kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11600
|
ตอบ: 26/02/2021 7:05 am ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 23 FEB .. *จุลินทรีย์ จาวปลวก/หน่อกล้ว |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 23 FEB
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
*****************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ...
ผลิตรายการโดย....
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
ผู้สนับสนุนรายการ ....
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ
เช่นเคย รายการเรา
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
........................................................................................................
........................................................................................................
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลงที่นั่น ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
- งานสีสันสัญจรปกติตามวงรอบ งวดนี้ เสาร์นี้ ตรงกับวันที่ 27 ก.พ. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ สมุนไพรสำหรับคน (086) 983-1966 .... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนาภิเษก.
- งานสัญจรระยะนี้ต้องร่วมกันป้องกัน COVID หลีกเลี่ยงจับกลุ่ม คนมากๆ แนะนำ สมช. สั่งปุ๋ยลุงคิม สั่งยา อ.ณัฐ โทรติดต่อโดยตรงแล้วได้นัดหมายรับส่งของกัน รับของแล้วแยกกันเลย มีปัญหาอะไรโทรศัพท์คุยกันก็ได้....
************************************************************
***********************************************************
จาก : (098) 623-79xx
ข้อความ : ขอข้อมูลจุลินทรีย์กลุ่มเกี่ยวข้องกับพืชที่ลุงมี จะเอาไปเขียนรายการครับ....ขอบคุณครับ
จาก : (082) 381-63xx
ข้อความ : จุลินทรีย์หน่อกล้วย ทำอย่างไร ใช้อย่างไร
จาก : (069) 729-51xx
ข้อความ : แม่ให้ถามคุณตา จุลินทรีย์กินอะไรเป็นอาหาร...ขอบคุณค่ะ
ตอบ : ...
เกริ่นกล่าวเล่าสู่ฟัง : ... ข้อมูลเรื่องราวเนื้อหาสาระต่อไปนี้ ล้วนได้มากจากการ อ่าน อ่าน และอ่านอ่าน + ประสบการณ์ + สังเกตุ + คิด + วิเคราะห์ + เปรียบเทียบ + เขียน เขียน และเขียนเขียนแบบ REWRITE
บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร :
เกษตรธรรมชาติ ถือว่า ดินดี คือ ดินที่มีชีวิต เป็นดินที่มีความสมดุลของสิ่งมีชีวิตในดินรวมถึงจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน สมดุลของจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินสภาพธรรมชาติก็คือ ความเหมาะสมในด้านของจำนวนจุลินทรีย์ และความหลากหลายของจุลินทรีย์ ดินที่เหมาะสมที่สุดในการทำการเกษตรคือ ดินที่มีจุลินทรีย์อยู่หลายกลุ่ม ตัวอย่างของดินดีชนิดหนึ่งคือ ดินป่า นั่นเอง
ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ โดย ดร.อานัฐ ตันโช ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
www.maejonaturalfarming.org
บทบาทของจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร :
