ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 04/04/2011 5:41 pm ชื่อกระทู้: นศ.สจล.ฝึกงานไร่กล้อมแกล้ม |
|
|
ส่ ว น ลึ ก ข อ ง ใ จ (2). . . . . . .
ศาสตร์เกษตร....งานที่เริ่มจากต่ำกว่าศูนย์
เจตนาลึกๆที่เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อให้เป็นบันทึกสู่คนรุ่น "ลูก-หลาน-เหลน-โหลน" ที่กำลังแข่งขันกันหาความรู้จากการเรียนในสถานศึกษาอย่างเอาเป็นเอาตาย กับคนรุ่นลุงคิมที่เส้นผม 2 สีแล้ว มีสถานะเป็น "ลุง-ป้า-ปู่-ย่า-ตา-ยาย" ได้รำลึกถึงอดีตของตัวเองที่เกี่ยวเนื่องกับอาชีพเกษตรด้านเพาะปลูกโดยเฉพาะ หรือเกษตรด้านอื่นว่า ทั้งสิ้น-ทั้งปวง ที่ผ่านมานั้น ประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลว
การศึกษาวิชาการเป็นสิ่งสำคัญ และประสบการณ์ที่สัมผัสมากับมือก็สำคัญไม่น้อย ทั้งสองมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน บางครั้งวิชาการต้องมาก่อนประสบการณ์ กับบางครั้งประสบการณ์ต้องมาก่อนวิชาการ ที่ดีที่สุด คือ ทั้งสองอย่างควรควบคู่ไปพร้อมๆกัน ทั้งนี้ สถานการณ์ คือ ตัวกำหนด
ไม่มีสถานศึกษาใดในโลกนี้ สอนสูตรสำเร็จที่ COPY ไปใช้งานได้เลย แต่ทุกสถานศึกษาสอนวิชา "กระบวนการคิด วิธีการวิเคราะห์ และวิธีการวางแผน" ที่สามารถนำไปปรับใช้กับทุกสาขาอาชีพได้ หากจะเรียกว่า COPY ไม่ได้ แต่ APPLY ได้ คงไม่ผิดนัก ทั้งนี้เพราะ ทุกสถานการณ์ในทุกสถานที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลานั่นเอง
1. ก่อนตัดสินใจปักหลัก ณ พื้นที่แห่งนี้ คำถามแรก คือ "น้ำอยู่ไหน ?" ตรวจสอบแล้วพบว่า ห่างไปราว 300 ม. หลังหมู่บ้าน มีคลองส่งน้ำขนาดกว้าง 80 ม.จากเขื่อนศรีนครินทร์ มีน้ำตลอดปี น้ำจากคลองส่งผ่านลำรางไส้ไก่เข้ามาผ่านตลอดความกว้างหน้าแปลง...ทางด้านเหนือ 500 ม.มีบ่อบาดาลของชาวบ้าน น้ำใสสะอาดขนาดดื่มได้ตลอดปี....ทางด้านใต้ 1 กม. เป็นบ่อบาดาลทำประปาชุมชน...ไร่กล้อมแกล้ม อยู่บนแนวของบ่อบาดาลทั้ง 2 แหล่ง นั่นหมายความว่า ไต้พื้นดินบริเวณนี้มีสายน้ำบาดาลอย่างแน่นอน
2. พื้นที่บริเวณนี้เป็นเนินสูงกว่าพื้นที่โดยรอบ พอจะเป็นหลักประกันเบื้องต้นได้ว่า "น้ำไม่ท่วม" กับทั้งตรวจสอบประวัติน้ำท่วมจากแปลงข้างเคียง ก็ได้คำยืนยันว่า ที่นี่ไม่เคยท่วม พื้นที่รอบๆอาจจะท่วมบ้างแต่ก็ไม่มากเหมือนที่อื่นๆ
3. ที่นาแปลงนี้ ทำนาได้ข้าว 35 ถัง/ไร่ ทั้งๆที่ใส่ปุ๋ย 1-2 กระสอบ เพราะเป็นที่ดอนไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ เนื้อดินเป็นดินทรายเหนียวจัด ระดับน้ำใต้ดินตื้น หน้าดินแห้ง ไม่อุ้มน้ำ และแข็งตัวเร็ว
จากผืนนาข้าว เปลี่ยนรูปสู่ไร่กล้อมแกล้ม....
ลุงคิมเป็นทหาร เกิดในตระกูลทหาร เติบโตในกรมทหาร ครั้นเรียนจบ ม.6 (สมัยเก่า เทียบเท่า ม.3 ปัจจุบัน) แล้วเข้าเป็นทหารตามรอยเท้าพ่อและคุณตา จบโรงเรียนทหารปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยปกติได้เพียงปีเดียว จากนั้นออกสนามรบเลย ตระเวนไปตามสมรภูมิรบ ทั้งเล็กและใหญ่รวมเวลาเกือบ 20 ปี โดยมี "ศึกร่มเกล้า" เป็นศึกสุดท้าย
วันที่ 27 มีนาคม 2537 โดยคำสั่ง พล.ท.สำเภา ชูศรี ผบ.นปอ. (ขณะนั้น) เรียกเข้าพบด่วน.....
ผบ.นปอ. : (กล่าวนำ) .... กองทัพบก มีคำสั่งให้หน่วยที่มีสถานวิทยุในบังคับบัญา ผลิตรายการวิทยุเอง ด้วยกำลังพลของหน่วยเอง ไม่ใช่ว่าจ้างบุคคลภาพนอกมาผลิตรายการ
ลุงคิม : (มองเอกสารคำสั่ง ทบ.บนโต๊ะ) ..... ครับ
ผบ.นปอ. : งานนี้ โดยตำแหน่ง มึงต้องรับไปปฏิบัติ
ลุงคิม : (คิด...ทำรายการวิทยุ - จัดรายการวิทยุ) .... ครับ
ผบ.นปอ. : เริ่มพรุ่งนี้เที่ยงตรง ทำทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด
ลุงคิม : (คิดหนักขึ้น ทำรายการอะไร) .... ครับ
ผบ.นปอ. : (ถามในฐานะตำหน่ง ผอ.สถานีวิทยุ) มึงจะทำรายการอะไร
ลุงคิม : (ตอบทันที่ที่จบคำถาม ราวกับรู้ล่วงหน้า).... รายกาสารคดีปกิณณกะ ครับ
ผบ.นปอ. : เออ ไปจัดการให้เรียบร้อย มีปัญหาอะไร รายงานขึ้นมา
ลุงคิม : (โค้งคำนับทำความเคารพแล้วถอยออกมา .... ก่อนถึงประตูห้องทำงาน)
ผบ.นปอ. : (น้ำเสียงอารมย์ดี) เฮ้ย.....เดี๋ยว
ลุงคิม : (รู้สึกเฉยๆ..ถอยกลับมายืนที่หน้าโต๊ะผู้บังคับบัญชาอีกครั้ง)... ครับ
ผบ.นปอ. : ทำรายการเกษตรซีวะ....
ลุงคิม : (คิดหนักกว่าเก่า เกษตร เกษตร เกษตรคืออะไร อะไรคือเกษตร)..... ครับ
เกษตร คือ อะไร-อะไร คือ เกษตร....ตั้งแต่จำความได้ไม่เคยรู้เรื่องเกษตร ไม้สักต้น ผักสักกอ ไม่รู้จักแม้แต่ชื่อ ในหลักสูตรโรงเรียนสมัยนั้นก็ไม่มีสอน แต่ก็กล้าพอที่จะทำรายการวิทยุเรื่องเกษตร ที่ทำรายการวิทยุได้เพราะอ่านหนังสือออกเท่านั้นแท้ๆ
จากอาทิตย์แรก 3 เดือนแรก 6 เดือนแรก ซื้อหนังสือเกษตรมาอ่านคิดเป็นเงินหลักแสน อ่านทุกวันทั้งวัน อ่านเช้ายันค่ำค่ำยันเช้า เอาแต่อ่าน อ่าน และอ่าน อ่านทุกอย่างที่เป็นเกษตร พืชผักไม้ดอกผลไม้ พืชไร่พืชสวน นาข้าวนาบัวนากะเฉด สัตว์เลี้ยงกุ้งหอยปูปลา
ม้าไก่ วัวควายแพะแกะ กระทั่งเห็ด แค่นี้ก็มากโขแล้วสำหรับเกษตรเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น
จาก 3 เดือน เป็น 6 เดือน ถึง 1 ปีเต็ม ที่อ่าน อ่าน และอ่าน ยิ่งอ่านยิ่งรู้ ยิ่งอ่านยิ่งไม่รู้ ยิ่งอ่านยิ่งไม่เข้าใจ ยิ่งอ่านยิ่งมีคำถาม ยิ่งอ่านยิ่งไม่เชื่อ ยิ่งอ่านยิ่งเชื่อ เกษตรยากขนาดนี้เชียวหรือ เมื่อเดินหน้าแล้วถอยหลังไม่ได้ เพราะนี่คือภารกิจที่ได้รับมอบ
หัวใจนักปราชญ์เพียง "ฟัง-คิด-ถาม-เขียน" ยุคนี้ไม่เพียงพอต่อการเรียนให้รู้จริง เห็นควรต้องเพิ่ม "อ่าน-ดู-ทำ-ใช้-เปรียบเทียบ" นั่นแหละจึงจะ "ฟันธง" ได้อย่างยั่งยืน
พูดเรื่องเกษตรผ่านวิทยุอยู่ 3 ปี รู้ว่าผู้ฟังได้แต่ฟัง สื่อประเภทนี้ฟังจบก็ลืม พลันเกิดปิ๊งไอเดียร์ขึ้นมา ทำอย่างไรเนื้อหาเรื่องราวที่พูดออกไปจึงจะอยู่ได้อย่างถาวร นั่นคือ ต้องทำสื่อสิ่งพิมพ์ ด้วยประสบการณ์ตรงที่เคยสัมผัสงานเขียนมาก่อน ตัดสินใจออก "วารสารเกษตรใหม่" โดยทีมงานเพียงคนเดียวเดี่ยวๆ เป็นวารสารเล่มเดียวในเมืองไทยที่ใช้ทุนส่วนตัวแล้วไม่มีโฆษณาแม้แต่ชิ้นเดียว จากวารสารอย่างเดียวเนื้อที่หน้ากระดาษไม่พอให้บรรจุข้อมูลที่มี ตัดสินใจออกพ๊อคเก็ตบุ๊คตามมมาอีกหลายต่อหลายเล่ม
หนังสือในเครือเกษตรใหม่ทุกเล่ม ติดอันดับ TOP 5 ของหนังสือจำหน่ายหมดเร็วที่สุดของซีเอ็ด. ทุกฉบับ ตั้งแต่เริ่มวางตลาดฉบับแรกถึงฉบับสุดท้าย
งานเผยแพร่ความรู้เรื่องเกษตร ทั้งสื่อวิทยุ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ รวมทั้งลงพื้นที่สัญจรไปบรรยายพิเศษให้เกษตรกรทั่วประเทศ รวมเวลาเกือบ 10 ปีเต็ม คำตอบย้อนกลับมา คือ "เกษตรหลังไมค์ เกษตรบนแผ่นกระดาษ" การทำเกษตรแบบ "สอดคล้องกับธรรมชาติ" ภายใต้หลักการ "เศรษฐศาสตร์การลงทุน" เป็นเรื่องเพ้อฝัน คนไม่ได้ทำกับมือ ไหนเลยจะสู้คนทำกับมือได้
การตัดสินใจครั้งสำคัญของชีวิต ด้วย GENTLE AGREEMENT เป็นแรงบันดาลใจ เมื่อพูดได้ต้องทำได้ก็เริ่มขึ้น นั่นคือ หาที่ดินสักแปลงทำสวนเกษตร "สวนสาธิตเพื่อศึกษา ท่องเที่ยว และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม" ออกตระเวนหาซื้อที่ดินไปหลายที่ หลายจังหวัด ก็มีนะ เอาเกาะในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนมาเสนอขาย เอาที่ดินรอบน้ำตกมาเสนอขาย เอาภูเขาหัวโล้นมาเสนอขายให้ทั้งลูก อีกกว่า 10 สารพัดรูปแบบที่ดินซึ่งล้วนแต่บุกรุกป่าสงวนแล้วเอาเสนอขายทั้งนั้น
กระทั่งสุดท้ายมาได้พื้นที่ "ไร่กล้อมแกล้ม" ปัจจุบัน ที่ดินมีโฉนดตราครุฑเป็นเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฏหมาย สนนราคาไร่ละ 80,000 เท่ากับที่ดินในละแวกใกล้เคียง งานซื้อขายครั้งนี้ ซื้อไถ่ถอนจาก ธ.ก.ส.แบบจ่ายงวดเดียว เป็นเงินสดไม่รับเชค
งานออกแบบสวนเกษตรสับสนอลวนอยู่ในสมอง ต้องทำอะไร ตรงไหน อย่างไรประสบการณ์ตรงจากการตระเวนไปเห็นมาทั่วประเทศ ไม่มีสวนไหนให้เป็นตัวอย่างแบบสำเร็จรูปขนาด COPY ได้เลย เพราะสวนเหล่านั้นสร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ของเขา แต่ของเราไม่ใช่วัตถุ
ประสงค์อย่างนั้น เมื่อไม่มีตัวอย่างให้เลียนแบบ ทุกอย่างจึงต้องคิดใหม่ทำใหม่ กล้อมแกล้มๆ ทำไปเถอะแต่ต้องมีหลักการและเหตุผล สุดท้าย สภาพไร่กล้อมแกล้มที่เห็นในวันนี้ ทุกอย่างล้วนเกิดจากจินตนาการทั้งสิ้น จินตนาการของคนที่ไม่เคยทำสวนมาก่อน เป็นครั้งแรก
ในชีวิต
.................... ยังไม่จบ ......................
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/07/2023 6:30 pm, แก้ไขทั้งหมด 42 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 04/04/2011 9:23 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ประวัติคณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล.
คณะเทคโนโลยีการเกษตรเดิมเป็น "โรงเรียนเกษตรกรรมนครปฐม" สังกัดกรมอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิ การตั้งอยู่ที่จังหวัด
นครปฐม เมื่อกรมอาชีวศึกษามีโครงการพัฒนาด้านอาชีวศึกษาในปี พ.ศ.2509 โดยรัฐบาล ได้อนุมัติให้กู้เงินจากธนาคารโลก
และธนาคารแห่งประเทศไทยมาดำเนินการปรับปรุงวิทยาลัยและ โรงเรียน อาชีวศึกษาสาขาช่างและเกษตรกรรม โรงเรียน
และ วิทยาลัยเกษตรกรรม 10 แห่ง ได้รับเลือกเข้าอยู่ในโครงการอาชีวศึกษานี้ซึ่งโรงเรียนเกษตรกรรมนครปฐมเป็นโรงเรียน
เกษตรกรรมแห่งหนึ่งที่รวมอยู่ในโครงการนี้
และเมื่อ พ.ศ.2513 โรงเรียนเกษตรกรรมนครปฐมได้ย้ายมาตั้งที่เขตลาดกระบังกรุงเทพฯและได้มีการประกาศ เรียกชื่อ
โรงเรียนเกษตรกรรมแห่งนี้ว่า "โรงเรียนเกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร" คำว่า "เจ้าคุณทหาร" ที่ต่อท้ายชื่อ โรงเรียนเกษตรกรรม
มีไว้เพื่อ เป็นอนุสรณ์แด่เจ้าพระยาสุรวงษ ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ผู้เป็นบิดาท่านเลี่ยม ซึ่งเมื่อครั้งที่ท่านเป็นผู้ควบคุมและ
ดำเนินการขุดคลองประเวศน์บุรีรมย์มาถึงตำบลหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง สังเกตเห็นว่าเมื่อเลิกงานคนงานที่รับจ้างทำการขุด
คลองบริเวณนี้จะตั้งวงดื่มสุรา เล่นการพนัน ทะเลาะวิวาท และฆ่าฟันกันตายเป็นประจำ จึงได้คิดหาทางที่จะช่วยคนเหล่า
นี้และเห็นว่าวิธีที่จะช่วยได้ คือ ให้การศึกษา แก่บรรดา ลูก-หลานของคนเหล่านี้
ท่านเลี่ยมและสามี คือ คุณหลวงพรตพิทย
พยัตได้บริจาคที่ดิน 1,500 ไร่ ให้เป็นสถานศึกษาตามเจตจำนงของบิดา โดยเริ่มแรกตั้งโรงเรียนประถมและมัธยมขึ้นซึ่งคือ
โรงเรียนพรตพิทยพยัตในปัจจุบัน ต่อมาท่านเลี่ยมได้ยกที่ดินที่เหลือทั้งหมด 1,041 ไร่ ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการใน
ปี พ.ศ.2500 ซึ่งกรมอาชีว ศึกษาได้ใช้พื้นที่แห่งนี้ เป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร โรงเรียนเกษตร
กรรมเจ้าคุณทหาร ได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา อัตรากำลังทั้งครู อาจารย์ คนงาน ภารโรง รวมทั้งเงินงบ
ประมาณ ก้าวหน้ามาเป็นลำดับ
จนได้รับการสถาปนาเป็น "วิทยาลัยเกษตร
กรรมเจ้าคุณทหาร" เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2517 ต่อมาเมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2522 วิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร
ได้โอนมาสังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า คุณทหารลาดกระบัง สังกัดทบวง มหาวิทยาลัยและได้รับการยกฐานะ
เป็น "คณะเทคโนโลยีการเกษตร" มาจน ทุกวันนี้
ปรัชญาคณะเทคโนโลยีการเกษตร
"จัดการศึกษาด้านเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการมีคุณธรรมและจริยธรรม ส่งเสริม
และเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อเป็นรากฐานต่อการพัฒนาทางด้านการเกษตรเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ"
ปณิธาน
คณะเทคโนโลยีการเกษตรมีปณิธานที่มุ่งมั่นในการจัดการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร เพื่อผลิตบัณฑิต
ที่มีคุณภาพ มี ความรู้ทั้งด้านทฤษฎี และ ปฏิบัติ สามารถวิเคราะห์ และ แก้ปัญหาได้อันเป็นคุณประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้าน
การเกษตรของประเทศไทยให้มีความยั่งยืนและเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารย ประเทศรวมทั้งส่งเสริมโอกาสการแข่งขัน
ทางการค้าในตลาดโลก อันจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสภาพแวดล้อม
วัตถุประสงค์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มีหน้าที่ในการผลิตบุคลากรและผลงานทางวิชาการด้านการเกษตรที่มีคุณภาพ เพื่อสนองตอบต่อ
สังคมและการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านการเกษตรในระดับปริญญาที่มีความรู้ความสามารถด้านวิชาการและวิชาชีพ ตามความต้องการของ
สังคมมีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ มีความเป็นผู้นำ รับผิดชอบต่อสังคมรู้จัก คิดริเริ่มสร้างสรรค์สามารถวิเคราะห์ปัญหา
และนำความรู้มาใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตให้เป็น ประโยชน์ต่อตนเองและต่อสังคม
2. เพื่อส่งเสริมการศึกษาการวิจัยและเผยแพร่ผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรออกสู่สังคม
อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าของสังคมและโลก
3. เพื่อสนองนโยบายของรัฐและความต้องการของเอกชนในด้านการพัฒนาคุณภาพของ ประชากร
โครงสร้างคณะเทคโนโลยีการเกษตร
การบริหารงานของคณะเทคโนโลยีการเกษตร ประกอบด้วย 3 สาขาวิชา 9 หลักสูตร คือ
1. สาขาวิชาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์และประมง
หลักสูตรสัตวศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมง
2. สาขาวิชาพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร
หลักสูตรพัฒนาการเกษตร
หลักสูตรนิเทศศาสตร์เกษตร
หลักสูตรการจัดการทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม
3. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
หลักสูตรพืชไร่
หลักสูตรปฐพีวิทยา
หลักสูตรพืชสวน
หลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช
และมีหน่วยงานเทียบเท่าสาขาวิชาอีก 1 หน่วยงาน คือ ส่วนบริหารงานทั่วไป ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับงานต่างๆ ที่นอกเหนือจาก
การเรียนการสอนทั้งจากสาขาวิชาและส่วนกลาง รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
ส่วนบริหารงานทั่วไปประกอบด้วย 20 งาน คือ งานบริหารงานทั่วไป (สารบรรณ) งานอาคารสถานที่ งานทรัพยาการบุคคล
งานนโยบายและแผน งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ งานทะเบียน งานบัณฑิตศึกษา งานฝึกอบรม งานโสตทัศนูปกรณ์
งานกิจการนักศึกษา งานยานพาหนะ งานวิจัย งานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานเอกสารการพิมพ์ งานวารสาร งานประกัน
คุณภาพการศึกษาและบริหารองค์ความรู้ และส่วนบริหารงานทั่วไปทั้ง 3 สาขาวิชา
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/05/2011 10:43 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 05/04/2011 7:15 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
วิจัยกว่า 10 ปี แนะใช้ปุ๋ยสังกะสีแก้ปัญหา "มังคุด" คุณภาพตกต่ำ
ธาตุสังกะสี เป็นหนึ่งในธาตุอาหารจำเป็นของพืช แต่วันนี้ "มังคุด" ที่ได้ชื่อว่าเป็นราชินีผลไม้ของไทย กำลังประสบกับภาวะขาดแคลน
ธาตุสังกะสีอย่างรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อผลผลิตมังคุดส่งออก
เมื่อปี 2540 รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม นักวิจัยสาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เริ่มสังเกตพบว่า สวนผลไม้ในภาคตะวันออกของไทยส่วนใหญ่ ขาดธาตุสังกะสี
โดยเฉพาะมังคุดและทุเรียน ที่แสดงอาการขาดธาตุสังกะสีให้เห็นมากกว่าผลไม้ชนิดอื่นๆ จึงเริ่มศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวตั้งแต่นั้น
เป็นต้นมา
"สังกะสีเป็น 1 ใน 16 ธาตุอาหารจำเป็นของพืชที่ต้องได้รับ หากขาดไปจะทำให้พืชจะเจริญเติบโตได้ไม่ครบวงจรชีวิต เช่น อาจ
ไม่มีดอก ไม่ออกผล หรือหากได้รับธาตุสังกะสีไม่เพียงพอ พืชจะแสดงอาการผิดปกติออกมา ได้แก่ ใบเล็กและแข็ง ข้อใบสั้น ทำให้
ใบรวมกันเป็นกระจุก ส่งผลให้พืชทำการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ไม่เต็มที่ ทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก อ่อนแอ และเป็นโรคง่าย ซึ่ง
พบในพืชผลหลายชนิดในภาคตะวันออก โดยเฉพาะมังคุดและทุเรียนที่พบมากกว่าผลไม้อื่น" รศ.ดร.สุมิตรา อธิบายแก่ทีมข่าววิทยา
ศาสตร์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ และสื่อมวลชนระหว่างเข้าเยี่ยมชมสวนมังคุดส่งออกของเกษตรกรใน จ.จันทบุรี ที่จัดโดยบริษัท
ผาแดงอินดัสทรี จำกัด เมื่อวันที่ 27 พ.ค. ที่ผ่านมา
นักวิจัย สจล. กล่าวต่อว่า จากการศึกษาวิจัยพบว่า การขาดธาตุสังกะสีของพืชในภาคตะวันออก เกิดส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการ
ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสมากเกินไป เป็นเวลายาวนาน จากความไม่รู้ของเกษตรกร เนื่องจากเชื่อว่าการใส่ปุ๋ย เอ็น-พี-เค (N-P-K) ตาม
ปกตินันเพียงพออยู่แล้ว และเมื่อใช้ปุ๋ยสูตรดังกล่าวมากเกินไปจะทำให้มีฟอสฟอรัส (P) ในดินสูง ซึ่งฟอสฟอรัสในดินจำนวนมากนั้น
จะไปขัดขวางการดูดซับธาตุสังกะสีในดินของพืช ส่งผลให้พืชที่เจริญเติบโตบริเวณนั้นขาดธาตุสังกะสีได้
การแก้ปัญหาพืชขาดธาตุสังกะสี สามารถทำได้โดยการให้ปุ๋ยสังกะสีเพิ่มในดิน แต่เนื่องจากสวนผลไม้ในภาคตะวันออกมี
ฟอสฟอรัสในดินสูงมาก การให้ปุ๋ยสังกะสีในดินจึงไม่มีผลใดๆ และอาจต้องใช้เวลายาวนานหลายสิบปี จึงจะทำให้ฟอสฟอรัสในดิน
ลดลงจนหลือปริมาณที่เหมาะสมโดยที่ไม่ต้องใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสเพิ่มเข้าไปอีก
ฉะนั้น ต้องให้ปุ๋ยสังกะสีโดยวิธีฉีดพ่นทางใบแทน โดยให้ฉีดพ่นปุ๋ยสังกะสีทุกครั้งเมื่อมังคุดเริ่มแตกใบอ่อน จะสามารถช่วยให้
ใบใหม่ไม่ขาดธาตุสังกะสี พืชแข็งแรง ออกดอกสม่ำเสมอ ผลใหญ่ เปลือกมีผิวสวย เรียบเนียน และไม่มีคราบน้ำยางเกาะติดที่ผิวเปลือก
รศ.ดร.สุมิตรา เผยอีกว่ายังมีปัญหาสำคัญที่ยังพบมากในผลผลิตมังคุด คือ มังคุดเป็นเนื้อแก้ว และยางไหล ซึ่งเกิดจากมังคุด
ได้รับน้ำฝนมากเกินไป จนทำให้เซลล์ของเนื้อมังคุดแตกและกลายเป็นเนื้อแก้ว ส่วนปัญหายางไหลเกิดจากท่อน้ำยางแตกเมื่อมีแรง
ดันมากเกินไป ซึ่งวิธีแก้ปัญหาคือ เกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวมังคุดให้ได้ก่อนเริ่มเข้าฤดูฝน แต่เมื่อไม่สามารถทำดังนั้นได้ จึงจำเป็นต้อง
ทำให้มังคุดมีความแข็งแรงพอที่จะทนทานต่อสภาวะดังกล่าวได้
"ธาตุสังกะสีช่วยให้พืชมีความสมบูรณ์แข็งแรงได้ในระดับภาพรวม แต่จากการศึกษาพบว่า ธาตุแคลเซียมสามารถช่วยเพิ่มความ
แข็งแรงให้กับเซลล์เนื้อมังคุดและท่อน้ำยางได้ โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการวิจัยการเพิ่มแคลเซียมให้มังคุดในปริมาณที่เหมาะ
สมเพื่อลดปัญหาเนื้อแก้วและยางไหล ซึ่งจะทำให้มังคุดมีคุณภาพดียิ่งขึ้น" รศ.ดร.สุมิตรา เผย ซึ่งนักวิจัยได้รับทุนวิจัยต่อเนื่อง
จาก คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล. และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยในการศึกษาความต้องการธาตุอาหารของพืช
ในสวนมังคุด ทุเรียน และสละ ตั้งแต่ปี 2541 ถึงปัจจุบัน
ด้านนางสงวน บุญญฤทธิ์ เกษตรกรเจ้าของสวนมังคุดรายหนึ่งใน จ.จันทบุรี ที่ครอบครัว ทำสวนมังคุดมายาวนานร่วม 50 ปี บนพื้นที่
ราว 150 ไร่ และเป็นเกษตรกรรายแรกๆ ที่เริ่มหันมาสนใจการเพิ่มธาตุสังกะสีให้มังคุด เปิดเผยว่า ก่อนหน้าที่ รศ.ดร.
