-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * ห้วใจเกษตรไท ห้อง 4 "แจ๊คพ็อต"
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* ห้วใจเกษตรไท ห้อง 4 "แจ๊คพ็อต"

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 28/01/2024 4:14 pm    ชื่อกระทู้: * ห้วใจเกษตรไท ห้อง 4 "แจ๊คพ็อต" ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
***************************************************

ห้วใจเกษตรไท ห้อง 4 เกษตรแจ๊คพ็อต

เอกสารประเภท HOWTO ไม่ใช่ NEWS
เนื้อที่ 1 ไร่ รายได้เพิ่ม 10 เท่า
ออกนอกฤดู ออกตลอดปี ทำเป็น ขายเป็น
ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี
เกรด เอ. จัมโบ้ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง คนนิยม
คิดใหม่ คิดบวก คิดยกกำลังสอง


@@ สารอาหาร เพื่อการสื่อสาร :
** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก
.... อินทรีย์ : กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด, ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว
.... เคมี : ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม.
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์ (นม. ไข่. น้ำมะพร้าว).
..... เคมี (13-0-46. 0-52-34)

** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... 21-7-14 - ไคโตซาน - อะมิโนโปรตีน.


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์
แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น

...... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
......... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อในเท่านั้น ....




............ มะลิ หน้าหนาว ..................... มะนาว หน้าแล้ง ..................
............ กุหลาบ วาเลนไทน์ ................ กล้วยหอม ตรุษจีน .................

........... แก้วมังกร ตรุษจีน .................. ส้ม ตรุษจีน ..........................
........... กระท้อน ล่าฤดู ..................... ผักชี หน้าฝน .......................

........... ผักเจ อินทรีย์ 100% .............. ลำไย นอกฤดู ....................
........... กล้วยไข่ สาร์ทไทย ................. บัวเข้าพรรษา ......................

........... ทุเรียน นอกฤดู ..................... มะม่วง นอกฤดู ....................
........... เงาะ นอกฤดู ....................... แตงโม หน้าฝน ...................

........... ไผ่ นอกฤดู ......................... มะพร้าว หน้าแล้ง .................
........... ไม้ผล ก่อน/หลัง ฤดู .............. ไม้ผลทะวาย ออกตลอดปี ......

........... เทคนิค 8 ขั้นตอนไม้ผล ......... พืชผัก บนคันนา ..................
........... องุ่น นอกฤดู ....................... ที่ 10 ไร่ รายได้วันละ 2.000 ....

................................ สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ย ....................................


*****************************************************
.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/09/2024 5:44 pm, แก้ไขทั้งหมด 33 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 29/01/2024 3:04 pm    ชื่อกระทู้: * ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
1. มะลิหน้าหนาว

@@ เกร็ดความรู้เรื่องมะลิ :
@ มะลิพันธุ์นิยม :

1. พันธุ์แม่กลอง หรือพันธุ์เพชร : ทรงต้นพุ่มต้นใหญ่ หนา ทึบ เจริญ เติบโตเร็ว ใบใหญ่หนา สีเขียวเข้มจนออกดำ รูปใบค่อนข้างกลม ปลายใบมน
ช่วงข้อใบห่าง ดอกใหญ่ กลม ช่อดอกมักมี 1 ชุด ๆละ 3 ดอก ออกดอกไม่ดกเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่น นิยมใช้ทำพวงมาลัย

2. พันธุ์ราษฎร์บูรณะ : ทรงต้นพุ่มเล็กกว่า ค่อนข้างทึบ ใบเล็กบางกว่า พันธุ์แม่กลอง สีเขียวเข้ม รูปใบเรียว ช่วงข้อใบค่อนข้างถี่ ดอกเล็กเรียวแหลม ช่อดอกมักมี 1-2 ชุด ๆละ 3 ดอก ออกดอกดก ทยอยให้ดอกเป็นช่วงๆ

3. พันธุ์ชุมพร : ทรงต้นคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ แต่โปร่งกว่าพันธุ์แม่กลองเล็กน้อย ใบคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะแต่เรียวกว่า สีอ่อนกว่า และบางกว่า ช่วงข้อใบถี่ ดอกคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ ช่อดอกมักมีมากกว่า 2 ชุด ๆละ 3 ดอก ออกดอก ดกมาก แต่ทิ้งช่วงการออกดอกห่าง

- เทศกาลที่ดอกมะลิราคาแพง คือ วันแม่ วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันครู และช่วงมะลิออกดอกน้อยทำให้มีราคาแพงที่สุด คือ หน้าหนาว

- สารอาหารพื้นฐานต่อการออกดอก คือ “สังกะสี” กับ “โบรอน” แล้ว
เสริมด้วย “น้ำตาลทางด่วน” อย่างน้อยเดือนละครั้ง ตลอดทั้งปี

- ปฏิบัติต่อมะลิตลอดปี นอกจากช่วยให้ช่วงปกติออกดอกดีแล้ว ยังเป็นการเตรียมต้นให้สมบูรณ์เพื่อพร้อมต่อการบังคับให้ออกนอกฤดูหรือให้ออก ณ ช่วงเวลาที่ต้องการอีกด้วย

- มะลิดอกสีม่วง เกิดจากขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม โดยเฉพาะ แคลเซียม โบรอน อย่างรุนแรง

- มะลิดอกตูมร้อยมาลัย บำรุงด้วยแคลเซียม โบรอน สม่ำเสมอ ทั้งทางใบทางรากก้านดอกจะแข็ง แทงเข็มร้อยมาลัยไม่ฉีกขาดง่าย

- มะลิดอกใหญ่ จำนวนกลีบเท่าเดิม แต่ขนาดดอกใหญ่ขึ้น
- มะลิร้อยมาลัยคู่กับ จำปี จำปา พุด กุหลาบหนู รัก

** การบำรุงดอก หน้าหนาวมะลิออกดอกน้อยและมีขนาดเล็ก ควรใส่ปุ๋ยทางใบที่มีฟอสฟอรัสสูง (14-7-21 จี.) พ่นทุก 7-10 วัน

** ไธโอยูเรีย มีผลต่อการชักนำให้มะลิดออกดอก จากการวิจัยพบว่าไธโอยูเรีย มีผลต่อการทำลายการพักตัว และเร่งการออกดอกในหน้าหนาวของมะลิ โดยจะออกดอกหลังพ่นสารไธโอยูเรียแล้วประมาณ 20 วัน เก็บดอกได้นาน 1 เดือน และการให้ปุ๋ยไนโตรเจนสูงร่วมกับไธโอยูเรีย ก็จะมีผลต่อการเพิ่มปริมาณดอกได้ดีขึ้นอีกด้วย

** พ่นสารไธโอยูเรีย 1% (ไธโอยูเรีย 100 กรัม + น้ำ 20 ลิตร) ในเดือน พ.ย. จะช่วยให้มะลิออกดอกเดือน ธ.ค. ดี

** ดอกมะลิที่ได้จะมีขนาดเล็ก จึงมีการทดลองเพื่อเพิ่มขนาดดอก พบว่าถ้าฉีดพ่นสารละลายน้ำตาลซูโครส 1% + จิบเบอเรลลิน 0.1 ppM ให้ทั่วต้นในระยะที่ดอกมีขนาดยาว 2 มม. ทุก 3 วัน จะทำให้ดอกมะลิมีขนาดใหญ่ขึ้น


@@ เตรียมดิน เตรียมแปลง
- ดินต้องมาก่อน ทำดินให้พร้อมจริงๆ แล้วจึงลงมือปลูก โดยใส่ยิบซั่ม, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ 3-4 เดือน /ครั้ง ทั้งนี้มะลิตอบสนองดีมากๆ กับกระดูกป่น

- พรวนดินพูนดินโคนต้น หญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ ทุก 3 เดือน
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1-2 ล/ไร่) รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว เดือนละครั้ง

- ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น
- งดใช้ยาฆ่าหญ้า แต่ใช้วิธีถอน


@@ ปัจจัยสำคัญทำให้มะลิออกดอก :
- การตัดแต่งกิ่ง :
1) ต้นอ่อนอายุน้อย : ให้เหลือกิ่งไว้กับต้นยาว โดยตัดกิ่งออกเล็กน้อย เหลือกิ่งสมบูรณ์ไว้กับต้นมากๆ

2) ต้นแก่อายุต้น 2 ปีขึ้นไป : ตัดแต่งกิ่งให้เหลือ 3-4 กิ่ง /ต้น แต่ละกิ่งยาว 30-45 ซม.
- หลังตัดแต่งกิ่งแล้ว เริ่มบำรุงด้วยสูตร “เปิดตาดอก” ทั้งทางใบและทางราก จากนั้นมะลิจะแตกยอดใหม่แล้วออกดอกตามมา ระยะเวลาประมาณ 6 อาทิตย์ หรือเดือนครึ่ง ..... ดังนั้น หากต้องการให้มะลิออกดอกวันที่เท่าไรในปฏิทิน ก็ให้นับวันย้อนหลังจากวันเก็บดอกแล้วลงมือตัดแต่งกิ่ง

@@ บำรุงมะลิ
- ทางใบ : ให้สูตรสหประชาชาติ “น้ำ 20 ล. + ไบโออิ 5 ซีซี. + ไทเป 5 ซีซี. + ยูเรก้า 5 ซีซี. + สารสมุนไพร 1 -2 ล.” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบ รอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน หรือ ในรอบ 1 เดือน ให้สูตรสหประชาชาติทุกวันเสาร์ วันพุธแรกของเดือนให้แคลเซียม โบรอน วันพุธที่ 3 ของเดือนให้น้ำตาลทางด่วน

- ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1 ล.) /ไร่ /เดือนรดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว, พรวนดินพูนดินโคนต้นทุก 3 เดือน มีหญ้าแห้งคลุมโคนต้น ให้น้ำพอหน้าดินชื้นสม่ำเสมอ

@@ การบังคับ : [/b]
- ต้องการให้มะลิออกดอกช่วงหน้าหนาว ให้ตัดแต่งกิ่งเดือน ส.ค. – ก.ย. โดยนับย้อนหลังจากวันตัด 45 วัน ลงมือตัดแต่งกิ่งแล้วเริ่มบำรุง จากนั้น 45 วันหรือเดือนครึ่ง มะลิก็จะมีดอกออกมาให้ชื่นชม

- ต้องการให้มะลิออก ณ วันที่ต้องการ (วันปีใหม่ วันแม่ วันครู วันสงกรานต์ วันนักขัตฤกษ์) ให้นับจากวันตัดดอกย้อนหลัง 45 วัน ลงมือตัดแต่งกิ่งแล้วเริ่มบำรุง จากนั้น 45 วันหรือเดือนครึ่ง มะลิก็จะมีดอกออกมาให้ชื่นชม

@@ การเรียกดอก :
** ทางใบ :
- สูตร 1 : ให้ “น้ำ 20 ล. + ไทเป 20 ซีซี. + 13-0-46 (2 ชต.)”
- สูตร 2 : ให้ “น้ำ 20 ล. + 13-0-46 (2 ชต.) + ไธโอยูเรีย 1 ชต.”

** ทางราก :
- ใส่กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, หญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1 ล.) +8-24-24 (1-2 กก.) ผสมปุ๋ยให้ละลายเข้ากันดี ในน้ำตามความจำเป็นสำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ให้ครั้งเดียว

- ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- สภาพต้นที่สมบูรณ์จริงๆ เนื่องจากได้รับการบำรุงแบบ “สะสมความสมบูรณ์” มาตลอดทั้งปี เมื่อถึงเข้าสู่การบังคับให้ออกดอก นอกจากมะลิจะออกดอกง่ายแล้ว ยังได้ดอกจำนวนมากอีกด้วย

- บำรุงมะลิด้วย “ไบโออิ + ไทเป + ยูเรก้า” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน และน้ำตาลทางด่วน สม่ำเสมอทั้งช่วงมีดอกและไม่มีดอกบนต้น จะช่วยให้มะลิออกดอกได้เรื่อยๆ และได้ดอกขนาดใหญ่ด้วย

** แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม :
- ทำน้ำอบมะลิ
- ดอกมะลิอบแห้ง
- สเปรย์ปรับอากาศกลิ่นดอกมะลิ

** ชม ชิม ช็อป :
- จำหน่ายพวงมาลัย
– จำหน่ายต้นพันธุ์
- จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับมะลิ


** แหล่งท่องเที่ยว :
- สวนพักผ่อนกลางแปลงมะลิ
- แหล่งรวบรวมมะลิทุกสายพันธุ์
- แปลงมะลิผสมผสานไม้ดอกหอมอื่นๆ
- จำหน่ายต้นพันธุ์ และอุปกรณ์เกี่ยวเนื่อง
- สาธิตการใช้สารสมุนไพร เพื่อยืนยันการงดใช้สารเคมียาฆ่าแมลง
- สอนการร้อยมาลัย

***********************************************************


2. มะนาวหน้าแล้ง
@@ เกร็ดความรู้เรื่องมะนาว :

- มะนาวเป็นพืชรากลอย ให้คลุมดินโคนต้นด้วยเศษซากพืชประเภทคง ทนชิ้นโตๆ หนา 20-30 ซม.เต็มพื้นที่ทรงพุ่ม ล้ำออกนอกเขตทรงพุ่ม 1-1.5 ม. เพื่อล่อราก ไม่นานรากมะนาวจะเจริญยาวขึ้นมาอยู่กับอินทรีย์วัตถุที่คลุมโคนต้นนั้น เป็นรากที่ดี สมบูรณ์ แข็งแรง และจำนวนมาก

- การให้ฮอร์โมนบำรุงราก (12-60-0) ปีละ 2-3 ครั้ง ช่วงที่ต้นต้องเร่งระดมอาหาร เพื่อเตรียมความพร้อมของต้นต่อการพัฒนาแต่ละระยะๆ จะช่วยให้ต้นมีความสมบูรณ์สูง

- การให้ เอ็นเอเอ. และ/หรือ จิ๊บเบอเรลลิน ฉีดพ่นช่วงอายุผลสัปดาห์แรก จะช่วยป้องผลแตกผลร่วงเมื่ออายุผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวได้ดี

- มะนาวจะแตกยอดออกใบมากในช่วงหน้าฝนแต่ไม่มีดอก เนื่องจากอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช. ไม่เหมาะสมต่อการออกดอก (เอ็น.มากว่า ซี.) ครั้นเข้าสู่หน้าหนาว (พ.ย. - ธ.ค.) มะนาวจะพักต้น หลังจากพักต้นระยะหนึ่งแล้วได้รับน้ำเพียงเล็กน้อยก็จะแตกยอดอ่อน พร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วยเสมอ เป็นมะนาวปี

- มะนาวต้นที่มีความพร้อมต่อการออกดอกติดผล (ผลจากการสะสมอาหารกลุ่ม ซี. และ กลุ่ม เอ็น) เมื่อแตกยอดจะมีดอกออกตามมาด้วยเสมอ....ดอก ที่ออก ณ ปลายกิ่งอ่อนจะติดเป็นผลดีมีคุณภาพ ดอกที่ออกจากซอกใบแก่หรือใบจากปลายยอดเข้ามาจะติดเป็นผลและคุณภาพปานกลาง ส่วนดอกที่ออกตามกิ่งแก่มักไม่ติดเป็นผล หรือถึงติดเป็นผลก็คุณภาพไม่ดี

- มะนาวที่ออกดอกช่วงเดือน ม.ค. - ก.พ. ผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วง มิ.ย. - ส.ค. เป็นช่วงมะนาวราคาต่ำสุด แต่มะนาวที่ออกดอกเดือน ก.ย. - ต.ค. ผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงเดือน มี.ค. - เม.ย. เป็นช่วงราคาแพงหรือมะนาวหน้า แล้ง

- มะนาว (พืชตระกูลส้ม) ต้องการและตอบสนองต่อ แม็กเนเซียม. สัง กะสี. อย่างมาก จึงควรให้ประจำๆ สม่ำเสมอทั้งทางใบและทางราก

ยืดอายุผลมะนาวในต้นให้แก่ช้า หรือเร่งให้แก่เร็ว :
หลักการและเหตุผล :

อายุผลมะนาวตั้งแต่ผสมติดหรือกลีบดอกร่วงถึงเก็บเกี่ยว ใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน มะนาวที่ออกดอกเดือน ต.ค. จะให้ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือน เม.ย. กล่าวคือ ถ้าออกดอกต้น ต.ค. ผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงต้น เม.ย. และถ้าดอกออกปลายเดือน ต.ค. ผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงปลายเดือน เม.ย. เช่น กัน ถ้าต้องการให้ผลมะนาวแก่เก็บเกี่ยวได้ตรงกับช่วงสงกรานต์พอดีก็จะต้องทำให้มะนาวออกดอกกลางเดือน ต.ค. ให้ได้เท่านั้น

- มะนาวที่ออกดอกก่อนเดือน ต.ค.(ประมาณ ต้น ก.ย. - กลาง ก.ย. ....ไม่
ควรออกก่อนมากนัก) ซึ่งต้องแก่เก็บเกี่ยวได้ก่อนเดือน เม.ย. นั้น สามารถยืดอายุผลให้แก่ช้าหรือให้แก่ในช่วงเดือน เม.ย.ได้ และมะนาวที่ออกดอกหลังเดือน ต.ค. (ประมาณ ต้น พ.ย.- กลาง พ.ย. .....ไม่ควรหลังมากนัก) ซึ่งต้องแก่เก็บเกี่ยวได้หลังช่วงเดือน เม.ย. แล้วนั้น สามารถเร่งให้ผลแก่เร็วขึ้นได้เช่นกัน ทั้งการเร่งให้ผลแก่เร็ว และแก่ช้ากว่ากำหนดอายุจริง สามารถทำได้ดังนี้ ...

วิธีเร่งผลให้แก่ช้า
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 50 ซีซี.+ ยูเรก้า 412 (50 ซีซี.) + สารสกัดสมุน ไพร 250 ซีซี.” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน

- ให้สารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1-2 ล.) +21-7-14 (1 กก.) /ต้น ทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน

- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล
- สามารถยืดการแก่ของผลให้ช้า หรือนานกว่าอายุจริง 20-30 วัน
- บำรุงมะนาวด้วยสูตรนี้อย่างสม่ำเสมอจะทำให้ ผิวเห่อ เปลือกหนา น้ำน้อย กลิ่นไม่มี ต่อมน้ำมันไม่ใส แต่ขนาดผลใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

- การให้ “น้ำ 100 ล.+ ยูเรีย จี 200 กรัม + กลูโคส 100 ซีซี.” ด้วยการฉีดพ่นทางใบพอเปียกใบ ทุก 10-15 วัน จะทำให้ผลเขียว เปลือกหนา ต่อมน้ำมันไม่ เกิด และผลไม่แก่ แม้อายุผลครบ 5-6 เดือนแล้ว แต่จะขยายขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ

- เมื่อถึงช่วงใกล้เก็บเกี่ยวตามต้องการ หรือก่อนเก็บเกี่ยวจริง 10-20 วัน ให้บำรุงด้วยสูตร “บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว” ตามปกติ 2-3 รอบ ห่างกันรอบ ละ 5-7 วัน อาการไม่พึงประสงค์ (ผลเขียว เปลือกหนา ต่อมน้ำมันไม่เกิด น้ำน้อย กลิ่นไม่หอม) ของผลมะนาวจะกลับกลายเป็นดี

วิธีเร่งผลให้แก่เร็ว :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ 0-0-50 (400 กรัม) หรือ 0-21-74 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 25 กรัม. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” ทุก 5-7 วัน 2-3 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นให้แดดส่องถึง นำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกให้หมด
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1-2 ล.) +8-24-24 หรือ 9-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2-1 กก.) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน

- ให้น้ำ 1 ครั้ง เพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อผลแก่ได้ประมาณ 75% ของผลที่แก่ตามอายุจริง
- สามารถเร่งให้ผลแก่เร็วกว่าอายุจริง 10-20 วัน
- ควรวางแผนบำรุงให้ผลแก่เร็วกว่าปกติตั้งแต่เริ่มติดผล โดยการคำนวณอายุผลตั้งแต่ผสมติดถึงแก่เก็บเกี่ยวได้ แล้วบำรุงตั้งแต่ช่วงระยะผลขนาดกลางให้โตเร็วๆ และมากๆด้วยสูตร “หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ” เตรียมรอไว้ล่วงหน้า

- หลังจากเริ่มบำรุงด้วยสูตร “บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว” แล้ว ขนาดของผลมะนาวจะไม่โตขึ้นอีก หรือหยุดการเจริญเติบโต แต่โครงสร้างภายในของผลจะเปลี่ยนเป็นผลแก่ แม้ว่าอายุผลจะน้อยกว่าความเป็นจริงแต่คุณภาพของผลไม่แตกต่างกันนัก

@@ การเตรียมต้น ก่อนการบังคับ :
- บริหารจัดการ “ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก” (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) อย่างถูกต้องเหมาะสมสม่ำเสมอ

- บำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอตลอดปี เพื่อให้ต้นได้ “สะสมความสมบูรณ์” ไว้ล่วงหน้า
- สารอาหารพื้นฐานต่อการออกดอก คือ “สังกะสี” กับ “โบรอน” แล้วเสริมด้วย “น้ำตาลทางด่วน” ตามความเหมาะสม

- ใส่กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ปีละ 2 ครั้ง .... ให้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 1 ลิตร. /ไร่ /เดือน

- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน /ครั้ง

** ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 100 ซีซี. + 0-42-56 (400 กรัม) + สารสกัดสมุนไพร 1 ล.” ทุก 7-10 วัน

- ให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคสหรือน้ำมะพร้าว) 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 15-20 วัน

** ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1 ล.) +8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นใหญ่)

- ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

@@ การบังคับ :
จัดรุ่นมะนาวที่มีผลตลอดปี ให้ได้ผลเป็นรุ่นหน้าแล้ง :
หลักการและเหตุผล :

- อายุผลมะนาวตั้งแต่ผสมติดถึงแก่เก็บเกี่ยวได้นาน 6 เดือน ดอกที่ออก มาช่วงไหนให้นับต่อไปอีก 6-6 เดือนครึ่ง ก็จะเป็นผลแก่เก็บเกี่ยวได้

- ถ้าดอกที่ออกมาแล้วจะเป็นผลแก่ตรงกับช่วงที่มะนาวราคาถูกให้ทำลายดอกชุดนั้นทิ้ง แล้วบำรุงต่อไปตามปกติ จากนั้นประมาณ 2-3 เดือน ก็จะมีดอกชุดใหม่ออกมาอีก ดอกชุดใหม่นี้จะกลายเป็นผลให้แก่เก็บเกี่ยวได้หลังดอกชุดที่ทำลายไป 2-3 เดือน หรือเป็นมะนาวล่าฤดูนั่นเอง.... การปฏิบัติบำรุงให้ทำดังนี้ :

ล้างดอก :
สูตร 1 : ใช้ “น้ำ 100 ล.+ 46-0-0 (400 กรัม)” ฉีดพ่นใส่ดอกโดยตรง
สูตร 2 : ใช้ “น้ำ 100 ล.+ เอ็นเอเอ. 200 ซีซี. หรือ เอทีฟอน 30 ซีซี.” อย่างใดอย่าหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง ฉีดพ่นช่วงที่กลีบดอกเริ่มแห้ง (หลังผสมติด) ทั่วทรงพุ่ม

หมายเหตุ :
- วิธีนี้จะทำให้ดอกร่วงแต่ผล (อ่อน/แก่) และใบ (อ่อน/แก่) ไม่ร่วง จากนั้น
ให้บำรุงผลต่อโดย......

ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + เอ็น เอเอ.50 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ไทเป 50 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตัวเดิม
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (½-1 กก.) /ต้นทรงพุ่ม 5 ม.
- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

บำรุงมะนาวให้ได้ผลชุดใหญ่ในหน้าแล้ง :
เดือน พ.ค. : “ เตรียมต้น”
- ตัดแต่งกิ่ง : (ตัดแต่งกิ่งปกติ หรือตัดแต่งแบบทำสาว)
- ตัดแต่งราก : (ถ้าจำเป็น)
- ล้างต้น : (เก็บหรือทำลาย “ดอก/ผล” ที่ค้างอยู่บนต้นออกให้หมด)
- ล่อราก : (ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ใช้กาบมะพร้าวชิ้นโต/เล็กคลุมโคนต้นหนา 20-30 ซม. ทั่วบริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกนอกทรงพุ่ม 1-1.5 ม.)

เดือน พ.ค. - มิ.ย. “ฟื้นฟูสภาพต้น/เรียกใบอ่อน” (เริ่มปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่ง)

ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ 46-0-0 (200 กรัม) หรือ 25-5-5 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.” ฉีดพ่นพอเปียกใบ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน หรือต่อการเรียกใบอ่อน 1 ชุด

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตัวเดิมจากที่ใส่ไว้ก่อนแล้ว
- ให้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) +25-7-7 (½ กก.) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน

- ให้น้ำเปล่าปกติ ทุก 2-3 วัน

เดือน ก.ค. “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” (เริ่มปฏิบัติเมื่อใบอ่อนเพสลาด)

ทางใบ :
สูตร 1 : ให้ “น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.” ทุก 7 วัน

สูตร 2 : ให้ “น้ำ 100 ล.+ เอ็นเอเอ. 50 ซีซี.+ ไทเป 50 ซีซี.” ในรอบ 7-10 วัน ให้สูตร 1 สลับกับสูตร 2 ฉีดพ่นพอเปียกใบตลอดเดือน ก.ค.

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตัวเดิม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1 ล.) +8-24-24 หรือ 9-26-26 (½-1 กก.) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน

- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

เดือน ส.ค. – ก.ย. : “ปรับ ซี/เอ็น เรโช.”
ทางใบ :
- ในรอบ 7-10 วัน ภายใต้สภาพอากาศปกติให้ “น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.” 1 รอบ กับให้ “น้ำ 100 ซีซี. + กลู โคสหรือน้ำมะพร้าวแก่ 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 50 ซีซี. + ไทเป 50 ซีซี.” อีก 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้ลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นให้แดดส่องได้ทั่วพื้นบริเวณทรงพุ่ม
- ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (½ กก.) /ต้น
- ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ย แล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์ของการปรับ ซี/เอ็น เรโช. ก่อนเปิดตาดอกเพื่อ “เพิ่ม” ปริ มาณ ซี. (คาร์บอน) และ “ลด” ปริมาณ เอ็น. (ไนโตรเจน) นอกจากการงดน้ำเด็ดขาดแล้ว การเสริมด้วยวิธี “รมควัน” ก็จะช่วยให้การปรับ ซี/เอ็น เรโช.ได้ผลดียิ่งขึ้น

- ระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช ถ้ามีฝนตกให้ฉีดพ่นด้วย “น้ำ 100 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ กลูโคส 100 ซีซี.” ฉีดพ่นพอเปียกใบก่อนฝนตก 30 นาที หรือฉีดพ่นทันทีเมื่อฝนหยุดใบแห้ง ไม่จำกัดเวลา และจำนวนครั้งที่ต้องให้

- การให้ธาตุอาหารทางใบช่วงงดน้ำเด็ดขาดต้องระวังอย่าให้น้ำลงถึงพื้น ดินโคนต้น เพราะจะทำให้มาตรการงดน้ำล้มเหลว

- ให้ธาตุอาหารทางใบช่วงนี้จะต้องเน้นธาตุอาหารกลุ่ม “สร้างดอก-บำรุงผล” เป็นหลัก อาจจะให้ถี่ขึ้นกว่าปกติเพื่อเพิ่ม ซี. ให้มากขึ้นและลด เอ็น. ให้น้อยลงให้ได้ ซึ่งการให้ธาตุอาหารถี่ขึ้นนี้อาจทำให้ใบมะนาวกร้านถึงขนาดปลายใบไหม้ได้ แต่จะไม่เป็นปัญหาต่อการสะสมอาหารแต่อย่างใด

- วางแผนเวลาล่วงหน้าว่า ถ้างดน้ำช่วงกลางเดือนเป็นระยะเวลา 7-10 วันแล้ว ต้นมะนาวต้องเกิดอาการใบสลด จากนั้น สัปดาห์สุดท้ายของเดือน ก.ย. ต่อต้นเดือน ต.ค. สามารถลงมือเปิดตาดอกได้ เพราะฉะนั้นเจ้าของสวนจะต้องรู้ปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นว่า ต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานเพียงใดดินจึงจะแห้งอย่างแท้จริง

- สวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกจนก้นร่องแห้งแตกระแหง ล่วง หน้าเป็นระยะเวลานานๆ
- ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช. เพื่อเตรียมการ “กดใบอ่อน” ทั้งล่วงหน้าก่อนฝนตก และ/หรือ หลังฝนหยุดใบแห้งอย่างทันการ เพราะถ้ามะนาวแตกใบอ่อนช่วงนี้ก็ต้องย้อน
กลับไปบำรุงที่ขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกใหม่ ทำให้เสียเวลาหรือแผนการทำมะนาวหน้าแล้งต้องล้มเหลว

เดือน ก.ย. - ต.ค. “เปิดตาดอก”
ทางใบ :
สูตร 1 : น้ำ 100 ล. + 13-0-46 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สาหร่ายทะเล 50 กรัม

สูตร 2 : น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ไทเป 100 ซีซี. + 13-0-46 (200 กรัม)
- เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง ทุก 5-7 วัน หรือใช้ทั้งสองสูตรสลับกัน ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนเดิม
- ให้ 8-24-24 (250-500 กรัม) /ต้น ทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน
- ให้น้ำ 2-3 วัน/ครั้ง ให้ครั้งละน้อยๆ พอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
สภาพต้น “สมบูรณ์เต็มที่ + สะสมอาหารเพื่อการออกดอกเต็มที่ + ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ใบสลดดี” หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ประมาณ 7-10 วัน ดอกชุดแรกจะออกมาแล้วต่อด้วยชุด2 ชุด3 ติดต่อกันนาน 15-20 วัน หรือจนกระทั่งถึงช่วงกลางเดือน ต.ค.

เดือน ต.ค. “บำรุงดอกตูม – ดอกบาน”
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 15-30-15 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ไทเป 50 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียก ทุก 7-10 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนเดิม
- ให้ 8-24-24 (250-500 กรัม) /ต้น ทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน
- ให้น้ำทุก 2-3 วัน ให้ครั้งละน้อยๆ พอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- การให้น้ำทางดินช่วงนี้ต้องค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำแบบให้ต้นรู้ตัว การให้น้ำมากเกินไปจะทำให้ดอกร่วง และถ้าต้นขาดน้ำก็ดอกร่วงได้เช่นกัน

- ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ต้องทดสอบอัตราใช้มาก่อน เพราะถ้าใช้มากเกินไปจะทำให้ดอกร่วง และถ้าใช้น้อยเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรบ่อยๆ เพื่อป้องกันกำจัดโรคแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบ เพราะอาจจะทำให้เกสรเปียกแฉะจนผสมไม่ติดได้ แต่หากจำเป็นต้องฉีดพ่นก็ให้ฉีดพ่นตอนหลังค่ำ ทั้งนี้ให้พิจารณาจำนวนระหว่างดอกตูมกับดอกบานว่า อย่างไหนมีมากกว่ากัน เพราะถ้างดฉีดพ่นดอกบานก็จะทำให้ดอกตูมไม่ได้รับธาตุอาหาร หรือหากบำรุงดอกตูมแล้วเสียดอกบานไป

- ช่วงที่ดอกออกมาแล้ว สภาพอากาศร้อนมาก อาจทำให้เกสรเหี่ยวแห้งจนผสมไม่ติด แก้ไขโดยให้น้ำผ่านสปริงเกอร์เพื่อสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศช่วงอากาศร้อนสุดของแต่ละวัน 1-2 ครั้ง ๆละ 5-10 นาที

- การชักนำแมลงเข้าผสมเกสรจะช่วยให้มะนาวติดผลดกขึ้น

เดือน พ.ย. “บำรุงผลเล็ก”
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 50 ซีซี. + ยูเรก้า 412 (50 ซีซี.)” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ คลุมโคนต้นด้วยเศษฟางหรือหญ้าแห้งหนาๆ ทั่วพื้นที่ทรงพุ่ม ล้ำออกนอกทรงพุ่ม 1-1.5 ม.

- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1 ล.) +21-7-14 (½ กก.) /ต้น ทรงพุ่ม 5 ม. /เดือน

- ให้น้ำทุก 2-3 วัน ค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำเพื่อให้ต้นรู้ตัว

หมายเหตุ :
น้ำที่ให้ทางดินควรค่อยๆเพิ่มปริมาณทีละน้อยๆ เพื่อให้ต้นรู้ตัว และปรับตัวได้ทัน ถ้าให้น้ำน้อยจะทำให้ผลร่วง และถ้าให้มากเกินไปก็ทำให้ผลร่วงได้เช่นกัน

เดือน ธ.ค. – มี.ค. “บำรุงผลกลาง”
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 50 ซีซี. + ยูเรก้า 412 (50 ซีซี.” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตัวเดิม
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1 ล.) +21-7-14 (1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 5 ม. /เดือน

- ให้น้ำ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ขั้นตอนนี้ถ้ามะนาวขาดน้ำจะทำให้ผลไม่สมบูรณ์
- ให้ทางใบด้วยน้ำตาลทางด่วน 1-2 เดือน / ครั้ง จะช่วยผลสมบูรณ์ ขนาดใหญ่ และคุณภาพดี

เดือน มี.ค. - เม.ย. “บำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว”
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ไบโออิ 100 ซีซี. + 0-21-74 (200 กรัม)” ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นรอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 8-24-24 หรือ 13-13-21 สูตรใดสูตรหนึ่ง (½-1 กก.) /ต้นทรงพุ่ม 5 ม.
- ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด


ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงมะนาวในกระถางให้ออกผลในหน้าแล้ง :
- ช่วงขั้นตอน "ตัดแต่งกิ่ง – เรียกใบอ่อนฟื้นฟูสภาพต้น - สะสมอาหารเพื่อการออกดอก" ปฏิบัติเหมือนการบำรุงมะนาวปลูกบนพื้นดินปกติทุกประการ

- ช่วงขั้นตอน "งดน้ำเพื่อปรับ ซี/เอ็น เรโช" ให้ใช้พลาสติกคลุมหน้าดินปากกระถาง เพื่อป้องกันฝนตกใส่ เมื่อเห็นว่าต้นมะนาวเริ่มเครียดหรือเริ่มใบสลดจึงนำพลาสติกออก แล้วระดมให้น้ำพร้อมกับเปิดตาดอกได้เลย

- ช่วงขั้นตอน "เปิดตาดอก" หลังจากนำพลาสติกคลุมดินออกแล้วเริ่มเปิดตาดอก โดย...

ทางใบ :
สูตร 1 : น้ำ 100 ล.+ ไทเป 100 ซีซี. + 13-0-46 (500 กรัม)
สูตร 2 : น้ำ 100 ล.+ 13-0-46 (1 กก.) + ไธโอยูเรีย 500 กรัม
เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง ฉีดพ่นพอเปียกใบ

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (200-250) /ต้น (กระถาง) ให้ทันทีที่เปิดพลาสติกคลุมแปลง
- ให้น้ำปกติ ทุก 1-2 วัน

หมายเหตุ :
- หลังจากเปิดตาดอกแล้วมะนาวก็จะมีดอกออกมา จากนั้นบำรุงตามขั้น
ตอน “บำรุงดอก. บำรุงผลเล็ก. บำรุงผลกลาง. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว.
บำรุงผลให้แก่เร็วกว่าปกติ หรือบำรุงยืดอายุผลให้แก่ช้า.” ปฏิบัติเหมือนการบำรุงมะนาวที่ปลูกบนพื้นดินปกติทุกประการ

- รากทั้งหมดอยู่ในกระถางซึ่งเป็นพื้นที่ๆค่อนข้างจำกัดในการดูดซับอาหารและปริมาณสารอาหารก็มีอย่างจำกัด รากทั้งหมดต่างก็ดูดซับสารอาหารในพื้นที่จำกัดนั้น จนทำให้สารอาหารหมดไปอย่างรวดเร็ว กรณีนี้แก้ไขโดยให้สารอาหารทั้งทางรากและทางใบมากขึ้นด้วยวิธี “ให้น้อย-บ่อยครั้ง-ตรงเวลา” ทั้งนี้ความสมบูรณ์ของต้นจะชี้บอกได้อย่างดีว่าสารอาหารพอเพียงหรือไม่

ตัดแต่งรากมะนาวในกระถาง :
เนื่องจากรากมะนาวต้องเจริญเติบโตในกระถางซึ่งมีพื้นที่จำกัด เมื่ออายุต้นมากขึ้น หรืออายุต้น 4-5 ปีขึ้นไป ปลายรากจะวนอยู่ที่ขอบกระถาง ส่งผลให้ต้นโทรมหรืออาจตายได้ กรณีนี้สามารถแก้ไขได้ตามขั้นตอน ดังนี้

1. บำรุงต้นเรียกใบอ่อนเพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์ หรือสะสมอาหารไว้ในต้นก่อน
2. เมื่อยอดอ่อนเริ่มแตกออกมาให้เห็นจึงลงมือตัดแต่งกิ่งแบบทำสาว หรือทำเป็นโจรแขนด้วน ให้เหลือความยาวของกิ่งประธานประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวเดิม

3. ตัดแต่งรากโดยใช้พลั่วหรือเสียมคมจัด แทงลงดินตรงๆ ห่างจากขอบกระถางมาทางโคนต้น 1 ใน 4 ขั้นตอนนี้จะเป็นการตัดส่วนปลายรากเพื่อให้แตกรากใหม่

4. ตักดินบริเวณขอบกระถางออกแล้วเปลี่ยนดินชุดใหม่ลงไปแทน หรือถ้าเห็นว่าสภาพดินยังดีอยู่ก็ไม่ต้องตักออกก็ได้ ส่วนปลายรากที่ตัดเหลืออยู่ในดินก็จะเน่าสลายไปเอง

5. หลังจากตัดรากแล้วให้ฮอร์โมนบำรุงราก (น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 12-60-0) พร้อมกับเร่งบำรุงราก – เรียกใบอ่อน - ฟื้นฟูสภาพต้น เหมือนการบำรุงหลังตัดแต่งกิ่งมะนาวที่ปลูกบนพื้นดินปกติ ถ้าต้นมีความสมบูรณ์ดีตั้งแต่แรกก็จะแตกใบอ่อนพร้อมกับรากชุดใหม่ภายใน 20-30 วัน และพร้อมรับการบำรุงเพื่อให้ ดอก/ผล ต่อไป

6. วิธีตักหน้าดินปากกระถางบางส่วนออกแล้วใช้วิธีล่อรากขึ้นมาก่อน แล้วจึงตัดปลายรากที่ขอบกระถาง จะสามารถลดการชะงักการเจริญเติบโตของต้นได้เป็นอย่างดี

7. ช่วงปีแรกหลังจากตัดแต่งรากและตัดแต่งกิ่งยังไม่ควรเอาผล แต่ให้บำรุงต้นจนสมบูรณ์ดีเหมือนเดิมก่อน จึงบำรุงเพื่อเอาผลจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเร็วและอายุยืนนานขึ้น

หมายเหตุ :
มะนาวกระถางอายุต้น 3-4 ปี ขนาดทรงพุ่มเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม. สูง 2-2.5 ม. สภาพต้นสมบูรณ์พร้อม สามารถให้ผลผลิตได้ต้นละประมาณ 150-200 ผล ในขณะที่มะนาวพื้นราบยกร่องแห้งลูกฟูกอายุต้น แต่ขนาดต้นจะสูงใหญ่กว่ามาก และความสมบูรณ์พร้อมเท่าๆกัน สามารถให้ผลผลิตได้ต้นละ1,000- 2,000 ผล

บังคับมะนาวให้ออกหน้าแล้งด้วยพาโคลบิวทาโซล :
1. เดือน ก.ย. :
เก็บผลและดอกออกให้หมดทั้งต้น (ล้างต้น) แล้วเรียกใบอ่อนชุดที่ 1
2. เดือน ส.ค. :
ตัดแต่งกิ่งทำทรงพุ่มให้โปร่ง แล้วบำรุงต้นด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก
3. เดือน ก.ย. :
ต้นมะนาวอยู่ในระยะใบเพสลาด รดน้ำให้ดินชุ่มทั่วพื้นที่ทรงพุ่ม ทิ้งไว้
1 วัน วันรุ่งขึ้นรดน้ำอีกครั้งแล้วราดสารพาโคลบิวทาโซล อัตรา 10 ซีซี./ต้นโดยราดให้กระจายทั่วบริเวณทรงพุ่ม

4. เดือน ต.ค. :
มะนาวจะเริ่มออกดอก จากนั้นบำรุงมะนาวตามขั้นตอนปกติ

หมายเหตุ :
- ระหว่างเดือน ส.ค. - ก.ค. ถ้ามะนาวมีดอกออกมาให้ฉีดพ่นด้วย เอ็นเอเอ. 15-30 ซีซี. /น้ำ 20 ล. ทั่วทรงพุ่ม จะให้ดอกร่วงโดยไม่เป็นอันตรายต่อใบ

- ความสำเร็จทั้งปวงของการปฏิบัติทุกขั้นตอนจะบังเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อต้นมะนาวได้รับการบำรุงจนต้นมี “ความสมบูรณ์สะสม” พร้อมอย่างแท้จริง

กดใบอ่อนสู้ฝน - ทำมะนาวหน้าแล้ง
หลักการและเหตุผล

การที่มะนาวจะออกดอกเดือน ต.ค. ได้นั้น ต้องผ่านการบำรุงสะสม
อาหารเพื่อการออกดอกมาอย่างเพียงพอ โดยช่วง ส.ค. ต่อ ก.ย. ต้องงดน้ำ (ปรับ ซี/เอ็น เรโช.) และประมาณปลาย ก.ย. จึงลงมือเปิดตาดอก จากนั้นในเดือน ต.ค.มะนาวก็จะมีดอกออกมาให้เห็น .... ทุกขั้นตอนของการปฏิบัติต่อมะนาวดังกล่าวมานี้ ปัญหาอยู่ที่ช่วงเดือน ส.ค. ต่อ ก.ย.ซึ่งเป็นหน้าฝน แม้ว่าจะ ได้บำรุงต้นสะสมอาหารเพื่อการออกดอกอย่างสม่ำเสมอดีสักเพียงใด ถ้าต้นมะนาวได้น้ำฝนก็จะแตกใบอ่อนทันที

แนวทางปฏิบัติบำรุงแบบ “กดใบอ่อนสู้ฝน” ต่อมะนาวช่วงเดือน ส.ค. ต่อ ก.ย. เพื่อจะให้มะนาวออกดอกในช่วงเดือน ต.ค. ยังพอทำได้ ด้วยสูตร กดใบอ่อนสู้ฝน ดังนี้.....

ทางใบ :
- ไม่มีฝน : ให้ “น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 100 ซีซี. + 0-42-56 (200 กรัม)” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ....มีฝน : ฉีดพ่นก่อนฝนตก 1 ชม. หรือ หลังฝนหยุดใบแห้ง 30 นาที โดยไม่จำกัดระยะห่างในการให้

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1 ล.) +8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 – 1 กก.) /ต้น ทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน

- เปิดน้าดินโคนต้นให้แสงแดดส่องทั่วถึง
- ทำร่องระบายน้ำป้องกันน้ำ (ฝน) ขังค้างโคนต้น
- งดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้มะนาวซึ่งผ่านการบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกมาอย่างสมบูรณ์แบบแล้วแตกใบอ่อน

- การฉีดพ่นทางใบ “ก่อนฝนตก” ได้ผลดีกว่าฉีดพ่น “หลังฝนหยุด” ดัง นั้นจึงต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศเกี่ยวกับฝนอย่างใกล้ชิด

- จัดเตรียมสูตรสารอาหาร (ตามที่ระบุ) พร้อมกับเครื่องมือในการปฏิบัติ งานให้พร้อมล่วงหน้า สามารถใช้งานได้ทันทีทันใด เพราะการปฏิบัติทุกขั้น ตอน และทุกครั้งต่อทุกต้นมะนาว จะต้องทำให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาตามกำหนดอย่างเคร่งครัด และสม่ำเสมอ

- การปฏิบัติแบบล่วงหน้าก่อนถึงฤดูมรสุม 2-3 เดือน เพื่อเตรียมความพร้อมของต้นจะเสริมให้การปฏิบัติ “ก่อนฝนตก” และ “หลังฝนหยุด” ได้ผลแน่นอนยิ่งขึ้น

- วันใดเห็นฟ้าปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝน) ให้ฉีดพ่นทางใบทันทีก่อนฝนตก (อาจ จะไม่ตกก็ได้) 1 ชม. ในขณะครึ้มฟ้าครึ้มฝนนั้น ในอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูงมาก ซึ่งความชื้นนี้มีน้ำปริมาณที่มากพอจนทำให้ต้นมะนาวแตกใบอ่อนได้ ถ้าไม่ได้ฉีดพ่นก่อนฝนตก ให้ฉีดพ่นหลังฝนตกก็ได้ โดยฉีดพ่นทันทีหลังฝนหยุดใบแห้ง

- ตลอดช่วง ส.ค. ต่อ ก.ย. ถ้ามีฝนตกอย่างต่อเนื่องให้ฉีดพ่นทันที “ก่อนหรือหลัง” ฝนตก หรือถ้าอากาศปิดติดต่อกันหลายๆวัน (ฝนยังไม่ตก) ก็ให้ฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น ทั้งนี้การบำรุงเพื่อ “กดใบอ่อนสู้ฝน” นี้ไม่จำกัดจำนวนครั้งฉีดพ่น หรือสามารถฉีดพ่นแบบวันต่อวัน หรือวันเว้นวันได้ แม้แต่ช่วงกลาง
วัน (วันนี้) ฉีดพ่นให้ทางใบแล้ว ตกกลางคืนมีฝนตกก็ให้ฉีดพ่นทันทีในวันรุ่ง ขึ้นเมื่อมีแสงแดด หรือฉีดพ่นทางใบไปแล้วตอนเช้า ครั้นถึงเที่ยงหรือบ่ายมีฝนตกก็ให้ฉีดพ่นซ้ำอีกหลังฝนหยุดใบแห้งในวันเดียวกันนั้น

- หลังจากฉีดพ่นสารอาหารกลุ่ม “กดใบอ่อนสู้ฝน” ติดต่อกัน 3-4 รอบไปแล้ว ต้นมะนาวจะเกิดอาการใบแก่โคนกิ่งร่วง ใบอ่อนปลายยอดเป็นใบแก่
เนื้อใบหนา เขียวเข้มเป็นมันวาว กิ่งแขนงชูชี้ขึ้น มองจากภายนอกระยะไกลเห็นความสมบูรณ์ทรงพุ่มชัดเจน

- ถึงช่วงปลายเดือน ก.ย. ต่อต้นเดือน ต.ค. ถ้าไม่มีฝนลงมาอีก มะนาวก็จะออกดอกโดยไม่ต้องลงมือเปิดตาดอกอีก .... หลังจากมะนาวออกดอกแล้วก็ให้บำรุงตามขั้นตอนปกติต่อไป

- เทคนิคบังคับมะนาวให้ออกนอกฤดูด้วยวิธีการ “รัดกิ่ง” ร่วมกับ “สารพาโคลบิวทาโซล” โดยใช้พาโคลบิวทาโซล อัตรา 0.5 กรัม /พื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตร.ม. จะทำให้มะนาวออกดอกในฤดูลดลง แต่จะออกดอกนอกฤดูเพิ่มขึ้น

- มะนาวที่ต้นสมบูรณ์มากจนบ้าใบ ให้ราดด้วยพาโคลบิวทาโซล ชนิด 10% อัตรา 15 กรัม /พื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตร.ม. จะช่วยหยุดการแตกใบอ่อน ใบเดิม
จะแก่จัดแล้วเกิดอาการอั้นตาดอก เมื่อลงมือเปิดตาดอกก็จะออกดอกได้ง่าย

** แปรรูปมะนาว :
- มะนาวผง
- มะนาวดอง
– น้ำมะนาวสด
– เก็บผลสดไว้ในทรายชื้น ช่วยยืดอายุผล


************************************************************

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/01/2024 7:50 am, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 29/01/2024 3:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
3. กุหลาบวาเลนไทน์
เกร็ดความรู้เรื่องกุหลาบ :
** พันธุ์กุหลาบ :

- ดอกสีแดง : พันธุ์บราโว. เรดมาสเตอร์พีช, คริสเตียนดิออร์, โอลิม เปียด, นอริค้า, แกรนด์ มาสเตอร์พีช, ปาปามิลแลนด์, และเวก้า

- ดอกสีเหลือง : พันธุ์คิงส์แรนซัม, ซันคิงส์, เฮสมุดสมิดท์, นิวเดย์ โอรีโกลด์ และเมลิลอน
- พันธุ์ดอกสีส้ม : พันธุ์ซันดาวน์เนอร์, แซนดรา, ซุปเปอร์สตาร์ หรือ ทร็อพปิคานา
- พันธุ์ดอกสีชมพู : พันธุ์มิสออลอเมริกาบิวตี้ หรือมาเรีย, คาสลาส, ไอเฟลทาวเวอร์, สวาทมอร์, เฟรนด์ชิพ, เพอร์ฟูมดีไลท์, จูวังแซล, เฟิร์สท์ไพรซ์, อเควเรียส, ซูซานแฮมเชียร์

- พันธุ์ดอกสีขาว : พันธุ์ไวท์คริสต์มาส, เอทีนา
- พันธุ์ดอกสีอื่นๆ : พันธุ์แยงกี้ดูเดิ้ล, ดับเบิ้ลดีไลท์, เบลแอนจ์
- กุหลาบร้อยพวงมาลัย : พันธุ์ฟูซิเลียร์ (ดอกสีส้ม)
* กุหลาบพันธุ์ดี ยิ่งพันธุ์ดีมากเท่าไรระบบรากยิ่งอ่อนแอมากเท่านั้น แก้ไขโดยการเปลี่ยนยอดบนตอ "กุหลาบป่า”

* ปลูกในโรงเรือน หลังซาแลน ควบคุมแสงได้ จะให้ผลผลิตที่ดีกว่าปลูกกลางแจ้ง
* การปล่อยให้ดอกกุหลาบแก่แห้งคาค้นแล้วรอให้ร่วงเอง กุหลาบกิ่งนั้นจะออกดอกใหม่ช้ามาก แก้ไขด้วยการตัดดอกเมื่อเห็นว่าแก่จัด ใช้ประโยชน์ ไม่ได้แล้วทิ้งไป จากนั้นประมาณ 30-45 วันจะออกดอกใหญ่ ณ ที่เดิม

* กุหลาบก้านดอกยาว : ทำโดยโน้มกิ่งประธานลงระนาบกับพื้น มีเชือก
ผูกยึดไว้ ตัดปลายกิ่ง ริดใบในกิ่งออกหมด แล้วบำรุงเรียกใบอ่อน ก็จะเกิดกิ่งกระโดงใหม่ทั่วกิ่งประธานที่โน้มกิ่งแล้วตัดนั้น จำนวนกิ่งกระโดงใหม่ทั้งหมด เลือกกิ่งที่เหมาะ สมไว้ 2-3 กิ่ง ที่เหลือตัดทิ้งทั้งหมด แล้วบำรุงเรียกใบอ่อนไปเรื่อยๆ จนได้ความสูง (ยาว) กิ่งตามต้องการ จึงบำรุงด้วยสูตรเปิดตาดอก ... ถึงช่วงจะเอาดอกให้บำรุงด้วย “น้ำ 20 ล. + ไทเป 20 ซีซี.”

* กุหลาบดอกไม่มีก้าน : ตัดแต่งกิ่งปกติ ให้ “น้ำ 20 ล.+ ไทเป 20 ซีซี.” ใช้สูตรเดียวได้เลย

* กุหลาบชอบดินเหนียวมีอินทรีย์วัตถุ มากกว่าดินร่วนมีอินทรีย์วัตถุ
* ชอบความชื้นน้อยๆ สม่ำเสมอ
* ชอบดินปลูกที่คลุมด้วยหญ้าไซ
* ตอบสนองต่อกระดูกป่น ดีมากๆ
* ต้องการแสงแดด 100%
* ในสภาพอุณหภูมิสูง (ร้อน/ภาคกลาง 15 วันออกดอก) ดอกเจริญ
เติบโตเร็วกว่าสภาพอุณหภูมิต่ำ (หนาว/ภาคเหนือ.....20 วันออกดอก)

* ต้องการให้ก้านดอกยาวๆ เมื่อยอดเริ่มเกิดขึ้นแล้ว หลังสิ้นแสงอาทิตย์
ให้แสงไฟเพื่อเพิ่มเวลาแสง ก้านนั้นจะยาวขึ้นเรื่อยๆ เมื่อได้ความยาวก้านตามต้องการแล้วก็หยุดให้แสง แล้วให้ปุ๋ยเปิดตาดอก ก็จะได้กุหลาบก้านยาว

* วิธีเก็บรักษาดอก
- นำไปแช่ในน้ำยารักษาสภาพดอกไม้ อุณหภูมิ 2 องศา ซ. ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เก็บได้นาน 4-5 วัน

- ใส่กล่องรองด้วยพลาสติกเก็บไว้ในห้องเย็น อุณหภูมิ 0.5-3 องศา ซ. เก็บได้ นาน 1-2 สัปดาห์
- ยืดอายุดอกกุหลาบ (1) : น้ำสะอาด 1 ล. + น้ำตาลทาย 1 ช้อนชา + น้ำ ส้มสายชู ½ ช้อนชา

- ยืดอายุดอกกุหลาบ (2) : น้ำสะอาด 1 ล. + กลูโคส 5 ซีซี.
- ยืดอายุดอกกุหลาบ (3) : น้ำสะอาด 1 ล.+ ไฮเตอร์ 1-2 ซีซี.
- ยืดอายุดอกกุหลาบ (4) : น้ำสะอาด 1 ล. + น้ำมะพร้าวแก่ 50 ซีซี.
- ยืดอายุดอกกุหลาบ (5) : น้ำสะอาด 1 ล. + DICA 30 มก. + ซูโครส 5 ซีซี.
- ใช้กรรไกรหรือมีดคมๆ ตัดให้เฉียงแบบปากฉลาม นำจุ่มทันที จะช่วยให้ดอกสดนาน 7-10 วัน

การตัดแต่งกิ่ง :
1. ตัดแต่งกิ่งแบบให้เหลือกิ่งไว้กับต้นยาว คือ ตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็ก น้อย ให้เหลือกิ่งที่มีใบสมบูรณ์ไว้มากๆ .... กิ่งที่ต้องตัดออก คือ กิ่งแห้งตาย
กิ่งเป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย กิ่งไขว้ กิ่งชี้ลงล่าง กิ่งชี้เข้าในทรงพุ่ม กิ่งเอนไม่เป็นระเบียบ เลือกตัดกิ่งที่ตัดแล้วให้ตาอยู่ด้านบนของกิ่งหันออกนอกพุ่ม เพื่อให้กิ่งที่แตกใหม่หันออกนอกทรงพุ่ม และตัดกิ่งให้เฉียง 45 องศา.... การตัดแต่งกิ่งแบบนี้เหมาะสำหรับต้นที่มาจากกิ่งตอน หรือกิ่งชำ

2. การตัดแต่งกิ่งแบบให้เลือกกิ่งไว้กับต้นสั้น คือ ตัดแต่งกิ่งจนเหลือกิ่งบนต้นสูงจากพื้นดิน 30-45 ซม. เหลือกิ่งไว้ 3-4 กิ่งเท่านั้น การตัดแต่งกิ่งแบบนี้เหมาะสำหรับต้นที่ปลูกจากต้นติดตาเพียงเท่านั้น.... ถ้าต้นติดตานั้นมีอายุน้อย กว่า 2 ปี ให้ตัดแต่งกิ่งแบบแรก แต่ต้องตัดเพิ่มเติมอีก คือ กิ่งแก่ที่ไม่ต้องการ

* ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการตัดแต่งกิ่ง คือ ต้นฤดูฝน เมื่อตัดแต่งกิ่งแล้วควรใช้ปูนกินหมกทาบนรอยแผลเพื่อป้องกันเชื้อรา

การตัดดอก :
- การตัดดอกกุหลาบ ควรให้มีกิ่งเหลืออยู่อย่างน้อย 2 กิ่งเสมอ ไม่ควรตัดชิดโคนกิ่ง และเมื่อตัดดอกออกจากต้นแล้วให้รีบแช่ก้านดอกในน้ำทันที เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำจากกิ่ง

- ตัดดอกตูมเกินไป ดอกจะไม่บานต่อ และคอดอกจะโค้งงอง่าย .... ถ้าตัดดอกที่บานเกินไป ดอกจะบานเร็ว และมีอายุการปักแจกันสั้น

เตรียมดิน เตรียมแปลง :
- ไถดะ ขี้ไถใหญ่ๆ ตากแดด 15-20 แดดจัด .... ไถแปร ทำแปลงลูกฟูก ใส่กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วสันแปลงลูกฟูก พรวนดินให้คลุกเคล้าเข้ากันดี แล้วคลุมสันแปลงด้วยหญ้าแห้งฟางแห้งหนาๆ บ่มดิน 15-20 วัน

- ระหว่างบ่มดิน ให้น้ำพอหน้าดินชื้น 2-3 วัน/ครั้ง

การเตรียมต้น :
- บริหารจัดการ “ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก” (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) อย่างถูกต้องเหมาะสมสม่ำเสมอ

- บำรุงต้นให้ความสมบูรณ์อยู่เสมอตลอดปีเพื่อให้ต้นได้ “สะสมความสมบูรณ์” ไว้ล่วงหน้า
- สารอาหารพื้นฐานต่อการออกดอก คือ “สังกะสี” กับ “โบรอน” แล้วเสริมด้วย “น้ำตาลทางด่วน” ตามความเหมาะสม

- ใส่กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ปีละ 2 ครั้ง
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง หรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน /ครั้ง

การบำรุงก่อนบังคับ :
* ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 20 ล. + ไบโออิ 20 ซีซี.” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม
โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

– ให้น้ำตาลทางด่วน เดือนละครั้ง
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรบ่อยๆ

* ทางราก :
- พรวนดิน พูนดินโคนต้น คลุมโคนต้นด้วยหญ้าแห้ง
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1 ล.) /ไร่ /เดือน
- ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

การบังคับ :
บำรุงกุหลาบให้ออกวันวาเลนไทน์ :

- ต้องการตัดดอกวันที่ 14 ก.พ. ให้เริ่มลงมือปฏิบัติการ 1 ม.ค.
– เผื่อเหลือเผื่อขาด หรือเผื่อขาดเผื่อเกิน แบ่งเป็นโซน แต่ละโซนลงมือปฏิบัติการก่อนวันตัดดอก 1 - 2 - 3 - 4 – 5 วัน และหลังวันตัดดอก 1 – 2 – 3 – 4 - 5 ตามลำดับ เพื่อ ให้ได้อายุดอกต่างกัน

* บำรุงเรียกก้านดอก : ให้ "น้ำ 20 ล. + ไบโออิ 20 ซีซี. + จิ๊บเบอเรลลิน 20 ซีซี." หลังตัดแต่งกิ่ง ทุก 3-5 วัน จนกว่าจะได้กิ่งขนาดยาวตามต้องการ

* บำรุงเรียกดอก : ให้ "น้ำ 20 ล.+ ไทเป 20 ซีซี." เมื่อได้ขนาดยาวของ ก้านดอกตามต้องการแล้ว 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน

* บำรุงเรียกก้านดอกยาว
- เลือกกิ่งกลางอ่อนกลางแก่ (กิ่งประธาน) โน้มกิ่งลงระนาบกับพื้น ยึดกิ่งกับหลัก ให้มั่นคง ตัดปลายกิ่งที่รอยต่อระหว่างกิ่งแก่ (เปลือกสีเทา) กับกิ่งอ่อน (เปลือกสีเขียว) ตัดกิ่งเล็กกิ่งน้อยด้านในออกให้หมด หรืออาจจะเหลือ 1-2 กิ่งในจำนวนกิ่งทั้งหมด 10 กิ่ง ก็ได้

- ตัดปลายกิ่ง (ประธาน) และกิ่งเล็กกิ่งน้อยแล้ว บำรุงเรียกกิ่งใหม่ด้วย "น้ำ 20 ล.+ ไบโออิ 20 ซีซี. + จิ๊บเบอเรลลิน 20 ซีซี." ทุก 3-5 วัน....พร้อมกับให้ทางรากด้วย "น้ำ 100 ล. + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) + 25-5-5 (500 กรัม)" ทุก 5-7 วัน ตอนเย็น ที่โคนต้นบริเวณทรงพุ่ม

- หลังจากให้ "ไบโออิ + จิ๊บเบอเรลลิน" ไปแล้ว ที่ข้อของกิ่งประธานจะเกิดยอดใหม่จำนวนมาก ให้คัดเลือกไว้ 1-2-3 ยอด จัดระยะให้ห่างเท่าๆ กันเพื่อเฉลี่ยสารอาหาร แล้วบำรุงด้วยสูตรเดิมต่อไป ซึ่งกิ่งที่แตกใหม่ก็จะยาว (สูง) ขึ้นเรื่อยๆ เป็นกิ่งตรง ขนาดใหญ่อวบอ้วน ในต้นที่มีความสมบูรณ์มากๆ แสงแดด/อุณหภูมิ เหมาะสม อาจได้ความยาวกิ่ง 80 ซม.- 1 ม.

