่อยครับ ท้ายนี้ขอให้ลุงคิม....(ข้อความไม่ครบ)
ตอบ :
ว่ามั้ย....
* นี่คือ เทคนิค-เทคโนโลยี การผลิต .... เทคนิค คือ วิธีการ .... เทคโนโลยี คือ หลักวิชาการ
* ปรัชญา 10 ล้อ .... พื้นที่เท่าเดิม-ต้นทุนเท่าเดิม-ระยะเวลาเท่าเดิม-แรงงานเท่าเดิม แต่ ทำแบบใหม่ เอาเทคนิคเทคโนมาจับมาใช้ = ได้มากกว่า
* ทำแบบเดิม ทำตามคนที่ล้มเหลว สถานการณ์ชีวิตคงไม่มีอะไรดีขึ้น
* รัฐช่วย + ตัวเองช่วย + ข้างบ้านช่วย + ธรรมชาติช่วย + ลุงคิมช่วย = ได้ 5 เด้ง
* ต้นตอที่แท้จริงของปัญหาอยู่ที่ ใจ เพราะใจไม่รับ สิ่งใหม่-วิธีใหม่ ที่ถูกต้องตามธรรมชาติของพืช คือ ปลูกพืชตามใจพืช ไม่ใช่ตามใจคน คนที่ว่าก็ไม่ใช่ตัวเอง กลับเป็นคนอื่น
*
ข้อดีของการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง
1. ลดต้นทุนการผลิต ค่าเตรียมดิน ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าสารเคมีควบคุมและกำจัดวัชพืช ฯลฯ ไร่ละประมาณ 900 บาท
2. ย่นระยะเวลาการปลูกข้าวให้เร็วขึ้น 10-15 วัน (ไม่เสียเวลาเตรียมดินและหว่านข้าว)
3. เป็นการรักษาสภาวะแวดล้อม เพราะลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและหอยเชอรี่
4. ลดปัญหาการเผาฟางข้าว โดยนำมาใช้ประโยชน์ในการคลุมแปลงนาเพื่อรักษาความชื้นในดิน
ต้นทุนนาข้าว 1 ไร่ :
.. รายการ ............. การทำนาหว่านน้ำตม (บาท/ไร่) ............ การปลูกข้าวตอซัง .
1. ค่าเตรียมดิน........................ 250 .................................... -
2. ค่าล้มตอ กระจายฟาง
........... - ....................................... 80
3. ค่าเมล็ดพันธุ์....................... 120 ..................................... -
4. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง.................. 300 .................................... 150
5. ค่าปุ๋ยเคมี.......................... 480
......................... 282
6. ค่าสารกำจัดวัชพืช................. 165
............................
7. ค่าสารกำจัดหอย..................... -
.............................. -
8. ค่าสารกำจัดศัตรูพืช.................141....................................... 91
9. ค่าจ้างหว่านข้าว..................... 40 ....................................... -
10. ค่าจ้างหว่านปุ๋ย.................... 120 ...................................... 80
11. ค่าจ้างพ่นสารกำจัดวัชพืช ......... 80 ........................................ -
12. ค่าจ้างพ่นสารกำจัดศัตรูพืช ....... 120 ...................................... 80
13. ค่าจ้างเก็บเกี่ยว.................... 250 ..................................... 250
14. ค่าจ้างขนส่ง....................... 100 ..................................... 100
