ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 15/05/2019 6:16 am ชื่อกระทู้: * ซี วิ ด....ปิ้ น ปั๊ บ |
|
|
.
.
******************************************
......................... ซี วิ ด ....... ปี้ น ปั๊ บ .......................
............. A MAN CALLSIGN KIM ZA GASS ...........
******************************************
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2024 7:54 am, แก้ไขทั้งหมด 60 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 15/05/2019 6:17 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
.... ลำดับเรื่อง ....
1. เกริ่น
2. การศึกษาสายสามัญ
3. การศึกษาสายทหาร
4. ประวัติราชการทหาร
5. ตำแหน่งราชการ
6. เครื่องราชอิสริยาภรณ์
7. ราชการสงคราม
8. ความสามารถเฉพาะตัว
9. ผลงานส่งเสริมการเกษตร
10. รางวัลเกียรติยศ
11. กำเนิดรายการสีสันชีวิตไทย
12. ปรามาส
13. ON AIR วิทยุวันแรก
14. หนังสือ ยิ่งกว่ามหาลัย
15. สึกฤกษ์นเรศวรออกศึก
16. สำคัญที่ใจ
17. แรกงานวิทยุเกษตร
18. ผักปลอดสาร ไม่รู้จักสมุนไพร
19. ชมพู่อั้ยเล็ก
20. สาบเสือ ไม้ 500 ชื่อ
21. มะม่วงขาวนิยม
22. หูชา
23. กล้วยแต่ไม่กล้วย
24. งานส่งเสริมการเกษตร
25. ซื้อ ทุเรียน-ขนุน หน้าฝน
26. ทหารขี้อิจฉา
27. ขายถูกต้อง ได้เงิน+บุญ
28. ขนุนยกลูก ใครซื้อ
29. ข้าว 9 เมล็ด ปลูกได้ 30 ไร่
30. นายให้ไปเรียนเสธ.
31. ปัจจัยพื้นฐานการเกษตร
32. รู้ VS ไม่รู้
33. ส่งเสริมสไตล์ไร่กล้อมแกล้ม
34. มิติเกษตร
35. แพ้/ชนะ ที่โอกาส
36. เกษตร สปปล.
37. ปัญหามีให้แก้ ไม่ใช่มีให้กลุ้ม
38. ต้นทุนเกษตร
39. THAILAND ประเทศเกษตร ไม่สอนทำปุ๋ย
40. THAILAND ประเทศเกษตร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
41. เรียน = รู้..ไม่เรียน = รู้
42. นา-ข้าว vs ข้าว-นา
43. ปุ๋ยอินทรีย์ ข้อดี/ข้อด้อย
44. ปุ๋ยเคมี ข้อดี/ข้อด้อย
45.วารสารเกษตรใหม่
46. เรื่อง เป็นเรื่อง VS ไม่เป็นเรื่อง
47. สมการปุ๋ยเคมี
48. สมการสารสมุนไพร
49. สมการปุ๋ยอินทรีย์
50. ลด-ละ-เลิก สารเคมี
51. ปฏิทิน ลด-ละ-เลิก สารเคมี
52. แนวทางลดต้นทุน (นาข้าว)
53. ประสิทธิภาพสปริงเกอร์
54. สปริงเกอร์สั่งได้
55. เปรียบเทียบสปริงเกอร์
56. เกษตรโลก
57. แรงบันดาลใจ
58. 1 ปี .... ขาย 1 vs 12 ครั้ง
59. นาข้าว
60. ชาวนา คิดใหม่ทำใหม่
61. ปุ๋ยนาข้าว
62. ข้าวหอมพันธุ์พื้นบ้าน
63. ข้าวพันธุ์ GI.
64. งานส่งเสริมเกษตรในฝัน
65. MADE IN THAILAND
66. โรคมีเชื้อ
67. โรคไม่มีเชื้อ
68. เทคโนฯ เครื่องทุ่นแรง-1
69. เทคโนฯ เครื่องทุ่นแรง-2
70. นา 2 รุ่น ล้างหนี้ 1 ล้าน เหลือ 2 ล้าน
71. เกษตรทาง ทีวี.
72. สารเคมียาฆ่าแมลง
73. ขั้นตอนบำรุงไม้ผลยืนต้น
74. บำรุงไม้ผลตามระยะ
75. ตรวจสอบจุลินทรีย์น้ำ
76. รู้ลึกเรื่องปุ๋ย
77. ปุ๋ย-จุลินทรีย์
78. รูปแบบแปลงเกษตร
79. เกษตรพอเพียง
80. เกษตร SMART FARM
81. นวัตกรรมเกษตร
82. ปุ๋ยทางใบ
83. ปุ๋ยทางดิน
84. ลักษณะพืชขาดธาตุอาหาร
85. สารพัดสูตรสารสมุนไพร
86. สัญชาติญาณแมลงศัตรูพืช
87. ขายข้าว 1 แสน เหลือเงิน 40 บาท
88. เกษตรต่างแดน
89. เกษตรธรรมชาติ คิวเซ
90. เกษตรเกษตรอิสราเอล
91. เกษตรไต้หวัน
92. เกษตรเกาหลี
93. เกษตรสิงค์โปร์
94. เกษตรมาเลเซีย
95. เกษตรออสเตรเลีย
96. เกษตรเยอรมัน
97. เกษตรอเมริกา
98. เกษตรญี่ปุ่น
99. เกษตร AEC.
100. ปรัชญาเกษตร
101. ใครเป็นครูของลุงคิม ?
102. แคลเซียม โบรอน ทำเอง (1)
103. ปรับ C/N RATIO
104. บัญชีข้างฝา
105. THAILAND ประเทศเกษตร งบฯ ส่งเสริมการเกษตร
106. THAILAND ประเทศเกษตร เทคโนเฉพาะการเกษตร
107. THAILAND ประเทศเกษตร ส่งเสริม วิจัย/ผลิต/ใช้/ซื้อ/ขาย/แจก
108. ประสบการณ์ตรงสารสมุนไพร
109. ไม่ขายทหาร (1)
110. กำเนิด KIM ZA GASS
111. ไม่เป็น พ.อ.
112. ไปราชการพิเศษ พัน.นนส.
113. นนส.ป. สวนสนาม ลพบุรี
114. ไปราชการลับพิเศษ
115. เผาเมืองปากซัน
116. ล่องโขง งมหอย
117. รับม้ง ภูหมาเฒ่า ภูเขาควาย
118. ผกค.ไทยในลาว
119. ม้งสู่ประเทศที่ 3
120. ผวจ.หนองคาย VS เวียงจันทน์
121. เรือโซเวียตหลุดมาไทย
122. ลาวขอตัวท้าวคำเกิด
123. นักย่อยข่าว
124. ปา เก๊า เย้ากู้ชาติ
125. สายลับ เบอเลอะ เบอเต๋อ
126. สมุนไพรไม่แรง
127. 20 ปี ไม่รวย
128. ศึกร่มเกล้า
129. แฟนนิยาย KIM ZA GASS
130. เข็ม ปปร.
131. สายลับ VS หลวงพ่อ
132. VISION สร้างประเทศ (1)
133. HOTLINE นาข้าว กับ ยูเรีย
134. ทุเรียนนนท์
135. ทุเรียนจันท์
136. ทุเรียนเขาคิชกูฎ
137. การตลาดนำการผลิต
138. สารสมุนไพร ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
139. โชคชน
140. รางวัลเกียรติยศ
141. ชิงตัวนักเขียน
142. ลิขสิทธิ์งานเขียน
143. งานเขียน ไทย VS อเมริกา
144. จบเกมส์วารสารเกษตรใหม่
145. อยากเป็นนักเขียน
146. ตาย 1 เกิด 10
147. ไม่ขายทหาร (2)
148. CORRUPTION ไม่เป็น
149. งานสัญจร คนล้นงาน
150. ประสบการณ์มะนาว
151. ผักกางมุ้ง
152. อาถรรพ์ RKK
153. โรคกล้วยไม้
154. ซื้อที่ดิน RKK
155. หมอใหญ่ VS เกษตรกร
156. ส้มโอขาวใหญ่
157. THAILAND ประเทศเกษตร (6)
158. หน่อไม้ฝรั่ง
159. พิสูจน์ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/จุลินทรีย์ ทำเอง
160. ส้มเขียวหวาน
161. ลำไยนอกฤดู
162. เยือน RKK
163. มะม่วง มะม่วง และมะม่วง
164. บวชพลทหาร
165. รากวน
166. เกษตร ผสมผสาน-ผสมผเส-ปนเปสะเปะสะปะ รวย
167. ครู-นักเรียน ยุคใหม่
168. กระดุมเกษตร
169. หัวใจเกษตร
170. ปรัชญาเกษตร
171. สัจจะธรรมเกษตร
172. สีสันชีวิตไทย ภาษาไทย
173. เรียนเกษตรสไตล์สีสันชีวิตไทย
174. กับดักตัวเอง
175. อนุรักษ์ VS ส่งเสริม
176. ชาวนายุคใหม่
177. อินทรีย์ไม่ปุ๋ยเคมีไม่สารเคมี
178. นาข้าวไบโอไดนามิก
179. ส้มรังสิต
180. รด.นิติศาสตร์
181. รด.รร.วัดเขมาฯ
182. นนส.ป. สอบตก
183. รด.ขาดฝึก
184. นนส.ป. ขว้างระเบิด
185. กล้องเล็ง M.16
186. กล่องเก็บปลอก M.16
187. พลทหาร ศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย
188. รายการวิทยุ รับทหารใหม่
189. เกษตรกรวันหยุด
190. นนส.100 คน ตก 94 คน
191. วังน้อย ภารกิจเฉพาะ
192. เก่งเกิน
193. 2 ขั้น ขั้นครึ่ง
194. สถานการณ์ตัวกำหนด
195. ปรัชญาเกษตร คิดได้ไง
196. ปุ๋ยทางใบ ให้ทางใบ
197. ทำ VS ไม่ทำ
198. เกษตรไนร่ม
199. จับกวาง
แผลงแผลง แต่สร้างสรรค์
ความรู้ VS ความคิด
วิชาการ VS ประสบการณ์
ช่างสังเกตุ VS ช่างจับผิด
คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ฟันธง
เกษตรแฟนซี
คนบ้าไม่มีหนี้ คนดีหนี้เต็มบ้าน
หนี้สิน VS ทรัพย์สิน
ฯลฯ
200. ส่วนลึกของใจ
********************************************************
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/05/2023 6:42 am, แก้ไขทั้งหมด 57 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 15/05/2019 6:18 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
1. เกริ่น :
เจตนาเขียนหนังสือเล่มนี้ถือหลักภาษิตทหารม้า มีดีต้องโชว์ซิ (วะ) เหตุผล ถ้าไม่โชว์แล้วใครจะรู้ ครั้นจะรอว่า มีดีไม่ต้องบอก เดี๋ยวคนรู้เอง น่ะเหรอ ว่ามั้ย สังคมโลกนี้ ทำ 10 อย่าง สำเร็จ 9 อย่าง เงียบ ไม่มีคนพูดถึงหรอก แต่ถ้า พลาด/ล้มเหลว เพียงอย่างเดียว คนพูด พูดซ้ำ ซ้ำแล้วซ้ำอีก พูดจนเสีย ที่สำเร็จ 9 อย่างพลอยเสียไปด้วย
ก็ไม่รู้เหมือนกันนะ ทำไมเราถึงได้เจอะเจออะไรต่อมิอะไรที่ใครเขาไม่เจอเจอะกัน
บันทึก A MAN CALLSIGN KIM ZA GASS เล่มนี้ ไม่ขายแต่แจก ถามว่า แล้วต้องการอะไร ขอบอกจากใจจริงว่า ต้องการเพียงจารึกไว้ในแผ่นดินเท่านั้น....
ลำดับเรื่อง ไม่ใช่สารบรรณ แต่เป็นหมายเลข ลำดับหัวข้อเรื่อง และเรื่องต่างๆ ไม่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องประเภทเดียวกัน ก็เพราะนึกขึ้นได้คนละวัน คนละเวลา เรียกว่า วันไหนเวลาไหนนึกเรื่องอะไรได้ก็เขียนเรื่องนั้น เขียนต่อไปกันไปเรื่อยๆ
ในชีวิตจริงยังมีเรื่องจริงที่สัมผัสกับมืออีกมากเรื่อง บางเรื่องเอามาเขียนไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องประเภทคอขาดบาดตาย เรื่องโกงกินแผ่นดิน เพราะจะกลายเป็นชี้นำ ชี้โพรงให้กระรอก การไม่เขียนน่าจะ (เน้นย้ำ...น่าจะ) เป็นจรรยาบรรณ ของคนเขียน
อัตตะชีวประวัติ
2. การศึกษา สายสามัญ :
- ชั้นประถม 4 ร.ร.ชุบศรวิทยา จากโรงเรียนในค่ายทหาร ร.31 พัน 1 ร.อ. ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง จ.ลพบุรี
- ชั้นมัธยมปีที่ 6 ปี 2505 หลักสูตรมัธยมรุ่นสุดท้าย เทียบเท่ามัธยม 3 ปัจจุบัน จาก ร.ร.โคกกะเทียม วิทยาลัย อ.เมือง จ.ลพบุรี
3. การศึกษา สายทหาร :
1. หลักสูตรนักเรียนนายสิบเหล่าปืนใหญ่ รุ่นปี 2507 ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ลพบุรี
2. หลักสูตร OJT ทหารสหรัฐ ค่ายแสมสาร สัตหีบ ชลบุรี
3. หลักสูตรระเบิดแสวงเครื่อง และอาวุธนอกแบบประดิษฐ์ ศูนย์สงครามพิเศษ ลพบุรี
4. หลักสูตรปฏิบัติการจิตวิทยา ศูนย์สงครามพิเศษ ลพบุรี
5. หลักสูตรชั้นนายร้อย ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ลพบุรี
6. หลักสูตรรักษาความมั่นคงภายใน ศูนย์รักษาความปลอดภัย กทม.
7. หลักสูตรการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชาติ กรมยุทธศึกษาทหารบก กทม.
8. หลักสูตรครูการเมือง กรมกิจการพลเรือนทหารบก กทม.
9. หลักสูตรนายทหารแผนที่ปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ลพบุรี
10. หลักสูตรข่าวลับ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก กทม.
11. หลักสูตรข่าวลับ CIA สหรัฐอเมริกา อุดรธานี
12. หลักสูตรข่าวลับ กรมข่าวทหาร กองทัพบก กทม.
13. หลักสูตรชั้นนายพัน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ลพบุรี
14. หลักสูตรรบร่วม อากาศ/พื้นดิน กองทัพอากาศ ดอนเมือง กทม.
15. หลักสูตรนายทหารกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือน กองทัพบก กทม.
16. หลักสูตรนายทหารบกอาวุโส ร.ร.เสนาธิการทหารบก กทม.
17. หลักสูตรการผลิตและจัดรายการวิทยุ กรมกิจการพลเรือน กองทัพบก กทม
4. ประวัติการรับราชการทหาร :
- ปี 2507 ติดยศนักเรียนนายสิบ (ดอกจันทร์)
- ปี 2508 ติดยศสิบตรี
- ปัี 2508 ติดยศสิบโท
- ปี 2511 ติดยศสิบเอก
- ปี 2513 ติดยศจ่าสิบโท
- ปี 2514 ติดยศจ่าสิบเอก
- ปี 2518 ติดยศร้อยตรี
- ปี 2520 ติดยศร้อยโท
- ปี 2523 ติดยศร้อยเอก
- ปี 2529 ติดยศพันตรี
- ปี 2535 ติดยศพันโท
- ปี 2548 เกษียณราชการ (ด้วยยศพันโท ไม่ได้ยศพันเอก แม้ 1 ปีก่อนเกษียณเพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล ก็ไม่ได้)
5. ตำแหน่งราชการทหาร :
- พลขับ กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 3 ลพบุรี
- รอง ผบ. หมู่ ปตอ. กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 3 ลพบุรี
- ผบ.หมู่ ปตอ. กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 4 กทม.
- ผบ.หมวด ปตอ. กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 4 กทม.
- รอง ผบ.ร้อย ปตอ. กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 4 กทม.
- นายทหารการข่าว กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 4 กทม.
- นายทหารการข่าว กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยายที่ 2 กทม.
- นายทหารการข่าว ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบกที่ 1 วังน้อย อยุธยา
- นายทหารประชาสัมพันธ์ หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก กทม.
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/05/2024 7:03 am, แก้ไขทั้งหมด 11 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 16/05/2019 6:23 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
6. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ :
- เหรียญพิทักษ์เสรีชน
- เหรียญชัยสมรภูมิ (เกาหลี)
- เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
- จตุรภรณ์มงกุฎไทย
- ตริตราภรณ์มงกุฎไทย
- ตริตราภรณ์ช้างเผือก
- เข็มกาชาดบริจาคโลหิต สภากาชาด
7. ราชการสงคราม :
- ปฎิบัติราชการกองกำลังสหประชาชาติ สงครามเกาหลี
- ปฏิบัติราชการตามแผนป้องกันประเทศ หินล่องกล้า เพชรบูรณ์
- ปฏิบัติราชการตามแผนป้องกันประเทศ นาแก สกลนคร
- ปฏิบัติราชการตามแผนป้องกันประเทศ อรัญประเทศ สระแก้ว
- ปฏิบัติราชการตามแผนป้องกันประเทศ ร่มเกล้า พิษณุโลก
- ปฏิบัติราชการพิเศษ หน่วยข่าวลับ ศปก.ทบ. 309 (อ.เชียงของ เชียงราย, อ.ท่าลี่ เลย, อ.บึงกาฬ หนองคาย .)
- ปฏิบัติราชการพิเศษ ทีมสนาม ข่าวลับ ซีไอเอ. อ.เชียงของ เชียงราย
8. ความสามารถเฉพาะตัว :
- หลังจบหลักสูตรนักเรียนนายสิบ รับราชการ 1 ปี สอบแข่งขันไปสงครามเกาหลี ได้ที่ 1 ของหน่วย ได้ที่ 4 ของประเทศ
- กลับจากเกาหลีได้ยศสิบเอก ติดยศสิบเอก 2 ปี สอบเลื่อนยศเป็นจ่านายสิบได้ที่ 1 ของหน่วย
- ติดยศจ่าสิบเอก 2 ปี สอบเลื่อนยศเป็นร้อยตรี ได้ที่ 1 ของหน่วย .... รวมระยะเวลารับราชการทหาร จากยศสิบตรี ถึงยศร้อยตรีเพียง 10 ปี
- เป็นครูฝึกทหารใหม่ ปตอ.2 พัน 4 รวม 9 ปี (18 รุ่น)
- เป็นครูฝึกนักศึกษาวิชาทหาร 1 รุ่น (ร.ร.เขมาภิรตาราม) แข่งขันการฝึกได้ที่ 1 ของประเทศ
- เป็นครูฝึกนักเรียนนายสิบเหล่าปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ลพบุรี 2 รุ่น
- เป็นหัวหน้ากองเชียร์ แปรอักษร ชนะเลิศกีฬา ทบ. ทีมนักเรียนนายสิบปืนใหญ่ 2 ปี ทีม พล.ปตอ. 4 ปี
- ทหารสวนสนามสาบาลธง ที่ลพบุรี 37 หน่วย (มากกว่า กทม.) ระหว่างฝึกซ้อม กองอำนวยการฝึกบอกว่า กองพันนักเรียนนายสิบทหารปืนใหญ่ หน่วยของท่านยังใช้ไม่ได้ ให้ไปฝึกซ้อมมาใหม่.... งานนั้น กลับมา เสธ.กรมนักเรียน สั่งการต่อหน้าแถว มอบหมายให้ ร.ท.วีระ ใจหนักแน่น เป็นผู้ฝึก ทำการฝึกใหม่ทั้งหมด เมื่อถึงวันสวนสนามจริง คราวนี้หน่วยกองพันนักเรียนนายสิบทหารปืนใหญ่ทำได้ดีที่สุดของทั้ง 37 หน่วยในวันนั้น
- นักศึกษาวิชาทหาร (ร.ร.เบญจมบพิตร) ผ่านการฝึกภาคสนามไปแล้ว ย้อนกลับมาขอฝึกซ้ำ บอกว่าสนุกดี ต่อหน้า พล.ต.สุเทพ สีวะรา เสธ.นรด. (ตรวจเยี่ยมการฝึก)
- การได้ไปปฏิบัติราชการพิเศษยังหน่วยต่างๆ ผบ.ของหน่วยนั้น มาขอตัว พ.ท.วีระ ใจหนักแน่น โดยเฉพะ โดยตรงที่หน่วยต้นสังกัด ปตอ.พัน. 4 ทั้งสิ้น
- เป็นนักเขียน นามปากกา คิม ซา กัสส์ เขียนนิยายรายสัปดาห์ นิตยสารสมรภูมิ ประมาณ 10 ปี ปีละ 48 สัปดาห์, เขียนนิยายพ็อคเก็ตบุ๊ค ประมาณ 50 เรื่อง
- เป็นนักเขียน นามปากกา คิม ซา กัสส์ เขียนหนังสือวารสารเกษตรใหม่ ราย 3 เดือน 37 ฉบับ, เขียนหนังสือเกษตรพ๊อคเก็ตบุ๊ค 12 เล่ม .... หนังสือหัวใจเกษตรไท ความหนา 1,000 หน้า ราคาหน้าปก 1,000 บาท พิมพ์ 1,000 เล่ม จำหน่ายหมดใน 3 เดือน
- เป็นนักจัดรายการเกษตรทางวิทยุ
*** วิทยุ พล.ปตอ. กทม.
*** วิทยุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กทม. (วิทยุ มก.แม่ข่าย ถ่ายทอดเครือข่ายวิทยุ มก.เชียงใหม่, วิทยุ มก. ขอนแก่น, วิทยุ มก. สงขลา)
*** วิทยุกรมส่งเสริมการเกษตร กทม.
*** วิทยุเสียงทหารเรือ (สทร.) ชลบุรี
*** วิทยุเสียงอดิศร สระบุรี (ถ่ายทอดเครือข่ายวิทยุเสียงอดิศร สกลนคร)
*** วิทยุ สวพ.91 กทม. และ
*** วิทยุ อสมท.
9. ผลงานส่งเสริมการเกษตร :
- วิทยากรพิเศษ หลักสูตรเกษตรคลื่นลูกใหม่ (NEW WAVEFARMER) โครงการ ไทย-ญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต 10 รุ่น ๆละ 3,000 คน
- เปิดสอนที่ RKK เกษตรทั่วไป 10 ปี (กว่า 10 รุ่น)
- กลุ่ม จนท.เกษตร อ. 6 อำเภอ จังหวัดกาญจนบุรี (70 คน) ด่านมะขามเตี้ย หน.กลุ่ม โดย ผช.เกษตร จ.กาญจนบุรี มาเป็นประธานเปิดงานสัมมนาที่ไร่กล้อมแกล้ม 1 วัน
- ฝึกงาน น.ศ.สาขาเกษตร สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 9 รุ่น, น.ศ.วิทยาลัยเกษตรกรรมสิงห์บุรี 2 รุ่น
- เรื่องหลัก (จุดขาย) ที่สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบังต้องการ นศ.ฝีกงาน รู้ คือ สูตรปุ๋ยทางใบ สูตรยาสมุนไพรกำจัดศัตรูพืช สูตรสปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย สูตรการจัดสวนระยะชิดพิเศษ
- งานสีสันสัญจร เดินทางไปสอนการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรกล้อมแกล้ม ทั่วประเทศ (ภาคเหนือ อ.เชียงดาว เชียงใหม่, ภาคอิสาน อ.สว่างแดนดิน สกล นคร อ.สิรินธร อุบลราชธานี, ภาคตะวันออก จ.ตราด, ภาคไต้ อ.กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์) ตั้งแต่ ปี 2540-2549
- งานเปิดสอนที่ RKK ทำปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง, สอนทำปุ๋ยทางใบ ฮอร์โมนไข่ไทเป, ไบโออิ, ยูเรก้า, หัวโต, ใบโต, แคลเซียม โบรอน, สารสมุนไพร, สปริงเกอร์, หม้อปุ๋ยเวนจูรี่ สอนแบบ LEARNING BY DOING ปี 2550-ปัจจุบัน
10. รางวัลเกียรติยศ :
- โล่เป็นคน ดี ศรีเกษตร (อินทรีย์) 2540 จากชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย
- โล่ศิษย์เก่าดีเด่น ร.ร.โคกกะเทียม วิทยาลัย ลพบุรี
- ถ้วยรางวัลชนะเลิศกองเชียร์กีฬา กองทัพบก 5 ปี ติดต่อกัน
- ถ้วยรางวัลชนะเลิศการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร 1 ปี
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/07/2024 7:09 am, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 16/05/2019 6:42 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
11. กำเนิดรายการสีสันชีวิตไทย :
รับคำสั่ง ทำทันที ทำดีที่สุด :
26 มี.ค. 37 เวลา 10 โมงตรง KIM ZA GASS นายทหารยศ พ.ท. ตำแหน่ง น.ประชาสัมพันธ์ ยืนส้นเท้าชิด สองมือชิดข้างขา ท่าตรง ด้วยความเคารพตามแบบธรรมเนียมทหาร รายงานตัวอยู่หน้าโต๊ะทำงาน พล.ท.สำเภา ชูศรี ผบ.นปอ. .... เสียงแรกเรียกชื่อ CALLSING แทนชื่อจริงด้วยความรักและสนิมสนมนำขึ้น บนแววตาที่ยิ้มๆ ว่า
ผบ.นปอ. : (เงยหน้ามองหน้า KIM ZA GASS ยิ้ม แล้วพูด) เฮ่ยยยย.... คำสั่ง ทบ.ให้หน่วยที่มีสถานีวิทยุ ผลิตรายการแล้วก็ดำเนินรายการเอง ด้วยกำลังพลของหน่วยเอง เวลามีภารกิจสำคัญเร่งด่วนจาก ทบ. จะได้ทำได้ทันที ไม่ต้องไปขอร้องขอแรงนักจัดรายการพลเรือน .... งานนี้ ตำแหน่งนายทหารประชาสัมพันธ์ รับเนื้อๆ
KIM ZA GASS : (มองหน้าตรงผู้บังคับบัญชา เอ่ยเสียงเบาๆ รับคำสั่ง) .... ครับ
ผบ.นปอ. : วันละ 2 เวลา เที่ยงตรง 1 ชั่วโมง กับ 2 ทุ่มตรงอีกครึ่งชั่วโมง
KIM ZA GASS : (เหลือบสายตามองเอกสารบนโต๊ะ แล้วรับคำสั่ง) .... ครับ
ผบ.นปอ. : เริ่มพรุ่งนี้เลยนะ
KIM ZA GASS : (ก้มหน้ามองพื้น แล้วรับคำสั่ง) .... ครับ
ผบ.นปอ. : (ผบ. เอนหลังพิงเก้าอี้ แล้วให้เสียงยิ้มๆ) .... จะทำรายการอะไรล่ะ ?
KIM ZA GASS : (เพราะมั่นใจความเป็นนักเขียน กับอ่านหนังสือสารคดีมาเยอะ เงยหน้าแล้วตอบทันที) .... รายการสารคดีปกิณกะครับ
ผบ.นปอ. : เอาซี่ เริ่มได้เลยนะ เดี๋ยวหัวหน้าฝ่ายรายการจะจัดผังเวลาให้
KIM ZA GASS : (ทำความเคารพแล้วกลับหลังหัน เตรียมเดินกลับไปทางประตูห้อง ทั้งๆ ที่ยังก้มหน้า ใจคิดแต่เรื่องรายการวิทยุ) .... ครับ
ผบ.นปอ. : (ผบ. เรียกซ้ำแล้วสั่งการ น้ำเสียงเปี่ยมด้วยความพอใจ) เฮ้ยยย KIM ZA GASS เดี๋ยว....ทำรายการเกษตรซี่
KIM ZA GASS : (ชัดเจน ทุกคำดังก้องในหู ประสาททุกส่วนตื่นตัว ได้ยินแล้วคิด เกษตร-เกษตร-เกษตร-เกษตร.... เกษตร คือ อะไร ? กระนั้นก็ยังรับคำสั่ง) .... ครับ
กลับมาถึงห้องทำงาน ฝกร. นั่งทบทวนเหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นแล้ว กับเหตุการณ์ที่จะเกิดใหม่ในอนาคตอันใกล้ คิดออกครึ่งคิดไม่ออกครึ่ง ใจลอยเดินไปพบ ผอ.กกร. รายงานและเล่าทุกอย่างให้ท่านฟัง คำตอบที่ได้ คือ ทำไปก่อน ทำไปเถอะ ผมเชื่อว่าคุณทำได้ มีปัญหาอะไรบอกผม ผมขอเป็นกำลังใจ....
12. ปรามาส :
26 มี.ค. 37 เวลาบ่ายโมงตรง KIM ZA GASS ยืนเท้าชิด มือชิดข้างขา ท่าตรง ด้วยความเคารพ ตามแบบธรรมเนียมทหาร อยู่หน้าโต๊ะทำงาน พ.อ.หน.ฝ่ายรายการ สถานีวิทยุ พล.ปตอ. น้ำเสียงที่เรียกชื่อ CALL SIGN แทนชื่อจริงนั้น แฝงด้วยปรามาสแกมเยาะเย้ย ไม่ปรากฏแววตาที่ยิ้มบนใบหน้าเยี่ยงผู้บังคับบัญชาพึงมีต่อผู้ไต้บังคับบัญชา สะท้อนบอกให้เห็นความ ไม่ชอบขี้หน้า ชัด
หน.ฝ่ายรายการ : มึงกับกูก็เคยไปรบชายแดนที่อรัญฯ มาด้วยกัน มึงอยากทำรายการวิทยุ ทำไมไม่บอกกูก่อน ข้ามไปบอกนายเลย แล้วกูจะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน ?
KIM ZA GASS : ขออนุญาตครับ ผมไม่ได้อยากทำรายการวิทยุหรอกครับ แล้วก็ไม่ได้ไปขอทำรายการวิทยุด้วยครับ ผบ.นปอ.ท่านบอกว่า มีคำสั่งกองทัพบก ให้หน่วยที่มีสถานีวิทยุ ผลิตรายการวิทยุเอง แล้วก็ดำเนินรายการเอง ผบ.นปอ.ท่านบอกว่า หน้าที่นี้ตรงกับตำแหน่งของผม ท่านเลยให้ผมรับผิดชอบครับ
หน.ฝ่ายรายการ : (จ้องหน้า KIM ZA GASS เขม็ง ไม่ยิ้ม) .... แล้วมึงเคยทำรายการวิทยุเหรอ ? มึงจะทำได้เหรอ ?
KIM ZA GASS : ไม่เคยครับ
หน.ฝ่ายรายการ : อ้าว .... แล้วมึงรับปาก ผบ. มาทำไม ?
KIM ZA GASS : ผมคิดว่า เมื่อเป็นคำสั่งผู้บังคับบัญชาก็ต้องรับแล้วทำไปก่อน ทำได้คือได้ ทำไม่ได้ก็จะมารายงานท่านว่าทำไม่ได้ครับ
หน.ฝ่ายรายการ : (เงียบ เหลือบสายตามองข้างฝา) .... ก็ได้ กูว่าไม่เกิน 3 วัน มึงก็หมดเรื่องพูด
KIM ZA GASS : ครับ
หน.ฝ่ายรายการ : มึงไม่ได้เรียนเกษตรมา มึงมีความรู้เรื่องเกษตรเหรอ ?
KIM ZA GASS : ครับ ตอนนี้ยังไม่มีครับ
หน.ฝ่ายรายการ : แล้วมึงมีแผนการยังไง ?
KIM ZA GASS : ยังไม่ทราบเลยครับ ขอผมไปดูลาดเลาที่สถานีวิทยุก่อนครับ
หน.ฝ่ายรายการ : ก็ได้ .... ออกไปได้
เมื่อเช้า ตอนเดินออกจากห้อง ผบ.นปอ. สมอง-หัวใจ คิดหนัก เกษตร ! เกษตร ! และเกษตร ! แต่ตอนนี้เดินออกจากห้องหัวหน้าฝ่ายรายการสถานีวิทยุ (ตำแหน่งพิเศษ .... ตำแหนงปกติ หัวหน้าฝ่ายยุทธการและการฝึก หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก) ด้วยคำพูดและแววตาปรามาส
ลูกผู้ชาย CALLSIGN KIM ZA GASS เชิดหน้าหน้ามองเพดาน สมองหัวใจคิด เอาชนะ ! เอาชนะ ! และเอาชนะ ! แว้บหนึ่งแห่งอดีตผุดขึ้นมา คำพูดของ พ.ท.วินิต เทศวิศาล ผบ.ปตอ.พัน 4 ว่า .... คนอิจฉา ดีกว่าคนสงสาร อิจฉาเพราะเรามีดีกว่า สงสารเพราะเรามีด้อยกว่า....
13. ON AIR วิทยุวันแรก :
27 มี.ค. 37 เวลา 10 โมงตรง KIM ZA GASS ในเครื่องแบบปกติ เยื้องกายเข้าสู่สถานีวิทยุ พล. ปตอ. อาคารไม้สักเก่า อายุกว่า 50 ปี สร้างมารุ่นเดียวกันกับบ้านพักนายทหารระดับผู้ใหญ่ และบ้านพัก ร.ท.เจ้าฟ้าประชาธิปรก (ร.7) เมื่อครั้งยังไม่ได้รับการสถาปนาให้เป็นพระมหากษัตริย์
แม้จะรับราชการอยู่ในรั้วเดียวกัน แต่เป็นคนละหน่วย คนละหน้าที่ความรับผิดชอบ จึงไม่มีความจำเป็นต้องเข้ามาในหน่วยนี้ ทันทีที่เข้ามาก็พบกับอัทธาศรัยของทหารเพื่อนรุ่นน้อง นักจัดรายการวิทยุที่เป็นพลเรือน ซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย
ทุกอนูแห่งบรรยากาศในสถานีวิทยุ ท่ามกลางเสียเพลงลูกทุ่งที่กำลังแพร่คลื่นอยู่นั้น หัวใจ KIM ZA GASS เต้นตูมๆ ๆๆ เกษตร-เกษตร เกษตร คือ อะไร ?
ใจลอยสะบัดตัวเองนั่งบนเก้าอี้หน้าห้อง ON AIR ขณะเห็นนักจัดรายการกำลังเจื้อยแจ้วแว่วเสียงเพลงแคนอิสาน มือฉวยได้ น.ส.พ.เดลินิวส์ ข้างตัว แล้วพลิกด้านในด้วยความเคยชินมากกว่าเจาะจงเจตนา ทันใดนั้นก็พบคอลั่มน์การเกษตร ของชมรมเกษตรธรรมชาติ เขียนโดย อ.ดีพร้อม ชัยวงค์เกียรติ แล้วบอกกับตัวเองทันที นี่ไงเกษตร ! นี่แหละเกษตร ! นี่คือเกษตร ! ปากไวกว่าความคิด สั่งเพื่อนรุ่นน้องประจำสถานีวิทยุทันที
.... เอาหนังสือพิมพ์เก่า ทุกฉบับ ทุกวัน เท่าที่มี มาให้หน่อย...
ไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า น.ส.พ.รายวันอย่าง เดลินิวส์ ไทยรัฐ แนวหน้า มติชน จะมีคอลั่มน์การเกษตรอยู่ในนั้น มากบ้างน้อยบ้างก็ว่ากันไป รวมแล้วกว่า 10 กรอบ
เที่ยงตรง ถึงเวลา ON AIR จนท.ควบคุมเสียงเปิดสวิทช์โชว์สัญญาณไฟ พร้อมกับพยักหน้าให้สัญญาณ เริ่มได้ .... บอกตามตรงว่า ไม่มีอาการตื่นเต้นหรือประหม่าใดๆ
....สร้างสันสังคม ส่งเสริมคนดี พัฒนาชีวิตให้มีคุณภาพ....
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น เป็นผู้ดำเนินรายการ
คำกล่าวนำเข้ารายการร่างไว้ล่วงหน้า จบคำกล่าวนำ หยิบ น.ส.พ.เปิดหน้าคอลั่มน์เกษตรไว้เรียบร้อยแล้ว ด้วยประสบการณ์ตรงจากงาน ปจว.ไม่มีอาการตื่นไมค์ใดๆ ทั้งสิ้น
มือใหม่หัด ON AIR จริงๆ มารู้ทีหลังว่า เสียงพลิกหน้ากระดาษ น.ส.พ. ดังขว้ากๆ ออกอากาศดังไปทั่วประเทศ 1คอลั่มน์ 1เรื่อง 1กรอบ ใช้เวลาอ่านราว 3-5 นาที เบ็ดเสร็จใช้เวลาราวครึ่ง ชม.กว่าๆ เรื่องที่เตรียมไว้อ่านหมดแล้วแต่เวลายังเหลือ ต้องสวมวิญญาณกามนิต (หนุ่ม) เอากรอบเก่ามาอ่านซ้ำกระทั่งหมดเวลา .... ออกจากห้อง ON AIR จนท.ควบคุมเสียงบอก
.... ผู้พันครับ จบตอนแล้วเปิดเพลงคั่นระหว่างเรื่องก็ได้นี่ครับ...
.... ดี ได้ THANK YOU .... กูรู้ละ พรุ่งนี้เอาใหม่ ....
14. หนังสือ คือ ยิ่งกว่า มหาลัย :
27 มี.ค. 37 เวลาบ่าย 2 โมง KIM ZA GASS ในเครื่องแบบครึ่งท่อน ปรากฏร่างขึ้นที่ แพร่พิทยา ถิ่นเก่ามาประจำ ติดตามข่าวแวดวงหนังสือ ร้านขายหนังสือในห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว ด้วยเวลาที่รวดเร็วราวแมลงกระพือปีกก็ได้พบกับ เกษตร เกษตร และเกษตร
ไม้ผล 50 มะ
ผักสวนครัว 30 ผัก
พืชไร่ 20 พืช
ไม้ดอกไม้ประดับ 30 ดอก
ไม้ใช้สอย 20 ต้น
สารพัดนา ......... นาข้าวนาบัวนากะเฉดนาแห้ว
สารพัดเห็ด ........ เห็ดโคนเห็ดนางฟ้าเห็ดเผาะเห็ดหูหนู
สารพัดสัตว์น้ำ ..... กุ้งหอยปูปลากบเต่าจระเข้ตะพาบ
สารพัดสัตว์บก ..... วัวควายไก่เป็ดห่านนกหนูหมูหมาม้าเก้งกวางกระจอกเทศ
จาก พืช-สัตว์-เห็ด สดใหม่จากฟาร์ม .... สู่ แปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่ม ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ
จาก รูปแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน .... สู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน และเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์
จาก แนวคิดแบบชาวบ้านๆ ทำแค่พออยู่พอกิน .... สู่ ทำขาย มุ่งเอากำไรเป็นหลัก
ทั้งที่เป็น POCKET BOOK เป็น MAGAZINE น่าสนใจอย่างมาก คือ หนังสือตำราเรียนระดับมหาลัย นี่คือ เกษตรทั้งนั้น แค่วันแรกซื้ออย่างละเล่มๆ สิริรวมแล้วเป็นเงินเกือบ ครึ่งหมื่น ต้องพึ่งรถเข็น 4 คัน กับเด็กในห้างเอาของมาส่งที่รถ
อีก 3 วันไปแพร่พิทยาอีกครั้ง ทำ CHECK LIST หนังสือที่มีแล้ว กับหนังสือเล่มที่ยังไม่มี แล้วซื้อมาอีก ก็แค่อย่างละเล่มๆ เหมือนกัน จึงไม่แปลกที่ค่าใช้จ่ายก็ต้องเกือบ ครึ่งหมื่น เหมือนกัน
วันแรกครั้งแรกของการออกอากาศเมื่อตอนเที่ยงนั้น สาระน้อยเวลามาก ถึงค่ำวันเดียวกัน ตอนสองทุ่ม เป็นการออกอากาศครั้งที่สอง รู้เลยว่า เวลาน้อยแต่สาระมาก จนท.ควบคุมเสียงปรารถนาดี เตรียมแผ่นเสียงเพลงไว้ กะเปิดแทรกระหว่างเรื่อง ครั้นเอาจริงเข้า จนท.ควบคุมเสียงถึงกับเซ่อกิน เพราะเวลา 1 ชม.ไม่พอให้พูด (อ่าน) บางครั้งบางเรื่องต้องต่อมื้อรุ่งขึ้น ต่อ 2มื้อ ต่อ 3มื้อ
ตั้งแต่ก่อนวันแรกจะ ON AIR เคยถูกปรามาสว่า .... กูว่าไม่เกิน 3 วัน มึงก็หมดเรื่องพูด... นั้น ขนาดระหว่างพูดไม่มี เอ้อ นะครับอ้า - อ้า นะครับเอ้อ เวลายังไม่พอให้พูดเลย
หนังสือที่เขียนโดย ดร. สอนในมหาลัย เมื่อเราอ่านหนังสือเล่มนั้น ก็เท่ากับเราได้เรียนกับ ดร. ท่านนั้นเช่นกัน .... เรียนในมหาลัย วิชาหนึ่งมี ดร.มาสอนเพียงท่านเดียว แต่เราอ่านหนังสือเรื่องเดียวกันที่เขียนโดย ดร. 10 เล่ม เท่ากับได้เรียนกับ ดร. 10 ท่าน ....