สุมิตรา จะเข้ามาทำวิจัย ผลผลิตมังคุดเริ่มไม่ค่อยดี
แต่หลังจากทดลองฉีดพ่นปุ๋ยสังกะสีให้มังคุดตามคำแนะนำของนักวิจัย ก็พบว่าผลผลิตมังคุดเริ่มมีคุณภาพดีขึ้น ผลใหญ่ขนาดตั้งแต่
70-90 กรัมขึ้นไป ผิวมัน เปลือกบาง ไม่เป็นกระ เนื้อขาวสวย รสชาติหวาน ไม่ค่อยพบเนื้อแก้วหรือยางไหลมากเหมือนแต่ก่อน
จากเดิมที่สามารถส่งออกได้เพียงประมาณ 30% ปัจจุบันส่งออกมังคุดได้มากกว่า 70% โดยตลาดส่วนใหญ่อยู่ในจีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ
และยุโรป แต่กว่าจะประสบผลสำเร็จได้ขนาดนี้ ต้องใช้เวลานานประมาณ 6 ปี
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญในการแก้ปัญหามังคุดขาดธาตุสังกะสี ที่นักวิจัยต้องเผชิญ คือ ความไม่เชื่อถือจากเกษตรกร เนื่อง
จากเกษตรกรส่วนใหญ่มักเชื่อตามความรู้สึกของตนเอง เชื่อตามวิธีเดิมที่ปฏิบัติมาเป็นเวลานาน
รศ.ดร.สุมิตรา จึงแนะนำว่า สิ่งที่เกษตรกรควรทำคือ นำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้รู้ปริมาณธาตุอาหารที่
ควรเติมลงในดิน และนำตัวอย่างใบมังคุดวิเคราะห์ เพื่อให้รู้ว่าพืชขาดธาตุอาหารใดบ้าง จะได้ให้ปุ๋ยพืชที่มีธาตุอาหารเหมาะสม
และครบถ้วน
นอกจากนั้น รศ.ดร.สุมิตรา ยังให้ความรู้เพิ่มเติมว่า สังกะสีเป็นธาตุอาหารจำเป็นต่อพืช และเป็นธาตุอาหารจำเป็นต่อมนุษย์เช่นกัน
และมีรายงานวิจัยว่าการขาดธาตุสังกะสี และวิตามิน เอ.จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์มากที่สุด
โดยผู้ที่ขาดธาตุสังกะสีจะมีร่างกายแคระแกร็น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ป่วยเป็นโรคง่าย และมีผลต่อระบบการทำงานในสมอง
ดังนั้นการบริโภคอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ซึ่งธาตุสังกะสีพบมากในเนื้อสัตว์ ปลา
ข้าว ธัญพืช รวมทั้งผักสีเขียว และการให้ปุ๋ยสังกะสีในมังคุดหรือพืชอาหารอื่นๆ ยังช่วยลดอาการขาดธาตุสังกะสีในมนุษย์ได้
ด้วยเช่นกัน
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000079440
http://www.zincinfothailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539192533&Ntype=1
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/04/2011 8:34 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 05/04/2011 7:26 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
วิศวะลาดกระบังเจ๋ง ใช้ไฟฟ้ากระตุ้นเมล็ดพันธุ์ข้าว
สจล.คิดค้นเครื่องกระตุ้นเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสนามไฟฟ้า ระบุเปอร์เซนต์งอกสูง เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้เกษตรกร ทดลองปลูกที่
สุรินทร์ผลผลิตเพิ่ม 30%
ข้าว ถือเป็นธัญญาหารหลักของชาวโลก และมีความหลากหลายทางชีวภาพสามารถปลูกขึ้นได้ง่ายมีความทนทานต่อทุกสภาพ
ภูมิประเทศในโลก ไม่ว่าจะเป็นถิ่นแห้งแล้ง พื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง หรือแม้กระทั่งบนเทือกเขาที่อากาศหนาวเย็น ข้าวก็ยัง
สามารถงอกขึ้นมาได้
สำหรับประเทศไทย ข้าวเป็นพืชอาหารประจำชาติที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน และในอดีตประเทศไทยนับว่าเป็นผู้ส่งออก
ข้าวที่มีความสำคัญในอันดับต้นๆ แต่ปัจจุบันสถานการณ์กำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยจากข้อมูลจากสมาคมผู้ส่งออกข้าว
ไทย พบว่า ในเดือน พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมาไทยสามารถส่งออกข้าวได้เพียง 422,156 ตัน ต่ำสุดในรอบ 3 ปี
หรือลดลง 63% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย. 50 ที่ส่งออกได้ถึง 1.16 ล้านตัน
เนื่องจากข้าวไทยมีราคาสูงกว่าเวียดนาม และปากีสถานมากถึงตันละประมาณ 100 ดอลลาร์ โดยข้าวไทยมีราคาส่ง
ออกตันละ 550 ดอลลาร์ ขณะที่เวียดนามส่งออกข้าวในราคาตันละ 450 ดอลลาร์ เท่านั้น
ทั้งนี้ ปัญหาการส่งออกข้าวไทยที่มีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะเวียดนาม สาเหตุหนึ่งมาจาก จำนวนผลผลิตต่อ
ไร่ต่ำ จึงทำให้ต้นทุนสูง ขึ้น และอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดส่งออกข้าวของไทย
จากสาเหตุดังกล่าว ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร
ลาดกระบัง (สจล.) นำโดย รศ.ศิริวัฒน์ โพธิเวชกุล และ ผศ.นรเศรษฐ พัฒนเดช จึงได้คิดค้นเครื่องกระตุ้นเมล็ดพันธุ์
ข้าวด้วยสนามไฟฟ้าขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มเปอร์เซนต์การงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น
นายบัญชา แย้มสอาด นักศึกษาจาก ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. หนึ่งในทีมศึกษาเครื่องดังกล่าว
เปิดเผยว่า เครื่องกระตุ้นเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสนามไฟฟ้า ได้รับการออกแบบโดยใช้สนามไฟฟ้าที่มีความเข้มสนามไฟฟ้า
สม่ำเสมอเข้ากระตุ้นเมล็ดพันธุ์ข้าวในเวลาที่เหมาะสม โดยอาศัยทฤษฎีที่ใช้ในการเพิ่มประจุไฟฟ้าเพื่อปรับปรุงคุณภาพ
เมล็ดข้าว ผ่าน 3 องค์ประกอบหลักคือ
เปอร์เซนต์การงอกของต้นกล้า ความยาวของรากต้นข้าว และดัชนีการงอก ความแข็งแรงของลำต้น อันเป็นผลสืบเนื่อง
ต่อความสมบูรณ์ของต้นข้าวทำให้มีผลผลิตและคุณภาพที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เพิ่มมูลค่าการส่งออกข้าวของประเทศและ
เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
จากการศึกษาพบว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวที่นำมาผ่านสนามไฟฟ้าที่มีความเข้มของสนามไฟฟ้า 3 กิโลโวลต์ต่อเซนติเมตร จะได้
ความยาวรากเฉลี่ยสูงที่สุด โดยเมล็ดพันธุ์ที่พึ่งเก็บเกี่ยวจะใช้ระยะเวลาในการกระตุ้น 20 นาที และเมล็ดพันธุ์ที่พร้อม
ปลูกจะใช้ระยะเวลาในการกระตุ้น 30 นาที และในกรณีอัตราการงอกไม่แตกต่างกันมากระหว่างเมล็ดพันธุ์พร้อมปลูกและ
เมล็ดพันธุ์ที่พึ่งเก็บเกี่ยว เนื่องจากนำเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์มาทำการเพาะนั่นเอง
จากการศึกษาพบว่า การกระตุ้นเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสนามไฟฟ้ามีผลต่อการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์ โดยส่งผลให้ทำ
ให้ความยาวของราก และจำนวนรากแขนงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้ผ่านสนามไฟฟ้า และเมื่อความยาว
ของรากเพิ่มขึ้นมีรากแขนงมากขึ้นจะส่งผลต่อการดูดซับแร่ภายในดิน ทำให้ต้นข้าวมีความแข็งแรงทำให้ผลผลิตต่อไร่สูง
ขึ้นในทางปฏิบัติ โดยยิ่งรากยาวยิ่งดูดซับอาหารได้ดี อัตรารอดสูง จากการที่กรมการข้าวนำไปทดลองปลูกที่จังหวัด
สุรินทร์พบว่าปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 20-30 เปอร์เซนต์ นายบัญชากล่าว
นักศึกษาจากรั้วลาดกระบัง กล่าวในตอนท้ายว่า ขณะนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.กำลังนำแนวคิดจากเครื่องต้นแบบดัง
กล่าวไปพัฒนาสู่เครื่องที่มีขนาดใหญ่เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไป โดยผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ที่ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
เลขที่ 3 หมู่ 2 ถนนฉลองกรุง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โทร. 02-7392359 หรือ e-mail : kpsiriwa@kmitl.ac.th
http://www.google.co.th
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/08/2016 5:54 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 05/04/2011 8:44 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สจล.สกัดสาหร่ายกำจัดวัชพืช ประยุกต์ทำความสะอาดตู้ปลา
ทีมนักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สกัดสารจากสาหร่ายใช้กำจัดวัชพืชแปลงเกษตร สามารถ
ประยุกต์ใช้กำจัดตะไคร่น้ำในตู้ปลาได้ด้วย คาดไม่เกิน 2 ปีพร้อมใช้งาน
โครงการดังกล่าวดำเนินการศึกษาโดย ผศ.ดร.สุนีรัตน์ เรืองสมบูรณ์ อาจารย์จากภาควิชาวิทยาศาสตร์การประมง คณะเทคโน
โลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)
สาหร่ายที่นำมาใช้สกัดมีต้นทุนต่ำ เนื่องจากหาได้จากบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือในทะเล ไม่ว่าจะเป็นสาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีน้ำตาล
หรือสาหร่ายสีแดง ใช้เวลาสกัดระยะสั้น เนื่องจากวงจรสาหร่ายจะเกิดทุก 15 วัน ต่างจากพืชที่มีฤทธิ์กำจัดวัชพืช ต้องใช้เวลา
เพาะปลูกนาน 6-7 เดือน นักวิจัย กล่าว
ก่อนหน้านี้เคยมีงานวิจัยการออกฤทธิ์กำจัดศัตรูพืชของสาหร่ายมาแล้ว แต่ยังไม่มีงานวิจัยเชิงลึกเพื่อศึกษาปริมาณการออก
ฤทธิ์ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อพืชที่เพาะปลูก
นักวิจัยทดลองนำสาหร่ายชนิดต่างๆ แช่น้ำทิ้งไว้ 2-3 วัน จากนั้นนำน้ำสาหร่ายไปคลุกเคล้ากับดินเพื่อเตรียมดิน และทิ้งไว้
ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้สารสกัดที่คลุกเกิดการเจือจางก่อนนำไปปลูกต้นไม้ต่อไป
จากการทดสอบพบว่า เมื่อนำดินที่เตรียมไว้ไปปลูกต้นไม้ ไม่เพียงแต่สารสกัดสาหร่ายหยุดการเติบโตของวัชพืชเท่านั้น
ยังไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของพืชเกษตรด้วย อย่างไรก็ดี ทีมวิจัยต้องคำนวณค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่เหมาะสม
ต่อชนิดพืช เพราะความเข้มข้นที่มากเกินไปอาจส่งผลให้พืชไม่เติบโต หรือตายได้
ปัจจุบัน นักวิจัยอยู่ระหว่างศึกษาหาสารเคมีสำคัญที่ออกฤทธิ์ โดยทีมนักวิจัยจากภาควิชาเคมี และภาควิชาพืชสวน เป็น
ผู้รับเทคโนโลยีไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์กำจัดวัชพืชที่พร้อมจะใช้งานได้จริงทั้งกลุ่มเกษตรพืชไร่ พืชสวน และนาข้าว
นอกจากนี้ สารสกัดที่ได้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตู้ปลาสวยงาม เพื่อกำจัดตะไคร่น้ำได้ด้วย เพียงนำสารสกัดที่
ได้ไปหยดใส่ในตู้ปลา ระหว่างนี้ทีมวิจัยกำลังศึกษาความเข้มข้นที่เหมาะสมกับปลาแต่ละชนิด ได้แก่ ปลาทอง ลูกปลานิล
ลูกปลาดุก และลูกปลาตะเพียน
การศึกษาและพัฒนาสารสกัดสาหร่าย เพื่อใช้กำจัดวัชพืชและตะไคร่น้ำในตู้ปลาสวยงาม ได้ทุนการวิจัยจากภาควิชา
วิทยาศาสตร์การประมง เป็นทุนเริ่มต้น และมีทีมวิจัยจากภาควิชาเคมีและภาควิชาพืชสวนเข้ามาช่วยในการพัฒนาร่วมกัน
โดยปัจจุบันโครงการเดินหน้าไปแล้ว 40% และอยู่ระหว่างการศึกษาค่าความเข้มข้นที่เหมาะสมกับพืชและปลาแต่ละชนิด
คาดว่าจะใช้เวลาต่อจากนี้ประมาณ 2 ปีในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมใช้เพื่อเกษตร
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=3525&Key=hotnews |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 06/04/2011 5:58 am ชื่อกระทู้: |
|
|
อาจารย์มาเยี่ยม.....
1. ป้ายต้อนรับ ท่านอาจารย์วิชัย ที่พวกเราเคารพรักและคิดถึงอย่างมาก
เสริม :
TO SIR WITH LOVE......แด่คุณครูด้วยดวงใจ....
