kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11635
|
ตอบ: 02/07/2021 6:25 am ชื่อกระทู้: งานสัญจร 26 JUN วัดส้มเกลี้ยง นบ. [๓] *ส้มเขียวหวาน ออกตลอด |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 2 JUL ...
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
****************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ...
ผลิตรายการโดย....
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
ผู้สนับสนุนรายการ ....
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ
เช่นเคย รายการเรา
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
........................................................................................................
........................................................................................................
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลงที่นั่น ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
- งานสีสันสัญจรปกติตามวงรอบ งวดนี้ เสาร์นี้ ตรงกับวันที่ 3 ก.ค.. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ สมุนไพรสำหรับคน (086) 983-1966 ไปวัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี
- งานสัญจรระยะนี้ต้องร่วมกันป้องกัน COVID หลีกเลี่ยงจับกลุ่ม คนมากๆ แนะนำ สมช. สั่งปุ๋ยลุงคิม สั่งยา อ.ณัฐ โทรติดต่อโดยตรงแล้วได้นัดหมายรับส่งของกัน รับของแล้วแยกกันเลย มีปัญหาอะไรโทรศัพท์คุยกันก็ได้....
- สังเกตุ....วันนี้ สปอนเซอร์ถอนตัวไป 1 งานนี้ใครสนใจก็ติดต่อเข้ามา วิทยุ ปตอ. AM ระยะแพร่คลื่น 100% ได้ 20 จังหวัด แพร่คลื่นแบบกระโดดเป็นหย่อมๆ อีก 20 จังหวัด น่าจะดีกว่า FM ทั้งคลื่นหลัก คลื่นชุมชน ที่แพร่คลื่นไปได้แค่จังหวัดเดียวเท่านั้น ลองซี่ ว่างๆ วิ่งรถเดินทางไป ตจว. ถึง จว.ไหนก็ได้ ยิ่งไกลยิ่งดี เปิดวิทยุในรถระบบ AM คลื่น 594 ก็จะรู้ว่า ว่ารับได้หรือไม่ได้ รับได้ ได้แค่ไหน รับไม่ได้คือรับไม่ได้ แค่นี้ก็รู้ ลองดูซี่ .....
โฆษณาที่นี่ ไม่ใช่พูดอย่างเดียว แต่มีกิจกรรมเสริมโฆษณา (เน้นย้ำ....กิจกรรมเสริมโฆษณา) อีก ตอนนี้คิดคร่าวๆได้ราว 20 กิจกรรมเสริม อันนี้ต้องมาคุยกัน วางแผนร่วมกันว่าจะเสริมยังไง....
ก็มี สมช.แนะนำให้รายการเราโฆษณาฟรีไปก่อน 1 เดือน แล้วค่อยว่ากันใหม่ ....
ก็ได้ ขอให้ติดต่อเข้ามาก็แล้วกัน
************************************************************
***********************************************************
บ่น :
เมื่อวานมืดแล้วสายด่วนเข้ามาสั่ง โบโออิ ไซส์ 5 ล. 3 แกลลอน จะเอาไปใช้กับนาข้าว บอกว่าเคยใช้ไบโออิแล้ว รายการข้าวเปลือกที่โรงสีตัดราคา ข้าวลีบ/ข้าวป่น/ข้าวท้องไข่ มีน้อยมากๆ แทบไม่มีเลย แถมต้นทุนที่เคยจ่ายก็ลดลงด้วย เห็นว่า นาข้าว 20 ไร่รุ่นนี้ที่จะต้องจ่าย 20,000 ลดลงมาเหลือแค่ค่าไบโออิ 6,000 เท่านั้น (20,000 6,000 = 14,000) กับไม่ถูกโรงสีตัดราคาข้าวเปลือกอีกด้วย งานนี้ลุงคิมแนะนำให้ใช้สูตร เลยตามเลย แบบหมาจ่าย ไปเลย
- ให้ไบโออิ อย่างเดียวตั้งแต่ระยะกล้าถึงเกี่ยว ห่างกัน 7-10 วัน ....ทุกครั้งที่ให้ทางใบ +ยาน็อค สารสมุนไพรร่วมด้วยทุกครั้ง
ป้องกันศัตรูพืช :
มาตรการ กันก่อนแก้ คือ แม็กเนเซียม. สังกะสี. ช่วยสร้างภูมิตานทานให้แก่ต้นข้าวเป็นพื้นฐาน แถมฉีดพ่นสารสมุนไพรทับเข้าไปอีก นี่คือ 2 เด้ง
มาตรการ ป้องกัน + กำจัด ถ้าแปลงข้างๆกำลังเกิดระบาด ช่วงว่างระหว่าง 7-10 วัน ที่ฉีดพ่นปุ๋ย ปุ๋ยเดี่ยวๆ หรือ ปุ๋ย+ยา ให้ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆแทรก 2-3 รอบ ห่างกันรอบละวันเว้นวัน
บอกแล้วว่าทำนาข้าวสูตรลุงคิมนี่ ต้นทุนไร่ละแค่ 3,000 ได้ข้าว 1 เกวียน โรงสีไม่ตัดราคาคุณภาพข้าวปลือก สุดท้ายรับเงิน 10,000 เท่ากับกำไรไร่ละ 7,000 ชัดๆ
แนวคิดแบบฟันธง !