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/05/2024 7:21 am, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 17/05/2019 6:11 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
15. สึกฤกษ์นเรศวรออกศึก :
ช่วงอายุเบญจเพส ลุงคิมบวชทดแทนบุญคุณพ่อแม่ที่วัดชีป่าสิตาราม อ.เมือง ลพบุรี บวชเต็มพรรษา ออกพรรษาแล้วอีก 15 วันจึงจะมีกฐิน รับกฐินแล้วเข้าไปหาหลวงพ่อเจ้าอาวาสเพื่อขอฤกษ์สึก บอกหลวงพ่อว่าขอฤกษ์สึกวัน นเรศวรออกศึก หลวงพ่อบอกว่า ต้องรอต่ออีก 15 วัน และนั่นคือครบ 120 วัน เท่ากับจำนวนวันที่มีสิทธิ์ลาบวชตามระเบียบ ทบ.พอดี
สึกมาแล้วกลับมาทำงานที่ ปตอ.พัน.4 เหมือนเดิม แต่ชีวิตราชการช่วงหลังบวชเข้มข้นดุเดือดต่างจากทหารคนอื่นๆ บ่อยครั้งที่ต้องไปปฏิบัติราชการพิเศษ งานบางอย่าง หลายครั้งต้องเสี่ยงเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เช่น งานปราบ ผกค., งานสายลับ แต่ก็รอดมาได้ แคล้วคลาด ทุกครั้ง ทุกภารกิจ ทุกสนามรบ ปลอดภัยไม่มีแม้รอยแมวข่วน
จากสนามรบ-วางปืน สู่แปลงเกษตร-จับจอบ ว่าตั้งแต่ พูดวิทยุ เขียนหนังสือ ถึง ออกสัญจรไปสอนทั่วราชอณาจักรทุก เสาร์-อาทิตย์ โดยไม่มีกำหนดการณ์ล่วงหน้าว่า เสาร์-อาทิตย์ ไหนไปที่ไหน
กระทั่งวันที่ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สูตรกล้อมแกล้ม พ็อตเก็ตบุ๊คออกวางแผงครั้งแรก งานสีสันสัญจรคราวนั้นไปลงที่ อนุสาวรีย์สมเด็จพระเนรศวร มหาราช ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี ภารกิจครั้งนี้จะบังเอิญหรือด้วยพระบารมี ไม่ทราบ แล้วเหตุการณ์ไม่คาดคิดก็บังเกิด เมื่อประชาชนทั่วไป ผู้ฟังรายการสีสันชีวิตไทยราว 200 คน เข้าแถวตอนเรียงหนึ่งลำดับคิวซื้อหนังสือ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สูตรกล้อมแกล้ม
ปล. :
หนังสือที่มีผู้อ่านสนใจ เข้าคิวซื้อ มากที่สุดเป็นประวัติการณ์คือ หนังสือ นายอิน ผู้ปิดทองหลังพระ วางแผงขายที่ศูนย์การค้าสยาม คิด/วิเคราะห์ ซิว่า พื้นที่ศูนย์การค้าสยามกว้างเท่าไร เมื่อเทียบกับลานหน้าอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
นี่คืออานิสงค์ สึกพระฤกษ์วันนเรศวรออกศึกโดยแท้....สาธุ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
16. สำคัญที่ใจ :
เหมือนลงสนามแข่งขันโดยไม่ผ่านรอบชิงเหรียญทองแดง เหรียญเงินมาก่อนแต่ลงแข่งรอบ FINAL ชิงเหรียญทองเลย เปรียบดั่งคนไม่ได้เรียนเกษตรมาโดยตรง แล้วมาทำงานส่งเสริมการเกษตรผ่านรายการวิทยุ ที่มีแต่เสียงไม่มีภาพเหมือน ทีวี. โดยมีเกษตรกรผู้ฟังเป็นเป้าหมาย เกษตรกรเขาไม่รู้หรอกว่า ผู้ส่งเสริม เป็นใคร มาจากไหน มีความพร้อมเพียงใด ข้อมูลเรื่องราวที่ออกอากาศไปนั้น ผิด/ถูก-ใช่/ไม่ใช่ เขาไม่รู้ แต่เขาทำตามทันที บางคนประสบความสำเร็จ บางคนล้มเหลว ผู้ส่งเสริมก็แยกไม่ออกอีกว่า ระหว่าง ความสำเร็จกับความล้มเหลว อะไรเป็นสาเหตุ
เพราะประวัติชีวิตการทำงานไม่เคยล้มเหลว ทุกอย่างประสบความสำเร็จ แม้ไม่มากก็ถือว่าสำเร็จตามนโยบายที่ ผบ.ชา กำหนด มางานนี้เกษตรกรที่ล้มเหลวเป็นดั่งหนามไผ่ทิ่มแทงใจ หลายครั้งอยากบอก ศาลา ขอเลิกแล้วกลับไปนั่งโต๊ะทำงานที่เก่า
พลันเหมือนเสียงคำพูดที่เต็มไปด้วยกำลังใจจาก ผบ.นปอ.สั่งการ ทำรายการเกษตรซี่ ทำรายการเกษตรซี่.... กับเสียงคำพูดที่เต็มไปด้วยคำปรามาสจาก หน.ฝ่ายรายการ กูว่า ไม่เกิน 3 วัน มึงก็หมดเรื่องพูด.... สะท้อนเข้ามาในจิตรสำนึกของลูกผู้ชายชาติทหาร
เลือดชายคนนี้มีพ่อเป็นทหาร มีตาเป็นทหาร เรียนชั้นประถมจากโรงเรียนในกรมทหาร เรียนมัธยมจากโรงเรียนใกล้กรมทหาร เรียนจบมัธยมข้ามภูเขาไปเรียนโรงเรียนนายสิบทหารปืนใหญ่ จบโรงเรียนทหารปืนใหญ่ทำงานหน่วย 1 ปี ไปรบเกาหลี กลับจากเกาหลีรบต่อที่หินร่องกล้า รบไปเรื่อยๆกระทั่ง ศึกร่มเกล้า เป็นศึกสุดท้าย
คิด/วิเคราะห์ : ไม่มีช่วงใดของชีวิตเกี่ยวข้องกับการเกษตรเลย....
ระหว่างรับราชการทหารมีการศึกษาเพิ่มวิทยฐานะ หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับประชาชน แล้วประชาชนนั้นเกี่ยวพันกับการเกษตร น่าจะเป็น หลักสูตรปฏิบัติการจิตรวิทยา หลักสูตรความมั่นคงภายใน หลักสูตรนายทหารกิจการพลเรือน
คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ : ไม่มีหลักสูตรใดเกี่ยวข้องกับการเกษตรเลย...
คำถามใหม่เกิดขึ้นมา มนุษย์เงินเดือน ทำงานบริษัท โรงงาน ไม่ได้ร่ำเรียนวิชาที่ตรงกับงานที่ทำ แล้วทำไมประสบความสำเร็จอย่างสูงได้....กับคนที่เรียนมาทางทหารแล้วมาทำงานด้านเกษตร จะประสบความสำเร็จงานด้านเกษตรไม่ได้....
ใครก็ตามที่อ่านหนังสือออก ลองไปอ่านหลักการบริหาร 6M เสริมด้วยหลัก SMART FARM แล้ว คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ/ประยุกต์ โดยมีเกษตรกรเป็นตัวตั้ง ก็สามารถประสบความสำเร็จในงานเกษตรได้
17. แรกงานวิทยุเกษตร :
จากสโลแกนของตัวเอง รับคำสั่ง-ทำทันที-ทำดีที่สุด ถึงคำสั่ง ผบ.นปอ. ที่ ส่งเสริม/สนับสนุน ให้ผู้ไต้บังคับบัญชาทุกคนทุกระดับชั้นได้ใช้ความสามารถจนเต็มที่ กระทั่งสำเร็จภารกิจ กับ หน.ฝ่ายรายการสถานีวิทยุ ผู้มีอคติหรือไม่ชอบขี้หน้าเป็นต้นทุน เมื่อเข้ามาจับงานนี้แล้วควรเดินหน้าตาม ผบ.นปอ. หรือถอยหลังตาม หน.ฝ่ายรายการ จะเป็นด้วยนิสัยประจำตัว หรือเพราะกรรมเก่าก็สุดแท้ งานนี้ คิดเอง-ทำเอง-ถามเอง-ตอบเอง KIM ZA GASS ตัดสินใจแน่วแน่เลือกเดินหน้าบนเส้นทางเกษตร
ทุกวัน วันละ 24 ชม. ต่อเนื่องอาทิตย์ละ7 วัน ถึงเดือนละ 30 วัน พูดในวิทยุวันละ 2 ชม. เที่ยงค่ำ กับอ่าน อ่าน และอ่าน วันละ 10-15 ชม. ตัดเวลากินขี้ปี้นอนออกเท่านั้น
สัจจะธรรมจากการอ่านที่ไม่อาจปฏิเสธ คือ ยิ่งอ่านมาก ยิ่งรู้น้อย-ยิ่งไม่รู้มาก นั่นคือ รู้แค่ที่อ่าน อ่านกี่เล่มกี่เรื่องก็รู้แค่นั้น แต่เล่มหรือเรื่องที่ยังไม่ได้อ่านก็คือยังไม่รู้ ที่ยังไม่ได้อ่านปริมาณจำนวนมันมากกว่า มากมายมหาศาล นี่คือ LEARNING ALL THE LIFE การเรียนรู้ต้องตลอดชีวิต นั่นเอง
บนความไม่รู้แล้วอยากรู้ จึงเกิดคำถาม ยิ่งอ่านยิ่งเจอคำถาม อาทิ :
หัวใจของการเกษตร .................................. คืออะไร ? อยู่ที่ไหน ?
อาหาร คน-สัตว์-พืช-จุลินทรีย์ ....................... ตัวเดียวกันหรือไม่ ?
คนมีปัจจัย 4 เพื่อการดำรงชีวิต คน-สัตว์-พืช
... มีกี่ปัจจัย ?
พืชมีวงจรชีวิตการเจริญเติบโตที่แน่นอน ............... อย่างไร ? หรือไม่ ?
ปุ๋ย ..............................
................ มีกี่ชนิด ? กี่ประเภท ? กี่สูตร ? กี่แบบ ?
ปุ๋ยตัวเดียวกันกับพืชเดียวกัน คนหนึ่งใช้ได้ผล คนนึ่งใช้ไม่ได้ผล .... เพราะอะไร ?
ปุ๋ยใส่ลงดิน จุลินทรีย์ใส่ลงดิน .......................... เหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร ?
ทำแล้วขาย ขายแล้วขาดทุน ........................... เพราะอะไร ? แก้ไขอย่างไร ?
ที่พูด พูด และพูด ออกอากาศทุกวัน ๆละ 2 เวลา....... ผู้ฟังรู้เรื่องมั้ย ?
ส่งเสริมทหารกับส่งเสริมเกษตรกร ...................... ต่างกัน/เหมือนกัน ตรงไหน ?
ทุกคำถามมีคำตอบ .................................... อยู่ที่ไหน ?
18. ผักปลอดสาร ไม่รู้จักสมุนไพร :
เหตุเกิดที่ อ.เล็กๆ ตั้งขึ้นใหม่ ชื่อเฉลิมพระเกียรติ ในงานเกษตรอินทรีย์ กลุ่มสีสันชีวิตไทยมีโอกาสไปออกร้านร่วมงานด้วย.... เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า :
ลุงคิม : แม่ค้า เกษตรอินทรีย์ ผักบนแผงนี่ก็ผักอินทรีย์ด้วยใช่ไหม ?
แม่ค้า : ใช่จ้ะ ซื้อผักอะไรล่ะคะ ?
ลุงคิม : ยังไม่ซื้อตอนนี้หรอก ถามหน่อย ผักอินทรีย์ดียังไง ?
แม่ค้า : ดีซิคะ ดีมากด้วย ผักอินทรีย์ คือ ผักที่ไม่ใช้เคมีไงล่ะ
ลุงคิม : เคมี .... สารเคมี หรือปุ๋ยเคมี
แม่ค้า : ทั้งสองอย่างนั่นแหละ
ลุงคิม : อืมมม ไม่ใช้สารเคมี แล้วเอาอะไรกำจัดหนอนแมลง
แม่ค้า : ไม่ต้องกำจัด เพราะในผักอินทรีย์ไม่มีหนอน ไม่มีแมลง
ลุงคิม : อืมมม ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี แล้วใส่อะไรให้ผักมันโตล่ะ
แม่ค้า : ใส่ปุ๋ยคอกนี่แหละ
พลันเสียงแม่ค้าแว่วมาดังลั่น คำพูดศัพท์สำเนียงบ่งบอกยี่ห้อ "แม่ค้าตลาดสด" ของแท้...
แม่ค้า 1 : ผักมึงน่ะ หลอกลวงโลก
แม่ค้า 2 : ลวงโลกยังไง ?
แม่ค้า 1 : ก็กูเห็นมึงฉีดยาเมื่อวานนี้เอง วันนี้เก็บมาขายแล้ว
แม่ค้า 2 : ของมึงก็เหมือนกัน ถามจริง ในตลาดนี้วันนี้แผงไหนไม่ใช้สารเคมีวะ
แม่ค้า 1 : คนอื่นไม่เกี่ยว กูว่าผักมึงคนเดียว
แม่ค้า 2 : โธ่ถัง มันก็เหมือนๆกันทุกแผงนั่นแหละ
จากแม่ค้า 2 คนทะเลาะกันเริ่มลามปามขยายวงไปคนที่ 3 คนที่ 4 ทุกคำพูดล้วนแต่อัปมงคลทั้งนั้น....กลับไปที่บู๊ธทีมงานสีสันชีวิตไทย ตกเย็น แม่ค้าในงานเกษตรอินทรีย์ไปหาแล้วพูดคุยกัน
แม่ค้า : ลุงคะ นี่อะไรคะ ?
ลุงคิม : อ๋อ นั่นหนอนตายหยาก
แม่ค้า : ใช้ทำอะไรคะ ?
ลุงคิม : ทำยาฆ่าหนอน
แม่ค้า : ฆ่าหนอนได้เหรอคะ
ลุงคิม : ได้ซี่ อย่างน้อยก็ฆ่าหนอนในไหปลาร้าได้นั่นแหละ
แม่ค้า : แล้วนี่ล่ะคะ
ลุงคิม : อันนี้เปลือกมังคุด กำจัดเชื้อราได้
แม่ค้า : แล้วนี่ล่ะคะ
ลุงคิม : อันนี้ยาฉุนเราธรรมดาๆนี่แหละ กำจัดเชื้อรา
แม่ค้า : แล้วนี่ล่ะคะ
ลุงคิม : อันนี้หางไหล ฆ่าหนอนดี
แม่ค้า : แล้วนี่ล่ะคะ
ลุงคิม : (มองหน้า ตรวจสอบท่าที) ถามจริง อยากรู้ไปทำไม
แม่ค้า : เพราะไม่รู้ก็อยากรู้น่ะซีคะ
ลุงคิม : ที่นี่ทำเกษตรอินทรีย์ ถามหน่อย ในโลกนี้มีพืชที่ไม่มีศัตรูพืชมาวอแวเลยเหรอ ?
แม่ค้า : (เงี้ยบ อึ้ง)
ลุงคิม : เมื่อคุณไม่ใช้สารเคมีฆ่าแมลง สมุนไพรก็ไม่ได้ใช้แถมยังไม่รู้จักอีกด้วย ลุงคิมว่า โกหกใครก็โกหกไปเถอะ ทำไมต้องโกหกตัวเอง โกหกลูกหลานด้วย ถามหน่อย ทำเกษตร ที่นี่ใครรวยบ้าง มีแต่หนี้ทั้งนั้น ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ เป็นหนี้ยันลูกยันหลาน
แม่ค้า : (อึ้ง เงียบ)
19. ชมพู่อั้ยเล็ก :
สองพ่อลูกทำสวนชมพู่อยู่หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ บนเนื้อที่ 10 ไร่ อายุต้นชมพู่ 10 ปีขึ้น ให้ผลผลิตปีละครั้ง ทำแบบเดิมๆ ให้ปุ๋ยทางรากสูตรเสมอ ไม่เคยให้ทางใบ .... วันนี้ พ่อกับลูกชายเดินคุยกันตามลำพังอยู่ในสวน
ลูก : พ่อ....หนูว่าเราน่าจะเปลี่ยนวิธีการทำชมพู่บ้างนะ
พ่อ : เปลี่ยนยังไง
ลูก : ก็จากที่เราทำปีละรุ่น เปลี่ยนเป็นทำปีละ 2 รุ่น จากใช้ปุ๋ยสูตรเสมอเปลี่ยนเป็นสูตรตามสั่ง จาก ให้ทางรากทางเดียวก็ให้ทางใบร่วมด้วย กับอีกหลายๆอย่างที่เราทำแบบเดิมๆ เปลี่ยนมาเป็นแบบใหม่บ้าง
พ่อ : (จ้องหน้าลูกชาย) หนูเอาความคิดนี้มาจากไหน ?
ลูก : รายการวิทยุครับ
พ่อ : (หัวเราะในลำคอ) วิทยุเชื่อไม่ได้หรอก เพระนั่นเขาทำเพื่อโฆษณาปุ๋ยของเขาเท่านั้น
ลูก : แต่เขาบอกก็มีหลักการนะพ่อ บางครั้งเขายังบอกวิธีทำชุมพู่โดยตรงเลย ก็เคย
พ่อ : หนูเชื่อเขาเหรอลูก ?
ลูก : รายการนี้เขาบอกไม่ให้เชื่อ แต่ให้ลองทำลองใช้ก่อนแล้วค่อยเชื่อ เขาบอกให้เชื่อตัวเอง
พ่อ : (คิด .... ใจหนึ่งไม่เชื่อ แต่ใจหนึ่งรักลูกชาย) งั้นเอางี้ พ่อยกให้ 1 ไร่ หนูลองทำตามที่วิทยุบอก หนูทำเองทุกอย่างนะ เอาไหม ?
ลูก : (ยิ้มกว้าง) เอาครับพ่อ
เหมือนลิขิตสวรรค์ ชมพู่บนต้นตอนนั้นเป็นระยะ "บำรุงผล เล็ก-กลาง....ขยายขนาด หยุดเมล็ด สร้างเนื้อ" หลังห่อผลพอดี .... การปฏิบัติของลูกชาย :
บำรุงผล เล็ก-กลาง :
ทางใบ : ให้ปุ๋ยทางใบยี่ห้อ ไบโอคิง ตามโฆษณาในวิทยุ 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ แต่ละรอบห่างกัน 4 วัน
ทางราก : ใส่ปุ๋ยขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งคลุมทับหนาๆ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 21-7-14 ต้นละ 1 กก. ตามแผนให้แค่ครั้งเดียวเพราะอายุผลชมพู่เพียง 1-1เดือนครึ่งเท่านั้น ให้น้ำสม่ำเสมอวันเว้นวัน
บำรุงผลก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ : ให้ปุ๋ยเร่งหวานผสมเอง "น้ำ 100 ล. + น้ำส้มสายชู 100 ซีซี. + 0-21-74 (500 กรัม +ธาตุรอง/ธาตุเสริม 250 กรัม" ให้ 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ แต่ละรอบห่างกัน 3 วัน ให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บ 3 วัน
ทางราก : เปิดหน้าดินโคนต้น ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ต้นละ 1/2 กก. ตามแผนให้แค่ครั้งเดียวก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีแล้วให้น้ำตามเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด
แล้วสัจจะธรรมก็อุบัติขึ้น เป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธ เมื่อเพื่อนบ้านสวนข้างเคียงมาเห็น
เพื่อนบ้าน : โอ้โฮ ชมพู่ไซส์นี้ 2ลูกโล 3ลูกโล เลยนะเนี่ย คุณทำยังไงเนี่ย
พ่อ : (หัวเราะ ) ผมไม่ได้ทำหรอก นี่มันชมพู่อั้ยเล็ก มันเป็นคนทำทั้งหมด มันทำอยู่คนเดียว เพื่อนบ้านกวาดสายตาไปทั่วสวนชมพู่ทั้งแปลงแล้วเห็นความต่างบนความเหมือนชัดเจน โซนนี้ลูกใหญ่ทุกต้น แต่อีกโซนลูกเล็ก เล็กกว่ากันครึ่งต่อครึ่ง
พ่อ : หนูลูก พ่อตัดสินใจแล้ว พ่อยกชมพู่ให้หนูทำทั้งสวนเลย ถ้าหนูจะทำตามรายการวิทยุพ่อไม่ว่า
ลูก : ครับพ่อ
20. สาบเสือ ไม้ 500 ชื่อ :
เล่าสู่ฟัง เรื่องยาฆ่าแมลง :
วันนั้นอยู่ที่ ชมรมสีสันชีวิตไทย สาขาไร่เลิศสรานนท์ บ้านหนองจาน หัวลำ ท่าหลวง ลพบุรี ภารกิจบรรยายเรื่อง การเกษตรแบบ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ตามความเหมาะสม โดยมีสำปะหลังเป็นพืชนำ วันนั้นมี สมช. กลุ่มไร่เลิศสรานนท์ มารับฟังราว 30 คน
ระหว่างเตรียมการบรรยาย คทาชาย 4 คน นั่งอยู่ใกล้ๆ กำลังถกแถลงเรื่องสาบเสือ แม้ไม่ได้ฟังเสียงมันเข้าหู .... สมมุตินามตามท้องเรื่อง 4 ชาย :
ชาย ก. : นี่แหละสาบเสือ ฆ่าหนอน ฆ่าเชื้อราได้
ชาย ข. : ไม่ใช่ นี่มันเสือหมอบ ไม่ใช่เหรอ ?
ชาย ค. : แถวบ้านผมเรียกฝรั่งรุกที่
ชาย ง. : ทั้งหมดที่ว่ามาไม่ถูกซักคน เขาเรียกบ้านร้าง คิดซี่ ถ้ามันขึ้นรอบบ้านมากๆ คนจะเข้าบ้านไม่ได้ บ้านก็ร้างไง
ชาย ข. : มึงก็ว่าเรื่อยเปื่อย หญ้ามันขึ้นในบ้านก็ถางออกซี่ แล้วบ้านจะร้างได้ไง ?
ชาย ค. : คงไม่แค่นี้หรอกมั้ง หญ้าตัวนี้มาจากเมืองนอกเหมือนฝรั่ง หญ้ามันรุกที่ก็เหมือนฝรั่งรุกที่ ว่ามั้ย
ชาย ข. : แล้วที่ต้นสูงๆ ขึ้นเป็นดงแน่น เสือเข้าไปหลบได้ ไม่เรียกว่าเสือหมอบเหรอ ?
ชาย ก. : ญาติกันอยู่ราชบุรี ที่นั่นเรียกผักคราด รกแน่นมาก ปลูกสำปะหลังไม่ได้เลยแหละ
ชาย ง. : อือว่ะ ญาติที่ชลบุรี บอกว่าที่นั่นเรียกหมาหลง หญ้ามันขึ้นแน่นมาก ขนาดหมาเดินไปเข้าไปแล้วมองไม่เห็นทาง ออกไม่ได้
ชาย ข. : ที่จริง อยู่ที่ไหนน่าจะเรียกชื่อตามที่นั่นนะ
ชาย ง. : งั้นอยู่ที่นี่ พูดกับคนที่นี่เรียกชื่อตามที่นี่ แล้วพูดกับคนที่อื่นล่ะ เขาจะรู้ด้วยไหม ?
ชาย ก. : งั้นก็ต้องเรียกตามที่ ที่คนนั้นอยู่ซี่
ชาย ค. : ว่านะ เรียกอะไรก็ได้ เรียกแล้วขอให้คนที่คุยด้วยรู้เรื่องก็แล้วกัน
4 คนกึ่งคุยกึ่งเถียงกันอยู่เป็นนาน ไม่มีใครถูก ไม่มีใครผิด ต้องพึ่งคนกลาง ... สรุป : ถามลุงดีกว่า :
ลุงคิม : อืมมม ไอ้ตัวนี้ ไร่กล้อมแกล้มเรียก อั้ยง่องแง่ง ว่ะ
ชาย ก. ชาย ข. ชาย ค. ชาย ง. : ไอ้ง่องแง่ง .....
ลุงคิม : (กดมือถือ อ่านอินเตอร์เน็ต) เอาน่า มันจะชื่ออะไรก็สุดแท้เถอะนะ ขอแต่ให้บอกกันพูดกันแล้วรู้เรื่องด้วยกัน ก็พอแล้ว เรื่องชื่อเนี่ย ไม่รู้เหรอ คนไทยน่ะเก่งทั้งนั้น รู้มากรู้น้อย รู้จริงรู้ไม่จริง ตั้งชื่อเอาเอง บ้านละชื่อๆ ๆๆ นี่ไงชื่อ หญ้าเสือหมอบ, รำเคย, ผักคราด, บ้านร้าง, ยี่สุ่นเถื่อน, ฝรั่งเหาะ, ฝรั่งรุกที่, หญ้าดอกขาว, หญ้าเมืองวาย, พาทั้ง, หญ้าดงรั้ง, หญ้าพระสิริไอสวรรค์, มุ้งกระต่าย, หญ้าลืมเมือง, หญ้าเลาฮ้าง, สะพัง, หมาหลง, นองเส้งเปรง, ไช้ปู่กุย, หญ้าเมืองฮ้าง, หญ้าเหมือน, หญ้าฝรั่งเศส, เบญจมาศ, เซโพกวย, มนทน, ปวยกีเช่า, เฮียงเจกลั้ง. ตัวเดียวกันทั้งนั้น รึจะชื่อ ไอ้ห้าร้อยชื่อ ดีไหม ? ..... เอวัง ก็มีด้วย ประ กา ระ ฉะนี้ .........
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/01/2024 9:53 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 18/05/2019 6:16 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
21. มะม่วงขาวนิยม :
จาก : (098) 183-49xx
ข้อความ : คุณตาขา คุณพ่อให้ถามว่ามะม่วงไทยพันธุ์อะไรราคาแพงที่สุด ที่บ้านมีที่ว่างอยู่ 4 ไร่ อยากลงมะม่วงค่ะ .... หลานโอ
ตอบ :
- เท่าที่เจอะเจอวันนี้ เห็นมีก็แต่พันธุ์เดียวขาวนิยม ของสวนน้อยรักษา อ.นรินทร์ฯ (089) 695-5871 เท่านั้น จัดงาน ชม/ชิม/ช็อป หน้าสวน กก.ละ 180 บาท ไม่พอขาย
- ศักดิ์ศรีมะม่วงขาวนิยม แชมป์ประเทศไทย 4 ซ้อน ทั้งที่สวนน้อยรักษาส่งประกวดเอง และที่ สมช.ลูกสวนส่งประกวด จนบางปีกรรมการเห็นแล้วบอกเอารางวัลไปเลย ให้มะม่วงพันธุ์อื่นจากสวนอื่นได้โอกาสบ้าง
- มะม่วงขาวนิยม กำเนิดมาจาก เขียวเสวย กับ น้ำดอกไม้ ไม่รู้ว่าใครเป็นพ่อเป็นแม่ วันนี้ต้นแม่จริงๆ อยู่ที่นครชัยศรี นครปฐม ยังมีชีวิตแล้วก็ยังให้ผลผลิตปกติทุกประการ
- เดิมตั้งชื่อว่า น้ำดอกไม้มัน ขอจดทะเบียนแล้วไม่ได้ เพราะชื่อไปพ้องกับน้ำดอกไม้ที่มีอยู่ก่อน อ.นรินทร์ฯ จึงตั้งชื่อใหม่ว่าขาวนิยม ซึ่งเป็นนามสกุลของคุณพ่อ แล้วจดทะเบียนสายพันธุ์ได้จนถึงปัจจุบัน
- ขาวนิยมพันธุ์นี้ กินดิบได้เพราะมีเชื้อเขียวเสวย กินสุกได้เพราะมีเชื้อน้ำดอกไม้ กินห่ามก็ดีเพราะมีเชื้อเขียวเสวยกับน้ำดอกไม้
- นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นไปถึงสวนแล้วบอกว่า
...ทำไมคนไทยจึงคิดว่า คนญี่ปุ่นชอบกินมะม่วงออกเปรี้ยว .... คนญี่ปุ่นก็ชอบมะม่วงหวานเหมือนกัน
...ทำไมคนไทยจึงคิดว่า คนญี่ปุ่นชอบมะม่วงไซส์กลางๆ .... คนญี่ปุ่นก็ชอบไซส์ใหญ่ๆเหมือนกัน
- ว่าแล้ว ญี่ปุ่นซื้อหมด ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ราคาว่ากันไปตามขนาด ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ญี่ปุ่นคนนั้นเอาออกจากประเทศไทยแล้วเข้าประเทศญี่ปุ่นได้ยังไง
- สวนน้อยรักษา เป็นสวนยกร่องน้ำหล่อ คุณพ่อสร้างไว้เมื่อ 60-70 ปีที่แล้ว วันนี้เพิ่มเติมสปริงเกอร์ ลอยฟ้า เข้าไป ติดตั้งใช้งานมาแล้วกว่า 10 ปี ก็ยังใช้งานได้เหมือนเดิม .... สปริงเกอร์ลอยฟ้าใช้ท่อ พีอี. ขนาดนิ้วครึ่ง พาดกับกิ่งง่ามบนต้น จากต้นแรกตามลำดับไปถึงต้นสุดท้าย ที่ท่อ พีอี ฝังหัวสปริงเกอร์แบบพ่นฝอยเป็นละออง ทุกระยะ 2 ม. รัศมีที่หัวสปริงเกอร์พ่นละอองน้ำออกมา ฟุ้งกระจายครอบคลุมทั่วทรงพุ่ม จากต้นตัวเองฟุ้งต่อไปต้นข้างคัยงได้อีกด้วย
- มะม่วงขาวนิยมที่ไร่กล้อมแกล้ม ไซส์ 8 ขีดน้อยมาก, 1.2 กก.มาก, 1.5-1.8 ประมาณ 25-30% ของผลผลิตทั้งหมด .... งานนี้ไซส์ 1.5-1.8 ขายหมดก่อน บอกแล้วไง ใหญ่กว่าเป็นต่อ
- เฉพาะมะม่วงกินดิบไร่กล้อมแกล้มมี ขาวนิยม เขียวใหญ่ เขียวสุพรรณ เขียวเสวยรจนา งามเมืองย่า มันขุนศรี มันศาลายา แก้วลืมคอน ทะวายใหญ่ หนองแซง อาร์ทูอีทู ทุกปีเอามาวางขายหน้าร้าน ชมรมสีสันชีวิตไทย สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พร้อมกันทุกสายพันธุ์ เราบอกว่า หนองแซง อร่อยที่สุด แต่คนซื้อบอกว่า ขาวนิยม อร่อยที่สุด ....
งานนี้ต้องตามใจคนซื้อ ว่าแล้วตัดสินใจเปลี่ยนยอดบรรดามะม่วงกินสุก (อกร่องเขียว, อกร่องไทรโยค, อกร่องพิกุลทอง, อกร่องหยาดพิรุณ, น้ำดอกไม้สีทอง, น้ำดอกไม้เบอร์ 4/19, มหาชนก) เก็บไว้อย่างละ 1 ต้น ที่เหลือเปลี่ยนยอดเป็น ขาวนิยม. กับ อาร์ทูอีทู. เปลี่ยนยอดปีเดียว ปีรุ่งขึ้นออกดอกติดลูกแล้ว
- อาร์ทูอีทู คนซื้อบอกว่า มะม่วงพันธุ์นี้มีกลิ่นขี้ไต้ คนขายเฉือนให้ชิมทันที ให้ชิมซ้ำหลายๆครั้ง ชิมจนมั่นใจ เท่านั้นแหละ ซื้อทันที 50 กก. ๆละ 50 บาท ถามว่า เอาไปทำอะไรเยอะแยะ คำตอบก็คือเอาไปฝาก งานนี้คิดง่ายๆ ถ้าของไม่ดีจริง ใครจะกล้าซื้อไปฝากคนอื่น....ผลไม้ไร่กล้อมแกล้มทุกตัวรสจัดจ้าน เป็นผลมาจากการบำรุงด้วย ธาตุรอง/ธาตุเสริม ทั้งช่วงมีผลบนต้น ไม่มีผลบนต้น ตลอดปีตลอดชาติ ที่ทำได้ก็เพราะ สปริงกอร์-หม้อปุ๋ยหน้าโซน นั่นแหละ
- เมื่อ 2 ปีก่อน ที่ไร่กล้อมแกล้มจัดงาน ชม/ชิม/โนช็อป มะม่วงทุกสายพันธุ์ เก็บมะม่วงทุกสายพันธุ์มาวางบนถาด สายพันธุ์ละ 2-3 ลูก เขียนชื่อบอกเสร็จ แล้วเชิญชวนให้ชิม ชิมทุกสายพันธุ์ ๆละ 1ชิ้น 1คำ ชิมให้รู้รสชาดของแต่ละสายพันธุ์ว่า ดี/ไม่ดี-ต่าง/ไม่ต่าง กันอย่างไร เพื่อว่าเมื่อจะตัดสินใจปลูกมะม่วงบ้าง ปลูกกินปลูกขายก็ว่ากันไป จะได้รู้ว่ามะม่วงพันธุ์อะไรเป็นอย่างไร .... ที่นี่ไม่มีเขียวเสวย ฟ้าลั่น โชคอนันต์ น้ำดอกไม้ เพราะในตลาดมีเยอะแยะแล้ว ไปซื้อกินเองได้
- ไม่น่าเชื่อที่บางคนไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของการชิมมะม่วง พี่แกเล่นกินสายพันธุ์เดียว กินจริงกินจัง เพราะชอบพันธุ์นั้น ก็เลยไม่รู้ว่าพันธุ์อื่นรสชาดเป็นยังไง .... สงสัย เห็นเป็นมะม่วงฟรีมั้ง
- บางคนถามว่าขาวนิยม-เขียวใหญ่-เขียวสุพรรณ-เขียวเสวยรจนา-งามเมืองย่า-มันขุนศรี-มันศาลายา-แก้วลืมคอน-ทะวายใหญ่-หนองแซง เป็นมะม่วงพันธุ์ใหม่เหรอ เพราะไม่เคยได้ยินชื่อ ก็ต้องบอกไปว่าเป็น พันธุ์เก่าแก่ พันธุ์โบราณ บางพันธุ์มีแต่ในวังเท่านั้น
- บำรุงมะม่วงพันธุ์โบราณเหล่านี้ให้ได้ เกรด เอ.-จัมโบ้-โกอินเตอร์-ขึ้นห้าง ไซส์ใหญ่กว่าเป็นต่อ ส่งตลาด อตก. เท่าไหร่ก็ไม่พอขาย
บำรุงมะม่วง (บำรุงผล-ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) :
ทางใบ : ไบโออิ + ยูเรก้า 412 ให้ 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน จัดคิวไว้ให้ทุกวันเสาร์ ....วันดีคืนดี ให้น้ำตาลทางด่วน 1-2 ครั้ง ตลอดอายุผล .... มะม่วง 10 โซน ๆละ 50 ต้น รวม 500 ต้น แรงงานคนเดียว เวลาชั่วโมงเดียว
ทางราก : ยิบซั่ม ตราคนกับควาย กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่ ปีละ 2 ครั้ง ตัดหญ้าปล่อยให้แห้งตลอดปี .... ให้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 เดือนละครั้ง .... ให้ 21-7-14 ต้นละ 4-5 กำมือ ทุก 15 วัน
หมายเหตุ :
- ปีนี้ไม่ห่อผล ดูซิจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
- ใช้กับดักแมลงวันทอง (มายฟิกส์ + ฟลายแอต) ทุกวัน
- ใช้กับดักเพลี้ยไฟ (มายฟิกส์) กระจายทั่วทั้งสวน
- ซอยผลออกมากๆ เอาไว้น้อยๆ กะให้ได้ไซส์โลครึ่งมากๆ
- ใช้สารสมุนไพร ไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงเด็ดขาด เพื่อลูกค้า
22. หูชา :
เหตุอุบัติที่ชมรมสีสันชีวิตไทย สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล ชายหนุ่มเคยไปซื้อปุ๋ย โดยน้ำส้ม ลูกสาวเป็นคนขาย แต่วันนี้อยากปรึกษา
ชายหนุ่ม : ขอถามหน่อย แคลเซียม โบรอน ซื้อส่วนผสมไปจากที่นี่ ทำแล้วเก็บไว้ได้นานเท่าไหร่ ?
น้ำส้ม : เรื่องนี้น่าจะถามพ่อนะคะ
ชายหนุ่ม : ถามพ่อก็หูชาน่ะซี
น้ำส้ม : หูชา .... แสดงว่าพ่อพูดมาก พูดเยอะ ?
ชายหนุ่ม : ประมาณนั้นนั่นแหละ
น้ำส้ม : พูดมากๆ พูดเยอะๆ ไม่ดีเหรอ เราจะได้รู้เยอะๆ รู้มากๆ
ชายหนุ่ม : มากเกิน เยอะเกิน นั่นแหละหูชา
น้ำส้ม : พูดเยอะแต่เป็นเรื่องเดียวกัน กับพูดเยอะแต่หลายเรื่อง สารพัดเรื่อง มันต่างกันนะ
ชายหนุ่ม : ยากรู้แค่เรื่องเดียว
น้ำส้ม : มันก็ไม่ยากนี่นา เราอยากรู้เรื่องอะไร เราก็ถามแต่เรื่องนั้น เรื่องอื่นไม่ต้องถามซี่
ชายหนุ่ม : เรื่องเกษตรนี่ยากนะ
น้ำส้ม : พ่อเคยบอก เรื่องอะไรที่รู้แล้วจะไม่ยาก อะไรที่ไม่รู้ก็ต้องยากเป็นธรรมดา
ชายหนุ่ม : อย่างแคลเซียม โบรอน นี่ไง หมดอายุเมื่อไหร่ ? จะรู้ได้ยังไง ?
น้ำส้ม : พ่อเขียนไว้ในอินเตอร์เน็ต ให้ดูที่ สี กลิ่น กาก ฝ้า ฟอง ตะกอน ถ้าทุกอย่างยังเหมือนเดิม แสดงว่ายังดีอยู่
ชายหนุ่ม : เท่านี้เหรอ ?.... ขอบคุณครับ
น้ำส้ม : ขอบคุณค่ะ
23. กล้วยแต่ไม่กล้วย :
เมื่อคราวงานสัญจรไปที่ชัยนาท สมช.ผู้ฟังวิทยุ หนุ่มใหญ่ อายุ 50 ต้นๆ มาดแมนเอาจริงเอาจัง เข้ามาปรึกษา
สมช. : ผมมีที่อยู่ 10 ไร่กว่า อยากปลูกกล้วย แต่ไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์เรื่องกล้วยเลย
ลุงคิม : กล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยเล็บมือนาง กล้วยตานี กล้วยเจ้า .... เอากล้วยอะไร ?
สมช. : อยากรู้ทุกกล้วยเลย แต่กล้วยตานีกินไม่ได้นี่ครับ
ลุงคิม : กล้วยตานี เอาใบไปห่อของ เอาต้นไปทำบายศรี ส่วนกล้วยหักมุกเอาลูกไปทำกล้วยเชื่อม กล้วยปิ้ง
สมช. : แล้วกล้วยเจ้า เป็นยังไงครับ ?