- เมื่อได้กิ่งที่มีขนาดยาวตามต้องการแล้ว ให้ลงมือเปิดตาดอกด้วย "ไท เป" กุหลาบกิ่งนั้นก็จะออกดอก.... กุหลาบก้านยาวพิเศษ (80 ซม.) ราคาสูงกว่ากุหลาบก้านสั้น (20-30 ซม.) หลายเท่าตัว

* ต้องการตัดดอกวันที่ 14 ก.พ. ให้ลงมือตัดแต่งกิ่งในวันที่ 1 ม.ค. ถ้าใน
ธรรมชาติมีตัวเลขและสูตรสำเร็จก็จะได้ดอกในวันที่ 14 ไม่ผิดพลาด.... เมื่อในธรรมชาติไม่มีตัวเลขและสูตรสำเร็จ ก็ต้องเผื่อเหลือเผื่อขาด โดยตัดแต่งกิ่งวัน
ที่ 29 - 30 - 31 ม.ค. หรือ +/- 3 ของวันตัดดอก แบบนี้ก็น่าจะได้ดอก 25-50% ของกุหลาบทั้งสวนตรงวันวาเลนไทน์พอดี

** กุหลาบย้อมสี :
* อุปกรณ์ :
- ดอกกุหลาบสีขาว
- สีผสมอาหาร
- แก้วน้ำ
- น้ำอุ่น
- น้ำส้มสายชู
- กลูโคส
- น้ำยาฟอกผ้าขาว

* วิธีทำ :
1. เลือกกุหลาบีขาวบริสุทธิ์ สดใหม่สมบูรณ์ บานมาก/น้อยตามต้องการ ดอกที่บานมากกว่าจะได้ผลดีกว่าดอกบานน้อยกว่า

2. ใช้น้ำสะอาด 1 ล. + สมสายชู 2 ช้อนโต๊ะ + กลูโคส 2 ช้อนโต๊ะ + น้ำยาฟอกขาว ½ ช้อนโต๊ะ ใส่ทีละอย่างคนให้เข้ากันดีก่อนจึงใส่ตัวใหม่ ใส่ครบแล้วนำลงผสมกับน้ำอุ่น 4 ล. ใส่ช้าๆ พร้อมกับคนให้เข้ากันดี จากนั้นจึงเติมสีผสมอาหาร (สีที่ต้องการ) ลงไป 10-15 หยด หรือมากกว่าเพื่อความเข้มของสี ใส่ช้าๆ พร้อมกับคนให้เข้ากันดีเช่นกัน สังเกต น้ำที่ผสมทุกรายการครบแล้วมีสี “ใส/สด” เป็นอันใช้ได้ ก็จะได้ “น้ำยาย้อมสี” ดอกกุหลาบตามต้องการ

3. นำดอกกุหลาบพร้อมก้านมาตัดปลายก้านด้วยมีดคุมๆ 1 นิ้ว เฉียง 45 องศา แล้วจุ่มเฉพาะโคนก้านลงไปในน้ำลึกๆ หรือจุ่มทั้งก้านทั้งดอกลงไปนอนแช่ในน้ำยาย้อมเสียเลยก็ได้

4. คอยสังเกตทุกๆ ชม. จะพบการเปลี่ยนสีของกลีบดอกกุหลาบตาม ลำดับ เนื่องจากกุหลาบ (รอยตัดที่โคนก้าน) ดูดน้ำยาย้อมเสียเข้าไป จากโคนก้านไปถึงกลีบดอก ทำให้สีของกลีบดอกเปลี่ยนไปเป็นสีในน้ำย้อมสี กระทั่งครบ 24 ชม. กระบวนการดูดน้ำยาย้อมสีจะหยุดดูดสิ้นสุดลง สุดท้ายก็จะได้กุหลาบดอกใหม่ที่กลีบมีสีตามสีน้ำย้อม

5. ถ้าต้องการทำดอกกุหลาบในดอกเดียวกันให้มีหลายสี ให้ผ่าก้านตามทางยาว แบ่งเป็นแฉกๆ แต่ละแฉกยาว 2-3 นิ้ว แล้วใส่แต่ละแฉกลงไปในแก้วที่ผสมสีเอาไว้แล้ว แยก 1 แฉก : 1 แก้ว : 1 สี เพื่อให้แต่ละแฉกแยกกันดูดสี จากนั้นก็รอเวลาให้ก้านดอกลำเลียงน้ำย้อมสีขึ้นส่งไปยังกลีบดอกเต็มที่แล้ว ถือเป็นพิธี

- ต้องการทำครั้งละมากๆ (30-50 ดอก) เป็นสีเดียว ใช้กะละมังเป็นภาชนะผสมน้ำยาย้อมสี แล้วใส่กุหลาบทั้งก้านลงไปนอนแช่เลยก็ได้

- ช่วงอากาศร้อน ใช้เวลาประมาณ 24 ชม. .... ช่วงอากาศหนาวเย็น ใช้เวลาประมาณ 48 ชม.

– นำกุหลาบที่ผ่านการย้อมเสียเรียบร้อยแล้ว ลงแช่ในน้ำสะอาด 10-15
นาที ก็พร้อมนำไปใช้งานได้

** ชม ชิม ช็อป :
- รับออร์เดอร์ทำกุหลาบสีตามต้องการ พร้อมจัดส่ง
– ทำกุหลาบย้อมสีจำหน่ายประจำ

** แหล่งท่องเที่ยว :
- สร้างสวนกุหลาบ หลากหลายสายพันธุ์เพื่อการท่องเที่ยว
- สร้างโฮมเสตย์


**********************************************************


4. กล้วยหอม :
เกร็ดความรู้เรื่องกล้วยหอม :

-พันธุ์ผลสีเหลืองที่นิยมมากที่สุด คือ “กล้วยหอมทอง” กับพันธุ์ที่รูป ทรงเหมือนกันแต่ขนาดใหญ่กว่ามาก คือ “กล้วยหอมไต้หวัน”

- กล้วยหอมชอบและตอบสนองดีมากๆ ต่อผักปอดคลุมโคนต้น หว่านทับบางๆด้วย ยิบซั่ม, ขี้วัวขี้ไก่, กระดูกป่น ทำครั้งเดียวหลังปลูกอยู่ได้ถึงตัดเครือ จากนั้นรดทับด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงเดือนละครั้ง

- ค่อนข้างอ่อนแอต่อน้ำขังแฉะ
- หน่อที่ดีที่สุด คือ หน่อชิด (หน่อแรกติดต้นแม่) ใบแคบ ส่วนหน่อที่คุณภาพไม่ดี คือ หน่อตาม หน่อใบกว้าง....ต้นปลูกใหม่เป็นตอแรกจะดีกว่าต้นที่โตจากหน่อ

- เลือกพื้นที่ปลูกแบบไม่ซ้ำที่ หรือเลือกพื้นที่ปลูกใหม่เป็นตอ 1 ทุกครั้งทุกครั้ง .... การปลูกซ้ำที่ 2-3-4 รอบ มักเกิดโรค “ตายพราย” เชื้อโรคตัวนี้เป็นไวรัส ไม่มีสารเคมีหรือสารสมุนไพรใดกำจัดได้ แก้ไขโดยไม่ปลูกซ้ำที่เท่านั้น

- ลงมือปลูกช่วงปลายฝนต่อต้นหนาว จะช่วยให้ต้นโตเร็ว
- อายุต้นหลังปลูก 3-4 เดือนจะเริ่มแทงหน่อ เมื่อหน่อสูง 50-80 ซม.ให้ตัดหน่อเหลือตอสูงจากพื้น 15-20 ซม. และตัดซ้ำทุกครั้งที่หน่อสูง 50-80 ซม.โดยให้รอยตอดครั้งหลังสูงกว่ารอยตัดครั้งก่อน 5-10 ซม. เสมอ จนกระทั่ง
ต้นแม่อายุ 7-8 เดือน ให้เลือกหน่อชิด 1-2 หน่อที่อยู่คนละด้านกับต้นแม่ เพื่อแทนต้นแม่หลังจากตัดเครือและล้มต้นแม่แล้ว หน่อที่เลือกไว้นี้ไม่ต้องตัดต้นต่อไปอีก ส่วนหน่อตามหรือหน่ออื่นๆ ให้ตัดต้นตามปกติ หรือขุดแยกออกไปหลังตัดเครือต้นแม่แล้ว

- ช่วงที่ยังไม่ออกเครือให้เลี้ยงใบไว้ทั้งหมด แต่ช่วงที่ออกเครือแล้วให้ไว้ใบ 9-10 ใบ จะช่วยให้ต้นไม่เฝือใบ ไม่โทรม และได้ผลผลิตดี

- หลังจากตัดปลีแล้ว 20-30 วัน ให้ห่อเครือด้วยถุงโปร่งแสงขนาดใหญ่ เปิดก้นถุง เพื่อให้ลมผ่านและอากาศถ่ายเท หรือห่อด้วยใบของเขาเอง

- กล้วยหอมปลูกตื้น ระบบรากมีน้อย ไม่อาจรับน้ำหนักเครือขนาดใหญ่ได้ จึงจำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม

- ธรรมชาติของกล้วยหอม ถ้าต้นสมบูรณ์ “ต้นสูงใหญ่-เครือใหญ่-จำ นวนหวีมาก-แต่ละหวีลูกมาก-ทุกลูกใหญ่” แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์ “ต้นเตี้ยเล็ก-เครือเล็ก-จำนวนหวีน้อย-แต่ละหวีลูกน้อย-ทุกลูกเล็ก” ก็เป็นธรรมดา

- กล้วยหอมเพาะเนื้อเยื่อ (รวมกล้วยทุกสายพันธุ์) ปลูกแล้วได้ต้นใหญ่ตามสายพันธุ์ ออกเครือพร้อมกันทุกต้น หรือพร้อมกันทั้งแปลง

– ธรรมชาติของกล้วยเมื่อผลในเครือแก่ได้ 3 ใน 4 ของเครือ ใบธงจะเริ่มเหลืองโทรม นั่นคืออาการหมดอายุขัย ในเมื่อผลอีก 1 ใน 4 ของเครือที่ปลายเครือยังแก่ไม่จัดแล้วใบเลิกสังเคราะห์อาหาร จึงไม่ได้รับสารอาหาร เป็นผลให้กลุ่มหวีปลายเครือไม่สมบูรณ์ หรือสมบูรณ์ไม่เต็มที่ กรณีนี้แก้ไขด้วยการให้ “แม็กเนเซียม-สังกะสี (ไบโออิ)” สม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกถึงตัดเครือ ใบธงก็จะเขียวยันวันตัดเครือให้เอง

- หมั่นตัด ก้านแห้ง ใบแห้ง ออกเสมอ เพื่อป้องกันโรคแมลง และช่วยให้อากาศถ่ายเทสะดวก ส่งผลให้ต้นสมบูรณ์

เตรียมดิน เตรียมแปลง :
- ไถดะ ขี้ไถใหญ่ๆ ตากแดด 15-20 แดดจัด .... ไถแปร ทำแปลงลูกฟูก ใส่กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วสันแปลงลูกฟูก พรวนดินให้คลุกเคล้าเข้ากันดี แล้วคลุมสันแปลงด้วยหญ้าแห้งฟางแห้งหนาๆ บ่มดิน 15-20 วัน

- ระหว่างบ่มดิน ให้น้ำพอหน้าดินชื้น 2-3 วัน /ครั้ง

การเตรียมต้น และการบังคับ :
- ช่วงระยะเวลาปลูกถึงตัดเครือ คือ เลี้ยงเหง้า 3 เดือน, เลี้ยงต้นถึงออกปลี 8 เดือน, เลี้ยงเครือ 3 เดือน รวมทั้งสิ้น 14 เดือน นั่นคือ กำหนดวันตัดเครือ ในปฏิทินแล้วนับถอยหลัง แต่ละระยะ ถึงวันเริ่มเลี้ยงเหง้า แล้วลงมือปลูก

* หมายความว่า วันนี้ลงหน่อแล้วบำรุง 1 เดือนครึ่ง ให้ตัดหน่อครั้งที่ 1 บำรุงต่อไปอีก 1 เดือนครึ่ง ให้ตัดหน่อครั้งที่ 2 หลัง วันตัดหน่อครั้งที่ 2 แล้ว
คือวันเริ่มนับอายุวันที่ 1 ของต้น จากนั้น +อายุต้น 8 เดือน +อายุเครือ 3 เดือน

* เหตุผล ตัดหน่อ 2 ครั้ง เพื่อให้ได้เหง้าใหญ่ๆ และหลังตัดหน่อแล้วทุกหน่อจะเริ่มนับอายุพร้อมกันทุกต้น หรือพร้อมกันทั้งสวน

กล้วยหอมแจ๊คพ็อต :
- กล้วยหอมราคาดีมากช่วงเทศกาล ตรุษจีน, สาร์ทจีน, เชงเม้ง, ไหว้พระจันทร์. ผลที่มีขนาดใหญ่ จำนวนผลในหวีมาก สีจัด ไร้ตำหนิ มีราคาแพงมาก ลักษณะสีเหลืองเปรียบเสมือนสีทอง ถือเป็นโหงวเฮ้งที่ดี คนซื้อใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้

- ผลสุกเต็มที่ในวันเซ่นไหว้ถือว่าดีที่สุด แต่ปัจจุบันค่านิยมบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป กล้วยหอมที่ลักษณะทุกอย่างดี แต่ยังดิบอยู่ก็ใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้ได้เช่นกัน

ระยะพัฒนาการของกล้วยหอม :
- ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงแทงปลี 7-8 เดือน
- ตั้งแต่แทงปลีถึงเก็บเกี่ยว 70-80 วัน หรือ....
- ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงตัดเครือ 10 เดือนครึ่ง

เทคนิคการทำให้ตัดเครือได้ ณ วันที่ต้องการ :
1. จากวันตัดเครือให้นับถอยหลังในปฏิทิน 10 เดือน สำหรับการเลี้ยงต้น
2. จากระยะ 10 เดือนสำหรับการเลี้ยงต้น ให้นับถอยหลังต่ออีก 2 เดือน
สำหรับการเลี้ยงเหง้า
3. จากระยะ 2 เดือนสำหรับการเลี้ยงเหง้า ให้ลงหน่อสำหรับการตัดต้นก่อนเลี้ยงต้น

สรุป :
- ลงหน่อ 2 เดือน เลี้ยงเหง้าแล้วตัดต้น +10 เดือน สำหรับการเลี้ยงต้น .... หรือ
- วันที่ตัดต้น คือ วันเริ่มนับอายุ เริ่มปลูก ถึง ตัดเครือ ..... หรือ
- ลงหน่อก่อนวันตัดเครือ 12 เดือน

หมายเหตุ :
- ในธรรมชาติไม่มีตัวเลขและไม่มีสูตรสำเร็จ วันที่ตัดเครือ คือ วันที่กล้วยยังดิบอยู่ หากต้องการขายกล้วยสุก ก็ต้องตัดเครือล่วงหน้า 7 วัน สำหรับบ่ม

- กำหนดวันตัดเครือล่วงหน้า 7-15 วัน ต้องเปลี่ยนวันลงหน่อก่อน 12 เดือน เป็น 12 เดือนครึ่ง ก็จะทำให้มีกล้วยออกตลาดตั้งแต่ก่อนวันไหว้ ถึงวันไหว้ 10-15 วัน

- กล้วยหอม ท่ายางเพชรบุรี บำรุงด้วยสูตรสหประชาชาติ ปรากฏผลใหญ่เกิน ส่งออกญี่ปุ่นไม่ได้ แต่ห้างในประเทศชอบ มีเท่าไหร่รับทั้งหมด จองล่วงหน้าด้วย

บำรุงกล้วยหอม :
** ระยะต้นเล็ก :
- ทางใบ : ให้ “น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 100 ซีซี.” 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน

- ทางราก : ขี้วัวขี้ไก่, กระดูกป่น ครั้งแรกช่วงเตรียมดินเตรียม แปลง .... ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิด เทิง 8-24-24 (2 ล.) +8-24-24 (2-3 กก.) /เดือน /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ...ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

** ระยะก่อนออกปลี :
- ทางใบ : ให้ “น้ำ 100 ล. + ไทเป 100 ซีซี.” 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน .... เมื่อเห็นว่าในเครือนั้นจะได้อีก 2 หวี ซึ่งเป็น 2 หวีสุดท้ายของเครือแน่แล้ว ให้ “น้ำ 20 ล.+ เอ็นเอเอ. 20 ซีซี. นอกจากจะช่วย 2 หวีสุดท้ายเป็นหวีที่สมบูรณ์แล้ว ยังจำนวนหวีเพิ่มขึ้นอีก 2 หวี

- ทางราก : ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

** ระยะออกเครือ :
- ทางใบ : ให้ “น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 50 ซีซี. + ยูเรก้า 412 (50 ซีซี.)” 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน .... ให้น้ำ ตาลทางด่วน 1-2 ครั้ง ระยะห่างตามความเหมาะสม ตลอดอายุผลในเครือ

- ทางราก : ใส่ ขี้วัวขี้ไก่, กระดูกป่น ครั้งที่ 2 หลังตัดปลี....ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) +21-7-14 (2-3 กก.) /เดือน /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว .... ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ก่อนตัดเครือ 2-3 อาทิตย์ ฉีดพ่นด้วยน้ำคั้นมะเขือเทศสุก ให้ทั่วต้นแต่เน้นที่เครือโดยตรง 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 1 อาทิตย์ หลังจากตัดเครือและนำไปบ่มจนสุกแล้วจะได้รสชาติและกลิ่นดีมาก

- ก่อนตัดเครือ 2-3 อาทิตย์ เจาะรูขนาดตะเกียบที่ลำต้น 3 รูตรงข้ามกันเหมือนตรารถเบ็นซ์ ณ ความสูง 3 ใน 4 ของความสูงจากพื้นถึงก้านแรก ของต้น ให้ปลายรูชนกันที่ใจกลางต้นพอดี ใส่แป้งข้าวหมากบดละเอียดลงไปในรูให้เต็มทั้ง 3 รู ปล่อยทิ้งไว้จนตัดเครือ เมื่อผลกล้วยสุกแล้วจะมี กลิ่น/รส ดีมากๆ

** แปรรูปกล้วย :
1. กล้วยอบเนย
2. กล้วยฉาบ
3. แป้งกล้วย
4. น้ำผลไม้
5. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
6. กล้วยตาก
7. กล้วยกวน
8. ทอฟฟี่กล้วย
9. ข้าวเกรียบกล้วย

*************************************************************

5. แก้วมังกร :
เกร็ดความรู้เรื่องแก้วมังกร :

* เป็นพืชอวบน้ำ ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่มากจนแฉะหรือขังค้าง ถ้าได้น้ำน้อยต้นจะเกิดอาการกิ่งก้านเล็กเรียว ยาวเก้งก้าง ไม่สมบูรณ์ ไม่ออกดอกติดผล แต่ถ้าได้รับน้ำมากเกินไปถึงต้นจะสมบูรณ์แต่ก็ไม่ออกดอกติดผล (เฝือใบ) เหมือนกัน

* ไม่มีใบเหมือนต้นไม้ผลทั่วๆไป แต่อาศัยเปลือกสีเขียวของกิ่งหรือก้านทำหน้าที่แทนใบ
* ตาดอกอยู่ที่ข้อใต้หนาม ออกดอกได้ทั้งจากตาที่ข้อใต้หนาม และจากตาที่ส่วนปลายสุดของกิ่ง
* อายุดอกตั้งแต่เริ่มออกมาขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว ถึงดอกบาน 15 วัน
* อายุผลตั้งแต่ผสมติด หรือกลีบดอกร่วงถึงเก็บเกี่ยว 30 วัน
* ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ผสมกันเองหรือผสมข้ามดอกข้ามต้นได้

* ดอกบานพร้อมผสมช่วงหัวค่ำระหว่างเวลา 19.00-21.00 น. บานเพียงคืนเดียว เมื่อถึงเช้าวันรุ่งขึ้นก็โรย

* ออกดอกติดผลดีในฤดูกาลที่ช่วงกลางวันนานกว่ากลางคืน โดยช่วงเดือน เม.ย.- ต.ค. สามารถออกดอกได้ตลอด หลังเก็บเกี่ยวไปแล้วอีก 15–20 วัน จะมีดอกชุดใหม่ตามออกมาอีก ครั้นถึงช่วงเดือน พ.ย.– มี.ค. หรือช่วง
อากาศหนาวเย็นจะพักต้น และไม่ออกดอก

* ช่วงอากาศหนาวเย็นแม้จะออกดอกตามธรรมชาติได้ แต่จำนวนดอกจะน้อยกว่าช่วงอากาศร้อน
* การใช้จิ๊บเบอเรลลิน.หรือ เอ็นเอเอ. อย่างใดอย่างหนึ่ง ฉีดพ่นพอเปียกใบ (กิ่ง) ก่อนดอกบาน 11 วัน จะช่วยให้ผลมีน้ำหนัก ความหวาน ความแน่นเนื้อ ความหนาเปลือก สีเนื้อ สีเปลือก และกลีบผล มีคุณภาพดีขึ้น

* ช่วงผลโตประมาณขนาดเท่าไข่ไก่ บำรุงด้วย "น้ำ 100 ล. + จิ๊บเบอเรล
ลิน 100 ซีซี. + ยูเรีย จี. 400 กรัม" 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน จะช่วยให้ผลโดเร็ว และคุณภาพดี

* กิ่งใหญ่ อวบอ้วน ยาว 50-80 ซม. ออกดอกได้ดีกว่ากิ่งเรียวเล็กยาว
* กิ่งเล็กเรียวยาวเขียวอ่อน คือ ลักษณะงามแต่ใบจึงไม่ออกดอก แก้ไขโดยเมื่อกิ่งนั้นยาว 1-1.20 ม. ให้เด็ดปลายกิ่ง 3-4 ข้อทิ้ง หลังจากถูกเด็ดปลายแล้ว กิ่งนั้นจะใหญ่และเขียวเข้มขึ้น ซึ่งพร้อมต่อการออกดอกติดผลต่อไป

* อายุต้น 6-8 เดือนขึ้นไป เมื่อกิ่งหรือยอดเลื้อยเกาะหลักขึ้นไปได้สูง 80-120 ซม. จนสุดหัวหลักยอด กิ่งนั้นจะชี้ลงเองแล้วพัฒนาเป็นกิ่งแก่ ซึ่งกิ่งแก่ชี้ลงนี้ออกดอกติดผลได้ง่าย และดีกว่ากิ่งชี้ขึ้น

* ต้นที่มีกิ่งน้อยๆ (30-50%) หัวหลักโปร่ง แสงแดดส่องทั่วทุกกิ่ง จะออกดอกติดผลดีกว่าต้นที่มีกิ่งมากๆ จนหัวหลักแน่นทึบ แก้ไขด้วยการหมั่นตัดแต่งกิ่ง โดยตัดโคนกิ่งชิดหัวหลัก และหมั่นตัดกิ่งแขนงที่งอกออกมาจากกิ่งประธานอยู่เสมอ

* ต้นอายุมากๆ หรือแก่จัด เริ่มให้ผลผลิตน้อยลง แก้ไขด้วยวิธีตัดแต่งกิ่งแบบทำสาว โดยตัดทิ้งกิ่งส่วนที่อยู่เหนือค้างออกทั้งหมด หรือตัดต้นที่เสาต่ำกว่าค้างให้เหลือส่วนตอเกาะเสาหรือหลัก 1 ม. จากนั้นบำรุงเรียกกิ่ง (ใบ) อ่อนใหม่ เมื่อกิ่งอ่อนใหม่เจริญเติบโตขึ้นก็จะออกดอกติดผลเหมือนการปลูกด้วยต้นตอครั้งแรก

* เทคนิคล่อรากด้วยการใช้กาบมะพร้าวคลุมโคนต้นหนา 20-30 ซม. ทั่วพื้นที่ทรงพุ่ม หว่านทับด้วยปุ๋ยคอก เสริมด้วยยิบซั่มธรรมชาติ กระดูกป่น และจุลินทรีย์ จะช่วยให้รากขึ้นมาหาอาหารบนกาบมะพร้าวที่มีอากาศถ่ายสะดวก ส่งผลให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรงดีกว่าการปล่อยรากเดินอิสระใต้ผิวดิน

* ต้องการให้แก้วมังกรที่เลื้อยขึ้นถึงค้างบนหัวเสาแล้วแตกยอดใหม่เร็วและจำนวนมากๆ ให้ใช้หญ้าแห้ง หรือฟางแห้งคลุมหัวเสาหนาๆ

* เริ่มห่อผลเมื่ออายุผล 15 วัน หรือ 2 สัปดาห์ หลังกลีบดอกร่วง
* ตรวจสอบอาการอั้นตาดอก ด้วยการใช้ปลายเล็บขูดผิวเปลือกบริเวณตุ่มตา (ใต้หนาม) ดูเนื้อในไต้เปลือก ถ้าเนื้อในใต้หนามเป็นสีเหลืองอมน้ำตาลแสดงว่าอั้นตาดอกดี เมื่อเปิดตาดอกจะออกเป็นดอก แต่ถ้าเนื้อในใต้หนามเป็นเขียว แสดงว่ายังอั้นตาดอกไม่ดี เปิดตาดอกไม่ออก

* ห่อผลแก้วมังกรด้วยถุงใยสังเคราะห์จะช่วยรักษาผิวและสีเปลือกได้ดีกว่าถุงห่ออย่างอื่น
* อายุผลครบกำหนดเก็บเกี่ยวหรือ 30 วันหลังกลีบดอกร่วง สีเปลือกแดงดีแล้วสามารถปล่อยฝากต้นต่อไปได้อีก 15 วัน โดยสีเปลือกที่เคยแดงเข้มจะลด ลงมาเป็นแดงอมชมพู แต่ขนาดผลจะใหญ่ขึ้น รสชาติ และน้ำหนักดีขึ้นไปอีก

* ช่วงที่ผลกำลังพัฒนาแล้วมีฝนตกชุกให้บำรุงด้วย "ธาตุรอง/ธาตุเสริม"
ถี่ขึ้นระดับวันเว้นวัน จนถึงเก็บเกี่ยวจะช่วยให้คุณภาพผลดี รสหวาน เนื้อแน่น
เปลือกบาง แต่ถ้าบำรุงด้วย ธาตุรอง/ธาตุเสริม ไม่ถึงจะทำให้รสเปรี้ยว หรือจืดชืด เนื้อเหลว เปลือกหนา

* ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวแล้วมีฝนตกชุก สีเปลือกจะไม่แดงแต่ยังคงเขียวให้บำรุงด้วย ธาตุรอง/ธาตุเสริม ถี่ๆ วันเว้นวันต่อไป จนกระทั่งครบกำหนดวันเก็บซึ่งสีเปลือกยังเขียวอยู่ เก็บมาแล้วปล่อยทิ้งให้ลืมต้น 2-3 วัน สีเปลือกจะเปลี่ยนจากเขียวเป็นแดงเอง ส่วนรสชาติก็จะยังคงดีเหมือนเดิม

* ผลแก้วมังกรที่ได้รับ ธาตุรอง/ธาตุเสริม เต็มที่ เมื่อแกะผลด้วยมือ (ไม่ใช้มีดผ่า) เนื้อจะจับเหมือนวุ้นก้อนเล็กๆ รสชาติดีมาก

* ยืดอายุผลหลังเก็บเกี่ยวโดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศา ซ. ออกซิเจนผ่านได้ 4 ล. /ตร.ม. /ชม. จะสดอยู่ได้นาน 30-35 วัน

* กลีบดอกสดใหม่ปรุงอาหารประเภทยำ หรือผัดน้ำมันหอย หรือชุบแป้งทอด รสชาติอร่อยดี

การเตรียมต้น :
* ตัดแต่งกิ่ง :
- ใช้กรรไกตัดกิ่ง (ดัดแปลงพิเศษ) มีด้ามจับ หรือใบกรรไกยาวๆ ตัดกิ่งให้ชิดหัวหลัก
- กิ่งเก่าอายุมากหลายปี หรือกิ่งเคยให้ดอกผลมาแล้วหลายรุ่นให้ตัดออก
ทั้งนี้ธรรมชาติของแก้วมังกรจะออกดอกติดผลจากกิ่งแตกใหม่ในปีนั้นดี และดกกว่ากิ่งแก่เก่าข้ามปี และกิ่งใหม่ที่ออกในปีนั้นเลี้ยงดอกและผลได้ดีกว่ากิ่งแก่อายุหลายปี

- กิ่งใหม่แต่เป็นกิ่งคดงด กิ่งเรียวเล็ก กิ่งมีโรค ให้ตัดออก
- ตัดกิ่งบังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มบริเวณหัวหลักโปร่งจนแสงแดดส่องได้ทั่วถึงทุกกิ่ง กิ่งที่ได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งไม่ได้รับแสงแดด หรือได้รับแสงแดดน้อย

- การตัดแต่งกิ่งให้ตัดที่โคนกิ่งชิดหัวหลัก เพื่อให้พื้นที่บริเวณหัวหลักโปร่ง ทำให้ไม่สะสมโรคและแมลง

- เลือกเก็บกิ่งแขนงที่แตกแยกออกมาจากกิ่งประธาน 2-3 กิ่ง ระยะห่างกันมากๆไว้ ส่วนกิ่งแขนงอื่นๆ โดยเฉพาะกิ่งที่อยู่ชิดกันเกินไปให้ตัดออก

- ต้นที่มีกิ่งน้อย (1 หลักมีกิ่ง 10-15 กิ่ง) ให้ผลผลิตดกและดีกว่าต้นที่มีกิ่งมากๆ จนแน่นทึบ (เฝือใบ) และกิ่งมากทำให้น้ำหนักมากอาจทำให้หลักล้มได้อีกด้วย

- นิสัยการออกดอกของแก้วมังกรไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นฝน แล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น

- ปัจจุบันมีฮอร์โมนเปิดตาดอกแก้วมังกรโดยเฉพาะ โดยขูดผิวเปลือกบริเวณตุ่มตา (ใต้หนาม) ออกก่อน แล้วใช้ปลายพู่กันจุ่มฮอร์โมนเข้มข้นทาหรือป้ายบนผิวเปลือกที่ขูดนั้น ฮอร์โมนจะซึมผ่านเข้าสู่ภายในได้ดีขึ้น ใช้ฮอร์โมนป้ายตาอั้นตาดอกเต็มที่แล้ว 2-3 ตา/กิ่ง แต่ละตาห่างกัน 2-3 ข้อ

- ต้นอายุมาก (3-5 ปี ขึ้นไป) กิ่งบนหัวหลักเป็นกิ่งแก่แน่นทึบ นอกจากจะน้ำหนักมากจนทำให้หลักล้มได้แล้วยังเป็นกิ่งที่ไม่เหมาะสมต่อการออกดอก ติดผลอีกด้วย แก้ไขโดยการตัดแต่งเฉพาะกิ่งที่แก่จัดจริงๆทิ้ง ในการปฏิบัติจริงค่อนข้างยากเพราะแต่ละกิ่งจะประสานกันแน่นมาก จนแยกไม่ออกว่ากิ่งไหนเป็นกิ่งไหน กอร์ปกับ กิ่งแก้วมังกรมีหนามสร้างความยุ่งยากในการทำงานอย่าง มาก ส่วนใหญ่เจ้าของสวนจะเลือกวิธี ตัดกิ่งหัวเสาทิ้งทั้งหมด หรือตัดตามความสะดวก ตัดออกให้มากที่สุดเท่าที่สะดวก (ตัดแต่งแบบทำสาว) แล้วบำรุงเรียกยอด (กิ่ง) ใหม่ ซึ่งการบำรุงเรียกยอดใหม่หลังตัดแต่งแบบทำสาวนี้ ถ้าบำรุงเรียกยอดใหม่ไม่ถึงหรือไม่เต็มที่จริงๆ แก้วมังกรหลักนั้นจะแตกยอดใหม่ไม่พร้อมกัน ส่งผลให้การออกดอกติดผลในรุ่นปีการผลิตต่อมาไม่ดี ต้องบำรุงเลี้ยงแก้วมังกรหลักนั้นต่ออีก 1 ปี จึงจะเข้ารูปแบบเดิมได้

- ดอกที่ออกเดือน เม.ย.– พ.ค.– มิ.ย.– ก.ค.) เป็นแก้งมังกรปี หากต้องการ ทำแก้วมังกรนอกฤดูให้เด็ดทิ้งตั้งแต่ดอกขนาดปลายตะเกียบ

บำรุงก่อนการบังคับ :
- ทางใบ : ให้ “น้ำ 20 ล. + ไบโออิ 20 ซีซี. + ยูเรีย จี. 2 ช้อน” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน

- ทางราก : ให้กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิด
เทิง 30-10-10 (1 ล.) +25-7-7 (2-3 กก.) /ไร่ /เดือน .... ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

สำรวจความพร้อมของต้น :
- ก้านใหญ่ สีเปลือกเขียวเข้ม ปลายก้านโค้งมนด้วน
- ตุ่มตาใต้หนามนูนยาว ชี้เข้าหากลางกิ่งทั้งสองด้านของกิ่ง
- สีหนามเป็นสีน้ำตาลไหม้ หรือดำคล้ำ แข็ง เมื่อใช้ปลายนิ้วสะกิดเบาจะหลุดร่วง
- ตรวจตาด้วยการสุ่มดึงหนามใดหนามหนึ่งขึ้นมาดู ถ้าเนื้อใต้หนามเป็นสีเหลืองแสดงว่าอั้นตาดอกดี แต่ถ้ายังเป็นสีเขียวอยู่แสดงว่าอั้นตาดอกไม่ดี

การบังคับ :
- เดือน ก.ค.- ส.ค. ตัดแต่งกิ่ง เรียกใบอ่อน
- เดือน ก.ย.- ต.ค. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
- เดือน พ.ย.- ธ.ค. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก พร้อมกับให้แสงไฟขนาด 100 วัตต์ 1 หลอด /4 ต้น ช่วง เวลา 18.00-21.00 น. และ 05.00-06.00 น.ทุกวัน ตลอด 1 เดือน

- เดือน ม.ค. เปิดตาดอก
- เดือน ก.พ. บำรุงผล
หมายเหตุ :
- การให้แสงไฟวันละ 2-4 ชม.หลังพระอาทิตย์สิ้นแสง ช่วงอากาศหนาว (พ.ย.-ธ.ค.) ต้องใช้ระยะเวลานาน 20-25 วันขึ้นไป แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าแล้งใช้ระยะเวลาให้ประมาณ 15-20 วัน ซึ่งดอกที่ออกมาจะดกกว่าช่วงอากาศปกติที่ไม่มีการให้แสงไฟ....ในฤดูกาลปกติถ้ามีการให้แสงไฟก็จะช่วยให้ออกดอกดีและดกกว่าการไม่ให้แสงไฟ

- การบังคับให้ออกนอกฤดูจะสำเร็จได้ ต้นต้องได้รับการบำรุงอย่างดี มีการจัดการปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) อย่างถูกต้องสม่ำเสมอจนต้นสมบูรณ์เต็มที่ และไม่ควรปล่อยให้ออกดอกติดผลในฤดูกาลมาก่อน

ฮอร์โมนกระตุ้นตาดอกแก้วมังกร :
- ความสมบูรณ์ต้น สังเกตุจากสภาพต้นเขียวสม่ำเสมอ ตา (โคนหนาม)
นูนสูงชัด
- เลือกตาดอกที่สมบูรณ์แล้วแกะหนามออก สังเกตเนื้อในไต้หนาม ถ้าเป็นสีเหลือง ใช้ฮอร์โมนแต้ม หรือทาที่ตาดอกเพียงเล็ก น้อยครั้งเดียว ดอกจะออกภายใน 5-7 วัน .... ถ้าแกะหนาม เห็นเนื้อในเป็นสีเขียวหรือสีขาว แสดงว่าตาดอกยังไม่พร้อม ถ้าทาฮอร์โมนลงไปจะออกเป็นใบ ..... ถ้าแกะหนาม เห็นเนื้อในเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ แสดงว่าตาดอกนั้นหมดอายุแล้ว ทาฮอร์โมนจะไม่ได้ผล .... ทั้งนี้ แนะนำว่าควรกระตุ้นกิ่งละไม่เกิน 2 ดอก

บำรุงผลแก้งมังกร :
- ทางใบ : “น้ำ 100 ล, + ไทเป 60 ซีซี. + ไบโออิ 60 ซีซี. + ยูเรก้า 412 (60 ซีซี.)” ให้ 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 3 วัน
- ทางราก : กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ปีละ 2 ครั้ง. น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1 ล.) +21-7-14 (2-3 กำมือ) /ต้น /15 วัน, ฉีดพ่นที่รากเกาะหลักลงถึงพื้น ให้น้ำสม่ำ เสมอพอหน้าดินชื้น


**********************************************************

6. ส้มเขียวหวาน
เกร็ดความรู้เรื่องส้มเขียวหวาน :

* เป็นไม้ผลยืนต้นประเภทอายุหลายสิบปี เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย หรือดินดำร่วน ระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุมากๆ

* ส้มเขียวหวานสายพันธุ์จากบางมด ปลูกที่ จ.แพร่-น่าน พื้นที่ไหล่เขา อายุต้นกว่า 50 ปี ปัจจุบันยังให้ผลผลิต....ส้มโชกุน (ตระกูลเดียวกันกับส้ม เขียวหวาน หรือส้มเปลือกล่อน) เชียงราย อายุกว่า 30 ปี พื้นที่ไหล่เขา ปัจจุบันยังให้ผลผลิต.... ส้มเปลือกล่อนฟลอริดา อเมริกา อายุต้นกว่า 100 ปี ปัจจุบันยังให้ผลผิต....ส้มเขียวหวาน สายพันธุ์บางมด ปลูกที่ รังสิต-ธัญญะ-หนองเสือ-วังน้อย-วิหารแดง-ฯลฯ สวนยกร่องน้ำหล่อ อายุต้น 4-5 ปีเริ่มตาย

* ในอดีตแปลงปลูกส้มเขียวหวานย่านบางมด บางขุนเทียน กทม. มีน้ำทะเลขึ้นถึง พื้นที่บริเวณนั้นจึงเป็นพื้นที่ลักจืดลักเค็ม ทำให้ส้มเขียวหวานเจริญ เติบโตดี คุณภาพรสชาดดีมาก

* ที่มาของชื่อ “ส้มบางมด” คือ ถึงช่วงหนึ่งของฤดูกาลเมื่อสภาพอากาศเหมาะสม จะมีเพลี้ยไก่แจ้ระบาดเข้าทำลายผลส้ม ทำให้ผิวส้มหยาบกร้าน จาก นั้นชาวสวนจะใช้สารเคมีกำจัด หลังจากเพลี้ยไก่แจ้ถูกทำลายไปแล้วผิวเปลือกก็ยังคงหยาบกร้านเหมือนเดิม และจะเป็นอย่างนั้นจนเก็บเกี่ยว เพลี้ยไก่แจ้เข้าทำลายเซลล์ใต้เปลือก ทำให้ไม่สามารถสังเคราะห์แสงสร้างสารอาหารได้ ขณะที่ผลกำลังเจริญพัฒนาต้องรับสารอาหารจากรากเท่านั้น จึงเป็นเหตุให้คุณภาพของผลที่เซลล์เปลือกถูกทำลายดีกว่าผลที่เซลล์เปลือกไม่ถูกทำลาย และผลส้ม เขียวหวานที่ผิวเปลือกหยาบกร้านนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของส้มบางมดมาจนถึงปัจจุบัน

* ส้มเขียวหวานคุณภาพดีมิใช่เกิดจากสภาพพื้นที่ลักจืดลักเต็มเป็นหลักเพียงอย่างเดียว และเพลี้ยไก่แจ้ก็มิได้ระบาดเฉพาะบางมดเท่านั้น แต่เป็นผลงานทางธรรมชาติของเพลี้ยไก่แจ้ ซึ่งพื้นที่ไหนๆ ก็เกิดได้ นั่นคือ เมื่อผลอายุผล 7-8 เดือน (ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน) แล้วมีเพลี้ยไก่แจ้ระบาด จงปล่อยให้เพลี้ยไก่แจ้เข้าทำลายผลส้มไปก่อน 3-4 วัน แล้วจึงใช้สารสกัดสมุนไพรชนิดสารออกฤทธิ์รุนแรง เฉียบพลัน (เทียบเท่ายาน็อก) ฉีดทำลายเพลี้ยไก้แจ้ จาก นั้นก็ให้บำรุงต่อไปตามปกติ ผิวเปลือกส้มเขียวหวานก็จะกร้านพร้อมกับได้คุณภาพรสชาติดีเยี่ยมเหมือนส้มบางมดได้เช่นกัน

* ส้มเขียวหวานออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่น หรือทุกฤดูกาล และทุกสภาพอากาศ ตราบเท่าที่ต้นได้รับการปฏิบัติบำรุงจนมีความสมบูรณ์อยู่เสมอ .... ออกดอกติดผลจากซอกใบ ปลายกิ่งที่เกิดใหม่ในรุ่นนั้น ให้ผลดกเป็นช่อและมีความดกมากกว่าส้มอื่นๆ ทุกชนิด ออกดอกติดผลที่ชายพุ่มด้าน ข้างมากกว่าชายพุ่มด้านบน และไม่ออกดอกติดผลจากกิ่งในทรงพุ่ม เป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมกันเอง หรือต่างดอกในต้นเดียวกัน หรือต่างดอกต่างต้นได้ดี

* การที่เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์ เกิดจากขาด สารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อม ไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ไม่ โต รูปทรงบิดเบี้ยว

* อายุดอกจากเริ่มออกถึงดอกบาน 20-25 วัน ระยะดอกบานผสมติดถึงผลแก่เก็บเกี่ยว 8 เดือน
* ผลที่ติดเป็นพวงสามารถเก็บไว้ทั้งหมดได้โดยไม่ต้องซอยผลออก จาก
นั้นบำรุงทั้งทางใบและทางรากให้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็จะได้ผลคุณภาพดีทั้งพวง และทุกพวงภายในต้น

* ระหว่างมีดอกผลอยู่บนต้นจะมียอดอ่อนแทงออกมาใหม่เสมอ ไม่ควรปล่อยให้ยอดใหม่เจริญเติบโตจนเป็นกิ่งขนาดใหญ่ โดยเฉพาะยอดใหม่ในทรงพุ่ม เพราะจะทำให้ทรงพุ่มแน่นทึบ แต่ให้เด็ดทิ้งตั้งแต่เริ่มแทงออกมาใหม่ๆ ลักษณะยังเป็นยอดผักหวาน ส่วนยอดแตกใหม่ที่ชายพุ่มอาจจะพิจารณาเก็บไว้บ้างก็ได้สำหรับให้ช่วยสังเคราะห์แสงสร้างอาหาร

* ช่วงติดผลหากได้รับไนโตรเจนมากเกินไปโดยไม่มีธาตุอาหารตัวอื่นกำกับ จะทำให้เปลือกหนา จุกสูง รกมาก กากมาก เป็นผลที่ด้อยคุณภาพ

* อายุต้น 2-5 ปีแรกที่เริ่มให้ผลผลิตอาจจะไม่ดีนัก แต่เมื่อต้นอายุมากขึ้นหรือเป็นต้นสาวแล้วจะให้ผลผลิตดี

* ลำต้นเปล้าเดี่ยวๆ หรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 50-80 ซม. จะให้ผลผลิตดีกว่าต้นที่ลำเปล้าสั้นหรือกิ่งง่ามแรกอยู่ต่ำ แนะนำให้ตัดแต่งกิ่งจัดทรงพุ่มเพื่อ
ให้ลำเปล้าสูงๆ ตั้งแต่เริ่มให้ผลผลิตปีแรกๆ รูปทรงต้นก็อยู่อย่างนั้นตลอดไป

* ส้มเขียวหวานเสียบยอดบนตอมะกรูด. มะขวิด. หรือส้มจากต่างประ
เทศทุกสายพันธุ์ เมื่อต้นโตขึ้นส่วนตอจะใหญ่ แต่ส่วนต้นเขียวหวานจะไม่โต
ตาม ทำให้เกิดอาการ "ตีนช้าง" (ตอใหญ่-ต้นเล็ก) ซึ่งต้นส้มเขียวหวานที่เสียบบนตอไม้ดังกล่าวจะให้ผลผลิตดีเพียง 3-5 ปีแรก หลังจากนั้นจะให้ผลผลิตลด
ลงทั้งความดก และคุณภาพ

สายพันธุ์
บางมด (พันธุ์ดั้งเดิม). เขียวดำเนิน (กลายพันธุ์มาจากบางมด).

ส้มเขียวหวานแจ็คพ็อต
แม้ว่าส้มเขียวหวานจะเป็นผลไม้ที่ผู้คนนิยมบริโภคกันตลอดทั้งปีก็ตาม แต่ช่วงเทศกาลตรุษจีน สาร์ทจีน เชงเม้ง ไหว้พระจันทร์ นิยมใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้แล้วยังเป็นผลไม้เพื่อบริโภคอีกด้วย ส่งผลให้ส้มเขียว หวานมีราคาแพงขึ้นไปอีก ชาวสวนส้มหลายรายแบ่งพื้นที่ (โซน) สวนส้มออกเป็น 4 แปลง แล้วจัดวงรอบบำรุงบำรุงให้ออกช่วงที่ตรงกับเทศกาลเท่านั้น โดยไม่สนใจช่วงฤดูกาลใดๆของปี บำรุงให้ต้นส้มเขียวหวานออกดอกติดผลแล้วแก่เก็บเกี่ยวได้ ณ ช่วงเวลาที่ต้องการเท่านั้น ผู้ปลูกต้องเข้าใจช่วงพัฒนาการของต้นอย่างลึก ซึ้ง การให้สารอาหารแต่ละชนิดต้องถูกต้องตรงตามความต้องการของต้นส้มอย่างแท้จริง ไม่ใช่ตรงตามความต้องการของคน

การปฏิบัติบำรุงต่อส้มเขียวหวานแจ็คพอต
- เดือน พ.ย.- ธ.ค. ล้างต้น ตัดแต่งกิ่ง เรียกใบอ่อน
- เดือน ม.ค.- ก.พ. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
- เดือน มี.ค. (ต้นเดือน) ปรับ ซี/เอ็น เรโช
- เดือน มี.ค. (ปลายเดือน) เปิดตาดอก
- เดือน เม.ย. บำรุงดอก
- เดือน พ.ค.- มิ.ย. บำรุงผลเล็ก
- เดือน ก.ค.- ต.ค. บำรุงผลกลาง
- เดือน พ.ย.. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
- เดือน ธ.ค.- ม.ค. (ต้นเดือน) เก็บเกี่ยว
หรือ ..........
- ล้างต้น – ตัดแต่งกิ่ง - เรียกใบอ่อน 2 เดือน
- สะสมอาหารเพื่อการออกดอก 2 เดือน
- ปรับ ซี/เอ็น เรโช 15 วัน
- เปิดตาดอก 15 วัน
- บำรุงดอก (ตูม-บาน) 1 เดือน
- บำรุงผลเล็ก 2 เดือน
- บำรุงผลกลาง 5 เดือน
- บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน

หมายเหตุ :
- เมื่อต้องการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนใด ให้นับเวลาย้อนหลังจากเดือนเก็บเกี่ยว มาถึงวัน ล้างต้น-ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน โดยทำเครื่องหมายบนปฏิ
ทินเลยก็ได้ ทั้งนี้ระยะเวลาปฏิบัติบำรุงรวมทั้งสิ้น 13-14 เดือน /1 รุ่นการผลิต

- ในระบบธรรมชาติไม่สามารถกำหนดจำนวน วัน/เดือน หรือตัวเลขแบบตายตัวลงไปได้ เนื่องจาก ปัจจัยพื้นฐานการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณห ภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ตัวเลขทุกอย่างเป็นไปในลักษณะโดยประมาณเท่านั้น ดังนั้น ในการวางแผนจะต้องเผื่อเหลือเผื่อขาดเวลาเอาไว้ด้วยทุกครั้ง และอย่าตั้งความหวังว่าทุกอย่างที่วางแผนไว้ว่าจะต้องดำเนินไปอย่างราบรื่น พบกับความสำเร็จทุกขั้นตอนเสมอไป

- เทคนิคการบำรุงต้นแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องจนถึงปีที่ 3 ต้นส้มจะมีความสมบูรณ์อย่างมาก จะส่งผลให้ต้นตอบสนองต่อการบำรุงต้นให้ออกดอกติดผลผลในช่วงต่างๆ ดี และแน่นอน

- ช่วงเวลาต้นเดือนหรือปลายเดือนของการติดผล ให้พิจารณาตามความเหมาะสม โดยมีอายุผลตั้งแต่ผลเริ่มติดถึงเก็บเกี่ยว (8 เดือน) เป็นตัวกำหนด

- หากต้องการให้ส้มเขียวหวานออกช่วงเทศกาล (สารทจีน เชงเม้ง ไหว้ พระจันทร์) ให้คำนวณในลักษณะเดียวกัน โดยการนับถอยหลังจากเดือนเก็บเกี่ยวผลผลิต มาถึงวันเริ่มล้างต้น ตัดแต่งกิ่ง และเรียกใบอ่อน (12-13 เดือน) แล้วลงมือปฏิบัติด้วยหลักการเดียวกัน .... หรือเริ่มลงมือตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน
เดือนใดของปีนี้ ก็จะได้ผลแก่เก็บเกี่ยวในเดือนเดียวกันของปีรุ่งขึ้นนั่นเอง

- วิธีบำรุงให้ “ผลแก่เร็วก่อนกำหนด” หรือ “ผลแก่ช้ากว่ากำหนด” 20-30 วัน ก็ถือว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้

- ข้อยุ่งยากก็คือช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช ซึ่งจะต้องงดการให้น้ำเด็ดขาดจริงๆ นั้นหากตรงกับหน้าฝนจะทำให้การปฏิบัติยุ่งยากมาก หรืองดน้ำไม่ได้เลย

เตรียมดิน เตรียมแปลง :
- ทำแปลงแบบยกร่องแห้ง (ลูกฟูก) สันแปลงสูงจากพื้นปกติ 20-30 ซม. ยาวตามทางน้ำไหล เพื่อให้การควบคุมน้ำช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช ทำได้ง่ายและได้ผลสูงสุด.... กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อ ควรยกเลิกโดยสูบน้ำออกให้เป็นร่องแห้ง นอกจากจะช่วยให้ต้นส้มอายุยืนนานขึ้นแล้ว ต้นอายุยิ่งมากมากขึ้นยิ่งให้ผลผลิตดีอีกด้วย

- ใส่กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่ ปีละ 2 ครั้ง มีหญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ ปีละ 2 ครั้ง
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงสูตรตามระยะพัฒนาการ +เพิ่มปุ๋ยตามระยะพัฒนาการ 1 กก. /ต้น /เดือน

การบำรุง :
1. เรียกใบอ่อน
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 100 ซีซี. + 25-5-5 (400 กรัม)” 2 ครั้ง ต่อการเรียกใบอ่อน 1 ชุด ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว +25-7-7 (1-2 กก.) /ต้น ทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน

- หญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ
- ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งเสร็จ
- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสาม ด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่าง ตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก ซึ่งจะส่งให้ออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกัน ทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก ..... แนวทางแก้ไขคือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- ส้มเขียวหวานต้องการใบอ่อน 3 ชุด ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆ ปี หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 + ไบโออิ 100 ซีซี. + 0-21-74 (200 กรัม) หรือ 0-39-39 (200 กรัม)” สูตรใดสูตรหนึ่ง 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้น้ำตามปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- การเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่ วัตถุประสงค์เพื่อเร่งระยะเวลาสู่การพัฒนาขั้นต่อไปให้เร็วขึ้น หรือเพื่อให้รอดพ้นจากการทำลายของแมลงปากกัดปากดูดที่ชอบกัดกินใบอ่อนพืช

- ต้นที่มี “ความความสมบูรณ์สะสม” เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกัน หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วสามารถข้ามขั้นตอน สะสมตาดอก, ปรับ ซี/เอ็น เรโช. แล้วเปิดตาดอกได้เลย ทั้งนี้ ฟอสฟอรัส. กับโปแตสเซียม.ใน 0-21-74 หรือ 0-39-39 นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้ว ยังช่วยสะสมตาดอก และเปิดตาดอกได้อีกด้วย

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 100 ซีซี. + 0-42-56 (400 กรัม)” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว +8-24-24 (1-2 กก.) /ต้นทรงพุ่ม 5 ม. ให้ครั้งเดียว

- ให้น้ำเปล่าปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และกลุ่มสร้างใบ ไว้มากๆ ทั้งสองกลุ่ม

- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุด ควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน โดยให้กลูโคสหรือน้ำตาลทางด่วนรอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง ให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน จะช่วยให้การสะสมตาดอกดีขึ้น

- บำรุงต้นไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก ไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งจะทำให้เสียเวลา

- ปริมาณ 8-24-24 หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง

- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลา
ให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 30 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 15 วัน /ครั้ง

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้น ให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต่อ ไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังได้สะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรก จาก นั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 100 ซีซี. + 0-42-56 (200 กรัม) ” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้ลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นให้แสงแดดส่องถึง
- งดการให้น้ำเด็ดขาด
- ทำร่องหรือทางระบายน้ำหากมีฝนตก

หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อปรับเพิ่มปริมาณสารอาหารกลุ่ม ซี. พร้อมกับปรับลดสารอาหารกลุ่ม เอ็น. หรือเพื่อให้ในต้นมี ซี. มากกว่า เอ็น.

