kimzagass หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11454
|
ตอบ: 31/10/2023 3:15 pm ชื่อกระทู้: * ปรัชญาเกษตร |
|
|
.
.
ปรัชญาการส่งเสริมการเกษตร (philosophy of agricultural extension) คือ หลักการช่วย เกษตรกรให้ช่วยเหลือตนเอง (help agriculturists to help themselves) เช่น การให้ความรู้ การแนะน า การถ่ายทอดนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี หรือการสนับสนุนอื่น ๆ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานการพัฒนาให้ เกษตรกรนาไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเหลือตนเองให้มีความเจริญ ...
https://www.google.com/search?q=%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3+%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87&rlz=1C1GCEA_enTH1067TH1067&oq=%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3+%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87+&gs_lcrp=EgZjaHJvbWUyBggAEEUYOTIHCAEQIRigATIHCAIQIRigATIHCAMQIRigATIHCAQQIRigAdIBCjIxNTc3ajBqMTWoAgCwAgA&sourceid=chrome&ie=UTF-8#ip=1
จินดา ขลิบทอง และคณะ (2554) ได้กล่าวถึงประเภทของวิธีการส่งเสริม การเกษตรไว้ดังนี้
1. วิธีการส่งเสริมการเกษตร โดยอิงบุคคลหรือ ผู้รับสารเป็นเกณฑ์
1.1 วิธีการส่งเสริมการเกษตรแบบรายบุคคล หรือแบบบุคคลต่อบุคคล
1.2 วิธีการส่งเสริมการเกษตรโดยกลุ่มบุคคล
1.3 วิธีการส่งเสริมการเกษตรมวลชน
https://www.google.com/search?sca_esv=579544099&rlz=1C1GCEA_enTH1067TH1067&q=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3+3+%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5&sa=X&ved=2ahUKEwiHhv_l9KuCAxXLSmwGHYVDBJAQ1QJ6BAgtEAE&biw=1366&bih=607&dpr=1
6. คนไทยนับหมื่นคนไปทำงานที่อิสราเอล ได้รู้ได้เห็นได้ใช้ เทคโนโลยีใหม่ๆ สไตล์อิสราเอล แต่พอกลับมาเมืองไทย ยัง "เผาฟาง" เหมือนเดิม.....
นักวิชาการไทย ทำปริญญาเอกด้านเกษตรที่อิสราเอล กลับมาเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง เล่าว่า ได้ถามเกษตรกรอิสราเอลถึงปุ๋ยทางใบที่ใช้ "สูตรว่าอย่างไร ?" เกษตรกรอิสราเอลตอบว่า "บอกไม่ได้ เป็นความลับของชาติ"....
18. วิศวะเรียนวิชาวิศวะ มีความรู้วิศวะ ไม่ได้เรียนเกษตร จึงไม่มี ข้อมูล/ความรู้ เรื่องเกษตร....
หมอเรียนวิชาหมอ มีความรู้ด้านหมอ ไม่ได้เรียนเกษตร จึงไม่มี ข้อมูล/ความรู้ เรื่องเกษตร....
ครั้น วิศวะ-หมอ อ่านหนังสือเกษตร จึงมี ข้อมูล/ความรู้ เรื่องเกษตร ฉันใด ....
ผู้ฟัง/ประชาชนทั่วไป ไม่ได้เรียนเกษตร ไม่มีข้อมูลทางการเกษตร ไม่มีความรู้การเกษตร แต่อ่านหนังสือเกษตร ย่อม มีข้อมูล/ความรู้ เรื่องการเกษตรได้ ฉันนั้น ....
ฟัง 100 ครั้ง ไม่เท่าอ่าน 1 ครั้ง ......... อ่าน 100 ครั้ง ไม่เท่าทำเอง 1 ครั้ง
ทำ 100 ครั้ง ไม่เท่าขาย 1 ครั้ง ......... ขาย 100 ครั้ง ไม่เท่าแจก 1 ครั้ง
19. สปริงเกอร์-หม้อปุ๋ย "ลงทุนครั้งเดียว" ใช้งานได้ 10-20-30- ปี ....
ประหยัด ต้นทุน-เวลา-แรงงาน-อารมณ์ ....
เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของเนื้องาน...
ได้เครดิต ความน่าเชื่อถือ....
ลูกหลานทำต่อ ขยายผล....
จะเอาผลผลิตเต็มที่ ต้องบำรุงเต็มที่....
บำรุงเต็มที่ได้เพราะ เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง ....
ที่ RKK แปลงไม้ผลแบ่งเป็นโซน ๆละ 50 ต้น ให้ น้ำ, น้ำ+ปุ๋ย, น้ำ+ยาสมุนไพร, น้ำ+ปุ๋ย+ยาสมุนไพร มีหม้อปุ๋ยประจำหน้าโซน ทำงานให้ทางใบครั้งละ 3-5 นาที ให้ทางรากครั้งละ 5-10 นาที ต่อการทำงาน 1 รอบ
ลากสายยาง 50 ต้น ๆละ 5 นาที = 250 นาทีไฟฟ้า/ครั้ง
สปริงเกอร์ 50 ต้น ใช้เวลา 5 นาที = 5 นาทีไฟฟ้า/ครั้ง
สรุป : ทำงาน 5ปี 10ปี 20ปี ค่าไฟฟ้าต่างกันเท่าไหร่ ?
สปริงเกอร์ สั่งได้ :
ตี.5 : ............. ล้างน้ำค้าง ป้องกัน/กำจัด ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
สาย : .............. ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน
เที่ยง : ............. ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง
ค่ำ : ............... ป้องกันแม่ผีเสื้อเข้าวางไข่ ไข่แมลงฝ่อ ฆ่าหนอนที่ออกหากินลางคืน
กลางวันฝนตก : ... ฝนหยุดแดดออก (ฝนต่อแดด) ล้างน้ำฝน ป้องกัน/กำจัด แอ็นแทร็คโนส
กลางวันฝนตก : ... ไม้ผลระยะสะสมตาดอก หรือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช ก่อนฝนตกหรือหลังฝนหยุด ให้ปุ๋ยทางใบป้องกันการแตกใบอ่อน
ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ ทุกวัน วันต่อวัน วันเว้นวัน ทำได้ตามต้องการ
https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5999
*** เกษตรานุสติ :
....................... ทำอย่างเดิม = ได้อย่างเดิม ได้น้อยกว่าเดิม ....................
...................... คิดใหม่ ทำใหม่ = ได้ดีกว่าเดิม ได้มากกว่าเดิม .................
........ เนื้อที่ 1 ไร่ ทำ 1 ปี .... ได้ 1 ครั้ง.... เกรด เอ. VS เกรด ฟุตบาธ .........
....... เนื้อที่ 1 ไร่ ทำ 1 ปี .... ได้หลายครั้ง.... เกรด เอ. VS เกรด ฟุตบาธ .......
............ ขายได้เท่าเดิม ได้เท่าข้างบ้าน แต่ต้นทุนลด คือกำไรเพิ่ม ................
............... ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ เพราะ ..... ต้นทุนสูง ต้นทุนสูญเปล่า ..................
........ ทุกคนเกิดมา เก่งเท่ากัน รู้เท่ากัน ..... แต่ แพ้-ชนะ กัน ที่โอกาส ............
............... เรื่องง่ายทำไม่ได้ .... เรื่องยากทำได้ ..... เพราะ ใจ .................
............................... ทำน้อย .... ทำถูก = ได้มาก .............................
............................... ทำมาก .... ทำผิด = ได้น้อย .............................