ศิลปะที่กลั่นออกมาจากก้นบึ้งของใจโดยแท้
โปรดสังเกตุ.....มะม่วงมีใบที่ผลด้วย พันธุ์ใหม่เหรอ........(ลุงคิม)
2. ท่านอาจารย์กำลังมอบของฝากให้แก่พวกเรา นั้คือความรู้ที่เราจะกล่าวถึงในลำดับต่อไป ถุงสีเขียวๆข้างๆ
ท่านอาจารย์คือ ทานตะวันงอกเพื่อสุขภาพที่อาจารย์นำมาฝากพวกเรา ทั้งต้นที่พร้อมรับประทาน และเมล็ด
ที่พร้อมนำมาเพาะเลี้ยงเพื่อรับประทาน สนใจติดต่อได้ผ่านลุงคิมครับ "ของเค้าดีจริงๆครับ" "ผมทานมาแล้วด้วยตัวเอง"
เสริม :
เมล็ดทานตะวันงอก เหมือนถั่วงอก แต่สารอาหารมากกว่า วันนี้คนที่กินเพื่อสุขภาพซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนมีเงินนิยม
กันมากๆ เพราะนอกจากรสชาดอร่อยกว่าแล้ว ยังได้สารอาหารมากกว่าด้วย.....ถามหน่อย รู้ไหม ดอกทานตะวัน
จะหันหน้าเข้าหาตะวันเสมอ รู้ไหมว่า เมื่อไหร่ที่ดอกทาตวันเลิกหันหน้าตามตะวัน..............(ลุงคิม)
3. ท่านอาจารย์วิชัย และพวกเรา เด๋วเราจะมาโพสในคราวหน้าว่ามีใครบ้างในรูป
เสริม :
ประสานงานครั้งแรกว่า 9 คน เอาจริงเข้าได้แค่ 8 อยู่มาแค่อาทิตย์เดียวลด 2 ตอนนี้เลยเหนือ 6 ลูกสาว 2
ลูกชาย 4 ไม่พอมือ (ว่ะ)......................(ลุงคิม)
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/04/2011 5:26 pm, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 06/04/2011 9:04 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ของฝากจากท่านอาจารย์วิชัย
เมื่อวานนี้เป็นโอกาสดีที่อาจารย์วิชัยแวะเวียนมาเยี่ยมการฝึกงานของเราถึงไร่กล้อมแกล้ม ซึ่งอาจารย์ได้สอบถามถึงการปลูกข้าวโพดหวาน
ของเราในวันก่อนและให้คำแนะนำเพิ่มเติม รวมถึงได้เสริมในส่วนที่เราขาดไปด้วย จากนั้นก็ลงสวนชมแปลงผลไม้ต่างๆ รวมถึงการจัดการ
ระบบน้ำด้วย ในระหว่างรับประทานอาหารเที่ยงอาจารย์ก็ได้ถามไถ่ถึงเรื่องราวปลีกย่อยและชีวิตความเป็นอยู่ภายในไร่ของเรา ส่วนในตอน
บ่ายก็เป็นการสาธิตวิธีการทำปุ๋ยสูตร UREGA ให้อาจารย์ดูวิธีการสอนของลุงคิมรวมถึงวิธีการเรียนของเราด้วย ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจ
ดังนี้
- ปัจจัยที่ส่งเสริมการงอกของเมล็ด มีดังนี้
1. ความชื้น
2. อุณหภูมิ
3. ออกซิเจน
ซึ่งเมล็ดจะงอกได้ดีเมื่อมีปัจจัยเหล่านี้ในปริมาณที่เหมาะสมกับเมล็ดนั้นๆ เท่านั้น ถ้าหากปัจจัยเหล่านี้ไม่เหมาะสมก็อาจทำให้เมล็ดเหล่านี้มี
เปอร์เซ็นต์การงอกลดลงไปด้วย
- ข้าวดีด คือ ข้าววัชพืชที่อยู่รวมกับข้าวที่เราปลูก ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกันบ้าง ดังนี้
ข้าวป่า
1. หางยาว
2. ระยะพักตัวยาว 6-8 สัปดาห์
3. ร่วงง่าย
ข้าวปลูก
1. หางสั้นกว่า
2. ระยะพักตัว 4 สัปดาห์
3. ร่วงยากกว่า
- โดยกฎหมายแล้วบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดขาย เมล็ดจะต้องมีเปอร์เซ็นต์การงอก 85% ขึ้นไป
- เมล็ดของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะสะสมอาหารอยู่ใน Endosperm ส่วนใบเลี้ยงคู่จะสะสมอยู่ในใบเลี้ยง
- ในการแช่และการบ่มเมล็ดพันธุ์พืชอุณหภูมิจะต้องไม่เกิน 50 องศาเซลเซียส ถ้าเกินนี้เมล็ดจะตาย
การแช่เมล็ดรูปแบบของลุงคิม
แช่ในไคโตซาน + จิบเบอเรลลิน ; ไคโตซานช่วยกำจัดเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ด , จิบเบอเรลลิน ช่วยเร่งให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น
แช่ไว้ 5 ชั่วโมง โดยคนทุกๆ 30 นาที จากนั้นห่มด้วยผ้าชุ่มเป็นเวลา 36 ชั่วโมงพร้อมปลูก
การแช่เมล็ดรูปแบบของอาจารย์วิชัย
แช่ในน้ำอุ่นเพื่อให้ Seed coat อ่อนเร็วขึ้นเพื่อช่วยในการแทงรากของเมล็ด หรือแช่ในน้ำหมักเพราะน้ำหมักมีฤทธิ์เป็นกรด pH
3.03.5 และมี NAA และฮอร์โมนกลุ่มออกซินเยอะ ช่วยในการงอกของราก
รูปแบบของญี่ปุ่น
จะแช่เมล็ดในขวดแก้วใสและให้ออกซิเจนตลอดเวลาโดยเติมออกซิเจนแบบตู้ปลา ซึ่งจะสังเกตเห็นการงอกของเมล็ด
ได้อย่างชัดเจน
การปลูกข้าวโพดโดยการเพาะให้เมล็ดงอกรากก่อนค่อยปลูกในปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยมเพราะการปลูกลำบากเนื่องจากการที่เมล็ดมี
รากงอกออกมาแล้วทำให้เราต้องระมัดระวังในการปลูกมากขึ้นซึ่งรากจะเกิดการกระทบกระเทือนได้ง่ายทำให้ต้องใช้เวลาในการปลูกนาน
การเพาะเมล็ดที่ภาคเหนือทำจะเป็นการเพาะให้ต้นกล้าข้าวโพดโตประมาณข้อมือเดียวแล้วค่อยย้ายกล้าปลูก ถ้าปล่อยให้โตกว่านี้ค่อย
ย้ายจะทำให้ต้นข้าวโพดชะงักการเจริญเติบโต
- ระยะการปลูกข้าวโพดที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
จะปลูกในระยะ 25 x 75 ซม. ซึ่งจะได้ข้าวโพดไร่ละ 8,533 ต้น ใบแต่ละใบจากแต่ละต้นจะบังแสงแดดได้พอดีทำให้
แสงส่องถึงพื้นดินได้น้อย วัชพืชก็เกิดน้อย และต้นข้าวโพดถ้าต้นเตี้ย ฝักจะเล็ก อายุการเก็บเกี่ยว 75 วัน
- การทำรุ่น คือ การกำจัดวัชพืช
- K เป็นตัวเคลื่อนย้ายความหวาน ดินที่สวนผึ้งมี K เยอะทำให้สับปะรดจากสวนผึ้งมีรสหวานเจี๊ยบ อร่อย
- ข้าวโพดหวานจะให้ไหมสีดำไม่ได้ เพราะราคาจะตกส่งโรงงานไม่ได้
"...ป๋อม...กันดั้ม...โบ๊ท...ทิว...ตั้ม...อ๋อมแอ๋ม...." |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 08/04/2011 11:06 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ปรัชญาเกี่ยวกับการเกษตร
เกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่คือการจัดการพื้นที่ที่มีอยู่สำหรับทำการเกษตรในรูปแบบต่างๆ บนพื้นที่ที่อยู่อย่างจำกัดเพื่อให้
เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะมีวิธีการแบ่งเป็นพื้นที่ใช้สอยดังต่อไปนี้
1. พื้นที่สำหรับปลูกพืชไร่ พืชสวน 30%
2. พื้นที่สำหรับสระน้ำ 30%
3. พื้นที่สำหรับการเลี้ยงสัตว์ 30%
4. พื้นที่สำหรับสร้างที่อยู่อาศัย 10%
การที่จะประสบผลสำเร็จในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่นั้นต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง ส่วนสิ่งที่สำคัญที่สุด
ก็คือกำลังใจที่หนักแน่น หากใจสู้แล้วปัญหาใดๆ ก็ดูจะเล็กน้อยไปเลยทีเดียว ท้อได้แต่อย่าถอย
เกษตรแบบพอเพียง
ต้องกำหนดเป้าหมายโดยไม่เอาเงินเป็นที่ตั้ง เอาความสุขใจเป็นที่ตั้ง เอาความมีเป็นตัววัด มีในสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
มีการรวมพลังคนในหมู่บ้านและชุมชนเพื่อสร้างอาหารให้พลังงานแก่ตนเองและคนในแผ่นดิน
รู้จักตัวเอง รู้จักสิ่งแวดล้อมเพื่อเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
ตั้งใจทำมาหากินเพื่อให้มีอยู่มีกิน พึ่งพาตัวเอง (เหมือนอิทธิบาท 4) ประเด็นเรื่องการปรับทัศนคิตและความคิดเกษตรพอเพียง
ต้องเน้นคนเป็นหลัก (เหมือนผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์)
ต้องไม่ล้มเลิกเพราะท้อแท้ (สำคัญมาก) ต้องปรับจิตใจตัวเองก่อน รู้จักตัวเองและเอาชนะตัวเองให้ได้
ถ้ารักครอบครัว รักตัวเอง ต้องให้ตัวเองและครอบครัวอยู่ดีมีสุข มีสุขภาวะที่ดีต้องประกอบไปด้วย ตัวเราดี มีอาหารดี ความเป็นอยู่ดี
คนในครอบครัวมีความรัก ไม่ต้องวิ่งไปหาเงิน ให้เงินวิ่งเข้ามาหาเราเอง สะสมเงินให้รูปแบบของธรรมชาติในพื้นที่
ทำกินทุกอย่าง อุดรูรั่วค่าใช้จ่าย สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการทำเกษตรพอเพียง
ต้องมีกิจกรรมต่างๆใน 1 ไร่หมุนเวียนตลอดปี
ต้องดูสภาพภูมิศาสตร์, ปริมาณน้ำที่มีและหาได้, รูปแบบการให้น้ำ, ความต้องการของพืช, ระยะเวลาเก็บเกี่ยว, สัตว์ที่เลี้ยง,
ระยะเวลาการเลี้ยง, ฯลฯ
ต้องรู้ราคาขาย พืช, สัตว์ และเขียนออกมาเป็นตาราง
ถ้ารู้รายละเอียดในส่วนต่างๆทั้งหมด ก็สามารถมากำหนดแผนได้
ดังนั้นควรรู้ทุกอย่างในพื้นที่ีของเรา รวมถึงปัญหาด้วย
อ๋อมแอ๋ม ค่ะ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความรู้ก็เหมือนกันกับ จิ๊กซอร์ชิ้นใหญ่มโหฬารที่นำมาต่อได้เรื่อยๆ ในความคิดของผมนั้น ความรู้ต่างๆนั้นสามารถต่อ เติม เสริม แต่ง
ได้อยู่เรื่อยๆ ตลอดเวลา ไม่มีวันสิ้นสุด ตราบใดที่เรานั้นไม่หยุดที่จะไขว่คว้า
หัดขยันซะบ้าง อย่าเก่งแต่จะจ้างอย่างเดียว ผมคิดว่า ถ้าเราจะทำงานใดๆก็แล้วแต่ อย่ามัวแต่จะขี้เกียจอย่างเดียว ตราบใดที่เราไม่เริ่ม
ทำ ด้วยตัวเอง เราก็จะไม่เข้าใจสิ่งนั้นๆอย่างแท้จริง เหมือนที่ลุงคิมได้กล่าวไว้อีกว่า หัดเอาหยาดเหงื่อเข้าแลกบ้าง เพราะอย่างเกษตรกร
ถ้ามัวแต่จ้างไปหมดทุกอย่าง หนักไม่เอาเบาไม่สู้ แล้วจะมีกำไรได้อย่างไร ได้ค่าผลผลิตมา แล้วยังต้องเอาไปจ่ายค่าปุ๋ยอีก ยังไม่วายต้อง
จ่ายค่าจ้างอีก แล้วจะได้เงินสักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้น หัดทำเองบ้างครับ
กันดั้ม คร้าบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
ต้นไม้พูดด้วยใบ บอกด้วยราก
ซึ่งประโยคนี้ได้หมายความว่า ถ้าต้นไม้สมบูรณ์ดีใบและรากของต้นไม้เป็นปกติ
แต่ถ้าต้นไม้เป็นโรค ใบจะแสดงอาการซีดเหลืองหรือ
แสดงอาการต่างๆ ก็ให้เราไปดูที่รากต้นไม้
อย่างเช่น น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้น ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเนื่องจากระบบรากไม้สามารถทำงานได้
โบ๊ท ครับพี่น้องงงงงงง!!!!!!!!!
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
ไม่มีอะไรง่ายอย่างที่คิด แต่ก็ไม่ยากอย่างที่กลัว
การคิดที่จะนับหนึ่งเป็นสิ่งที่อยาก แต่การที่จะเริ่มนับหนึ่ง นั้นยากยิ่งกว่า เนื่องด้วยมีปัจจัยที่มองไม่เห็นคอยเป่าหูอยู่
ความกลัวครับ กลัวที่จะต้องเหนื่อย กลัวที่จะต้องเสียงเงิน กลัวที่จะต้องเสียเวลา และกลัวอื่นๆตามแต่บุคคล
ถ้ากำจัดความกลัวที่ไม่มีตัวตนนี้ได้ ความก้าวหน้าจะเกิดขึ้น นำไปสู่ความสำเร็จ
ของตัวผู้ปฏิบัติเอง และความก้าว
หน้าของประเทศชาติ เป็นการแสดงความกตัญญูต่อชาติต่อพ่อ ในหลวงครับ ดีกว่าการไปลงนามถวายพระพรเสีย
อีกครับ
ทิว ครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
..อย่าทำตัวเหมือนน้ำเต็มแก้ว
..เราต้องทำตัวเหมือนน้ำที่ยังไม่เต็มแก้ว
.ที่พร้อมจะรับข้อมูลใหม่อยู่เสมอ
การเรียนรู้นะค่ะไม่มีวันสิ้นสุดหรอกค่ะเราจะต้องพร้อมที่จะรับข้อมูลใหม่เสมอพร้อมที่จะศึกษาหาความรู้
การเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรก็เหมือนกันค่ะ เราต้องลงมือทำและเรียนรู้ไปพร้อมกันค่ะ
การที่จะมาศึกษาดูงานเหมือนกันนะค่ะ จะมาดูเฉยๆ ไม่ได้ความรู้อะไรหรอกค่ะได้แค่ดู
นางสาวทักษิณานันท์ เหล็กเพชร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาพืชไร่
--------------------------------------------------------------------------------------------------
เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสารเคมี ทุกวันนี้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเงินเป็นทองไปใช้หมด เป็นโลกแห่งการแข่งขัน
ดังคำกล่าวที่ว่า สงครามที่มีการแข่งขันกันมากและไม่มีที่สิ้นสุด คือ สงครามเศรษฐกิจ
สิ่งที่ทำให้เกิดการแข่งขันกันมากที่สุด คือ ผมว่าน่าจะแข่งขันกันในเรื่องของราคา ถ้าราคาถูกก็มักจะขายได้ก่อน
จากการศึกษา พบว่า ต้นทุนน่าจะมาจากการใช้สารเคมีที่มีราคาสูง เช่น ยาฆ่าหญ้า และยาฆ่าแมลง เป็นต้น
ทำอย่างไรที่เราจะกำจัดต้นทุนที่เป็นผลเสียต่อหลายๆอย่างทั้งมีผลต่อดิน ต่อสิ่งมีชีวิตก็ตามคุณคิดว่ามันเอาอยู่จริง
เหรอ มันหยุดได้จริงเหรอ ถ้าใช้สารเคมียี่ห้อไหนก็ตาม ถ้าคุณผสมน้ำเข้าไปนั้น แสดงว่าคุณเจือจางสารนั้น การ
ออกฤทธิ์ก็จะไม่ได้ผลที่น่าพอใจ เมื่อเป็นดังนั้น ผมคิดว่าคุณก็จะเพิ่มอัตราการใช้ขึ้นไปอีก ถ้าเป็นอย่างนั้นแมลง
ที่คุณใช้สารเคมีฆ่า มันก็จะเกิดการดื้อยา ทีนี้แหละคุณจะใช้สารเคมีอะไรมันก็จะไม่ตาย นี่แหละเขาเรียกว่า งานเข้า
คุณน่าจะหาวิธีการที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ และประหยัดต้นทุนของคุณด้วย ผมจะแนะนำว่า ยาฆ่าหญ้าก็ควรจะใช้
พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาฆ่าหญ้าซะ เช่น ผักกาดน้ำ และสาบเสือ เป็นต้น ส่วนยาฆ่าแมลงก็ใช้สมุน
ไพรที่มีกลิ่นที่แมลงไม่ชอบซะ เช่น ขมิ้น ป็นต้น
สารเคมีเป็นมากมีราคาสูง มักจะใช้ไม่ได้ผล และเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ หากมีอะไรที่สามารถใช้ทดแทนกันได้ ก็ใช้แทน
เพื่อลดต้นทุน เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และที่สำคัญ คือ ประหยัดต้นทุนมากที่สุดครับ
ต้นครับบบบบ
---------------------------------------------------------------------------------------------------
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/05/2011 5:32 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 09/04/2011 8:03 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สุดยอด มหาวิทยาลัยรัฐ ยอดเยี่ยม ด้านเกษตร เทคโนโลยีการเกษตร
อันดับ มหาวิทยาลัย รูปภาพมหาวิทยาลัย
1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
4 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
สุดยอด มหาวิทยาลัยรัฐ ยอดเยี่ยม ด้านสัตวแพทย์
อันดับ มหาวิทยาลัย รูปภาพมหาวิทยาลัย
1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3 มหาวิทยาลัยมหิดล
4 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุดยอด มหาวิทยาลัยรัฐ ยอดเยี่ยม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อันดับ มหาวิทยาลัย รูปภาพมหาวิทยาลัย
1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2 มหาวิทยาลัยมหิดล
3 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
5 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คำถามที่พบบ่อย
Urank ใช้หลักเกณฑ์ใดและข้อมูลจากแหล่งใดในการจัดอันดับ ?
ตอบ : Urank ใช้ดัชนีชี้วัดจำนวน 10 ด้าน ดูได้ที่นี่ โดยใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ดังนี้
1. จากนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยนั้นๆ
2. จากองค์กรของรัฐ เช่น สกอ. สมศ. สกว. และมหาวิทยาลัย
3. จากบริษัท ห้าง ร้าน ต่างๆ
ข้อมูลที่แสดงผลตอนนี้ เชื่อถือได้มากน้อย แค่ไหน ?
ตอบ : ข้อมูลที่ท่านเห็น ยังไม่ใช่อันดับจริงที่จะประกาศ เป็นเพียงการตั้งขึ้นมาเพื่อทดสอบและรวบรวมข้อมูล ยังไม่มีการประกาศผล
อย่างเป็นทางการแต่ใดๆ โดยทางคณะกรรมการดำเนินงาน เห็นว่าหากเรายังไม่มีการริ่เริ่มสร้างต้นแบบ การจัดอันดับมหาวิทยาลัย
ก็ยากที่จะสำเร็จ
การจัดอันดับมหาวิทยาลัย ทำเพื่อใคร ?
ตอบ : การก่อตั้งสถาบันอันดับมหาวิทยาลัย ทำเพื่อนักเรียน ผู้ปกครอง และนักวิชาการทางการศึกษา ซึ่งสามารถใช้ผลการจัด
อันดับในการประกอบการตัดสินใจ เพื่อเลือกสถานที่เรียน
อยากจะมีส่วนร่วม สามารถส่งข้อมูลให้สถาบันได้ทางใดได้บ้าง ?
ตอบ : ทางสถาบันขอขอบพระคุณและหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับกำลังใจ ข้อเสนอแนะ หรือแม้แต่คำวิจารณ์ สิ่งเหล่านี้จะเป็นประ
โยชน์อย่างมาก ต่อการปรับปรุงสถาบันต่อไป โดยท่านสามารถติดต่อสถาบันได้ โดยคลิกที่นี่
U STATS
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย................. - มหาวิทยาลัยเกริก
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์............... - มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น.................... - มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
- มหาวิทยาลัยชินวัตร........................... - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น....................... - มหาวิทยาลัยทักษิณ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี..- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯบางมด.....- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร............
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.........- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี...........- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์....- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย..........- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน...........- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- มหาวิทยาลัยธนบุรี......................- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.............- มหาวิทยาลัยนครพนม
- มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์....- มหาวิทยาลัยนเรศวร
- มหาวิทยาลัยนอร์ท เชียงใหม่..........- มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
- มหาวิทยาลัยบูรพา.....................- มหาวิทยาลัยปทุมธานี
- มหาวิทยาลัยพายัพ....................- มหาวิทยาลัยภาคกลาง
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย...- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม....................- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยแม่โจ้...........................- มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- มหาวิทยาลัยโยนก..........................- มหาวิทยาลัยรังสิต
- มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต....................- มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์................- มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
- มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.............- มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย................- มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี................- มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม...............- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.......- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
- มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา..- มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
- มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร................- มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม...........- มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์..............- มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
- มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม...........- มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด...............- มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
- มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี...........- มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย...................- มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในฯ
- มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.............- มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา................- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา...........- มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์................- มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
- มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี...............- มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
- มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี...........- มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล..................- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์(ประเทศไทย)......- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- มหาวิทยาลัยศรีปทุม........................- มหาวิทยาลัยศิลปากร
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์................- มหาวิทยาลัยสยาม
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช............- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- มหาวิทยาลัยหาดใหญ่......................- มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี..................- มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
- วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ.................- วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา วิทยาเขตระยอง
- วิทยาลัยเซนต์เทเรซา อินติ..................- วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
- วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก..................- วิทยาลัยดุสิตธานี
- วิทยาลัยตาปี.................................- วิทยาลัยทองสุข
- วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้...................- วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
- วิทยาลัยนครราชสีมา.........................- วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
- วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ..................- วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
- วิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ..- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
- วิทยาลัยพิษณุโลก...............................- วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ
- วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น...........................- วิทยาลัยมิชชัน
- วิทยาลัยรัชต์ภาคย์............................- วิทยาลัยราชพฤกษ์
- วิทยาลัยลุ่มน้ำปิง..............................- วิทยาลัยสันตพล
- วิทยาลัยแสงธรรม.............................- สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน.............- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.....- สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์
- สภากาชาดไทย.......................
http://www.urank.info/rankviewtop.php?type_id=17 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
iieszz หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 15
|
ตอบ: 10/04/2011 11:31 am ชื่อกระทู้: นักศึกษาฝึกงาน เพิ่มเติม |
|
|
ทดสอบ การทำ/การใช้ สารสมุนไพรกำจัดวัชพืช....
1. ทิวรับงานพิเศษเป็นนายแบบถ่ายภาพ เก็บผักกาดน้ำ ที่หน้าบ้านป้าบล น้ำลึกตั้งครึ่งตัว ดูดีซะไม่มี :")
2. ต้น : "โบ๊ทข้าศึกประชิดมาแล้ว รีบขึ้นมาเร็ว"
โบ๊ท : "อย่าไปกลัว เห็นในมือใหม สู้เว้ยยย!!!!!"
ทิว : "ทำไรกันวะ ปัญญาอ่อน ขึ้นเร็วๆซิหนัก"
3. แอ๋มมี่ไม่ไหวแล้วนะ T^T
4. บ๋อมแบ๋มกำลังเก็บต้นสาบเสือ ที่หลังบ้านป้าบล
5. ต้นกับโบ๊ท ดูดีจังเลย ตอนไม่มีหน้า
6. ผักกาดน้ำ ผักที่หลายคนเยคเห็นแต่ไม่รู้จักชื่อ
7. วัถุดิบ ผักกาดน้ำและสาบเสือ พร้อมแล้ว ที่จะทำยาฆ่าหญ้า
8. เตาสำหรับต้มวัตถุดิบ ทำเอง ลดต้นทุน
9. แบ่งผักกาดน้ำ สาบเสือ เป็นสามชุด นำชุดแรกไปต้ม เติมน้ำให้ท่วม ต้มประมาณ 20 นาที ดึงเอาสารที่อยู่
ภายในที่เราต้องการใช้ ให้มากที่สุด แล้วนำกากออก เพื่อเพื่มความเข้มข้นของสาร จึงต้มวัตถุดิบซ้ำอีกใน
น้ำเดิม ซึ่งในที่นี้ต้มสามครั้ง แต่สามารถต้มกี่ครั้งก็ได้ ยิ่งต้มมากยิ่งเข้มข้นมาก ทุกครั้งที่ต้มเสร็จปริมาณน้ำ
จะลดลง ควรเติมน้ำเพิ่มในการต้มครั้งต่อไป ตามหลักทางวิทยาศาสตร์ เมื่อต้มน้ำจนเดือด (100 องศา
เซลเซียส) น้ำจะละเหยกลายเป็นไอ จึงทำให้ปริมาณน้ำลดลง แต่สารที่ดึงออกมาจากผักกาดน้ำและสาบ
เสือ จะไม่ละเหยไปกับน้ำ สารจะยังอยู่ในหม้อ การต้มหลายครัั้งจึงทำให้ปริมาณสารเข้มข้นมากขึ้น เอา
ให้เข้าใจง่ายๆ เหมือนกับการเคี่ยวน้ำแกง ยิ่งเคี่ยวนานยิ่งเข้มข้น
33. นี่เป็นกากผักกาดน้ำและสาบเสือ ที่นำมาต้มทำยาฆ่าหญ้า
34. เอะ! รูปนี้ดูเหมือนรูปก่อนหน้าเลย จริงๆแล้วต่างกัน รูปก่อนหน้านี้ให้ดูกาก แต่รูปนี้ให้ดูความ สวยหล่อ ของผู้ทำ
ยังขาดลูกสาวคุงคิมไปอีกคน สงสัยขาสั้นเดินมาไม่ทันเข้ากล้อง
35.
36. ยาฆ่าหญ้าทำเอง ต้นทุนต่ำ หากเปิดใจยอมรับ และกล้าที่จะลองเสี่ยง ก็จะได้คำตอบสุดท้ายด้วยตัวเอง
นานาสูตรยาฆ่าหญ้า ...
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2322
สมุนไพรกำจัดวัชพืช .....
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=363
เสริม :
ผักกาดน้ำ...
ชื่อสามัญ หญ้าเอ็นยืด , หญ้าเอ็นอืด(เชียงใหม่) ,หมอน้อย,เชียจ่อยเช่า, ตะปุกชี้, ฮำผั่วเช่า(จีน) Plantain
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plantago major Linn. วงศ์ Plantaginaceae
ลักษณะ เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบงอกขึ้นมาจากดิน ก้านยาว ใบรูปกลม โคนเรียวแหลม ปลายป้านแหลมหนา
คล้ายใบผักคะน้า เส้นใบวิ่งตามยาว 5 เส้น สีเขียวไม่เข้ม ดอกเล็ก ๆ ไม่มีก้าน ออกเป็นช่อเล็กยาวติดตามก้านที่พุ่งจากดิน ลักษณะ
แห้ง ผลเล็กเมื่อแก่แตกกลาง มักเกิดตามที่ลุ่มทั้งที่มีน้ำท่วม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-5126.html
http://thaiherb-tip108.blogspot.com/2011/03/blog-post_2157.html |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 10/04/2011 4:53 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
นศ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ฝึกงาน ณ ไร่กล้อมแกล้ม บ้านเขาช่อง ต.เขาสามสิบหาบ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี
ตั้งแต่ 14 มีนาคม 2554 ถึง 20 พฤษภาคม 2554
".............. กล้อมแกล้ม-ลาดกระบัง รุ่น 9 ..............."