1. ย่อยสลาย (กิน) อินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุแล้วถ่ายมูลออกมาเรียกว่า "กรดอินทรีย์" ส่วนที่เป็นธาตุอาหารพืชซึ่งอยู่ใน "รูป" ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ได้แก่ โพลิตินอล. ควินนอยด์. อโรเมติค. ซิลิลิค. ออแกนิค. ส่วนที่เป็นฮอร์โมนพืช ได้แก่ ออกซิน (ไซโตคินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. เอทธิลิน. อีเทฟอน. อีเทรล. แอบซิสสิค. เอบีเอ. ไอเอเอ. เอ็นเอเอ.ฯลฯ) และส่วนที่เป็นท็อกซิก. ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อโรคพืชได้
2. ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ทำให้ดินเป็นกลาง
3. จับยึดธาตุอาหารพืชจากอากาศไปไว้ในตัวเองแล้วปลดปล่อยให้แก่ต้นพืช
4. ปลดปล่อยปุ๋ยเคมีที่ถูกดิน (กรดจัด) ตรึงไว้ให้ออกมาเป็นประโยชน์แก่ต้นพืช
5. ตรึงปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ลงไปไว้แล้วปลดปล่อยให้ออกมาช้าๆ เพื่อให้พืชได้มีเวลาดูดซับไปใช้งานได้ทันทีและสม่ำเสมอ
6. สลายฤทธิ์สารที่เป็นพิษต่อพืชให้เจือจางลงๆ จนกระทั่งหมดไปในที่สุด
7. กำจัดจุลินทรีย์ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเป็นโทษ (เชื้อโรค) ต่อต้นพืช
8. เกิดได้เองตามธรรมชาติภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
เกร็ด (เกร็ด) ความรู้เรื่อง "จุลินทรีย์" เพื่อการเกษตร :
1. จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตแต่ไม่ใช่สัตว์หรือพืช เรียกว่า "สัตว์เซลล์เดียว" อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีความชื้นตั้งแต่ระดับความชื้น 1-100 เปอร์เซ็นต์ .... องค์การนาซาได้รายงานว่าพบจุลินทรีย์ในก้อนเมฆ และรายการ ทีวี.ดิสคัฟเวอรี่ แชลแนล. ได้ให้ข้อมูลว่า ดิน 1 ลบ.ซม. มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ถึง 78 ล้านตัว
4. จุลินทรีย์ขยายพันธุ์โดยการแบ่งตัวเองแบบทวีคูณ เช่น 1 ตัวเมื่อโตเต็มที่จะแบ่งตัวเองออกเป็น 2 ตัว และ 2 ตัวเมื่อโตเต็มที่ก็จะแบ่งตัวเองออกเป็น 4 ตัว หรือจุลินทรีย์ 1 แสนตัวเมื่อโตเต็มที่ต่างก็แบ่งตัวเองกลายเป็น 2 แสนตัวเป็นต้น
5. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ แบคทีเรีย. ไวรัส. ยีสต์. และรา. ซึ่งกลุ่มใหญ่ๆ เหล่านี้แยกออกเป็นประเภทต่างๆ อีกหลายประเภท เช่น
- ประเภทที่มีประโยชน์ (ฝ่ายธรรมะ) มีประสิทธิภาพในการสร้างและส่งเสริมปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-อุณหภูมิ-สายพันธุ์-โรค) ให้พืชเจริญเติบโต
- ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเชื้อโรค (ฝ่ายอธรรม) มีประสิทธิภาพในการทำลายปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร ทำให้พืชไม่เจริญเติบโตหรือตาย
- ประเภทไม่ต้องการอากาศ ชอบและอยู่ในดินลึกที่อากาศลงไปถึงได้น้อยหรือไม่มีอากาศเลย แต่ยังเป็นจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืช มีพลังในการย่อยสลายเหนือกว่าจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ
- ประเภทต้องการอากาศ ชอบและอยู่บริเวณผิวหน้าดินที่อากาศผ่านหรือถ่ายเทสะดวก
- ประเภทต้องการความชื้นน้อย เจริญเติบโต ขยายพันธุ์ได้ดีภายใต้สภาพความชื้นน้อยๆ หรือแห้งแล้ง
- ประเภทต้องการความชื้นมาก เจริญเติบโตได้ภายใต้สภาพความชื้นที่เหมาะสม เช่น ชื้นพอดี ชื้นแฉะ น้ำขังค้าง
