kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11621
|
ตอบ: 24/01/2019 10:47 am ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 24 JAN *ปัญหา มะม่วง ปัญหา 3 |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 24 JAN
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
สนับสนุนรายการโดย ....
* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช .... (02) 322-9175-6
http://www.nimut.com/
* ยิบซั่มธรรมชาติ ---- เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์แมกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็มแคล, แคลซี, แคลสตาร์, .... ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ .... (089) 144-1112
http://www.bkgmax.com/kaset/product.html
* บ.มายซัคเซส อะโกร --- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กลิ่นล่อ+กาวเหนียว ดักแมลงวันทอง ฟลายแอต สเปร์ย, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพรไบโอเจ๊ต, ใบมีด ตัดหญ้า+พรวนดิน ในตัวเดียวกัน, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ .... (081) 910-5034
http://www.mysuccessagro.com
* และ ชมรมสีสันชีวิตไทย เกษตรลดต้นทุน อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด แต่ละปัจจัยพื้นฐาน แต่ละวัตถุประสงค์ แต่ละใจเจ้าของ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ที่ (081) 913-4986 โทรศัพท์เข้ารายการคุยกันสดๆ ออกอากาศ สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน (02) 888-0881 และอินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
----------------------------------------------------------------------------------
จาก : (069) 117-35xx
ข้อความ : มะม่วงในต้นเดียวกัน มีผลหลายรุ่น ถ้าเราให้ 0-21-74 เร่งหวานผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะทำให้
ผลเล็กหยุดโต ปัญหานี้ที่ไร่กล้อมแกล้มแก้อย่างไร .... ปรานบุรี
ตอบ : การที่มะม่วงออกดอกไม่ทุกกิ่ง (ยอด) พร้อมกันทั้งต้น สาเหตุหลักมาจาก ....
1. ช่วงระหว่าง C กับ N แคบ หรือต่างกันเล็กน้อย ทั้งนี้มะม่วง (ไม้ผลอื่นๆ ด้วย) จะออกดอกดีต้องมีช่วง
C กับ N กว้างๆ(ซี. คือ P. K. ธาตุรอง 3 ตัว, เสริมเสริม 8 ตัว.... เอ็น คือ N. ตัวเดียว มีในกระสอบ.
ในน้ำ....เรโช แปลว่า อัตราส่วนระหว่าง)
2. สภาพอากาศ (อุณหภูมิ) อาจจะมีผลต่อการออกดอกของมะม่วงไม่มากนัก นั่นคือ สภาพอากาศช่วงเดือน
พ.ย. - ธ.ค. ของปีนี้ เหมาะสมต่อการออกดอกของมะม่วง อยู่แล้ว
3. ปริมาณสารอาหารที่เป็นปัจจัยหลักเสริมการออกดอก ได้แก่ Mg - Zn - Ca ไม่เพียงพอ
4. ปุ๋ยทางใบสูตรเปิดตาดอก "13-0-46 + ไธโอยูเรีย" ไม่เหมาะสมกับสภาพความพร้อมของต้น
หมายเหตุ :
- เมื่อในธรรมชาติไม่มีสูตรสำเร็จ และไม่มีตัวเลข สวนเขาสวนเรา มีความต่างบนความเหมือน นั่นคือ คุณบำรุงต้น
อย่างไรบ้าง ?
- แนวทางที่ลุงคิมบอกได้มาจาก "วิชาการ + ประสบการณ์" บ่อยครั้งที่บางคน ได้ผล และหลายครั้งที่บางคนไม่ได้ผล
.... นักวิจัยบอก ได้ผลคือสำเร็จ เอาไปต่อยอด ไม่ได้ผลคือสูตรใหม่ เอาไปค้นหาคำตอบ
แนวทางแก้ปัญหา :
กรณีที่ 1. มะม่วงออกดอกไม่พร้อมกันทั้งต้น เมื่อดอกออกมาประมาณ 1 ใน 4 ของทั้งต้น ช่อที่ออกมาแล้ว
ยาวประมาณ 1-10 ซม. ....