ลด/ตัด/เปลี่ยน แบบเดิมๆ เป็น ปรับ/เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก เป็นแบบใหม่ บำรุงข้างตามใจข้าวไม่ใช่ตามใจคน
ลดต้นทุนเงินที่จ่าย ค่าปุ๋ย/ค่ายา ลงได้ แล้ขายได้เท่าเดิม เท่าข้างบ้าน นั่นคือ กำไรชัดเจน ขณะเดียวกัน ต้นทุนลดแล้วคุณภาพดีขึ้น โรงสีไม่ตัดราคา นั่นคือ กำไร 2 เด้ง นั่นเอง
งานนี้ ยาก/ง่าย เอา/ไม่เอา อยู่ที่ ใจ เท่านั้น เพราะ ใจ ไม่เอาแล้วยึดติดทำแบบเดิมๆๆ ๆๆ นี่แหละ ชีวิตถึงได้เป็นแบบนี้ ๆๆ ๆๆ ไงล่ะ
---------------------------------------------------------------------------------
เก็บตกงานสัญจร 26 ก.ค. วัดส้มเกลี้ยง โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ [3] : ส้มเขียวหวาน ออกตลอดปี-แจ๊คพ็อต
สมช. : ลุงครับ สวนเก่ารังสิต ขอปรึกษาเรื่องส้มเขียวหวานหน่อยครับ
ลุงคิม : ขอโทษ สวนเก่าของเราเอง หรือว่าซื้อมา
สมช. : สวนขอเราเองครับ มรดกมาจากพ่อแม่ครับ เนื้อที่ 40 ไร่ เป็นสวนยกร่องน้ำหล่อ น้ำดีตลอดปีครับ วันนี้ส่วนหนึ่งให้เขาเช่าทำสวนผัก ซัก 10 ไร่ ที่เหลือปล่อยรกไว้ ต้องบุกเบิกใหม่ครับ
ลุงคิม : ถามอีก เมื่อตอนที่พ่อแม่ทำนั่น ทำส้มเขียวหวานไหม ?
สมช. : ทำครับ ทำแบบค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณี ทำแบบเดิมๆ บ้านนี้ทำอย่างนี้กันทั้งนั้น เคยทำยังไงก็ทำยังงั้น พ่อแม่นำทำมาอย่างนี้ ประมาณนี้นี่แหละครับ
ลุงคิม : (คิดในใจ นี่มันคำพูดเราในวิทยุนี่นา) ถามอีก คิดยังไงถึงจะปลูกส้มเขียวหวาน
สมช. :
ข้อแรก : ชุดดินย่านนี้ปลูกส้มเขียวหวานได้แล้วก็ดีด้วย....
ข้อสอง : ศึกษาส่วนที่ล้มเหลวก่อน แล้ว ป้องกัน แก้ไข ปรับปรุง ต่อยอด ขยายผล
ข้อสาม : ปลูกส้มเขียวหวานตามใจส้มเขียวหวาน ไม่ใช่ตามใจคน ....