- ประเภทเกิดได้เร็ว เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมภายใน 3-10 วัน
- ประเภทเกิดได้ช้า เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต้องใช้ระยะเวลานานนับเดือนหรือหลายๆ เดือนทั้งจุลินทรีย์ประเภทเกิดได้เร็วและเกิดได้ช้า ถ้าเป็นจุลินทรีย์ฝ่ายธรรมะย่อมมีประโยชน์ต่อพืชเหมือนๆ กันดังนั้นการใช้จุลินทรีย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงควรใช้ทั้งจุลินทรีย์ประเภทหมักใหม่และหมักนานแล้วร่วมกัน
9. อาหารที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ คือ "รำละเอียด" และ "สารรสหวาน" เช่น กากน้ำตาล น้ำตาลในครัว น้ำหวานในเครื่องดื่มต่างๆในอัตราที่เหมาะสม ปริมาณของสารรสหวานมีผลต่อการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ทั้งสองชนิด กล่าวคือ
- สารรสหวานปริมาณมากเกินจะยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ทั้งจุลินทรีย์ดีและจุลินทรีย์โทษ
-สารรสหวานปริมาณที่น้อยเกินไปจะยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ดีและส่งเสริมการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์โทษ
- สารรสหวานปริมาณที่พอดีจะส่งเสริมการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ดี และยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์โทษ
10. จุลินทรีย์ในถังหมักจะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง และขยายพันธุ์ได้ดีมากภายใต้อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส มีอากาศหมุนเวียน มีสารอาหาร และค่ากรด-ด่างที่เหมาะสมสำหรับชนิดของจุลินทรีย์
11. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่ดีที่สุด คือ "จุลินทรีย์ธรรมชาติ" หรือ "จุลินทรีย์ประจำถิ่น" ซึ่งมีอยู่ในแปลงเกษตรนั้นๆ เป็นจุลินทรีย์ที่อยู่มานานแล้วและจะคงอยู่ที่นั่นต่อไปตราบเท่าที่สภาพแวดล้อมต่างๆ เหมาะสม
12. การบำรุงจุลินทรีย์ประจำถิ่นสามารถทำได้โดยการโรยรำละเอียดบางๆ รดด้วยน้ำเจือจางสารรสหวานพอหน้าดินชื้น ใส่หรือคลุมทับด้วยอินทรียวัตถุ แสงแดดส่องถึงได้เล็กน้อย อากาศถ่ายเทสะดวก มีระดับความชื้นพอดี เมื่อจุลินทรีย์ได้รับสารอาหารและสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์และทำหน้าที่ได้ดีเอง
15. เนื่องจากพืชกินธาตุอาหารที่เป็นของเหลวด้วยการดูดซึม ไม่สามารถกินอาหารที่เป็นชิ้น แม้ว่าอาหารชิ้นนั้นจะมีขนาดเท่าปลายเข็มก็กินไม่ได้ แต่หากอาหารชิ้นเท่าปลายเข็มนั้นเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวแล้วนั่นแหละพืชจึงจะดูดซึมไปใช้ได้....จุลินทรีย์ คือ ตัวทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารพืชที่สภาพยังเป็นชิ้นๆ (อินทรีย์วัตถุ) ให้กลายเป็นของเหลวจนพืชสามารถดูดซึมผ่านปลายรากไปใช้ได้ จุลินทรีย์จึงเปรียบเสมือน "แม่ครัว" หรือผู้สร้างอาหารของต้นพืชนั่นเอง
( เกษตรกรอิสราเอลปลูกพืชอายุสั้นในถุง ใช้วัสดุปลูกเป็นทรายล้วน เป็นทรายฆ่าเชื้อด้วยความร้อนกำจัดสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งจุลินทรีย์มีประโยชน์และจุลินทรีย์เชื้อโรค เกษตรกรไม่พึ่งพาจุลินทรีย์สร้างสารอาหารแต่เป็นคนให้สารอาหารทุกอย่างแก่พืชเอง เพราะเกรงว่าจะมีจุลินทรีย์เชื้อโรคแฝงเข้ามาอยู่ด้วย....เหมือนไฮโดรโปรนิกส์ ที่มีแต่สารอาหารจากฝีมือคน ไม่มีสารอาหารจากฝีมือจุลินทรีย์เลย)