........................ คนที่จะช่วยเราได้ดีที่สุด คือ คนในกระจก ........................
https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6943&view=next
* ผลมาจากเหตุ....ผลสำเร็จ มาจาก ทำถูก....ผลล้มเหลว มาจาก ทำผิด...ถูกหรือผิดวัดที่พืช
* ต้นทุนทำเกษตรยุคนี้ ค่าปุ๋ย 30% ค่ายา 30% ค่าเทคโน 20% ค่าเสียโอกาส 20%
** ทำแบบเดิมคงไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม เผลอๆ จะเลวร้ายไปกว่าเดิมด้วย
** ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ใช่มีให้กลุ้ม .... ทุกปัญหาแก้ได้ ยากหรือง่าย อยู่ที่ ใจ ใจเท่านั้น เพราะใจเป็นคนสั่ง
** ปุ๋ย-ปุ๋ย ปุ๋ยมีกี่ตัว อินทรีย์/เคมี แต่ละตัวแต่ละอย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร ? ทางใบ ? ทางราก ? เมื่อไร่ ? เท่าไหร่ ? .... ใช่ปุ๋ยต้องจับหลัก สมการปุ๋ย
** ยา-ยา ยาเคมี/ยาสมุนไพร มีกี่ตัว ? กี่อย่าง ? แต่ละตัวแต่ละอย่างมีสรรพคุณอย่างไร ? ทางใบ ? ทางราก ? เมื่อไร่ ? เท่าไหร่ ? .... ใช้ยาต้องจับหลัก สมการยา
https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7253&view=next
...................................................................................................
* ลด.ปุ๋ยเคมีในกระสอบ ..................... เพิ่ม.ปุ๋ยอินทรีย์ในถังหมัก
ปุ๋ยเคมีเป็นธาตุอาหารพืชไม่ใช่สารพิษ ....
คำว่า ปุ๋ยเคมี หลายคนมองว่าเป็นสารเคมีที่มีความไม่ปลอดภัย ใช้แล้วเป็นอันตรายต่อสุขภาพขซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ปุ๋ยเคมีไม่มีพิษเหมือนสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช แต่ความเป็นจริงแล้ว ปุ๋ยเคมีผลิตจากหินและแร่ในธรรมชาติ เพียงแต่ส่วนใหญ่ต้องใช้กระบวนการทางเคมีสังเคราะห์ให้กลายเป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่ให้แร่ธาตุอาหารแก่พืช ซึ่งเมื่อใส่ลงไปในดินที่มีความชื้นเหมาะสม ปุ๋ยเคมีจะละลายให้พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว
https://www.doae.go.th/doae_media/%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E/
ปุ๋ยอินทรีย์ :
http://www.ppsf.doae.go.th/web_km/group_knowledge/soil_fer/%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C.pdf
ควรรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ :
http://lib.doa.go.th/multim/e-book/EB00008.pdf
ข้อดี-ข้อด้อย ของการใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ และ ปุ๋ยเคมี :
https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2740
4. ปรับ ซี/เอ็น เรโช :
จากหลักการที่ว่า จะเปิดตาดอกในไม้ผลยืนต้นให้ประสบความสำเร็จได้นั้นไม้ผลต้นนั้นจะต้องได้ รับการบำรุงทั้งสารอาหารกลุ่ม ซี. (กลุ่มสร้างดอก-ผล) และสารอาหารกลุ่ม เอ็น. (กลุ่มสร้างใบ-ต้น) ทั้งสองกลุ่มเท่าๆ กันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ก่อน ทั้งนี้สังเกตได้จากสภาพความสมบูรณ์ของต้น
ไม้ผลต้นที่สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม ซี. และกลุ่ม เอ็น. ไว้ในอัตราส่วน ซี. เท่ากับ เอ็น. เมื่อเปิดตาดอกจะออกทั้งดอกและใบ หรือมีดอกแซมใบ ไม้ผลต้นที่สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม ซี. และกลุ่ม เอ็น. ไว้ในอัตราส่วน ซี. มากกว่า เอ็น. เมื่อเปิดตาดอกจะออกดอก ไม่มีใบตาดอกจะออกเป็นใบ ไม่มีดอก ดังนั้น เพื่อความมั่นใจก่อนลงมือเปิดตาดอก หรือเมื่อให้ปุ๋ยสูตรเปิดตาดอกแล้ว ไม้ผลต้นนั้นจะต้องออกดอก จึงต้องมีวิธีการจัดการเพื่อปรับอัตราส่วนระหว่าง ซี. กับ เอ็น. อย่างถูกต้อง นั่นคือ ปรับเพิ่ม ซี. และปรับลดเอ็น....โดยการปฏิบัติดังนี้
- เปิดหน้าดินโคนต้นจนถึงพื้นให้แสงแดดส่องทั่วบริเวณทรงพุ่ม
- ใส่ปุ๋ยทางราก 8-24-24 อัตรา 2 กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. โดยละลายน้ำราดรดบริเวณชายพุ่มพอหน้าดินชื้น จากนั้นงดให้น้ำเด็ดขาด
- ให้ปุ๋ยทางใบสูตร "0-42-56 (400-500 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม (100 ซีซี.) + น้ำ 100 ล." สลับครั้งกับ "นมสด 100-200 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 300-500 ซีซี. + น้ำ 100 ล." (นมสด ซี/เอ็น เรโช เท่ากับ 39 : 1)แต่ละครั้งห่างกัน 3-5 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ไม่ควรให้ลงถึงพื้นโคนต้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำ ช่วงเช้าแดดจัด
- รมควันโคนต้นช่วงหลังค่ำระหว่างเวลา 19.00-20.00 ครั้งละ 10-15 นาที รวม 2-3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2-3 วัน
ลักษณะอาการของต้นไม้ผลที่แสดงว่าการปรับเพิ่ม ซี. และปรับลด เอ็น. ได้ผลก็คือใบยอดคู่สุดท้ายที่ปลายกิ่งแก่จัดเขียวเข้ม ใบแก่โคนกิ่งเส้นใบ หนานูน เนื้อใบหนาส่องแดดไม่ทะลุ หูใบอวบอ้วน ข้อระหว่างใบสั้น กิ่งเปราะ....ด้วยมาตรการงดน้ำเด็ดขาดนี้จะให้ต้นเกิด อาการใบสลด ให้สังเกตอาการใบสลด ถ้าใบเริ่มสลดเมื่อเวลาประมาณ 11.00-12.00 น. แล้วเริ่มชูตั้งตรงอย่างเดิมราว 16.00 น. ติด
ต่อกัน 3 วัน ให้ลงมือเปิดตาดอกด้วยสูตจรเปิดตาดอก (ให้ทั้งทางใบและทางราก) ได้ทันที แต่ถ้าใบสลดช่วงประมาณบ่ายโมงแล้วกลับชูตั้งตรงอย่างเดิมราว 16.00 น. ถือว่ายังไม่พร้อมจริง ให้งดน้ำควบคู่กับให้ทางใบต่อไป.....ปัญหางดน้ำไม่ได้ผลประการหนึ่ง คือ น้ำใต้ดินโคนต้น ซึ่งจะต้องหามาตรการป้องกันหรือควบคุมให้ได้
5. กดใบอ่อนสู้ฝน :
ธรรมชาติของพืชทุกชนิดมักแตกใบอ่อนหลังได้รับน้ำฝนเสมอ พืชทั่วไปอาจจะไม่มีปัญหาหรือถือว่าดี แต่กรณีไม้ผลยืนต้นที่ต้องการบังคับให้ออกผลนอกฤดูจะต้องไม่มีการแตกใบชุด ใหม่เด็ดขาดแม้จะได้รับน้ำฝนก็ตาม การบำรุงต้นไม้ผลยืนต้นไม่ให้แตกใบอ่อนช่วงฝนชุกก็คือ มาตรการเพิ่มสารอาหารกลุ่ม ซี. ควบคู่กับงดสารอาหารกลุ่ม เอ็น. โดยการปฏิบัติดังนี้.....