- เริ่มให้เมื่อต้นเริ่มมีอาการอั้นตาดอก
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้ว ไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือน้ำ ตาลทางด่วนเพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะ นำให้ฉีดพ่นทางใบซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอา หารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- ขั้นตอนการปรับ ซี/เอ็น เรโช นี้ หากมีฝนตกจะต้องงดการปรับทันทีแต่ให้บำรุงด้วยสูตรสะสมอาหารต่อไปจนกว่าจะหมดฝนแล้ว 10-15 วัน จึงลงมือเริ่มต้นปรับ ซี/เอ็น เรโช ใหม่ .... ช่วงนี้ถ้ามีฝนตกลงมา ต้นอาจจะแตกใบอ่อนได้ นั่นหมายความว่าจะต้องย้อนกลับไปเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนแรกใหม่และ การบำรุงส้มเขียวหวานให้ได้ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงตรุษจีนก็ต้องล้มเหลวด้วย ดังนั้น การบำรุงด้วยสูตร “สะสมอาหาร” เพียงสูตรเดียวอาจจะไม่พอจึงควรให้สารอาหารสูตร “กดใบอ่อนสู้ฝน” สลับด้วยทุกครั้ง ทั้งก่อนฝนตกหรือหลังฝนหยุด โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งและช่วงเวลาให้

- งดน้ำจนกว่าต้นจะเกิดอาการใบสลด 3 วัน ตั้งแต่เวลา 12.00-15.00 น. ติดต่อกัน และไม่ควรนานเกิน 3 วัน เพราะอาจทำให้ต้นโทรมได้ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มงดน้ำจนถึงใบสลดจะนานมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้น

5. เปิดตาดอก :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี. + 13-0-46 (400 กรัม) ฉีดพ่นพอเปียกใบ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1 กก.) /ต้น ทรงพุ่ม 5 ม.
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นทุก 2-3 วัน
- ยังไม่นำอินทรีย์วัตถุเข้าคลุมโคนต้น

หมายเหตุ :
- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกออกมายังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบ ด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

6. บำรุงดอก :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 100 ซีซี. + 15-45-15 (หน้าแล้ง 200 กรัม) หรือ 0-52-34 (หน้าฝน 200 กรัม) + เอ็นเอเอ (ชนิด 5%).100 ซีซี.” ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 (½ -1 กก.) /ต้น ทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นทุก 2-3 วัน
- ยังไม่นำอินทรีย์วัตถุเข้าคลุมโคนต้น

หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูม บำรุงด้วย เอ็นเอเอ.เดี่ยวๆ 1-2 รอบ ดีกว่าการให้ร่วมกับปุ๋ยตัวอื่นๆ ซึ่ง จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์ พร้อมรับผสม

- การให้ เอ็นเอเอ. ต้องใช้ด้วยระมัดระวัง เพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอก และถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้ แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบา
ที่สุดตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆ ของดอก
ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียก หรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆ ก็ได้

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ระยะดอกบาน ถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้ง อากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ และที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบนอกของ แปลงปลูก มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

7. บำรุงผลเล็ก :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 50 ซีซี. + ยูเรก้า 412 (50) ซีซี.” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว +21-7-14 (1 กก.) /ต้น ทรงพุ่ม 5 ม. /เดือน

- นำอินทรีย์วัตถุที่นำออกกลับเข้าคลุมโคนต้นอย่างเดิม พร้อมกับใส่ กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่ ครั้งที่สองของรอบปีการผลิต

- ให้น้ำสม่ำเสมอทุก 2-3 วัน และค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำเพื่อให้ต้นรู้ตัวจน
กระทั่งให้เต็มที่ได้

หมายเหตุ :
- ช่วงที่ผลกำลังพัฒนาแล้วมีฝนตกชุกควรให้แคลเซียม โบรอน. บ่อยขึ้นเพื่อป้องกันผลแตกผลร่วง แต่การให้แคลเซียม โบรอน. ต้องระวังเพราะถ้าต้นได้รับมากเกินไปจะทำให้ผลมีจุก หรือเปลือกบริเวณขั้วสูง

- เทคนิคการให้จิ๊บเบอเรลลินช่วงผลเล็กจะช่วยบำรุงป้องกันผลร่วงผลแตกเมื่อผลมีขนาดโตใกล้เก็บเกี่ยวได้

8. บำรุงผลกลาง :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 50 ซีซี. + ยูเรก้า 412 (50) ซีซี.” 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว +21-7-14 (1 กก.) /ต้น ทรงพุ่ม 5 ม. /เดือน

- ให้น้ำสม่ำเสมอทุก 2-3 วัน พอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- เนื่องจากอายุผลส้มเขียวหวาน ตั้งแต่เริ่มติดเป็นผลเล็กถึงแก่เก็บเกี่ยวได้ รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 10 เดือน การให้ปุ๋ยทางใบ 15 วันอาจะถี่เกินซึ่งอาจ
จะทำให้ผลเห่อได้ ก็ให้พิจาณายืดเวลาออกไปเป็น 20 วัน/ครั้งก็ได้

- เช่นเดียวกัน การให้ปุ๋ยทางราก 15 วัน/ครั้ง อาจยืดเวลาให้ออกไปเป็น 1 เดือน /ครั้ง ก็ได้

9. บำรุงผลแก่ :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 100 ซีซี. + 0-21-74 (400 กรัม)” 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ฉีดพ่นทางใบพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 13-13-21 (1 กก.) /ต้น ทรงพุ่ม 3-5 ม. ให้ครั้งเดียว
- เปิดหน้าดินโคนต้นให้แสงแดดส่องถึง
- งดน้ำเด็ดขาดจนกระทั่งเก็บเกี่ยว

หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน
- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวทางรากด้วย 13-13-21 จะทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายไปจากต้นแล้ว ต้องเร่งบำรุงเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที

- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกัน ซึ่งนอกจากหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตจนหมดต้นแล้วต้นไม่โทรม ช่วยบำรุงผลรุ่นหลังต่อได้ และทำให้ต้นมีความสมบูรณ์พร้อมสำหรับให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไปได้อีกด้วย

– การงดน้ำก่อนเก็บเกี่ยวจนหน้าดินแตกระแหง นอกจากช่วยให้ได้รสชาติดีแล้ว ยังช่วยให้เปลือกมีสีเหลืองจัดขึ้นได้อีกด้วย


วิธีการบังคับส้มเขียวหวานให้ออกดอกนอกฤดูกาล :
- ปกติส้มเขียวหวานที่ปลูกกันโดยทั่วไปจะออกดอกในเดือน ก.พ. ถึง มี.ค. และผลแก่สามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือน พ.ย. ถึง ธ.ค. ระยะเวลานับจากออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 9 เดือน แต่ถ้านับจากเริ่มมีการกักน้ำจนเก็บผลผลิตก็ตกประมาณ 10 เดือนเต็ม

- หากคำนึงถึงความเป็นไปได้ของการบังคับให้ส้มเขียวหวานออกดอก
นอกฤดู จะเห็นได้ว่าส้มเขียวหวานที่ปลูกแบบยกร่อง สามารถทำให้ออกดอกตามเวลาที่ต้องการได้ เนื่องจากสามารถควบคุมระดับน้ำได้ง่ายนั่นเอง แต่ถ้าเป็นส้มที่ปลูกในที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง เช่น จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย มักจะมีปัญหาเรื่องการให้น้ำเป็นประจำ ก็ต้องปล่อยให้มีการออกดอกติดผลตามฤดูปกติ และนับว่าธรรมชาติได้เป็นใจที่ให้ส้มที่ปลูกในภาคเหนือออกดอกช้ากว่าส้มที่ปลูกในภาคกลาง คือ เริ่มออกดอกในช่วงเดือน เม.ย. ถึง พ.ค. และเก็บผลได้ในเดือน ม.ค. ถึง ก.พ. ซึ่งเป็นช่วงที่ส้มภาคกลางกำลังจะหมดไปจากตลาดพอดี มีผลทำให้ส้มที่ปลูกในภาคเหนือจำหน่ายได้ในราคาดี

- การบังคับส้มเขียวหวานให้ออกดอกนอกฤดู นิยมทำกับสวนที่ปลูกแบบยกร่อง เพราะสามารถทำได้ง่าย กล่าวคือ ถ้าต้องการให้ผลส้มแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงไหน ให้นับย้อนหลังไปประมาณ 10 เดือน แล้วเริ่มงดให้น้ำ (การงดน้ำนี้จะเป็นการกระตุ้นให้ต้นส้มมีการสะสมสารประกอบประเภทแป้งและน้ำตาลภายในต้นให้สูงขึ้น จนทำให้อัตราส่วนระหว่างแป้งและน้ำตาลเปลี่ยนไปในลักษณะที่มีเปอร์เซ็นต์สูงกว่าเดิม ซึ่งในลักษณะเช่นนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ส้มเขียวหวานสามารถออกดอกได้) ในขณะที่การงดน้ำนั้นจะต้องสังเกตว่าส้มเขียวหวานไม่มีใบอ่อน หากมีใบอ่อนจำเป็นจะต้องใส่ปุ๋ยเร่งใบเพื่อให้มีใบแก่ตลอด ทั้งต้น ปุ๋ยที่ใช้เร่งใบ คือ ปุ๋ยสูตร 1:3:3 เช่น สูตร 8-24-24 และเมื่อใบแก่แล้วจึงค่อยงดน้ำต่อไป สำหรับเหตุผลที่ไม่งดน้ำในช่วงที่ส้มยังมีใบอ่อนก็คือ จะทำให้ต้นโทรม และระบบรากเสียได้ ทั้งนี้เพราะรากจะ ต้องดูดน้ำและธาตุอาหารอย่างมากเพื่อเลี้ยงใบอ่อนที่กำลังเจริญเติบโต

- วิธีการงดน้ำที่ชาวสวนกระทำกันทั่วไป โดยการสูบน้ำออกจากร่องสวนให้หมด ต่อมาอีกประมาณ 15-20 วัน จะเห็นส้มแสดงอาการขาดน้ำโดยใบจะเริ่มห่อเข้าหากัน ต่อจากนั้นก็ให้น้ำอย่างเต็มที่ โดยปล่อยน้ำเข้าท่วมแปลง จนถึงโคนต้นประมาณ 10-20 ซม. แล้วจึงลดระดับน้ำลงมาอยู่ที่ในระดับปกติเหมือนกับระดับก่อนงดน้ำ แต่ถ้าเป็นส้มเขียวหวานที่มีใบแก่ แต่ยังไม่มีการใส่ปุ๋ยเร่งใบมาก่อน พอถึงช่วงนี้ควรให้น้ำอย่างเต็มที่โดยการรดน้ำให้ชุ่ม หลังจาก นั้นประมาณ 7 วันจะเริ่มมีการแทงตาดอกออกมาให้เห็น เมื่อมีดอกออกมาแล้วก็ให้น้ำตามปกติประมาณ 30 วัน
- ต่อมาดอกบานและมีการติดผล ช่วงนี้ควรมีการฉีดยาป้องกันกำจัดแมลงศัตรูด้วย และเมื่อผลโตได้ขนาดเท่าหัวแม่มือ ให้ใส่ปุ๋ยเกรด 1:1:1 เช่นปุ๋ยสูตร 15-15-16 หรือ 16-16-16 เพื่อบำรุงผลให้มีการเจริญอย่างเต็มที่ จนเมื่อส้มเขียวหวานมีอายุผลได้ประมาณ 5 เดือน ควรใส่ปุ๋ยสูตรที่มีตัวหลังสูง เช่น สูตร 13-13-21 เพื่อทำให้คุณภาพของส้มดีขึ้น และเป็นการเพิ่มความหวานให้ กับผลส้มด้วย ก่อนเก็บเกี่ยวผลประมาณ 10 วัน ควรหยุดการให้น้ำเพื่อให้ผลส้มมีรสชาติเข้มข้น เนื้อไม่ฉ่ำน้ำ และสามารถเก็บรักษาผลส้มไว้ได้นานกว่า
แบบที่ไม่งดน้ำในช่วงนี้

- การบังคับส้มเขียวหวานให้ออกดอกและติดผลนอกฤดู โดยวิธีการกักน้ำนี้ เป็นการกระทำที่ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนและมีผลดี คือ สามารถกำหนดวัน ที่จะจำหน่ายผลผลิตได้แน่นอน และผลผลิตที่ได้จะออกมาพร้อมกัน และมีปริ มาณมากในครั้งหนึ่งๆ ซึ่งทำให้สะดวกในการขายผลผลิตแต่อย่างไรก็ตามการบังคับให้ส้มเขียวหวานออกดอกและติดผลนอกฤดูโดยวิธีการกักน้ำนี้ ย่อมมีข้อเสียอยู่บ้าง กล่าวคือ จะทำให้ต้นส้มโทรมเร็วกว่าการปล่อยให้ออกดอกติดผลตามฤดูปกติ แต่เมื่อคำนึงถึงรายได้และราคาจำหน่ายที่ค่อนข้างสูงกว่าปกติ ย่อมคุ้มค่ากับการที่จะยอมเสี่ยงมิใช่หรือ

ส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

** แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม :
- ส้มผลเล็กทำน้ำส้มคั้นกินสด
- ทำน้ำส้มสดคั้นบรรจุขวด


*************************************************************


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/02/2024 8:38 am, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 30/01/2024 7:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

7. กระท้อน :
เกร็ดความรู้เรื่องกระท้อน :

* เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ อายุนับร้อยปี หากปล่อยให้โตอย่างอิสระอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและได้รับการปฏิบัติบำรุงดีสามารถสูงได้ถึงกว่า 20 ม. ขนาดทรงพุ่มกว้าง 10-20 ม. เมื่ออายุต้นมากขึ้นหรือเป็นต้นแก่แล้วการให้ผลผลิตจะลดลงทั้งความดกและคุณภาพ แก้ไขโดยตัดแต่งกิ่งทำสาวให้เหลือขนาดทรงพุ่ม สูงและกว้าง 3-4 ม. แล้วบำรุงสร้างกิ่งใหม่ก็จะกลับคืนสภาพเป็นต้นสาวที่ให้ผลดกและคุณภาพดีเหมือนเดิม

* เป็นผลไม้เขตร้อนสามารถปลูกได้ในพื้นที่ทุกภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล ชอบดินเหนียวปนทราย ดินดำร่วนหรือดินลูกรังแดงร่วน มีอินทรีย์ วัตถุมากๆ สารอาหารสมบูรณ์ โปร่ง น้ำและอากาศผ่านสะดวก เนื้อดินลึกไม่น้อยกว่า 1.5 ม.

* ผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย.-ก.ค. เป็นกระท้อนปีหรือในฤดูกาล แม้ว่าจะไม่ใช่ผลไม้ยอดนิยมระดับแนวหน้า แต่มีเสน่ห์ตรงที่ออกสู่ตลาดในช่วงที่ผลไม้ระดับแนวหน้าอย่างมะม่วง ทุเรียน เงาะ มังคุด วายหรือหมดไปจากตลาดแล้วและออกก่อนลำไย จะมีคู่แข่งก็แต่ผลไม้ประเภทออกตลอดปีเท่านั้น

* ให้ผลผลิตปีละ 1 รุ่น ปัจจุบันยังไม่มีฮอร์โมนหรือสารใดๆ บังคับให้ออกนอกฤดูได้และก็ไม่มีสายพันธุ์ทะวายอีกด้วย การบังคับจึงทำได้เพียงบำรุงให้ออกก่อนฤดูหรือหลังฤดูด้วยช่วงสั้นๆ เท่านั้น

* ต้นที่ปลูกจากกิ่งตอน กิ่งทาบ ติดตา เสียบยอด มีแต่รากฝอยจะเริ่มให้ผลผลิตได้เมื่ออายุ 3-4 ปี แต่ถ้าเป็นต้นที่ได้รับการเสริมราก 1-2 ราก สามารถให้ผลได้ภายใน 2-3 ปี แล้วจะให้ผลผลิตได้ต่อเนื่องนานถึง 30 ปี

* เนื่องจากกระท้อนเป็นไม้ยืนต้นอายุนับ 100 ปี ถ้าต้นนั้นปลูกจากกิ่งที่มีแต่รากฝอยเมื่อต้นใหญ่มากขึ้นทรงพุ่มต้านลมมากๆ อาจทำให้ต้นล้มได้ แนวทางแก้ไข คือ เสริมราก 1-2 รากด้วยต้นที่มีรากแก้ว (เพาะเมล็ด) ซึ่งนอกจากจะช่วยยึดต้นได้ดีแล้ว ยังช่วยเพิ่มจำนวนรากในการหาอาหารอีกด้วย

* กระท้อนสายพันธุ์เดียวกัน ปลูกในแปลงเดียวกัน และบำรุงอย่างเดียว
กัน แต่คุณภาพผลผลิตแตกต่างกัน เนื่องมาจากสภาพโครงสร้างภายในประจำ ตัว กระท้อนต้นที่หลังใบมีขนปุยคล้ายกำมะหยี่มักให้ผลผลิตคุณภาพเหนือ กว่าต้นที่หลังใบเรียบมันวาว

* ต้นพันธุ์ระยะกล้าสังเกตได้ยากมากว่าต้นไหนเป็นพันธุ์ไหน เพราะระยะกล้ากระท้อนทุกสายพันธุ์จะมีลักษณะคล้ายกันมาก การให้ได้สายพันธุ์แท้ตามต้องการต้องมาจากแหล่งเชื่อถือได้จริงๆ เท่านั้น

* ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ เกสรตัวเมียพร้อมรับการผสมทั้งจากเกสรตัวผู้ทั้งในดอกเดียวกัน และเกสรตัวผู้จากดอกอื่นในต้นเดียวกัน หรือจากต่างต้น ..... อายุดอกตูม-ดอกบาน (ผสมติด) 25-30 วัน และอายุผลเล็ก-ผลแก่เก็บเกี่ยว 5-6 เดือน

* ออกดอกจากซอกใบปลายกิ่งของกิ่งอายุข้ามปี ออกได้ทั้งกิ่งชายพุ่มและกิ่งในทรงพุ่ม แบบทยอยออกนาน 7-10 วัน

* การติดผลมีทั้งผลเดี่ยวและเป็นพวงตั้งแต่ 2-5 ผล ขนาดผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการบำรุง
* ปลูกกระท้อนสายพันธุ์ให้ผลดกถึงดกมาก ระยะห่างระหว่างต้น 8 x 8 ม. (1 ไร่ = 11 ต้น) เลี้ยงทรงพุ่มให้สูงอิสระ 5-6 ม. (ตัดยอดประธาน) ทรงพุ่มกว้างชนต้นข้างเคียง เว้นช่องว่าระหว่างต้นพอให้แสงแดดส่องผ่านได้ ตัดแต่งกิ่งภายในโปร่ง ให้แสงแดดผ่านเข้าไปได้เท่ากันดีทั่วพื้นที่ภายในทรงพุ่ม 40-50% ต้นได้รับการเสริมราก 2-3 ราก และได้รับการปฏิบัติบำรุงอย่างถูกต้องสม่ำเสมอต่อเนื่องนานหลายปีติดต่อกัน เมื่ออายุต้นโตเป็นสาวเต็มที่สามารถให้ผลผลิตมากถึง 1,000 ผล

* แต่ละช่วงของการพัฒนาทั้งต้นและผลต้องการน้ำค่อนข้ามาก และสม่ำ เสมอ แต่ช่วง ปรับ ซี/เอ็น เรโช ถึง ก่อนเปิดตาดอก ต้องการน้ำน้อย ดังนั้น การเตรียมพื้นที่ปลูกจะต้องสามารถควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นให้ได้อย่างแท้จริง

* ธรรมชาติกระท้อนมักออกดอกแล้วติดผลเล็กครั้งละจำนวนมาก จาก
นั้นจะสลัดผลเล็กทิ้งเองจนเหลือไม่มาก แก้ไขโดยบำรุงต้นให้สมบูรณ์จริงๆด้วยวิธีให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องนานหลายๆ ปี กับทั้งให้ฮอร์ โมนบำรุงดอก. บำรุงผลเล็ก. อย่างถูกต้องตรงตามจังหวะ และเมื่อผลโตขึ้นมีการซอยผลออกบ้างเท่าที่จำเป็น

* เกสรตัวผู้หรือตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์ ซึ่งเกิดจากขาด สารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกัน เมื่อพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูป
ทรงบิดเบี้ยว

* ขั้นตอนการปรับ ซี/เอ็น เรโช. โดยการงดน้ำนั้น แม้จะได้เตรียมความสมบูรณ์ของต้นไว้พร้อมก่อนแล้ว ถ้ามาตรการควบคุมปริมาณน้ำ (งดน้ำ) จนทำให้ใบแก่โคนกิ่งสลดจนแห้งแล้วร่วงไม่ได้ ก็จะทำให้เปิดตาดอกไม่ออกหรือเปิดตาดอกแล้วออกมาเป็นใบอ่อนแทนได้

* การห่อผลมีความจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากช่วยป้องกันแมลงวันทองแล้วยังช่วยทำให้ผิวสวย ผิวเป็นกำมะหยี่ดี และเนื้อในดีอีกด้วย

- เริ่มห่อผลเมื่อผลอายุ 50-55 วัน หรือขนาดมะนาว หรือผลเริ่มเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นเหลืองอ่อน และเก็บเกี่ยวได้หลังจากห่อผล 1 เดือน หรือเมื่ออายุผลได้ 5-6 เดือน หลังออกดอก

- สังเกตลักษณะผลแก่ได้จากเส้นบนผิวผลจากขั้วผลถึงก้นผล ถ้าเส้นยังนูนเด่นชัดแสดงว่ายังแก่ไม่จัด ถ้าเส้นหายไปหรือเรียบเนียนกับผิวผลแสดงว่าผลแก่จัดแล้ว หรือสังเกตที่สีเปลือกผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำหมาก

- การห่อด้วยถุงพลาสติกจะทำให้ผลเสียหายเพราะระบายความชื้นไม่ดี ควรห่อด้วยกระดาษถุงปูนซีเมนต์เท่านั้น วัสดุห่อผลดีที่สุด คือ ใบตองแห้ง
เรียกว่า “กระโปรง” แต่เนื่องจากราคาแพงและทำยากจึงไม่ได้รับความนิยม

- การห่อผลด้วยกระโปรงใบตองชั้นในก่อน แล้วห่อทับซ้อนด้วยถุงกระ ดาษปูนซิเมนต์อีกชั้นหนึ่ง จะทำให้คุณภาพผลดีกว่าการห่อแบบชั้นเดียว

- ห่อผลต้องทำด้วยความประณีต มือเบาๆ ถ้าทำแรงมือหนักจนขั้วได้รับความกระทบกระเทือน ผลจะไม่ร่วงเดี๋ยวนั้นแต่จะร่วงหลังจากห่อผลแล้ว 7-10 วัน

- ควรเลือกใช้ถุงห่อขนาดใหญ่ๆ เพื่อให้อากาศภายในถุงถ่ายเทสะดวกโดยเฉพาะผลกระท้อนที่ติดเป็นพวงจะต้องใช้ถุงห่อขนาดใหญ่พิเศษ

- ผลที่ไม่ได้ห่อ คุณภาพผลนอกจากเนื้อจะแข็งกระด้าง ปุยน้อยแล้ว ผิวเปลือกไม่เป็นกำมะหยี่ ผลแบบนี้เหมาะสำหรับทำกระท้อนดอก

* เป็นผลไม้ที่ไม่ต้องบ่มหลังเก็บเกี่ยว คุณภาพของผลแก่จัด (ผลสุก) ขณะอยู่บนต้นเป็นเช่นไร เมื่อเก็บลงมาแล้วก็คงเป็นเช่นนั้น ผลที่ครบอายุเก็บเกี่ยวแล้วหากปล่อยทิ้งคาต้นนานหลายวันเกินไปคุณภาพจะด้อยลง ดังนั้นจึงให้เก็บกระท้อน ณ วันที่ครบอายุผลพอดีรับประทาน

* กระท้อนก็เหมือนกับผลไม้อื่นอีกหลายชนิด หลังจากเก็บลงมาจากต้นแล้วปล่อยไว้ให้ลืมต้น 2-3 วันจะทำให้มีรสชาติหวานขึ้น การเก็บในอุณหภูมิ ปกติอยู่ได้นาน 5-7 วัน หรือเก็บในอุณหภูมิ 15-17 องศา อยู่ได้นาน 20 วัน

* ความดกและคุณภาพของผลด้านขนาด รูปทรง สีผิว ความนุ่มหนาของเนื้อและปุย ความเล็กของเมล็ด กลิ่นและความหวาน ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ที่ได้รับจากการบำรุงมากกว่าคุณลักษณะของสายพันธุ์

* สายพันธุ์ผลใหญ่แม้จะได้รับการปฏิบัติบำรุงไม่เต็มที่ ผลที่ออกมากก็ยังใหญ่หรืออาจย่อมลงมาเล็กน้อยแต่จะไม่ดก ส่วนสายพันธุ์ผลเล็กแม้จะได้
รับการปฏิบัติบำรุงดีเพียงใด ผลที่ออกมาก็ยังเป็นผลขนาดเล็ก หรืออาจใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย แต่การติดผลจะดกขึ้น

* ผลไม้ทั่วไปช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวต้องงดน้ำเพื่อให้เนื้อแห้งกรอบ กรณีของกระท้อนไม่ต้องงดน้ำแต่กลับต้องให้น้ำสม่ำเสมอ เพื่อให้เนื้อฉ่ำนิ่มจนใช้ช้อนตักรับประทานได้ ถ้างดให้น้ำช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวเนื้อแข็งไม่เหมาะสำหรับรับประทานผลสด แต่ดีสำหรับทำกระท้อนแปรรูป

* ออกดอกติดผลจากกิ่งอายุข้ามปี การตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตควรตัดเฉพาะกิ่งที่มีผลผลิตแล้วบำรุงสร้างยอดขึ้นมาใหม่สำหรับใช้เป็นกิ่งให้ออกดอกติดผลในปีต่อไป ส่วนกิ่งที่ปีนี้ยังไม่ออกดอกติดผลไม่ต้องตัดแต่ให้บำรุงต่อไปเลย เมื่อได้รับการบำรุงต่อก็จะออกดอกติดผลได้ในฤดูกาลถัดไป

* เนื่องจากผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก เมื่อลมพัดจะทำให้ผลแกว่งไปมาแล้วไปกระทบกับกิ่งข้างๆ ทำให้ผลเสียหาย แก้ไขด้วยการปลูกไม้บังลม

* ขนาดลำต้นใหญ่ความสูงมากๆ ทรงพุ่มกว้าง ให้ทำค้างไม้แบบถาวรเป็นคอกสี่เหลี่ยมล้อมรอบต้น จัดให้มีไม้พาดเป็นทางเดินภายในทรงพุ่มสูง 1-2-3 ชั้นตามความเหมาะสมจะช่วยให้การเข้าปฏิบัติงานในทรงพุ่ม เช่น การตัดแต่งกิ่ง ห่อผล ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น

* ติดตั้งระบบสปริงเกอร์ในใจกลางทรงพุ่มและเหนือทรงพุ่ม เป็นการเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานฉีดพ่นทางใบได้ดีกว่าเครื่องมือฉีดพ่นทุกประเภท

* ค่อนข้างอ่อนแอต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีกากน้ำตาลเป็นส่วนผสมทุกชนิด ทั้งๆ ที่ใช้ในอัตราเข้มข้นเท่ากับไม้ผลอื่นๆ ดังนั้น ถ้าจะใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพฉีดพ่นทางใบจะต้องใช้ในอัตราน้อยกว่าไม้ผลอื่นๆ 1 เท่าตัวเสมอ

* ปลูกกล้วยลงในแปลงปลูกก่อนเพื่อเตรียมให้เป็นไม้พี่เลี้ยง เมื่อกล้วยยืนต้นได้แล้วจึงลงต้นกล้ากระท้อนพร้อมกับทำบังร่มเงาช่วยอีกชั้นหนึ่งจะช่วยให้ต้นกล้ายืนต้นได้เร็ว สมบูรณ์แข็งแรง

* การพูนโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุปีละ 1-2 ครั้ง จะช่วยให้ต้นแตกรากใหม่ดี และต้นที่ได้รับการเสริมราก 1-2 ราก นอกจากจะช่วยให้ต้นมีรากหาอาหารมากขึ้นแล้วยังช่วยให้ต้นอายุยืนนานขึ้นอีกด้วย

* อายุต้น 3-4 ปีขึ้นไป หรือได้ความสูง 3-5 ม. แล้ว ให้ตัดยอดประธาน (ผ่ากบาล) เพื่อควบคุมขนาดความสูง จากนั้นจึงตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมขนาดความกว้างทรงพุ่มต่อไป

* การตัดแต่งกิ่งให้เหลือกิ่งกระจายรอบทรงพุ่มเสมอกันจนแสงแดดส่องทั่วภายในทรงพุ่มจะช่วยให้กิ่งภายในทรงพุ่มออกดอกติดผลแล้วพัฒนาผลจนมีคุณภาพดีได้

* ใบกระท้อนแก่ตากแห้งบดละเอียดใช้ผสมพริกป่นเพื่อลดความเผ็ดของพริกลง และเพิ่มสีพริกให้จัดขึ้นได้ ทำให้การปลูกกระท้อนเพื่อขายใบกลายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งที่น่าพิจารณา

การเตรียมต้น ช่วงไม่มีผลบนต้น :
ทางใบ :
- ให้ ไบโออิ 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน
- ให้น้ำตาลทางด่วน 2-3 รอบ แบ่งช่วงเวลาให้ตามความเหมาะสม

ทางราก :
- พรวนดินพูนดินโคนต้น ใส่กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งคุลมโคนต้นหนาๆ ปีละ 2 ครั้ง

- ให้น้ำหมักชีวภาพเดือนละครั้ง
- ปุ๋ยเคมีสูตรตามระยะ 1/2–1 กก. /ต้น /เดือน
- ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

การบังคับ :
เทคนิคทำกระท้อน “ก่อน-หลัง” ฤดูกาล :

ปัจจุบันยังไม่มีสารหรือฮอร์โมนใดๆ บังคับกระท้อนให้ออกนอกฤดูได้ และไม่มีกระท้อนทะวาย (ให้ผลปีละ 2 รุ่น) ดังนั้น การที่จะบังคับกระท้อนให้ออกนอกฤดูกาลปกติ (ก่อน/หลัง) ได้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีบังคับโดยการบำรุงอย่างเต็มที่เท่านั้น

บังคับกระท้อนให้ออกก่อนฤดู :
เลือกกระท้อนสายพันธุ์เบา (ทับทิม) ที่มีผลผลิตแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงต้นเดือน พ.ค. มาทำกระท้อนให้ออกก่อนฤดู โดยบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวรุ่นปีการผลิตปีนี้ ทางรากด้วย 8-24-24 กับบำรุงทางใบด้วย 0-21-74 และเมื่อถึงปลายเดือน พ.ค. ให้เร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตบนต้นให้หมดแบบล้างต้น แล้วลงมือบำรุงตามขั้นตอน ดังนี้

ช่วงเดือน พ.ค.- ก.ค. (เตรียมต้น)
หลังจากเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายจากต้นไปแล้วเริ่มบำรุงเพื่อ เตรียมความพร้อมต้น โดยตัดแต่งกิ่ง ปรับสภาพทรงพุ่มให้โปร่ง เรียกใบอ่อนให้ได้ 1-2 ชุด เมื่อใบอ่อนออกมาแล้วให้เร่งบำรุงใบอ่อนให้เป็นใบแก่โดยเร็ว ส่วนทางรากใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ยิบซั่มธรรมชาติ กระดูกป่น ตามปกติ ระยะเวลา 3 เดือน (พ.ค.- มิ.ย.- ก.ค.) ต่อการเรียกใบอ่อน 3 ชุดนั้น จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้นมี “ความสมบูรณ์สะสม” อย่างแท้จริง โดยเฉพาะมาตรการบำรุงต้นให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องมาแล้วหลายๆ ปี ติดต่อกัน

หมายเหตุ :
ต้นที่ผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมานานหลายๆ ปี และในรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมาไว้ผลน้อยแต่บำรุงเต็มที่ เมื่อถึงรุ่นปีการผลิตใหม่ให้เรียกใบอ่อนเพียง 1 ชุด แล้วสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อได้เลย ทั้งนี้เพื่อย่นระยะเวลาให้เร็วขึ้น

ช่วงต้น ส.ค. - กลาง ก.ย. (สะสมอาหารเพื่อการออกดอก)
หลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายที่ต้องการเพสลาดแล้ว ให้ลงมือบำรุงทางใบด้วยสูตร “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
และบำรุงทางรากอย่างต่อเนื่อง เพื่อเร่งให้ต้นได้สะสมทั้งอาหารกลุ่มสร้างดอกบำรุงผล (ซี) และกลุ่มสร้างใบบำรุงต้น (เอ็น) ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

ช่วงปลายเดือน ก.ย. (ปรับ ซี/เอ็น เรโช)
ปรับ ซี/เอ็น เรโช. : ทางรากให้เปิดหน้าดินโคนต้น งดน้ำเด็ดขาด ส่วนทางใบให้สารอาหารสูตรสะสมตาดอกเหมือนเดิมแต่ให้พอเปียกใบ ระวังอย่าให้น้ำตกลงพื้น เพราะจะทำให้มาตรการงดน้ำล้มเหลว พร้อมกันนั้น ให้เสริมด้วยการ “รมควัน” ทุก 2-3 วันช่วงหลังค่ำ ครั้งละ 10-15 นาที เพื่อเร่งให้ใบสลดแล้ว "เหลือง-แห้ง-ร่วง" เร็วขึ้น

ช่วงต้น ต.ค. (เปิดตาดอก)
เปิดตาดอกด้วย “13-0-46” หรือ “0-52-34” หรือ “13-0-46 + 0-52-34” สูตรใดสูตรหนึ่ง สลับกับไทเป อย่างละ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

หมายเหตุ :
- กระท้อนก่อนฤดูออกสู่ตลาดพร้อมกับทุเรียน เงาะ มังคุด อาจไม่ได้ราคาดี แต่ถ้าเป็นกระท้อนคุณภาพเกรด เอ. ขนาดจัมโบ้ ก็พอสู้ได้

- ต้นที่สมบูรณ์เต็มที่เพราะได้รับการปฏิบัติบำรุงแบบ “สะสมความสม
บูรณ์” มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องตลอดปี จะสามารถออกดอกได้เอง (ทั้งพันธุ์เบาและพันธุ์หนัก) โดยไม่ต้องเปิดตาดอกในช่วงเดือน ธ.ค.- ม.ค. จากนั้นก็จะทยอยออกมาเรื่อยๆ กลายเป็นไม่มีรุ่น

- กระท้อนปีออกดอกในช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ. ดังนั้นการทำกระท้อนก่อนฤดูจึงต้องทำให้ออกดอกก่อนช่วงเดือนดังกล่าว ด้วยการเตรียมความพร้อมต้นตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 (เรียกใบอ่อน) ทันทีหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นปีที่ผ่านมา ควบคู่กับเร่งระยะเวลาการบำรุงตามขั้นตอนต่างๆ ให้เร็วขึ้นด้วย

- การเตรียมต้นที่จะทำให้ออกก่อนฤดูด้วยการเว้นการออกดอกติดผลในรุ่นปีการผลิตนี้ แล้วบำรุงต้นไว้อย่างต่อเนื่องเพื่อรอโอกาส หรือไว้ผลในต้นให้เหลือน้อยๆ เพื่อไม่ให้ต้นโทรม จะช่วยให้การทำให้ออกก่อนฤดูในรุ่นปีการผลิตต่อไป (นอกฤดู) ง่ายและแน่นอนยิ่งขึ้น

- เนื่องจากธรรมชาติของกระท้อนออกดอกจากกิ่งแก่อายุข้ามปี ระหว่างที่มีผลอยู่บนต้นนั้น ถ้ามีกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลมากกว่ากิ่งที่ออกดอกติดผลให้เตรียมการบำรุงกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลนั้นให้ออกดอก แล้วทำเป็นกระท้อนก่อนฤดู โดยหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วให้บำรุงด้วยสูตร “สะสมอาหาร” ทั้งทางรากและทางใบต่อได้เลย ซึ่งขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกนี้อาจต้องใช้ระยะเวลานาน 3-4 เดือน แต่ถ้าประสบความสำเร็จก็ถือว่าคุ้ม

- ไม้ผลที่ผ่านการบำรุงมาอย่างดีแล้วต้องกระทบหนาวจึงออกดอกดีนั้น
ช่วงขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ถ้ามีการให้ “กลูโคส + 0-52-34 หรือ 0-42-56 + สังกะสี” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด 1-2 รอบ ให้รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอีก 20 วัน ให้อีกเป็นรอบ 2 ก็จะช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกและส่งผลให้เปิดตาดอกแล้วมีดอกออกมาดีอีกด้วย

บังคับกระท้อนให้ออกหลังฤดู
เลือกกระท้อนพันธุ์อีล่า เพราะมีนิสัยออกดอกและเก็บเกี่ยวได้ช้ากว่าสายพันธุ์อื่น โดยทำให้ออกผลช้ากว่าอีล่าด้วยกัน เพื่อบังคับให้เป็น อีล่า-ล่าฤดู หรือบังคับกระท้อนพันธุ์นิยมด้วยการยืดระยะเวลาในการบำรุงแต่ละระยะตามขั้นตอนให้นานขึ้นก็ได้ ดังนี้....

1. เรียกใบอ่อนให้ครบ 3 ชุด เมื่อได้แต่ละชุดมาแล้วไม่ต้องเร่งให้เป็นใบแก่แต่ปล่อยให้แก่เองตามธรรมชาติเพื่อยืดระยะเวลา

2. ยืดเวลาขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกให้นานขึ้นด้วยสูตรสะสมอาหาร (ธาตุรอง / ธาตุเสริม / กลูโคส) ไปเรื่อยๆ โดยยังไม่ปรับ ซี/เอ็น เรโช. (งดน้ำ) แม้ว่าต้นจะพร้อมแล้วก็ตาม จนกว่าจะได้ระยะเวลาที่ต้องการจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. แล้วเปิดตาดอก

3. เมื่อดอกออกมาแล้วให้บำรุงตามปกติเพราะไม่สามารถยืดอายุดอกให้นานขึ้นได้
4. บำรุงผลเล็กตามปกติ
5. บำรุงระยะผลขนาดกลางด้วยสูตร “บำรุงผลให้แก่ช้า” จนกระทั่งได้เวลาเก็บเกี่ยวตามต้องการจึงเปลี่ยนมาบำรุงด้วยสูตรบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวตามปกติ

หมายเหตุ :
ในเมื่อกระท้อนปีออกดอกช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ. ดังนั้นการทำกระท้อนล่าฤดูจึงต้องทำให้ออกดอกหลังช่วงเดือนดังกล่าว ให้นานที่สุดเท่าที่สภาพภูมิ อากาศและสภาพต้นอำนวย แล้วปฏิบัติบำรุงตั้งแต่ขั้นตอนแรก (เรียกใบอ่อน) จนถึงขั้นตอนสุดท้าย (บำรุงผลแก่) แบบยืดเวลาให้นานขึ้น

ขั้นตอนบำรุงกระท้อน :
1. เรียกใบอ่อน
ทางใบ :
- ให้ “ น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 100 ซีซี. + ยูเรีย จี. (200 กรัม) หรือ 25-5-5 (200 กรัม)” สูตรใดสูตรหนึ่ง ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7 วัน ต่อการเรียกใบอ่อน 1 รุ่น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ พรวนดินพูนดินโคนต้น ใช้หญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ ..... ทำ 2 ครั้ง ๆแรก เรียกใบอ่อน ครั้ง 2 เริ่มติดผลเล็ก

- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ให้ 25-7-7 (1/2 - 1 กก.) /ต้น ทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน บริเวณทรงพุ่ม

- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือปฏิบัติทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง
- หลังจากให้ทางใบแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่าง ตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- ถ้ามีการตัดแต่งรากด้วยแล้วให้ ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ ที่มีส่วนผสมของรำละเอียดด้วย จะช่วยให้แตกรากใหม่เร็วและดี

- ก่อนตัดแต่งกิ่งให้บำรุงจนต้นเริ่มผลิตาใบออกมาก่อน แล้วจึงลงมือตัดแต่งกิ่ง จากนั้นจึงเรียกใบอ่อนจะช่วยให้ต้นแตกใบอ่อนชุดใหม่ ดีกว่าตัดแต่งกิ่งก่อนแล้วจึงลงมือบำรุงเรียกใบอ่อนทีหลัง

- รักษาใบอ่อนที่แตกใหม่ละชุดให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้ ถ้าใบอ่อนชุดหนึ่งชุดใดถูกทำลายไปจะต้องเริ่มเรียกใบชุดที่หนึ่งใหม่ทำให้เสีย
เวลา

- กระท้อนต้องการใบอ่อน 3 ชุด โดยมีวิธีทำดังนี้
วิธีที่ 1 .... ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำ เสมอต่อเนื่องมาหลายๆ ปี หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อ ใบอ่อนชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ไม่ควรห่างกันเกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เรียกใบอ่อนชุด 3 ต่อได้เลยอีกเช่นกัน การที่ใบอ่อนชุด 2 ออกไม่พร้อมกันนั้น จะส่งผลให้ใบอ่อนชุด 3 ออกไม่พร้อมกันทั้งต้นอีกด้วย และเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

วิธีที่ 2....หลังจากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่ ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งเริ่มร่วง 1-2 ใบ ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 2 เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เร่งเป็นใบแก่ เมื่อใบอ่อนชุด 2 เป็นใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบก็ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 3 และเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

(วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า)

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 100 ซีซี. + 0-21-74 (200 กรัม) หรือ 0-39-39 (200 กรัม)” สูตรใดสูตรหนึ่ง 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือปฏิบัติเมื่อใบอ่อนเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงประเภทปากกัดปากดูด

- ถ้าต้องการให้ใบแก่เร็วขึ้นอีกก็ให้ฉีดพ่นตั้งแต่ใบเริ่มแผ่กางเพียงเล็กน้อย หรือฉีดพ่นก่อนที่ใบแผ่กาง (เพสลาด) นั่นเอง

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.สูง นอกจากช่วยทำให้ใบเป็นใบแก่แล้ว ยังเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้อีกด้วย

- ถ้าปล่อยให้ใบอ่อนออกมาแล้วเป็นแก่เองตามธรรมชาติต้องใช้เวลา 30-45 วัน

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 100 ซีซี. + 0-42-56 (400 กรัม)” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ให้ 8-24-24 (1/2 - 1 กก.) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน บริเวณทรงพุ่ม

- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- ปริมาณ 8-24-24 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นปีผลิตที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นปีผลิตที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมากให้ใส่ในปริมาณมากขึ้น แต่ถ้ารุ่นปีผลิตที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ปริมาณปานกลาง

- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิม แต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 30 วัน /ครั้ง ให้เปลี่ยนเป็น 15 วัน /ครั้ง

- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-3 เดือน ในห้วง 2-3 เดือนนี้ให้น้ำตาลทางด่วน 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุง และให้รอบ 2 ห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังได้สะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกเสียก่อน จากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ตรวจสอบสภาพอากาศ
ก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. (งดน้ำ) และก่อนลงมือเปิดตาดอกต้องแน่ใจว่าระหว่างที่กำลังบำรุงทั้งสองขั้นตอนนี้จะต้องไม่มีฝน เพราะถ้ามีฝนตกลงมาการงดน้ำก็ล้มเหลว และดอกที่ออกมาจะได้รับความเสียหาย.....ถ้ารู้แน่ว่าช่วงงดน้ำและเปิดตาดอกถึงช่วงดอกออกมาแล้วจะมีฝนก็ให้ระงับการปรับ ซี/เอ็น เรโช. และเปิดตาดอกไว้ก่อน ให้บำรุงต้นต่อไปอีกด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้นอาจจะปรับแผนการบำรุงเพื่อทำให้กระท้อนออกล่าฤดูด้วยการเลื่อนเวลาเริ่มปรับ ซี/เอ็น เรโช. และเปิดตาดอกให้ช้าออกไปเท่าที่สภาพภูมิอากาศจะอำนวยก็ได้

5. ปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 100 ซีซี. + 0-42-56 (200 กรัม)” 2 รอบ สลับแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น โดยนำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออก ให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด

หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และ “ลด” ปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกแน่นอนหลังการเปิดตาดอก

- เริ่มปฏิบัติหลังจากแน่ใจว่าต้นได้สะสมอาหารหรือมีลักษณะอั้นตาดอกเต็มที่แล้ว โดยสังเกตได้จากใบแก่โคนกิ่ง 2-3 ใบ ซึ่งเป็นใบอายุข้ามปีเหลืองร่วงพร้อมกันทั้งต้น

- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมามาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว

- ขั้นตอนการปรับ ซี/เอ็น เรโช. ได้ผลสมบูรณ์หรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี. มาก ส่วนปริมาณ เอ็น. เริ่มลดลง ความพร้อมของต้น (อั้นตาดอก) ก่อนเปิดตาดอก สังเกตได้จากลักษณะใบใหญ่-หนา-เขียวเข้ม ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งและใบกรอบเปราะ ส้นใบนูน ใบหนายกขึ้นส่องแสงไม่ทะลุ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน ตาดอกโชว์นูนเห็นชัด

- เมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วนเพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดี หรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วนทางใบซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 20-30 วัน

- การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น เพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆ เพียงเปียกใบเท่านั้น

- เมื่องดน้ำหรือไม่รดน้ำแล้ว จำเป็นต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไป โดยทำร่องระบายน้ำใต้ดิน หรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย

- กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าสวนพื้นราบยกร่องแห้งจึงจะทำให้ใบสลดได้ อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช โดยกะคะเนให้ดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหง และมีความชื้นไม่เกิน 10 % ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช พอดี

- มาตรการเสริมด้วยการ “รมควัน” ทรงพุ่มช่วงหลังค่ำ ครั้งละ 10-15 นาที
3-5 รอบ ห่างกันรอบละ 2-3 วัน จะช่วยให้การปรับ ซี/เอ็น เรโช สำเร็จเร็วขึ้น

6. เปิดตาดอก :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไทเป 100 ซีซี. + 13-0-46 (400 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
- ให้ 8-24-24 (1/2 - 1 กก.) /ต้น ทรงพุ่ม 3-5 ม. บริเวณโคนต้น
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน พอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้น และสภาพอากาศพร้อม
- เปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

- เปิดตาดอกแล้วมีทั้งใบอ่อนและดอกออกมาพร้อมกัน ให้เปิดตาดอกด้วยสูตรเดิมซ้ำอีก 1-2 รอบ นอกจากช่วยกดใบอ่อนที่ออกมาพร้อมกับดอกแล้ว ยังดึงช่อดอกที่ยังไม่ออกให้ออกมาได้อีกด้วย

7. บำรุงดอก
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 100 ซีซี. + 15-45-15 (400 กรัม....หน้าแล้ง) หรือ 0-52-34 (400 กรัม) (หน้าฝน) + เอ็นเอเอ. 100 ซีซี.” 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นให้โชกจนลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน พอหน้าดินชื้น
- ให้ 8-24-24 (1/2 - 1 กก.) /ต้น ทรงพุ่ม 3-5 ม. บริเวณทรงพุ่ม
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม บำรุงด้วย เอ็นเอเอ. จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวัง เพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆ ให้แคลเซียม โบรอน.เดี่ยวๆ 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงไปจนถึงช่วงดอกบาน

- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ

- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาเปิดตาดอกให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่า
นั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆ แปลงปลูก .... มาตรการบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอตั้งแต่ก่อนเปิดตาดอกจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- การฉีดพ่นเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆ ของดอก ควรฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียก หรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆ ก็ได้

- การไม่ใช้สารเคมีใดๆ เลย ติดต่อกันมานาน จะทำให้ให้มีผึ้งและมีแมลงธรรมชาติเข้ามาช่วยผสมเกสร ซึ่งจะส่งผลให้การติดผลดีขึ้น

- ธรรมชาติกระท้อนช่วงออกดอกต้องการน้ำมากกว่าไม้ผลอื่นๆ ดังนั้นการบำรุงตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอกจนกระทั่งมีดอกออกมาควรเพิ่มปริมาณน้ำให้มากจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ดีขึ้น ช่วงนี้ถ้าขาดน้ำหรือได้น้ำไม่พอเพียงดอกจะแห้งและร่วง

8. บำรุงผลเล็ก :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 50 ซีซี. + ยูเรก้า 412 (50 ซีซี.) + สารสมุนไพร 200 ซีซี.” 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีด พ่นให้โชกลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน พอหน้าดินชื้น
- ใส่กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ให้ 21-7-14 (1/2 – 1 กก.) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน ให้เฉพาะบริเวณทรงพุ่ม

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว

9. บำรุงผลกลาง :
ทางใบ :
- ให้ “ น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 50 ซีซี. + ยูเรก้า 412 (50 ซีซี.) + สารสมุนไพร 200 ซีซี.” 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นให้โชกลงถึงพื้น

– ให้น้ำตาลทางด่วน 2-3 ครั้ง จนถึงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว โดยแบ่งช่วง เวลาให้ตามความเหมาะสม

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ให้ 21-7-14 (1/2 - 1 กก) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน เฉพาะบริเวณทรงพุ่ม

- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน พอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- การบำรุงระยะผลขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง ต้องให้น้ำมากสม่ำเสมอแต่ต้องไม่ขังค้าง ถ้าได้รับน้ำน้อยจะทำให้เนื้อแข็งกระด้าง ผลไม่โต ปุยน้อย หาก มีฝนตกหนักลงมากะทันหันก็อาจทำให้ผลแตกผลร่วงได้

10. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ 0-21-74 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” 1-2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ฉีดพ่นให้โชกลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรีย์วัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
- ให้ 13-13-21 (1/2 - 1 กก.) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
– ให้น้ำสม่ำเสมอถึงวันเก็บเกี่ยว ทุก 2-3 วัน พอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน
- ช่วงผลแก่จัดใกล้หรือก่อนเก็บเกี่ยวไม่ต้องงดน้ำแต่ต้องให้น้ำสม่ำเสมอเพื่อให้เนื้ออ่อนนุ่มฉ่ำน้ำจนใช้ช้อนตักเนื้อรับประทานได้นั้น หากมีฝนตกลงมาอาจทำให้มีน้ำมากเกินไป ดังนั้น จะต้องควบคุมปริมาณน้ำที่มาจากฝนให้อยู่ในระดับที่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไปให้ได้........ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวนี้หากงดน้ำเหมือนผลไม้อื่นๆ เนื้อจะแข็งไม่สามารถใช้ช้อนตักรับประทานได้

- ถ้ามีฝนตก หลังจากหมดฝนแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเดิมและวิธีเดิมต่อไปอีก 10-20 วัน จากนั้นให้สุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก็จะรู้ว่าสมควรลงมือเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุงต่อไปอีกจึงเก็บเกี่ยว ช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวมีฝนตกชุก แนะนำให้ฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วน 1 รอบเพื่อป้องกันต้นสะสมไนโตรเจน (จากน้ำฝน) มากเกินไปซึ่งจะทำให้ผลมีรสเปรี้ยว

- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมของต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีผลิตต่อไปอีกด้วย

- กระท้อนไม่ต้องการพักต้นหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อผลสุดท้ายหลุดจากต้นต้องเร่งบำรุงเรียกใบอ่อนเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นทันที จะช่วยให้การออกดอกติดผลในรุ่นการผลิตปีต่อไปดีขึ้น

เทคนิคทำกระท้อน “ก่อน-หลัง” ฤดูกาล
ปัจจุบันยังไม่มีสารหรือฮอร์โมนใดๆ บังคับกระท้อนให้ออกนอกฤดูได้ และไม่มีกระท้อนทะวาย (ให้ผลปีละ 2 รุ่น) ดังนั้น การที่จะบังคับกระท้อนให้ออกนอกฤดูกาลปกติ (ก่อน/หลัง) ได้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีบังคับโดยการบำรุงอย่างเต็มที่เท่านั้น

บังคับกระท้อนให้ออกก่อนฤดู :
เลือกกระท้อนสายพันธุ์เบา “ทับทิม” ที่มีผลผลิตแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงต้นเดือน พ.ค. มาทำกระท้อนให้ออกก่อนฤดู โดยบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวรุ่นปีการผลิตปีนี้ ทางรากด้วย 8-24-24 กับบำรุงทางใบด้วย 0-21-74 และเมื่อถึงปลายเดือน พ.ค. ให้เร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตบนต้นให้หมดแบบ “ล้างต้น” แล้วลงมือบำรุงตามขั้นตอน ดังนี้ ....