16. การดูด้วยสายตาให้รู้ว่าบริเวณใดมีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืช หรือมีจุลินทรีย์ประเภทมีโทษต่อพืช ดูได้จากการเจริญเติบโตของพืชที่ขึ้นในบริเวณนั้น ถ้าระบบรากสมบูรณ์ อวบอ้วน มีจำนวนมาก แสดงว่าดินดี หรือสังเกตการณ์ตอบสนองของพืชต่อปุ๋ยทางราก ทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยเพียงน้อยนิดแต่ต้นพืชยังเจริญเติบโตได้ดี ก็แสดงว่าดินดีอีกเช่นกัน และการที่ดินดีได้ก็เพราะมีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ (ธรรมะ) ทำหน้าที่อนุรักษ์ให้ในทางตรงกันข้าม ถ้าระบบรากไม่ดีหรือต้นพืชไม่เจริญงอกงามทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยลงไปแล้วก็แสดงว่าดินไม่ดี และดินไม่ดีก็คือดินที่เป็นแหล่งอาศัยของจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (เชื้อโรค/อธรรม) นั่นเอง
17. แหล่งจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ ได้แก่
- บาซิลลัส ซับติลิส. มีอยู่ในตาติดเปลือกสับปะรดสด
- ฟังก์จัย. จินเจียงลินซิส. มีอยู่ในฟางเพาะเห็ด
- คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซา. มีอยู่ในเปลือกถั่วลิสง
- แอ็คติโนมัยซิส. มีอยู่ในเหง้า/รากกล้วย มูลสัตว์กินหญ้า
- แล็คโตบาซิลลัส. มีอยู่ในยาคูลท์ โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว
- แฟลงเกีย. มีอยู่ในสนทะเล สนประดิพัทธ์
- แอ็คติโนมัยเกรต. ซีอะโนแบคทีเรีย. อัลเกีย. ฟังก์จัยลิเซ่. เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นได้เองจากดินที่มีสภาพโครงสร้างเป็นกลางดีอย่างต่อเนื่อง และมีอินทรียวัตถุสะสมมานาน
- ไบโอโพลิเมอร์. คลาไมโดโมแนส. มีอยู่ในสาหร่ายน้ำจืด
- นอสท็อก. มีอยู่ในรากต้นปรง
- อะโซโตแบ็คเตอร์. มีอยู่ในเหง้าหญ้าขน และหญ้าประเภทหน้าแล้งตายหน้าฝนฟื้น
18. ทดสอบจุลินทรีย์โดยการใส่จุลินทรีย์น้ำลงไปในขวด ใช้ลูกโป่งไม่มีลมสวมปากขวดรัดให้แน่น ทิ้งไว้ 2-5 วัน ถ้าลูกโป่งค่อยๆ พองโตขึ้นแสดงว่ามีจุลินทรีย์จำนวนมากสมบูรณ์ แข็งแรงดี แต่ถ้าลูกโป่งพองโตช้าหรือไม่พองโตก็แสดงว่ามีจุลินทรีย์น้อยและไม่สมบูรณ์แข็งแรง
19. ช่วงแรกๆ ลูกโป่งจะพองโตขึ้น แสดงว่ามีจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศเกิดขึ้น แต่ครั้นนานๆ ไปลูกโป่งจะยุบแล้วถูกดูดเข้าไปในขวดทดสอบก็แสดงว่าจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศตายหมดแล้ว แต่มีจุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นมาแทน กรณีนี้ไม่เป็นปัญหาเพราะจุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศก็เป็นจุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่มีประโยชน์ต่อพืชเช่นกัน
21. จุลินทรีย์ไม่ใช่ธาตุอาหารหรือฮอร์โมนพืช แต่เป็นผู้สร้างหรือผลิตอาหารหรือฮอร์โมนให้แก่พืช ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าจุลินทรีย์ คือ "ผู้อารักขาพืช" ก็ได้ เพราะนอกจากผลิตอาหารหรือฮอร์โมนให้แก่แล้วยังปรับปรุงดูแลสภาพแวดล้อม ที่อยู่ที่กินของพืชอีกด้วย
จากหนังสือ หัวใจเกษตรไท ......