ต้นทุนการผลิตรวม (บาท/ไร่) ........ 2,166 .................................. 1,113
ผลผลิตข้าวเปลือก (กิโลกรัม/ไร่) ..... 958 ...................................... 975
ราคาขาย (บาท/กิโลกรัม) ............ 5.90 .................................... 5.90
รายได้รวม (บาท/ไร่).................. 5,652 .................................. 5,752
รายได้สุทธิ (บาท/ไร่)................. 3,486 ................................... 4,639
ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี (2549)
ตาราง เปรียบเทียบต้นทุนการผลิต ผลผลิต รายได้รวม และรายได้สุทธิจากการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง กับการทำนาหว่านน้ำตม ปีการผลิต 2549 ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
ข้าวล้มตอ : การทำนาสูตรประหยัด
เรื่อง/ภาพ เสมอชน ธนพัธ
CASE STUDY กรณีศึกษา คิด-วิเคราะห์-เปรียบเทียบ :
* ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้เป็นต้นทุนเพียวๆ ทำแบบเดิมๆ
* ต้นทุนทั้งหมดทั้งสิ้นนี้สามารถลดได้ด้วย เทคนิค-เทคโนโลยี
* ต้นทุนรายการไหน ตัด/ลด/ปรับ/เปลี่ยน ได้ ให้ทำ
* ต้นทุนรายการไหน หลายรายการรวมกันเป็นรายการเดียว ได้ ขอให้ทำ
* ต้นทุนค่าจ้าง จ้างให้ทำอะไร อย่างไร เท่าไหร่ เพราะอะไร เพื่ออะไร ฯลฯ
-----------------------------------------------------------------------------------
ข้าว .... นาข้าวล้มตอซัง :
หลักการและเหตุผล :
- ข้าว คือ พืชตระกูลหญ้า ลักษณะการขยายพันธุ์อย่างหนึ่งระหว่างต้นข้าวกับต้นต้นหญ้าที่เหมือนกัน คือ หลังจากลำต้นถูกตัดไปจนเหลือแต่ตอแล้ว ยังสามารถแตกหน่อใหม่จากข้อที่ตอแล้วเจริญเติบโตจนออกดอกติดผลได้ โดยผลผลิตที่ได้ยังมีคุณภาพและปริมาณไม่ต่างจากต้นข้าวหรือต้นหญ้าปลูกใหม่แต่อย่างใด ..... นั่นคือ ปลูก 1 ครั้ง เกี่ยวได้ 3 รอบ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำนาข้าวแบบล้มตอซังที่เห็นได้ชัด คือ ลดต้นทุนค่าไถ ทำเทือก หมักฟาง หว่าน/ดำ เมล็ดพันธุ์ และอื่นๆ ที่ต้องเตรียมการก่อนลงมือหว่านดำ
แนวทางปฏิบัติ
1. หลังจากเกี่ยวข้าวด้วยมือหรือรถเกี่ยวเสร็จ ให้สำรวจหน้าดินว่ายังมีความชื้นเพียงพอต่อการที่จะทำนาแบบล้มตอซังต่อไปหรือไม่ กล่าว คือ ดินต้องมีความชื้นระดับนำขึ้นมาปั้นเป็นลูกยางหนัง สติ๊กได้พอดีๆ ไม่อ่อนเละหรือแข็งเกินไปจนปั้นเป็นลูกกลมๆไม่ได้
วัตถุประสงค์ของการสำรวจความชื้นหน้าดิน ก็เพื่อจะได้อาศัยความชื้นนี้ส่งเสริมให้เกิดการแตกยอดใหม่จากตอซังนั่นเอง
2. ผลสำรวจความชื้นน้าดิน ถ้ายังมีระดับความชื้นตามต้องการแล้ว ให้ลงมือเกลี่ยเศษฟางที่รถเกี่ยวพ่นออกมา ทั้งส่วนที่กองทับอยู่บนตอซังและบริเวณอื่นๆ หรือกรณีเกี่ยวด้วยมือก็ให้เกลี่ยตอซังที่ล้มทับกันให้แผ่กระจายออกเสมอกันทั่วทั้งแปลง