ข้อสี่ : ทำแบบเดิม ทำตามคนที่ล้มเหลว จะล้มเหลวยิ่งกว่า ....
ข้อห้า : ทำแบบลุงคิม มีหลักวิชาการรองรับยืนยัน ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี
ลุงคิม : (คิดในใจ นี่มันคำพูดเราในวิทยุนี่นา) ถามหน่อย รู้จักลุงคิมได้ไง ?
สมช. : ฟังวิทยุ เรื่องเดียวกันแต่คนพูดๆไม่เหมือนกัน อ่านหนังสือ ทั้งที่ลุงเขียนกับที่คนอื่นเขียน เรื่องเดียวกันแต่เขียนๆไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะปุ๋ย ทั้งวิทยุทั้งหนังสือ ของลุงไม่มีสูตรเสมอเลย นี่คือ ความต่างบนความเหมือน ความเหมือนความต่าง ชัดเจนเลยครับลุง
ลุงคิม : (คิดในใจ นี่มันคำพูดเราในวิทยุนี่นา) ถามอีก ข้อมูลเยอะแยะขนาดนี้ รวบรวมมาได้ยังไง
สมช. : ครับ ฟังกับอ่านไม่พอ ต้องดูด้วยครับ ดูของเราคนเดียวไม่พอต้องดูของคนอื่นด้วย เห็นแล้วเอามา คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ลงท้ายก็ฟังธงนี่แหละครับ
ลุงคิม : กรณีของคุณ ลุงคิมว่าธรรมดาๆ ใครทำใครปฏิบัติก็ต้องได้ต้องเป็นแบบนี้ทั้งนั้น ที่สงสัยแล้วก็อยากรู้มากๆ คือ คนที่ยึดติดแบบเดิมๆ ทั้งๆที่ทำแล้วได้ผลเป็นลบ ทำไมถึงยังทนทำแบบนั้นอยู่ ไม่ต้องทำตามแบบลุงหรอก เอาแบบที่ตัวเองคิดขึ้นมาเองซี่ ที่ว่า ก.ทำกับมือ ม.อย่าเถียง ไงล่ะ
สมช. : ครับลุง จริงอย่างลุงว่า อย่าไปยุ่งกับเขาเลย เขาไม่เชื่อไม่ฟังเราหรอก ยิ่งผมไม่เคยทำกับมือมาก่อนเลย เขายิ่งไม่เชื่อใหญ่
ลุงคิม : หัวใจของงาน ปุ๋ย-ยา-เทคนิค-เทคโน-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน .... ลุงว่า เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง สปริงเกอร์-หม้อปุ๋ย นี่ช่วยได้มากเลยนะ
สมช. : แน่นอนครับ ผมเอาแน่ แค่ไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง แต่ใช้สารสมุนไพรประจำๆ เครดิตตลาดมาเองครับ
ลุงคิม : ไม่ใช่เครดิตอย่างเดียว ต้นทุนเงินที่ต้องจ่าย ค่าสารคมี ค่าแรง ค่าเวลา ค่าสุขภาพ
สมช. : จริงครับ
ลุงคิม : คุณนี่เข้าข่ายคนรุ่นใหม่ เพราะฉะนั้นควรที่ต้อง คิดใหม่-ทำใหม่ กรณี เครดิต-เครดิต ที่พูดถึงเมื่อกี้นี้ ถ้าผลผลิตเราโดนใจโดนปากคนกิน เขาก็จะมาซื้อของเรา ว่ามั้ย....
ปลูกพืช บำรุงเต็มทีแต่จะเอาผลเต็มที่คงไม่ได้ มันต้องบำรุงเต็มที่ถึงจะได้ผลเต็มที่ นี่คือคำพูด สักแต่พูดกันไป แล้วการปฏิบัติล่ะ บำรุงเต็มที่ ทำยังไง น่าจะพูดให้ทัน CLEAR ไปเลย
สมช. : จริงครับ
ลุงคิม : ส้มเขียวหวานคุณ จับหลัก ....
* ลดปุ๋ยเคมี เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ สารปรับปรุงบำรุงดิน ....