จุลินทรีย์จาวปลวก
จาวปลวก คือ รังของปลวกสีขาวขุ่น รูปร่างคล้ายปะการัง หรือมันสมอง เป็นช่องตารางเหมือนรังผึ้ง มีแบคทีเรียกลุ่มโปรโตซัวร์ ชื่อ BACILLUS SEREUS ช่วยบำรุงราก เป็นเชื้อปฏิปักษ์ต่อโรครากเน่า รากขาว รากปม
ในลำไส้ปลวกมีจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายเส้นใยของเศษซากพืช แล้วเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นสารอาหาร สำหรับพืชได้
ขยายเชื้อจุลินทรีย์จาวปลวก :
วิธีที่ 1 :
จาวปลวกสดใหม่ 1 กก., ข้าวเหนียวนึ่งปล่อยให้เย็น 1 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วนำลงผสมน้ำ 20 ล. คนเคล้าให้เช้ากัน ปิดฝาภาชนะสนิท เก็บในอุณหภูมิ ห้อง ทิ้งไว้ 7 วัน เริ่มเกิดฝ้าสีขาวปนเทา ได้ หัวเชื้อเข้มข้น พร้อมใช้งาน
วิธีที่ 2 :
จาวปลวกสดใหม่ 1 กก., ข้าวจ้าวสุกปล่อยให้เย็น 1 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วนำลงผสมน้ำ 20 ล. คนเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะสนิท เก็บในอุณหภูมิห้อง ทิ้งไว้ 7 วัน เริ่มเกิดฝ้าสีขาวปนเทา ได้ หัวเชื้อเข้มข้น พร้อมใช้งาน
วิธีที่ 3 :
- จาวปลวกสดใหม่ 1/2 กก. พ่นน้ำซาวข้าวพอชื้นๆ ใส่ลงในกระติกน้ำแข็ง ปิดฝาสนิท วางไว้กลางแดดวันละ 4-5 ชม. หน้าร้อน 2-3 วัน หน้าหนาว 5-7 วัน
- ครบกำหนดเปิดกระติก เส้นใยสีขาว คือ เชื้อโปรโตซัวร์ พร้อมขยายต่อ
- นำเชื้อโปรโตซัวร์. คลุกกับข้าวเหนียวนึ่งสุก 1/2 กก. (1:1) ใส่ลงภานะน้ำซาวข้าว 20 ล. ปิดฝาสนิท อุณหภูมิห้อง นาน 7-10 วัน เริ่มเกิดฝ้าสีขาวปนเทา ได้ หัวเชื้อเข้มข้น พร้อมใช้งาน
วิธีที่ 4 :
น้ำ 10 ล. + กากน้ำตาล 1 ล. คนเคล้าให้เข้ากันดี เป็นน้ำขยายเชื้อ ใส่จาวปลวก สดใหม่บดละเอียด 1 กำปั้นมือ ลงในน้ำขยายเชื้อ คนเคล้าให้เข้ากันดี ปิดฝาพอหลวม วางไว้ในร่ม อุณหภูมิห้อง ใส่ปั๊มอ๊อกซิเจน (ปั๊มปลาตู้) เพื่อเติมออกซิเจนให้แก่จุลินทรีย์ ปล่อยไว้ 5-6-7 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ขยายพันธุ์ อากาศร้อนขยายพันธุ์เร็ว อากาศเย็นขยายพันธุ์ช้า
ใช้งาน :
- หัวเชื้อเข้มข้น 1-2 ล. + น้ำตามความจำเป็น ใส่นาข้าว/พืชไร่ 1 ไร่ หรือแปลงปลูกผัก 1 ไร่ หรือโคนต้นไม้ผลบริเวณทรงพุ่ม 10-20 ต้น หรือใส่ในกองปุ๋ยอินทรีย์ 1 กอง (1 ตัน) ใส่มากเกินไม่ส่งผลเสีย แต่สิ้นเปลืองเท่านั้น
- จาวปลวก สดใหม่ บดละเอียด ผสมปุ๋ยอินทรีย์ในกอง หรือหว่านลงพื้นในแปลงปลูก จุลินทรีย์ในจาวปลวกก็ขยายเผ่าพันธุ์เองได้
หมายเหตุ :
- ทดสอบจุลินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการขยายพันธุ์แล้ว ตักน้ำเลี้ยงจุลินทรีย์ใส่ขวดน้ำดื่ม ปิดฝาขวดด้วยลูกโป่ง ทิ้งไว้ 3-4-5 วัน แล้งสังเกตลูกโป่ง .... ลูกโป่งพองโตมากและเร็ว แสดงว่าจุลินทรีย์มาก สมบูรณ์ แข็งแรง ได้ หัวเชื้อเข้มข้น พร้อมใช้งาน .... ถ้าลูกโปร่งพองโตน้อยและช้า แสดงว่าจุลินทรีย์น้อย ไม่สมบูรณ์ และไม่แข็งแรง ให้ขยายเชื้อต่อไป
- วิธีการนี้นำไปทดสอบจุลินทรีย์ได้ทุกชนิด
จุลินทรีย์หน่อกล้วย :
เตรียมเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น :