วัตถุประสงค์ของการเกลี่ยฟาง ก็เพื่อให้มีฟางปกคลุมหน้าดินหนาเสมอกันเท่ากันทั้งแปลงนั่นเอง
3. ดัดแปลงยางนอกรถบรรทุก 10 ล้อ จำนวน 6-8 วง นำมาต่อกันทางข้างเกิดเป็นหน้ากว้าง แล้วเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยมีเพลาเป็นแกนกลาง เรียก ว่า ล้อย่ำตอซัง เมื่อจะใช้งานก็ให้ใช้รถไถเดินตามลากล้อย่ำตอซังนี้วิ่งทับไปบนฟาง วิ่งทับทั้งส่วนที่ยังเป็นตอซังตั้งอยู่ และเศษฟางที่เกลี่ยแผ่กระ จาย ออกไป...กรณีรถที่ลากล้อย่ำตอซังควรเป็นรถไถเดินตามหรือรถไถนั่งขับขนาดเล็กเท่านั้นเพราะจะได้น้ำหนักที่พอดีต่อการย่ำตอ ไม่ควรใช้รถไถใหญ่เพราะจะทำให้ตอซังช้ำเสียหายมากเกินไป
วัตถุประสงค์ของการใช้รถย่ำน้ำหนักเบา ก็เพื่อรักษาข้อของลำต้นส่วนที่เป็นตอที่อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดินไม่ให้แตกช้ำมาก เพราะต้องการให้เกิดการแตกยอดใหม่ออกมาจากข้อใต้ผิวดินมากกว่า แต่ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือผิวดินต้องให้แตกช้ำจนไม่สามารถแตกยอดใหม่ได้
ยอดที่แตกออกมาจากข้อของลำต้นส่วนที่อยู่เหนือผิวดิน จะเป็นยอดที่ไม่มีคุณภาพ แต่ยอดที่แตกออกมาจากข้อของลำต้นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดินจะเป็นยอดที่มีคุณภาพดี จำนวนรอบในการย่ำกำหนดตายตัวไม่ได้ ทั้งนี้ให้สังเกตลักษณะตอหลังจากย่ำไปแล้วว่าแตกช้ำเฉพาะส่วนที่อยู่เหนือผิวดินแต่ส่วนที่อยู่ใต้ผิวดินยังดีอยู่ นอกจากนี้ระดับความชื้นหน้าดิน (อ่อน/แข็ง) กับน้ำหนักของล้อย่ำตอซังและน้ำหนักรถลากก็มีส่วนทำให้ตอเหนือผิวดินกับตอใต้ผิวดินแตกช้ำมากหรือน้อยอีกด้วย
4. หลังจากย่ำฟางและตอซังแล้ว ถ้าหน้าดินมีความชื้นพอดีก็ให้ปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้นแต่ถ้าหน้าดินมีความชื้นน้อยถึงน้อยมากจำเป็นต้องฉีดพ่นน้ำเปล่าบ้างเพื่อเพิ่มความชื้น ซึ่งขั้นตอนฉีดพ่นน้ำนี้ จะต้องพิจารณาความเหมาะสมว่าคุ้มค่าต้นทุนหรือทำได้หรือไม่และเพียงใด
- แปลงนาที่เนื้อดินมีอินทรีย์วัตถุและสารปรับปรุงบำรุงดินสะสมมานาน แม้หน้าดินจะแห้งถึงระดับรถเกี่ยวเข้าทำงานได้สะดวกดีนั้น เนื้อดินด้านล่างลึกจะยังคงมีความชุ่มชื้นอยู่ถึงระดับช่วยให้ตอซังแตกยอดใหม่ได้
- ฟางที่เกลี่ยดี นอกจากจะช่วยป้องกันแสงแดดจัดเผาหน้าดินจนแห้งแล้ว ยังช่วยรักษาความชื้นให้แก่หน้าดินและจุลินทรีย์อีกด้วย
5. หลังจาก ย่ำตอ-ปล่อยทิ้งไว้ หรือ ย่ำตอ-ฉีดพ่นน้ำเพิ่มความชื้น แล้ว จะมียอดใหม่แตกออกมาจากข้อของตอใต้ผิวดินแล้วแทงทะลุเศษฟางขึ้นมาให้เห็น ให้รอจนระทั่งยอดแตกใหม่เจริญเติบโตเป็นต้นกล้าข้าวได้ใบใหม่ 2-3 ใบ ก็ให้ปล่อยน้ำเข้า พร้อมกับควบคุมระดับน้ำให้พอเปียกหน้าดินหรือท่วมคอต้นกล้าใหม่