ลุงคิม : คือกล้วย 12ต้น 12ราศี ล้อมเป็นวงกลม ใจวงกลมมีจอมปลวก แล้วกล้วยทั้ง 12 ต้นออกเครือพร้อมกัน หรือจะออกทีละต้นๆ เรียงลำดับทีละเดือนก็ได้ ที่แน่ๆ ทุกต้นชี้เครือเข้าหาจอมปลวกเหมือนกันหมด งานนี้เตรียมขอหวย หรือไม่ก็ขายผ้าเขียวผ้าแดง ธูปเทียน ขายแป้ง ซะก็ได้
สมช. : เอางั้นนะผู้พัน
ลุงคิม : เออซิวะ หรือจะทำให้กล้วยนออกเครือแทงทะลุกลางต้น หรือให้ออกเครือที่ยอดทั้งๆที่ยอดด้วน หรือจะทำให้หัวปลีที่ออกมารูปร่างเหมือนหัวพญานาค
สมช. : (งง อ้าปากค้าง ท่าทางเหมือนไม่เชื่อหูตัวเอง) ผมเอากล้วยธรรมดาๆนี่แหละครับ กล้วยเจ้ากล้วยราศีอะไรนั่นไม่เอาหรอก ลุงผู้พันว่ากล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า ปลูกเหมือนกันไหมครับ
ลุงคิม : อืมมม บนความต่างมีความเหมือน บนความเหมือนมีความต่าง .... กล้วยเหมือนกันแต่งสายพันธุ์ ดินแปลงเดียวกันแต่หัวแปลงท้ายแปลงต่างกัน เอาเป็นว่า ตอนแรกปลูกกระจายไปก่อน ไร่ละสายพันธุ์ หรือสายพันธุ์ละ 2-3 ก็พอไหว ระยะห่างระหว่างกอ 2 x 2 วา ....
อย่าลืมปรัชญาเกษตร เรารักกล้วย กล้วยรักเราไหม เพราะฉะนั้น เผื่อรักเผื่อเลือกไว้หน่อยก็ดี หาพื้นที่ลงมะเขือหลายๆมะเขือ ลงพริกหลายๆพริก ลงแตงโม แคนตาลูป แทรกไปเถอะอย่างละไร่สองไร่....
แม้แต่ไม้ผลยืนต้น อย่างทุเรียนนี่ก็น่ามองเพราะราคาแพงสุดในบรรดาไม้ผลด้วยกัน หรือจะเตรียมตัววางแผนทำสวนเกษตรเพื่อการท่องเที่ยว สวนท่องเที่ยวต้องมีต้นไม้ .....
ตอนนี้เรายังไม่รู้ว่า ไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุก ต้นอะไรเหมาะกับดินเรา ลงไปก่อน ลงแล้วบำรุงตามปกติ ปีเดียวรู้เรื่องว่าไม้ประเภทไหน O.K.หรือ NO.K. ไม้ไหน O.K. ก็ขยายพื้นที่ ไม้ไหนไม่ O.K. ก็ไม่ปลูก
สมช. : (ยิ้มจืดๆ พยักหน้าช้าๆ ในใจกำลังคิด เกษตรนี่รายละเอียดมากขนาดนี้เชียวหรือ)
ลุงคิม : ไม่ว่าพืชอะไร ถ้าเป็นพืชอย่างเดียวชนิดเดียว ปลูกแล้วขาย ๆ ทำงานทั้งปีได้ขายรอบเดียว อย่างเดียว ขายผลผลิตสดๆ เชื่อเถอะ 100 ปีก็ไม่รวย เผลอๆจนเป็นหนี้ด้วย
สมช. : ใช่ครับ มีคนปลูกกล้วย 20 ไร่ ลงทุกไป 2 แสนกว่า กล้วยโตเริ่มออกเครือน้ำท่วมใหญ่ น้ำขังค้างนาน 3 เดือน ต้นกล้วย 20 ไร่ไม่เหลือซักต้น
ลุงคิม : นั่นเพราะฝีมือธรรมชาติ แล้วเพราะฝีมือคนอีกล่ะ
สมช. : ฝีมือคน ใช่ครับ ไม่มีความรู้เรื่องกล้วย ทำแล้วได้เกรดฟุตบาธ ใส่ปุ๋ยฉีดยาบ้าเลือด ไม่ได้อะไรเลย
ลุงคิม : ใช่ งานนี้เอางี้ ความล้มเหลวที่เกิดจากธรรมชาติ ถือเป็นสภาวะจำยอม เสียคือเสีย แต่เสียแค่ทุนที่จ่ายจริงลงไป ก็จ่ายน้อยๆซี่ จ่ายครึ่งทำเองครึ่งก็ได้....
ส่วนความล้มเหลวที่เกิดจากฝีมือคนปลูก อันนี้แก้ไขด้วยการ ฟัง-คิด-ถาม-เขียน....อ่าน-ดู-ทำ-คิด-วิเคราะห์-เปรียบเทียบ-ฟันธง ทั้งหมดนี้ทำได้ด้วยตัวคนเดียว ตัวเรานี่แหละ ไม้ต้นแรกเริ่มแล้วไม้ต้นต่อๆ ๆๆ ไปก็จะตามมา
สมช. : ครับบบบบ
ลุงคิม : ทำเถอะ ทำแล้วจะรู้เองว่า ถูกผิด ใช่ไม่ใช่ ดีไม่ดี งานนี้คุยได้เต็มปาก กูทำกับมือ มึงอย่างเถียง นี่แหละนักวิจัยชาวบ้านละ สำเร็จขึ้นมาละก็ดอกเตอร์เชียวนะมึง
สมช. : ครับบบบ
ลุงคิม : เฮ่ยยยย ครับๆ น่ะ ตกลงจะปลูกอะไร ?
สมช. : ทุกอย่างที่ผู้พันบอกเลยครับ กับจะหาอย่างอื่นมาทดลองปลูกอีก ปีเดียวก็รู้เรื่อง
ลุงคิม : ลองดู
24. งานส่งเสริมการเกษตร :
อ้างอิง ....
* ธ.ก.ส. เผยผลสำรวจสถานการณ์หนี้สินครัวเรือนเกษตร ครึ่งหลังปี 2561 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.3% แต่เมื่อเทียบสัดส่วนหนี้ต่อ GDP ปรับตัวลดลง 4.13% ชี้ครัวเรือนเกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.9% และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 1.1% ด้านหนี้นอกระบบพบลดลงกว่าปีก่อน 18.5%
* เกษตรกรไทยปี 59 เป็นหนี้มากขึ้น ชี้ผลผลิตราคาตก และภัยธรรมชาติเป็นสาเหตุมากที่สุด
* สถานะความเป็นหนี้ของเกษตรกร ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ครัวเรือนเกษตร ส่วนใหญ่ 66% ยังคงพึ่งเงินกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนต่างๆ โดยกู้ยืมจาก ธ.ก.ส. เป็นหลัก รองลงมาเป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ เช่น AEON และองค์กรการเงินกึ่งทางการ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง
นี่คือ ผลงานส่งเสริมการเกษตร อย่างแท้จริง.....
รายการสีสันชีวิตไทย จับงานส่งเสริมการเกษตรตั้งแต่ปี 2537 แบบสัญจรไปสอนถึงบ้าน เปิดสอนที่ไร่กล้อมแกล้ม ทั้งพูด ทั้งทำให้ดู ให้ทำกับมือ ทำรายการวิทยุ เขียนหนังสือทั้งแจกทั้งขาย
ถึงวันนี้ผลงานที่ KIM ZA GASS ทำ ประเมินผลได้ว่า ล้มเหลว โดยสิ้นเชิง.... จากจุดนี้จึงอยากถามว่า ใคร หน่วยงานไหน ส่งเสริมได้สำเร็จบ้าง ?
25. ซื้อ ทุเรียน-ขนุน หน้าฝน :
ไปแผงขายผลไม้ริมถนน ตามหมู่บ้าน จะซื้อทุเรียน-ขนุน ซึ่งเป็นไม้ผลย่านนั้น เทคนิคการเลือกผลไม้ที่พึงปฏิบัติ คือ :
1. อย่าเพิ่งเดินไปที่แผงขาย ทุเรียน-ขนุน โดยตรงทันที แต่ให้เดินไปที่แผงขายผลไม้อย่างอื่นก่อน วางมาดเหมือนสนใจผลไม้ชนิดนั้น ไม่ได้สนใจ ทุเรียน-ขนุน แม้แต่น้อย
2. ชวนคนขายคุย ย่านนี้ ระยะนี้มีฝนไหม ? ถ้ามีฝน ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ? และอื่นๆที่เกี่ยวกับฝน .... ทั้งนี้ หากทุเรียนแก่จัด ใกล้เก็บ แล้วเจอฝน ความแก่ของผลทุเรียนจะหยุด กลายเป็นผลไม่แก่ทันที ส่วนขนุนแก่จัด ใกล้เก็บ แล้วเจอฝน จะเกิดอาการเมล็ดงอกใน เนื้อมีกลิ่นเหม็น .... ขนุนที่ผลแก่ เจอฝน แล้วไม่เกิดอาการเมล็ดงอกใน มีพันธุ์เดียว คือ พันธุ์ ทองสุดใจ เท่านั้น
3. รู้ข้อมูลทางธรรมชาติแล้วจึงตัดสินใจ ซื้อ/ไม่ซื้อ ตามอัธยาศัย
4. วิธีการเลือกที่ดีที่สุด คือ ผ่าดูเนื้อใน
26. ทหารขี้อิจฉา :
ภารกิจจัดรายการวิทยุช่วง 3 ปี เป็นการปฏิบัติภารกิจโดยแท้ ไม่มี SPONSOR ไม่มีรายได้พิเศษใดๆทั้งสิ้น....โดยทฤษฎีถือว่าเป็นการ ประชาสัมพันธ์/แจ้งเกิด รายการ
ขึ้นปีที่ 4 ของการทำรายการ บ.กรีนพลาน่า เข้ามาเป็น SPONSOR โฆษณาปุ๋ยน้ำทางใบ BIO KING โดย บ.กรีนพลาน่า จำกัด จ่ายค่าเวลาสถานีวิทยุเดือนละ 36,000 (ราคานี้สถานีวิทยุกำหนดเอง) ค่าผู้ดำเนินรายการเดือนละ "30,000" (ราคานี้ บ.กรีนพลาน่า ตั้งให้เอง) .... 2 ปีแรกของการโฆษณา ได้ผลอย่างมากๆ
ขึ้นปีที่ 6 ของการทำรายหาร บ.กรีนพลาน่า ขยายเครือข่ายโฆษณาทางวิทยุจากสถานีวิทยุ ปตอ. ที่เดียว เพิ่มไปที่ สถานีวิทยุ มก. (กทม. ถ่ายทอดไปเชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา), สถานีวิทยุ สทร. (จันทบุรี), สถานีวิทยุเสียงอดิศร, (สระบุรี, สกลนคร) กับจ่ายค่าผู้ดำเนินรายการอีกสถานีละ 30,000 .... (รวมจ่าย 4 สถานี ๆละ "30,000" = "120,000" ต่อเดือน)
งานนี้นายทหารที่เคยแพ้คิวไปเรียนเสธ. ร้องเรียน เสธ.นปอ.ทบ. (ตำแหน่งพิเศษ ผอ.สถานีวิทยุ พล.ปตอ.) ว่า...
ร้องเรียน : ผู้พันวีระฯ ไม่ต้องทำงานที่หน่วย ไปทำงานที่สถานีวิทยุได้เงินพิเศษรวยไปเลย
เสธ.นปอ. (ผอ.สถานีวิทยุ) : การทำรายการวิทยุก็เป็นงานของหน่วยเหมือนกัน พล.ปตอ. เป็น นขต. (หน่วยขึ้นตรง) ของ นปอ. .... พ.ท.วีระฯ ตำแหน่งโดยตรงคือ ตำแหน่งนายทหารประชาสัมพันธ์ ก็ต้องปฏิบัติหน้าที่นี่ .... กรณี SPONSOR จ่ายค่าเช่าเวลาถือเป็นรายได้ปกติของสถานี เรื่องนี้ระเบียบกองทัพบกไม่ได้ห้าม .... ส่วนค่าตัวหรือรายได้ของผู้ดำเนินรายการเป็นสิทธิส่วนตัวระหว่าง ผู้ดำเนินรายการ กับ SPONSOR หน่วยหรือสถานีไม่เกี่ยวข้อง.... เรื่องการเป็นนักจัดรายการวิทยุหน่วยไม่ได้จำกัดเฉพาะบุคคล หมายความว่า ใครอยากจัดรายการวิทยุ เสนอความต้องการขึ้นมา ได้ทุกคน
ร้องเรียน : แล้วคนที่มาจัดรายการ ไม่มี SPONSOR จะทำยังไง ?
เสธ.นปอ. (ผอ.สถานีวิทยุ) : ไม่มีคือไม่มี ไม่มี SPONSOR ก็ทำฟรีไป เพราะเรื่อง SPONSOR นี่ ทุกรายการ สถานีไม่ได้ทำอะไร ผู้จัดรายการหาเองทั้งนั้น
ร้องเรียน : แบบนี้ผมคงทำไม่ได้
เสธ.นปอ. (ผอ.สถานีวิทยุ) : ทำไม เขาทำได้ เราทำไมได้ .... อิจฉาเขาเหรอ ?
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/01/2024 10:07 am, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 19/05/2019 6:29 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
27. ขายถูกต้อง ได้เงิน+บุญ :
ผญ.สนธิฯ อยู่บ้านภูผีโห่ เป็นผู้นำชุมชนที่มีน้ำใจ คติประจำใจว่า ผู้ใหญ่บ้านรวย ลูกบ้านรวย ออกเงินกู้ให้ลูกบ้านเอาไปทำการเกษตรโดยเฉพาะ คิดดอกเบี้ยถูกๆ ถูกที่สุดในบรรดาเจ้าหนี้เงินกู้ ลูกหนี้ดีๆบางครั้งไม่เอาดอกเอาแต่ต้น
ผญ.สนธิฯ รู้และเข้าใจดีว่า ต้นทุนทำการเกษตรตัวหนึ่ง ตัวสำคัญ คือ ปุ๋ย ว่าแล้ว ผญ.สนธิฯ ตัดสินใจไปเรียนที่ RKK เรียนวิธีทำปุ๋ย ไบโออิ, ยูเรก้า, ไทเป, แคลเซียม โบรอน, น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง สูตรตามชนิดพืช, เรียนแล้วกลับไป หัดทำ-ฝึกทำ สร้างประสบการณ์ตรง
ผญ.สนธิฯ เริ่มงานออกเงินกู้ใหม่ ใครกู้เงินแล้วซื้อปุ๋ย ผญ.ไปใช้ ไม่คิดดอกเบี้ย .... ลูกบ้านพอใจ ไม่เสียดอกเบี้ย ปุ๋ยราคาถูกมากๆ สูตรปุ๋ยมาจากผู้พันคิมในรายการวิทยุ เป็นการันตี
นารุ่นแรกได้ผลทันที แม้ผลผลิตที่ได้ไม่มากนักแต่ก็มากกว่าที่เคยทำแบบเก่า (แบบเก่า : ปุ๋ยเคมีไร่ละ 2 กส. ไม่เคยให้ทางใบ) แต่ต้นทุนค่าปุ๋ย ผญ.ต่ำกว่าปุ๋ยร้านค้ามาก ๆๆ ที่สำคัญ ได้เงินใช้หนี้โดยไม่ต้องจ่ายค่าดอก
นารุ่น 2 รุ่น 3 ผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้นจากรุ่นแรก ไม่ใช่แค่ตัวเองคนเดียว ลูกบ้านลูกหนี้คนอื่นๆก็เป็นเช่นนี้ ผลผลิตข้าวที่ได้เพิ่ม (ทั้งปริมาณและคุณภาพ), ต้นทุนลด (จ่ายน้อยลง 200%), อนาคตดี (โรงสีพอใจ สั่งซื้อล่วงหน้า)
ผญ.สนธิฯ แม้จะเสียรายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้แต่ได้กำไรจากปุ๋ยแทน ได้มากกว่าด้วย ของแถม คือ ศรัทธา จากลูกบ้านลูกหนี้
28. ขนุนยกลูก ใครซื้อ :
สวนขนุน 20 ไร่ ที่บางละมุง เจ้าของภูมิใจที่เกษตรให้เป็นสวนตัวอย่าง การบริหารจัดการด้านการผลิตตามตำราที่เกษตร สอน/บอก แต่งานนี้มีแต่ ทุกครั้งที่เอาขนุนไปวางขายในตลาด
ลูกค้า : ขายยังไงคะ ?
คนขาย : กิโลละ 20 บาทครับ
ลูกค้า : ลูกนี้กี่กิโลคะ ?
คนขาย : 20 กิโล ครับ
ลูกค้า : โอ้โฮ 20 กิโล กินกี่วันถึงจะหมด ?
คนขาย : น้ำหนักทั้งลูก 20 กิโล แกะเนื้อแล้วจะเหลือ 10 กิโล ครับ
ลูกค้า : 10 กิโล ก็เถอะ กินกี่วันถึงจะหมด ?
คนขาย : กินไม่หมด ใส่ตู้เย็นก็ได้นี่ครับ
ลูกค้า : ขนุนแกะ ใส่ตู้เย็น ค้างคืนแล้วกินไม่อร่อย .... แบ่งขายไหม ขอซื้อที่แกะแล้วซักกิโลเดียวเท่านั้นแหละ
คนขาย : ขอโทษครับ ที่นี่ขายขนุนยกลูกครับ ไม่ได้แกะขาย
ลูกค้า : งั้นก็ไม่ซื้อ ซื้อไปก็กินไม่หมด
ปัญหาตลาดขนุน คือ ไม่มีใครซื้อแบบยกลูกไปกินที่บ้าน แม่ค้าแกะยวงขายปลีกก็รับวันละ 1-2 ลูกเท่านั้น งานนี้ ขนุน 20 ไร่ (รวมกี่ต้นไม่ได้นับ) ถูกโค่นทิ้งทั้งหมด แล้วเตรียมไม้ผลอย่างอื่นแทน
ปล.
ขนุนทั่วไปช่วงผลแก่เจอฝน เมล็ดมักงอกใน กลิ่น/รส ไม่ดี ยกเว้นขนุนพันธุ์ "ทองสุดใจ ที่ผลแก่แล้วเจอฝนไม่เป็นปัญหา
29. ข้าว 9 เมล็ด ปลูกได้ 30 ไร่ :
"คุณบังอร" อยู่สุพรรณบุรี ได้ข้าวเปลือกไรซ์เบอร์รี่มาจากอาจารย์ที่ ม.เกษตรกำแพงแสน เจ้าของลิขสิทธิ์เมล็ดพันธุ์ จำนวนเพียง 9 เมล็ดเท่านั้น ด้วยความอยากได้ข้าวสายพันธุ์เป็นที่้สุด นำมาเพาะลงในแปลงที่เตรียมไว้ ประคบประหงมอย่างประณีตที่สุด ด้วยแนวทาง อินทรีน์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของต้นข้าว
ข้าวเปลือก 1 เมล็ดปลูกแล้วได้ 1 กอ .... 1 กอ แตกกอได้ 50 ลำ .... 1 ลำได้ 100 เมล็ด.... นั่นคือจาก 1 เมล็ดปลูกแล้วได้ 50 ลำ x 100 เมล็ด = 5,000 เมล็ด
สรุป : ข้าวเปลือก 9 เมล็ด ปลูกแล้วได้ 9 เมล็ด x 50 ลำ x 100 เมล็ด = 4,500 เมล็ด
ขยายผลรุ่นแรก 4,500 ปลูกได้ 1 ไร่ .... ขยายผลรุ่น 2 จาก 1 ไร่ปลูกได้ 30 ไร่
นอกจากนี้ ในเนื้อที่ 30 ไร่ ยังได้จัดแปลงส่วนหนึ่งสำหรับทำเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะด้วยเทคนิคการบำรุง การแยกข้าวปน ทุกขั้นตอนต้องอดทนอย่างที่สุด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากหากต้องการทำ .....
วันนี้ คุณบังอรฯ ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณธรรม ใครๆขายข้าวปลูกไรซ์เบอร์รี่ ถังละ 1,500-1,700 แต่คุณบังอรฯ ขายถังละ 500 ก็ได้ข้าวเกวียนละ 50,000 แล้ว สบายๆๆ
ไรซ์เบอร์รี่ ล้มตอซัง ประหยัดต้นทุน :
- ทำนาแบบ อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของนาข้าว ยิ่งใช้ปุ๋ยลุงคิม ประจำหลายๆรุ่น จะยิ่งใช้น้อยลง จำนวนครั้งฉีดทางใบน้อยลง ให้ทางดินก็ใส่น้อยลงด้วย อันนี้น่ะจะเป็นเพรา ดินดีแบบสะสม กับต้นสมบูรณ์ที่ได้จากดิน ให้ปุ๋ยทางใบน้อยครั้งลงต้นก็ยังงามได้ ออกรวงดี น้ำหนักดี สำคัญที่สุด คือ โรคแมลงไม่วอแววี้ดว้ายกระตู้วูเลย
- ไถกลบฟาง ย่ำเทือกประณีตกำจัดวัชพืชไปในตัว เลิกยาฆ่าหญ้าแต่ใช้วิธีถอนเพราะมีไม่มาก เลิกสารเคมีฆ่าแมลงแต่ใช้สารสมุนไพรแบบเดี่ยวๆ หรือแบบผสมปุ๋ยทางใบ ฉีดบ่อยๆ ฉีดล่วงหน้าก่อนศัตรูพืชมา ถือหลัก กันก่อนแก้ แย่แล้วแก้ไม่ทัน
- หลายๆรุ่นมานี้ เฉพาะต้นทุนค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ลดสุดๆ ลดกว่าเดิมหลายเท่าตัวเห็นได้ชัด .... ไม่จ้างแรงงาน ทำเองสองคนผัวเมียเท่านั้น ลงแปลงเดินย่ำลงไปในนาทุกวัน .... ขยันจนน่ากลัว ขยันแล้วรวยใครจะไม่เอา ผิดกับบางคนที่ "ขี้เกียจ" อ้างโน่นอ้างนี่ ไม่มีเวลา ยุ่งยากเสียเวลา ทำไม่เป็น ไม่มีความรู้ ไม่มีใครมาส่งเสริม แบบนี้ก็จง"จน+หนี้" ต่อไปเถอะ
- รู้ดีว่า สายพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ยังไม่นิ่ง เพราะฉะนั้น ทุกรุ่นทุกรอบที่ปลูก จะแยกข้าวปนโดยการเดินลุยลงไปแล้ว ถอนทิ้งทั้งกอ ถอนทุกอย่าง วัชพืช ข้าวสีขาวที่ติดมากับรถเกี่ยว ไรซ์เบอร์รี่เมล็ดสีขาวอมเทา อย่าเสียดาย อย่างก
- รุ่นนี้ทำนาไรซ์เบอร์รี่แบบ ย่ำตอซัง ได้ผลชัดเจนมากๆ ประหยัด ค่าไถ ค่ำย่ำเทือก ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าดำ ค่าแรง ฯลฯ ....
วิธีการ :
เกี่ยวข้าวเสร็จ เกลี่ยฟางให้เสมอกัน แล้วใช้ล้อย่ำตอทันที
บริเวณกลางแปลงล้อย่ำทำงานเรียบร้อยดี แต่ตอข้าวริมคันนาล้อย่ำทำงานไม่สะดวก ต้องใช้เครื่องตัดหญ้าช่วยตัดตอแทน ดูแล้วเรียบร้อยดีกว่าย่ำ
(..... คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ .... ใช้เครื่องตัดหญ้าแบบเส้นเอ็นดีกว่าวิธีใช้ใบมีดเหล็กหรือวิธีใช้ล้อย่ำ ทั้งนี้ ต้นข้าวจะขาดตอเสมอกันทั่วทั้งแปลง ส่งผลให้การแทงหน่อใหม่ดี....)
หลังย่ำตอ 5-7 วัน หน่อข้าวเริ่มแทงขึ้นมาจากพื้นดิน สำรวจได้ประมาณ 75-80% ทิ้งไว้อีก 3-5 วัน ส่วนที่เหลือเริ่มงอก รวมข้าวงอกมากกว่า 95 % ที่เหลือช่วยเขาโดยแซะข้าวกอข้างเคียงมาดำเสริ
(.... ก่อนย่ำตอไม่ใส่น้ำ ปล่อยให้หน้าดินแห้งเพื่อให้ตอแหลกสลายดี แม้ผิวดินจะแห้งแต่มีน้ำอยู่ไต้ผิวดิน อันเป็นผลพวงมาจากการไถกลบฟางซ้ำหลายๆรุ่น ฟางไต้ดินจึงทำหน้าที่เสมือนฟองน้ำเก็บน้ำไว้ให้ หล่อเลี้ยงตอข้าวยามรอแตกหน่อใหม่ได้....)
- เมื่อมั่นใจ ทั้งหน่อข้าวแตกใหม่ หน่อใหม่ที่ปลูกซ่อม ยืนต้นได้แล้ว สิริรวมระยะเวลาทั้งสิ้นกว่า 10-12 วัน ใครเห็นก็คิดว่า ตอข้าวขาดน้ำนานปานนี้น่าจะตายหมดแล้ว แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ นอกจากในดินมีฟองน้ำคอยอุ้มน้ำไว้ให้แล้ว ระบบรากที่สมบูรณ์แข็งแรง จากการบำรุงต้นข้าวส่งผลให้ตอข้าวยืนรอแตกหน่อใหม่ได้อย่างไม่สะทกสะท้าน จึงสูบน้ำเข้านา จากนั้นทุกอย่างทุกขั้นตอน ปฏิบัติเหมือนการทำนาปกติ
- ฟางในดินอุ้มน้ำไว้ในเนื้อดินได้นานนับเดือน เป็นน้ำระดับ "ชื้น" งานนี้นอกจากได้น้ำแล้วยังมีจุลินทรีย์ประจำถิ่น +จุลืนทรีย์ที่ใส่ลงไปอีกด้วย
- แปลงข้างๆ เห็นนาแปลงนี้มาตลอด ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ข้าวปลูกมา 9 เมล็ด, การเปลี่ยนจากข้าวสีขาวมาเป็นข้าวสีดำ, การปฏิบัติบำรุง, ทุกอย่างทุกขั้นตอนประจักษ์แจ้งเห็นกับตา จับกับมือ แม้กระทั่งรายได้แต่ละรุ่นก็รู้อยู่แก่ใจ ....
งานนี้นอกจาก ไม่ใส่ใจ-ไม่คิด-ไม่วิเคราะห์-ไม่เปรียบเทียบ กับนาตัวเอง กับนาแปลงอื่นๆ แล้ว ยังค่อนขอดนาๆว่า นาอินทรีย์ไปไม่รอด ข้าวสีดำโรงสีไม่รับซื้อ มาถึงรุ่นนี้ ไรซ์เบอร์รี่ล้มตอซัง ก็ยังค่อนขอดอีกว่า ต้นข้าวไม่ใช่ต้นกล้วยถึงจะเอาหน่อได้ กระทั่งหน่อข้าวขึ้นมาเต็มแปลง เห็นเต็มตาว่านั้นคือต้นข้าว ก็ยังไม่วายสงสัยอีกว่า มันมาได้ยังไง ?
กรอบแห่งความคิด :
คุณภาพเพิ่ม :
- ไม่อยู่ในเกณฑ์ถูกตัดราคา (ปลอม ปน ป่น ไข่ เรื้อ ลีบ)
- ปริมาณเท่ากันแต่ขายได้ราคาสูงกว่า
- ผลิตตามความต้องการของตลาด หรือผู้รับซื้อ (การตลาด นำการผลิต)
- แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม (ขายส่ง ขายปลีก)
- ปรับ/เปลี่ยน วิธีการปฏิบัติเมื่อสภาพอากาศผิดปกติ เพื่อให้ได้ผลผลิต
- อินทรีย์นำ เคมีเสริม หรือ เคมีนำ อินทรีย์เสริม ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
- ฯลฯ
ต้นทุนลด :
- เขียนรายการต้นทุนที่เป็นเงิน (เช่า ไถ ย่ำ พันธุ์ หว่าน/ดำ/หยอด ฉีด ปุ๋ย ยา ฯลฯ) ขึ้นมาก่อน ทุกรายการ
- เขียนรายการต้นทุนที่ไม่ได้ซื้อ (ที่ดิน เวลา แรงงานตัวเอง โอกาส ฯลฯ) ขึ้นมาก่อน ทุกรายการ
- ประมาณการตลาดล่วงหน้าราคาขายว่า ขายแล้วจะได้เท่าไหร่
- คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ต้นทุนระหว่างทำเอง 100% กับ ทำเองครึ่งนึ่งซื้อครึ่งนึง
- ลงทุนแก้ปัญหาครั้งเดียว เพื่อป้องกันปัญหาระยะยาว
- ใช้ เทคโนโลยีวิชาการ ผสมผสาน เทคโนโลยีชาวบ้าน
- ฉลาดเลือก ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้ ฉลาดวางแผน ฉลาดทำ เพื่อต้นทุนที่ต่ำกว่าแต่ประสิทธิภาพเหนือกว่า
- ใช้เครื่องทุ่นแรง เพื่อประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน
- ฯลฯ
อนาคตดี :
- ดิน น้ำ ดีขึ้นเรื่อยๆ
- ชื่อเสียง เคดิต
- รวมกลุ่มสร้างผลผลิตเพื่อผู้รับซื้อมั่นใจ
- เปิดตัวเปิดใจรับรู้ข้อมูลทางวิชาการ แล้วต่อยอดขยายผล สำหรับรุ่นหน้า รุ่นต่อๆไป
- ฯลฯ
**** ทฤษฎีนี้ นำไปใช้กับนาข้าวได้ทุกชนิด ทุกสายพันธุ์ ทุกประเทศ ****
30. นายให้ไปเรียนเสธ. :
ที่ บก. นปอ. (กองบัญชาการ หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก...ชั่วคราว) สี่แยกเกียกกาย กทม. ผอ.กพ. (ผู้อำนวยการฝ่ายกำลังพล) ยืนพิงประตูหน้าห้อง กร. (กิจการพลเรือน) พูดคุยตามประสาทหารกับนายสิบฝ่าย กร. เป็นการคุยเพื่อฆ่าเวลามากกว่าหวังผลอะไรซักอย่าง นานเกือบครึ่งชั่วโมง ผอ.กพ. มองไปมุมท้ายห้อง แล้วถามขึ้นลอยๆ
ผอ.กพ. : วีระ .... ไปเรียนเสธ.ไหม ?
ลุงคิม : (เสียงดังฟังชัด ทุกคนในห้องได้ยิน มองไปที่ ผอ.กพ.ก่อน แล้วมองมาที่ลุงคิม เงียบฟัง ไม่พูดอะไร....ลุงคิมตอบทันที) .... ไปครับ
ผอ.กพ. : (ทุกคนในห้องหันขวับไปมอง ผอ.กพ.) O.K. ผบ.ให้คุณวีระฯ ไปเรียนเสธ.รุ่นนี้นะ
ลุงคิม : (ยืนขึ้น ชิดเท้า โค้งทำความเคารพด้วยความเคยชินแล้วตอบ) ครับ....ขอบพระคุณครับ
ผอ.กพ. : แล้วผมจะออกหนังสือส่งตัวให้นะ
ลุงคิม : ครับ....ขอบพระคุณครับ
เหมือนเสร็จภารกิจ ผอ.กพ.หันหลังกลับทันที ไม่สนใจเสียงซุบซิบฮือฮาของลูกน้องในห้อง กร. จากนั้นไม่ถึง 10 นาที เสียงร่ำรือ
ผบ.ให้ผู้พันวีระ ไปเรียนเสธ....
ผบ.ให้ผู้พันวีระ ไปเรียนเสธ....
ผบ.ให้ผู้พันวีระ ไปเรียนเสธ ....
กระจายทั่วทั้ง บก.นปอ.
ตามระเบียบการส่งกำลังพลไปเรียน ร.ร.เสนาธิการทหารบก ของหน่วยฯ ช่วงนั้นมีคิวคนที่มีสิทธิ์ไปเรียนก่อนถึงลุงคิม 2 คน นั่นหมายความว่าต้องรอเวลาอีก 2 ปี ลุงคิมจึงจะมีสิทธิ์ไปเรียน
งานนี้คนเสียสิทธิ์ตามคิวโวยทันที : ..... เฮ้ยยยย เล่นเส้นแบบนี้ไม่ยุติธรรมนี่หว่า....
คำตอบจากลูกน้องใน กร. : ........... เส้นหรือไม่เล่นเส้น ไปถาม ผอ.กพ. เอาเอง...
นั่นแหละเสียงโวยจึงเปลี่ยนเป็นเสียงยอมรับผลงานลุงคิมในสายตา ผบ.นปอ.
31. ปัจจัยพื้นฐานการเกษตรด้านพืช :
ดิน น้ำ แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล สารอาหาร สายพันธุ์ โรค ...........
ตลาด ต้นทุน คุณภาพ ปริมาณ แปรรูป พันธะสัญญา คิวซี คิวอาร์ อนาคต ..........
ปุ๋ย ยา เทคนิค เทคโนฯ โอกาส .........................................
หลักบริหาร 6 M
MAN. MONEY. MATERIAL. MATERIAL. MACHINE. MANGEMENT. MORALE.
ข้อมูล
5 W. (WHO WHAT WHEN WHERE WHY) 1 H. (HOW)
32. รู้ VS ไม่รู้ :
แบบ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน-มาตรฐานโรงงาน-มีหลักวิชาการ รองรับ/ยืนยัน เกษตรอินทรีย์ๆ ๆๆ ไม่ใช้สารเคมีๆ ก็ให้น่าสงสัยว่า เมื่อไม่ใช้สารเคมีแล้วใช้สารอะไรกำจัดศัตรูพืช
ไม่มีพืชใดในโลกนี้ไม่มีศัตรูพืชประจำตระกูลเผ่าพันธุ์ วันนี้ยังไม่มีเพราะยังไม่มา
พืชกับศัตรูพืช เกิดคู่กันมาตั้งแต่กำเนิดโลก นับล้านปีแล้ว วันนี้ก็ยังอยู่
ไม่น่าเชื่อ เกษตรกรปลูกพืชเป็นอาชีพหลัก เห็นตัว หนอน/แมลง/โรค แต่ไม่รู้จักชื่อ
ไม่รู้วัฏจักรชีวิต เกิด-กิน-แก่-เจ็บ-ตาย-ขยายพันธุ์ ของมัน
สวมวิญญาณนักปราชญ์ สุ-จิ-ปุ-ลิ
+ อ่าน-ดู-ทำ-ใช้-คิด- วิเคราะห์-เปรียบเทียบ-ฟันธง ....
X ทำใช้-ทำขาย-ทำแจก
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/01/2024 10:55 am, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 20/05/2019 6:43 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
33. ส่งเสริมสไตล์ไร่กล้อมแกล้ม :
* การเกษตรด้านพืชทุกแแบบต้องอยู่บนพื้นฐาน....เกษตรลดต้นทุน-อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด-แต่ละปัจจัยพื้นฐาน-แต่ละวัตถุประสงค์
* ต้นทุนลด ทำเอง - ผลผลิตเพิ่ม ปริมาณ คุณภาพ - อนาคตดี เกรด เอ. จองล่วงหน้า
* แปลงภาษาวิชาการเป็นภาษาชาวบ้าน.... ภูมิปัญญาพื้นบ้าน มาตรฐานโรงงาน มีหลักวิชาการรองรับ
* ทำได้ ได้ทำ เพราะอะไร ต่อยอด/ขยายผล ยังไง ....ทำไม่ได้ ไม่ได้ทำ เพราะอะไร ปรับ/แก้ ยังไง
*ผลมาจากเหตุ เหตุทำให้เกิดผล ....... ทำถูกต้อง ได้ถูกต้อง - ทำผิด ได้ผิดผิด
* ปลูกพืชตามใจพืช ไม่ใช่ตามใจคน .... เลิก คิดเอง-ถามเอง-ตอบเอง
* ไม่เอาชนะธรรมชาติ แต่อยู่ร่วมกับธรรมชาติ แสวงประโยชน์จากธรรมชาติ
* ปลูกพืชขายผลผลิต 100 ปี ไม่รวย แต่าขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่อง ปีเดียว "รวย"
* เน้นเน้นเน้น H. (HOW TO) ..... ผ่านผ่าน W. (WHO WHAT WHEN WHERE WHY)
* ให้ปุ๋ยเคมีฟันธง ....สูตรไหน-ทางใบ/ทางราก-กี่วันครั้ง-เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ด้วยอะไร ? เพราะอะไร ?
* ให้ปุ๋ยอินทรีย์ ฟันธง .... แห้ง/น้ำ-เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ด้วยอะไร ? เพราะอะไร ?
* ให้ยาสมุนไพรฟันธง .... สูตรไหน ตัวไหน ควบคู่ ไอพีเอ็ม ด้วยอะไร ? เพราะอะไร ?
* ส่งเสริมแบบ ฟันธง เจาะลึก ปุ๋ย-ยา-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน .... ยากที่สุด คือ "ตลาด"
* ที่นี่ที่ไหนๆ ไม่มีที่ดีที่สุด ทุกที่มีดีสำหรับตัวเขาเอง มิเช่นนั้นเขาคงอยู่ไม่ได้
เอา "ดี" ของเขามา ปรับ/ประยุกต์/เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก/ต่อยอด/ขยายผล ให้ตรงกับของตัวเอง
* ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป กะรวยคนเดียว/กะรวยกวาข้างบ้าน = จนคนเดียว จนกว่าข้างบ้าน .... กะรวยด้วยกัน = รวยทุกคน รวยทั้งหมู่บ้าน
* มีคนละนิดละหน่อย หันหน้าเข้าหากัน เอามารวมกัน = จะมีมากทุกคน
* กล้าขยัน กล้าคิด กล้าทำ .... คนกล้า = สำเร็จทุกราย
* พฤติกรรม ทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณี .... แบบเดิม = ไปไม่รอด
34. มิติเกษตร :
มิติ 1 : มูลค่าที่ดินวันนี้ไร่ละแสน ตกทอดเป็นมรดกให้หลานไร่ละล้าน
มิติ 2 : ขายที่ดิน คือ ชีวิต/วงศ์ตระกูล/นามสกุล/ศักดิ์ศรี สูญสิ้นแล้วทุกสิ่งอย่าง
มิติ 3 : ขายที่ใช้หนี้แล้วเช่าที่ตัวเอง อนาคตไม่แน่เพราะเจ้าของคนใหม่จะเอาคืนเมื่อไหร่ไม่รู้
มิติ 4 : สังคมโลกวันนี้ หยุดอยู่กับที่ = ถอยหลัง เพราะคนอื่นก้าวไปข้างหน้า
มิติ 5 : ทำแบบเดิม ทำตามคนที่ล้มเหลว VS ทำแบบใหม่ ทำตามคนที่สำเร็จ
มิติ 6 : เปิดตัว เปิดใจ รับข้อมูล VS ไม่ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว
มิติ 7 : ไม่รู้ไม่เป็น-ไม่เป็นไม่รู้....เกิดจากอะไร ? เกิดได้ยังไง ? แก้ไขได้ไหม ? แก้ไขยังไง ?
มิติ 8 : ไม่รวยแต่เป็นหนี้...เกิดจากอะไร ? เกิดได้ยังไง ? แก้ไขได้ไหม ? แก้ไขยังไง ?