* ลดธาตุหลัก เพิ่มธาตุรอง ธาตุเสริม โฮอร์โมน วิตามิน ....
* ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ ....
* ลดสารเคมียาฆ่าแมลง เพิ่มสารสมุนไพร สร้างภูมิต้านทาน ....
* ลดแรงงานคน เพิ่มเครื่องทุ่นแรง...
สมช. : ครับ ลุงครับขอข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพประสิทธิผลของปุ๋ยต่อคุณภาพของผลส้มต่อ จำนวน คุณภาพ ครับ
ลุงคิม : คำถามหรือแนวคิดนี้ดีมากๆ เพราะทั้งผู้ส่งเสริม ผู้รับการส่งเสริม ไม่พูดถึงกันเลย นี่คือปุ๋ย อาหารที่ต้นพืชกิน กินแล้วมีผลผลิต ผลผลิต มาก/น้อย-ดี/เลว คือประสิทธิภาพประสิทธิผลของปุ๋ยทั้งนั้น
หลายคนชอบง่ายๆ บอกว่าง่ายๆน่ะดี ที่จริง ง่ายน่ะดี ไม่เถียง แต่ต้องถูกต้องนะ ง่ายแต่ผิดเขาเรียกมักง่ายไม่ใช่เหรอ ถูกหรือผิดวัดที่พืชไม่ใช่วัดที่คน วิธีการหรือหลักการของเรามีหลักวิชาการรองรับ ไม่ใช่มั่วซั่วซี้เซ้าต่า สักแต่ว่าทำก็ทำ
ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดิน เจอสภาพโครงสร้างดินแล้วเกิดปฏิกิริยาเคมี เน้นย้ำคำว่าเกิดปฏิกิริยา คือ โครงสร้างหรือสถานภาพของปุ๋ยตัวนั้นจะเปลี่ยนไป เปลี่ยนไปในทางลบ กลายเป็นผลเสียต่อต้นพืช คือ คุณภาพของผลผลิต ทั้งโดยตรงโดยอ้อม ทำ/ใส่/ใช้ มากๆ ๆๆ กลายเป็นสะสม
ปุ๋ยที่ให้ทางใบ ไม่มีปฏิกิริยาทางเคมี โครงสร้างหรือสถานภาพของปุ๋ยตัวนั้นจะคงที่ไม่เปลี่ยนไป ส่งผลดีต่อต้นพืช คือ คุณภาพของผลผลิต
จริงอยู่ ให้ปุ๋ยทางราก ต้นไม้เอาไปใช้ไปกินได้ 6 ส่วนใน 10 ส่วน นั่นสภาพโครงสร้างดินต้อง O.K จริงๆ O.K.100% ด้วย ถ้าไม่ O.K. ลงท้ายต้นเอาไปใช้ได้จริงๆเท่าไหร่ ?
ในขณะที่ปุ๋ยทางใบ ต้นไม้เอาไปใช้ไปกินได้ 4 ส่วนใน 10 ส่วน แต่ต้นไม้เอาไปใช้ได้ทั้งหมด กรณีปริมาณน้อยแต่ต้องการมากขึ้น แก้ไขด้วยการให้บ่อยขึ้น
เคยคิดกันไหม ปุ๋ยทางใบน่ะ ต้นไม้ต้นพืชรับได้ทั้งทางใบทางราก ปุ๋ยทางใบให้ทางใบแล้วตกลงพื้นดิน ระบบรากรับได้ด้วย แต่ปุ๋ยทางรากต้นรับได้ทางรากทางเดียว ผ่านปากใบไม่ได้
ข้อคิด : แม็กเนเซียม ซัลเฟต. ปุ๋ยทางใบ ราคา กก.ละ 80 บาท ให้พืชได้ครั้งละกว่า 100 ต้น แต่แม็กเนเซียม อ๊อกไซส์. ปุ๋ยทางราก กก.ละ 8 บาท ให้พืชได้ครั้งละ 1 ต้นเท่านั้น
สรุป : ลดปุ๋ยทางราก-เพิ่มปุ๋ยทางใบ ต้นไม้ได้เท่าเดิม แต่คุณภาพเหนือกว่า กับต้นทุน ค่าปุ๋ย-ค่าแรง ต่ำลงด้วย
ถามจริง เตรียมการเรื่องนี้หรือยัง ?