- แปลงนาที่ผ่านการ เตรียมแปลง โดยปรับหน้าดินราบเสมอกันดี น้ำที่ปล่อยเข้าไปจะเสมอกันทั้งแปลง ส่งผลให้ต้นข้าวทั้งที่แตกใหม่และเป็นต้นโตแล้วได้รับน้ำเท่ากันทั่วทั้งแปลง ซึ่งต่างจากแปลงที่บางส่วนดอน (สูง) บางส่วนลุ่ม (ต่ำ) จึงทำให้ระดับน้ำลึกไม่เท่ากัน สุดท้ายก็ส่งผลให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่เท่ากันอีกด้วย
- ต้นข้าวที่งอกขึ้นมาใหม่จะมีทั้งต้นที่งอกขึ้นมาจากข้อของตอ ต้นที่งอกขึ้นมาจากเมล็ดข้าวร่วง และเมล็ดที่หลุดออกมาจากรถเกี่ยว ซึ่งแหล่งกำเนิดของต้นข้าวเหล่านี้ไม่มีผลต่อคุณภาพและปริมาณในอนาคตแต่อย่างใด
บางบริเวณอาจจะไม่มีหน่อหรือยอดต้นข้าวแตกใหม่จากข้อของตอใต้ดิน เนื่องจากส่วนตอใต้ผิวดินบริเวณนั้น ถูกย่ำทำลายโดยล้อสายพานรถเกี่ยวช้ำเสียหายจนไม่อาจงอกใหม่ได้นั่นเอง
วิธีแก้ไข คือ ให้ขุดแซะต้นกล้าที่งอกจากตอบริเวณที่หนาแน่นกว่าบริเวณอื่น ขุดแซะพอให้มีดินหุ้มรากติดมาบ้างเล็กน้อยแล้วนำมาปลูกซ่อมลงในบริเวณที่ตอถูกทำลายจนไม่มีหน่อหรือยอดใหม่
- ต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดโดยการหว่านหรือดำ อัตราการแตกกอจะต่างกัน เช่น ข้าวพันธุ์สุพรรณ-1 มีอัตราการแตกหน่อดีมาก ส่วนข้าวพันธุ์ชัยนาท-1 และปทุมธานี-1 มีอัตราการแตกหน่อพอใช้ได้ หรือดีน้อยกว่าสุพรรณ-1 ในขณะที่การทำนาข้าวแบบล้มตอซังซึ่งจะมีต้นใหม่งอกออกมาจากข้อของตอซังนั้นการแตกกอก็ต่างกันอีก กล่าวคือ ข้าวพันธุ์สุพรรณ-1 อัตราการแตกกอไม่ค่อยดี ข้าวพันธุ์ ชัยนาท-1 แตกกอดีพอ ประมาณ และข้าวพันธุ์ปทุมธานี-1 อัตราการแตกกอไม่ดี
- ขั้นตอนปล่อยน้ำเข้าแปลงเพื่อหล่อเลี้ยงต้นข้าวเกิดใหม่ หลังจากปล่อยน้ำเข้าจนได้ระดับที่เหมาะสมแล้วใส่ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5 ล.+ 16-8-8(5 กก.)/1 ไร่ โดยการฉีดพ่นให้ทั่วแปลง
6. หลังจากต้นกล้าที่แตกออกมาจากข้อของตอใต้ผิวดิน ต้นกล้าปลูกซ่อม และต้นกล้าจากเมล็ดข้าวร่วง เจริญเติบโตขึ้นมาได้แล้วก็ให้เข้าสู่
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อต้นข้าวด้วยวิธี ทำนาข้าวแบบประณีตต่อไปจนกระทั่งถึงเก็บเกี่ยว
-------------------------------------------------------------------------------------
จาก : (084) 776-9881
ข้อความ : (คัดย่อ) รายงานผล นาข้าวล้มตอซัง 15 ไร่ ได้ 15 เกวียน ขายได้ 200,000 ลงทุน 20,000 ใช้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า, ทุกตัว ไม่ +เพิ่มปุ๋ยเคมีเลย มาอย่างไรใช้อย่างนั้น....พนม สุพรรณบุรี
ตอบ :
พนม : สวัสดีครับ ลุงผู้พัน ผมพนมครับ
ลุงคิม : เออ พนม นาข้าวล้มตอซังเป็นไงบ้างวะ ?
พนม : เกี่ยวแล้วครับ ข้าว กข.41 นาหว่าน เกี่ยววันนี้ 15 ไร่ได้ 15 เกวียน เอาไปขายที่โรงสีได้ 200,000 ครับ
ลุงคิม : ต้นทุนล่ะ ?