วิธีที่ 1 ให้เปิดตาดอก ซ้ำด้วยสูตรเดิม 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน ....
วิธีที่ 2 เปิดตาดอกซ้ำด้วย สูตรเดิม 2 รอบ แล้วซ้ำด้วย 0-42-56 อีก 1 รอบ ....
ทั้ง 2 วิธี ถ้าต้นมีความสมบูรณ์พร้อม ยอดที่ยังไม่ออกดอกก็จะมีดอกออกมาให้เห็น แต่ถ้าดอกไม่ออกก็คือไม่ออก
ต้องรอรุ่นต่อไป
กรณีที่ 2. ตัดยอดที่เป็นใบด้วยกรรไกคมๆ เหลือส่วนตอไว้ประมาณ 1 ซม. แล้วสะสมตาดอกด้วย
0-42-56 เฉพาะยอดที่ตัด 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จากนั้นเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 + ไธโอยูเรีย
อีก 2 รอบ คอยสังเกต มะม่วงกิ่งนั้น จะออกดอกที่กลางกิ่ง หรืออาจจะออกที่ปลายยอดได้ ถ้ายังมีตุ่มตาที่ปลาย
ยอดที่เหลืออยู่ ....
ถ้าให้ 13-0-46 + ไธโอยูเรีย ไป 2 รอบแล้วดอกยังไม่ออกให้ซ้ำ ด้วย 0-42-56 อีก 1 รอบ คราวนี้ ออกคือออก-
ไม่ออกคือไม่ออก ขึ้นกับความสมบูรณ์สะสมของต้น
กรณีที่ 3. อายุผลรุ่นแรกใหญ่ขนาดในภาพแล้ว โอกาสที่จะเปิดตาดอกยอดที่ยังไม่ออกนั้นค่อนข้าง
ยากหรือทำไม่ได้เลย ....
เกมส์นี้เสี่ยงเพื่อหาคำตอบ ก. ทำกับมือ. เอาสูตรไต้หวันซี่ ....
ใช้ 13-0-46 + 0-52-34 (1:3) ฉีดพ่นใส่ เฉพาะยอดที่ยังไม่ออกดอก 3-4 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
เพื่อสะสมตาดอก จากนั้นสำรวจอาการอั้นตาดอก ถ้าเห็นว่าอั้นตาดอกดีก็ให้เปิดตาดอกด้วย "13-0- 46 +
ไธโอยูเรีย" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน ถ้าออกคือออก ถ้าไม่ออกฉีด ซ้ำด้วย 0-42-56 อีก 1 รอบ คราวนี้
เป็นรอบตัดสิน ออกคือออก-ไม่ออกคือไม่ออก
หมายเหตุ :
- ไม้ผลอย่างมะม่วงมีเกมส์ให้เล่นเยอะนะ ลองๆศึกษาดู
- ทำมะม่วงออกกลางต้น กลางกิ่ง ก็สามารถแก้ปัญหาไม่ออกที่ปลายยอดได้
- ทุกอย่างของความสำเร็จขึ้นอยู่กับ "ความสมบูรณ์สะสม" ของต้น และความ สมบูรณ์สะสมของต้นขึ้นอยู่กับ
"ปัจจัยพื้นฐาน"
--------------------------------------------------------------------------------
สายตรง : (067) 629-14xx
สรุปข้อควม : ขอข้อมูล รายละเอียด เรื่อง สะสมอาหารเพื่อการออกดอก, การปรับ ซี/เอ็น เรโช,
การเปิดตาดอก, จะเขียนรายงานส่งครู.....นักเรียนชั้น ม.2 สองพี่น้อง สุพรรณบุรี
ข้อมูลจากหนังสือ หัวใจเกษตรไท. ไม้ผลแนวหน้า....