มิติ 9 : กับดักรายได้ปานกลาง สร้างเองแล้วเข้าไปอยู่เอง
มิติ 10 : ตายแล้วเหลือกระดาษ 1 แผ่น ..... กระดาษแผ่นนั้น โฉนดที่ดิน หรือ สัญญาเงินกู้
มิติ 11 : เพื่อนที่ดีที่สุด คือ คนในกระจก
มิติ 12 : กะรวยด้วยกัน = รวยทุกคน
มิติ 13 : เอาความเก่งที่แต่ละคนมีมารวมกัน = เก่งมากทุกคน
มิติ 14 :
ทำตามคนที่ล้มเหลวจะล้มเหลวยิ่งกว่า เพราะอยากเอาชนะ ไม่ทำตามสมการปุ๋ย/ยา เขาใส่ปุ๋ย 1 เราต้องใส่ 2 เขาฉีดยา 1 เราต้องฉีด 2
ทำตามคนที่สำเร็จจะสำเร็จยิ่งกว่า เพราะเอาแนวเขามา ต่อยอด/ขยายผล ตามสมการปุ๋ย เขาใส่ปุ๋ย 1 เราใส่แค่ครึ่งเดียว แล้วใส่ตัวเสริมประสิทธิภาพปุ๋ยแทน
เขาฉีดยา เราไม่ฉีด แต่ใช้สารธรรมชาติแบบเข้มข้น บ่อยๆ สม่ำเสมอ ตามหลักสมการยา แทน ผลรับที่ได้ คือ ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี
35. แพ้/ชนะ ที่โอกาส :
การเกษตรไทยวันนี้ รัฐบาลช่วย + ตัวเองช่วย = ได้ 2 เด้ง
* รัฐบาลช่วย ให้เงิน * ก.เกษตรช่วย ให้ความรู้
แต่เกษตรกรรับเงินอย่างเดียว าความรู้
ความรู้มาจากใจ เริ่มจาก
สุ. จ. ปุ. ลิ. .... อ่าน. ดู. ทำ. ใช้. .... คิด. วิเคราะห์. เปรียบเทียบ. ต่อยอด. ขยายผล. ฟันธง.
รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม .... รู้อะไรรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล
รู้แล้วติดตัวไปตลอดชีวิต ทำเองได้ ถ่ายทอดให้ลูกหลานได้ สอนคนอื่นได้....ความรู้คือศักดิ์ศรี
** ความรู้มาจากการเรียน เรียนในสถานศึกษา เรียนด้วยตัวเองที่บ้าน เรียนในแปลง
** เกษตรเรียนในสถานศึกษา เรียนเรื่องเดียวจากครูสอนคนเดียว จากหนังสือเล่มเดียว ได้รู้แค่นั้น
** เรียนด้วยตัวเองที่บ้าน เรียนเรื่องเดียวกัน จากหนังสือหลายเล่ม ได้รู้มากกว่า
** ความเก่งที่พระเจ้าประทานให้ทุกคนมีเท่าๆกัน แต่ แพ้/ชนะ กันที่โอกาส
IQ คือ ฉลาดเฉลียว จากสายเลือด มีใน DNA
EQ คือ มนุษย์สัมพันธ์ จากความมีน้ำใจอัจฉริยะ
อัจฉริยะ คือ ความคิดริเริ่ม ความเฉลียว
อัจฉริยะสร้างเองได้ มาจาก แรงบันดาลใจ 99% + ความขยัน 1% นั่นคือ ใครๆ ก็อัจฉริยะได้
EQนำ + IQเสริม ประสบความสำเร็จมากกว่า IQนำ + EQเสริม
อัจฉริยะ - IQ - EQ .... เกิดใน ใจ มาจาก[[/i] ใจ[/i]
พรสวรรค์ 1 พรแสวง 99 ..... เฮง 1 เก่ง 99 [/i]
IQ-EQ ..... พรสวรรค์-พรแสวง .... เฮง-เก่ง ..... ไม่มีขาย
36. เกษตรกร สปปล. :
จากโทรศัพท์ : (085) 459-84xx
ลุงคิม : (สัญญานโทรศัพท์ดังขึ้น) ฮัลโหลคร้าบบบบ.....
ซมซื่น : ลุงคิมซำบายดีเหรอครับ ?
ลุงคิม : ไม่เคยลำบากว่ะ
ซมซื่น : (หัวเราะ) เหมือนเดิมเลยครับ
ลุงคิม :(สำเนียงพูดค่อนไปทางอิสาน แต่ไม่ใช่) นั่นใครพูดวะน่ะ
ซมซื่น : ผมท้าวซมซื่นครับ ลุงคิมจำผมได้ไหม ผมเคยโทรมาคุยกับลุงคิมหลายครั้งแล้ว
ลุงคิม : (ท้าวซมซื่น บ.ปากมี่ เมืองสาระคาม แขวงเวียงจันทน์ ตรงข้าม อ.เชียงคาน จ.เลย)ซมซื่น เป็นคนลาวนี่หว่า นี่โทรมาจากประเทศลาวเลย แม่นบ่อ ?
ซมซื่น : แม่นครับ บ้านปากมี่ เมืองสาระคาม แขวงเวียงจันทน์ จำได้หรือยังครับ ?
ลุงคิม : (ลาวคนนี้พูดไทยได้ชัดเจนมาก ทั่งสำเนียง คำศัพท์.... ภาษาลาวไม่มี ช.ช้าง ต้องใช้ ซ.โซ่ แทน เพราะฉนั้น ซมซื่น ในภาษาไทยก็คือ ชมชื่น นั่นเอง)....เออ จำได้แล้ว ดีใจหลายว่ะซมซื่น เป็นไง ประเทศลาว น้ำท่วม ฝนแล้ง ซำ (เหมือน) ประเทศไทยบ่อ ?
ซมซื่น : ซำกันแหละครับ บางบ่อนท่วม บางบ่อนแล้ง แผ่นดินมันติดกันนี่ครับ
ลุงคิม : ประมาณนั้นว่ะ ซมซื่น.....วันนี้โทรมามีอะไรเล่าสู่กันฟังไหม ?
ซมซื่น : มีครับ มะขามหวานผมเป็นเชื้อราตามใบ ตามกิ่ง ผมใช้สมุนไพรเผ็ดจัดฉีด ผมทำตามที่ลุงคิมบอกในวิทยุนั่นแหละครับ ใช้ได้ผลมากเลย ไม่มีราเหลืออยู่เลย
ลุงคิม : งั้นเหรอ....เดี๋ยว เดี๋ยว เดี่ยว อย่าฟ่าว (รีบร้อน) ฟังรายการวิทยุลุงคิมที่ประเทศลาวเลยใช่ไหม
ซมซื่น : ใช่ครับ
ลุงคิม : เอาวะ ดีนี่หว่า แล้วมีคนอื่นฟังบ้างไหม ?
ซมซื่น : มีครับ แต่ผมฟังทุกวัน เช้าแลง (ค่ำ) เลยครับ
ลุงคิม : โอ.เค. เชื้อราเป็นที่ใบ ที่กิ่ง แล้วที่ฝัก คือเนื้อในมันล่ะ เป็นด้วยหรือเปล่า ?
ซมซื่น : เป็นบ้างครับ แต่ไม่มากครับ
ลุงคิม : เอาละ เชื้อราในฝักไม่มียาอะไรฉีดเข้าไปในเนื้อมันได้ อันนี้เราต้องป้องกันไม่ให้เชื้อราจากข้างนอกเข้าไปข้างในเท่านั้น
ซมซื่น : ทำยังไงครับ ?
ลุงคิม : ให้ถึง แคลเซียม โบรอน.หน่อย ให้บ่อยๆน่ะ แคลเซียม โบรอน.จะไปทำให้ผนังเซลล์ของเปลือกแน่น เชื้อราเข้าไม่ได้เอง
ซมซื่น : โอ ดีจัง เดี๋ยวผมต้องให้บ้างแล้วหละ ..... ลุงคิมครับ มะขามหวานผมเริ่มเปรี้ยวแล้ว ทำยังไงครับ ?
ลุงคิม : อันนี้ไม่ยาก มะขามหวานต้องใช้ปุ๋ยตัวท้ายมากๆ เพื่อเร่งหวาน เพราะฉนั้น ตั้งแต่เป็นฝักให้ใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 8-24-24 ไปเลย ใส่ซักต้นละ 2-3 กำมือต่อต้นต่อเดือน ใส่ขี้ไก่ ขี้ค้างคาวเสริมนิดหน่อยก็ดี ซมซื่น : ครับลุง ใส่ 8-24-24 แล้วฝักมันจะโตได้ไหมครับ ?
ลุงคิม : เราก็ให้ทางใบซี่ 21-7-14 สลับกับแม็กเนเซียม-สังกะสี แล้วก็แคลเซียม โบรอน. นั่นแหละให้ไปเถอะ ให้ได้ซักสูตรละครั้งต่อเดือนก็พอ
ซมซื่น : ครับลุง
ลุงคิม : เฮ่ย ซมซื่น ที่บอกนี่จื่อ (จำ) ได้เหรอ ?
ซมซื่น : ได้ครับลุง ผมจดไว้แล้ว
ลุงคิม : เก่งนี่หว่า....
ซมซื่น : ลุงครับ ผมอ่านหนังสือลุงทุกวันเลย
ลุงคิม : หนังสืออะไร เอามาจากไหน อ่านภาษาไทยนะ ?
ซมซื่น : ครับ หนังสือเกษตรใหม่ ไม้ผลแนวหน้า สูตรฟันธง ญาติผลทำงานอยู่กรุงเทพ เขาซื้อมาฝากครับ
ลุงคิม : นั่นมันหนังสือเก่ามากแล้วนะ
ซมซื่น : ไม่เก่าครับ เรื่องข้างในยังทันสมัยอยู่เลย ผมลองทำลองใช้แล้ว ได้ผลดีมากเลยครับ
ลุงคิม : เอางั้นนะ ไงๆดูแลคนข้างบ้านด้วยนะ
ซมซื่น : ดูครับ ผมทำแล้วแบ่งให้เขาเอาไปใช้ สมุนไพรกำจัดเชื้อราใช้กับผักดีมากเลย เขายอมรับกันทุกคนเลยครับ
ลุงคิม :อืมมม ทำกำจัดเชื้อราแล้ว ทำกำจัดหนอนแมลงด้วยซิวะ
ซมซื่น : สมุนไพรขมใช่ไหมลุง ?
ลุงคิม : นั่นแหละ เป๊ะเลย ในเมืองไทยหลายคนใช้แล้วได้ผลดีว่ะ
ซมซื่น : ผมจะลองครับ ประเทศลาวมีสมุนไพรขมๆ เยอะเลย
ลุงคิม : ดี ไม่ลองไม่รู้ ว่ามั้ย
ซมซื่น : ใช่ครับ....วันนี้ขอแค่นี้ก่อนนะครับ แล้วผมจะโทรมาใหม่
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/02/2022 6:43 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 21/05/2019 5:59 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
37. ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ใช่มีให้กลุ้ม :
สมช. ผ-ม. : ( 2 คน สามีภรรยา) ผู้พันครับ ผมมาจากปทุมธานี ฟังรายการวิทยุผู้พันมานาน ตอนนี้ทำนา 20 ไร่ ปีนี้น้ำท่วม เกี่ยวแล้วได้ข้าวแค่ 12 เกวียน คิดว่าปีหน้าคงไม่มีปัญหาเรื่องน้ำอีก เมื่อก่อนเคยได้ 20-22 เกวียน ได้ข้าวขนาดนี้แต่ราคาไม่ได้ดีขึ้น แถมถูกลงๆ ซะอีก แบบนี้คงต้องพึ่งผู้พันแล้วแหละครับ....
ระหว่างฟังโจทย์ก็คิดไป คิดหาคำตอบให้ว่าปัญหาจริงๆ อยู่ตรงไหน
เก่งแค่คิด คิดในใจ พูดไม่ได้ กลัวโดนชก :
- ชาวประมงพื้นบ้านที่ปัตตานี บอกจับปลาได้ปีละ 220 วันไม่พอกิน ขอจับตลอดปี.... ไม่ได้คิดเลยว่า ที่เขาให้จับแค่นั้นเพื่อให้ปลามีเวลาโต มีโอกาสขยายพันธุ์ จะได้มีปลาให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้จับกันบ้าง .... จับปลาทะเล จับปลาทะเล ทำไม่คิดเลี้ยงปลาในทะเล
* ในทะเลสาบสงขลาเขาเลี้ยงปลากะพงเต็มไปหมด.....
* ในทะเลภูเก็ตเขาเลี้ยงหอยมุกเต็มไปหมด....
* ในทะเลสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เขาเลี้ยงหอยแมลงภู่ หอยแครง เต็มไปหมด....
* ในมหาสมุทรแปซิฟิกเขาเลี้ยงปลาทูน่าในตาข่ายขนาด 2-3 ตร.กม. หลาย 10 ตาข่าย จับปลาทูน่านับ 1,000 ตัว ส่งขายที่ญี่ปุ่นตัวละ 100,000 ยูเอส ดอลลาร์...
- ชาวสวนยางพารา ชาวสวนปาล์มน้ำมัน เกษตรเชิงเดี่ยว แบ่งที่ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน แค่ 3-4-5 ไร่ มาปลูกพืชอย่างอื่นเสริม ทำเกษตรผสมผสาน ทำรายได้มากกว่ายางพารา ปาล์มน้ำมันทั้งสวน ก็มีให้เห็น แถวๆบ้านตัวเองนั่นแหละ
- ปลูกผักอายุนานบนคันนา ปรับคันนากว้าง 3 ม., ตะไคร้ ข่า พริกขี้หนูหอม มะเขือพวง รายได้มากกว่าข้าวบนเนื้อที่ไร่ต่อไร
- ตัวอย่างชาวนาที่พิจิตร ขายที่มรดกฝ่ายผัวไม่พอใช้หนี้ ผัววางแผนจะขายที่ดินมรดกฝ่ายเมียอีก ฝ่ายเมียกับลูกชายไม่ยอม ว่าแล้วเมียกับลูกชายปลูกผักสวนครัวบนคันนา เอาผักไปขายที่ตลาดนัดจร ท่ามกลางเสียคัดค้านเยาะเย้ยจากฝ่ายผัว เมียกับลูกชายไม่สนใจ เอาผักไปขาย ขาย ขาย แค่ปี 2ปี ได้เงินจากขายผักให้ผัวเอาใช้หนี้จนหมดแล้ว งานนี้ฝ่ายผัวเงียบกริบกริ๊บ
- ตัวอย่างชาวนาริมถนนสายมอเตอร์เวย์ ปลูกตะไคร้ ข่า บนคันนา เก็บผลผลิตขายปีได้ละ 3-4 รอบ บางปีบางช่วงเจอแจ๊คพ็อต ข่าอ่อน กก.ละ 80 บาท ปีนั้นเลยรวย สรุปงานนี้ ตะไคร้ ข่า รวยกว่าข้าวก็แล้วกัน
- นาข้าวสลับถั่วไร่ ในรอบปีทำนาข้าว 2 รอบ ปลูกพืชไร่ 1 รอบ (ถั่วเขียว/เหลือง/แดง/ดำ/ขาว/งา/ทานตะวัน .... งา ราคาแพงกว่าถั่ว)
ปลูกข้าวให้ได้เงินดีต้อง ขายข้าวปลูก, ขายข้าวตามสัญญาคนรับซื้อ, ปลูกข้าวสีเป็นข้าวพร้อมหุง (ข้าวฮาง กก.ละร้อย 1 เกวียน 1 ล้าน) สุดยอดข้าว คือ น้ำมันรำ/จมูกข้าว แค็ปซูล
- ปลูกเผือกริมคันนา นาข้าวริมถนนบรมราชชนนี ปลูกเผือกน้ำอยู่กับนาข้าว ริมคันนา บำรุงเผือกทางใบเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต้นข้าว ปุ๋ยบำรุงเผือก ใบโออิ 5-10-40 ยืนพื้น ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น เชื่อเถอะ ดีกว่าบำรุงเผือกด้วย 8-24-24 อายุ 4 เดือนเก็บ ได้หัวละ 4 ขีด....เสียเวลา
- ทำนาข้าว ขายข้าวขาดทุน โทษโรงสีให้ราคาต่ำ แต่ไม่เคยดูเลยว่าต้นทุนสูงเพราะอะไร ? ค่าอะไร ? เช่น ค่าปุ๋ย, ค่ายา, ค่าดินเสื่อม, ค่าเมล็ดพันธุ์, ค่าคุณภาพข้าว, ค่าโอกาส, ค่าแรง, ค่าเวลา, ค่าพื้นที่, ฯลฯ
- นายกสมาคมฯ เสนอแนะให้ข้าวเปลือก ตันละ 15,000 ชาวนาจึงจะอยู่ได้ เพราะต้นทุนนาข้าวตกไร่ละ 8,000 เกมส์นี้คิดดู เดิมโรงสีรับซื้อข้าวเปลือกตันละ 8,000 แล้วสีเป็นข้าวสารพร้อมหุงตก กก.ละ 30 คนกินพออยู่ได้ แต่ถ้าโรงสีลงทุนจ่ายค่าข้าวเปลือกตันละ 15,000 แล้วสีเป็นข้าวสารพร้อมหุงจะมิตก กก.ละ 100 หรอกรึ ฉะนี้จะเดือดร้อนกันทั่วประเทศไหม ? ทั้งๆที่ ในความเป็นจริง ต้นทุนนาข้าวตกไร่ละ 3,000 เท่านั้น คิดดู ....
-อาจารย์เศรษฐศาสตร์จุฬาฯ : ทำนาข้าวรายได้ดีที่สุดเพราะเศรษฐศาสตร์การลงต่ำสุด แต่รายได้สูงสุด เมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่นๆ .... ทำนาข้าวมิใช่เพียงขายข้าวให้โรงสีเท่านั้น แต่ต้องมองไปที่ แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม มีหลักการตลาดอย่างเหมาะสม
38. เกษตรอินทรีย์ช้า : :
คำว่า ช้า หมายถึง อายุเก็บเกี่ยวนานขึ้น เช่น ผักอายุเก็บเกี่ยว 30 วัน เก็บเกี่ยวได้เมื่อ 40 วัน ไม้ผลอายุเก็บเกี่ยว 120 วัน เก็บเกี่ยวได้เมื่อ 150 วัน เหตุการณ์กรณีนี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ ปัจจัยพื้นฐาน ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมต่อพืชอย่างร้ายแรง
ปัจจัยพัฒนาการของพืช บนพื้นฐานสมการปุ๋ย (อินทรีย์-เคมี .... ชีวะ-สังเคราะห์) หากมีหลักการ บริหาร/จัดการ อย่างถูกต้อง เหมาะสม สม่ำเสมอ เชื่อได้ว่า นอกจากอัตราพัฒนาการ (โต) จะเร็วขึ้น เร็วกว่าตามธรรมชาติแล้ว ยังได้ คุณภาพ ปริมาณ เพิ่มขึ้นตามมาอีกด้วย
สารอาหารอินทรีย์ แท้จริงก็คือ สารอาหารสำหรับพืชแต่อยู่ในสถานะอินทรีย์ ซึ่งประสิทธิภาพประสิทธิผลจะบังเกิดต่อพืชได้สมบูรณ์แบบก็ต่อเมื่อ พืชนั้นมีความสมบูรณ์รองรับ ความสมบูรณ์มาจากปัจจัยพื้นฐาน เหมาะสม/ถูกต้อง เป็นต้นทุนรองรับ
39. THAILAND ประเทศเกษตร 1 :
การศึกษาสาขาเกษตรระดับ มัธยม อุดมศึกษา ปริญญาตรีโทเอก ไม่มีหลักสูตรการ ทำ ปุ๋ย
ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ชนิด/ประเภท-ทางใบ/ทางราก ฯลฯ (ภาคปฏิบัติ-พิศดาร) ทั้งๆ ที่จำเป็นต้องใช้
นอกจากไม่มีหลักสูตรสอนแล้วยังไม่แนะให้ไปหาแหล่งเรียนรู้ด้วยตัวเองอีกด้วย นร.-นศ. จบไปแล้ว ไม่คิด/คิดไม่เป็น ไม่คิดที่จะทำเอง คิดแต่ซื้อ ที่ซื้อก็ซื้อตามโฆษณา
คนทำปุ๋ยขายทุกวันนี้ ทำได้ทำเป็นเพราะ ประสบการณ์ตรง ของตัวเอง
ห้ามใช้สารเคมีกำจัดวัดพืช ......... แล้ว ใช้/ทำ อะไรแทน
ห้ามใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ....... แล้ว ใช้/ทำ อะไรแทน
ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี ...................... แล้ว ใช้/ทำ อะไรแทน
40. THAILAND ประเทศเกษตร 2 :
วิชาการเกษตร :
วิชา ได้จาก อาจารย์ ............. ประสบการณ์ ได้จาก เกษตรกร
ความรู้ ได้จาก อาจารย์ .......... ความคิด ได้จาก เกษตรกร
หลักสูตรการเกษตรของไทย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (ประสบการณ์) โดย.....
ในหลักสูตรมีเวลา สำหรับประสบการณ์ โดนเชิญเกษตรกรที่ สำเร็จ/ล้มเหลว มาเล่าประสบการณ์ตรงให้ นักเรียน/น.ศ. ฟังในหรือนอกเวลาเรียน แล้ว คิด/วิเคราะห์ ทุกมิติ
ในหลักสูตร มีเวลา สำหรับประสบการณ์ โดยให้ นักเรียน/น.ศ. ลงพื้นที่จริงของเกษตรกร แล้ว คิด/วิเคราะห์...ปัญหา/การแก้ปัญหา ในแต่ละแปลงเกษตรอย่างมีหลักการและเหตุผล
ในหลักสูตรมีเวลา สำหรับประสบการณ์ โดยให้ นักเรียน/น.ศ. สำรวจแปลงเกษตรของ พ่อแม่ญาติพี่น้อง ตัวเอง แล้ว คิด/วิเคราะห์...ปัญหา/การแก้ปัญหา ในแต่ละแปลงเกษตรอย่างมีหลักการและเหตุผล
ในหลักสูตรมีเวลา สำหรับประสบการณ์ โดยให้ นักเรียน/น.ศ. ศึกษาระบบการเกษตรของต่างประเทศแล้ว คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ กับระบบการเกษตรของไทยอย่างมีหลักการและเหตุผล
ในหลักสูตรมีเวลา สำหรับประสบการณ์ โดยให้ นักเรียน/น.ศ. ทำโครงการเกษตรของตัวเองที่บ้านของตัวเอง เพื่อให้พ่อแม่พี่น้องเพื่อนบ้าน รู้และใช้เป็นแนวทาง
41. เรียน = รู้....ไม่เรียน = รู้ :
คนเรียนสูง แต่ไม่ได้เรียนสาขาเกษตร จึงไม่มีความรู้เรื่องเกษตร .... เป็นธรรมดา
คนเรียนน้อย แถมไม่ได้เรียนเกษตรด้วย จึงไม่มีความรู้เรื่องเกษตร....เป็นธรรมดา เหมือนกัน
ทั้งคนที่เรียนสูง คนที่เรียนน้อย ไม่ได้เรียนสาขาเกษตรเหมือนๆกัน จึงไม่มีความรู้เรื่องเกษตร
ครั้นอ่านหนังสือเกษตร อ่านๆๆ เรียนรู้ด้วยตัวเองก็มีความรู้เรื่องเกษตรได้ เป็นธรรมดา อีกนั่นแหละ
ฟัง คิด ถาม เขียน ....... อ่าน ดู ทำ ใช้ คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ
รัฐบาลช่วย ให้เงิน ....... ก.เกษตรช่วย ให้ความรู้
แต่เกษตรกรรับเงินอย่างเดียว ไม่รับสิ่งที่เรียกว่าความรู้
ที่จริง รัฐบาลช่วย + ช่วยตัวเอง = 2 เด้ง ยกกำลังสอง
รัฐบาลช่วย ให้ราคาสินค้าเกษตรจากฟาร์มแพงๆ พ่อค้าคนกลางรับซื้อมาราคาแพงๆ ก็ต้องขายแพงๆ แบบนี้ คนกิน/ผู้บริโภค ก็ต้องซื้อแพงด้วยน่ะซี ว่ามั้ย
ขายแล้วได้กำไรน้อย อ้างว่าต้นทุนสูงแต่ไม่เคยมีใครถามเลยว่า"ต้นทุนค่าอะไร ? ลดได้ไหม ?"
ทำไมรัฐบาลไม่ ส่งเสริม/ให้ความรู้ แก่เกษตรกรในการ บริหาร/จัดการ ต้นทุนการผลิต ทำยังไงให้ ผลผลิตเพิ่ม-ต้นทุนลด-อนาคตดี
นักส่งเสริมการเกษตร บอก/พูด แต่ ปัญหา 5 W. ไม่ พูด/บอก ถึงสาเหตุ วิธีการแก้ไข
นักส่งเสริมการเกษตร วันนี้ทำงานแบบ เชิงรับ (PASSIVE) รอให้ปัญหา เกิด/เข้ามาหา มากกว่าเชิงรุก (ACTIVE) เข้าหาปัญหาก่อนปัญหาเกิด หรือ ป้องกันก่อนแก้ไข
นักส่งเสริมการเกษตร อินทรีย์ ออร์แกนิค ฯลฯ แนะนำการใช้สารเคมีสารพัดอย่างถูกวิธี แต่ไม่แนะนำ ไอพีเอ็ม.
นักส่งเสริมการเกษตร แนะนำ/สอน/บอก เกษตรกรให้เรียกร้องความช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ไม่บอก/สอน/นำ ให้ช่วยตัวเอง
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/05/2019 6:49 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 22/05/2019 6:46 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
42. นา-ข้าว vs ข้าว-นา :
อ้างถึง :
ข่าว ทีวี : ส่งออกข้าวไทย ....
ยอดส่งออกข้าวไทยปี 2561 ทะลุ 11.13 ล้านตัน เป็นอันดับ 2 รองอินเดีย ส่วนปี 2562 ตั้งเป้า 10 ล้านตัน
กรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในปี 2561 ไทยสามารถส่งออกข้าวคิดเป็นปริมาณ 11.13 ล้านตัน ลดลง 3.36% แต่มากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 11 ล้านตัน มูลค่า 5,623 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น
ปี 2562 ปริมาณส่งออกอาจปรับลดลงมาจากปี 2561 แต่ก็ยังน่าจะได้ถึง 10 ล้านตัน ซึ่งสาเหตุที่การส่งออกข้าวชะลอตัวลงมา เพราะราคา ข้าวไทยแพงกว่าคู่แข่งมาก โดยข้าวหอมมะลิไทยราคาส่งออกขึ้นไปถึง 1,142 ดอลลาร์/ตัน ....
COMMENT : ข่าว คือ ข่าว มีแต่ W. ไม่มี H. ไม่ใช่แต่ข่าวเกษตรเท่านั้น รายการสารคดีเกษตรก็มีแต่ W. ไม่มี H. ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คนทำรายการเกษตร ทีวี. เขาคิดยังไง คิดบ้างไหมว่า คนดู ทีวี. แล้วได้อะไร ? หรือไม่ ? แค่ไหน ?
ต้นทุนนาข้าว :
* นายกสมาคมชาวนาแห่งประเทศไทย .................... ต้นทุนไร่ละ 8,000
* ประธานสภาเกษตรกร ประพัทธ์ ปัญญาชาติรักษ์ ....... ต้นทุนไร่ละ 3,000
* ชาวนายุคใหม่ (อ่างทอง/สุพรรณบุรี/อยุธยา/ฯลฯ) ..... ต้นทุนไร่ละ 1,000
* ลุงคิม ................................................... ต้นทุนไร่ละ 1,000 (-)
--------------------------------------------------------------------------------
จาก : (089) 165-36xx
ข้อความ : ข่าว ทีวี. ปี 61 ข้าวไทยราคาแพงกว่าประเทศคู่แข่ง อยากลดต้นทุนเรื่องปุ๋ยเคมี ถ้าเราไถกลบฟางแล้วจะได้ธาตุอาหารจากฟาง หรือไม่ เท่าไร....
ตอบ :
นาข้าว 1 ไร่ ได้ผลผลิต 100 ถัง ฟางที่เหลือเมื่อนำมาตรวจวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารแล้วพบว่ามี..... ไนโตรเจน 32 กก., ฟอสฟอรัส 22 กก., โปแตสเซียม 8 กก., แคลเซียม 14 กก., แม็กเนเซียม 6 กก., กำมะถัน 2 กก., ซิลิก้า 13 กก., ธาตุอาหารต่างๆที่กล่าวรวมกันติดไปกับเมล็ดเพียง 2 กก.เท่านั้น
(ที่มา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
จาก : (068) 248-19xx
ข้อความ : กราบคุณตาผู้พัน อาจารย์เกษตรบอกว่า ปีนี้ข้าวไทยจะสู้ข้าวต่างประเทศไม่ได้ สาเหตุ ข้าวไทยต้นทุนสูง คุณภาพไม่ดี หนูอยากขอข้อมูลเกี่ยวกับธาตุอาหารสำหรับนาข้าวค่ะ จะเอาไปเขียนรายงาน .... หลานปูเป้ นครสวรรค์
ตอบ :
(1)
- ยูเรีย. ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี
- แม็กเนเซียม. สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดี สม บูรณ์ แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย
- สังกะสี. สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี
- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 16 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น .... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น
- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน
- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10 ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว
สรุป : ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0
- ข้อเสียของยูเรีย ที่ชาวนาไม่เคยถาม ไม่เคยสังเกต ..... คนขาย นักวิชาการเชิงพานิชไม่เคยพูด ไม่เคยบอก....
ยูเรียต่อต้น : ทำให้ต้นข้าวเขียวอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ใบอ่อน ต้นสูง ต้นล้ม ต้นหลวม ผนังเซลล์อ่อนแอ โรคมาก .... ฉายา ยูเรียล่อเพลี้ยกระโดด
ยูเรียต่อเมล็ด : เมล็ดไม่แกร่ง เมล็ดไม่ใส เมล็ดลีบมาก เป็นท้องไข่มาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ไม่ดี ถูกตัดราคา
ยูเรียต่อคุณค่าสารอาหาร : ความเข้มข้น (%) ของสารอาหารในเมล็ดข้าวน้อยกว่าที่ระบุในงานวิจัย เพราะต้นข้าวได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน
- ใส่ปุ๋ยเคมีแก่ต้นข้าวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 2 ช่วงเท่านั้น คือ ช่วงทำเทือก (เตรียมดิน) กับช่วงตั้งท้อง-แต่งตัว การใส่ปุ๋ยในช่วงอื่นๆ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ
- การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ) หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นาหว่าน) ไม่เกิดประโยชน์ เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ ทั้งนี้ระยะที่ต้นกล้างอกใหม่ๆ จะใช้สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน ฯลฯ) เป็นหลัก
- การใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1 จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าการใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ
ถ้าได้ไถกลบเศษซากต้นถั่วเหลือง (เมล็ดพันธุ์ 12 กก./ไร่) ลงไปอีกก็จะได้ ไนโตรเจน 45 กก. เมื่อรวมฟางกับต้นถั่วเหลืองแล้วจะทำให้ได้ปุ๋ยสำหรับต้นข้าวมากมาย
ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้งต้นพืชได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้อย่างเพียงพอ
- มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดิน และจุลินทรีย์อย่างสม่ำเสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี จะทำให้เกิดการ สะสมอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น ดีขึ้นและดีขึ้น ตามลำดับ
- ไม่ควรปลูกข้าวอย่างเดียวแบบต่อเนื่อง รุ่นต่อรุ่น หลายๆรุ่น หลายๆปี แต่ควรเว้นรุ่นทำนา 2-3รุ่นแล้วปลูกพืชตระกูลถั่ว 1 รุ่น นอกจากจะได้เศษซากพืชตระกูลถั่วไถกลบปรับปรุงบำรุงดินแล้วยังเป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลง และเชื้อโรคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
- นาหว่านที่หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ต้นข้าวจะงอกและโตพร้อมๆกับต้นถั่วเขียว เลี้ยงต้นกล้าข้าวให้นานที่สุดเท่าๆกับได้ต้นถั่วสูงสุด จากนั้น จึงปล่อยน้ำเข้าท่วมนาจะทำให้ต้นถั่วตายแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน/จุลินทรีย์) สำหรับต้นข้าว
- นาดำหลังจากปักดำ ใส่แหนแดงหรือแหนเขียว 2-3 ปุ้งกี๋/ไร่ ปล่อยไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แหนจะแพร่ขยายพันธุ์จนเต็มกระทง ระดับน้ำที่เคยมีเมื่อตอนดำนาก็จะลดลงจนถึงผิวหน้าดินพร้อมๆกับแหนลงไปอยู่ที่ผิวดินด้วย แล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน) พืชสดสำหรับต้นข้าว
- ดินที่อุดมสมบูรณ์ดี (ตามหลักวิชาการ) เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปจะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตทางใบ (บ้าใบ/เฝือใบ) ดีมาก แต่ผลผลิตกลับลดลง....
แปลงนาข้าวที่มีอินทรีย์วัตถุ และสารปรับปรุงบำรุงดินมากจะให้ผลผลิตดีมากไม่เฝือใบ ทั้งๆที่ใส่ปุ๋ยเคมีน้อยกว่า ต้นข้าวงามใบ (บ้าใบ) แก้ไขโดยการให้ โมลิบดินั่ม +แคลเซียม โบรอน 1 ครั้ง
- สภาพดินเหนียว ดินทราย ดินดำ ดินร่วน ฯลฯ ในดินแต่ละประเภทต่างก็มีสารอาหารพืชและปริมาณแตกต่างกัน สารอาหารพืชเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามกลไกทางธรรมชาติหรือ เกิดจากกระบวนการสารพัดจุลินทรีย์ย่อยสลายสารพัดอินทรีย์วัตถุ
วันนี้ สารอาหารธรรมชาติในดินหมดไป หรือเหลือน้อยมากจนไม่พอพียงต่อความต้องการของพืชเพื่อการพัฒนาเจริญเติบโต สาเหตุหลักเกิดจากการปลูกพืชแบบซ้ำรุ่น ต่อเนื่อง รุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งพืชคือผู้นำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ สาเหตุรองลงมา คือ เกิดจากมนุษย์ทำลายวงจรการเกิดใหม่ของสารอาหารตามธรรมชาติ และทำลายผู้ผลิตสารอาหาร (จุลินทรีย์) นั่นเอง ดังนั้นจากคำกล่าวที่ว่า ดินมีสารอาหารพืช ต้องเปลี่ยนใหม่เป็นพูดว่าดินเคยมีสารอาหารจึงจะถูกต้องตามข้อ เท็จจริง
แนวทางแก้ไข คือ จัดการให้มีวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดสารอาหารพืช และ ส่งเสริมผู้ผลิตสารอาหารพืช ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด แล้วดินจะกลับคืนมาเป็นดินดี เหมือนป่าเปิดใหม่อีกครั้ง และจะเป็นดินดีตลอดไปอย่างยั่งยืนตราบเท่าที่ได้จัดการและส่งเสริมอย่างถูกวิธีสม่ำเสมอ
สายพันธุ์ที่เปอร์เซ็นต์เป็นเมล็ดลีบสูง แก้ไขด้วยการให้ธาตุสังกะสี สายพันธุ์ที่มีอัตราการแตกกอน้อย แก้ไขด้วยการธาตุอาหาร P และ K สูง ในช่วงแตกกอ เป็นต้น การเน้นสารอาหารเพื่อให้พืชได้รับมากเป็นกรณีพิเศษ ควรให้ทางรากโดยใส่ไว้ในเนื้อดินตั้งแต่ตอนทำเทือก หลังจากนั้นจึงให้เสริมทางใบเป็นระยะ สม่ำเสมอ
- การลดความสูงต้นของต้นข้าว ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นแข็งแรงไม่ล้มหักง่ายและโรคแมลงเข้ารบกวนน้อยอีกด้วย....
ลำต้นสูงมากๆ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยงไปสร้างลำต้น จึงทำให้มีสารอาหารเหลือไปเลี้ยงรวงน้อย หรือ ฟางมากเมล็ดน้อย-ฟางน้อยเมล็ดมาก....
ต้นข้าวในน้ำที่ระดับพอเปียกหน้าดิน (ดินแฉะเล็กน้อย) จะแตกกอได้จำนวนมากกว่าต้นข้าวที่ปลูกในน้ำขังค้าง หรือท่วมโคน....
ข้าวลำต้นสูง (น้ำมาก ไนโตรเจนมาก) จะมีรวงสั้น แต่ข้าวลำต้นสั้น (น้ำพอแฉะหน้าดิน สารอาหารสมดุลทุกตัว) จะมีรวงยาว....
ต้นข้าวช่วงระยะกล้าที่ไม่ได้ให้ 46-0-0 แต่ให้ 16-8-8 แทน ควบคู่กับช่วงตั้งท้องแต่งตัวให้ 0-42-56 โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ จะช่วยให้ต้นข้าวไม่สูงแต่กลับเจริญเติบโตข้างอวบอ้วน เหมือนต้นไม้ผลมีอาการอั้นตาดอก....
การตัดใบยอดช่วงตั้งท้องแต่งตัวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ต้นข้าวไม่สูงต่อ แล้วอวบ อ้วนเหมือนอั้นตาดอกได้เช่นกัน
- อากาศหนาว (15-20 องศา ซ./ภาคเหนือเกิดน้ำค้างแข็ง) ติดต่อกัน 10 วัน มีผลต่อต้นข้าวหลายอย่าง เช่น เมล็ดไม่งอก ต้นกล้าโตช้า ต้นแคระแกร็นใบเหลือง ออกดอกช้า และช่วงออกดอกเป็นช่อดอกอ่อนเกสรจะฝ่อ ผสมไม่ติด หรือผสมติดก็เป็นเมล็ดลีบ แก้ไขโดยให้ แม็กเนเซียม+ สังกะสี + กลูโคส หรือฮอร์โมนทางด่วน ล่วงหน้าก่อนหนาว 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศหนาว ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศหายหนาว
- อากาศร้อน (สูงกว่า 35 องศา ซ.) ช่วงข้าวหลังผสมเกสรติดหรือเริ่มเป็นน้ำนมจะกลายเป็นข้าวลีบมาก แก้ไขโดยการให้ ธาตุรอง/ธาตุเสริม + เอ็นเอเอ.+ ฮอร์โมนทางด่วน ล่วงหน้าก่อนอากาศร้อน 2-3 วันและให้ระหว่างอากาศร้อน ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศจะปกติ
- สายลมแรงมากทำให้ต้นข้าวเครียด เนื่องจากต้องคายน้ำมาก มีผลทำให้เมล็ดข้าวลีบ รวงจะเป็นสีขาวคล้ายถูกหนอนกอทำลาย วิธีแก้ไขเหมือนช่วงอากาศร้อนจัด
www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1698&page=1
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องนาข้าว
(2)
- ยูเรีย ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี
- แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดี สมบูรณ์ แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย
-สังกะสี สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี
- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 16 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น .... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น
- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- 8 ) อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริมฮอร์โมน
- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10 ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว
- ใส่ปุ๋ยเคมีแก่ต้นข้าวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 2 ช่วงเท่านั้น คือ ช่วงทำเทือก (เตรียมดิน) กับช่วงตั้งท้อง-แต่งตัว การใส่ปุ๋ยในช่วงอื่นๆ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ
- การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ) หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นาหว่าน)ไม่เกิดประโยชน์ เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ ทั้งนี้ระยะที่ต้นกล้างอกใหม่ๆ จะใช้สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน ฯลฯ) เป็นหลัก
- การใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1 จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าการใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ
สรุป :
ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0
อ้างอิง : บรรยายพิเศษ กลุ่มเกษตรกร อ.บางบาล จ. อยุธยา เรียนรู้ นาข้าว-สปริงเกอร์.