สมช. : ทั้งหมดนี้ผมเตรียมไว้แล้วครับ ทั้งคน ทั้งเครื่องมือ
ลุงคิม : ถ้างั้น วันนี้ตอนนี้คุณขาดแค่กำลังใจเท่านั้นนะเนี่ย
สมช. : ขอบคุณครับ
ลุงคิม : เอาหนังสือนี่ไปอ่าน .... แจก !
ประสบการณ์ตรง :
(1) ส้มเขียวหวาน ยกร่องน้ำหล่อ หน้าดินสันแปลงไม่มีหญ้าขึ้นแม้แต่ต้นเดียว สวนสอาดกว่าลานวัด บอกว่า หญ้าแย่งอาหาร-หญ้าแย่งอาหาร เมื่อไม่มีหญ้าแย่งอาหารซักต้นเดียว แล้วทำไมต้นส้มถึงไม่รอดล่ะ สังเกตุตอนแล่นเรือปากเป็ดรดน้ำแต่ละครั้ง รดน้ำแล้ว 3 ชม. น้ำถึงซึมลงดินหมด ลองแหวกดินดู น้ำลงไปได้แต่ฝ่ามือเดียว นี่แสดงว่า ดินนั้นทั้งเหนียวทั้งแน่น นี่คือ ในเนื้อดินไม่มีอินทรีย์วัตถุแม้เแต่ชิ้นเดียว ไม่มีสารปรับปรุงบำรุงดิน ไม่มีปุ๋ยอิน ทรีย์ ปุ๋ยคอก ไม่มีจุลินทรีย์ที่ช่วยให้ดินโปร่ง ร่วน ซุย น้ำ และอากาศผ่านสดวก .... ธรรมชาติของพืชทุกชนิด เมื่อมีน้ำที่ไหน รากเขาจะเจริญยาวไปหาน้ำที่นั่น ส้มเขียวหวานสวนยกร่องน้ำหล่อก็เช่นกัน รากต้นส้มจะเจริญยาวไปหาน้ำในร่อง พอไปถึงน้ำแล้วก็เน่า จะเห็นรากปลายกุดเป็นนิ้วด้วนทั้งนั้น เรื่องนี้เจ้าของสวนส้มรู้ดี
(2) ส้มเขียวหวาน ยกร่องน้ำหล่อ ย่านตลาดเขต บางปลาม้า สุพรรณบุรี แนะนำให้เอาน้ำในร่องออก รักษาระดับผิวน้ำถึงสันแปลง 1 ม. จากนั้นเพียง 1 เดือน ส้มเขียวหวานทั้งแปลงแตกยอดใหม่ สมบูรณ์ดีมากๆ
(3) ส้มเขียวหวาน ยกร่องน้ำหล่อ ย่านองค์รักษ์ นครนายก แนะนำให้เอาน้ำในร่องออก รักษาระดับผิวน้ำถึงสันแปลง 1 ม. หาฟางแห้งคลุมแปลงหนาๆ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ สารปรับปรุงบำรุงดิน ให้จุลินทรีย์ เพียง 1 เดือน ส้มทั้งแปลงแตกยอดใหม่ สมบูรณ์ดีมากๆ
(4) ส้มเขียวหวาน ยกร่องน้ำหล่อ ย่านวังน้อย อยุธยา ... ช่วง 3 เดือนแรก บอกให้ใส่น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 2 ล./ไร่/เดือน หลังจากนั้นเพียง 2 เดือน ส้มแตกใบอ่อนใหม่ทั้งสวน ต้นสมบูรณ์ดีมาก เจ้าของ เห็นเข้าใจร้อน คราวนี้ใส่น้ำหมักฯ 5 ล./ไร่ อาทิตย์เดียวส้มใบเหลืองร่วงทั้งสวน ครึ่งสวนยืนตาย เจ้าของสวนบอก ต่อไปนี้ ก.ไม่เชื่อผู้พันคิมอีกแล้ว ลุงคิมไปทันทีแล้วถาม ม.ไม่เชื่อ ก. ไม่ว่าอะไร แต่ขอถามหน่อย ม.เชื่อใคร เจ้าของสวนกลับไม่ตอบ เลยถามว่า ก็ตอนแรกมันดีอยู่แล้ว ทำไมตอนนี้เป็นยังงี้ คำตอบคือ ใส่น้ำหมักฯมากเกิน เพราะใจร้อน อยากให้โตเร็วกว่านี้อีก .... โถ พ่อเจ้าประคุณ ต้นไม้ต้นพืชไม่มีคันเร่ง ไม่มีโวลลุ่ม