- เปิดหน้าดินโคนต้นให้แสงแดดส่องทั่วบริเวณทรงพุ่ม พร้อมกับทำช่องระบายน้ำฝนออกจากโคนต้น อย่าให้น้ำฝนขังค้างนาน และงดการให้น้ำเด็ดขาด
- ใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 8-24-24 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้ปุ๋ยทางใบสูตร "0-42-56 หรือ 0-21-74 หรือ 0-39-39 (สูตรใดสูตรหนึ่ง400-500 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100-200 กรัม + น้ำ 100 ล." สลับครั้งกับ "นมสด 100-200 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 300-500 ซีซี." หรือ "ฮอร์โมนไข่สูตรไต้หวัน 500 ซีซี. + น้ำ 100 ล." (อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้ทั้งสองอย่างสลับครั้งกัน) ทุก 3-5 วัน ช่วงเช้าวันที่ไม่มีฝน
ถ้ามีฝนตกตอนกลางวัน หลังฝนหยุดใบแห้งให้ฉีดพ่นทันที ไม่ว่าจะเป็นช่วงเช้าหรือบ่าย ถ้าช่วงเช้าฉีดพ่นไปแล้ว 1 รอบ ครั้นถึงเที่ยงมีฝนตกลงมา ก็ให้ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้งหลังฝนหยุดใบแห้ง....กรณีนี้เท่ากับฉีดพ่น 2 ครั้งใน 1 วัน ถ้าวันนี้ไม่มีฝน ฉีดพ่นไปแล้ว ครั้นตกกลางคืนมีฝนตกลงมา ให้ฉีดพ่นซ้ำในเช้าวันรุ่งขึ้นทันที....กรณีนี้เท่ากับฉีดพ่นวันต่อวัน
ปุ๋ยทางใบสูตรนี้เป็นสารอาหารกลุ่ม ซี. ที่ไม่ทำให้ต้นแตกใบอ่อนได้ เมื่อให้หลายๆครั้ง หรือติดต่อกันนานนับเดือน ไม้ผลต้นนั้นจะเกิดอาการอั้นตาดอก เนื้อใบหนา ใบและกิ่งกรอบ ผิวใบกร้าน ส่วนปลายสุดของใบไหม้ แต่ไม่เป็นปัญหาหรือไม่เป็นอันตรายใดๆต่อต้นตราบใดที่ยังมีฝนตกก็ขอให้บำรุง ทางใบด้วยสูตรนี้ไปเรื่อยๆจนกระทั่งหมดฝนและแน่ใจว่าจะไม่มีฝนตกอีกใน 15-20 วันข้างหน้า ก็ให้ลงมือเปิดตาดอกด้วยสูตรเปิดตาดอกได้เลย
6.โซดาปรับ เพิ่ม ซี.- ลด เอ็น. :
ตอนกลางวันพืชหายใจดูดคาร์บอนได อ๊อกไซด์เข้าสู่ต้นสำหรับใช้สังเคราะห์อาหาร แล้วคายอ๊อกซิเจนออกมา ส่วนตอนกลางคืนพืชหายใจดูดออกซิเจนเข้าไปสำหรับใช้ปรุงอาหารที่สะสมไว้ ตั้งแต่ตอนกลางวันแล้วคายคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ออกมา ในน้ำโซดามีคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดอ๊อกไซด์แก่พืชเพื่อใช้ในในการสะสมอาหาร สำหรับการออกดอก แนะนำให้ใช้ "น้ำ 100 ล. โซดาเปิดใหม่ยังไม่หมดฟอง 200-300 ซีซี. (เปิดนานไม่เกิน 2-3 นาที) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารอาหารอื่นๆตามความเหมาะสม" ฉีดพ่นในช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช. ที่สภาพอากาศปกติ หรือหลังฝนเมื่อใบแห้ง นอกจากเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดอ๊อกไซด์สำหรับสังเคราะห์อาหารได้ มากขึ้นแล้วยังช่วยป้องกันการแตกใบอ่อน (กดใบอ่อน) ได้อีกด้วย
.
* ลด.สารเคมี กำจัดศัตรูพืช .......... เพิ่ม.สารสมุนไพร กำจัดศัตรูพืช
เล่าสู่ฟัง ....
เรื่องยาฆ่าแมลง 1 :
เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว ลุงคิมมีโอกาสติดตาม ศ.ดร.ขวัญชัย สมบัติศิริ แห่งกรมวิชาการเกษตร นักวิจัยจากเยอรมัน กับ อ.สำรวล ดอกไม้หอม ไป ตรวจ/ดู ผลงานการใช้สารสะเดากับมะม่วงของลุงเฉียดฯ บ้านเกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา มะม่วง 20 ไร่ อายุต้น 10 ปี ทำนอกฤดู ไม่มีร่องรอยใดๆ จากการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืชประจำมะม่วงปรากฏแม้แต่น้อย ....
ลุงเฉียดฯ บอกว่า เมื่อก่อนใช้สารเคมียาฆ่าแมลงหนักมาก ถึงขนาดเมียต้องเข้า ร.พ. หมอบอกเป็นหลายโรค ทุกโรคที่เกิดจากภูมิแพ้สารเคมียาฆ่าแมลงทั้งนั้น ต้องเสียค่ารักษา พยาบาลเดือนละ 10,000 กว่า ทุกเดือน ติดต่อกัน 3 เดือน กระทั่งเลิกใช้สารเคมีแล้วหันมาใช้สารสมุนไพรจากสะเดาแทน ด้วยความตั้งใจแน่วแน่มุ่งมั่น ทำตามคำที่นักวิจัยเยอรมันบอกทุกขั้นตอน แค่ 3-4 เดือนเท่านั้น อาการของเมียทุเลาลง จากจ่ายค่ารักษาพยาบาลงวดละ 10,000 ลดลงเหลืองวดละ 1,000 จากต้องไปหาหมอเดือนละครั้ง ลดเป็น 3 เดือนครั้ง....
เรื่องการใช้สารสะเดากับมะม่วงที่สวนนี้ ชาวบ้านย่านนั้นรู้ดี เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่ความลับ แต่เป็นเรื่องที่ควร เผย แพร่/ส่งเสริม ด้วยซ้ำ รู้ทั้งรู้ เห็นกับตาจับกับมือกินกับปาก กลับไม่เชื่อ ไม่เอาตาม ไม่ต่อยอดขยายผล บางรายหนักหน่อย หาว่าลุงเฉียดฯ บ้า ซะอีก ....
ลุงเฉียดฯ เลยบอกศาลาบ๊ายบาย ตัวใครก็ตัวใคร เลิกสอน เลิกบอก ว่าแล้ว ไปเที่ยวหาเก็บ ขวด/กล่อง/ซอง/ถุง/โบชัวร์ สารเคมียาฆ่าแมลง สารพัดชนิด ทุกยี่ห้อ เอามากองไว้ที่บ้าน กองสูงท่วมหัว ไว้ให้คนดู แล้วบอกว่า มะม่วงที่นี่ไม่มีโรคแมลง เพราะสารเคมียาฆ่าแมลงในกองนั่นไง....
จากงานวิจัยครั้งนี้ นักวิจัยเยอรมันจัดพิมพ์เป็นเอกสารเผยแพร่เป็นภาษาต่างๆทั่วโลก 14 ภาษา ยกเว้นภาษา ไทย เพราะมีนักวิชาการไทยร่วมงานอยู่แล้ว กับขอซื้อลิขสิทธิ์ไปด้วย ส่วนไทยเรา โดยคุณ ชาตรี จำปาเงิน เอาไปทำสารสะเดา ออกขาย ตั้งชื่อยี่ห้อว่า สะเดาไทย 111 วันนี้ไปถึงไหนแล้ว ไม่รู้
เรื่องสารสะเดา ไทย-เยอรมัน ..... เอวัง ก็มีด้วยประการะ เช่นนี้
สมุนไพร (77) :
เรื่องยาฆ่าแมลง 2 :
วันนั้น สุภาพสตรี สมช.รายการวิทยุ มาที่ RKK สอบถามแล้วทราบว่า อาชีพเป็นพยาบาล สังกัด ร.พ.บ้านโป่ง ราชบุรี ทำสวนผักข้างบ้านเป็นงานอดริเรก มาขอความรู้เรื่อง ปุ๋ยธรรมชาติแท้ๆ ยาสมุนไพรแบบที่ใช้กำจัดแมลงได้ทุกชนิด งานนั้นลุงคิมจัดให้ฟรี ไม่คิดตังค์
คุณพยาบาลเล่าสู่ฟังว่า ระยะ 3-4-5 เดือนที่ผ่านมา มีคนไข้มาหาหมอ หมอใหญ่ตรวจแล้วพบอาการป่วย แต่หาสมุห์ฐานหรือสาเหตุของการเกิดโรคแล้ววิเคราะห์โรคไม่ได้ จึงสั่งยาสำหรับรักษาโรคนั้นๆ โดยตรงไม่ได้ ต้องให้ยาแบบบำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายสร้างภูมิต้าน ทานขึ้นมาสู้กับโรคนั้นเอง
หมอใหญ่ตรวจสอบประวัติส่วนตัวคนไข้แล้วพบว่า 9 ใน 10 คนมีอาชีพเป็นเป็นเกษตร กร ตัดสินใจไปที่บ้านของคนไข้ เพื่อว่า อาจจะได้ข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับคนไข้บ้าง และ แล้วหมอใหญ่ก็พบกับของจริง ถึงกับตะลึง ....