จาก : (089) 523-60xx
ข้อความ : ข่าว ทีวี.เรื่องข้าวไทยปีนี้ ราคาถูกกว่าของเวียดนาม ที่จริงมันเป็นมานานแล้ว ข้าวไทยราคาแพงเพราะต้นทุนสูง นาเคมี 46-0-0, 16-20-0 ต้นทุนไร่ละ 1,800 อยากเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยไร่กล่อมแกล้ม ลุงคิมช่วยคิดต้นทุนค่าปุ๋ยให้หน่อย....ขอบคุณ
ตอบ :
ไบโออิ. ยูเรก้า. ไทเป. หัวโต. ใบโต. แคลเซียม โบรอน. ระเบิดเถิดเทิง สูตรอินทรีย์เพียวๆสูตรอินทรีย์/เคมี สูตรปรับโมเลกุล. ปุ๋ยทางใบ ชนิดน้ำ .... ทำใช้-ทำขาย-ทำแจก ทำเททิ้ง
จะบอกให้....ปุ๋ยทางใบชนิดน้ำที่ขายในเมืองไทย ส่งออกด้วย ทั้งขายส่ง ขายปลีก ขายตรง ขายผ่านเน็ต ทุกสูตรทุกยี่ห้อ ทำ "ไต้ถุนบ้าน" (เน้นย้ำ....ไต้ถุนบ้าน) ทั้งนั้น
ก็ไม่รู้เหมือนกันนะ ที่สัมภะเวสีผีจรจัดเร่ขาย ลิตรละ 4,000 ลิตรละ 10,000 ซื้อไปได้ยังไง ทั้งๆที่เนื้อในก็คือ"ปุ๋ย 14 ตัว" เหมือนกัน
คนทำปุ๋ยขายทุกวันนี้ ทำเป็นทำได้ด้วย ประสบการณ์ตรง ของตัวเองทั้งนั้น
ต้นทุนค่าปุ๋ยนาข้าว 20 ไร่
- ปุ๋ยลุงคิม (ระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า) ครบสูตร ......... 10,000
- ค่าปุ๋ยเสริม (16-8-8, 18-38-12, 0-5234) ................. 5,000
** รวม 15,000 ..... หรือ 15,000 หาร 20 = ไร่ละ 750
ต้นทุนในการปลูกข้าวของชาวนา :
1. ค่าไถนา
2. ค่าย่ำเทือก
3. ค่าลูบเทือก
4. ค่าเมล็ดพันธุ์
5. ค่าจ้างหว่าน
6. ค่าปุ๋ยเคมี
7. ค่าจ้างหว่าน
7. ค่าสารเคมี
8. ค่าจ้างฉีด
10. ค่าเกี่ยว
11. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
12. ค่าเช่านา
13. ค่าภัยธรรมชาติ
14. ฯลฯ
15. ฯลฯ
**** แก้ไขโดย ตัด ลด เพิ่ม ปรับ เปลี่ยน ปล่อยตามธรรมชาติ เสริมธรรมชาติ
จาก : (095) 166-37xx
ข้อความ : ข่าวทาง ทีวี. เรื่องราคาข้าวไทยในตลาดโลกราคาต่ำกว่าประเทศอื่น แต่ต้นทุนของไทยกลับสูงกว่า แบบนี้ชาวนาไทยจะไปรอดหรือ ผู้พันครับ ทำยังไงถึงจะลดต้นทุนนาข้าวได้ครับ....
ตอบ :
คำพูดในคำถามที่ว่า ลดต้นทุน ลุงคิมเพิ่งได้ยินตัวเกษตรกรจริงๆพูด ชนิดเต็มคำเต็มหูครั้งนี้เป็นครั้งแรก ทั้งๆที่ตั้งสโลแกนไว้ว่าผลผลิตเพิ่ม (ปริมาณ/คุณภาพ)-ต้นทุนลด-อนาคตดี น่าจะสร้างแรงจูงใจได้มากกว่านี้ เทียบกับจากนักส่งเสริมคนอื่นๆ ตั้งแต่นักการภารโรงถึงอธิบดี ตั้งแต่ สมช.มูลนิธิถึงนายก ก็ไม่พูดเรื่อง ต้นทุน แบบตรงๆ ถึงพูดก็แค่เอ่ยคำนี้ออกมาพอเป็นพิธีเท่านั้น ไม่มีรายละอียดที่นำไปปฏิบัตินำไปทำได้ เกือบทั้งหมดพูดแต่ ราคาขาย ราคาขาย ต้องแพง ๆ ๆ เท่านั้นเท่านี้ชาวนาถึงจะอยู่ได้
ว่ามั้ย วันนี้ข้าวสารพร้อมหุงราคา กก.ละ 30 นั่นจากต้นทุนค่าข้าวเปลือกเกวียนละ 8,000 ถ้าต้นทุนค่าข้าวเปลือกเกวียนละ 15,000 ราคาข้าวสารพร้อมหุงมิ กก.ละ 60 หรอกรึ แบบนี้ถามจริง คุณเดือด ร้อนด้วยมั้ย
เอาเป็นว่า ต้นทุน คือ รายจ่ายที่เราต้องจ่ายออกไป จ่ายเป็นเงิน จ่ายเป็นค่าแรง ค่าพื้นที่ ค่าเวลา ค่าโอกาส .... อย่างค่าแรง ตัวเองทำเอง ไม่ต้องจ่ายแต่ได้เนื้องาน รับจ้างไม่ได้เนื้องานของตัวเองแต่ได้เงิน กับรายจ่ายอย่างอื่นก็อีหร็อบเดียวกัน
ชาวนาหรือเกษตรกรอาชีพอื่นๆ ต่างก็ชอบ ง่ายๆ-เร็วๆ ดี/ไม่ดี-แพง/ไม่แพง ไม่ว่า ..
ง่ายๆ ง่ายน่ะดีแต่ผิด ผิดธรรมชาติความต้องการของต้นข้าว มีแต่เสียกับเสีย
เร็วๆ ใส่ปั๊บได้ผลทันใจ แต่ได้ผลแค่วูบเดียวแล้วกลับไปอย่างเดิม นี่ก็คือเสียกับเสีย
ปัญหาต้นทุน นาข้าวที่ถามมา เอาเรื่อง ปุ๋ย อย่างเดียวก่อนก็แล้วกัน เรื่องอื่นว่ากันทีหลัง เช่น ทำเทือก หว่านปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมียูเรีย16-20-0 ยาฆ่ายาคุมหญ้า สารเคมียาฆ่าแมลง อันนี้เคยทำหรือว่าทำอยู่ยังไงก็ทำไป
ปรับเพิ่มเป็นนาข้าวแบบ เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน ....
* ตอนทำเทือก ใส่น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ซัก 2 ล./ไร่
* ระยะแตกกอ ให้ทางใบด้วย ไบโออิ + สารสมุนไพร 3 รอบ
* ระยะออกรวง ให้ ไทเป + สารสมุนไพร 2 รอบ
* ระยะน้ำนม ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 3 รอบ
แต่ละรอบๆ ที่ว่า แบ่งระยะเวลาให้ห่างกันรอบละ 7-10 วัน/ครั้ง ไหวไหม บางคนบอกถี่ไปไม่มีเวลา ก็ถ้าให้ห่างเดือนละครั้ง หรือไม่ได้ให้ทางใบเลย ให้แต่ทางดินอย่างเดียว แบบเดิมๆ แล้วมันจะดีขึ้นได้ไง
งานนี้ ยาก/ง่าย อยู่ที่ใจ แบบเดิมๆใส่ปุ๋ย 2 กส.ได้ปุ๋ยแค่ 2 ตัว ตัวหน้ากับตัวกลาง แต่ปุ๋ยที่ลุงคิมแนะนำได้ ตัวหน้า ตัวกลาง ตัวท้าย ธาตุหลักครบ 3 ตัว ได้ธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน จุลินทรีย์ สารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ปะจำถิ่น ครบถ้วน ก็เหลือแต่ ทำเองหรือซื้อ เท่านั้นแหละ
นี่พูดเรื่องปุ๋ยอย่างเดียว ในขณะที่ข้าวซึ่งก็คือพืช พืชย่อมต้องมีปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเจริญเติบโต คือ ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร (ปุ๋ย)-สายพันธุ์-โรค ทั้งหมดนี้ต้องไปด้วยกันพร้อมกัน เหมาะสม สมดุลซึ่งกันและกัน หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งผิดเพี้ยนไป ย่อมส่งผลถึงการเจริญเติบโตของพืชหรือต้นข้าว สุดท้ายสุทธิจริงๆ ก็คือ ขาดทุน นั่นแล....
นาข้าวอยากรวย ต้องทำ นาข้าวแบบประณีต ได้ ผลผลิตเพิ่ม (ปริมาณ คุณภาพ) ต้นทุนลด (ปุ๋ย ยา เทคนิค เทคโนฯ) อนาคตดี (ทำตามพันธะสัญญา)
* ข้าวไรซ์เบอรี่พร้อมหุง กก.ละ 150 นี่คือ เกวียนละ 150,000 เราเอาแค่ กก.ละ 50 = 50,000 กก.ละ 30 = 30,000 ก็พอ ว่ามั้ย.... ไม่เอาข้าวสีดำ ข้าวสีขาวก็เป็นอีกทางเลือก มีคนทำได้ ....
* ข้าว กข. (กู ขอ) 500 ขายเป็นข้าวเปลือก โรงสีให้เกวียนละ 8,000 ขณะที่รัฐบาลประกันเกวียนละ 12,000 แต่ถูกตัดราคาค่าคุณภาพ ....
* ขายได้เท่าเดิม ขายได้เท่าข้างบ้าน แต่ต้นทุนต่ำกว่า ย่อมได้กำไรมากกว่า....
* ซื้อทุกอย่าง แพงก็ซื้อ ผิดก็ซื้อ ใช้แล้วทำแล้วไม่มีอะไรดีขึ้นก็ยังทำ....
จาก : (090) 823-71xx
ข้อความ : ข่าวราคาข้าวไทยในตลาดโลก เห็นแล้วน่าเป็นห่วง ถ้าต้นทุนไม่ลด คุณภาพไม่ดี ไม่ใช่ตลาดต่างประเทศเท่านั้น ตลาดในประเทศก็อยู่ไม่ได้ นาข้าวใส่ปุ๋ย ยาฆ่าหญ้า เผาฟาง นาหว่านแบบเดิมทุกรายการ วันนี้วัชพืชกำลังแซงข้าว ทำยังไงดีครับ....
ตอบ :
นาข้าวสูตร"เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน"
นาข้าวที่กำจัดวัชพืชไม่หมด ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้วมีต้นข้าวกับต้นวัชพืช "ครึ่ง : ครึ่ง" จนเต็มนา แนะนำให้ใช้สูตร "เลยตามเลย หรือ ไหนไหนก็ไหนไหน" เพราะกำจัดวัชพืชไม่ได้แล้ว โดยเน้นบำรุงทางใบเป็นหลัก.....ดังนี้
ระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "น้ำ 100 ล. (พีเอช 6.0) + ไบโออิ 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี." ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น"น้ำ 100 ล. (พีเอช 6.0) + ฮอร์โมนไข่ไทเป 100 ซีซี. + 46-0-0 จี. 200 กรัม + สารสกัดสมุนไพรสูตรรวมมิตร 200 ซีซี." 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร"สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น"น้ำ 100 ล. (พีเอช 6.0) + ไบโออิ 50 ซีซี. + ยูเรก้า 50 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี." ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย
- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง
- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน
- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/08/2020 2:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 23/05/2019 6:27 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
เกษตรอินทรีย์ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี
43. ปุ๋ยอินทรีย์ :
ข้อดี :
1. ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน
2. อยู่ในดินได้นาน และค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ
3. ส่งเสริมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมให้ปุ๋ยเคมีเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ได้ผลดีทั้ง ระยะสั้น ระยะปานกลาง ระยะยาว และทำเองได้
ข้อด้อย :
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยต่ำ ต้องใช้ปริมาณมาก สม่ำเสมอ
2. ใช้เวลานานในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช
3. ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาสูง
4. มีจำนวนจำกัด ไม่สามารถหาซื้อในปริมาณมากๆ ได้
5. ใช้ระยะเวลานาน ทั้งการผลิต และการใช้
6. มีข้อจำกัดในการเลือก สูตร/ชนิด/ประเภท ให้ตรงกับ ระยะ/ชนิด ของพืช
7. สิ้นเปลืองค่าขนส่งสูง
44. ปุ๋ยเคมี :
ข้อดี :
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยสูง
2. ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้เร็ว
3. ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาต่ำ สะดวกต่อการขนส่งและเก็บรักษา
4. สูตรตรงตาม ชนิด/ระยะ/ปัจจัยเกี่ยวข้อง ของพืช
5. หาซื้อง่าย เพราะผลิตได้จากโรงงาน สามารถผลิตได้จำนวนมากตามต้องการ
ข้อด้อย :
1. ไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน
2. ปุ๋ยแอมโมเนีย ใช้ในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ดินเป็นกรด .... ปุ๋ยฟอสฟอรัส ใช้ในดินปริมาณมากและติดต่อกันนานจะตรึงปุ๋ยตัวอื่นไม่ปล่อยให้พืชนำไปใช้ได้
3. การใช้ปุ๋ยเคมีต้องระมัดระวัง เพราะปุ๋ยเคมีทุกชนิดมีความเค็ม ถ้าใส่มากหรือใส่ติดโคนต้นพืชจะเป็นอันตรายต่อต้นพืชและการงอกของเมล็ด
4. ต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องปุ๋ย
5. สูญเสียเงินตราของประเทศ
ปล.
ปุ๋ยอินทรีย์เข้ามาไทย ครั้งแรก ราวสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย ดร.อินเดีย
ปุ๋ยเคมีเข้ามาไทย ครั้งแรก ราวสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย นักธุรกิจอเมริกา
45. วารสารเกษตรใหม่ :
ผู้อ่าน : ความหนาน้อยจัง...
บก. : ถ้าดูแต่ความหนา ยอมรับว่าน้อย คือ จำนวนหน้าแค่ 70 หน้า ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับวารสารฉบับอื่นๆ ....
เปรียบเทียบดีๆ วารสารฉบับหนึ่ง หนา 300 หน้า ดูแล้วเป็นเนื้อหาแค่ 100 หน้า เท่านั้น ที่เหลือ 200 หน้า เป็นโฆษณา ไม่ใช่เท่านั้น ส่วนเนื้อหาที่เป็นรูป ขยายรูปจนเต็มหน้า แล้วเหลือพื้นที่สำหรับตัวหนังสือนิดเดียว ....
วารสารเกษตรใหม่หนา 70 หน้า เป็นเนื้อหาล้วนๆ รูปก็ย่อขนาดให้เล็กลงอีก
ผู้อ่าน : วารสารประเภท HOW TO ไม่ใช่ NEWS หมายความว่าไง ?
บก. : HOW TO แปลว่า วิธีการ .... NEWS แปลว่าข่าว
* 5W. คือ WHO WHAT WHEN WHERE WHY ข่าว
* 1H. คือ HOW TO วิธี
* ถามจริง อ่านหนังสือ อยากรู้เรื่อง WHO ใครทำ ? หรือ อยากรู้เรื่อง HOW TO ทำอย่างไร ?
* HOW TO สาระในเกษตรใหม่ แปลง/แปล ภาษาวิชาการเป็นภาษาาวบ้าน .... บนหลักการ "ภูมิปัญญาพื้นบ้าน มาตรฐานโรงงาน มีหลักวิชาการรองรับ" .... ข้อมูลในเกษตรใหม่ เอาไปใช้อ้างอิงทางวิชาการไม่ได้
ผู้อ่าน : เกษตรใหม่ ยอดพิมพ์มากไหม ?
บก. : ต่อฉบับ 12,000 เหลือกลับจากแผงแค่ฉบับละ 1,000 แต่วารสารที่ความหนา 300 หน้า ยอดพิมพ์ 5,000 เหลือกลับจากแผง 2,000 อันนี้จัดจำหน่ายโดยบริษัทเดียวกัน ....
ที่โกดังหนังสือจะเห็นกองหนังสือไปแผง กับ กองหนังสือกลับจากแผง ว่าไปเท่าไหร่ ? เหลือกลับมาเท่าไหร่ ? ชัดเจน
เกษตรใหม่ ซีเอด.รับไปจำหน่ายด้วย บอกว่า หนังสือในเครือเกษตรใหม่ ทั้งวารสาร ทั้งพ๊อตเก็ตบุ๊ค ยอดจำหน่ายหมดเร็วติดอันดับ TOP-5 ทุกฉบับ
ผู้อ่าน : ค่าโฆษณาแพงไหม ?
บก. : ที่จริงอยากรู้ก็โทรไปถามได้เลย เขาไม่ปิดลับหรอก เท่าที่รู้มา หน้าใน 4สี หน้าละ 10,000, ปกหลังนอก 30,000, ปก หน้า/หลัง ใน 20,000 ลงโฆษณาครั้ง 3 ฉบับ
ผู้อ่าน : ค่าโฆษณาเกษตรใหม่แพงไหม ?
บก. : ไม่รู้ซี มีคนมาติดต่อ เคยลงโฆษณาหนังสืออื่นหน้าละ 10,000 แต่มาโฆษณาที่เกษตรใหม่ให้แค่ 3,000 เลยลงให้ฟรีไปเลย....
ที่จริงเกษตรใหม่ไม่มีโฆษณา ยอดขายอย่างเดียวก็อยู่ได้เพราะต้นทุนเราต่ำมาก มากๆ
ผู้อ่าน : ค่านักเขียน ค่านักข่าว ต้องจ่ายไม่ใช่เหรอ ?
บก. : ใช่ แต่เกษตรใหม่ นักเขียนคนเดียว นักข่าวคนเดียว ว่าตั้งแต่บรรณาธิการ ถึง นักการภารโรงคนเปิดประตูชงกาแฟ เขียนเอง/ขายเอง/คนเดียว ลุงคิมไง....ลงท้าย ไม่ต้องจ่าย
ผู้อ่าน : เคยมีนักอ่านระดับ VIP ไหม ?
บก. : มี ต้องเรียกว่าระดับ VVVIP นะ .... คณะอาจารย์เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 14 ท่าน ขอสมัครเป็นสมาชิกประจำ เพราะถ้ารอวารสารออกแล้วกลัวไปซื้อไม่ทัน กรณีนี้บอกท่านไปว่า ไม่รับสมาชิก เพราะวารสารเรากำหนดออกไม่ค่อยแน่นอน ....
กับ อาจารย์สอนอยู่มหาลัยเชียงใหม่ บอกว่า พ็อคเก็ตบุ๊ค ภูมิปัญญาพื้นบ้านเกษตรไทย ยอดพิมพ์จริงเท่าไหร่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ พิมพ์แค่เล่มเดียวก็ถือว่าคุ้ม เพราะนั่นคือ การรักษา/อนุรักษ์ ความรู้แบบภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย ช่วยให้อยู่ต่อได้อีกนานเท่านาน ขอชมเชยผลงานชิ้นนี้อย่างจริงใจ....
ผู้อ่าน : ต้นทุนต่ำ ยอดขายสูง คือ กำไรมาก แล้วทำไมถึงเลิกทำ ?
บก. : โมโห ฉบับสุดท้ายฉบับนั้น ฉบับที่จะ ไปแผง คนงานเอาไปวางที่กอง กลับจากแผง 3 เดือนเต็มๆ ไม่ได้ไปแผงซักที บริษัทจัดจำหน่ายพูดคำเดียว ขอโทษ ก็เลยขนกลับ เอามาแจกดีกว่า .... ขายได้แล้วเลิกทำไปเลย ก็แค่นี้แหละ
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/01/2024 3:11 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 24/05/2019 6:38 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
46. เรื่อง เป็นเรื่อง VS ไม่เป็นเรื่อง :
เก่งกว่าข้างบ้าน :
ไม่รู้ว่า หนอน-แมลง-รา อะไรลงแปลงผักที่บ้าน ไปร้านขายสารเคมี ทางร้านแนะนำสารเคมี 3 อย่าง .... กลับถึงบ้าน ลงแปลง ผสมสารเคมีที่ร้านแนะนำลงไปก่อน ตามด้วยสารเคมีที่แอบ (เน้นย้ำ...แอบ) ได้ยินข้างบ้านพูดอีก 1 อย่าง ตามด้วยสารเคมีที่ฟังจากโฆษณาอีก 1 อย่าง รวม 5 อย่างต่อการฉีดพ่น 1 ครั้ง ....
คิดต้นทุนเฉพาะค่าสารเคมีอย่างเดียว 2,500 ผักแปลงนี้ต้องฉีดสารเคมี 4 ครั้ง นั่นคือ ค่าสารเคมี 10,000/รุ่น ....
ผักแปลงนั้น วันนั้น ส่งตลาดขายได้ 8,500 นั่นคือ ขาดทุนจากค่าสารเคมี 1,500 ไม่นับรวม ค่าเตรียมดิน เตรียมแปลง ปุ๋ย น้ำมัน แรงงาน .... สรุป : ขาดทุน ทั้งต้นทุน และกำไร
KIMPER :
เดี๋ยวนี้ ตาคิม เป้อใหญ่แล้ว
- เป้อยังไง ? เป้อซี่ .... ต้นไม้ กินนม กินใข่ กินลิโพกระทิงแดง กินน้ำต้มหม้อก๋วยเตี๋ยว กินผักสดตอนกลางคืน ....
- สปริงเกอร์ ผ่าน ร.ร.วิวัฒน์พลเมืองมาแล้ว ล้างตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งเครื่องกรอง
- อยู่ กทม.หาปลาทะเลทำน้ำหมักได้ ที่เชียงราย ข้ามไปถึงจีน ก็ทำได้ ปลาทะเลเยอะแยะ....
- ขี้วัวขี้ไก่ ธรรมดาๆ จากฟาร์ม ทำเป็น ขี้วัวขี้ไก่ซุปเปอร์....
เอาชนะสปริงเกอร์ :
* แปลงผัก ยกร่องน้ำหล่อ ติดสปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย เนื้อที่ 20 ไร่ ให้ ปุ๋ย/ฮม./ยาสมุนไพร ครั้งละ 2 ชม. แรงงานคนเดียว ใช้งานมาแล้ว 5 ปี คาดว่าใช้ต่อไปได้อีก 20 ปี ....
1 ปีผ่านไปแปลงผักแปลงนี้ ในร่องน้ำปลูกผักบุ้งทอดยอด, ผักกะเฉด, ทำค้างเหนือร่องน้ำปลูกบวบ มะระ ฟัก, ในร่องน้ำกั้นหัวร่องเลี้ยงปลานิล, ดุก,
* แปลงข้างเคียง แปลงผักยกรองน้ำหล่อเหมือนกัน "ไม่เชื่อ-ไม่ยอมรับ" สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย แล่นเรือปากเป็ด ใช้งานรดน้ำอย่างเดียว ให้ปุ๋ยเดินหว่าน ฉีดยาเคมีสะพายเป้ ทำงานทุกอย่างใช้เวลาเต็มวัน สายถึงเย็น แรงงานคนเดียว....
1 ปีผ่านไป ความอยากเอาชนะ สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย ปรับเรือปากเป็ดเป็นเรือ รดน้ำ/พ่นยา แบบ 17 หัวฉีด ยังใช้เวลาทำงานกว่าครึ่งวันต่อครั้ง การอยู่ในดงละอองสารเคมีขณะทำงาน สูดดมสารเคมีเต็มที่ ทั้งระหว่างทำงานในแปลง กลับขึ้นบ้านแล้วกลิ่นสารเคมียังตามไปอีก งานนี้ถึงกับน็อค ต้องส่งโรงพยาบาล
วิชาการไร่กล้อมแกล้ม :
บ่น : วิชาการที่ไร่กล้อมแกล้มสูงมาก
ตอบ : มันก็สูงเท่าเดิม สูงเท่ากันกับทุกที่นั่นแหละ อยากได้ต้องขึ้นไปหามัน ไม่ใช่รอให้มันหล่นลงมาหาเรา ....
อยากรู้ ต้องเรียน เรียนในโรงเรียนมีครูสอน เรียนด้วยตัวเองที่บ้าน ที่แปลง
อนุรักษ์ VS พัฒนา :
นิยาม :
อนุรักษ์ คือ การ ทำ/รักษา ให้คงอยู่ด้วยสภาพเดิมมากที่สุด
ส่งเสริม คือ การสนับสนุน หรือ นวัตกรรม (สิ่งที่ประดิษฐ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเกิดจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ ยังผลให้ ประสิทธิภพประสิทธิผล เหนือกว่าแบบเดิม)
ที่ศูนย์ส่งเสริมการเกษตร โรงเรียนเกษตร โรงเรียนชาวนา ฯลฯ ทั้งของราชการและของเอกชนจิตอาสา จัดโครงการส่งเสริมการทำนาข้าวแบบ อนุรักษ์ ในงาน สาธิต/โชว์ ด้วยของจริง
* ไถนาด้วยควาย
* ดำนาด้วยมือ
* หว่านปุ๋ยด้วยมือ
* ใช้ยาฆ่าหญ้า
* ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง
บนความเป็นจริง :
* ไถนาด้วยแรงงานสัตว์ ... ด้วยควาย ใช้ควาย 1 ตัว ไถนาได้วันละไม่เกิน 1 ไร่ .... ด้วยวัว ใช้วัว 2 ตัว ไถนาได้วันละไม่เกิน 1 ไร่ .... ต้องเลี้ยง ควาย/วัว ไว้ทำนา เลี้ยงกี่ตัว ? เลี้ยงที่ไหน ? เลี้ยงยังไง ? คนเลี้ยงเอาที่ไหน ? ฯลฯ ? ...กะเหรี่ยงปะกากะญอ ใช้ช้างไถนา .... ติมอร์ ใช้ช้างไถนา.... อเมริกา ใช้ ม้า/ลา ไถนา....
* ดำนาด้วยมือ... ในงานใช้คน 20-30 คน (จัดฉาก) .... นาส่วนตัว คนเดียว ทำไม่ได้
* หว่านปุ๋ยด้วยมือ ..... เม็ดปุ๋ยไม่ได้ลงที่โคนกอข้าวสม่ำเสมอเท่ากันทุกกอ ข้าวกอไหนได้ปุ๋ยกอนั้นเขียวงาม กอไหนไม่ได้กอนั้นไม่เขียวไม่งาม ชาวนาบอกอ่อนปุ๋ยว่าแล้วหว่านเพิ่ม ผลคือ จ่ายเพิ่ม ดินเสีย
* ให้ปุ๋ย 2 ตัว .... ใช้ปุ๋ย 2 กส. (46-0-0+16-20-0 = 100 กก.) /ไร่ ต้นข้าวได้ปุ๋ยแค่ 2 ตั้ว คือ N. P. เท่านั้น ทั้งๆที่ต้นข้าว (พืชทุกชนิด) ต้องการปุ๋ย (ธาตุ/ธาตุอาหาร/สารอาหาร) 16 ตัว ....
ยูเรีย : ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี ให้ยูเรียวันนี้ เขียวได้ใน 2-3 วัน
แม็กเนเซียม : สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน (ใบเขียวถึงวันเกี่ยว) ใบหนา สังเคราะห์แสงดี สมบูรณ์ แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย
สังกะสี : สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี
ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า : ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง)
* นาหว่านใช้เมล็ดพันธุ์ 20-30 กก. .... ต้นทุน กก.ละ 30 บาท
* ใช้ยาฆ่าหญ้า .... หญ้าไม่ตาย แค่ใบไหม้ แล้วงอกใหม่.... หญ้าถูกตัดงอกใหมได้ โตกว่าเก่าเพราะ เหง้า/หัว/ไหล ยังอยู่แถมใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
* ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง .... จ่ายแพง ฆ่าแมลงได้แต่ต้นข้าวเสียแล้วเสียเลย
ทุกอย่างแสดงแบบโบราณเรียกว่า อนุรักษ์นิยม น่าจะแถมเพิ่มการไถนาด้วยช้าง ด้วยวัว ด้วยควาย ด้วยม้า จึงจะถือว่าสมบูรณ์แบบ
เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก การทำนายุคปัจจุบัน เพื่อ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ แล้วนำไปใช้ไปปฏิบัติ:
* ไถนาโดยการย่ำเทือกประณีตด้วยรถไถเดินตาม หรือรถไถนั่งขับ
* ติดตั้งถังขนาด 80-100 ล. ที่หน้ารถไถ ใส่ [i]น้ำ +ปุ๋ยนาข้าว +น้ำหมักชีวภาพ ติดก๊อกที่ก้นถัง 2 ก๊อก ซ้าย-ขวา ท้ายรถไถติดตั้ง อีขลุบ/ลูกทุบ .... วิ่งรถไถ ไขก๊อกถังปุ๋ย ปล่อยน้ำปุ๋ยให้ไหลลง มาก/น้อย-ช้า/เร็ว ตามความเหมาะสมจำเป็น เมื่อรถไถออกวิ่งจะลาก อีชลุบ/ลูกทุบ นอกจากช่วย ย่ำ/บด ขี้เทือกแล้ว ยังช่วยกระจายน้ำปุ๋ยทั่วแปลงทุกตารางนิ้วด้วย
* ย่ำเทือกประณีต (รุ่นแรก) โดยย่ำ 2-3-4 รอบ ช่วยกำจัด หญ้า/วัชพืช ให้ตายได้แน่นอน (ยาฆ่าหญ้าทำได้เพียงใบไหม้ ไม่นานก็งอกใหม่) ระหว่างต้นข้าวโต ให้ถอนแยกหญ้า/วัชพืช/ข้าวปน แบบนี้งานย่ำเทือกประณีตสำหรับนารอบต่อไปจะน้อยรอบลง
* ทำนาหยอด ด้วยเครื่องหยอดไทยประดิษฐ์ ใช้เมล็ดพันธุ์ 2-3 กก./ไร่
* เครื่องหยอดเมล็ดแบบ คนลาก/รถไถเล็กลาก ทำงานได้วันละไม่น้อยกว่า 10 ไร่ ด้วยแรงงานเพียงคนเดียว MADE IN THAILAND
* บำรุงต้นข้าวให้ปุ๋ยทางราก (หว่านลงดิน) 10 กก./ไร่ ให้ปุ๋ยทางใบ +สารสมุนไพร 7-10 วัน
* ฉีดพ่นสารสมุนไพรล่วงหน้า กันก่อนแก้ ก่อนศัตรูพืชเข้ามา
* แก้ปัญหาทุกรายการที่ โรงสีหรือผู้ซื้อ ตัดราคา
* ผลิตข้าวตามตลาดต้องการ เช่น ข้าวปลูก แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม
* ทำ ปุ๋ย-ยา-เมล็ดพันธุ์ ใช้เองเพื่อลดต้นทุน
หมายเหตุ :
- ใช้ผานโรตารี่ แทนผานจาน
- ทำเทือกนาแบบไม่ต้องไถ แต่ใช้วิธีย่ำเทือกประณีต
- ออกแบบสร้าง อีขลุบ/ลูกทุบ/โรตารี่ 3 ล้อ ล้อแรกกับล้อท้ายหมุนทางเดียวกัน ล้อกลางหมุนย้อน การหมุนสวนกันจะช่วยงานตีเทือกทำได้ดีขึ้น มากกว่าการหมุนตามกัน หรือมีเพียงล้อเดียวหลายเท่า
- ติดสปริงเกอร์แบบโอเวอร์เฮด ที่มุมคันนา ใช้ถัง 200 ล.บรรจุ น้ำ+ปุ๋ย+ยา ฉีดพ่นได้ครั้งละ 4 ไร่ (4 มุม)
- ลดปุ๋ยทางราก แล้วใช้ ปุ๋ย+ยาสมุนไพร ทางใบแทน
- สร้างแปลงแรงบันดาลใจ แรงจูงใจ
เปรียบเทียบ นาดำมือ-นาดำเครื่อง-นาหยอด-นาหว่าน :
นาดำมือ : เตรียมกล้า, ใช้แรงงานมาก
นาดำเครื่อง : เตรียมกล้า, หาเครื่องดำยาก, เครื่องดำราคาแพง, ซื้อต่างประเทศ
นาหยอด : ไม่ต้องเตรียมกล้า, ใช้แรงงานน้อย, หาเครื่องหยอดยาก, เครื่องหยอดราคาถูก, ไทยทำ
นาหว่าน : ไม่ต้องเตรียมกล้า, ใช้เมล็ดพันธุ์มาก, ใช้แรงงานมาก,
* ศูนย์การเรียนรู้ เกณฑ์คนมาเรียนรู้ 20คน 50คน ไถนาด้วยควาย, ทำเทือกด้วยลูกทุบ, ดำนาด้วยมือ, หว่านข้าวด้วยมือ, ภาพข่าวแพร่ไปทั่วโลก ก็ไม่รู้เหมือนกัน ชาวโลกเห็นแล้วเขาคิดยังไง
* ในเมื่อวันนี้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ไถนา/ทำเทือกด้วยโรตารี่, นาหยอดเมล็ดลากด้วยรถไถ/ด้วยด้วยแรงงานคน,
ข้อคิดเห็น : ศูนย์การเรียนรู้ น่าจะ (เน้นย้ำ....น่าจะ) นำเสนอทั้ง เทคโนโลยีสมัยเก่า และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้ผู้รับข้อมูลได้ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ แล้วนำไป ต่อยอด/ขยายผล/ปรับใช้ ให้เหมาะสมกับงานของตัวเอง
ความรู้ VS ความคิด :
แปลงเกษตรในมหาลัยเพื่อการศึกษา แปลงผัก กว้าง 2 ม. ยาว 10 ม. รวม 10 อย่าง ๆละ 2 ร่อง, เรือนเห็ด สูง 2 ม. ยาว 4 ม. 1 โรง
* ให้ น.ศ.รดน้ำด้วยสายยาง, ฉีดพ่นด้วยเป้สะพาย อ้างเหตุผลว่า แปลงขนาดเล็ก ทุกอย่างทำด้วยมือได้ จึงไม่แนะนำเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง เช่น สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย, การใช้สารสมุนไพร, ไอพีเอ็ม, ฯลฯ ตามความเหมาะสม
* กรณี้นี้ถ้า น.ศ.มีแปลงผักของตัวเอง 10-20 ไร่ มีโรงเรือนเพาะเห็ด 5-10 โรง หรือรู้จักเกษตรกร ที่ปลูกผักแปลงใหญ่ โรงเรือนเห็ดขนาดใหญ่ น.ศ.คนนั้นจะ ทำ/แนะนำ อย่างไร ?
**** ความรู้ ครูสอน - ความคิด ตัวเองสอน....
**** วิชาการ ครูสอน - ประสบการณ์ ตัวเองสอน....
****ถึงยุคแล้วที่ต้อง ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สร้างประสบการณ์ มากกว่า วิชาการ.
ลูกจ้างขี่คอ :
สมช. 1 : ลุงคิม ปรึกษาหน่อย ลูกจ้างฉัน ฉันบอกให้มันใส่น้ำหมักชีวภาพด้วย มันไม่ใส่ มันบอกว่า เจ๊ แถวนี้ไม่มีใครเขาใส่กันหรอก เจ๊ใส่เองเถอะ... ลูกจ้างแบบนี้ฉันควรทำยังไงคะ ?
สมช. 2 : ลุงคิม ปรึกษาหน่อย ลูกจ้างฉัน ฉันบอกให้ฉีดสมุนไพรพริกหมัก มันบอกว่าแสบตา
สมช. 3 : ลุงคิม ปรึกษาหน่อย ลูกจ้างฉัน ฉันบอกให้มันใส่ปุ๋ยนาข้าว ละลายน้ำสาดแล้วเอาอีขลุบตีเทือก มันบอกว่าปุ๋ยจะไหลไปกับน้ำหมด
สมช. 4 : ลุงคิม ปรึกษาหน่อย ลูกจ้างฉัน ฉันบอกให้มันใส่ปุ๋ยแบบใส่น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง มันบอกว่าถ้าใส่น้อย ต้นไม้ไม่พอกินก็จะไม่โต
สมช. 5 : ลุงคิม ปรึกษาหน่อย ผัวฉันไม่ยอมรับหลักการลุงคิม ทำไงดี
ลุงคิม : ไม่มีคำตอบ (ว่ะ) ก็ถ้ายังทำแบบเดิมๆอยู่ ยังสร้างกับดัก ดักตัวเองอยู่ ก็จงเป็นหนี้ต่อไปเถอะ .... หนี้ใครก็หนี้ใคร ลูกหลานใครก็ลูกหลานใคร
47. สมการปุ๋ยเคมี :
ปุ๋ยถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
ปุ๋ยถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง
ปุ๋ยถูก = ถูกสูตร - ถูกชนิด -ถูกประเภท-ถูก พีเอช.-ถูกปริมาณ-ถูกวิธี
ใช้ถูก = ถูกพืช-ถูกดิน-ถูกน้ำ-ถูกอุณหภูมิ- ถูกประวัติ-ถูกเครื่องมือ-ถูกวิธี
48. สมการสารสมุนไพร :
ตัวสมุนไพรถูก+ตัวศัตรูพืชถูก+วิธีทำถูก+ชนิดพืชถูก+วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก+ตัวศัตรูพืชถูก+วิธีทำถูก+ชนิดพืชผิด+วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
ตัวสมุนไพรถูก+ตัวศัตรูพืชถูก+วิธีทำผิด+ชนิดพืชผิด+วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสาม
ตัวสมุนไพรถูก+ตัวศัตรูพืชผิด+วิธีทำผิด+ชนิดพืชผิด+วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสี่
ตัวสมุนไพรผิด+ตัวศัตรูพืชผิด+วิธีทำผิด+ชนิดพืชผิด+วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังห้า
ตัวสมุนไพรถูก+ตัวศัตรูพืชถูก+วิธีทำถูก+ชนิดพืชถูก+วิธีใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังห้า
49. สมการปุ๋ยอินทรีย์ :
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ถูก+วิธีทำถูก+เวลาถูก+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ถูก+วิธีทำถูก+เวลาผิด+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ถูก+วิธีทำผิด+เวลาผิด+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ผิด+วิธีทำผิด+เวลาผิด+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมผิด+จุลินทรีย์ผิด+วิธีทำผิด+เวลาผิด+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักผิด+วัสดุเสริมผิด+จุลินทรีย์ผิด+วิธีทำผิด+เวลาผิด+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ถูก+วิธีทำถูก+เวลาถูก+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องถูก = ได้ผล
50. ลด-ละ-เลิก สารเคมี :
รอบที่ 1 ให้สารสมุนไพร + สารเคมี .............. ครั้งที่ 1
รอบที่ 2 ให้สารสมุนไพร ครั้งที่ 1
รอบที่ 3 ให้สารสมุนไพร ครั้งที่ 2
รอบที่ 4 ให้สารสมุนไพร + สารเคมี ............. ครั้งที่ 2
รอบที่ 5 ให้สารสมุนไพร ครั้งที่ 3
รอบที่ 6 ให้สารสมุนไพร ครั้งที่ 4
รอบที่ 7 ให้สารสมุนไพร + สารเคมี ............ ครั้งที่ 3
รอบที่ 8 ให้สารสมุนไพร ครั้งที่ 5
รอบที่ 9 ให้สารสมุนไพร ครั้งที่ 6
51. ปฏิทิน ลด-ละ-เลิก สารเคมี :
วันที่ 1 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่น สารเคมี (ครั้งที่ 1) +สารสมุนไพร
วันที่ 2, 3, 4 (ในปฏิทิน) ..................................... เว้น
วันที่ 5 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ
วันที่ 6, 7, 8 (ในปฏิทิน) ..................................... เว้น
วันที่ 9 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ
วันที่ 10, 11, 12 (ในปฏิทิน) ................................ เว้น
วันที่ 13 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่น สารเคมี (ครั้งที่ 2) +สารสมุนไพร
วันที่ 14, 15, 16 (ในปฏิทิน) ................................ เว้น
วันที่ 17 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ
วันที่ 18, 19, 20 (ในปฏิทิน) ................................ เว้น
วันที่ 21 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ
วันที่ 22, 23, 24 (ในปฏิทิน) ................................ เว้น
วันที่ 25 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่น สารเคมี (ครั้งที่ 3) +สารสมุนไพร
วันที่ 26, 27, 28 (ในปฏิทิน) ................................ เว้น
วันที่ 29 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ
วันที่ 30, 31, 32 (ในปฏิทิน) ................................ เว้น
วันที่ 33 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ
วันที่ 37, 38, 39 (ในปฏิทิน)
....... เว้น
วันที่ 40 (ในปฏิทิน) ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ
* ใช้สารเคมี ครั้งที่ 1 ใช้เต็มอัตราในฉลาก
* ใช้สารเคมี ครั้งที่ 2 ใช้ครึ่งหนึ่งของครั้งแรก
* ใช้สารเคมี ครั้งที่ 3 ใช้ครึ่งหนึ่งของครั้ง 2
* ใช้สารเคมี 3 ครั้งแล้ว ถ้าเอาศัตรูพืชไม่อยู่ต้องพิจารณาสมการสารเคมี
* ใช้สารสมุนไพรตามอัตราการใช้ ทุกครั้งที่ใช้
* ให้ปุ๋ยทางใบร่วมด้วยเมื่อครบรอบการให้ปุ๋ย
หมายเหตุ :
- แต่ละรอบห่างกัน 3 วัน,
- เลือกใช้ เคมี/สารสมุนไพร ถูกต้องตามสมการ
- สารสมุนไพร ใช้ร่วม/ไปร่วม กับปุ๋ยทางใบได้
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/03/2024 3:34 pm, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 25/05/2019 6:03 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
52. แนวทางลดต้นทุน (นาข้าว) :
** ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี ........... เลิก/เปลี่ยน วิธีเดิมมาเป็นแบบสีสันชีวิตไทยแนะนำ
** ต้นทุนค่าสารเคมี .......... ใช้สารสมุนไพร+ปุ๋ยทางใบ
** ต้นทุนค่ายาฆ่าหญ้า ....... ใช้เครื่อง ตัด/พรวน, ไถพรวนด้วยโรตารี่, ย่ำเทือกประณีต
** ต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ ........ ทำนาหยอด, ทำนาดำเครื่อง, ทำนาแบบล้มตอซัง
** ข้าวคุณภาพต่ำ ............. เลิก/เปลี่ยน วิธีเดิมมาเป็นแบบสันชีวิตไทยแนะนำ
** ข้าวราคาต่ำ ................ แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม, ขายแบบพันธะสัญญา
** ต้นทุนค่าเช่าที่ ............. แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม ขายแบบพันธะสัญญา
** ต้นทุนค่าแรง ............... ใช้เครื่องทุ่นแรง, จ้างประจำ
** ต้นทุนสูง กำไรน้อย ........ ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ/ปริมาณ
- ต้นทุนค่ายาฆ่าแมลง ใช้วิธี ลด/ละ/เลิก สารเคมี, ป้องกัน/กำจัด, ใช้ร่วมกับปุ๋ยทางใบ, IPM
- จับหลัก "หัวใจเกษตรไท" *ปุ๋ย *ยา *เทคนิค *เทคโนฯ *โอกาส *ตลาด *ต้นทุน แล้วปรับทัศนคติ/ทัศนคติ/ค่านิยม/วัฒนธรรม/ประเพณี จากที่เคยทำแบบเดิมๆ มาสู่การทำแบบใหม่ ปลูกพืชตามใจพืช ไม่ใช่ตามใจคน
- อาชีพเกษตรกรรมหรืออาชีพอื่นใดก็สุดแท้ วันนี้ถึงยุคที่ต้อง คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ แล้วว่า ทำแบบเดิมคงไม่มีอะไรดีกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ เพราะทุกอย่างเปลี่ยนไปในทาง ลบ เช่น ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี ค่ายาฆ่าแมลง ปัจจัยพื้นฐานฯ
- เขียนรายการต้นทุนที่เป็นเงินขึ้นมาก่อน ทุกรายการ เพื่อเตือนสติ
- เขียนรายการต้นทุนที่ไม่ได้ซื้อขึ้นมาก่อน ทุกรายการ
- ประมาณการตลาดล่วงหน้าราคาขายว่า ขายแล้วจะได้เท่าไหร่
- คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ต้นทุนระหว่างทำเอง 100% กับ ทำเองครึ่งนึ่งซื้อครึ่งนึง
- ลงทุนแก้ปัญหาครั้งเดียว เพื่อป้องกันปัญหาระยะยาว
- ใช้ เทคโนโลยีวิชาการ ผสมผสาน เทคโนโลยีชาวบ้าน
- ฉลาด เลือก-ซื้อ-ใช้ .... ฉลาด วางแผน-ทำ เพื่อต้นทุนที่ต่ำกว่าแต่ประสิทธิภาพเหนือกว่า
- ใช้เครื่องทุ่นแรง เพื่อประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน
- ฯลฯ
53. ประสิทธิภาพสปริงเกอร์ :
ที่ RKK แปลงไม้ผลแบ่งเป็นโซน ๆละ 50 ต้น ให้ น้ำ, น้ำ+ปุ๋ย, น้ำ+ยาสมุนไพร, น้ำ+ปุ๋ย+ยาสมุนไพร มีหม้อปุ๋ยประจำหน้าโซน ทำงานให้ทางใบครั้งละ 3-5 นาที ให้ทางรากครั้งละ 5-10 นาที ต่อการทำงาน 1 รอบ :
เปรียบเทียบ : ลากสายยาง 50 ต้น ๆละ 5 นาที = 250 นาที/ครั้ง VS สปริงเกอร์ 50 ต้น ใช้เวลา 5 นาที = 5 นาทีไฟฟ้า/ครั้ง
สรุป : ลงทุนครั้งเดียว ทำงาน 5ปี 10ปี 20ปี ต้นทุนค่าไฟฟ้า ค่างแรง ประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน ความเครียดในการทำงาน เครดิตความน่าเชื่อถือ .... ต่างกันเท่าไหร่ ?