ช่วงเดือน พ.ค. - ก.ค. (เตรียมต้น)
หลังจากเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายจากต้นไปแล้ว เริ่มบำรุงเพื่อเตรียมความพร้อมของต้น โดย ตัดแต่งกิ่ง-ปรับสภาพทรงพุ่มให้โปร่ง-เรียกใบอ่อน ให้ได้ 1-2 ชุด เมื่อใบอ่อนออกมาแล้วให้เร่งบำรุงใบอ่อนให้เป็นใบแก่โดยเร็ว ส่วนทางรากใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ยิบซั่มธรรมชาติ กระดูกป่น ตามปกติ ระยะ เวลา 3 เดือน (พ.ค. - มิ.ย. - ก.ค.) ต่อการเรียกใบอ่อน 2 ชุดนั้น จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์อย่างแท้จริงรองรับ โดยเฉพาะมาตรการบำรุงต้นให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. (ความสมบูรณ์สะสม) ต่อเนื่องมา แล้วหลายๆ ปี ติดต่อกัน

หมายเหตุ :
ต้นที่ผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องมานานหลายๆ ปี และในรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมาไว้ผลน้อยแต่บำรุงเต็มที่ เมื่อถึงรุ่นปีการผลิตใหม่ให้เรียกใบอ่อนเพียง 1 ชุด แล้วบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อได้เลย ทั้งนี้เพื่อย่นระยะเวลาให้เร็วขึ้น

ช่วงต้น ส.ค. - กลาง ก.ย. (สะสมอาหารเพื่อการออกดอก)
หลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายที่ต้องการเพสลาดแล้ว ให้ลงมือบำรุงทางใบด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ทั้งทางใบ และทางรากอย่างต่อเนื่องเพื่อเร่งให้ต้นได้สะสมทั้งอาหารกลุ่มสร้างดอกบำรุงผล (ซี.) และกลุ่มสร้างใบบำรุงต้น (เอ็น.) ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

ช่วงปลายเดือน ก.ย. (ปรับ ซี/เอ็น เรโช)
ปรับ ซี/เอ็น เรโช. โดยทางรากให้เปิดหน้าดินโคนต้น งดน้ำเด็ดขาด ส่วน ทางใบให้สารอาหารสูตรสะสมตาดอกเหมือนเดิม แต่ให้พอเปียกใบ ระวังอย่าให้น้ำลงพื้น เพราะจะทำให้มาตรการงดน้ำล้มเหลว พร้อมกันนั้นให้เสริมด้วยการ “รมควัน” 2-3 วันช่วงหลังค่ำ ครั้งละ 10-15 นาที เพื่อเร่งให้ใบแก่โคนกิ่งสลดแล้ว "เหลือง-แห้ง-ร่วง" เร็วขึ้น

ช่วงต้น ต.ค. (เปิดตาดอก)
เปิดตาดอกด้วย “ไทเป + 13-0-46” 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

หมายเหตุ :
- กระท้อนก่อนฤดูออกสู่ตลาดพร้อมกับทุเรียน เงาะ มังคุด อาจไม่ได้ราคาดี แต่ถ้าเป็นกระท้อนคุณภาพ เกรด เอ. ขนาดจัมโบ้ ก็พอสู้ได้

- ต้นที่สมบูรณ์เต็มที่เพราะได้รับการปฏิบัติบำรุงแบบมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายปี สามารถออกดอกได้เอง (ทั้งพันธุ์เบาและพันธุ์หนัก) โดยไม่ต้องเปิดตาดอกในช่วงเดือน ธ.ค.- ม.ค. จากนั้นก็จะทยอยออกมาเรื่อยๆกลายเป็นไม่มีรุ่น

- กระท้อนปีออกดอกในช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ. ดังนั้นการทำกระท้อนก่อนฤดูจึงต้องทำให้ออกดอกก่อนช่วงเดือนดังกล่าว ด้วยการเตรียมความพร้อมต้นตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 (เรียกใบอ่อน) ทันทีหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นปีที่ผ่ามา ควบคู่กับเร่งระยะเวลาการบำรุงตามขั้นตอนต่างๆ ให้เร็วขึ้นด้วย

- เตรียมต้นที่จะทำให้ออกก่อนฤดูด้วยการเว้นการออกดอกติดผลในรุ่นปีการผลิตนี้ แล้วบำรุงต้นไว้อย่างต่อเนื่องเพื่อรอโอกาสหรือไว้ผลในต้นให้เหลือน้อยๆ เพื่อไม่ให้ต้นโทรม จะช่วยให้การทำให้ออกก่อนฤดูในรุ่นปีการผลิตต่อไปง่ายและแน่นอนยิ่งขึ้น

- เนื่องจากธรรมชาติของกระท้อนออกดอกจากกิ่งแก่อายุข้ามปี ระหว่างที่มีผลอยู่บนต้นนั้น ถ้ามีกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลมากกว่ากิ่งที่ออกดอกติดผล ให้บำรุงกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลนั้นให้ออกดอกแล้วทำเป็นกระท้อนก่อนฤดู โดยหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วให้บำรุงด้วยสูตร “สะสมอาหาร” ทั้งทางรากและทางใบต่อได้เลย ซึ่งขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกนี้อาจต้องใช้ระยะเวลานาน 3-4 เดือน แต่ถ้าประสบความสำเร็จก็ถือว่าคุ้ม

บังคับกระท้อนให้ออกหลังฤดู :
เลือกกระท้อนพันธุ์ “อีล่า” เพราะมีนิสัยออกดอกและเก็บเกี่ยวได้ช้ากว่าสายพันธุ์อื่น โดยทำให้อีล่าออกช้ากว่าอีล่าด้วยกัน เพื่อบังคับให้เป็น อีล่า-ล่าฤดู หรือบังคับกระท้อนพันธุ์นิยมด้วยการยืดระยะเวลาในการบำรุงแต่ละระยะตามขั้นตอนให้นานขึ้นก็ได้ ดังนี้ :

1. เรียกใบอ่อนให้ครบทั้ง 3 ชุด เมื่อได้แต่ละชุดมาแล้วไม่ต้องเร่งให้เป็นใบแก่ แต่ปล่อยให้แก่เองตามธรรมชาติเพื่อยืดระยะเวลา

2. ยืดเวลาขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกให้นานขึ้นด้วยสูตรสะ
สมอาหาร (ธาตุรอง/ธาตุเสริม/น้ำตาลทางด่วน) ไปเรื่อยๆโดยยังไม่ปรับ ซี/เอ็น เรโช. (งดน้ำ) แม้ว่าต้นจะพร้อมแล้วก็ตาม จนกว่าจะได้ระยะเวลาที่ต้องการจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. แล้วเปิดตาดอก

3. เมื่อดอกออกมาแล้วให้บำรุงไปตามปกติเพราะไม่สามารถยืดอายุดอกให้นานขึ้นได้
4. บำรุงผลเล็กตามปกติ
5. บำรุงระยะผลขนาดกลางด้วย สูตรบำรุงผลให้แก่ช้า จนกระทั่งได้เวลาเก็บเกี่ยวตามต้องการ จึงเปลี่ยนมาบำรุงด้วยสูตรบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวตามปกติ

หมายเหตุ :
เพราะกระท้อนปีออกดอกในช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ. ดังนั้นการทำกระท้อนล่าฤดูจึงต้องทำให้ออกดอกหลังช่วงเดือนดังกล่าวให้นานที่สุดเท่าที่สภาพภูมิ อากาศ และสภาพต้นอำนวย แล้วปฏิบัติบำรุงตั้งแต่ขั้นตอนแรก (เรียกใบอ่อน) จนถึงขั้นตอนสุดท้าย (บำรุงผลแก่) แบบยืดเวลาให้นานขึ้น

** แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม :
- ทำกระท้อนดอง
- ทำกระท้อนแช่อิ่ม

***********************************************************


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/01/2024 3:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 30/01/2024 7:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
10. ลำไย นอกฤดู :
เกร็ดความรู้เรื่องลำไย :

* เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ถึงใหญ่มากอายุนับร้อยปี ปลูกได้ทุกพื้นที่และทุกภาคของประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งความหนาวเย็นก่อนออกดอก ชอบดินดำร่วน หรือดินปนทรายร่วน อินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำดี ทนแล้งแต่ไม่ทนต่อน้ำท่วมขังค้าง ช่วงพักต้นต้องการน้ำน้อย ช่วงออกดอกติดผลต้อง การน้ำสม่ำเสมอ

* ต้นที่เกิดจากเพาะเมล็ดมีรากแก้วหยั่งลงดินลึกนอกจากช่วยยึดลำต้นให้ต้านแรงลมได้ดีแล้วยังมีรากฝอยมาก หาอาหารได้มาก อายุยืน และทนแล้งได้ดี แต่มีข้อเสีย คือ ลำเปล้าจะสูงหรือง่ามกิ่งแรกสูงจากพื้นมาก กิ่งสาขายืดยาวแลดูเก้งก้าง สุดท้ายออกดอกติดผลไม่ดีเพราะกลายพันธุ์ แก้ไขโดยเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดีตามต้องการ

* เอกสารทางวิชาการระบุว่า ก่อนลำไยออกดอกต้องได้รับความหนาวเย็น 20 องศา ซ. ติดต่อกันนาน 20 วันเป็นอย่างน้อย แต่ปัจจุบันลำไยในเขตอื่น เช่น สงขลา. สุราษฎร์ธานี. ราชบุรี. กาญจนบุรี. นครราชสีมา. จันทบุรี. ปทุมธานี และอีกหลายจังหวัดที่ไม่ได้อยู่ในเขตภาคเหนือ สามารถออกดอกได้ในเดือน ก.ค. - ส.ค.ซึ่งเป็นฤดูฝน แล้วแก่เก็บเกี่ยวในช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ. ได้ ทั้งๆที่เป็นลำไยสายพันธุ์อีดอ (พันธุ์เบา....ดอ. แปลว่า เบา) เหมือนกัน ในขณะเดียวกัน ทำไมลำไยในเขตภาคเหนือซึ่งส่วนใหญ่บังคับด้วยการราดสารโปแตสเซียม คลอเรต. แล้วจึงออกดอกในฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูกาลปกติ หรือทำไมเมื่อราดสารแล้วจึงไม่ออกก่อนหรือหลังฤดูกาลปกติ

* มีดอกสมบูรณ์เพศ เกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันและต่างดอกกันแต่ในกิ่งเดียวกัน ดอกตัวผู้ที่โคนช่อจะบานพร้อมผสมก่อนดอกกระเทยที่อยู่ปลายช่อ เกสรตัวผู้เกสรตัวเมียผสมกันได้ทั้งในดอกเดียวกันหรือต่างดอกต่างต้นได้

* ลำไยออกดอกติดผลดีทีปลายกิ่งเหนือทรงพุ่ม ลักษณะกิ่งกระโดง แต่จะไม่ออกดอกติดผลจากกิ่งด้านล่างของทรงพุ่มซึ่งชี้ลง และกิ่งในทรงพุ่ม

* ชาวสวนลำไยนิยมให้ผู้เลี้ยงผึ้งนำรังผึ้งไปไว้ในสวนช่วงออกดอก เพื่ออาศัยผึ้งเข้าช่วยผสมเกสร

* เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างไม่สม
บูรณ์ที่เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อา
กาศร้อน หรือฝนตกชุก) ผสมกัน แล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว เรียกว่ากระเทย

* ลำไยผลใหญ่ขนาด 40-50 ผล/กก. ลักษณะผล ไหล่ยก-อกผาย-ท้ายมน-สีเหลืองน้ำตาลเข้ม มีราคาสูง เนื่องจากได้รับการบำรุงอย่างถูกต้องสม่ำ
เสมอต่อ เนื่องนานหลายปี

* การห่อผลเมื่ออายุผล 5-7 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยว จะช่วยให้สีเปลือกผลสวย อาการผลแตกผลร่วงน้อยลง ซึ่งดีกว่าการห่อผลช่วงใกล้เก็บเกี่ยวเพียง 1-2 สัปดาห์

* สวนลำไยเก่า ต้นและกิ่งใหญ่ถึงใหญ่มาก ต้องไม้ค้ำกิ่งที่บางครั้งใช้ไม้เนื้อแก่นขนาดหน้า 4-6 นิ้วเพื่อรับน้ำหนัก ทำให้สิ้นเปลือง การปฏิบัติบำรุงจนถึงการเก็บเกี่ยวค่อนข้างยุ่งยาก หากเปลี่ยนแนวคิดในการจัดรูปสวนลำไยแบบเดิมมาเป็นปลูกแบบระยะชิด แล้วควบคุมขนาดกลางทรงพุ่มและขนาดความสูงที่ 3-5 ม. ตั้งแต่ระยะต้นเล็กก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้

* การใช้สารโปแตสเซียม คลอเรต. บังคับลำไยให้ออกนอกฤดูนั้น....
- ลำไยสีชมพู ได้ผลดีกว่าอีดอ
- ใช้กับต้นที่ใบแก่อายุ 30-45 วัน ได้ผลดีกว่าต้นที่อายุใบน้อย
- ใช้ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน ได้ผลดีกว่าใช้ในฤดูฝน
- ราดทางดิน ได้ผลดีกว่าฉีดพ่นทางใบ
- อัตราใช้ 4 กรัม/ตร.ม. ได้ผลดีกว่าใช้ 8-16 กรัม/ตร.ม.

* มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ลำไยที่ถูกบังคับให้ออกดอกทำไมจึงมักมีผลเล็กหรือคุณภาพไม่ดีเท่าทีควร นั่นเป็นเพราะว่าสารโปแตสเซียม คลอเรต. บังคับลำไยโดยการทำลายระบบราก ระหว่างที่ดอกเริ่มออกและผลเริ่มติดนั้น ระบบรากยังไม่ฟื้นตัวดี ต้นจึงไม่มีรากหรือมีน้อยมากสำหรับดูดสารอาหารจากดินไปหล่อเลี้ยงต้น กอร์ปกับชาวสวนลำไยไม่ได้ให้สารอาหารทางใบ

สรุปก็คือ เหตุที่ลำไยราดสารมีผลเล็กและคุณภาพไม่ดี เพราะต้นได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอนั่นเอง

* โปแตสเซียม คลอเรต. ไม่ใช่สารอาหารที่ทำให้ลำไยออกดอกโดยตรง
แต่เป็นสารที่ไปยับยั้ง หรือปรับเปลี่ยนอัตราส่วนระหว่าง ซี. กับ เอ็น. ภายในต้นอย่างรุนแรง จนกระทั่งต้นเกิดสภาวะเครียดสูงสุด จึงแทงตาดอกออกมาทั้งๆ ที่ยังไม้พร้อม ถือว่าเป็นการบังคับแบบทรมาน เมื่อต้นไม่พร้อม (ความสมบูรณ์) ดอกและผลออกมาจึงด้อยคุณภาพ บางครั้งถึงกับต้นตายไปเลย......ในทางตรงกันข้าม หากปรับเปลี่ยนวิธีการบังคับแบบทรมาน มาเป็นบังคับแบบบำรุง โดยสร้างและสะสมอาหารเพื่อการออกดอกติดผลไว้ภายในต้นให้มากี่สุดเท่าที่จะมากได้ จากสถานการณ์ที่เลวร้ายต่อต้นลำไยก็จะกลับกลายเป็นดี และดีตลอดไปอย่างยั่งยืนได้แน่นอน

* การใช้สารโปแตสเซียม คลอเรต (พาวิน มะโนชัย / 2542) รายงานว่าโปแตสเซียม คลอเรท สามารถทำให้ลำไยออกนอกฤดูกาลได้ โดยลำไยอีดอ ใช้สาร 8 กรัม ต่อ ตร. ม. สำหรับพันธุ์ชมพู ใช้สารอัตรา 1 กรัม ต่อ ตร.ม. จะทำให้ออกดอก 100% โดยลำไยต้องได้รับการปฏิบัติดูแลโดยการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ จนแตกกิ่งใหม่และมีใบแก่อย่างสมบูรณ์ โดยสังเกตจากสายตาว่ามีใบสีเขียวเข้ม แล้วจึงใช้สารโปแตสเซียม คลอเรท ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดดินบริเวณแนวชายทรงพุ่ม แต่ก่อนใส่สารและหลังใส่สารควรรดน้ำให้กับต้นลำไยให้ดินชุ่มอยู่เสมอ

* ช่วงก่อนออกดอก ถ้าลำไยได้รับความชื้นสัมพัทธ์ 70% จากหมอกหรือน้ำค้าง จะช่วยส่งเสริมการออกดอกดี ถ้าไม่มีหมอกหรือน้ำค้างให้ฉีดพ่นละอองน้ำเหนือทรงพุ่ม รอบแรกช่วงเวลาก่อน 10 โมงเช้า และรอบ 2 หลัง 5-6 โมงเย็น ติดต่อกัน 7 วันแทนก็ได้

* ลำไยที่ผ่านการบำรุงแบบสะสมสารอาหารครบสูตร จนต้นมีความสม บูรณ์สูง ต่อเนื่องมาอย่างน้อย 2-3 รุ่นการผลิต เมื่อต้นใดออกดอกเป็นลำไยปี (ในฤดู) แล้วต้องการให้ออกดอกชุดใหม่เป็นลำไยนอกฤดู ทำได้โดยเด็ดดอกปีทิ้ง ตั้งแต่เริ่มแทงออกมาใหม่ๆ จากนั้นบำรุงด้วยสูตร “เปิดตาดอก” ตามปกติเหมือนเมื่อครั้งเปิดตาดอกลำไยปี อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง จากสภาพต้นที่ได้สะสมอาอาหารกลุ่มสะสมตาดอกไว้ก่อนแล้วนั้น กับถ้าสภาพอากาศเหมาะสมจะส่งผลให้ลำไยต้นนั้นออกดอกชุดใหม่ในอีก 2-2 เดือนครึ่งได้

* อายุใบและตำแหน่งใบที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นมาตรฐาน คือ ใบรวมในตำแหน่งที่ 3, 4 ที่มีอายุ 6-8 สัปดาห์ หลังจากเริ่มแตกใบ เนื่องจากค่าที่ได้มีความคงที่ และมีการเปลี่ยนแปลงน้อย

การเตรียมต้น ช่วงไม่มีผลบนต้น :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 20-30 วัน
- ให้น้ำตาลทางด่วน 1-2 รอบ ห่างกับรอบละ 30 วัน

ทางราก :
- ใส่กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนา
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) รดทั่วแปลง ทุกตา
รางนิ้ว +25-7-7 (1 กก.ต้นเล็ก – 2 กก.ต้นใหญ่) บริเวณทรงพุ่ม เดือนละครั้ง

– ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

การบังคับ :
บังคับลำไยด้วยสารโปแตสเซียม คลอเรต หรือ โซเดียม คลอเรต
หลักการและเหตุผล :

ฮอร์โมนพาโคลบิวทาโซล สามารถบังคับมะม่วง ทุเรียน ชมพู่ ให้ออกดอกแล้วพัฒนาเป็นผลนอกฤดูกาลปกติได้ แต่ไม่สามารถนำมาใช้กับลำไยได้

เคยมีนักวิชาการไทย (ไม่ประสงค์เปิดเผยนาม) กับนักวิชาการไต้หวันได้ร่วมกันวิจัยการใช้สารโปแตสเซียม คลอเรต. และโซเดียม คลอเรต. บังคับลำไยให้ออกนอกฤดู ในเขตภาคตะวันออกและภาคใต้ ซึ่งผลงานค้นคว้าวิจัยครั้งนั้นพอสรุปได้ว่า ลำไยต้นมี่มีความสมบูรณ์สูง ตอบสนองต่อสารโปแตสเซียม คลอ เรต. หรือโซเดียม คลอเรต. ดีมาก สามารถออกดอกนอกฤดูกาลได้ ส่วนต้นที่มีความสมบูรณ์น้อย ไม่ตอบสนองและไม่ออกดอก นอกจากนี้ยังค้นพบอีกว่า หลังจากต้นลำไยได้รับสารฯ เข้าไปแล้วจะเกิดอาการต้นโทรมอย่างมากบางต้นถึงกับยืนตายไปเลยทั้งๆ ที่ราดสารฯ เพียงครั้งเดียว หลังจากได้ข้อสรุปผลงานค้นคว้าวิจัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นักวิชาการทั้งสองท่านก็เก็บผลงานนั้นไว้โดยมิได้เผยแพร่ เพราะมีเรื่องของธุรกิจทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง

กรณีชาวสวนลำไย จ.สงขลา อ้างว่าได้พบสารบังคับลำไยให้ออกนอกฤดูได้โดยบังเอิญเป็นคนแรกแล้วปิดเป็นความลับ นักวิชาการเข้าไปขอข้อมูลก็ไม่ยอมเปิดเผยนั้น กลายเป็นเรื่องโกหก เพราะแท้จริงแล้วชาวสวนผู้นั้นใช้สารโซ เดียม คลอเรต. หรือโปแตสเซียม คลอเรต. อันมาจากผลงานวิจัยโดยนักวิชาการไทย และนักวิชาการไต้หวันนี่เอง

ต่อมานักวิชาการอื่นๆได้ค้นคว้าวิจัยต่อ โดยใช้สารประเภทคลอเรต.ทุกชนิด จนกระทั่งพบว่าสารโปแตสเซียม คลอเรต. กับโซเดียม คลอเรต. เท่านั้น ที่มีประสิทธิภาพในการบังคับลำไยให้ออกดอกนอกฤดูได้ จึงได้เผยแพร่วิธี
การใช้สารฯ อย่างถูกต้องต่อไป

สรุปผลงานค้นคว้าวิจัย :
1. อัตราใช้ 10, 20 และ 40 กรัม ต่อพื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตร.ม. หลังราดสาร 20-30 วัน ลำไยทุกต้นออกดอกได้ไม่แตกต่างกัน ส่วนต้นที่ไม่ได้ราดสารจะไม่ออก

2. ใช้กับลำไยที่ผ่านการเตรียมต้นจนมีความสมบูรณ์สูง ออกดอกได้ดี เร็วและจำนวนมากกว่าต้นที่มีความสมบูรณ์น้อย นอกจากนี้ยังส่งผลไปถึงช่วงติดเป็นผลแล้ว โดยต้นที่สมบูรณ์กว่าให้ผลผลิตคุณภาพดีกว่าอีกด้วย

3. การใช้สารฯ โดยราดโคนต้นหรือฉีดพ่นทางใบ ให้ประสิทธิภาพไม่ต่าง กัน แต่การฉีดเข้าลำต้นโดยตรงไม่ได้ผล

4. ใช้สารช่วง ต.ค.– ปลาย พ.ย. ได้ผลดีกว่าช่วงเวลาอื่นๆ
5. ใช้กับพันธุ์อีดอ. สีชมพู. และใบดำ. ได้ผลดีแต่พันธุ์แห้ว. ซึ่งได้ผลเช่น
กันแต่ออกดอกช้า


วิธีใช้สารโปแตสเซียม คลอเรต. หรือ โซเดียม คลอเรต. บังคับลำไย
1. เลือกต้นหรือเตรียมต้นที่มีความสมบูรณ์สูง อายุต้นไม่น้อยกว่า 5 ปี หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้วได้รับการฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที ได้แก่ ตัดแต่งกิ่ง. เรียกใบอ่อน 3 ชุด, เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่. ไม่เคยได้รับสารโซเดียม คลอเรต. และโปแตสเซียม คลอเรต. มาก่อนอย่างน้อย 2-3 ปี และปีที่ไม่ได้รับสารฯ ก็ยังให้ผลผลิตดีตามปกติ

2. เปิดหน้าดินโคนต้น และต้องไม่มีต้นวัชพืชขึ้นบริเวณโคนต้นรอบๆทรงพุ่ม
3. รดน้ำโคนต้นทั่วบริเวณทรงพุ่ม 1-3 วันติดต่อกันให้ดินชุ่มก่อนลงมือราดสาร
4. อัตราใช้และวิธีใช้
- ใช้สารโปแตสเซียม คลอเรต. พื้นที่ดินทรายหรือดินร่วนปนทราย
* อายุต้น 5-7 ปี ใช้ 100 กรัม /ต้น /น้ำ 100 ล
* อายุต้น 7-10 ปี ใช้ 200 กรัม /ต้น /น้ำ 100 ล.
* อายุต้น 10 ปีขึ้นไป ใช้ 200 กรัม /ต้น /น้ำ 100 ล.
** พื้นที่ดินเหนียว เพิ่มอัตราใช้ 50 กรัม ของอัตราใช้ในดินทรายหรือดินร่วนปนทราย
- ใช้สารโซเดียม คลอเรต. ชนิด 95%^ อัตรา 30 กรัม/น้ำ 80 ล./พื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตร.ม.

5. ขุดร่อง 15-20 ซม. ล้อมรอบชายพุ่มสำหรับพื้นที่ลาดเอียง พื้นที่ทรงพุ่มราบธรรมดาไม่จำเป็นต้องขุดร่องแต่ให้ราดสารฯ ลงบนพื้นโดยตรงเลยก็ได้ราดสารฯ ในร่องหรือลงพื้นให้เป็นวงรอบทรงพุ่ม พื้นที่วงกว้าง 50 ซม.

6. ผสมสารฯ (อย่างใดอย่างหนึ่งตามต้องการ) ลงในน้ำ (พีเอช 7.0) คนเคล้าให้เข้ากันดีและคนบ่อยๆ เพื่อป้องกันนอนก้น ราดน้ำผสมสารลงในร่องที่เตรียมไว้หรือราดลงพื้นที่ชายพุ่มซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ของปลายรากฝอย ซึ่งรากฝอยจะดูดซึมสารเข้าสู่ลำต้นได้รวดเร็ว

7. หลังจากราดสารฯ ต้องให้น้ำโชกสม่ำเสมอติดต่อต่อกัน 10-15 วัน ช่วงนี้ควรปฏิบัติต่อต้นลำไยทางรากโดยให้ฮอร์โมนบำรุงราก +จุลินทรีย์ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 15-20 วัน ใส่ยิบซั่ม กระดูกป่น ปุ๋ยอินทรีย์หมักชีวภาพ คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งเพื่อรักษาความชุ่มชื้นน้าดิน พร้อมกับให้ทางใบด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

8. หลังจากราดสารฯ แล้ว ต้นที่มีความสมบูรณ์สูงจะเริ่มออกดอกใน 15-20 วัน ส่วนต้นที่มีความสมบูรณ์น้อยจะออกดอกใน 20-30 วันหรือไม่ออกเลย

หมายเหตุ :
- โปแตสเซียม คลอเรต. เป็นสารไวไฟ แก้ด้วยการผสมบอแรกซ์.
- ก่อนตัดสินใจเลือกใช้สารตัวใดตัวหนึ่ง (โซเดียม คลอเรต. หรือโปแตส เซียม คลอเรต.) ควรตรวจสอบเปอร์เซ็นต์ หรือความเข้มข้นของเนื้อสารให้แน่ นอนก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อความแน่นอนของประสิทธิภาพนั่นเอง

- การราดสารเป็นบังคับต้นแบบทรมานชนิดเฉียบพลัน กล่าวคือ สารทั้งสองชนิดนี้ไปทำลายระบบราก ทำให้ส่งสารอาหารจากพื้นดินไปเลี้ยงต้นไม่ได้
จึงทำให้ต้นที่มีความสมบูรณ์สูงอยู่ก่อนแล้วออกดอก แต่ต้นที่ไม่สมบูรณ์นอก
จากไม่ออกดอกแล้วต้นยังโทรมจนกระทั่งตายไปเลย ..... เมื่อมีดอกออกมาและพัฒนาเป็นผลได้แล้วแต่ต้นไม่มีรากหรือระบบรากยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์ ก็จะไม่มีสารอาหารส่งไปเลี้ยงดอกและผลเช่นกัน นั่นคือ ดอกจะไม่สมบูรณ์ผสมไม่ติด หรือผสมติดเป็นผลได้ ผลนั้นก็ไม่มีคุณภาพ

- การบังคับลำไยด้วยวิธีราดสารฯ ให้ประสบความสำเร็จ ได้ผลผลิตคุณ ภาพสูง (เกรด เอ.-จัมโบ้) ปริมาณมาก และต้นไม่โทรม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมของต้นให้สมบูรณ์อย่างแท้จริง ตั้งแต่ก่อนราดสารฯ จนกระ ทั่งการปฏิบัติบำรุงระยะต่างๆ จนถึงเก็บเกี่ยวอย่างถูกต้องตรงตามความการที่แท้จริงของลำไยและสม่ำเสมอ

บังคับลำไยออกดอก เดือน พ.ย. – ธ.ค.
1) หลังเก็บเกี่ยวลำไยในเดือน ส.ค. ตัดแต่งกิ่งทั้งกิ่งแนวนอนและแนว ตั้งของทรงพุ่ม ให้เหลือความยาวเพียง 3 ม. เป็นอย่างมาก พร้อมทั้งตัดยอดประธานตรงกลางทรงพุ่ม เพื่อให้แสงแดดส่องทั่วทรงพุ่มลงถึงพื้นดิน

2) ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ผสมกับปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 1:1 หว่านปุ๋ยบริเวณชายพุ่มของทรงต้น ๆละ 1-2 กก. จากนั้นรดน้ำทุก 3 วัน ครั้งละประมาณ 150-250 ล. /ต้น ถ้าวันใดฝนตกก็งดไปแต่ต้องให้ต้นลำไยได้น้ำทุก 3 วัน

3) ประมาณ 30-40 วัน หลังการให้น้ำและใส่ปุ๋ย ต้นลำไยจะแตกใบอ่อนชุดที่ 1 (เดือน ก.ย.) ให้ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เหมือนการใส่ปุ๋ยครั้งแรก ลำไยจะออกใบอ่อนชุดที่ 2 ในกลางเดือน ต. ค.

4) กลางเดือน ต.ค. ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 0-46-0 ผสมกับปุ๋ยสูตร 0-0-60 อัตรา 1:1 โดยใส่ปุ๋ยต้นละ 2-3 กก. เพื่อให้ลำไยพักตัวและสะสมอาหาร พร้อมทั้งลดปริมาณให้น้ำเหลือเพียงครั้งละ 100 ล. /ต้น

5) ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 150 กรัม ผสมน้ำ 20 ล. จะช่วยให้ใบอ่อนแก่เร็วขึ้น และช่วยยับยั้งการแตกใบอ่อนชุดใหม่ โดยควรฉีดพ่นราวกลางเดือน ต.ค.

6) กลางเดือน ต.ค. ใบอ่อนชุดแรกจะแก่และมีสีเขียวเข้ม ให้สังเกตเส้นกลางใบมีสีอมเหลืองเล็กน้อย จับใบขยำรู้สึกว่าใบกรอบและหนาดี จังหวะนี้คือ ช่วงสำคัญที่จะต้องเลือก เพื่อใช้สารโพแทสเซียม คลอเรต อย่างเหมาะสม ขอแนะนำว่า ถ้าเป็นลำไยต้นอ่อนอายุ 4-5 ปี ควรฉีดพ่นทางใบในอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ล. พ่นให้ทั่วทรงพุ่ม จากนั้นประมาณ 50-55 วัน ต้นลำไยจะออกดอกเอง และในกรณีที่ลำไยมีอายุต้นมากกว่า 6 ปีแล้ว แนะนำให้ใช้โพแทส เซียม คลอเรต อัตรา 10 กรัมต่อพื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตร.ม. โดยผสมน้ำรดทั่วพื้นที่ทรงพุ่ม (กรณีที่เป็นดินเหนียวมาก อาจต้องเพิ่มอัตราใช้เป็น 15 กรัม) จากนั้นประมาณ 45-50 วัน ต้นลำไยจะออกดอกเอง

- การนำเอาสารเคมีอื่นๆ มาประกอบใช้ในการฉีดพ่นทางใบ เช่น ปุ๋ยโพ
แทสเซียม ไนเตรท, ไธโอยูเรีย, สารสกัดจากสาหร่าย, หรือสารปลดปล่อยแก็สเอทธีลีน (อีเทฟอน), จำเป็นต้องคำนึงถึงความพร้อม คือ อายุของใบอ่อนชุดแรก และพิจารณาถึงการสะสมอาหารของต้นลำไยด้วย ซึ่งอาจเกิดข้อผิด
พลาดได้ง่าย

การบำรุงเมื่อลำไยออกดอกมาแล้ว :
บำรุงดอก
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ 15-45-15 (หน้าแล้ง) หรือ 0-42-34 (หน้าฝน) 200 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นให้เปียกโชก ทั้งไต้ใบบนใบ 2 รอบ แล้วให้ เอ็นเอเอ. สลับ 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
- ชักนำหรือส่งเสริมให้แมลง (ผึ้ง) เข้ามาช่วยผสมเกสร

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ใส่ 8-24-24 หรือ 9-26-26 (1/2 กก.) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นแต่มากกว่าช่วงเปิดตาดอก หรือค่อยๆเพิ่มขึ้น ทุก 2-3 วัน ช่วงนี้ถ้าต้นขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วง

หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น หรือระยะดอกตูม บำรุงด้วย เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวัง เพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอก และถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆ ให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่ สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆ ของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียก หรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้ใช้ “0-52-34” ให้แบบเดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆ เช่น ธาตุรอง/ธาตุเสริม หรือ แคลเซียม โบรอน ก็ได้

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบานและไม่ควรฉีดพ่นสารเคมีอย่างเด็ดขาดเพราะจะเป็นอันตรายต่อแมลงธรรมชาติที่เข้ามาช่วยผสมเกสร

- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ

- ช่วงดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ ไขโดยการกะระยะเวลาเปิดตาดอกให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่า นั้น ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดได้เช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูก และรอบๆ แปลงปลูก .... มาตรการบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (ความสมบูรณ์สะสม) ตั้งแต่ก่อนเปิดตาดอก จะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- ช่วงออกดอก ถ้าอากาศหนาวมากๆ จะมีดอกตัวผู้เกิดมากกว่าดอกตัวเมียแล้วร่วงในที่สุด แก้ไขโดย ....

1) บำรุงต้นด้วย "ไบโออิ (แม็กเนเซียม. สังกะสี.)" อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มขั้นตอนแรกของการบำรุง

2) ช่วงเป็นเดือยไก่ ให้บำรุงด้วย "แคลเซียม โบรอน + สังกะสี" 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

3) เมื่อดอกออกมาแล้วให้บำรุงด้วย "สูตรบำรุงดอก" อย่างสม่ำเสมอ
ทั้งนี้ "สังกะสี. และ โบรอน" มีส่วนสำคัญอย่างมากในการบำรุงดอกให้สม
บูรณ์จนผสมติดเป็นผลได้ท่ามกลางสภาพอากาศวิปริต (หนาวจัด)

- การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จนมีผึ้งหรือมีแมลงธรรม
ชาติอื่นๆ เข้ามาจำนวนมาก แมลงเหล่านี้จะช่วยผสมเกสรส่งผลให้ติดผลดีขึ้น
- การบำรุงตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอกจนกระทั่งมีดอกออกมา ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ดีขึ้น

บำรุงผลเล็ก
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 100 ซีซี. + ยูเรีย จี 200 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชก ทั้งไต้ใบบนใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
- ใส่ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ กระดูกป่น ทั่วทรงพุ่ม หญ้าแห้งคลุมโคนต้นหนาๆ
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว + 25-7-7 (1-2 กก.) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. /ครั้ง /เดือน

- ให้น้ำเพิ่มขึ้นจึงถึงระดับปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
- บำรุงผลจนผลพัฒนาได้ 25% ของอายุผล (ระยะขบเผาะ) จึงหยุดบำรุงผลเล็กแล้วเข้าสู่การบำรุงแบบ “หยุดเมล็ด - ขยายขนาด” ต่อไป

บำรุงผลกลาง
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 50 ซีซี. + ยูเรก้า 412 (50 ซีซี.) 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชก ทั้งไต้ใบบนใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว +21-7-14 (1 กก.ต้นเล็ก - 2 กก.ต้นใหญ่) /ครั้ง /เดือน บริเวณทรงพุ่ม

- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือบำรุงเมื่อผลโต 25%
- การบำรุงระยะผลขนาดกลางต้องให้น้ำสม่ำเสมอแต่ต้องไม่ขังค้าง ถ้าได้รับน้ำน้อยนอกจากจะทำให้ผลไม่โต หากมีฝนตกหนักลงมาก็อาจจะทำให้ผลแตกผลร่วงได้

- หาโอกาสให้ “น้ำตาลทางด่วน” 1-2 ครั้ง โดยแบ่งให้ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม

บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 100 ซีซี.+ 0- 21-74 (200 กรัม) + สารสกัดสมุน ไพร 200 ซีซี 2-3 รอบ รอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ให้ครั้งสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชก ทั้งไต้ใบบนใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้นและนำอินทรีย์วัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 (1 กก.ต้นเล็ก - 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น 1 ครั้ง ก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน ละลายน้ำรดบริเวณทรงพุ่ม แล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 15-20 วัน
- ช่วงผลแก่จัดใกล้หรือก่อนเก็บเกี่ยวต้องงดน้ำเพื่อให้เนื้อแห้งกรอบ สีและกลิ่นดี
- การให้แคลเซียม โบรอน 1 ครั้งก่อนเก็บเกี่ยวจะช่วยป้องกันผลแตกผลร่วงได้ดี
- การให้กำมะถัน 1 ครั้งก่อนเก็บเกี่ยวจะช่วยบำรุงผลให้สีของเปลือกสวย
- การสุ่มเก็บผลลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก่อนลงมือเก็บเกี่ยวจะทำให้รู้ว่าควรเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุงต่อไปอีกสักระยะหนึ่งจึงเก็บเกี่ยว

- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 13-13-21 จะทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายไปจากต้นแล้วต้องเร่งบำรุงเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที

- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันซึ่งนอก
จากหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจนหมดต้นแล้วต้นไม่โทรม ช่วยบำรุงผลรุ่นหลังต่อและทำให้ต้นมีความสมบูรณ์พร้อมสำหรับให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไปอีกด้วย

** แปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่ม :
- ทำลำไยอบแห้ง
– ทำชาเมล็ดลำไย

**************************************************************


11. กล้วยไข่สาร์ทไทย :
เกร็ดความรู้เรื่องกล้วยไข่ :

- สายพันธุ์แนะนำ คือ กล้วยไข่กำแพงเพชร (ดีที่สุด). ทองร่วง หรือค่อมเบา (ผลใหญ่/รสหวานติดเปรี้ยวเล็กน้อย). เคบี-2 และ เคบี-3

- ปลูกช่วงปลายฝนต้นหนาว (ส.ค.-ก.ย.) นอกจากช่วยให้ต้นโตเร็วแล้วยังเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้ออกเครือช่วงหน้าแล้งได้อีกด้วย

- ชอบดินร่วนปนทราย มีอินทรีย์วัตถุมากๆ โปร่ง ไม่ชอบอากาศร้อนจัด หรือหนาวจัดเกินไป

- อ่อนแอต่อน้ำขังแฉะโคนต้น และดินเหนียวอุ้มน้ำ เพราะฉะนั้นนอก จากต้องเตรียมแปลงปลูกสูงๆ แล้ว ยังต้องมีระบบระบายน้ำจากแปลงปลูกและ ระบบสะเด็ดน้ำไม่ให้ขังค้างในเนื้อดินโคนต้นอีกด้วย

- ปลูกในพื้นที่อากาศหนาวเย็นจะออกเครือช้า ปลูกในพื้นที่อากาศร้อนเกินไปจะเกิดอาการใบไหม้ โตช้า บางครั้งถึงแคะแกร็น หรือต้นชะงักการเจริญเติบโต

- จัดแปลงปลูกแบบลูกฟูกยกร่องแห้ง แล้วให้น้ำโชกๆ ผ่านไปตามร่องระหว่างสันลูกฟูกจะช่วยให้ดินมีน้ำ และความชื้นพอดีต่อความต้องการของกล้วยไข่

- ช่วงที่ต้นกำลังเจริญเติบโต ถ้าเกิดอาการใบสลดแสดงว่าขาดน้ำ
- ระยะปลูกที่พอดี 2.5 x 2 ม. พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 320 ต้น ไม่ควรปลูกห่างหรือชิดกว่านี้ เพราะแต่ละต้นต้องการอาศัยบังแดดและลมซึ่งกันและกัน

- ปลูกแบบขุดหลุมปลูกตื้น หรือให้บริเวณหัวเหง้าต่อกับลำต้นเสมอผิวดิน (ลึก 20-25 ซม.) แล้วใช้ดินปลูกถมพูนโคนต้นจะช่วยให้โตเร็วกว่าการปลูกลึกๆ การมีเศษหญ้าแห้งคลุมหนาๆโคนต้น กว้างเต็มพื้นที่ทรงพุ่มจะช่วยเก็บความชุ่มชื้นหน้าดินส่งผลให้หน่อแตกรากใหม่เร็ว

- ปลูกหน่อลงหลุมแล้วกดดินพอกระชับราก พูนโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุ
และเศษพืชแห้งหนาๆ แผ่ทั่วบริเวณทรงพุ่ม

- อายุต้นหลังปลูก 3-4 เดือนเริ่มแทงหน่อ เมื่อหน่อสูง 50-80 ซม. ให้ตัดหน่อเหลือตอสูงจากพื้น 15-20 ซม. และตัดซ้ำทุกครั้งที่หน่อสูง 50-80 ซม.โดยให้รอยตัดครั้งหลังสูงกว่ารอยตัดครั้งก่อน 5-10 ซม.เสมอ จนกระทั่งต้นแม่อายุ 7-8 เดือน ให้เลือกหน่อชิด 1-2 หน่อเพื่อแทนต้นแม่ หลังจากตัดเครือและล้มต้นแม่แล้ว หน่อที่เลือกไว้นี้ไม่ต้องตัดต้นอีก ส่วนหน่อตามหรือหน่ออื่นๆ ให้ตัดต้นตามปกติ

- ช่วงแทงปลียาวออกมาแล้ว (ยังไม่ตัดหัวปลี) ใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 15-45-15 (200 กรัม) /น้ำ 20 ล. ฉีดเข้าที่ก้านของปลีพอเปียก 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะช่วยให้การติดผลได้จำนวนหวีมากขึ้น

- การไว้หน่อเพื่อแทนต้นแม่หลังตัดเครือแล้วสำหรับรุ่นปีต่อไปนั้น หน่อ
แต่ละรุ่นควรมีอายุห่างกัน 4-5 เดือนเสมอ

- แยกหน่อจากต้นแม้ด้วยความประณีต ให้คงมีรากเดิมติดเหง้ามามากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และอย่าให้รากที่ติดมานั้นกระทบกระเทือนมากนัก การมีดินเดิมห่อหุ้มรากขณะเคลื่อนย้ายจะช่วยให้รากชุ่มชื้นอยู่เสมอ เมื่อนำลงปลูกจะยืนต้นได้เร็ว

- ได้หน่อมาแล้วควรนำลงปลูกโดยเร็วไม่ควรทิ้งไว้นาน ถ้าจำเป็นต้องทิ้งไว้นานให้พรมน้ำแล้วห่อหุ้มเหง้าและรากด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ รากเดิมที่ติดมากับเหง้าไม่ควรตัดทิ้งแต่ให้ปลูกพร้อมรากเดิมเลย กับทั้งต้องระวังการขุดแยกจากต้นแม่ ขณะเคลื่อนย้าย นำลงปลูก อย่าให้รากที่ติดอยู่กับเหง้าช้ำหรือกระทบกระเทือนมากนัก เพราะรากของกล้วยไข่สามารถเจริญต่อจากรากเดิมได้

- เลือกหน่อพันธุ์ลักษณะ โคนใหญ่ ปลายเรียว ใบแคบ อายุ 3-4 เดือน
- อายุต้นตั้งแต่เริ่มปลูกถึงออกปลี 190-200 วัน หลังจากตัดปลีแล้ว 45-50 วันเก็บเกี่ยวได้ หรือตั้งแต่ออกปลีถึงเก็บเกี่ยว 60-70 วัน

- ผลผลิตทั่วๆไป ออกสู่ตลาดช่วงเดือน ส.ค.- พ.ย.
- ช่วงที่ยังไม่ออกเครือให้ไว้ใบ 10-12 ใบ และช่วงที่ออกเครือแล้วให้ไว้ใบ 8-9 ใบ จะทำต้นไม่เฝือใบ ไม่โทรม และให้ได้ผลผลิตดี

- หลังจากตัดปลีแล้ว 20-30 วัน ให้ห่อเครือด้วยถุงสีฟ้าขนาดใหญ่ เปิดก้นถุง เพื่อให้ลมผ่านและอากาศถ่ายเทสะดวก หรือห่อด้วยใบของเขาเอง

- ช่วงที่ต้นกำลังออกเครือ ระบบรากค่อนข้างอ่อนแอจึงไม่ควรให้ปุ๋ยทางราก เพราะนอกจากอาจจะทำให้รากเน่าแล้ว ยังทำให้ผลแก่เร็วกว่ากำหนดทั้งๆที่ขนาดผลยังเล็ก และหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วยังบ่มให้สุกช้าอีกด้วย เมื่อให้ปุ๋ยทางรากไม่ได้ก็ต้องให้ทางใบแทน

- ปกติหวีที่ปลายเครือ 1-2 หวี มักมีขนาดเล็ก เรียกว่า "ตีนเต่า" แก้ไขโดย หลังจากตัดปลีแล้ว 1-2 อาทิตย์ ให้ตัดทิ้ง 1-2 หวีสุดท้ายที่ปลายเครือ วิธีนี้จะช่วยให้ทุกผลของทุกหวีในเครือที่เหลืออยู่เป็นผลและหวีขนาดใหญ่ทุกหวี

- หลังจากห่อผลแล้ว 30 วัน ใบบางส่วนจะเริ่มแห้ง ผลกลมไม่มีเหลี่ยมแสดงว่าผลแก่จัดเก็บเกี่ยวได้แล้ว

- ช่วงติดผลขนาดใหญ่ น้ำหนักเพิ่มขึ้น ถ้าต้นรับน้ำหนักไหวก็อาจจะไม่ต้องมีไม้ค้ำต้น แต่ถ้าเห็นว่าต้นคงรับน้ำหนักไม่ไหวแน่ก็ให้ค้ำต้น

- ไม่ควรปล่อยให้แก่จนสุกคาต้น เพราะจะทำให้กลิ่นและรสด้อยลง
- กล้วยไข่แจ๊คพ็อต หมายถึง กล้วยไข่ที่แก่จัดใกล้สุก (ห่าม) หรือสุกพอ ดีตรง หรือก่อนเล็กน้อยกับช่วงวันสารทไทย การปลูกกล้วยไข่ให้ได้ผลผลิตตรงกับช่วงเทศกาลดังกล่าว สามารถทำได้โดยการนับระยะอายุจากวันตัดเครือย้อนหลังมาถึงวันที่ยืนต้นได้ 9 เดือน ให้ลงมือปลูกหน่อกล้วยก่อนวันที่ยืนต้นได้ 1-2 เดือน จากนั้นให้ปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนปกติ หรือลงมือปลูกหน่อก่อนวันสารทไทย 11-12 เดือน กล้วยไข่ต้นนั้นก็จะมีเครือให้ตัดได้ในวันสารทไทยพอดี

************************************************************


12. บัวเข้าพรรษา :
เกร็ดความรู้เรื่องบัว :

- พันธุ์นิยม คือ บัวหลวง ได้แก่ พันธุ์ฉัตรขาว ฉัตรแก้ว และฉัตรแดง
- บัวหลวง เป็นบัวปลูกมากที่สุด วัตถุประสงค์เพื่อตัดดอกตูมบูชาพระ และปลูกเพื่อเก็บเมล็ด
- ขยายพันธุ์โดย การแยกเหง้า แยกหน่อ แยกต้นที่ใบ
- หลังปลูกบัวในเดือนแรก รักษาระดับน้ำลึก 30 ซม. เพื่อป้องกันวัชพืช และบัวสามารถโตพ้นน้ำเพื่อรับแสงสว่างได้เร็ว จากนั้นปล่อยน้ำเข้าแปลงลึก 50 ซม.ไม่เกิน 1 ม. เพราะความลึกระดับนี้ บัวจะได้รับอุณหภูมิที่พอดี ช่วยให้ออกดอกมาก หากระดับน้ำลึกกว่านี้ บัวที่งอกใหม่อาจตายได้ ถ้างอกพ้นผิวน้ำไม่ทัน

- บัวจะเริ่มให้ผลผลิตดอกตูมหลังจากปลูก 3 เดือน โดยทั่วไปจะเก็บดอกได้วันเว้นวัน ยกเว้นในฤดูหนาว เก็บวันเว้น 2 วัน

- บัวหลวงพันธุ์ปทุม ขนาดฝักใหญ่ และเมล็ดมาก ผู้ปลูกบัวเพื่อเก็บเมล็ดจะเริ่มปลูกเดือน พ.ย. แล้วเก็บเกี่ยวหลังปลูก 3-4 เดือน โดยวิธีปลูกและบำรุงเช่นเดียวกับบัวตัดดอก

- การเก็บเกี่ยวฝักแก่ ให้สังเกตจากฝัก ปลายเมล็ดเริ่มแห้งเป็นสีเทา หรือสีดำ หากปล่อยให้แห้งทั้งฝัก เมล็ดจะหลุดจากขั้วแล้วร่วง ระยะเวลาตั้งแต่ดอกตูมถึงเก็บฝักได้ 40-50 วัน บัวจะทยอยให้ผลผลิตนานราวๆ 3-4 เดือน จากนั้นจะเริ่มโทรม เก็บฝักมาแล้ว ใช้ไม้ทุบให้ฝักฉีก เมล็ดแก่จะร่วงหลุดออกจากฝัก ถ้ายังมีเมล็ดติดค้างในฝักอีกก็จะใช้คนแกะออกมา แล้วจึงนำ ไปตากแดดให้แห้ง 2-3 แดด จากนั้นใช้ตะแกรงร่อนเอาเมล็ดลีบหรือเมล็ดเสียออก คัดเอาแต่เมล็ดดี

- วิธีปลูกบัวเอาไหล ทำโดยเมื่อบัวเริ่มโทรม ให้ปุ๋ยบำรุงเรียกใบใหม่ ซึ่งจะไหลเจริญเติบโตตามมาด้วย เมื่อบัวงามดีแล้วระบายน้ำออกให้แห้งจนดินแตกระแหง ใช้เสียมงัดดินตามระแหงจะพบไหล แคะไหลออกมา ถ้าจะเก็บไว้ทำพันธุ์ต่อ ให้นำมากองไว้ ใช้ใบตองปิด แล้วรดน้ำบ่อยๆ อย่าให้ไหลแห้ง สามารถเก็บไว้ได้ 1 เดือน

เตรียมดิน เตรียมแปลง :
ก่อนลงมือปลูกบัวแต่ละครั้ง เริ่มปลูกครั้งแรก หรือปลูกรุ่นใหม่ต่อจากรุ่นเก่า จะต้องสูบน้ำออก เปิดหน้าดินทุกครั้งนั้น จังหวะที่น้ำออกหมดแล้วนี้ให้ใส่อินทรีย์วัตถุ (ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่ น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24) รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ใส่ครั้งเดียวจนถึงเก็บเกี่ยว

การบังคับเอาดอก :
กำหนดวันเก็บดอกในปฏิทิน แล้วนับถอยหลัง 90-100 วัน ให้ระบายน้ำออกให้หมด แล้วย่ำตัดไหลเพื่อให้แตกกอใหม่ หลังจากย่ำแล้วใส่อินทรีย์ วัตถุ ( กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่ น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24) รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ปล่อยน้ำระดับหัวเข่า เลี้ยงกอที่แตกใหม่จนโตถึงผิวน้ำ ให้เพิ่มน้ำเป็นลึก 90-100 ซม. แล้วบำรุงตามปกติ ประมาณ 90-100 วัน บัวก็จะออกดอกมาเอง

การบำรุง :
** ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 20 ล. + ไบโออิ 10 ซีซี. + ไทเป 10 ซีซี.” 2 รอบ สับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

– จัดช่วงเวลาให้น้ำตาลทางด่วนเดือนละครั้ง
- ฉีดพ่นสารสมุนๆไพรบ่อยๆ

** ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ไร่ /เดือน ผสมน้ำในถังสะพาย วางบนเรือ แหย่หัวฉีดแล้วฉีดอัดลงไปที่ก้นน้ำติดพื้น น้ำหมักฯ ที่ฉีดพ่นลงไปจะจมอยู่ที่ผิวน้ำ (น้ำหมักฯ มีความ ถพ. มากกว่าน้ำ) รอจังที่บัวจะดูดซับไปกินเอง.... ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม

BIPRODUCT :
บัวอบแห้ง เกสรบัว น้ำมันหอมระเหย ชาสมุนไพร
** แหล่งท่องเที่ยว :
HOME STAY, ร้านอาหาร ชมชิมช็อป ริมนาบัว

**************************************************************


13. ทุเรียนนอกฤดู :
เกร็ดความรู้เรื่องทุเรียน :

- เป็นผลไม้ที่ได้รับสมญานามว่า “ราชาแห่งผลไม้” มิใช่เฉพาะในประ เทศเท่านั้น แม้ต่างประเทศก็ยอมรับ อันเนื่องมาจากรสชาติ และคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ต่างจากผลไม้อื่นๆ นั่นเอง จากสมญานามนี้ได้กลายมาเป็นเสน่ห์ที่ไม่เคยจืดจางลงเลย

- แผงขายผลไม้ของฝากเยี่ยมคนป่วยหน้าวชิรพยาบาล กทม. วันดีคืนดีจะมีทุเรียนใส่สาแหรกแขวนโชว์หน้าร้าน พร้อมกับป้ายบอกราคา 1,500 - 2,000 บาท กำกับ ที่น่าสงสัยอย่างมากคือ สนนราคาแพงระดับนี้ถ้าไม่มีคนซื้อ ร้านค้าคงไม่นำมาขายแน่ และต้องมั่นใจว่าขายได้จึงตั้งราคาจนแพงลิบลิ่ว กับสงสัยอยู่นิดๆ ว่า ช่วงเวลานั้นไม่ใช่ฤดูกาลทุเรียนแล้วเขาเอามาจากไหน คงไม่ใช่นำเข้าจากต่างประเทศแน่นอน และทุเรียนก้านยาว. หมอนทอง. ลวง. กบ. ชะนี. จากหลายสวนย่านนนทบุรี ราคาหน้าสวน กก.ละ 5,000 บาท ผลผลิตทุกปีมีขาประจำจองล่วงหน้า ทั้งนี้เพราะผู้ซื้อมั่นใจในคุณภาพนั่นเอง

- เป็นไม้ผลยืนต้น ทรงพุ่มกว้างสูงใหญ่ อายุยืนนับร้อยปี ปลูกได้ทุกภาคของประเทศ ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดี ในเขตภาคกลางได้แก่ กทม. นนทบุรี นครนายก .... เขตภาคตะวันออกได้แก่ ปราจีนบุรี ระยอง ตราด จันทบุรี ....เขตภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร พังงา นครศรีธรรมราช สงขลา .... ภาคเหนือได้แก่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ..... แม้แต่ศรีสระเกษ. กาญจนบุรี. ก็ปลูกทุเรียนได้ดี

- ชอบเนื้อดินหนา ลึก 1.5-2 ม. ระดับน้ำไต้ดินลึก ถ้าระดับน้ำใต้ดินตื้น เมื่อรากเจริญยาวลงไปถึงน้ำแล้วเกิดอาการใบไหม้แห้ง ต้องใช้ระยะเวลา นานจึงจะแตกใบชุดใหม่ ไม่นานใบชุดใหม่ก็ไหม้แห้งอีก เป็นอย่างนี้จน กระ ทั่งยืนต้นตาย ..... แนวทางแก้ไข ให้ปลูกต้นตอด้วยการเพาะเมล็ด เสริมรากเมื่อต้นตอ และต้นรากเสริมเจริญเติบโตดีแล้ว จึงเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดีกรณีนี้รากแก้วจากต้นตอและรากแก้วจากต้นเสริมรากจะช่วยแก้ปัญหาระดับน้ำไต้ดินตื้นได้

- ชอบน้ำสะอาด เมื่อคิดจะปลูกทุเรียนต้องแน่ใจว่ามีน้ำสะอาดสำหรับทุเรียนตลอดไป ทุเรียนนนทบุรีส่วนใหญ่ยืนต้นตายเพราะสาเหตุน้ำเสียจากโรงงานหรือชุมชน

- ชอบแสงแดด 100% การตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดส่องได้ทั่วภายในทรงพุ่ม สามารถช่วยกำจัดเชื้อราที่เกาะกินเปลือกลำต้น ทำให้เปลือกสะอาด .... ออกดอกติดผลที่ท้องกิ่งใหญ่และตามลำต้นเช่นเดียวกับ ชมพู่ ขนุน ลองกอง ลางสาด มะไฟ ตาดอกที่ใต้ผิวเปลือกสะอาดไม่มีเชื้อราจับจะทำให้ได้ดอกสมบูรณ์ แต่หากมีเชื้อราเกาะจับตามผิวเปลือก เชื้อราก็จะแย่งอาหารจากตาดอกทำให้ดอกไม่ออก หรือออกมาก็ไม่สมบูรณ์

- เป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารตื้นโดยอยู่ลึกจากผิวดินประมาณ 20-30 ซม. จึงต้องการช่วงแล้งเพื่อให้เกิดสภาพเครียดก่อนออกดอก ต้นทุเรียนที่สมบูรณ์ มีใบยอดแก่ ผ่านช่วงแล้งเพียง 10-14 วัน และมีอากาศหนาวเย็นลงเล็กน้อยก็จะออกดอก

- ระยะพัฒนาของดอก (ระยะไข่ปลา - ดอกบาน) ใช้เวลาประมาณ 55-60 วัน ระยะพัฒนาของผล (จากดอกบาน-เก็บเกี่ยว) จะแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ เช่น กระดุม 12-13 สัปดาห์ หรือ 90 วัน, ชะนี 15-16 สัป ดาห์ หรือ 110 วัน, หมอนทอง 18-19 สัปดาห์ หรือ 130 วัน.