ที่ไต้ร่มไม้หน้าบ้าน โคนเสาไต้ถุนบ้าน ริมผนังห้องภายในบ้าน มี ขวดสารเคมียาฆ่าแมลง หลากหลายยี่ห้อ ซึ่งพื้นฐานของหมอใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลยว่า สารเคมีเหล่านั้น ชื่ออะไร ? ยี่ห้ออะไร ? ใช้งานอย่างไร ? เข้าไปอยู่ในบ้านได้ 2-3-4 นาที กลิ่นสารเคมีโชยมากระทบจมูกอย่างแรง กระทั่งเกิดอาการเวียนหัว ต้องออกมาคุยนอกบ้าน...
บ้านแรก บ้านที่ 2-3-4-5- สภาพภายในบ้านอยู่ในสภาวะเดียวกัน จึงสรุปได้เลยว่า สมุห์ฐานหรือสาเหตุของโรคของคนไข้ มาจากร่างกาย ได้รับ/สะสม สารเคมียาฆ่าแมลงจนเกินพลังภูมิต้านทานที่ร่างกายจะรับได้แน่นอน
ความคิดของหมอใหญ่ ณ เวลานั้น คือ ผู้ที่จะแก้ปัญหานี้ได้ คือ จนท.เกษตร เท่านั้น เมื่อระบบราชการ เพื่อประชาชน 2 ท่าน ระหว่างหมอใหญ่กับเกษตรอำเภอ พบกัน การพูดคุยคนละเรื่องเดียวกันก็อุบัติขึ้น
หมอใหญ่ : เกษตรครับ ผมอยากให้เกษตรกรเลิกใช้สารเคมี มีทางเป็นไปได้ไหมครับ ?
เกษตรอำเภอ : ผมพยายามมากว่า 10 ปี ตั้งแต่เริ่มมารับหนาที่ ที่นี่แล้วครับ
หมอใหญ่ : ได้ผลไหมครับ ?
เกษตรอำเภอ : เรียนคุณหมอตามตรง ผมไปสอน ไปทำให้ดู เอาไปแจก อะไรเขาก็ไม่เอา
หมอใหญ่ : (ตีหน้า ซื่อ+งง 1) เพระอะไรครับ ?
เกษตรอำเภอ : เขาบอกว่า ช้า ไม่ทันใจ ยุ่งยาก เสียเวลา กลัวจะไม่ได้ผล
หมอใหญ่ : (ตีหน้า ซื่อ+งง 2) แต่มันก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เขาว่า ไม่ใช่เหรอครับ ?
เกษตรอำเภอ : ก็นั่นน่ะซีครับคุณหมอ ผมก็ไม่รู้เหมืนกันว่า เขาต้องการอะไรแน่
หมอใหญ่ : แสดงว่า เขาไม่ได้กลัวพิษภัยจากสารเคมีเลย
เกษตรอำเภอ : ประมาณนั้นนั่นแหละครับคุณหมอ
เรื่องยาฆ่าแมลง 3 :
วันนั้น ลุงคิมมีโปรแกรมธุระที่ตัวจังหวัดเมืองกาญจน์ ผ่าน อ.ท่าม่วง ช่วงเวลาประ มาณเที่ยงวัน เกิดฝนตกขึ้นมากะทันหัน ประมาณครึ่ง ชม.ฝนหยุด หยุดแล้วแดดออกต่อ ที่ภาษาชาวบ้านเรียบกว่า ฝนต่อแดด เหลือบสายตามองข้าทางเห็นแปลงปลูก คะน้า ผักกาด 2-3 แปลง ขนาดแปลง 2-3 ไร่ มองผ่านๆก็ว่าปกติ แต่มีแปลงหนึ่งไม่ปกติ ตรงที่ เปิดสปริงเกอร์ฉีดพ่นน้ำรดแปลงผัก ตัดสินใจจอดรถข้างทาง มองซ้ายขวา หาเจ้าของแปลงนั้นไม่เห็น แต่เห็นเจ้าของแปลงข้างเคียง ซึ่งพอจะเดาได้ว่าไม่ใช่เจ้าของแปลงที่เปิดสปปริงเกอร์ จึงเลียบๆ เคียงๆ เข้าไปคุยด้วย
ลุง สำรวจแปลงผักเหรอ ? ส่งยิ้มนำ แล้วตามด้วยคำถามแทนคำทักทาย
ดูหน่อย น้ำขังหรือเปล่า ลุงเจ้าของแปลงตอบ แต่สายตายังมองอยู่ที่พื้นแปลงผัก
ลุงไม่ฉีดน้ำแบบแปลงนั้นบ้างเหรอ ? ถามพร้อมกับเหลียวมองไปทางแปลงที่เปิดสปริงเกอร์
ไม่เอา ตอบสั้นๆ เหมือนไม่สนใจ
อ้าว แล้วแปลงนั้นเขาเปิดน้ำทำไมล่ะ ? ถามตรงๆ
อ๋อ นั่นมันบ้า ฝนตกยังรดน้ำ
หางเสียงคำว่า บ้า ฟังแล้วทะแม่งๆ คล้ายกับไม่พอใจอะไรซักอย่าง ประมาณนั้น ไม่ถามเรื่องนี้ต่อ แต่เถลไถลเลี่ยงไปดูน้ำขังค้างหน้าดินบนแปลง พอรู้เรื่องจึงบอกขอบคุณแล้วขอตัวกลับ
จากวันนั้นเว้นไป 2 วัน ลุงคิมเจตนาย้อนกลับไปที่แปลงผักเจ้านั้นอีกครั้ง ด้วยวัตถุประ สงค์บางอย่าง ไปถึงช่วง เวลาประมาณ 10 โมงเช้า ภาพปรากฏคราวนี้เป็นเจ้าของแปลงผักที่เคยสำรวจน้ำขังค้างเมื่อ 2 วันก่อน กำลังสะพายเป้ถังพ่นยา โยกขาปั๊ม เดินฉีดพ่นละอองฝอยไปตามยอดผักอย่างประณีตพิถีพิถัน กะให้โดนยอดทุกยอด อาบไล้ทั่วทั้งต้นทุกต้น แล้ว ไหลย้อยลงพื้นดิน ทันทีที่เข้าใกล้ระยะ 10 ม. เริ่มมีกลิ่นสารเคมีโชยมาชัดเจน
ลุง ทำอะไรน่ะ ? ส่งเสียงถามนำไปก่อนแทนการทักทาย
ฉีดยาน่ะซี เจ้าของแปลงตอบห้วน ไม่รู้ว่าใจจริงอยากตอบหรือเปล่า
ผักมันเป็นอะไรล่ะลุง ? ถามเพราะมารยาทมากกว่าอยากรู้จริงๆ
เชื้อราใบจุด ลุงเจ้าของแปลงตอบสั้นๆ
อืมมม แปลงลุงเป็นเชื้อรา แล้วแปลงข้างๆนั่น ไม่เป็นเหรอ ? เจตนาแกล้งถามซะมากกว่า
ไม่รู้มัน ลุงตอบไม่มองหน้า น้ำเสียงห้วน หางเสียงเหมือนไม่พอใจอะไรซักอย่าง
เดี๋ยวเขาคงออกมาฉีดมั้งลุง ระงับหางเสียงกลั้วหัวเราะเล็กไม่อยู่ หยุดเดินเข้าไปหาลุงคนฉีด เพราะไม่อยากสัมผัสกับกลิ่นสารเคมี ซักพักเล็กๆ ถือโอกาสบอกลา
นึกๆ อยากบอกความจริงว่านี่มันคืออะไร แต่เห็นท่าทางชาวสวนคนนี้ตั้งแต่แรกแล้วเกิดอาการไม่กล้าขึ้นมาทันที นี่คือลักษณะของเอกบุรุษผู้ ยึดติด อย่างแท้จริง พูดไปบอกไปก็ไม่เชื่อ