54. สปริงเกอร์สั่งได้ :
ตี.5 : ................... ล้างน้ำค้าง ป้องกัน/กำจัด ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
สาย : ................... ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน
เที่ยง : .................. ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง
ค่ำ : ..................... ป้องกันแม่สื้อเข้าวางไข่ ไข่แมลงฝ่อ ฆ่าหนอนที่ออกหากินลางคืน
กลางวัน-กลางคืน : .... ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ ทุกวัน วันต่อวัน วันเว้นวัน ทำได้ตามต้องการ
กลางวันฝนตก :
..... ก่อนฝนตกหรือหลังฝนหยุด ให้ปุ๋ยทางใบป้องกันการแตกใบอ่อน
กลางวันฝนตก : ..
... ฝนหยุดแดดออก (ฝนต่อแดด) ล้างน้ำฝน ป้องกัน/กำจัด แอ็นแทร็คโนส, ไม้ผลระยะสะสมตาดอก หรือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ปล.
นอกจากช่วงเวลาทำงานช่วงละครั้งแล้ว ยังสามารถทำงานได้วันละหลายช่วง เช่น เช้ามืดให้น้ำชะล้างน้ำค้าง ตอนสายหรือเที่ยงให้ ปุ๋ย/ปุ๋ย+ยา ทางใบได้อีกด้วย
55. เปรียบเทียบสปริงเกอร์ :
- ราคา
- อายุใช้งาน
- ต้นทุนแรงงาน (ทำเอง/จ้าง)
- ต้นทุนพลังงาน (ไฟฟ้า/น้ำมัน)
- ต้นทุนเวลาที่ทำงาน
- ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของเนื้องาน
- สุขภาพร่างกาย (คนใช้/คนกิน)
- เครดิตความน่าเชื่อถือ (สังคม/ทั่วโลก)
56. เกษตรโลก :
เยอรมัน ซื้อลิขสิทธิ์สารอะแซดิแร็คติน ในสะเดาจากไทย
ฝรั่งเศส ซื้อลิขสิทธิ์สารแค็ปไซซิน ในพริกจากไทย
อเมริกา ซื้อลิขสิทธิ์ราติโนน ในหนอนตายหยากจากไทย
เยอรมัน-ฝรั่งเศส-อเมริกา ..... ซื้อลิขสิทธิ์ไปทำอะไร ?
สารออกฤทธิ์ในสมุนไพรที่มีผลต่อศัตรูพืช คือ
กลิ่น (ทำให้แมลงไม่เข้าหาพืช) ........
รส (ทำให้ แมลง/หนอน ไม่กัดกินพืช) .......
ฤทธิ์ (ทำให้ แมลง/หนอนตาย, ทำให้เชื้อ รา/แบคทีเรีย/ไวรัส ตาย) .....
เสริมด้วย IPM (การ ป้องกัน/กำจัด แบบผสมผสาน .... กับดัก กาวเหนียว แสงล่อ ศัตรูธรรมชาติ พืชแซม เขตกรรม วิธีกล วิธีฟิสิกส์ ฯลฯ)
ในพืชที่สมบูรณ์แข็งแรงแมลงศัตรูพืชเข้าหาแล้วขยายพันธุ์ แพร่ระบาด หรือสร้างความเสียหายแก่พืชได้น้อยกว่าศัตรูพืชที่เข้าหาพืชที่อ่อนแอ ไม่สมบูรณ์ (สมเด็จฟ้าชายชาร์ล แห่งอังกฤษ)
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/03/2024 3:42 pm, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 26/05/2019 6:08 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
57. แรงบันดาลใจ :
- วังขนาย ทำอ้อยได้ 100 ตัน/ไร่ ................ ขอแค่ 50 ตัน
- มิตรผล ทำอ้อยได้ 50 ตัน/ไร่ ................... ขอแค่ 25 ตัน
- สุพรรณบุรี ทำสำปะหลังได้ 60 ตัน/ไร่ .......... ขอแค่ 30 ตัน
- ข้าวหอมมะลิ 105 ปลูกอิสานได้ 35 ถัง/ไร่ .... ปลูกลำพูน/พิจิตร/นครชัยศรี ได้ 80 ถัง/ไร่
เกษตรแจ็ตพ๊อต : มะลิ (หน้าหนาว-วันครู-วันแม่), กุหลาบวาเลนไทน์ (สีดำ สีม่วง แฟนซี),มะนาวหน้าแล้ง, กล้วยหอม/แก้วมังกร/ส้ม (ตรุษจีน-สาร์ทจีน-เชงเม้ง-ไหว้พระจันทร์), ผักชีหน้าฝน, บัวเข้าพรรษา, ชะอมหน้าแล้ง, ทุเรียนนอกฤดู (หมอนทอง ออกลูกตลอดปี), มะม่วงนอกฤดู, เงาะนอกฤดู, ลำไยนอกฤดู, แตงโมหน้าฝน, แตงโมสี่เหลี่ยม, ไผ่นอกฤดู
- ปลูกพืชราคาผลผลิตต่อ กก.แพงๆ ดีกว่า ปลูกพืชที่ผลผลิตราคาผลผลิตต่อ กก. ถูกๆ
แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม : ข้าว (ข้าวกล้อง ข้าวฮาง จมูกข้าวแค็ปซูล น้ำมันรำแค็ลซูล) .... ผลไม้ (กวน ทอด ตาก อบ แป้ง คั้นน้ำ แยม แช่อิ่มในกระป๋อง) ....ไม้ดอก (กลิ่นอะโรม่า น้ำหอมดอกไม้) .... สมุนไพร (สด แห้ง พร้อมใช้ สำหรับคน-สัตว์-พืช)
คุณภาพ : ซูพรีม พรีเมียม เกรด เอ. จับโบ้ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง ออกนอกฤดู สีสวยสด รสจัดจ้าน ปลอดสารเคมี โดนตา โดนใจ คนนิยม
58. 1 ปี .... ขาย 1 vs 12 ครั้ง :
- ในรอบปี 12 เดือน ไม้ผลให้ผลผลิต ในฤดู/นอกฤดู ได้ขาย/ขายได้ 1 ครั้ง ....
- คิด/วิเคราะห์ จากขายได้ หาร 12 = เดือนละ ? .... จากเดือนละ หาร 30 = วันละ ? .... จากวันละ หาร จำนวนคนในบ้าน = รายได้ ต่อวัน ต่อคน
- แบ่งพื้นที่มาบางส่วน ปลูกพืชล้มลุก ไม่มีฤดูกาล เช่น...
**** เห็ดในโรงเรือน/กลางแจ้ง ผักไฮโดรโปรนิกส์
**** ผักสวนครัวกินผล (พริก มะเขือ ฯลฯ)
**** ไม้ผลล้มลุก เช่น แตงโม แคนตาลูป เมลอน แบ่งแปลงเป็นโซน ปลูกทุกวันที่ 1 ของเดือน จะมีผลผลิตให้เก็บทุกเดือน (12 โซน ได้เก็บ 12 ครั้งต่อปี)
**** ไม้ดอกประเภทต้องการแสงแดดน้อย แซมแทรกระหว่างต้นไม้ผล (หน้าวัว)
**** ผักประเภทต้องการแสงแดดน้อย แซมแทรกระหว่างต้นไม้ผล (ข่า ตะไคร้ ผักหวานป่า)
- เลือกพืชที่ราคาผลผลิตต่อหน่วย ราคาแพงๆ ถึง แพงมากๆ ทำแจ๊คพ็อต
- แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม
- การตลาดนำการผลิต
59. นาข้าว :
- หอมมะลิ ทุ่งกุลาฯ ได้ 35-40 ถัง/ไร่ เกวียนละ 15,000 .... 3 ไร่ ได้ 1 เกวียน = ได้ไร่ละ 5,000
- หอมมะลิที่ ลำพูน พิจิตร นครชัยศรี ได้ 80 ถัง/ไร่ ............ 1 ไร่ ได้ 1 เกวียน = ได้ไร่ละ 15,000
ข้าวอย่างอื่นเกวียนละ 10,000 .... 1 ไร่ได้ 1 เกวียน = ได้ไร่ละ 10,000
ข้าวเปลือกขายที่โรงสี ได้เกวียนละ 12,000 (-)
ข้าวเปลือกสีเป็นข้าวกล้อง ขายได้เกวียนละ 30,000-50,000 (+)
ข้าวเปลือกสีเป็นข้าวกล้องกาบา ขายได้เกวียนละ 100,000 (+)
ข้าวเปลือก 1 เกวียน ทำจมูกข้าวแค็ปซูล น้ำมันรำแค็ปซูล ขายได้ราคาหลายๆ แสน
ต้นทุน 195,000 VS 45,000 :
พ่อ ลูกชาย ลูกสะใภ้ จากฉะเชิงเทรา ด้วยปิ๊คอั๊พ 2 ตอน รุ่นล่าสุด มาที่ไร่กล้อมแกล้ม.... หลังทักทายกันตามวัฒนธรรมเรียบร้อย บทสนทนาก็เริ่มขึ้น
ลุงคิม : ตอนนี้ทำเกษตร ปลูกอะไรอยู่ล่ะ ?
สมช. : ทำนาข้าว 130 ไร่ ทำตามแนวลุงคิม ทำมา 3 รุ่นแล้ว รุ่นนี้ รุ่นที่ 4
ลุงคิม : อืมมม แนวลุงคิม แนวลุงคิม แนวลุงคิมไม่มีหรอกนะ มีแต่แนวธรรมชาติของต้นข้าว
สมช. : แต่ผมทำตามที่ลุงคิมบอก แม้แต่ปุ๋ยก็ใช้ปุ๋ยของลุง
ลุงคิม : ใช้ปุ๋ยลุงคิม คุณเอามาจากไหน ?
สมช. : (หัวเราะ....) สั่งซื้อจากร้านลูกสาว ร้านคุณน้ำส้ม
ลุงคิม : สั่งซื้อที่ร้านน้ำส้ม สั่งยังไง ?
สมช. : สั่งให้ส่งทางไปรษณีย์ นารุ่นนึงสั่ง 3 ครั้ง ครั้งละ 15,000
ลุงคิม : (พูดในลำคอ) ครั้งละ15,000 .... 3 ครั้งเป็นเงิน 45,000 .... นาข้าว 130 ไร่ ต้นทุนค่าปุ๋ย แค่ 45,000 ใครจะเชื่อ....
คิดในใจ....
นาข้าว 1 ไร่ ใช้ยูเรีย 1 กส. ๆละ 750, 16-20-0 (1 กส.) กส.ละ 750 = ใช้ปุ๋ย 2 กส. ราคา 1,500
นา 130 ไร่ ใช้ปุ๋ยเคมีเพียวๆ เป็นเงิน 130 ไร่ x 1,500 บาท = 195,000 บาท
เปรียบเทียบ :
ปุ๋ยเคมีเพียวๆ รุ่นละ 195,000 .... ปุ๋ยอินทรีย์-เคมี รุ่นละ 45,000
60. ชาวนา คิดใหม่ทำใหม่ :
ผลผลิตเพิ่ม :
ให้ปุ๋ยถูกสูตร ทางดินให้ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 + 16-8-8 ทางใบให้แม็กเนเซียม. สังกะสี. ยืนพื้น ....ปุ๋ยแต่ละสูตรที่ว่ามีผลต่อต้นข้าวโดยตรงยังไง บอกไว้ครบ....
ใช้ เทคนิค/เทคโนโลยี ให้ได้ผลผลิตต่อไร่มากที่สุด ให้ได้คุณภาพสูงสุด ไม่มีข้าวลีบ ไม่มีท้องไข่ เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี ความชื้นน้อย ใช้ทำพันธุ์ได้ ....
ต้นทุนลด :
"ลดค่าไถ" .... ไถดะไถแปรไถพรวนตัดออกให้หมด ข้ามขั้นไปทำเทือกเลย ทำเทือกแบบประณีต ตีเทือกครั้งสุดท้าย ติดตั้งถังบรรจุปุ๋ย อินทรีย์น้ำ+เคมี ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 + 16-8-8 ปริมาณสำหรับ 1 ไร่ ..
ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 + 16-8-8 คนให้ละลายเข้ากันดี ติดก๊อกที่ก้นถัง เริ่มวิ่งรถย่ำเทือก เปิดก๊อกที่ก้นถังปุ๋ยที่หน้ารถ รถไถวิ่งไป น้ำผสมปุ๋ยหยดลงข้างหน้า ลูกทุบอีขลุบที่ท้ายรถจะกวาดละเลงเนื้อปุ๋ยกระจายทั่วแปลงนาทุกตารางนิ้วเอง แบบนี้จะช่วยให้ข้าวทุกต้นทุกกอได้รับปุ๋ยเท่ากันทั้งแปลง
ทั้งนี้ ปุ๋ยที่หว่านด้วยมือ เม็ดปุ๋ยลงไปที่กอข้าวไม่เสมอกัน ข้าวกอไหนได้ปุ๋ยกอนั้นเขียว กอที่ไมได้ปุ๋ยก็ไม่เขียว ชาวนาบอกก็ว่าอ่อนปุ๋ย ว่าแล้วหว่านยูเรียซ้ำอีก กส. นั่นเท่ากับหว่านยูเรีย 2 กส. 16-20-0 อีก 1 กส. รวมเป็นใส่ปุ๋ย 3 กส./ไร่ ถึงจะหว่านซ้ำแล้วก็ยังได้ไม่ทั่วแปลง บางกอได้ปุ๋ย บางกอไม่ได้ปุ๋ย สภาพต้นข้าวยังเหมือนเดิม
คิดดู ข้าวกอที่ได้ปุ๋ยกับกอที่ไม่ได้ ผลออกมาจะต่างกันยังไง....ชัดเจน ย่ำเทือกใช้น้ำมันน้อยกว่าไถ
"ลดยาฆ่าหญ้า" .... กำจัดหญ้าวัชพืช ย่ำเทือกแบบประณีต 4 รอบ :
รอบแรก ย่ำวันที่ 1 ในปฏิทิน
รอบสอง ย่ำวันที่ 10 ในปฏิทิน
รอบสาม ย่ำวันที่ 20 ในปฏิทิน
รอบสี่รอบสุดท้าย ย่ำวันที่ 30 ในปฏิทิน
ก่อนลงมือย่ำรอบแรกสังเกตปริมาณหญ้าวัชพืชว่ามีเท่าไหร่ ก่อนลงมือย่ำรอบสอง-สาม-สี่ ก่อนย่ำสังเกตว่าหญ้าวัชพืชลดลงเท่าไหร่แล้ว ถ้าจุดไหนยังมีหญ้าวัชพืชหลงเหลืออยู่หรือลดลงน้อยให้ย่ำซ้ำ
หญ้าวัชพืชงอกจากไหล/หัว/เหง้า ถ้าไม่มีใบก็จะกินอาหารที่สะสมไว้ใน ไหล/หัว/เหง้า เมื่อใบถูกทำลายซ้ำ ๆๆ ก็ต้องกินอาหารที่สะสมจนหมด เมื่อไม่มีอาหารสะสมต้นก็ตายสนิทไปเอง ลงท้ายเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์
ผานอัจฉริยะ .... ออกแบบสร้างผานโรตารี่สำหรับใช้กับรถไถใหญ่คนนั่งขับ ไม่ใช่เดินตาม รูปแบบ-ทำงาน เหมือนผานธรรมดาๆนี่แหละ แต่มีผานโรตารี่ 3 อันหมุนพร้อมกัน อันแรกกับอันที่สามหมุนไปข้างหน้าตามรถไถ อันกลางหมุนย้อนกลับหลัง
คิดดู.... ผานโรตารี่ 3 อัน สองอัน หน้า-หลัง หมุนไปหน้า หนึ่งอันกลาง หมุนย้อน แบบนี้ทั้งหญ้า วัชพืช ดิน จะป่นละเอียดสุดๆ ผานสามอันทำงานวิ่งรอบเดียวเท่ากับผานเดี่ยววิ่ง 3 รอบ
นี่คือ ประหยัดเวลา แรงงาน น้ำมันรถไถ อารมณ์...
"จุลินทรีย์ดี" ....ใช้ยาฆ่าหญ้า หญ้าไม่ตายแค่ใบไหม้ เดี๋ยวก็งอกใหม่งามกว่าเก่า นั่นคือ หญ้าไม่ตายแต่จุลินทรีย์ตาย
เลิกใช้ยาฆ่าหญ้าแต่ฆ่าหญ้าด้วยวิธี ย่ำ-ไถกลบ-หมัก หญ้าตาย ตายสนิท ไม่งอกใหม่ แถมจุลินทรีย์ทั้งเก่าและใหม่ ไม่ตาย
เชื่อหรือไม่ จุลินทรีย์ คือ แม่ครัวของพืช จุลินทรีย์ช่วยสร้างสารอาหารให้พืช จุลินทรีย์ช่วยกำจัดเชื้อโรคพืช จุลินทรีย์ช่วยปรับ กรด/ด่าง ให้กับดิน
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/06/2024 3:12 pm, แก้ไขทั้งหมด 9 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 27/05/2019 5:38 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
61. ปุ๋ยนาข้าว :
ยูเรีย : ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี
แม็กเนเซียม : สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดีสมบูรณ์ แข็งแรง ต้นแข็ง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย
สังกะสี : สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี
*** คนเดียว ซื้อ+ทำเอง = ต้นทุนลด ขายได้เท่าเดิม นั่นคือ กำไรเพิ่ม
*** รวมกลุ่ม ซื้อ+ทำเอง = ต้นทุนลด ขายได้เท่าเดิม นั่นคือ กำไรเพิ่มเพิ่ม
*** ปุ๋ย ยา เทคนิค เทคโนฯ โอกาส คือ หัวใจ ของหัวใจ ของการเกษตร ของชีวิตของชีวิต
เปรียบเทียบปริมาณผลผลิต นาดำ VS นาหว่าน :
* พื้นที่ 1 ตร.ศอกแขน .... นาดำ : ข้าว 1 เมล็ด = 1 กอ แตกกอได้ 50 ลำ ลำใหญ่เท่าหลอดดูดเฉาก๊วย .... 1 ลำ = 1 รวง, 1 รวง = 100 เมล็ด, .... 1 กอ 50 ลำ/รวง = 5,000 เมล็ด.
ต้นทุน.... นาดำ ๆด้วยรถดำนา (เมล็ดพันธุ์, กล้า, ค่าจ้าง).... นาหยอด ๆด้วยเครื่องหยอด (เมล็ดพันธุ์, กล้า, ค่าจ้าง) ต้นทุนต่ำกว่านาหว่าน
* พื้นที่ 1 ตร.ศอกแขน .... นาหว่าน : ข้าว 10 เมล็ด = 10 กอ ไม่แตกกอได้ 10 ลำเท่าเดิม ลำใหญ่เท่าหลอดดูดยาคูลท์ .... 1 ลำ = 1 รวง, 1 รวง = 100 เมล็ด, .... 10 เมล็ด 10 ลำ/รวง = 1,000 เมล็ด
ต้นทุน .... นาหว่าน (มือ เครื่อง) เมล็ดพันธุ์, ค่าจ้าง สูงกว่านำดำ นาหยอด
- ช่วงเวลา 9 โมงเช้า ใบธงอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ใช้วิธีธรรมชาติร่วมด้วย เช่น ....
.... ปล่อยน้ำท่วม หรือปล่อยหน้าดินแห้ง กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล,
.... เลี้ยงหญ้าบนคันนา ให้แมลงธรรมชาติอาศัยแล้วไปทำลายแมลงศัตรูพืช
.... ใช้แสงไฟล่อแมลงให้ตกลงไปในน้ำ หรือเข้ามาติดกับดักกาวเหนียว
.... บำรุงต้นข้าวให้สมบูรณ์แข็งแรง เกิดเป็นภูมิต้านทานสู้กับศัตรูพืชในตัวเองได้
.... งดใช้ ยูเรีย เด็ดขาด เพราะยูเรียทำให้ต้นข้าวอวบ ล่อเพลี้ยกระโดดเข้ามาหา
.... งดใช้สารเคมี เพราะเป็นอันตรายต่อแมลงธรรมชาติ ประเภท ตัวห้ำ-ตัวเบียน
.... ไถกลบฟาง ได้ซิลิก้า (หินภูเขาไฟ) ช่วยใช้ผนังเซลล์ต้นข้าวแข็ง แมลง เพลี้ยกัดไม่เข้า
62. ข้าวหอมพันธุ์พื้นบ้าน :
หอมหาง. หอมเศรษฐี. หอมนายพล. หอมแดงน้อย. หอมลาย. หอมนางมล. หอมพวง. หอมเม็ดเล็ก. หอมเขมร. หอมทุเรียน. หอมมาล่า. หอมไผ่. หอมครัว. หอมใบ. หอมโพ. หอมบาว.หอมนางนวล. หอมนวล. หอมสวน. หอมอุดม. หอมแพ. พะโล้. หอมดอ. หอมหวน. หน่วยเขือ. เล้าแตก. ก่ำเปลือก. ดำช่อขิง. มันเป็ด. ปะกาอำปึล. หอมทุ่ง. ป้องแอ๊ว. หอมมะลิหรือขาวดอกมะลิ. หอมปทุมธานี. หอมคลองหลวง. หอมสุพรรณ. หอมพิษณุโลก. หอมกุหลาบแดง. หอมนิล.
63. ข้าวพันธุ์ GI :
ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง. ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้. ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร. ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้. ข้าวหอมมะลิสุรินทร์. ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์. ข้าวก่ำล้านนา. ข้าวลืมผัว.
64. งานส่งเสริมเกษตร ในฝัน :
- เกษตรจังหวัด จัดรายการเกษตรทางวิทยุ สถานีวิทยุชุมชน มอบหมายให้เกษตร อำเภอ/ตำบล รับผิดชอบวันละ 1 อำเภอ ไม่จำกัดการมีผู้สนับสนุนรายการ
- วิทยุคลื่นหลัก AM/FM สังกัดกองทัพ บก/เรือ/อากาศ/ตำรวจ มีสถานีวิทยุในความรับผิดชอบ จัดรายการเกษตรทางวิทยุ ด้วยกำลังพลของตน ไม่จำกัดการมีผู้สนับสนุนรายการ .... เป็นวาระแห่งชาติ ภารกิจและวัตถุประสงค์เพื่อ ปลูกฝัง/เสริมสร้าง/ปรับเปลี่ยน พฤติกรรม ทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณี กระแส สติ กระแส คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ฯลฯ แก่เกษตรกร และ/หรือ ผู้เกี่ยวข้อง
- TV เกษตร ช่องหอยม่วง NBT ช่องนกปีกฉีก TBS (ของรัฐ) มีรายการเกษตร ทุกคืน 2-4 ทุ่ม นำเสนอเรื่อง พืช, สัตว์, แปรรูป (OTOP SME), ตลาด, ปชส., ข่าว, ฯลฯ ในประเทศ เน้น H. มากกว่า W. แถมด้วยสารคดีเกษตรต่างประเทศตามความเหมาะสม .... รายการนี้เป็นรัฐสวัสดิการ (เหมือนรถเมล์ รถไฟ) ไม่ต้องมี SPONSOR โดยรัฐจ่ายเงืนเดือนให้ผู้ผลิตรายการ (ข้าราชการ) กับเปิดช่องทางให้จิตอาสาเข้ามาร่วมรายการได้
- รัฐบาลให้งบ 100 ล้าน ส่งเสริม/แจกฟรี กาวเหนียวดักแมลง ถึงระดับตำบล มอบหมายให้ จนท.เกษตรตำบล รับผิดชอบ/วางแผน/ปฏิบัติการ/ประเมินผล/แก้ปัญหา/แผนการปฏิบัติในอนาคต/ปชส./ฯลฯ
- รัฐส่งเสริมโรงงานรูปบริษัท SME OTOP ผลิต/จำหน่าย/เผยแพร่/ปชส./ส่งออก/ฯลฯ สารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ และงดภาษีทุกรูปแบบเพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำ ราคาถูก
- จนท.เกษตร, สถานศึกษาทุกระดับที่มีหลักสูตรการเกษตรด้านพืช สอน/ส่งเสริม/สนับสนุน/แนะนำ/ปชส. การทำ ปุ๋ยอินทรีย์, ปุ๋ยเคมี, ฮอร์โมน, จุลินทรีย์, สารสมุนไพร (แห้ง/น้ำ-ทางใบ/ทางราก), เครื่องทุ่นแรง (เล็ก/ใหญ่), /ฯลฯ อย่างถูกวิธี มีหลักวิชาการรองรับยืนยัน .... ใช้หลักรัฐศาสตร์ผสมผสาน หลักนิติศาสตร์ แทนการ ห้ามทำ/จับกุม และสร้าง IDEA IDOL INNOVATION
- รัฐ ส่งเสริม/งานวิจัย สร้างสารบำรุงข้าวทุกสายพันธุ์ให้หอมเหมือน กข105
- รัฐบาลจัดนิทัศการเกษตร อินทรีย์นำ เคมีเสริม ระดับโลก ในประเทศและต่างประเทศ
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/01/2024 10:19 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 29/05/2019 5:56 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
65. MADE IN THAILAND :
ที่บึงกาสาม หนองเสือ ปทุมธานี ทำปุ๋ยน้ำทางใบส่งตามออร์เดอร์เดือนละ 20,000 ล. ขึ้นเรือที่ระยอง ไปขึ้นเรือใหญ่ต่อที่แปซิฟิค ที่เรือใหญ่บรรจุขวดเล็ก 1ล. 5ล. แล้วติดยี่ห้อเป็นภาษาประเทศที่ส่ง
ส่งฟิลิปปินส์ ............ ติดฉลากภาษาฟิลิปปินส์
ส่งไต้หวัน ............... ติดฉลากภาษาไต้หวัน
ส่งจีน ................... ติดฉลากภาษาจีน
ส่งอินโดเนเซีย .......... ติดฉลากภาษาอินโดเนเซีย
ส่งมาเลเซีย ............. ติดฉลากภาษามาเลเซีย
ส่งเวียดนาม ............ ติดฉลากภาษาเวียดนาม
ไม่รู้ว่าส่งมาไทยหรือเปล่า ......... กำลังจะบอกว่า แบบนี้บ้านคุณก็ทำได้
ปุ๋ยน้ำทางใบไดเร็คเซลล์ ลิตร 4,000 ลิตรละ 10,000 รวมทั้ง
ไบโออิ. ยูเรก้า. ไทเป หัวโต ไบโต. ทำไต้ถุนบ้าน ทั้งนั้น
66. โรคมีเชื้อ :
เกิดจากเชื้อโรค (วัฏจักรชีวิต) กลุ่ม รา แบคทีเรีย ไวรัส พลาสม่า ....
การปฏิบัติ :
- บำรุงต้นสร้างความสมบูรณ์สะสมเป็นภูมิต้านทาน
- ใช้สารเคมีเดี่ยวๆ หรือสารสมุนไพรเดี่ยวๆ หรือ สารเคมี+สารสมุนไพร
- ใช้มาตรการ ป้องกัน/กำจัด อย่าง เหมาะสม/ถูกต้อง
- ใช้จุลินทรีย์มีประโยชน์
- ยึดหลักสมการยาสมุนไพร
- ไอพีเอ็ม
67. โรคไม่มีเชื้อ :
เกิดจากต้นพืชขาดสารอาหาร หรือปัจจัยพื้นฐาน (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ-ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่เหมาะสม
การปฏิบัติ :
- ลดปุ๋ยเคมี เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับปรุงบำรุงดิน
- ลดธาตุหลัก เพิ่มธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน
- จับหลักสมการปุ๋ย
- จับหลักสมการยา
- บริหารปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูกที่ ถูกต้อง/เหมาะสม
- บำรุงพืช สร้างความสมบูรณ์สะสมให้เป็นภูมิต้านทานศัตรูพืช
68. เทคโนฯ เครื่องทุ่นแรง-1 :
- งานอุตสาหกรรมพยายามเสาะแสวงลงทุน "เปิดรับ" เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงใหม่ๆ เสมอ
- งานเกษตรกรรมปิดรับ เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงทุกชนิด อย่างสิ้นเชิง
- งานอุตสาหกรรม พยายามสร้างผลผลิตให้ "ล้ำหน้า" คู่แข่ง 1 ก้าวเสมอ
- งานเกษตรกรรม ทำตามคนอื่นๆ ถึงขนาดบอก แถวนี้ไม่มีใครทำ
- งานอุตสาหกรรมเอาความรู้วิชาการมาบริหาร-จัดการ เสมอ ตั้งเริ่มต้นจนจบ
- งานเกษตรกรรม บริหาร-จัดการ แบบเดิมๆ ตามประเพณี ตามข้างบ้าน ตามโฆษณา
- สวนยกรองน้ำหล่อ รดน้ำด้วยเรือปากเป็ด ใช้เวลาเช้ายันเที่ยงบ่าย ให้น้ำได้อย่างเดียว ให้ ปุ๋ย/ยา ต้องสะพายเป้ลากสายยางต่างหาก งานนี้ ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/คาเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ เท่าไหร่ ?
- คิดใหม่-ทำใหม่ ปรับร่องเป็นน้ำเลี้ยงปลา ปลาละร่องๆ เลี้ยงผักบุ้งทอดยอดเย็นตาโฟ เลี้ยงผักกะเฉด ทำค้างคร่อมร่องปลูกมะระฟักเขียวบวบ ได้พื้นที่ คืน/เพิ่ม อีกไม่น้อย
- ติดสปริงเกอร์ หัวสปริงเกอร์อยู่เหนือยอด (ไม้พุ่ม) หรืออยู่เหนือค้าง (ไม้ขึ้นค้าง) น้ำสัมผัสใบแล้วหล่นลงพื้น เท่ากับได้ 2 เด้ง
บนสันแปลงติด สปริงกอร์-หม้อปุ๋ย ช่วยประหยัด ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์
69. เทคโนฯ เครื่องทุ่นแรง-2 :
- ติดสปริงเกอร์ หัวแรกออกแรง หัวกลางออกกลาง หัวท้ายออกค่อย ใช้รดน้ำอย่างเดียวยังไม่ 100% ปล่อย ปุ๋ย/ยา ไปกับสปริงเกอร์ไม่ได้ แบบนี้ถือว่าไม่คุ้มค่า
- ลูกจบปริญญา มีสวนไม้ผลขนาดใหญ่ ปล่อยพ่อแม่ทำ ติดสปริงเกอร์เฉพาะโคนต้นให้น้ำ แต่ลากสายยางฉีดพ่นทางใบต่างหาก ต้นทุน ค่ากตัญญู/ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ หมดไปอย่างไม่สมเหตุสมผล
- แอร์บลาสส์คันละล้าน (ตัวแอร์บลาสส์ 5 แสน ตัวแทร็คเตอร์ลาก 6 แสน) ต้องเว้นพื้นสวนให้เป็นถนน (เสียพื้นที่) ทำงานได้เฉพาะเวลาเท่านั้น ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ มากกว่าสปริงเกอร์
- โดรนคันละแสน บรรทุกน้ำผสม ปุ๋ย/สารเคมี/สารสมุนไพร ได้ครั้งละ 10 ล. ปริมาณน้ำเท่านี้ ทำงานฉีดพ่นได้ครั้งละไม่กี่ ตร.ว. หรือเนื้อที่ 10 ไร่ (สมมุติ) ต้องสั่งโดรน ขึ้น-ลง กี่ครั้ง ค่าไฟฟ้า/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ ไม่ใช่น้อย
ไม่คิด ไม่ยอมรับ ทั้งๆที่รู้ ใช้หม้อปุ๋ยฉีดพ่นสารสมุนไพรอย่างเดียว รุ่นเดียว ก็คุ้มต้นทุน
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/01/2024 10:58 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 30/05/2019 6:14 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
70. นา 2 รุ่น ล้างหนี้ 1 ล้าน เหลือ 2 ล้าน :
นาข้าว 200 ไร่ ของชาวนาย่านบ้านแพรก อยุธยา วันนั้นในปี 51 มีหนี้ในธนาคารอยู่ 1 ล้าน ด้วยคำพูดในรายวิทยุเพียงคำเดียว ต้นทุนท่วมราคาขาย ทำให้ต้องคิดหนัก ค้นหาแนวทางใหม่ เพราะที่ทำมา ทั้งของตัวเองและของเพื่อนบ้านข้างเคียงว่า มันไม่ใช่-มันไม่ใช่ ตัดสินใจสั่งซื้อปุ๋ยจากบริษัทร่มทอง ที่โฆษณาใน รายการวิทยุ ซื้อทุกตัวแบบครบวงจร ตั้งแต่เตรียมดินจนถึงวันเกี่ยว
ปีนั้นแม้จะเป็นปีแรก ที่เปลี่ยนวิธีการทำนาข้าวจากแบบเคมีเพียวๆ ทั้งหว่านทั้งฉีดมาเป็น
อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหาะสมของต้นข้าว
ลดการหว่านปุ๋ยทางดิน มาเป็นฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ
ผลที่ออกมาเห็นชัดว่า ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 100 (+) ถัง/ไร่ เหนืออื่นใด
ผลผลิตที่ได้ ....... เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณ และคุณภาพ
กับต้นทุน ......... ลดต่ำกว่าเดิม 50-70%
ไม่น่าเชื่อ ......... นาข้าว 2 รุ่น สามารถ ล้างหนี้ธนาคาร 1 ล้าน ได้
จากรุ่นแรกเมื่อเริ่มอ่าน LINE ของนาข้าวออก นาข้าวปี 53 ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 100(+) ถัง/ไร่ กับต้นทุนต่ำจากเดิมมาอีกด้วย
นาข้าว 2 รุ่น/ปี ตัวเลขเงินฝากในธนาคารเปลี่ยนจากตัวแดงเป็นตัวดำด้วยเงินกว่า 1 ล้าน....
ปี 54 เกิดภาวะน้ำท่วมใหญ่ นาข้าวแปลงนี้หยุดสนิท ไม่ทำอะไรทั้งสิ้น นอนกินมาม่าด้วยความสบายใจ ....
ปี 55 เริ่มใหม่อีกครั้งด้วยความมั่นใจสูงขึ้น ผลผลิตเพิ่ม-ต้นทุนลด-อนาคตดี วันนี้ครอบครัวนี้มีเงินสดในธนาคารกว่า 2 ล้าน ..... ล้านแล้วจ้าาาา
71. เกษตรทาง ทีวี. :
เกษตรกร : ทำเกษตรอินทรีย์....ทำเกษตรอินทรีย์....
ทีวี. : ไม่ถามเพิ่มเติมเพื่อเจาะลึกรายละเอียด .... อินทรีย์หมายถึงปุ๋ยใช่ไหม ? ชนิดแห้งหรือน้ำ ? ทำจากอะไร ? วิธีทำอย่างไร ? ทำแล้วได้สารอาหารอะไร ? ประเภทให้ทางใบหรือทางราก ?
ผู้ชม : ได้สาระแค่ W. (WHO WHAT WHEN WHERE WHY) ไม่ได้ H. (HOW TO)
เกษตรกร : ไม่ใช้สารเคมี....ไม่ใช้สารเคมี ....
ทีวี. : ไม่ถามเพิ่มเติมเพื่อเจาะลึกรายละเอียด .... ไม่ใช้สารเคมีแล้วใช้อะไรกำจัดแมลง ? ใช้อะไรกำจัดหนอน ? ใช้อะไรกำจัดโรค ? เอามาจากไหน ? วิธีใช้อย่างไร ?