3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก (สะสมแป้งและน้ำตาล) :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน
นาน 1-2 เดือน.... ในรอบเดือนหาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ใส่ 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น
บริเวณทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุด ควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน โดยให้
น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน
- ไม้ผลที่ผ่านการบำรุงมาอย่างดีแล้วต้องกระทบหนาวจึงออกดอกดีนั้น ช่วงขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออก
ดอก ถ้ามีการให้ กลูโคส + 0-52-34 หรือ 0-42-56 + สังกะสี ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด
1-2 รอบ ให้รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอีก 20 วัน ให้อีกเป็นรอบ 2
ก็จะช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกและส่งผลให้เปิดตาดอกแล้วมีดอกออกมาดีอีกด้วย
- วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นสะสมสารอาหารทั้ง กลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และ กลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น)
ไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอกไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อน
ออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา
- ช่วงหน้าฝนสวนยกร่องน้ำหล่อหรือพื้นที่ลุ่มปริมาณน้ำใต้ดินมาก แนะนำให้บำรุงทางใบด้วยสูตรสะสมอาหาร
ปกติ โดยให้ก่อนฝนตก 1 ชม.หรือให้ทันทีหลังฝนหยุดใบแห้ง ให้บ่อยๆได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งหรือช่วงระยะเวลาให้
- เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น แนะนำให้ใส่มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม
5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่มจะเป็นการดียิ่งขึ้น....ใช้มูลค้างคาวด้วยความระมัดระวังเพราะ
ในมูลค้างคาวมีสารอาหารในการสร้างเมล็ดอาจมีผลกระทบช่วงบำรุงผลกลาง (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ได้
- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้ว
ใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.
ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสม
อาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบ
อ่อนชุดแรก จากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียว
กันทั่วทั้งต้นนั่นเอง
4. ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่าระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสอง
ขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้มเหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย ....
ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตา
ดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อ
ทำให้ออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิอากาศ
จะอำนวยก็ได้
5. ปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 0-42-56 + สารสมุนไพร 1-2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน
ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นโดยนำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) เพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้น
ตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลา
ให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน.... นมสดสัตว์ ซี/เอ็น เรโช 39:1 (สวพ.5
ชัยนาท)
- วัตถุประสงค์เพื่อ เพิ่ม ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และ ลด ปริมาณสารอาหาร
กลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.)
6. สำรวจลักษณะอั้นตาดอก :
ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งเป็นใบแก่จัด ข้อระหว่างใบสั้น ใบหนาเขียวเข้มส่องแดดแล้วแสงไม่ทะลุเนื้อใบกรอบ เส้นใบ
นูนเด่น หูใบอวบอ้วน กิ่งช่วงปลายกลม เปราะหักง่าย มีตุ่มตานูนขึ้นที่โคนหูใบหรือซอกใบ อาการนี้ควรเกิด
ขึ้นกับทุกจุดหรือทุกปลายยอดที่สามารถออกดอกได้ทั่วทั้งต้น และเมื่อมองจากภายนอกระยะไกลเห็นความ
สมบูรณ์ของต้นชัดเจน
ถ้าอาการอั้นตาดอกเกิดขึ้นไม่ทั่วทั้งต้นหรือเกิดขึ้นเพียงบางกิ่งเท่านั้น กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้ว
บำรุงด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ทั้งทางใบและทางรากต่อไปอีก
7. ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศ ก่อนเปิดตาดอก :
ก่อนลงมือเปิดตาดอกจำเป็นต้องทราบข่าวอากาศล่วงหน้า กล่าวคือ ในอีก 20-30 วันข้างหน้าซึ่งเป็นวันที่
ช่อดอกเริ่มออกมาแล้วนั้นจะต้องไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนจะทำให้ดอกเสียหาย โดย เฉพาะดอกบานจะเสีย
หายจนผสมไม่ติด
ถ้ารู้ว่าในอีก 20-30 วันข้างหน้าจะมีฝนตก ให้เลื่อนการเปิดตาดอกออกไปแล้วกลับมาบำรุงด้วยสูตรสะสม
อาหารเพื่อการออกดอกต่อ จนกว่าจะแน่ใจว่าหลังเปิดตาดอกจนดอกออกมาแล้วไม่มีฝนจึงลงมือเปิดตาดอก
----------------------------------------------------------------------------------
. |
|