ในความเป็นจริงคือ เชื้อแอนแท็คโนสหรือโรคใบจุด เชื้อโรคตัวนี้เกิดเองในดิน ดินที่เป็นกรดจัด เมื่อเจริญขึ้นมาจะเป็นสปอร์ก็ล่องลอยไปตามลม ครั้นเมื่อฝนตก โดย ธรรมชาติน้ำฝนตกใหม่เป็นกรดอ่อนๆอยู่แล้ว เชื้อตัวนี้จึงเข้าไปแฝงตัวอยู่กับน้ำฝน จนเมื่อน้ำฝนแห้ง เชื้อโรคก็จะแทรกเข้าไปอยู่ในเนื้อพืช แล้วแพร่ขยายพันธุ์ เป็นแผลขนาดใหญ่ตามจุดต่างๆบนส่วนของพืชที่เข้าไปแฝงอยู่
การฉีดพ่นน้ำเปล่าทันทีที่ฝนหยุด หรือฉีดพ่นก่อนน้ำฝนแห้ง จึงเป็นการชะล้างเชื้อแอนแทร็คโนสที่แฝงตัวอยู่กับน้ำฝนให้ตกลงดิน ซึ่งเท่ากับได้กำจัดเชื้อโรคไปในตัวนั่นเอง แปลง คนบ้า ที่เปิดสปริงเกอร์หลังฝนหยุดจึงรอดพ้นจากเชื้อโรคตัวนี้
กรณีที่ชาวสวนใช้สารเคมีประเภทดูดซึม ฉีดพ่นหลังจากเชื้อโรคแพร่ระบาดแล้ว แม้จะกำจัดเชื้อโรคให้ตายได้ แต่ก็ไม่ได้ส่วนของพืชที่ถูกเชื้อโรคทำลายไปแล้ว ฟื้นสภาพคืนดีอย่างเดิมได้ นั่นคือ คนดี นอกจากไม่ได้ผลผลิตแล้ว ยังเสียเงิน เสียสุขภาพ เสียเครดิตอีกด้วย .... ว่ามั้ย
เล่าสู่ฟัง เรื่องยาฆ่าแมลง 4 :
จำได้แม่น ปทุมธานี เขต อ.เมือง ต.อะไรไม่ใส่ใจรู้ หะแรก นั่งคุยกับ สมช.ที่ปลูกผักตามแนวทางสีสันชีวิตไทย อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของผักกินใบ อายุสั้นฤดูกาลเดียว อยู่ริมแปลงผักที่บ้านตามลำพังตามประสาคนชอบพอกัน แล้วเพื่อนบ้านของ สมช.แปลงติดกันก็เข้ามาคุยด้วย
รู้เบื้องต้นพอคร่าวๆ เกี่ยวกับเพื่อนบ้านแปลงติดกันคนนั้น ปลูกผักเนื้อที่ 6 ไร่ ยกร่องน้ำหล่อ รดน้ำด้วยเรือปากเป็ด ผักที่ปลูก คะน้า/ขาวปลี/ผักแก้ว/ผักหอม/บุ้งจีน/ชีใบฝอย (เรียกชื่อตามพื้นบ้าน) บังเอิญได้ปะหน้ากัน รายการ-ถามตอบ จึงอุบัติขึ้น....
ข้างบ้าน : สวัสดีค่ะลุงคิม ได้ยินชื่อลุงมานาน วันนี้เจอตัวจริง โชคดีจัง
ลุงคิม : (หัวเราะนำ เตรียมสร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง) โชคดี แล้วดวงดีด้วยรึเปล่า ?
ข้างบ้าน : คงดีค่ะลุง ลุงคะ อยากถามปัญหาหน่อยค่ะ ?
ลุงคิม : ว่ามา ยกเว้นปัญหาหัวใจนะ
ข้างบ้าน : หัวใจไม่มีปัญหาค่ะลุง แต่ผักซิคะ ปัญหามากจัง
ลุงคิม : ปัญหาตรงไหน ว่ามาซิล่ะ
ข้างบ้าน : ต้นทุนค่ะลุง หนูอยากลดต้นทุนค่ายา คนกลางที่รับซื้อก็อยากให้เลิกใช้ยาด้วย เพราะคนกินเขากลัว แต่ไม่รู้จะทำยังไงค่ะ
ลุงคิม : อืมมม ถ้าเราใช้น้อยลงต้นทุนก็ลด เลิกใช้คนกินก็เลิกกลัว ไม่ใช่เหรอ ?
ข้างบ้าน : ใช่ค่ะลุง ใช้น้อย เลิกใช้ แล้วทำยังไงล่ะคะ ?
ลุงคิม : เอาเรื่องยาก่อน ยาถูกใช้ถูก โอเค ได้ผล .... ยาถูกใช้ผิดหรือยาผิดใช้ถูก ไม่โอเค ไม่ได้ผล .... แมลงก็เหมือนคน คนกินยาฆ่าแมลง ตาย แมลงกินยาฆ่าแมลงแล้วไม่ตายเหรอ ?
ข้างบ้าน : ตายค่ะลุง แล้วที่หนูให้มันกิน แล้วทำไมมันไม่ตายล่ะคะ ?
ลุงคิม : นั่นแหละที่เขาเรียกว่า มันดื้อยา
ข้างบ้าน : ตอนนี้ หนูผสมยาใช้ครั้งละ 6 ตัว งั้นเราแยกใช้ทีละตัว แล้วก็สลับกัน จะดีไหมคะลุง ?
ลุงคิม : .... ดี แต่แค่เกือบดีนะ เพราะยาแต่ละตัวจะตรงศัตรูพืชเฉพาะแต่ละตัวเท่านั้น บางครั้ง ยาคนละตัวกัน ผสมกัน แล้วเสื่อมก็มี งานนี้เหมาจ่ายไม่ได้ แล้วเรารู้เหรอว่า ตอนนี้ศัตรูพืชอะไรจะต้องใช้ยาตัวไหน หรือยาอะไรผสมกันได้ ผสมกันไม่ได้ นี่ไง ยาถูกยาผิด ศัตรูพืชถูกศัตรูพืชผิด มันถึงไม่ได้ผล ไงล่ะ
ข้างบ้าน : แล้วเราจะรู้ได้ไงคะลุงว่า ยาตัวไหนตรง ไม่ตรง กับศัตรูพืชตัวไหน ? ยาตัวไหนผสมกันได้ ผสมกันไม่ได้ ?
ลุงคิม : ถามร้านขายซี่ เขาขายเขาต้องรู้
ข้างบ้าน : ไม่จริงหรอกลุง พวกนี้หลอกเกษตรกรทั้งนั้นแหละ
ลุงคิม : อ้าววว แบนี้ รู้เขาหลอกแต่เต็มใจให้หลอก นี่หว่า
ข้างบ้าน : สงสารเกษตรกรเถอะลุง
ลุงคิม : แล้วจะให้ทำยังไงล่ะ ที่จริง เกษตรกรไม่ได้สงสารตัวเอง แล้วจะให้ลุงคิมสงสาร ยังงั้นเหรอ ?
ข้างบ้าน : โธ่ลุง คนไม่รู้ก็คือไม่รู้นะลุง
ลุงคิม : ใช่ ไม่รู้คือไม่รู้ เมื่อไม่รู้แล้วไม่รับรู้ ปิดประตูรับรู้ทุกเรื่อง แม้แต่ที่ลุงจะบอกนี่ก็อีหร็อบเดียวกัน ถึงบอกไปก็ไม่เอา ไม่เชื่อ ไม่ใช้
ข้างบ้าน : เพราะอะไรคะลุง ?