...................................... "บ๋อม".......................................
1. สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อนางสาวทักษิณานันท์ เหล็กเพชร ชื่อเล่น บ๋อมแบ๋มค่ะ....บ๋อมมาจากดินแดนที่ราบสูงศรีษะเกษ
เรียนอยู่คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล. ปัจจุบันกำลังจะขึ้นชั้นปีที่ 2 แล้วค่ะ บ๋อมเป็นคนเรียบร้อย อ่อนโยน
ว่านอนสอนง่าย ลุงคิมจึงไม่ต้องหนักใจกับบ๋อมเลยค่ะ คติประจำใจของบ๋อม หมวยเลือกได้ค่ะ หมายถึง เลือก
ในสิ่งที่ดีและถูกต้องที่สุดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองและส่วนรวมค่ะ
...................................... "แอ๋ม" ....................................
2. และก็มาถึงสาวน้อยสุดสวยและสวยที่่สุด เธอชื่อนางสาวจิราพร วิทาโน ชื่อเล่น แอ๋มมี่ ...... ถึงวันนี้จะดูโทรม
ผิวพรรณก็ดำกร้านแดดกร้านลมไปบ้างแต่เธอก็ยังดูสวยแบบธรรมชาติ หรืออาจจะเป็นเพราะถ่ายรูปไม่ขึ้นก็เป็นได้ค่ะ
แต่ตัวจริงรับรองได้ว่าสวยไปถึงจิตใจเลยล่ะค่ะ
แอ๋มเป็นคนหลายบุคลิก แล้วแต่สถานการณ์จะพาไปค่ะ มีทั้งติงต๊อง ร่าเริงแจ่มใส บทจะจริงจังก็มีค่ะ แต่ก็ใช่
จะทำเป็นเล่นไปตลอด ความเป็นเด็กมีอยู่ในทุกคนแหละค่ะ แต่ถ้าเป็นสิ่งที่เราควรทำหรือต้องทำ เราก็ต้องทำให้ออก
มาดีที่สุด จะได้ไม่ต้องมาแก้ไขหรือเสียใจคร่ำครวญทีหลังไงล่ะคะ
...................................... "โบ๊ท" .....................................
3.สวัสดีครับ โบ๊ท เองครับพี่น้อง!!!
" ฝันให้ไกล ไปให้ถึง แม้เพียงครึ่งทางก็ถือว่าเราประสบความสำเร็จแล้ว อย่าท้อแท้กัับปัญหา เพียงแค่เรา
มีสติและสมาธิเราก็จะผ่านพ้นทุกอย่างไปได้ด้วยดี "
....................................... "ต้น" ......................................
4. สวัสดีครับ ผมต้นครับ :"
"ถ้าเราจะเรียนรู้อะไร เราต้องเรียนรู้แบบถึงที่สุด เหมือนกับเราเรียน เราไม่ต้องเก่งหมดทุกวิชา แต่จงค้นหาสิ่งที่
เราเก่ง และทำสิ่งที่เราเก่งให้มันสุดยอดก็พอ"
....................................... "กันดั้ม" ...................................
5. สวัสดีครับ ผม กันดั้ม ครับ :")
"ถ้าเรา เริ่ม ที่จะลงมือทำ อะไรๆที่ฝันไว้จะต้องเป็นไปได้อย่างแน่นอนครับ " :")
....................................... "ทิว" ......................................
6. สวัสดีครับ "ผม ทิว ครับ"
"แผนที่วางไว้อาจไม่ได้เป็นอย่างที่คิด แต่เป้าหมายสุดท้ายของแผนการจะต้องเป็นไปอย่างที่ฝัน"
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/04/2011 8:06 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 10/04/2011 8:41 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ทำยูเรก้า สูตร 100 ล. (ครั้งที่ 1) .....
1. ผลสำเร็จจากการสาธิตการทำ UREGA ให้ท่านอาจารย์วิชัยได้รับชม
2. !!!!!.......... COYOTY UREGA .......... !!!!!
ทำยูเรก้า สูตร 10 ล. (ครั้งที่ 1) ......
1. อุปกรณ์ ส่วนผสม ในการทำ UREGA ปริมาณ 10 ลิตร
อุปกรณ์
1. โหลแก้วขนาด 10 ลิตร
2. เครื่องมือวัดความถ่วงจำเพาะ
3. โมลิเน็กเล็ก (ดัดแปลงจากสว่าน)
4. กระกาษวัดค่า pH
5. เครื่องวัดค่าความเค็ม
6. ตาชั่งตวงสาร
7. SILING
ส่วนผสม
8. Ca.B
9. TE
10. Zn AMI. CLE.
11. Buffer
12. 3:1:2
13. CHITOSAN
14. Mg
15. SEE WEED
16. EDTA
17. GLU
18. COL.
2. close up ให้เห็นกันชัดๆ เคยเห็นเครื่องมือแบบนี้กันบ้างใหม ?
3. ส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว นำมาวัดหาค่าความถ่วงจำเพาะ
4. ค่าที่วัดได้ 10.3
5. วัดหาค่าความถ่วงจำเพาะ (ถพ.) ได้ 10.3
6. วัดค่า BO ที่วัดได้ 746
7. รายละเอียดเรื่องนี้ต้องขอให้คุงคิมช่วยแล้ว ....... ลุงคิมค๋าาา
.... เสริม .....
แนวคิดครั้งแรก :
- สารอาหารพืชที่จำเป็นต่อพืชจริงๆ มีทั้งสิ้น 14 ตัว กับฮอร์โมน 1-2-3 ตัว แล้วแต่ระยะพัฒนาการ และชนิดของพืช
แยกเป็นประเภทให้ทางใบ กับให้ทางราก
- สารอาหารพืชที่มีขายตามท้องตลาด หากสังเกตุข้อมูลที่ระบุรายละเอียดส่วนผสม จะพบว่าส่วนผสมทุกตัว คือ
สารอาหารและฮอร์โมน ดังกล่าวทั้งสิ้น ต่างกันที่ สารอาหารตัวใดเหมาะสมกับพืชชนิดใด และระยะพัฒนาการใดเท่านั้น
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีแจ้งในเอกสารตำราทั่วไปอยู่แล้ว
- ส่วนผสมแต่ละตัว ตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียวของบริษัทหนึ่ง ที่มีขายตามท้องตลาด ถ้าเป็นสารอาหารประเภทให้
ทางใบ เมื่อนำมาละลายน้ำแล้วสามารถให้ทางใบแก่พืชได้เลย ซึ่งพืชก็เจริญเติบโตได้ตามคุณสมบัติของสารอาหารตัวนั้น
- สารอาหารพืชของบางบริษัท แยกหรือแบ่งขายสารอาหารแต่ละตัว ก่อนใช้งานจะต้องนำสารอาหารแต่ละตัวมาผสม
กันก่อนตามเอกสารที่แนบมาให้ โดยผู้ใช้ผสมเองแล้วจึงให้แก่พืช บางครั้งต้องใช้ 5-6 ตัว ซึ่งเมื่อให้แก่พืชแล้วพืชก็
เจริญเติบโตได้ตามคุณสมบัติของสารอาหารทั้ง 5-6 ตัวนั้น.....กรณีนี้ที่น่าสังเกตุ คือ
1) ทำไมบริษัทผู้ผลิตจำหน่ายจึงไม่ผสมสารอาหารทุกตัวให้เรียบร้อยพร้อมใช้เลย แล้วจึงวางขาย แล้วทำไมจึงต้อง
ให้ผู้ใช้ผสมเองด้วย....แบบนี้แสดงว่า ธาตุอาหารแต่ละตัวสามารถผสมรวมกันได้
2) แม้ในเอกสารที่แนบบอกว่าต้องใช้สารอาหาร 5-6 ตัวผสมกันก่อนใช้ หากมีไม่ครบทั้ง 5-6 ตัว แต่มีเพียง 3-4 ตัว
โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นตัวไหน ก็สามารถผสมกันแล้วใช้เลยได้เช่นกัน สำหรับ 2-3 ตัวที่ขาดในครั้งนี้ สามารถให้ตามหลัง
ได้ในครั้งหน้า ซึ่งพืชก็เจริญเติบโตตามคุณสมบัติของสารอาหารตัวนั้นๆได้แม้จะไม่ได้ให้พร้อมกันทั้ง 5-6 ตัว
- คุณสมบัติของยูเรก้า คือ เป็น ปุ๋ย/ฮอร์โมน ที่มีประสิทธิภาพในการขายขนาดผลโดยเฉพาะ จึงเน้นส่วนผสมที่มีประสิทธิภาพ
ในการขยายขนาดผลโดยตรง ได้แก่ ปุ๋ยทางใบเรโช 3 : 1 : 2, ไคโตซาน, อมิโนโปรตีน และแคลเซียม โบรอน. ซึ่งปกติ
เกษตรกรใช้สารอาหารเหล่านี้เป็นประจำอยู่แล้ว แต่ใช้เพียงตัวเดียวในการให้แต่ละครั้ง กับถ้าให้หลายตัวก็จะให้ครั้งละตัว
ในเมื่อสารอาหารทุกตัวดังกล่าวสามารถผสมหรือรวมกันแล้วใช้พร้อมกันได้ ดังนั้นการทำยูเรก้าแล้วใส่สารอาหารเหล่านี้
ลงไปจึงไม่น่าจะผิดหลักการ
- สารอาหารพืชที่เป็นของเหลวมี 2 แบบ คือ แบบให้ทางใบ กับแบบไฮโดรโปรนิคส์ซึ่งทั้ง 2 แบบมีโครงสร้างทางเคมีต่างกัน
อย่างสิ้นเชิง จนไม่สามารถผสมหรือใช้ร่วมกันได้
- สารอาหารพืชที่ใช้สำหรับการปลูกพืชแบบไฮโดรโปรนิคส์ (สูตร A และสูตร B)ส่วนใหญ่ (เกือบทุกตัว) คือ สารอาหาร
พืชประเภทให้ทางใบที่มีวางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วๆไปอยู่แล้ว เมื่อนำสารอาหารเหล่านั้น 1-2-3-4- ตัว มาผสมกันตาม
อัตราส่วน/ก่อน-หลัง/เทคนิคเฉพาะ/อื่นๆ แล้ว จะพบว่าสารอาหารทุกตัวสามารถเข้ากันดีจนเป็นเนื้อเดียวกันได้ ซึ่งก็ตรง
กับของบริษัทที่แยกขายส่วนผสมแต่ละตัวแล้วให้ผู้ใช้ผสมเองทุกประการ
ประสบการณ์ตรง :
- โครงสร้างหรือรูปทางเคมีของส่วนผสมหรือธาตุแต่ละตัวต่างกัน เช่น ตัวเดียวกันแต่ต่างกันที่โครงสร้างที่เป็น อ๊อกไซด์.
คลอไรด์. คลอเรต. ฯลฯ
- โครงสร้างทางเคมีที่ต่างกัน บางตัวเข้ากันได้ แต่บางตัวเข้ากันไม่ได้ ปัญหานี้ผู้ผสมปุ๋ยต้องมีข้อมูลทางวิชาการ หรือ
ประสบการณ์ตรงเท่านั้นจึงจะรู้ได้
- ส่วนผสมจากต่างบริษัทผู้ผลิต บางตัวอาจเข้ากับของบริษัทอื่นได้ แต่บางตัวเข้ากับของบริษัทอื่นไม่ได้ ต้องเป็นของ
บริษัทตนเองเท่านั้นจึงจะเข้ากันได้ อันนี้เป็นกลยุทธทางการค้าของบริษัทผู้ผลิตจำหน่าย
- ค่ากรด-ด่าง และอุณหภูมิ มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากต่อการเข้ากันได้ดี หรือเข้ากันไม่ได้ หรือการละลายของธาตุแต่ละตัว
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการผสมธาตุต่างๆ คือ 25-28 องศา เซลเซียส
- มาตรฐานหรือเปอร์เซ็นต์ของเนื้อสารอาหารที่ใช้ มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะหมายถึงคุณภาพของปุ๋ยที่ผสมออกมา
แล้วว่า ดีหรือไม่ดี เพียงใด
ปัญหาและการแก้ปัญหา :
ปัญหา :
ขาดข้อมูลด้านวิชาการที่เกี่ยวกับธาตุอาหารพืช ในการที่จะผสมธาตุแต่ละตัวให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้โดยไม่เสียโครง
สร้างทางเคมี.....
วิธีแก้ปัญหา :
เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีความรู้วิชาเคมีขั้นพื้นฐาน จึงควรเรียนแบบ LEARNING BY DOING หรือ
"ปฏิบัติ นำ ทฤษฎี" ให้ฝึกทำซ้ำหลายๆรอบ เพื่อให้เห็นปัญหาของทุกๆ ขั้นตอน พร้อมกันนั้นก็สอดแทรกความรู้ทาง
ด้านทฤษฎีวิชาการเข้าไปด้วย วิธีแก้ปัญหาแบบนี้ ผู้เรียนจะต้องมีเวลาอยู่เรียนได้ครั้งละหลายๆวัน
ปัญหา :
จัดหาธาตุอาหารพืชสำหรับนำมาทำไม่ได้ เนื่องจากธาตุอาหารพืชประเภทให้ทางใบบางตัวไม่มีจำหน่ายแบบขายปลีกใน
ท้องตลาดทั่วๆไป ต้องซื้อจากบริษัทใหญ่แบบขายส่ง (อย่างน้อย ครั้งละ 100 หรือ 1 ตัน ขึ้นไป) เท่านั้น
วิธีแก้ปัญหา :
เกษตรกรรวมกลุ่มกันทำ โดยร่วมกันจ่ายค่าจัดซื้อวัสดุส่วนผสม ร่วมกันทำ ร่วมกันคิด ร่วมกันแก้ปัญหา ทำเสร็จแล้วแบ่งกัน
ปัญหา :
สวนขนาดเล็ก ใช้ครั้งละไม่มาก แต่ตัวอย่างที่สอนเป็นแบบ 100 ล. แล้วไม่รู้จะย่อขนาดหรือลดอัตราส่วนผสมต่อปริมาณ
การทำลงมาอย่างไร
วิธีแก้ปัญหา :
สอนให้ทำสูตรเล็ก ครั้งละ 10 ล.
ปัญหา :
ขาดประสบการณ์ตรงด้วยการทำกับมือ
วิธีแก้ปัญหา :
1) ฝึกทำด้วยมือตัวเองหลายๆครั้ง ....
2) สร้างสมและรวบรวมประสบการณ์จากหลายๆแหล่งส่งเสริม ซึ่งแต่ละแหล่งต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แล้วเลือกเก็บ
เฉพาะข้อดีที่เหมาะสมกับตัวเองมาเป็นสูตรของตัวเอง
ปัญหา :
เริ่มต้นแล้วไม่ต่อยอด
วิธีแก้ปัญหา :
ทำซ้ำ ทำเพิ่ม พร้อมกับวิเคราะห์หาช่องทาง หรือ LINE ในการที่จะให้รู้สูตรใหม่ๆอยู่เสมอ
ปัญหา :
ท้อแท้และหยุดตัวเอง
วิธีแก้ปัญหา :
พึงระลึกอยู่เสมอว่า "ความล้มเหลว คือ ความสำเร็จ" ด้วยความมุ่งมั่นแน่วแน่ว่าจะต้อง "ทำได้ และทำให้ได้" การเรียน
รู้ไม่มีที่สิ้นสุด ทุกวินาทีมีข้อมูลทางวิชาการใหม่ๆออกมาเสมอ หยุดเมื่อใดเท่ากับถอยหลังเมื่อนั้น....ในโลกนี้ ทุกแหล่ง
สถานศึกษาให้ความรู้ได้เพียง "พื้นฐาน" เท่านั้น เมื่อเรียนจบออกไปแล้ว ผู้เรียนจะต้องขยายผลต่อยอดจากพื้นฐานนั้น
เอาเอง ดังคำเปรียบเปรยที่ว่า มีปริญญาบัตร แต่ไม่มีปัญญาบัตร ย่อมยากที่จะประสบความสำเร็จได้ หรือแม้แต่ พร
สวรรค์มีเพียง 1 ใน 10 อีก 9 ใน 10 คือ พรแสวง
สรุป
ยูเรก้า.ทำแบบ "ภูมิปัญญาพื้นบ้าน - มาตรฐานโรงงาน - มีหลักวิชาการรองรับ" กล่าวคือ....
- ภูมิปัญญาพื้นบ้าน หมายถึง การใช้ส่วนผสมประเภททางใบที่มีจำน่ายตามท้องตลาดอยู่แล้ว กับอิงหลักการทำปุ๋ยไฮโดรโปรนิคส์
เป็นหลัก
- มาตรฐานโรงงาน หมายถึง การใช้อุปกรณ์, เครื่องมือ, การเตรียมส่วนผสม, การตรวจสอบ, ฯลฯ เหมือนในห้อง LAB
- มีหลักวิชาการรองรับ หมายถึง สารอาหารแต่ละตัวมีคุณสมบัติต่อพืชตรงตามเอกสารตำรา หรืองานวิจัย ทั้งในและต่างประเทศ
ลุงคิมครับผม....
Hydroponic Fertilizer
ปุ๋ยไฮโครโปนิค ทำมาจากอะไร ? ทำได้อย่างไร ? แล้วพิษภัยเป็นอย่างไร ?
หาคำตอบได้ที่นี้....
ปุ๋ยไฮโดรโปนิค ที่จริงแล้วเป็นปุ๋ยเคมี 100 % มี่ส่วนประกอบของธาตูอาหารพืชต่างๆ ครบถ้วน ทั้งธาตุอาหารหลัก N P K และ
ธาตุอาหารรอง Ca Mg S ธาตุอาหารน้อย Fe Mn Cu Mo B Zn ซึ่งสัดส่วนต่างๆ ในปุ๋ยจะถูกคำณวนอย่างถูกต้องตรงกับ
ความต้องการของพืชแต่ละชนิด จึงมีหลายสูตร หลายสำนัก แต่ละสำนัก ปลูกพืชชนิดเดียวกันแต่สูตรปุ๋ยและส่วนผสมอาจจะ
แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแม่ปุ๋ยที่ใช้ผสมมีความแตกต่างกัน นับเป็นเรื่องแปลกอยู่เหมือนกัน ที่สามารถพลิกแพลงการผสมได้
แต่จบวัตถุประสงค์เหมือนกัน คล้ายกันคือผลผลิตพืชที่ได้ เหมือนกันหรือเท่ากัน
ค้นหาเหตุผลที่ว่าเป็นพิษต่อการบริโภคพืชผักที่ปลูกแบบไฮโดรโปนิค หรือไม่นั้นก็มีอยู่หลายแง่หลายประเด็นที่น่าพิจารณา
ผักที่ปลูกด้วยวิธีใดก็ได้ จะต้องมีส่วนประกอบของน้ำประมาณ 80% น้ำที่ได้จากผักที่ต่างวิธีปลูกมาแยกธาตุแล้วก็พบว่า องค์ประ
กอบของน้ำคงเป็น H2O เหมือนกัน
โครงสร้างโมเลกุลของแป้งในผักอินทรีย์และผักไฮโดรโปนิค เมือแยกออกมาแล้วก็มีธาตุ C H O เท่ากันไม่แตกต่างกัน
อินทรีย์สาร จุลินทรีย์สาร จุลินทรีย์ต่างๆ พืชไม่ได้กินในลักษณะเป็นสารอินทรีย์หรือจุลินทรีย์แต่จะต้องย่อยสลายเป็นรูปเคมี
ที่พืชกินได้เสียก่อน ยกตัวอย่าง มูลไก่ ถือว่าเป็นสารอินทรีย์ จะต้องถูกขบวนจุลินทรีย์ย่อยให้เป็นสารประกอบ ไนเตรท
(NO3) ก่อนพืชจึงกินได้
จุลินทรีย์ เช่น จุลินทรีย์ไรโซเบี้ยม พืชไม่ได้กินไรโซเบี้ยมแต่ที่ไรโซเบี้ยมอยู่ในส่วนของต้นพืชเพื่อจะช่วยเปลี่ยน ไนโตรเจน
จากอากาศให้เป็นรูปไนเตรท (NO3)พืชจึงกินได้
ไฮโดรโปนิค ให้พืชกินไนเตรท (NO3) จากเคมีที่สังเคราะห์แล้วส่วนมากที่ใช้กันอยู่เป็นเคมีที่สกัดเอาสิ่งเจือปนออกหมดแล้วความ
เป็นพิษจึงไม่มี การให้ไนเตรทมากไปในผักที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิคผักจะตายหรือไม่โต การให้เป็นความพอดีไม่เกิน จึงไม่
ถึงกับเป็นพิษได้
เราไม่สามารถใช้อินทรีย์สาร เช่น มูลไก่ปลูกผักแบบไฮโดรโปนิคได้เพราะส่วนประกอบของมูลไก่มีหลายอย่างที่ไม่สามารถ
ควบคุมได้ เช่น ปริมาณธาตุอาหารหลักไม่แน่นอนแล้วแต่แหล่งที่มา จุลินทรีย์ ความเป็นกรดเป็นด่างไม่แน่นอน สารแอนตี้ไบโอติค
ถ้านำมาปลูกผักไฮโดรโปนิคคงจะเน่าหมดใช้ไม่ได้เลย
http://www.hinlotom.com/wizContent.asp?wizConID=61&txtmMenu_ID=41
เปรียบเทียบ-วิเคราะห์....ปุ๋ยทางใบในท้องตลาด
ขนาดบรรจุ 25 กิโลกรัม
เอกสารกำกับปุ๋ยเคมี
- ปุ๋ยเคมีเหลวมีสารแขวนลอย เฟอร์ติเกต สูตร 21-7-14+TE ตรากัปตัน
- คุณสมบัติ เป็นปุ๋ยเคมีเหลวมีสารแขวนลอย ประกอบด้วยปริมาณธาตุอาหารรับรอง ดังนี้
ไนโตรเจนทั้งหมด (N) 21 %
ฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ (P2O5) 7 %
โพแทชที่ละลายน้ำ (K2O) 14 %
ปริมาณธาตุอาหารรอง
MgO 1.5%, CaO 0.1%, S 1.0%
ปริมาณธาตุอาหารเสริม
Fe 0.01%, Mn 0.01%, Cu 0.01%,
Zn 0.005%, B 0.0005%, Mo 0.0005%,
ประโยชน์
ปุ๋ยเคมีเหลวมีสารแขวนลอย เฟอร์ติเกต สูตร 21-7-14+TE ตรากัปตัน เป็นปุ๋ยเคมีที่ใช้กับการให้ปุ๋ยในระบบน้ำชลประทาน
โดยเฉพาะ ละลายน้ำได้ง่าย ไม่เกิดตะกอน ไม่อุดตัน ไม่ทำลายท่อ หัวจ่ายน้ำตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ไม่มีปุ๋ยตกค้างหรือ
สะสมในดิน อัตราการใช้น้อย ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้ง่ายโดยทางราก นอกจากนี้ยังสามารถ
นำมาใช้พ่นทางใบได้ ปุ๋ยสูตรนี้ใช้เร่งบำรุงลำต้นใบ ผล และใช้ช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต หรือหลังตัดแต่งกิ่งหรือกรณีส้มเริ่ม
ติดผลอ่อนจนอายุผล 5 เดือน เพื่อบำรุงและขยายผล
วิธีการใช้
กรณีให้ปุ๋ยทางระบบน้ำชลประทานในไม้ผลต่างๆเช่น ส้ม มะม่วง ใช้อัตรา 100 กรัมต่อต้นต่อ 30 วัน การให้ปุ๋ยทำได้ 2 วิธี
1. ปล่อยปุ๋ยผ่านทางท่อน้ำและหัวจ่ายน้ำ รดให้ทั่วบริเวณทรงพุ่ม
2. ปล่อยปุ๋ยผ่านทางเรือรดน้ำ รดให้ทั่วบริเวณทรงพุ่ม
21-7-14+TE
แตง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา มะเขือต่าง ๆ ผักกาดหอม ไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผล พืชผักตระกูลกะหล่ำ พืชหัว หอม แครอท
มันฝรั่ง สับปะรด
วิธีการใช้
ควรพ่นให้เป็นละอองเล็ก ๆ พอเปียกทั่วใบและทุก ๆ ส่วนของพืชทุก ๆ 7-10 วัน
ข้อควรระวัง
1. โดยทั่วไปแล้วปุ๋ยเคมีพ่นทางใบ พืชใช้ประโยชน์ได้น้อย ควรใช้เป็นปุ๋ยเคมีเสริมกับการให้ปุ๋ยเคมีทางดิน
2. ก่อนใช้ควรอ่านคำแนะนำเอกสารกำกับปุ๋ยเคมีให้เข้าใจเสียก่อนทุกครั้ง หากไม่เข้าใจหรือมีปัญหาสงสัยให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่กรม
ส่งเสริมการเกษตร หรือนักวิชาการเกษตรประจำสถานีทดลอง หรือสถาบันวิจัยในท้องถิ่น เพื่อให้การใช้ปุ๋ยเคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
และไม่ควรใช้เกินอัตราที่กำหนด เพราะจะเป็นอันตรายกับพืชได้
3. ควรพ่นในช่วงเวลาเช้าหรือเย็น ในเวลาที่อากาศไม่ร้อน ลมไม่พัดแรง และคาดว่าฝนไม่ตก
4. ขณะที่พ่น พืชต้องไม่เหี่ยวเฉา หรือขาดน้ำ
5. การพ่น อย่าให้ถึงเปียกโชกเพราะจะทำให้เสียค่าปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นและประสิทธิภาพปุ๋ยเคมีที่ใช้พ่นทางใบ เมื่อตกลงดินจะมีประสิทธิ
ภาพเท่ากับปุ๋ยเคมีที่ใส่ทางดิน
7. ระวังอย่าให้ถูกผิวหนังหรือเข้าตา หากถูกผิวหนังหรือเข้าตา ควรล้างด้วยน้ำสะอาดทันที
8. ปุ๋ยเคมีน้ำอาจมีก๊าซเกิดขึ้น และอาจเป็นอันตรายได้ง่าย ควรเปิดด้วยความระมัดระวัง
http://captainfer.com/index.php?option=com_content&view=article&id=64:-21-7-14&catid=37:2009-08-12-10-45-11&Itemid=56
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/05/2011 1:39 pm, แก้ไขทั้งหมด 38 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 10/04/2011 8:48 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ทำฮอร์โมนไข่ สูตรไทเป ขนาด 200 ล. (ครั้งที่ 1) ......