พนม : โอ้โฮลุงผู้พัน ไม่น่าเชื่อ 15 ไร่ ลงทุนไม่ถึง 20,000 เท่านั้นเอง
ลุงคิม : ทำไมต้นทุนมันต่ำนักวะ ?
พนม : จริงครับลุงผู้พัน ย่ำตอซังรุ่นนี้ ค่าไถไม่มี ค่าย่ำเทือกไม่มี ค่าเมล็ดพันธุ์ไม่มี ค่าหว่านไม่มี มีอย่างเดียวค่าย่ำตอเท่านั้น อันนี้ก็คือค่าย่ำเทือกตัวเดียวกัน แต่ย่ำตอรถมันวิ่งได้เร็วกว่าย่ำเทือก น้ำมันเลยใช้น้อยกว่าครับ
ลุงคิม : อืมมม พนม ช่วยเล่าวิธีย่ำตอหน่อยซีว่า มีขั้นอะไร ยังไงบ้าง ?
พนม : คืองี้ครับลุงผู้พัน .... ก่อนเกี่ยว 5-7 วัน เอาน้ำเข้า กะว่าน้ำเต็มแปลงทั่วกันทั้งแปลงดีแล้ว ไขน้ำออกให้เหลือติดหน้าดินพอเจ๊าะแจ๊ะ ที่เอาน้ำใส่ก่อนเกี่ยวก็เพื่อให้ดินมันชุ่มน้ำน่ะครับ....
ตอนเกี่ยว เราก็เลือกรถเกี่ยวที่มันกระจายเศษฟางได้ด้วย อันนี้เราจะได้ไม่ต้องมาเกลี่ยฟางอีก เพราะตรงไหนถ้าเศษฟางหนามากๆ การแตกกอใหม่ตรงนั้นจะไม่ดี ....
พอรถเกี่ยวเสร็จ กระทงต่อกระทง เราลงมือย่ำตามรถเกี่ยวเลย อย่าทิ้งไว้ข้ามวันข้ามคืน ...
รถย่ำผมใช้อีขลุบหรือลูกทุบแบบฟันเหล็กดีกว่าฟันไม้ เพราะจะทำให้ตอฉีกแตกเละดีกว่า คือเราอย่าให้หน่อใหม่แตกจากข้อที่ต้น แต่ให้แตกขึ้นมาจากรากไต้ดิน กับอีกอย่างหนึ่ง ใช้อีขลุบย่ำดีกว่าใช้ล้อยางรถ เพราะล้อยางทำใด้แค่ตอล้ม ลำต้นที่เป็นตอไม่ฉีกขาด ถ้าตอยังเป็นลำอยู่จะแตกหน่อใหม่ที่ข้อ หน่อแบบนี้ไม่ดี แต่ถ้าตอฉีกแตกแล้ว เมื่อหน่อใหม่แทงจากข้อไม่ได้ก็จะแทงจากรากขึ้นมาเอง หน่อจากรากนี้ดีครับ
ลุงคิม : แล้วน้ำเข้า ใส่ระเบิดเถิดเทิงตอนไหน ?
พนม : ครับลุงผู้พัน ไม่น่าเชื่อครับ หลังย่ำเสร็จแค่ 2-3 วันเท่านั้นแหละ แหวกซังข้าวดู เห็นหน่อแทงใหม่เต็มปื้ดเลย จากข้าวแค่กอเดียวแตกหน่อใหม่เป็นสิบๆ ที่มันแตกหน่อใหม่ขึ้นมาได้เพราะน้ำในดินที่เคยใส่ไว้ตั้งแต่ก่อนเกี่ยวนั่นแหละครับ อันนี้เราต้องให้มีน้ำในดินแค่ชื้นนิดๆ เท่านั้น แค่เดินแล้วรู้สึกนุ่มเท้าก็พอ แต่ถ้าดินชุ่มมากเขาจะไม่ค่อยงอก ....