ลุงคิม : ใจไง ใจไม่เอา ยุ่งยาก เสียเวลา ไม่ได้ผลทั้งๆที่ยังไม่ได้ใช้ แล้วไอ้ที่ใช้น่ะ ไม่ได้ผลแต่ไม่คิด ไม่ยอมรับ
ข้างบ้าน : หมายความว่าไงลุง หนูไม่เข้าใจ ?
ลุงคิม : อืมมม มันก็คงไม่เข้าใจอยู่อย่างนี้แหละนะ เรื่องนี้ถ้าพูดเป็นวิชาการ 4 ปีไม่จบ แต่ถ้าใจเอาใจรับ 4 ชั่วโมงรู้เรื่อง ทำได้เลย
ข้างบ้าน : ทำไงเหรอลุง ?
ลุงคิม : เอางี้ ลองยาสมุนไพรดูมั่ง เอา บอระเพ็ด. ฟ้าทะลายโจร. สะเดา. น้อยหน่า. ยาฉุน. สาบเสือ. ยูคา. อันนี้แมลงปากกัดปากดูดวางไข่ทุกแมลงกับหนอนกัดกินพืช .... พริก. ขิง. ข่า. ขมิ้น. ดีปลี. หอม. กระเทียม. ตะไคร้. กระชาย. หมาก. อันนี้แก้โรคทุกโรค .... วิธีทำก็ให้เอาทั้งสมุนไพรแมลง สมุนไพรโรคทั้งหมดมาต้มรวมกัน ต้มพอเดือด ต้มแล้วปล่อยให้เย็นก็ใช้ ได้ .... ส่วนโรคในดิน ใช้จุลินทรีย์ จะเป็นจุลินทรีย์โดยเฉพาะหรือจุลินทรีย์ในน้ำหมักชีวภาพก็ได้ ก็เท่านี้แหละ
ข้างบ้าน : ใช้บ่อยไหมลุง ?
ลุงคิม : ถามจริง งานนี้เอาจริงเหรอ ?
ข้างบ้าน : เอาซี่ลุง วันนี้มันไม่ใช่ต้นทุนสูงอย่างเดียว ราคาก็ตก ขายแล้วขาดทุน ขาดทุนไม่พอกลับเป็นหนี้อีก ไม่เลิกยาเคมีไปไม่รอดแน่ลุง
ลุงคิม : (หัวเราะ) นี่มั้ย ที่เขาว่า ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา
ข้างบ้าน : ไม่ใช่เห็นอย่างเดียวนะลุง ลงไปนอนในโลงด้วย
ลุงคิม : เอาเป็นว่า สมุนไพรแมลงกับสมุนไพรโรค ที่เอามาต้มนั่น ระยะ3วัน 5วันแรก ฉีดพ่นทางใบทุกวัน พอเห็นว่าเอาอยู่แล้วค่อยเลื่อนให้เป็น วันเว้นวัน หรือวันเว้น2วันก็ได้ ส่วนจุลิน ทรีย์ให้ 15 วันครั้ง
ข้างบ้าน : ลุงมีอะไรแนะนำอีกไหมคะ ?
ลุงคิม : ไอ้ที่จะแนะนำน่ะ ยังมีอีกเยอะแยะ พูด 4 ปียังไม่จบเลย แต่ถ้าใจเอาจริง ลองทำลองใช้ 4 นาทีบรรลุโสดาบัลย์ได้ คราวนี้แหละ ต้นทุนจะลด คนกลางไม่ปฏิเสธ คนกินจะไม่รังเกียจ
ข้างบ้าน : จริงค่ะลุง
ลุงคิม : หาสมุนไพรทำยาแต่ละสูตรให้มากชนิดกว่านี้ สมุนไพรยิ่งมากชนิดยิ่งดี เพราะสมุนไพรตัวหนึ่งมีฤทธิ์กับศัตรูพืชตัวหนึ่ง เท่านั้น เราต้องใช้วิธีดักทาง แล้วก็ฉีดพ่นบ่อยๆ เอาเถอะ หนอนแมลง โดยยาสมุนไพรบ่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก มันอยู่ไม่ได้หรอก ว่ามั้ย
ข้างบ้าน : จริงค่ะลุง
ลุงคิม : แล่นเรือปากเป็ด ฉีดพ่นทุกวัน วันและครั้ง ทำทันเหรอ ?
ข้างบ้าน : ไม่ทันก็ต้องทันค่ะลุง รุ่นหน้าหนูวางแผนจะติดสปริเกอร์แบบของลุงค่ะ
ลุงคิม : ก็ลองดู
เรื่องยาฆ่าแมลง 5 :
แปลงผักกางมุ้ง รังสิต : อยู่รังสิต 2-3-4 ปีแรก ฟู่ฟ่า รายได้ดี ระดับส่งออก .... ขึ้นปีที่ 5-6 เริ่มวูบๆ วาบๆ รายได้ลด เพราะ ต้นทุนเพิ่มแต่รายได้ลด ทั้งคุณภาพ ปริมาณ และตลาดรองรับ
ฟู่ฟ่า รายได้ดี ระดับส่งออก : เพราะแปลงปลูกกางมุ้งตาข่ายแม่ผีเสื้อเข้าวางไข่ไม่ได้จึงไม่มีหนอน.... มุ้งตาข่าย เพลี้ยไฟเข้าได้ แต่เพลี้ยไฟไม่เข้าเพราะไม่มีพืชเป้าหมาย ผักแปลงนี้จึงรอดจากสารเคมียาฆ่าแมลง
วูบๆ วาบๆ รายได้ลด ต้นทุนเพิ่มแต่รายได้ลด : เพราะปริมาณผลผลิตผักแต่ละรุ่น แต่ละล็อต ที่ได้ มากน้อยเอาแน่ไม่ได้ ผักที่เก็บมาแล้วต้องคัดทิ้ง
คุณภาพ ปริมาณ ลด : เพราะโรคที่มาจากทางรากทำให้ผักไม่สมบูรณ์ ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ตกเกรด สาเหตุมาจากในมุ้งตาข่าย อุณหภูมิสูงกว่าภายนอกตาข่าย 4 องศา ซ. อุณหภูมิที่สูงกว่าระดับนี้ส่งเสริมให้เชื้อโรคในดินพัฒนาเจริญเติบโตขยายพันธุ์มากและสูงกว่าปกติ ผลคือ ผักในมุ้งแปลงนี้ไม่มีศัตรูพืชบนต้น แต่มีศัตรูพืชในดินไฟธอปเทอร์ร่า, พิเทียม, ฟูซาเลียม, สเคลโรเทียม, ไรซ็อคโทเนีย ไส้เดือนฝอย. กับอีก 10 กว่าโรค ไม่ได้ท่องมา
ตลาดต่างประเทศปฏิเสธ : ส่งตามออร์เดอร์ไม่ได้ต้องถูกปรับ แนวทางแก้ปัญหา คือ ไปเอาผักที่ใช้สารสมุนไพร 100% ส่งออร์เดอร์แทน
รูปแบบเกษตร : ไม่ได้ใช้สารเคมี แต่ใช้ปุ๋ยเคมีบ้าเลือด แม้จะใช้ครั้งละไม่มาก แต่ไม่เคยใช้อินทรีย์ร่วม ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์ ทั้งที่มีในธรรมชาติและที่สร้างแล้วใส่ลงไป
(ปัญหาทำนองนี้ ดอกเตอร์ไม่รู้.....ก.ไม่เชื่อ)
แปลงผักกางมุ้ง กำแพงแสน นครปฐม : แปลงนี้ปลูก กระเพา โหระพา แมงลัก อย่างละ 3 ไร่ สำหรับส่งออกสวิสส์เซอร์แลนด์ตามเกษตรพันธะสัญญา (contract farming) กางมุ้ง ไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงเด็ดขาด ใช้กับดักกาวเหนียวได้ ไม่ห้ามปุ๋ยเคมี
เกมส์นี้น่าสน คือ 1. ราคาสูงกว่าตลาดในประเทศ 3 เท่า 2. บริษัทมาตรวจ 2-3 เดือน/ครั้ง และ 3. ก่อนมาตรวจจะแจ้งล่วงหน้า ....เรื่องราคาดีกว่า อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว บริษัทมาตรวจก็ดี แต่แจ้งล้วงหน้าก่อนมานี่ดี เพราะบางอย่างเปิดเผยไม่ได้ ... เรื่องของเรื่องก็คือ เพราะอุณหภูมิในมุ้งสูงกว่าอุณหภูมินอกมุ้ง (ตอนบ่ายๆ คนเข้าไปอยู่มุ้งจะรู้สึก) ทำให้เชื้อโรคในดินมาก แก้ไขด้วยการ เปิดด้านข้างมุ้ง ตอนกลางวันเพื่อปรับอุณหภูมิ ตกกลางคืนก็ปิดอย่างเดิม การที่บริษัทแจ้ง ล่วงหน้าว่าจะมาตรวจ จึงช่วยให้การ ปิด/เปิด ข้างมุ้งทำได้แนบเนียนดี นอกจากนั้นยังมีการใช้ สารสมุนไพร ร่วมด้วย เพราะตัวนี้บริษัทไม่ได้ห้าม
ในความเป็นจริง ตลาดผักอินทรีย์ มีการตรวจเฉพาะ สารเคมียาฆ่าแมลง เท่านั้น ไม่เคยได้ข่าว หรือเคยเห็นเขาตรวจ ปุ๋ยเคมี หรือ สารสมุนไพร เลย