(5) ส้มเขียวหวาน ยกร่องน้ำหล่อ ย่านวังน้อย อยุธยา ... เนื้อที่ 200 ไร่ ใช้เรือปากเป็ดรดน้ำ ครั้งละ 2 ลำ ใช้แรงงานพม่า 2 คน ให้น้ำเช้ายันเที่ยง พักเที่ยงขึ้นมากินข้าว บ่ายลงต่อถึง 4 โมงเย็น ใช้ระยะเวลา 7 วันจึงครบรอบ ... คิดดู คนทำงานให้น้ำทุกวันแต่ต้นส้ม 7 วันได้น้ำครั้งเดียว แนะนำสปริงเกอร์ก็บอก สปริงเกอร์แพง
(6) ส้มเขียวหวาน ยกร่องแห้ง พื้นราบ จ.แพร่ ส้มเขียวหวานบางมด พันธุ์เดียวกันกับที่รังสิต วันนี้ส้มเขียวหวานแพร่อายุ 40-50 ปี ยังให้ผลผลิตดีอยู่ ต้นยิ่งอายุมาก ลูกยิ่งดก คุณภาพยิ่งดี แต่ส้มรังสิตอายุแค่ 4-5 ปีเท่านั้น ต้องปลูกแซมเพราะต้นรุ่นแรกเริ่มทยอยตาย
(7) ส้มโชกุน ยกร่องแห้ง พื้นราบ เชียงใหม่ ตระกูลส้มเปลือกล่อนเหมือนกัน ปลูกมาแล้ว 20-30 ปี ต้นยังอยู่ สมบูรณ์ดีด้วย
( 8 ) ส้มเขียวหวาน กำแพงเพชร มีนักวิชาการจากเยอรมันมาทำงานวิจัยในไทย ไปดูสวนส้มเขียวหวานแล้วเปรียบเทียบระหว่าง แปลงยกร่องน้ำหล่อ ใช้เรือปากเป็ดรดน้ำ กับ แปลงพื้นราบ ใช้ปริงเกอร์รดน้ำ สรุปว่า แปลงยกร่องน้ำหล่อ ใช้เรือปากเป็ดรดน้ำ มีข้อเสียมากกว่าแปลงพื้นราบ ใช้สปริงเกอร์ .... เยอรมันสงสัย ทำไมเกษตรกรไทยจึง คิด-วิเคราะห์-เปรียบเทียบ ไม่เป็น
คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
จาก : (081) 253-32x
ข้อความ : ขอให้ผู้พันพูดวิธีทำส้มเขียวหวานตามแบบของผู้พัน ผมมีส้มอยู่ 15 ไร่ ลงใหม่ได้ปีกว่า .... ขอบคุณครับ หนองเสือ
ตอบ :
ถือหลัก 9 เลิกเด็ดขาด 9 ทำสม่ำเสมอ
เลิก เด็ดขาด : 1. เลิกน้ำหล่อร่อง .... 2. เลิกสารเคมี .... 3. เลิกหว่านปุ๋ยรดน้ำตาม .... 4. เลิกเชื่อคนขายปุ๋ยขายยา .... 5. เลิกตามข้างบ้านที่ล้มเหลว .... 6. เลิกเชื่อโฆษณา .... 7. เลิกวิธีแบบเดิม .... 8. เลิกปิดกั้นตัวเอง .... 9. เลิกกูเก่งกว่า