ผู้ชม : ได้สาระแค่ W. (WHO WHAT WHEN WHERE WHY) ไม่ได้ H. (HOW TO)
ชาวนาพันธุ์แท้ :
ชาวนา : โฮ้ยยย ทำนาน่ะ มันไม่ได้อะไร อย่างดีก็แค่พอกินไปวันๆ เท่านั้นแหละคุณเอ๊ย
ทีวี. : อ้าว แล้วลุงทำ ทำไม่ล่ะครับ ?
ชาวนา : ก็ไม่รู้จะทำอะไร ไม่มีใครมาสอนมาส่งเสริม
ทีวี. : วันนี้มีหนี้ซักเท่าไหร่ครับ ?
ชาวนา : ก็มากโขอยู่นะ บางปีก็ได้ส่งดอก บางปีก็ไม่ได้ส่ง แต่ต้นยังอยู่
ทีวี. : ลุง...ขอโทษนะ อย่าหาว่าแช่งเลย ถ้าลุงตายปุบตายปับไปเลย หนี้สินนี่ จะจัดการให้ลูกหลานยังไง
ชาวนา : (หัวเราะ...) ก็มีกระดาษให้มันแผ่นนึง เป็นมรดกไง
ทีวี. : กระดาษอะไรครับ ?
ชาวนา : สัญญาเงินกู้ไงล่ะ
ทีวี : หมายความว่าไงลุง ?
ชาวนา : ก็หมายความว่า ปล่อยให้ลูกหลานมันจัดการของมันเอง
ทีวี : เอางั้นนะลุง.....
ผู้ชม : ได้สาระแค่ W. (WHO WHAT WHEN WHERE WHY) ไม่ได้ H. (HOW TO) เช่น อยากรู้ขาดทุนแบบนี้เป็นมากี่รุ่นแล้ว ? ลูกหลานคิดยังไงไหม ? ทำนารุ่นหน้ามีแผนการยังไงไหม ? ลูกหลานว่ายังไง ?
เทพชัย หย่อง : สื่อมวลชนทำหน้าที่นักข่าว อย่าคิดแค่ทำหน้าที่แล้วถือว่าเสร็จ แต่ให้ตระหนักเสมอว่า ผู้บริโภคข่าวได้สารประโยชน์อะไรจากข่าวนั้นบ้าง แม้วันนี้ยังไม่ได้นำเสนอด้วยข้อจำกัดบางประการ ก็ขอให้หาโอกาสนำเสนอซ้ำก็ได้
ศัพท์วิชาผู้สื่อข่าว :
หมากัดคน ไม่เป็นข่าว แต่ คนกัดหมา เป็นข่าว .....
ก่อนไปทำข่าว ต้องทำ การบ้าน เรื่องนั้นๆ....
72. สารเคมียาฆ่าแมลง :
- คนใช้รับ 9 ใน 10 ส่วน
. คนกินรับ 1 ใน 10 ส่วน
- สารเคมี 1 อย่าง สำหรับศัตรูพืช 1 ชนิดเท่านั้น
- สารเคมีเป็นกรด การใช้ต้องปรับ กรด/ด่าง ของน้ำให้เป็น กรด ก่อนทุกครั้ง
- ปรับน้ำเป็นกรดแล้ว ใช้สารเคมีเพียง 10% ของอัตราใช้ที่กำหนดก็พอ
- สารเคมีตัวหนึ่งมี ฤทธิ์ กำจัดศัตรูพืชเฉพาะตัวหนึ่งแต่ยังมี กลิ่น-รส ไล่ศัตรูพืชตัวอื่นได้อีก
สารเคมีเป็นกรด น้ำเป็นด่าง ........... กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ (เสื่อม-วิชาเคมี)
ทฤษฎีนี้ คนขายสารเคมีไม่บอก ....... คนใช้ก็ไม่ถาม
73. ขั้นตอนบำรุงไม้ผลยืนต้น :
1. ตัดแต่งกิ่ง
2. เรียกใบอ่อน .... (ฟื้นฟูสภาพต้น เรียกความสมบูรณ์กลับคืนมา)
3. ตรวจสอบผลการเรียกใบอ่อน
4. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
5. เรียกใบอ่อนรอบ 2
6. ตัดแต่งกิ่งรอบ 2
7. สะสมตาดอก ..... (สะสมแป้งและน้ำตาล)
8. ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช
9. ปรับ ซี/เอ็น เรโช ....(เพิ่ม ซี. ลด เอ็น.)
10. ตรวจสอบความพร้อม ซี/เอ็น เรโช
11. ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเปิดตาดอก
12. เปิดตาดอก
13. บำรุงดอก (ฝน-แล้ง)
14. บำรุงผลเล็ก
15. ตัดแต่งผลเล็ก
16. บำรุงผลกลาง
17. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว (ฝน-แล้ง)
18. ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน-ทางใบ/ทางราก ป้องกันศัตรูพืช ทุกระยะ ตามหลักสมการ
74. บำรุงไม้ผลตามระยะ :
....... ทางใบ .................... ระยะ ...................... ทางราก .............
..... 25-5-5
............. เรียกใบอ่อน .................. 25-7-7 ...........
.... 20-20-20
........ เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ .............. 25-7-7 ...........
..... 0-42-56
........... สะสมตาดอก ................. 8-24-24 ..........
.. ธาตุรอง/ธาตุเสริม ....... ปรับ ซี/เอ็น เรโช ................. งดน้ำ ..............
..... 0-42-56
.......... บำรุงดอก (ฝน) ............... 8-24-24 ..........
.... 15-45-15
......... บำรุงดอก (แล้ง) ............... 8-24-24 ..........
..... 21-7-14
......... บำรุงผลเล็ก-กลาง .............. 21-7-14 ..........
..... 0-21-74
...... บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว .......... 13-13-21 .........
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/03/2024 1:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 31/05/2019 6:16 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
75. ตรวจสอบจุลินทรีย์น้ำ :
สี
... น้ำตาลอ่อน ถึง น้ำตาลไหม้ แต่ไม่ถึงกับดำ ขึ้นอยู่กับปริมาณกากน้ำตาล
กลิ่น
หวานอมเปรี้ยว ออกฉุดนิดๆ ดมแล้วไม่เวียนหัว ไม่น่ารำคาญ
กาก
ส่วนที่อ่อนนิ่ม ถึง เละ จะนอนก้น ส่วนที่แข็งหยาบจะลอยหน้า
ฝ้า
.. สีขาวอมเทา พวกนี้เป็นจุลินทรีย์กลุ่ม รา ที่ตายแล้ว เมื่อคนลงไปจะกลายเป็นสารอาหารของพวกที่ยังไม่ตาย
ฟอง
ปล่อยวางนิ่งๆ จะมีฟองเล็กๆ ละเอียดๆ ผุดขึ้นมาจากด้านล่าง เกิดจากกระบวนการจุลินทรีย์ ฟองผุดบ่อยๆ ฟองขนาดใหญ่ แสดงว่าจุลินทรีย์มากและแข็งแรง ถ้าไม่มีฟองก็แสดงว่าไม่มีจุลินทรีย์
รูปลักษณ์
.. ขุ่น ใส มีตะกอนละเอียดแขวนลอย
กรด-ด่าง
...ค่า พีเอช 4.0- 6.0
ทดสอบ :
กรอกใส่ขวดแล้วปิดปากขวดด้วยลูกโป่ง ทิ้งไว้ในร่ม อุณหภูมิห้อง ไม่คนไม่เขย่า นาน 24 48 72 ชม. สังเกต.....
1. ลูกโป่งพอโต โตมากแสดงว่ามีจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศจำนวนมาก แข็งแรง พองน้อยจุลินทรีย์น้อย ไม่พองเลยก็แสดงว่าไม่มีจุลินทรีย์
2. ช่วงแรกที่ลูกโป่งพอโต ต่อมาลูกโป่งยุบแล้วถูกดูดเข้าไปในขวด กรณีนี้เกิดจากจุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศ ก็แสงดงว่าจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศตายหมดแล้ว จุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นมาแทน
3. บรรจุขวดพลาสติกเปล่า ปิดฝาสนิท แน่น วางทิ้งไว้ ถ้าขวดบวมพอง แสดงว่าเป็นจุลินทรีย์ดีเป็นจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศ ถ้าขวดไม่พองหรือพองน้อย หมายถึงจุลินทรีย์เหมือนกัน แต่น้อยกว่า
4. บรรจุขวดช่วงแรกขวดพอง ต่อมาขวดยุบบุบบู้บี้ แสดงว่า จุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศตายหมดแล้ว จุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นมาแทน
หมายเหตุ :
- จุลินทรีย์แบบ แห้ง/ผง ให้นำมาแช่น้ำก่อน ทิ้งไว้ให้จุลินทรีย์ ตื่น/ฟื้น แล้วจึงตรวจสอบ
- ประเภทต้องการอากาศ ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีอากาศ ถ้าไม่มีอากาศจะตาย
- ประเภทไม่ต้องการอากาศ ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่มีอากาศ ถ้ามีอากาศจะตาย
- การบรรจุในขวดปิดสนิทแน่น อากาศเข้าไม่ได้ จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศจะใช้อากาศที่พอมีอยู่ในขวดนั้นเพื่อการดำรงชีวิต ช่วงนี้จุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศจะยังไม่เกิด ครั้นเมื่ออากาศในขวดหมด จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศขาดอากาศจึงตาย พร้อมกันนั้นจุลินทรีย์ กลุ่มไม่ต้องการอากาศก็เริ่มเกิดแล้วเจริญเติบโต
- จุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศ อาศัยอยู่บริเวณผิวดินที่อากาศผ่านได้ ส่วนจุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศอาศัยอยู่ใต้ดินลึกบริเวณที่อากาศลงไปไม่ถึง
- จุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศมีพลังในการย่อยสลายสูงกว่าจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศ
76. รู้ลึกเรื่องปุ๋ย :
- ปุ๋ย คือ ธาตุ/สาร อาหารพืช ประกอบด้วย ธาตุหลัก (N P K) ธาตุรอง (Ca Mg S) ธาตุเสริม (Fe Cu Zn Mn Mo B Si Na) ฮอร์โมน (ออกซิน. จิบเบอเรลลิน. ไซโตไคนิน. เอทิลิน. แอบไซซิค)
- ปุ๋ยเคมี คือสารอาหารพืชมาจากการสร้างโดยมนุษย์ เลียนแบบธรรมชาติ ประกอบด้วย ธาตุหลัก (N P K) ธาตุรอง (Ca Mg S) ธาตุเสริม (Fe Cu Zn Mn Mo B Si Na) ฮอร์โมน (ออกซิน. จิบเบอเรลลิน. ไซโตไคนิน. เอทิลิน. และแอบไซซิค) แน่นอน....สารอาหารนี้เรียกว่า เคมีสังเคราะห์
- ปุ๋ยอินทรีย์ คืออาหารพืชที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากสิ่ง มีชีวิต/ไม่มีชีวิต ประกอบด้วย ธาตุหลัก (N P K) ธาตุรอง (Ca Mg S) ธาตุเสริม (Fe Cu Zn Mn Mo B Si Na) ฮอร์โมน (ออกซิน. จิบเบอเรลลิน. ไซโตไคนิน. เอทิลิน. แอบไซซิค) เช่นกัน สารอาหารนี้เรียกว่า เคมีชีวะ
ปุ๋ยอินทรีย์....
ทางราก : ชนิดแห้ง พืชสามารถนำไปใช้ได้เมื่อจุลินทรีย์ (ประเภทและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม) ย่อยสลายให้แล้ว
ทางใบ : ชนิดน้ำ พร้อมใช้แล้วสามารถใช้ทางดิน (ราก) ได้เท่านั้น ไม่สามารถใช้ทางใบได้ เพราะผ่านปากใบไม่ได้เนื่องจากโมเลกุลมีขนาดใหญ่ ....
กรณีจะให้ทางใบ ต้องปรับโมเลกุลขนาดใหญ่ให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็ก หรือโมเลกุลเดี่ยวก่อน โดยต้มเดือด 100 องศา ซี. นาน 4 ชม. ต่อด้วยต้มไอกรุ่นๆ 2 ชม.
ปุ๋ยเคมี ....
ทางราก : ชนิดเมล็ด พืชสามารถนำไปใช้ได้เมื่อจุลินทรีย์ (ประเภทและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม) ย่อยสลายให้แล้ว....
ทางใบ : ชนิดน้ำหรือเกร็ด (จี เกรด) พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันทีเพราะมีโมเลกุลขนาดเล็ก
- ปุ๋ยอินทรีย์ (แห้ง/น้ำ) : +ปุ๋ยเคมีก่อนให้หรือหว่าน +ปุ๋ยเคมีตามหลัง เพราะถึงอย่างไรทั้งสองอย่างก็ต้องไปพบ หรือรวมกันที่ดินอยู่แล้ว
- ปุ๋ยเคมี+ปุ๋ยอินทรีย์ ทางใบ : ..... ปุ๋ยเคมี ชนิด เกร็ด/น้ำ (จี เกรด) ประเภทให้ทางใบ
- ปุ๋ยอินทรีย์ (น้ำ) : ............... ปรับให้เป็นโมเลกุลเดี่ยว พร้อมให้ทางใบแล้ว +ปุ๋ยเคมีทางใบ
77. ปุ๋ย-จุลินทรีย์ :
ปุ๋ย คือธาตุ ไม่ใช่สัตว์ ไม่มีชีวิต ขยายพันธุ์ไม่ได้ ได้แก่ N P K Ca Mg S Fe Cu Zn Mn Mo B Si Na พืชใช้ธาตุในการพัฒนาตัวเอง เหมือนอาหารพัฒนาร่างกายคน
จุลินทรีย์ เป็นสัตว์เซลล์เดียว มีชีวิต ขยายพันธุ์ได้ ได้แก่ คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า. แอ็คติโนมัยซิส. อะโซโตแบ็คเตอร์. บาซิลลัสส์ ซับติลิส. บาซิลลัสส์ ทูรินจิสซิส. บีที. เอ็นพีวี. ฯลฯ
จุลินทรีย์ มีหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุ (เศษซากพืชและสัตว์) ให้กลายเป็นสารอาหารพืช
N P K Ca Mg S Fe Cu Zn Mn Mo B Si Na ที่มนุษย์สร้างเรียกว่า เคมีสังเคราะห์ (ปุ๋ยเคมี/วิทยาศาสตร์) ส่วนที่จุลินทรีย์สร้าง เรียกว่า เคมีชีวะ (ปุ๋ยชีวภาพ)
เคมีสังเคราะห์ จัดสูตรและควบคุมปริมาณได้ ..... เคมีชีวะ จัดสูตรและควบคุมปริมาณไม่ได้
78. รูปแบบแปลงเกษตร :
1. เกษตรทฤษฎีใหม่ (กำเนิดเมื่อ 25 พ.ย. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9
2. เกษตรไร่นาสวนผสม
3. เกษตรผสมผสาน
4. เกษตรพอเพียง
5. เกษตรทางเลือก
6. เกษตรวนเกษตร
7. เกษตรยั่งยืน
8. เกษตรป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
9. เกษตรธรรมชาติ
10. เกษตรดาดฟ้า
11. เกษตรที่เหมาะสม
12. เกษตรอินทรีย์
13. เกษตรแผนใหม่
14. เกษตรโซนนิ่ง
15. เกษตรมือใหม่
16. เกษตรวันหยุด
17. เกษตรเชิงนิเวศน์
18. เกษตรเชิงอนุรักษ์
19. เกษตรในฝัน
20. เกษตรเชิงเดี่ยว
21.เกษตรอุตสาหกรรม
22. เกษตรท่องเที่ยว23.เกษตรบ้านเล็กในป่าใหญ่
24. เกษตรแปลงเล็ก
25. เกษตรแปลงเล็กในแปลงใหญ่
26. เกษตรพึ่งตนเอง
27. เกษตรประณีต
28. เกษตรครบวงจร
29. เกษตรอารมณ์ดี
30. เกษตร 1 ไร่ 1 แสน
31. เกษตรยังชีพ
32. เกษตรชีวภาพ
33. เกษตรก้าวหน้า
34. เกษตรบ้านจัดสรร
35. เกษตรคอนโด
36. เกษตรโรงเรือน
37. เกษตรไฮโดรโปรนิกส์
38. เกษตรในวัสดุปลูก
39. เกษตรแจ๊คพ็อต
40. เกษตรพันธะสัญญา
41. เกษตรออร์แกนิกส์
42. เกษตรปลอดภัย
43. เกษตรปลอดสารพิษ
44. เกษตรชีววิถี
45. เกษตรแม่นยำ
46. เกษตรวิชญา
47. เกษตร SMART FARM
48. เกษตร STARTUP FARM
49. เกษตร 4.0
50. เกษตร 9101
ที่มาของชื่อโครงการ หรือชื่อรูปแบบการทำการเกษตร :
- พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 และ ร.10
- จากรัฐบาล และภาคราชการ
- จากภาคเอกชน (มูลนิธิ สมาคม ชมรม กลุ่ม) และจากภาคบุคคล (ประชาชนทั่วไป)
ปล.
* ทุกรูปแบบเกษตร เมื่อปลูกพืช พืชนั้นย่อมต้องมีปัจจัยพื้นฐาน ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค เหมือนกันทั้งสิ้น
* การปลูกพืชต้องมีหัวใจเกษตร ปุ๋ย ยา เทคนิค เทคโนฯ โอกาส ตลาด ต้นทุน
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/06/2019 8:35 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 01/06/2019 5:51 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
79. เกษตรพอเพียง :
* ปลูกไว้กิน ไม่ได้ปลูกไว้ขาย .... ไม่ขาย แล้วเอาเงินไหนเข้าบ้าน ? ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าลูกไปโรงเรียน ? ค่า ฯลฯ ?
* ปลูกไว้กิน เหลือกินก็ขาย ....ขายที่ไหน ? ราคาเท่าไหร่ ? ส่วนที่ปลูกไว้กิน ซื้อกินถูกกว่าไหม ?
* ปลูกไว้ขาย.... ปลูกอะไร ? ได้ผลผลิตเท่าไหร่ ? ผลผลิตที่ได้เกรด เอ. หรือเกรดฟุตบาท ? ต้นทุน/กำไร เป็นอย่างไร ?
* ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี .... แล้วเอาอะไรเป็นสารอาหารให้พืชกิน ?
* ไม่ใช้สารเคมี .... แล้วใช้อะไร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช ?
* ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ .... ทำมาจากอะไร ? ทำอย่างไร ? มีสารอาหารอะไร ? ชนิดน้ำหรือแห้ง ? ให้ทางใบหรือทางราก ?
* ผลผลิตที่ได้ เกรด เอ.จัมโบ้. หรือเกรดฟุตบาธ
* อะไรคือ กิจกรรมหลัก กิจกรรมรอง กิจกรรมเสริม ?
* มีการบริหารหัวใจของงานเกษตร ปุ๋ย-ยา-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน อย่างไร ?
ปรัชญาเกษตรพอเพียง....
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ ไม่น้อย/ไม่มาก เกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
3. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
เงื่อนไข ความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน มีความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในการปฏิบัติ
เงื่อนไข คุณธรรม ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
80. เกษตร SMART FARM :
1. ลดต้นทุนในกระบวนการผลิต มีเทคโนโลยีในการบริหารจัดการ และดูแล
2. เพิ่มคุณภาพมาตรฐานการผลิต ผลผลิต การตลาด มาตรฐานสินค้า ความปลอดภัย และรับผิดชอบต่อ สังคม/สิ่งแวดล้อม
3. ลดความเสี่ยงอันเกิดจากการระบาดของศัตรูพืช และจากภัยธรรมชาติ
4. นำเทคโนโลยีสารสนเทศจากการวิจัยมาประยุกต์สู่การพัฒนาในทางปฏิบัติเป็นข้อมูล และมีความภาคภูมิใจในความเป็นเกษตรกร
81. นวัตกรรมเกษตร :
INNOVATION หรือ INNOVARE หรือนวัตกรรม หรือนวกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ได้มาจากการ คิดค้น/ค้นพบ วิธีการใหม่ๆ หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่และเหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้
นวัตกรรมเกษตร หมายถึง การบูรณาการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย เข้ากับเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม เพื่อเพิ่มผลผลิต ปริมาณ คุณภาพ ประสิทธิภาพ และความมั่นคงทางเศรษฐศาสตร์ ของผลผลิต ....
บูรณาการ หมายถึง การรวมการของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาปฏิบัติการด้วยกัน กรณีนาข้าว หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ได้แก่ ก. เกษตร, ก.พานิช, ก.วิทยาศาสตร์, ก.เทคโนโลยี, ก.สาธารณสุข, ก.มหาดไทย, ก.กลาโหม, และ ฯลฯ
นวัตกรรมเกษตร :
นวัตกรรมเกษตร คือ การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัยต่างๆ เข้ากับเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก เพิ่มผลผลิตและ เพิ่มคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลของต้นพืช สภาพแวดล้อม และฐานข้อมูลด้านการเกษตร ที่เชื่อมโยงถึงกันเป็นเครือข่าย มาประมวลผลด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยการตัดสินใจปรับปัจจัยการผลิตและการดูแลรักษาต้นพืช รวมถึงการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อคงคุณภาพเอาไว้ให้นานที่สุด
82. ปุ๋ยทางใบ :
ข้อดี .....
- ช่วยให้พืชรับเข้าสู่ต้น ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
- เพื่อชดเชยธาตุอาหารที่ขาด หรือเพิ่มเติมเพื่อเร่งการเจริญเติบโตแก่พืชได้
- ใช้ผสมร่วมไปกับสารเคมี หรือสารสกัดสมุนไพร อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างได้ เพื่อประหยัดเวลาและแรงงาน
- ใช้กับพืชที่มีปัญหาเกี่ยวกับดิน เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินเหนียวจัด หรือดินที่มีปัจจัยแวดล้อมขวางการดูดใช้ธาตุอาหารทางระบบราก
- พืชสามารถดูดธาตุอาหารโดยทางใบได้มากกว่า และเร็วกว่าการดูดทางราก
- ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็วหลังจากชะงัก เนื่องจากกระทบแล้งหรือถูกโรคแมลงทำลาย
- ปุ๋ยชนิดน้ำมีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่าปุ๋ยชนิดแข็งและปุ๋ยชนิดเกล็ด มีปริมาณเนื้อปุ๋ยรวม (N + P2O5 + K2O) สูงกว่าปุ๋ยเม็ด ทำให้ได้ประสิทธิภาพเหนือกว่า
- ปุ๋ยชนิดน้ำผลิตง่าย และเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสูตรได้ง่าย จึงผลิตได้มากสูตรกว่าปุ๋ยชนิดแข็งหรือชนิดเกล็ด
ข้อเสีย .....
- การให้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชได้ จึงควรให้ทั้ง 2 ทาง คือ ทางใบและทางราก หรือใช้ควบคู่กัน
- การให้ปุ๋ยทางใบควรให้ปุ๋ยบ่อยครั้งตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ
- ให้ในระดับความเข้มข้นสูงเกินไป อาจทำให้พืชใบไหม้
- ปุ๋ยชนิดน้ำควบคุมคุณภาพได้ยากกว่าปุ๋ยเม็ด และปุ๋ยเกล็ด
- ปุ๋ยชนิดน้ำไม่สามารถทำให้มีเปอร์เซ็นต์เนื้อปุ๋ยสูงๆ ได้ โดยทั่วไปมักมีปริมาณของธาตุอาหารหลัก (N + P2O5 + K2O) รวมไม่เกิน 30 %
- ปุ๋ยชนิดเกล็ด มักมีคุณสมบัติดูดความชื้นจากอากาศได้ง่ายกว่าปุ๋ยเม็ด แม้จะมีการใส่สารป้องกันความชื้นแล้ว จึงทำให้เสื่อมคุณภาพเร็ว
- ราคาของปุ๋ยชนิดเกล็ดสูงกว่าปุ๋ยชนิดเม็ดมาก
- ปุ๋ยชนิดน้ำละลายธาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรองได้น้อย ยกเว้นปุ๋ยชนิดน้ำที่ใช้แม่ปุ๋ยในรูปของโพลิฟอสเฟต และสารคีเลต
วัตถุประสงค์ ปุ๋ยทางใบ :
- เพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหาร
- เพิ่มคุณภาพและผลผลิต
- เพื่อช่วยให้พืชฟื้นตัวจากปัญหาความขาดแคลนในบั้นปลาย
83. ปุ๋ยทางดิน :
ข้อดี ....
- มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยสูง ใช้ปริมาณเล็กน้อยก็เพียงพอ
- ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้เร็ว
- ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาต่ำ สะดวกต่อการขนส่งและเก็บรักษา
- หาซื้อง่าย เพราะเป็นผลิตผลที่ผลิตได้จากโรงงาน สามารถผลิตได้จำนวน
ข้อด้อย .....
- ไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน คือ ไม่ช่วยทำให้ดินโปร่ง
- ปุ๋ยเคมีบางชนิด เช่น ปุ๋ยแอมโมเนีย ถ้าใช้ในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้น ต้องแก้โดยการใส่ปูนขาว
- การใช้ปุ๋ยเคมีต้องระมัดระวัง เพราะปุ๋ยเคมีทุกชนิดมีความเค็ม ถ้าใส่มากหรือใส่ติดโคนต้นพืชจะเป็นอันตรายต่อต้นพืชและการงอกของเมล็ด
- ต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องปุ๋ยพอสมควร จึงจะใช้อย่างได้ผลตอบแทนคุ้มค่า
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/06/2019 6:23 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 02/06/2019 6:21 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
84. ลักษณะอาการพืช ขาดธาตุอาหาร :
อาการขาดธาตุอาหาร และอาการเป็นพิษ จากการได้รับมากเกิน ....
1. ไนโตรเจน :
อาการขาด : การเจริญเติบโตหยุดชะงัก และใบมีสีเหลืองซีดจากการขาดคลอโรฟีลล์ โดยเฉพาะบริเวณใบแก่ ใบอ่อนยังคงมีสีเขียวนานกว่า ในพืชพวกข้าวโพดและมะเขือเทศ ลำต้น ก้าน ใบ ผิวใบด้านล่างเปลี่ยนเป็นสีม่วงได้
อาการเป็นพิษ : พืชมีสีเขียวเข้มรวมกับอาการเฝือใบ ระบบรากถูกจำกัด ในมันฝรั่งมีหัวเล็ก ลง การออกดอกออกผลของพืชช้าลง (พืชแก่ช้า)
2. ฟอสฟอรัส :
อาการขาด : พืชจะแคระแกร็นและมีสีเขียวเข้ม มีการสะสมสารสีของแอนโทไซยานิน อาการ ขาดเบื้องต้นเกิดในใบแก่ และทำให้พืชแก่ช้า
อาการเป็นพิษ : บางครั้งอาการที่ปรากฏคล้ายกับอาการขาดธาตุทองแดงและสังกะสี หาก ได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไป
3. โพแทสเซียม :
อาการขาด : ในเบื้องต้นสังเกตที่ใบแก่ .... ในพืชใบเลี้ยงคู่ใบมีสีซีด ระยะต่อมาจะพบจุดสีเข้มที่เนื้อใบตายกระจายเป็นจุด .... ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวหลายชนิด บริเวณปลายใบและเส้นใบตายก่อน .... อาการขาดโพแทสเซียมในข้าวโพด ลำต้นอ่อนแอ
อาการเป็นพิษ : เนื่องจากพืชมักดูดใช้โพแทสเซียมมากเกินไปในส้ม ผลส้มมีผิวหยาบ เมื่อพืชดูดใช้โพแทสเซียมมากเกินไปจะชักนำให้พืชมีอาการขาดแมกนีเซียม และเป็นไปได้ว่าจะขาดแมงกานีส, สังกะสี, และเหล็ก
4. กํามะถัน :
อาการขาด : ไม่ค่อยพบมากนัก แต่ถ้าเกิดอาการขาดโดยทั่วไปใบมักมีสีเหลือง โดยเกิดที่ใบอ่อนก่อน
อาการเป็นพิษ : ลดการเจริญเติบโตและขนาดของใบ ซึ่งยากต่อการสังเกต บางครั้งพบว่า ใบเหลือง หรือใบไหม้
5. แมกนีเซียม :
อาการขาด : เกิดอาการซีดในพื้นที่ใบที่อยู่ระหว่างเส้นใบ ในขณะที่เส้นใบยังคงเขียวอยู่ อาการซีดจะเกิดที่ใบพื้นที่บริเวณใกล้เส้นกลางใบก่อน แล้วลามไปที่ปลายใบ โดยเกิดในใบแก่ก่อน
อาการเป็นพิษ : มีข้อมูลน้อยมาก เนื่องจากยากต่อการสังเกต
6. แคลเซียม :
อาการขาด : การพัฒนาของตายอดชะงักการเจริญเติบโต และปลายรากตาย เกิดในใบอ่อนก่อนใบแก่ และเส้นใบบิดเบี้ยว มีจุดแห้งตายของใบ
อาการเป็นพิษ : ยากต่อการสังเกต มักเป็นร่วมกันกับอาการเป็นพิษจากคาร์บอเนต
7. เหล็ก :
อาการขาด : อาการซีดคล้ายกับอาการขาดแมกนีเซียม แต่เกิดขึ้นในใบแก่
อาการเป็นพิษ : ในสภาพธรรมชาติมักไม่พบชัดเจนนัก แต่เมื่อมีการฉีดพ่นเหล็กกับพืชทดลองปรากฏเป็นเนื้อเยื่อมีลายเป็นจุด ๆ
8. คลอรีน :
อาการขาด : ใบมีอาการเหี่ยวแล้วค่อยๆเหลือง แล้วตายเป็นลำดับ หรือบางครั้งมีสีบรอนด์เงินรากจะค่อยๆแคระแกรน และบางลงใกล้ปลายราก
อาการเป็นพิษ : ปลายใบหลังเส้นใบไหม้เป็นสีบรอนด์ ใบเหลือง ใบร่วง และซีด ขนาดใบเล็กลง อัตราการเจริญเติบโตลดลง
9. แมงกานีส :
อาการขาด : อาการแรกมักซีดตรงระหว่างเส้นใบในใบอ่อนหรือแก่ขึ้นอยู่กับชนิดพืช แผลเนื้อเยื่อตายและใบร่วงในเวลาต่อมา คลอโรพลาสต์ไม่ทำงาน
อาการเป็นพิษ : บางครั้งมีสีซีดๆ อาการคล้ายกับขาดธาตุเหล็กในสับปะรด คือ คลอโรฟีลล์ ไม่กระจายตัว การเจริญเติบโตลดลง
10. โบรอน :
อาการขาด : อาการผันแปรตามชนิดของพืช ลำต้นเนื้อเยื่อเจริญปลายรากมักตาย ปลายรากมักบวมมีสีซีด ในเนื้อเยื่อพืชมักมีสีซีด ไม่ทำงาน (โรคใบเน่าของพีท) ส่วนใบแสดงอาการต่างไป ประกอบด้วยใบบาง แตกง่าย (ผุ) ใบหงิก เหี่ยวเฉาและเป็นจุดสีซีด
อาการเป็นพิษ : ปลายใบเหลืองตามด้วยเนื้อเยื่อ ใบตายจากปลายใบหรือเส้นใบไปยังแกนใบ
11. สังกะสี :
อาการขาด : ข้อปล้องของพืชสั้น ขนาดใบเล็ก เส้นใบมักบิดหรือย่น บางครั้งซีดระหว่างใบ
อาการเป็นพิษ : เกิดอาการซีดจากเหล็กเป็นพิษในพืช
12. ทองแดง :
อาการขาด : การขาดทองแดงในสภาพธรรมชาติหายาก ใบอ่อนมีสีเขียวแก่ และบิดหรือผิดรูป มักพบจุดแผลตายบนใบ
อาการเป็นพิษ : การเจริญเติบโตลดลง ตามด้วยสีซีดจากเหล็กเป็นพิษ แคระแกรน ลดการแตกพุ่ม รากมีสีเข้ม และยางผิดปกติ
13. โมลิบดินั่ม :
อาการขาด : สีซีดในพื้นที่ระหว่างเส้นกลางใบหรือทั้งเส้นกลางใบ ในใบแก่ คล้ายกับอาการ ขาดไนโตรเจน บางครั้งแกน ใบไหม้เกรียม
อาการเป็นพิษ : ยากต่อการสังเกต ใบมะเขือเทศจะมีสีเหลืองทอง กลากะหล่ำดอกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงสด
http://www.maejohydroponics.org/pdf/symtom.pdf
85. สารพัดสูตรสารสมุนไพร :
สูตรเฉพาะ : หมายถึง สมุนไพรตัวหนึ่ง ที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับศัตรูพืชชนิดหนึ่งโดยเฉพาะตอนทำก็ทำแยกถัง ตอนใช้ก็ใช้ทีละอย่างตามต้องการ เช่น สะเดา หนอนตายหยาก หางไหล กลอยน้อยหน่า ซาก มันแกว มะลินรก ขอบชะนาง ฯลฯ ต่างก็มีสารออกฤทธิ์ต่อหนอน โดยเฉพาะ (สรรพคุณเทียบเท่ายาน็อค สารเคมี) เลือกใช้สมุนไพรเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวในการ ป้องกัน/กำจัด หนอน
สูตรรวมมิตร : หมายถึง สมุนไพรหลายตัว แต่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับศัตรูพืชชนิดเดียวกัน ตอนทำก็ทำแยกถัง แต่ตอนใช้ เอาหลายๆอย่างมารวมกันแล้วใช้ เช่น
- สะเดา หนอนตายหยาก หางไหล กลอย น้อยหน่า ซาก ขอบชะนาง มะลินรก ฯลฯ มีสารออฤทธิ์ต่อ หนอน โดยเฉพาะ
- สาบเสือ ดาวเรือง บอระเพ็ด พริก ยาสูบ ฟ้าทะลายโจร ฯลฯ มีสารออกฤทธิ์ต่อ แมลง โดยเฉพาะ
- ว่านน้ำ. กานพลู. ตะไคร้. กระเทียม. ข่า. ขิง. ขมิ้น. กระชาย มีสารออกฤทธิ์ต่อ โรค โดยเฉพาะ
สูตรสหประชาชาติ : หมายถึง สมุนไพรหลายตัว แต่ละตัวต่างก็มีสารออกฤทธิ์ตรงกับศัตรูพืชชนิดนั้น แล้วเอามารวมกัน ทำพร้อมกัน ในถังหรือภาชนะเดียวกัน เช่น สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด หนอน + สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด แมลง + สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด โรค แล้วใช้รวมกัน หรือพร้อมกัน
สูตรหนามยอกหนามบ่ง : หมายถึง สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ในพืชสมุนไพร เช่น....
- สะเดา โดนหนอนทำลาย ใช้น้อยหน่า ป้องกัน/กำจัด
- น้อยหน้าโดนหนอนทำลาย ใช้สะเดา ป้องกัน/กำจัด
- สาบเสือโดนเชื้อรา ใช้พริก
สูตรผีบอก : มิได้หมายถึงสมุนไพรโดยตรง แต่หมายถึงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือวงจรชีวิตของศัตรูพืช กระทั่งทำให้ศัตรูพืชนั้นตายได้
สูตรข้างทาง : เช่น สาบเสือ ผกากรอง สะเดา กระเพาผี
สูตรในสวน : เช่น สบู่ต้น โด่ไม่รู้ล้ม ว่านน้ำ หญ้าหนวดขาว ตะบองเพชร ส้มเช้า
สูตรในครัว : เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย กระเพา โหระพา แมงลัก พริกเครื่องแกง ถัวเน่า
สูตรในบ้าน : เช่น ยาฉุน ลูกเหม็น น้ำยาล้างจาน สบู่เหลว ปูนกินหมาก ปูนขาว ขี้เถ้า น้ำมันก๊าด น้ำมันขี้โล้
งานวิจัย Grainge and Ahmed (1988) :
ในโลกนี้มีพืช 2,400 ชนิด มีสารออกฤทธิ์ใช้ ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชได้ .... คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ แล้ว สรุปได้เป็น 3 คือ กลิ่น-รส-ฤทธิ์ ในพืชที่เรียกว่า สารสมุนไพร หรือสารออกฤทธิ์ หรือตัวยา มีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ศัตรูพืชนั่นเอง
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/01/2024 7:56 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 03/06/2019 5:49 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
86. สัญชาติญาณแมลงศัตรูพืช :
- สัญชาติญาณของแมลงในการเข้าหาพืชเป้าหมายด้วยการตาม กลิ่น (แมลงไม่มีจมูก แต่มีตุ่มรับกลิ่นที่ข้างลำตัว) หากกลิ่นของพืชเป้าหมายเปลี่ยนไป แมลงไม่รู้ คิดว่านั่นไม่ใช่พืชเป้าหมายตามต้องการก็จะไม่เข้าหาพืชนั้น .... ผลรับ : พืชรอดพ้นจากการเข้าหาของแมลง
- ประสาทสัมผัสกลิ่นของแมลงสูงกว่าคน 500,000 เท่า (หมาสูงกว่าคน 200,000 เท่า...สารคดีดิสคัพเวอรี)
- แมลงเข้าหาพืชเป้าหมายเพื่อกินเป็นอาหาร (ปากกัด ปากดูด) แล้วกินพืชนั้น แต่ รส ของพืชเป้าหมายที่เคยกินเปลี่ยนไปจากเดิม แมลงจึงคิดว่านั่นไม่ใช่พืชเป้าหมายตามต้องการ ก็จะไม่กินพืชนั้นอีก .... ผลรับ : พืชรอดพ้นจากการดูดกินของแมลง
- แมลงเข้าหาพืชเป้าหมายเพื่อกินเป็นอาหาร (ปากกัด ปากดูด) กินพืชนั้นแล้วตายเพราะมี ฤทธิ์ บางอย่างอยู่ที่พืชนั้น .... ผลรับ : พืชรอดพ้นจากการดูดกินแมลง
- แมลงเข้าหาพืชเป้าหมายเพื่อวางไข่ แล้วปล่อยให้ไข่ฟักตัวออกเป็นหนอน (หนอน คือ ทายาทของแมลง) เมื่อหนอนเกิดมาแล้วกินพืชนั้นเป็นอาหาร ในอาหารนั้นมีฤทธิ์ หนอนจะตายทันที หรือยังไม่ตายแต่ไม่เข้าดักแด้ ไม่ช้าก็ตายเหมือนกัน .... ผลรับ : พืชรอดพ้นจาการกัดกินของหนอน
- แมลงวันทอง หลงกลิ่น .... แมลงศัตรูพืช กลางวัน เข้าหาสีเหลือง .... แมลงศัตรูพืช กลางคืน เข้าหาแสง .... แมลงธรรมชาติ (ผึ้ง ชันโรง ผีเสื้อสวยงาม) ไม่หลงสี ไม่หลงแสง
87. ขายข้าว 1 แสน เหลือเงิน 40 บาท :
ทิดมั่น คทาชายนายหนุ่มใหญ่ อายุ 50 ขึ้น นิวาสสถานไม่ห่างจากไร่กล้อมแกล้มมากนัก ยึดอาชีพทำนาข้าว 15 ไร่ บนที่เช่ามาตั้งแต่กำเนิด ทำนาอย่างเดียว ปีละ 2 รุ่น มีหนี้ในบ้านเท่าไร ไม่รู้
รู้แต่ว่า ตะวันโพล้เพล้วันนั้น ทิดมั่นส่งเสียงดังโขมงโฉงเฉงตั้งแต่หน้าวัดได้ยินกันทั่ว แต่ไม่มีใครสนใจ กระทั่งทิดมั่นเข้าบ้าน เสียงทิดมั่นเงียบไป แต่เสียง ยัยแม้น ผู้เป็นเมียดังขึ้นมาแทน ถึงไม่ถามก็รู้ว่า ยัยแม้นโกรธจัด แล้วที่ต้องออกมาด่าผัวนอกบ้านก็เพราะโนผัวเตะนั่นเอง ..... เสียงยัยแม้นร้องด่าง ใครๆ ก็ได้ยิน
อั้ยชิบหาย ขายข้าวได้ตั้งแสน เหลือเงินมาให้กูแค่ 40 บาท แล้วทีนี้จะเอาอะไรแดกกัน....