(ฝรั่งสวิสส์เซอร์แลนดิ์ เอาผักพวกนี้ไปเยอรมัน ฝรั่งเศส สวีเดน กินกับแซนด์วิช บอกว่าเป็นทั้งอาหารและยา แถมบอกว่าคนไทยโง่ที่ไม่กินผักพวกนี้ คนไทยเลยสวนว่า ยูนั่นแหละโง่ คนไทยกินมาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่แล้ว กินผักสมุนไพรมากชนิดกว่านี้ด้วย ฝรั่งเลยกินทั้งเซ่อทั้งผัก)
5.3 แปลงผักกางมุ้ง ใกล้เสาส่ง ทีวี.ช่อง 3 บางแค กทม. : แปลงผักกางมุ้ง ขนาด 5 ไร่ แบ่งเป็นแปลงละ ครึ่งไร่ รวม 10 โรง ราคาโรงละ 200,000 (วัสดุ + ค่าแรง) ทุกขั้นตอนทำตามสเป็คที่บริษัทส่งออกกำหนดทุกปะการ .... ระยะเวลาก่อสร้างราวครึ่งเดือน วันนี้เนื้องานเสร็จกว่า 95% แล้วนั้น เหมือนบุญมีแต่กรรมบัง พระสุรัตน์วดีหรือพระยายมราช สั่งให้เกิดพายุใหญ่ ล้มเรือนกางมุ้งทั้ง 10 หลังลงกองเอ๊าะเยาะกับพื้น
(เกมส์นี้ หยุด/ถอย/เลิก หรือว่า เดินหน้าใหม่ ไม่รู้ เพราะขาดการติดต่อตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้)
-------------------------------------------------------------------------------
.
* ลด.พืช ชนิดทำทั้งปีได้ขายรอบเดียว .... เพิ่ม.พืช ชนิดทำทั้งปีได้ขายหลายรอบ
.
*ปรัชญาการเกษตร :
(2) อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม ของ ....?....
ลดปุ๋ยเคมี เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับปรุงบำรุงดิน
ลดธาตุหลัก เพิ่มธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน และจุลินทรีย์
ปุ๋ยเคมีชีวะ มีในธรรมชาติ....ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ มีในกระสอบ
จุลินทรีย์ไม่ใช่สารอาหารพืช แต่เป็นผู้สร้างสารอาหารให้พืช
....?.... หมายถึง พืช ทั้งพืชเป้าหมาย และพืชนอกเป้าหมาย
ปัจจัยพื้นฐานการเกษตรด้านพืช
ดิน น้ำ แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล สารอาหาร สายพันธุ์ โรค
ตลาด ต้นทุน พันธะสัญญา อนาคต
ปุ๋ย ยา เทคโน โอกาส
ทำตามคนที่ล้มเหลวจะล้มเหลวยิ่งกว่า เพราะอยากเอาชนะ
เขาใส่ปุ๋ย 1 เราต้องใส่ 2 เขาฉีดยา 1 เราต้องฉีด 2
ผลรับ คือ ต้นทุนเพิ่ม ผลผลิตลด อนาคตมืด
ทำตามคนที่สำเร็จจะสำเร็จยิ่งกว่า เพราะเอาแนวเขามา ต่อยอด/ขยายผล
เขาใส่ปุ๋ย 1 เราใส่แค่ครึ่งเดียว แล้วใส่ตัวเสริมประสิทธิภาพปุ๋ยแทน
เขาใช้ยาเคมี เราใช้ยาสมุนไพร ฉีดบ่อยๆ สม่ำเสมอ แทน ผลรับ คือ ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี
IQ คือ ฉลาดเฉลียว เกิดจากสายเลือด มีใน DNA (5)
EQ คือ มนุษย์สัมพันธ์ เกิดจากความมีน้ำใจอัจฉริยะ
อัจฉริยะ คือ ความคิดริเริ่ม ความเฉลียว
สร้างเอง ได้มาจาก แรงบันดาลใจ 99% + ความขยัน 1%
นั่นคือ ใครๆ ก็อัจฉริยะได้
EQนำ + IQเสริม ประสบความสำเร็จมากกว่า IQนำ + EQเสริม
อัจฉริยะ - IQ - EQ เกิดใน ใจ มาจาก ใจ
(6) อยากทำปุ๋ยเอง แต่หาวัสดุส่วนผสมไม่ได้ : ไปที่ร้าน ให้ร้านสั่งให้ บอกสหกรณ์ที่หมู่บ้านเอาสินค้านี้มาขาย
อยากทำยาสมุนไพรเอง แต่ไม่รู้จัก หาซื้อไม่ได้ : ไปที่ร้านยาไทย บอกให้สหกรณ์ที่หมู่บ้านเอาสมุนไพร สำเร็จรูป/พร้อมใช้ มาขาย
อยากรู้เทคโนโลยี แต่ไม่รู้ ไม่เคยเห็น : อ่านตำรา ไปตามสวน ดูหลายๆ สวน แล้ว คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ด้วยเหตุและผล
อยากได้โอกาส แต่ไม่รู้ ไม่เชื่อ : ถามคนขาย สินค้านั้นมาจากไหน ไปดูถึงแหล่ง แล้ว คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ด้วยเหตุและผล
การศึกษาด้านเกษตรระดับ มัธยม อุดมศึกษา ปริญญาตรีโทเอก ไม่มีหลักสูตรการทำปุ๋ย อินทรีย์/เคมี-ชนิด/ประเภท-ทางใบ/ทางราก ชนิดน้ำ ทั้งๆที่จำเป็นต้องใช้
นอกจากไม่มีหลักสูตรสอนแล้วยังไม่แนะให้ไปหาแหล่งเรียนรู้ด้วยตัวเองอีกด้วย นร.-นศ. จบไปแล้วจึงคิดไม่เป็น ไม่คิดที่จะทำเอง คิดแต่ซื้อ ที่ซื้อก็ซื้อตามโฆษณา
คนทำปุ๋ยขายทุกวันนี้ ทำได้ด้วย ประสบการณ์ตรง ของตัวเอง
แพทย์ วิศวะ ช่าง บริหาร มีความรู้ตามสาขาที่เรียน แต่ไม่ได้เรียนเกษตรจึงไม่มีความรู้เรื่องเกษตร ครั้น อ่าน หนังสือเกษตรจึงมีความรู้เรื่องเกษตรได้ ....... ฉันใด
ประชาชนทั่วไป ไม่ได้เรียนเกษตร ไม่มีความรู้เรื่องการเกษตร แต่ อ่าน หนังสือเกษตร ย่อมมีความรู้ เรื่องการเกษตรได้...... ฉันนั้น
คนทำปุ๋ยขายทุกวันนี้ ทำได้ด้วย ประสบการณ์ตรง ของตัวเอง
สมการปุ๋ย :
ปุ๋ยถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
ปุ๋ยถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง
ปุ๋ยถูก = ถูกสูตร-ถูกชนิด-ถูกประเภท-ถูก พีเอช.-ถูกปริมาณ-ถูกทุกอย่างที่เกี่ยวกับปุ๋ย
ใช้ถูก = ถูกพืช-ถูกดิน-ถูกน้ำ-ถูกอากาศ-ถูกเครื่องมือ-ถูกประวัติ-ถูกทุกอย่างที่เกี่ยวกับพืช
สมการยาสมุนไพร :
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชถูก + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชผิด + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรผิด + ตัวศัตรูพืชผิด + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชถูก + วิธีใช้ถูก = ได้ผล
วิธีทำ : ประเภท ขม/ฝาด = ต้ม หมัก แช่, ประเภท กลิ่น = กลั่น
สารออกฤทธิ์ : กลิ่น รส ฤทธิ์
สารเร่งการออกฤทธิ์ : น้ำร้อน แอลกอฮอร์ น้ำส้มสายชู
สมการปุ๋ยอินทรีย์ :