- อุณหภูมิที่เหมาะ สมในการเก็บรักษาผลผลิต 14-16 องศา ซ. ความ ชื้นสัมพัทธ์ 85-95% เก็บรักษาทุเรียนได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 14 องศา ซ. จะเกิดอาการ chilling injury

- ฤดูกาลของผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาด ภาคตะวันออก คือ เมษายน - มิถุนายน และภาคใต้ คือ มิถุนายน - สิงหาคม

- ทุเรียนอยู่คู่กับทองหลางได้ดีมาก ให้ปลูกทองหลางแซมแทรกระหว่างต้น ช่วงแรกเพื่อใช้ทองหลางเป็นพี่เลี้ยง เมื่อทุเรียนโตขึ้นก็ให้พิจารณาตัดกิ่งใบทองหลางออกบ้าง เพื่อไม่ให้บังแสงแดดทุเรียน .... รากทองหลางสามารถตรึงไนโตรเจนไปไว้ในตัวเองได้ เมื่อรากทองหลางอยู่กับรากทุเรียน จึงทำให้ทุเรียนได้ไนโตรเจนจากรากทองหลางไปด้วย

- ต้นอายุมาก เปลือกแก่ผุเปื่อยเป็นแหล่งแหล่งอาศัยของเชื้อรา ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ หรือจุลินทรีย์หน่อกล้วย ฉีดพ่นบ่อยๆ จะช่วยให้เปลือกเก่าหลุดร่อน แล้วเกิดเปลือกใหม่สมบูรณ์ และดีขึ้นกว่าเดิม

- เป็นผลไม้ที่มีจำนวนสายพันธุ์มากที่สุดชนิดหนึ่ง ปัจจุบันเท่าที่มีผู้รวบ รวมไว้ได้หลายร้อยสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมจริงๆ ได้แก่ หมอน ทอง. ก้านยาว. ชะนี. รวง. กบ. กระดุม. ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีรสชาติดี ถูกรสนิยมคนกิน ในขณะที่อีกหลายร้อยสายพันธุ์ก็ไม่ใช่ว่าจะรสชาติไม่ดี เพียงแต่ขาดหรืออ่อนประชาสัมพันธ์ไปบ้างเท่านั้น ใครอยากรู้ว่าทุเรียนพันธุ์อื่นๆ อร่อยหรือไม่อร่อย อย่างไร ก็น่าจะลองเลียบๆ เคียงๆ ถามคนปลูกเอาเอง

- สายพันธุ์ยอดนิยมที่ออกดอกพร้อมกันแล้วกลายเป็นผลแก่ให้เก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกัน ได้แก่ กระดุม-ชะนี-หมอนทอง ตามลำดับ .... สายพันธุ์เดียว
กันแต่ต่างพื้นที่กัน ออกดอกติดผลแล้วแก่เก็บเกี่ยวไม่พร้อมกัน โดยทุเรียนภาค ตะวันออกแก่ก่อน แล้วตามด้วยทุเรียนภาคกลาง (กทม. นนทบุรี) ปิดท้ายด้วยทุเรียนภาคใต้

- ทุเรียนพันธุ์เบา (ชะนี. กระดุม. ลวง.) ออกดอกต้น ธ.ค. เก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 163-165 วัน ....ทุเรียนพันธุ์กลาง (ก้านยาว. กบ.) ออกดอกพร้อมพันธุ์ เบา เก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 122-130 วัน .... และทุเรียนพันธุ์หนัก (ทอง ย้อย. อีหนัก. กำปั่น. หมอนทอง.) ออกดอกพร้อมกันพันธุ์เบา เก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 140-150 วัน

- ต้นอายุมากๆ ผลที่ติดต่ำๆ กับผลที่ติดชิดโคนกิ่ง จะมีคุณภาพดีกว่าผลที่ติดสูงๆ หรือค่อนไปทางปลายกิ่ง (ลูกยอด) โดยผลที่อยู่ต่ำกับชิดโคนกิ่งจะได้ รับสารอาหารที่ต้นลำเลียงส่งไปให้ก่อน เมื่อเหลือจึงผ่านไปให้ผลที่อยู่ถัดไป
ทำให้ผลที่อยู่ถัดไป หรือยู่สูงมากๆ หรืออยู่สูงสุด ได้รับสารอาหารน้อย เป็นเหตุให้คุณภาพไม่ดี

** ธรรมชาติของต้นทุเรียนลำเลียงสารอาหารจากดินเข้าสู่ต้นโดยราก ผ่านลำต้นไปกิ่งก้านถึงปลายสุดของยอด เรียกว่า “ล่างขึ้นบน (Xylem)” ระหว่างทางลำเลียงก็จะส่งสารอาหารให้ส่วนต่างๆที่ผ่าน .... กับลำเลียงสารอาหารจากใบย้อนผ่านก้านกิ่งลำต้นต้นถึงราก เรียกว่า “บนลงล่าง (Phloem)” ระหว่างทางลำเลียงก็จะส่งสารอาหารให้ส่วนต่างๆ ที่ผ่านเช่นกัน .... กรณีทุเรียนลำ เลียงสารอาหารจากล่างขึ้นบน ผลแรกที่โคนกิ่งจะได้รับสารอาหารก่อน เมื่อผลแรกได้รับสารอาหารพอแล้วจึงจะปล่อยผ่านไปให้ผลที่อยู่ถัดไป ถัดไป และถัดไปเรื่อยๆ เมื่อสารอาหารมีอย่างจำกัด ผลที่อยู่ถัดไปจึงได้รับสารอาหรน้อยลง น้อยลงตามลำดับ กระทั่งผลสุดท้ายที่เรียกว่า “ลูกยอด” จึงไม่ได้รับสารอาหารเลย นี่คือสาเหตุที่ทุเรียนลูกยอดไม่มีเนื้อ .... ในขณะเดียวกัน สารอาหารที่ให้ทางใบ จากใบย้อนมาลำต้น ลูกยอดที่เคยเป็นลูกสุดท้ายของสารอาหารจากทางรากก็จะกลับกลายเป็นลูกแรกที่ได้รับสารอาหารก่อน .... กับทั้งทุเรียนลูกกลางกิ่ง เนื่อจากสารอาหารจากราก (ล่างขึ้นบน) ถูกลูกแรกกินหมดก่อน สารอาหารจากใบปลายกิ่ง (บนลงล่าง) ก็ถูกลูกปลายกิ่งกินหมดก่อนซะอีก ทุเรียนลูกลางกิ่งจึงไม่ได้รับสารอาหาร กลายเป็นไม่มีคุณภาพ แนวทาง แก้ไขทุเรียนกลางกิ่ง คือ ให้มีใบกลางกิ่งที่ด้านบนของกิ่ง (ลูกอยู่ไต้ท้องกิ่ง) เป็นระยะๆ สำหรับส่งสารอาหารให้ลูกกลางกิ่งนั่นเอง

- ต้นสูงมาก 8-10 ม.ขึ้นไป เพิ่มปริมาณธาตุอาหารโดยให้ทางใบ ด้วยการฉีดพ่นในทรงพุ่ม และเหนือยอดสูงสุดของต้น เมื่อ “น้ำ + ปุ๋ย” ทางใบผ่านปากใบเข้าสู่ต้นแล้วตกลงพื้นที่โคนต้น เป็นการให้ “น้ำ + ปุ๋ย” ตามปกติได้ด้วย .... ปุ๋ยทางใบ ต้นพืชรับได้ทั้งทางใบและทางราก

- ตัดต้น (ยอดประธาน) เพื่อควบคุมความสูง และตัดกิ่งประธาน เพื่อควบคุมความกว้างของขนาดทรงพุ่มแล้วสร้างใบใหม่ก็จะได้ต้นที่มีขนาดและรูปทรงตามต้องการ การตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมขนาดทรงพุ่มตั้งแต่ทุเรียนมีอายุต้นยังน้อยจะส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของต้น และคุณภาพของผลผลิตระยะยาว

- เคยมีผู้เปรียบเทียบระหว่างต้นสูงมากๆ ตามธรรมชาติ กับต้นควบคุมความสูงไว้ที่ 5 ม. ด้วยการตัดแต่งตั้งแต่แรก พบว่า .... ต้นที่มีความสูงมากๆตามธรรมชาติ ผลที่ติด ณ ความสูง 1 ใน 3 ของความสูงต้นจากพื้น ทุกผลจะเป็นผลที่มีคุณภาพดี ส่วนผลที่ติดในบริเวณความสูง 2 ใน 3 ของต้นที่เหลือจะไม่ดี หรือในต้นทุเรียนที่มีความสูงมากๆ ตามธรรมชาติจะให้ผลดี มีคุณภาพเพียง 1 ใน 3 ของผลทั้งต้นเท่านั้น .... ต้นที่มีการควบคุมความสูง 3-4 เมตร ทรงพุ่มกว้าง 5-6 ม.ให้ปริมาณผลดกกว่า และคุณภาพเหนือกว่าต้นที่สูงตามธรรม ชาติมากๆ

- ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรครากเน่าโคนเน่า (ไฟธอปเทอร่า) สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ น้ำขังค้างโคนต้น ดินเหนียวจัด ระบายน้ำไม่ดี อุ้มน้ำมากเนื่องจากฝนตกชุก สะสมยาฆ่าหญ้า สารเคมีจำกัดโรคและแมลง ปุ๋ยเคมีมากเกินจนต้นเอาไปใช้ไม่หมดแล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน

- รากฝอยหาอาหารอยู่ที่หน้าดินตื้นๆ (รากลอย) จึงควรพูนโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุหนาๆ +สารปรับปรุงบำรุงดิน และปุ๋ย กระจายเต็มพื้นที่ทรงพุ่มปีละ 1 ครั้ง หลังจากคลุมโคนต้นด้วยอินทรีย์วัตถุแล้ว จะพบว่ามีรากทุเรียนจำ นวนมากเจริญแทรกอยู่ในอินทรีย์วัตถุนั้น เป็นรากที่สมบูรณ์ ใหญ่ อวบ ดีมาก

- การบำรุงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาด้วย “แคลเซียม โบรอน + เอ็นเอเอ. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” โดยฉีดพ่นทางใบ 2-3 รอบ จนกระทั่งดอกบาน จะช่วยให้ดอกมีความสมบูรณ์ ทั้งนี้ ก่อนเปิดตาดอกต้องมีการบำรุงด้วยปุ๋ยทางดินสูตร 8-24-24 และบำรุงทางใบด้วย “ธาตุอาหารกลุ่มสร้างดอกบำรุงผล” อย่าง เพียงพอจนปรากฏอาการอั้นตาดอกเต็มที่จริงๆ นอกจากนี้อุณหภูมิช่วงแทงช่อดอกก็เป็นปัจจัยประกอบที่สำคัญด้วย

- การตัดแต่งช่อดอกมีส่วนสำคัญ เนื่องจากต้นสมบูรณ์เต็มที่มักออกดอก รุ่นละจำนวนมาก แต่ดอกกลายเป็นผลจริงๆ ได้ไม่ถึง 10% ดังนั้นจึงควรมีแผนการตัดแต่งช่อดอกออกทิ้งบ้าง 1-2 รอบ โดยตัดแต่งรอบแรกให้เหลือไว้เพียง 50% ตัดแต่งรอบสองก่อนการผสมเกสรอีก 25% และหลังจากตัดแต่งรอบสองไปแล้วให้เหลือเพียง 10% หรือน้อยกว่าของดอกที่เหลือจากการตัดแต่งรอบสอง ทั้งนี้การมีดอกน้อยๆ จะทำให้ดอกที่เหลือได้รับสารอาหารเต็ม ที่ ส่งผลให้ดอกสมบูรณ์

- ดอกที่ออกมาจำนวนมากให้พิจารณาตัดทิ้งดอกอยู่ชิดกับลำต้น หรือดอกบนกิ่งมุมแคบกับลำต้น หรือดอกอยู่กับกิ่งเล็ก ทั้งนี้ควรตัดตั้งแต่ก่อนดอกบาน 2-3 สัปดาห์

- ดอกบานและพร้อมผสมเกสรได้ในช่วงกลางคืน การช่วยผสมเกสรด้วยแมลงจึงเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะแมลงประเภทช่วยผสมเกสรมักออกหากินเฉพาะตอนกลางวัน เช่น ผึ้ง. ผีเสื้อสวยงาม. ส่วนตอนค่ำหรือกลางคืนจะมีแต่ชันโรงท่านั้นที่อาจจะเข้ามาช่วยผสมเกสร ส่งผลให้การผสมติดตามธรรมชาติจึงมีเพียงสายลมพัดเป็นหลักเท่านั้น นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทุเรียนติดเป็นผลน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนดอกที่ออกมาในแต่ละรุ่น

- วิธีช่วยผสมเกสรทุเรียนด้วยมือ ทำได้โดยใช้พู่กันขนอ่อนป้ายเกสรตัวผู้จากดอกตัวผู้ แล้วป้ายใส่เกสรตัวเมียของต้นพันธุ์ที่ต้องการให้ติดผล ก่อนป้ายเกสรตัวผู้ใส่เกสรตัวเมีย ควรตัดเกสรตัวผู้ของดอกที่จะรับการป้ายเกสรออกก่อน เพื่อป้องกันการได้รับเกสรตัวผู้ซ้ำซ้อน การเก็บเกสรตัวผู้และการป้ายเกสรต้องทำในช่วงเวลา 19.30 - 20.30 น. (20.00 น. ดีที่สุด) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกสรทั้งสองพร้อมผสม ..... ช่วงดอกระยะหัวกำไล (15 วันก่อนดอกบาน) ควรบำรุงดอกด้วย “เอ็นเอเอ.+ สาหร่ายทะเล + แคลเซียม โบรอน” 1 ครั้ง จะช่วยให้เกสรทั้งสองสมบูรณ์แข็งแรงผสมติดดีขึ้น

- ดอกชะนีมีเปอร์เซ็นต์ติดเป็นผลค่อนข้างต่ำและช่วงเป็นผลอ่อนก็เจริญ
เติบโตช้า แก้ไขโดยตัดแต่งช่อดอกให้เหลือเฉพาะกลุ่มกลางกิ่ง และควรให้เหลือไว้มากว่าหมอนทอง

- ผลที่เกิดจากเกสรในดอกเดียวกันผสมกันเอง มักมีลักษณะบิดเบี้ยว คดงอ เป็นพูหลอก และแคระแกร็น ส่วนผลที่เกิดจากการช่วยผสมด้วยมือมักเป็นผลที่สมบูรณ์และคุณภาพดี

- เกสรตัวผู้มีก้านเกสรสั้นกว่าก้านเกสรตัวเมีย เกสรตัวผู้มีสีขาวแต่เกสรตัวเมียมีสีเหลือง เกสรทั้งสองมักพร้อมผสมในเวลาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน โดยเกสรตัวเมียจะมีความพร้อมก่อนเกสรตัวผู้พร้อมทีหลัง ซึ่งช่วงเวลาพร้อม ก่อน-หลัง นี้ ห่างกันไม่เกินครึ่งชั่วโมง .... การใช้เกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียต่างสายพันธุ์ผสมกันจะได้ผลดีกว่าใช้เกสรตัวผู้ตัวเมียสายพันธุ์เดียวกันผสมกันยก เว้นหมอนทองที่ใช้เกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียพันธุ์เดียวกันแต่ต่างต้น หรือในต้นเดียวกันแต่ต่างดอกกัน หรือในดอกเดียวกันผสมกันได้

- ดอกทุเรียนบานพร้อมรับการผสมช่วงกลางคืน (หัวค่ำ) สัตว์ธรรมชาติที่สามารถช่วยสมเกสรให้แก่ทุเรียนได้จึงมีเพียงค้างคาวกินน้ำหวานในดอกไม้กับชันโรง เท่านั้น

- ขั้นตอนพัฒนาการของดอกทุเรียน 9 ระยะ คือ ระยะไข่ปลา. ระยะตาปู. ระยะเหยียดตีนหนู. ระยะกระดุม. ระยะมะเขือพวง. ระยะหัวกำไล. ระยะดอกขาว. ระยะดอกบาน. และ ระยะปิ่น (ไม้กลัดหรือหางแย้).

- ช่วงดอกระยะมะเขือพวง ถึงหัวกำไล ฉีดพ่น “เอ็นเอเอ. อัตรา 10-20 ซีซี./น้ำ 100 ล.” ให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น สามารถช่วยลดการร่วงของดอกได้ดี

* สายพันธุ์ทุเรียนต่อการผสมเกสรโดยช่วยผสมเกสรด้วยมือ หรือปล่อย ให้ผสมเกสรเองตามธรรมชาติ คู่สายพันธุ์ที่ผสมกันได้ดี คือ....

- เกสรตัวผู้หมอนทอง และ/หรือ เกสรตัวผู้ก้านยาว ผสมให้กับเกสรตัวเมียชะนี ผลที่เกิดมาเป็นชะนี

- เกสรตัวผู้หมอนทอง และ/หรือ เกสรตัวผู้ชะนี ผสมให้กับเกสรตัวเมียก้านยาว ผลที่เกิดมาเป็นก้านยาว

- เกสรตัวผู้หมอนทอง และ/หรือ เกสรตัวผู้ชะนี ผสมให้กับเกสรตัวเมียอีหนัก ผลที่เกิดมาเป็นอีหนัก

- เกสรตัวผู้หมอนทองต่างต้น และ/หรือ เกสรตัวผู้ชมพูศรี ผสมให้กับเกสรตัวเมียหมอนทอง ผลที่เกิดมาเป็นหมอนทอง

- เกสรตัวผู้ชะนี และ/หรือ เกสรตัวผู้ชมพูศรี ผสมให้กับเกสรตัวเมียกระดุม ผลที่เกิดมาเป็นกระดุม

- เกสรตัวผู้หมอนทอง ผสมกับเกสรตัวเมียพวงมณี ผลที่เกิดมาเป็นนวลทองจันทร์

- คำว่า และ/หรือ หมายถึง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง ผลทุ เรียนที่เกิดจากการผสม เกสรตัวเมียเป็นพันธุ์อะไร เมื่อโตขึ้นผลจะเป็นพันธุ์นั้น โดยไม่มีอาการกลายพันธุ์หรือเพี้ยนพันธุ์ นอกจากนี้การช่วยผสมเกสรยังทำให้ผลมีรูปทรงดี ไม่บิดเบี้ยวเพราะเกิดจากเกสรที่แข็งแรงผสมกัน

1. "พันธุ์กระดุม" ผลมีขนาดเล็ก ค่อนข้างกลม หัวและท้ายผลค่อนข้างป้าน น้ำหนักเฉลี่ย 1 กก. หนามเล็กสั้นและถี่ ขั้วค่อนข้างเล็กและสั้น พูเต็มสมบูรณ์ ร่องพูค่อนข้างเล็ก เนื้อค่อนข้างบางแต่ละเอียด นุ่ม สีเหลืองอ่อน เมล็ดมีขนาดใหญ่ รสชาติหวาน ไม่ค่อยมัน เละง่ายเมื่อสุกจัด

2. "พันธุ์หมอนทอง" ผลมีขนาดใหญ่ ค่อนข้างยาว มีบ่าผล ปลายผลแหลม น้ำหนักเฉลี่ย 3-4 กก. พูไม่ค่อยเต็มทุกพู หนามแหลมสูง ฐานหนามเป็นเหลี่ยม ระหว่างหนามใหญ่จะมีหนามเล็กแซมอยู่ทั่วไป เรียกว่า “เขี้ยวงู” ก้านใหญ่แข็งแรง ช่วงกลางก้านผลจนถึงปากปลิงอ้วนใหญ่เป็นทรงกระบอก เนื้อหนาสีเหลืองอ่อนละเอียด เนื้อแห้งไม่แฉะ รสชาติหวานมัน เมล็ดน้อยและลีบเป็นส่วนใหญ่

3. "พันธ์ก้านยาว" ผลขนาดปานกลาง ทรงผลกลมเห็นพูไม่ชัดเจน พูเต็มทุกพู น้ำหนักเฉลี่ย 3 กก. หนามเล็กถี่สั้นสม่ำเสมอ ก้านใหญ่และยาว เนื้อละเอียดสีเหลืองหนาปานกลาง รสชาติหวานมัน เมล็ดมากค่อนข้างใหญ่

4. "พันธุ์ชะนี" ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่ รูปทรงหวด คือ กลางผลป่อง หัวเรียว ก้นตัด น้ำหนักเฉลี่ย 2.5-3 กก. ร่องพูเล็กมองเห็นชัด ขั้วผลใหญ่ และสั้น เนื้อละเอียดมีสีเหลืองจัด รสชาติหวานมัน เมล็ดค่อนข้างเล็กและมีจำ
นวนเมล็ดน้อย

ขั้นตอนและวิธีการทำทุเรียนนอกฤดู
กระตุ้นราก : หลังเก็บเกี่ยว (ต้น เม.ย.) ทิ้งไว้ 1 เดือน (ปลาย ม.ย.) โดยใช้กรดฮิวมิก + อะมิโนแอซิด อัตรา 100 ซีซี. /ต้น ผสมน้ำรดอัตรา 70-100 ล./ต้น ทิ้งไว้ 1 เดือน ใบอ่อนเริ่มแตก (ชุดที่ 1)

ใบอ่อนเริ่มคลี่ (พ.ค.) : บำรุงต้น ใบ และราก ใส่ปุ๋ย 15-15-15 และปุ๋ยมูลค้างคาวสลับกับปุ๋ยกระดูกป่น อัตรา 0.5 : 0.5 กิโลกรัม โรยรอบโคน อัตรา 1 กก./ต้น

ใบอ่อนแตกเต็มที่ : หลังจากใส่ปุ๋ย 15 วัน ใช้สาหร่ายไซโตคินิน เพื่อทำ ลายการพักตัวและกระตุ้นให้แตกใบอ่อนพร้อมกันชุดเดียว (ชุดที่ 2) ร่วมกับปุ๋ยเกล็ดทางด่วน สูตร 13-0-46 หรือ 13-5-30 (โพแทสเซียมไนเตรต) อัตรา 300 กรัม/ต้น เพื่อบำรุงต้นและใบ

ทำสาร : หลังจากแตกใบอ่อนชุดที่ 2 และสภาพอากาศแล้ง (ต้องแล้งก่อนทำสาร 1 ชั่วโมง) ใช้สารแพคโคลบิวทราโซล 15% อัตรา 2 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นพอเปียก (หลังจากทำสารประมาณ 1 เดือน ถึง 1 เดือนครึ่ง ทุเรียนเริ่มออกดอก)

บ่มใบ : เร่งการสะสมอาหาร และเร่งให้ใบเขียวเข้มเร็วขึ้น หลังทำสาร 7 วัน ใส่ปุ๋ยเกล็ด 6-12-36 อัตรา 300 กรัม ร่วมกับปุ๋ยแมกนีเซียม (เดี่ยวๆ) อัตรา 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นในวันที่ฟ้าโปร่งและฝนแล้ง ฉีดพ่นติดต่อกันประมาณ 3-4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7-10 วัน (รวมเวลาประมาณ 1 เดือน)

เริ่มออกดอกระยะไข่ปลา : ช่วงนี้เป็นหัวใจสำคัญ ปล่อยให้กระทบแล้งประมาณ 3-4 วัน จนดอกทุเรียนพ้นจากระยะไข่ปลา เป็นลักษณะแหลมๆ ให้กระตุ้นน้ำหรือขึ้นน้ำ เพื่อให้การไหลเวียนของจิบเบอเรลลิน และออกซิน เพื่อให้มีการออกดอกตามมา โดยให้ที่รากแก้ว จุดที่ให้น้ำห่างโคนต้นทุเรียนประมาณ 50 ซม. ให้เพียงแค่พออยู่ได้ และต้องไม่มากเกินไป หลังจากขึ้นน้ำทุเรียนจะทยอยออกดอกเป็นระยะไข่ปลามากขึ้น

โบรอนทำลายการพักตัว : โดยใช้โบรอนเดี่ยวๆ (โบรอนโกลด์) 100 ซีซี + อะมิโน แอซิด (อมินอล) 200 ซีซี./น้ำ 200 ล. ฉีดพ่นโดยเน้นที่ใต้ท้องกิ่งที่อยู่ในระยะไข่ปลา 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 3-5 วัน

ดอกระยะตาปู : ใช้จิบเบอเรลลินชนิดเม็ด 2 เม็ด/น้ำ 200 ล. เพื่อยืดขั้วดอก/ผล ฉีดพ่นที่กลุ่มดอก 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 3-5 วัน

ดอกระยะเหยียดตีนหนู : ฉีดพ่นด้วยแคลเซียม โบรอน (แคล 40 + โบรอน เดี่ยวๆ) 100 + 100 ซีซี./น้ำ 20 ล. เพื่อให้ดอกสมบูรณ์และยาวขึ้น ฉีดพ่นที่กลุ่มดอก 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 5 วัน กระทั่งดอกบาน

ก่อนดอกบาน : ให้แต่งดอกทุเรียน โดยเลือกดอกที่เป็นรุ่นเดียว/ต้น ไว้
ระยะไข่ปลา - ดอกบาน : ใช้เวลา 45-50 วัน (ไข่ปลา-ตาปู 10 วัน, ตาปู-เหยียดตีนหนู 7 วัน, เหยียดตีนหนู-มะเขือพวงเล็ก 15 วัน, มะเขือพวงเล็ก-หัวกำไล 10 วัน, หัวกำไล-ดอกบาน 7-10 วัน)

ช่วยผสมเกสรดอกทุเรียน : ใช้แปรงขนกระต่าย ปัดกลับไปกลับมาที่ดอก ระยะดอกบานในช่วงเวลา 19.00-21.00 น. ทำติดต่อกัน 3 คืน

การแต่งผล แต่งผลทุเรียน จำนวน 4 ครั้ง
1. ผลขนาดลูกหมาก (อายุผลหลังดอกบาน 3 สัปดาห์)
2. ผลขนาดผลส้ม (อายุผลหลังดอกบาน 5 สัปดาห์)
3. ผลขนาดกระป๋องนมข้น
4. ผลอายุหลังดอกบาน 2 เดือน (น้ำหนักผลประมาณ 1 กก. /ผล)
โดยคัดเอาเฉพาะผลรูปทรงสวย และตามปริมาณการติดผลของต้น (ถ้าไว้ผลมาก ทุเรียนจะสลัดผลที่ดีๆ ทิ้ง)

การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวทุเรียนที่ระยะความแก่ 80-90% (ประมาณ 93-95 วัน หลังดอกบาน) เจาะดูเนื้อทุเรียนเหลืองและเรียบเนียน

การตลาดและจำหน่าย ส่งออก 100%

เทคนิคการแก้ปัญหาทุเรียนแตกใบอ่อนระยะติดผล
คุณสุริยาฯ กล่าวว่า หากทุเรียนระยะติดผลแล้ว มีการแตกใบอ่อนพร้อมกันทั้งต้น ทำให้มีการแย่งอาหารกันระหว่างใบและผล ซึ่งผลที่ได้รับตามมา คือ ผลทุเรียนจะเสียหาย คุณภาพ และมีการสลัดผลทิ้ง แต่ถ้าหากมีการแตกใบอ่อนแบบทยอยแตก จะส่งผลดีต่อคุณภาพทุเรียน .... วิธีการแก้ไข คือ จะทำอย่างไร ให้ทุเรียนค่อยๆ ทยอยแตกใบอ่อน ที่สวนจะใช้เทคนิคโดยการให้ปุ๋ยอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ปุ๋ยสูตร 12-12-7+2 (เพื่อลดการควบคุมความอวบอ้วนของหนามทุเรียน ถ้าสังเกตเห็นหนามทุเรียนบวมและโตเร็ว ให้เปลี่ยนเป็นสูตร 8-24-24 แทน) และปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 0.5 : 1 กิโลกรัม ใส่หลังดอกบานจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน ประมาณ 15-20 วัน /ครั้ง

การจัดการ เพื่อแก้ไขปัญหาทุเรียนเป็นโรคโคนเน่า
คุณสุริยาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเป็นโรคโคนเน่าของทุเรียนจะเกิดเฉพาะต้น ไม่ได้เกิดกันทั้งแปลง สาเหตุของปัญหาเกิดจากการดูแลไม่ทั่วถึงของเจ้าของสวนเอง เช่น การระบายน้ำไม่ดี มีการใช้สารแพคโคลบิวทราโซลติดต่อกัน ต้นทุเรียนงามเกินไป เป็นต้น

แนวทางที่สวนปฏิบัติอยู่ คือ
1. ระยะสั้น ถ้าหากมีการเป็นโรคเกิน 50% จะโค่นต้นทิ้ง เพราะไม่คุ้มค่าในการรักษา
2. ระยะยาว มีรายงานทางวิชาการระบุว่า ต้นตอทุเรียนที่ทนทานต่อโรคโคนเน่ามากที่สุด คือ ทุเรียนนกฯ และพวงมณี รองลงมา ที่สวนคุณสุริยาได้ปลูกทุเรียนเพิ่มเติมใหม่จากแปลงเดิม โดยใช้ต้นตอเป็นพันธุ์ทุเรียนกลุ่มพันธุ์นกทั้งหมด

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 จังหวัดระยอง โทร. (038) 611-578 สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด (039) 511-008 สำนักงานเกษตรอำเภอคลองใหญ่ (039) 581-355 หรือ (081) 762-7687 คุณสุริยา กล่อมสังข์ (081) 865-5924
ข้อมูลโดย มติชน



วงรอบบำรุงทุเรียน :
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อทุเรียน

1. เรียกใบอ่อน
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 100 ซีซี. + 27-5-5 (200 กรัม) + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” ฉีดพ่นพอเปียกใบทุก 5-7 วัน ต่อการเรียกใบอ่อน 1 รุ่น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ ใส่ซิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว +25-7-7 (1-2 กก.) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณทรงพุ่ม

- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือปฏิบัติทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง
- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็จะกลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก .... แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้ โดยให้ปุ๋ยทางใบซ้ำในจังหวะที่ถี่ขึ้น

- สิ่งบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ของต้น คือ การแตกใบอ่อน ถ้าต้นสมบูรณ์ดีจะแตกใบอ่อนออกมาพร้อมกันทั่วทั้งต้น ระยะการแตกใบอ่อนไม่เกิน 5-7 วัน
แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์จริงการแตกใบอ่อนจะออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น แม้ระยะเวลาจะผ่านไปนานนับสัปดาห์แล้วก็ตาม

- ความสมบูรณ์ของต้นอันเกิดจากการบำรุงของรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมา มีผลอย่างมากต่อการบำรุงเรียกใบอ่อนรุ่นปีการผลิตปัจจุบัน รุ่นปีการผลิตที่ผ่านมา ถ้าต้นได้รับการบำรุงถูกต้องสม่ำเสมอ หรือต้นไม่โทรม การเรียกใบอ่อนก็จะแตกออกมาเร็วพร้อมกันทั่วทั้งต้นดี แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์หรือโทรม ใบอ่อนชุดใหม่ก็จะแตกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น

- รักษาใบอ่อนที่แตกใหม่ละชุดให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้ ถ้าใบอ่อนชุดหนึ่งชุดใดถูกทำลายไปจะต้องเริ่มเรียกใบชุดที่หนึ่งใหม่

- ทุเรียนต้องการใบอ่อน 3 ชุด .... ถ้าได้ใบอ่อน 1 ชุดจะได้ดอก 10-20% .... ถ้าได้ใบอ่อน 2 ชุดจะได้ดอก 30-40% ....ถ้าได้ใบอ่อน 3 ชุดจะได้ดอก 70-80%

- เพื่อความสมบูรณ์เต็ม 100% ต้องเรียกใบอ่อนให้ได้ 3 ชุด (3 ชั้น) แต่ละรุ่นให้เป็นใบแก่ภายใน 45 วัน

- หาโอกาสให้จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์มาเดี่ยวๆ 1-2 ครั้ง เพื่อป้องกันไฟ
ธอปเทอร์ร่า และปรับสภาพโครงสร่างดิน

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล. + 0-21-74 (200 กรัม) หรือ 0-39-39 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” ฉีดพ่นพอเปียกใบ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน พอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อใบอ่อนเริ่มแผ่กาง หรือเพสลาด
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากการทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

- สารอาหารกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแล้ว ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย

วิธีเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่
วิธีที่ 1 ..... ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดิน และปรับปรุงบำรุงดินสม่ำ
เสมอต่อเนื่องมาหลายๆ ปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อ ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรก แต่ก็ไม่ควรห่างกันเกิน 7-10 วัน หลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาด ก็ให้เรียกใบอ่อนชุด 3 ต่อได้เลยอีกเช่นกัน การที่ใบอ่อนชุด 2 ออกไม่พร้อมกันนั้นจะส่งผลให้ใบอ่อน
ชุด 3 ออกไม่พร้อมกันทั้งอีกด้วย และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

วิธีที่ 2 ..... หลังจากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่ ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบ ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 2
เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เร่งเป็นใบแก่ เมื่อใบชุด 2 เป็นใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบ ก็ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 3 และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาด จึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ
(วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า)

- ใบอ่อนที่ออกมาแล้วปล่อยให้เป็นใบแก่เองตามธรรมชาติต้องใช้ระยะ
เวลา 30-45 วัน

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 100 ซีซี. + 0-42-56 (200 กรัม) + สารสมุนไพร 250 ซีซี.” ทุก 7-10 วัน ติดต่อกัน 2 เดือน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) รดทั่วแปลง ทุกตาราง นิ้ว + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณทรงพุ่ม

- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน พอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุด ควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง ในห้วงนี้ให้ “น้ำตาลทางด่วน” 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุง และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- ปริมาณ 8-24-24 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติด ผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ใน ปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อย หรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง

- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15 วัน /ครั้ง ก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน /ครั้ง

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมาก ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/01/2024 2:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 30/01/2024 7:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
4. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ :
- ในรอบ 7-10 วัน ให้ “น้ำ 100 ล.+ ไบโออิ 100 ซีซี. + 0-42-56 (200 กรัม)” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น นำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด

หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล)และ “ลด” ปริมาณ เอ็น. อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ถ้าปริมาณ “ซี” มาก จะทำให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก แต่ถ้าปริมาณ “เอ็น” มาก จะทำให้ต้นแตกยอดหลังการเปิดตาดอก

- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่น ใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมา มาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว

- ต้นที่อั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือน้ำตาลทางด่วนเพิ่ม แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช. สมบูรณ์หรือไม่ในทุเรียน ไม่อาจสังเกตจากอาการใบสลดได้ แต่ให้สังเกตจากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด กิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน

- เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไป โดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดิน หรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย

- กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อ ต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าสวนพื้นราบยกร่องแห้งจึงจะทำให้ใบสลดได้ อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช โดยกะคะเนให้ดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหงและมีความชื้นไม่เกิน 10% ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช พอดี

5. เปิดตาดอก
ทางใบ :
สูตร 1 .... น้ำ 100 ล.+ 13-0-46 (500 กรัม)+ ไธโอยูเรีย 250 กรัม+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สาหร่ายทะเล 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ....ข้อควรระวัง อัตราการใช้ 13-0-46 + ไธโอยูเรีย. เข้มข้นกว่านี้อาจทำให้ใบเหลือง ใบไหม้ แล้วร่วงได้ ทุเรียนจะไม่ออกดอกชุดนี้ แต่จะออกดอกช้ากว่ากำหนดหรือเป็นชุดต่อไป

สูตร 2 .... น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ไทเป 200 ซีซี.+ สาหร่ายทะเล 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
- เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง หรือสลับกันทั้งสองสูตร

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
- ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง 1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้นและสภาพอากาศพร้อม
- เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียว
- ธรรมชาตินิสัยของทุเรียนเป็นไม้ผลยืนต้น ประเภทออกดอกง่ายอยู่แล้ว
เทคนิคการใช้ฮอร์โมนไข่ไทเปที่มี 0-52-34 จำนวนหนึ่งเป็นส่วนผสมหลักอยู่ก่อนแล้วนั้น อาจเพิ่ม 0-52-34 เพิ่มขึ้น 500 กรัม เป็นการเฉพาะ เช่น "น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ 0-52-34 (400-500 กรัม)" ก็จะช่วยให้การเปิดตาดอกได้ผลแน่นอนยิ่งขึ้น

- การใช้ฮอร์โมนไข่ไทเปประจำ ควบคู่กับบำรุงต้นตามขั้นตอยอย่างสม่ำ เสมอทำให้สมบูรณ์อยู่เสมอจนกลายเป็น "ประวัติความสมบูรณ์ต้น" จะทำให้ทุเรียนออกดอกติดผลแบบทะวายไม่มีรุ่นได้ตลอดปี .... ผลผลิตทุเรียนแบบไม่มีรุ่นนี้เหมาะสำหรับทำทุเรียนทอดกรอบ

- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

6. บำรุงดอก
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ 15-45-15 หน้าฝน หรือ 0-52-34 หน้าแล้ง 200 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ. 100ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” ทุก 5-7 วันฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูมบำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ.1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบเพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้
- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอสามารถช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์จะได้ผลแน่นอนกว่าการใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเอง

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุด ตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้

- การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆจะทำให้มีผึ้งหรือมีแมลงธรรมชาติอื่นๆจำนวนมากเข้ามาช่วยผสมเกสรซึ่งจะส่งผลให้ติดผลดกขึ้น

7. บำรุงผลเล็ก
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ 10-45-10(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.25 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
- ให้นำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/เดือน
- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังผสมติดหรือกลีบดอกร่วง
- เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบด้วยสูตร 15-45-15 ซึ่งเป็นสูตรเดียวกับบำรุงดอกนั้น วัตถุประสงค์เพื่อให้ P. สร้างเมล็ดก่อนในช่วงแรก ซึ่งเมล็ดจะเป็นผู้สร้างเนื้อต่อไปเมื่อผลโตขึ้น....สูตรนี้ (15-45-15) เหมาะสำหรับทุเรียนสายพันธุ์เมล็ดใหญ่/เต็ม เช่น ก้านยาว. ลวง. ชะนี. ฯลฯ แต่หากเป็นทุเรียนสายพันธุ์เมล็ดลีบหรือตาย เช่น หมอนทอง นกกระจิบ ฯลฯ ก็ให้ใช้ 21-7-14 เพื่อบำรุงขยายขนาดผลได้เลย

- ช่วงผลเล็กตั้งแต่เริ่มติดเป็นผลเห็นรูปร่าง ถ้าสภาพอากาศวิปริต (ร้อนจัด หนาวจัด ฝนชุก)ให้ “เอ็นเอเอ.+ สาหร่ายทะเล + แคลเซียม โบรอน” 1-2 รอบ
ห่างกันรอบละ 5-7 วัน นอกช่วยป้องกันผลเล็กร่วงได้แล้วแล้วยังช่วยบำรุงผลให้พร้อมต่อการเป็นผลขนาดใหญ่คุณภาพดีในอนาคตได้อีกด้วย

8. บำรุงผลกลาง
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ 21-7-14 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ 25 ซีซี.+ แคลเซียมโบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ใส่น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14(1/2-1 กก.)/ต้น/ครั้ง/เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือบำรุงเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล การที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้วหรือยัง ต้องใช้วิธีสุ่มเก็บผลมาผ่าดูเมล็ดภายใน

- ให้ทางใบไคโตซาน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2-3 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่และเนื้อแน่นขึ้นแต่เมล็ดมีขนาดเท่าเดิม

- ให้กลูโคสหรือนมสัตว์สด 1 รอบ (ไม่ควรมากกว่านี้) เมื่ออายุผลได้ 50 เปอร์เซ็นต์ จะช่วยให้ได้กลิ่นรสดีมาก

- ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำกับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก

9. ระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
ช่วงฝนชุก :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ 16-8-24(200 กรัม)หรือ 0-21-74(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.”
ทุก 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
- ให้เฉพาะช่วงฝนตกชุก หลังหมดฝนแล้วให้อีก 1 ครั้ง จากนั้นกลับเข้าสู่ขั้นตอนบำรุงปกติ

ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น ทำร่องระบายน้ำป้องน้ำขังค้างโคนต้น
- ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำเพื่อละลายแล้วงดให้น้ำเด็ดขาด
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยวตามปกติ 10-20 วันและให้ปฏิบัติต่อไปจนกว่าจะหมดฝน
- การให้ทางใบด้วย 16-8-24 นอกจากช่วยปรับปรุงคุณภาพผลแล้วยังช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้อีกด้วย ส่วนการให้ทางใบด้วย 0-21-74 ช่วยปรับปรุงคุณภาพผลอย่างเดียวโดยไม่ช่วยขยายขนาดผล หรือหยุดขยายขนาดผล

- ช่วงที่มีฝนตกชุก ให้ฉีดพ่นทันทีเมื่อฝนหยุดตกใบแห้งโดยไม่จำกัดเวลา หรือฉีดพ่นก่อนฝนตก 30 นาที โดยไม่จำกัดเวลาอีกเช่นกัน

- หลังจากหมดฝนแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเดิมและวิธีเดิมต่อไปอีก 2-3 รอบ จากนั้นให้สุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก็จะรู้ว่าสมควรลงมือเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุงต่อไปอีก

- ถ้าฝนตกนานเป็นเดือนหรือหลายเดือนจนไม่อาจงดน้ำได้ ระหว่างนี้ผลทุเรียนจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ด้วยสูตรบำรุงผล บางครั้งขนาดผลใหญ่เกินเป็นทุเรียนรับประทานผลสุก กรณีนี้แก้ไขด้วยการจำหน่ายทุเรียนดิบสำหรับทำทุเรียนทอดกรอบหรือทำแป้งทุเรียนหรือปล่อยให้แก่จัดจำหน่ายทุเรียนสุกสำหรับทำทุเรียนกวนก็ได้....ทุเรียนผลยักษ์เมื่อสุกให้แกะเนื้อใส่กล่องโฟมจำหน่ายก็ได้

- ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวแล้วมีฝนมักเกิดอาการไส้ซึม แก้ไขด้วยการให้ทางใบด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริมสม่ำเสมอ ทั้งนี้ควรให้ตั้งแต่ยังไม่มีฝนซึ่งจะได้ผลดีกว่าให้หลังจากมีฝนแล้ว

- ต้องการผลขนาดเล็ก (นกกระจิบ พวงมณี หลงลับแล หลินลับแล)เมื่อผลโตได้ขนาดตามต้องการแล้วให้บำรุงด้วยสูตรบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวทันที จากนั้นสุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูตจน์ภายในก็จะรู้ว่าเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุ่งต่อ

ช่วงฝนแล้ง :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 100 ล.+ 16-8-24(200 กรัม)หรือ 0-21-74(200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.25 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” หรือ “น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้นและนำอินทรียวัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
- ให้ 13-13-21(1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.รดน้ำพอละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวช่วงฝนแล้ง หากบำรุงทางใบด้วยสูตร 0-21-74 หรือ 0-0-50 สลับครั้งกับให้ฮอร์โมนเร่งหวานสูตรเด็ด (มูลค้างคาวหมักชีวภาพ) พร้อมกับให้ทางรากด้วย 13-13-21 จะทำให้ได้รสหวานจัดยิ่งขึ้นถึงระดับหวานทะลุองศาบริกซ์

- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 13-13-21 จะทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายไปจากต้นแล้วต้องเร่งบำรุงเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที

- บำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอด้วยการทำให้มีสารอาหารกิตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆ ปี ส่งผลให้ทุเรียนออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีฤดูกาลได้ ดังนั้นการบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 จะไม่ทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายจากต้นไปแล้วเข้าสู่ขั้นตอนบำรุงต้น “สะสมอาหาร” และ “ปรับ ซี/เอ็น เรโช” จากนั้นให้สำรวจความพร้อมของต้นถ้าต้นสมบูรณ์ดีพร้อมก็ลงมือ “เปิดตาดอก” ต่อได้เลย กิ่งที่ยังไม่ออกดอกในรุ่นปีที่ผ่านมาสามารถออกดอกได้ถ้าสภาพอากาศไม่เลวร้ายจนเกินไปนักและดอกที่ออกมาก็สามารถพัฒนาให้เป็นผลได้เช่นกัน การบำรุงแบบต่อเนื่องนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์แข็งแรงอย่างแท้จริง โดยเฉพาะต้นสาวที่ให้ผลผลิตน้อยทั้งๆที่บำรุงอย่างดีจะสามารถทำได้ง่าย


การบังคับ :
การผลิตทุเรียนนอกฤดู

ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น โดยเฉพาะถ้ามีการผลิตทุเรียนนอกฤดูอย่างเช่น ในเดือนพฤษภาคม หรือหลังมิถุนายนไปแล้วราคาจะยิ่งแพงขึ้นไปอีก และยังหารับประทานได้ยาก ด้วยเหตุนี้ชาวสวนทุเรียนจึงพยายามทำทุเรียนนอกฤดูกันขึ้น ซึ่งมีทั้งที่ประสบผลสำเร็จ และไม่ประสบผลสำเร็จ ที่ประสบผลสำเร็จและมีชื่อเสียงในขณะนี้ได้แก่ คุณประภัทรพงษ์ เวชชาชีวะ, คุณโกเตียงกวง โกศัลล์วัฒนา, และคุณสรรเสริญ ศรีพระยา. สำหรับหลักการอย่างกว้างๆ ในการผลิตทุเรียนนอกฤดูของเกษตรกรทั้ง 3 ท่านนี้ก็คือ พยายามทำให้ปัจจัยภายในและภายนอกต้นทุเรียน พร้อมจะออกดอก โดยดูแลรักษาต้นทุเรียนทั้งในเรื่องของการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ให้น้ำกำจัดวัชพืช และฉีดพ่นสารเคมีกำจัดโรคแมลง ทั้งนี้เพื่อให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์ และมีความพร้อมที่จะออกดอกเมื่อถึงเวลาอันสมควร อย่างไรก็ตาม อุปสรรคในการผลิตทุเรียนนอกฤดูในขณะนี้ก็คือ การที่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยบางอย่างในการออกดอกได้ โดยเฉพาะในเรื่องของสภาพฟ้าอากาศและความหนาวเย็น เช่น ในบางครั้งที่มีการผลิตทุเรียนนอกฤดู เกษตรกรหรือชาวสวนสามารถควบคุมหรือกำหนดปัจจัยพื้นฐานในการออกได้ เช่น มีการใส่ปุ๋ย ให้น้ำ ตัดแต่งกิ่ง และกำจัดวัชพืช จนกระทั่งทุเรียนมีความสมบูรณ์แต่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย โอกาสที่ทุเรียนออกดอกออกผลมีน้อยมาก เช่น ในกรณีที่ต้นทุเรียนพร้อมออกดอกแต่มีฝนตกลงมา แทนที่ทุเรียนจะแทงตาดอกก็จะแตกตาใบขึ้นมาแทน หรือในกรณีที่มีปัจจัยต่างๆ พร้อม แต่ไม่มีสภาพความแห่งแล้ง และอากาศหนาวเย็น โอกาสที่ทุเรียนออกดอกจะมีน้อยมากเช่นเดียว
กัน

แนวคิด และวิธีปรับปัจจัยเพื่อให้ทุเรียนออกดอกนอกฤดู มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ .....

วิธีการที่ 1 :
เป็นแนวความคิดในเรื่องของการปรับปัจจัยต่างๆ เพื่อให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์ และพร้อมที่จะออกดอก โดยวิธีการดังนี้ คือ....

1. การเร่งให้ต้นทุเรียนพร้อมที่จะออกผล :
การบังคับให้ทุเรียนออกผลนอกฤดูกาลนั้น จำเป็นต้องเร่งให้ทุเรียนมีความพร้อมเสียก่อน ในทางปฏิบัติจะทำได้โดยการใส่ปุ๋ยให้แก่ต้นทุเรียน ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุเรียนสมบูรณ์เร็วขึ้น และพร้อมที่จะออกดอกทันทีเมื่อกระทบอากาศเย็น การใส่ปุ๋ยให้กับต้นทุเรียนกระทำเป็นขั้นตอนต่างๆ ได้ดังนี้

ก. ใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิต และบำรุงต้นทุเรียน : ใส่ในช่วงเดือน พ.ค. สูตร 15-15-15 อัตรา 3-4 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง ห่างกัน 2-3 สัปดาห์ การใส่ปุ๋ยในระยะนี้จะทำให้ผลทุเรียนมีคุณภาพดี การให้ปุ๋ยทุเรียนในสวนที่มีระบบการชลประทานดีและมีน้ำอย่างเพียงพอ ให้เริ่มใส่ปุ๋ยตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้ขั้วผลทุเรียนเหนียว และไม่ร่วงง่าย แต่ถ้าทุเรียนแตกใบอ่อนแล้วให้ใส่ปุ๋ยเพิ่มเป็นสองเท่า และฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 20-20-20 จำนวน 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ล. ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน จะทำให้ต้นทุเรียนไม่สลัดผล เพราะมีอาหารเพียงพอที่จะบำรุงต้นและผล ผลทุเรียนที่ได้จะมีขนาดโต

ข. การใส่ปุ๋ยหลังการตัดแต่ง : ภายหลังจากที่ได้ตัดแต่งกิ่งเรียบร้อยแล้วให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 2-3 กก./ต้น โดยใส่ในช่วงเดือน ก.ค. ซึ่งเป็นช่วง ฝนชุก ทำให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีความสมบูรณ์มากขึ้น

ค. ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งให้ทุเรียนเตรียมออกดอก : ในช่วงปลายฤดูฝน ประมาณ ก.ย. ใส่ปุ๋ยเพื่อกระตุ้นให้ทุเรียนออกดอก สูตร 6-24-24 อัตรา 2-3 กก./ต้น ทำให้ต้นทุเรียนสมบูรณ์ และพร้อมที่จะออกดอก

ง. การฉีดพ่นปุ๋ยและฮอร์โมนเร่งการออกดอกและผล
ภายหลังจากที่ฝนหยุดตกและพื้นดินเริ่มแห้ง ให้ทำการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบแก่ทุเรียน ปุ๋ยที่นิยมฉีดให้ต้นทุเรียนได้แก่ปุ๋ยสูตร 10-52-17 จำนวน 2-3 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบน้ำมีข้อดีคือ ทำให้ต้นทุเรียนได้รับน้ำไม่มากจนเกินไปพอที่จะทำให้ทุเรียนแตกใบอ่อนได้ นอกจากนี้มีชาวสวนบางรายใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ที่มีชื่อการค้าว่าแพลนโนฟิกซ์ ฉีดพ่นในอัตรา 3-5 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-15 วัน ซึ่งการฉีดพ่นฮอร์โมนดังกล่าวจะช่วยให้ทุเรียนมีการสะสมอาหารจำพวกแห้งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ทุเรียนมีความพร้อมในการออกดอกและผลได้เร็วขึ้น

2. การปรับสภาพพื้นที่ภายในสวนให้เหมาะสมต่อการออกดอกและผล
การปรับสภาพพื้นที่เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยเร่งให้ทุเรียนออกดอกได้เร็วขึ้น และควรทำพร้อมกับการใส่ปุ๋ยเพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน ในการปรับสภาพพื้นที่ภายในสวนนั้นควรปรับให้มีสภาพดังนี้

ก. ปรับพื้นที่ให้มีการระบายน้ำดี
โดยธรรมชาติแล้วไม้ผลที่ขึ้นอยู่ในที่ดินดอนจะออกดอกได้ง่ายและเร็วกว่าต้นที่ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม และต้นที่ขึ้นอยู่ในที่ดินทรายจะออกดอกได้ง่ายกว่าต้นที่ขึ้นในที่ดินเหนียว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับสภาพพื้นดินเพื่อให้มีการระบายน้ำดี การปรับสภาพดังกล่าวจะทำให้ทุเรียนหยุดการเจริญทางกิ่งก้านและใบเพื่อเตรียมตัวสำหรับการออกดอกและออกผลต่อไป

ข. ทำความสะอาดโคนต้นทุเรียน
การทำความสะอาดโคนต้นทุเรียนให้กระทำก่อนที่จะหมดช่วงฤดูฝน โดยเก็บเศษใบไม้ ใบหญ้าออกให้หมด ซึ่งจะทำให้ดินบริเวณโคนต้นทุเรียนแห้งเร็วและมีอากาศถ่ายเทได้ดีรวมทั้งไม่เป็นแหล่งสะสมของโรคแมลง

3. ตัดแต่งกิ่งที่งอกออกมาใหม่ ภายหลังจากที่ชาวสวนเก็บผลผลิตหมดแล้วช่วงนี้มักจะมีกิ่งใหม่แตกออกมาเสมอ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ชาวสวนจะต้องทำการตัดแต่งกิ่งเหล่านั้นทิ้งไปเสีย เพื่อช่วยรักษาทรงพุ่มให้โปร่งและไม่ต้องเปลืองธาตุอาหารโดยไม่จำเป็นสำหรับกิ่งที่ควรทำ

การตัดแต่งกิ่งควรมีลักษณะดังนี้
1. กิ่งที่เจริญออกจากโคนต้นจนถึงความสูง 1 เมตร ให้ตัดแต่งออกให้หมด
2. กิ่งที่เจริญออกจากลำต้นตั้งแต่ระดับความสูง 1 เมตรขึ้นไป ควรปล่อยให้มีการแตกสลับกัน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้กิ่งเหล่านั้นไม่บังแสงซึ่งกันและกัน และระยะห่างของกิ่งที่แตกก็ใกล้เคียงกัน ซึ่งจะช่วยทำให้ทุเรียนมีการแตกใบนอกทรงพุ่มเหมือนกันหมด การตัดแต่งกิ่งแบบนี้จะช่วยให้แสงส่องเข้ามาในทรงพุ่มได้สะดวก ทั้งยังช่วยให้ต้นทุเรียนสมบูรณ์ ลดความรุนแรงของโรครากและโคนเน่าได้อันจะช่วยให้ทุเรียนออกดอกและติดผลได้เร็วกว่าฤดูปกติอีกด้วย

วิธีการที่ 2 :
เป็นแนวความคิดของคุณโกเตียงกวง โกศัลล์วัฒนา เกษตรกรชื่อดังแห่งจังหวัดจันทบุรี มีวิธีปฏิบัติดังนี้

1. การตัดแต่งกิ่ง
การปลูกทุเรียนเพื่อให้มีผลดกมีคุณภาพดี จำเป็นจะต้องมีการตัดแต่งกิ่งทุกปี โดยทำในช่วงหลังจากเก็บเกี่ยวผลทุเรียนเสร็จแล้วประมาณ 15-20 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ทุเรียนเข้าสู่ระยะการพักตัว และจะทำการตัดแต่งเฉพาะกิ่งที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์เท่านั้นเช่น กิ่งที่เป็นโรค กิ่งแขนงหรือกิ่งที่แสงแดดส่งไม่ถึง การตัดแต่งกิ่งเหล่านี้จะมีประโยชน์ในแง่ที่ทุเรียนได้รับธาตุอาหารอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกระจายอาหารไปยังกิ่งทุกกิ่งบนต้นรวมถึงกิ่งที่ไม่มีประโยชน์ด้วย

2. การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยทุเรียนสามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ
ก. การใส่ปุ๋ยทางดิน เป็นการใส่เพื่อให้ทุเรียนได้ใช้ธาตุอาการอย่างสม่ำเสมอในปริมาณที่พอเหมาะ โดยใช้ปุ๋ยที่มีสูตรตัวหน้าต่ำเช่นสูตร 9-24-24 สำหรับเหตุผลที่ใช่ปุ๋ยสูตร 9-24-24 แทนการใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ก็เพราะถ้าใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ซึ่งเป็นสูตรที่มีปุ๋ยไนโตรเจนสูง อาจทำให้ไนโตรเจนตกค้างอยู่ในดินเป็นปริมาณที่มาก ซึ่งมีผลถึงช่วงที่ทุเรียนออกดอก จะทำให้มีการแตกใบอ่อนออกมาได้ในทางปฏิบัติแล้วถ้าต้องการให้ทุเรียนแตกใบอ่อน เช่น ในกรณีต้องการให้ทุเรียนแตกใบอ่อนเร็ว เพื่อให้ทุเรียนมีใบแก่และพักตัวเร็วขึ้น จะใช้วิธีฉีดพ่นปุ๋ยทางใบเลย เพราะให้ผลดีกว่าและมีธาตุไนโตรเจนตกค้างอยู่ในดินในจำนวนที่น้อยมาก

ข. การให้ปุ๋ยทางใบ
การให้ปุ๋ยทางใบเป็นการให้ปุ๋ยเพื่อให้ต้นทุเรียนใช้ธาตุอาหารได้อย่างรวดเร็ว โดยปกติมักใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ ๆ เช่นสูตร 18-18-18 หรือ 20-20-20 แล้วเพิ่มด้วยจิบเบอร์เรลลิน ในอัตราส่วน 100 มิลลิกรัม (2 หลอด) ต่อน้ำ 200 ลิตร เพื่อต้องการเร่งให้ใบชุดแรกออกมาเร็ว ส่วนในครั้งต่อไปให้ใช้ ซีปลาสเอฟ อัตรา 30 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้อีกสูตรหนึ่งแทนก็ได้คือ

- ดีซ (อาหารเสริม) 400 ซีซี.
- ปุ๋ยเก็ด (10-52-17) 400 กรัม
- โปแตสเซียมไนเตรท (13-0-46) 600 กรัม
- น้ำสะอาด 200 ลิตร
- การให้ปุ๋ยหรืออาหารเสริมทางใบนี้จะให้ 2 ครั้ง โดยฉีดพ่นดังนี้

ครั้งที่ 1 ฉีดพ่นในช่วงทุเรียนเข้าสู่ระยะพักตัวไปจนกระทั่วทุเรียนออกดอกและดอกทุเรียนอยู่ในระยะไข่ปลา แล้วจึงหยุดฉีด (ควรจะฉีดครบรอบวงจรประมาณ 4-5 ครั้ง)

ครั้งที่ 2 ฉีดเมื่อทุเรียนติดผลเท่ากับไข่ไก่และจะฉีดต่อไปทุก ๆ 15-20 วัน ในแต่ละครั้งที่ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบอาจใส่ปุ๋ยทางใบเสริมด้วยก็ได้เพื่อให้ผลโตเร็วยิ่งขึ้น ปุ๋ยที่ใช้ได้แก่ปุ๋ยสูตร 12-12-17+2

***การฉีดพ่นปุ๋ยหรืออาหารเสริมทางใบนี้ ควรจะปฏิบัติในช่วงที่ทุเรียนอยู่ในระยะใบเพสลาด ทั้งนี้เพราะทุเรียนจะปรับตัวได้ดี ทำให้มีการเก็บอาหารได้เพิ่มขึ้นและสามารถแทงตาดอกออกมาได้เร็วขึ้น ในกรณีที่ต้องการจะฉีดพ่นในช่วงใบอ่อนก็สามารถกระทำได้ แต่มีผลเสียกล่าวคือปุ๋ยที่ให้จะไปเลี้ยงใบให้เจริญมากเกินไปจนทำให้ตาดอกออกได้ช้า ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วไม่นิยมทำกัน

3. การให้น้ำ
การให้น้ำนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเป็นช่วงที่ทุเรียนกำลังติดดอก ฉะนั้นจึงควรมีการปฏิบัติด้วยความระมัดระวังและพิถีพิถันโดยมีวิธีการให้น้ำดัก