1. เลือกหน่อกล้วยความสูง 1 ม.จากพื้นถึงยอด เป็นหน่อชนิดที่สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรค เกิดจากต้นแม่ที่สมบูรณ์แข็งแรงให้ผลผลิตดี ทั้งต้นแม่และหน่ออยู่ในบริเวณที่ดินมีค่ากรด-ด่างเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อนๆ
2. ขุดหน่อขึ้นมาให้มีเหง้าติดรากมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ สลัดดินทิ้งไปให้เหลือติดรากไว้เล็กน้อย ไม่ต้องล้างน้ำ
3. สับเล็กหรือบดละเอียดทั้งต้น (ราก เหง้า ต้น) ที่ตัดมา อัตราส่วน หน่อกล้วย 3 ส่วน : กากน้ำตาล 1 ส่วน (3:1) เติมน้ำมะพร้าวอ่อนพอเหลว บรรจุในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ คลุกเคล้าให้เข้ากันดี เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง คนบ่อยๆ เพื่อเร่งอากาศให้แก่จุลินทรีย์ หมักนาน 7-10 วัน กรองเอากากออก น้ำที่ได้คือ น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วยเข้มข้น พร้อมใช้งาน
ขั้นตอนการหมัก การตรวจสอบ และการนำไปใช้ เหมือนจุลินทรีย์ประจำถิ่น อายุการเก็บนาน 6 เดือนหลังจากหมดอายุแล้วนำมาขยายเชื้อด้วยจุลินทรีย์เริ่มต้นชุดใหม่ได้
ประโยชน์ :
- ใช้ในการหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ ฮอร์โมนพืช บ่มดิน ปรับปรุงดิน ฯลฯ
- ราดลงดินช่วยปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ดินโปร่งร่วนซุยและกำจัดเชื้อโรคในดิน
- ผสมกับปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก ให้ได้ความชื้น 50% ช่วยเร่งให้ ปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก ใช้งานได้เร็วและดีขึ้น
- ช่วยย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุที่ใส่ลงไปในดินให้เกิด ฮิวมิค แอซิด ได้เร็วและจำนวนมาก
- ช่วยย่อยสลายฟางในนาข้าวที่ไถกลบช่วงทำเทือกให้เปื่อยยุ่ยเร็วขึ้น
- ฉีดพ่นทางใบช่วยกำจัดเชื้อรา ทำให้หนอนไม่ลอกคราบไม่กินอาหาร (ทำลายพืช) ทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนฟักออกมาเป็นตัวหนอนไม่ได้ และขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่
- กำจัดเชื้อโรคในน้ำในร่องสวน สระกักเก็บน้ำ และคอกปศุสัตว์
หมายเหตุ :
- ในหน่อกล้วยมีจุลินทรีย์กลุ่ม แอ็คติโนมัยซิส ซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสูง
- ฉีดพ่นจุลินทรีย์หน่อกล้วยทางใบให้ทั่วทรงพุ่มตอนกลาวันช่วงหลังฝนหยุด (ฝนต่อแดด) เพื่อล้างน้ำฝนออกจากต้นไม่ให้น้ำฝนแห้งคาต้นช่วยกำจัดเชื้อราแอนแทร็คโนส. ไม่ให้เข้าทำลายใบ ยอด ดอก ผล และส่วนต่างๆ ของพืชได้ .... ฉีดพ่นตอนเช้ามืดเพื่อล้างน้ำค้างและหมอกออกจากต้นก่อนที่น้ำค้างและหมอกจะแห้งคาต้น ช่วยกำจัดเชื้อราน้ำค้าง. ราแป้ง. ราสนิม. ไม่ให้เข้าทำลายส่วนต่างๆ ของต้นพืชได้
- จุลินทรีย์กลุ่มแอ็คติโนมัยซิส. มีประสิทธิภาพในการกำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคพืชประเภทเชื้อราในดิน เช่น เชื้อไฟธอปเทอร่า. พิเทียม. ฟูซาเลียม. สเคลโรเทียม. และไรช็อคโธเนีย. ได้ผลดีมาก
- ถ้าไม่ใช้หน่อกล้วยทั้งหน่อ สามารถใช้เฉพาะส่วนลำต้นของต้นกล้วยแก่ตัดเครือใหม่ๆ แทนก็ได้ ด้วยอัตราส่วนและวิธีการเดียวกัน
-------------------------------------------------------------------------------------
. |
|