1. ถังฮอร์ไข่ในขั้นตอนที่ 1 ให้ออกซิเจน เช้า-เย็น ครั้งละ 1 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 7 วัน ถ้าให้ได้ตลอด
24 ชม.ได้จะดีมาก ณ จุดนี้ต้องคิดถึงเรื่องต้นทุนที่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้า จำนวนมาก
เสริม :
ขั้นตอนที่ 1 .... ไข่พร้อมเปลือก 200 ฟอง - นมสดจากฟาร์ม 40 ล. - น้ำส้มสายชูชนิด 99% - ยิสต์ -
กลูโคส....บดส่วนผสมทั้งหมดด้วยโมลิเน็กซ์ยักษ์ จนเปลือกไข่ละเอีนยดเป็นผง เติมอ๊อกซิเจน หมักนาน 7 วัน....กรดจัด
จากน้ำส้มสายชูชนิด 99% นอกจากทำให้นมสดไม่เปลี่ยนสีเป็นสีดำคล้ำแล้วยังช่วยย่อยสลายเปลือกไข่จนเหลวเป็นน้ำวุ้น
และจุลินทรีย์กลุ่มยิสต์ (ทำขนมปัง) ช่วยย่อยสลายไขมันในนมสด (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) อีกด้วย...........(ลุงคิม)
2. เริ่มนำเนินการทำ ฮอร์โมนไข่ ขั้นที่ 2
เสริม :
จากไขสด 200 ฟอง-นมสด 40 ล.-ฯลฯ ในขั้นที่ 1 หมักครบ 7 วันแล้วแบ่งเป็น 2 ส่วน โดย 1 ส่วนหมักต่อ
ขั้นที่ 2 กับน้ำมะพร้าวถังละ 100 ล. จำนวน 2 ถัง เท่ากับได้ 200 ล. .....................(ลุงคิม)
3. จากขั้นที่ 1 แบ่งเป็นสองส่วน ใส่ถัง เติมน้ำมะพร้าวจนเกือบเต็มถัง เติม กลูโคส เพื่อเป็นอาหารให้กับ
จุลินทรีย์ และให้ออกซิเจน เช้า-เย็น ครั้งละ 1 ชั่วโมง
เสริม :
ขั้นตอนที่ 2 .... ระหว่างการหมัก ถ้ามีกลิ่นเปรี้ยวรุนแรงเกิดขึ้นให้เติมเพิ่มกลูโคสพร้อมกับให้อ๊อกซิเจน
ประมาณ 1-3 ชม.กลิ่นเปรี้ยวรุนแรงจะหายไปเป็นกลิ่นเปรี้ยวอ่อนๆ และอาจมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย กรณีนี้ไม่
เป็นไร.....เติมอ๊อกซิเจนครบ 7 วันแล้วหยุดอ๊อกซิเจน ปล่อยให้ไข่ขาวทำหน้าที่นำทุกอย่างให้นอนก้น
(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ประมาณ 3-5 วัน จะมีกากอยู่ที่ก้นถัง (เอาไปทำน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง
ขั้น 3) ส่วนด้านบนประมาณ 80-90 ล.จะเป็นน้ำใส พร้อมนำไปปรุงต่อในขั้นที่ 3..............(ลุงคิม)
4. ร่วมแรงแข็งขัง เติมส่วนผสมในการทำ ฮอร์โมนไข่ สูตร TAIPE ขั้นที่ 3
เสริม :
ภาพ #4 & #5 ปรุงต่อด้วย 13-0-46, 0-52-34, สาหร่ายทะเล, สังกะสี อะมิโน คลีเรต, แคลเซียม โบรอน.
ธาตรอง/ธาตุเสริม, ฯลฯ ...... ก็เคยมีนะ ที้เกษตรกรบางรายใช้แต่ 13-0-46 เดี่ยวๆ.....บางรายใช้ 13-0-46
+ ไธโอยูเรีย.....บางรายใช้ 0-52-34 เดี่ยวๆ....ทั้งนี้แต่ละสูตรขึ้นอยู่กับชนิดพืชที่ปลูก และความสมบูรณ์สะสม
ของต้นเป็นหลัก...........(ลุงคิม)
5. ช่วยกันตัก ช่วยกันวัด ตรวยกันตวง ช่วยกันดู จะได้เสร็จเร็วๆ ไม่ใหวแล้ว ง่วงจังเลย
6. นำตัวอย่างมาตรวจสอบ
7. วิธีการตรวจสอบ สี - กลิ่น - กาก - ฝ้า - ฟอง
8. ถ้าให้นิ้วดี ชิมซะด้วยจะเป็นไรไป เนื่องจากเป็น FOOD GRADE แต่ปลายนิ้วชิมพอรู้รสไม่ถึงกับตาย
แต่ก็ไม่ใช่กินเป็นแก้วๆ ถ้าแบบนี้ไม่แน่อาจดอกออกเต็มตัวเลยก็เป็นได้
9. เพื่อไม่เป็นการน้อยหน้า ชิมกันย่างทั่วถึงเลยทีเดียว และพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ..... เปรี้ยววววววว ><!!!!
10. เสร็จเรียบร้อบ ใบหน้าแต่ละคน สงสัยต้องขอตัวไปพักสายตาสักประเดี๋ยว
11. ก่อนไปพักสายตา ขอไว้ลายสักหน่อย
!!!!!...... PRETTY TAIPE ......!!!!!!!
12. TAIPE บรรจุลงในแทงก์แก้ว จะได้เห็นกันชัดๆไปเลย รอตกตะกอน เป็นการ
ทำให้ใสไร้กากไร้ตะกอนที่ดีที่สุด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/04/2011 5:44 pm, แก้ไขทั้งหมด 23 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 10/04/2011 8:54 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ทำน้ำหมักชีวภาพ สูตรระเบิดเถิดเทิง (ครั้งที่ 1)....
1. จำกันได้หรือไม่ นี่คือสภาพปลา ที่หมักไว้ในวัน 25/03/2011 ภาพอาจมัวไปนิด ภาพถัดไปดีกว่า
เสริม :
การทำน้ำหมักชีวภาพจากปลาที่ไร่กล้อมแกล้ม ไม่ใส่จุลินทรีย์จากแหล่งภายนอกใดๆทั้งสิ้น แต่ใช้
จุลินทรีย์จากน้ำหมักถังเก่าที่หมักนานข้ามปีมาแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากเห็นชัดแล้วว่าจุลินทรีย์ให้ถัง
เก่ามีประสิทธิภาพในการย่อยสลายปลาทะเลโดยเฉพาะ กรณีนี้เรีนยกว่า "ต่อเชื้อหรือขยายเชื้อ"
จุลินทรีย์นั่นเอง........................................................................(ลุงคิม)
2. เห็นกันชัดๆไปเลย เหลือแต่ก้าง สุดยอดผลงานของจุลินทรีย์ตัวจิ๋ว และสารโบมาเลนในสับปะรด
เสริม :
แม้ว่าเนื้อปลาจะเยื่อยยุ่ยละลายหายไปหมดจนเหลือแต่ก้างแล้ว ก็ยังคงหมักต่อจนครบกำหนด 3 เดือน
จึงจะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 (เติมน้ำมะพร้าว) ทั้งเพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ในการย่อยสลายโปรตีนจากเนื้อ
ปลาให้ได้ธาตุหลัก ขั้นตอนนี้ถ้าได้ พีเอช 3.5 จะดีมากๆ................................(ลุงคิม)
3.
เสริม :
วันนั้นสายมากแล้วเข้าไปในโรงปุ๋ย กวาดสายตาสำรวจถังหมักระเบิดเถิดขนาด 200 ล.จำนวนทั้ง 80 ถังด้วย
ความเคยชิน พลันเหลือบไปเห็นถังหนึ่งมีแมลงวันตัวเขื่อง 2-3 ตัวกำลังตอมน้ำหมักในถังอยู่อย่างสนุกสนานตาม
ประสาแมลงวัน เห็นถังหนึ่งแล้วสำรวจถังอื่นๆบ้างว่าจะมีแมลงวันบ้างไหม ปรากฏว่า "ไม่มี" คงมีเฉพาะถังนี้
ถังเดียวเท่านั้น
เข้าไปดูใกล้ๆ ใช้ไม้พายคนปากถัง พอให้ส่วนผสมที่ปากถังจมลง ก็เริ่มสัมผัสกับกลิ่นไม่พึงประสงค์ เป็นกลิ่น
เพิ่งเกิดใหม่ๆ ยังไม่ถึงขั้นกลิ่นเหม็นเน่า แล้วก็พบหนอนตัวขนาดก้านไม้ขีด 4-5 ตัวกำลังคลานยั้วเยี้ยอยู่ที่
ปากถัง ตัดสินใจใช้ไม้พายยาวคนให้ถึงก้นถัง ก็พบว่ามีหนอนตัวเล็กๆ เพิ่งเกิดใหม่เต็มไปหมด มันคือหนอน
แมลงวัน ที่เกิดจากไข่แม่แมลงวันที่ลอบเข้ามาวางไว้เมื่อราว 2-3 วันที่แล้ว
สั่งการให้เติมกากน้ำตาลลงไป 2-3 ล. กับน้ำส้มสายชูชนิด 99.9% จำนวน 100 ซีซี. คนเคล้าให้เข้ากันดี
ระหว่างก้นถังกับปากถัง แล้วทิ้งไว้ประมาณ 4-6 ชม.กลิ่นไม่พึงประสงค์หายสนิทกลายเป็นกลิ่นปกติ ต่อมา
อีก 24 ชม. หนอนตัวเล็กๆ ตายเกลี้ยง ต่ออีก 24 ชม.เจ้าหนอนตัวโตก็ตายตาม ก็แค่นี้เอง.....(ลุงคิม)
4.
5.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/07/2023 7:38 am, แก้ไขทั้งหมด 19 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 10/04/2011 9:40 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
แปลงฝึกงาน "ข้าวโพดหวาน" .....
1. ค่า pH ของดินในแปลงปลูกข้าวโพด 6.5 -7.0 แสดงว่าดินเป็นกรดอ่อนๆถึงกลาง ซึ่งค่า pH ของดินที่
เหมาะสมของพืช ควรมีค่าประมาณ 5.5-6.5
2. วิธีการหาค่า pH ของดิน ทำได้โดยการนำดินในแปลงที่ต้องการตรวจสอบมาละลายน้ำจากนั้นใช้
แผ่นวัดค่า pH มาจุ่มแล้วมาเทียบสีที่กล่อง (ราคากล่องละ 400 บาท บรรจุ 200 แผ่น )
เสริม :
ปกติการวัดค่า พีเอช.ดิน ต้องวัดด้วยครื่องวัดแบบดิจิตอล แต่สามารถใช้กระดาษลิสมัส.สำหรับวัดค่า
พีเอช.น้ำ แทนได้ โดยนำดินที่ต้องการวัดค่า พีเอช.มาละลายในน้ำ (พีเอช 7.0) ทิ้งให้ตะกอนดิน
จมลงก้นแก้ว เห็นน้ำใสอยู่ด้านบน แล้วใช้กระดาษลิสมัสวัดค่า พีเอช.ที่น้ำ ก็จะได้ค่า พีเอช.ของดิน
แม้จะเป็นค่าโดยประมาณ (+/- 0.5) ก็ถือว่าใช้ได้..................(ลุงคิม)
3. ได้ทำการแบ่งแปลงข้าวโพดเป็น 2 โซน โซนทางซ้ายมือมี 6 แถว แถวละ 25 หลุม ระยะห่าง 1 x 1.5 m
โซนทางด้านขวามือมี 5 แถว แถวละ 49 หลุม ระยะห่าง 1 x 0.75 m
4. ขุดหลุมด้านกว่าง ยาว ลึก ประมาณหนึ่งข้อศอก จากนั้นรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ที่เตรียมไว้ ย่อยดินพร้อมกับ
ผสมให้เข้ากันกับปุ๋ยอินทรีย์ ( การย่อยดินควรย่อยดินให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อที่เมล็ดจะได้สำผัสกับเนื้อดิน
ให้มากที่สุด เนื่องจากความชื้นในดินเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เมล็ดข้าวโพดงอก) พูนดินให้เป็นหลังเต่า เพื่อป้องกันน้ำ
ขัง ซึ่งจะทำให้เมล็ดเน่าได้ ฉีดน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง หลุมละ 2 ปื้ด
เสริม :
ปัญหาเกิดตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้น รู้ทั้งรู้แต่ต้องยอม เพราะมันคือกฏเกณท์ธรรมชาติ เมื่อเอาชนะธรรมชาติไม่ได้ก็จงอยู่ร่วม
กับธรรมชาติ ด้วยวิธีแสวงประโยชน์จากธรรมชาติ
ทำปุ๋ยอินทรีย์หมักขึ้นมา 1 กอง ประมาณ 1 ตัน มีส่วนผสม ขุยมะพร้าว. แกลบดิบ . รำละเอียด. ขี้วัว. ยิบซั่ม.
ดินปลูกไม้กระถางเก่า. คลุกเคล้าเข้ากันดี แล้วพรมด้วย "น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง" ที่มีส่วนผสมปลาทะเล.
ไขกระดูก. เลือด. นมไข่. ขี้ค้างคาว. กากน้ำตาล. ฮิวมิก. หมักข้ามปี พรมให้ได้ความชื้น 50% อัดกองแน่นอน
พอประมาณ คลุมด้วยพลาสติก
หลังหมักในกองได้ 3 วัน ความร้อนในกองยังไม่เกิด ฝนแรกตกลงมา อีก 2 วันตกซ้ำ อีก 2 วันตกอีกรอบ เบ็ดเสร็จ
7 วันหมัก ฝนตกใส่ 3 ครั้ง ตรวจอุณหภูมิในใจกลางกอง พบว่า "ร้อน" แต่ไม่ถึงกับมีควันหรือไอลอยออกมาจาก
กอง โดยหลักการแล้วจะต้องหมักนานไม่น้อยกว่า 3 เดือน ระหว่างการหมักในกองต้องร้อนถึงขนาดมีไอหรือควัน
ลอยกรุ่นๆขึ้นมา ซึ่งเกิดจากกระบวนการจุลินทรีย์ แล้วพลิกกลับกองเพื่อระบายความร้อนจากใจกลางกองให้
ออกมาด้านนอก ให้ทำซ้ำอย่างนี้ 3-5 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน จนกว่าใจกลางกองจะเย็น นั่นแหละ ปุ๋ยอินทรีย์
ในกองจึงจะพร้อมใช้
เพราะเวลาฝึกงานของ นศ.มีน้อย คือ เพียง 2 เดือน (60 วัน) เท่านั้น และต้องทำแปลงทดลองตามแผนกำหนด
หลังตรวจสอบข่าวพยากรณ์อากาศแล้ว ทราบว่า ฝนจะยังคงตกอีกเรื่อยๆ แบบนี้หากขืนรอให้ปุ๋ยอินทรีย์ในกอง
ครบอายุก่อน เห็นทีไม่ทันกาลแน่ จึงตัดสินใจเตรียมแปลงทันที
เริ่มด้วยขุดหลุม พรวนดิน ด้วยจอบ ให้หลุมกว้าง 1 ศอกแขน ลึก 1 คืบมือ ย่อยดินให้ละเอียดที่สุด แต่เนื่องจาก
สภาพดินเหนียวสุดๆ เกินกำลังมือจะย่อยให้ละเอียดจนเป็นผงได้ งานนี้ต้องยอมให้ผ่านอีก นัยว่า ได้แค่นี้เอาแค่
นี้ จัดการใส่ปุ๋ยอินทรีย์จากกองลงหลุมละ 1 ปุ้งกี๋ คนเคล้าให้เข้ากันดี
แนวคิดต่อการแก้ปัญหากรณีที่ปุ๋ยอินทรีย์ในกองยังไม่พร้อมใช้และดินในหลุมร่วนไม่พอ คือ เมื่ออินทรีย์สาร
ในปุ๋ยอินทรีย์จากกองยังไม่พร้อม เนื่องจากอายุการหมักยังไม่ถึง ก็จะใช้อินทรีย์สารในน้ำหมักชีวภาพที่อายุ
การหมักพร้อมใช้การแล้วแทน ทั้งการหมักสามารถทำได้ 3 วิธี คือ หมักในกอง, หมักในดิน และหมักในถัง.
ซึ่งกระบวนการหมักทั้ง 3 วิธีต่างก็ได้สารอินทรีย์ไม่ต่างกัน
ต่อปัญหาเนื้อดินร่วนละเอียดไม่พอ เมื่อหยอดเมล็ดพันธุ์ลงไปแล้ว เนื้อดินไม่อาจสัมผัสกับพื้นผิวของเมล็ด
พันธุ์ทั้งเมล็ดได้นั้น แก้ไขโดยการใช้ "ขุยมะพร้าว" ขนาดเท่าลูกมะนาวห่อหุ้มเมล็ดพันธุ์ก่อน วางลงดินลึก 1-2
ข้อนิ้วมือ ทับด้วยดินปลูกที่คัดเลือกเอาเฉพาะที่ร่วนจริงๆเท่าที่ทำได้ กดเบาๆ ให้สัมผัสกับผิวเมล็ดพันธุ์ แล้ว
คลุมทับด้วยหญ้าแห้งหนาๆ เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการแก้ปัญหา ดินไม่ร่วนละเอียด-สารอินทรีย์ยังไม่
พร้อมได้ ความเปียกชุ่มของขุยมะพร้าวที่ห่อหุ่มเมล็ดพันธุ์ ช่วยชุบให้รากของเมล็ดพันธุ์ซึ่งงอกออกมาแล้วนั้น
ได้รับความชื้นและสารอาหารทันที................................(ลุงคิม)
5. การปลูกจะใช้ขุยมะพร้าวแช่น้ำหุ้มเมล็ดไว้ เพื่อเก็บความชื้นให้เมล็ด เพื่อทดเเทนดินที่ก้อนใหญ่
เนื่องจากย่อยไม่ละเอียดซึ่งขุยมะพร้าว สามารถเก็บรักษาความชื้นได้ 2-3 วันเลยทีเดียว แล้วหยอด
ลงไปในหลุม พร้อมกลบดินไม่ต้องแน่นมากเพือที่เมล็ดจะได้ใช้ออกซิเจนในการงอกของเมล็ด
โซนด้านซ้ายปลูกสามจุดต่อหนึ่งหลุม หลุมละ 3 เมล็ด เป็นรูปสามเหลี่ยม โซนด้านขวามือ หยอดหลุม
ละ 2 เมล็ด หลังจากยอดเมล็ดเสร็จก็ฉีดสมุนไพรเพื่อป้องการศัตรูพืชที่จะมาทำอันตรายต่อเมล็ด
6. แอ๋มมี่ ลูกสาวผู้พันค่าาาาาาา :")
7. 36 ชม. หลังจากแช่เมล็ดด้วย ไคโตซานและ จิบเบอริริน อย่างละ 1 cc. (ตรวจสอบทุก 12 ชม.)