เหตุผลก็คือ ทิดมั่นต้องเอาเงินที่ขายข้าวได้ไปจ่ายค่าเครดิต ปุ๋ย-ยา ให้เถ้าแก่เส็ง ร้านหน้าวัด ไม่งั้นรุ่นหน้าจะไปเครดิตอีกไม่ได้นั่นเอง.....งานนี้ ยัยแม้น กลับเข้าบ้านตอนไหน แหล่งข่าวไม่ได้แจ้ง
88. เกษตรต่างแดน :
* สหรัฐ อเมริกา ฉลอง 200 ปี กำเนิดประเทศพร้อมกับกรุงเทพฯ ฉลอง 200 ปี (พ.ศ. 2525) นั่นคือ สหรัฐ อเมริกา มีอายุเท่ากับกรุงเทพ แต่สหรัฐ อเมริกา เจริญกว่าไทย 200 ปี
* เกาหลีไต้ สิ้นสุดสงคราม พ.ศ. 2496 แล้วเริ่มพัฒนาประเทศ เคยส่งเกษตรกรมาดูงานทำนาประเทศไทย วันนี้ชาวนาเกาหลีล้ำหน้าชาวนาไทย 60 ปี เท่าระยะเวลาเกาหลี เริ่ม พัฒนาประเทศ
* สิงค์โปร์ กำเนิดประเทศหลังจากอังกฤษคืนเอกราชให้มาเลเซียเมื่อ 50 ปีที่แล้ว มาเลเซียไม่เอาสิงค์โปร์เพราะทั้งเกาะไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเลย ด้วยเวลาเพียง 50 ปี สิงค์โปร์ล้ำหน้าประเทศไทย 50 ปี
* ไต้หวัน กำเนิดประเทศตอนที่ เจียง ไค เชค พาพลพรรคหนี เหมา เจ๋อ ตุง ไปอยู่เกาะฟอร์โมซา แล้วตั้งเป็นประเทศไต้หวัน เมื่อ 50 ปีที่แล้ว วันนี้ไต้หวันล้ำหน้าไทย 50 ปี
* วันนี้ประเทศคู่แข่งที่กำลังหายใจรดบ่าไทย คือ เวียดนาม
..
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/08/2019 6:12 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 04/06/2019 6:02 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
89. เกษตรธรรมชาติ คิวเซ :
เกษตรธรรมชาติคิวเซ เป็นทฤษฎีเกษตรธรรมชาติหนึ่งที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยระบบเกษตรธรรมชาติคิวเซเป็นระบบเกษตรรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เกษตรธรรมชาติคิวเซ อาศัยหลักการและปรัชญาของโมกิจิ โอกาดะ โดยมีพื้นฐานของการทำเกษตรธรรมชาติ คือ การเรียนรู้พลังของธรรมชาติ เน้นการดูแลรักษาดินให้ดีอยู่เสมอตามหลักปรัชญาที่ว่า เกษตรธรรมชาติ คือ การทำให้ดินมีชีวิต และทำระบบการผลิตทางการเกษตรให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ให้ความสำคัญกับระบบนิเวศซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ ส่งเสริมสุขภาพที่ดีของมนุษย์ และมีความยั่งยืน
โมกิจิ โอกาดะ เป็นชาวญี่ปุ่นผู้ก่อตั้งองค์กรศาสนาเซไค คิวเซเคียว โดยมีกิจกรรมการส่งเสริมระบบเกษตรธรรมชาติ คิวเซ เป็นหลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดทุกข์ของมวมนุษยชาติ เขาได้ศึกษาค้นคว้าวิธี การทำเกษตรธรรมชาติอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี และได้ตระหนักถึงสิ่งที่จะเกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพอาหารของมนุษย์ในอนาคตจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร โดยได้คาดการณ์ไว้ว่าในอนาคตผักผลไม้ที่มีจำหน่ายอยู่จะไม่เหมาะสมที่จะนำมาบริโภค และมลพิษที่จะ เกิดขึ้นในโลก อันได้แก่ มลพิษทางดิน มลพิษทางน้ำ และมลพิษทางอากาศ จะส่งผลเสียต่อมนุษย์และสิ่ง แวดล้อม ซึ่งทั้งหมดเป็นผลมาจากการปฏิวัติเขียว (The Green Revolution) ซึ่งมีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมากและแพร่หลายในการผลิตอาหารเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคของมนุษย์ โดยเริ่มต้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ความต้องการสารเคมีทางการเกษตรก็ทวีจำนวนมากขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ รวมถึงในประเทศญี่ปุ่นที่มีนโยบายการผลิตทางการเกษตรด้วยการใช้สารเคมีต่างๆ เช่นเดียวกัน เพื่อให้ได้ผลผลิตในปริมาณที่เพียงพอต่อการเลี้ยงประชากรในประเทศ เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้แพ้สงครามและถูกสั่งปิดประเทศ โมกิจิ โอกาดะ ได้ประกาศตั้งองค์การเกษตรธรรมชาติ คิวเซ ขึ้นในปี 2478 โดยได้ปฏิบัติตามแนวทางเกษตรธรรมชาติในที่ดินส่วนตัว แต่ก็ต้องหลบๆ ซ่อนๆ เพราะเคยถูกทางการญี่ปุ่นจับกุมตัวในฐานที่ไม่ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ รูปแบบเกษตรธรรมชาติตามแนวคิดของ โมกิจิ โอกาดะ ให้ความสำคัญกับดินเป็นอย่างมาก เขาได้สังเกตดินโดยใช้ดินป่าธรรมชาติเป็นต้นแบบ ซึ่งพบว่าผิวดินนั้นมีความสำคัญแตกต่างเป็นชั้นๆ ดังนี้
ชั้นที่ 1 เป็นใบไม้ กิ่งไม้แห้ง ปกคลุมทั่วไป
ชั้นที่ 2 เป็นส่วนที่ใบไม้ กิ่งไม้แห้งที่เริ่มผุพัง
ชั้นที่ 3 เป็นส่วนที่ใบไม้ กิ่งไม้แห้งผุพังเน่าเปื่อยปนกับดิน
ชั้นที่ 4 เป็นดินดานที่ไม่มีอินทรียวัตถุ
ส่วนที่มีใบไม้ กิ่งไม้ผุเน่าปะปนอยู่กับดินนั้น มีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ดินส่วนนี้จะมีรากพืชส่วนที่เป็นรากฝอยและรากขนอ่อนอยู่มาก เมื่อนำดินส่วนนี้มาดมจะพบว่ามีกลิ่นหอมเหมือนเห็ด เขาเรียกดินส่วนนี้ว่าดินที่มีชีวิต
โมกิจิ โอกาดะ มีเป้าหมายการทำเกษตรธรรมชาติดังนี้ :
1. เป็นการเกษตรที่ให้ผลผลิตคุณภาพดีและไม่ทำลายสุขภาพมนุษย์
2. เป็นการเกษตรที่ไม่ทำลายดิน และได้ผลผลิตของพืชเพิ่มขึ้นในแต่ละปี
3. เป็นการเกษตรที่ให้ผลผลิตเท่าเทียมกับเกษตรเคมี และสามารถทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของเกษตรกรดีขึ้น
หลักการส่งเสริมแนวทางดังกล่าวในช่วงแรกของการทำเกษตรธรรมชาตินั้น เป้าหมายที่ 1 และ 2 บรรลุผล แต่เป้าหมายที่ 3 ไม่ประสบความสำเร็จ การทำเกษตรธรรมชาติไม่สามารถให้ผลประโยชน์ทาง ด้านเศรษฐกิจได้เท่าเทียมกับการทำเกษตรเคมีเพราะในช่วงแรกมีต้นทุนที่สูงกว่า ได้ผลผลิตต่ำกว่าเกษตร เคมี และไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชได้ ดังนั้นเกษตรธรรมชาติ คิวเซ จึงยังไม่แพร่ หลายทั่วโลก
ทฤษฎีเกษตรธรรมชาติ คิวเซ :
การเกษตรของโมกิจิ โอกาดะมีเกณฑ์หรือหลักในการดำเนินการยึดตามแบบอย่างของดินและระบบนิเวศในป่าธรรมชาติ โดยมีหลัก การดำเนินงาน 3 ประการ คือ
1. หลักการคลุมดิน การคลุมดินในแปลงผักและแปลงไม้ผลให้ประโยชน์หลายประการ ได้แก่
1.1 รักษาความชื้นในดินและรักษาหน้าดินไม่ให้ถูกชะล้าง
1.2 ช่วยกำจัดวัชพืชได้บางส่วนและทำให้ถอนวัชพืชง่าย
1.3 ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดี
1.4 อินทรียวัตถุที่ใช้คลุมดินจะถูกย่อยสลายเป็นธาตุอาหารพืชได้ง่าย
2.การไม่ไถพรวนดิน การไถพรวนดินจะทำลายสภาพการทำงาน และสภาพแวดล้อมของจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ดินแห้งและการกลับหน้าดิน ซึ่งอาจทำให้ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำพลิกกลับมาอยู่บนผิวดิน อย่างไรก็ตามบางครั้งก็จำเป็นต้องไถพรวนบ้างเพื่อกำจัดวัชพืช และช่วยยกแปลงให้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น เนื่องจากบางครั้งดินบริเวณแปลงจะแข็งและมีวัชพืชมาก
3.การไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตร การไม่ใช้สารเคมีมีความสำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นจุดเริ่มของการคืนสภาพความเป็นธรรมชาติแก่โลกหรือดิน เมื่อดินเป็นธรรมชาติพลังงานของดินจะให้ประโยชน์แก่พืชทั้งหลายโดยธรรมชาติอย่างถาวร และโมกิจิ โอกาดะ ได้ให้แนวคิดว่า หากใช้เคมีผสมผสานกับเทคนิคเกษตรธรรมชาติ จะทำให้การคืนสภาพดินสู่ธรรมชาติไม่สมบูรณ์ยั่งยืน
โมกิจิ โอกาดะ ได้พยายามปฏิบัติและพัฒนาการทำเกษตรธรรมชาติ คิวเซ มาตลอดระยะเวลา 40 ปี แต่ก็ไม่สามารถทำให้เป้าหมายข้อ 3 ประสบผลสำเร็จได้ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 เขาได้ผู้ร่วมงานคือ ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ จบจากมหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่นและได้ค้นพบเทคนิคการใช้ อีเอ็ม (Effective Microorganism : EM) ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพจำนวน 80 สายพันธุ์ จึงสามารถบรรลุเป้าหมายการทำเกษตรธรรมชาติของโมกิจิ โอกาดะ ทำให้เกษตรธรรมชาติคิวเซเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง โดย อีเอ็ม ทำให้ดินดีขึ้นอย่างเห็นชัด และสามารถลดต้นทุนการผลิต ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น รวมถึงสามารถป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชได้ในเวลาเดียวกัน
EM ได้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและช่วยบำรุงดิน ทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดน้ำเสีย และ กลิ่นเหม็น การสุขาภิบาลในฟาร์มปศุสัตว์ และใช้ผสมในอาหารสัตว์ทำให้เจริญเติบโตดีอีกด้วย
การศึกษาค้นคว้าพัฒนาจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติหลายกลุ่มมาเลี้ยงรวมกัน โดยเน้นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ทำให้ดินดี ใช้เวลายาวนานถึง 15 ปี จนได้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) ประกอบด้วยจุลินทรีย์ต่างๆ มากกว่า 80 สายพันธุ์ เช่น จุลินทรีย์กลุ่มผลิตกรดแลคติก ยีสต์ แอคติโนมัยซีต จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และเชื้อราที่ช่วยในการหมัก เป็นการค้นพบวิธีการทำเกษตรธรรมชาติแนวใหม่ โดยใช้จุลินทรีย์มาช่วยในระบบการผลิต
การเผยแพร่เกษตรธรรมชาติ คิวเซ ในประเทศไทย :
ปี พ.ศ. 2511 คาซูโอะ วาคุกามิ ชาวญี่ปุ่นได้เดินทางมาเผยแพร่กิจกรรมทางด้านศาสนาในประเทศไทยและได้จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2531 ใช้ชื่อว่า มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา โดยมีความตั้งใจที่จะทำประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย เนื่องจากเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ และต้องการให้เกษตรธรรมชาติ คิวเซ เผยแพร่ไปอย่างกว้าง ขวางในหลายประเทศ
อีเอ็ม (EM) ถูกนำเข้าประเทศไทยในปี พ.ศ.2529 และในปี พ.ศ.2531ได้มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและเผยแพร่เกษตรธรรมชาติคิวเซขึ้น ณ อ.แก่งคอย สระบุรี ภายใต้มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อีเอ็ม ได้เผยแพร่ไปทั่วโลก โดยมีการใช้ในการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการเกษตรของประเทศไทย เช่น กรมวิชาการเกษตรและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ยอมรับการใช้ อีเอ็ม ทางการเกษตร เนื่องจากยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนและจำแนกสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในอีเอ็ม กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในขณะเดียวกันก็มีหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจของประเทศไทยยอมรับเทคโนโลยีเกษตรธรรมชาติและนำไปใช้ รวมถึงนำไปส่งเสริมอย่างแพร่หลายต่อเกษตรกรและชุมชน โดยในปัจจุบันถือว่าเกษตรธรรมชาติ คิวเซ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีกับผู้สนใจไม่น้อยกว่า 30,000 คนต่อปี
ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้
90. เกษตรเกษตรอิสราเอล :
ได้เรียนรู้อะไรใน Arava Farm
* เรียนรู้คนและการจัดการคน
* เรียนรู้งานและการจัดการงาน
* เรียนรู้ตัวเองและการจัดการตัวเอง
* เรียนรู้ทักษะเกษตร
- การปลูกพืชให้ออกสู่ตลาดทุกวัน
- การปลูกพืชด้วยระบบน้ำหยด
- การแก้ไขปัญหาระบบน้ำหยด
- การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
- การจัดการศัตรูพืช โดยวิธีการแบบ IPM (Integrated Pest Management)
http://aravafarm.blogspot.com
อิสราเอลมีแต่ทรายทั้งประเทศ แต่อิสราเอลสามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรส่งออกต่าง
ประเทศได้เป็นว่าเล่น
อิสราเอลประชากรน้อย ขาดแรงงานอย่างรุนแรง คนไทยไปช่วยทำงานในฟาร์มเกษตร คน
อิสราเอลพอใจมากถึงขนาด THANK YOU คนไทย
- นิทัศน์การงานเกษตรที่อิสราเอล มีบู๊ธขายผลิตภัณฑ์และบู๊ธวิชาการเหมือนของไทย แต่คนอิสราเอลมุ่งเข้าแต่บู๊ธวิชาการ บางครั้งกำหนดจัดงาน 7วัน 10วัน คนไม่เลิกสนใจ ต้องเพิ่มระยะเวลาจัดงาน ในขณะที่งานเกษตรไทย คนเข้าแต่บู๊ธซื้อผลิตภัณฑ์ ไม่สนใจบู๊ธวิชาการ ....
- เกษตรกรอิสราเอลปลูกพืชอายุสั้นในถุง ใช้วัสดุปลูกเป็นทรายล้วน เป็นทรายฆ่าเชื้อด้วยความร้อนกำจัดสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งจุลินทรีย์มีประโยชน์และจุลินทรีย์เชื้อโรค เกษตรกรไม่พึ่งพาจุลินทรีย์สร้างสารอาหารแต่เป็นคนให้สารอาหารทุกอย่างแก่พืชเอง เพราะเกรงว่าจะมีจุลินทรีย์เชื้อโรคแฝงเข้ามาอยู่ด้วย....
เหมือนไฮโดรโปรนิกส์ ที่มีแต่สารอาหารจากฝีมือคน ไม่มีสารอาหารจากฝีมือจุลินทรีย์เลย
- เกษตรกร 1 ราย สนใจปลูกแคนตาลูป (สมมุติ) ไปปรึกษา จนท.เกษตร ทางราชการพร้อมสนับสนุนแต่มีข้อแม้ว่า ต้องมีจำนวน สมช.เกษตรกรปลูกมากกว่านี้ เมื่อปลูกแล้วต้องได้ผลผลิตระดับส่งออกได้ เพราะการส่งออกหมายถึงรายได้ของประเทศ เกษตรกรต้องไปรวม สมช. รวมพื้นที่ได้ตามเกณฑ์ แล้ว จนท.เกษตรจะเปิดอบรมเทคนิคการทำแคนตาลูปตามต้องการก่อน ระหว่างการปลูกก็จะตามไปดูแล ให้คำแนะนำ ตั้งแต่เริ่มต้นจนเก็บเกี่ยว
- เกษตรกรอิสราเอล ปลูกมะเขือเทศเอาเมล็ดพันธุ์ เอาไปขายที่อเมริกาได้ กก.ละ 125,000 $ อเมริกาซื้อเมล็ดแล้วปลูกเอาผลผลิต ต้องได้ผลผลิตมะเขือเทศ 2 ตู้รถไฟจึงจะได้มูลค่าเท่ากับเมล็ดพันธุ์ 1 กก. ....
(ประเทศไทย : ปลูกผักบุ้งจีนเอาเมล็ดที่กาญจนบุรี ได้เมล็ดแล้วใส่กระสอบปุ๋ยไป PACKAGING ที่เมืองจีน แล้วกลับมาประเทศไทยอีกที คราวนี้ขาย 1 ซอง 50 เมล็ด 50 บาท .... ปลูกผักกาด ผักคะน้า ฯลฯ ที่เชียงราย เอาเมล็ด ได้เมล็ดแล้วใส่กระสอบปุ๋ยไป PACKAGING ที่เมืองจีน แล้วกลับมาประเทศไทยอีกที คราวนี้ขาย 1 ซอง 20 เมล็ด 50 บาท)
- คนไทยนับหมื่นคนไปทำงานที่อิสราเอล ได้รู้ได้เห็นได้ใช้ เทคโนโลยีใหม่ๆ สไตล์อิสราเอล แต่พอกลับมาเมืองไทย ยังเผาฟางเหมือนเดิม
- นักวิชาการไทย ทำปริญญาเอกด้านเกษตรที่อิสราเอล กลับมาเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง เล่าว่า ได้ถามเกษตรกรอิสราเอลถึงปุ๋ยทางใบที่ใช้ สูตรว่าอย่างไร ? เกษตรกรอิสราเอลตอบว่า บอกไม่ได้ เป็นความลับของชาติ....
- นศ.ไทย ไปฝึกงานที่อิสราเอล กลับมาเรียนต่อในเมืองไทย จบปริญญาแล้วกลับไปทำเกษตรของตัวเองที่บ้านก็ยังทำเกษตรแบบเดิมๆ แบบที่พ่อแม่ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านทำแล้วมีแต่หนี้ แม้แต่จะรวมกลุ่มกันเป็นกิ๊บบุต แบบอิสราเอลก็ไม่ทำ ....
91. เกษตรไต้หวัน :
(รู้จากคนไทยทำธุรกิจ ไทย-ไต้หวัน)
อุดมการณ์แห่งชาติ เกษตรกรต้องทำเพื่อส่งออก เท่านั้น นั่นคือเศรษฐกิจของชาติที่โตขึ้น เมื่อเศรษฐกิจชาติโต เศรษฐกิจประชาชนก็จะโตด้วย ในทางกลับกัน ถ้าประชาชนมีแต่หนี้ แล้วเศรษฐกิจชาติจะโตได้อย่างไร .... ไต้หวันมุ่งมั่นอย่างเดียวต้องเหนือ จีน แผ่นดินใหญ่ให้ได้ มิฉะนั้น โดนจีนแผนดินใหญ่ยึดคืนแน่
เกษตรกรทำผลผลิตแล้วส่งออกได้ จะนำตัวเลขที่ส่งออกได้นั้นมาขอรับการช่วยเหลือจากราชการ เช่น ปุ๋ย น้ำมัน หรือพัสดุภัณฑ์เพื่อการเกษตรทุกชนิดได้
ประชาชนไต้หวันยอมรับ ซื้อ/กิน ผลผลิตทางการเกษตรแบบตกเกรดด้วยความยินดี นัยว่า ของดีๆ ให้ส่งออกต่างประเทศเพื่อเอาเงินเข้าประเทศ ปัจจุบันลูกค้ารายใหญ่ของไต้หวัน คือ จีนแผนดินใหญ่ โดยเฉพาะฮ่องกง มาเก๊า
เกษตรกรบางรายทำผลผลิตได้ไม่ถึงเกรดส่งออก ไปร้องขอความช่วยเหลือ ปุ๋ย น้ำมัน หรือพัสดุภัณฑ์เพื่อการเกษตร จากราชการบ้าง อ้างว่า คนที่ส่งออกได้มีรายได้ดีแล้ว แต่คนที่ส่งออกไม่ได้ มีรายได้น้อย งานนี้ราชการรู้ว่า นี่คือเกษตรกรประเภทมิจฉา ทิฐิ จึงแนะนำ (สั่งแกมบังคับ) ให้ไปดูแปลงของคนที่เขาทำส่งออกได้ แล้วให้ทำตามนั้น
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/06/2019 8:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/06/2019 6:58 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
92. เกษตรเกาหลี :
เมื่อยุค ปาร์ค จุง ฮีย์ พ่อของ ปาร์ค กึน ฮีย์ ประธานาธิบดี (หญิง) เกาหลีคนปัจจุบัน เมื่อครั้งพ่อเป็นประธานาธิบดี ได้ส่งเกษตรกรชาวนาข้าวเกาหลี 200 คน มา เรียน/รู้ วิธีการทำนาข้าวกับชาวนาไทย ไปกินนอนอยู่ที่บ้านชาวนาไทย ตั้งแต่เริ่มทำเทือกจนถึงวันเกี่ยว เอาข้าวไปขายส่งที่โรงสีกันเลย
กลับไปแล้วเอาปรับใช้กับนาข้าวของตัวเอง พร้อมกับ แนะนำ/ส่งเสริม/สอน ชาวนาบ้านข้างเคียงด้วย ชาวนากลุ่มนี้จะได้รับการช่วย เหลือ/สนับสนุน จากรัฐบาลหลายรายการจนสามารถเลี้ยงตัวเองได้มีชาวนาบางคนไม่ยอมรับ อ้างว่า นั่นข้าวไทย ไม่ใช่ข้าวเกาหลี ไม่ยอมทำตามแบบข้าวไทยที่เพื่อนบ้านแล้วประสบความสำเร็จ
จนท.ราชการ จึงสั่งแกมบังคับ (สไตล์ไต้หวัน) ให้ทำตามชาวนาข้างบ้าน ถ้าไม่ประความสำเร็จ ราชการจึงจะช่วย
http://www.hayhaytv.vn
93. เกษตรสิงค์โปร์ :
การเกษตรคอนโด หรือเกษตรแนวตั้ง หรือ Vertical Farm หมายถึง การปลูกพืชเป็นชั้น ๆ มีการให้น้ำ อาหาร และแสงโดยการควบคุมจากมนุษย์ ปลูกในโรงเรือนที่มีหลังคา มีตาข่ายป้องกันแมลงเข้ามากัดกินผลผลิต ปลูกพืชได้โดยไม่จำกัดฤดูกาล และสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ บริษัท Skygreens ในประเทศเพื่อนบ้านสิงคโปร์ของเรา ได้เริ่มมีการทำฟาร์มแนวตั้งเพื่อป้อนผลผลิตออกสู่ตลาดแล้ว โดยในสิงคโปร์มีพื้นที่ทำการเกษตร 250 ไร่ เป็นพื้นที่การ เพาะปลูกแบบธรรมดา ซึ่งไม่สามารถให้ผลผลิตได้เพียงพอต่อผู้บริโภค จึงได้มีแนวคิดในการจัดทำฟาร์มเกษตรแนวตั้งขึ้น โดยฟาร์มแห่งนี้สามารถป้อนผลผลิตเข้าสู่ตลาดได้มากถึงวันละ 1 ตัน ซึ่งมากกว่าฟาร์มปกติ 5-10 เท่า โดยเปรียบเทียบจากพื้นที่ขนาดเดียวกัน
โดยฟาร์มแห่งนี้ทำงานด้วยระบบไฮโดรลิค ใช้พลังงานและน้ำน้อยมาก มีเทคโนโลยีที่เรียกว่า A-Go-Go โดยโครงสร้างจะเป็นเสา 2 เสาค้ำกันคล้ายกับรูปตัว A แต่ละเสามีความสูง 6 เมตร มีการหมุนเพื่อให้พืชได้รับน้ำและแสงแดดในปริมาณที่เท่ากัน ระบบหมุนไม่ต้องใช้ไฟฟ้า เพราะใช้ระบบเติมน้ำเพื่อหมุนรอก น้ำก็จะวนกลับไปกลับมา น้ำเสียจากพืชก็จะนำไปหมักแล้วสามารถนำมาใช้ใหม่ได้ หลังคาเป็นพลาสติก พีวีซี.ใส สามารถปลูกพืชที่ชอบอากาศร้อนได้ตลอดทั้งปี ซึ่งการเพาะปลูกแบบปกติในพื้นที่เปิดจะทำไม่ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านฤดูกาล และปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในการสูบน้ำ มีค่าไฟฟ้าเพียง 105 บาทต่อเดือนต่อ 1 โครงสร้างตัว A เท่านั้นเอง
Cr : www.theguardian.com ,www.techinsider.io
94. เกษตรมาเลเซีย :
เที่ยวเมืองแห่งธรรมชาติ คาเมรอน เพลินชมไร่ชา....สตรอเบอรี่ มาเลเซีย
(รู้จากคนมาเลเซีย มาท่องเที่ยวเมืองไทย)
มาเลเซียทั้งประเทศไม่มีภูเขาหัวโล้นแต่ก็ไม่มีภูเข่าป่าไม้ ในมาเลเซียมีแต่ภูเขา ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ที่รัฐบาลสั่งให้ปลูกเพื่อให้ประชาชนเข้าไปถือครองแบบ เช่า แต่ไม่ซื้อ
ต้นยางพารา ต้นปาล์มน้ำมัน ก็เป็นไม้ป่าขนาดใหญ่ สร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอาหาร และเป็นแหล่งต้นน้ำได้เช่นเดียวกับไม้ป่าธรรมชาติ
กฎหมายมาเลเซียไม่ให้ประชาชนมีสิทธิครอบครองที่ดิน หรือที่ดินทั้งหมดเป็นของรัฐ เหมือนประเทศจีน รัฐบาลเข้าไป บริหาร/วางแผน การใช้พื้นที่ทำการเกษตร หรือทุกกิจการ แล้วให้ประชาชนที่มีความประสงค์เข้าไปทำ เช่น รัฐบาลกำหนดพื้นที่ปลูกยางพารา หรือปาล์มน้ำมัน หรือพืชไร่ หรือไม้ผล หรือผักสวนครัว โดยการลงทุนให้ก่อน จากนั้นจึงให้ประชาชนที่ผ่านการคัดเลือกแล้วเข้าไปทำ นี่คือการ ZONING พื้นที่การเกษตรแบบบูรณาการที่ดีที่สุด ทั้งเกษตรกรผู้รับการสนับสนุนและรัฐบาลผู้สนับสนุน พบกันครึ่งทางตลอดเวลา
http://www.photoontour9.com ..... http://smart-farm.blogspot.com
95. เกษตรออสเตรเลีย :
(รู้จากข่าว ทีวี.)
เมื่อครั้ง REFUGEE จากเวียดนามไต้ไปอยู่ที่ออสเตรเลีย โดยการช่วยเหลือของรัฐบาลนั้น รัฐบาลออสเตรเลียไม่ต้องการให้ REFUGEE เหล่านั้นทำงานในเขตเมือง เพราะจะเป็นแย่งงาน และเกิดปัญหาสังคมแก่ประชาชนของตัวเอง แต่ต้องการ REFUGEE ไปทำงานเกษตรในเขตทะเลทราย โดยรัฐบาลสนับสนุนทุกอย่าง ตั้งแต่เงินค่าครองชีพประจำวัน (เงินเดิม) อุปกรณ์และพัสดุภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตร ไปถึงระบบตลาดรับซื้อผลผลิต ทั้งนี้สิ่งที่รัฐบาลออสเตรเลียต้องการ คือ เปลี่ยนทะเลทรายให้เป็นป่า ซึ่ง REFUGEE ทุกคนต่างก็พอใจ
ป่าไม้หรือไม้ป่าที่ออสเตรเลียส่งเสริมให้ REFUGEE ปลูกอย่างหนึ่ง คือ ทุเรียน โดยเฉพาะทุเรียน หมอนทอง ก้านยาว ชะนี ฯลฯ รวมทั้งผลไม้ดีๆ จากประเทศไทย รวมไปถึงจากประเทศข้างเคียงกับประเทศไทย ซึ่งออสเตรเลียนำเข้าต้นพันธุ์เฉพาะทุเรียนจากประเทศไทยรวมกว่า 100,000 ต้น เมื่อทุเรียนเหล่านั้นโตขึ้น ให้ผลผลิตแล้วปรากฏว่า กินไม่ลง เพราะเนื้อเป็นเสี้ยนแข็ง นี่คือ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โลก (GI) นั่นเอง
http://www.tnamcot.com/content/192248
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/08/2019 8:26 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 06/06/2019 5:36 am ชื่อกระทู้: |
|
|
.
.
96. เกษตรเยอรมัน :
(ข้อมูล : สารคดีดิสคัพเวอร์รี่)
เกษตรกรจากจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ไปดูงานข้าวสาลีที่เยอรมัน เนื่องจากเทคโนโลยีของเยอรมันทำให้ได้ผลผลิตมากกว่าของอเมริกาถึง 4 เท่า ทั้งๆที่ไม่ใช่ GMO หรือการดัดแปลงพันธุกรรมใดๆ เป็นไปตามธรรมชาติของข้าวสาลีแท้ๆ แต่ที่ได้ผลผลิตมากเพราะเป็นผลมาจากดิน ส่วนที่เพิ่มขึ้น 75% หรือ 3 ใน 4 ที่เหลือ 25% หรือ 1 ใน 4 มาจากปัจจัยอื่น คือ น้ำ แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค
เยอรมันใช้วิธี ไถโรตารี่ตีป่นหน้าดิน ที่มีเศษซากรากเหง้าของต้นข้าวสาลี พร้อมกับปล่อยจุลิน ทรีย์ ลงไปคลุกกับดิน หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์แล้วก็บำรุงตามปกติทุกประการ
หลังจากเกษตรกรจอร์เจียกลับมาทำในแปลงของตัวเองที่อเมริกาแล้ว ก็ได้ผลผลิตเพิ่มจากปกติที่เคยได้เหมือนที่เยอรมันเป๊ะ เกษตรกรเยอรมันที่เคยถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ให้ ได้มาเยี่ยมแปลงข้าวสาลีที่อเมริกา เห็นผลงานจากแปลงนี้แล้วบอกว่าไม่แปลกใจ แต่ที่สงสัยอย่างมากๆก็คือ ทำไมแปลงข้างเคียงไม่เอาบ้างเท่านั้นแหละ
ถึงวันนี้ ยืนยันนั่งยันนอนยันตีลังกายัน อเมริกา ยุโรป ทำเกษตรแบบ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม ไม่เผาเศษซากพืชในแปลง แต่ใช้วิธีไถกลบหรือนำมาบดป่นก่อน ทั้งที่ไถกลบทันทีกับที่นำมาปดป่นก่อน ต่างก็ทำให้เป็น ซุปเปอร์ ด้วยการใส่ เสริม/เติม-เพิ่ม/บวก สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ได้แก่ สารอาหารอินทรีย์ (ปุ๋ยคอก) สารอาหารสังเคราะห์ (ปุ๋ย เคมี) และจุลินทรีย์เป็นผู้ดำเนินการแปลงให้ทั้งสิ่งที่มีอยู่ในดินเดิม กับส่งที่ใส่ลงไปใหม่ เปลี่ยนเป็นสารอาหารพืช
เกษตรกรหรือประเทศที่ไม่เผาฟางเผาเศษซากพืช แต่ ปรับ/เปลี่ยน ให้เป็นอินทรีย์ วัตถุบำรุงดินส่งผลไปถึงพืชที่ปลูก นอกจาก ยุโรป อเมริกา และ อาฟริกา แม้แต่อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ก็ไม่เผาฟางเผาเศษซากพืช ที่ไม่รู้ก็คือ พม่า ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ติมอร์ ว่าเผาฟางเผาเศษซากพืชหรือไม่ ส่วนอินโดเนเซียมีข่าวเผา เผาแบบปรับพื้นที่ ไม่ใช่เผาฟาง
http://www.bloggang.com
97. เกษตรอเมริกา :
(สายตรงจากอเมริกา)
ราว พ.ศ. 2540 เมื่อรายการสีสันชีวิตไทย แจกเอกสารฟรี ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สูตรกล้อมแกล้ม เอกสารชุดหนึ่งไปโผล่ที่อเมริกา ที่ SURPRISE อย่างมากๆก็คือ เอกสารชิ้นหนึ่งไปอยู่ในมือของเพื่อนเรา อดีตทหารอเมริกัน SERGANT TOMMY นักรบสงครามเกาหลีด้วยกัน มันจำได้ สายตรงจาก SANFRANCIS-CO มาทันที่ บอกว่า อเมริกันรู้จักน้ำหมักชีวภาพ แล้วก็ทำใช้มาตั้ง 50 ปีแล้ว ประเทศไทยเพิ่งตื่นเหรอ...ฯลฯ...
- หลุยส์ เซียร์น่า รัฐเดียวของอเมริกา ใหญ่กว่าปะเทศไทยทั้งประเทศ รัฐนี้ทำนาปลูกข้าวทั้งรัฐ ชาวนาบางรายมีที่แค่ 100 เฮกต้า (700 ไร่) ถือว่าเป็นแปลงขนาดเล็ก แต่ชาวนาทั้งรัฐ หรืออาจจะทั้งประเทศไม่เผาฟาง แล้วเขาทำนาทันได้อย่างไร .... ?
.
- กรณีเผาฟาง เผาวัชพืชในไร่นา ขนาดอินโดเนเซียเผาไร่ควันท่วมประเทศ ข้ามมามาเลเซีย ต่อมาถึงสิงค์โปร์ ภาคเหนือของเมียนมาเผาไร่ ควันลอยข้ามมาไทย ภาคเหนือของไทยเผาไร่ ควันลอยข้ามไปถึงลาว แค่เผาไร่เผาวัชพืชแปลงเล็กๆ ควันยังไปไกลขนาดนี้ แล้วถ้าหลุยส์ เซียร์น่า ของอเมริกาเผาฟางบ้าง จะเกิดควันขนาดไหน แสดงว่าชาวนาของอเมริกาไม่เผาฟาง ไม่เผาวัชพืช แต่ใช้วิธีไถกลบนั่นเอง
- ชาวนาหลุยส์ เซียร์น่า ใช้เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงทุกชนิด ที่นั่นเตรียมดินเตรียมแปลงโดยใช้รถแทรคเตอร์ขนาดใหญ่ หน้ารถมีแทงค์ขนาดใหญ่บรรทุกปุ๋ยอินทรีย์ (สูตรตามพืช) แห้งผงละเอียด โรยผงปุ๋ยอินทรีย์ลง ช้าหรือเร็วควบคุมได้ ไต้ท้องรถตรงกลางมีผานจานทำหน้าที่ไถดะ ท้ายรถมีผานโรตารี่ทำหน้าที่ไถพรวน ทำหน้าที่ผสมดินกับผงปุ๋ยอินทรีย์ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ด้วยเวลาเพียง 1 วัน แรงงานคนเดียว ทำงานได้เนื้อที่กว่า 100 ไร่
- สับปะรดฮาวายกินสดไม่ได้เพราะเนื้อหยาบต้องทำสับปะรดกระป๋องเท่านั้น อุตส่าห์เอาสับปะรด ปัตตาเวีย-ศรีราชา ไปปลูก ปลูกได้แต่โตขึ้นมากินไม่ได้ แม้แต่ ทุเรียน-มังคุด-เงาะ-ลำไย-ส้มเขียวหวาน-ส้มโชกุน กับอีกหลายผลไม้ บางอย่างปลูกไม่ได้เลย บางอย่างปลูกได้แต่มีผลผลิตออกมากินไม่ได้ แม้แต่ข้าว หอมมะลิ ไทย เป็น ได้แค่ แจ๊สแมน เท่านั้น เช่นกัน อีก 500 ปี ประเทศไทยก็ปลูกถั่วเหลืองอย่างอเมริกาไม่ได้ (ไทยได้น้อยกว่าอเมริกา 3-4 เท่า ต่อพื้นที่เท่ากัน) เพราะโซนภูมิศาสตร์โลกระหว่างวอเมริกากับไทยต่างกันนั่นเอง....นี่คือ แม้อเมริกาจะสูงส่งทางด้านเทคโนโลยีเพียงใด ก็ไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้
- รัฐบาลรับจำนำ ข้าว/ถั่ว จากเกษตรกรแล้ว ไม่ต้องการให้ไถ่ถอน เพราะจะเอาไปช่วยประเทศอื่นๆ
98. เกษตรญี่ปุ่น :
โซนภูมิศาสตร์โลกเพื่อการเกษตรของญี่ปุ่นมีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชน้อย (เน้นย้ำ...น้อย) กว่าโซนภูมิศาสตร์โลกเพื่อการเกษตรของไทยเป็นอย่างมาก แต่เกษตรกรญี่ปุ่นปลูกพืชแล้วได้มูลค่ามากกว่าด้วย เทคโนโลยี (ชั้นสูง) ที่เหมาะสม-การตลาดนำการผลิต-แปรรูปสร้างมูลคาเพิ่ม บนเงื่อนไขการผลิต ผลผลิตเพิ่ม-ต้นทุนลด-อนาคตดี โดยรัฐช่วยครึ่งหนึ่ง เกษตรกรช่วยตัวเองครึ่งหนึ่ง
ประเทศญี่ปุ่น เมืองหนาว ใน 1 ปี 12 เดือนปลูกพืชเพียง 4 เดือน จึงปลูกได้แต่พืชล้มลุก อายุสั้น ฤดูกาลเดียว (นาข้าว ผักสวนครัว) กรณีไม้ผลอายุยืนนานหลายปีปลูกได้เพียงไม่กี่ชนิด
นาข้าวญี่ปุ่นรัฐบาลส่งเสริมอย่างมากๆ ข้าวญี่ปุ่นจาปอนนิก้าจากต่างประเทศรวมทั้งจากไทย (ปลูกที่ภาคเหนือ) จะนำเข้าญี่ปุ่นต้องเสียภาษีแพงมากเพื่อไม่ให้แย่งตลาดข้าวญี่ปุ่น
คนญี่ปุ่นจะซื้อข้าวญี่ปุ่นในตลาดญี่ปุ่นแท้ๆ ต้องซื้อข้าวไทยพ่วงด้วย ข้าวไทยหุงแล้วคนไม่กินก็ให้หมากิน
99. เกษตร AEC. :
(รู้จากข่าว ทีวี.)
ใน 2-3 ปีข้างหน้า จับตาดูผลผลิตทางการเกษตรใน เขมร ลาว พม่า ให้ดี ลำพังประชาชนใน 3 ประเทศนี้คงไม่เท่าไหร่ แต่นายทุนจาก จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน สิงค์โปร์ ที่มาเช่าที่ดินด้วยสัญญาเช่า 99 ปี ต่างหาก นายทุนเหล่านี้มาพร้อมกับเทคโนโลยีการผลิตที่เหนือกว่าเกษตรกรไทย ด้วยแรงงานท้องถิ่นที่ราคาถูก กับตลาดที่เป็นประเทศของตัวเอง นี่คือความเหนือกว่าเกษตรไทยชนิดปฏิเสธไม่ได้เลย
พม่า ลาว เขมร มีข้าวพันธุ์ดี ดีกรีชนะเลิศระดับโลกเหมือนข้าวหอมมะลิไทย (เมล็ดพันธุ์ไปจากไทย) ถ้าจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน สิงค์โปร์ ปลูกที่พม่า ลาว เขมร แล้วส่งกลับไปขายยังประเทศตัวเอง .... ไทยจะทำยังไง
พม่า ลาว เขมร ปลูกผลไม้ชั้นดีแบบไทยด้วยพันธุ์จากไทย ถ้าจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน สิงค์โปร์ ปลูกแล้วส่งกลับไปขายยังประเทศตัวเอง .... ไทยจะทำยังไง
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/06/2019 6:27 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|
|
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้ คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
|
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
|
|