ระยะก่อนดอกทุเรียนบาน 15 วันไปจนถึงดอกบานแล้ว 15 วัน ควรให้น้ำจากปลายพุ่มใบเข้าไปประมาณ 1 เมตร โดยให้ในปริมาณที่เท่ากับจำนวนที่เคยให้การให้น้ำวิธีนี้จะทำให้มีเปอร์เซ็นต์การติดดอกดีขึ้นและทุเรียนจะติดดอกที่โคนกิ่งได้มากขึ้นซึ่งทำให้ไม่ต้องใช้ไม้ค้ำหรือโยงกิ่ง เหมือนกับกรณีที่ทุเรียนติดดอกบริเวณปลายกิ่งอย่างเช่นกรณีที่ให้น้ำด้วยวิธีอื่น

ระยะต่อไป ให้ทำไปจนถึงปลายพุ่มใบ สำหรับความถี่ความบ่อยครั้งของการให้น้ำนั้น ให้สังเกตจากความชื้นของดินบริเวณโคนต้นเป็นหลัก ถ้าดินมีความชื้นสูงก็ไม่ควรให้น้ำ แต่ถ้าความชื้นในดินมีน้อยหรือดินแห้งก็เริ่มให้น้ำได้ การให้น้ำควรระวังอย่าให้น้ำถูกลำต้นทุเรียนเพราะจะเกิดโรคโคนเน่าได้ง่าย

***สำหรับอัตราการให้ปุ๋ยทางดินนี้จะขึ้นอยู่กับอายุของทุเรียนเป็นสำคัญ กล่าวคือ
- ทุเรียนอายุ 8-12 ปี ใส่ปุ๋ยในอัตรา 2-5 กิโลกรัมต่อต้น
- ทุเรียนอายุ 13-19 ปี ใส่ปุ๋ยในอัตรา 3-4 กิโลกรัมต่อต้น
- ทุเรียนอายุ 20-30 ปี ใส่ปุ๋ยในอัตรา 4.5-5 กิโลกรัมต่อต้น
(การใส่ปุ๋ยจะใส่เพียงครั้งเดียงโดยใส่พร้อมกับการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบครั้งแรก)

วิธีการที่ 3 :
เป็นแนวความคิดของคุณประภัทรพงษ์ เวชชาชีวะ ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงจากการผลิตทุเรียนกระดุมนอกฤดู สวนนี้เน้นในเรื่องพันธุ์และการดูแลรักษาโดยมีรายละเอียดดังนี้ คือ

1. พันธุ์
พันธุ์ที่เน้นก็คือพันธุ์เบาที่ออกลูกง่าย ติดผลง่าย เช่น พันธุ์กระดุม กบแม่เฒ่า ก้านยาว ชะนี อีลวง สาวน้อยเรือนงาม เป็นต้น

2. การดูแลรักษา
เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งและต้องกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยมีการปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ

1. การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งทุเรียนจะทำภายหลังจากที่ทุเรียนให้ผลและเก็บผลไปแล้ว โดยกิ่งที่ทำการตัดแต่งคือ กิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่แสงแดดส่องไม่ถึงกิ่งน้ำค้าง กิ่งที่อ่อนแอหรือกิ่งที่ใกล้จะตาย และโดยเฉพาะกิ่งน้ำค้างนั้นเป็นกิ่งที่มีการเจริญเติบโตได้เร็ว และคอยแย่งน้ำ และอาหารจากลำต้น จึงจำเป็นต้องติดแต่งทิ้งทันที

2. การใส่ปุ๋ย
หลังจากที่ได้เก็บเกี่ยวผลไปแล้วให้ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงเนื่องจากผลทุเรียนที่ตัดไปนั้น มีแป้งเป็นองค์ประกอบ และแป้งเหล่านั้นก็ได้มาจากอาหารพวกไนโตรเจน ดังนั้นเมื่อทุเรียนสูญเสียแป้งไปมาก ก็ต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเสริมเข้าไป ปุ๋ยที่ใส่เช่นสูตร 14-14-14, 15-15-15, 16-16-16 หรือ 20-10-10 ก็ได้ จากนั้นก็ควรฉีดปุ๋ยยูเรียทางใบหรือทางราก เสริมอีกครั้งหนึ่ง

***เมื่อถึงช่วงปลายฤดูฝนระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม พอฝนเริ่มทิ้งช่วงก็ให้ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ก่อนที่ทุเรียนจะออกดอก โดยใส่ปุ๋ยสูตรตัวหน้าต่ำเช่น สูตร 6-24-24, 9-24-24 ซึ่งใช้กับดินทราย แต่ถ้าเป็นดินเหนียว ซึ่งมีโปแตสเซี่ยมสูงอยู่แล้ว ก็ใช้สูตร 1 : 2 : 1 เช่น 12-24-12 เพื่อให้ทุเรียนเตรียมพร้อมสำหรับการออกดอกต่อไป

3. การให้น้ำ
การให้น้ำทุเรียนจะให้หลังจากที่ฝนทิ้งช่วงในระหว่างปลายฤดู คือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ทุเรียนมีการพักตัวและมีสภาพพื้นดินแห้งแล้ง อาจจะเป็น 10-18 วันก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับความสูงของพื้นที่ เช่น ถ้าพื้นที่มีความสูงมาก การให้น้ำก็จะเร็วขึ้น เมื่อเห็นว่าพื้นดินแห้ง ก็เริ่มให้น้ำ เพื่อกระตุ้นให้ทุเรียนเกิดตาดอก หลังจากให้น้ำไปแล้วต้องคอยสังเกตดูว่าทุเรียนแตกตาดอกหรือยัง ถ้ามีการแตกตาดอกแล้ว และเห็นว่าปริมาณดอกมีน้อยอยู่ก็ให้น้ำอีกครั้งหนึ่งในปริมาณน้อย ๆ ประมาณ 3-4 วันหลังจากนั้นก็จะเห็นดอกทุเรียนเพิ่มมากขึ้น

***เมื่อเห็นว่าดอกทุเรียนมีปริมาณเพียงพอแล้วก็ให้น้ำเต็มที่ทุกวัน แต่อย่างไรก็ตามปริมาณดอกทุเรียนจะมีมากหรือน้อยยังขึ้นอยู่กับ ความสมบูรณ์ของต้น การสะสมอาหาร การให้ปุ๋ย การปราบวัชพืชและการตัดแต่งกิ่งด้วย สำหรับวิธีการให้น้ำแก่ต้นทุเรียนนั้น อาจให้แบบสปริงเกลอร์ หรือใช้สายพลาสติกปล่อยน้ำไปที่โคนต้นก็ได้ ถ้าให้แบบสปริงเกลอร์ อาจจะให้วันเว้นวัน หรือทุกวันก็ได้ แต่ถ้าให้วันเว้นวัน ก็ควรให้ในปริมาณที่มากต่อครั้งหนึ่ง ๆ ถ้าให้แบบใช้สายพลาสติกปล่อยน้ำไปที่โคนต้นทุเรียน ก็ควรให้ประมาณ 5-6 วันต่อครั้ง

4. การฉีดยาป้องกันโรคแมลง
โรคและแมลงนับว่าเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในการที่จะทำให้ทุเรียนออกดอกนอกฤดูกาล ทั้งนี้เพราะในกรณีที่มีการใส่ปุ๋ยไปแล้ว ทุเรียนจะเกิดใบอ่อนและในช่วงนี้จะมีแมลงมากัดกินเสมอ ดังนั้นปุ๋ยที่ใส่ให้ทุเรียนก็จะถูกแมลงเหล่านี้กินทางอ้อม ต้นทุเรียนก็ขาดความสมบูรณ์ ซึ่งจะมีผลไปถึงการออกดอกและติดผลต่อไป สำหรับโรคนั้นก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันคือ ในช่วงฤดูฝนในสภาวะที่มีอากาศชื้น ความชื้นสัมพันธ์สูงนั้น มักจะเกิดโรคระบาดในทุเรียนเสมอ โดยเฉพาะโรครากเน่าและโคนเน่า ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการฉีดยาป้องกันและกำจัดอยู่เสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์และเตรียมพร้อมที่จะให้ดอกและติดผลต่อไป

วิธีการที่ 4 :
เป็นแนวความคิดของคุณสรรเสริญ ศรีพระยา ซึ่งเป็นเกษตรกรจังหวัดจันทบุรีเช่นเดียวกัน สวนนี้จะเน้นในเรื่องการสร้างพื้นฐานทางดินและการใส่ปุ๋ยก่อน แล้วจึงเข้าไปสู่สรีระวิทยาของทุเรียนและมีสภาพฟ้าอากาศเป็นส่วนประกอบกล่าว คือ

การใส่ปุ๋ย
ทุเรียนเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโต ช่วงออกดอกหรือหลังเก็บเกี่ยว แต่ชนิดของปุ๋ยที่ทุเรียนต้องการจะไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราจึงต้องค้นหาว่า แต่ละช่วงทุเรียนต้องการปุ๋ยอะไร และให้ปุ๋ยเสริมจนเพียงพอที่จะออกดอก สำหรับชนิดของปุ๋ยที่ใช้ในสวนทุเรียนนั้นได้แก่ ปุ๋ยสูตร9-24-24 และอาหารเสริมทางใบ พอทุเรียนเริ่มออกดอกก็ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 พร้อมอาหารเสริมทางใบและปุ๋ยทางใบสูตร 10-52-17 การให้อาหารเสริมในช่วงที่ทุเรียนกำลังออกดอกและติดผลนี้มีความสำคัญมาก เพราะจะมีผลถึงการติดผลและการขยายขนาดของผลหรือความสมบูรณ์ของผล

วิธีการที่ 5 :
ป็นการใช้สารเคมีเร่งดอกทุเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลทุเรียนก่อนฤดูหรือต้นฤดู ดังนั้นหากมีการผลิตทุเรียนออกมาจำหน่ายได้ในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม ก็จะจำหน่ายได้ในราคาสูงมาก สารที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการเร่งดอกทุเรียนก็ คือ

สารพาโคลบิวทราโซล แต่วิธีการใช้สารที่เหมาะสมกับทุเรียนจะแตกต่างจากมะม่วงและมะนาว จากงานทดลองต่าง ๆ ของนักวิชาการสรุปได้ว่าการใช้สารพาโคลบิวทราโซลความเข้มข้น 1,000 พีพีเอ็ม. พ่นต้นในระยะใบอ่อน จะทำให้ทุเรียนออกดอกได้ภายใน 2 เดือนหลังจากการพ่นสาร อย่างไรก็ตามในกรณีของทุเรียนนี้เรื่องความสมบูรณ์ของต้นเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าต้นไม่สมบูรณ์เพียงพอก็จะไม่ตอบสนองต่อสารนี้ เท่าที่มีการศึกษาเรื่องนี้ในปัจจุบัน พอสรุปได้ว่าพันธุ์ที่เติบสนองต่อสารได้ดี คือ พันธุ์ชะนี ส่วนพันธุ์อื่นยังไม่มีข้อมูลที่เด่นชัด จึงยังไม่สามารถแนะนำให้ใช้กับพันธุ์อื่น
nongdook.moobanthai.com/2010/06/07/การผลิตทุเรียนนอกฤดูกา/ -

การใช้ thiourea และ KNO3 เพิ่มประสิทธิภาพ paclobutrazol ในการกระตุ้นให้ทุเรียนออกดอกต้นฤดู

ในฤดูการผลิตปี 2531/32 ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้ทดลองใช้สาร thiourea อัตรา 500 1,000 1,500 ppm และ KNO3 อัตรา 20,000 ppm ฉีดพ่นเฉพาะที่กิ่งภายในทรงพุ่มเมื่อสังเกตุพบดอกทุเรียนในระยะไข่ปลา หลังการฉีดพ่นสาร paclobutrazol อัตรา 1,000 ppm

พบว่าการฉีดพ่นด้วยสาร thiourea ทุกอัตรา และ KNO3 สามารถเพิ่มปริมาณดอกได้มากกว่าการฉีดพ่นด้วยสาร paclobutrazol อย่างเดียว 7-44 เปอร์เซ็นต์ โดย thiourea อัตราสูงจะช่วยกระตุ้นให้ต้นทุเรียนออกดอกได้มากกว่าสาร thiourea อัตราต่ำ

ส่วน KNO3 มีประสิทธิภาพในการชักนำให้ตาดอกของทุเรียนพัฒนาได้น้อยกว่าสาร thiourea อัตรา 1,000 และ 1,500 ppm

ปี 2532/33 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมวิธีเป็นใช้สาร thiourea อัตรา 1,000 1,500 2,000 3,000 ppm และอัตรา 1,500 ppm ร่วมกับ KNO3 อัตรา 15,000 ppm โดยวิธีการอื่นคงเดิม

พบว่าการพ่นด้วยสาร paclobutrazol อย่างเดียวหรือฉีดพ่นด้วยสาร paclobutrazol ร่วมกับสาร thiourea หรือสาร thiourea และ KNO3 ต่างช่วยให้ต้นทุเรียนออกดอกได้มากกว่าการไม่ได้ฉีดพ่น แต่การฉีดพ่นด้วยสาร thiourea และ KNO3 ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของสาร paclobutrazol ได้ เนื่องจากมีฝนตกมากกว่า 35 มม./วัน ติดต่อกันหลายวัน

ในปี 2533/34 และ 2534/35 ทำการฉีดพ่นด้วยสาร paclobutrazol อัตรา 1,000 ppm จนต้นทุเรียนเริ่มออกดอกในระยะไข่ปลา ฉีดพ่นด้วยสาร thiourea อัตรา 1,500 และ 3,000 ppm และสาร thiourea ในอัตราดังกล่าวมาร่วมกับทางด่วน (น้ำตาลเด็กซ์โตรส+กรดฮิวมิค+ปุ๋ยทางใบสูตร 15-30-15) หรือสาร thiourea อัตรา 1,500 ppm ร่วมกับ NAA อัตรา 22.50 ppm+ปุ๋ยทางใบ สูตร 15-30-15 หรือ NAA อัตรา 11.25 ppm+ปุ๋ยทางใบสูตร 15-30-15) หรือ ร่วมกับฟลอริเจนอัตรา 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ใน 3 แหล่งปลูก ของ จ.จันทบุรี

พบว่า ในปี 2533/34 การฉีดพ่นด้วยสาร thiourea อัตรา 3,000 ppm อย่างเดียว และการฉีดพ่นสาร thiourea ร่วมกับสารเคมีชนิดอื่นๆ ทุกกรรมวิธีสามารถเพิ่มปริมาณการออกดอกของทุเรียนได้มากกว่าการฉีดพ่นด้วยสาร paclobutrazol อย่างเดียวและในฤดูการผลิตนี้ในขณะที่ทุเรียนกำลังออกดอกในระยะไข่ปลามีฝนตกมากกว่า 10 มม./วัน ติดต่อกันหลายวัน

ในปี 2534/35 การฉีดพ่นด้วยสาร thiourea อย่างเดียวหรือการฉีดพ่นสาร thiourea ร่วมกับสารเคมีชนิดอื่น ไม่สามารถเพิ่มปริมาณดอกทุเรียนได้มากกว่าการฉีดพ่นด้วยสาร paclobutrazol อย่างเดียว เพราะในฤดูการผลิตนี้มีฝนตกในขณะที่ทุเรียนออกดอกน้อยกว่า 10 มม./วัน และการฉีดพ่นด้วยสาร paclobutrazol เพียงอย่างเดียวสามารถกระตุ้นให้ทุเรียนออกดอกได้เต็มที่แล้ว


การจัดการทุเรียนนอกฤดูกาล
ความสำคัญของดิน เพื่อเกษตรกรรมนั้น ทราบกันดีคำว่า “ดินดี-น้ำดี” การดูแลรักษาดีพืชก็เจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตดี ความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเกษตรกรรมทุกสาขาไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ หรือการประมง ความสำเร็จของเกษตรกรรมเหล่านี้จะมีได้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความอุดสมบูรณ์ของดินเป็นพื้นฐาน และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เราต้องรักษาความเป็นผู้ผลิตทางด้านเกษตรไว้ให้จงได้ ด้วยการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ และวิธีที่เหมาะสมที่สุดคือ การคืนอินทรียวัตถุที่ได้จากดินให้แก่แผ่นดินแม้จะเป็นเพียงบางส่วนแต่ก็ให้เหมาะสม ก็เป็นการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้สืบไป

การบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเกษตร ปัจจุบันทั้งในแง่ของการเพิ่มผลผลิตและการลดค่าใช้จ่าย ต้องถือว่าเป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำและต้องลงทุนทั้งยังสามารถทำอย่างค่อยเป็นไปทีละเล็กทีละน้อย สม่ำเสมอแต่ได้ผลดีตลอดไป จึงขอให้เราความตั้งใจแน่วแน่ และใช้ความยันหมั่นเพียรทำงานเสริมการกระทำของธรรมชาติ เราก็สามารถรักษาความอุดมสมบูรณ์ของผืนแผ่นดินไว้ได้ตลอดไป

การปฏิบัติต่อต้นทุเรียน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ตรวจความเป็นกรดเป็นด่าง
- ปรับค่าของความเป็นกรด โดยการใช้ปูนขาว หรือปูนโดโลไมท์ ลดความเป็น กรด
- ปรับค่าของความเป็นด่าง โดยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ลดความเป็นด่าง ค่า PH ของดินที่เหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตของพืช 6-7

2. ตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว
- ตัดกิ่งแห้ง กิ่งแขนง กิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่ไม่มีประโยชน์ และขั้วผล ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่องได้ทั่วทรงพุ่ม ลดปัญหาการเกิดโรคและช่วยให้การพ่นสารกำจัดศัตรูพืชหรืออาหารเสริมได้ทั่วถึงสะดวกในการฉีดพ่น

3. การใส่ปุ๋ยทางดิน
- ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-0-0(2–2.5 กิโลกรัม)/ต้น
- ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก 10–15 กิโลกรัม/ต้น

การใส่ปุ๋ยให้ใส่ก่อนตัดแต่งกิ่ง เก็บผลเสร็จแล้วก็ใส่ปุ๋ย 15-0-0 ทันที หลังจากนั้น 5–10 วัน ก็ให้ใส่ปุ๋ยหมักแล้วจึงทำการตัดแต่งกิ่งลงมาทับปล่อยให้ใบร่วงก่อนแล้วเก็บกิ่งมาเผาไฟ ส่วนใบปล่อยให้ย่อยสลายทั่วใต้ทรงพุ่ม เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุอีกทางหนึ่ง และเติมฮิวมิค อีก 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7–10 วัน ฮิวมิค 40 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดใต้ทรงพุ่มแทนการราดใช้ฮิวมิค 400 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีด 10 ต้น กระตุ้นการแตกใบอ่อน หลังจากตัดแต่งกิ่งควรฉีดพ่นทันทีเพื่อกระตุ้นให้ออกยอดเร็วขึ้น

- ใช้ปุ๋ยเกล็ด 30-20-10(500 กรัม)
- สาหร่าย 300 ซีซี.
- สังกะสี 300 ซีซี.
ผสมน้ำ 200 ลิตร

- สารจับใบ 50 ซีซี.
- น้ำสะอาด 200 ลิตร

ฉีดพ่นครั้งที่ 2 เมื่อทุเรียนแตกยอดอ่อน แล้วประมาณ 50-60%
- ใช้ปุ๋ยเกล็ด 30-20-10(500 กรัม)
- สาหร่าย 300 ซีซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร
- คลอไฟริฟอส (อบาแม๊กติน)300 ซีซี.
- สารจับใบ (ไซเฟอร์เทริน)50 ซีซี.

ฉีดพ่นป้องกันและกำจัด เพลี้ยไฟ – เพลี้ยไก่แจ้

บำรุงยอดอ่อนฉีดพ่นครั้งที่ 3 เมื่อใบเพสลาดเริ่มแก่ทำการฉีดพ่นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเร่งให้ใบแก่เร็วขึ้น พร้อมที่จะออกยอดชุดต่อไป และเพื่อป้องกันเชื้อราเข้าทำลายใบทุเรียน
- ใช้ปุ๋ยเกล็ด 21-21-21(500 กรัม)
- แมกนีเซียม 300 ซีซี.
- น้ำตาลทางด่วน 200 ซีซี.
ผสมน้ำ 200 ลิตร

- ยาป้องกันเชื้อรา (คอปเปอร์) 200 ซีซี
- ยาฆ่าแมลงแล้วแต่ความจำเป็น 300 ซีซี

การทำยอด 1 ชุด ควรฉีดพ่นอย่างน้อย 3 ครั้ง ต้องทำยอดให้ได้ 3 ชุด ทุเรียนจึงจะเรียกว่าสมบูรณ์เต็มที่ พร้อมที่จะใช้สารบังคับให้ออกนอกฤดูกาลได้ จะทำการฉีดพ่นสารช่วงใบเพสลาด 70-80% ของยอดชุดที่ 3 เราไม่ฉีดพ่นอาหารครั้งที่ 3 เพราะต้องฉีดสารเวลานั้น

วิธีผสมสารน้ำยาปรับสภาพน้ำตามอัตรา เพื่อให้น้ำเป็นกลาง
- น้ำสะอาด 20 ลิตร
- สารแพคโคลบิวทราทรอล 15% (1 กิโลกรัม)
- สารแพคโคลบิวทราทรอล 10% (1 กิโลกรัม)

1. ใช้น้ำยาปรับสภาพน้ำในถัง
2. ใช้ถังเล็กละลายสารให้ดีก่อนแล้วจึงเทใส่ถัง 200 ลิตร แล้วกวนให้เข้ากัน แล้วก็ใส่สารจับใบ เป็นอันดับสุดท้าย 100 ซีซี. เวลาฉีดต้องกวนสารตลอดจนหมดถัง และควรฉีดวันที่มีแสงแดดและท้องฟ้าแจ่มใส

ข้อสังเกต
อดให้ได้ 3 ชุด ทุเรียนจึงจะเรียกว่าสมบูรณ์เต็มที่ พร้อมที่จะใช้สารบังคับให้ออกนอกฤดูงกันเชื้อราเข้าทำลายใบทุเรียน สมบูรณ์ ในการฉีดสารหลังจากฉีดพ่นแล้ว 3-4 วัน ถ้าไม่มีแดดหรือฝนตกล้าง ให้ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ภายใน 5-7 วัน ให้สาร 15%1 กิโลกรัม/น้ำ 200 ลิตร ขั้นตอนการผสมก็เหมือนกับครั้งแรกต่อไปหลังจากพ่นสาร 5-7 วัน ก็เริ่มให้อาหารเพื่อเร่งให้ใบแก่สะสมอาหารได้เร็วขึ้น

1. ใช้ปุ๋ยเกล็ด 10-50-10 (1 กิโลกรัม)
แคลเซี่ยม โบรอน 300 ซีซี.
แมกนีเซียม 300 ซีซี.
ผสมน้ำ 200 ลิตร
คาร์โบไฮเดรต (น้ำตาลทางด่วน)300 ซีซี.
ยาฆ่าแมลงตามความจำเป็น
สารจับใบ 30-50 ซีซี.

2. หลังพ่นครั้งแรก 7 วัน ก็ให้อาหารอีกครั้ง
ใช้ปุ๋ยเกล็ด 0-52-34(1 กิโลกรัม)
ใช้ปุ๋ยเกล็ด 13-06-46(1 กิโลกรัม)
แคลเซียม โบรอน 300 ซีซี.
แมกนีเซียม 300 ซีซี.
ผสมน้ำ 200 ลิตร
คาร์โบไฮเดรต (น้ำตาลทางด่วน)300 ซีซี.
ยาฆ่าแมลงตามความจำเป็น
สารจับใบ 30-50 ซีซี.

3. หลังจากพ่นครั้งที่ 2 ประมาณ 7 วัน ให้อาหารอีกครั้งหนึ่งพร้อมกับการกดยอดไปด้วย
ใช้ปุ๋ยเกล็ด 0-42-56(1 กิโลกรัม)
ใช้ปุ๋ยเกล็ด 13-0-46(1 กิโลกรัม)
แคลเซียม โบรอน 300 ซีซี.
แมกนีเซียม 300 ซีซี.
ผสมน้ำ 200 ลิตร
สังกะสี 300 ซีซี.
เมฟิฟอส 100-200 ซีซี.
สารจับใบ 30-50 ซีซี.

หลังจากนั้นให้อาหารกดยอดไปแล้ว ใบเริ่มแก่เต็มที่แล้ว ก็ทำการตัดแต่งกิ่งอีกครั้งหนึ่ง คือ กิ่งแขนงก็ขึ้นมาใหม่ตามลำกิ่ง และกิ่งที่เห็นว่าไม่ใช้ประโยชน์ ทำการตัดแต่งออกให้หมด เมื่อตัดแต่งกิ่งเสร็จแล้ว ก็ทำความสะอาดใต้ทรงพุ่มหรือกวาดเผาไฟ ให้สะอาดทั้งแปลง เพื่อให้พื้นดินแห้งเร็วที่สุด เพื่อพื้นดินแห้งเร็วดอกก็จะออกเร็วขึ้น (หมายเหตุ เราวางแผนกำจัดวัชพืชล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดทำความสะอาด) หลังจากทำความสะอาดพื้นดินเรียบร้อยแล้ว ก็สำรวจแปลงว่ามีโรค – แมลง ศัตรูที่สำคัญระยะนี้ คือ ไรแดง ต้องคอยตรวจดูอย่างใกล้ชิด หลังจากนั้นพอเริ่มมีดอกออกมาบ้าง ก็ให้ฉีดกระตุ้นตาดอกอีกครั้ง เพื่อให้ตาดอกได้พัฒนาเร็วขึ้น
ใช้ปุ๋ยเกล็ด 13-0-46 (1–1.5 กิโลกรัม)
สาหร่าย 400 ซีซี.
น้ำตาลทางด่วน 300 ซีซี.
ผสมน้ำ 200 ลิตร
สารจับใบ 30-50 ซีซี.

ฉีดทั้งนอกและในทรงพุ่ม หรือท้องกิ่ง หลังจากมีการกระตุ้นตาดอก 7-10 วัน จะมีดอกออกมาเต็มที่ ถ้าเห็นว่าดอกยังออกไม่เต็มที่ก็ให้ฉีดกระตุ้นอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเห็นว่าเต็มที่แล้ว เพียงพอกับความต้องการแล้ว ก็ให้เติมปุ๋ยทางดินอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเร่งดอกให้สมบูรณ์ และเร่งให้มีการแตกยอดพร้อม ๆ กัน

ทุเรียน ถ้าออกดอกและออกยอด ในเวลาเดียวกันนั้นถือว่าสุดยอดของความสมบูรณ์ ปุ๋ยที่ใช้ 15-15-15 หรือ 16-16-16(2-2.5 กก.)/ต้น แล้วให้น้ำเต็มที่ 5-10 วัน หลังจากนั้นแล้วคือให้ตามปกติจนดอกเข้าสู่มะเขือพวงกลางก็ให้เริ่มทำการตัดแต่งดอก คือ ดอกที่อยู่ปลายกิ่ง ดอกที่หนาแน่นมากเกินไป ดอกโคนกิ่งและหลังกิ่ง ข้างกิ่ง ออกเสีย การแต่งดอกเหมือนกับเราจัดระเบียบตำแหน่งผลให้มีระยะห่างกัน ไม่ทำให้ผลเบียดเสียดและยังสะดวกในการดูแลรักษาผลให้มีคุณภาพขายได้ราคาอีกด้วย

การดูแลบำรุงรักษาดอก
หลังจากแต่งดอกแล้ว ให้ฉีดพ่นดอก 1–2 ครั้ง ตามความจำเป็น เพื่อป้องกันโรคแมลง เข้าทำลาย ดอกทุเรียน และเพิ่มอาหารบำรุงดอก
ยาป้องกันเชื้อรา แอนแทรกโนส ตามอัตราต่อน้ำ 200 ลิตร ยาฆ่าแมลง ตามอัตรา
แคลเซียมโบรอน 300 ลิตร
สารจับใบ 30-50 ซีซี.

หลังจากนั้นดอกบานถึงระยะหางแย้ไหม้ หรือเท่านิ้วโป้ง ให้ฉีดพ่นอีกครั้ง ป้องกันโรคแมลง (เพลี้ยแป้ง)
ยาป้องกันเชื้อราตามอัตรา
ยาฆ่าแมลง ถ้ามีเพลี้ยแป้ง ใช้คลอไฟร์ฟอส 250 ซีซี.
น้ำตาลทางด่วน 200 ซีซี.
ผสมน้ำ 200 ลิตร
ฮอร์โมน NAA 10-20 ซีซี.
สารจับใบ 30-50 ซีซี.

ครั้งต่อไปฉีดพ่นเมื่อผลเท่าไข่ไก่
ใช้ปุ๋ยเกล็ด 30-20-10 ซีซี. เพื่อบำรุงผล
ใช้ปุ๋ยเกล็ด 30-20-10(300 กรัม)
ยาป้องกันเชื้อราตามอัตรา
แคลเซียม 200 ซีซี.
ผสมน้ำ 200 ลิตร
ฮอร์โมน NAA 10-20 ซีซี.
สารจับใบ 30-50 ซีซี.

ทำพร้อมกับการให้ปุ๋ยทางดินระยะผลเล็ก การตัดแต่งผลต้องทำ 2–3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อผลเท่าไข่ไก่ ให้ตัดผลที่ไม่สมบูรณ์ ผลใหญ่ – ผลที่เป็นช่อออกให้เหลือผลขนาดเดียวกันหรือใกล้เคียงกันแต่ไม่ให้มากจนเกินไป ตัดแต่งผลครั้งที่ 2 เป็นระยะเริ่มสร้างเมล็ดประมาณ 1 กก. ให้เริ่มตัดอีกครั้ง ตัดผลที่ไม่สมบูรณ์ออกให้หมด ถ้าให้ดีมีการนับผลแล้ว กำหนดว่าต้นหนึ่งไว้ได้กี่ผล สมมุติไว้ได้ 100 ผล เราก็ตัดให้เหลือ 120 ผล เพื่อไว้ตัดแต่งครั้งสุดท้าย 20 ผล ตัดแต่งครั้งสุดท้ายเป็นระยะสร้างเนื้อผล ขนาดประมาณ 2–2 ½ กก. ทำควบคู่ไปกับการแต่งกิ่งอีกครั้ง คือ กิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่ทำมุมอับ กิ่งที่มีใบมากเกินไป แต่งให้โปร่งนิดหนึ่ง เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการดูแลรักษาผลให้มีคุณภาพที่ดี
ทางดินใช้ปุ๋ย 12-12-17, 13-13-21,(2-2 ½ กก.)/ต้น
หลังจากให้ปุ๋ยทางดินระยะผลเล็กไปแล้วจนถึงระยะสร้างเมล็ดให้ฉีดอีกครั้งเพื่อป้องกันโรคแมลงและขยายผล
ใช้ปุ๋ยเกล็ด 21-21-21(400 กรัม)
อาหารเสริมชนิดผง 50-60 กรัม
ผสมน้ำ 200 ลิตร
แคลเซียม300 กรัม
สารจับใบ 30-50 กรัม
ครั้งต่อไปฉีดพ่นเมื่อผลทุเรียนสร้างเนื้อป้องกันโรค – แมลง

บำรุงผลใช้ปุ๋ยเกล็ด 6-32-32(400 กรัม)
แคลเซียม โบรอน 200 กรัม
ผสมน้ำ 200 ลิตร
น้ำตาลทางด่วน 200 ซีซี.
ยาป้องกันเชื้อราตามความจำเป็น
ยาฆ่าแมลงตามความจำเป็น
สารจับใบ 30-50 ซีซี.


การให้ปุ๋ยทางดิน ครั้งที่ 2 เมื่อชุดแรกเข้าสู่ระยะเพสลาดเริ่มแก่ใช้ยูเรีย 1.5 กก. ร่วมกับปุ๋ยสูตร 15-15-15, 16-16-16,(2–2 ½ กก.)/ต้น แล้วต่อไปเมื่อใบชุดที่ 2 เริ่มเข้าสู่ระยะเพสลาด เริ่มแก่เป็นการให้ปุ๋ยครั้งที่ 3 ให้ทำเช่นเดียวกับการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ต่อไปเป็นการให้ปุ๋ยครั้งที่ 4 เพื่อเร่งการออกดอก ปุ๋ยที่ใช้สูตร 8-24-24(2-3 กก.)/ต้น ให้ก่อนออกดอกประมาณ 30-45 วัน หรือหลังจากพ่นสารทันที เพราะหลังจากฉีดสารต้องให้น้ำเต็มที่ 10 วัน หรือใบเริ่มแก่จึงหยุด หลังจากฉีดพ่นระยะสร้างเนื้อจำเป็นต้องเติมปุ๋ยทางดิน เพื่อช่วยในการสร้างแป้งและน้ำตาลภายหลังจากสร้างเนื้อ จำเป็นต้องเติมปุ๋ยทางดิน เพื่อช่วยในการสร้างแป้งและน้ำตาลภายหลังจากสร้างเนื้อ

ปุ๋ยที่ใช้สูตร 15-15-15, 16-16-16 (1 ½-2 กก.)/ต้น หลังจากนั้นผลทุเรียนเริ่มเข้าสู่ระยะสร้างแป้งและน้ำตาลให้เติมปุ๋ยอีกครั้ง เป็นการใส่ครั้งสุดท้าย 30 วัน ก่อนเก็บผลเพื่อให้เนื้อดีมีคุณภาพ และได้น้ำหนักดีใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21,(2-2 ½ กก.)/ต้น การฉีดพ่นผลต่อไปนี้ฉีด 10-15 วัน/ครั้ง เพื่อป้องกันโรค – แมลงทำลายผลทุเรียนโดยเชื้อราไฟทอปทอรา ซึ่งทำให้ผลทุเรียนเน่าเสียก่อนเก็บเกี่ยว ช่วงผลโตต้องดูแลเป็นพิเศษเพราะเหลือเวลาไม่นานก็จะเก็บขายแล้ว

การฉีดพ่นผลให้อาหารเสริมทางผลตั้งแต่ผลเล็กไปจนถึงผลขนาดกลาง ก็หยุดให้อาหารเสริม ช่วงผลขนาดกลางถึงการเก็บเกี่ยวเน้นเฉพาะยาป้องกันโรคและแมลง การใส่ปุ๋ยทางดินให้ใส่ครั้งละน้อย และบ่อยครั้งตามช่วงจังหวะของการเจริญเติบโตย่อมดีกว่าการใส่ครั้งละมาก ๆ แต่น้อยครั้ง

นอกจากนี้ เกษตรกรต้องมีหัวใจสำคัญ 5 อย่าง คือ
1. เรื่อง พืช
2. รู้เรื่อง เคมี
3. รู้เรื่อง ธรรมชาติ
4. รู้เรื่อง การจัดการ
5. รู้เรื่อง ตลาด


----------------------------


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/01/2024 3:54 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 30/01/2024 7:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

14. มะม่วงนอกฤดู
เกร็ดความรู้เรื่องมะม่วง :

* เป็นไม้ผลยืนต้นอายุนับร้อยปี ทรงพุ่มกว้างสูงใหญ่ ไม่ผลัดใบ ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล ชอบดินดำร่วนมีอินทรีย์วัตถุมากๆ ต้นมีรากแก้วทนต่อน้ำท่วมขังค้างนานได้ดีแต่ต้นที่ไม่มีรากแก้วหรือมีแต่รากฝอยทนได้ระยะเวลาหนึ่ง

* มีทั้งสายพันธุ์ทะวายแบบออกดอกติดผลปีละ 2 รุ่น แบบออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่นและสายพันธุ์ธรรมดาออกดอกติดผลปีละ 1 รุ่น ซึ่งสายพันธุ์ที่ออกดอกติดผลปีละรุ่นนี้ ต้นที่สมบูรณ์เต็มที่เพราะได้รับการบำรุงดีต่อเนื่องกันหลายๆปีก็สามารถออกดอกติดผลเป็นทะวายแบบไม่มีรุ่นได้

* เป็นไม้ผลยืนต้นที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในบรรดาไม้ผลยืนต้นทุกชนิด

* เป็นหนึ่งในไม้ผลยืนต้นไม่กี่ชนิดที่ตอบสนองต่อสารบังคับ (พาโคลบิวทาโซล.อีเทฟอน. เอ็นเอเอ. จิ๊บเบอเรลลิน.) ได้ดีจนทำให้ออกนอกฤดูได้

* การบังคับให้มะม่วงออกนอกฤดูหรือในฤดู นอกจากวิธีราดสารพาโคลบิวทาโซลแล้วยังใช้วิธีแบบอาศัยวิธีอื่นได้ เช่น แกล้งให้น้ำท่วม. ควั่นกิ่ง. สับเปลือกลำต้น. รมควัน. เป็นต้น

* ออกดอกติดผลที่ปลายกิ่งเสมอ ต้นที่ผ่านการบำรุงอย่างสมบูรณ์ต่อเนื่องมานานหลายปี เมื่อบำรุงให้ต้นได้สะสมตาดอกจนเกิดอาการอั้นตาดอกเต็มที่ดีแล้วตัดยอด จากนั้นลงมือเปิดตาดอกด้วยวิธีการปกติ มะม่วงต้นนั้นจะออกดอกติดผลจากกลางกิ่งแก่และตามลำต้นได้.....หรือบำรุงมะม่วงด้วยสูตรสะสมตาดอกช่วงหน้าฝนแล้วมีฝนตกลงมาจนเป็นเหตุให้ต้นแตกใบอ่อน ให้เด็ดใบอ่อนนั้นทิ้งทั้งหมดแล้วสะสมตาดอกต่อไปจนกระทั่งหมดฝน ซึ่งการสะสมตาดอกช่วงนี้มะม่วงต้นนั้นจะไม่แตกใบอ่อน เมื่อหมดฝนแล้วให้เปิดตาดอกตามปกติ มะม่วงต้นนั้นก็จะออกดอกที่ซอกใบ ท้องกิ่ง หรือที่ลำต้น การที่มะม่วงต้นนี้ไม่ออกดอกที่ปลายกิ่ง เนื่องจากปลายกิ่งไม่มียอด (เดือยไก่)นั่นเอง

* ฝนชะช่อมะม่วง หมายถึง น้ำฝนชะล้างช่อดอก ทำให้ช่อดอกสะอาด ส่งผลให้ดอกรุ่นนั้นติดเป็นผลดกดี การติดตั้งหัวสปริงเกอร์เหนือทรงพุ่มหรือใช้น้ำฉีดใส่ช่อดอกเป็นการเลียนแบบธรรมชาติก็ทำให้ช่อดอกสะอาดได้เช่นกัน

* มะม่วงต้นที่ช่อใบอ่อนแตกใบใหม่ ใบสีเขียวอมแดงจะออกดอกติดผลง่ายกว่าต้นที่ช่อใบแตกใหม่สีเขียว

* ช่วงอั้นตาดอก สังเกตุเดือยไก่ ถ้าเดือยไก่ชี้ตรงเมื่อเปิดตาดอกจะออกเป็นดอก แต่ถ้าเดือยไก่โค้งงอเมื่อเปิดตาดอกจะออกเป็นใบ

* การติดตั้งสปริงเกอร์ 2 แบบในต้นเดียวกัน คือ แบบพ่นฝอยในทรงพุ่มสำหรับฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ปุ๋ย และฮอร์โมนทางใบ ซึ่งให้ปริมาณการให้แต่ละครั้งเจือจางมากและให้พอเปียกใบเท่านั้น และแบบให้ น้ำเม็ดใหญ่โคนต้น สำหรับให้น้ำปกติหรือปุ๋ยทางรากซึ่งต้องใช้น้ำและปริมาณปุ๋ยค่อนข้างมาก การให้ปุ๋ยทางรากผ่านหัวสปริงเกอร์ในทรงพุ่มเปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบจนลงถึงพื้นนั้นเนื่องจากอัตราใช้ปุ๋ยทางรากแต่ละครั้งมากเกินกว่าที่ใบจะรับได้ เมื่อปุ๋ยทางรากเหล่านี้ผ่านใบจะทำให้ใบไหม้

* มะม่วงอายุมากต้นสูงใหญ่ ทรงพุ่มแน่นทึบ แสงแดดส่องไม่ทั่วภายในทรงพุ่มจะออกดอกติดผลน้อย แก้ไขโดยตัดกิ่งหรือยอดประธาน เรียกว่า "ผ่ากบาล" เป็นการเปิดช่องให้แสงแดดส่องกระจายทั่วภายในทรงพุ่มส่งผลให้ออกดอกติดผลดีขึ้น

* ลักษณะต้นที่เป็นลำต้น (เปล้า) เดี่ยวๆสูงจากพื้นหรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 80-120 ม.จะให้ผลผลิตดีกว่าต้นที่ลำต้นต่ำหรือง่ามแรกอยู่ชิดพื้น กับทั้งช่วยให้ตัดแต่งกิ่งเพื่อเปิดช่องให้แสงแดดและลมผ่านดีกว่าอีกด้วย

* ดอกมะม่วงในช่อเดียวกันจะมีจำนวนเกสรตัวผู้มากกว่าจำนวนเกสรตัวเมีย มะม่วงน้ำดอกและอกร่องมีเกสรตัวผู้มากที่สุดในบรรดามะม่วงด้วยกัน ถ้าปลูกแซมแทรกระหว่างมะม่วงพันธุ์อื่นที่มีจำนวนเกสรตัวผู้น้อยแบบคละกัน เช่น เขียวเสวย. แก้ว. ฟ้าลั่น. พิมเสน. ฯลฯ เกสรตัวผู้ของน้ำดอกไม้และอกร่องจะไปช่วยผสมกับเกสรตัวเมียของมะม่วงพันธุ์ที่มีเกสรตัวผู้น้อยเหล่านั้นทำให้ติดเป็นผลดกและดีขึ้น

* ในแปลงปลูกมะม่วงควรมีแต่มะม่วงอย่างเดียวล้วนๆ แต่ให้มีหลายๆสายพันธุ์เพื่อประโยชน์ของการถ่ายละอองเกสร ซึ่งจะให้ได้ผลผลิตดีกว่าการปลูกมะม่วงแซมแทรกหรือสลับไม้ผลอื่นหรือปลูกไม้อื่นที่มีขนาดทรงพุ่มเท่าๆกันแซมแทรก

* เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

* การสัตว์ฝังซากสัตว์โคนต้น เสริมด้วยสารอาหารกลุ่มสร้างดอกบำรุงผลอย่างต่อเนื่อง 2-3 ปีติดต่อกัน มะม่วงหนักอย่างเขียวเสวย. ฟ้าลั่น. อกร่อง. พิมเสน. ฯลฯ ก็สามารถออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้

* แก้อาการกิ่งเลื้อยที่เกิดตามลักษณะสายพันธุ์ หรือต้นกล้าที่ขยายพันธุ์มาจากต้นแม่ราดสารพาโคลบิวทาโซลด้วยการฉีดพ่น 0-39-39, 0-42-56, 0-21-74, ฮอร์โมนกดใบอ่อนสู้ฝน, นมสดสัตว์หรือ กลูโคส สามารถลดอาการกิ่งเลื้อยได้ หรือปล่อยให้เลื้อยไปจนสุดฤทธิ์จึงตัดกิ่งชิดลำต้นประธานแล้วเรียกยอดใหม่ ทำซ้ำ 2-3 รอบ อาการกิ่งเลื้อยจะหายกลายเป็นต้นปกติ

* กิ่งพันธุ์หรือต้นกล้าที่เป็นกิ่งแก่จนเปลือกเป็นสีน้ำตาล กิ่งชี้ลง (ใบชี้กลับทิศหรือชี้ลงดิน) ข้อสั้น เมื่อนำลงปลูกจะโตช้า

* ต้นตอที่มีระบบรากดีที่สุด คือ ตลับนาค. แก้ว. ซึ่งเหมาะสำหรับทำตอทาบกิ่ง เปลี่ยนยอด เสียบเปลือก และเสริมรากให้แก่มะม่วงพันธุ์ดี แต่มะม่วงป่า (กะล่อน, มุดม่วง) มีกลิ่นขี้ใต้แรงจึงไม่เหมาะสำหรับทำตอ

* มะม่วงพันธุ์ดีเสียบยอดบนตอมะม่วงป่า (กะล่อน) เมื่อยอดที่เสียบโตขึ้นผลที่ได้จะมีกลิ่นขี้ใต้

* วิธีปลูกต้นกล้าโดยวางลงบนพื้น ณ จุดที่ต้องการปลูก (ไม่ต้องขุดหลุม) แล้วพูนโคนต้นด้วยดินและอินทรีย์วัตถุหนาท่วมโคนต้นกล้า แผ่กว้างเต็มพื้นที่ คลุมทับด้วยเศษพืชหรือหญ้าแห้งหนาๆอีกชั้น ยิ่งหนายิ่งดี ใช้ไม้ค้ำยันป้องกันลมพัดโยก การปลูกวิธีนี้จะช่วยให้กล้ายืนต้นได้เร็ว เพราะการเจริญเติบโตของรากในช่วงแรกนั้น รากหาอาหารจะเจริญก่อนออกหาอาหารที่ผิวดิน (ผิวดินลึกไม่เกิน 15-20 ซม.มีสารอาหารมากที่สุด)จากนั้นรากยึดต้นจึงจะเจริญตามภายหลัง แบบนี้จะทำให้ต้นกล้ายืนต้นได้เร็ว

* การปลูกต้นกล้าแบบขุดหลุมลึก นำดินในหลุมขึ้นมาผสมอินทรีย์วัตถุแล้วใส่กลับลงในหลุมอย่างเดิม จากนั้นจึงปลูกต้นกล้าลงไปนั้น เมื่อรากทุกรากของต้นกล้าเจริญเติบโตไปถึงผนังหลุม ทุกรากจะวกกลับมากลางหลุม เพราะดินผนังหลุมแข็งและด้านนอกไม่มีสารอาหารแต่ในหลุมมีสารอาหาร ราก ที่วกกลับมาจะเจริญเติบโตต่อไปจนถึงผนังอีกด้านหนึ่งแล้วก็วกกลับเข้ากลางหลุมอีก วกไปแล้ววกมาอย่างนี้จนเกิดอาการรากวนในหลุม ส่งผลให้ต้นไม่โตเรียกว่า นั่งหลุม จนกระทั่งตายไปในที่สุด

* การปลูกต้นกล้าในหลุมโดยนำดินในหลุมขึ้นมาผสมอินทรีย์วัตถุ แล้วใส่กลับคืนลงไปในหลุมอย่างเดิมนั้น เนื่องจากดินผสมใหม่หลวม ยามฝนตกลงมาหรือรดน้ำมากๆน้ำจะขังค้างในหลุมและดินในหลุมจะยุบตัว ต้นกล้าที่ปลูกแล้วปักหลักผูกยึดติดกับหลักจนแน่น เมื่อดินในหลุมยุบตัวแต่ต้นกล้าไม่สามารถยุบตัวต่ำตามได้เพราะถูกเชือกผูกรัดเอาไว้ จึงทำให้รากหลุดจากดินปลูกก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ต้นกล้าไม่เจริญเติบโตหรืออาจตายได้

* การนำต้นกล้าที่ชำในเข่งไม้ไผ่ลงปลูกไม่ต้องถอดต้นกล้าออกมาจากเข่งแต่ให้ปลูกพร้อมกับเข่งได้เลย ต่อไปเข่งจะเน่าเปื่อยกลายเป็นปุ๋ยเอง ระหว่างที่เข่งยังไม่เปื่อยนั้นรากก็สามารถเจริญเติบโตแทงทะลุเข้งออกมาได้ แบบนี้ทำให้รากไม่กระทบกระเทือน ผิดกับต้นกล้าในถุงดำ จังหวะที่ถอดต้นกล้าออกจากถุงนั้นมีโอกาสรากระทบกระเทือนได้

* ต้นพันธุ์ขนาดใหญ่ สูง 2-3 ม.ขึ้นไป เมื่อนำลงปลูกในแปลงจริง ให้ริดใบ ตัดกิ่งย่อย และกิ่งแขนงออกให้มากที่สุดเพื่อลดการคายน้ำ หลังจากระบบรากเจริญและยืนต้นได้จะมีใบแตกใหม่ออกมาดีกว่าใบเก่า ส่งผลให้ต้นรอดตายหรือชงักการเจริญเติบโตน้อยลง

* ต้นพันธุ์แก่หรืออายุมากๆจะเจริญเติบโตช้ากว่า และให้ผลผลิตด้อยกว่าต้นกล้าอ่อนหรือกลางอ่อนกลางแก่

* อาการยางไหลตามลำต้นในมะม่วงเขียวเสวยเป็นลักษณะประจำสายพันธุ์ แก้ไขด้วยการให้ ธาตุรอง/ธาตุเสริม และบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอ กรณีที่มะม่วงสายพันธุ์อื่นเกิดอาการยางไหลย่อมหมายถึงการขาดธาตุรอง/ธาตุเสริมอย่างรุนแรงเช่นกัน

* มะม่วงอายุต้นเป็นสาวแล้วบำรุงด้วยวิธีแบบให้มีอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่อง 3-5 ปี หลังจากตัดแต่งกิ่งแล้วเรียกใบอ่อนด้วยสูตรปกติ เมื่อใบอ่อนออกมาระยะยอดผักหวานแล้วให้สูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอกทันที พอใบเพสลาดก็ให้ลงมือเปิดตาดอก มะม่วงต้นนั้นจะแทงยอดอ่อนใหม่อีกครั้งพร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วย

* มะม่วงประเภททะวายออกผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่น (ดอก + ผลเล็ก + ผลกลาง + ผลแก่) เมื่อบำรุงผลแก่ด้วยสูตร บำรุงผลก่อนเก็บเกี่ยว จะทำให้ ดอก. ผลเล็ก. และผลกลาง. ชะงักการเจริญเติบโตถึงร่วงได้ ดังนั้นมะม่วงประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับรับประทานผลดิบมากว่า ทั้งนี้มะม่วงดิบไม่ต้องการความหวาน จากเหตุผลดังกล่าว หากต้องการมะม่วงเพื่อรับประทานผลสุกจึงต้องบำรุงให้ได้ผลเป็นรุ่นเดียวกันทั้งต้นเพราะสามารถบำรุงเร่งหวานได้โดยผลรุ่นหลังไม่กระทบกระเทือน

* ใช้ถุงบรรจุทรายมัดปากถุงด้วยเชือก นำขึ้นผูกกับกิ่งประธานขนาดใหญ่เพื่อถ่วงน้ำหนักให้กิ่งนั้นให้เอนลงระนาบกับพื้นแล้วตัดแต่งกิ่ง หลังจากตัดแต่งกิ่งแล้วจะมีกิ่งใหม่แตกออกมาชี้ขึ้น 45 องศาหรือมากกว่ากับกิ่งประธาน กิ่งที่แตกใหม่นี้จะออกดอกติดผลดีกว่ากิ่งใหม่ที่แตกเองตามธรรมชาติจากกิ่งประธานที่ไม่ได้โน้มระนาบกับพื้น

* กิ่งแขนงที่ทำมุมเฉียงขึ้นกับกิ่งประธาน 45 องศา (กิ่งประธานระนาบกับพื้น) จะออกดอกง่ายและติดเป็นผลดีกว่ากิ่งแขนงที่ระนาบกับพื้นหรือชี้ลง

* แก้ไขมะม่วงออกดอกติดผลปีเว้นปีด้วยการปรับช่วงเวลาในการใส่ปุ๋ยทางดิน เช่น เคยใส่ 3 กก./ต้น/ 3 เดือน เปลี่ยนเป็นใส่ 500 กรัม/ต้น/ 15 วัน เมื่อรวมระยะเวลา 3 เดือนแล้วต้นก็ยังคงได้รับปุ๋ย 3 กก.เท่าเดิม.....นี่คือ วิธีใส่ปุ๋ยแบบ ให้น้อยแต่บ่อยครั้งตรงเวลา นั่นเอง

* มะม่วงสายพันธุ์เดียวกันที่แทงช่อใบ (ใบ) หรือช่อดอก (ก้านดอก) เป็นสีแดงจะให้ผลผลิตคุณภาพดีกว่าใบหรือก้านดอกเป็นสีเขียว

* บำรุงมะม่วงด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการตาดอกช่วงหน้าฝน ต้องเน้นบำรุงด้วยเทคนิค “กดใบอ่อนสู้ฝน” โดยให้ทางใบด้วย 0-42-56 หรือ 0-21-74 สลับด้วยแคลเซียม โบรอน. นมสด. ฮอร์โมนไข่.อาจจะให้บ่อยๆ แบบวันต่อวัน – วันเว้นวัน หรือให้ทันทีหลังฝนตกใบแห้ง ทั้งนี้เพื่อให้ต้นได้สะสมอาหารกลุ่ม ซี. ให้มีปริมาณมากกว่าอาหารกลุ่ม เอ็น.(จากฝน) อยู่ตลอดเวลานั่นเอง...ถ้ากดใบอ่อนสู้ฝนไม่สำเร็จ ต้นยังแตกใบอ่อน ให้ใช้เทคนิคเด็ดยอดอ่อนที่แตกใหม่ทิ้งทั้งหมด แล้วบำรุงด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอกจนกว่าจะหมดฝน เมื่อหมดฝนแล้วลงมือเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 + ไธโอยูเรีย + ฮอร์โมนไข่ มะม่วงต้นนั้นก็จะออกดอกที่ซอกใบปลายกิ่ง ท้องกิ่งแม้แต่บนลำต้น ทั้งนี้เป็นเพราะไม่มีปลายยอดให้ดอกออกนั่นเอง ผลที่ออกผิดตำแหน่งเช่นนี้สามารถบำรุงให้มีคุณภาพดีได้ไม่ต่างจากผลปลายอด

* ห่อผลมะม่วงประเภทกินสุกด้วยถุงกระดาษหนา ด้านในสีดำด้านนอกสีน้ำตาล นอกจากช่วยให้สีผลสวยกว่าการห่อด้วยกระดาษทึบสีเดียวหรือถุงกร๊อบแกร๊บแล้ว ยังทำให้ได้แคโรทีนอยด์. คลอโรฟีลล์ เอ.และ บี. ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีประโยชนต่อร่างกายเพิ่มขึ้นอีกด้วย

* ต้นแก่อายุหลายสิบปีให้ผลผลิตน้อยและคุณภาพไม่ค่อยดี แก้ไขด้วยการตัดแต่งกิ่งแบบทำสาวแล้วบำรุงเลี้ยงยอดใหม่ 1 ปีก็จะกลับมาให้ผลผลิตดกและดีเหมือนต้นยังสาว....หรือมะม่วงที่ขนาดต้นใหญ่และสูงมาก ใบมาก กิ่งแน่นทรงพุ่ม ฤดูกาลที่ผ่านมาออกดอกติดผลบ้างไม่ออกบ้าง ขนาดผลเล็ก ไม่ดก คุณภาพไม่ดี ไม่เคยตัดแต่งกิ่งปรับทรงพุ่มและไม่เคยปฏิบัติบำรุงใดๆ ทุกอย่างปล่อยตามธรรมชาติทั้งสิ้น ก็สามารถทำให้ออกดอกได้ โดยเริ่มบำรุงทางรากแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องอย่างน้อย 3-6 เดือนฝัง ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ กระดูกป่น ปุ๋ยคอก และ 8-24-24 หว่านทั่วบริเวณทรงพุ่มแล้วรดน้ำทุก 7-10 วัน จากนั้นให้เสริมทางใบด้วยสูตรเปิดตาดอก 2-3 สูตรสลับกัน ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะพบว่าต้นเริ่มอั้นตาดอกหรือใบปลายกิ่งเริ่มแก่จัด เมื่อเห็นว่ามีอาการอั้นตาดอกดีแล้วให้ลงมือเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 + 0-52-34 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม สลับครั้งกับ ฮอร์โมนไข่ + สาหร่ายทะเล ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงเช้าแดดจัด 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน มะม่วงเก่าแก่ต้นนั้นก็จะออกดอกมาให้ชม รุ่นปีแรกอาจจะไม่มากนักแต่รุ่นปีต่อๆไปจะมากขึ้นเนื่องจากความสมบูรณ์ต้นที่สะสมเอาไว้

* มะม่วงสายพันธุ์ทะวายประเภทออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่นสามารถทำให้ออกนอกฤดูด้วยวิธีง่ายๆ โดยเมื่อมะม่วงต้นนั้นออกดอกในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. ซึ่งตรงกับมะม่วงปีให้เด็ดดอกชุดนั้นทิ้งไปแล้วบำรุงต่อไปตามปกติ จากนั้นประมาณ 2-3 เดือน ก็จะแทงยอดแล้วออกดอกชุดใหม่จากยอดเดิมที่เคยถูกเด็ดดอกทิ้งนั้น ดอกชุดหลังนี้ก็จะกลายเป็นมะม่วงล่าฤดูไปโดยอัตโนมัติ

* มะม่วงออกดอกจากปลายกิ่งเกิดใหม่ในปีนั้นๆเท่านั้น นั่นคือ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตัดแต่งกิ่งแล้วเรียกใบอ่อนเพื่อสร้างกิ่งและใบชุดใหม่เสมอ