ครั้งแรกแช่ในกระบอกทรงสูง เมล็ดข้างบนงอกราก เมล็ดข้างล่างไม่งอกราก เนื่องจาก ออกซิเจนลงไป
ไม่ถึงก้นกระบอก เราจึงใช้ถาดมาทำแล้วเกลี่ยเมล็ดให้ทั่วถึงแล้วห่มไว้ 36 ชม. เพื่อให้เมล็ดได้รับ
ออกซิเจน อย่างทั่วถึงทุกเมล็ด
เสริม :
สารไคติเนสส์.ในไคโตซาน. ช่วยกำจัดเชื้อโรคพืชที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์ได้ และโบรอน.ช่วยให้เกสรตัวผู้
(ดอกยอด) มีจำนวนมากกว่าปกติ 50-100% แข็งแรง และสมบูรณ์อยู่ได้นาน รอเวลาที่จะผสมกับเกสรตัวเมีย
(ไหมที่ปลายฝัก) ได้
เทคนิคการเตรียมเมล็ดพันธุจนรากงอกออกมาแล้วจึงนำลงปลูกในแปลงจริงแบบนี้ ช่วยให้
1) ไม่สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์
2) มั่นใจในเปอร์เซ็นต์งอก
3) ไม่เสียเวลาปลูกซ่อม เนื่องจากบางเมล็ดไม่งอก
3) เมล็ดพันธุ์รอดพ้นจากการทำลายของแมลงในดิน เพราะแมลงในดินจะกัดกินเฉพาะเมล็ดขณะยังไม่
งอกเท่านั้น......(ลุงคิม)
8. เมล็ดที่ยังไม่ได้ห่ม และเมล็ดที่แช่และผ่านการห่มมาแล้ว 36 ชม.
การงอกของเมล็ด....
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2317
ปัจจัยการงอกของเมล็ด ....
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2320
การเพาะเมล็ดในฟองน้ำ ...
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2319
การเพาะเมล็ดในเพอร์ไรท์ ....
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2318
เมล็ด .....
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2855
การพักตัวของเมล็ดพันธุ์ ...
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2344
9. ออกมาแล้ว ข้าวโพดต้นจิ๋วของพวกเรา ไม่ใช่แค่หลุมนี้หลุมเดียว ดูกันอีก
10. หลุมนี้ก็ไม่น้อยหน้า แต่ก็มีไม่ขึ้นประมาณ 10% แต่ได้มีการแยกปลูกจากหลุมที่ขึ้นมามาก แทนหลุมที่ไม่เกิด
สรุปแล้ว ณ ตอนนี้มีข้าวโพดอยู่ประจำตำแหน่งแล้วทุกจุด ก็ต้องดูแลกันตอไป ดูแลอย่างดี เพราะนี้คือ การทำ
เกษตรแบบประณีต
11. ฉีดพ่นระเบิดเถิดเทิง 30-10-10+ยูเรีย2 ช้อนแกง หลุมละ2 ปื้ด โดย นายแบบ คนเดิม ดูดียังไง
ก็ยังงั้น และ คนงาน หัวฟู (กันดั้ม)
12. แปลงข้าวโพด ณ ปัจจุบัน 2 สัปดาห์พอดี ขึ้นเขียวงามเป็นแถวเป็นแนว ดูดีๆนะครับ เดียวแยกไม่ออกหญ้ากับข้าวโพด
และได้รับการอนุเคราะห์จากพี่ที่สวนช่วยตัดหญ้าให้(ขอบคุณมากครับ แต่ต้นข้าวโพดไว้หน่อยนะครับ )
13. ให้น้ำ+จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตร ทางสปริงเกอร์ที่ติดตั้งหม้อปุ๋ย ทำง่าย ประหยัดเวลา แต่ความละเอียดไม่เท่า การ
ลากสายยางฉีด(ถ้ามีเวลา) ......พูดคนเดียว......"ทำทั้ง 2 แบบ เลยดีกว่า"
14.
15.
16.
17.
18.
19.
20.
21.
22.
อัตราการโตของต้นเร็วมากด้วย ปุ่ยน้ำชีวภาพ ระเบิดเถิดเทิง (ส่วนผสม : ปลาทะเล, ไขกระดูก, เลือด, นมไข่,
ขี้ค้างคาว, กากน้ำตาล, ฮิวมิก, บี-1, น้ำมะพร้าว, สาหร่ายทะเล, แม็กเนเซียม, สังกะสี, ยูเรีย, อะมิโน โปรตีน,
ธาตุรอง/ธาตุเสริม, เอ็นเอเอ. และ 30-10-10) อัตรา 50 ซีซี./น้ำ 20 ล. (ถังแบบสะพายหลัง) ฉีดลงบริเวณ
โคนต้น ช่วงเย็น ทุก 3 วัน
หมายเหตุ :
- ถังสะพายหลังขนาด 20 ล. เติมยูเรีย.เพิ่ม 2 ข้อนโต๊ะ....เนื่องจากข้าวโพดต้องการไนโตรเจนสูง
- บี-1 & เอ็นเอเอ. มีประสิทธิภาพในการสร้างและบำรุงราก
- ธรรมชาติของต้นพืชดูดน้ำ (สารอาหาร) จากรากขึ้นสู่ต้น (ล่างขึ้นบน) ช่วงกลางคืน ดังนั้นการให้น้ำและสารอาหาร
ตอนเย็นหรือค่ำจึงได้ผลดีกว่าการให้ตอนเช้า..... และธรรมชาติของต้นพืชส่งสารอาหารจากใบ (บนลงล่าง) สู่ต้น
ในตอนกลางวัน มีแสงแดด
................ (ลุงคิม ) .................
23.
24.
25.
26.
27.
28.
29.
โดยทั่วๆไป ใน 1 หลุมอาจมีกล้างอกขึ้นมามากเกินความต้องการ นั่นเป็นเพราะหยอดเมล็ดหลายเมล็ด กรณีนี้
เกษรตรกรจะถอนต้นที่เกินความต้องการทิ้ง หรือถอนแยกไปปลูกซ่อมที่หลุมอื่น ถ้าจะถอนทิ้งก็ถอนได้เลย แต่ถ้า
ถอนเพื่อเอาไปปลูกซ่อม ต้องถอนตั้งแต่ต้นโต 3-4 ซม. ถ้าถอนต้นตอนที่โตกว่านี้ หรือช้ากว่านี้ ต้นที่ปลูกซ่อม
อาจจะโตไม่ทันต้นอื่นได้
การที่ต้นกล้า 2 ต้นขึ้นเคียงคู่กัน ระบบรากในดินจะเกี่ยวพันกัน เมื่อถอนต้นหนึ่ง ระบบรากของอีกต้นหนึ่งที่ไม่
ถูกถอนย่อมกระทบกระเทือนไปด้วย อาการกระทบกระเทือนรากแบบนี้ ต้องใช้ระยะเวลา 2-3 วัน จึงจะกลับ
สู่สภาพเดิมได้
แปลงข้าวโพดที่ไร่กล้อมแกล้มไม่ใช้วิธี "ถอน" แต่ใช้วิธี "ตัดต้น" เพราะไม่มีความจำเป็นต้องเอาๆไปปลูกซ่อม
การตัดต้นทำให้ระบบรากของต้นที่ยังอยู่ไม่กระทบกระเทือน ทำให้ไม่ชงักการเจริญเติบโตด้วย.........(ลุงคิม)
30.
31.
32.
33.
34.
35.
36.
37.
ข้าวโพดต้มสุก Sweet Corn
ตอนที่แี่ม่เรากำลังรักษามะเร็งช่วงใกล้ๆหาย เรมิ่จะทานอาหารได ้แม่จะกิน
ข้า้วโพดต้มทุกวัน ไปเหมาจาก Supermarket ทุก week แลว้ แม่ก็ฟื้นตัวเร็ว
มาก ช่วงนั้นลิ้นแม่จะ Anti เนื้อสัตว์ กลืนไม่ลง ทานได้แ้ต่ผักกับผลไม ้และจะ
กินข้า้วโพดทุกวัน ข้า้วโพดสุก ต้า้นมะเร็ง การกินข้า้วโพดหวานต้า้นโรคมะเร็ง
มีสารตัวล้า้งพิษมากกว่าผักผลไม ้
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์แห่งสหรัฐฯ รายงานในวารสารสมาคมเคมี
แห่งอเมริกาว่าข้า้วโพดหวานที่ปรุงสุกแล้วจะออกฤทธล้า้งพิษในร่างกายสูงขึ้น
ได้อย่างเด่นชัด
เขาเผยว่าผิดกับที่เี่คยเชื่อกันมาก่อน ว่าผักและผลไม้หากต้มปรุงสุกแล้วจะเสีย
คุณค่าทางอาหารลงไป สู้กินดิบๆไม่ได ้แต่ข้า้วโพดหวานยังคงสามารถเก็บ
พลังเป็นตัวล้า้งพิษคงไว้ไ้ด้้แมว่าจะเสียวิตามิน ซี.ไป
เขาได้พบในการต้มข้า้วโพดหวานด้วยอุณหภูมิสูง 115 องศาเซลเซียส ใน
เวลานานต่างกัน 10, 25 และ 50 นาที พบว่ายิ่งต้มนานจะทำให้มันมีสารอัน
เป็นตัวล้า้งพิษเพิ่มขึ้นเป็น 22, 44 และ 53 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสารที่ออกฤทธเิ์ป็นตัวล้า้งพิษช่วยดับพิษของพวกอนุมูล
อิสระ ซึ่งเป็นอันตรายกับเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวพันกับโรคอัน
เนื่องมาจากความแก่ชราต่างๆ อย่างเช่น ต้อกระจก และโรคสมองเสื่อมอีกด้วย
คณะนักวิจัยแจ้งว่าข้า้วโพดหวานที่ต้มหรือปิ้ง จะปล่อยสารประกอบที่เี่รียกว่า
กรดเฟรุลิก อันเป็นคุณกับร่างกายยิ่งมากขึ้นเมื่อถูกความร้อนสูงขึ้นหรือ
เวลานานขึ้น กรดเฟรุลิกเป็นพวกพฤกษาเคมีซึ่ง ในผักและผลไม้มีอยู่ไู่ม่มากนัก
แต่กลับพบมีอยู่อย่างอุดมในข้า้วโพดผสมปนเปรวมอยู่กับอย่างอื่น การทำให ้
มันสุกจึงช่วยทำให้มันปล่อยกรดเฟรุลิกออกมาได้มากขึ้น
http://hq.prd.go.th/plan/ewt_dl_link.php?nid=112&filename=Knowledge
38.
39.
40.
เมล็ดพันธุ์ 1 เมล็ดงอก 3 ต้น แบบนี้เรียกว่าเปอร์เซ็นต์งอก "เกิน 100%" ต้นที่เกิดซ้อนขึ้นมาอาจจะไม่
สมบูรณ์นัก ก็น่าจะบำรุงคู่กับต้นใหญ่ต่อไป ถ้าเกรงว่าต้นเล็กจะแย่งอาหารต้นใหญ่ ก็ให้อาหารเพิ่มขึ้น ให้เต็ม
ที่เท่าที่ทั้ง 3 ต้นต้องการ เลี้ยงไว้ บำรุงต่อไป เอาคำตอบสุดท้ายมาให้ได้ว่า "ใช่" หรือ "ไม่ใช่".....(ลุงคิม)
41.
42.
43.
44.
45.
46.
47.
48.
50.
จาก 1 เมล็ด งอกขึ้นมา 2 ต้น สภาพสมบูรณ์ทั้งคู่ ก็น่าให้ผลผลิตทั้งคู่ได้ กรณีนี้ต้องดูต่อไป.........(ลุงคิม)
51.
52.
53.
54.
55.
56.
การปลูกข้าวโพด
ประวัติดิน :
ดินที่ใช้ปลูกข้าวโพด เป็นดินก้นบ่อที่ขุดขึันมา ดินก้นบ่อจะเป็นดินทรายเหนียว ในที่นี้ดินจะแบ่งเป็นชั้นอยู่ประมาณ 4 ชั้น
จะขอยกตัวอย่าง คือ
ชั้น A ดินจะมีจุลินทรีย์ และมีอินทรีย์วัตถุมาก มีธาตุอาหารที่พืชต้องการ มีความอุดมสมบูรณ์กว่าดินชั้นอื่น เพราะจะมี
อากาศสามารถผ่านลงไปในดินได้ เพื่อให้จุลินทรีย์ ใช้ในการหายใจ
ชั้น B เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรร์ปานกลาง จุลินทรีย์ ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในดินชั้นนี้เนื่องจากอากาศไม่สามารถ
ผ่านลงไปได้
ชั้น C ความอุดมสมบูรณ์น้อย รากแก้วไม่สามารถซอนไซลงไปได้ ดินชั้นนี้มีธาตุอาหารน้อย
ชั้น D ดินชั้นนี้ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก หรืออาจจะกล่าวได้ว่าดินไม่มีธาตุอาหารที่รากพืชสามารถดูดซึม ธาตุอาหารไป
ใช้ประโยชน์ได้
แต่ดินที่ไร่กล้อมแกล้ม เป็นดินที่เหนียวจัดปนทราย เพราะไม่มีอินทรียวัตถุ เป็นดินที่ปลูกพืชอะไรก็ไม่เจริญเติบโต หรือปลูก
ยากพื้นที่นี้ก่อนจะปลูกข้าวโพด เคยปลูกต้นมะม่วงมาก่อน ก่อนการปลูกมะม่วงใส่ปุ๋ยคอกลงไป 500 กระสอบ
ยิบซัมอีก 7-8 กระสอบ เพื่อปรับปรุงดิน และความสมบูรณ์ของดิน แล้วปลูกต้นมะม่วงระยะชิดพิเศษ
ระยะชิดพิเศษ คือระยะ 1 x 1.5 เมตร ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าแต่ใช้วิธีตัดหญ้าแล้วกลบแทน
ก่อนที่จะปลูกข้าวโพดก็ได้ตัดต้นมะม่วงระยะชิดพิเศษประมาณ 120 ต้น
เพื่อที่จะปลูกข้าวโพด แต่หลังจากตัด
ข้าวโพดแล้วจะมีโครงการจะปลูกต้ทุเรียน โดยจะปลูกแบบสองต้นในหลุมเดียว ระยะห่าง ระหว่างต้น 4 x 4 เมตร ซึ่ง
ขณะนี้กำลังทำการเพาะทุเรียน
การเตรียมดิน
ก่อนที่จะปลูกข้าวโพดต้องทำการปรับปรุงดินก่อน โดยการหว่านปุ๋ยคอก 13 กระสอบ และยิบซัม 2 กระสอบ ใส่
ยิบซัมเสร็จ รดน้ำตามเพราะจุลินทรีย์ต้องการความชื้น จึงต้องรดน้ำบ่อยๆ เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้เหมาะกับการปลูก
จากนั้นทำปุ๋ยหมัก เพื่อนำไปใช้รองก้นหลุมก่อนการปลูกข้าวโพด โดยการกองดินให้สูง แล้วเขี่ยดินแผ่ลงมาให้เหลือที่ว่าง
ตรงกลางใส่ยิบซัม ใส่กากมะพร้าว ใส่เศษพืช ปุ๋ยคอก และหญ้าลงไป คลุกให้เข้ากับดิน ขณะคลุกฉีดน้ำตามด้วย แล้ว
กองดินขึ้นให้เป็นเนิน เสร็จแล้วใช้ผ้ามาคลุมดินไว้ และหมักทิ้งไว้ประมาณ 1-3 เดือน
หลังจากทำการหมักประมาณ 3 วัน ใช้มือล้วงลงไปเพื่อตรวจดูอุณหภูมิในกองปุ๋ยหมัก ดินจะร้อนเกิดจากจุลินทรีย์ใน
ดินเกิดการย่อยเอนไซม์
ก่อนนำมาปลูก
หลังจากที่คลุมดินไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ ก็เกิดฝนตกลงมา ทำให้การหมักไม่ครบตามที่คาดการไว้ แต่ด้วยระยะเวลาการ
ฝึกงานของพวกเรามีน้อยไม่ทันที่ข้าวโพดครบอายุการเก็บผลผลิต จึงหมักไว้ไม่ครบ 1 เดือน เพราะฝนตกอยู่เรื่อยๆ
พวกเราจึงนำดินมาใช้งานเลย โดยนำดินมาใส่รองก้นหลุมก่อนการปลูกข้าวโพด แต่เวลาปลูกเราจะใส่ขุยมะพร้าวลงด้วย
หลังจากนั้นทำการขุดหลุมเพื่อเตรียมหยอดเมล็ดข้าวโพด ระยะห่างจะมี 2 แบบ
จะมีโซนซ้ายกับโซนขวา โซนซ้ายจะ
100 x 50 เซนติเมตร และโซนขวา 100 x 75 เซนติเมตร
จากระยะปลูกนี้พบว่า พื้นที่นี้จะปลูกได้รวมทั้งหมด 624 ต้น โซนซ้าย 6 แถว แถวละ 25 หลุม รวม 150 หลุม โซนขวา
5 แถว 49 หลุม รวม 245 หลุม รวม 2 โซน 395 หลุม ขุดลึก 1 ศอก กว้างประมาณ 1 ศอก ตากดินไว้ประมาณ
15 วัน นำปุ๋ยหมักที่ทำไว้มารองก้นหลุมก่อนที่จะปลูกข้าวโพด
การปลูก
เนื่องจากสภาพดินที่ปลูกเป็นดินเหนียวมาก ถึงแม้เราจะใส่อินทรียวัตถุไปแล้ว และมีจุลินทรีย์อยู่ในดิน จากการที่เราปลูกต้น
กล้วยสลับกันกับปลูกต้นข้าวโพด แต่ก็ถือว่าสิ่งที่มีอยู่ในขณะนี้ ยังไม่สามารถที่จะทำให้ต้นให้ข้าวโพด มีเปอร์เซ็นการงอก
ที่สูงได้ เราจำเป็นต้องช่วยการงอกข้าวโพดโดยการ ก่อนปลูกเราจะให้อาหารและยาฆ่าเชื้อโรคข้าวโพดก่อน อาหารและยา
ที่ว่านี้ คือ ไคโตซาน เพราะไคโตซานมีสารไคติเนตสามารถฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธ์ได้พร้อมทั้งมีอาหารให้ข้าว
โพดกินก่อนงอก
ดังนั้น ก่อนปลูกเราจะต้องแช่ไคโตซานก่อน ประมาณ 1 วัน หรือรากงอกแล้วการแช่ไคโตซาน ถ้าแช่ไว้ในขวดโหลแล้ว
เมล็ดข้าวโพดจมอยู่ก้นขวด การงอกของเมล็ดจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เพราะปัจจัยการงอกของเมล็ดมี 3 ปัจจัย คือ อากาศ
อุณหภุมิ และความชื้น ถ้าแช่ไว้ในขวด อากาศจะไม่สามารถผ่านเข้าไปถึงเมล็ดได้ จะผ่านเข้าไปถึงแค่ส่วนบนของเมล็ด
ข้าวโพด จะได้รับออกซิเจนเฉพาะด้านบน ด้านล่างจะไม่ได้รับ การงอกรากจึงงอกแค่ 10 เปอร์เซ็น เท่านั้น
แต่ถ้าแช่ไคโตซานไว้ แล้วนำมาแผ่ไว้ให้ได้รับอากาศเท่ากัน แล้วใช้ผ้าคุมเพื่อรักษาความชื้น ทิ้งไว้ 48 ชั่วโมง เปอร์เซ็น
การงอก จะดีกว่าเพราะเมล็ดข้าวโพดได้รับออกซิเจนเท่ากัน เปอร์เซนต์การงอกก็จะเป็น 90 เปอร์เซ็นต์
หลังจากเตรียมเมล็ดพันธุ์แล้ว เรารู้ว่าที่นี่มันเป็นดินเหนียวมาก ถ้ารากงอกออกมาแล้วรากมันจะลงไปในดินได้ยังไง เมื่อ
เป็นอย่างนี้ เราก็ต้องใช้ขุยมะพร้าวหุ้มเมล็ดก่อนนำไปใส่ในหลุมการปลูกเราจะปลูกเป็นรูปสามเหลี่ยม สามเหลี่ยมทีว่านี้ก็
จะมี 2 แบบ
แบบแรก ทำสามเหลี่ยมแล้ว ทำการปลูกโดยหยอดเมล็ดลงไปตามสามเหลี่ยมเพียง หลุมละ 1 เมล็ด
ส่วนแบบที่ 2 ทำการปลูกโดยทำสามเหลี่ยมเหมือนเดิม แต่เป็นสามเหลี่ยมที่มีขนาดใหญ่กว่าโดยหยอดเมล็ดลงไป หลุมละ
2 เมล็ด แล้วใช้ดินกลบ แต่ดินที่กลบไม่ควรที่จะกลบหนาเกินไป เพราะอากาศจะสัมผัสกับเมล็ดไม่ได้ เพราะปัจจัยที่ช่วย
ในการงอก คือ อากาศ กลบแค่บางๆ ประมาณ 5-7 วัน ข้าวโพดก็จะเริ่มงอก แต่ถ้าเกิน 5 วัน แสดงว่าเมล็ดที่ปลูกจะเน่า
หลุมไหนที่ไม่งอกรีบซ่อมแซมทันที
เมื่อเมล็ดเริ่มโตได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ก็ทำการถอนหญ้ารอบๆหลุม แต่เวลาถอนต้องถอนเบาๆไม่ให้กระทบกับราก เพราะ
ถ้ารากไม่แข็งแรงพอ ไม่สามารถที่จะทำการถอนหญ้าได้เพราะจะทำให้โดนบริเวณราก เพราะถ้าโดนราก รากจะขาดแล้วราก
ที่ขาด จะไม่สามารถหาอาหารได้ หญ้าที่ถอนเสร็จอย่าทิ้งให้คลุมหญ้าไว้ที่บริเวณโคนต้นเพื่อจะช่วย ดูดซึมน้ำและช่วยป้อง
กันแสงแดดเพื่อไม่ให้แดดส่องมากเกินเพราะจะทำให้ดินแห้ง และหญ้ายังย่อยเป็นอินทรียวัตถุ เพื่อช่วยปรับปรุงดินอีกด้วย
และอีกประมาณ 1 สัปดาห์ ทำการพรวนดินที่บริเวณโคนต้น เพราะดินเป็นดินเหนียวจัด ถ้าไม่พรวนรากจะไม่สามารถหาอาหาร
ได้หรือหาอาหารได้น้อย แล้วใบข้าวโพดก็จะเหี่ยวไม่เขียวเข้ม ลำต้นแคระเกร็นไม่สมบูรณ์ แล้วใบจะเหลืองจากปลายใบมา
หาโคนใบ การพรวนดินต้นข้าวโพดนี้จะต้องทำอย่างประณีต เพราะถ้าโดนรากขาด ข้าวโพดจะหยุดการเจริญเติบโต
วิธีแก้ไข ก็คือ ทำการพรวนดิน และถอนหญ้าเป็นประจำ และใส่ยูเรีย หรือ 30-10-10 เป็นปุ๋ยทางดิน เพื่อเร่งความสมบูรณ์
ของต้นกลับคืนมา และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
เนื่องจากเรายังไม่ได้ทำการถอนแยกต้นกล้าตั้งแต่อายุยังน้อย แต่เมื่อต้นข้าวโพดโต ได้ประมาณ 20 วัน เราจึงทำการถอน
แยก แต่ที่เราทำนี้ คือ การตัดต้นข้าวโพดที่ไม่ต้องการออก ด้วยเหตุนี้เราจึงตัดต้นข้าวโพด ที่เราไม่ต้องการออกแทนการ
ถอนแยก เพราะถ้าหากเราถอนต้นข้าวโพดขึ้นมา จะทำให้โดนรากข้าวโพดของต้นข้างเคียงเราจึงทำการตัด แทนการถอน
แยกต้นข้าวโพด เพราะการถอนแยกต้นข้าวโพดที่โตแล้วรากจะพันกันอยู่ เราจึงไม่สามารถที่จะถอนแยกต้นข้าวโพดได้ เพราะ
จะโดนต้นข้าวโพดข้างเคียงรากของต้นข้างโพดต้นนั้นจะขาด และอาจทำให้ข้าวโพดต้นนั้นหยุดการเจริญเติบโตได้
อายุข้าวโพดจะประมาณ 77 วัน ถึงจะทำการเก็บผลผลิตได้ แต่อายุข้าวโพดของเราขณะนี้ประมาณ 40 วัน ช่วงระยะเวลา 1-30
วันแรกเราจะใส่ 30-10-10 ปุ๋ยทางดิน ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของต้น พืชจะกินอาหารได้ 2 ทางคือ ทางใบ และทางราก
ทางรากพืชจะกินอาหาร 9 ส่วน ทางใบอีก 1 ส่วน แต่ความสำคัญเท่าๆกัน ทางดินพืชจะดูดซึมช้ากว่าทางใบ เมื่อเราให้อาหาร
ทางดินไม่ได้ เราก็จะให้ทางใบ เนื่องจากดินเหนียวจัดทำให้รากไม่สามารถหาอาหารได้หรือรากไม่แข็งแรงพอ เราจึงให้ทางใบ
หลังจากนั้น จึงเปิดตาดอกโดยใส่ TAIPE 5 วัน/ครั้ง ส่วนสมุนไพรเราจะฉีดทุกวัน เพื่อป้องกันก่อนที่แมลงศัตรูพืชจะลง
เพราะถ้าเราป้องกันไม่ทัน หรือปล่อยไว้แค่วันเดียว แมลงศัตรูพืชอาจลงมาโดยที่เราไม่ทันตั้งตัวก็สามารถทำให้ข้าวโพดเสีย
หายได้ และที่เราฉีดสมุนไพรบ่อยๆเพราะสมุนไพร จะไม่ทนต่อแสงแดด เราจึงต้องฉีดบ่อยๆ
ในขณะนี้ข้าวโพดของเราอายุได้ 40 วัน แต่บางต้นที่สมบูรณ์ ก็จะมีฝักงอกออกมา และบางต้นก็เกิด 3 กอ ในต้นเดียวอย่าง
นี้ เขาเรียกว่า เปอร์เซ็นการงอกเกินร้อยเปอร์เซ็น ผลก็เนื่องมาจากการเตรียมเมล็ดที่ดี
ขณะนี้ ต้นข้าวโพดอายุได้ 40 วันขนาดต้นก็ ประมาณ 170 เซนติเมตร เราได้เปลี่ยนปุ๋ยทางดินระเบิดเถิดเทิง จาก
30-10-10 เป็น 8-24-24 และเหลือเวลาอีกประมาณ 29 วัน ถึงจะสามรถเก็บผลผลิตได้ แต่พวกเราจะต้องกลับสถาบัน
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ในวันที่ 20 พฤษภาคม เพราะครบกำหนดวันฝึกงาน แต่ก็ไม่ได้ปล่อยทิ้งข้าวโพด พวกเราจะกลับมาดูจนกว่าจะได้เก็บผลผลิต
ไว้รอติดตามผลผลิตของพวกเราในครั้งต่อไปด้วยนะคะ/ครับ
กลุ่มนักศึกษาฝึกงานไร่กล้อมแกล้ม
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาพืชไร่ ชั้นปีที่ 1
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/06/2014 7:49 pm, แก้ไขทั้งหมด 35 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
iieszz หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 15
|
ตอบ: 15/04/2011 11:08 pm ชื่อกระทู้: 15 เมษายน 2554 |
|
|
เตรียมแปลง-เตรียมต้นลองกอง....