ทำ สม่ำเสมอ : 1. ติดสปริงเกอร์ .... 2. ใช้สมุนไพร .... 3. ให้ปุ๋ยไปกับน้ำ .... 4. ลดปุ๋ยเคมี เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับปรุงบำรุงดิน .... 5. ลดธาตุหลัก เพิ่มธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน และอื่นๆ .... 6. ให้ปุ๋ยน้อยแต่บ่อยครั้ง .... 7. ตามใจส้ม .... 8. เป็นตัวของตัวเอง .... 9. เปิดใจรับข้อมูล
บำรุงส้มเขียวหวานออกตลอดปี : :
ทางใบ :
- ให้สูตรสหประชาชาติ + สมุนไพร 1-2 ล. 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 15-20 วัน
- ทุกครั้งที่ให้ทางใบ +ยาน็อค สารสมุนไพรด้วย และ/หรือ แซม/แทรก สมุนไพรเดี่ยวๆ เมื่อมีการระบาด
ทางราก :
- ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ขี้วัวขี้ไก่ 6 เดือน/ครั้ง หญ้าแห้งคลุมโคนต้น
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง +ธาตุหลักตามระยะพืช เดือนละครั้ง
ส้มเขียวหวานแจ็คพ็อต :
แม้ว่าส้มเขียวหวานจะเป็นผลไม้ที่ผู้คนนิยมบริโภคกันตลอดทั้งปีก็ตาม แต่ช่วงเทศกาลตรุษจีน. สาร์ทจีน. เชงเม้ง. ไหว้พระจันทร์. ส้มเขียวหวานจะเป็นผลไม้เพื่อการบริโภคแล้วยังเป็นเครื่องเซ่นไหว้อีกด้วย ส่งผลให้ส้มเขียวหวานมีราคาแพงขึ้นไปอีก ชาวสวนส้มหลายรายแบ่งพื้นที่ (โซน) สวนส้มออกเป็น 4 แปลง แล้วบำรุงส้มเขียวหวานให้ออกเฉพาะตรงกับเทศกาลเท่านั้น โดยไม่สนใจช่วงใดๆของปีทั้งสิ้น การบำรุงให้ต้นส้มเขียวหวานออกดอกติดผลแล้วแก่เก็บเกี่ยวได้ ณ ช่วงเวลาตามต้องการนั้น ผู้ปลูกต้องเข้าใจช่วงพัฒนาการของต้นอย่างลึกซึ้ง การให้สารอาหารแต่ละชนิดต้องถูกต้องตรงตามความต้องการของต้นส้มอย่างแท้จริงไม่ใช่ตรงตามความต้องการของคน
การปฏิบัติบำรุงต่อส้มเขียวหวานแจ็คพ็อต :
- เดือน พ.ย.- ธ.ค. .............. ล้างต้น ตัดแต่งกิ่ง เรียกใบอ่อน
- เดือน ม.ค.- ก.พ. .............. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
- เดือน มี.ค. (ต้นเดือน) ......... ปรับ ซี/เอ็น เรโช
- เดือน มี.ค. (ปลายเดือน) ...... เปิดตาดอก
- เดือน เม.ย. ..................... บำรุงดอก
- เดือน พ.ค.-มิ.ย. ............... บำรุงผลเล็ก
- เดือน ก.ค.-ต.ค. ............... บำรุงผลกลาง
- เดือน พ.ย. ..................... บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
- เดือน ธ.ค.-ม.ค. (ต้นเดือน) .. เก็บเกี่ยว
หรือ....