* ช่วงที่ดอกออกมายาวประมาณ 2-5 ซม. ฉีดพ่นด้วย 0-42-56 จะทำให้ดอกส่วนหนึ่งบอด (ร่วง) แต่ดอกอีกส่วนหนึ่งจะติดเป็นผลคุณภาพดีเมื่อโตขึ้น และหลังจากดอกที่บอดร่วงไปแล้วประมาณ 20-30 วันจะมีดอกชุดใหม่ออกตามมาอีกซึ่งดอกชุดนี้จะกลายเป็นมะม่วงล่าฤดู

* สร้างต้นตอมะม่วงทะวายด้วยการเพาะเมล็ดให้เป็นต้นประธานรอไว้ก่อน แล้วเสริมรากด้วยต้นทะวายสายพันธุ์เดียวกัน 2-3 ราก จากนั้นเปลี่ยนยอดประธานเป็นมะม่วงสายพันธุ์ดีตามต้องการแต่ไม่ทะวาย เมื่อยอดพันธุ์ดีโตขึ้นถ้าไม่เป็นทะวายตามต้อนตอก็จะเป็นมะม่วงเบาที่ออกดอกง่ายและออกดอกติดผลดี......หรือเพาะเมล็ดจากต้นทะวาย ได้ต้นตอมาแล้วยกขึ้นทาบกับกิ่งต้นตัวเอง เมื่อได้กิ่งทาบมาแล้วแล้วชำในถุงดำและอนุบาลต่อ จนกระทั่งนำลงปลูกในแปลงจริงแล้วให้เสริมรากด้วยตอจากเพาะเมล็ดต้นตัวเองอีก 1-2 ราก จะช่วยให้มะม่วงทะวายต้นนั้นมีลักษณะทะวายดียิ่งขึ้นไปอีก

* นำยอดมะม่วงพันธุ์ดีเริ่มอั้นตาดอกหรืออั้นตาดอกเต็มที่ เสียบบนยอดหรือเสียบข้างให้แก่มะม่วงอีกต้นหนึ่งด้วยวิธีการเสียบปกติ เมื่อยอดที่นำมาเสียบนั้นติดดีจะออกดอกติดผลต่อได้ เนื่องจากได้รับสารอาหารจากต้นรับการเสียบ

* มะม่วงพันธุ์กิ่งทาบหรือกิ่งตอนเมื่อนำลงปลูกปกติจะออกดอกติดผลได้เมื่ออายุ 1-1 ปีครึ่ง ซึ่งค่อนข้างเสียเวลา แก้ไขโดยการนำยอดอ่อนของต้นพันธุ์ดีไปเสียบเปลือกหรือเสียบยอดบนต้นมะม่วงพันธุ์อะไรก็ได้ที่ให้ผลผลิตแล้ว หลังจากการเสียบติดดีแน่นอนแล้วเมื่อต้นรับฝากแตกใบอ่อนยอดพันธุ์ดีที่นำไปฝากก็จะแตกใบอ่อนด้วยและเมื่อต้นรับฝากออกดอก ยอดพันธุ์ดีที่นำไปเสียบเปลือกหรือเสียบยอดก็จะออกดอกติดผลตามด้วยเช่นกัน กรณีนี้ทำให้ไม่ต้องเสียเวลามากเพราะจะได้ผลผลิตจากยอดที่นำไปเสียบในรุ่นปีนั้นเลย

* มะม่วงเพาะเมล็ด (เพื่อการสร้างสายพันธุ์ใหม่) ถ้ารอให้ออกดอกติดผลเองต้องใช้เวลานาน 3-5 ปี ซึ่งถือว่านานมาก แก้ไขโดยนำยอดของต้นเพาะเมล็ดไปเสียบยอดหรือเสียบเปลือกไว้กับต้นมะม่วงพันธุ์อะไรก็ได้ที่โตให้ผลผลิตแล้ว หลังจากเสียบยอดหรือเสียบเปลือกติดดีแน่นอนแล้ว เมื่อต้นรับฝากแตกใบอ่อน ยอดพันธุ์จากเพาะเมล็ดที่นำไปฝากก็จะแตกใบอ่อนด้วย และเมื่อต้นรับฝากออกดอกยอดพันธุ์จากเพาะเมล็ดที่นำไปเสียบเปลือกหรือเสียบยอดก็จะออกดอกตามด้วยอีกเช่นกัน กรณีนี้ทำให้ไม่เสียเวลาเพราะยอดของต้นจากเพาะเมล็ดจะออกดอกติดผลมาให้พิสูจน์สายพันธุ์ในรุ่นปีนั้นเลย

* ช่วงผลเริ่มพัฒนาจะมีก้านดอก (หางหนู) ติดคู่กับขั้วผลเสมอ ให้รักษาหางหนูนี้ไว้สำหรับเป็นเครื่องหมายสังเกตช่วงผลแก่ โดยถ้าหางหนูแห้งครึ่งหนึ่งของความยาวแสดงว่ามะม่วงผลนั้นแก่จัดแล้ว

* มะม่วงไว้ผลเดียวเมื่อถึงระยะผลเข้าไคลแล้วตัดหางหนูส่วนหนึ่งทิ้ง จากนั้นบำรุงด้วยสูตร หยุดเมล็ดสร้างเนื้อ ตามปกติจะได้ผลขนาดใหญ่กว่าผลที่ไม่ได้ตัดหางหนู

* ตรวจสอบความแก่ของผลมะม่วงโดยการลอยน้ำ ถ้าผลใดลอยน้ำแสดงว่ายังไม่แก่ หรือผลจมน้ำแสดงว่าแก่จัดกว่าผลลอยน้ำ

* มะม่วงแก่จัดจนสุกคาต้น (สุกปากตะกร้อ) เมื่อนำไปบ่มจนสุกงอม จะได้ความหวานน้อยกว่าผลแก่จัด (80-90%) แต่ดิบแล้วนำไปบ่ม

* มะม่วงกินสุกช่วงเป็นผลดิบ เมื่อสุกจะมีรสหวานมากกว่า มะม่วงกินสุกที่ช่วงผลดิบรสมันหรือเปรี้ยวน้อย

* มะม่วงน้ำปลาหวาน หมายถึง มะม่วงดิบรับประทานกับน้ำปลาหวาน อายุผลไม่จำเป็นต้องแก่จัดเพราะต้องการรสออกเปรี้ยวนำอยู่แล้ว การบำรุงด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม.อย่างสม่ำเสมอจะทำให้รสเปรี้ยวนั้น “เปรี้ยวอร่อย” ไม่ใช่เปรี้ยวแบบมะม่วงยำ....วิธีบำรุงง่ายๆ (ทางใบ : ฮอร์โมนไข่. ฮอร์โมนน้ำดำ. สูตรขยายขนาด และสารสกัดสมุนไพร......ทางราก : ยิบซั่ม. กระดูกป่น. มูลวัว+มูลไก่+แกลบดิบ. ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง.) ผลไหนใหญ่ก่อนเก็บก่อน ไม่ต้องห่อผลเพราะก่อนรับประทานต้องปอกเปลือกอยุ่แล้ว เทคนิคการขาย คือ หั่นมะม่วงเป็นชิ้นๆขนาดน่ารับประทาน ใส่กล่องโฟม ชิ้นมะม่วงเมื่อถูกหั่นล้วจะไม่รู้เลยว่ามะม่วงผลนั้นขนาดใหญ่หรือเล็ก ในกล่องมีถุงน้ำปลาหวาน จุดขาย คือ น้ำปลาหวานต้องอร่อย..ปลูกมะม่วงสายพันธุ์เบาที่ออกดอกติดผลง่าย ออกตลอดปี เนื้อดิบแข็งกรอบ ผลใหญ่ ระยะชิดพิเศษ 2 X 2 ม.(1 ไร่/400 ต้น) ทำต้นเตี้ยโดยหมั่นตัดแต่งกิ่ง ทั้งนี้มะม่วงพันธุ์เบาเมื่อแตกยอดใหม่มักออกดอกตามทันที โดยไม่ต้องปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนแต่อย่างใด

* มะม่วงเบา (ภาคใต้)นิยมทำมะม่วงยำ เพราะผลเล็กพอเหมาะกับทำอาหาร 1 มื้อ กลิ่นหอมชวนรับประทาน

* ในอดีตมะม่วงดองต้องทำจากมะม่วงแก้วเท่านั้น เพราะเป็นมะม่วงดิบเนื้อแข็ง แต่ปัจจุบัน มะม่วงดิบเนื้อไม่แข็ง สามารถทำมะม่วงดองได้ด้วยเทคนิคการดองสมัยใหม่.......มะม่วงดิบราคา 5 บาท/กก.(หน้าสวน) ถ้าทำเป็นมะม่วงดองราคาเพิ่มเป็น กก.ละ 15 บาท และจากมะม่วงดองเป็นมะม่วงแช่อิ่ม ราคาเพิ่มเป็น กก. 30-50 บาท ถือว่าราคาดีกว่ามะม่วงกวน เพราะต้นทุนต่ำกว่านั่นเอง

* การผลิตมะม่วงเป็นสวนเชิงการค้า ในปัจจุบันจะมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมขนาดทรงพุ่ม และควบคุมอายุของยอดเพื่อการบังคับการออกดอก ดังนั้น การนำเอาธาตุอาหารพืชออกไปจากดินก็ขึ้นกับปริมาณผลผลิตและน้ำหนักของกิ่งที่ตัดแต่งออกไป ผลการวิจัย ในโครงการจัดการธาตุอาหารพืชในมะม่วง เพื่อต้องการทราบว่ามะม่วง 1 ต้น จะนำธาตุอาหารจากดินไปใช้ในปริมาณเท่าใด เป็นดังนี้

- มะม่วงทั้งต้น(เฉลี่ย ทั้ง ใบ กิ่ง ก้าน และทุกๆส่วนของราก)น้ำหนัก 1 กก. มีไนโตรเจน 5.8 กรัม ฟอสฟอรัส 1.5 กรัม และ โพแทสเซียม 4.5 กรัม

- ผลมะม่วงสด น้ำหนัก 1 กิโลกรัม มีไนโตรเจน 5.78 กรัม ฟอสฟอรัส 15.0 กรัมและโพแทสเซียม 45 กรัม

ซึ่งสรุปได้ว่า สัดส่วนของ ไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม ของมะม่วงทั้งต้น = 4.5:1.0:3.8 .... ของผลมะม่วง = 6.7:1.0:6.5

เตรียมดิน เตรียมแปลง
การเตรียมต้น
ราดสารพาโคลบิวทาโซล

พาโคลบิวทาโซล คือ ฮอร์โมนยับยั้งการเจริญเติบโต มีประสิทธิภาพในการหยุดการพัฒนาทางต้น ทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโตทางใบหรือหยุดการแตกใบอ่อน หลังจากต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้เต็มที่แล้ว ในขณะที่ระบบพัฒนาการของต้นซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนั้น เมื่อไม่อาจพัฒนาให้เป็นยอดหรือใบได้จึงพัฒนาเป็นดอกแทน การใช้ฮอร์โมนยับยั้งการเจริญเติบโตบังคับต้นไม่ให้แตกใบอ่อนแต่ออกดอกแทนเป็นการทรมานต้นโดยตรง หากต้นถูกทรมานมากๆย่อมมีโอกาสโทรมแล้วตายได้ ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนบังคับมะม่วงให้ออกดอกได้โดยต้นไม่โทรมและได้ผลผลิตดีจึงควรทำตามขั้นตอน ดังนี้

1. สภาพต้นต้องสมบูรณ์เต็มที่ ผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมาแล้วหลายๆปี

2. การบริหารจัดการด้านปัจจัยพื้นฐานการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-ปุ๋ย-พันธุ์-โรค)ถูกต้องตรงตามความต้องการทางธรรมชาติที่แท้จริง

3. อายุต้นเป็นสาวเต็มที่ และเคยให้ผลผลิตมาแล้วไม่น้อยกว่า 2-3 รุ่น

4. อัตราใช้สารพาโคลบิวทาโซลชนิด 10 เปอร์เซ็นต์ ต่ออายุต้น
- อายุต้น 2-4 ปี อัตราใช้ 20-40 ซีซี./ต้น
- อายุต้น 5-6 ปี อัตราใช้ 60-80 ซีซี./ต้น
- อายุต้น 7-8 ปี อัตราใช้ 80-100 ซีซี./ต้น

5. ใช้ในอัตราเข้มข้นเกินช่อดอกที่ออกมาจะเป็นกระจุกไม่ติดเป็นผลแต่ถ้าใช้อัตราต่ำเกินไปก็จะไม่ได้ผล หรือแทงช่อดอกช้ากว่ากำหนดมากหรืออาจแตกใบอ่อนแทนก็ได้

6. ราดสารฯ เมื่อใบเพสลาด (ใบพวงหรือใบกลางอ่อนกลางแก่)ได้ผลแน่นอนกว่าราดสารฯ ช่วงใบแก่แล้ว

7. สารพาโคลบิวทาโซลชนิดผงให้ละลายในแอลกอฮอร์ ชนิดน้ำให้ละลายในน้ำกลั่น คนให้แตกตัวดีก่อนแล้วจึงผสมกับน้ำเปล่า.....น้ำเปล่าที่ใช้ผสมควรปรับค่ากรดด่าง 6.0-6.5 เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยา "กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ" ซึ่งจะทำให้สารฯ เสื่อมประสิทธิภาพ

8. ก่อนลงมือราดสารฯ ให้เปิดหน้าดินนำเศษพืชคลุมโคนต้น (ถ้ามี)ทั่วบริเวณทรงพุ่มโคนต้นออกก่อน แล้วรดน้ำบริเวณที่จะราดสารฯ ล่วงหน้า 1วันให้ดินชุ่มชื้นดี

9. มะม่วงอายุต้นต่ำกว่า 5 ปี ให้ราดชิดและรอบโคนต้น อาจจะทำร่องรอบโคนต้นก่อนแล้วราดน้ำละลายสารแล้วลงในร่องนั้นก็ได้.........มะม่วงอายุต้นมากกว่า 5 ปี ให้ราดทั่วพื้นที่บริเวณทรงพุ่มด้านใน 1 ส่วน ราดชายพุ่มบริเวณที่มีปลายรากฝอยอยู่จำนวนมาก 3 ส่วน

10. หลังจากราดสารฯ แล้วต้องระดมให้น้ำเต็มที่แบบวันต่อวัน 3-5 วันติดต่อกัน

11. หลังจากราดสารฯ 1-1 เดือนครึ่ง ถ้าสภาพอากาศอำนวย มะม่วงพันธุ์เบาหรือพันธุ์ทะวายก็จะแทงช่อดอกออกมาและ 2-2 เดือนครึ่ง มะม่วงพันธุ์หนักหรือมะม่วงปีจึงจะแทงช่อดอก....ถ้าครบกำหนดที่มะม่วงควรจะแทงช่อดอกได้แล้วแต่ยังไม่ออกให้เปิดตาดอกด้วย 13-0-46 หรือ 13-0-46 + 0-52-34(สูตรใดสูตรหนึ่ง)ตามความเหมาะสม

12. ถ้าราดสารฯ และเปิดตาดอกแล้วดอกไม่ออกห้ามราดซ้ำรอบสอง เพราะการราดซ้ำอีกครั้งไม่ได้ทำให้มะม่วงออกดอกแต่กลับทำให้ต้นโทรมหนักยิ่งขึ้น

13. ไม่ควรราดสารฯ แบบปีต่อปี เพราะสารฯ ที่ราดลงไปแต่ละครั้งที่ตกค้างอยู่ในดินยังออกฤทธิ์ต่อได้อย่างน้อย 1-2 รุ่นการผลิต ในปีรุ่งขึ้นของการผลิตถ้าต้นสมบูรณ์ดีให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกแล้วปรับ ซี/เอ็น เรโช.ดีๆก็สามารถเปิดตาดอกได้เลย แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์หรือโทรมมากจะต้องระงับการราดสารฯ เด็ดขาดอย่างน้อย 2-3 ปี

14. ไม่ควรขายพันธุ์ (ตอน/ทาบ)จากต้นแม่ที่ราดสารฯ เพราะกิ่งพันธุ์ที่ได้เมื่อนำไปปลูกจะเจริญเติบโตช้ามาก

15. ดอกและผลที่ออกมาหลังราดสารฯ จะต้องได้รับการบำรุงโดยเฉพาะ ธาตุอาหาร-ฮอร์โมน ทั้งทางรากและทางใบมากกว่าต้นที่มีดอกและผลออกมาด้วยวิธีบำรุงตามปกติ

16. ในเนื้อดินที่ราดสารฯ ลงไป สารจะตกค้างนาน เมื่อเลิกปลูกมะม่วงแล้วปลูกพืชใหม่ (ทุกชนิด)ลงไป พืชใหม่จะไม่โตหรือโตช้ามากๆจนบางครั้งนั่งหลุมตายไปเลยก็มี

หมายเหตุ :
การราดสารพาโคลบิวทาโซลเป็นการบังคับแบบทรมานต้น นอกจากทำให้ต้นโทรมแล้วยังต้องทำแบบปีเว้นปี หรือทำปีเว้น 2 ปี ทำให้เสียเวลาและโอกาส แต่หากเปลี่ยนวิธีการมาเป็นบังคับแบบบำรุงให้ต้นสมบูรณ์สูงสุด นอกจากจะไม่ทำให้ต้นโทรมแล้วยังมีโอกาสสร้างผลผลิตได้ทุกปีอีกด้วย

การบังคับ
การเพิ่มผลผลิตมะม่วงนอกฤดู ด้วย 13-0-46

มะม่วงเป็นผลไม้ที่คนไทยให้ความนิยมชมชอบมากที่สุด เนื่องจากมีรสชาติดี ประกอบกับเป็นไม้ผลที่ปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่ของประเทศไทย ในปัจจุบันนี้วิทยาการในการผลิตมะม่วงได้ก้าวหน้าไปมาก มีการใช้เทคโนโลยีและวิธีการใหม่ๆ เข้ามาเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต การออกดอก การติดผลตลอดจนการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และโดยเฉพาะในเรื่องของการออกดอกของมะม่วงนั้น ในขณะนี้ เราสามารถบังคับให้มะม่วงออกดอกได้โดยใช้สารเคมีบางประเภท ซึ่งนับได้ว่าเป็นการก้าวไปสู่ยุคใหม่ของการเกษตร วิธีการในการชักนำหรือกระตุ้นให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูนั้นได้รับการพัฒนาจาก นักวิชาการเกษตรหลายท่าน จนเป็นผลทำให้ขณะนี้ประเทศไทยเราสามารถผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลกันได้มากขึ้น และเป็นที่คาดหมายกันว่าในอนาคตอันใกล้นี้ การค้นคว้า ทดลองของนักวิชาการเกษตรดังกล่าวคงจะก้าวหน้าต่อไปถึงขั้นที่สามารถกำหนด ปัจจัยในการบังคับให้มะม่วงมีการออกดอกติดผลได้มากจนถึงกับสามารถกำหนดระยะ เวลาของการใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้องและแน่นอน และก้าวหน้าต่อไปในมะม่วงพันธุ์ต่างๆ

ปัจจัยที่มีผลต่อการชักนำให้มะม่วง ออกดอกนอกฤดูกาล การบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลจะประสบผลสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. สภาพความสมบูรณ์และการเตรียมพร้อมของต้นมะม่วง สภาพความสมบูรณ์ของต้นมะม่วงย่อมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะเป็นตัวกำหนดในการออกดอก การติดผลของมะม่วง เมื่อใดก็ตามที่มะม่วงไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอมะม่วงจะไม่มีการออกดอกติดผล หรืออาจจะมีการออกดอกติดผลบ้าง แต่ก็จะมีการร่วงหล่นหรือเหี่ยวแห้งไปในที่สุด ดังนั้นเพื่อที่จะให้มะม่วงมีความสมบูรณ์และเตรียมพร้อมเพื่อการออกดอก ชาวสวนมะม่วงจึงควรจะเริ่มทำตั้งแต่หลังจากเก็บเกี่ยวผลมะม่วงในปีที่ผ่านมา โดยทำการตัดแต่งกิ่งที่ไม่เหมาะสมออกให้หมด เช่น กิ่งกระโดง กิ่งที่เป็นโรคหรือกิ่งที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์ เป็นต้น ต่อจากนั้นควรใส่ปุ๋ยคอกเพื่อบำรุงดินและต้นมะม่วงไปพร้อมกัน การใส่ปุ๋ยคอกโดยการโรยในแนวพุ่มใบ อัตราต้นละ 10-20 กิโลกรัม และควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือสูตรใกล้เคียงกันในอัตรา 1-2 กิโลกรัม หลังจากที่ได้ใส่ปุ๋ยลงไปแล้ว มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา ในช่วงนี้ต้องคอยระวังไม่ให้แมลงเข้ามากัดกินทำลายใบโดยใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่น และอาจพิจารณาฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีไนโตรเจนสูงควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ใบมะม่วงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ปกติแล้วใบมะม่วงชุดที่ 1 จะเริ่มแก่ในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม และใบอ่อนชุดที่ 2 ก็จะแตกตามมา ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การราดสารเคมีเร่งดอก

2. วิธีการให้สารที่ถูกต้อง ก่อนที่จะทำการราดสารลงไปนั้นควรตรวจสภาพดินบริเวณโคนต้นมะม่วงว่ามีความชื้นพอหรือไม่ เพราะถ้ามีความชื้นน้อยเกินไปจะทำให้สารที่ใช้มีประสิทธิภาพต่ำ นอกจากนี้ก่อนที่จะทำการราดสารนั้นควรมีการกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นมะม่วงออกให้หมด ทั้งนี้เพื่อให้ต้นมะม่วงได้รับประโยชน์จากสารนั้นอย่างเต็มที่ จากการทดลองและศึกษาของนักวิชาการเกษตรหลายท่าน ปรากฏว่า การให้สารที่มีประสิทธิภาพนั้นควรให้สารในระยะที่มะม่วงแตกใบอ่อน ออกมาแล้ว 2 ชุด และใบมะม่วงที่แตกออกมาครั้งหลังนั้นจะต้องอยู่ในระยะที่เรียกว่า ใบพวง

3. พันธุ์มะม่วง การบังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาล นอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว พันธุ์มะม่วงก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นตัวกำหนดว่าการ บังคับให้มะม่วงออกดอกได้มากน้อยแค่ไหน อาทิเช่น พันธุ์มะม่วงที่มีนิสัยการออกดอกง่าย ตัวอย่างเช่นพันธุ์น้ำดอกไม้ ฟ้าลั่น แห้ว หนองแซงและเจ้าคุณทิพย์ จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ดี ส่วนพันธุ์มะม่วงที่ออกดอกค่อนข้างยากเช่น เขียวเสวย แรด หนังกลางวัน จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ไม่ดีเท่าที่ควร

วิธีการบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาล
การชักนำหรือกระตุ้นให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลนั้น สามารถกระทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ได้ผลค่อนข้างแน่นอน ได้แก่ การสุมไฟและการฉีดพ่นด้วยสารเคมี

ก. การสุมไฟ การสุมไฟหรือการรมควันให้กับต้นมะม่วงเป็นวิธีการกระตุ้นหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าฤดูกาลปกติ โดยให้ควันไฟผ่านเข้าไปในพุ่มต้นมะม่วงเพื่อให้มะม่วงแตกตาดอกออกมา แต่วิธีการนี้มีข้อเสียอยู่บ้างกล่าวคือ ต้องใช้แรงงานมากและเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นข้อควรคำนึงก็คือ การเลือกต้นมะม่วงสำหรับสุมไฟต้องทำด้วยความระมัดระวัง ต้นมะม่วงที่สุมไฟแล้วจะออกดอกได้ดีนั้นจะต้องเป็นต้นที่มีกิ่งและใบแก่เต็มที่ ถ้าหากใบยังอ่อนอยู่หรือกิ่งยอดยังแก่ไม่พอก็ไม่สามารถบังคับให้ออกดอกด้วยวิธีนี้ได้ ดังนั้นเพื่อให้การบังคับด้วยวิธีนี้ได้ผลดียิ่งขึ้นจึงควรเลือกต้นมะม่วงที่มีใบสีเขียวแก่ ผิวด้านหรือสีน้ำตาลอมเขียว ใบเปราะง่าย (เมื่อขยำด้วยมือ) สภาพของต้นและตายอดต้องอยู่ในระยะพักตัว

วัสดุที่ใช้สุมไฟที่ดี ได้แก่ ใบไม้แห้ง หญ้าดิบ แกลบ กิ่งไม้และเศษวัสดุอื่นๆ ในการก่อกองไฟควรให้กองไฟอยู่เหนือลมเพื่อให้ควันไฟเข้าไปสู่พุ่มต้นได้ง่าย และอาจใช้แผงกั้นที่ทำจากทางมะพร้าวหรือไม้ไผ่มากั้นไว้เพื่อให้ควันไฟพุ่ง เข้าสู่พุ่มต้นได้ดียิ่งขึ้นและจำต้องให้กองไฟอยู่ห่างจากโคนต้นในระยะที่ ไม่เป็นอันตรายต่อต้นมะม่วง กล่าวคือ ถ้ากิ่งมะม่วงเป็นกิ่งที่มีอายุมากและผ่านการพักตัวมาแล้ว ระยะเวลาของการรมควันจะสั้นเข้า แต่ถ้าเป็นกิ่งที่มีอายุน้อย ระยะเวลาของการรมควันก็จะมากขึ้น นอกจากนี้แล้วในการสุมไฟต้นมะม่วงให้ทำทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นเวลาหลายๆ วันติดต่อกันจนกระทั่งตาดอกเริ่มปรากฏให้เห็น แต่ถ้าตาดอกไม่เกิดหลังจากที่ได้สุมไฟไปแล้วประมาณ 9-15 วัน ก็ให้เลิกสุมไฟแล้วเริ่มไฟ หลังจากหยุดรมควันไปได้ 20-30 วัน และเมื่อตาเริ่มผลิออกมาให้เห็น ซึ่งในตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าตาที่ปรากฏออกมานั้นจะเป็นตาดอกหรือตาใบ ต้องรอจนกระทั่งตาขยายตัวขึ้น ถ้าตาที่ปรากฏเป็นตาดอกก็จะมีรูปร่างเป็นจงอย (งอโค้งเหมือนเดือยไก่) ส่วนตาที่เจริญเป็นกิ่งหรือเป็นใบ จะมีรูปร่างเป็นทรงยาวและตั้งตรง อย่างไรก็ตามการบังคับให้มะม่วงออกดอกด้วยวิธีการนี้ในปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากวิธีการยุ่งยากและมีวิธีอื่นที่สะดวกกว่าและได้ผลที่แน่นอนกว่า

ข. การฉีดพ่นด้วยสารเคมี การใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นหรือชักนำให้มะม่วงออกดอก เป็นวิธีที่กระทำกันมาช้านานแล้วคือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา ซึ่งมีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล สารเคมีที่ใช้ได้ผลก็มีหลายชนิดและได้พัฒนาให้ดีขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน สารเคมีที่ใช้บังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลได้ค่อนข้างแน่นอนได้แก่
สารโปแตสเซียมไนเตรต ประเทศไทยได้นำผลการทดลองการใช้สารโปรแตสเซียมไนเตรทของฟิลิปปินส์มาใช้ในการเร่งออกดอกของมะม่วง ผลปรากฏว่าในครั้งแรกไม่ได้ผล แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะใช้ได้ผล จึงได้ปรับปรุงวิธีปฏิบัติรวมทั้งความเข้มข้นและตัวสารโปแตสเซียมไนเตรท จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2524 ผลปรากฏว่าสารโปแตสเซียมไนเตรทสามารถใช้เร่งให้มะม่วงออกดอกได้ โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้

1. ใช้โปแตสเซียมไนเตรท เกรดปุ๋ย สูตร 13-0-46 ที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีราคาถูก และยังให้ผลได้เท่าเทียมกับเกรดที่สูงกว่า แต่ไม่ควรนำดินประสิวมาบดให้ละเอียดแล้วละลายน้ำแทนการใช้โปแตสเซียมไนเตรท เพราะไม่สะดวกในการเตรียมสารและดินประสิวอาจมีสารเจือปนอื่นๆ ที่เป็นพิษกับพืช ซึ่งมีโอกาสทำให้ใบมะม่วงไหม้ได้

2. ใช้โปแตสเซียมไนเตรท น้ำหนัก 500 กรัม (1/2 กิโลกรัม) ผสมน้ำ 20 ลิตร ก็จะได้โปแตสเซียมเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และควรผสมยาจับใบเพื่อให้สารละลายโปแตสเซียมไนเตรทจับกับผิวใบได้อย่างทั่วถึง ทั้งยังเพิ่มการดูดซึมสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทเข้าสู่ตัวใบได้มากขึ้น

3. ควรทำการฉีดพ่นสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทในตอนเช้ามืด ตอนเย็นช่วงเวลาที่ลมสงบ ซึ่งจะมีผลดี 2 ประการคือ เป็นการลดการไหม้ที่บริเวณปลายใบของมะม่วงซึ่งพบว่า หลังจากที่ได้ฉีดพ่นสารละลายไปแล้ว สารละลายจะไหลย้อนไปยังปลายใบมองเห็นเป็นหยดน้ำเกาะอยู่ ถ้าหากทำการฉีดพ่นในเวลาที่มีแดดจัดหรือความชื้นในอากาศมีน้อย จะทำให้น้ำระเหยอย่างรวดเร็วและคงเหลือแต่ปริมาณความเข้มข้นของโปแตสเซียมไนเตรทในอัตราที่สูง ตามบริเวณปลายใบของมะม่วง ซึ่งจะแสดงอาการเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของใบ ทำให้ปลายใบแห้ง ผลดีอีกประการหนึ่งก็คือ การฉีดพ่นในตอนเช้าหรือตอนเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูงจะเป็นการช่วยให้การดูดซึมสารละลายโป แตสเซียมไนเตรทเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

4. การฉีดพ่นสารเพียงครั้งเดียว ภายในระยะเวลา 20 วัน ถ้ามะม่วงยังไม่ออกดอก ก็ให้ฉีดสารดังกล่าวอีกครั้ง ในอัตราเดิม แต่โดยทั่วไปแล้วภายใน 15 วัน นับจากวันเริ่มฉีดสาร มะม่วงก็จะแทงช่อดอกออกมาให้เห็น

การฉีดพ่นสารโปแตสเซียมไนเตรทให้กับต้นมะม่วงเพื่อเร่งการออกดอก ถ้าปฏิบัติถูกต้องแล้วจะสามารถเร่งให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติประมาณ 15-20 วัน โดยไม่เป็นอันตรายหรือมีผลเสียหายต่อต้นมะม่วงแต่ประการใด นอกจากนี้ถ้าคำนึงถึงเรื่องการลงทุนก็เป็นการลงทุนที่ถูกมาก เนื่องจากโปแตส เซียมไนเตรท เป็นสารเคมีที่มีราคาถูก ซึ่งเหมาะกับเกษตรกรที่ไม่ค่อยมีเงินทุนมากนัก

2. ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ (N.A.A.) ฮอร์โมนเอ็น.เอ.เอ. ที่ใช้เร่งการออกดอกของมะม่วงนี้ มีชื่อการค้าหลายอย่างเช่น แพลนโนฟิกซ์. แพลนนิโมนส์ฟิกซ์. แพนเตอร์. เป็นต้น หลักการทำงานของฮอร์โมนชนิดนี้คือ เมื่อฉีดไปที่ต้นมะม่วงแล้วจะส่งเสริมให้ มะม่วงมีการสังเคราะห์เอทธิลีน.ได้มากขึ้น และเอทธิลีน.นี้เองที่จะเป็นตัวไปกระตุ้นให้มะม่วงออกดอก

วิธีปฏิบัติ ให้ใช้ฮอร์โมนเอ็น.เอ.เอ. ที่มีชื่อการค้าว่า แพลนโนฟิกซ์ อัตรา 3-5 ซี.ซี. ผสมน้ำประมาณ 20 ลิตร และผสมกับโปแตสเซียมไนเตรทอัตรา 300-500 กรัม เมื่อผสมเสร็จแล้ว ให้ทำการฉีดพ่นใบมะม่วงตามธรรมชาติ (เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์) จะทำให้มะม่วงแทงช่อดอกให้เห็นภายหลังจากฉีดสารไปแล้วประมาณ 12 วัน วิธีการนี้จะทำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติถึง 30-40 วัน

3. สารพาโคลบิวทราโซล
เป็นสารในกลุ่มของสารชะลอการเจริญเติบโตของพืช ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ในขณะนี้มี 2 ชนิด คือ คัลทาร์. ซึ่งอยู่ในรูปของเหลวมีความเข้มข้นของเนื้อสาร 10 เปอร์เซ็นต์ และอีกชนิดหนึ่งคือ พรีดิคท์. มีอยู่ 2 รูป คือ ในรูปของเหลว ซึ่งมีความเข้มข้นของเนื้อสาร 25 เปอร์เซ็นต์ กับชนิดผงซึ่งมีความสูงในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ในต้นมะม่วง เป็นฮอร์โมนที่มะม่วงสร้างขึ้นมาได้เองและมีผลต่อการยืดตัวของเซลล์ทำให้กิ่งก้านยืดยาวออก และที่สำคัญคือเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางด้านกิ่ง ก้านและใบ แต่จะยับยั้งการออกดอก ดังนั้นในสภาพใดก็ตามที่ทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ในต้นมากเกินไป ในสภาพที่ดินมีลักษณะชื้นหรือมีน้ำมาก หรือมีปุ๋ยไนโตรเจน.มากเกินไป และในลักษณะตรงกันข้าม หากสภาพดินเป็นดินที่แห้ง มีไนโตรเจน.น้อยหรือได้รับอากาศหนาวเป็นระยะเวลานานพอสมควร ก็จะมีผลทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.มีน้อยลง ซึ่งผลที่จะตามมาก็คือ การเจริญเติบโตทางด้านกิ่งและใบหยุดชะงักลง และมีการสร้างตาดอกขึ้นมาแทน จากหลักการนี้เองจึงได้มีผู้นำมาใช้ควบคุมการออกดอกของมะม่วง โดยหาทางลดปริมาณฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ลงเพื่อให้มีโอกาสสร้างตาดอกได้มาก ขึ้น และสารพาโคลบิวทราโซล.ก็จัดได้ว่าเป็นสารหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการ สร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ได้ดี

ข้อควรคำนึงถึงในการใช้สารพาโคลบิวทราโซล. การใช้สารชนิดใดก็ตามควรที่จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับสารนั้นให้ถ่องแท้เสียก่อน ทั้งวิธีการใช้ อัตราที่ใช้ ผลกระทบจากการใช้สาร เป็นต้น สารพาโคลบิวทราโซล.ก็เช่นเดียวกัน เกษตรกรหรือชาวสวนที่จะใช้สารนี้ให้ได้ผลดีนั้น ควรที่จะได้มีการคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ

1. พันธุ์มะม่วง มะม่วงบางพันธุ์ที่มีการออกดอกค่อนข้างยากหรือเป็นมะม่วงพันธุ์หนัก การใช้สารก็ย่อมที่จะใช้ในอัตราความเข้มข้นสูงกว่ามะม่วงพันธุ์เบาหรือ มะม่วงที่ออกดอกได้ง่าย ในขณะที่มีขนาดของทรงพุ่มเท่าๆ กัน

2. ขนาดของทรงพุ่ม ต้นมะม่วงที่มีอายุมากหรือมีขนาดของทรงพุ่มใหญ่กว่าจะต้องใช้สารที่มีปริมาณ มากกว่าต้นที่เล็กกว่า และถ้าต้นมะม่วงยังมีทรงพุ่มที่เล็กเกินไปหรืออายุน้อย ก็ยังไม่ควรใช้สารกระตุ้น ต้องรอไปจนกว่ามะม่วงจะพร้อมต่อการออกดอก

3. ต้นมะม่วงที่ราดด้วยสารพาโคลบิวทราโซล.จะต้องมีความแข็งแรงสมบูรณ์ มีระบบรากดี ถ้าต้นมะม่วงยังไม่สมบูรณ์หรือระบบรากไม่ดี ต้องบำรุงรักษาต้นและระบบรากให้สมบูรณ์เสียก่อน ก่อนที่จะกระตุ้นด้วยสารนี้

4. กรณีที่ราดสารพาโคลบิวทราโซล.ให้กับต้นมะม่วงในขณะที่มีแต่ใบแก่ มะม่วงอาจจะแตกใบอ่อนขึ้นมาก่อนที่สารจะแสดงปฏิกิริยา ซึ่งผลดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดจากสารพาโคลบิวทราโซล.

5. ก่อนที่จะทำการราดสาร ควรปรับดินบริเวณโคนต้น รอบทรงพุ่ม รวมทั้งกำจัดเศษใบไม้ เศษหญ้าและวัชพืชออกให้หมด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจจะดูดเอาสารพาโคลบิวทราโซล.เข้าไป ทำให้ต้นมะม่วงได้รับสารนี้น้อยเกินไป

6. ต้นมะม่วงที่ทำการราดสารพาโคลบิวทราโซล. ควรมีรูปทรงที่โปร่ง แสงแดดส่องได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะช่วยทำให้ช่อดอกของมะม่วงเจริญได้ดี

7. สวนมะม่วงที่ใช้สารพาโคลบิวทราโซล. จะต้องมีระบบการชลประทานอย่างดี และสามารถเปิดใช้ได้ทุกเวลาตามความต้องการ ส่วนในสวนมะม่วงที่มีปัญหาในเรื่องระบบชลประทานนั้น ควรพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ก่อนที่จะใช้สารนี้

วิธีการใช้สารพาโคลบิวทราโซล. การใช้สารพาโคลบิวทราโซล. เพื่อผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลนี้ จากการทดลองของนักวิชาการเกษตรทั้งหลายต่างลงความเห็นกันว่า วิธีที่เหมาะสมที่สุดก็คือ การรดสารลงบริเวณโคนต้นหรือรอบทรงพุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากสารนี้ถูกดูดซึมเข้าทางรากได้ดี ส่วนอัตราความเข้มข้นของการใช้สารนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและขนาดของทรงพุ่ม กล่าวคือ ในต้นมะม่วงที่มีอายุมากและทรงพุ่มกว้างจะใช้สารมากกว่ามะม่วงที่มีอายุน้อย และขนาดของทรงพุ่มเล็กกว่า ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ภายหลังจากที่ได้ใช้สารไปประมาณ 2-3 เดือน มะม่วงก็จะเริ่มออกดอกโดยเฉพาะพันธุ์ที่ออกดอกง่ายหรือพันธุ์เบา เช่น น้ำดอกไม้ เจ้าคุณทิพย์ ฟ้าลั่น หนองแซงและศาลายา เป็นต้น แต่อาจจะมีบางต้นที่ไม่ออกดอกเนื่องจากมีการพักตัวนานเกินไปก็จำเป็น ต้องกระตุ้นการแตกตาดอกด้วยสารโปแตสเซียมไนเตรท ความเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ (ใช้โปรแตสเซียมไนเตรท 500 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือกระตุ้นด้วยสารไทโอยูเรีย ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้เกิดการแตกตาดอกได้พร้อมกันทั้งต้น ภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์ หลังจากฉีดพ่นสารนี้ไปแล้ว

การใช้สารพาโคลบิวทราโซลนี้ สามารถที่จะกำหนดเวลาของการออกดอกและการเก็บเกี่ยวได้ตามความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการให้มะม่วงออกดอกและเก็บเกี่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ (ประมาณวันที่ 25-30 ธันวาคม) ก็ต้องนับวันย้อนขึ้นไปเป็นขั้นตอนแล้วเริ่มใช้สารนี้ และเพื่อเป็นการสะดวกรวมทั้งง่ายต่อการปฏิบัติจึงได้เขียนแผนภูมิและกำหนด วันที่จะปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้

3. สารไทโอยูเรีย. หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไทโอคาร์บาเมท. มีชื่อการค้าหลายชนิดเช่น ไทโอเม็ต. ไทโอแมกซ์.และคอมมานด์. เป็นต้น จัดเป็นสารเคมีชนิดใหม่ล่าสุดที่ได้นำมาทดลองเพื่อใช้เร่งการออกดอกและแตกใบ อ่อนของมะม่วง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการใช้สารโปแตสเซียมไนเตรท. และพาโคลบิวทราโซ ล.ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น และควรจะใช้เมื่อมีกรณีที่จำเป็นดังนี้คือ

1. มะม่วงบางพันธุ์อาจจะเกิดอาการใบไหม้ เมื่อฉีดพ่นด้วยสารโปแตสเซียมไนเตรท. หรือบางพันธุ์เร่งการออกดอกด้วยโปแตสเซียมไนเตรท.แล้วไม่ค่อยได้ผล ในลักษณะเช่นนี้ก็สามารถใช้สารไทโอยูเรีย.แทนได้

2. มะม่วงที่กระตุ้นด้วยสารพาโคลบิวทราโซล.แล้ว อาจจะไม่แตกใบอ่อนหรือมีสารพาโคลบิวทราโซล.ตกค้างอยู่ในต้นมากเกินไป จนทำให้ไม่สามารถแตกใบอ่อนได้ ในกรณีเช่นนี้สามารถแก้ไขได้โดยฉีดพ่นไทโอยูเรีย. 1-2 ครั้ง มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา

สำหรับอัตราหรือความเข้มข้นของเนื้อสารที่ใช้ฉีดพ่นใบมะม่วงนั้น จากการทดลองของนักวิชาการเกษตรปรากฏว่า ใช้สารไทโอยูเรีย.ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ จะให้ผลดีที่สุด โดยทำการฉีดพ่นให้ทั่วต้นมะม่วงในระยะที่ใบแก่จัด ซึ่งสามารถกระตุ้นให้มะม่วงแตกตาได้ภายในเวลา 2 สัปดาห์หลังจากใช้สาร แต่อย่างไรก็ตามสารไทโอยูเรีย.นี้จะมีคุณสมบัติช่วยในการกระตุ้นการแตกตาเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนช่วยในการสร้างตาดอกหรือตาใบแต่อย่างใด ดังนั้นถ้าตายอดของมะม่วงเป็นตาใบอยู่แล้ว เมื่อฉีดพ่นสารไทโอยูเรีย. มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา แต่ถ้าตานั้นเป็นตาดอก มะม่วงก็จะแทงช่อดอกออกมา ฉะนั้นก่อนที่จะใช้สารชนิดนี้จะต้องศึกษาให้รอบคอบเสียก่อนทั้งวิธีการใช้ อัตราการใช้ สภาพท้องถิ่นที่จะใช้สารตลอดจนผลดี ผลเสียหรือผลตกค้างของสารชนิดนี้


ขั้นตอนการบำรุง :
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะม่วง

1. เรียกใบอ่อน
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 25-5-5(200 กรัม) หรือ 46-0-0(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ จิ๊บเบอเรลลิน10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 ครั้งต่อการเรียกใบอ่อน 1 ชุด ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ
- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก. การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก. ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก....แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรีบกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- มะม่วงอายุต้นมากกว่า 5 ปีเรียกใบอ่อนเพียง 1 ชุดก็พอ ส่วนต้นอายุน้อยกว่า 5 ปี ต้องเรียกใบอ่อน 2 ชุด โดยมีวิธีทำดังนี้

วิธีที่ 1....ถ้าต้นสมบูรณ์ดีมีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ.....สำหรับมะม่วงอายุต้นมากกว่า 5 ปี (เป็นสาวเต็มที่) ให้เรียกใบอ่อนเพียง 1 ชุด นั่นคือเมื่อใบอ่อนเพสลาดแล้วให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงตามปกติได้เลย

วิธีที่ 2....หลังจากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่ ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 2 เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ
(วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า......)

- มะม่วงพันธุ์เบา นิสัยออกดอกติดผลง่าย ผ่านการบำรุงแบบให้มีอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมานานหลายปี หลังจากใบอ่อนชุด 1 แผ่กางเริ่มรับแสงแดดได้ สามารถข้ามขั้นตอนเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก. และปรับ ซี/เอ็น เรโช. เข้าสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย แต่อาจจะต้องเปิดตาดอกหลายรอบ หรือมากครั้งกว่าปกติเล็กน้อยเท่านั้น

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 + 0-21-74(200 กรัม)หรือ 0-39-39(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้น้ำตามปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย

- ต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกัน หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วสามารถข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย ทั้งนี้ฟอสฟอรัส.กับโปแตสเซียม.นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้วให้น้ำ 100 ล.+ เอ็นเอเอ.25 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.สลับ 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ติดต่อกัน 1-2 เดือน จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่

- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24(½-1 กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุด ควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน โดยให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดรอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน

- ไม้ผลที่ผ่านการบำรุงมาอย่างดีแล้วต้องกระทบหนาวจึงออกดอกดีนั้น ช่วงขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ถ้ามีการให้ “นมสัตว์สดหรือกลูโคส + 0-52-34 หรือ 0-42-56 + สังกะสี” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด 1-2 รอบ ให้รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้น อีก 20 วัน ให้อีกเป็นรอบ 2 ก็จะช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกและส่งผลให้เปิดตาดอกแล้วมีดอกออกมาดีอีกด้วย

- วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นสะสมสารอาหารทั้ง “กลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)” และ “กลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น)” ไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอกไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา

- ช่วงหน้าฝนสวนยกร่องน้ำหล่อหรือพื้นที่ลุ่มปริมาณน้ำใต้ดินมาก แนะนำให้บำรุงทางใบด้วยสูตรสะสมอาหารปกติ โดยให้ก่อนฝนตก 1 ชม.หรือให้ทันทีหลังฝนหยุดใบแห้ง ให้บ่อยๆได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งหรือช่วงระยะเวลาให้

- เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น แนะนำให้ใส่มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่มจะเป็นการดียิ่งขึ้น....ใช้มูลค้างคาวด้วยความระมัดระวังเพราะในมูลค้างคาวมีสารอาหารในการสร้างเมล็ดอาจมีผลกระทบช่วงบำรุงผลกลาง (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ได้

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้ลงพื้น

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
งดน้ำ เปิดหน้าดินโคนต้น

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)และ “ลด" ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.)

5. สำรวจลักษณะอั้นตาดอก
ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งเป็นใบแก่จัด ข้อระหว่างใบสั้น ใบหนาเขียวเข้มส่องแดดแล้วแสงไม่ทะลุ เนื้อใบกรอบ เส้นใบนูนเด่น หูใบอวบอ้วน กิ่งช่วงปลายกลม เปราะหักง่าย มีตุ่มตานูนขึ้นที่โคนหูใบหรือซอกใบ อาการนี้ควรเกิดขึ้นกับทุกจุดหรือทุกปลายยอดที่สามารถออกดอกได้ทั่วทั้งต้น และเมื่อมองจากภายนอกระยะไกลเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน

ถ้าอาการอั้นตาดอกเกิดขึ้นไม่ทั่วทั้งต้นหรือเกิดขึ้นเพียงบางกิ่งเท่านั้น กรณีนี้ให้ระงับการเปิดตาดอกไว้ก่อนแล้วบำรุงด้วยสูตร สะสมอาหารเพื่อการออกดอก ทั้งทางใบและทางรากต่อไปอีก

6. ตรวจสอบข่าวสภาพอากาศ
ก่อนลงมือเปิดตาดอกจำเป็นต้องทราบข่าวอากาศล่วงหน้า กล่าวคือ ในอีก 20-30 วันข้างหน้าซึ่งเป็นวันที่ช่อดอกเริ่มออกมาแล้วนั้นจะต้องไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนจะทำให้ดอกเสียหายโดยเฉพาะดอกบานจะเสียหายจนผสมไม่ติด

ถ้ารู้ว่าในอีก 20-30 วันข้างหน้าจะมีฝนตก ให้เลื่อนการเปิดตาดอกออกไปแล้วกลับมาบำรุงด้วยสูตร สะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไป จนกว่าจะแน่ใจว่าหลังเปิดตาดอกจนดอกออกมาแล้วไม่มีฝนจึงลงมือเปิดตาดอก

7. เปิดตาดอก
ทางใบ :
สูตร 1.....น้ำ 100 ล.+ ไธโอยูเรีย 500 กรัม หรือ 0-52-34(500 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สาหร่ายทะเล 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 2.....น้ำ 100 ล.+ 13-0-46(1 กก.)+ 0-52-34(500 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สาหร่ายทะเล 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 3 ...น้ำ 100 ล. + 13-0-46 (1 กก.) + ไธโอยูเรีย 500 กรัม ) + ธาตุรอง/ธาตเสริม 500 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 4.....น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ 13-0-46 (1 กก.) สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นหรือพอให้ต้นได้รู้สึกตัว

หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกทั่วทั้งต้นหรือทุกจุดที่สามารถออกดอกได้ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด

- การตัดสินใจเลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะสายพันธุ์ เช่น พันธุ์เบา พันธุ์หนัก
- หลังจากให้แต่ละสูตรไป 2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วันแล้วยังไม่ออกดอก ให้ฉีดพ่นทางใบด้วย "น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)" ทับอีก 1 รอบ ถ้าสภาพต้นสมบูรณ์และสภาพอากาศ (อุณหภูมิ)อำนวย มะม่วงต้นนั้นก็จะแทงช่อดอกออกมาให้ แต่ถ้าไม่ออกก็ต้องกลับมาเริ่มต้นกันใหม่ ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1(เรียกใบอ่อน)สำหรับรุ่นการผลิตใหม่

- อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24(250-500 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.อีก 1 รอบก็ได้ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้นเพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช.

- การเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 โดยฉีดพ่นทางใบจะทำให้มะม่วงมีอาการเหมือนได้รับอากาศหนาวเย็นจึงส่งผลให้การออกดอกดีขึ้น

- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้นให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

8. บำรุงดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- ให้ “เอ็นเอเอ. หรือ เอ็นเอเอ.+ จิ๊บเบอเรลลิน” ช่วงดอกตูมแทงออกมายาว 2-3 ซม.1 ครั้ง จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับการผสมแต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้ผิดอัตราจะเกิดความเสียหายต่อดอกและไม่ได้ผล....ช่วงอากาศร้อนใช้ในอัตราลดลง25 เปอร์เซ็นต์ของอัตราใช้ปกติ และช่วงอากาศหนาวให้เพิ่มอัตราใช้ 25% ของอัตราใช้ปกติ

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “ฮอร์โมนน้ำดำ และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก....มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- ในช่อดอกมีทั้งดอกและใบ แก้ไขด้วยการฉีดพ่น “0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” พอเปียกใบ 1-2 รอบ ช่วงเช้าแดจัด ห่างกันรอบละ 5-7 วัน หลังจากที่เห็นชัดแล้วว่ามีทั้งใบละดอก

- ในต้นเดียวกัน ปลายยอดส่วนหนึ่งออกดอกและพัฒนาเป็นผลขนาดเล็ก (ประมาณหัวไม้ขีด) แล้ว แต่ยอดส่วนหนึ่งยังไม่ออกดอก ให้ฉีดพ่นด้วย “น้ำ 20 ล.+ 0-42-56 (2 ช้อนโต๊ะ)” เฉพาะยอดที่ยังไม่ออกดอก 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จากนั้นเปิดตาดอกด้วยสูตรเดิม 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ถ้าต้นมีความสมบูรณ์สูง และสภาพอากาศ (อุณหภูมิ) อำนวย ยอดที่ถูกเปิดตาดอกซ้ำก็จะแทงช่อดอกออกมาใด้

- เปิดตาดอกแล้วออกเป็นใบ แก้ไขด้วยการตัดยอดนั้นทิ้งตั้งแต่ยอดยาวประมาณ 2-3 นิ้ว หรือตั้งแต่แน่ใจว่านั่นคือยอดหรือใบแน่นอน แล้วบำรุงทางใบด้วย “สูตรสะสมตาดอก” ปกติ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จากนั้นให้เปิดตาดอกด้วย “สูตรเปิดตาดอก” ปกติ ถ้ามะม่วงต้นนั้นมี ซี/เอ็น เรโช.เหมาะสม ปลายกิ่งที่เคยตัดยอดทิ้งไปแล้วจะแทงช่อดอกใหม่ที่โคนยอดเดิม หรือแทงช่อใหม่ที่โคนใบ (ตุ่มตา) บริเวณที่ต่ำกว่ายอด กลายเป็นออกดอกกลางกิ่งได้

9. บำรุงผลเล็ก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กนัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.
+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นทางใบพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นพร้อมกับเสริมยิบซั่มธรรมชาติ อัตรา 1 ใน 10 ส่วนของครั้งที่ใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน

- ให้น้ำแบบค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อยๆของการให้น้ำ 3-4 รอบเพื่อให้ต้นรู้ตัว

หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง
- ช่วงผลเล็กเริ่มโชว์รูปทรงผลแล้วให้ “น้ำ 100 ล.+ จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม”ฉีดพ่น 1 รอบพอเปียกใบ จะช่วยบำรุงผลไม่ให้เกิดอาการผลแตกผลร่วงตลอดอายุผลได้ดี

10. ผลกลาง
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม(100 ซีซี.)+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นทางใบพอเปียกใบ

ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14(½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ
- เริ่มบำรุงเมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดเริ่มแข็ง (เข้าไคล) การที่จะรู้ว่าเมล็ดเริ่มเข้าไคลให้ใช้วิธีสุ่มเก็บลงมาผ่าดูลักษณะภายในผล

- วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ทำให้ผลมีเนื้อมากแต่เมล็ดเล็กหรือลีบ

- ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ ฮอร์โมนน้ำดำ. แคลเซียม โบรอน. 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก


11. บำรุงผลแก่
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 0-0-50(200 กรัม)หรือ 0-21-74(200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด

หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น แต่หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้นมักโทรมจึงต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วจึงเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่

- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันหรือประเภททะวายทยอยออก แบบไม่มีรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่จัดไปแล้วต้นไม่โทรม ใน 8-24-24 เป็นปุ๋ยประเภทสะสมอาหารเพื่อการออกดอกซึ่งจะส่งผลให้กิ่งที่ยังไม่ออกดอกเกิดอาการอั้นแล้วออกดอกติดผลเป็นผลรุ่นใหม่ได้

- ระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวถ้ามีการให้ “กลูโคสหรือนมสัตว์สด” สำหรับมะม่วงกินสุกเมื่อผลสุกเนื้อในจะนิ่มหรือเละ

*************************************************************

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/01/2024 4:26 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 30/01/2024 10:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
15. เงาะนอกฤดู :
การบังคับเงาะให้ออกนอกฤดู

ในเมื่อไม่มีเงาะทะวาย พันธุ์เบา พันธุ์หนัก และยังไม่มีสารหรือฮอร์โมนใดๆบังคับให้เงาะออกดอกติดผลในช่วงที่ต้องการหรือเป็นเงาะนอกฤดูได้ แต่ธรรมชาติทางพัฒนาการของเงาะก็ไม่ต่างอะไรกับไม้ผลอื่นๆ นั่นคือ การที่จะทำให้เงาะออกดอกติดผล ก่อนหรือหลัง ฤดูกาลปกติยังมีโอกาสด้วยการปรับระยะเวลาปฏิบัติบำรุงแต่ละขั้นตอนเร็วขึ้นเพื่อเร่งให้เป็นเงาะก่อนฤดูกาล หรือยืดระยะเวลาในการปฏิบัติบำรุงแต่ละขั้นตอนออกไปเพื่อให้เงาะออกหลังฤดูปกติเท่านั้น กล่าวคือ..