1. ตัดใบกล้วย ให้เหลือแค่ 2 ใบ
....... : ทำไมตัดเยอะจังเลย กล้วยจะใช้อะไรสังเคราะห์แสง สร้างอาหารละ
ลุงคิม : ผมปลูกกล้วยเอาราก ไอ้ผลกล้วยนะเป็นผลพลอยได้ เอาไว้เลี้ยงปลา แต่ตอนนี้ มีลูกๆ ลาดกระบัง
มาแย่งอาหารปลากินหมดละ 5555....... : อืม ครับ/ค่ะ
2. หลังจากตัดแต่งเสร็จเรียบร้อย ผลที่ออกมาก็เป็นดังที่เห็นในรูป
...... : ลุงคิม ทำไมมันรกจังเลย เก็บเศษซากออกให้มันดูดีหน่อยซิ
ลุงคิม : นี่มันสวนผลไม้ ไม่ใช่ลานวัด จะได้โล่งเตียน แล้วเศษซากพืชพวกนี้ 3 เดือน มันก็สลายไปหมดและ
เป็นปุ๋ยให้พืช ทำให้ดินร่วนซุย
..... : อ๋อ!!!! มันเป็นอย่างนี้นี่เอง
3. อาวุธครบมือ แรงงาน สวย/หล่อ ถึกและบึกบึน
4. ตัดให้หมดอย่าให้เหลือ
...... : ลุงคิมมมม ตัดขนาดนี้เลยหรออออ มันจะไม่ตายหรอลุงงงง
ลุงคิม : จะตัดซักกี่รอบมันก็ไม่ตายหรอก ถ้ามันยังไม่ออกเครือ
...... : ว่าแล้วเชียว มันเป็นอย่างที่คิดจริงๆ 555 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 16/04/2011 6:35 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ยุทธการพิฆาตแมลงวันทอง....
1. ทำกับดักแมลงวันทอง ในแบบของตัวเอง
แอมมี่ : แบบของหนู ขอสวยไว้ก่อนค่ะ ไม่ไหวแล้วนะกับเจ้าแมลงวันทอง เดี่ยวได้เห็นดีกัน
2. ต้น : แบบของผม ต้องไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน(ถ้าได้เห็นแล้วจะรู้ว่าคงไม่มีใครเหมือนจริงๆ)
3. ทิว : แบบของผมไม่ได้คิดเองครับ แต่เคยเห็นมีคนทำแบบนี้ ใช้เป็นกับดักแมลงวัน ผมก็ลองนำมาใช้กับแมลงวันทอง
ผลที่ออกมาไม่เป็นอย่างที่คิด แต่ก็พอใช้ได้ ซึ่งมันสามารถดีได้มากกว่านี้
"ซึ่งคำตอบสุดท้ายมีเพียงคำตอบเดียว" หาให้เจอ
4. ทำกับดักแมลงวันทอง
- สีเหลืองที่เห็นเป็นกาวจับแมลงศัตรูพืช ทาบนฟิวเจอร์บอร์ดเก่าที่ใช้แล้ว แผ่นเล็กๆ กว้าง ยาว ประมาณ 1 คืบมือ
(แผ่นใหญ่มันรกตา) ทาบางมากๆ(ทาเยอะมันเปลือง)แค่นี้ก็ดิ้นไม่หลุดแล้ว เมื่อทำกับดักเสร็จ ที่เหลือก็เพียงล่อให้มัน
มาติดกับดัก
- ใช้กลิ่น ยูจีนอล(ซื้อ) ล่อแมลงวันทอง โดยใช้ก้นกรองบุหรี่ที่ตกอยู่ตามพื้น ชุบ ยูจีนอล (ใช้ก้นกรองบุหรี่
เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างของลุงคิม ซึ่งสามารถใช้อย่างอื่นได้อีกมากมาย) ชุบบางๆ เนื่องจากแมลงมี
ประสาทรับกลิ่น มากกว่าคนถึง 6 แสนเท่า แล้วนำไปติดไว้ตรงกลางกาวเหนียว แขวนไว้ในสวน ในที่โล่ง
5. !! และแล้ว มันก็เสร็จเรา!! นี่เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้นเอง เจ้าแมลงวันทองตัวร้าย ทำลายมะม่วง หน้อยหน่า
ที่เพ่งเลงไว้เป็นเวลานาน มันทำให้ผลช้ำเน่าเสีย เปลือกเป็นจุดดำ ไข่ของมันก็กลายเป็น หนอนอยู่ภายในผล
6. ภาพนี้ 2 วัน ด้วยอนุภาพแห่ง ยูจีนอล แลงวันทอง มาติดกับดันกันมากมาย จนแออัดไปหมด ซึ่งนี้เป็นเพียง
หนึ่งในกับดักที่ทำไว้ ยังมีอีกหลายแผ่น แต่ละแผ่น มีสภาพแออัดไม่ต่างกันเท่าไหร่ แสดงให้เห็นว่า มันมี
ปริมาณมากแค่ใหน สาเหตุหนึ่งที่มีมากขนาดนี้ มาจากสภาพอากาศที่ร้อนเหลือเกิน(ในหน้าร้อนแมลงขยายพันธุ์
ได้เร็วขึ้น)
7. ภาพนี้วันที่ 3 ปริมาณแมลงวันทองก็ยังเพิ่มไม่หยุดหย่อน เลยต้องเปลี่ยนแผ่นกาว เพราะไม่มีเนื้อที่ให้แมลงวันทอง
มาติดแล้ว แต่ยังใช้ ยูจีนอน กลิ่นเดิม
8. ภาพนี้ เป็นแผ่นกาวใหม่ที่ ใช้กลิ่น ยูจีนอล เดิม กลิ่นนี้อยู่มาแล้ว 5 วัน แต่ปริมาณแมลงวันทองที่ติดกับดักก็ยังเพิ่มขึ้นอยู่
9.....เกิดข้อสัย... กลิ่น ยูจีนอลที่ซื้อมานำไปชุบก้นกรองบุหรี่ สามารถใช้งานได้กี่วัน ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป.......ข้อมูลที่มีตอนนี้
เวลาผ่านไป 6 วันแล้ว ยังมีแมลงวันทอง มาติดกับดักอยู่ เวลาที่แมลงวันทองมาติดกับดักมากที่สุด คือช่วงเวลา ระมาณ 7.00 น.
ถึง 11.00 น. คิดเป็น 40-50 เปอร์เซนต์ ของปริมาณแมลงวันทอง ที่มาติดกับดักในแต่ละวันและเมื่อสังเกตุเจ้าแมลงวันทองที่มา
คิดกับดัก เป็นแมลงวันทองตัวผู้เท่านั้น ข้อแตกต่างระหว่างตัวผู้และตัวเมีย ที่ก้นตัวเมีย จะมีท่อยาวสำหรับวางไข่ ตัวผู้ไม่มี จาก
แมลงวันทองทั้งหมดที่มาติดกับดักนั้น เป้นตัวผู้ทั้งหมดจึงเกิดข้อสันนิษฐานว่า กลิ่น ยูจีนอล เป็นกลิ่นของตัวเมีย ที่ดึงดูด
เพษตรงข้าม แต่ไม่ดึงดูดเพษเดียวกัน
10.
แมลงวันทอง ภัยเกษตรกร ศัตรูพืชตัวร้าย ที่หวาดกันทั้งโลก
แมลงวันทองช่วงโตเต็มวัย...
เมื่อหลายวันก่อน คุณจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้แจ้งข่าวให้กับทีมงาน "หลายชีวิต" ว่า
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์เป็นต้นไปนั้น บ้านเราจะหยุดส่งผักผลไม้อย่างกะเพรา โหระพา พริก มะเขือขื่น
ผักชีฝรั่ง ฯลฯ ไปยัง สหภาพยุโรป (EU) ชั่วคราว
...ต้นสายปลายเหตุนั้นก็เพราะว่า หลังตลาดปลายทางสุ่มตรวจสินค้าที่ส่งออกไปนั้น พบว่ายังมีภัยร้ายของ
เกษตรกรติดเข้าไปหลายชนิด ซึ่งหนึ่งในนี้ก็คือ "แมลงวันผลไม้" หรือ "แมลงวันทอง" ที่ชะแว้บ แอบแฝง
ติดไปด้วย...
"แมลงวันทอง" Bactrocera dorsalis (Hendel) เป็นศัตรูที่สำคัญของพืชผักผลไม้ คาดว่า มีมากกว่า
800 ชนิดที่พบในเขตภาคพื้นทวีปเอเชีย และกระจัดกระจายอยู่ในเขตหนาว เขตอบอุ่น และเขตร้อน
เข้าทำลายทุกส่วนของพืชได้ไม่ว่าจะเป็นส่วนดอก ใบ ลำต้น รวมทั้งราก ในผลไม้ที่มีเปลือก บางหรืออ่อนนุ่ม
เช่น ฝรั่ง ชมพู่ มะม่วง พุทรา กระท้อน มะเฟือง น้อยหน่า และ ไม้ผลชนิดต่างๆ มากกว่า 50 ชนิด
...ล้วนเป็นพืชอาศัยของแมลงวันผลไม้ทั้งสิ้น ซึ่งพวกมันสามารถขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณประชากรจากพืช
อาศัยชนิดต่างๆ ในแต่ละท้องถิ่นได้เกือบตลอดทั้งปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน การแพร่ขยายพันธุ์ของ
มันนั้นนับเป็นอุป สรรคต่อเกษตรกรอย่างยิ่ง เพราะนอกจากทำให้ผลผลิตเสียหายเน่าเสียแล้ว ยังเป็นปัญหา
ต่อการส่งออกผลผลิตไปยังกลุ่มประเทศที่มีกฎหมายกักกันพืชเข้มงวด เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา
รวมทั้ง อียู.
ศัตรูตัวร้าย! เคลื่อนไหวค่อนข้างช้า หาอาหารในเวลาเช้า ชอบหลบตามร่มเงาในเวลาบ่ายหรือเวลาแดดร้อน
จัด ผสมพันธุ์ในเวลาเย็นตอนพลบค่ำ วางไข่ในเวลากลางวัน โตเต็มวัย มีสีน้ำตาลปนดำ แดง แถบสีเหลืองที่
ส่วนอก ปีกบางใสสะท้อนแสง ช่วงวัยนี้กินน้ำหวาน โปรตีน วิตามิน ที่มีในสิ่งขับถ่ายของแมลง และน้ำยางจาก
แผลต้นไม้เป็นอาหารเพื่อใช้ประทังชีวิตประมาณ 10 วัน หลังออกจากดักแด้ จึงเริ่มวาง ไข่ เฉลี่ยวันละ 50 ฟอง
ลักษณะสีขาวขุ่นเหมือนน้ำนม ผิวเป็นมัน สะท้อนแสง รูปร่างคล้ายผลกล้วย อาศัยอยู่ในผลไม้เพียง 2-3 วัน
จะกลายเป็น หนอน ระยะนี้ สีลำตัวจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับผลไม้ที่ชอนไชอยู่ โตเต็มที่มีสีขาวทึบแสง รูปร่างกลม
ยาวรี หัวแหลม ท้ายป้าน ไม่มีขา เคลื่อนที่ด้วยการยืดหดลำตัว รวมทั้งใช้วิธี "ดีดกระเด็น" ที่แต่ละ
ครั้งจะไปได้ไกลประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อหาทำเลที่พักพิงที่เหมาะสมสำหรับ เข้าสู่ดักแด้ตามพื้นดินลึก
ประมาณ 25 เซนติเมตร ประมาณ 10-12 วัน จึงขึ้นมาสู่โลกภายนอกพร้อมปีกที่งอกใหม่
....พวกมันสามารถวางไข่ได้ ตลอดอายุ 90 วันที่ใช้ชีวิตอยู่บนโลกกลมๆใบนี้ ระยะโตเต็มวัยเป็นระยะเดียว
ที่เกษตรกรสามารถกำจัดแมลงนี้ได้ หากทำการพ่นสารฆ่าแมลงให้ถูกตัว หรือทำการพ่นเหยื่อพิษล่อแมลง
วันผลไม้...
แต่วิธีนี้ "เกษตรกรหัวก้าวหน้า" ในบ้านเราเลิกใช้มาค่อนข้างนาน ส่วนหนึ่งนอกจากต้องการลดต้นทุน ยังเป็น
การยกระดับคุณภาพผลิตผลให้ได้มาตรฐาน ปลอดสารตกค้าง แล้วหันมาใช้ กับดักสารล่อแมลง ห่อผลด้วย
ถุงพลาสติก รวมทั้งใช้หลักการชีววิถี คือปล่อยแตนเบียน คู่อริตัวฉกาจ เพื่อเก็บกินไข่แมลงวันผลไม้ ! ! ! ...
เพ็ญพิชญา เตียว
http://thairecent.com/Education/2011/783647/
คลิกย้อนไปดู....เยอะแยะแมลงวันทอง-แมลงวันผลไม้...
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1728&sid=5e1351e79837ffa1c81cbd5c22d723af
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/05/2011 5:34 am, แก้ไขทั้งหมด 15 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 16/04/2011 6:47 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
มัคคุเทศน์สาวสวย (เจ้าตัวพูดเอง) กับ ผู้มาเยือน.....
1. แอ๋มมี่ : นี่เป็นจุลินทรีย์หน่อกล้วยนะคะ เรานำเอาหน่อกล้วยบริเวณเหง้าและรากซึ่งจะมีจุลินทรีย์ประจำถิ่นอยู่
(จุลินทรีย์ที่ดีที่สุดคือจุลินทรีย์ประจำถิ่น) มาทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย เพื่อเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ฝ่ายดี
อาคันตุกะ: แล้วใช้ได้เลยหรือเปล่าครับ
แอ๋มมี่ : อ๋อ ยังหรอกค่ะ ต้องหมักให้จุลินทรีย์เจริญดีและแข็งแรงพอก่อน ระหว่างนี้เราก็เติมยีสต์ และน้ำ
มะพร้าวอ่อนด้วย เพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์
2. แอ๋มมี่: สุดยอดของที่นี่ก็คือระบบน้ำนี่แหละค่ะ น้ำคือปัจจัยสำคัญในการทำการเกษตร ดังนั้นที่นี่จึงให้
ความสำคัญกับการกักเก็บน้ำและบริหารน้ำมาก โดยน้ำส่วนแรกจะมาจากน้ำชลประทานที่ไหลผ่านหน้าไร่
ไปตามลำรางไส้ไก่ น้ำส่วนนั้นก็จะถูกดึงมาเก็บไว้ในสระนี้ และก็จะถูกถ่ายออกไปตามคลองตลอดเวลาเพื่อ
เป็นการถ่ายเทน้ำ ทำให้น้ำมีคุณภาพดี ส่วนข้างล่างนี่ก็เป็นส่วนของน้ำบาดาลสำหรับสำรองใช้ในหน้าแล้ง
หรือยามจำเป็น
3. แอ๋มมี่ : การให้น้ำของที่นี่จะเป็นแบบสปริงเกอร์เกือบทั้งหมด ส่วนข้างทางเดินก็จะเป็นแบบน้ำรั่ว และที่เห็น
น้ำจากสปริงเกอร์ออกเท่าๆ กันหมดก็เพราะว่า การเดินท่อมีการขึงหัวท้าย ทำให้น้ำเดินได้ทั่วถึงดี น้ำจึงออกมา
เท่ากันค่ะ
อาคันตุกะ : ที่แปลงผักผมก็ทำแบบนี้แหละ น้ำก็ออกเท่ากันอยู่ แต่จะออกค่อยๆ
แอ๋มมี่ : ปัญหานี้อาจเกิดจากเครื่องปั่นน้ำแรงดันน้อยหรือเปล่าคะ เพราะถ้าทำแบบของเราก็ไม่น่ามีปัญหา
อะไรนะคะ หรืออีกอย่างหนึ่งก็อาจเกิดจากจำนวนหัวสปริงเกอร์ที่ถี่เกินไปของแปลงผักก็ได้นะคะ
4. แอ๋มมี่ : พี่จะสังเกตุเห็นมะม่วงต้นเดียวมีหลายพันธุ์ หรือต้นนึงมีสองชั้นนะคะ เกิดจากไอเดียลุงคิมเองแหละค่ะ
ที่อยากให้มีทรงพุ่มสองชั้น ซึ่งก็กำลังเป็นรูปเป็นร่างแล้วล่ะค่ะ แล้วที่ไร่พี่ปลูกอะไรล่ะคะ
อาคันตุกะ : พี่ปลูกอ้อยครับ
แอ๋มมี่ : แล้วผลผลิตเป็นอย่างไรบ้างคะ
อาคันตุกะ : ก็พอได้ครับ ไม่มากมายเท่าไหร่
แอ๋มมี่ : แล้วพี่ได้ให้น้ำอ้อยอย่างไรบ้างคะ
อาคันตุกะ : แล้วแต่ฝนตกน่ะครับ
แอ๋มมี่: เอ่อ ลุงคิมบอกว่าหลังจากเจียนตอแล้ว ถ้าให้น้ำภายในสามวันได้ผลผลิตจะดีมากๆ เลยนะคะ แล้วตลอดอายุ
อ้อยควรจะให้น้ำประมาณ 8 ครั้ง เพราะอ้อยเป็นพืชอวบน้ำ แล้วพี่ได้ให้น้ำหลังเจียนตอบ้างไหมคะ
อาคันตุกะ : ไม่เคยเลยครับ พี่ปลูกอ้อยเป็น 1,000 ไร่ กว่าจะตัดเสร็จก็เกือบ 3 เดือนแล้ว แล้วอีกอย่างก็
ไม่มีน้ำจะให้น่ะครับ
แอ๋มมี่ : อันนี้ก็เป็นปัญหาใหญ่เลยนะคะเนี่ย น่าจะมีวิธีการแก้ปัญหาที่ทำให้อะไรๆ ดีขึ้นได้
5. แอ๋มมี่ : อันนี้เป็นเป็นกับดักจับแมลงวันทองที่ทิกำลังทำการศึกษาและพัฒนาอยู่ค่ะ
ทิวลี่ : วิธีการก็มีหลายแบบนะครับ ส่วนอันนี้ก็ทำได้ง่ายๆ โดยนำกาวจับแมลงมาทาลงบนแผ่นพลาสติก และแปะก้น
บุหรี่ชุบยูจีนอลลงตรงกลาง แล้วก็นำมาแขวนไว้ตามที่ที่ต้องการได้เลยครับ
อาคันตุกะ : แสดงว่าบุหรี่ก็มีประโยชน์เหมือนกันนะเนี่ย ถ้าไม่สูบก็คงไม่มีก้นบุหรี่มาทำ ฮ่าๆๆๆๆ (ทุกคนหัวเราะกัน
กระจาย ฮ่าๆๆๆๆ)
6. ทิวลี่ : นี่ก็คือหัวจ่ายน้ำและหม้อปุ๋ยนะครับ ซึ่งการให้ปุ๋ยก็อาศัยระบบน้ำนี่แหละครับ สะดวกดี เปิดน้ำแล้ว
ก็อ่านนิตยสารรอเลยก็ได้ ฮ่าๆๆๆๆ
อาคันตุกะ : สะดวกสบายดีนะครับเนี่ย
7. แอ๋มมี่ : ส่วนนี้จะเป็นส่วนของน้ำหมักชีวภาพนะคะ แต่ละถังหมักกันข้ามปีเลยล่ะค่ะ ที่เห็นลอยๆ อยู่ข้างบนนั่นก็คือ
ฟังก์ไจ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ประเภทต้องการอากาศในการหายใจ
8. แอ๋มมี่ : ส่วนถังเหล่านี้เป็นฝีมือของเราเองค่ะ เรานำเอาปลาทะเลมาหมัก ในปลาทะเลมีฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นอะมิโน
โปรตีนประเภทที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ เติมกากน้ำตาล เติมจุลินทรีย์ ไม่ต้องไปหาไหนไกล ก็น้ำจากถังหมักเก่าของ
เรานี่แหละค่ะ สับสับปะรดใส่ลงไป ในสับปะรดจะมีสารโบรมาเลน สำหรับย่อยโปรตีนจากปลาโดยเฉพาะเลยล่ะค่ะ
ส่วนที่เห็นถังนี้ต่างจากถังอื่น ก็เพราะถังนี้ผ่านการปั่นโดยเครื่องปั่นโมลิเน็กซ์มาก่อน ส่วนถังอื่นๆ ไม่ได้ปั่น เพื่อจะ
ได้เปรียบเทียบการย่อยสลายหลังจากการหมัก 1 เดือน ปลาเป็นตัวๆ เหล่านั้นก็ได้กลายเป็นวุ้นๆ อย่างที่เห็นนี่แหละค่ะ
อาคันตุกะ : ของผมเอาขี้ปลาทูมาหมัก เติมกากน้ำตาล แล้วก็ใส่จุลินทรีย์ห่อ อันนี้ใช้ได้ไหมครับ
แอ๋มมี่ : อันที่จริงก็ไม่ผิดหรอกค่ะ แต่แทนที่เราจะใช้แค่น้ำหมักที่มีแต่สารอาหารจากขี้ปลาทู อาจจะเติมธาตุอาหารอื่นๆ
ลงไปด้วยจะเป็นการดีกว่ามั้ยคะ น้ำหมักของที่นี่ก็ใช่ว่าจะเอาไปใช้ได้เลยนะคะ ใช้เป็นเพียงสารตั้งต้นในการทำปุ๋ยสูตร
เฉพาะของพืชแต่ละชนิดเท่านั้นล่ะค่ะ เพื่อที่พืชจะได้สารอาหารที่ต้องการอย่างเพียงพอ
9. แอ๋มมี่ : ที่เห็นน้ำสีแดงๆ นี้คือ ฮอร์โมนไข่สูตรไทเป ซึ่งเป้นขันนตอนที่สามและพร้อมใช้ของการทำฮอร์โมนไข่
ใช้สำหรับการเปิดตาดอกให้กับพืชที่พร้อมสำหรับการออกดอก (ได้สะสมตาดอกและความสมบูรณ์ไว้เต็มที่แล้ว) ส่วน
ที่เห็นน้ำดำๆ นั่นก็คือ BIOI ใช้กับพืชต้นเหลืองต้นโทรม และเรียกใบอ่อนค่ะ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/04/2011 9:10 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 16/04/2011 6:52 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
น้ำมะพร้าวเพียวๆ โควต้าอาทิตย์ละ 300 ล......