- ล้างต้น-ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน ..... 2 เดือน
- สะสมอาหารเพื่อการออกดอก ....... 2 เดือน
- ปรับ ซี/เอ็น เรโช .................... 15 วัน
- เปิดตาดอก ........................... 15 วัน
- บำรุงดอก (ตูม-บาน) ................ 1 เดือน
- บำรุงผลเล็ก .......................... 2 เดือน
- บำรุงผลกลาง ........................ 5 เดือน
- บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว ............ 1 เดือน
หมายเหตุ :
- เมื่อต้องการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนใด ให้นับเวลาย้อนหลังจากเดือนเก็บเกี่ยวมาถึงวันล้างต้น-ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน โดยทำเครื่องหมายบนปฏิทินเลยก็ได้ ทั้งนี้ระยะเวลาปฏิบัติบำรุงรวมทั้งสิ้น 13-14 เดือน/ 1 รุ่นการผลิต
- ในระบบธรรมชาติไม่สามารถกำหนดจำนวนวัน/เดือนหรือตัวเลขแบบตายตัวลงไปได้ เนื่องจาก ปัจจัยพื้นฐานการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ตัวเลขทุกอย่างเป็นไปในลักษณะโดยประมาณเท่านั้น ดังนั้น ในการวางแผนจะต้องเผื่อเหลือเผื่อขาดเอาไว้ด้วยทุกครั้ง และอย่าตั้งความหวังว่าทุกอย่างที่วางแผนไว้จะต้องดำเนินไปอย่างราบรื่นความสำเร็จทุกขั้นตอนเสมอไป
- เทคนิคการบำรุงต้นแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องจนถึงปีที่ 3 ต้นส้มจะมีความสมบูรณ์อย่างมาก จะส่งผลให้ต้นตอบสนองต่อการบำรุงต้นในช่วงต่างๆดีและแน่นอน
- ช่วงเวลาต้นเดือนหรือปลายเดือนให้พิจารณาตามความเหมาะสม โดยมีอายุผลตั้งแต่ผลติดถึงเก็บเกี่ยว (8 เดือน) เป็นตัวกำหนด
- หากต้องการให้ส้มเขียวหวานออกช่วงเทศกาลอื่น (สารทจีน เชงเม้ง ไหว้พระจันทร์)ก็ให้คำนวณในลักษณะเดียวกันโดยการนับถอยหลังจากเดือนเก็บเกี่ยวผลผลิตมาถึงวันเริ่มล้างต้น ตัดแต่งกิ่งและเรียกใบอ่อน (12-13 เดือน) แล้วลงมือปฏิบัติด้วยหลักการเดียวกัน.....หรือเริ่มลงมือตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนเดือนใดของปีนี้ ก็จะได้ผลแก่เก็บเกี่ยวในเดือนเดียวกันของปีรุ่งขึ้นนั่นเอง
- วิธีบำรุงให้ ผลแก่ก่อนกำหนด หรือ ผลแก่ช้ากว่ากำหนด 20-30 วัน ก็ถือว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้
- ข้อยุ่งยากก็คือช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช ซึ่งจะต้องงดการให้น้ำเด็ดขาดนั้นหากตรงกับช่วงหน้าฝนจะทำให้การปฏิบัติยุ่งยากมากหรือทำการงดน้ำไม่ได้เลย
--------------------------------------------------------------------------------
..... ไซส์ 5 ล. ..... ไซส์ 1 ล. .....
ยูเรก้า. บำรุงผล ขยายขนาด ...
ไบโออิ. บำรุงต้นสร้างความสมบูรณ์สะสม ....
ไทเป. สะสมตาดอก เปิดตาดอก บำรุงดอก ....
ระเบิดเถิดเทิง. บำรุงดิน บำรุงจุลินทรีย์ ....
ยาน็อค. ป้องกัน/กำจัดศัตรูพืช แมลง หนอน รา แบคทีเรีย....
..... ยูเรก้า. ไทเป. ไบโออิ. ..... ไซส์ 5 ล.
* ถูกกว่า (ทุกมิติ) ซื้อปุ๋ยจากร้าน
* ถูกกว่าทำเอง
* ประสิทธิภาพ ผลผลิตเพิ่ม/ต้นทุนลด/อนาคตดี ..... ชัวร์
---------------------------------------------------------------------------------------
..... หม้อปุ๋ยเวนจูรี่....
* น้ำ + ปุ๋ย (อินทรีย์/เคมี/ฮอร์โมน/วิตามิน )+ ยา (เคมี/สมุนไพร) อย่างเดียวหรือหลายอย่าง ไปพร้อมกันได้
* ใช้เวลาน้อย แรงงานน้อย
* เลือกเวลา (เช้า สาย บ่าย ค่ำ ) ทำงานได้
* ติดตั้งครั้งเดียวใช้งานได้ 10-20-30 ปี
* ฯลฯ
-----------------------------------------------------------------------------------
.
|
|