ทำเงาะล่าฤดู :
1.หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นปีนี้แล้วชะลอเวลาฟื้นฟูสภาพต้นออกไป 1-2 เดือน จากนั้นจึงเริ่มลงมือบำรุงขั้นตอนที่ 1 (ตัดแต่งกิ่งและเรียกใบอ่อน) ตามปกติ

2.เรียกใบอ่อน 2 ชุด เมื่อใบอ่อนแต่ละชุดออกมาแล้วไม่ต้องเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่แต่ปล่อยให้แก่เองตามธรรมชาติ

3.เพิ่มช่วงเวลาบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกจากเดิมที่เคยใช้เวลา 2 เดือนเป็น 3 เดือนหรือ 3 เดือนครึ่ง

4.การลงมือ เปิดตาดอก-บำรุงดอก-บำรุงผลเล็ก ต้องทำตามปกติ ซึ่งไม่สามารถยืดเวลาออกไปให้ช้าหรือเร่งเวลาให้เร็วขึ้นได้

5.ช่วงบำรุงผลกลางสามารถยืดเวลาออกไปได้ 15-20 วันโดยบำรุงด้วยสูตร ยืดอายุผลให้แก่ช้า เช่นเดียวกันกับส้มเขียวหวานหรือมะนาว ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถกำหนดระยะเวลาเก็บเกี่ยวได้

6.บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวตามปกติ

หมายเหตุ :
การใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.(เดี่ยวๆ)ในอัตราเข้มข้นกว่าปกติ 25-50 เปอร์เซ็นต์ จะมีผลทำให้ดอกตูมร่วงหลัง จากนั้น 1-2 เดือนต้นจะแทงช่อดอกชุดใหม่เอง ซึ่งดอกชุดใหม่นี้จะพัฒนาเป็นผลล่าฤดูได้ อัตราการใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. เพื่อทำให้ดอกร่วงแล้วออกมาใหม่จะได้ผลก็ต่อเมื่อต้นผ่านการบำรุงมาจนสมบูรณ์เต็มที่อย่างแท้จริง และสภาพอากาศเอื้ออำนวยเท่านั้น

(อัตราใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ช่วงสภาพอากาศร้อนจัดให้ลดอัตราใช้ลง 10-20 เปอร์เซ็นต์ และช่วงอากาศหนาวเย็นให้เพิ่มอัตราใช้ขึ้น 10-20 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราใช้เมื่อสภาพอากาศปกติเสมอ)

ทำเงาะก่อนฤดู :
1.ไว้ผลรุ่นปีการผลิตนี้น้อยๆ พร้อมกับบำรุงเต็มที่ เพื่อไม่ให้ต้นโทรม
2.บำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวรุ่นปีการผลิตนี้ให้เร็วขึ้น โดยให้ทางใบด้วย 0-21-74 และให้ทางรากด้วย 8-24-24

3.เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วตัดแต่งกิ่ง ฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาเรียกและใบอ่อนทันที

4.เรียกใบอ่อน 1 ชุด ใบอ่อนแผ่กางแล้วข้ามขั้นตอนเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก. ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกเลย

5.บำรุงขั้นตอน บำรุงดอกตูม-บำรุงผลเล็ก ปฏิบัติตามปกติ

6.บำรุงขั้นตอน ผลกลาง-ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว ด้วยสูตร เร่งผลให้แก่เร็ว ตามปกติ

หมายเหตุ :
การบังคับเงาะให้ออก “ก่อน” หรือ “หลัง” ฤดูกาลจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างแท้จริงโดยผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 2-3 ปี

การบริหารปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหารสายพันธุ์-โรค)จะต้องเหมาะสมตรงตามความต้องการทางธรรมชาติหรือนิสัยของเงาะอย่างแท้จริง นานติดต่อหรือต่อเนื่องมาหลายๆปี
- หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วลงมือเปิดตาดอกเลยนั้น จะต้องฉีดพ่นทางใบด้วยสูตร “เปิดตาดอก” หลายครั้งอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาถึง 2 เดือนก็ได้

************************************************************

16. แตงโมหน้าฝน :
แตงโม (ไทย) ....ประสบการณ์ตรง :

แตงโมที่ปลูกแบบปล่อยเถาเลื้อยไปบนพื้นนั้น ส่วนใหญ่ 1 กอ มักให้มี 2 ยอด แล้วไว้ผลยอดละ 1-2-3-4 ผล/ยอด

.... ช่วงแตงโมได้อายุต้นเริ่มออกดอก บำรุงทางใบด้วย "ฮม.ไข่" ทุก 4-5 วัน จะช่วยให้แตงโมออกดอกมากขึ้น หรือให้ 1 ครั้งได้ 1-2 ดอกเสมอ .... คู่กับให้ทางรากด้วย "น้ำหมักชีว ภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24" โดยฉีดอัดลงดินบริเวณโคนต้น ทุก 15-20 วัน

....ช่วงออกดอกแล้วควรงดการฉีดพ่นทางใบทุกชนิดช่วง 08.00-11.00 เพราะเป็นช่วงที่เกสรต้องการผสม หากฉีดพ่นอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้

.... การช่วยผสมเกสรด้วยมือ นอกจากช่วยให้การติดเป็นผลดีแล้วยังช่วยให้เป็นผลที่คุณภาพดีอีกด้วย

.... วิธีหลอกผึ้งให้ช่วยผสมเกสร เช้าราว 08.00 แดดจัดฟ้าสดใส ผึ้งจะออกหากินในแปลงแตงโม จงเดินเข้าไปทางหัวแปลงก่อน ถือกิ่งไม้ 2 มือ กางแขน 2 ข้าง ก้าวเดินช้าๆพร้อมกับโบกกิ่งไม้เบาๆ ผึ้งเห็นกิ่งไม้โบกไปมาจะบินขึ้นแล้วบินไปเกาะดอกแตงโมข้างหน้าใหม่ ก็ให้เดินช้าๆตามไปอีกสัก 3-5 ก้าว เท่ากับระยะที่ผึ้งบินไปก่อนล่วงหน้า โบกกิ่งไม้อีก ผึ้งก็จะบินขึ้นหนีไปข้างหน้าอีก ทำซ้ำไปเรื่อยๆหลายๆ รอบ จนสุดแปลงแล้วย้อนทำซ้ำ ตราบเท่าที่ผึ้งยังไม่หนีไปไหน

.... เถาเดียวที่มีหลายผล ควรเว้นระยะ 1 ผล /7-8 ใบ เพื่อให้แต่ละผลมีใบสำหรับสังเคราะห์อาหาร เทคนิคไว้ผลแบบนี้ต้องเด็ดดอกทิ้งตั้งแต่ออกมาใหม่ๆ โดยเลือกเด็ดทิ้งกับเลือกเก็บไว้

.... เถาเดียวมีหลายผล ระหว่างผลต่อผลให้ทำไม้โค้งงอรูปตัว ยู. กดเถาบริเวณข้อให้แนบผิวดินแล้วคลุมทับด้วยเศษดิน เศษหญ้าแห้ง ไม่นานที่ข้อจะมีรากงอกออกมา รากนี้จะดูดซับสารอาหารไปเลี้ยงผลที่อยู่ถัดไปทางปลายเถา ควรทำต่อทุกผล จะทำให้แต่ละผลมีรากส่วนตัวแทนที่จะรอรับสารอาหารจากรากที่โคนเถาเพียงรากเดียว

แตงโมไร้เมล็ด
1. ปลูกแตงโม พันธุ์ไร้เมล็ด สลับแถวหรือสลับต้นกับ พันธุ์มีเมล็ด ลงไปก่อน การบำรุงต้นทั้งสองสายพันธุ์ เช่น เด็ดยอด - เลี้ยงยอด - ไว้ดอก เหมือนกันตามปกติ

2. เมื่อได้ดอกของทั้งสองสายพันธุ์แล้วให้นำ เกสรดอกตัวผู้ของต้นพันธุ์มีเมล็ดไปผสมให้กับ เกสรดอกตัวเมียของต้นพันธุ์ไร้เมล็ด ด้วยวิธี "ต่อดอก" ตามปกติ

3. เมื่อเกสรของดอกตัวเมียจากต้นพันธุ์ไร้เมล็ด ได้รับการผสมจากละอองเกสรตัวผู้ของต้นพันธุ์มีเมล็ดแล้ว ผลที่เกิดมาจะไร้เมล็ดตามดอกต้นแม่

หมายเหตุ :
- แตงโมไร้เมล็ดมีเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะจำหน่าย แต่ราคาแพงกว่าแตงโมมีเมล็ด
- การปฏิบัติบำรุงทุกขั้นตอนต่อแตงโมไร้เมล็ดเหมือนแตงโมมีเมล็ดทุกประการ
- แตงโมไร้เมล็ดไม่ได้หมายความว่าไม่มีเมล็ดเลยแม้แต่เมล็ดเดียว เพียงมีเมล็ดสีน้ำตาลน้อยมากและขนาดเล็ก เมล็ดส่วนใหญ่จะเป็นเมล็ดสีขาวอ่อนนิ่ม เคี้ยวรับประทานได้เลย

***** การปฏิบัติบำรุงทุกขั้นตอนเหมือนแตงโมกินเนื้อทุกประการ *****

***********************************************************

ไผ่ นอกฤดู
“ฝากอนาคตไว้กับไม้ไผ่อย่างไร ?” :
- เรารักไผ่ ไผ่ไม่รักเรา ช่องว่างระหว่างกอไผ่ ปลูกพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว เสริม/แซม-แทรก เช่น พริก มะเขือ ขิง ข่า ฯลฯ

ชนิดของไผ่ : ไผ่ตง ไผ่รวก ไผ่นวล ไผ่สีสุก ไผ่ป่า ไผ่เลี้ยง ไผ่รวกดำ ไผ่ซาง ไผ่ข้าวหลาม และไผ่ไร่ (Pattanavibool, 2000)

พันธุ์ไผ่ : ไผ่ตงศรีปราจีน – ไผ่ปักกิ่ง – ไผ่มันหมู หรือ ไผ่มีรู – ไผ่ซางหวาน – ไผ่รวกจังหวัดน่าน – ไผ่เป๊าะ – ไผ่ปล้องยาวเมืองน่าน หรือ ไผ่เริม – ไผ่ช้างเมืองน่าน หรือ ไผ่ยักษ์ – ไผ่โซดิส – ไผ่ดำ – ไผ่ขน – ไผ่สี่เหลี่ยม – ไผ่ไล่ลอ – ไผ่เฮี้ยะ – ไผ่ผาก – ไผ่สีสุก – ไผ่บงใหญ่ – ไผ่เลี้ยง – ไผ่บงหวาน – ไผ่สีทอง – ไผ่ป่า หรือ ไผ่หนาม – ไผ่รวก – ไผ่ลำมะลอก
https://dang145.wordpress.com

ขยายพันธุ์ :
- ตอนที่ไต้ข้อกิ่งแขนง
- แยกหน่อแก่ขึ้นเป็นลำแล้ว
*** ไผ่ตง ....... ทำอาหารได้น้อยอย่างกว่าหน่อรวก .... ทำอัดปี๊บไม่ได้
*** ไผ่รวก ...... เอาหน่อกิน ลำใช้สอยน้อย เอาลำใช้สอยมากหน่อกินน้อย .... ทำอัดปี๊บได้

ปลูกไผ่รวกหวานแก้จน ใช้เทคนิคบังคับออกนอกฤดู :
“มันไม่เหมือนไผ่ลวกตามป่าเขา จะรสขม อันนี้ไม่มีรสขมเลย เป็นรสจืด ปลูกได้ทั่วไป หวาน อร่อย เหมือนยอดมะพร้าว” เสียงยืนยันถึงรสชาติไผ่รวกหวาน สวนไผ่ครูอ๋อง บ้านซำบ่าง ต.ห้วยส้ม อ.ภูกระดึง จ.เลย ที่รสชาติหวาน กรอบ อร่อย กินสดได้ คือ ส่วนหนึ่งที่ทำให้ สุรูป แสนขันธ์ หรือครูอ๋อง ข้าราชการครูวัย 53 ปี ขยายพื้นที่ปลูกไผ่รวกหวานจาก 2 ไร่ เป็น 45 ไร่ เพราะเชื่อมั่นว่าไผ่รวกหวานเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

ครูอ๋องเล่าว่า ชาวบ้านเป็นผู้พบไผ่รวกหวานจากการเข้าไปหาหน่อไม้ในป่า แล้วเห็นกอไผ่มีร่องรอยสัตว์แทะกิน ชาวบ้านได้ชิมดู พบว่ารสชาติดี จึงขุดมาปลูก ตนจึงเพาะพันธุ์ ลองผิดถูกเรื่อยมานานถึง 5 ปี จึงประสบความสำเร็จ ไผ่รวกหวานสามารถบังคับให้ออกนอกฤดูได้ ขอเพียงมีแหล่งน้ำ

“ไผ่ลวกหวานนี้เป็นไผ่ที่ปลูกง่าย ไม่เลือกดิน ดินจะเป็นยังไงก็ได้ขอให้มีน้ำ ใกล้แหล่งน้ำ ให้น้ำ ใน 1 ปี มี 12 เดือน ไผ่รวกสามารถให้ผลผลิตได้ถึง 10 เดือน ช่วงที่ไผ่รวกจะพักตัว คือ ฤดูหนาว 2 เดือน พ.ย.-ธ.ค. พอเริ่มให้น้ำ ประมาณ 2 สัปดาห์ ให้น้ำเต็มที่ 2 สัปดาห์ จะแตกหน่อออกมา จากนั้นเราก็ให้น้ำแค่วันเว้นวัน”

ไผ่รวกหวานขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด จากนั้นคัดต้นพันธุ์ เพราะใน 100 ต้นจะมี 20 ต้น ที่ออกรสชาติขม “อันนี้เป็นแปลงที่เราผลิตหน่อ ต้นไผ่ของเราปลูกได้ 7 เดือน ก็ให้หน่อ และถึงแม้หน่อจะเล็ก อีกสักหน่อยก็หน่อโตขึ้นตามขนาดของลำ” ครูอ๋องกล่าว

พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกไผ่รวกหวานได้ 160 ต้น ระยะปลูกอยู่ที่ 2.5 X 2.5 เมตร ใช้เวลาปลูก 7 เดือน ก็สามารถเก็บหน่อไม้ขายได้ 1 ไร่ให้ผลผลิต 300-400 กิโลกรัม/เดือน ราคาขายหน่อไม้กิโลกรัมละ 30-60 บาท แล้วแต่ฤดูกาล ส่วนต้นพันธุ์ราคาต้นละ 250-300 บาท ปัจจุบันสวนไผ่ครูอ๋องได้รับคัดเลือกจากสำนักงานเกษตรอำเภอภูกระดึง ให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านการ เกษตรชีวภาพ.

- ไผ่ปรุงอาหารได้น้อยกว่ารวก หน่อรวกทำอัดปี๊บขายได้ทั้งปี .... ทำขายต้อง การตลาดนำการผลิต เกรด เอ. จัมโบ้. โกอินเตอร์. ขึ้นห้าง. ออกนอกฤดู. รวมกลุ่ม ร่วมพื้นที่ ทำเกษตรพันธะสัญญา ขยัน ฉลาด ซื่อสัตย์

** ทางดิน : ใส่ขี้วัวขี้ไก่, หว่านรอบทรงพุ่ม, ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 (1-2 ล.) /ไร่ /เดือน, กวาดใบไผ่คลุมโคนต้นหนาๆ .... ปุ๋ยเคมี ไม่ต้อง ไม่ใช่กลัวเปลืองแต่เขากินแค่นี้ นี่แหละ ลดปุ๋ยเคมี เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับปรุงบำรุงดิน

(หมายเหตุ : สารอาหารพืชในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง .... "อินทรีย์" กุ้งหอยปูปลาทะ เล เลือดไขกระดูกนมน้ำมะพร้าวขี้ค้างคาว หมักข้ามปี ..... "เคมี" 5-10-40 Mg Zn TE ...)

** ทำหน่อขาว : ใช้ใบไผ่แห้งใส่ถุงพลาสติกอัดแน่นพอประมาณ ครอบหน่อที่แทงพื้น ดินขึ้นมาประมาณ 1 ฝ่ามือ เมื่อหน่อในถุงไม่สัมผัสแสงก็จะเป็นสีขาวนวลเอง .... ทำหน่อขาวไม่ควรใช้แกลบดำบรรจุถุงครอบหน่อ เพราะต้นไผ่ไม่ชอบแกลบดำ

** ทำหน่อใหญ่ : ช่วงหน้าฝนเป็นหน่อไม้ปี ราคาก็แบบปีปี แต่ถ้าให้ปุ๋ย 5-10-40 Mg Zn จะได้หน่อใหญ่ขึ้น น้ำหนักดี เนื้อนิ่มกรอบถึงโคนหน่อ ราคาก็จะสูงขึ้น

** ทำหน่อนอกฤดู : ช่วงหน้าแล้ง ม.ค.- ก.พ.- มี.ค.- เม.ย. เป็นหน่อไม้นอกฤดู ราคาแพง ให้บำรุงดังนี้

- ธรรมชาติไผ่แทงหน่อได้ตลอดปีถ้ามีน้ำ หน้าฝนมีน้ำไผ่จึงแทงหน่อ เมื่อไม่มีน้ำจากฝนก็เอาน้ำจากคนให้แทน โดยปลาย ต.ค. เริ่มหมดฝนใส่ ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ขี้วัวขี้ไก่, หว่านรอบทรงพุ่ม, ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 (1-2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว, กวาดใบไผ่คลุมค้นต้นหนาๆ ระดมให้น้ำบ่อยๆ วันต่อวัน วันเว้นวัน วันเว้นสองวัน ให้เหมือนหน้าฝน

- ปลูกพืชแซม เช่น กล้วย ข่า พริก มะเขือ ฯลฯ เพื่อสร้างความชิ้นสัมพัทธ์ในอากาศ จะช่วยให้หน่อไม้ออกหน่อดี

- ไผ่ทุกชนิด แทงหน่อได้ตลอดปี ไม่มีฤดูกาล สังเกตไผ่ริมห้วยมีน้ำไหลผ่านตลอดปี ถึงช่วงหน้าแล้งนอกจากไม่ผลัดใบแล้ว ยังแทงหน่อใหม่ได้ด้วย นอกจากสังเกตน้ำในห้วยแล้ว น้ำฝนที่มาจากฟ้าก็คือน้ำ ทำให้ไผ่แทงหน่อได้เหมือนกัน นั่นคือ ตราบใดที่มีน้ำบริบูรณ์ไผ่จะแทงหน่อเอง .... หน้าฝนได้น้ำจากเทวดา หน้าแล้งก็ให้ได้น้ำจากคน ไผ่ก็จะแทงหน่อเอง

- ปลาย ต.ค. คือ ปลายฝนต้นหนาว เริ่มเข้าสู่หน้าแล้ง แนวทางปฏิบัติคือ ทำหน้าแล้งให้เป็นหน้าน้ำ โดยให้น้ำแก่ไผ่ลงไป ให้มากๆเหมือน หน้าฝน ให้สม่ำเสมอ ประมาณ ก.พ.-มี.ค. ไปก็จะแทงหน่อขึ้นมาเอง .... ธรรมชาติของหน้าฝน นอกจากน้ำที่มองเห็นได้บนพื้นดินแล้วยังมีน้ำที่มองไม่เห็นในอากาศ คือ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศอีกด้วย เมื่อคิดจะทำทำหน้าแล้งให้เป็นหน้าฝนเหมือนอย่างธรรมชาติจริงๆ ก็ต้องให้มีน้ำทั้งบนพื้นดิน และน้ำในอากาศ เครื่องมือที่ดีที่สุดสำหรับงานนี้ คือ “สปริงเกอร์” ส่งหัวสปริงเกอร์ขึ้นสูงๆ พ่นน้ำในอากาศ น้ำจะสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศแล้วตกลงพื้นเป็นการให้น้ำทางดินไปในตัวด้วย .... การพึ่งพาธรรมชาติโดยปลูกพืชคลุมหน้าดิน การปลูกพืชอวบน้ำ เช่น กล้วยแซมแทรกระหว่างกอไผ่ นอกได้ความชื้นแล้วยังไม้ผลผลิตอีกด้วย

- ปรับปรุงดินให้รับและกักเก็บความชื้นไว้ได้นานๆ โดยใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์. ขี้วัวขี้ไก่. ใบไม้แห้ง (ใบไผ่) คลุมโคนต้นหนาๆ ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรไหนก็ได้ ใส่ปุ๋ยสูตร 5-10-40 ให้น้ำมากๆ สม่ำเสมอ .... การปลูกคุลมหน้าดิน การปลูกพืชประ เภทให้ความชื้นสูงๆ แซม/แทรก ในแปลงปลูกไผ่ ช่วยได้มาก

ไผ่นอกฤดูทำอย่างไร :
- เดือนนี้ ก.ย. เริ่มได้เลย .... ใส่ ขี้วัวขี้ไก่, ใบไผ่แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ, ใส่ 8-24-24 (1 กก.) /ต้น /เดือน หว่านรอบทรงพุ่ม, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว

- สิ้นเดือน ต.ค. หรือเริ่มหมดฝน ระดมให้น้ำเหมือนยังเป็นหน้าฝน ให้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 เดือนละครั้ง

- ประมาณ ก.พ.- มี.ค. จะเริ่มมีหน่อออกมาให้เก็บ เป็นหน่อไผ่นอกฤดู

หมายเหตุ :
- วิธีทำนอกฤดู ทำได้ทั้งหน่อไผ่ และหน่อรวก
- การที่ไผ่จะแทงหน่อ ต่อเมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูงๆ ทั้งที่พื้นดิน และในอากาศ การปลูกพืชคลุมดิน (พริก มะเขือ กล้วย) นอกจากมีรายได้แล้ว ยังเป็นการช่วยสร้างความชื้นทั้งในดิน และในอากาศได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

- หน่อไผ่ตอบสนองดีมากกับกระดูกป่น ช่วยให้ดินโปร่ง การแทงหน่อดี
- ระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 ช่วยให้หน่อใหญ่ เนื้อแน่น น้ำหนักดี เสี้ยนน้อย
- ไผ่/รวก ไม่ถูกกันมากๆกับแกลบดำ จึงไม่ควรใส่ หากต้องการทำหน่อหมกสีขาว ให้ใช้ใบแห้งของเขาเองใส่ถุงครอบหน่อแทน

ระหว่างหน่อไม้ไผ่ตง กับ หน่อไม้รวก อย่างไหนอนาคตดีกว่ากัน :
- ต้องการทำขายต้องถือหลัก “การตลาดนำการผลิต” .... เกรด เอ. จัมโบ้. โกอินเตอร์. ขึ้นห้าง. ออกนอกฤดู. คนนิยม. มีเท่าไหร่ไม่พอขาย คนซื้อจองล่วงหน้า .... ปลูกไผ่ ปลูกรวก รู้เรื่องรวก เรื่องไผ่

- หน่อรวก อนาคตดีกว่า เพราะปรุงอาหารได้มากชนิดกว่า ทำดองได้ ทำหน่อไม้อัดได้
- ปลูกทั้งสองอย่าง ไผ่ตง (ศรีปราจีน) 1 ไร่ ไผ่รวก 7 ไร่
- ทั้งสองไผ่บำรุงอย่างเดียวกัน
- สูตรลงหัว +5-10-40 หรือ 8-24-24 , ยิบซั่ม, กระดูกป่น, ขี้ไก่
- ให้น้ำเหมือนหน้าฝน แต่อย่ามากจนแฉะ
- ไผ่รวกเอาลำ มีหน่อน้อยแต่ลำมาก .... ไผ่รวกเอาหน่อ มีหน่อมากแต่ลำน้อย
- ไผ่รวก ทำอาหารได้มากเป็นร้อยอย่าง ตั้งแต่กินสด ถึงอัดปี๊บ
- ซุปหน่อไม้ ใช้หน่อลวกอัดปี๊บ

***********************************************************

18. มะพร้าว หน้าแล้ง
มะพร้าวน้ำหอม

จัดอยู่ในกลุ่มมะพร้าวพันธุ์ต้นเตี้ยหรือที่รู้จักกันในชื่อมะพร้าวหมูสี มีหลายพันธุ์ เช่น มะพร้าวน้ำหอม มีลักษณะประจำพันธุ์ คือ ลำต้นขนาดเล็กไม่มีสะโพก ทางใบและใบย่อยสั้น มีอายุตกจั่นเร็ว

ความหอมของมะพร้าวน้ำหอมจะพบว่ามีส่วนที่เราสามารถทดสอบความหอมได้ เช่น ปลายรากอ่อนของหน่อมะพร้าว กะลาของผลอ่อน น้ำ และเนื้อมะพร้าว

สาเหตุที่มะพร้าวน้ำหอมไม่หอม
ปัญหาที่ผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมพบบ่อยๆ คือ ความหอมจะหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุถึงแม้ว่าหน่อ
พันธุ์ที่ปลูกจะเป็นพันธุ์แท้ และเคยให้ความหอมมาก่อน เกิดจากบริเวณแปลงปลูกอาจมีต้น
มะพร้าวใหญ่หรือมะพร้าวน้ำหวานปนอยู่ทำให้เกิดการผสมข้ามของละออกเกสร จากการวิจัยพบ
ว่า มะพร้าวน้ำหอมที่ผสมกับมะพร้าวใหญ่และมะพร้าวน้ำหวาน ผลมะพร้าวจะไม่มีความหอม แต่
ถ้าผสมตัวเองหรือผสมกับมะพร้าวน้ำหอม ผลมะพร้าวที่ได้จะมีความหอมไม่
เปลี่ยนแปลง

การเพาะต้นกล้ามะพร้าวน้ำหอม
ปัจจัยที่สำคัญต่อการเพาะต้นกล้ามะพร้าวน้ำหอม ได้แก่ พันธุ์ อายุหรือความแก่ของผล สภาพความสมบูรณ์ของผลมะพร้าว ธาตุอาหารพืช อุณหภูมิ น้ำ และแสงแดด

เทคนิคการเพาะต้นกล้ามะพร้าวน้ำหอม
การคัดเลือกผลมะพร้าว ผลมะพร้าวต้องสมบูรณ์และตรงตามพันธุ์ ปราศจากโรคและแมลง รวมทั้งผลมีอายุพอดีไม่อ่อนหรือแก่เกินไป

การเตรียมพื้นที่ ควรปรับพื้นที่ให้เป็นพื้นราบสม่ำเสมอและควรมีร่องระบายน้ำ
การปาดผล ควรทำการปาดผลออกประมาณ 1 ใน 4-5 ส่วนของผล เพื่อให้น้ำซึมเข้าในส่วนของกาบมะพร้าวได้

การวางผล นำผลที่ปาดแล้วมาเรียงเป็นแถวๆ แบบสลับฟันปลา โดยให้ส่วนที่ปาดอยู่ด้านบน

การคลุมผลมะพร้าว ส่วนใหญ่นิยมใช้ขุยมะพร้าวคลุมผลเพื่อรักษาความชื้น
การรดน้ำ ควรรดน้ำให้ชุ่มชื้นและมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอตลอดเวลา
การย้ายต้นกล้า ควรให้ต้นกล้ามีความแข็งแรงก่อน

มะพร้าวกะทิ 2 พันธุ์ใหม่...ทั้งเตี้ย ทั้งหอม
นับเป็นข่าวดีที่ กรมวิชาการเกษตร ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์มะพร้าว
กะทิลูกผสมพันธุ์ใหม่ 2 พันธุ์ ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมเสนอให้คณะกรรมการวิจัยปรับ
ปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร พิจารณาประกาศเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการ
เกษตร เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เพื่อการค้า

นายสมชาย วัฒนโยธิน นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ทีมนักวิจัยเริ่มปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิที่สวนผลิตพันธุ์มะพร้าวลูกผสมคันธุลี ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี เมื่อปี 2538 โดยได้รับความร่วมมือจากสวนมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ของบริษัท อูติเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน จำกัด อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ซึ่งสนับสนุนพ่อพันธุ์มะพร้าวกะทิสายพันธุ์แท้ 1 พันธุ์จำนวน 44 ต้น นำมาผสมกับแม่พันธุ์มะพร้าว 5 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์น้ำหอมสายพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย สายพันธุ์มลายูสีแดงต้นเตี้ย สายพันธุ์ทุ่งเคล็ด และสายพันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง พันธุ์ละ 100 ต้น

สำหรับสายพันธุ์ YDK เป็นมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิระหว่างมลายูสีเหลืองต้นเตี้ย
(พันธุ์แม่) กับมะพร้าวกะทิสายพันธุ์แท้ (พันธุ์พ่อ)มีลักษณะเด่น คือ ออกจั่นและ
ติดผลเร็วขณะที่ต้นเตี้ย (สูงจากพื้นที่ดินประมาณ 50-60 เซนติเมตร) หลัง
ปลูกประมาณ 4 ปี ก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 1,902 ผล/
ไร่/3 ปีแรก (ช่วงอายุ 4-7 ปี)คิดเป็นรายได้ 28,008 บาท/ไร่ ถ้าแหล่ง
ปลูกปลอดจากมะพร้าวธรรมดา จะมีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะ
ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 34,002 บาท/ไร่ ขึ้นอยู่กับระบบการจัด
การสวน

ส่วนสายพันธุ์ NHK เป็นมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิระหว่างพันธุ์น้ำหอม (พันธุ์แม่)
กับกะทิสายพันธุ์แท้ (พันธุ์พ่อ) มีลักษณะเด่น คือ ออกจั่นเร็ว ให้ผลผลิตเป็น
มะพร้าวกะทิที่มีกลิ่นหอมทั้งน้ำและเนื้อ จำนวน 55% ของจำนวนต้นที่ปลูก โดยให้
ผลผลิตเฉลี่ย 1,064 ผล/ไร่/3 ปีแรก (อายุ 4-7 ปี) ซึ่งต้นมะพร้าวลูก
ผสมกะทิจำนวนดังกล่าว สามารถใช้พัฒนาพันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยได้โดย
ใช้เทคนิคการผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ และใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงคัพภะ
(Embryo culture) เข้ามาช่วยในการเพาะเลี้ยงผลมะพร้าวกะทิน้ำหอม ก็
จะได้ต้นพันธุ์มะพร้าว กะทิน้ำหอม 100%

กรมวิชาการเกษตรจะประกาศให้มะพร้าวลูกผสมกะทิพันธุ์ใหม่ทั้ง 2 สายพันธุ์ เป็น
พันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรภายในปี 2553 นี้ พร้อมส่งเสริมให้
เกษตรกรนำไปปลูกเพื่อการค้าเพื่อเพิ่มรายได้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ปัจจุบันอยู่
ระหว่างเร่งผลิตต้นพันธุ์มะพร้าวกะทิลูกผสมพันธุ์ใหม่ทั้ง 2 พันธุ์ โดยใช้พื้นที่กว่า
80 ไร่ เพื่อรองรับความต้องการของเกษตรกรที่มียอดสั่งจองต้นพันธุ์เข้ามา
แล้วกว่า 20,000 ต้น ขณะเดียวกันยังมีแผนขยายผลการวิจัยพัฒนาและปรับปรุง
พันธุ์ต่อ เพื่อให้ได้พันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยซึ่งเป็นพันธุ์แท้ต่อไป

หากสนใจเกี่ยวกับมะพร้าวกะทิลูกผสมพันธุ์ใหม่ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-0583 ต่อ
135 หรือ สวนผลิตพันธุ์มะพร้าวลูกผสมคันธุลี ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี โทร.
0-7738-1963.

***********************************************************


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/01/2024 2:43 pm, แก้ไขทั้งหมด 11 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 30/01/2024 10:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
24. องุ่น นอกฤดู :
เกร็ดความรู้เรื่ององุ่น :
การบังคับองุ่นนอกฤดู

การบังคับให้องุ่นออกดอกนอกฤดูนั้น เกษตรกรมักจะปฏิบัติหลังจากที่ได้เก็บผลไปแล้ว โดยที่เกษตรกรจะต้องมีการบำรุงต้นให้มีความสมบูรณ์ มีการสะสมอาหารได้เพียงพอ และมีการป้องกันโรค แมลง เพื่อองุ่นจะได้มีความพร้อมและความสมบูรณ์ในการออกดอก ออกผล

1. หลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรเสร็จแล้ว เกษตรกรควรปล่อยให้ต้นองุ่นโทรมประมาณ 15-30 วัน แล้วจึงใส่ปุ๋ย โดยในตอนแรกใส่ปุ๋ยคอก พร้อมทั้งปุ๋ยน้ำทางในสูตรที่มีตัวกลางสูง เช่น สูตร 11-22-11 ฉีดพ่น 1 ครั้ง พร้อมทั้งเตรียมลอกเลนขึ้นจากท้องร่อง และตบแต่งคันร่องเพื่อรอ
การตัดแต่งกิ่ง

2. การตัดแต่งกิ่งองุ่นจะตัดเอากิ่งแขนงหรือกิ่งสาขาให้สั้นลง และให้มีตาองุ่นบนกิ่งแก่ และตัดกิ่งที่แพร่กระจายทับกันออก โดยให้เหลือตาองุ่นไว้จำนวนหนึ่ง ซึ่งถ้าเป็นพันธุ์ไวท์มะละกาให้มีตาเหลือไว้ประมาณ 5-7 ตาต่อกิ่ง แต่ถ้าเป็นพันธุ์คาร์ดินัล ให้เหลือแค่ 3-5 ตาต่อกิ่งเท่านั้น

3. เมื่อตัดแต่งกิ่งเสร็จเกษตรกรควรให้ปุ๋ยน้ำที่มีธาตุอาหารหลักคือ เอ็น พี เค ให้สูตรตัวหน้าสูงเพื่อช่วยเร่งตาองุ่นให้ออกเร็วขึ้น เช่น ใช้สูตร 20-10-10 หรือสูตรอื่นที่ใกล้เคียงกันในอัตรา 70 กิโลกรัมต่อไร่ หรือขนาดร่อง 5 ตารางวาต่อปุ๋ย 10 กิโลกรัม โดยหว่านให้ทั่วทั้งร่อง การใส่ปุ๋ย ควรเลือกเวลาตอนบ่ายหรือตอนเช้าในขณะที่แสงแดดไม่แรงมากนัก หลังจากหว่านปุ๋ยแล้วต้องรดน้ำเพื่อให้ปุ๋ยละลายและรากขององุ่นจะดูดซึมเพื่อไปเลี้ยงลำต้นได้เร็วขึ้น
การปลูกองุ่นนอกฤดู

4. ในระยะ 2-3 วันแรกหลังตัดแต่งกิ่งสำเร็จ ให้เกษตรกรฉีดปุ๋ยน้ำทางใบสูตร คือ กลางสูง เช่นสูตร 11-22-11 และอาหารเสริมทางใบ เพื่อเร่งให้องุ่นแทงช่อดอกออกมาพร้อมกับใบ โดยทำการฉีด 5-7 วันต่อครั้ง การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้กับองุ่นนั้นจะมีประสิทธิภาพดีกว่าการให้ทางดิน และเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายเกษตรกรอาจจะผสมยาฆ่าแมลงและยาป้องกันกำจัดโรคราลงได้ด้วยก็ได้

5. หลังจากที่ได้ตัดแต่งกิ่งประมาณ 15-20 วัน ตาขององุ่นก็จะแตกใบใหม่ออกมาให้เห็น ถ้าเป็นฤดูร้อนและในฤดูฝนตาจะแตกเร็วกว่าประมาณ 15 วัน แต่ถ้าเป็นฤดูหนาว ตาจะแตกใบอ่อนช้าออกไปอีกประมาณ 20 วันขึ้นไป และโดยธรรมชาติขององุ่นเมื่อตาแตกใบอ่อนออกมาแล้ว ช่อดอกจะแทงออกมาด้วย ในขณะที่ดอกองุ่นกำลังบานหรือติด เกษตรกรอาจเด็ดตาดอกที่ไม่มีดอกทิ้งก็ได้ เพื่อไม่ให้องุ่นมีใบมากในช่วงนี้

6. หลังจากที่องุ่นแทงช่อดอกออกประมาณ 16-17 วัน เกษตรกรอาจจะเพิ่มคุณภาพขององุ่น โดยใช้ฮอร์โมน จิบเบอเรลลิน, เอ็นเอเอ. หรืออาหารเสริมทางใบ เพื่อยืดช่อดอกองุ่นให้ยาวใหญ่ขึ้น แต่การใช้ฮอร์โมนยืดช่อดอก เกษตรกรจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และต้องรู้จักวิธีการใช้ เพราะหากใช้ผิดพลาดแล้วจะเกิดผลเสียหายต่อดอกและผลองุ่น เช่น ดอกยาวเกินไป ดอกร่วง หรือทำให้องุ่นไม่ติดผลได้

7. เมื่อองุ่นติดผล การปฏิบัติดูแลรักษาตามปกติ และโดยเฉพาะการฉีดยาป้องกันกำจัดโรค แมลง จะต้องกระทำสม่ำเสมอ อาทิตย์ละครั้ง หรืออาจจะฉีดพร้อมกับการให้อาหารเสริมทางใบด้วยก็ได้ จนกระทั่งผลองุ่นโตเต็มที่ เพื่อรอการเก็บเกี่ยวผลต่อไป

ขั้นตอนปฏิบัติในการบังคับให้องุ่นออกดอกนอกฤดูกาล :
การบังคับให้องุ่นออกดอกนอกฤดูกาลชาวสวนมักจะมีการปฏิบัติหลังจากที่ได้เก็บ ผลไปแล้ว โดยที่ชาวสวนจะต้องมีการบำรุงต้นให้มีความสมบูรณ์ มีการสะสมอาหารได้เพียงพอ และมีการป้องกันโรค แมลง เพื่อองุ่นจะได้มีความพร้อมและความสมบูรณ์ในการออกดอก ออกผลต่อไป

***ภายหลังจากที่ได้เก็บเกี่ยวผลเสร็จแล้ว ชาวสวนจะปล่อยให้ต้นองุ่นโทรมประมาณ 15-30 วัน แล้วจึงใส่ปุ๋ย โดยในตอนแรกใส่ปุ๋ยคอก พร้อมทั้งปุ๋ยน้ำทางในสูตรที่มีตัวกลางสูง เช่น สูตร 11-22-11 ฉีดพ่น 1 ครั้ง พร้อมทั้งเตรียมลอกเลนขึ้นจากท้องร่อง และตบแต่งคันร่องเพื่อรอการตัดแต่งกิ่ง

***การตัดแต่งกิ่งองุ่นจะตัดเอากิ่งแขนงหรือกิ่งสาขาให้สั้นลง และให้มีตาองุ่นบนกิ่งแก่ และตัดกิ่งที่แพร่กระจายทับกันออก โดยให้เหลือตาองุ่นไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อจะได้แตกตาดอกและเจริญเป็นดอกเป็นผลต่อไป ซึ่งถ้าเป็นพันธุ์ไวท์มะละกาให้มีตาเหลือไว้ประมาณ 5-7 ตาต่อกิ่ง แต่ถ้าเป็นพันธุ์คาร์ดินัล จะตัดให้เหลือแค่ 3-5 ตาต่อกิ่งเท่านั้น

***เมื่อตัดแต่งกิ่งเสร็จชาวสวนองุ่นจะให้ปุ๋ยน้ำที่มีธาตุอาหารหลัก คือ เอ็น พี เค (n p k) ให้สูตรตัวหน้าสูงเพื่อช่วยเร่งตาองุ่นให้ออกเร็วขึ้น เช่น ใช้สูตร 20-10-10 หรือสูตรอื่นที่ใกล้เคียงกันในอัตรา 70 กิโลกรัมต่อไร่ หรือขนาดร่อง 5 ตารางวาต่อปุ๋ย 10 กิโลกรัม โดยหว่านให้ทั่วทั้งร่อง การใส่ปุ๋ย ควรเลือกเวลาตอนบ่ายหรือตอนเข้าในขณะที่แสงแดดไม่แรงมากนัก หลังจากหว่านปุ๋ยแล้วต้องรดน้ำเพื่อให้ปุ๋ยละลายและรากขององุ่นจะดูดซึม เพื่อไปเลี้ยงลำต้นได้เร็วขึ้น

***ในระยะ 2-3 วันแรกหลังตัดแต่งกิ่งสำเร็จ ให้ฉีดปุ๋ยน้ำทางใบสูตร คือ กลางสูง เช่น สูตร 11-22-11 และอาหารเสริมทางใบ เพื่อเร่งให้องุ่นแทงช่อดอกออกมาพร้อมกับใบ โดยทำการฉีด 5-7 วันต่อครั้ง การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้กับองุ่นนั้นจะมีประสิทธิภาพดีกว่าการให้ทางดิน และเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายชาวสวนอาจจะผสมยาฆ่าแมลงและยาป้องกันกำจัดโรครา ลงได้ด้วยก็ได้ ชนิดของสารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัดเชื้อราในสวนองุ่นที่ได้ผลดีได้แก่สารที่ มีส่วนผสมของกำมะถันผงหรือสารประกอบทองแดง เช่น โซเน็บ มาเน็บ หรือยาที่มีธาตุสังกะสีเป็นองค์ประกอบ เช่น แคปแทน 50 ออร์โธไซด์ หรือ ไดเทนเอ็น 45 ส่วนยาฆ่าแมลงที่ใช้ได้ผลก็มีหลายชนิด และมีฤทธิ์การทำลายที่แตกต่างกันไป มีทั้งราคาถูกและราคาแพง ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาและการตัดสินใจของชาวสวนเอง อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะทำการผสมสารต่าง ๆ ลงไปพร้อมกัน ชาวสวนควรศึกษาให้ละเอียดถึงการเข้ากันได้หรือไม่ได้ของสารเคมีเสียก่อน เพราะมิฉะนั้นแล้วการใช้สารครั้งนั้นอาจจะไม่ได้ผลหรือได้ผลในแง่ลบได้

***ภายหลังจากที่ได้ตัดแต่งกิ่งไปได้ประมาณ 15-20 วัน ตาขององุ่นก็จะแตกใบใหม่ออกมาให้เห็น ถ้าเป็นฤดูร้อนและในฤดูฝนตาจะแตกเร็วกว่าประมาณ 15 วัน แต่ถ้าเป็นฤดูหนาว ตาจะแตกใบอ่อนช้าออกไปอีกประมาณ 20 วันขึ้นไป และโดยธรรมชาติขององุ่นเมื่อตาแตกใบอ่อนออกมาแล้ว ช่อดอกจะแทงออกมาด้วย ในขณะที่ดอกองุ่นกำลังบานหรือติด ชาวสวนอาจพิจารณาเด็ดตาดอกที่ไม่มีดอกทิ้งบ้าง ทั้งนี้เพื่อไม่ให้องุ่นมีใบมากในช่วงนี้

***หลังจากที่องุ่นแทงช่อดอกออกมาแล้วประมาณ 16-17 วัน ชาวสวนอาจจะเพิ่มคุณภาพขององุ่น โดยใช้ฮอร์โมน จิบเบอเรลลิน, เอ็น.เอ.เอ. หรืออาหารเสริมทางใบ เพื่อยืดช่อดอกองุ่นให้ยาวใหญ่ขึ้น แต่การใช้ฮอร์โมนยืดช่อดอก ชาวสวนจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และต้องรู้จักวิธีการใช้ เพราะหากใช้ผิดพลาดแล้วจะเกิดผลเสียหายต่อดอกและผลองุ่น เช่น ดอกยาวเกินไป ดอกร่วง หรือทำให้องุ่นไม่ติดผลได้

***เมื่อองุ่นติดผลไปแล้ว ก็มีการปฏิบัติดูแลรักษาตามปกติ และโดยเฉพาะการฉีดยาป้องกันกำจัดโรค แมลง จะต้องกระทำสม่ำเสมอ อาทิตย์ละครั้ง หรืออาจจะฉีดพร้อมกับการให้อาหารเสริมทางใบด้วยก็ได้ จนกระทั่งผลองุ่นโตเต็มที่ เพื่อรอการเก็บเกี่ยวผลต่อไป

************************************************************

ความรู้เรื่อง ซี. กับ เอ็น. :
- ปกติ ซี. หมายถึง คาร์บอน. ซึ่งเป็นก๊าซตัวหนึ่ง เมื่อเข้ามาเกี่ยวกับพืช ซี.นอกจากจะหมายถึงคาร์บอน. แล้ว ยังเกี่ยวโยงไปถึงคาร์โบไฮเดรต. อีกด้วย คาร์โบไฮเดรต. คือ แป้ง

.... ต้นไม้ผลจะออกดอกได้ต้องมี “แป้งและน้ำตาล” สะสมไว้มากๆ
.... ภาษาชาวสวนเรียกว่า “สะตามดอก” ในขณะที่ภาษาวิชาการเรียกว่า “สะสมแป้งและน้ำตาล”

- ในการสังเคราะห์ด้วยแสง พืชจะเปลี่ยน พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานเคมี บางส่วนถูกใช้ไป บางส่วนถูกเก็บสะสมในรูปคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะถ่ายทอดไปตามห่วงโซ่อาหาร

- เอ็น. คือ ไนโตรเจน ซึ่งมีอยู่ในน้ำเป็นหลัก กับอีกส่วนหนึ่งมีอยู่ในปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี

- นักชีววิทยาจึงมักเลี้ยงพืชบางชนิดไว้ในเรือนกระจกที่แสงผ่านเข้าได้มากๆ แล้วให้ คาร์บอน ไดออกไซด์.มากขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งมีผลทำให้พืชมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มมากขึ้น อาหารเกิดมากขึ้น จึงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ออกดอกออกผลเร็ว และออกดอกออกผลนอกฤดูกาลก็ได้

หลักการและเหตุผล :
- จากหลักการที่ว่า จะเปิดตาดอกในไม้ผลยืนต้นให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ไม้ผลต้นนั้นจะต้องได้รับการบำรุงทั้งสารอาหารกลุ่ม ซี. (กลุ่มสร้างดอก-ผล) และสารอาหารกลุ่ม เอ็น. (กลุ่มสร้างใบ-ต้น) ทั้งสองกลุ่มเท่าๆ กัน ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ก่อน ทั้งนี้สังเกตุจากสภาพความสมบูรณ์ของต้นเป็นหลัก (ต้นไม้ต้นรพืช พูดด้วยใบ-บอกด้วยราก)

- ไม้ผลต้นที่สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม ซี. และกลุ่ม เอ็น. ไว้ในอัตราส่วน ซี. เท่ากับ เอ็น. เมื่อเปิดตาดอกจะออกทั้งดอกและใบ หรือมีดอกแซมใบ

- ไม้ผลต้นที่สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม ซี. และกลุ่ม เอ็น. ไว้ในอัตราส่วน ซี. มากกว่า เอ็น. เมื่อเปิดตาดอกจะออกดอก ไม่มีใบ ............ ซี. มากกว่า เอ็น = ดอก

- ไม้ผลต้นที่สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม ซี. และกลุ่ม เอ็น. ไว้ในอัตราส่วน ซี. น้อยกว่า เอ็น. เมื่อเปิดตาดอกจะออกเป็นใบ ไม่มีดอก .............. ซี. น้อยกว่า เอ็น = ใบ

- ไม้ผลต้นบางชนิด สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม ซี. และกลุ่ม เอ็น. ไว้ในอัตราส่วนที่เท่ากัน เมื่อเปิดตาดอกจะออกเป็นใบ ไม่มีดอก .............. ซี. เท่ากับ เอ็น. = ใบ หรือ ดอกแซมใบ

- ดังนั้น เพื่อความมั่นใจก่อนลงมือเปิดตาดอก หรือเมื่อให้ปุ๋ยสูตรเปิดตาดอกแล้ว ไม้ผลต้นนั้นจะต้องออกดอก จึงต้องมีวิธีการจัดการเพื่อปรับอัตราส่วนระหว่าง ซี. กับ เอ็น. อย่างถูกต้อง นั่นคือ ปรับเพิ่ม ซี. และปรับลดเอ็น

สรุป :
- ซี. ได้แก่ P. K. (ในธาตุหลัก), Ca. Mg. S. (ในธาตุรอง), Fe. Cu. Zn. Mn, Mo. Si. Na (ในธาตุเสริม)

- เอ็น. ได้แก่ N. (ในธาตุหลัก เพียงตัวเดียว)

การปฏิบัติดังนี้
- เปิดหน้าดินโคนต้นจนถึงพื้นให้แสงแดดส่องทั่วบริเวณทรงพุ่ม
- ใส่ปุ๋ยทางราก 8-24-24 (2 กก.) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. โดยละลายน้ำราดรดบริเวณชายพุ่มพอหน้าดินชื้น จากนั้นงดให้น้ำเด็ดขาด

- ให้ปุ๋ยทางใบสูตร "0-42-56 (400-500 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม (100 ซีซี.) + น้ำ 100 ล." สลับครั้งกับ "นมสด หรือ กลูโคส" (นมสด ซี/เอ็น เรโช เท่ากับ 39 : 1.... กลูโคส คือ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว) แต่ละครั้งห่างกัน 5-7 วัน ช่วงเช้าแดดจัด ฉีดพ่นพอเปียกใบ ไม่ควรให้ลงถึงพื้นโคนต้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำ

- เทคนิคการรมควันโคนต้นช่วงหลังค่ำระหว่างเวลา 19.00-20.00 ครั้งละ 10-15 นาที รวม 2-3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2-3 วัน ก็เป็นการเสริม ซี. อีกทางหนึ่ง

- ลักษณะอาการของต้นไม้ผลที่แสดงว่าการปรับเพิ่ม ซี. และปรับลด เอ็น. ได้ผลก็คือ ใบยอดคู่สุดท้ายที่ปลายกิ่งแก่จัด เขียวเข้ม ใบแก่โคนกิ่งเส้นใบหนานูน เนื้อใบหนาส่องแดดไม่ทะลุ หูใบอวบอ้วน ข้อระหว่างใบสั้น กิ่งเปราะ

.... ด้วยมาตรการงดน้ำเด็ดขาดนี้ จะให้ต้นเกิดอาการใบสลด ให้สังเกตุอาการใบสลด ถ้าใบเริ่มสลดเมื่อเวลาประมาณ 11.00 น. - 12.00 น. แล้วเริ่มชูตั้งตรงอย่างเดิมราว 16.00 น. ติดต่อกัน 3 วัน ให้ลงมือเปิดตาดอกด้วยสูตรเปิดตาดอก (ให้ทั้งทางใบและทางราก) ได้ทันที

.... แต่ถ้าใบสลดช่วงประมาณบ่ายโมงแล้วกลับชูตั้งตรงอย่างเดิมก่อน 16.00 น. ถือว่ายังไม่พร้อมจริง ให้งดน้ำควบคู่กับให้ทางใบต่อไป

.... ปัญหาการงดน้ำไม่ได้ผลประการหนึ่ง คือ น้ำใต้ดินโคนต้น ซึ่งจะต้องหามาตรการป้องกันหรือควบคุมให้ได้

************************************************************

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/09/2024 5:16 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 30/01/2024 11:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ยาฆ่าหญ้า :
** ยาฆ่าหญ้ามีโทษต่อหญ้าได้ก็ต้องมีโทษต่อผักหวานได้เหมือนกัน หญ้าใช้ปากใบดูดยาฆ่าหญ้าเข้าไปในตัวเอง ปากใบผักหวานก็ดูดยาฆ่าหญ้าเช่นกัน ... ถามว่า ยาฆ่ายาเป็นสารอาหารหรือสารพิษสำหรับผักหวาน มุ่งฆ่าหญ้าแต่ไม่ห่วงผักหวาน เท่ากับเผาบ้านฆ่าหนู

** ยาฆ่าหญ้าถูกดูดซึมเข้าไปในเนื้อหญ้า เมื่อหญ้าเน่าสลาย สารพิษในยาฆ่าหญ้าก็จะออกมาปนเปื้อนอยู่ในดินด้วย นอกจากฆ่าจุลินทรีย์ในดินแล้ว ยังส่งผลเสียต่อต้นผักหวานอีกด้วย

** ยาฆ่าหญ้าเป็นกรดจัด (คนขายไม่เคยบอก คนใช้ไม่เคยถาม) เป็นพิษอย่างรุนแรงต่อจุลินทรีย์ในดิน

** ยาฆ่าหญ้าระบุอัตราใช้ "1 ฝา/น้ำ 20 ล" ผู้ใช้ใส่ 1 ฝาไม่รู้เรือง, ใส่ 2 ฝาไม่ดี, ใส่ 3 ฝายังไม่ได้ผล, ใส่ 4 ฝาทำท่าจะได้ผล ว่าแล้วใส่ 5 ฝาคราวนี้ได้ผล .... สาเหตุที่ 5 ฝาได้ผลเพราะ ฝาที่ 1-2-3-4 ช่วยปรับ พีเอช.น้ำให้เป็นกรดอ่อนๆก่อนไง แบบนี้ทำให้สิ้นเปลืองมากขึ้น 400% ไหม ? แบบนี้ใครรวย ใครฉิบหาย .... ถ้าใช้น้ำส้มสายชูในครัวปรับค่า พีเอช.น้ำซะก่อนล่ะ จะประหยัดกว่าไหม ? .... งานอย่างนี้ อั้ยคนขายยาฆ่าหญ้าไม่เคยบอก คนใช้ไม่ได้เรียนวิชาเคมีก็ไม่เคยถามลูก ทูนหัวทูนกระหม่อมลูกเรียนวิชาเคมีมาแล้วก็ไม่พูด

** ยาฆ่าหญ้าเป็นกรด + น้ำที่ใช้ผสมเป็นด่าง....งานนี้ กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ .... เกลือ + น้ำ ภาษาวิชาเคมีบอกว่าเป็น "กลาง" แต่บ้าน ก. บอกว่า "เสื่อม" ว่ะ...

** ใช้ยาฆ่าหญ้าอย่างถูกวิธี .... “น้ำ 20 ล. + น้ำส้มสายชู 20-30 ซีซี. + ยาฆ่าหญ้า ครึ่งหนึ่ง ของอัตราใช้ที่ระบุในฉลาก" ฉีดพ่นตอนสายแดดจัด ช่วง 10 โมงเช้าถึงเที่ยง

** ยาฆ่าหญ้าทำได้เพียงใบหญ้าไหม้ แล้วก็ได้ผลเพียงระยะสั้นๆเท่านั้น ไม่ช้าไม่นาน ไม่เกิน 1-2 เดือนก็จะแตกยอดใหม่ โตกว่าเก่า งามกว่าเก่า .... เคยสังเกตุไหม ?

** ใช้ยาฆ่าหญ้าแล้ว 3 วัน ใบหญ้าเริ่มโชว์อาการใบไหม้แน่นอนแล้ว ให้ถอนพิษยาฆ่าหญ้า โดยใช้ “น้ำ 20 ล. + น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (50 ซีซี.)” ฉีดทับหญ้าโชกๆ ให้ 2 รอบ ห่างกัน 5 วัน .... จุลินทรีย์ในน้ำหมัก นอกจากช่วยสลายพิษยาฆ่าหญ้าแล้ว ยังช่วยฟื้นฟูจุลินทรีย์ประจำถิ่น และเป็นปุ๋ยบำรุงต้นผักหวานอีกด้วย


กำจัดหญ้าอย่างบูรณาการ (ทุกพืช หลักการเดียวกัน) :
1. ตัดหญ้าเหลือแต่ตอก่อน รอให้แตกยอดใหม่แล้วใช้ “น้ำหมักสับปะรด เข้มข้น” แทนยาฆ่าหญ้าที่เป็นสารเคมีได้

2. ทำให้ดินร่วนโดยใส่ ยิบซั่ม. ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, ขี้วัวแกลบดิบ. น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, เมื่อดินร่วนแล้วใช้วิธี “ถอนด้วยมือ” บรรดา “ราก/หัว/เหง้า/ไหล” ของหญ้าจะหลุดขึ้นมา ไม่ขาดเหลือค้างให้งอกใหมได้อีก ถอนครั้งหนึ่งหญ้าไม่ขึ้นใหม่นานนับปี แปลงผักหวาน 365 ร่อง ถอนวันละร่องๆ ยังได้ .... ถอนขึ้นมาแล้วไม่ต้องเอาออกแต่ทิ้งไว้คุลมหน้าดิน .... เกมส์นี้ได้ 3 เด้ง ได้สารอาหารพืช ได้ดินร่วน ได้กำจัดวัชพืช

3) เลี้ยงห่าน .... ห่านดินกินหญ้า ห่านฟ้ากินยุง เริ่มจากทำรั้วป้องกันหมา (หมากินห่าน) แล้วปล่อยห่าน 10 ตัว/ไร่ แรกๆถ้าหญ้า สูง/แน่น มากๆ ให้ตัดก่อน เมื่อหญ้าแตกหน่อใหม่ห่านจะกินง่ายขึ้น ลองซี่ใน 3 เดือน หญ้าในแปลงหมด ห่านยังไม่โต ต้องไปหาหญ้าจากที่อื่นมาให้ห่านกิน .... เกมส์นี้ได้ 6 เด้ง ได้ปุ๋ยคอกขี้ห่าน, ได้จุลินทรีย์ย่อยสลายวัชพืช, ได้ดินร่วน, ได้กำจัดวัชพืช, ได้ห่าน, ได้ดินดี เปลี่ยนผักหวานเป็นปลูกอะไรก็ได้

หมายเหตุ :
- หญ้ามีประโยชน์ ช่วยสร้างความชุ่มชื้นผิวดิน
- หญ้าเป็นแหล่งอาศัยของจุลินทรีย์อย่างดี

- หญ้าแย่งอาหาร-หญ้าแย่งอาหาร แย่งเท่าไหร่เชียว หญ้าโตขึ้นมาตัดแล้วปล่อยให้เน่าสลาย ก็จะได้ปุ๋ยที่หญ้าเอาไปคืนมาแล้ว

- ดินตาย ดินเสีย เพราะยาฆ่าหญ้านี่แหละ ทั้งทำให้เสียโดยตรงและโดยอ้อม หญ้ามีประโยชน์ ทำไมไม่พิจารณาเอาส่วนที่เป็นประโยน์มาใช้

**** สวนนะ ไม่ใช่ลานวัด ต้องเลี่ยนเตียนโล่ง

- ถังฉีดพ่น เอาไปฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าแล้วเอามาผสม ปุ๋ย/ฮอร์โมน ฉีดพ่น ใบพืชจะไหม้เพราะยังมีฤทธิ์ยาฆ่าหญ้าตกค้าง จึงไม่ควรใช้ถังเดียวกัน แต่ถ้าจะใช้ถังเดิม ให้แช่ถังฉีดพ่นด้วยน้ำเกลือเข้มข้นก่อน นาน 2-3 วัน เพื่อสลายฤทธิ์ยาฆ่าหญ้า .... ใครไม่เชื่อ ลองซี่


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11635

ตอบตอบ: 20/09/2024 9:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
THANK YOU VERY VERY & VERYRY MUCH ....


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©