1. นี่คือ น้ำมะพร้าว ที่ลุงนำมาสำหรับใส่ลงไปในถังน้ำหมัก ระเบิดเถิดเทิง
2. ต้น กำลังเติมน้ำมะพร้าวลงไปในถังน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง ที่ตอนนี้ผ่านมา 1 เดือนแล้ว และปริมาตรของ
น้ำหมักได้ลดลงไปประมาณ 1 ฝ่ามือ นั่นก็เพราะเกิดจากการระเหยของน้ำมะพร้าวในถังนั่นเอง อ๊ะๆๆๆ แต่ สาร
อาหารในน้ำมะพร้าวยังอยู่นะจ๊ะ !!!!
3. ฟองอากาศที่เกิดจากจุลินทรีย์จำพวกที่ต้องการอากาศครับ
4. นี่คือ พวกฟังไจที่ตายแล้ว จะอยู่ผิวด้านบนของน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงในถัง พวกเราจะต้องทำการคนให้
มันลงไปข้างล่าง เพื่อให้เป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่อไปครับ
เสริม :
ตารางวิเคราะห์ส่วนประกอบของน้ำมะพร้าว
Analysis of Mature Coconut Water
Total solids% 5.4, Reducing sugars % 0.2, Minerals % 0.5, Protein % 0.1, Fat % 0.1,
Acidity mg % 60.0, pH 5.2, Potassium mg% 247.0, Sodium mg% 48.0, Calcium mg% 40.0,
Magnesium mg % 15.0, Phosphorous mg% 6.3, Iron mg% 79.0, Copper mg% 26.0........
Source : Satyavati Krishnankutty (1987)
ตารางวิเคราะห์ส่วนประกอบของกรดอะมิโนในน้ำมะพร้าว
Amino Acid Composition of Coconut Water (% of total protein)
Alanine 2.41} Arginine 10.75,
Aspartic acid 3.60, Cystine 0.97-1.17, Glutamic acid 9.76-14.5, Histidine 1.95-2.05,
Leucine 1.95-4.18, Lysine 1.95-4.57, Proline 1.21-4.12, Phenylalanine 1.23, Serine 0.59-0.91,
Tyrosine 2.83-3.00...........Source: Pradera et al, (1942)
เอกสารอ้างอิง
นพมณี โทปุญญานนท์. 2545. การขยายพันธุ์พืชโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
แม่โจ้, เชียงใหม่. 162 หน้า.
ส ถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง. 2540. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเบื้องต้น.
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, ลำปาง. 45 หน้า
อภิชาติ ชิดบุรี. 2545. เอกสารประกอบการสอนวิชา การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช(บรรยาย). สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตร
ลำปาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, ลำปาง. 283 หน้า
หมายเหตุ : น้ำมะพร้าวเป็นสารอินทรีย์ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที นอกจากนี้น้ำมะพร้าวยังเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ใน
กระบวนการหมักอีกเด้วย.....................................(ลุงคิม)
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0ba0055e36357e99
...... มะพร้าวมีลำต้นสูง ต้องผ่านการกลั่นกรองตามชั้นต่างๆ ของลำต้นมะพร้าวกว่าจะถึงลูกมะพร้าวที่อยู่ข้างบน น้ำมะพร้าว
ที่ได้มาจึงบริสุทธิ์มากแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม ฯลฯ
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=4aa4c1b50801f6a6
วันนั้นสายมากแล้วเข้าไปในโรงปุ๋ย กวาดสายตาสำรวจถังหมักระเบิดเถิดขนาด 200 ล.จำนวนทั้ง 80 ถังด้วย
ความเคยชิน พลันเหลือบไปเห็นถังหนึ่งมีแมลงวันตัวเขื่อง 2-3 ตัวกำลังตอมน้ำหมักในถังอยู่อย่างสนุกสนานตาม
ประสาแมลงวัน เห็นถังหนึ่งแล้วสำรวจถังอื่นๆบ้างว่าจะมีแมลงวันบ้างไหม ปรากฏว่า "ไม่มี" คงมีเฉพาะถังนี้
ถังเดียวเท่านั้น
เข้าไปดูใกล้ๆ ใช้ไม้พายคนปากถัง พอให้ส่วนผสมที่ปากถังจมลง ก็เริ่มสัมผัสกับกลิ่นไม่พึงประสงค์ เป็นกลิ่น
เพิ่งเกิดใหม่ๆ ยังไม่ถึงขั้นกลิ่นเหม็นเน่า แล้วก็พบหนอนตัวขนาดก้านไม้ขีด 4-5 ตัวกำลังคลานยั้วเยี้ยอยู่ที่
ปากถัง ตัดสินใจใช้ไม้พายยาวคนให้ถึงก้นถัง ก็พบว่ามีหนอนตัวเล็กๆ เพิ่งเกิดใหม่เต็มไปหมด มันคือหนอน
แมลงวัน ที่เกิดจากไข่แม่แมลงวันที่ลอบเข้ามาวางไว้เมื่อราว 2-3 วันที่แล้ว
สั่งการให้เติมกากน้ำตาลลงไป 2-3 ล. กับน้ำส้มสายชูชนิด 99.9% จำนวน 100 ซีซี. คนเคล้าให้เข้ากันดี
ระหว่างก้นถังกับปากถัง แล้วทิ้งไว้ประมาณ 4-6 ชม.กลิ่นไม่พึงประสงค์หายสนิทกลายเป็นกลิ่นปกติ ต่อมา
อีก 24 ชม. หนอนตัวเล็กๆ ตายเกลี้ยง ต่ออีก 24 ชม.เจ้าหนอนตัวโตก็ตายตาม ก็แค่นี้เอง.....(ลุงคิม)
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/07/2023 7:45 am, แก้ไขทั้งหมด 22 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 16/04/2011 6:56 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
รดน้ำดำหัว วันราศรีใหม่....
1.เหล่าสมาชิกชมรมสีสันชีวิตไทยกำลังรดน้ำดำหัวป้าพนิดา เพื่อเป็นสิริมงคลเนื่องในวันสงกรานต์
2.ลุงหล้าพร้อมครอบครัวกำลังรดน้ำขอพรคุณตา คิม ซา กัสส์
3.พี่ใหญ่ไร่กล้อมแกล้ม (พี่ฤทธิ์) กำลังรดน้ำขอพรลุงคิม ซึ่งลุงคิมก็จัดให้เต็ม เพี้ยง เพี้ยง
4.เหล่าสาวสวย หนุ่มหล่อ จากลาดกระบังก็ไม่น้อยหน้าใคร ได้พรมาเต็มเหมือนกันค่าาาาาา
ขอให้คุณลุงมีสุขภาพแข็งแรง เฟี้ยวแบบนี้ไปนานๆ นะคะ
5. ทิวกับต้น ขอด้วยคนครับ ขอให้ลุงคิมมีความสุขมากๆ นะครับ
6. ทิวกับต้นขอสอง ขอพรจากป้าพนิดาได้อีก และเราทุกคนก็ขอให้คุณป้าสุขภาพแข็งแรง มีความสุขในวันปีใหม่ไทยนี้และ
สืบเนื่องตลอดปีและตลอดไปเลยนะคะ
เสริม :
ประเพณีปฏิบัติ เทศกาลสงกรานต์ รดน้ำดำหัว....ผู้น้อยเข้าไปขอขมาผู้ใหญ่ จากนั้นผู้ใหญ่ก็จะให้พร แต่เดี๋ยวนี้ ผู้น้อยเข้า
รดน้ำดำหัวผู้ใหญ้แล้วให้พรผู้ใหญ่เสร็จสรรพ แล้วทีนี้ ผู้ใหญ่จะให้พรแก่ผู้น้อยยังไงล่ะ....ถึงจะงง แต่ก็มีความสุข สบายใจนะ....
สมช.ชมรม ทุกคนที่มา ล้วนแต่หน้าเก่า คบหาสมาคมกันมานานกว่า 10 ปี บางคนเริ่มมาครั้งแรกด้วยหนี้สินนับล้าน ครั้นเวลา
ผ่านไป 3-4-5 ปี ปลดหนี้นับล้านได้สำเร็จ แล้วมีที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ มีเงินสดในธนาคาร ส่งลูกเรียนถึงมหาลัย....จบงานวัน
นั้นแล้ว ยังมีควันหลง สมช.อีกหลายคนมาอีกแน่ะ....นี่คือ ชมรมสีสันชีวิตไทย ที่ลุงคิมสอนเพียงนับ 1 แล้วแต่ละคนกลับไป
นับต่อเอง กระทั่งถึง 1,000,000 .....ขอให้รวย ขอให้รวย ขอให้รวย.....(ลุงคิม)
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/04/2011 9:28 pm, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 16/04/2011 6:59 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
แคลเซียม โบรอน ซุปเปอร์....
1.แคลเซียม โบรอน ซุปเปอร์...แมน... ซุปเปอร์แมน ทำไม่ใส่กางเกงในไว้ข้างนอก สงสัยจะรีบไปช่วยมวลมนุษย์ จนใส่ผิด
แทนที่จะใส่ไว้ข้างใน ถ้าเจอซุปเปอร์แมน ให้บอกเข้า ไม่ต้องรีบ รอบคอบหน่อย ใส่อะไรก่อนหลัง ดูให้ดีนะ
เสริม :
ทำไมไม่บอกเค้าไปเลยว่า "ใส่ผิดลำดับก่อนหลัง" โบรอนจึงขุ่นแบบนี้ ถ้าใส่ถูกต้องตามลำดับน้ำจะใส ถึงขนาดใสกว่าเดิม
ด้วยซ้ำ..............................................................(ลุงคิม)
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/04/2011 5:23 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 16/04/2011 7:05 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
จุลินทรีย์หน่อกล้วย แอ็คติโนมัยซิส....
1. การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย ขนาด 10 ลิตร + น้ำ 10 ล.+ กากน้ำตาล 1 ล.+
น้ำมะพร้าว 1/2 ล.+ หน่อกล้วย 1 หน่อ เติมออกซิเจนตลอด 24 ชม. 10 วัน
2. สุดยอดเครื่องมือ เครื่องมือ ทดสอบความแข็งแรง ของจุลินทรีย์
ต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า จุลินทรีย์ มี 2 ประเภท มีแบบ ใช้อากาศ และ
ไม่ใช้อากาส ซึ่งจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้อากาศ จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า แบบใช้อากาศ
ในภาพลูกโป่งที่เหี่ยวเนื่องจากจุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศ "ได้ตายไปแล้ว" และได้
เกิดจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศขึ้นมาแทน
3. จุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศ : ฮุ้ยเล่ฮุ้ย เอ้า ฮุ้ยเล่ฮุ้ย ช่วยกันหายใจเร็วเข้าพวก
เราลูกโป่งจะได้พองเยอะๆ !!!!
เสริม/แก้ไข :
ภาพ #2 ที่ถูกต้อง คือ สวมลูกโป่งตอนแรก - ภาพ #3 หลังจากสวมลูกโป่งนาน
ประมาณ 3-4 ชม. ลูกโป่งพองโตขึ้นมาได้อย่างที่เห็น กรณีนี่เกิดจากจุลินทรีย์
ประเภทต้องการอากาศหายใจ (ประมาณนั้น) ..... งานนี้ใช้ลูกโป่งเนื้อยางหนาไป
หน่อย ถ้าเป็นแบบเนื้อยางบางๆ ลูกโป่งจะพองขยายใหญ่กว่านี้ เหมือนคนเป่า....
หลังจากลูกโป่งพองโตนานๆอีกสักระยะหนึ่ง ลูกโป่งจะแฟ่บลง แล้วถูกดูดเข้าไปใน
ขวด กรณีนี้แสดงว่า จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศตายหมดแล้ว แต่มีจุลินทรีย์
ประเภทไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นมาแทน.....ซึ่งต่างก็เป็นจุลฃินทรีย์เพื่อการเกษตร
ทั้ง 2 ประเภท....การนำใช้ที่ดี คือ จุลินทรีย์ใหม่ (ลูกโป่งพอง) + จุลินทรีย์เก่า
(ลูกโป่งแฟ่บ) แบบ 1:1 จะได้ประสิทธิภาพสูงสุด...................(ลุงคิม)
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/04/2011 5:54 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
iieszz หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 15
|
ตอบ: 16/04/2011 10:40 pm ชื่อกระทู้: 16 เมษายน 2554 |
|
|
เพลี้ยแป้ง ร้อนร้อน จ้า....
เสริม :
1. เรียกว่า "เพลี้ยแป้ง" ข้างในเป็นหนอนเพราะบี้แล้วมีเลือดสีแดงๆติดมือ แต่ข้างนอกเป็นแป้ง เพราะแป้ง
นี่แหละทำหน้าที่เหมือนเกราะหุ้มตัวหนอนที่อยู่ข้างใน สารเคมีหรือสารสมุนไพรใดๆก็ไม่อาจทะลุผ่านเข้าไปได้
เสริม :
2. ครั้นใช้ "สารสมุนไพร + น้ำยาล้างจาน" เท่านั้นแหละ เพราะน้ำยาล้างจานสามารถซึมผ่านทะลุแป้ง
เข้าไปจนถึงตัวหนอนที่อยู่ข้างในได้ เท่านี้แหละ เซ็ด มะ ก้อง ด้อง ...แถมนี้ดดด น้ำยาล้างจาน ใช้แทน
สารจับใบได้ด้วยนะ...(ลุงคิม)
หนอนชอนใบส้ม เย็นเย็น คร้าบบบบ....
เสริม :
หนอนชอนใบเกิดจากแม่ผีเสื้อมาตอนกลางช่วงหน้าฝน แล้วก็แม่ผีเสื้อตัวนี้นี่แหละที่เป็นพาหะนำเชื้อแคงเคอร์
มาด้วย เราจึงมักพบเห็นหนอนชอนใบเกิดพร้อมกับแคงเคอร์อยู่เสมอ....(ลุงคิม)
เสริม :
สุดท้ายโดนสารสมุนไพร (เน้น...สบู่ต้น) จัดการร้อยเรียบ .....(ลุงคิม) |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11657
|
ตอบ: 17/04/2011 6:25 am ชื่อกระทู้: |
|
|
สมุนไพรสูตรข้างทาง "กลั่น" (ครั้งที่ 1) ......
9. พวกเรากำลังนำ ผกากรอง มาใส่ในถังกรั่นครับ แต่เอ๊ะ!!!! ทำไม อ๋อมแอ๋ม ถึงถือ "ต้นกระเพราะ"ล้ะ
10. ในกระบวนการกลั่น ด้านบนสุดของหม้อกลั่นจะต้องเป็นน้ำเย็นเพื่อที่ น้ำในถังที่ละลายขึ้นมาจะได้มีการควบแน่น
กลายเป็นหยดน้ำ จากในภาพ ทิวกำลังเติมน้ำด้านบนใหม่ ส่วนอ๋อมแอ๋มกำลังสำรวจ ปรินาณน้ำที่กลั่นได้
11. ขวดที่หนึ่งนั้นได้มาจากการกลั่น ตะไคร้ ใบดาหลา และ ใบมะกรูด ครับบบ
ส่วนใบที่สองนั้น ได้มาจากต้น
ผกากรอง ครับ ที่สำคัญทุกอย่างที่นำมาใส่ ล้วน "อยู่รอบๆไร่เรา" นี่เองครับ !!!![/
เสริม :
พืชสมุนไพรประเภทกลิ่น วิธีสกัดเอาสารออกฤทธิ์ ต้องใช้วิธี "กลั่น" จึงจะได้สารออกฤทธิ์แรง ......การกลั่น
ด้วยความร้อน 100 องศา ซี. จะได้สารออกฤทธิ์ 30% น้ำ 70% แต่ถ้ากลั่นด้วยความร้อน 70 องศา ซี. จะได้
สารออกฤทธิ์ 70% น้ำ 30% .... เทคนิคการกลั่นเหมือนต้มเหล่าเถื่อน ทุกประการ......(ลุงคิม)
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/05/2011 1:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 9 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
iieszz หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 15
|
ตอบ: 18/04/2011 9:49 pm ชื่อกระทู้: 18/04/54 |
|
|
ทำฮอร์โมนน้ำดำไบโออิ สูตร 10 ล. (ครั้งที่ 1).....
1. รวมพลังสามัคคี ทำ BIOI คนเดียวหัวหาย หลายคนตายหมู่ ตายก่อนเป็นผีรุ่นพี่ ตายทีหลังเป็นผีรุ่นน้อง
อุปกรณ์ :
โหลแก้ว ขนาด 10 ลิตร
โมลิเน็กเล็ก (ดัดแปลงจากสว่าน)
เครื่องมือวัดความถ่วงจำเพาะ
กระดาษวัดค่า pH
ตาชั่งตวงสาร
SILING
ส่วนผสม :
Buffer
TE
Mg
Ca.B
UREA
Zn
GLU
HUMIG
EDTA
2. ขั้นตอนการทำ :
เติมน้ำเปล่าใส่โหลแก้ว 8 ลิตร
ตรวจสอบค่า pH น้ำ ด้ายกระดาษตรวจสอบค่า pH ค่าที่เหมาะสมในการนำไป
ใช้ของพืชอยู่ที่ 5.56.5 หากยังไม่ได้ pH ตามต้องการ ให้ใส่ Buffer ลง
ไปเล็นน้อย วัดค่า pH อีกครั้ง จนได้ตามต้องการ ถ้าไม่มี Buffer สามารถใช้
น้ำส้มสายชูแทนได้
ใช้โมลิเน็กเล็ก ดัดแปลงจากสว่านทำให้สามารถควบคุมรอบการหมุนได้ ดัดใบพัด
ให้เหมือนกับโมลิเน็ก ส่วนผสมจะเข้ากันได้ดี นำส่วนผสมทั้งหมด ใส่ลงในโหลแก้ว
3. ปั่นจนส่วนผสมเข้ากันดี
4. ตรวจเช็คการเข้ากันและการละลายของส่วนผสม หากปั่นเร็ว จะทำให้เกิดฟอง
แยกไม่ออกระหว่างฟองหรือตะกอน ปั่นให้ช้าลงฟองอากาศจะหายไป หากมีตะกอน
จะลอยวนอยู่ขอบก้นโหล หยุดปั่นจนน้ำนิ่งแล้วตรวจสอบตะกอนก้นโหลอีกครั้ง
5. โอ้ ! มหัศจรรย์ น้ำเปลี่ยนเป็นสีดำสนิท ในพริบตา
6. แค่เป็นสีดำนี้ก็ขายออกแล้ว แต่ยังไม่พอใส่เข้าไปอีก (ไม่เข้มข้น เราไม่พอ)
ลุงคิมถามว่า มีอะไรอยู่ในโหล
ลุงคิมตอบว่า ก็มีสิ่งที่ใส่ลงไปไงละ ใส่อะไรลงไปมันก็มีสิ่งนั้น พืชก็จะได้กิน
สิ่งนั้น
7. วัดค่าความถ่วงจำเพาะได้ 12
8. เปรียบเทียบกับน้ำเปล่าให้เห็นกันชัดๆ วัดความถ่วงจำเพาะได้ 0 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|