ปล่อยไว้อีก 7-10-15 วัน หน่อข้าวแทงพ้นเศษฟางขึ้นมาให้เห็นแล้ว โอ้โฮ ลุงผู้พัน หน่อข้าวขึ้นใหม่แน่นกว่าหว่านครั้งแรกซะอีก ถึงตอนนี้เราก็เริ่มเอาน้ำเข้า เข้าพอปริ่มๆตอ แล้วให้รถฉีดน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ไร่ละ 2 ล. อย่างที่ลุงผู้พันบอก ปรับหัวฉีดให้เม็ดน้ำใหญ่ๆ แล้วฉีดอัดลงหน้าดินไปเลย เท่านั้นแหละครับ
ลุงคิม : รถฉีด .... ไหนเล่าเรื่องรถฉีดที่ว่าให้ฟังหน่อยซิ รูปร่างหน้าตามันเป็นยังไง ?
พนม : เป็นรถฉีดพ่นไทยประดิฐษ์ธรรมดาๆนี่แหละครับ คนนั่งขับ มีเครื่องยนต์ทั่วๆไป บนรถบันทุกน้ำผสมปุ๋ยได้ครั้งละ 350 ลิตร มีแขนติดหัวพ่นยื่นออกด้านข้าง ปรับความยาวแขนพ่นได้ข้างละ 5 เมตร ด้านหน้าล้อจะมีครีบแหวกต้นข้าวให้ล้อวิ่งไป ล้อจะได้ไม่ทับต้นข้าว ถึงจะทับต้นข้าวล้มบ้าง แค่คืนเดียวต้นข้าวก็ตั้งคืนอย่างเก่าได้แล้ว ฉีดได้ตั้งแต่ระยะข้าวเล็กถึงระยะข้าวใหญ่ใกล้เกี่ยวเลยแหละครับ ค่าจ้างก็ไร่ละ 60 บาท วันนึงทำงานได้เป็นร้อยๆไร่ ประหยัดกว่า ได้เนื้องานดีกว่า คนเดินฉีดเยอะเลยครับ
ลุงคิม : สุดยอดว่ะ .... เอาละ ถึงขั้นตอนหน่อใหม่เริ่มโตแล้ว เริ่มบำรุงยังไง ?
พนม : ผมก็เอาไบโออิ กับยูเรก้า นี่แหละครับ น้ำ 200 ล. ใส่ไบโออิ 100 ซีซี. ยูเรก้า 100 ซีซี. เท่านี้แหละครับ
ลุงคิม : ปุ๋ยสูตรเร่งแตกกอ 18-38-12 ไม่ได้ใส่เหรอ ?
พนม : ไม่ได้ใส่ครับลุงผู้พัน ผมเอาแค่นี้จริงๆ มันก็แตกกอดีนี่ครับ ข้าวแน่นยิ่งกว่าหว่านครั้งแรกซะอีกแน่ะครับ
ลุงคิม : อืมมมว่ะ ถ้าแบบนี้เอาไบโออิอย่างเดียวเดี่ยวๆก็พอ จะได้ไม่เปลือง เอาวะ เกินดีกว่าขาด ยังไงๆก็ดีกว่าอั้ยลิตรละ 3,000 ลิตรละ 10,000 มั้ง
พนม : แน่นอนครับลุงผู้พัน ผมสั่งซื้อจากคาราวานชาตรี แค่อย่างละแกลลอน ทั้งรุ่นยังใช้ไม่หมดเลย คนแถวบ้านผมบอกไม่เชื่อ ใส่ปุ๋ยแค่นี้มันโตได้ยังไง ปุ๋ยทางดินก็ไม่ได้หว่านใหม่ๆ ก็มีแต่คนแนะนำให้ใส่ยูเรีย ใส่ 16-20 ผมก็ไม่ใส่ ถึงไม่ได้ใส่ข้าวก็โตปกติ เผลอๆ โตดีกว่าของคนที่บอกให้ใส่ด้วย สุดท้ายข้าวออกมา ของผมขายแล้วเหลือกำไรมากกว่า คนที่เคยบอกวันนี้เงียบไปเลย
ลุงคิม : บำรุงระยะอื่นล่ะ ?
พนม : ก็นั่นแหละครับ ช่วงตั้งท้องผมให้ไทเป น้ำ 200 ล. ใส่ไทเปแค่ 200 ซีซี. ไม่ใส่ 0-52-34 หยุดสูง ไม่ใส่ ยูเรีย เป็นสารลมเบ่ง ข้าวก็ออกรวงดีครับ
ลุงคิม : ระยะน้ำนมล่ะ ?