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ถูก+วิธีทำถูก+อื่นๆที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ถูก+วิธีทำถูก+อื่นๆที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ถูก+วิธีทำผิด+อื่นๆที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ผิด+วิธีทำผิด+อื่นๆที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมผิด+จุลินทรีย์ผิด+วิธีทำผิด+อื่นๆที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักผิด+วัสดุเสริมผิด+จุลินทรีย์ผิด+วิธีทำผิด+อื่นๆที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ถูก+วิธีทำถูก+อื่นๆที่เกี่ยวข้องถูก = ได้ผล
(12) ปฏิทิน ลด-ละ-เลิก สารเคมี :
วันที่ 1 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่น สารเคมี (ครั้งที่ 1) +สารสมุนไพร ..... วันที่ 2, 3, 4 เว้น
วันที่ 5 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ ......................... วันที่ 6, 7, 8 เว้น
วันที่ 9 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ ........................ วันที่ 10, 11, 12 เว้น
วันที่ 13 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่น สารเคมี (ครั้งที่ 2) +สารสมุนไพร .... วันที่ 14, 15, 16 เว้น
วันที่ 17 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ ........................ วันที่ 18, 19, 20 เว้น
วันที่ 21 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ ........................ วันที่ 22, 23, 24 เว้น
วันที่ 25 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่น สารเคมี (ครั้งที่ 3) +สารสมุนไพร....... วันที่ 26, 27, 28 เว้น
วันที่ 29 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ ........................ วันที่ 30, 31, 32 เว้น
วันที่ 33 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ ......................... วันที่ 37, 38, 39 เว้น
.
* ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี :
- เกษตรานุสติ :
- หลักการและเหตุผล :
- ปัญหาและการแก้ปัญหา :
- แผนการในอนาคต :
.
* ภูมิปัญญาพื้นบ้าน มาตรฐานโรงงาน มีหลักวิชาการรองรับ :
วัตถุที่ใช้แทนกากน้ำตาล :
น้ำผึ้ง , น้ำตาลทรายแดง , นมสด
น้ำผลไม้สดทุกชนิด เช่น น้ำมะพร้าว น้ำส้ม น้ำสับปะรด น้ำอ้อน ฯลฯ
น้ำซาวข้าว
น้ำปัสสาวะ
ฯลฯ
สำหรับคนที่มีเศษอาหารสดในครัวเรือนมากมายต่อวัน อย่าขุดฝังใต้โคนต้นไม้นะคะ เพราะจะเน่าเสีย นอกจากคุณจะมีพื้นที่บ้านมากพอ อย่าโยนใส่รถขยะเทศบาล เพราะจะเน่าเสีย กว่ารถจะนำไปกลบฝังหรือบำบัดแบบอื่นๆ กรุณาร่วมใจ ช่วยกันบำบัดสดครัวเรือน ด้วยการหมักเป็นปุ๋ยชีวภาพ เศษอาหาร ผัก ผลไม้ ที่เหลือจากการบริโภค ทุกอย่าง ยกเว้นน้ำมัน
ใส่ถังหมัก หรือ ภาชนะ หรือแม้แต่ถุงดำหนาๆ เติมน้ำตาล หรือ กากน้ำตาล และน้ำเปล่า ใช้สูตรการหมักโดยน้ำหนัก เศษอาหาร 5 ส่วน ต่อกากน้ำตาล 1 ส่วน ต่อน้ำเปล่า 1 ส่วน เคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาถัง ตั้งไว้ในที่ร่ม อย่าให้โดดแดดส่อง เพราะจุลินทรีย์จะตาย ฝาไม่ต้องปิดสนิท เพราะจะมีแก๊ซบางชนิดเกิดในระหว่างการหมักเติมเศษอาหารใหม่ได้ทุกวัน ใช้สูตรผสมตามเดิม น้ำตาลเป็นส่วนสำคัญในการหมัก เพราะจุลินทรีย์ที่มีในถังหมัก ต้องกินน้ำตาล น้ำปุ๋ยชีวภาพ ใช้ผสมน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ต่อน้ำ 1 ถัง ใช้รดน้ำต้นไม้ สัปดาห์ละสองครั้งกำลังดี ชนิดเข้มข้น ใช้ราดในโถส้วม ราดท้องร่อง หรือบริเวณน้ำขังเน่าเสีย ชนิดเจือจางสามถึงห้าเท่า ใช้ราดดับกลิ่นมูลสัตว์ หรือผสมน้ำอาบสุนัข ล้างคอกสัตว์เลี้ยง ดับกลิ่นต่างๆ เนื้อปุ๋ย ใช้ผสมดิน 5 เท่า สำหรับปลูกผัก หรือขุดหลุมฝังที่โคนต้นไม้
.
.
* คิดนอกกรอบ :
คิดนอกกรอบ :
https://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/406/%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A
.
* เกษตรอัจฉริยะ :
เกษตรแจ๊คพอต :
หลักการและเหตุผล :
การกะเก็งให้ผลไม้ออกสู่ตลาดแล้วได้ราคาดี นอกจากทำให้ออกก่อนหรือหลังฤดูกาลปกติของผลไม้เองแล้ว ช่วงเทศกาลประเพณีสำคัญที่มีผู้ต้องการมากก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลไม้นั้นมีราคาแพงขึ้น โดยเฉพาะผลไม้ประเภทโหงวเฮ้งดีๆสำหรับใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้หรือประกอบพิธีกรรมตามประเพณี
การปลูก การบำรุงให้ออกดอกติดผล หรือการบำรุงให้ได้เกรด เอ.จัมโบ้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การทำให้ขายได้ราคาดีนั้นยากกว่า เพราะฝีมืออย่างเดียวไม่พอจะต้องมีเฮงด้วยจึงถือว่าเก่งจริง
แนวทางปฏิบัติ :
เทศกาลตรุษจีน : สารทจีน. ไหว้พระจันทร์ และเชงเม้ง ผลไม้ที่นิยมใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้ คือ กล้วยหอมทอง. แก้วมังกร. ลำไย. ส้มแก้ว. ส้มเขียวหวาน. ส้มโชกุน. ส้มโอ. ทับทิม. ลิ้นจี่.
เทศกาลสารทไทย : ผลไม้ที่ได้รับความนิยม คือ กล้วยไข่
เทศกาลสงกรานต์ : ผลไม้ที่ได้รับความนิยม คือ มะนาว. มะละกอ. มะพร้าวน้ำหอม.
เทศกาลท่องเที่ยว : ผลไม้ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ คือ กล้วยหอม. ลำไย. ทุเรียน. มังคุด. ส้มโอ. มะม่วง. มะพร้าวน้ำหอม.
.
* เกษตรกังขา :
.
* เกษตรท่องเที่ยว :
.
* ฯลฯ :
.
* ฯลฯ :
.
* ฯลฯ :
.
|
|