พนม : ผมก็เอา น้ำ 200 ล. ใส่ไบโออิ 100 ซีซี. ใส่ยูเรก้า 100 ซีซี. ให้ไปแค่ 2-3 รอบมั้ง ข้าวก็ดีนึ่ครับ ไม่มีข้าวลีบ ไม่เป็นท้องไข่ โรงสีบอกเมล็ดแกร่งดีด้วย
ลุงคิม : เอาวะพนม ลูกกับเมียเป็นไง หน้าบานเลยไหม ?
พนม : สุดยอดครับลุงผู้พัน แต่อย่างว่าแหละครับ เบื่อสอนพวกหัวรั้นครับ
ลุงคิม : เฮ่ยยยย เบื่อไม่ได้ วันนี้เขายังไม่รับก็ปล่อยไปก่อน วันไหนเขาหันมาหาเรา ช่วยสอนเขาด้วยก็แล้วกัน โดยเฉพาะสอนเรื่องต้นทุนที่จ่ายๆออกไป
พนม : ครับลุงผู้พัน
ลุงคิม : แล้วนารุ่นหน้าวางแผนยังไง ?
พนม : ครับ รุ่นนี้พอเกี่ยว เสร็จ ผมไถพลิกกลบฟางฝังกลบลงไปก่อนเลย ตอนนี้น้ำท่วมเริ่มมาแล้ว กะปล่อยให้น้ำท่วมหมักฟางซักพัก น้ำลงก็จะย่ำเทือกเลย ไม่ต้องไถ กะเอาอย่างที่ลุงผู้พันเคยบอก ใส่ระเบิดเถิดเทิงแล้วย่ำเทือกเลยน่ะครับ
ลุงคิม : อืมมม งวดหน้าอาจจะต้องเพิ่ม 16-8-8 ซักหน่อยนะ
พนม : ครับ ตอนทำเทือกว่าจะยังไม่เพิ่ม แต่จะรอดูตอนแตกกอต้นกลมก่อน ถ้าต้นสมบูรณ์ดีก็ไม่ต้องเพิ่ม ยังไงๆก็ยังทันไม่ใช่เหรอครับลุงผู้พัน ?
ลุงคิม : ใช่ ถูกต้อง ถึงตอนนั้นต้นมันจะฟ้องออกมาเองว่าปุ๋ยพอหรือไม่พอ
พนม : ครับลุงผู้พัน
ลุงคิม : O.K. พนม วันนี้แค่นี้ก่อนวะ น้ำลดเริ่มลงนาค่อยว่ากันอีกที
พนม : ครับลุงผู้พัน ขอบคุณลุงผู้พันที่สุดเลยครับ
----------------------------------------------------------------------------------
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1707&page=1
นาข้าวล้มตอซัง.....
. |
|
|
kimzagass |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 17/12/2019 1:50 pm ชื่อกระทู้: |
|
.
.
นาหยอด....
http://sangkhom.udonthani.doae.go.th/km/6-56/ทำนาหยอดน้ำตม.pdf
ท้านาหยอดน้้าตม ต้นทุนต่ำ กำไรสูง ลดต้นทุน เพิ่มรายได้
ข้าวสวย เป็นแถว ไม่ต้องปักด้า ไม่ต้องหว่าน ไม่ต้องจ้างรถด้า
ข้าวไม่ต้องพักฟื้นระหว่างย้ายปักด้า ไม่ถูกรบกวน เติบโตต่อเนี่อง
ลดการใช้ปุ๋ย ปัจจัยการผลิต อายุข้าวเก็บเกี่ยวได้ไวกว่า
ต้นข้่าวสวย เป็นแถวเหมือนนาด้า
ข้าวแข็งแรงเป็นธรรมชาติ
-------------------------------------------------------------------------------------
. |
|
|
kimzagass |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 16/12/2019 5:12 pm ชื่อกระทู้: นาข้าว...... นาหยอด-เปียกสลับแห้ง-ล้มตอซัง-บำรุงประณีต |
|
.
.
แบบนาข้าวดีที่สุด ....
"นาหยอด เปียกสลับแห้ง ล้มตอซัง บำรุงประณีต"
. |
|
|